kaengnuapit Download PDF
  • 1
  • 0
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ขอมูลพื้นฐาน

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ที่อยู 195 หมูที่ 1 ตําบลแก้งเหนือ อําเภอเขมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อผูบริหารโรงเรียน (รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา)
ว่าที่ ร.ท.สุคนธ์ ศุภสุข (ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา) เบอรโทรศัพท 045-210-494
e-mail. [email protected] จํานวน บุคลากร ๓1 คน จําแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู
๒3 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 7 คน จํานวนนักเรียน รวม 373 คน

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 373 คน จัดทํารายงานการ ประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR)
ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ
ผลการประเมินตนเองในภาพรวม ทั้ง 3 มาตรฐาน ร้อยละเฉลี่ย 72.63 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
มีผลการดําเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมิน ดังนี้
ผู้เรียนร้อยละ 79.91 มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ , มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา , มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม , มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ,มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด , มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย , มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย , สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้
อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ซึ่งโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา มีกิจกรรมในห้องเรียนบูรณาการทุกสาระการเรียนรู้ มีหลักสูตรท้องถิ่น (รายวิชา SBMLD) ใช้แหล่ง
เรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอก ใช้วิทยากร สื่อการสอนเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
ครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ครู นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทุกเวลาและโอกาส ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถ
คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากผลการสอบโอเน็ตในปีการศึกษา 2563 และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่านคิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ มีผลการจัดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้มีการส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ เช่นการเลี้ยงปลา กบ ทำแปลงผักปลอดสารพิษ ทำสวนผสม และการสหกรณ์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนรุ่นพี่สามารถเป็นพี่เลี้ยงสอนน้องได้ มีผลงานที่เกิดจากงานอาชีพ มีโครงงานแปรรูปอาหาร
การจัดการและการดำเนินกิจการสหกรณ์ร้านค้า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีคุณธรรมสามารถดำรงตนในสังคม และประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ปฏิบัติตนในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ทำกระทงไปลอย ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง กราบและไหว้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดในโรงเรียนทุกวัน ชอบเล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ได้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ทั้งส่งผลไปถึงครอบครัวและชุมชนด้วย โดยคณะครูและทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดีทุกด้าน
จุดเด่น
สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน
โดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
สถานศึกษามีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้กระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโครงงาน การทำงานด้วยระบบทีมเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะในสืบค้นค้นข้อมูลผ่านแอพ Googleในมือถือ เพื่อรวบรวมข้อมูล คัดเลือกคัดสรรค์ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการนำไปสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาวิชาชีพในอนาคต และปัจจุบัน โรงเรียนได้มีการพัฒนาห้องศูนย์การรู้ศาสตร์พระราชา ในการเรียนรู้ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและอื่นๆ ไว้บริการนักเรียนและชุมชน มีกลุ่มนักเรียนวงดนตรี-แตรวง-โยธวาธิต –ดนตรีสากล ที่ออกงานแสดงบริการช่วยงานโรงเรียนและชุมชน มีห้องศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีห้องสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในโรงเรียน มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพียงพอกับนักเรียนที่มีคาบเรียน มีห้องสมุดสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต และมีการสนับสนุนบริการด้านอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน โดยเพิ่มจุดบริการ wifi ในบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน ในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียนนั้น โรงเรียน มีความโดดเด่นในเรื่องกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมของสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งผ่านครูที่ปรึกษา รวมถึงโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ณ วัดพิชโสภาราม ร่วมงานชุมชน เช่น ประเพณีกวนน้ำทิพย์ แห่เทียนพรรษาอำเภอเขมราฐ วันชาตกาล สรงน้ำพระรูปเหมือนหลวงพ่อใหญ่วัดพิชโสภาราม แห่ฉลองพัดยศบาลีเปรียญธรรมประโยคต่างๆ เข้าบวชถือศีลปฏิบัติธรรม และ วันสำคัญความเป็นไทยต่างๆ ซึ่งคณะครูและนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เรื่องของการมีความสามารถในการอ่านการเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณนั้น ยังต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาพรวมจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เมื่อมองในรายละเอียดจะพบว่า ยังมีอีกหลายส่วนให้พิจารณา เช่น นักเรียนระดับ ม.ต้น บางส่วนที่ยังอ่าน เขียน และสื่อสาร รวมถึงคิดคำนวณได้ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนเรื่องของการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา รวมถึงความสามารถในการสร้างนวัตกรรมนั้น ยังต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่นการสอดแทรกกิจกรรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมทักษะในด้านเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของความสามารถในการใช้เทคโนโลยีนั้น โรงเรียนต้องส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ต wifi .ให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น โทรศัพท์ แทปเลต โน้ตบุค ในการสืบค้นข้อมูลแผ่นแอพ Google เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องจัดเป็นลำดับที่ 1 ในการให้ความสำคัญนอกเหนือจากทักษะในการใช้เทคโนโลยีก็คือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย และการเคารพสิทธิ และ ความคิดเห็นของผู้อื่นในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนานักเรียนซึ่งมีความแตกต่างในด้านการรับรู้ และ ในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องของนักเรียนที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ และ ปัญหานักเรียนติดเกม ซึ่งส่งผลให้นักเรียนให้ความสนใจในด้านการเรียนลดน้อยลง ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ส่วนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้น ปัญหาที่ยังต้องเผชิญกับกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น หลบเรียน หนีเรียน มาสาย แต่งกายผิดระเบียบของโรงเรียน ขับรถมอเตอร์ไชเสียงดัง ซึ่งส่งผลให้มีผลการเรียนมีปัญหา ติด 0 ร มส. ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเดิม ควรเร่งพัฒนาแก้ไขผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับผู้ปกครองของนักเรียนในรูปแบบคณะกรรมการ และเรื่องของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนควรให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใจสิทธิและหน้าที่ รวมถึงการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม และ วัฒนธรรม ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริง และ สังคมในอินเตอร์เน็ต ให้มากยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการ
พัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ใน
บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป
การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนยังไม่ชัดเจนและลงไป
ที่เป้าหมายอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ผู้เรียนบางคนยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา บางคนขาดทักษะการ
วางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะใน
สถานการณ์ปัจจุบัน ยุคThailand 4.0 นักเรียนยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และผู้เรียนต้อง
พัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- แผนการการจัดการเรียนรู้ของครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- รายงานผลการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้
- แบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน(ปถ.05)
- สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2563
- ผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2563
- รายงานผลการดำเนินโครงการ
- นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
- ผลงานครู
- ผลงานนักเรียน
- ภาพถ่ายโครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
- สารสนเทศโรงเรียน, บันทึกการนิเทศ, สรุปการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนการบริหารตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สู่ “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
9) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
13) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) พัฒนาใหนักเรียนมีทักษะในการอาน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณเปนไปตามเกณฑที่
โรงเรียนกําหนดในแตระดับชั้น
2) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการคิดจําแนก แยกแยะ ใครครวญไตรตรอง พิจารณาอยาง
รอบคอบโดยใชเหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแกปญหา อยางมี
เหตุผล
3) พัฒนาใหนักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรูไดทั้งดวยตนเองและการทํางานเปนทีม
เชื่อมโยงองคความรู และประสบการณมาใชในการสรางสรรคสิ่งใหม ๆ
4) พัฒนาใหนักเรียน มีความสามารถในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนา
ตนเอง และสังคมในดานการเรียนรู การสื่อสาร การทํางาน อยางสรางสรรค และมีคุณธรรม
5) พัฒนาใหนักเรียน มีความกาวหนาในการเรียนรูตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในดาน
ความรู ความเขาใจ ทักษะ กระบวนการตาง ๆ รวมทั้ง
6) พัฒนาใหนักเรียนมีความกาวหนาในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู ทักษะพื้นฐานในการ
จัดการเจตคติที่ดีพรอมที่จะศึกษาตอในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเปนผูที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎ
กติกา
7) พัฒนาใหนักเรียนมีคานิยมและจิตสํานึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในทองถิ่น เห็นคุณคาของ
ความเปนไทย มีสวนรวมในการอนุรักษวัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปญญาไทย
8) พัฒนาใหนักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ และสังคม แสดงออกอยาง
เหมาะสมในแตละชวงวัย



มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการบริหารและการจัดการ ร้อยละ 65.81 ประกอบด้วย การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน , มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา , ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย , พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ , จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ , และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
1. สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษานโยบายการปฏิรูปการศึกษาความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ
๒. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ได้เรียนรู้
๓. สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบ
๔ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
๕. สถานศึกษามีการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา

จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการนำเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และ ผู้แทนจากชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งส่งผลไปถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จึงทำให้โครงการต่างๆที่ออกมาเป็นไปตามความต้องการส่วนใหญ่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน กล่าว คือ
1. โรงเรียนมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ
2. โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดม สมอง การประชุมกลุ่มเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติ การประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี คุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและการจัดรายงานผลการจัดการศึกษาและโรงเรียนได้ใช้กระบวนวิจัยในการ รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วน ร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง

1. แผนพัฒนาการศึกษาสามปี พ.ศ. 25๖1-2563
2. แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563
3. ผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, โครงการนิเทศภายใน
ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการบริหารและการจัดการที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1.โครงการสนับสนุนค่าเครื่องแบบนักเรียน อยู่ในระดับ ดี
2.โครงการสนับสนุนค่าหนังสือเรียน อยู่ในระดับ ดี
3.โครงการสนับสนุนค่าอุปกรณ์การเรียน อยู่ในระดับ ดี
4.โครงการค่าจ้างเหมาบริการ อยู่ในระดับ ดี
5.โครงการค่ารับรองและพิธีการ อยู่ในระดับ ดี
6.โครงการค่าจ้างเหมาบริการทำความสะอาด อยู่ในระดับ ดี
7.โครงการค่าวัสดุสำนักงาน อยู่ในระดับ ดี
8.โครงการค่าวัสดุงานบ้านงานครัว อยู่ในระดับ ดี
9.โครงการค่าวัสดุไฟฟ้า วิทยุและประปา อยู่ในระดับ ดี
10.โครงการค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น อยู่ในระดับ ดี
11.โครงการค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม อยู่ในระดับ ดี
12.โครงการพัฒนาระบบควบคุมภายใน อยู่ในระดับ ดี
13โครงการพัฒนากิจกรรม๙ ส อยู่ในระดับ ดี
14.โครงการสนับสนุนค่าสาธารณูปโภค ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าบริการอินเตอร์เน็ต ค่าบริการโทรศัพท์ อยู่ในระดับ ดี
15.โครงการการซ่อมแซมอาคารเรียน อยู่ในระดับ ดี
16.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
17.โครงการส่งเสริมการบริการเทคโนโลยีและสารสนเทศ ระบบ ADSL ระบบ WIFI อยู่ในระดับ ดี
18.โครงการพัฒนางานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับ ดี
19.โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
20.โครงการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อยู่ในระดับ ดี
21.โครงการจัดทำและพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับ ดี
22.โครงการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ อยู่ในระดับ ดี
23.โครงการพัฒนางานโสตทัศนูปกรณ์ อยู่ในระดับ ดี

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร
2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนคุณภาพผูเรียนรอบดาน
3) โครงการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนรวม
4) โครงการพัฒนาครูพัฒนาครูสูครูมืออาชีพ
5) โครงการจัดสภาพแวดลอมใหเปนแหลงเรียนรู

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน ดังนี้
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 72.17 ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ , ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ , มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก , ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน , มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ย ของมาตรฐานนี้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

สรุปผลการดำเนินงาน
นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครู การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่ง
โรงเรียนได้วางแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในฐานะผู้สอนเพื่อนำความรู้ความเข้าใจมาส่งเสริม
และจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนได้ดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่บรรลุเป้าหมายและผู้มี
ส่วนร่วมทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในระดับดี

จุดเด่น
กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถปฏิบัติและบูรณาการการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง ใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการบูรณาการกับการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กล่าวสรุป
1. ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4. ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
6. ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน
7. ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะ
1) จัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่นหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
2) จัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษาด้วยตนเอง
3) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT
4) โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี การพัฒนาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
5) กิจกรรมนิเทศการเรียนการสอน
6) โครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้และมีการวิจัย อย่างต่อเนื่อง
8) ครูควรมีวิจัยอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง

แหล่งข้อมูลหลักฐานอ้างอิง/เอกสารเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
- หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
- โครงการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่
- สถานศึกษาส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ครูทุกคนการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดหลักสูตรสถานศึกษาและพัฒนา
แผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่สามารถนำ
ไปจัดกิจกรรมได้จริง
-ครูมีการใช้แผนการสอน หรือ แผนการจัดการเรียนเรียนรู้ ครบทุกวิชาที่ทำการสอน
-ครูมีระบบนิเทศการสอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-ครูมีการจัดทำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ที่ส่งผลให้ผู้เรียนรู้
ฝึกทักษะการแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถ ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ครูทุกคนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สอดคล้องกับสาระที่สอนมี
การใช้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- ครูทุกคนมีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้
- สรุปโครงการต่างๆ รูปภาพกิจกรรม

-ข้อค้นพบพิเศษ รายงานของ ที่ครูใช้จัดการเรียนรู้ ทางออนไลน์ เนื่อง สถานการณ์ โรคแพร่ระบาด ไวรัส Covid-19 ตลอดปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูใช้รูปแบบ วิธีสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผล อย่างหลากหลาย

สื่อประกอบการสอน รายการสอนออนไลน์ แก้ปัญหา สถานการณ์ COVID 19
-สื่อไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
- สื่อใบความรู้/ ใบงาน
-สื่อไฟล์ Porwerpoint
-ห้องเรียนออนไลน์
-ห้องแชทเพื่อติดต่อเรียนเรียนรู้สั่งงานกับนักเรียน ได้แก่
- ห้อง messenger เฟชบุ๊ค
- ห้อง Line
-สื่อประกอบการสื่อสอนที่ผู้สอน ผู้เรียน ออกแบบ ผลิตขึ้นใช้เอง
-สื่อชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ ทุกประเภทของครู
-สื่อชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ รวมทุกประเภท ที่นักเรียน ที่นักเรียนจัดทำส่ง (แบ่งเป็น เล่มรายงาน สมุดจดบันทึก ภาพวาดระบายสี ภาพเขียน ป๊อบอัพ หนังสือเล่มเล็ก แฟ้มงาน จุลสาร-แผ่นพับ แบบทดสอบ) ลงแต่ละชนิดย่อย
-นวัตกรรม งานวิจัยเต็มรูปแบบ (5 บท) ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอน
- กลุ่ม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ครูเข้าร่วมงาน
-รูปแบบการสอนที่หลากหลายที่ครูใช้สอน
-เรื่องที่มอบหมายงานให้นักเรียนไปสืบค้นทางอินเตอร์เนต เช่น แอพ Google
-โครงงานที่นักเรียนลงมือดำเนินการร่วมกันจัดทำสำเร็จ
-สื่อคลิปไฟล์ วิดีโอ ที่ครูจัดทำเอง หรือค้นคว้าจากโลกออนไลน์ เช่น You Tube มาสื่อสารให้นักเรียนได้เรียนรู้

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
1) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีตาร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
2) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
3) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
4) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับ ดี
5) โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านอาหารไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับ ดี
6) โครงการส่งเสริมคุณธรรม มารยาทไทย ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ในระดับ ดี
7) โครงการพัฒนากิจกรรมวันสำคัญของชาติ อยู่ในระดับ ดี
8) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันไหว้ครู อยู่ในระดับ ดี
9) โครงการค่ายปรับพื้นฐานก่อนเรียน อยู่ในระดับ ดี
10) โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
11) โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
12) โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา อยู่ในระดับ กำลังพัฒนา
13) โครงการพัฒนาวงดนตรีโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
14) โครงการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในระดับ ดี
15) โครงการพัฒนากิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับ ดี
16) โครงการรักการอ่าน อยู่ในระดับ ดี
17) โครงการค่ายดาราศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
18) โครงการพัฒนาการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก อยู่ในระดับ ดี
19) โครงการปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 ม.6 อยู่ในระดับ ดี
20) โครงการค่ายนาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับ ดี
21) โครงการค่ายคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
22) โครงการส่งเสริมกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
23) โครงการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน อยู่ในระดับ ดี
24) โครงการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการ อยู่ในระดับ ดี
25) โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับ ดี
26) โครงการรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา อยู่ในระดับ ดี
27) โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อาเซียน อยู่ในระดับ ดี
28) โครงการพัฒนา/ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
29) โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
30) โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต อยู่ในระดับ ดี
31) โครงการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อยู่ในระดับ ดี
32) โครงการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย อยู่ในระดับ ดี
33) โครงการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
34) โครงการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับ ดี
35) โครงการพัฒนาการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ อยู่ในระดับ ดี
36) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะ อยู่ในระดับ ดี
37) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อยู่ในระดับ ดี


แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับใหสูงขึ้น
1) โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
2) โครงการจัดการเรียนรูแบบโครงงาน
3) โครงการพัฒนาการใชสื่อ เทคโนโลยี สูหองเรียน
4) โครงการสงเสริมใหครูจัดทําแผนการจัดการเรียนรูและนําไปใชจริง
5) กิจกรรมสําหรับนักเรียนที่ตองการความชวยเหลือเปนพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมใหนักเรียนมี
ความรูสูงขึ้นตามระดับชั้น

สรุปรวม
แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น
1. ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (O-NET) ยังต่ำกว่าระดับประเทศซึ่งจะต้องมีการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
2. สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
3. ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนทุกคนควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่
นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง จัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้นและพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานเสมอ มีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายตามสภาพจริงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และธรรมชาติวิชา ตลอดจนควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้
4. สถานศึกษาจัดระบบให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเอง แต่ยังขาดการให้ข้อมูล
ย้อนกลับแก่ครูในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน นักเรียนมีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ แต่ก็ยังขาดการติดตาม ช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคน
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. ส่งเสริมการเรียนสู่ความเป็นเลิศ (รายวิชา SBMLD) ได้แก่ รายวิชาดนตรีเพิ่มเติม รายวิชาอาหารไทย รายวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มเติม เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
1. สนับสนุนให้มีการทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมการพัฒนาการจัดเรียนการสอนของครู และการสอนแบบบูรณาการ และการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
3. พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น ให้นักเรียนสามารถดูผลการเรียนได้จากคอมพิวเตอร์
4. พัฒนาครูในรูปแบบที่หลากหลาย ตามสภาพความต้องการ จำเป็น ของโรงเรียนและความต้องการของครูอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. สนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่วิถีชีวิตของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น

ความต้องการและการช่วยเหลือ
1. โรงเรียนต้องบุคลากร ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา (ตัวจริง) ที่ว่างเว้นเป็นเวลานาน 6 ปีแล้ว เพื่อมาขับเคลื่อนงานบริหารของโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เนื่องจากบุคลากรครูย้ายคืนถิ่นแล้ว 4-5 คน และยังไม่ได้คืน ทำให้โรงเรียนขาดประสิทธิภาพในงานสนับสนุนตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด หรือความต้องการของชุมชนท้องถิ่นในกิจกรรมต่างๆ ขาดแคลนครู ในสายการสอนที่ตรงกับวิชาเอก เช่น นาฎศิลป์ เกษตร คหกรรม และ ภาษาไทย เป็นต้น
3. โรงเรียนต้องการจัดใหมีโต๊ะ-เก้าอี้ นักเรียน สำหรับนั่งเรียนให้เพียงพอ เหมาะสมไม่ชำรุด และจัดหองปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมตอการจัดการเรียนรู ยังไม่มีสารเคมี อุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (โรงเรียนมีแต่ อาคารเรียนและห้องเรียน ที่ว่างเปล่า) ยังไม่มีโต๊ะ-เก้าสำหรับนักเรียนเป็นจำนวนมาก
4. โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย ต้องการเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ใหม่มาแทน (เพราะเครื่องเก่าที่ชำรุดเพราะหมดอายุหลอดของการใช้งานแล้ว) คอมพิวเตอร์โน้ตบุค ระบบอินเตอร์เน็ตกระจาย WiFi ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม ให้บริการนักเรียนเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพงานบริหาร และการจัดเรียนการสอน
5. การประสานความร่วมมือกับวิทยากรท้องถิ่นในการให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่นักเรียน
6. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน
7. การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนา
ผู้เรียน


















สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
ประจำปีการศึกษา 2563

ตามที่โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกาศของกระทรวงมหาดไทย โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
บัดนี้ การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา แสดงในตาราง สรุปผลได้ดังนี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปผลการประเมินภาพรวม
 กำลังพัฒนา  ปานกลาง  ดี  ดีเลิศ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ดี
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดี

ตารางสรุปผลการประเมิน ตาม มาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
...................................................
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน 79.91 ดี
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 75.26 ดี
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ 53.71 พอใช้
๒) มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 74.69 ดี
๓) มีความสามารในการสร้างนวัตกรรม 83.91 ดีเลิศ
๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 74.39 ดี
๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 74.92 ดี
๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 89.95 ดีเลิศ
๑.๒คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 84.55 ดีเลิศ
๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 81.77 ดีเลิศ
๒) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 85.52 ดีเลิศ
๓) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 86.32 ดีเลิศ
๔) สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม 84.61 ดีเลิศ


มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ค่าเป้าหมาย
เชิง
ปริมาณ
(ร้อยละ) ระดับคุณภาพ
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและจัดการ 65.81 ดี
๒.๑ การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 78.75 ดี
๒.๒มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 65.33 ดี
๒.๓ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสุตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 70.25 ดี
๒.๔พัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 42.5 พอใช้
๒.๕จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคูณภาพ 60 ดี
๒.๖จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 78 ดี
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 72.17 ดี
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 62.31 ดี
๓.๒ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 78.26 ดี
๓.๓มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 68.11 ดี
๔.๔ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 76.81 ดี
๓.๕มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 75.36 ดี
สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา 72.63 ดี




หลักเกณฑ์พิจารณาคุณภาพ รวม ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ และระดับคุณภาพ
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงคะแนน เชิงปริมาณร้อยละ ระดับคุณภาพ
95-100 ดีเยี่ยม
80-94 ดีเลิศ
60-79 ดี
40-59 พอใช้
0-39 ปรับปรุง
View Text Version Category : 22
  • Follow
  • 1
  • Embed
  • Share
  • Upload
Related publications