The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ขอมูลพื้นฐาน

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ที่อยู 195 หมูที่ 1 ตําบลแก้งเหนือ อําเภอเขมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อผูบริหารโรงเรียน (รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา)
ว่าที่ ร.ท.สุคนธ์ ศุภสุข (ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) เบอรโทรศัพท 045-210-494
e-mail. [email protected] จํานวน บุคลากร ๓1 คน จําแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู
๒3 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 7 คน จํานวนนักเรียน รวม 373 คน

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 373 คน จัดทํารายงานการ ประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)
ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ
ผลการประเมินตนเองในภาพรวม ทั้ง 3 มาตรฐาน ร้อยละเฉลี่ย 72.63 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
มีผลการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมิน ดังนี้
ผู้เรียนร้อยละ 79.91 มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ , มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา , มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม , มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ,มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด , มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย , มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย , สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้
อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ซึ่งโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา มีกิจกรรมในห้องเรียนบูรณาการทุกสาระการเรียนรู้ มีหลักสูตรท้องถิ่น (รายวิชา SBMLD) ใช้แหล่ง
เรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอก ใช้วิทยากร สื่อการสอนเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
ครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ครู นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทุกเวลาและโอกาส ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถ
คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากผลการสอบโอเน็ตในปีการศึกษา 2563 และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่านคิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ มีผลการจัดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้มีการส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ เช่นการเลี้ยงปลา กบ ทำแปลงผักปลอดสารพิษ ทำสวนผสม และการสหกรณ์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนรุ่นพี่สามารถเป็นพี่เลี้ยงสอนน้องได้ มีผลงานที่เกิดจากงานอาชีพ มีโครงงานแปรรูปอาหาร
การจัดการและการดำเนินกิจการสหกรณ์ร้านค้า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีคุณธรรมสามารถดำรงตนในสังคม และประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ปฏิบัติตนในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ทำกระทงไปลอย ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง กราบและไหว้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดในโรงเรียนทุกวัน ชอบเล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ได้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ทั้งส่งผลไปถึงครอบครัวและชุมชนด้วย โดยคณะครูและทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดีทุกด้าน
จุดเด่น
สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน
โดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
สถานศึกษามีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้กระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโครงงาน การทำงานด้วยระบบทีมเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะในสืบค้นค้นข้อมูลผ่านแอพ Googleในมือถือ เพื่อรวบรวมข้อมูล คัดเลือกคัดสรรค์ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการนำไปสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาวิชาชีพในอนาคต และปัจจุบัน โรงเรียนได้มีการพัฒนาห้องศูนย์การรู้ศาสตร์พระราชา ในการเรียนรู้ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและอื่นๆ ไว้บริการนักเรียนและชุมชน มีกลุ่มนักเรียนวงดนตรี-แตรวง-โยธวาธิต –ดนตรีสากล ที่ออกงานแสดงบริการช่วยงานโรงเรียนและชุมชน มีห้องศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีห้องสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในโรงเรียน มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพียงพอกับนักเรียนที่มีคาบเรียน มีห้องสมุดสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต และมีการสนับสนุนบริการด้านอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน โดยเพิ่มจุดบริการ wifi ในบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน ในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียนนั้น โรงเรียน มีความโดดเด่นในเรื่องกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมของสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งผ่านครูที่ปรึกษา รวมถึงโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ณ วัดพิชโสภาราม ร่วมงานชุมชน เช่น ประเพณีกวนน้ำทิพย์ แห่เทียนพรรษาอำเภอเขมราฐ วันชาตกาล สรงน้ำพระรูปเหมือนหลวงพ่อใหญ่วัดพิชโสภาราม แห่ฉลองพัดยศบาลีเปรียญธรรมประโยคต่างๆ เข้าบวชถือศีลปฏิบัติธรรม และ วันสำคัญความเป็นไทยต่างๆ ซึ่งคณะครูและนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เรื่องของการมีความสามารถในการอ่านการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณนั้น ยังต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาพรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เมื่อมองในรายละเอียดจะพบว่า ยังมีอีกหลายส่วนให้พิจารณา เช่น นักเรียนระดับ ม.ต้น บางส่วนที่ยังอ่าน เขียน และสื่อสาร รวมถึงคิดคำนวณได้ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนเรื่องของการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา รวมถึงความสามารถในการสร้างนวัตกรรมนั้น ยังต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่นการสอดแทรกกิจกรรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมทักษะในด้านเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของความสามารถในการใช้เทคโนโลยีนั้น โรงเรียนต้องส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ต wifi .ให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น โทรศัพท์ แทปเลต โน้ตบุค ในการสืบค้นข้อมูลแผ่นแอพ Google เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องจัดเป็นลำดับที่ 1 ในการให้ความสำคัญนอกเหนือจากทักษะในการใช้เทคโนโลยีก็คือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย และการเคารพสิทธิ และ ความคิดเห็นของผู้อื่นในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนานักเรียนซึ่งมีความแตกต่างในด้านการรับรู้ และ ในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องของนักเรียนที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ และ ปัญหานักเรียนติดเกม ซึ่งส่งผลให้นักเรียนให้ความสนใจในด้านการเรียนลดน้อยลง ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ส่วนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้น ปัญหาที่ยังต้องเผชิญกับกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น หลบเรียน หนีเรียน มาสาย แต่งกายผิดระเบียบของโรงเรียน ขับรถมอเตอร์ไชเสียงดัง ซึ่งส่งผลให้มีผลการเรียนมีปัญหา ติด 0 ร มส. ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเดิม ควรเร่งพัฒนาแก้ไขผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับผู้ปกครองของนักเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ และเรื่องของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนควรให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจสิทธิและหน้าที่ รวมถึงการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม และ วัฒนธรรม ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริง และ สังคมในอินเตอร์เน็ต ให้มากยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการ
พัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ใน
บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป
การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนยังไม่ชัดเจนและลงไป
ที่เป้าหมายอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ผู้เรียนบางคนยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา บางคนขาดทักษะการ
วางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะใน
สถานการณ์ปัจจุบัน ยุคThailand 4.0 นักเรียนยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และผู้เรียนต้อง
พัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- แผนการการจัดการเรียนรู้ของครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- รายงานผลการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้
- แบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน(ปถ.05)
- สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2563
- ผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2563
- รายงานผลการดำเนินโครงการ
- นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
- ผลงานครู
- ผลงานนักเรียน
- ภาพถ่ายโครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
- สารสนเทศโรงเรียน, บันทึกการนิเทศ, สรุปการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนการบริหารตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สู่ “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
9) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
13) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) พัฒนาใหนักเรียนมีทักษะในการอาน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณเปนไปตามเกณฑที่
โรงเรียนกําหนดในแตระดับชั้น
2) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการคิดจําแนก แยกแยะ ใครครวญไตรตรอง พิจารณาอยาง
รอบคอบโดยใชเหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแกปญหา อยางมี
เหตุผล
3) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรูไดทั้งดวยตนเองและการทํางานเปนทีม
เชื่อมโยงองคความรู และประสบการณมาใชในการสรางสรรคสิ่งใหม ๆ
4) พัฒนาใหนักเรียน มีความสามารถในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนา
ตนเอง และสังคมในดานการเรียนรู การสื่อสาร การทํางาน อยางสรางสรรค และมีคุณธรรม
5) พัฒนาใหนักเรียน มีความกาวหนาในการเรียนรูตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในดาน
ความรู ความเขาใจ ทักษะ กระบวนการตาง ๆ รวมทั้ง
6) พัฒนาใหนักเรียนมีความกาวหนาในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู ทักษะพื้นฐานในการ
จัดการเจตคติที่ดีพรอมที่จะศึกษาตอในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเปนผูที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎ
กติกา
7) พัฒนาใหนักเรียนมีคานิยมและจิตสํานึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในทองถิ่น เห็นคุณคาของ
ความเปนไทย มีสวนรวมในการอนุรักษวัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปญญาไทย
8) พัฒนาใหนักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ และสังคม แสดงออกอยาง
เหมาะสมในแตละชวงวัย



มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการบริหารและการจัดการ ร้อยละ 65.81 ประกอบด้วย การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน , มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา , ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย , พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ , จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ , และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
1. สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษานโยบายการปฏิรูปการศึกษาความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ
๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ได้เรียนรู้
๓. สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ
๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
๕. สถานศึกษามีการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการนำเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และ ผู้แทนจากชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งส่งผลไปถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จึงทำให้โครงการต่างๆที่ออกมาเป็นไปตามความต้องการส่วนใหญ่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน กล่าว คือ
1. โรงเรียนมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ
2. โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดม สมอง การประชุมกลุ่มเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติ การประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี คุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและการจัดรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการ รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วน ร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. แผนพัฒนาการศึกษาสามปี พ.ศ. 25๖1-2563
2. แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563
3. ผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, โครงการนิเทศภายใน
ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการบริหารและการจัดการที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1.โครงการสนับสนุนค่าเครื่องแบบนักเรียน อยู่ในระดับ ดี
2.โครงการสนับสนุนค่าหนังสือเรียน อยู่ในระดับ ดี
3.โครงการสนับสนุนค่าอุปกรณ์การเรียน อยู่ในระดับ ดี
4.โครงการค่าจ้างเหมาบริการ อยู่ในระดับ ดี
5.โครงการค่ารับรองและพิธีการ อยู่ในระดับ ดี
6.โครงการค่าจ้างเหมาบริการทำความสะอาด อยู่ในระดับ ดี
7.โครงการค่าวัสดุสำนักงาน อยู่ในระดับ ดี
8.โครงการค่าวัสดุงานบ้านงานครัว อยู่ในระดับ ดี
9.โครงการค่าวัสดุไฟฟ้า วิทยุและประปา อยู่ในระดับ ดี
10.โครงการค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น อยู่ในระดับ ดี
11.โครงการค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม อยู่ในระดับ ดี
12.โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน อยู่ในระดับ ดี
13โครงการพัฒนากิจกรรม๙ ส อยู่ในระดับ ดี
14.โครงการสนับสนุนค่าสาธารณูปโภค ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าบริการอินเตอร์เน็ต ค่าบริการโทรศัพท์ อยู่ในระดับ ดี
15.โครงการการซ่อมแซมอาคารเรียน อยู่ในระดับ ดี
16.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
17.โครงการส่งเสริมการบริการเทคโนโลยีและสารสนเทศ ระบบ ADSL ระบบ WIFI อยู่ในระดับ ดี
18.โครงการพัฒนางานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับ ดี
19.โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
20.โครงการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อยู่ในระดับ ดี
21.โครงการจัดทำและพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
22.โครงการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อยู่ในระดับ ดี
23.โครงการพัฒนางานโสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร
2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนคุณภาพผูเรียนรอบดาน
3) โครงการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนรวม
4) โครงการพัฒนาครูพัฒนาครูสูครูมืออาชีพ
5) โครงการจัดสภาพแวดลอมใหเปนแหลงเรียนรู

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 72.17 ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ , ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ , มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก , ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน , มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครู การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่ง
โรงเรียนได้วางแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในฐานะผู้สอนเพื่อนำความรู้ความเข้าใจมาส่งเสริม
และจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนได้ดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่บรรลุเป้าหมายและผู้มี
ส่วนร่วมทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดี

จุดเด่น
กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถปฏิบัติและบูรณาการการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการบูรณาการกับการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กล่าวสรุป
1. ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
6. ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน
7. ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1) จัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่นหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
2) จัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษาด้วยตนเอง
3) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT
4) โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี การพัฒนาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
5) กิจกรรมนิเทศการเรียนการสอน
6) โครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้และมีการวิจัย อย่างต่อเนื่อง
8) ครูควรมีวิจัยอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
- โครงการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่
- สถานศึกษาส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ครูทุกคนการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนา
แผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่สามารถนำ
ไปจัดกิจกรรมได้จริง
-ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
-ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ที่ส่งผลให้ผู้เรียนรู้
ฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถ ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ครูทุกคนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สอดคล้องกับสาระที่สอนมี
การใช้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- ครูทุกคนมีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้
- สรุปโครงการต่างๆ รูปภาพกิจกรรม

-ข้อค้นพบพิเศษ รายงานของ ที่ครูใช้จัดการเรียนรู้ ทางออนไลน์ เนื่อง สถานการณ์ โรคแพร่ระบาด ไวรัส Covid-19 ตลอดปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูใช้รูปแบบ วิธีสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผล อย่างหลากหลาย

สื่อประกอบการสอน รายการสอนออนไลน์ แก้ปัญหา สถานการณ์ COVID 19
-สื่อไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
- สื่อใบความรู้/ ใบงาน
-สื่อไฟล์ Porwerpoint
-ห้องเรียนออนไลน์
-ห้องแชทเพื่อติดต่อเรียนเรียนรู้สั่งงานกับนักเรียน ได้แก่
- ห้อง messenger เฟชบุ๊ค
- ห้อง Line
-สื่อประกอบการสื่อสอนที่ผู้สอน ผู้เรียน ออกแบบ ผลิตขึ้นใช้เอง
-สื่อชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ ทุกประเภทของครู
-สื่อชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ รวมทุกประเภท ที่นักเรียน ที่นักเรียนจัดทำส่ง (แบ่งเป็น เล่มรายงาน สมุดจดบันทึก ภาพวาดระบายสี ภาพเขียน ป๊อบอัพ หนังสือเล่มเล็ก แฟ้มงาน จุลสาร-แผ่นพับ แบบทดสอบ) ลงแต่ละชนิดย่อย
-นวัตกรรม งานวิจัยเต็มรูปแบบ (5 บท) ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอน
- กลุ่ม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ครูเข้าร่วมงาน
-รูปแบบการสอนที่หลากหลายที่ครูใช้สอน
-เรื่องที่มอบหมายงานให้นักเรียนไปสืบค้นทางอินเตอร์เนต เช่น แอพ Google
-โครงงานที่นักเรียนลงมือดำเนินการร่วมกันจัดทำสำเร็จ
-สื่อคลิปไฟล์ วิดีโอ ที่ครูจัดทำเอง หรือค้นคว้าจากโลกออนไลน์ เช่น You Tube มาสื่อสารให้นักเรียนได้เรียนรู้

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีตาร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านอาหารไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการพัฒนากิจกรรมวันสำคัญของชาติ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันไหว้ครู อยู่ในระดับ ดี
9) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
13) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
23) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
24) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
25) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี
26) โครงการรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา อยู่ในระดับ ดี
27) โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อาเซียน อยู่ในระดับ ดี
28) โครงการพัฒนา/ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
29) โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
30) โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต อยู่ในระดับ ดี
31) โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
32) โครงการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย อยู่ในระดับ ดี
33) โครงการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
34) โครงการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
35) โครงการพัฒนาการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ อยู่ในระดับ ดี
36) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะ อยู่ในระดับ ดี
37) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับ ดี


แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
2) โครงการจัดการเรียนรูแบบโครงงาน
3) โครงการพัฒนาการใชสื่อ เทคโนโลยี สูหองเรียน
4) โครงการสงเสริมใหครูจัดทําแผนการจัดการเรียนรูและนําไปใชจริง
5) กิจกรรมสําหรับนักเรียนที่ตองการความชวยเหลือเปนพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมใหนักเรียนมี
ความรูสูงขึ้นตามระดับชั้น

สรุปรวม
แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น
1. ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (O-NET) ยังต่ำกว่าระดับประเทศซึ่งจะต้องมีการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
2. สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนทุกคนควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่
นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง จัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้นและพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานเสมอ มีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายตามสภาพจริงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และธรรมชาติวิชา ตลอดจนควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้
4. สถานศึกษาจัดระบบให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเอง แต่ยังขาดการให้ข้อมูล
ย้อนกลับแก่ครูในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน นักเรียนมีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ แต่ก็ยังขาดการติดตาม ช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคน
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. ส่งเสริมการเรียนสู่ความเป็นเลิศ (รายวิชา SBMLD) ได้แก่ รายวิชาดนตรีเพิ่มเติม รายวิชาอาหารไทย รายวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มเติม เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
1. สนับสนุนให้มีการทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมการพัฒนาการจัดเรียนการสอนของครู และการสอนแบบบูรณาการ และการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
3. พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น ให้นักเรียนสามารถดูผลการเรียนได้จากคอมพิวเตอร์
4. พัฒนาครูในรูปแบบที่หลากหลาย ตามสภาพความต้องการ จำเป็น ของโรงเรียนและความต้องการของครูอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. สนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่วิถีชีวิตของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น

ความต้องการและการช่วยเหลือ
1. โรงเรียนต้องบุคลากร ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา (ตัวจริง) ที่ว่างเว้นเป็นเวลานาน 6 ปีแล้ว เพื่อมาขับเคลื่อนงานบริหารของโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เนื่องจากบุคลากรครูย้ายคืนถิ่นแล้ว 4-5 คน และยังไม่ได้คืน ทำให้โรงเรียนขาดประสิทธิภาพในงานสนับสนุนตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด หรือความต้องการของชุมชนท้องถิ่นในกิจกรรมต่างๆ ขาดแคลนครู ในสายการสอนที่ตรงกับวิชาเอก เช่น นาฎศิลป์ เกษตร คหกรรม และ ภาษาไทย เป็นต้น
3. โรงเรียนต้องการจัดใหมีโต๊ะ-เก้าอี้ นักเรียน สำหรับนั่งเรียนให้เพียงพอ เหมาะสมไม่ชำรุด และจัดหองปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมตอการจัดการเรียนรู ยังไม่มีสารเคมี อุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (โรงเรียนมีแต่ อาคารเรียนและห้องเรียน ที่ว่างเปล่า) ยังไม่มีโต๊ะ-เก้าสำหรับนักเรียนเป็นจำนวนมาก
4. โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย ต้องการเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ใหม่มาแทน (เพราะเครื่องเก่าที่ชำรุดเพราะหมดอายุหลอดของการใช้งานแล้ว) คอมพิวเตอร์โน้ตบุค ระบบอินเตอร์เน็ตกระจาย WiFi ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ให้บริการนักเรียนเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพงานบริหาร และการจัดเรียนการสอน
5. การประสานความร่วมมือกับวิทยากรท้องถิ่นในการให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่นักเรียน
6. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน
7. การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนา
ผู้เรียน


















สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
ประจำปีการศึกษา 2563

ตามที่โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกาศของกระทรวงมหาดไทย โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
บัดนี้ การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา แสดงในตาราง สรุปผลได้ดังนี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปผลการประเมินภาพรวม
 กำลังพัฒนา  ปานกลาง  ดี  ดีเลิศ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ดี
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดี

ตารางสรุปผลการประเมิน ตาม มาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
...................................................
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน 79.91 ดี
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 75.26 ดี
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ 53.71 พอใช้
๒) มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 74.69 ดี
๓) มีความสามารในการสร้างนวัตกรรม 83.91 ดีเลิศ
๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 74.39 ดี
๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 74.92 ดี
๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 89.95 ดีเลิศ
๑.๒คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 84.55 ดีเลิศ
๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 81.77 ดีเลิศ
๒) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 85.52 ดีเลิศ
๓) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 86.32 ดีเลิศ
๔) สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม 84.61 ดีเลิศ


มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ 65.81 ดี
๒.๑ การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 78.75 ดี
๒.๒มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 65.33 ดี
๒.๓ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 70.25 ดี
๒.๔พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 42.5 พอใช้
๒.๕จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคูณภาพ 60 ดี
๒.๖จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 78 ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 72.17 ดี
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 62.31 ดี
๓.๒ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 78.26 ดี
๓.๓มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 68.11 ดี
๔.๔ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 76.81 ดี
๓.๕มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 75.36 ดี
สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา 72.63 ดี




หลักเกณฑ์พิจารณาคุณภาพ รวม ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ และระดับคุณภาพ
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ ระดับคุณภาพ
95-100 ดีเยี่ยม
80-94 ดีเลิศ
60-79 ดี
40-59 พอใช้
0-39 ปรับปรุง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kaengnuapit, 2021-05-31 23:35:26

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ขอมูลพื้นฐาน

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ที่อยู 195 หมูที่ 1 ตําบลแก้งเหนือ อําเภอเขมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อผูบริหารโรงเรียน (รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา)
ว่าที่ ร.ท.สุคนธ์ ศุภสุข (ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) เบอรโทรศัพท 045-210-494
e-mail. [email protected] จํานวน บุคลากร ๓1 คน จําแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู
๒3 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 7 คน จํานวนนักเรียน รวม 373 คน

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 373 คน จัดทํารายงานการ ประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)
ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ
ผลการประเมินตนเองในภาพรวม ทั้ง 3 มาตรฐาน ร้อยละเฉลี่ย 72.63 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
มีผลการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมิน ดังนี้
ผู้เรียนร้อยละ 79.91 มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ , มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา , มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม , มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ,มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด , มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย , มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย , สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้
อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ซึ่งโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา มีกิจกรรมในห้องเรียนบูรณาการทุกสาระการเรียนรู้ มีหลักสูตรท้องถิ่น (รายวิชา SBMLD) ใช้แหล่ง
เรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอก ใช้วิทยากร สื่อการสอนเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
ครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ครู นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทุกเวลาและโอกาส ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถ
คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากผลการสอบโอเน็ตในปีการศึกษา 2563 และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่านคิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ มีผลการจัดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้มีการส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ เช่นการเลี้ยงปลา กบ ทำแปลงผักปลอดสารพิษ ทำสวนผสม และการสหกรณ์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนรุ่นพี่สามารถเป็นพี่เลี้ยงสอนน้องได้ มีผลงานที่เกิดจากงานอาชีพ มีโครงงานแปรรูปอาหาร
การจัดการและการดำเนินกิจการสหกรณ์ร้านค้า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีคุณธรรมสามารถดำรงตนในสังคม และประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ปฏิบัติตนในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ทำกระทงไปลอย ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง กราบและไหว้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดในโรงเรียนทุกวัน ชอบเล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ได้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ทั้งส่งผลไปถึงครอบครัวและชุมชนด้วย โดยคณะครูและทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดีทุกด้าน
จุดเด่น
สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน
โดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
สถานศึกษามีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้กระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโครงงาน การทำงานด้วยระบบทีมเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะในสืบค้นค้นข้อมูลผ่านแอพ Googleในมือถือ เพื่อรวบรวมข้อมูล คัดเลือกคัดสรรค์ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการนำไปสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาวิชาชีพในอนาคต และปัจจุบัน โรงเรียนได้มีการพัฒนาห้องศูนย์การรู้ศาสตร์พระราชา ในการเรียนรู้ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและอื่นๆ ไว้บริการนักเรียนและชุมชน มีกลุ่มนักเรียนวงดนตรี-แตรวง-โยธวาธิต –ดนตรีสากล ที่ออกงานแสดงบริการช่วยงานโรงเรียนและชุมชน มีห้องศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีห้องสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในโรงเรียน มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพียงพอกับนักเรียนที่มีคาบเรียน มีห้องสมุดสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต และมีการสนับสนุนบริการด้านอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน โดยเพิ่มจุดบริการ wifi ในบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน ในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียนนั้น โรงเรียน มีความโดดเด่นในเรื่องกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมของสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งผ่านครูที่ปรึกษา รวมถึงโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ณ วัดพิชโสภาราม ร่วมงานชุมชน เช่น ประเพณีกวนน้ำทิพย์ แห่เทียนพรรษาอำเภอเขมราฐ วันชาตกาล สรงน้ำพระรูปเหมือนหลวงพ่อใหญ่วัดพิชโสภาราม แห่ฉลองพัดยศบาลีเปรียญธรรมประโยคต่างๆ เข้าบวชถือศีลปฏิบัติธรรม และ วันสำคัญความเป็นไทยต่างๆ ซึ่งคณะครูและนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เรื่องของการมีความสามารถในการอ่านการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณนั้น ยังต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาพรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เมื่อมองในรายละเอียดจะพบว่า ยังมีอีกหลายส่วนให้พิจารณา เช่น นักเรียนระดับ ม.ต้น บางส่วนที่ยังอ่าน เขียน และสื่อสาร รวมถึงคิดคำนวณได้ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนเรื่องของการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา รวมถึงความสามารถในการสร้างนวัตกรรมนั้น ยังต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่นการสอดแทรกกิจกรรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมทักษะในด้านเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของความสามารถในการใช้เทคโนโลยีนั้น โรงเรียนต้องส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ต wifi .ให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น โทรศัพท์ แทปเลต โน้ตบุค ในการสืบค้นข้อมูลแผ่นแอพ Google เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องจัดเป็นลำดับที่ 1 ในการให้ความสำคัญนอกเหนือจากทักษะในการใช้เทคโนโลยีก็คือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย และการเคารพสิทธิ และ ความคิดเห็นของผู้อื่นในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนานักเรียนซึ่งมีความแตกต่างในด้านการรับรู้ และ ในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องของนักเรียนที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ และ ปัญหานักเรียนติดเกม ซึ่งส่งผลให้นักเรียนให้ความสนใจในด้านการเรียนลดน้อยลง ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ส่วนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้น ปัญหาที่ยังต้องเผชิญกับกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น หลบเรียน หนีเรียน มาสาย แต่งกายผิดระเบียบของโรงเรียน ขับรถมอเตอร์ไชเสียงดัง ซึ่งส่งผลให้มีผลการเรียนมีปัญหา ติด 0 ร มส. ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเดิม ควรเร่งพัฒนาแก้ไขผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับผู้ปกครองของนักเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ และเรื่องของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนควรให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจสิทธิและหน้าที่ รวมถึงการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม และ วัฒนธรรม ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริง และ สังคมในอินเตอร์เน็ต ให้มากยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการ
พัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ใน
บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป
การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนยังไม่ชัดเจนและลงไป
ที่เป้าหมายอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ผู้เรียนบางคนยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา บางคนขาดทักษะการ
วางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะใน
สถานการณ์ปัจจุบัน ยุคThailand 4.0 นักเรียนยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และผู้เรียนต้อง
พัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- แผนการการจัดการเรียนรู้ของครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- รายงานผลการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้
- แบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน(ปถ.05)
- สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2563
- ผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2563
- รายงานผลการดำเนินโครงการ
- นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
- ผลงานครู
- ผลงานนักเรียน
- ภาพถ่ายโครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
- สารสนเทศโรงเรียน, บันทึกการนิเทศ, สรุปการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนการบริหารตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สู่ “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
9) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
13) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) พัฒนาใหนักเรียนมีทักษะในการอาน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณเปนไปตามเกณฑที่
โรงเรียนกําหนดในแตระดับชั้น
2) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการคิดจําแนก แยกแยะ ใครครวญไตรตรอง พิจารณาอยาง
รอบคอบโดยใชเหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแกปญหา อยางมี
เหตุผล
3) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรูไดทั้งดวยตนเองและการทํางานเปนทีม
เชื่อมโยงองคความรู และประสบการณมาใชในการสรางสรรคสิ่งใหม ๆ
4) พัฒนาใหนักเรียน มีความสามารถในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนา
ตนเอง และสังคมในดานการเรียนรู การสื่อสาร การทํางาน อยางสรางสรรค และมีคุณธรรม
5) พัฒนาใหนักเรียน มีความกาวหนาในการเรียนรูตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในดาน
ความรู ความเขาใจ ทักษะ กระบวนการตาง ๆ รวมทั้ง
6) พัฒนาใหนักเรียนมีความกาวหนาในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู ทักษะพื้นฐานในการ
จัดการเจตคติที่ดีพรอมที่จะศึกษาตอในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเปนผูที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎ
กติกา
7) พัฒนาใหนักเรียนมีคานิยมและจิตสํานึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในทองถิ่น เห็นคุณคาของ
ความเปนไทย มีสวนรวมในการอนุรักษวัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปญญาไทย
8) พัฒนาใหนักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ และสังคม แสดงออกอยาง
เหมาะสมในแตละชวงวัย



มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการบริหารและการจัดการ ร้อยละ 65.81 ประกอบด้วย การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน , มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา , ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย , พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ , จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ , และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
1. สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษานโยบายการปฏิรูปการศึกษาความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ
๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ได้เรียนรู้
๓. สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ
๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
๕. สถานศึกษามีการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการนำเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และ ผู้แทนจากชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งส่งผลไปถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จึงทำให้โครงการต่างๆที่ออกมาเป็นไปตามความต้องการส่วนใหญ่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน กล่าว คือ
1. โรงเรียนมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ
2. โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดม สมอง การประชุมกลุ่มเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติ การประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี คุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและการจัดรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการ รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วน ร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. แผนพัฒนาการศึกษาสามปี พ.ศ. 25๖1-2563
2. แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563
3. ผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, โครงการนิเทศภายใน
ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการบริหารและการจัดการที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1.โครงการสนับสนุนค่าเครื่องแบบนักเรียน อยู่ในระดับ ดี
2.โครงการสนับสนุนค่าหนังสือเรียน อยู่ในระดับ ดี
3.โครงการสนับสนุนค่าอุปกรณ์การเรียน อยู่ในระดับ ดี
4.โครงการค่าจ้างเหมาบริการ อยู่ในระดับ ดี
5.โครงการค่ารับรองและพิธีการ อยู่ในระดับ ดี
6.โครงการค่าจ้างเหมาบริการทำความสะอาด อยู่ในระดับ ดี
7.โครงการค่าวัสดุสำนักงาน อยู่ในระดับ ดี
8.โครงการค่าวัสดุงานบ้านงานครัว อยู่ในระดับ ดี
9.โครงการค่าวัสดุไฟฟ้า วิทยุและประปา อยู่ในระดับ ดี
10.โครงการค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น อยู่ในระดับ ดี
11.โครงการค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม อยู่ในระดับ ดี
12.โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน อยู่ในระดับ ดี
13โครงการพัฒนากิจกรรม๙ ส อยู่ในระดับ ดี
14.โครงการสนับสนุนค่าสาธารณูปโภค ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าบริการอินเตอร์เน็ต ค่าบริการโทรศัพท์ อยู่ในระดับ ดี
15.โครงการการซ่อมแซมอาคารเรียน อยู่ในระดับ ดี
16.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
17.โครงการส่งเสริมการบริการเทคโนโลยีและสารสนเทศ ระบบ ADSL ระบบ WIFI อยู่ในระดับ ดี
18.โครงการพัฒนางานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับ ดี
19.โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
20.โครงการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อยู่ในระดับ ดี
21.โครงการจัดทำและพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
22.โครงการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อยู่ในระดับ ดี
23.โครงการพัฒนางานโสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร
2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนคุณภาพผูเรียนรอบดาน
3) โครงการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนรวม
4) โครงการพัฒนาครูพัฒนาครูสูครูมืออาชีพ
5) โครงการจัดสภาพแวดลอมใหเปนแหลงเรียนรู

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 72.17 ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ , ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ , มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก , ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน , มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครู การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่ง
โรงเรียนได้วางแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในฐานะผู้สอนเพื่อนำความรู้ความเข้าใจมาส่งเสริม
และจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนได้ดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่บรรลุเป้าหมายและผู้มี
ส่วนร่วมทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดี

จุดเด่น
กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถปฏิบัติและบูรณาการการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการบูรณาการกับการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กล่าวสรุป
1. ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
6. ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน
7. ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1) จัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่นหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
2) จัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษาด้วยตนเอง
3) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT
4) โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี การพัฒนาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
5) กิจกรรมนิเทศการเรียนการสอน
6) โครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้และมีการวิจัย อย่างต่อเนื่อง
8) ครูควรมีวิจัยอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
- โครงการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่
- สถานศึกษาส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ครูทุกคนการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนา
แผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่สามารถนำ
ไปจัดกิจกรรมได้จริง
-ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
-ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ที่ส่งผลให้ผู้เรียนรู้
ฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถ ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ครูทุกคนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สอดคล้องกับสาระที่สอนมี
การใช้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- ครูทุกคนมีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้
- สรุปโครงการต่างๆ รูปภาพกิจกรรม

-ข้อค้นพบพิเศษ รายงานของ ที่ครูใช้จัดการเรียนรู้ ทางออนไลน์ เนื่อง สถานการณ์ โรคแพร่ระบาด ไวรัส Covid-19 ตลอดปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูใช้รูปแบบ วิธีสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผล อย่างหลากหลาย

สื่อประกอบการสอน รายการสอนออนไลน์ แก้ปัญหา สถานการณ์ COVID 19
-สื่อไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
- สื่อใบความรู้/ ใบงาน
-สื่อไฟล์ Porwerpoint
-ห้องเรียนออนไลน์
-ห้องแชทเพื่อติดต่อเรียนเรียนรู้สั่งงานกับนักเรียน ได้แก่
- ห้อง messenger เฟชบุ๊ค
- ห้อง Line
-สื่อประกอบการสื่อสอนที่ผู้สอน ผู้เรียน ออกแบบ ผลิตขึ้นใช้เอง
-สื่อชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ ทุกประเภทของครู
-สื่อชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ รวมทุกประเภท ที่นักเรียน ที่นักเรียนจัดทำส่ง (แบ่งเป็น เล่มรายงาน สมุดจดบันทึก ภาพวาดระบายสี ภาพเขียน ป๊อบอัพ หนังสือเล่มเล็ก แฟ้มงาน จุลสาร-แผ่นพับ แบบทดสอบ) ลงแต่ละชนิดย่อย
-นวัตกรรม งานวิจัยเต็มรูปแบบ (5 บท) ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอน
- กลุ่ม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ครูเข้าร่วมงาน
-รูปแบบการสอนที่หลากหลายที่ครูใช้สอน
-เรื่องที่มอบหมายงานให้นักเรียนไปสืบค้นทางอินเตอร์เนต เช่น แอพ Google
-โครงงานที่นักเรียนลงมือดำเนินการร่วมกันจัดทำสำเร็จ
-สื่อคลิปไฟล์ วิดีโอ ที่ครูจัดทำเอง หรือค้นคว้าจากโลกออนไลน์ เช่น You Tube มาสื่อสารให้นักเรียนได้เรียนรู้

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีตาร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านอาหารไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการพัฒนากิจกรรมวันสำคัญของชาติ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันไหว้ครู อยู่ในระดับ ดี
9) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
13) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
23) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
24) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
25) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี
26) โครงการรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา อยู่ในระดับ ดี
27) โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อาเซียน อยู่ในระดับ ดี
28) โครงการพัฒนา/ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
29) โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
30) โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต อยู่ในระดับ ดี
31) โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
32) โครงการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย อยู่ในระดับ ดี
33) โครงการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
34) โครงการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
35) โครงการพัฒนาการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ อยู่ในระดับ ดี
36) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะ อยู่ในระดับ ดี
37) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับ ดี


แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
2) โครงการจัดการเรียนรูแบบโครงงาน
3) โครงการพัฒนาการใชสื่อ เทคโนโลยี สูหองเรียน
4) โครงการสงเสริมใหครูจัดทําแผนการจัดการเรียนรูและนําไปใชจริง
5) กิจกรรมสําหรับนักเรียนที่ตองการความชวยเหลือเปนพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมใหนักเรียนมี
ความรูสูงขึ้นตามระดับชั้น

สรุปรวม
แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น
1. ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (O-NET) ยังต่ำกว่าระดับประเทศซึ่งจะต้องมีการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
2. สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนทุกคนควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่
นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง จัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้นและพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานเสมอ มีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายตามสภาพจริงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และธรรมชาติวิชา ตลอดจนควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้
4. สถานศึกษาจัดระบบให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเอง แต่ยังขาดการให้ข้อมูล
ย้อนกลับแก่ครูในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน นักเรียนมีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ แต่ก็ยังขาดการติดตาม ช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคน
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. ส่งเสริมการเรียนสู่ความเป็นเลิศ (รายวิชา SBMLD) ได้แก่ รายวิชาดนตรีเพิ่มเติม รายวิชาอาหารไทย รายวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มเติม เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
1. สนับสนุนให้มีการทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมการพัฒนาการจัดเรียนการสอนของครู และการสอนแบบบูรณาการ และการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
3. พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น ให้นักเรียนสามารถดูผลการเรียนได้จากคอมพิวเตอร์
4. พัฒนาครูในรูปแบบที่หลากหลาย ตามสภาพความต้องการ จำเป็น ของโรงเรียนและความต้องการของครูอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. สนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่วิถีชีวิตของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น

ความต้องการและการช่วยเหลือ
1. โรงเรียนต้องบุคลากร ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา (ตัวจริง) ที่ว่างเว้นเป็นเวลานาน 6 ปีแล้ว เพื่อมาขับเคลื่อนงานบริหารของโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เนื่องจากบุคลากรครูย้ายคืนถิ่นแล้ว 4-5 คน และยังไม่ได้คืน ทำให้โรงเรียนขาดประสิทธิภาพในงานสนับสนุนตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด หรือความต้องการของชุมชนท้องถิ่นในกิจกรรมต่างๆ ขาดแคลนครู ในสายการสอนที่ตรงกับวิชาเอก เช่น นาฎศิลป์ เกษตร คหกรรม และ ภาษาไทย เป็นต้น
3. โรงเรียนต้องการจัดใหมีโต๊ะ-เก้าอี้ นักเรียน สำหรับนั่งเรียนให้เพียงพอ เหมาะสมไม่ชำรุด และจัดหองปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมตอการจัดการเรียนรู ยังไม่มีสารเคมี อุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (โรงเรียนมีแต่ อาคารเรียนและห้องเรียน ที่ว่างเปล่า) ยังไม่มีโต๊ะ-เก้าสำหรับนักเรียนเป็นจำนวนมาก
4. โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย ต้องการเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ใหม่มาแทน (เพราะเครื่องเก่าที่ชำรุดเพราะหมดอายุหลอดของการใช้งานแล้ว) คอมพิวเตอร์โน้ตบุค ระบบอินเตอร์เน็ตกระจาย WiFi ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ให้บริการนักเรียนเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพงานบริหาร และการจัดเรียนการสอน
5. การประสานความร่วมมือกับวิทยากรท้องถิ่นในการให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่นักเรียน
6. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน
7. การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนา
ผู้เรียน


















สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
ประจำปีการศึกษา 2563

ตามที่โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกาศของกระทรวงมหาดไทย โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
บัดนี้ การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา แสดงในตาราง สรุปผลได้ดังนี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปผลการประเมินภาพรวม
 กำลังพัฒนา  ปานกลาง  ดี  ดีเลิศ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ดี
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดี

ตารางสรุปผลการประเมิน ตาม มาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
...................................................
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน 79.91 ดี
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 75.26 ดี
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ 53.71 พอใช้
๒) มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 74.69 ดี
๓) มีความสามารในการสร้างนวัตกรรม 83.91 ดีเลิศ
๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 74.39 ดี
๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 74.92 ดี
๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 89.95 ดีเลิศ
๑.๒คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 84.55 ดีเลิศ
๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 81.77 ดีเลิศ
๒) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 85.52 ดีเลิศ
๓) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 86.32 ดีเลิศ
๔) สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม 84.61 ดีเลิศ


มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ 65.81 ดี
๒.๑ การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 78.75 ดี
๒.๒มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 65.33 ดี
๒.๓ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 70.25 ดี
๒.๔พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 42.5 พอใช้
๒.๕จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคูณภาพ 60 ดี
๒.๖จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 78 ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 72.17 ดี
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 62.31 ดี
๓.๒ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 78.26 ดี
๓.๓มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 68.11 ดี
๔.๔ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 76.81 ดี
๓.๕มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 75.36 ดี
สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา 72.63 ดี




หลักเกณฑ์พิจารณาคุณภาพ รวม ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ และระดับคุณภาพ
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ ระดับคุณภาพ
95-100 ดีเยี่ยม
80-94 ดีเลิศ
60-79 ดี
40-59 พอใช้
0-39 ปรับปรุง

Keywords: SAR 2563,รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา,ปีการศึกษา 2563,รายงานการประเมินตนเอง,โรงเรียน,sar,2563,แก้งเหนือพิทยาคม,อุบลราชธานี,องค์การบริหารส่วนจังหวัด,sar 2563,sar2563,SAR2563,รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๓๓

รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาตขิ ้ันพืน้ ฐาน (O-NET)

ช้ันมัธยมศกึ ษาปี ท่ี 6 ปี การศกึ ษา 2563

คะแนน O-net ท่ีได้ และ คะแนนมาตรฐาน(T-Score) จาแนกตามรายวชิ า

รหัสโรงเรียน 3034100102 ชื่อโรงเรียน แก้งเหนือพิทยาคม

ขนาดโรงเรียน กลาง ที่ต้ังโรงเรียน นอกเมอื ง

จงั หวัด อุบลราชธานี ภาค ตะวนั ออกเฉียงเหนือ สังกดั กรมส่ งเสริมการปกครองท้องถ่ิน

รหสั วชิ า 01=ภาษาไทย , 02=สงั คมศกึ ษาฯ , 03=ภาษาองั กฤษ , 04=คณิตศาสตร์ , 05=วทิ ยาศาสตร์

ลา ดบั เล ขที่ เล ขประจาตัว ชื่อ - สกุล ผลคะแนนการทดสอบ O-NET จาแนกตามวชิ า ร้อยละ 30 ผลการ
นั่งสอบ ประชาชน
01 T-Score 04 T-Score 05 T-Score 02 T-Score 03 T-Score ทดสอบ O-NET

1 01813494 1119902060436 วศิ วะ รินทะรกั ษ์ 33.00 42.96 18.75 45.67 17.15 38.12 24.00 35.90 17.50 41.36 0.38

2 01813528 1329400013588 สุวมิ ล ออ่ นระเบยี บ 55.00 56.59 40.63 58.67 54.40 66.62 40.00 54.81 22.50 44.83 0.66

3 01813610 1342100126861 ศริ ิภาพรรณ มณีวนั 35.00 44.20 9.38 40.10 45.90 60.11 30.00 42.99 18.75 42.23 0.48

4 01813712 1348400003107 ศภุ าภรณ์ ลาดโพธ์ิ 38.50 46.37 12.50 41.95 45.75 60.00 39.00 53.63 22.50 44.83 0.52

5 01813714 1348400003662 ปณิสรา นิมาร 51.00 54.11 18.75 45.67 35.05 51.81 38.00 52.45 30.00 50.04 0.60

6 01813720 1348500012574 เกษมสุข เหมแดง 35.00 44.20 18.75 45.67 32.70 50.02 30.00 42.99 27.50 48.31 0.45
7 01813756 1348500024041 สุพรรษา มีจอม - - 12.50 41.95 - - 27.00 39.44 33.75 52.65 0.27
0.48
8 01813782 1349200009986 เจนจิรา เสระทอง 47.50 51.95 21.88 47.53 32.55 49.90 35.00 48.90 22.50 44.83 0.42
0.52
9 01813818 1349200012430 สิทธิชยั ปกั ป่ิน 26.00 38.62 21.88 47.53 23.60 43.05 29.00 41.81 20.00 43.10 0.42
10 01813820 1349200012472 อรญั ญา ดาบรรณ์ 42.50 48.85 18.75 45.67 37.40 53.61 39.00 53.63 13.75 38.76 0.38
0.39
11 01813832 1349200013321 วราภรณ์ สีสะอาด 22.00 36.15 21.88 47.53 19.80 40.15 31.00 44.17 22.50 44.83 0.42
0.46
12 01813836 1349200013436 จิรศกั ด์ิ คาแดง 19.00 34.29 18.75 45.67 23.90 43.28 27.00 39.44 25.00 46.57 0.45
13 01813840 1349200013517 อวยชยั หาสี 22.00 36.15 15.63 43.81 13.20 35.10 36.00 50.08 22.50 44.83 0.48
0.39
14 01813858 1349200014181 ศริ ิวรรณ ลามาตย์ 26.00 38.62 21.88 47.53 28.45 46.76 29.00 41.81 21.25 43.97 0.42
15 01813860 1349200014190 ลดั ดาวลั ย์ ดาวงษ์ 38.00 46.06 21.88 47.53 17.45 38.35 41.00 55.99 17.50 41.36 0.45
16 01813870 1349200015161 ศศธิ ร ยืนสุข 33.00 42.96 12.50 41.95 32.85 50.13 30.00 42.99 25.00 46.57 0.48
0.45
17 01813896 1349200016044 ศราวฒุ ิ คาออ่ น 27.50 39.55 12.50 41.95 34.90 51.70 37.00 51.26 32.50 51.78 0.38
18 01813898 1349200016061 ธีรวฒั น์ พนั ธแ์ สน 23.50 37.08 15.63 43.81 15.10 36.55 28.00 40.63 21.25 43.97 0.48
19 01813922 1349200016729 ธนทร พนั ธแ์ สน 24.00 37.39 15.63 43.81 21.70 41.60 32.00 45.35 22.50 44.83 0.41
0.45
20 01813940 1349200017598 ปิยะวฒั น์ ขวญั หวนั 34.00 43.58 12.50 41.95 32.55 49.90 35.00 48.90 22.50 44.83 0.42
0.36
21 01813945 1349200018004 ปรางทพิ ย์ เช้อื จาพร 39.00 46.68 18.75 45.67 37.10 53.38 34.00 47.72 25.00 46.57 0.38
0.38
22 01813962 1349200018799 พีรภทั ร ตน้ ยวด 24.00 37.39 18.75 45.67 41.35 56.63 34.00 47.72 16.25 40.49 0.39

23 01814003 1349200020891 มนนั ดา แพงจกั ร 20.50 35.22 25.00 49.38 13.05 34.98 27.00 39.44 21.25 43.97
24 01814034 1349200021986 ศรณั ย์ จนั ทร์แรม 31.50 42.03 25.00 49.38 30.35 48.22 31.00 44.17 25.00 46.57

25 01814075 1349200026333 ภานุวฒั น์ โสภานเวช 32.50 42.65 12.50 41.95 24.05 43.40 27.00 39.44 22.50 44.83

26 01814146 1379700002972 ประภาพร ชา้ งสาร 30.00 41.10 15.63 43.81 30.50 48.33 37.00 51.26 20.00 43.10
27 01814165 1469900610461 ภาสกร ทองโบราณ 24.00 37.39 9.38 40.10 30.50 48.33 37.00 51.26 20.00 43.10

28 01814182 1749800299043 เอกรินทร์ สอนไธสง 19.50 34.60 9.38 40.10 15.10 36.55 20.00 31.17 21.25 43.97

29 01814210 2349200002751 สุนิษา จาปาสี 23.50 37.08 15.63 43.81 23.75 43.17 17.00 27.62 16.25 40.49

30 01814213 2349200002572 จิระประภา นามภกั ดี 24.50 37.70 9.38 40.10 25.95 44.85 23.00 34.72 20.00 43.10

31 01814220 2349200002882 จกั รกฤษณ์ สิงห์เผน่ 13.50 30.88 25.00 49.38 19.50 39.92 36.00 50.08 13.75 38.76

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๓๔

ตารางสรปุ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนของนักเรยี น
ปีการศึกษา 2563

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๓๕

ตารางสรปุ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนกั เรียน ปีการศกึ ษา 2563

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ปี การศึกษา 2563

กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

จานวนนักเรียนทไี่ ด้ผลการเรยี นในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้นั รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรยี นค่าเฉล่ีย S.D

ม.1 ภาษาไทย ท 21101 3 28 46 6 2 0 0 0 1 0 86 3.10 0.61

ภาษาไทย 2 ท21102 5 16 14 10 6 6 4 24 0 0 85 1.98 1.43

ภาษาไทย 3 ท22101 1 9 29 8 8 3 3 8 0 0 69 2.41 1.07

การอา่ น 1 ท22201 5 6 1 0 0 0 0 0 0 0 12 3.67 0.31

ม.2 ภาษาไทย 4 ท22102 3 11 15 8 2 3 6 12 6 0 66 2.17 1.33
การอา่ น2 ท22202 11 0 1 0 0 0 0 0 0 0 12 3.92 0.28

ภาษาไทย 5 ท23101 9 31 35 7 1 0 0 9 1 0 93 2.92 1.04

หอ้ งสมดุ เพ่ือการเรียนรู้ ท23203 25 5 1 3 1 0 0 0 0 0 35 3.71 0.54

ม.3 ภาษาไทย 6 ท23102 18 19 15 14 10 3 2 2 0 0 83 2.95 0.91

หอ้ งสมุดเพอ่ื การเรียนรู้2 ท23204 24 0 0 0 0 0 0 0 0 0 24 4.00 0.00

รวม ม. ต้น 80 125 157 56 30 15 15 55 8 0 541 2.75 1.15

คิดเป็ นร้อยละ 21.45 33.51 42.09 15.01 8.04 4.02 4.02 14.75 2.14 0.00 145.04

ม.4 ภาษาไทย ท 31101 11 11 4 9 9 6 2 1 0 0 53 2.75 0.99

ภาษาไทย ท 31102 5 12 17 8 1 7 2 1 0 0 53 2.78 0.88

ม.5 ภาษาไทย ท 32101 9 3 5 2 8 1 1 6 0 0 35 2.43 1.38

ภาษาไทย ท 32012 4 4 10 2 4 4 3 0 0 0 31 2.65 0.93

ม.6 ภาษาไทย ท 33101 21 14 8 2 3 0 1 0 0 0 49 3.45 0.67

ภาษาไทย ท 33102 9 11 23 4 0 0 1 0 0 0 48 3.22 0.55

รวม ม.ปลาย 59 55 67 27 25 18 10 8 0 0 269 2.91 0.97

รวมท้งั โรงเรยี น 139 180 224 83 55 33 25 63 8 0 810 2.81 1.10

คิดเป็ นร้อยละ 17.16 22.22 27.65 10.25 6.79 4.07 3.09 7.78 0.99 0.00

หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉล่ยี และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ บั รวมจานวนนักเรียนทไี่ ด้ "ร" และ "มส"

รวม ม.ตน้ คา่ เฉลยี่ ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน

2.75 1.15

รวม ม.ปลาย 2.91 0.97

รวมทง้ั โรงเรียน 2.81 1.10

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๓๖

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นของนักเรียน ปี การศึกษา 2563

กล่มุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

จานวนนักเรยี นทไ่ี ด้ผลการเรียนในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้นั รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรียนค่าเฉล่ีย S.D

ม.1 สงั คมศกึ ษาฯ ส 21101 2 5 22 10 14 8 25 0 0 0 86 2.11 0.90

ประวตั ศิ าสตร์ ส 21103 0 1 20 30 31 1 2 0 0 0 85 2.40 0.47
หน้าทพี่ ลเมอื ง ส21201 10 10 16 16 15 9 3 7 0 0 86 4.00 0.00

สงั คมศกึ ษาฯ ส 21102 8 6 8 2 4 6 49 2 0 0 85 1.74 1.12

ประวตั ศิ าสตร์ ส 21104 5 7 21 25 14 8 3 0 0 0 83 2.57 0.71
หน้าทพ่ี ลเมอื ง 1 ส21202 17 3 8 4 14 4 29 5 0 0 84 2.09 1.26

ม.2 สงั คมศกึ ษาฯ ส 22101 2 8 28 12 7 0 0 11 1 0 69 2.41 1.15

ประวตั ศิ าสตร์ ส 22103 0 1 10 18 19 5 11 4 1 0 69 1.99 0.81
หน้าทพี่ ลเมอื ง ส 22201 23 6 12 5 9 3 10 1 0 0 69 2.81 1.13

สงั คมศึกษาฯ ส 22102 7 5 21 8 10 1 1 5 5 0 63 2.60 1.04

ประวตั ศิ าสตร์ ส 22104 0 5 7 20 17 4 0 7 5 0 65 2.14 0.92
หน้าทพี่ ลเมอื ง 4 ส 22202 20 12 8 8 0 1 0 18 0 0 67 2.50 1.60

ม.3 สงั คมศกึ ษาฯ ส 23101 46 8 6 4 3 4 4 8 0 0 83 3.08 1.34

ประวตั ศิ าสตร์ ส 23103 3 5 27 29 14 1 0 3 1 0 83 2.59 0.71
หน้าทพ่ี ลเมอื ง ส 23201 49 13 7 14 12 3 1 3 0 0 102 3.21 1.00

สงั คมศกึ ษาฯ ส 23102 32 9 9 8 6 5 6 8 0 0 83 2.80 1.33

ประวตั ศิ าสตร์ ส 23104 14 14 18 16 19 2 0 0 0 0 83 2.89 0.73
หน้าทพ่ี ลเมอื ง ส 23202 54 3 7 3 4 6 6 0 0 0 83 3.35 1.02

รวม ม. ต้น 140 77 187 162 157 54 137 68 12 0 994 2.37 1.13

คิดเป็ นร้อยละ 14.08 7.75 18.81 16.30 15.79 5.43 13.78 6.84 1.21 0.00 266.49

ม.4 สงั คมศกึ ษาฯ ส 31101 11 16 11 5 4 2 4 1 0 0 54 2.97 0.96

หน้าทพ่ี ลเมอื ง ส31201 20 10 10 9 2 2 0 1 0 0 54 3.23 0.83
สงั คมศกึ ษาฯ 2 ส31102 15 11 10 3 5 3 6 0 0 0 53 2.95 1.01

หน้าทพ่ี ลเมอื ง ส31202 30 8 7 5 0 2 1 0 0 0 53 3.50 0.73

ม.5 สงั คมศกึ ษาฯ 3 ส32101 0 16 7 2 2 1 3 1 0 0 52 2.83 0.95
ประวตั ศิ าสตร์ 1 ส32103 10 3 8 2 4 4 0 0 0 0 52 3.02 0.88

หน้าทพ่ี ลเมอื ง ส32201 14 4 4 4 0 0 0 5 0 0 53 2.97 1.40

สงั คมศึกษาฯ 4 ส32102 1 5 15 1 5 4 0 0 0 0 31 2.74 0.68
ประวตั ศิ าสตร์ 2 ส32104 18 5 3 0 4 0 0 2 0 0 32 3.33 1.09

หน้าทพ่ี ลเมอื ง 2 ส30202 14 3 4 4 5 0 1 0 0 0 31 3.21 0.87

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๓๗

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรียน ปี การศึกษา 2563(ต่อ)

กล่มุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

จานวนนักเรยี นทไี่ ด้ผลการเรยี นในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้นั รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรยี นค่าเฉล่ีย S.D

ม.6 สงั คมศกึ ษาฯ ส 33101 26 7 10 3 2 1 0 0 0 0 49 3.50 0.65

ประวตั ศิ าสตร์ ส 33103 18 7 17 4 2 1 0 0 0 0 49 3.50 0.65

สงั คมศกึ ษาฯ ส 33102 15 12 17 4 0 1 0 0 0 0 49 3.36 0.55

ประวตั ศิ าสตร์ ส 33104 12 15 15 5 1 1 0 0 0 0 49 3.30 0.57

รวม ม.ปลาย 208 126 141 53.5 38 23.5 16 10 0 0 661 3.18 0.88

รวมทง้ั โรงเรียน 348 203 328 215.5 195 77.5 153 78 12 0 1655 2.68 1.11

คิดเป็ นร้อยละ 21.03 12.24 19.82 13.02 11.78 4.68 9.24 4.71 0.73 0.00

หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉลย่ี และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนักเรียนทไ่ี ด้ "ร" และ "มส"

คา่ เฉลย่ี ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน

รวม ม.ตน้ 2.37 1.13

รวม ม.ปลาย 3.18 0.88

รวมท้งั โรงเรียน 2.68 1.11

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนือพทิ ยาคม ๑๓๘

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรยี น ปี การศึกษา 2563

กล่มุ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จานวนนักเรยี นทไ่ี ด้ผลการเรียนในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้นั รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรยี นค่าเฉลี่ย S.D

ม.1 สุขศกึ ษา พ 21101 64 10 7 3 2 0 0 0 0 0 86 3.76 0.47

ยมิ นาสตกิ พ 21103 86 0 0 0 0 0 0 0 0 0 86 4.00 0.00
ฟุตบอล พ21203 23 0 0 0 0 0 0 0 0 0 23 4.00 0.00
สุขศกึ ษา 2 พ21102 80 0 1 1 2 0 0 0 0 0 84 3.92 0.36

เทเบลิ เทนนิส พ21104 54 6 8 12 0 2 0 2 0 0 84 3.50 0.85
ฟุตบอล พ21204 22 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 4.00 0.00

ม.2 สุขศกึ ษา พ 22101 63 5 0 0 0 0 0 2 0 0 70 3.85 0.67

กระบี่ พ22103 54 9 5 0 1 0 0 0 0 0 69 3.83 0.37

สุขศึกษา พ 22102 49 5 3 0 0 5 0 5 0 0 67 3.43 1.18
กรีฑา พ22104 58 4 0 0 0 0 0 1 0 0 63 3.90 0.51
ม.3 สุขศกึ ษา พ 23101 57 25 0 1 0 0 0 0 0 0 83 3.83 0.27

บาสเกตบอล พ 23103 83 1 0 0 0 0 0 0 0 0 84 3.99 0.05

สุขศึกษา พ 23102 82 1 0 0 0 0 0 0 0 0 83 3.99 0.05
วอลเลย่ บ์ อล พ 23104 80 0 0 3 0 0 0 0 0 0 83 3.95 0.28

รวม ม. ต้น 610 64 24 17 5 7 0 10 0 0 715 3.80 0.61

คิดเป็ นร้อยละ 85.31 8.95 3.36 2.38 0.70 0.98 0.00 1.40 0.00 0.00

ม.4 สุขศกึ ษา พ31101 57 0 0 0 0 0 0 0 0 0 57 4.00 0.00

แบดมนิ ตนั พ30201 43 2 3 3 0 0 0 2 0 0 53 3.69 0.84

สุขศกึ ษา พ 31102 47 0 1 0 2 1 2 0 0 0 53 3.75 0.75

ฟุตบอล พ 30206 57 0 0 0 0 0 0 0 0 0 57 4.00 0.00

ม.5 สุขศึกษา พ 32101 18 0 1 5 2 3 3 3 0 0 35 2.83 1.37
ศลิ ปะป้องกนั ตวั พ 30203 17 0 3 3 1 2 5 0 0 0 31 3.05 1.18

สุขศกึ ษา พ 32102 24 7 0 0 0 0 0 0 0 0 31 3.89 0.21
ตะกร้อ พ 32204 23 4 3 1 0 0 0 0 0 0 31 3.79 0.40
ม.6 สุขศึกษา พ 33101 27 15 1 4 0 0 2 0 0 0 49 3.58 0.69

แฮนดบ์ อล พ 33205 44 2 2 0 1 0 0 0 0 0 49 3.90 0.35

สุขศึกษา พ 33102 43 4 2 0 0 0 0 0 0 0 49 3.92 0.23
เปตอง พ 30202 49 0 0 0 0 0 0 0 0 0 49 4.00 0.00

รวม ม.ปลาย 357 30 14 16 6 6 12 5 0 0 446 3.70 0.77

รวมท้งั โรงเรียน 967 94 38 33 11 13 12 15 0 0 1161 3.76 0.68

คิดเป็ นร้อยละ 83.29 8.10 3.27 2.84 0.95 1.12 1.03 1.29 0.00 0.00

หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉลย่ี และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนกั เรียนทไี่ ด้ "ร" และ "มส"

คา่ เฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน

รวม ม.ตน้ 3.80 0.61
รวม ม.ปลาย 3.70 0.77
รวมท้งั โรงเรียน 3.76 0.68

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๓๙

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรยี น ปี การศึกษา 2563

กล่มุ สาระการเรียนรู้ศิลปะ

จานวนนักเรียนทไ่ี ด้ผลการเรยี นในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้ัน รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรียนค่าเฉลี่ย S.D

ม.1 ดนตรีพ้ืนฐาน 1 ศ 21101 85 0 0 0 0 0 0 0 0 0 85 4.00 0.00

กีตา้ ร์ 1 ศ 21203 27 0 0 0 0 0 0 0 0 0 27 4.00 0.00

ดนตรีพ้ืนฐาน 2 ศ 21102 70 0 0 0 0 0 9 4 0 0 83 3.48 1.22

กีตา้ ร์ 2 ศ 21204 31 0 0 0 0 0 1 0 0 0 32 3.91 0.52

ม.2 ทศั นศลิ ป์ 1 ศ 22101 29 5 5 8 5 2 12 4 0 0 70 2.76 1.32

กีตา้ ร์ ศ 22203 21 0 0 0 0 0 0 0 0 0 21 4.00 0.00

ทศั นศลิ ป์ ศ 22102 9 11 17 5 7 6 5 6 0 0 66 2.52 1.18

กีตาร์ 4 ศ22204 5 1 0 0 0 7 4 4 0 0 21 1.81 1.43

ม.3 นาฏศลิ ป์ พ้ืนฐาน 1 ศ 23101 39 0 5 15 16 7 1 0 0 0 83 3.04 0.97

นาฏศิลป์ เพ่ิมเตมิ ศ23201 36 3 9 13 13 1 8 0 0 0 83 3.01 1.03

กตี าร์ ศ23203 18 0 0 0 0 0 0 0 0 0 18 4.00 0.00

นาฏศิลป์ ศ 23102 59 8 7 1 3 1 4 0 0 0 83 3.60 0.79

นาฏศิลป์ เพ่ิมเตมิ ศ23202 55 11 9 8 0 0 0 0 0 0 83 3.68 0.51

กตี า้ ร์ ศ 23204 12 0 0 6 0 0 0 0 0 0 18 3.50 0.71

รวม ม. ต้น 316 17 27 28 28 22 32 18 0 0 488 3.27 1.16

คิดเป็ นร้อยละ 84.72 4.56 7.24 7.51 7.51 5.90 8.58 4.83 0.00 0.00 130.83

ม.4 นาฏศิลป์ ปฏิบตั ิ 1 ศ 31101 22 5 6 2 16 0 0 3 0 0 54 2.97 1.11

ดนตรี ศ 31102 13 5 7 6 3 4 4 11 0 0 54 3.55 0.68

ม.5 ทศั นศิลป์ ศ 32101 31 0 0 0 0 0 0 1 0 0 32 3.88 0.70

ทศั นศลิ ป์ ศ 32102 23 1 2 0 0 0 2 3 0 0 31 3.34 1.33

ม.6 ดนตรี ศ 33101 10 30 2 3 3 0 0 1 0 0 49 3.36 0.70

ดนตรี ศ 33102 48 0 0 0 0 0 1 0 0 0 49 3.94 0.42

รวม ม.ปลาย 147 41 17 11 22 4 7 19 0 0 269 3.24 1.18

รวมทง้ั โรงเรยี น 463 58 44 39 50 26 39 37 0 0 757 3.26 1.17

คิดเป็ นร้อยละ 61.16 7.66 5.81 5.15 6.61 3.43 5.15 4.89 0.00 0.00

หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉลีย่ และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนกั เรียนทไ่ี ด้ "ร" และ "มส"

รวม ม.ตน้ คา่ เฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน

3.27 1.16

รวมม.ปลาย 3.24 1.18

รวมทง้ั โรงเรียน 3.26 1.17

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๔๐

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นของนักเรยี น ปี การศึกษา 2563
กล่มุ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ช้นั รายวิชา รหัส 4 จานวนนักเรียนทไ่ี ด้ผลการเรียนในระดับต่าง ๆ มส นจักานเรวียนนค่าเฉลี่ย S.D
3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร

ม.1 วิทยาศาสตร์ ว 21101 26 13 11 26 7 1 1 0 0 0 85 3.11 0.75

การออกแบบและเทคโนโลยี ว21103 58 12 6 2 3 1 3 1 0 0 86 3.58 0.83

คอมพวิ เตอร์ 1 ว21203 7 7 5 1 1 0 2 9 0 0 32 2.31 1.62

วิทยาศาสตร์ ว 21102 15 25 16 9 9 7 1 1 0 0 83 2.98 0.86

วิทยาการคานวณ ว21104 22 13 11 12 6 1 6 6 5 1 83 2.81 1.20
คอมพิวเตอร์2 ว21204 10 4 1 0 1 1 9 5 0 0 31 2.24 1.58

ม.2 วทิ ยาศาสตร์ ว 22101 19 4 18 10 6 7 4 1 0 0 69 2.83 0.99

ออกแบบและเทคโนโลยี ว22103 43 3 9 6 1 1 4 1 0 0 68 3.41 0.95

คอมพวิ เตอร์ 1 ว22203 6 2 4 0 0 1 1 2 6 0 22 2.84 1.38

วิทยาศาสตร์ ว 22102 3 8 25 8 14 0 2 0 7 0 67 2.75 0.65

วทิ ยาการคานวณ ว22104 6 3 13 7 14 7 6 10 0 0 66 2.05 1.19

คอมพวิ เตอร์ 4 ว22204 4 3 6 0 1 0 2 3 1 0 20 2.55 1.39

วทิ ยาศาสตร์ ว 23101 26 18 13 10 12 4 0 0 0 0 83 3.14 0.79

ม.3 การออกแบบและเทคโนโลยี ว23103 41 10 10 10 4 3 3 2 0 0 83 3.25 0.99

วทิ ยาศาสตร์ ว 23102 5 27 19 8 9 9 6 0 0 0 83 2.76 0.87

วทิ ยาศาสตร์การคานวณ ว23104 51 8 5 6 5 4 4 0 0 0 83 3.40 0.93

รวม ม. ต้น 291 152 167 109 88 43 50 41 19 1 961 2.93 1.08

คดิ เป็ นร้อยละ 52.62 27.49 30.20 19.71 15.91 7.78 9.04 7.41 3.44 0.18 173.78

วทิ ยาศาสตร์ชีวภาพ ว 30103 8 6 9 13 7 6 3 3 0 0 55 2.52 1.04

ออกแบบและเทคโนโลยี ว30105 18 2 4 2 6 0 4 17 0 0 53 2.11 1.70

เคม1ี ว 30221 3 5 9 5 6 9 6 10 0 0 53 1.90 1.24
ม.4 ฟิสกิ ส์ 1
ว30201 13 7 8 2 7 4 6 7 0 0 54 2.44 1.37

โครงงานวิทยาการคานวณ ว31107 15 2 9 11 11 2 2 1 0 0 53 2.80 0.96

เคมี 2 ว 30222 1 0 4 2 6 14 6 19 0 1 53 1.15 1.04

ชีววทิ ยา 1 ว30241 3 0 4 9 9 17 11 0 0 0 53 1.91 0.79

ฟิสิกส์ 2 ว 30202 1 13 8 3 8 4 7 9 0 0 53 2.08 1.27

วทิ ยาศาสตร์กายภาพ 1 ว30101 3 3 5 6 4 2 5 4 0 0 32 2.14 1.20

การออกแบบและเทคโนโลยี ว30106 25 4 0 0 0 0 0 2 0 0 31 3.68 0.98

ฟิสกิ ส์ 3 ว30203 4 1 4 1 0 2 3 19 0 0 34 1.18 1.52

ชีววิทยา 2 ว30242 5 4 9 0 6 6 1 2 0 0 33 2.52 1.10

วิทยาศาสตร์กายภาพ 2 ว32102 2 2 5 2 3 4 1 13 0 0 32 1.50 1.41

ม.5 เทคโนโลย(ี วทิ ยาการคานวณ) ว32108 15 0 8 4 2 0 2 0 0 0 31 3.23 0.89

เคมี 3 ว30223 3 4 12 6 6 3 4 5 0 1 44 2.27 1.14

ชีววทิ ยา3 ว30243 13 4 5 4 4 1 0 0 0 0 31 3.24 0.79

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนือพทิ ยาคม ๑๔๑

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรยี น ปี การศึกษา 2563
กล่มุ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ต่อ)

ช้นั รายวิชา รหัส 4 จานวนนักเรยี นทไี่ ด้ผลการเรียนในระดับต่าง ๆ มส นจักานเรวยี นนค่าเฉล่ีย S.D
3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร

เคม5ี ว 30225 1 2 10 24 6 4 0 1 0 1 49 2.48 0.62

ชีววทิ ยา5 ว 30244 5 4 14 16 9 0 1 0 0 0 49 2.76 0.64

ฟิ สกิ ส4์ ว 30204 13 2 11 4 5 1 3 10 0 0 49 2.38 1.46

เคมพี ้นื ฐาน ว 30102 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0.00 0.00

ม.6 ชีววทิ ยาพ้นื ฐาน ว30103 8 13 16 7 4 0 0 1 0 0 49 3.08 0.72

โลก ดาราศาสตร์ ว30104 15 12 12 5 1 2 2 0 0 0 49 3.21 0.79

ฟิ สกิ ส์ 5 ว30205 13 3 7 7 5 7 2 5 0 0 49 2.52 1.26

เคมี 5 ว30225 0 1 7 9 4 4 4 2 0 0 31 2.10 0.88

รวม ม.ปลาย 178 93.5 169 128.5 112 82.5 68 123 0 3 940 2.39 1.28

รวมท้งั โรงเรียน 469 246 336 237.5 200 125.5 118 164 19 4 1901 2.66 1.22

คดิ เป็ นร้อยละ 24.67 12.91 17.67 12.49 10.52 6.60 6.21 8.63 1.00 0.21

ลการเรียนเฉลี่ยและสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ บั รวมจานวนนกั เรียนที่ได้ "ร" และ "มส"
คา่ เฉล่ีย สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน

รวม ม.ตน้ 2.93 1.08

รวม ม.ปลาย 2.39 1.28

รวมท้งั โรงเรียน 2.66 1.22

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนือพิทยาคม ๑๔๒

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ปี การศึกษา 2563
กล่มุ สาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์

จานวนนักเรยี นทไี่ ด้ผลการเรยี นในระดับต่าง ๆ จานวน

ช้ัน รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรยี นค่าเฉล่ีย S.D
ม.1 คณิตศาสตร์ 1
ค21101 2 2 5 3 14 30 30 0 0 0 86 1.63 0.72

คณิตศาสตร์ 2 ค21102 23 4 3 7 9 8 23 7 0 0 84 2.09 1.26

ม.2 คณิตศาสตร์ 3 ค22101 7 5 11 13 15 8 2 7 1 0 69 2.28 1.09

คณิตศาสตร์พ้ืนฐาน 4 ค22102 4 8 12 12 8 6 7 3 0 7 67 2.37 1.01
ม.3 คณิตศาสตร์ 5 ค23101 0 14 14 20 10 6 2 17 0 0 83 2.07 1.21

คณิตศาสตร์ 6 ค23102 9 6 9 12 15 7 16 9 0 0 83 2.05 1.18

รวม ม. ต้น 45 39 54 67 71 65 80 43 1 7 472 2.08 1.14

คิดเป็ นร้อยละ 8.14 7.05 9.76 12.12 12.84 11.75 14.47 7.78 0.18 1.27 85.35

ม.4 คณิตศาสตร์ ค 31101 5 6 14 18 4 4 2 0 0 0 53 2.72 0.72

คณิตศาสตร์เพ่ิมเตมิ ค31201 1 2 3 18 7 11 4 7 0 0 53 1.88 0.97
คณิตศาสตร์ 2 ค31102 7 10 11 8 9 6 2 0 0 0 53 2.74 0.85

คณิตศาสตร์เพ่ิมเตมิ 2 ค31202 1 1 6 19 14 6 6 0 0 0 53 2.19 0.65
ม.5 คณิตศาสตร์ 3 ค32101 4 3 3 8 7 3 0 3 0 1 32 2.39 1.08
คณิตศาสตร์เพิ่มเตมิ 3 ค32201 1 2 5 5 11 2 5 4 0 0 35 1.96 1.02
คณิตศาสตร์ 4 ค32102 1 5 1 3 10 3 2 6 0 0 31 1.89 1.18

คณิตศาสตร์เพ่ิมเตมิ 4 ค32202 0 1 6 6 8 7 3 0 0 0 31 2.13 0.67
ม.6 คณิตศาสตร์ 5 ค33101 1 5 7 21 7 7 1 0 0 0 49 2.46 0.64

คณิตศาสตร์เพิ่มเตมิ 5 ค33201 2 8 15 11 7 6 0 0 0 0 49 2.68 0.68
คณิตศาสตร์ 6 ค33102 1 4 2 12 15 10 5 0 0 0 49 2.12 0.71

คณิตศาสตร์เพม่ิ เติม 6 ค33202 1 5 23 8 11 1 0 0 0 0 49 2.73 0.54
รวม ม.ปลาย 25 52 96 137 110 66 30 20 0 1 537 2.35 0.87

รวมทง้ั โรงเรยี น 70 91 150 204 181 131 110 63 1 8 1009 2.23 1.01

คิดเป็ นร้อยละ 6.94 9.02 14.87 20.22 17.94 12.98 10.90 6.24 0.10 0.79

คา่ เฉลยี่ ส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน

รวม ม.ตน้ 2.08 1.14
รวมม.ปลาย 2.35 0.87
รวมท้งั โรงเรียน 2.23 1.01
หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉลย่ี และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนกั เรียนทไ่ี ด้ "ร" และ "มส"

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรียนแกง้ เหนอื พทิ ยาคม ๑๔๓

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนของนักเรียน ปี การศึกษา 2563 จานวน
กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
จานวนนักเรยี นทไี่ ด้ผลการเรยี นในระดับต่าง ๆ

ช้นั รายวิชา รหัส 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรียนค่าเฉลี่ย S.D

ม.1 ภาษาองั กฤษ1 อ21101 29 9 6 7 14 8 11 1 0 0 85 2.75 1.15

ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ อ21203 3 9 14 36 21 2 0 0 0 0 85 2.59 0.55

ภาษาองั กฤษ 2 อ21102 23 2 3 5 5 3 14 29 0 0 84 1.77 1.64

ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ อ21204 9 4 14 19 21 13 3 0 1 0 84 2.46 0.80

ม.2 ภาษาองั กฤษ อ22101 3 7 10 6 14 8 7 13 1 0 69 1.89 1.21

ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ 3 อ22203 3 0 4 1 2 0 1 1 0 0 12 2.63 1.17
ภาษาองั กฤษ 4 อ22102 1 0 14 7 7 18 8 11 0 0 66 1.70 1.03
ภาษาองั กฤษเพ่ิมเตมิ อ22204 3 0 2 0 2 0 1 3 0 0 11 2.09 1.56

ม.3 ภาษาองั กฤษ 5 อ23101 1 8 15 18 10 7 17 7 0 0 83 2.04 1.03

ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ 5 อ23203 12 2 0 45 0 0 000 23 3.26 0.86
ภาษาองั กฤษพ้ืนฐาน 6 อ23102 9 13 8 9 11 9 18 6 0 0 83 2.19 1.19
ภาษาองั กฤษเพ่ิมเตมิ อ23204 12 3 1 3 5 0 0 0 0 0 24 3.29 0.83

รวม ม. ต้น 67 31 47 73 75 34 35 43 2 0 407 2.31 1.20

คิดเป็ นร้อยละ 17.96 8.31 12.60 19.57 20.11 9.12 9.38 11.53 0.54 0.00 109.12
ม.4 ภาษาองั กฤษ 1
อ31101 22 5 5 6 11 2 2 0 0 0 53 3.07 0.95
ภาษาองั กฤษรอบรู้
อ31201 16 2 7 11 5 4 8 0 0 0 53 2.71 1.07

ภาษาองั กฤษพ้ืนฐาน 2 อ31102 12 0 6 4 13 3 11 4 0 0 53 2.22 1.23
ภาษาองั กฤษรอบรู้ อ30202 15 7 6 7 7 6 4 1 0 0 53 2.77 1.08
อ32101 13 1 4 5 2 0 6 000 31 2.90 1.14
ม.5 ภาษาองั กฤษ 3 อ32201 11 3 4 2 3 1 2 500 31 2.61 1.46
ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ 3
ภาษาองั กฤษ 4 อ32102 19 1 3 1 2 1 1 3 0 0 31 3.15 1.32
ภาษาองั กฤษเพ่ิมเตมิ 4 อ32202 12 4 3 4 2 1 3 2 0 0 31 2.89 1.24
อ33101 3 2 14 9 10 1 9 1 0 0 49 2.33 0.91
ม.6 ภาษาองั กฤษ 5 อ33201 4 2 10 10 10 2 10 1 0 0 49 2.27 0.95

ภาษาตา่ งประเทศ

ภาษาองั กฤษ 6 อ33102 1 2 15 9 12 4 5 1 0 0 49 2.32 0.79
ภาษาองั กฤษเพิ่มเตมิ 6 อ30202 20 8 11 5 3 2 0 0 0 0 49 3.32 0.73

รวม ม.ปลาย 148 37 88 73 80 27 61 18 0 0 532 2.69 1.12

รวมทง้ั โรงเรยี น 215 68 135 146 155 61 96 61 2 0 939 2.52 1.17

คิดเป็ นร้อยละ 22.90 7.24 14.38 15.55 16.51 6.50 10.22 6.50 0.21 0.00

และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนกั เรียนทไ่ี ด้ "ร" และ "มส"

คา่ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

รวม ม.ตน้ 2.31 1.20
รวม ม.ปลาย 2.69 1.12
รวมท้งั โรงเรียน 2.52 1.17

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแกง้ เหนอื พิทยาคม ๑๔๔

ตารางสรุปผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นของนักเรียน ปี การศึกษา 2563
กล่มุ สาระการเรียนรู้การงานอาชพี

รายวิชา รหัส จานวนนักเรยี นทไี่ ด้ผลการเรียนในระดับต่าง ๆ จานวน ค่าเฉล่ีย S.D
ช้ัน
4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส นักเรียน

ม.1 การงานอาชีพ ง21101 48 0 18 0 20 0 0 000 86 3.33 0.83

การงานอาชพี ง21102 24 0 19 0 40 0 0 000 83 2.81 0.86

ม.2 การงานอาชีพ ง22101 31 0 22 0 16 0 0 000 69 3.22 0.80

อาหารไทย ง22205 13 1 1 0 0 0 0 0 0 0 15 3.90 0.27

การงานอาชพี ง22102 27 0 15 0 18 0 0 0 0 0 60 3.15 0.85
อาหารไทย 4 ง22205 8 3 1 1 0 0 0 0 0 1 14 3.69 0.46
ง23101 36 0 19 0 28 0 0 0 0 0 83 3.10 0.87
ม.3 การงานอาชพี ฯ ง23203 11 8 0 0 0 0 0 7 0 0 26 2.77 1.69

คอมพิวเตอร์

การงานอาชพี ฯ ง23102 42 0 34 0 7 0 0 000 83 3.42 0.64

อาหารไทย ง23210 6 2 0 1 1 2 0 000 12 3.21 0.99

รวม ม. ต้น 246 14 129 2 130 2 0 701 531 3.18 0.90

คิดเป็ นร้อยละ 32.41 1.84 17.00 0.26 17.13 0.26 0.00 0.92 0.00 0.13 69.96 3.55 0.68
ง31101 26 17 7 2 1 0
ม.4 การงานอาชพี 0 100 54 3.69 0.65
การงานอาชพี ง31102 39 5 5 1 1 1
ม.5 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง32101 18 1 7 1 3 2 1 000 53 3.30 0.90
3.16 0.91
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง32102 16 1 3 1 11 0 1 000 33 3.27 1.05
0 000 32 3.89 0.44
ม.6 การงานอาชีพ ง33101 37 5 2 3 0 13 1 000 61 3.91 0.44
1 000 49 3.56 0.80
คอมพิวเตอร์เพ่ิมเตมิ ง33201 43 5 0 0 0 0 1 000 49 3.33 0.88
5 100 331
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง33102 45 3 0 0 0 0 5 801 862

รวม ม.ปลาย 224 37 24 8 16 16 0.58 0.93 0.00 0.12

รวมท้งั โรงเรยี น 470 51 153 10 146 18

คิดเป็ นร้อยละ 54.52 5.92 17.75 1.16 16.94 2.09

หมายเหตุ -ผลการเรียนเฉล่ียและส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน(S.D)ไมน่ ับรวมจานวนนักเรียนทไี่ ด้ "ร" และ "มส"

รวม ม.ตน้ คา่ เฉลยี่ ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน

3.18 0.90

รวมม.ปลาย 3.56 0.80
รวมท้งั โรงเรียน 2.32 3.33 0.88

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๔๕

ประกาศโรงเรยี นแกง้ เหนือพิทยาคม
เรื่องการใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน
เพอ่ื การประกันคุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษาและค่าเป้าหมายการพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา

ปกี ารศกึ ษา 2563

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔๑
กาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหน่ึงหรือทุกระดับตามความพร้อม ความ
เหมาะสมและความต้องการภายในท้องถ่ิน ประกอบกับมาตรา ๔๗ กาหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายในและ
ระบบประกันคุณภาพภายนอก กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ กาหนดให้
สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การกาหนดมาตรฐานการศึกษาของ
ส ถ า น ศึ ก ษ า ใ ห้ เ ป็ น ไ ป ต า ม ม า ต ร ฐ า น ก า ร ศึ ก ษ า แ ต่ ล ะ ร ะ ดั บ แ ล ะ ป ร ะ เ ภ ท ก า ร ศึ ก ษ า ท่ี รั ฐ ม น ต รี ว่ า ก า ร
กระทรวงศึกษาธิการประกาศกาหนด ซ่ึงกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
ระดับการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน ศนู ยก์ ารศึกษาพิเศษ เมอื่ วนั ที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เพ่ือเป็นหลักเทียบเคียงในการ
พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนกากับดูแลและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และเพ่ือให้เป็นไปตามกฎหมาย
กาหนด กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐานและ
มาตรฐานปฐมวัยเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันท่ี ๓๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาข้ัน
พื้นฐาน และแนวทางปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาเพ่ือการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันท่ี ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยกาหนดให้สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วน
ท้องถ่ินที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานดาเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง
ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกาศ ณ วันที่ ๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอานาจตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล ๒๔๙๖ แก้ไขเพ่ิมเติมถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.
๒๕๕๒ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๖ และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึง
(ฉบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๔๑ จึงประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพ้ืนฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาและค่าเปูาหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖3 โดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพน้ื ฐาน ในการประชมุ คร้งั ท่ี 2 / ๒๕๖3 เม่ือวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖3 ตาม
เอกสารแนบทา้ ยประกาศฉบบั น้ี

ประกาศ ณ วันท่ี 7 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖3

ว่าท่รี อ้ ยโท
(สคุ นธ์ ศุภสขุ )

รองผู้อานวยการโรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม
รักษาราชการแทนผู้อานวยการโรงเรยี นแก้งเหนอื พทิ ยาคม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนอื พิทยาคม ๑๔๖

มาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
แนบทา้ ยประกาศโรงเรียนแกง้ เหนอื พิทยาคม
เรอื่ ง ใหใ้ ชม้ าตรฐานการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐานเพื่อการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษา
และค่าเปา้ หมายการพฒั นาคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖3

มาตรฐานการศกึ ษา ระดับการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พ.ศ. ๒๕๖3 จานวน ๓ มาตรฐาน ได้แก่
มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของผเู้ รยี น
๑.๑ ผลสัมฤทธทิ์ างวชิ าการของผู้เรียน
๑.๒ คุณลักษณะทพี่ ึงประสงคข์ องผูเ้ รยี น
มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ีเนน้ ผู้เรียนเปน็ สาคญั

แต่ละมาตรฐานมรี ายละเอียดดงั ต่อไปนี้
มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของผู้เรียน

๑.๑ ผลสมั ฤทธิ์ทางวชิ าการของผู้เรยี น
๑) มคี วามสามารถในการอา่ น การเขียน การสอื่ สารและการคดิ คานวณ
๒) มีความสามารถในการคดิ วิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลย่ี น
ความคิดเหน็ และแกป้ ัญหา
๓) มคี วามสามารถในการสรา้ งนวัตกรรม
๔) มคี วามสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร
๕) มีผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลักสตู รสถานศกึ ษา
๖) มีความรูท้ กั ษะพนื้ ฐานและเจตคตทิ ด่ี ีตอ่ งานอาชพี

๑.๒ คุณลกั ษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องผูเ้ รียน
๑) การมคี ณุ ลักษณะและคา่ นยิ มทด่ี ีตามทสี่ ถานศึกษากาหนด
๒) ความภมู ิใจในทอ้ งถิน่ และความเปน็ ไทย
๓) การยอมรบั ทีจ่ ะอยู่รว่ มกนั บนความแตกตา่ งและหลากหลาย
๔) สขุ ภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๒.๑ มเี ปาู หมายวิสยั ทศั น์และพันธกจิ ท่สี ถานศกึ ษากาหนดชัดเจน
๒.๒ มรี ะบบบรหิ ารจดั การคุณภาพของสถานศึกษา
๒.๓ ดาเนินงานพฒั นาวชิ าการท่เี น้นคุณภาพผูเ้ รยี นรอบด้านตามหลักสตู รสถานศึกษา
และทกุ กลุ่มเปูาหมาย
๒.๔ พฒั นาครูและบุคลากรให้มคี วามเชีย่ วชาญทางวชิ าชีพ
๒.๕ จดั สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพและสังคมท่เี อื้อต่อการจดั การเรียนรูอ้ ย่างมีคณุ ภาพ
๒.๖ จดั ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนบั สนุนการบรหิ ารจัดการและการจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนทเี่ นน้ ผู้เรยี นเป็นสาคญั
๓.๑ จดั การเรียนรผู้ า่ นกระบวนการคิดและปฏบิ ตั จิ ริง และสามารถนาไปประยกุ ตใ์ ช้ในชีวิตได้
๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหลง่ เรียนรทู้ เ่ี ออ้ื ตอ่ การเรียนรู้
๓.๓ มกี ารบรหิ ารจดั การชั้นเรยี นเชงิ บวก
๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผเู้ รยี นอยา่ งเปน็ ระบบและนาผลมาพฒั นาผเู้ รียน
๓.๕ มีการแลกเปล่ยี นเรียนร้แู ละใหข้ ้อมลู สะท้อนกลับเพอ่ื พัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนือพิทยาคม ๑๔๗

ประกาศโรงเรียนแกง้ เหนือพิทยาคม
เร่ือง กาหนดคา่ เปา้ หมายตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา ระดบั การศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน

เพ่ือการประกันคุณภาพภายในของสถานศกึ ษา
.....................................................................

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ ไดป้ ระกาศใชก้ ฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลกั เกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ
การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ซ่ึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ แนวทางในการดาเนินงานตาม
ประกาศกฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลกั เกณฑ์ และวิธกี ารประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ไม่สอดคล้องกับ
หลักการประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง จึงส่งผลให้การดาเนินการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไม่
สัมพันธ์กัน เกิดความซ้าซ้อนและคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติ ทาให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงและเป็นการสร้างภาระ
ใหส้ ถานศกึ ษา

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาระดับขั้น
พ้ืนฐาน และแนวทางปฏิบัติในการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ลงวันท่ี 31 ตุลาคม ๒๕๖๑ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ปรับ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดบั การศึกษาข้นั พืน้ ฐานจากการมีสว่ นร่วมของผูเ้ กย่ี วขอ้ ง ท้ังบุคลากรทุกคน
ในโรงเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชนให้เหมาะสมและสอดคล้องกัน เพ่ือนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน การประเมินคุณภาพภายในและรองรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในการประชุม คร้ังที่ 2 / 25๖3 เมื่อ
วนั ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 25๖3

เ พ่ื อ ใ ห้ ก า ร พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ แ ล ะ ม า ต ร ฐ า น ก า ร ศึ ก ษ า ข อ ง โ ร ง เ รี ย น แ ก้ ง เ ห นื อ พิ ท ย า ค ม มี คุ ณ ภ า พ
และมาตรฐาน จึงกาหนดค่าเปูาหมายการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษา
ขนั้ พนื้ ฐาน ตามเอกสารแนบท้ายประกาศน้ี

ประกาศ ณ วนั ท่ี 7 กรกฎาคม พ.ศ. ๒5๖3

วา่ ที่รอ้ ยโท
(สคุ นธ์ ศุภสขุ )

รองผู้อานวยการโรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม
รักษาราชการแทนผู้อานวยการโรงเรียนแก้งเหนอื พิทยาคม

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๔๘

แนบท้ายประกาศโรงเรียนแก้งเหนอื พิทยาคม

เรอ่ื ง กาหนดมาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศกึ ษา เพอ่ื การประกนั คุณภาพภายในของสถานศึกษา

...................................................

ระดบั การศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน คา่ เป้าหมาย
เชงิ ระดับ
มาตรฐาน / ประเดน็ การพิจารณา ปริมาณ คุณภาพ
(รอ้ ยละ)
มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพ องผู้เรียน 74.17 ดี
๑.๑ ผลสัมฤทธทิ างวิชาการ องผ้เู รียน 68.33 ดี
60 ดี
๑ มีความสามารถในการอ่าน การเขยี น การส่อื สารและการคดิ คานวณ 60 ดี
๒ มีความสามารถในการวเิ คราะห์และคิดอย่างมวี ิจารณญาณ อภิปราย
แลกเปลย่ี นความคิดเห็น และแก้ปัญหา 80 ดเี ลศิ
๓ มคี วามสามารในการสรา้ งนวัตกรรม 70 ดี
๔ มคี วามสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ และการสื่อสาร 60 ดี
๕ มผี ลสัมฤทธท์ิ างการเรียนตามหลกั สตู รสถานศึกษา 80 ดเี ลิศ
๖ มคี วามรู้ ทักษะพ้นื ฐานและเจตคติทีด่ ตี ่องานอาชีพ 80 ดเี ลิศ
๑.๒คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์ องผู้เรียน 80 ดเี ลศิ
๑ การมคี ุณลกั ษณะและคา่ นยิ มที่ดีตามท่ีสถานศกึ ษากาหนด 80 ดเี ลศิ
๒ ความภมู ใิ จในท้องถิ่นและความเป็นไทย 80 ดเี ลศิ
๓ การยอมรบั ทีจ่ ะอย่รู ่วมกนั บนความแตกต่างและหลากหลาย 80 ดี
๔ สุขภาวะทางรา่ งกายและลักษณะจติ สงั คม 70.63 ดี
มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและจดั การ 73.75 ดี
๒ ๑ การมีเป้าหมาย วสิ ยั ทัศน์ และพันธกิจทส่ี ถานศึกษากาหนดชัดเจน 70 ดี
๒ ๒มรี ะบบบรหิ ารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 75 ดี
๒ ๓ดาเนนิ งานพัฒนาวชิ าการท่ีเนน้ คุณภาพผ้เู รียนรอบด้านตามหลักสตุ รสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเปา้ หมาย 70 ดี
๒ ๔พัฒนาครแู ละบุคลกรใหม้ ีความเช่ยี วชาญทางวชิ าชีพ 70 ดี
๒ ๕จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมท่ีเอือ้ ตอ่ การจดั การเรยี นรูอ้ ย่างมีคูณ
ภาพ 65 ดี
๒ ๖จัดระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศเพื่อสนบั สนนุ การบริหารจัดการและการจัดการ
เรยี นรู้

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนือพิทยาคม ๑๔๙

มาตรฐาน / ประเดน็ การพิจารณา ค่าเปา้ หมาย
เชิง ระดับ
มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคญั ปรมิ าณ คุณภาพ
(ร้อยละ)
๓ ๑ จดั การเรยี นรผู้ ่านกระบวนการคดิ และปฏบิ ัตจิ ริง และสามารถนาไปประยกุ ต์ใชใ้ นชีวติ ได้
62 ดี
๓ ๒ใชส้ ือ่ เทคโนโลยสี ารสนเทศ และแหลง่ เรียนรู้ทเ่ี อ้ือต่อการเรยี นรู้ 60 ดี
๓ ๓มีการบรหิ ารจัดการชนั้ เรียนเชิงบวก 73.33 ดี
๔ ๔ตรวจสอบและประเมินผ้เู รยี นอย่างเปน็ ระบบ และนาผลมาพฒั นาผเู้ รยี น 60.00 ดี
60.00 ดี
๓ ๕มีการแลกเปล่ยี นเรยี นรู้และใหข้ ้อมูลสะทอ้ นกลบั เพ่ือพฒั นาและปรบั ปรงุ การจดั การเรยี นรู้ 60.00 ดี
68.93 ดี
สรุปผลการประเมนิ ในภาพรวม องสถานศกึ ษา

หลกั เกณฑ์พิจารณาคุณภาพ รวม ชว่ งคะแนน เชิงปรมิ าณรอ้ ยละ และระดับคุณภาพ
โรงเรียนแกง้ เหนือพิทยาคม สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนจงั หวัดอบุ ลราชธานี

ชว่ งคะแนน เชิงปริมาณรอ้ ยละ ระดบั คณุ ภาพ
95-100 ดีเย่ยี ม
80-94 ดเี ลิศ
60-79 ดี
40-59 พอใช้
0-39 ปรับปรงุ

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแกง้ เหนอื พทิ ยาคม ๑๕๐

ประกาศโรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม
เรื่อง มาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐานเพอื่ การประกันคณุ ภาพภายใน

สถานศกึ ษาและคา่ เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปกี ารศึกษา 2563

............................................................................

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ. ศ. 2553
มาตราที่ 41 กาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความ
พร้อมความเหมาะสมหรือความต้องการภายในท้องถ่ินประกอบกับมาตรา 47 กาหนดให้ระบบประกันคุณภาพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพภายในและ
ระบบประกันคุณภาพภายนอกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ. ศ. 2561 ข้อ 3 กาหนดให้
สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาการกาหนดมาตรฐานก ารศึกษาของ
ส ถ า น ศึ ก ษ า ใ ห้ เ ป็ น ไ ป ต า ม ม า ต ร ฐ า น ก า ร ศึ ก ษ า แ ต่ ล ะ ร ะ ดั บ แ ล ะ ป ร ะ เ ภ ท ก า ร ศึ ก ษ า ที่ รั ฐ ม น ต รี ว่ า ก า ร
กระทรวงศึกษาธกิ ารประกาศกาหนดซึ่งกฎกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
ระดบั ประถมศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานศูนย์การศกึ ษาพิเศษเมอื่ วันท่ี 6 สงิ หาคม 2561 เพ่ือเป็นการหลักเทียบเคียงในการ
พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนกากับดูแลและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเพ่ือให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว
กระทรวงมหาดไทยไดย้ กเลกิ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเร่ืองมาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐานและมาตรฐานปฐมวัย
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเม่ือวันท่ี 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
และได้ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและแนวทางการ
ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเม่ือวันที่ 31
ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้กาหนดให้สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและ
การศึกษาขัน้ พืน้ ฐานดาเนนิ การตามประกาศกระทรวงศกึ ษาธิการเรอ่ื งให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยระดับ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2561 อาศัยอานาจตามความใน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ. ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ. ศ. 2552 มาตรา 50 มาตรา 53 มาตรา
56 และพระราชบัญญัตแิ กไ้ ข พ. ศ. 2542 แก้ไขเพม่ิ เตมิ ฉบับท่ี 3 พ.ศ. 2553 มาตราท่ี 41

จึงประกาศใชม้ าตรฐานการศกึ ษาระดับปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาข้นั พน้ื ฐานเพื่อการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและค่าเปูาหมายการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2563 โดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานในการประชุมครั้งที่ 2/2563 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.
2563 ตามเอกสารแนบทา้ ยฉบับน้ี

ประกาศ ณ วันท่ี 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วา่ ทรี่ ้อยโท
(สคุ นธ์ ศภุ สุข)

รองผอู้ านวยการโรงเรยี นแก้งเหนือพิทยาคม
รักษาราชการแทนผู้อานวยการโรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๕๑

เอกสารแนบทา้ ยประกาศโรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม
เรอื่ ง มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและมาตรฐานการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานเพอื่ การประกันคณุ ภาพภายใน

สถานศึกษาและคา่ เปา้ หมายการพฒั นาคณุ ภาพการศึกษา ปีการศกึ ษา 2563

มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาข้นั พื้นฐาน พ.ศ.2563 มีจานวน 3 มาตรฐาน ไดแ้ ก่
มาตรฐานที่ 1 คณุ ภาพของผ้เู รยี น
1.1 ผลสัมฤทธ์ิทางวชิ าการของผู้เรยี น
1.2 คณุ ลักษณะที่พึงประสงค์
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจดั การเรยี นการสอนท่ีเนน้ ผู้เรยี นเป็นสาคัญ

แตล่ ะมาตรฐานมรี ายละเอยี ด ดังน้ี

มาตรฐานท่ี 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธท์ิ างวิชาการของผู้เรียน
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเ ียน การสือ่ สาร และการคดิ คานวณ
7. ผูเ้ รียนรอ้ ยละ ๖๐ มผี ลการประเมนิ ความสามารถในด้านการอ่าน - เขียน ภาษาอังกฤษอยู่ใน
ระดับดขี ึน้ ไป
8. ผ้เู รียนร้อยละ ๖๐ มผี ลสัมฤทธิ์ในรายวชิ าภาษาองั กฤษตัง้ แตร่ ะดับเกรด 3 ขนึ้ ไป
9. ผ้เู รียนร้อยละ ๖๐ มีผลการประเมินความสามารถในการอา่ น–เขยี นภาษาไทย อยใู่ นระดับดขี นึ้
ไป
10.ผเู้ รียนร้อยละ ๖๐ มีผลสมั ฤทธิใ์ นรายวชิ าภาษาไทย ตั้งแตร่ ะดับเกรด 3 ขึน้ ไป
11.ผเู้ รียนร้อยละ ๖๐ มีผลการประเมินความสามารถในการคิดคานวณในระดับดีขึ้นไป
12.ผเู้ รยี นรอ้ ยละ ๖๐ มผี ลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนคณติ ศาสตร์ ตั้งแต่เกรด 2.5 ขนึ้ ไป
๒) มีความสามารถในการคดิ วิเคราะห์ คิดอย่างมีวจิ ารณญาณ อภปิ รายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ

แก้ปญั หา
4. ร้อยละ 60 มีผลการประเมนิ นกั เรียนจากกลุ่มสาระการเรียนร้ทู ัง้ หมด โดยประเมินจาก ปพ.5

ระดบั 2 ข้นึ ไป
5. ร้อยละ 60 มีผลการประเมินจากผลการประเมนิ การอา่ น คิดวเิ คราะห์ เขียน จาก ม.1-ม.6 ทไ่ี ด้

ระดบั 2 ข้ึนไปทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
6. รอ้ ยละ 60 มผี ลการดาเนินโครงการกิจกรรม โครงงานนักเรยี นทุกรายวชิ า

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนอื พิทยาคม ๑๕๒

3) มีความสามารถในการสร้างนวตั กรรม
3. ผเู้ รียนร้อยละ 80 ขนึ้ ไป มีความสามารถในคน้ ควา้ หาความรู้ดว้ ยตนเองและสามารถนาองค์

ความร้มู าสร้างนวัตกรรม เช่น โครงงาน หนังสอื เลม่ เลก็ POP UP Power Point อยา่ งนอ้ ย ๒ ชน้ิ /ปีการศกึ ษา
4. ผเู้ รียนร้อยละ 80 ขน้ึ ไป มีความสามารถทางานเป็นทมี ในคน้ ควา้ หาความรแู้ ละสามารถนาองค์

ความรู้มาสรา้ งนวตั กรรม เช่น โครงงาน หนังสอื เลม่ เลก็ POP UP Power Point อยา่ งนอ้ ย ๒ ช้ิน/ปีการศึกษา
4) มคี วามสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร
3. ผูเ้ รียนรอ้ ยละ ๘๐ ขน้ึ ไป มผี ลการประเมินความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการ

สือ่ สารเพ่ือพัฒนาตนเองและสงั คมในด้านการเรยี นรู้ การส่ือสาร การทางาน การแก้ปัญหาระดบั คุณภาพ ดี ขน้ึ ไป
4. ผเู้ รยี นร้อยละ ๖๐ มคี วามสามารถใช้สอ่ื ออนไลนผ์ ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอรเ์ นต็ ในการ

ส่ือสาร ประชาสมั พันธ์ และสืบคน้ ข้อมูล ได้อยา่ งน้อย 2 ชอ่ งทาง อาทิ E-Mail line เสิรช์ เอนจิน (Search
Engines)ต่างๆ เปน็ ต้น

5) มีผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลักสูตรสถานศึกษา
4. ผู้เรียนร้อยละ ๕๐ ข้นึ ไป มผี ลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นทุกรายวิชา ในระดับ ๓ ข้นึ ไป
5. ผเู้ รยี นระดับชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๓ มีผลการทดสอบระดับชาตขิ ัน้ พ้ืนฐาน (O-NET) T-Score 40

ข้นึ ไป
6. ผเู้ รยี นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๖ มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพนื้ ฐาน (O-NET) T-Score 40

ขนึ้ ไป

6) มคี วามรู้ ทักษะพนื้ ฐาน และเจตคตทิ ่ดี ตี ่องานอาชีพ
4. ผเู้ รยี นรอ้ ยละ 80 ขน้ึ ไป มีผลการประเมนิ ความรู้และทกั ษะพืน้ ฐานในการเลือกศึกษาต่อระดบั ที่

สูงขึ้น ระดับคุณภาพ ดีขนึ้ ไป
5. ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ขึ้นไปสามารถบอกอาชีพทีต่ นสนใจพร้อมท้งั ให้เหตุผลประกอบได้ ระดับ

คณุ ภาพ ดีขน้ึ ไป

1.2 คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงคข์ องผู้เรยี น
1) การมีคุณลักษณะและคา่ นิยมที่ดีตามทีส่ ถานศกึ ษากาหนด
1. ผเู้ รียนร้อยละ 80 มผี ลการประเมนิ ดา้ นรักชาติ ศาสน์ กษตั รยิ ร์ ะดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป
2. ผู้เรยี นรอ้ ยละ 80 มีผลการประเมินดา้ นการดารงตนตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

ระดับ คุณภาพ ดขี ึ้นไป
6. ผเู้ รียนร้อยละ 80 มผี ลการประเมินด้านประพฤตปิ ฏิบัติตนตามระเบยี บวนิ ัยของสถานศึกษา

ระดบั คุณภาพดีขนึ้ ไป
4. ผู้เรยี นร้อยละ 80 มผี ลการประเมินด้านความซื่อสตั ย์สจุ รติ ระดบั คุณภาพ ดี ขึน้ ไป
5. ผูเ้ รียนร้อยละ 80 มีผลการประเมินดา้ นความกระตือรือรน้ ใฝเุ รยี นรู้ระดับคณุ ภาพดี ขน้ึ ไป
6. ผู้เรยี นร้อยละ 80 มีผลการประเมนิ ดา้ นมจี ิตสาธารณะ เสียสละ มุง่ ทาประโยชน์ต่อสังคม

สว่ นรวม ระดบั คุณภาพดี ข้นึ ไป

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนือพิทยาคม ๑๕๓

2) ความภูมิใจในท้องถน่ิ และความเป็นไทย
1. ผ้เู รยี นรอ้ ยละ 80 ขึน้ ไป มสี ่วนร่วมในการอนรุ ักษภ์ ูมปิ ัญญาท้องถ่นิ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรม

หรอื มีผลงานดา้ นภมู ปิ ญั ญา ศลิ ปวฒั นธรรม ประเพณีทอ้ งถิน่ อยา่ งน้อย 5 กจิ กรรม/ปีการศกึ ษา
2. ผู้เรียนรอ้ ยละ 80 ขึ้นไป มีสว่ นรว่ มในการอนุรักษป์ ระเพณีและวฒั นธรรมไทย เช่น การเขา้ ร่วม

กิจกรรมวันสาคัญ หรือ มีผลงานดา้ นประเพณีและวฒั นธรรมไทย อยา่ งน้อย 3 กิจกรรม/ปีการศกึ ษา
3) การยอมรบั ทจ่ี ะอยรู่ ่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.ผู้เรยี นรอ้ ยละ 80 ขนึ้ ไปมีผลการประเมนิ ด้านการประพฤตปิ ฏบิ ตั ิตนเปน็ พลเมืองดี ภายใตก้ าร

ปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข ระดบั คุณภาพ ดี ข้ึนไป
2.ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ข้นึ ไปมีผลการประเมินด้านความสามารถในการปรบั ตวั ในการทางานหรอื เขา้

ร่วมกิจกรรมอนรุ กั ษ์ภมู ิปญั ญาทอ้ งถ่นิ ประเพณี และวฒั นธรรม อยรู่ ่วมกนั กบั ผู้อน่ื อย่างมคี วามสขุ ระดบั คุณภาพ
ดี ขึ้นไป

4) สขุ ภาวะทางร่างกาย และจิตสงั คม
6. ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ข้นึ ไป มีน้าหนกั สว่ นสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามยั กระทรวง

สาธารณสุข
7. ผู้เรียนร้อยละ 80 ข้นึ ไป ผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานของกรม

อนามยั กระทรวงสาธารณสขุ หรอื กรมพลศึกษา หรือ สานักงานกองทุนการสรา้ งเสรมิ สุขภาพ (สสส.)
8. ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ขน้ึ ไป เข้าร่วมกิจกรรมสุนทรยี ภาพด้านศลิ ปะ ทัศนศลิ ป์ ดนตรี นาฏศลิ ป์

และวรรณศลิ ป์ อยา่ งนอ้ ย 5 กจิ กรรม/ปีการศึกษา
9. ผเู้ รยี นรอ้ ยละ 80 ขน้ึ ไป เข้ารว่ มกิจกรรมกีฬาและนนั ทนาการทงั้ ภายในและภายนอก

สถานศกึ ษา อย่างน้อย 5 กจิ กรรม/ปีการศกึ ษา
10.ผ้เู รยี นร้อยละ 80 ข้ึนไปมีผลการประเมินความสามารถอยู่ร่วมกับผ้อู นื่ อย่างมีความสขุ เขา้ ใจ

ผู้อืน่ ไมม่ ีความขัดแย้งกับผอู้ ่ืน ระดับคุณภาพ ดี ข้ึนไป
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

2.2 มเี ป้าหมายวิสยั ทศั นแ์ ละพันธกจิ ทีส่ ถานศกึ ษากาหนดชัดเจน
1.สถานศกึ ษา มีผลการประเมนิ ความสอดคล้องของเปูาหมาย วิสัยทศั น์ พันธกิจ ท่ีสถานศึกษา

กาหนดไวก้ ับแผนการศึกษาชาติ ความตอ้ งการของชุมชน และท้องถ่นิ ระดบั คุณภาพดี
2.สถานศกึ ษามผี ลการประเมินการจดั กิจกรรม 9 ส. ของสถานศกึ ษา ระดับคณุ ภาพดี
3.สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ การจดั ทาเว็บไซต์ ของสถานศกึ ษา ระดบั คณุ ภาพดี
4.สถานศกึ ษามีผลการประเมนิ การกิจกรรมโรงเรียนวิถพี ุทธ อยู่ในระดับคณุ ภาพ ดีขน้ึ ไป

2.2 มีระบบบริหารจดั การคุณภาพของสถานศกึ ษา
4. สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ การวางแผนพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาใหม้ คี วามสอดคล้องกับบรบิ ท

ของสถานศึกษาและมนี าข้อมูลมาใช้ในการพฒั นาบุคลากรและผ้ทู ่ีเกีย่ วข้องทกุ ฝาุ ยมีสว่ นรว่ มการวางแผน ปรบั ปรุง
และพัฒนา และรว่ มรับผิดชอบตอ่ ผลการจดั การศึกษาระดับคณุ ภาพ ดี

5. สถานศกึ ษามผี ลการประเมินการปฏบิ ัติงาน การบรหิ ารอัตรากาลัง ทรพั ยากรทางการศกึ ษา และ
ระบบดูแล ชว่ ยเหลอื นักเรยี น มีระบบการนิเทศภายใน และดาเนนิ งานโครงการ กจิ กรรม ต่างๆตามแผนพฒั นา
การจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา ระดบั คุณภาพ ดี

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๕๔

6. สถานศกึ ษามีผลการประเมนิ การติดตาม นิเทศตรวจสอบ ประเมินผล ปรับปรงุ พฒั นางาน และ
การประเมนิ ตนเอง (Self-Asseseement Report: SAR)อย่างตอ่ เนื่อง ตามมาตรฐานสถานศกึ ษาระดับคุณภาพ ดี

2.3 ดาเนนิ งานพฒั นาวิชาการท่ีเนน้ คุณภาพผเู้ รียนรอบดา้ นตามหลกั สตู รสถานศึกษาและทกุ
กลุ่มเปา้ หมาย

5. สถานศึกษามผี ลการประเมินสรปุ ผลการจดั ทาหลักสตู รสถานศกึ ษา ระดบั คุณภาพ ดี
6. สถานศึกษามีผลการประเมินสรปุ ผลการจดั กิจกรรมสง่ เสริมศักยภาพของผเู้ รยี นในค่ายวิชาการ
ค่ายคุณธรรม ทัศนศึกษา ระดบั คุณภาพ ดี
7. สถานศึกษามีผลการประเมนิ สรุปผลการจดั ระบบดแู ลช่วยเหลอื นักเรยี น ระดบั คุณภาพ ดี
8. สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ สรุปผลการระบบนเิ ทศการจัดการเรียนรู้ ระดับคุณภาพ ดี
2.4 พัฒนาครแู ละบุคลากรให้มคี วามเชี่ยวชาญทางวิชาชพี
5. สถานศึกษามีการสนับสนุน ส่งเสริม ใหค้ รู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีการพฒั นาศักยภาพ
ความเชย่ี วชาญทางวชิ าชพี ตามมาตรฐานตาแหนง่ อย่างน้อย 12 ชว่ั โมง/คน/ปกี ารศึกษา
6. สถานศึกษามีผลประเมิน สรุปผลการสง่ เสริมและสนับสนนุ การจัดกจิ กรรมชุมชนเครือข่ายการ
เรียนร้เู พอื่ พัฒนาวชิ าชีพ ระดับคุณภาพ ดี
7. สถานศกึ ษามผี ลการประเมิน รายงานการไปราชการของครู / คาสั่งไปราชการ
8. สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ รายงานโครงการสง่ เสริมพัฒนาครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา
รายงานการประเมนิ ตนเองของขา้ ราชการครู
2.5 จดั สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมทเี่ อ้อื ต่อการจัดการเรยี นรู้อยา่ งมีคุณภาพ
5. สถานศึกษามีผลการประเมิน สรุปผลการจดั สภาพทางอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน
หอ้ งสนบั สนุนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ วัสดุ ครภุ ัณฑ์ เพียงพออยใู่ นสภาพการใช้การได้ดี มีความเป็นระเบียบ
สะดวก ปลอดภัย ถกู สุขลกั ษณะ สะอาด สวยงาม และเอ้ือต่อการเรียนรู้ ระดบั คุณภาพ ดี
6. สถานศึกษามีผลการประเมิน สรปุ ผลการใชแ้ ละพัฒนาแหล่งเรียนรภู้ ายในทเี่ อ้ือต่อการจัด
กิจกรรมการเรยี นรู้อย่างมีคุณภาพ ระดบั คุณภาพ ดี
7. สถานศึกษามผี ลการประเมิน สรุปผลการใชแ้ หลง่ เรียนรู้ภายนอกท่เี อื้อตอ่ การจัดกจิ กรรมการ
เรยี นรูอ้ ย่างมีคุณภาพ ระดับคุณภาพ ดี
8. สถานศกึ ษามีผลการประเมนิ สรปุ ผลการใชภ้ มู ิปัญญาท้องถิ่น ทเี่ ออื้ ตอ่ การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้

อย่างมีคณุ ภาพ ระดับคุณภาพ ดี

2.7 จดั ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่อื สนบั สนนุ การบรหิ ารจดั การและการจดั การเรยี นรู้
2. สถานศึกษามีผลการประเมนิ สรปุ ผลการจัดใหม้ รี ะบบอินเตอรเ์ นต็ ความเรว็ สถิติการใช้หอ้ ง

คอมพิวเตอร์ อนิ เตอร์เนต็ และห้องสมุดศนู ย์การเรียนรู้ เพื่ออานวยความสะดวกต่อการจัดกจิ กรรมการเรยี นการ
สอนและการสบื คน้ ข้อมูลของผ้เู รียนครอบคลุมทกุ พืน้ ที่อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ระดับดี

มาตรฐานท่ี 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนทเ่ี นน้ ผู้เรียนเปน็ สาคัญ
3.1 จดั การเรียนร้ผู า่ นกระบวนการคิดและปฏิบตั ิจริง และสามารถนาไปประยกุ ต์ใชใ้ นชีวิตได้
4. ครรู ้อยละ 60 ขน้ึ ไป มีผลการประเมินการจัดกจิ กรรมการเรียนรตู้ ามหลกั สตู รสถานศึกษาทเ่ี นน้

ให้ผเู้ รียนไดเ้ รยี นรูผ้ ่านกระบวนการคดิ ปฏิบัตจิ รงิ และผู้เรยี นสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจาวันได้ ระดับ
คณุ ภาพ ดีขนึ้ ไป

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๕๕

5. ครูรอ้ ยละ 50 ขึ้นไป มีผลการประเมนิ รปู แบบวธิ กี ารจัดการเรยี นรเู้ ฉพาะสาหรบั ผูท้ ม่ี ีความ
จาเปน็ หรอื ตอ้ งการพเิ ศษ ระดบั คุณภาพ ดขี ้ึนไป

6. ครรู อ้ ยละ 60 ขึ้นไป มีผลการประเมนิ รปู แบบวิธกี ารจัดการเรยี นรทู้ ีใ่ ห้ผู้เรียนไดร้ ับการฝกึ ทกั ษะ
แสดงออก แสดงความคดิ สรุปองค์ความรู้ นาเสนอผลงานและสามารถนาไปประยุกต์ใชใ้ นชวี ติ ได้ ระดับคุณภาพ ดี
ขึ้นไป

3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยสี ารสนเทศและแหล่งเรียนรูท้ เ่ี อื้อตอ่ การเรยี นรู้
1. ครูรอ้ ยละ 60 ขึ้นไป มีการผลิตส่อื หรือ พฒั นานวัตกรรมเพื่อนามาใชใ้ นการเรยี นรู้อยา่ งนอ้ ย 2

ชิ้น/ปีการศึกษา
2. ครูร้อยละ 80 ขนึ้ ไป มกี ารใชแ้ หล่งเรยี นรู้ภายใน แหลง่ เรยี นรู้ภายนอก ภูมิปัญญาทอ้ งถ่ิน

ปราชญ์ชาวบา้ น หรอื ผทู้ รงคุณวุฒใิ นการจดั การเรียนรู้ อย่างนอ้ ย 2 แหล่งขึ้นไป/ปีการศกึ ษา
3. ครรู ้อยละ 80 ข้ึนไป มีรูปแบบวิธกี ารทใี่ หผ้ ู้เรยี นไดแ้ สวงหาความรู้ดว้ ยตนเองจากสอื่ เทคโนโลยี

ขอ้ มลู สารสนเทศ แหล่งเรยี นรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างน้อย 2 แหลง่ ขนึ้ ไป/ปีการศึกษา
3.3 มีการบริหารจดั การชนั้ เรียนเชิงบวก
4. ครูรอ้ ยละ 60 ขน้ึ ไป มผี ลการประเมนิ การสรา้ งปฏสิ ัมพนั ธ์ทด่ี ีกบั ผู้เรยี นโดยผา่ นการจัดกิจกรรม

ต่าง ๆ ท้ังในและนอกหอ้ งเรียน ระดบั คุณภาพ ดขี ้นึ ไป
5. ครูร้อยละ 60 ขึ้นไปมีผลการประเมนิ การเปิดโอกาสใหผ้ เู้ รียนมีสว่ นรว่ มในการสรา้ งวนิ ยั

ข้อตกลงและแนวปฏิบตั ิตนในการอย่รู ว่ มกัน ระดบั คุณภาพ ดีขน้ึ ไป
6. ครูร้อยละ 60 ขึ้นไป มผี ลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรยี นร้ทู สี่ ่งเสรมิ ใหผ้ ูเ้ รียนรกั การเรียนรู้

และเรยี นร้รู ว่ มกันอย่างมีความสขุ ระดับคุณภาพ ดีขน้ึ ไป
3.4 ตรวจสอบและประเมินผเู้ รียนอย่างเปน็ ระบบและนาผลมาพัฒนาผ้เู รียน
4. ครูร้อยละ 60 ขน้ึ ไป มีผลการประเมนิ ระบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการเรยี นรู้

ระดับคุณภาพ ดี ขนึ้ ไป
5. ครรู อ้ ยละ 60 ขึ้นไป มกี ารออกแบบและสรา้ งเครอ่ื งมือสาหรับการวัดผลและประเมินผลการจัด

กจิ กรรมการเรยี นรอู้ ยา่ งน้อย 2 วิธขี นึ้ ไป
6. ครรู อ้ ยละ 60 ขน้ึ ไป มผี ลการประเมนิ การนาผลการจดั การเรยี นรู้ไปใชใ้ นการพัฒนาผ้เู รียนได้

เตม็ ศักยภาพ ระดับคุณภาพ ดเี ลิศ ข้นึ ไป
3.5 มกี ารแลกเปลีย่ นเรยี นร้แู ละให้ข้อมลู สะท้อนกลบั เพื่อพัฒนาและปรบั ปรุงการจดั การเรียนรู้
4. ครูรอ้ ยละ 60 ขั้นไป มชี มุ ชนแหง่ การเรียนรทู้ างวชิ าชพี ระหวา่ งครเู พ่ือพัฒนาและปรบั ปรงุ การ

จัดการเรยี นรู้ อย่างน้อย 50 ชว่ั โมง/ปีการศกึ ษา
5. ครรู ้อยละ 60 ขน้ึ ไป มผี ลการประเมนิ การแลกเปล่ยี นเรียนรรู้ ะหวา่ งครูและผู้เกี่ยวข้องเพ่ือ

พฒั นาและปรบั ปรุงการจดั การเรยี นรู้ ระดบั คณุ ภาพ ดี ข้นึ ไป
6. ครรู ้อยละ 60 ขน้ึ ไป มีการศึกษา วิจัยเพ่ือพัฒนาการเรยี นรขู้ องผู้เรียน อย่างนอ้ ย 2 เร่อื ง/ปี

การศกึ ษา

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ๑๕๖

หนังสอื ความเห็นชอบ
กาหนดมาตรฐานการศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพน้ื ฐาน

ของโรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม

**************************************************

ตามท่ีโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ได้กาหนดมาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐานของโรงเรียนแก้ง
เหนือพทิ ยาคมเพอ่ื ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน พิจารณาใหค้ วามเห็นชอบนั้น

บัดน้ีคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพื้นฐานได้พิจารณา มาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐานของ
สถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 เห็นชอบให้โรงเรียนจัดวางระบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายใน
สถานศกึ ษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพ้นื ฐานของสถานศกึ ษา

จงึ ขอประกาศใหส้ าธารณชนทราบโดยทวั่ กัน
ประกาศ ณ วนั ท่ี 6 เดอื น กรกฎาคม พ.ศ. 2563

( นายวิชัย ทานาฤทัย )
ประธานคณะกรรมการสถานศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน

โรงเรียนแกง้ เหนือพิทยาคม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๕๗

คาสงั่ โรงเรียนแกง้ เหนือพทิ ยาคม
ที่ 97 / ๒๕63

เร่อื ง แตง่ ตัง้ คณะกรรมการดาเนินการประเมินคุณภาพภายใน ประจาปีการศกึ ษา ๒๕63

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา
๔๘ ให้สถานศึกษาจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยมีการจัดทารายงานเสนอหน่วยงานต้นสังกัดเปิดเผย
ต่อสาธารณชน เพอื่ นาไปสกู่ ารพัฒนาคณุ ภาพและมาตรฐาน๒๘(๑)

อาศัยอานาจตามคาสัง่ องค์การบริหารสว่ นจังหวดั อุบลราชธานี ที่ ๖๐๔/๒๕๕๑ เรอื่ งมอบอานาจ
ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ( เพิ่มเติม ) ส่ัง ณ วันท่ี ๖ มีนาคม
๒๕๕๑ การมอบใหอ้ านาจปฏบิ ัตริ าชการแทนนายกองค์การบรหิ ารสว่ นจังหวดั ขอ้ ท่ี๒ การบริหารงานวิชาการและ
การบรหิ ารงานทัว่ ไป ๒.๑ ใหผ้ อู้ านวยการสถานศกึ ษามีอานาจในการบริหารงานวิชาการและการบริหารงานทั่วไป
ตามปกติเชน่ เดียวกบั ท่ีเคยปฏิบตั มิ ากอ่ นการถ่ายโอนสถานศึกษาตามหนังสือ มท ๐๘๙๓.๓ / ๔๒๓๕๙ ลงวันท่ี ๓
พฤษภาคม ๒๕๕๑ เรอื่ งแนวทางการบริหารสถานศึกษาท่ีถ่ายโอนมาสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถ่ินและอาศัย
อานาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตราท่ี ๓๙ สถานศึกษาและส่วน
ราชการตามมาตรา ๓๔ ( ๒ ) มอี านาจหน้าท่ตี ามท่ีกาหนดไวเ้ ป็นหนา้ ที่ของสว่ นราชการนน้ั ๆ โดยใหม้ ีผู้อานวยการ
สถานศึกษาหรือหัวหน้าส่วนราชการท่ีเรียกชื่ออย่างอ่ืนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษา ข้อ ๑ บริหาร
กิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและ
สถานศึกษาหรือส่วนราชการ รวมทั้งนโยบายและวตั ถุประสงคข์ องสถานศึกษาหรือส่วนราชการ เพ่ือให้การบริหาร
จัดการในสถานศกึ ษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยประสทิ ธิภาพประสทิ ธิผลสงู สุดตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ
ระเบียบบรหิ ารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตราท่ี ๓๙ สถานศึกษาและส่วนราชการ ตามมาตรา ๓๔ ( ๒) ข้อ
๑ และ เพอ่ื ให้การประเมินคุณภาพภายใน เป็นไปด้วยความเรยี บรอ้ ยและเกดิ ประสทิ ธิภาพสูงสดุ ต่อราชการ
จึงแต่งตั้งคณะกรรมการ ประเมินคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสถานศึกษาท่ีสังกัด กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถ่ิน จานนวน 3 มาตรฐานใหญ่ ดงั ต่อไปนี้

๑. คณะกรรมการอานวยการ รองผู้อานวยการสถานศึกษา ประธานกรรมการ
๑. ว่าที่ ร.ท. สุคนธ์ ศภุ สขุ ครูชานาญการพิเศษ กรรมการ
2. นายประจักษ์ ยนื ยิ่ง ครูชานาญการพเิ ศษ กรรมการ
3. นางมงคล จนั ทราภรณ์ ครชู านาญการพเิ ศษ กรรมการและเลขานุการ
4. นายสมาน เรอื นเจรญิ

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๕๘

หนา้ ทแ่ี ละความรับผดิ ชอบ
๑. ประชมุ ชี้แจงทาความเขา้ ใจกบั บคุ คลทเ่ี กีย่ วข้อง
๒. จัดทา/เตรยี มเอกสารแบบประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานและตัวช้ีวัด
๓. จัดเตรยี มรวบรวมขอ้ มลู จากคณะกรรมการเก็บรวบรวมขอ้ มูลตามมาตาฐานและตวั ชี้วัด
๔. ประสานงานการจัดเตรยี มรับการประเมนิ คุณภาพภายนอกสถานศกึ ษากับ คณะกรรมการประเมนิ
๕. อานวยความสะดวกแก่คณะกรรมการดาเนนิ งาน

๒. คณะกรรมการเตรยี มเอกสารรบั การประเมนิ ตามราย มาตรฐาน อปท. ดังน้ี

มาตรฐาน / ประเดน็ การพจิ ารณา ผรู้ ับผิดชอบ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผูเ้ รียน
๑.๑ ผลสัมฤทธท์ิ างวิชาการของผ้เู รียน

๑) มีความสามารถในการอา่ น การเขียน การส่อื สารและการคดิ คานวณ นางปิยาภรณ์ โกศัลวติ ร

- ผู้เรยี นรอ้ ยละ ๖๐ มีผลการประเมนิ ความสามารถในด้านการอ่าน - เขยี น นางปิยาภรณ์ โกศลั วติ ร

ภาษาอังกฤษอยูใ่ นระดับดีขึ้นไป

- ผู้เรยี นรอ้ ยละ ๖๐ มีผลสมั ฤทธิใ์ นรายวชิ าภาษาอังกฤษตงั้ แตร่ ะดับเกรด นางปิยาภรณ์ โกศัลวติ ร

3 ขน้ึ ไป

- ผเู้ รียนร้อยละ ๖๐ มผี ลการประเมนิ ความสามารถในการอ่าน–เขยี น นางบษุ บา บารงุ ศลิ ป์

ภาษาไทย อยูใ่ นระดบั ดีขึน้ ไป

- ผเู้ รยี นร้อยละ ๖๐ มผี ลสัมฤทธ์ใิ นรายวชิ าภาษาไทย ต้งั แต่ระดบั เกรด 3 นางบษุ บา บารุงศิลป์

ขึ้นไป

- ผ้เู รยี นร้อยละ ๖๐ มีผลการประเมนิ ความสามารถในการคิดคานวณใน นางสาวสทุ ธิมา ดีบุบผา

ระดบั ดีขน้ึ ไป

- ผู้เรยี นร้อยละ ๖๐ มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นคณติ ศาสตร์ ตั้งแต่เกรด 2.5 นางจารณุ ี การะปักษ์

ข้ึนไป

-

๒) มีความสามารถในการวเิ คราะหแ์ ละคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ อภปิ ราย นางธญั กมล ตนั เมืองปัก

แลกเปลี่ยนความคิดเหน็ และแก้ปญั หา

- ผ้เู รียนรอ้ ยละ 6๐ มผี ลการประเมนิ ความสามารถในด้านการคิดวเิ คราะห์ นางธญั กมล ตันเมืองปัก
คดิ สังเคราะห์ คดิ สรา้ งสรรค์ คิดอย่างมวี ิจารณญาณ อภิปราย
แลกเปลี่ยนความคิดเหน็ และแกไ้ ขปัญหา ระดับคุณภาพ ดี ขึน้ ไป

- ผู้เรยี นชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ ๓ ผูเ้ รยี นรอ้ ยละ 6๐ มคี วามกา้ วหน้าของผล นางปยิ าภรณ์ โกศัลวิตร
การทดสอบสมรรถนะสาคญั ของผู้เรียน ในดา้ นการคดิ

- ผู้เรียนชน้ั มัธยมศกึ ษาปีท่ี ๖ ผเู้ รียนร้อยละ 6๐ มีความก้าวหนา้ ของผล นายสมาน เรือนเจรญิ

การทดสอบสมรรถนะสาคัญของผ้เู รยี น ในด้านการคดิ

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรียนแกง้ เหนอื พทิ ยาคม ๑๕๙

๓) มีความสามารในการสรา้ งนวตั กรรม นายวรกร สหี มอก
- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ข้ึนไป มีความสามารถในค้นควา้ หาความรู้ดว้ ยตนเอง นายวรกร สหี มอก

และสามารถนาองค์ความรู้มาสรา้ งนวตั กรรม เช่น โครงงาน หนังสือเล่ม

เลก็ POP UP Power Point อยา่ งน้อย ๒ ชิ้น/ปีการศึกษา

- ผู้เรยี นร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความสามารถทางานเปน็ ทีม ในค้นควา้ หา นางสาวกาญจนา เพชรพนั ธ์
ความรแู้ ละสามารถนาองค์ความรู้มาสร้างนวตั กรรม เชน่ โครงงาน
หนังสือเล่มเลก็ POP UP Power Point อย่างน้อย ๒ ช้นิ /ปีการศกึ ษา

๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร นางสาวกาญจนรักษ์ หาเคน
- ผ้เู รียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป มผี ลการประเมนิ ความสามารถในการใช้ นางสาวกาญจนรกั ษ์ หาเคน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารเพ่ือพฒั นาตนเองและสังคมในด้าน

การเรยี นรู้ การสื่อสาร การทางาน การแกป้ ญั หาระดับคณุ ภาพ ดี ข้ึนไป

- ผเู้ รยี นระดับช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี ๓ ร้อยละ 80 มีความก้าวหนา้ ของผล นางสาวกาญจนรักษ์ หาเคน
การทดสอบสมรรถนะสาคญั ของผู้เรียน ในดา้ นการใชเ้ ทคโนโลยี
สารสนเทศและการสอื่ สาร

- ผู้เรียนระดับชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ ๖ มีความกา้ วหนา้ ของผลการทดสอบ นายวิศรุต กระมล
สมรรถนะสาคัญของผ้เู รียน ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สอ่ื สาร นายวศิ รตุ กระมล

- ผ้เู รียนรอ้ ยละ ๖๐ มคี วามสามารถใชส้ อ่ื ออนไลนผ์ า่ นเครือข่าย นางธญั กมล ตนั เมืองปัก
คอมพิวเตอร์ อนิ เตอร์เนต็ ในการส่อื สาร ประชาสัมพนั ธ์ และสืบค้น นางธัญกมล ตนั เมืองปัก
ข้อมูล ไดอ้ ยา่ งนอ้ ย 2 ชอ่ งทาง อาทิ E-Mail line เสริ ช์ เอนจนิ นางปิยาภรณ์ โกศลั วติ ร
(Search Engines) ตา่ งๆ เปน็ ต้น นายสมาน เรอื นเจริญ

๕) มีผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนตามหลกั สูตรสถานศึกษา

- ผู้เรียนรอ้ ยละ ๕๐ ขน้ึ ไป มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นทกุ รายวชิ า ในระดับ
๓ ข้ึนไป

- ผเู้ รียนระดับช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ ๓ มผี ลการทดสอบระดบั ชาตขิ ั้นพื้นฐาน
(O-NET) T-Score 40 ข้ึนไป

- ผ้เู รียนระดบั ชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๖ มีผลการทดสอบระดบั ชาติขน้ั พน้ื ฐาน

(O-NET) T-Score 40 ขึ้นไป

๖) มีความรู้ ทักษะพ้ืนฐานและเจตคตทิ ่ดี ตี ่องานอาชีพ นางสาวชูวภิ า สาเภานนท์
นางสาวชวู ิภา สาเภานนท์
- ผู้เรยี นร้อยละ 80 ขน้ึ ไป มผี ลการประเมินความรูแ้ ละทกั ษะพ้นื ฐานใน
การเลอื กศึกษาต่อระดบั ท่สี งู ขึ้น ระดบั คณุ ภาพ ดีขน้ึ ไป

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๖๐

- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ข้นึ ไปสามารถบอกอาชีพท่ตี นสนใจพรอ้ มทง้ั ให้เหตผุ ล นางสาวชวู ิภา สาเภานนท์
ประกอบได้ ระดับคุณภาพ ดีขน้ึ ไป

๑.๒คณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ของผเู้ รียน

1.)การมีคุณลกั ษณะและคา่ นิยมท่ดี ตี ามทีส่ ถานศึกษากาหนด นางสาวอรพรรณ ศรีจันทรแ์ ดง

-ผเู้ รยี นร้อยละ80มผี ลการประเมินดา้ นรักชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์ระดบั คุณภาพ ดี ขึน้ นางสาวอรพรรณ ศรจี ันทร์แดง

ไป

- ผเู้ รียนร้อยละ 80 มผี ลการประเมนิ ดา้ นการดารงตนตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ นางสาวกาญจนา เพชรพันธ์
พอเพียง ระดับคณุ ภาพ ดีขึน้ ไป

- ผูเ้ รียนรอ้ ยละ 80 มีผลการประเมินด้านประพฤตปิ ฏบิ ตั ิตนตามระเบียบวนิ ัยของ นางสาวกาญจนรักษ์ หาเคน
สถานศกึ ษา ระดับคุณภาพดีขน้ึ ไป นางยวุ ดี หวงั สขุ

- ผเู้ รยี นร้อยละ 80 มผี ลการประเมินด้านความซ่อื สัตย์สจุ รติ ระดบั คุณภาพ ดี ขนึ้ ไป

-ผเู้ รยี นร้อยละ 80 มีผลการประเมนิ ดา้ นความกระตอื รอื ร้นใฝเุ รียนรรู้ ะดบั คณุ ภาพดี นางศศธิ ร ผาหยาด
ขึน้ ไป

- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 มผี ลการประเมนิ ดา้ นมีจติ สาธารณะ เสียสละ มงุ่ ทาประโยชนต์ อ่ นายจักรกฤษณ์ สสี วุ ะ
สังคมส่วนรวม ระดับคณุ ภาพดี ขนึ้ ไป

2. ความภมู ิใจในทอ้ งถ่ินและความเป็นไทย นางสาวกาญจนา เพชรพนั ธ์
- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ขึน้ ไป มสี ่วนรว่ มในการอนรุ ักษภ์ มู ปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ เชน่ การ นางสาวกาญจนา เพชรพนั ธ์

เข้าร่วมกิจกรรม หรอื มีผลงานด้านภมู ิปญั ญา ศลิ ปวฒั นธรรม ประเพณี

ท้องถน่ิ อยา่ งนอ้ ย 5 กิจกรรม/ปีการศึกษา

- ผ้เู รียนรอ้ ยละ 80 ขนึ้ ไป มีส่วนร่วมในการอนุรกั ษป์ ระเพณแี ละวฒั นธรรมไทย นางยวุ ดี หวงั สขุ
เช่น การเขา้ ร่วมกิจกรรมวนั สาคญั หรือ มผี ลงานดา้ นประเพณแี ละวัฒนธรรม
ไทย อย่างนอ้ ย 3 กิจกรรม/ปีการศกึ ษา

๓) การยอมรับที่จะอยู่รว่ มกันบนความแตกตา่ งและหลากหลาย นางปิยาภรณ์ โกศลั วิตร

- ผเู้ รยี นรอ้ ยละ 80 ขึ้นไปมีผลการประเมนิ ด้านการประพฤติปฏบิ ตั ิตนเป็น นายเนตนิ ัย สายเนตร

พลเมอื งดี ภายใต้การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั ริย์

ทรงเปน็ ประมุข ระดับคุณภาพ ดี ข้นึ ไป

- ผเู้ รยี นร้อยละ 80 ข้นึ ไปมผี ลการประเมนิ ดา้ นความสามารถในการ นางปิยาภรณ์ โกศัลวิตร

ปรับตวั ในการทางานหรืออยรู่ ่วมกนั กบั ผอู้ ่นื อย่างมคี วามสขุ ระดับ

คุณภาพ ดี ขึน้ ไป

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพทิ ยาคม ๑๖๑

๔) สขุ ภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม นางสาวกาญจนา เพชรพันธ์
นางสาวกาญจนา เพชรพันธ์
- ผเู้ รยี นรอ้ ยละ 80 ขึ้นไป มนี า้ หนกั สว่ นสงู ตามเกณฑม์ าตรฐานของกรม วา่ ที่ รท.สุคนธ์ ศภุ สุข
อนามยั กระทรวงสาธารณสขุ
นายจักกฤษณ์ สสี วุ ะ
- ผูเ้ รียนรอ้ ยละ 80 ขึ้นไป ผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
มาตรฐานของกรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุขหรือ กรมพลศกึ ษา หรือ นายเดชชาติ จนั ทราภรณ์
สานักงานกองทุนการสรา้ งเสริมสุขภาพ (สสส.)
นางสาวอรพรรณ ศรจี ันทร์แดง
- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ขึน้ ไป เข้ารว่ มกิจกรรมสุนทรียภาพดา้ นศิลปะ
ทศั นศิลป์ ดนตรี นาฏศลิ ป์ และวรรณศิลป์ อย่างน้อย 5 กิจกรรม/ปี
การศึกษา

- ผเู้ รยี นร้อยละ 80 ขึน้ ไป เข้ารว่ มกจิ กรรมกีฬาและนนั ทนาการทงั้ ภายใน
และภายนอกสถานศึกษา อย่างน้อย 5 กจิ กรรม/ปกี ารศกึ ษา

- ผเู้ รียนรอ้ ยละ 80 ขน้ึ ไปมผี ลการประเมนิ ความสามารถอยู่รว่ มกับผอู้ ่ืน
อย่างมีความสขุ เขา้ ใจผู้อ่นื ไม่มคี วามขัดแย้งกับผู้อน่ื ระดับคุณภาพ ดี
ขนึ้ ไป

มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ นางมงคล จันทราภรณ์
๒.๑ การมีเป้าหมาย วสิ ัยทัศน์ และพันธกจิ ท่ีสถานศึกษากาหนดชัดเจน นางมงคล จนั ทราภรณ์

- สถานศกึ ษา มีผลการประเมนิ ความสอดคล้องของเปาู หมาย วสิ ัยทศั น์

พันธกิจ ทีส่ ถานศึกษากาหนดไวก้ บั แผนการศกึ ษาชาติ ความต้องการของ

ชุมชน และทอ้ งถิน่ ระดับคุณภาพดี

- สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ การจัดกจิ กรรม 9ส. ของสถานศกึ ษา ระดบั นางปิยาภรณ์ โกศัลวิตร
คณุ ภาพดี

- สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ การจดั ทาเวบ็ ไซต์ ของสถานศึกษา ระดับ นายวศิ รุต กระมล
คุณภาพดี

- สถานศกึ ษามีผลการประเมินการกิจกรรมโรงเรียนวิถพี ทุ ธ อย่ใู นระดับ นางสาวกาญจนา เพชรพนั ธ์
คุณภาพดีขึ้นไป

๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา นายสมาน เรอื นเจริญ
- สถานศกึ ษามีผลการประเมนิ การวางแผนพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาให้มี นางมงคล จันทราภรณ์

ความสอดคล้องกับบรบิ ทของสถานศกึ ษาและมีนาข้อมูลมาใช้ในการ
พัฒนาบคุ ลากรและผทู้ เี่ กย่ี วข้องทุกฝุายมีส่วนรว่ มการวางแผน ปรับปรุง
และพฒั นา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศกึ ษาระดับคณุ ภาพ ดี

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนอื พิทยาคม ๑๖๒

- สถานศกึ ษามผี ลการประเมนิ การปฏบิ ัตงิ าน การบรหิ ารอัตรากาลัง นางยุวดี หวงั สุข

ทรพั ยากรทางการศึกษา และระบบดูแล ช่วยเหลอื นักเรียน มีระบบการ

นเิ ทศภายใน และดาเนนิ งานโครงการ กจิ กรรม ตา่ งๆตามแผนพัฒนาการ

จดั การศกึ ษาของสถานศกึ ษา ระดับคุณภาพ ดี

- สถานศึกษามผี ลการประเมนิ การติดตาม นเิ ทศตรวจสอบ ประเมินผล นายสมาน เรือนเจริญ
ปรับปรุงพฒั นางาน และการประเมินตนเอง (Self-Asseseement
Report: SAR) อยา่ งต่อเน่อื ง ตามมาตรฐานสถานศกึ ษา ระดับคณุ ภาพ ดี

๒.๓ ดาเนินงานพฒั นาวิชาการทเ่ี น้นคณุ ภาพผ้เู รียนรอบดา้ นตามหลกั สูตร นายวรกร สีหมอก
สถานศึกษาและทุกกลุ่มเปา้ หมาย

- สถานศึกษามผี ลการประเมินสรปุ ผลการจดั ทาหลักสูตรสถานศึกษา นายวรกร สหี มอก
ระดับคุณภาพ ดี

- สถานศึกษามผี ลการประเมนิ สรปุ ผลการจดั กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพของ นางธัญกมล ตนั เมือง

ผเู้ รียนในคา่ ยวิชาการ ค่ายคุณธรรม ทัศนศึกษา ระดับคุณภาพ ดี

นางศศธิ ร ผาหยาด
- สถานศกึ ษามีผลการประเมินสรปุ ผลการจัดระบบดแู ลช่วยเหลือนกั เรียน นางสาววาสนา ใจเออ้ื

ระดบั คุณภาพ ดี

- สถานศกึ ษามีผลการประเมินสรุปผลการระบบนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้ นางศศิธร ผาหยาด
ระดบั คุณภาพ ดี นางจารุณี การะปกั ษ์

๒.๔พฒั นาครูและบุคลกรให้มีความเช่ียวชาญทางวชิ าชีพ นางยวุ ดี หวังสขุ

- สถานศกึ ษามีการสนบั สนนุ ส่งเสริม ใหค้ รู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ นางยุวดี หวงั สุข
มกี ารพัฒนศักยภาพ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตามมาตรฐานตาแหน่ง
อย่างน้อย 12 ชว่ั โมง/คน/ปกี ารศกึ ษา

- สถานศกึ ษามีผลประเมนิ สรุปผลการสง่ เสรมิ และสนับสนนุ การจัด นายวรกร สหี มอก

กจิ กรรมชุมชนเครือขา่ ย การเรียนรูเ้ พ่อื พฒั นาวชิ าชพี ระดับคณุ ภาพ ดี

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรยี นแกง้ เหนอื พทิ ยาคม ๑๖๓

๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมท่เี อื้อต่อการจัดการเรียนรอู้ ยา่ งมี นางปยิ าภรณ์ โกศัลวติ ร
คูณภาพ

- สถานศึกษามีผลการประเมนิ สรุปผลการจัดสภาพทางอาคารเรยี น นางจารณุ ี การะปักษ์

อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องสนบั สนนุ การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ วัสดุ นายประจกั ษ์ ยืนย่งิ

ครภุ ัณฑ์ เพียงพออยู่ในสภาพการใชก้ ารได้ดี มีความเป็นระเบยี บสะดวก

ปลอดภยั ถูกสุขลักษณะ สะอาด สวยงาม และเอื้อต่อการเรียนรู้ ระดบั

คุณภาพ ดี

- สถานศึกษามีผลการประเมิน สรุปผลการใชแ้ ละพัฒนาแหลง่ เรยี นรู้
ภายในท่เี อ้ือตอ่ การจัดกจิ กรรมการเรยี นรอู้ ย่างมีคุณภาพ ระดบั คุณภาพ นางปิยาภรณ์ โกศลั วติ ร
ดี

- สถานศกึ ษามีผลการประเมนิ สรปุ ผลการใช้แหล่งเรียนร้ภู ายนอกทีเ่ อ้ือตอ่ นางปิยาภรณ์ โกศัลวิตร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีคณุ ภาพ ระดบั คณุ ภาพ ดี

- สถานศึกษามผี ลการประเมนิ สรปุ ผลการใช้ภูมิปัญญาทอ้ งถิ่น ทเ่ี อือ้ ตอ่ นายวรกร สีหมอก
การจดั กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมคี ณุ ภาพ ระดับคุณภาพ ดี

๒.๖จัดระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศเพือ่ สนบั สนนุ การบรหิ ารจัดการและการ นายวิศรตุ กระมล
จดั การเรยี นรู้

- สถานศึกษามีผลการประเมิน สรปุ ผลการส่งเสริมการผลติ ส่ือธรรมชาติ นายวรกร สีหมอก
สอ่ื เทคโนโลยี ข้อมลู สารสนเทศ และนวตั กรรมในการจัดการศกึ ษา ระดับ นายวศิ รตุ กระมล

คณุ ภาพ ดี

- สถานศึกษามีผลการประเมิน สรุปผลการส่งเสริมการใชส้ อื่ ธรรมชาติ ส่ือ

เทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ และนวตั กรรมในการจดั การศึกษา อยู่ใน นางอรวรรณ ยาตรา
นางสาวกาญจนรกั ษ์ หาเคน
ระดับคุณภาพ ดี

- สถานศกึ ษามีผลการประเมิน สรปุ ผลการจดั ใหม้ ีระบบอินเตอรเ์ น็ต นายวิศรตุ กระมล
ความเรว็ เพ่ืออานวยความสะดวกตอ่ การจดั กิจกรรมการเรียนการสอน
และการสบื คน้ ข้อมูลของผู้เรยี นครอบคลุมทกุ พ้นื ที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับดี

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแกง้ เหนอื พทิ ยาคม ๑๖๔

มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนที่เน้นผเู้ รียนเปน็ สาคัญ นายวรกร สหี มอก

๓.๑ จัดการเรียนรูผ้ ่านกระบวนการคดิ และปฏิบตั จิ รงิ และสามารถนาไป
ประยกุ ตใ์ ช้ในชีวิตได้

- ครูรอ้ ยละ 60 ขึ้นไป มีผลการประเมนิ การจัดกิจกรรมการเรียนรตู้ ามหลักสูตร นายวรกร สีหมอก
สถานศกึ ษาทเ่ี นน้ ใหผ้ เู้ รียนได้เรียนรผู้ ่านกระบวนการคดิ ปฏบิ ตั จิ ริงและผเู้ รยี น

สามารถนาไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ิตประจาวนั ได้ ระดบั คุณภาพ ดีขน้ึ ไป

- ครรู ้อยละ 50 ข้ึนไป มผี ลการประเมินรูปแบบวธิ ีการจดั การเรียนรเู้ ฉพาะ นางสาวสุทธมิ า ดีบุบผา
สาหรบั ผู้ทีม่ คี วามจาเป็น หรือ ตอ้ งการพิเศษ ระดับคณุ ภาพ ดขี ึ้นไป

- ครูรอ้ ยละ 60 ขึ้นไป มผี ลการประเมนิ รูปแบบวธิ ีการจดั การเรยี นร้ทู ใ่ี หผ้ เู้ รียน นายสมาน เรอื นเจรญิ
ได้รบั การฝกึ ทกั ษะ แสดงออก แสดงความคิด สรปุ องคค์ วามรู้ นาเสนอผลงาน
และสามารถนาไปประยกุ ตใ์ ช้ในชีวติ ได้ ระดับคณุ ภาพ ดีขน้ึ ไป

๓.๒ ใชส้ ือ่ เทคโนโลยสี ารสนเทศ และแหล่งเรียนร้ทู ี่เอื้อตอ่ การเรียนรู้ นางอรวรรณ ยาตรา

- ครรู อ้ ยละ 60 ขึ้นไป มีการผลติ สอื่ หรอื พฒั นานวัตกรรมเพอ่ื นามาใชใ้ นการเรยี นรู้ นางอรวรรณ ยาตรา

อย่างนอ้ ย 2 ช้นิ /ปีการศึกษา

- ครูร้อยละ 80 ขน้ึ ไป มีการใชแ้ หลง่ เรียนรู้ภายใน แหลง่ เรียนร้ภู ายนอก ภมู ปิ ัญญา นายวรกร สหี มอก
ทอ้ งถนิ่ ปราชญ์ชาวบา้ น หรอื ผู้ทรงคุณวฒุ ใิ นการจัดการเรยี นรู้ อยา่ งน้อย 2 แหล่ง

ขน้ึ ไป/ปกี ารศกึ ษา นางสาวกาญจนรักษ์ หาเคน

- ครรู ้อยละ 80 ขึ้นไป มรี ปู แบบวิธกี ารท่ีให้ผู้เรยี นไดแ้ สวงหาความรู้ดว้ ยตนเองจาก นายประจกั ษ์ ยืนย่ิง

สือ่ เทคโนโลยี ขอ้ มูลสารสนเทศ แหลง่ เรียนรู้ และภูมปิ ญั ญาท้องถน่ิ อย่างนอ้ ย 2

แหล่งข้ึนไป/ปีการศกึ ษา

๓.๓ มีการบรหิ ารจดั การชัน้ เรียนเชิงบวก นายเดชชาติ จันทราภรณ์

- ครูร้อยละ 60 ขึ้นไป มผี ลการประเมนิ การสร้างปฏิสมั พนั ธท์ ด่ี กี ับผเู้ รียนโดยผ่าน นายเดชชาติ จนั ทราภรณ์

การจดั กจิ กรรมต่าง ๆ ทัง้ ในและนอกห้องเรียน ระดบั คณุ ภาพ ดขี ึ้นไป

- ครรู ้อยละ 60 ข้ึนไปมผี ลการประเมินการเปดิ โอกาสให้ผเู้ รยี นมสี ว่ นร่วมในการสรา้ ง นางสาวกาญจนรักษ์ หาเคน

วินยั ขอ้ ตกลงและแนวปฏิบตั ติ นในการอยู่ร่วมกัน ระดับคณุ ภาพ ดขี น้ึ ไป

- ครรู ้อยละ 60 ข้นึ ไป มผี ลการประเมินการจัดกจิ กรรมการเรยี นรูท้ ส่ี ่งเสรมิ ใหผ้ เู้ รียน นางมงคล จนั ทราภรณ์

รกั การเรียนรู้ และเรียนรรู้ ว่ มกันอยา่ งมคี วามสขุ ระดับคณุ ภาพ ดขี นึ้ ไป

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ๑๖๕

3.๔ ตรวจสอบและประเมนิ ผู้เรยี นอยา่ งเป็นระบบ และนาผลมาพฒั นาผู้เรยี น นางปยิ าภรณ์ โกศัลวติ ร
- ครูรอ้ ยละ 60 ขน้ึ ไป มีผลการประเมินระบบการตรวจสอบและประเมนิ นางมงคล จันทราภรณ์

คุณภาพการเรยี นรู้ ระดบั คุณภาพ ดี ข้ึนไป

- ครรู ้อยละ 60 ขนึ้ ไป มกี ารออกแบบและสร้างเครือ่ งมอื สาหรบั การวดั ผล นางธญั กมล ตันเมือง
และประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรยี นร้อู ย่างนอ้ ย 2 วธิ ขี ้ึนไป
นางปยิ าภรณ์ โกศลั วติ ร

- ครรู อ้ ยละ 60 ข้นึ ไป มผี ลการประเมนิ การนาผลการจดั การเรยี นรไู้ ปใช้

ในการพฒั นาผู้เรยี นได้เต็มศักยภาพ ระดบั คุณภาพ ดเี ลศิ ข้ึนไป

๓.๕ มีการแลกเปล่ียนเรยี นร้แู ละให้ขอ้ มลู สะท้อนกลบั เพื่อพัฒนาและปรับปรุง นางสาววาสนา ใจเอื้อ
การจัดการเรยี นรู้ นางจารุณี การะปกั ษ์

- ครูร้อยละ 60 ขน้ั ไป มชี ุมชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชีพระหวา่ งครเู พื่อ

พัฒนาและปรบั ปรงุ การจัดการเรยี นรู้ อยา่ งนอ้ ย 50 ชว่ั โมง/ปกี ารศึกษา

- ครูร้อยละ 60 ขน้ึ ไป มผี ลการประเมินการแลกเปลยี่ นเรียนร้รู ะหวา่ งครู นางสาวสุทธิมา ดบี บุ ผา
และผ้เู ก่ียวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ระดบั คุณภาพ นางสาววาสนา ใจเอ้อื
ดี ขึ้นไป

- ครรู ้อยละ 60 ขน้ึ ไป มีการศึกษา วจิ ัยเพื่อพฒั นาการเรียนรขู้ องผู้เรียน
อยา่ งน้อย 2 เรอื่ ง/ปีการศึกษา

คณะกรรมการทกุ มาตรฐาน
มหี นา้ ท่ี ๑. เกบ็ รวบรวมข้อมลู การดาเนินงานตามมาตรฐาน

๒. จัดทาแฟมู เอกสาร ขอ้ มูลสารสนเทศเกย่ี วกบั การดาเนนิ งานตามตัวช้ีวัดเพ่ือเตรยี มใหข้ อ้ มูล
สารสนเทศเกีย่ วกบั การดาเนินงานตามตัวช้ีวดั เพ่ือเตรยี มให้ข้อมูลเก่ียวกับการดาเนนิ งานตามตวั ชี้วดั และให้ข้อมลู
แกค่ ณะกรรมการประเมินประเมนิ คุณภาพภายใน ปีการศึกษา ๒๕63

สง่ั ณ วนั ท่ี 7 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕63

ว่าทรี่ ้อยโท
(สุคนธ์ ศุภสขุ )

รองผู้อานวยการโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
รักษาราชการแทนผู้อานวยการโรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศกึ ษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนอื พทิ ยาคม ๑๖๖

ประกาศโรงเรยี นแกง้ เหนือพิทยาคม
เรอ่ื ง การให้ความเห็นชอบรายงานการประเมนิ คุณภาพภายในสถานศึกษา

ประจาปีการศึกษา 2563
****************

ดว้ ยโรงเรียนแกง้ เหนือพทิ ยาคม มีภาระหนา้ ทจ่ี ัดการศึกษาและควบคุมคุณภาพการจัด
การศึกษาให้ได้มาตรฐานตามตามกฎหมาย โดยต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาพร้อมทา
รายงานการประเมินตนเอง (SELF ASSESSMENT REPORT : SAR) และเสนอผลการประเมินคุณภาพต่อ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานเพ่ือทราบและรับรองผลการประเมินดังกล่าว แล้วนาเผยแพร่ต่อ
สาธารณชน สาหรับปีการศกึ ษา 2563 น้ัน

โรงเรยี นแก้งเหนอื พิทยาคม ไดม้ ีการประเมนิ คุณภาพภายในสถานศึกษาพรอ้ มทั้งจัดทา
รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษานาเสนอให้คณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานแล้ว เม่ือ
วันท่ี 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ปรากฏว่าคณะกรรมการทุกท่านให้ความเห็นชอบผล การประเมิน
คุณภาพภายในและรายงานการประเมินประจาปี 2563 โดยคณะกรรมการสถานศกึ ษา ขัน้ พ้ืนฐานทุกท่านมี
มติให้ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม เป็นผู้ลงนามรับรองในประกาศ
แทนคณะกรรมการสถานศึกษาข้นั พนื้ ฐานท้ังคณะ

จึงขอประกาศใหส้ าธารณชนทราบโดยทั่วกนั

ประกาศ ณ วนั ท่ี 17 เดอื น พฤษภาคม พ.ศ. 2564

( นายวชิ ัย ทานาฤทัย )
ประธานคณะกรรมการสถานศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน

โรงเรยี นแก้งเหนือพิทยาคม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ๑๖๗

ประกาศโรงเรียนแกง้ เหนือพิทยาคม

เร่ือง การแต่งต้ังคณะกรรมการตดิ ตามผล ตรวจสอบระบบประกันคุณภาพ

และการประเมนิ คุณภาพภายในสถานศึกษา ประจาปกี ารศกึ ษา ๒๕63

............................................................................

ตามท่ีมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ๒๕๕๓ และ

ประกาศคณะกรรมการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เรื่องกาหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ

ประกันคุณภายในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่กาหนดให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มี

การตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา ทงั้ ระดบั บุคคลและระดบั สถานศึกษาอย่างนอ้ ยภาคเรยี นละ ๑ คร้ัง พร้อมทั้งจัด

รายงานผลและนาผลการติดตามตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรบั ปรงุ พัฒนาสถานศกึ ษาน้ัน

เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ

ติดตาม ตรวจสอบระบบประกนั คณุ ภาพ และประเมนิ คุณภาพภายในสถานศึกษา ดังน้ี

1. ว่าที่ รท.สคุ นธ์ ศุภสขุ รองผอู้ านวยการรกั ษาราชการแทน

ผูอ้ านวยการสถานศึกษา ประธานกรรมการ

2. นางวิภาพร อปุ นสิ ากร ศึกษานิเทศกเ์ ช่ยี วชาญ/ กรรมการ

หวั หน้ากล่มุ งานนิเทศ ตดิ ตาม

และประเมินผลการจดั การศึกษา

3. นายสมศกั ด์ิ นามวงศษ์ า นักวชิ าการศึกษาชานาญการ กรรมการ

4. นางนจุ นาฏ สารบิ ตุ ร นกั วิชาการศึกษาชานาญการ กรรมการ

5. นายณัฐพงษ์ จนั ทวฒั น์ นักวิชาการศึกษาปฏบิ ัตกิ าร กรรมการ

6. นายวชิ ยั ทานาฤทยั ประธานคณะกรรมการสถานศกึ ษา กรรมการ

7. นายเกษม ชชู ่วย กรรมการสถานศึกษา กรรมการ

8. นางมงคล จนั ทราภรณ์ ครูชานาญการพเิ ศษ/ผู้แทนครู กรรมการ

9. นางธญั กมล ตนั เมืองปัก ครชู านาญการพิเศษ/ผู้แทนครู กรรมการ

10. นายสมาน เรือนเจรญิ หวั หนา้ ฝาุ ยบรหิ ารงานวิชาการ กรรมการและเลขานุการ

หวั หนา้ งานประกนั คณุ ภาพ

คณะกรรมการท่ีไดร้ ับแตง่ ตงั้ มีหนา้ ท่ี

๑. ติดตาม ตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษาทั้งระดับบคุ คลและระดบั สถานศึกษาอยา่ งน้อยภาคเรยี นละ ๑ ครั้ง และ

จดั ทารายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษา

๒. ประเมนิ คณุ ภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ ๑ คร้ังและจัดทารายงานผล

การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา

ให้คณะกรรมการท่ีได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปด้วยความ ด้วยความเรียบร้อย มี

ประสทิ ธภิ าพ โดยคานงึ ถงึ ประโยชนข์ องทางราชการเปน็ สาคัญ ท้งั นีต้ ้ังแตบ่ ดั นเ้ี ป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑5 เดอื น กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2564

วา่ ที่ร้อยโท
(สคุ นธ์ ศภุ สขุ )

รองผู้อานวยการโรงเรยี นแกง้ เหนือพทิ ยาคม
รักษาราชการแทนผอู้ านวยการโรงเรยี นแกง้ เหนือพิทยาคม

รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา(SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ๑๖๘

คณะทางาน

คณะท่ีปรกึ ษา ศุภสขุ รองผ้อู านวยการสถานศึกษา
๑. ว่าท่ี ร.ท.สุคนธ์ หวงั สุข ครเู ช่ยี วชาญ
2. นางยวุ ดี เรือนเจรญิ ครชู านาญการพิเศษ
3. นายสมาน ยนื ยง่ิ ครชู านาญการพิเศษ
4. นายประจกั ษ์ จนั ทราภรณ์ ครชู านาญการพิเศษ
5. นางมงคล ครูชานาญการพเิ ศษ
6. นางธญั กมล ตนั เมืองปัก

ผรู้ ับผิดชอบงานประกันคุณภาพของโรงเรยี น

1. นายสมาน เรือนเจรญิ ครชู านาญการพเิ ศษ

คณะกรรมการประเมนิ คณุ ภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

1. ว่าท่ี รท.สุคนธ์ ศภุ สุข รองผู้อานวยการรักษาราชการแทน

ผู้อานวยการสถานศกึ ษา ประธานกรรมการ

2. นางวภิ าพร อุปนสิ ากร ศกึ ษานเิ ทศก์เชย่ี วชาญ/ กรรมการ

หวั หน้ากลุ่มงานนเิ ทศ ติดตาม

และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา

3. นายสมศกั ด์ิ นามวงศ์ษา นักวิชาการศึกษาชานาญการ กรรมการ

4. นางนุจนาฏ สารบิ ตุ ร นักวชิ าการศึกษาชานาญการ กรรมการ

5. นายณัฐพงษ์ จันทวัฒน์ นักวิชาการศกึ ษาปฏบิ ตั ิการ กรรมการ

6. นายวิชัย ทานาฤทยั ประธานคณะกรรมการสถานศกึ ษา กรรมการ

7. นายเกษม ชชู ว่ ย กรรมการสถานศึกษา กรรมการ

8. นางมงคล จนั ทราภรณ์ ครชู านาญการพิเศษ/ผู้แทนครู กรรมการ

9. นางธญั กมล ตนั เมอื งปกั ครูชานาญการพิเศษ/ผแู้ ทนครู กรรมการ

10. นายสมาน เรอื นเจริญ หัวหนา้ ฝาุ ยบริหารงานวิชาการ กรรมการและเลขานุการ

หัวหน้างานประกนั คุณภาพ

ผูจ้ ัดทาเอกสาร ครูชานาญการพเิ ศษ รวบรวมขอ้ มูลวิเคราะห์/ พมิ พ์/เรยี บเรยี ง
1. นายสมาน เรอื นเจริญ ครูชานาญการพเิ ศษ ออกแบบปก/เลือกจัดทาภาพประกอบ
2. นางปยิ าภรณ์ โกศลั วิตร


Click to View FlipBook Version