The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิชาธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ 30200-0003

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by papawarin4218, 2021-01-08 03:10:33

วิชาธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ 30200-0003

วิชาธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ 30200-0003

1.3.2 กลยุทธ์การตลาดที่ใช้ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Marketing strategies in
PLC) กลยุทธ์หรือวิธีการทางการตลาดในแต่ละขั้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร
การตลาดจะต้องเลือกใชใ้ ห้สอดคลอ้ งกบั ลักษณะของตลาดโดยมีกลยทุ ธ์ ดงั นี้

1 ) ก ล ย ุ ท ธ ์ ก า ร ต ล า ด ใ น ข้ั น แ น ะ น ำ ( Marketing strategy in an
introduction stage) เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในตลาดได้รู้จักและ
ทราบถงึ ผลิตภัณฑ์ ดงั นี้

2) กลยุทธก์ ารตลาดในข้นั เจริญเตบิ โต (Marketing strategy in a growth
stage) เป็นการใช้กลยุทธ์การตลาดให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มยอดขาย และสร้างส่วนแบ่งการตลาดให้มาก
ที่สุด

3) กลยุทธ์การตลาดในขั้นอิ่มตัว (Marketing strategy in a maturity
stage) เป็นการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากและนานที่สุด กลยุทธ์การตลาดจะมุ่งไปที่การขยาย
รปู แบบของผลติ ภณั ฑใ์ หม้ ีความหลากหลาย

4) กลยุทธ์การตลาดในขั้นตกต่ำ (Marketing strategy in a decline
stage) เป็นการรกั ษาผลิตภัณฑ์ที่ขายดีไวโ้ ดยการต้งั ราคาไว้ต่ำเพ่ือดงึ ดูดใหเ้ กิดการขายสินค้าอยา่ งรวดเร็ว

1.3.3 การขยายวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Rejuvenating PLC) เมื่อวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
มาถึงขั้นตกต่ำแล้ว ผู้ประกอบการควรสร้างโอกาสในการขยายวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การนำกลยุทธ์
การตลาดมาช่วยจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกิจการหัวกลับขึ้นมา โดยการเพิ่มการใช้ใหม่ (new use) เพิ่ม
ลูกค้ากลุ่มใหม่ (new distribution channel) วางตำแหน่งใหม่ (Repositioning) และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ใหม่ (New product Development)

1.4 การพฒั นาผลิตภณั ฑใ์ หม่
การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กิจการการตลาดมี
ความน่าเชื่อถือ เมื่อไหร่ที่วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ไม่สามารถขยายออกได้แล้ว ควรมีการปรับปรุงและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ไปสู่ตลาดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้ออยู่ตลอดเวลา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มี
รายละเอยี ด ดังน้ี

1.4.1 ความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีผู้ใด
จำหน่ายในตลาดมาก่อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพรียวพันธ์ที่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นท่ีมีการปรับแตง่
และเปลยี่ นแปลงรปู แบบมาบางส่วน หรอื ผลิตภณั ฑ์ท่มี ีการเปลีย่ นตราสนิ คา้ ใหม่

1.4.2 กระบวนการพฒั นาผลิตภณั ฑใ์ หม่ (New product development process)
กิจการสามารถจัดโครงสร้างขององค์กรเพื่อบริหารงานและดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มี
ประสิทธิภาพขน้ึ โดยมกี ระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอนนี้

1) การสร้างแนวคดิ (idea generation) การพัฒนาผลติ ภณั ฑใ์ หม่จะเร่ิมจาก
การวิจัยและการคน้ หาแนวคดิ ใหมๆ่ ของผลติ ภณั ฑท์ ีต่ ลาดมีความต้องการ

2) การกลั่นกรองแนวคิด(Idea screaming) หลังจากที่ได้แนวคิดเกี่ยวกับ
ผลติ ภัณฑ์ แลว้ ควรพจิ ารณาแนวคิดใหส้ อดคลอ้ งกับเปา้ หมายของผลิตภณั ฑ์

3) การพัฒนาและทดสอบแนวคิด ( Concept development and
testing) เป็นการนำแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากำหนดและทดสอบว่าสามารถทำตามแนวคิดได้
หรือไม่

4) การพัฒนากลยุทธ์การตลาด (marketing strategy development)
ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องดำเนินการวางแผนงานโดยการใช้กลยุทธ์
การตลาดแนะนำผลิตภณั ฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด

5) การวิเคราะห์ธุรกิจ (business analysis) กิจการต้องประเมินสิ่งที่ดึงดูด
ความต้องการของธุรกจิ

6) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development) เมื่อแนวความคิด
เก่ียวกับผลติ ภัณฑ์ ผา่ นการทดสอบ เชิงธุรกจิ และสง่ ผา่ นไปยังฝา่ ยวิจัยและพฒั นาหรือวศิ วกรรมการผลติ

7) การทดสอบตลาด (marketing testing) เมื่อมีการทดสอบผลิตภัณฑ์ตาม
หน้าทแี่ ละประโยชนใ์ นการใช้งานต่าง ๆ

8) การบริหารเชิงพาณิชย์ (commercialization) เป็นการวางแผนการจัด
จำหน่ายอย่างทั่วถึงซึ่งการบริหารงานเชิงพาณิชย์ต้องใช้เงินทุนและงบประมาณ ต้องมีการวางแผนการ
ผลติ และเกบ็ สตอ็ กผลติ ภณั ฑ์เพ่ือให้เพียงพอกบั ความต้องการของตลาด

2. การบริหารการผลิต

การบริหารการผลิตเปน็ กิจกรรมที่ชว่ ยสร้างความสามารถเชิงการแข่งขันท่ีดไี ด้ด้วยต้นทุนสินค้าท่ี
ต่ำ มผี ลิตภณั ฑ์รปู แบบใหม่เพื่อนำเสนอขายในตลาด และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้
ดี ตลอดจนมีการขยายการผลิตด้วยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจนทำให้กิจ การมีระบบ
การผลิตทีท่ ันสมัย

2.1 ความหมายและความสำคญั ของการผลิต
การผลิตเปน็ การแปรเปลี่ยนปจั จัยนำเขา้ ตา่ ง ๆ ให้เป็นสนิ ค้าและบริการ เพื่อสร้างประโยชน์และ
ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยปัจจยั นำเข้าต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุดบิ พัสดุ ชน้ิ ส่วนประกอบ อุปกรณ์
และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ โดยการผลิตจะมีความผันแปรไปตาม
ลักษณะของสินค้าและบริการที่องค์กรได้นำเสนอขายไปสู่ตลาด เช่น การผลิตน้ำอัดลมจะมีรูปแบบการ
ผลติ ทใี่ ช้เครือ่ งจักรและอปุ กรณ์อตั โนมตั ิ ซ่ึงในแตล่ ะครั้งจะทำใหไ้ ด้ผลผลติ มจี ำนวนมาก
การผลติ เป็นกิจกรรมของธุรกิจท่ตี ้องทำงานประสานกับฝา่ ยงานอ่ืน ๆ ไดแ้ ก่ ฝ่ายทรพั ยากรมนษุ ย์
ทำหน้าที่จัดหาพนักงานมาทำงานในฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรมทำหน้าที่ด้านการออกแบบสายการผลิต
รูปแบบการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ฝ่ายบัญชีทำหน้าที่ในการเก็บรายละเอียดในการผลิต ฝ่าย

การตลาดทำหน้าที่พยากรณ์ยอดขายและการผลิตตามความต้องการการซื้อของลูกค้าและจัดกิจกรรม
ส่งเสรมิ การขาย ฝ่ายการเงินทำหน้าท่ีวิเคราะห์การลงทุน เพ่มิ อุปกรณ์และเครื่องจักรท่ีจะนำมาใช้กับการ
ผลิต ฝ่ายจัดซื้อทำหน้าท่ีซื้อวัตถุดิบ วัสดุ และส่วนประกอบต่าง ๆ และฝ่ายขนส่งสนิ ค้าทำหน้าที่กระจาย
สนิ ค้าและบริการไปสูต่ วั แทนขายท่ีเป็นผคู้ า้ สง่ ผูค้ า้ ปลกี และกลมุ่ ผู้ซื้อรายย่อย

2.2 ระบบการผลติ (production system)
ระบบการผลิตเป็นกระบวนการผลติ สินค้าและบริการทีน่ ำปัจจัยนำเข้า เชน่ วตั ถุดิบ วัสดุ ช้นิ สว่ น
ประกอบ แรงงาน เงินทุน และที่ดิน อาหารกระบวนการเปลี่ยนสภาพให้ออกมาเป็นผลผลติ ทง้ั ที่เป็นสินค้า
และบริการต่าง ๆ ของธุรกิจเพื่อนำไปเสนอขายแก่ลูกค้าของกิจการการแปรสภาพหรือการแปรรูปอาหาร
ใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ เทคโนโลยีการผลิต หรือกำลังคนเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว มีการตรวจสอบคุณภาพ
สินค้าและบริการใหไ้ ด้มาตรฐาน โดยการวัดผลการผลิตและงานผลิต เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาระบบ
การผลติ ให้มปี ระสิทธิภาพมากขึ้นกวา่ เดมิ

รปู ภาพท่ี 25 กระบวนการผลิตหรือการปฏบิ ตั ิการ
ที่มาของรูปภาพ: https://sites.google.com/site/youngbusinessplan

2.3 การออกแบบผลติ ภณั ฑ์และกระบวนการผลติ (designing product and process)
การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่นำมาใช้ในการปรับปรุงวิธีการผลิต
สินค้าและบริการต่าง ๆ ของธุรกิจ เพื่อให้สินค้าหรือบริการมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม
การตลาดที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและการจัดการด้านการผลิตภายในโรงงาน การออกแบบผลิตภัณฑ์
และการออกแบบกระบวนการผลิต จะมีความสัมพันธ์กันในด้านปริมาณและคุณภาพที่ต้องการมี
รายละเอียดดังนี้

2.3.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product Designing) ธุรกิจมีความจำเป็นต้องออก
ผลิตภัณฑ์ใหม่ไปสู่ตลาด ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบและลักษณะการใช้งานของ
สินค้าท่ีสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ เช่น ขนาด รูปทรง รูปแบบ สีสัน และคุณภาพโดยมี
การกำหนดระดบั มาตรฐานผลิตภณั ฑ์ในการใช้วัตถุดิบและวสั ดใุ นการผลติ การออกแบบในปจั จบุ นั นิยมนำ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ เช่น CAD (Computer-Aided Design) หรือ CAM
(Computer-Aided Machine) เพื่อประโยชน์ต่อการออกแบบและการตัดชิ้นส่วนจากวัตถุดิบให้ได้ตาม
มาตรฐานการออกแบบ

2.3.2 การออกแบบกระบวนการผลิต (process designing) เมื่อมีการกำหนด
รูปแบบและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่กระบวนการการออกแบบกระบวนการผลิต ได้แก่ การผลิต
สินค้าหรือบริการตามคำสั่งซื้อโดยคำนึงถึงกระบวนการผลิต เช่น กระบวนการผลิตตามปริมาณ
กระบวนการผลิตตามสายการผลิต และกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ
ยอดขายและการเตบิ โตของตลาดทมี่ ีอยู่ในวงจรชีวติ ผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการผลิตแบบต่าง ๆ ได้แก่

1) กระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อ (job shop) เป็นกระบวนการผลิตสินค้า
และบริการตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย โดยกระบวนการผลิตเช่นนี้เหมาะกับธุรกิจที่มีสินค้าและ
บริการหลากหลายชนิดและมีปริมาณการผลติ ตำ่

2) กระบวนการผลิตตามปริมาณที่มากพอ (batch) เป็นกระบวนการผลิต
สนิ ค้าและบริการทม่ี ีขนาดของคำส่ังซ้ือมากกวา่ การผลิตตามคำสั่งซ้อื ปกติ โดยตอ้ งรวบรวมคำส่งั ซอ้ื ต่าง ๆ
ให้ได้ปริมาณมากและคุ้มค่ากับต้นทุนการผลิตในแต่ละครั้ง กระบวนการผลิตเช่นนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่
อยู่ในขั้นเติบโต และมียอดขายสินค้าจำนวนมาก อาจมีการผลิตเก็บไว้เป็นครั้งคราวเมื่อเห็นว่าสินค้าใกล้
หมดแลว้ กท็ ำการผลติ ใหม่อีกครงั้ หนงึ่ เพอ่ื ประหยดั ตน้ ทุนการผลติ เชน่ เฟอร์นิเจอร์

3) กระบวนการผลิตตามสายการผลิต (assembly line) เป็นกระบวนการ
ผลิตที่มีการจัดสายการผลิตสินค้าตามกลุ่มงานผลิต เช่น แผนกตัด แผนกลบคม แผนกปิดผิว แผนก
ประกอบข้ึนรูป แผนกตกแต่งสินคา้ เป็นตน้ การจดั กระบวนการผลติ นีเ้ หมาะสำหรับธุรกิจที่มีปริมาณการ
ผลิตจำนวนมากหรืออยู่ในขัน้ ต่ำโตเต็มที่ โดยต้องแยกการผลิตต่าง ๆ ให้มีความชำนาญตามหน้าที่เพื่อให้
เกิดความรวดเรว็ เพ่มิ ความชำนาญ และลดปรมิ าณของเสียจากการผลิต เชน่ การผลติ รถยนต์ท่ีส่งออกไป
จำหน่ายในต่างประเทศ จะตอ้ งแบ่งสายการผลติ เป็นแผนกประกอบตวั ถัง ชดุ เคลือบผิวตวั ถัง พน่ สี ตกแต่ง
ภายใน ประกอบช่วงล่าง และอื่น ๆจนครบกระบวนการผลติ เปน็ สินคา้ สำเร็จรูป

4) กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous flow) เป็นกระบวนการ
ผลิตเพ่ือให้เกดิ ความต่อเนื่องตลอดเวลา เหมาะสำหรบั ธรุ กิจทีข่ ายสนิ ค้าอุปโภคและบรโิ ภค เชน่ น้ำมันพืช
น้ำมันเช้ือเพลงิ น้ำดื่ม เป็นต้น กระบวนการผลิตแต่ละขัน้ ตอนจะมีการตรวจสอบคุณภาพจนกระทัง่ บรรจุ
ลงบรรจุภัณฑ์ และกระบวนการผลิตสนิ คา้ เชน่ นม้ี ากใช้อปุ กรณเ์ ครอ่ื งจักรอัตโนมัติท่มี รี าคาแพง

3. การเพิม่ ผลผลติ และการควบคมุ คุณภาพ

การบริหารการผลิตเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประกอบธุรกิจที่มีความสำคัญต่อองค์กร และ
ผู้ประกอบการ เพ่อื สรา้ งความสามารถเชงิ การแขง่ ขนั ทดี่ ี การเพ่มิ ผลผลติ และการควบคมุ คณุ ภาพ มีดงั นี้

3.1 การวางแผนการปฏิบตั ิ (operation planning)
การวางแผนปฏิบัติเป็นการวางแผนงานด้านการผลิตหรือการบริการมีจดุ มุง่ หมายเพ่ือสร้างความ
มั่นใจว่าฝ่ายผลิตและธุรกิจสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของตลาดท่ี
เนน้ คุณภาพและมาตรฐานของสนิ ค้า ปริมาณ และจำนวนทต่ี ้องการ โดยมรี ายละเอียด ดงั น้ี

1) การวางแผนกำลังการผลิต (capacity planning) เปน็ การกำหนดขนาดของกำลัง
การผลิตสินคา้ และบริการให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการซื้อ ซ่งึ การจดั กำลังการผลิตต้องสอดคล้อง
กับปริมาณความต้องการและควรคำนึงถึงแนวโน้มการขายในตลาด โดยมีการพยากรณ์การผลิตตาม
ปริมาณยอดขายสินค้าและจัดตารางการทำงานสำหรับการผลิตสนิ ค้าเพื่อให้ ผู้ทำงานฝ่ายผลิตได้ทราบวา่
ถ้ามีการพยากรณก์ ารผลิตที่ถกู ตอ้ งจะทำใหผ้ ูบ้ รหิ ารสามารถผลติ สินค้าได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

2) การวางแผนกระบวนการผลิต (process planning) เป็นการกำหนดการผลิต
สินค้าหรือบริการทีจ่ ะนำไปจำหน่าย โดยมีการกำหนดวิธีการผลติ และกระบวนการผลิตในหลายๆ วิธีการ
ตามที่ได้ออกแบบมา เช่น การผลิตตามคำสั่งซือ้ การผลิตตามปริมาณและจำนวนท่ีเพียงพอ การผลิตตาม
สายการผลิต และการผลิตแบบต่อเนื่อง โดยผู้บริหารต้องมีการวางแผนและตัดสินใจเลือกกระบวนการ
ผลิตที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของสินค้าและปริมาณที่จะทำการผลิต อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือ
แรงงาน เช่น ใช้เคร่อื งจกั รอัตโนมตั จิ ำนวนเทา่ ใดและใช้พนักงานฝ่ายผลติ จำนวนกีค่ น

3) การวางแผนเลือกสถานทีต่ ั้งโรงงาน (plant location planning) เป็นการศึกษา
และกำหนดการวางแผน เลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานหรือสถานที่ที่จะให้บริการโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านการ
ขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ ตลาดแรงงาน ราคาที่ดินและสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อมชุมชน ตลอดจน
สภาพแวดล้อมทางสงั คมของบริเวณที่ตัง้ โรงงานและกำลังการผลิตโดยรวม เพื่อการใช้สถานทีท่ ี่เหมาะสม
กับกระบวนการผลิตท่ไี ด้วางแผนและออกแบบไว้

4) การวางแผนผังโรงงาน (plant layout planning) เป็นการกำหนดรูปแบบของ
แผนผงั โรงงานการจัดวางเคร่ืองจักรและอปุ กรณ์การผลิต การแบง่ กลุ่มเคร่ืองจักร และพนกั งานในโรงงาน
เพื่อให้ผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การเรียงลำดับงานสำหรับการผลิตต่าง ๆ
จากขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต เพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน สามารถจัดคนเข้า
ทำงานได้อยา่ งเหมาะสมและใช้พน้ื ทีโ่ รงงานได้อย่างเต็มท่ี

5) การวางแผนผลิตภัณฑ์ (product planning) เป็นการวางแผนการพัฒนาสินค้า
และบริการรูปแบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับกระบวนการผลิต โดยการคิดค้น วิจัย และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์
ในการผลติ จากนนั้ จงึ นำเข้าสูก่ ระบวนการผลติ ตามแนวความคิดออกมาเปน็ ผลติ ภณั ฑ์จรงิ

3.2 การควบคุมการปฏิบัตกิ าร (operation control)
เมื่อมีการออกแบบระบบการผลิตและกระบวนการผลิตแล้ว จากนั้นจึงทำการผลิตสินค้าและ
บริการ โดยปฏิบตั ติ ามข้นั ตอนท่วี างไว้ ดังนี้

1) การควบคุมปริมาณ (quantity control) เป็นการควบคุมการผลิตโดยวัดผลการ
ผลิตจากจำนวนผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการออกมาเป็นตัวเลข เปรียบเทียบกับ
แผนการผลิตท่ีกำหนดไว้วา่ เป็นไปตามปริมาณท่ีวางแผนหรือไมใ่ นชว่ งระยะเวลา 1 ปี มีการออกแบบตาม
รายการสินค้าของสายการผลิตต่าง ๆ เพื่อจัดทำสถิติกำลังการผลิต เช่น สินค้ากอ ผลิตจริงจำนวน 5000
หน่วยต่อสัปดาห์ จากแผนการผลิตที่กำหนดไว้ จำนวน 6,500 หน่วย ดังนั้นแสดงว่ามีผลผลิตต่ำกว่า
เป้าหมาย

2) การควบคุมคุณภาพ (quality control) เป็นการควบคุมการผลิตโดยวัดผลจาก
กระบวนการผลิตว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีคุณภาพ และมีความสอดคล้องกับความพึงพอใจของลูกค้าใน
ตลาดหรือไม่ เช่น มาตรฐานการผลิตของอุตสาหกรรมไทย (Thai industrial standard: TIS) มาตรฐาน
อุตสาหกรรมเยอรมัน (Deuteche Industrial norm: DIN มาตรฐาน ISO 9000 และการใช้กระบวนการ
ผลิตแบบการบริหารคุณภาพโดยรวม (Total quality management: TQM)

3) การควบคุมเทคโนโลยี (technology control) เป็นการควบคุมเครื่องมือ
เคร่ืองจักร และอปุ กรณ์การผลิต เพื่อรกั ษาคุณภาพของสนิ ค้าที่ไดจ้ ากการผลิต มกี ารบำรุงรักษาเครื่องมือ
เครื่องจักรตามกำหนดเวลา ตลอดจนงานการซ่อมแซมช้ินส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สึกหรอ การหาเคร่ืองจักร
ใหม่ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น การนำหุ่นยนต์มาช่วยผลิตหรือการใช้เทคโนโลยี
การผลติ แบบอตั โนมตั ใิ นกระบวนการผลิต

4) การควบคุมแรงงาน (labor control) เป็นการควบคุมขอบเขตการปฏิบัติงานตาม
หน้าทขี่ องพนักงานระดับตา่ ง ๆ ของฝ่ายผลติ โดยกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนการผลิต ช่วงเวลาของการ
ผลิต หรือให้พนักงานฝ่ายผลิตมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและคิดค้นกรรมวิธีการผลิตใหม่ๆ ที่สร้างให้เกิด
ความรวดเร็ว และลดต้นทุนหรือของเสียจากการผลิต รวมทั้งการจูงใจโดยให้รางวัลสำหรับผู้ที่สามารถ
ปฏบิ ัติงานไดด้ ี

5) การควบคุมต้นทุน (cost contour) เป็นการนำวิธีการผลิตที่ออกแบบไว้มาปฏิบัติ
โดยควบคมุ ตน้ ทนุ การผลิตและค่าใชจ้ ่ายอื่น เพอ่ื เปรยี บเทียบแผนการผลติ ท่ีได้กำหนดไวก้ ับการผลิตสินค้า
และบริการในแต่ละครั้ง เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เช่น ระยะเวลาการทำงานที่สั้น
และรวดเรว็ การสร้างความชำนาญจากการผลิต การออกแบบการผลติ ใหม่ๆ

นอกจากมีการควบคมุ การผลิตและบริการต่าง ๆ อาจมกี ารควบคมุ ดา้ นอื่น ๆ เชน่ ความปลอดภัย
ในโรงงาน การป้องกันเชื้อเพลิง การขนย้ายวัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป การป้องกันมลภาวะ การกำจัด
ของเสยี จากการผลิตกอ่ นปล่อยออกนอกโรงงาน การระบายความร้อนภายในโรงงาน และการวางแผนการ
ใช้วัตถุดิบในการผลิตสนิ คา้ และบรกิ าร

สรปุ สาระสำคญั

การพัฒนาผลิตภณั ฑ์เปน็ การปรับปรงุ และพัฒนาผลติ ภัณฑ์ออกสูต่ ลาดอยา่ งสมำ่ เสมอ
การเพิ่มผลผลิตและการควบคุมคุณภาพมีความสำคัญต่อองค์กรและผู้ประกอบการ ช่วยสร้าง
ความสามารถในการแขง่ ขัน

แบบฝกึ หัด หน่วยที่ 7 การบริหารงานคุณภาพและการเพม่ิ ผลผลิต
คำสงั่ จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกตอ้ ง (คะแนนเตม็ 10 คะแนน)

1. จงอธบิ ายความหมายของผลติ ภณั ฑ์ พรอ้ มยกตัวอย่างประกอบ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. วงจรชวี ิตของผลิตภณั ฑใ์ หมม่ อี ะไรบ้าง จงอธบิ ายพรอ้ มยกตวั อยา่ งประกอบ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. การบรหิ ารการผลิตสำหรบั สนิ ค้าหรือบรกิ าร มีความสำคัญอย่างไร จงอธบิ ายพร้อมยกตัวอย่าง
ประกอบ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. การควบคมุ การผลติ ด้วยการควบคมุ คุณภาพ มลี ักษณะเปน็ อยา่ งไร จงอธบิ ายพรอ้ มยกตวั อย่าง
ประกอบ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบมอบหมายงาน หน่วยท่ี 7 การบรหิ ารงานคุณภาพและการเพมิ่ ผลผลิต
คำชี้แจง ให้ผู้เรียนจับคู่ เลือกผลิตภัณฑ์ 1 ชนิด ที่สนใจ เขียนวงจรชีวิต
ผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เมื่อผลิตภัณฑ์ถึงขั้นตกต่ำ พร้อมจัด
ทำสรุปเป็น Mind mapping เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 3-5 นาที
(คะแนนเตม็ 10 คะแนน)

แบบทดสอบหลังเรยี น หน่วยท่ี 7 การบรหิ ารงานคณุ ภาพและการเพิ่มผลผลติ
คำสั่ง จงเลอื กคำตอบทถี่ กู ต้องที่สุดเพียงขอ้ เดียว (คะแนนเตม็ 10 คะแนน)

1. การผลิตมีความหมายตามข้อใด

1. การเปล่ยี นแปลงสภาพปจั จัยนำเข้าตา่ ง ๆ 2. การแปรเปล่ยี นใหเ้ ป็นสินค้าสำหรับบรกิ าร

3. สินคา้ ทีส่ ร้างประโยชน์ตอ่ ความต้องการ 4. บริการทีส่ รา้ งประโยชน์ ต่อความต้องการ

5. ถูกทุกข้อ

2. ระบบการผลติ คืออะไร

1. กระบวนการผลติ สินค้าและบรกิ าร

2. ปจั จยั นำเขา้ เชน่ วัตถุดิบ แรงงาน เงนิ ทุน ทด่ี ิน และวิธีการ

3. กระบวนการเปลยี่ นสภาพเป็นผลผลติ

4. การมีผลผลิต คือ สนิ คา้ หรือบรกิ าร

5. ถกู ทุกข้อ

3. การนำแรงงาน อุปกรณ์ และเคร่อื งจกั รมาใช้ในการผลิตคือข้อใด

1. ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการผลติ

3. ผลผลิต 4. สนิ ค้าและบริการ

5. การแปรสภาพ

4. การนำวัตถดุ ิบ แรงงาน และเคร่ืองจักร มาใช้ในการผลิตสินค้าตามทต่ี ้องการคือข้อใด

1. ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการผลติ

3. ผลผลติ 4. สนิ คา้ และบรกิ าร

5. ทกุ ข้อ

5. คำวา่ ”ปฏบิ ัตกิ าร” ใช้สำหรับการดำเนนิ ธุรกจิ ประเภทใด

1. สนิ คา้ 2. สนิ ค้าและบรกิ าร

3. บรกิ าร 4. บริการและสินคา้

5. สินคา้ หรือบรกิ าร

6. การออกแบบกระบวนการผลติ มีกีร่ ูปแบบ อะไรบา้ ง

1. 1 รปู แบบ คอื คำส่ังซือ้

2. 2 รปู แบบ คือ คำส่งั ซ้ือ และจำนวนทเี่ พยี งพอ

3. 3 รปู แบบ คือ คำสง่ั ซ้ือ จำนวนทเี่ พียงพอ และสายการผลติ

4. 4 รปู แบบ คอื คำสัง่ ซ้อื จำนวนทีเ่ พียงพอ สายการผลิต และการผลิตแบบต่อเน่ือง

5. 5 รูปแบบ คอื คำสั่งซือ้ จำนวนทเี่ พียงพอ สายการผลติ การผลติ แบบตอ่ เนื่อง และจำนวนมาก

7. การผลติ รถยนตใ์ ห้ไดผ้ ลผลิตจำนวนมากและมีมาตรฐานแบบเดียวกันคือการผลติ ตามขอ้ ใด

1. การผลติ ตามคำส่งั ซื้อ 2. การผลติ ตามจำนวนที่เพยี งพอ

3. การผลติ ตามสายการผลิต 4. การผลิตแบบต่อเนื่อง

5. การผลติ จำนวนมาก

8. การผลิตเฟอรน์ ิเจอร์ห้องนอนท่ีออกแบบเปน็ การเฉพาะ เป็นการผลติ ตามข้อใด

1. การผลิตตามคำสั่งซื้อ 2. การผลติ ตามจำนวนที่เพียงพอ

3. การผลิตตามสายการผลติ 4. การผลิตแบบต่อเน่ือง

5. การผลติ จำนวนมาก

9. กิจการขนาดเล็กควรมกี ารผลิตแบบใด

1. การผลิตตามคำสง่ั ซ้ือ 2. การผลติ ตามจำนวนที่เพียงพอ

3. การผลติ ตามสายการผลติ 4. การผลติ แบบต่อเนื่อง

5. การผลติ จำนวนมาก

10. กจิ การขนาดใหญ่ใชแ้ รงงานจำนวนน้อยควรมีการผลิตแบบใด

1. การผลิตตามคำส่ังซื้อ 2. การผลติ ตามจำนวนที่เพยี งพอ

3. การผลิตตามสายการผลติ 4. การผลติ แบบต่อเน่ือง

5. การผลิตจำนวนมาก

แบบทดสอบกอ่ นเรยี น หนว่ ยท่ี 8 การประยุกต์ใช้ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง
คำส่งั จงเลือกคำตอบทถี่ ูกต้องท่ีสดุ เพยี งข้อเดียว (คะแนนเตม็ 10 คะแนน)

1. แนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงเกดิ ขนึ้ เพราะสาเหตุใด

1. เกดิ วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540

2. เกิดปญั หาสงั คมไทย พ.ศ. 2540

3. เกิดปัญหาความยากจน

4. การจดั ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ

5. พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั พระราชทานใหป้ ระชาชนไทยนำมาใชเ้ ป็นกรอบการทำงาน

2. แนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งสามารถประยกุ ต์ใชก้ ับภาคสว่ นใดของสังคมไทย

1. ชมุ ชน 2. สถาบันหรือองค์กร

3. ภาครัฐ 4. ครวั เรือน

5. ถูกทกุ ขอ้

3. นวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งน้นั ในกรอบสามห่วงคอื ข้อใด

1. ห่วงพอประมาณ ห่วงมีเหตมุ ผี ล และห่วงภูมคิ ุ้มกนั

2. หว่ งความรู้ ห่วงเพราะประมาณ และหว่ งคุณธรรม

3. ห่วงมีเหตผุ ล หว่ งคณุ ธรรม และห่วงภมู ิคุ้มกัน

4. ห่วงความรู้ หว่ งคุณธรรม และห่วงภมู คิ มุ้ กัน

5. หว่ งคุณธรรม หว่ งมเี หตุมีผล และห่วงคมุ้ กัน

4. แนวความคดิ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นสองเง่ือนไขคือข้อใด

1. เง่อื นไขพอประมาณ และเง่อื นไขมีเหตุมีผล 2. เงอ่ื นไขความรู้ และเงือ่ นไขคุณธรรม

3. เงอ่ื นไขมเี หตุมผี ล และเง่อื นไขภมู ิคุ้มกนั 4. เงือ่ นไขคณุ ธรรม และเง่ือนไขพอประมาณ

5. เงอื่ นไขงบประมาณ และเง่ือนไขความรู้

5. หลักความพอประมาณของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงคือข้อใด

1. มีความพอประมาณและมีเหตมุ ีผล 2. มีเหตุมผี ลและภมู ิคุ้มกันที่ดี

3. มคี วามพอดไี มส่ ุดโตง่ และดำรงชีวิตอยู่ไดด้ ้วยตนเอง 4. มคี วามพอประมาณและมีภูมคิ มุ้ กนั ที่ดี

5. ไมม่ ีข้อถูก

6. หลักความมเี หตมุ ีผลของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

1. มีสติและรอบรู้ 2. รอบรู้และคิดถงึ ระยะเวลา

3. คดิ ถงึ ระยะเวลาและเป้าหมายยาว 4. มเี ป้าหมายและความเหมาะสม

5. ความมเี หตุและความมผี ล

7. คณุ ลักษณะของปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงคือข้อใด

1. เป็นแนวทางการดำรงชวี ิตและการปฏบิ ตั ิตามแนวทางท่ีควรจะเป็น

2. เปน็ แนวทางการเรียนแบบวธิ ีการของประเทศตะวนั ตกท้ังหลาย

3. เปน็ เรอ่ื งของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเดยี วไมเ่ กีย่ วกับมติ ิอน่ื ๆ ทางสงั คม

4. เปน็ เร่อื งทางสังคมเพยี งอย่างเดยี วไม่เกี่ยวกบั มติ ิของเศรษฐกจิ

5. ไมเ่ ป็นการดำเนนิ ตาม ทางสายกลางของพระพุทธศาสนา

8. เมอ่ื นำแนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงมาใช้กับการประกอบกิจการจะทำให้เกิดผลดีในด้าน

ใดบ้าง

1. เศรษฐกจิ สงั คม และสิง่ แวดลอ้ ม เกิดความไม่แน่นอน

2. เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยนื

3. เศรษฐกิจ สงั คม และส่งิ แวดล้อม ไม่รับการเปล่ียนแปลง

4. เศรษฐกิจ สังคม และสง่ิ แวดลอ้ ม ไมส่ มดุล

5. เศรษฐกิจ สงั คม และสงิ่ แวดล้อม ต้องอาศยั เทคโนโลยชี ว่ ย

9. การนำแนวความคดิ ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งมาใชก้ บั การประกอบกิจการต้องเนน้ ความรคู้ ่คู ุณธรรม

เพราะเหตุใด

1. เพราะมีสติปัญญาและรอบรู้ จงึ จะประกอบกจิ การประสบความสำเร็จ

2. เพราะมีความซ่ือสตั ยแ์ ละความขยนั จึงจะประกอบกจิ การประสบความสำเรจ็

3. เพราะมีความรอบคอบและระวัง จึงจะประกอบกิจการประสบความสำเรจ็

4. เพราะมีความขยนั และการแบ่งปนั จงึ จะประกอบกิจการประสบความสำเร็จ

5. เพราะมีความรู้ จึงจะประกอบกิจการประสบความสำเรจ็

10. หากผู้เรียนเปน็ ผูป้ ระกอบกิจการควรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใชห้ รือไม่

1. ควร เพราะอย่างไรเราก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้และมีผลกระทบเกิดขนึ้ อยูด่ ี

2. ไม่ควร เพราะจะช่วยใหเ้ ราไม่สามารถดำรงอย่ไู ด้และมผี ลกระทบเกดิ ขน้ึ

3. ควร เพราะจะชว่ ยให้เราสามารถดำรงอยู่ไดโ้ ดยมผี ลกระทบเกดิ ข้นึ ตามมา

4. ควร เพราะจะชว่ ยให้เราสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ เกดิ ขึน้

5. ไม่ควร เพราะไม่ช่วยให้เราสามารถดำรงอยู่ได้และมีผลกระทบเกิดขึ้นตามมา

หน่วยที่ 8
การประยุกตใ์ ช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สาระสำคัญ

ผู้ประกอบการควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ
ประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจตามความเหมาะสม เพื่อให้การประกอบธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและ
เติบโตไดอ้ ย่างยง่ั ยนื

การประยุกต์ใช้แนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจในประเ ทศไทยนิยม
นำมาใชก้ ันอยา่ งแพร่หลายตง้ั แต่ พ.ศ. 2540 เนอ่ื งจากประเทศไทยประสบกบั ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจดังนั้น
จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ มีความสนใจที่จะนำมาใช้กับการบริหารองค์กรของตนเองเพื่อให้เกิดความมั่นคง
มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันต่อองค์กร โดยการประยุกต์ใช้แนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถ
นำมาใช้กับการบริหารธุรกิจได้เชน่ เดียวกบั องค์กรอ่ืน ๆ

1. แนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง

1.1 ความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่
สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีก
ทง้ั กระบวนการของความเปลยี่ นแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากทจ่ี ะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้
เพราะการเปล่ียนแปลงทง้ั หมดตา่ งเปน็ ปจั จยั เชือ่ มโยงซ่งึ กนั และกนั
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณ
และกระจายการศึกษาอย่างท่ัวถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือ
ผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น
การขยายตวั ของรัฐเขา้ ไปในชนบท ไดส้ ง่ ผลใหช้ นบทเกดิ ความอ่อนแอในหลายด้าน ทง้ั การตอ้ งพงึ่ พงิ ตลาด
และพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบ
เครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง
ภูมิความรทู้ ี่เคยใชแ้ กป้ ัญหาและส่ังสมปรบั เปล่ยี นกันมาถูกลมื เลือนและเร่ิมสญู หายไป

สิ่งสำคัญ คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถ
พ่งึ ตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อยา่ งมีศักด์ิศรีภายใต้อำนาจและความมอี สิ ระในการกำหนด ชะตาชีวิตของ
ตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่าง ๆ
รวมทัง้ ความสามารถในการจดั การปญั หาต่าง ๆ ได้ดว้ ยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนถ้ี ือว่าเปน็ ศักยภาพพ้นื ฐานท่ีคน
ไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิมต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และ
ปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทงั้ ปัญหาอื่น ๆ ที่เกดิ ขึน้ ลว้ นแต่เปน็ ขอ้ พิสูจน์และยนื ยนั ปรากฎการณ์
นีไ้ ด้เปน็ อยา่ งดี

1.2 โครงสรา้ งและเนอื้ หาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง

รูปภาพท่ี 26 หลักแนวคดิ ของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ทม่ี าของรูปภาพ: http://readgur.com

1.3 การใชก้ รอบสามหว่ งสองเง่ือนไขในการประยุกตใ์ ช้

รูปภาพท่ี 27 ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
ท่มี าของรูปภาพ: https://sites.google.com/site/sastrphraracha2513

ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พ่อหลวงของปวงชนชาวไทยได้มอบคำสอนของพ่อเอาไว้
หากเราทุกคนได้น้อมนำพระบรมราชโอวาท เพื่อไว้ตามรอยเท้าของพ่อ แล้วนำมาปรับใช้ในการดำเนิน
ชีวิต หรือแม้แตน่ ักลงทุนสามารถปรบั ใชส้ ำหรับดา้ นการเงนิ การลงทนุ ได้เป็นอย่างดี

แนวคิดนี้จะนำพาให้เราทุกคนมีความพอดี มีความไม่ประมาท มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต
เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งมั่นคง ผู้ใดนำไปใช้ย่อมจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติเอง นอกจากนั้นเราทุกคนยัง
สามารถตอ่ ยอดพัฒนานำไปใชใ้ นวงกว้างขึน้ ได้ เพอื่ ทำให้สังคมเกิดการเรยี นรเู้ กิดการแบ่งปันส่งิ ดี ๆ ซ่ึงกัน
และกนั รวมถงึ นำไปสกู่ ารพัฒนาประเทศชาตไิ ด้อยา่ งมีความยั่งยืนม่ันคงสืบต่อไป

เกรด็ ความรู้ Scan Me
โครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดาริ

2. การประยกุ ต์ใช้ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งกบั การประกอบธรุ กิจ

2.1 ธรุ กิจควรทำเองหรือใชจ้ ากภายนอก

2.2 ธุรกจิ ต้องไม่มีหนี้หรอื ไม่

2.3 ธรุ กิจสรา้ งกำไรขัดกับปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

2.4 การตลาดของธรุ กิจทำใหเ้ กิดการใช้จา่ ยเกินตัวหรือไม่

2.5 การบริหารและพัฒนาองค์กรธุรกิจ

2.6 การบรหิ ารการผลิตในองคก์ รธุรกจิ ตวั อยา่ งธุรกจิ ทน่ี าปรชั ญาเศรษฐกจิ
พอเพยี งมาใช้ Scan Me

สรปุ สาระสำคญั

แนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินการด้วยทางสายกลาง ประกอบด้วย
สามห่วง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนสองเงื่อนไข ได้แก่ ความรู้และคุณธรรม ช่วยให้
ผปู้ ระกอบการท่นี อ้ มนำแนวความคดิ ไปใช้สามารถดำเนินกิจการตา่ ง ๆ ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

แบบฝึกหดั หนว่ ยที่ 8 การประยุกตใ์ ช้เศรษฐกิจพอเพียง
คำสัง่ จงตอบคำถามต่อไปน้ีให้ถกู ต้อง (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

1. จงอธบิ ายความเป็นมาของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. ผู้เรียนนำเอาหลกั ความพอเพียงไปปรบั ใชใ้ นชีวติ ประจำวันอย่างไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ผู้เรยี นนำเอาหลกั ความพอประมาณไปปรับใชใ้ นชีวติ ประจำวันอยา่ งไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. ผู้เรียนนำเอาหลักความมเี หตุมผี ลไปปรบั ใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ไดอ้ ยา่ งไรบา้ ง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบมอบหมายงาน หน่วยที่ 8 การประยกุ ต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง
คำช้ีแจง ให้ผู้เรียนแบ่งกลมุ่ กลุ่มละ 3-5 คน รว่ มกันค้นหาธรุ กิจท่ีดำเนินกิจการ
หรือประสบความสำเร็จจากการดำเนินกิจการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพยี ง นอกเหนอื จากตวั อยา่ งที่มี กลุม่ ละ 3 กิจการ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 8 การประยุกตใ์ ช้ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง
คำส่งั จงเลอื กคำตอบท่ถี กู ต้องที่สดุ เพียงขอ้ เดียว (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

1. แนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งเกิดขน้ึ เพราะสาเหตใุ ด

1. เกดิ วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540

2. เกิดปญั หาสงั คมไทย พ.ศ. 2540

3. เกิดปัญหาความยากจน

4. การจดั ทำแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

5. พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวพระราชทานใหป้ ระชาชนไทยนำมาใช้เป็นกรอบการทำงาน

2. แนวความคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งสามารถประยกุ ต์ใช้กับภาคสว่ นใดของสังคมไทย

1. ชมุ ชน 2. สถาบันหรือองค์กร

3. ภาครัฐ 4. ครัวเรือน

5. ถูกทกุ ขอ้

3. นวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งนนั้ ในกรอบสามห่วงคอื ข้อใด

1. ห่วงพอประมาณ ห่วงมีเหตมุ ีผล และหว่ งภูมคิ ุ้มกนั

2. หว่ งความรู้ ห่วงเพราะประมาณ และห่วงคุณธรรม

3. ห่วงมีเหตผุ ล หว่ งคณุ ธรรม และหว่ งภมู คิ มุ้ กัน

4. ห่วงความรู้ หว่ งคณุ ธรรม และห่วงภมู คิ ุ้มกนั

5. หว่ งคุณธรรม หว่ งมเี หตุมผี ล และห่วงคุ้มกนั

4. แนวความคดิ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง เน้นสองเง่ือนไขคอื ข้อใด

1. เง่อื นไขพอประมาณ และเงื่อนไขมเี หตุมผี ล 2. เงอ่ื นไขความรู้ และเง่อื นไขคุณธรรม

3. เงอ่ื นไขมเี หตุมผี ล และเงอ่ื นไขภูมคิ ุ้มกัน 4. เงอื่ นไขคณุ ธรรม และเงื่อนไขพอประมาณ

5. เงอื่ นไขงบประมาณ และเง่ือนไขความรู้

5. หลักความพอประมาณของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงคือขอ้ ใด

1. มีความพอประมาณและมีเหตุมผี ล 2. มเี หตมุ ีผลและภมู ิคุ้มกันที่ดี

3. มคี วามพอดไี มส่ ดุ โตง่ และดำรงชีวติ อยไู่ ด้ดว้ ยตนเอง 4. มคี วามพอประมาณและมภี ูมคิ มุ้ กนั ที่ดี

5. ไมม่ ีข้อถูก

6. หลกั ความมเี หตมุ ีผลของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

1. มสี ตแิ ละรอบรู้ 2. รอบรู้และคิดถึงระยะเวลา

3. คิดถึงระยะเวลาและเป้าหมายยาว 4. มเี ปา้ หมายและความเหมาะสม

5. ความมเี หตุและความมผี ล

7. คณุ ลักษณะของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงคือข้อใด

1. เปน็ แนวทางการดำรงชวี ิตและการปฏิบัติตามแนวทางท่ีควรจะเป็น

2. เปน็ แนวทางการเรยี นแบบวธิ กี ารของประเทศตะวันตกทั้งหลาย

3. เป็นเรือ่ งของเศรษฐกจิ พอเพยี งอย่างเดยี วไมเ่ กยี่ วกับมติ ิอ่ืน ๆ ทางสงั คม

4. เป็นเร่ืองทางสังคมเพยี งอย่างเดยี วไม่เกี่ยวกบั มิติของเศรษฐกจิ

5. ไม่เป็นการดำเนินตาม ทางสายกลางของพระพุทธศาสนา

8. เมอ่ื นำแนวความคดิ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการประกอบกิจการจะทำให้เกิดผลดีในด้าน

ใดบ้าง

1. เศรษฐกจิ สังคม และส่ิงแวดลอ้ ม เกิดความไม่แน่นอน

2. เศรษฐกิจ สงั คม และสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยนื

3. เศรษฐกจิ สงั คม และส่ิงแวดล้อม ไม่รับการเปลี่ยนแปลง

4. เศรษฐกจิ สังคม และสง่ิ แวดลอ้ ม ไม่สมดุล

5. เศรษฐกิจ สังคม และส่งิ แวดลอ้ ม ต้องอาศยั เทคโนโลยชี ว่ ย

9. การนำแนวความคดิ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งมาใชก้ บั การประกอบกิจการต้องเนน้ ความรคู้ ่คู ุณธรรม

เพราะเหตุใด

1. เพราะมีสติปัญญาและรอบรู้ จึงจะประกอบกจิ การประสบความสำเร็จ

2. เพราะมีความซ่ือสตั ย์และความขยัน จึงจะประกอบกจิ การประสบความสำเรจ็

3. เพราะมีความรอบคอบและระวงั จงึ จะประกอบกิจการประสบความสำเร็จ

4. เพราะมีความขยันและการแบ่งปนั จงึ จะประกอบกิจการประสบความสำเร็จ

5. เพราะมีความรู้ จงึ จะประกอบกิจการประสบความสำเรจ็

10. หากผู้เรียนเปน็ ผ้ปู ระกอบกิจการควรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งมาประยุกต์ใชห้ รือไม่

1. ควร เพราะอย่างไรเรากไ็ ม่สามารถดำรงอยู่ได้และมีผลกระทบเกิดขน้ึ อยูด่ ี

2. ไมค่ วร เพราะจะช่วยใหเ้ ราไมส่ ามารถดำรงอยูไ่ ด้และมผี ลกระทบเกิดขน้ึ

3. ควร เพราะจะช่วยใหเ้ ราสามารถดำรงอยู่ไดโ้ ดยมผี ลกระทบเกดิ ขึ้นตามมา

4. ควร เพราะจะชว่ ยให้เราสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ เกดิ ขึน้

5. ไม่ควร เพราะไม่ชว่ ยให้เราสามารถดำรงอยู่ได้และมีผลกระทบเกิดขึ้นตามมา

บรรณานกุ รม

กรมพฒั นาธรุ กจิ การค้า. (2555). เรมิ่ ต้นธุรกิจอย่างมีทิศทาง [ออนไลน]์ . เขา้ ถงึ ได้จาก :
http://www.dbdacademy.com/file/DBD2012.pdf. (วันที่สบื ค้น: 6 เมษายน 2563)

ธนวุฒิ พิมพก์ ิ. (2556). การเปน็ ผปู้ ระกอบการทางธรุ กิจ. กรงุ เทพฯ: สำนักพมิ พโ์ อเดยี นสโตร์
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยคุ โลกาภิวตั น์. กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
ผศ. ดร.พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. (2556). การเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนา

คุณภาพวชิ าการ
พนติ พร กลางประพนั ธ.์ (2558). การเป็นผูป้ ระกอบการ. นนทบรุ ี: บรษิ ทั ศูนยห์ นงั สือเมอื งไทย จำกดั .
เพญ็ ศรี เลิศเกยี รตวิ ทิ ยา. (2556). การเป็นผปู้ ระกอบการ Entrepreneurship. กรุงเทพฯ : บริษัท

สำนักพมิ พเ์ อมพนั ธ์ จำกัด.
สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ. หัวขอ้ ศูนย์ความรู้เอกสารเผยแพร่ ชดุ เครอ่ื งมอื
การเรียนรู้ด้วยตนเอง “หลักสูตรการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Toolkit: Making Strategy

Work)” กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. เข้าถึงได้จาก http://www.opdc.go.th. (วันที่สืบค้น: 6
เมษายน 2563)
สมคิด บางโม. (2555). การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพเ์ อส เค บุ๊คส์.
สม สุจรี า. (2557). เดอะทอ๊ ปซีเคร็ต. พิมพ์ครัง้ ท่ี 109. กรุงเทพฯ: บรษิ ัท อมรนิ ทรพ์ ริ้นต้ิงแอนด์พับลิชช่ิง
จำกัด (มหาชน).
สุรีรัตน์ มณีกุต. (2556). การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship. นนทบุรี: บริษัท ศูนย์หนังสือ
เมืองไทย จำกดั .
หนูดี – วนษิ า เรซ. (2556). Secret. กรุงเทพฯ: บริษทั อมรนิ ทรพ์ ร้ินต้ิงแอนดพ์ ับลชิ ชงิ่ จำกดั (มหาชน).
เอส.เอส.อนาคามี. (2555). พลังสร้างสรรค์ จากแรงบันดาลใจ. กรงุ เทพฯ: สำนกั พมิ พ์ สยามมิสพบั ลิชช่ิง
เฮาส์
Timothy S. Hatten. (1997). Small Business Entrepreneurship and Beyond. New Jersey:
Printice Hall.


Click to View FlipBook Version