The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

1. โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครูประกอบด้วยคู่มือ 7 ชุด
2. โครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียนประกอบด้วยคู่มือ 1 ชุด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Wat Kku, 2022-11-02 10:00:50

เสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของนักเรียน Empowering Teachers' Learning to Foster Innovative Working Behaviors of Students.

1. โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครูประกอบด้วยคู่มือ 7 ชุด
2. โครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียนประกอบด้วยคู่มือ 1 ชุด

Keywords: พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม,นวัตกรรม,Innovative Working Behaviors

1

2

คำนำ

การวิจัยเรื่อง “เสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรมของนักเรียน” นี้เป็นการวิจัยในหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา
(Research and Development: R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็น
โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองท่ีประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรยี นรู้
ของครู และ 2) โครงการครูนำผลการเรียนสูก่ ารพัฒนาผู้เรียน โครงการแรกมีคู่มือเพื่อการอบรมด้วย
ตนเอง (Self-Training) ของครู โครงการท่สี องมีคู่มือเชิงปฏบิ ัติการเพอื่ ครูนำไปใชเ้ ป็นแนวการพัฒนา
ผู้เรียน โดยคาดหวังว่านวัตกรรมทางการศึกษาน้ี เมื่อผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาหลายขั้นตอน
(Ri&Di) แล้วนำไปทดลองใชใ้ นพ้ืนท่ที ี่เป็นตวั แทนของประชากร เม่ือผลการทดลองพบว่านวตั กรรมนั้น
มีประสทิ ธภิ าพ ก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้กับประชากรท่ีเป็นพ้นื ท่เี ปา้ หมายได้ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
ได้อย่างมีผลการวิจัยรองรับ ดังนั้น การวิจัยนี้มีกรอบแนวคิดของการวิจัยในสาขาวิชาการบริหาร
การศกึ ษา ดังน้ี

1. ในเชงิ วชิ าการ มีหลายประการ แต่ขอนำมากลา่ วถงึ ทีส่ ำคัญ ดงั น้ี

1.1 งานวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับการศึกษาศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความสำคัญเพราะเป็นส่ิง
ท้าทายต่อการบริหารการศึกษาในศตวรรษใหม่นี้ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์ทาง
การศึกษาที่แตกต่างจากศตวรรษที่ 20 ทุกด้าน ทั้งด้านศาสตร์การสอน หลักสูตร ทักษะการเรียนรู้
ทกั ษะของครู ทกั ษะท่คี าดหวังให้เกดิ ขน้ึ กบั ผู้เรยี น ลกั ษระของชุมชนการเรยี นร้ทู างวิชาชีพ บรบิ ทของ
สถานศึกษา บริบทของห้องเรียน และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ บทบาทหน้าที่และภาวะผู้นำของ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา (Churches, 2008; Driscoll, 2022; and
Kashyap, n.d.)

1.2 งานวจิ ยั นี้มงุ่ พัฒนาคณุ ภาพการศึกษาในระดับสถานศึกษา ท่ีนกั วิชาการใหค้ วามเห็น
ว่า การบริหารการศึกษาเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ส่วนกลางถึงระดับสถานศึกษา แต่การบริหาร
การศึกษาระดับสถานศึกษา (คือ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือชื่อเรียกอื่นๆ) มีความสำคัญ
เพราะเปน็ ฐานปฏิบัติท่จี ะทำให้การระดมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวตั ถุใหเ้ กดิ ประโยชน์ที่ใช้งาน
ได้จรงิ เป็นฐานปฏิบตั ิท่จี ะชว่ ยเสริมสร้างการสอนและการเรยี นรู้ทจี่ ะส่งผลให้นักเรยี นไดร้ ับการศึกษา
ที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง และเป็นฐานปฏิบัติที่จะสร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อนักเรียนให้เติบโตไปสู่
เป้าหมายที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Kashyap, n.d.) สอดคล้องกับแนวคิดการ
บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) ซึ่งเป็นรูปแบบการกระจาย
อำนาจให้โรงเรยี นทเ่ี ป็นหน่วยหลักในการจดั การศกึ ษา (Edge, 2000)

1.3 การวิจัยนี้ใช้หลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนำผลที่ได้รับไปสู่การพัฒนาที่ส่งผลต่อ
ผู้เรียน” ถือเป็นหลักการที่เป็นจุดเน้นของการบริหารการศึกษา คือ การเสริมสร้างการสอนและการ
เรียนรู้ (The Focus of Educational Administration is the Enhancement of Teaching and
Learning) (Amadi, 2008) เปน็ กระบวนการช่วยใหน้ ักเรียนได้รับการศึกษาทถ่ี ูกต้องจากครูท่ีถูกต้อง
( Enables the Right Pupils to Receive the Right Education from the Right Teachers)

3

(Dhammei, 2022) เป็นการกระตุ้นการพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับการสอนและการเรียนรู้
(Bamte, n.d.) เป็นไปตามหน้าที่ของการบริหารการศึกษาตามทัศนะของ Amadi (2008) ที่กล่าวถึง
หน้าที่เกี่ยวกับหลักสูตร/การสอน (The Curriculum/Instructional Functions) หน้าที่เกี่ยวกับ
บุคลากร (The Staff Personnel Functions) และหน้าที่เกี่ยวกับนักเรียน (The Student
Personnel Functions) และเป็นไปตามวัตถปุ ระสงค์ของการบริหารการศึกษา คือ เพือ่ ให้การศึกษา
ที่เหมาะสมแก่นักเรียน (To Provide Proper Education to Students) เพือ่ ใหแ้ นใ่ จวา่ มีการพัฒนา
วิชาชีพของครู (To Ensure Professional Development among Teachers) และเพื่อความมั่นใจ
ในการพัฒนาคุณภ าพก ารศึกษา ( To Ensure Qualitative Improvement of Education)
(Kashyap, n.d.) อันเนื่องจากหลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนำผลที่ได้รับไปสู่การพัฒนาที่ส่งผลต่อ
ผู้เรียน” เป็นหลักการส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำทางการศึกษาให้กับครูตามทัศนะของ Speck
(1999) และ Seyfarth (1999) ส่งเสริมต่อการทำหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะต้องสนับสนุน
คณะครูด้วยการฝึกอบรมและให้คำแนะนำตามทัศนะของ University of Bridgeport (2022) และ
Target Jobs (n.d.) และส่งเสริมต่อแนวคดิ พัฒนาวชิ าชีพของครูที่ให้คำนึงถึงการส่งผลต่อการพัฒนา
ผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) ของการศึกษาตามทัศนะของ Gusky (2000) และ
Hoy and Miskel (2001)

2. ในเชิงวิชาชีพ การวิจัยนี้คำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหาร
การศึกษาที่คุรุสภากำหนดตามมาตรฐานด้านความรู้ ในกรณีสามารถพัฒนาครูและบุคลากรให้
สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีไป
ประยกุ ต์ใช้ สามารถวเิ คราะหส์ ังเคราะหแ์ ละสร้างองคค์ วามรู้ในการบรหิ ารจัดการการศึกษา สามารถ
นำกระบวนการทางการวิจัย การวัดและประเมินผล ไปใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาได้ สามารถ
ส่งเสริมสนบั สนุนการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศเพื่อการศึกษา และสามารถบรหิ ารจดั การข้อมูลข่าวสาร
ไปสู่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา และตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในกรณีปฏิบัติโดย
คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน พัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถ
ปฏิบัติงานได้เต็มศกั ยภาพ พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบรหิ ารจนเกิดผลงานท่ีมีคุณภาพสูง และสร้าง
โอกาสการพฒั นาได้ทุกสถานการณ์ (The Teachers Council of Thailand, n.d.)

วทั ธกิ ร โพธิช์ ยั โถ

4

สารบัญ

1. โครงการพฒั นาเพอื่ การเรียนรู้ของครู หน้า
1.1 คมู่ อื ชดุ ท่ี 1 ทัศนะเกยี่ วกับนิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม 6
20
1.2 คูม่ อื ชดุ ท่ี 2 ทศั นะเกย่ี วกับความสำคญั ของพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม 29
1.3 คู่มือชุดที่ 3 ทัศนะเกีย่ วกับลักษณะที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม 44

1.4 คมู่ อื ชดุ ท่ี 4 ทัศนะเกี่ยวกับอุปสรรคและวธิ ีการเอาชนะอปุ สรรคในการพฒั นา 57
พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม 98
113
1.5 คมู่ ือชุดที่ 5 ทัศนะเกย่ี วกับแนวการพฒั นาพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม 127
128
1.6 คู่มือชุดท่ี 6 ทัศนะเกีย่ วกับข้ันตอนการพฒั นาพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม
1.7 ค่มู อื ชุดที่ 7 ทัศนะเกย่ี วกับการประเมนิ ผลพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม

2. โครงการครูนำผลการเรยี นร้สู ่กู ารพฒั นานกั เรียน

2.1 คูม่ ือเพ่ือการปฏบิ ัติการในการพฒั นาพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรมของ
นักเรยี น

5

6

7

หลังจากการศึกษาคู่มือชุดนี้แลว้ ท่านมีพัฒนาการด้านพุทธิพสิ ยั (Cognitive Domain) ซึ่ง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจาํ แนกพฤติกรรมในขอบเขตนี้ออกเป็น 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดงั นี้

1. บอกคุณสมบัติ จับคู่ เขียนลำดับ อธิบาย บรรยาย ขีดเส้นใต้ จำแนก หรือระบุ นิยาม
ของพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

2. แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความ ยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง หรือ
เรียบเรยี ง นิยามของพฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวัตกรรมได้

3. แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือปรับปรุง
นิยามของพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

4. แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกต่าง หรือบอกเหตุผล นิยามของ
พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมได้

5. วัดผล เปรียบเทียบ ตีค่า ลงความเห็น วิจารณ์ นิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรมได้

6. รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สรา้ ง ประดิษฐ์ หรือวางหลักการ นยิ ามของพฤติกรรม
การทำงานเชิงนวตั กรรมได้

1. โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับนิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะท่ี
นำมากล่าวถงึ แต่ละทศั นะ

2. หลังจากการศึกษาเนื้อหาโปรดทบทวนความเข้าใจจากคำถามท้ายเนื้อหาของแต่ละ
ทศั นะ

3. ศึกษารายละเอียดของนิยามที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” เว็บไซต์ท่ี
นำเสนอไว้ท้ายเน้อื หาของแต่ละทัศนะ

8

Oukes (2010) เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย TWENTE ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำวิจัย
เรื่อง “พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม กรณีศึกษาที่ผู้ผลิตยางรถยนต์ (Innovative Work
Behavior a Case Study at a Tire Manufacturer)” ไดก้ ลา่ วถึงนยิ ามของพฤตกิ รรมการทำงานเชิง
นวตั กรรม (Innovative Work Behavior) วา่ เป็นพฤติกรรมโดยเจตนาของแตล่ ะคน เพอื่ แนะนำและ/
หรือนำความคิด ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และขั้นตอนการทำงานใหม่มาใช้กับบทบาทการทำงานใน
หน่วยงานตน หรือองค์กร และนอกจากนี้ได้กล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับคำจำกัดความของ
พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวตั กรรม ไวด้ งั นี้

ประการแรก พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior)
หมายความรวมถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้น ตลอดจนการนำขั้นตอนการดำเนินการของ
กระบวนการนวัตกรรมไปใช้ นวตั กรรมโดยปจั เจกบุคคลมักเร่ิมต้นดว้ ยการสำรวจแนวคิด เช่น มองหา
การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานในปัจจุบัน หรือพยายามคิดเกี่ยวกับแนวคิด
ใหม่ ๆ ข้นั ต่อไป แนวคดิ จะถูกสร้างข้ึน ซึง่ หมายถึง การสร้างแนวคิดทเี่ ก่ียวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการ
กระบวนการทำงาน การเขา้ สู่ตลาดใหม่ และอนื่ ๆ ในทำนองเดยี วกันเพือ่ วัตถุประสงคใ์ นการปรับปรุง
การสนับสนุนแนวคิดเป็นขั้นตอนต่อไปมา ซึ่งรวมถึงการค้นหาการสนับสนุนและการสร้างพันธมิตร
ผู้สนับสนนุ แนวคิดใหม่ ตัวอย่างเช่น โดยการระดมทรัพยากรและผลกั ดัน มีอิทธิพลและเจรจาต่อรอง
กับเพื่อนร่วมงาน จากนั้นนำแนวคิดไปปฏิบัติ ในระหว่างขั้นตอนผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ
ทำงาน และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อได้รับการพัฒนา ทดสอบ และดัดแปลง เช่น สองกิจกรรม
สุดท้ายเกยี่ วขอ้ งกับขัน้ ตอนการดำเนินการของกระบวนการนวัตกรรม ดงั รปู ภาพ

รูปภาพแสดงขนั้ ตอนของนวตั กรรมส่วนบคุ คลทีเ่ ชื่อมโยงขัน้ ตอนกระบวนการนวตั กรรม

ประการทีส่ อง แนวคิดเก่ยี วกับพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมของบุคคล (Innovative
Work Behavior) สามารถนำไปใช้กับนวัตกรรมเสริมนวัตกรรมขั้นพื้นฐานได้เช่นกัน นวัตกรรมส่วน
บุคคลไม่จำเป็นต้องส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถนำไปใชก้ บั โครงสร้างพ้นื ฐานท่ีมีอยไู่ ด้ แต่ตอ้ งสามารถสง่ ผลโดยตรงตอ่ องค์กรโดยรวม

9

ประการที่สาม คำจำกัดความของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work
Behavior) จะรวมถึงองค์ประกอบทั้งหมดของนวัตกรรม : ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี การตลาดและ
องค์กร ดังนั้นพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคคล อาจเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
เริ่มต้นเช่นเดียวกับการผสมผสานองค์ประกอบทั้งหมดไปใช้ ตัวอย่างเช่น การแนะนำองค์ประกอบ
ใหม่ในกระบวนการผลิตขององค์กร นวตั กรรมทางเทคโนโลยี หรอื การนำนโยบายการรบั สมัครใหม่ไป
ปฏิบัติ เป็นนวัตกรรมขององค์กร สุดท้ายนี้แนวคิด กระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่ริเริ่มหรือ
นำไปใช้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ในโลกอย่างแท้จริง หากยังใหม่ต่อหน่วยงานที่เกีย่ วข้องที่นำไปใช้ก็
เพียงพอทจ่ี ะเรียก “นวัตกรรม”

โปรดทบทวนนิยามของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะของ
Oukes มสี าระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ด้จากเวบ็ ไซต์ขา้ งล่างน้ี

https://essay.utwente.nl/62728/

Source - https://www.salika.co/2019/11/10/steam4innovator-project/

10

Messmann (2012) เป็นอาจารย์มหาวทิ ยาลยั แมสซาชูเซตส์ ได้ทำวิจัยเร่ือง “พฤติกรรม
การทำงานท่ีเป็นนวัตกรรม : การคน้ คว้าเกย่ี วกับลักษณะและการกระตุน้ การมสี ่วนร่วมของครูอาชีวะ
ในการพัฒนานวตั กรรม ได้กล่าวถึงนยิ ามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work
Behavior) ว่าเป็นพฤติกรรมที่ประกอบด้วย การสำรวจโอกาส (หรือการรับรู้ปัญหา) การสร้าง
ความคิด การส่งเสริมความคิด และการรับรู้ความคิด นำไปสู่การสำรวจโอกาสหรือแนวคิดเพิ่มเติม
เช่น การสนทนากับเพื่อนร่วมงาน อาจช่วยในการสำรวจสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เพื่อร่วมกันค้นหา
แนวทางแก้ไข และสง่ เสริมความคิดที่มีอยูแ่ ลว้ สามารถสรุปไดว้ ่า พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม
เป็นการแสดงถงึ โครงสรา้ งแบบองคร์ วม ซ่งึ ประกอบด้วย งานและกิจกรรมท่ีพึ่งพาซึง่ กนั และกัน ซงึ่ ฝัง
อยู่ในกระบวนการที่ซ้ำซากและซับซ้อนของการพัฒนานวัตกรรม โดยใช้การไตร่ตรองเพื่อช่วยให้
สามารถตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้าง
แนวคิดและการสืบสวนพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะแนวคิดที่มี
พลวัตและผูกพันกบั บรบิ ท เพ่ือให้บรรลุผลของงานทีจ่ ำเป็นสำหรับการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
นวตั กรรม

โปรดทบทวนนิยามของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะของ
Messmann มีสาระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเว็บไซต์ขา้ งลา่ งนี้

https://epub.uni-regensburg.de/26492/4/Messmann_2012.pdf

Source - https://bit.ly/3yjAflL

11

De Spiegelaere et al. (2014) เปน็ คณะผู้วิจัยของมหาวทิ ยาลยั เกนต์ ประเทศเบลเยี่ยม
ได้ให้ข้อมลู เชงิ ลกึ เชิงแนวคดิ และเชิงประจักษจ์ ากวรรณกรรมทเี่ กีย่ วข้องกับพฤตกิ รรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม ไวด้ งั นี้

นยิ ามเกีย่ วขอ้ งกับพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม

ผู้เขียน คำนยิ ามพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวตั กรรม
West en Farr (1990) (Innovative Work Behavior : IWB)

Spreitzer (1995) การแนะนำและการประยุกตใ์ ชโ้ ดยเจตนาของแต่ละบคุ คล กลุ่มหรอื
องค์กร เกีย่ วกบั แนวคิด กระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรอื ข้นั ตอนการ
Janssen (2000) ปฏบิ ตั งิ านใหมต่ ่อหนว่ ยงานที่เกี่ยวขอ้ งท่ีใชส้ ่งิ นัน้ ซงึ่ ได้รบั การออกแบบมา
เพื่อประโยชนอ์ ยา่ งมีนยั สำคัญต่อบคุ คล กล่มุ องค์กร หรือสังคมในวงกว้าง
Dorenbosh, Van
Engen en Verhagen พฤติกรรมทเ่ี ปน็ นวัตกรรมสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถึง การสรา้ งสง่ิ ใหมห่ รอื แตกต่าง
(2005) พฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมเป็นไปตามคำจำกัดความที่มุ่งเน้นการ
Carmeli, Meitar en เปลีย่ นแปลง เนื่องจากเกี่ยวข้องกบั การสร้างผลติ ภัณฑ์ บริการ แนวคดิ
Weisberg (2006) ขั้นตอนหรือกระบวนการใหม่

Tuominen en IWB ถูกจำกัดความไว้วา่ เป็นการสรา้ ง การแนะนำและการประยุกตใ์ ช้
Toivonen (2011) แนวคดิ ใหม่โดยเจตนา ภายในบทบาทการทำงาน กลุม่ หรือองคก์ ร เพือ่
ประโยชนใ์ นการปฏบิ ตั ิหนา้ ที่ของแต่ละบคุ คล หมู่คณะ หรือองค์กร

IWB เกย่ี วขอ้ งกบั ความเตม็ ใจในการสร้างนวตั กรรมระหว่างการทำงานของ
พนกั งานแตล่ ะคน ตวั อยา่ งเช่น การยกระดับวิธกี ารทำงาน การสอ่ื สารกับ
เพอ่ื นรว่ มงานโดยตรง การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการพัฒนาบริการหรือ
ผลิตภัณฑใ์ หม่

พฤติกรรมเชงิ นวตั กรรมถกู กำหนดไวว้ า่ เปน็ กระบวนการหลายข้นั ตอนซ่งึ
บุคคลไดต้ ระหนักถงึ ปัญหา ซึ่งบุคคลต้องสรา้ งแนวคิดและวิธีใหม่ ๆ เพ่อื
แกป้ ญั หา (เปน็ เร่ืองใหมห่ รือทรี่ ับเอามาปฏิบตั ิ) ใช้ส่งเสริมและสร้างการ
สนับสนุน ตลอดจนสรา้ งต้นแบบหรอื แบบจำลองทเ่ี กยี่ วขอ้ ง เพ่ือการใช้
งานและประโยชน์ขององค์กรหรอื สว่ นต่างๆ ภายในองค์กร

เปน็ กจิ กรรมดา้ นนวัตกรรมและการเปล่ียนแปลงทั้งหมด ท่ีมงุ่ สง่ เสรมิ การ
สรา้ งสรรค์และใชป้ ระโยชนจ์ ากส่ิงใหมท่ ่ีเปน็ ประโยชนต์ ่อองค์กร

12

จากนิยามเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมข้างต้น พวกเขาจึงสรุปได้ว่า
“พฤติกรรมการทำงานที่เป็นนวัตกรรม (Innovative Work Behavior) หมายถึง พฤติกรรมของ
บุคคลทั้งหมดที่มุ่งไปที่การสร้าง การแนะนำ และ/หรือการใช้งาน (ภายในบทบาทของตน กลุ่ม หรือ
องคก์ ร) แนวคดิ กระบวนการ ผลติ ภณั ฑ์ หรอื ข้นั ตอนการทำงาทเี่ ปน็ สิง่ ใหม่ต่อหน่วยงานทเี่ ก่ียวข้องที่
รับเอามาใช้งานโดยคาดว่าจะเป็นประโยชน์อยา่ งมากต่อหนว่ ยงานของตน”

นอกจากนี้ พวกเขายังอธิบายเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative
Work Behavior) มีความแตกต่างจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล เนื่องจากไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปท่ี
การสร้างความคิดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้จักปัญหา การสนับสนุนแนวคดิ
และการนำแนวคิดไปปฏิบัติ ซง่ึ ครอบคลมุ พฤติกรรมทุกประเภทของบุคคลที่เก่ยี วข้องกบั นวัตกรรมใน
ที่ทำงาน ทั้งการสนับสนุนเชิงรุก สำหรับนวัตกรรมในที่ทำงานและกระบวนการสร้างนวัตกรรมด้วย
ตนเองรวมอยู่ในแนวคิดน้ีด้วย

โปรดทบทวนนิยามของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะของ
De De Spiegelaere et al มสี าระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเว็บไซตข์ ้างลา่ งนี้

https://www.researchgate.net/publication/259272369_Innovatief_Werkgedrag_als_concept_Definierin
g_en_Orientering_-The_concept_Innovative_Work

Source - https://bit.ly/3bD9srO

13

All Answers Ltd. (2018) เว็บไซต์บริการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ได้เผยแพร่นิยามและ
คำอธิบายของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior) ว่าหมายถึง
พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคคลที่ถูกกำหนดให้เป็นพฤติกรรมโดยเจตนาของแต่ละบุคคล เพ่ือ
แนะนำและ/หรือนำแนวคิด ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และขั้นตอนใหม่ไปใช้กับบทบาทการทำงาน
หน่วย หรือองค์กรของบุคคลนั้น ตัวอย่างของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคคลในที่ทำงาน ได้แก่
การแนะนำเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ ๆ การแนะนำวิธีใหม่ ๆ ในการบรรลุวัตถุประสงค์ การลองวิธี
ใหมๆ่ ในการปฏิบตั งิ าน และการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตามแนวคิดใหม่

All Answers Ltd. ยังได้ได้เผยแพร่อีกหลายประเด็นเกี่ยวกับนิยามของพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคคล (Innovative Work Behavior) ที่เสนอโดย West and Farr (1989)
วา่ เปน็ สิ่งทคี่ วรคา่ แก่การศึกษา ไวด้ ังนี้

ประการแรก พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคคล (Innovative Work
Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำและการประยุกต์ใช้หรือการนำแนวคิด
ผลิตภณั ฑ์ กระบวนการและขัน้ ตอนใหม่ไปใช้โดยบคุ คล

ประการที่สอง ให้รวมไปถึงทั้งนวัตกรรมทางเทคนิค (การแนะนำหรือการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่) และนวัตกรรมการบริหาร (การแนะนำหรือการประยุกต์ใช้
ขน้ั ตอนและนโยบายใหม่) นวตั กรรมทางเทคนคิ เปน็ นวัตกรรมทเี่ กิดขนึ้ ในกจิ กรรมการทำงานหลักของ
องคก์ ร นวัตกรรมการบริหารคือ นวัตกรรมท่เี กิดขึ้นในระบบสังคมขององค์กร ตวั อยา่ งของนวัตกรรม
ทางเทคนิค ได้แก่ การใช้แนวคิดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการแนะนำองค์ประกอบใหม่ใน
กระบวนการผลิตขององค์กร ตัวอย่างของนวัตกรรมการบริหาร ได้แก่ การดำเนินการตามนโยบาย
ใหม่ของการจัดหาแรงงาน การจัดสรรทรัพยากร และการให้รางวัล พฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมส่วน
บุคคลอาจเปน็ พฤตกิ รรมท่เี กี่ยวข้องกบั การแนะนำหรือการนำนวตั กรรมทางเทคนิคและการบริหารไป
ใช้

ประการที่สาม พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior) เป็น
แนวคิด ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ ที่ได้รับการแนะนำหรือนำไปใช้ไม่
จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรโดยสิ้นเชิง แค่จะต้องมีความเกี่ยวข้องในรูปแบบใหม่กับองค์กรที่
นำมาใช้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น บุคคลแนะนำระบบไอทีที่ไม่เคยใช้ในองค์กรมาก่อน เทคโนโลยีนี้ไม่
จำเป็นต้องเปน็ สิง่ ประดิษฐ์ใหม่ แตเ่ ทคโนโลยีนั้นอาจเคยถูกนำมาใช้ในองค์กรอื่นมาก่อนได้ ก็ยังถือว่า
บุคคลผู้นั้นสร้างนวัตกรรม และสุดท้ายพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมไม่เพียงแต่เป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่
นวัตกรรมภายในบทบาทการทำงานของบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมที่ริเริ่มหรือช่วยให้เกิด
การสร้างสรรค์นวัตกรรมในหน่วยงานระดับสูงกว่าบทบาทการทำงานของบุคคล เช่น คณะทำงาน
แผนก หรอื ท้งั องค์กรของบคุ คลนน้ั ๆ

14

โปรดทบทวนนยิ ามของ พฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม จากการเผยแพร่ของ
เว็บไซต์ All Answers Ltd มีสาระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................................................
........................................................................................................... ...................................................
..............................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................
............................................................................................................................. .................................

หมายเหตุ : ศกึ ษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ ้างลา่ งน้ี

https://ukdiss.com/examples/definition-and-description-of-employee-innovation-behaviour.php?vref=1

Ahmad (2019) เป็นครูระดับมธั ยมศกึ ษาในรัฐบาลปากีสถาน ไดท้ ำวจิ ยั เรอ่ื ง “ผลกระทบ
ของความต้องการงานต่อพฤติกรรมการทำงานที่เป็นนวัตกรรมของพนักงาน (Impact of Job
Demands on Employees' Innovative Work Behavior)” ได้กล่าวถึงนิยามของพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior) ว่าเป็นกิจกรรมโดยเจตนาของบุคคล ซึ่งมีไว้
สำหรับการประดิษฐ์และดำเนินการตามแนวคดิ ใหมแ่ ละมปี ระโยชน์ภายในกลุ่มบุคคลหรือองค์กรท่ีมุ่ง
เป้าไปที่การเอาชนะปัญหาและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการงาน และผลที่ตามมาเป็น
ประโยชน์ตอ่ องคก์ รโดยรวม”

นอกจากนี้เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative
Work Behavior) เป็นผลการปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมที่สำคัญสำหรับการหาประโยชน์จากแนวโน้ม
ของสภาวะทางนเิ วศที่เปลย่ี นแปลงไป และเป็นแนวทางแห่งความเจรญิ รุ่งเรืองและสร้างความคุ้นเคย
กับการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการแข่งขันในระยะยาวและ
ปรับปรุงมูลค่าขององค์กร โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานที่เป็นนวัตกรรม ว่า
ความคดิ สร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรบั งานเกือบทุกประเภท ดว้ ยเหตนุ ีพ้ ฤติกรรมการ
ทำงานท่ีเป็นนวตั กรรมจงึ มคี วามสำคัญตอ่ ทง้ั องค์กรและบคุ คลเอง

15

โปรดทบทวนนิยามของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะของ
Ahmad มสี าระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดูไดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ า้ งล่างน้ี

https://www.grin.com/document/506029

De Jong and Den Hartog (2019) เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ประเทศเนเธอร์แลนด์
ได้ทำวิจัยร่วมกันเรื่อง “การวัดพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Measuring Innovative Work
Behaviour)” ได้กล่าวถึงนิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work
Behavior) ว่าหมายถงึ พฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่มจี ุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการริเริ่มและการแนะนำ
โดยเจตนา (ภายในบทบาทการทำงานของบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร) ของแนวคิด กระบวนการ
ผลิตภณั ฑ์ หรอื ข้นั ตอนใหม่ทเี่ ป็นประโยชน์ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม แตกต่างจากความคิด
สร้างสรรค์ของบุคคล แต่มันเป็นการผลิตแนวคิดใหม่และมีประโยชน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ
กระบวนการและขนั้ ตอน เพราะมันรวมถงึ การนำแนวคิดไปใชด้ ้วย จงึ แตกต่างจากความคิดสรา้ งสรรค์
พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior) มีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน เพ่ือให้
เกดิ ประโยชน์บางอย่างมีส่วนประกอบที่ชัดเจนกว่าและคาดว่าจะส่งผลให้เกดิ ผลลัพธ์ท่ีเป็นนวัตกรรม
ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์สามารถถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ พฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม (Innovative Work Behavior) ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่สุดในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการ
สร้างสรรค์นวตั กรรม เม่อื พบปัญหาหรือช่องว่างด้านประสิทธภิ าพเป็นท่รี ับรู้ไดว้ ่าจะต้องสร้างแนวคิด
ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการสร้างสรรค์นวัตกรรม กล่าวคือ พฤติกรรมการทำงานเชิง
นวตั กรรมทหี่ ลากหลาย ตอ้ งครอบคลมุ ท้งั การรเิ รม่ิ และการนำแนวคดิ ไปปฏิบัติ

โปรดทบทวนนยิ ามของ พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวตั กรรม จากทัศนะของ De
Jong and Den Hartog มีสาระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเว็บไซต์ข้างลา่ งนี้

https://www.researchgate.net/publication/228254317

16

Zainal and Effendi (2020) เป็นนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย Kebangsaan
ประเทศมาเลเซีย ได้ทำวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการทำงานของครูผู้สอนสามารถส่งผลต่อคุณภาพ
การศึกษาได้อย่างไร (How Teachers’ Innovative Work Behaviour Can Affect Education
Quality?)” ได้กล่าวถึงนิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work Behavior)
เป็นกระบวนการในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในทางที่ดีขึ้น เป็น
กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นด้วยการสร้างความคิดและจบลงด้วยการนำความคิด
เหล่านั้นไปปฏิบัติให้สำเร็จ นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการทำให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถแข่งขันกับ
องค์กรอื่นได้ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้องคก์ รมีนวัตกรรมเสมอในความท้าทายในปัจจุบันคือ
บุคคลท่ีเก่ียวขอ้ งในองคก์ รเอง การศกึ ษากอ่ นหน้านีแ้ สดงให้เหน็ ว่าพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรม
ในหมู่บุคลากรมีบทบาทสำคัญในการทำให้มั่นใจว่าองค์กรยังคงมีนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมของ
องคก์ รเกีย่ วข้องกับพฤติกรรมทเ่ี ป็นนวัตกรรมของบุคคลในการปฏิบตั งิ านในที่ทำงาน

Zainal and Effendi ได้กล่าวอีกว่า การศึกษาก่อนหน้านี้ เช่น Dorenbosch et al.
(2005) and Yuan & Woodman (2010) ให้นิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม
(Innovative Work Behavior) ว่าเป็นการกระทำทั้งหมดของแต่ละบุคคลที่มุ่งสู่การผลิต การ
ประมวลผล และการประยุกต์ใช้หรือการนำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ในการทำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงแนวคิด
ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร และ
ความสำเร็จ ในทางกลับกัน ได้กำหนดพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work
Behavior) ว่าเป็นการสร้างพฤติกรรมในวงกว้าง และไม่เพียงแต่ครอบคลุมถึงการสร้างความคิด
เท่านั้น แตย่ งั เปลย่ี นความคิดใหเ้ ป็นนวัตกรรมทีเ่ ป็นรูปธรรมด้วย นอกจากนพ้ี ฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม (Innovative Work Behavior) ยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบไม่กี่อย่างที่สนับสนุนแนวคิด
ของนวัตกรรม โดยที่พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม เหล่านี้ยังคงขึ้นอยู่กับแนวคิดและโครงสร้าง
ของนวัตกรรม แตจ่ ะเกย่ี วข้องกับบุคคลในองค์กรมากกวา่

ในด้านการศึกษา พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยเหลือ
ผู้บริหารโรงเรียนและครูในการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงเรียน ครูจึง
เป็นเสาหลักในทุกองค์กรการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการรับรองความสำเร็จและประสิทธิภาพของ
ระบบการศึกษา ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมของครู พฤติกรรมที่เป็น
นวตั กรรมของครูสามารถอธิบายได้วา่ เป็นการกระทำเพือ่ พฒั นา นำไปใช้ ส่งเสริม หรอื เปลยี่ นแนวคิด
ใหมท่ ีค่ รูเปน็ ผู้ริเร่ิม กลา่ วอีกนัยหน่งึ คือ พฤติกรรมทเี่ ปน็ นวัตกรรมของครู หมายถึง พฤติกรรมในการ
สร้างแนวคิดใหม่ ๆ และพยายามนำไปใช้ด้วยความมั่นใจ เอาชนะความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นด้วย
วธิ ีการ กลยุทธ์ หรือแนวทางใหม่ ๆ เพอ่ื ปรบั ปรุงคุณภาพการเรียนรู้และการอำนวยความสะดวกและ
การมสี ่วนร่วมของนักเรยี น

17

โปรดทบทวนนิยามของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะของ
Zainal and Effendi มสี าระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ดจ้ ากเว็บไซตข์ ้างลา่ งนี้

http://www.jcreview.com/fulltext/197-1593851851.pdf

Source - https://bit.ly/3QVapvG

จากทัศนะของแหล่งอ้างอิงที่นำมากล่าวถึงข้างต้น สรุปได้ว่า พฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม (Innovative Work Behavior) หมายถึง การทำงานของแต่ละบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร ที่
เป็นพฤติกรรมโดยเจตนาที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง การแนะนำวิธีใหม่ ๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ และการลองวิธีใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน
และ/หรือการนำแนวคิด กระบวนการ หรอื วิธีการใหม่ ๆ ทร่ี ิเรมิ่ และขนั้ ตอนการทำงาน ใหม่ ๆ ไปใช้
กับบทบาทการทำงานในหน่วยงาน หรือองค์กรของบุคคลนั้น เพื่อแก้ปัญหา (เป็นเรื่องใหม่หรือที่รับ
เอามาปฏิบัติ) ใช้ส่งเสริมและสร้างการสนับสนุน ปรับปรุงคุณภาพการทำงานและการอำนวยความ
สะดวกในการดำเนินงานตามแนวคิดใหม่ เพอื่ ประโยชน์ขององค์กรหรือส่วนต่างๆ ภายในองค์กร โดย
ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ในหน่วยงานโดยสิ้นเชิง หากแต่เป็นสิ่งใหม่ต่อหน่วยงานนั้นที่จะนำไปใช้ก็
สามารถทจ่ี ะเรยี กไดว้ ่าเป็น “นวัตกรรม”

18

จากนานาทัศนะเกี่ยวกับนิยามของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (Innovative Work
Behavior) ดังกล่าวข้างต้น ท่านเห็นว่ามีองค์ประกอบ (Elements) หรือตัวบ่งชี้ (Indicators) ท่ี
สำคัญอะไรบ้าง ท่ีทำให้เข้าใจในนิยามนั้นได้อย่างกระชับและชัดเจน โปรดระบุแนวคิดหรือ
องคป์ ระกอบนั้นในภาพทแ่ี สดงข้างลา่ ง

19

Ahmad, M. (2019). Impact of job demands on employees' innovative work behavior.
Master’s thesis, Project Management, College COMSATS University, Pakistan.

All Answers, Ltd. (2018, December 6). Definition and description of employee
innovation behaviour. Retrieved. Retrieved July 26, 2021 from
https://ukdiss.com/examples/definition-and-description-of-employee-
innovation-behaviour.php?vref=1.

De Jong, J., & Den Hartog, D. (2019, March 21). Measuring innovative work behaviour.
Retrieved July 27, 2021 from
https://www.researchgate.net/publication/228254317

De Spiegelaere, S., Van Gyes, G., & Van Hootegem, G. (2014, June 16). The innovative
work behaviour concept: Definition and orientation. Retrieved July 26, 2021
from
https://www.researchgate.net/publication/259272369_Innovatief_Werkgedrag_al
s_concept_Definiering_en_Orientering_-The_concept_Innovative_Work

De Spiegelaere, S., Van Gyes, G., & Van Hootegem, G. (2014). Job design and
innovative work behavior: One size does not fit all types of employees.
Retrieved July 26, 2021 from https://www.jemi.edu.pl/vol-8-issue-4-2012/job-
design-and-innovative-work-behavior-one-size-does-not-fit-all-types-of-
employees

Messmann, G. (2012). Innovative work behaviour Investigating the nature and
facilitation of vocational teachers’contributions to innovation development.
Master’s thesis, Inaugural-Dissertation zur Erlangung der Doktorwürde der
Philosophischen Fakultät II (Psychologie, Pädagogik und Sportwissenschaft)
der Universität Regensburg.

Oukes, T. (2010). Innovative work behavior a case study at a tire manufacturer.
Master’s thesis, Business Administration, University of Twente.

Zainal, M.A, & Effendi, E. (2020). How teachers’ innovative work behaviour can affect
education quality?. Journal of Critical Reviews, 7(17), 770-779.
http://www.jcreview.com/fulltext/197-1593851851.pdf

20

21

หลงั จากการศกึ ษาคู่มือชุดนแ้ี ล้ว ท่านมีพฒั นาการดา้ นพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ซึ่ง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจําแนกพฤติกรรมในขอบเขตน้ีออกเปน็ 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดังน้ี

1. บอกคุณสมบัติ จับคู่ เขียนลำดับ อธิบาย บรรยาย ขีดเส้นใต้ จำแนก หรือระบุ
ความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรมได้

2. แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความ ยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง
หรือเรยี บเรียง ความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมได้

3. แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือ
ปรับปรุง ความสำคญั ของพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมได้

4. แยกแยะ จดั ประเภท จำแนกให้เห็นความแตกตา่ ง หรอื บอกเหตผุ ล ความสำคญั ของ
พฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

5. วัดผล เปรียบเทยี บ ตีคา่ ลงความเห็น วจิ ารณ์ ความสำคัญของพฤติกรรมการทำงาน
เชิงนวัตกรรมได้

6. รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สร้าง ประดิษฐ์ หรือวางหลักการ ความสำคัญของ
พฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

1. โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จาก
ทัศนะทน่ี ำมากลา่ วถึงแต่ละทศั นะ

2. หลังจากการศกึ ษาเนื้อหาโปรดทบทวนความเข้าใจจากคำถามท้ายเนือ้ หาของแต่ละ
ทัศนะ

3. ศึกษารายละเอียดของนิยามที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” เว็บไซต์ท่ี
นำเสนอไวท้ ้ายเนื้อหาของแตล่ ะทศั นะ

22

Ahmad (2015) เป็นครูระดับมัธยมศึกษาในรัฐบาลปากีสถาน เคยทำ MS ในการบริหาร
โครงการและ BBA ในการบริหารธุรกิจ ได้ทำวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของความต้องการงานต่อ
พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงาน (Impact of Job Demands on Employees'
Innovative Work Behavior)” ได้กล่าวถึงความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมว่า
เป็นผลลัพธ์ของพฤติกรรมที่สำคัญ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแนวโน้มของสภาวะทางนิเวศวิทยาท่ี
เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละบุคคล และเป็นวิธีการขยายและทำความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงทาง
นิเวศวิทยา เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการแข่งขันในระยะยาวและมูลค่าส่วนบุคคลที่ดีขึ้น นอกจากนี้
ยังเน้นย้ำความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์และ
นวตั กรรม ซง่ึ เป็นส่ิงจำเป็นสำหรับงานแทบทุกประเภท ดว้ ยเหตุนพี้ ฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม
จึงถูกมองว่ามีความสำคัญต่อทั้งองค์กรและพนักงาน ตามที่ Lee and Tan (2012) ยืนยันว่ามีการ
ยอมรบั ร่วมกนั ระหว่างนักวิจัยเกีย่ วกับข้อเท็จจริงทวี่ ่าทุกงานต้องมีความคดิ สร้างสรรค์และนวัตกรรม
ในระดับหน่ึง ซง่ึ แสดงถึงความสำคัญของพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมทจ่ี ำเป็นสำหรบั ทกุ งาน

ทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการต่างก็ กล่าวว่าพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมมี
ความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในระดับองค์กรและระดับบุคคล เนื่องจากพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมนั้นสัมพันธ์กับลักษณะสำคัญของประสิทธิภาพเชิงโครงสร้างและเป็นประโยชน์
ต่อการปฏิบัติงานของแต่ละคน พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม ถือเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนที่
เกี่ยวข้องกับการกระทำที่เชื่อมโยงกับการประดิษฐ์แนวความคิดใหม่และการประยุกต์ใช้ของแนวคิด
ใหมเ่ หลา่ น้ี โดยกล่าวกนั ว่าเปน็ พฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมใหม่ เปน็ กระบวนการหลายขน้ั ตอน
ทเี่ กี่ยวขอ้ งกับการประดิษฐแ์ ละการดำเนนิ การตามแนวคิดเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาและความท้า
ทาย ดังที่เน้นย้ำโดย Janssen (2000) และ Janssen et al., (2004) ว่าพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม เป็นกลยุทธ์ที่บุคคลใช้เพื่อเอาชนะและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการงานใน
ระดับสูง และเขาได้ตรวจสอบพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมว่าเป็นกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา
จดุ เร่ิมต้นของนวัตกรรมคือการประดิษฐ์ความคดิ ในระดบั ปัจเจกบุคคล ประดิษฐค์ วามคิดเพื่อเอาชนะ
ปัญหาและอุปสรรคทีเ่ กี่ยวข้องกบั งาน เนื่องจากปญั หาและอปุ สรรคเหลา่ นสี้ ามารถถูกมองว่าเป็นแรง
กดดนั ทางจิตใจ เชน่ ความตอ้ งการงานซ่ึงส่งผลกระตุ้นสภาวะทโี่ ดดเด่นในบุคคล ผลลพั ธ์ระดับบุคคล
และประโยชน์ของนวัตกรรมของบุคคล รวมถงึ ความต้องการความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพการ
ทำงาน ความพงึ พอใจในงาน ระดับความเครียดท่ีลดลง ความสัมพันธ์ระหวา่ งบุคคลท่ดี ีขึ้น และความ
เป็นอย่ทู ดี่ ี

การศึกษาในปัจจุบนั มุ่งเน้นทีพ่ ฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของบุคคลว่า เป็นกลยุทธ์
ในการจดั การปญั หาทีเ่ กี่ยวข้องกับการประดิษฐแ์ ละการใช้ความคดิ ที่แปลกใหม่และมีประโยชน์ในงาน
ของตน เพื่อให้งานของตนง่ายขึ้นเมื่อเจองานที่เครียดจะใช้การปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในงานของตน
เพ่ือจัดการกับความเครียดในการทำงาน ซงึ่ เปน็ ผลมาจากความต้องการงานในระดับสูง เนื่องจากงาน

23

ที่มีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงไม่กระตุ้นพฤติกรรมการทำงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ดังนั้นบุคคลจะให้
ความสำคัญกับงานที่มีธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งไม่มั่นคง งานที่พวกเขาเผชิญกับความท้า
ทาย บคุ คลจะมีความคดิ สร้างสรรคแ์ ละนวตั กรรมในงานดังกลา่ วซึ่งต้องการส่ิงเหล่าน้นั เพื่อจัดการกับ
ความเครียดและความต้องการของงาน บนพื้นฐานของหลักฐานเหล่านี้ สามารถสรุปได้ว่า ความ
ตอ้ งการงานที่ส่งผลให้เกดิ ความเครียดจากงาน อาจก่อใหเ้ กิดและกระตนุ้ ศักยภาพดา้ นนวัตกรรมของ
บุคคลในการทำงาน

โปรดทบทวนความสำคัญของ พฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรม
จากทัศนะของ Ahmad มสี าระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซต์ข้างลา่ งน้ี

https://www.grin.com/document/506029

Tayyaba et al. (2016) เปน็ นกั ศึกษามหาวิทยาลยั เทคโนโลยีสารสนเทศวศิ วกรรมศาสตร์
และการจัดการ Balochistan | BAUITEMS ภาควิชาวิทยาการจัดการบริหารธรุ กิจดุษฎีบัณฑิต ได้ทำ
วิจัยเรื่อง “ผลกระทบของความเป็นผู้นำเชิงสัมพันธ์ที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของ
พนักงานในอุตสาหกรรมไอทีของจีน (The Impact of Relational Leadership on Employee
Innovative Work Behavior in IT Industry of China)” กล่าวว่า เนื่องจากความสำคัญที่เพิ่มขึ้น
ของนวัตกรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จและการอยู่รอดขององค์กร พฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมถือเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตลอดจนนวัตกรรมในองค์กร
เพราะความสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
เหนือค่แู ข่งและยังมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จและความอยรู่ อดในระยะยาวขององคก์ ร พฤตกิ รรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมมุ่งเน้นไปที่การกระทำที่ริเริ่มโดยบุคคลที่มีเป้าหมายคือ การปรับปรุงสภาพ
ปจั จบุ ันหรอื สรา้ งสิ่งใหม่ให้กับองคก์ รและเพ่อื ตนเอง

แม้ว่านวัตกรรมจะเป็นหัวใจสำคัญของความสามารถในการแข่งขันขององค์กร อย่างไรก็
ตาม ไม่มีองค์กรใดสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากไม่มีพนักงาน ความสำคัญของพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงาน เพื่อความยั่งยืนขององค์กรนั้นได้รับการกล่าวถึงในงานวิจัยต่าง ๆ

24

พฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของพนักงานเป็นรากฐานที่ช่วยให้ประสิทธิ ภาพขององค์กรที่สูงขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องระบุว่าสิ่งใดที่เอื้ออำนวยหรือสนับสนุนพฤติกรรมการทำงาน
นวัตกรรมของพนักงาน ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลส่งผลต่อปัจจัยกำหนดของนวัตกรรมองค์กร เช่น
ความเปน็ ผ้นู ำ บทบาทสนับสนุนนวัตกรรม หรือการต่อต้านการเปลย่ี นแปลงในองค์กร เน่อื งจากภาวะ
ผู้นำเป็นองคป์ ระกอบสำคญั ของสถานที่ทำงาน จึงไดร้ ับการพบวา่ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของพนักงาน
และการกำหนดกิจกรรมในองค์กร ที่โดดเด่นที่สุดคือ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำเพื่อการ
เปลี่ยนแปลงวา่ มอี ทิ ธิพลท่ีสำคัญต่อความสรา้ งสรรค์ของพนักงาน

มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า นวัตกรรมมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จ
ขององค์กร เนื่องจากความต้องการและความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าและการขยายตัวของตลาด
ทั่วโลก นวัตกรรมจึงมีความสำคัญสำหรับบริษัทต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ยังระบุถึงความสำคัญของ
นวัตกรรมและการวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ได้รับความสนใจอย่างมากจาก
นักวิชาการในชว่ ง 20-30 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย แม้ว่าจะมหี ลกั ฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากเกี่ยวกบั ท่มี า
ของพฤตกิ รรมทเ่ี ป็นนวัตกรรมในองคก์ ร แต่ก็ยงั มคี วามจำเปน็ ทีจ่ ะต้องมีการวจิ ัยเพิ่มเติมเก่ียวกับสิ่งที่
จะนำไปส่กู ารมพี ฤติกรรมการทำงานนวตั กรรม เปน็ ส่ิงสำคัญโดยเฉพาะทจ่ี ะต้องตระหนักถึงกลไกทาง
จิตวิทยาที่เอื้อต่อนวัตกรรมของพนักงานให้ดีขึ้น เพราะพนักงานคือ บุคคลที่สร้างและหาทางออกที่
เป็นนวัตกรรมในองคก์ ร ดังน้ันพฤตกิ รรมของพนกั งานหรอื บุคคลจงึ มีความสำคัญตอ่ นวัตกรรมองคก์ ร

โปรดทบทวนความสำคญั ของ พฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม
จากทศั นะของ Tayyaba, Shen and Haider มสี าระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศึกษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเว็บไซตข์ ้างล่างน้ี

http://dx.doi.org/10.1016/j.aebj.2016.06.001

Source - https://www.bangkokbiznews.com/business/912156

25

Zainal and Effendi (2020) เป็นนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัย Kebangsaan
ประเทศมาเลเซีย ได้ทำวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของครูสามารถส่งผลต่อ
คุณภาพการศึกษาได้อย่างไร? (How Teachers' Innovative Work Behavior Can Affected
Education Quality?)” กลา่ วถึง พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมวา่ นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญใน
สังคมของตัวบุคคล, องค์กร และระบบ ด้วยเหตุผลน้ีคือหน้าทีข่ องนวัตกรรมจึงความจำเป็นที่องค์กร
ต้องสร้างสรรค์นวัตกรรม ก็เพื่อปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและ
การพัฒนาทางเทคโนโลยี ความยั่งยืนและความยืดหยุ่นขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถในการ
สร้างสรรค์นวัตกรรม ในด้านการศึกษา นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญมาก การศึกษามีการเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถที่จะยึดติดกับวิธีการเดียวและใช้ไปได้ตลอด ดังนั้นถ้ายังมีความลังเลที่จะ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในระบบการศึกษาจะทำให้ตามคนอื่นไม่ทันอย่างแน่นอน ความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีการศึกษา สาขาความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และความท้าทายด้านการศึกษาที่เพิ่มมากข้ึน
เรอ่ื ยๆ ทำใหร้ ะบบการศกึ ษาต้องสร้างสรรคน์ วัตกรรมเพ่ือใหส้ ามารถแขง่ ขนั ได้

ในระบบการศึกษา คนที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือครู เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการศึกษา
สามารถแข่งขันได้ ครูควรมีทัศนคติหรือพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม เพราะพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมเหล่านจี้ ะสนับสนุนระบบการศึกษาให้ทนั กับการพัฒนาในปัจจุบันท่ีเปล่ียนแปลง
ตลอดเวลา มาตรฐานการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปฏิรูปหลักสูตร การพัฒนาทาง
การศึกษาและเทคโนโลยีในการศึกษาเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
ววิ ัฒนาการในการศกึ ษาเพ่ืออนาคตที่ดีกว่า อยา่ งไรก็ตาม ความพยายามน้ีจะไม่ไดผ้ ลหากครูไม่พร้อม
ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาที่รวดเร็วนี้ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมในหมู่ครู ถือว่า
เป็นความพร้อมและความสามารถของครูในการสร้าง ยอมรับ และเปลี่ยนแนวทางที่จะเป็นกุญแจสู่
ความสำเรจ็ ของระบบการศึกษา เนือ่ งจากพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมจะส่งผลกระทบเชิงบวก
ต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของบุคคลและองค์กร พฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมจะช่วยให้ครูพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นและเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ
สำหรับการเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันในองค์กรการศึกษา

โปรดทบทวนความสำคัญของ พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวตั กรรม
จากทัศนะของ Zainal and Effendi มีสาระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดูไดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ ้างล่างนี้

http://www.jcreview.com/fulltext/197-1593851851.pdf

26

Abdullah (2020) เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยธุรกิจ
มหาวิทยาลัย Jouf. ได้เขียนบทความวิจัย เรื่อง การเชื่อมโยงการแบ่งปันความรู้กับพฤติกรรมการ
ทำงานทเี่ ปน็ นวัตกรรม: บทบาทของการเสริมพลังทางจติ วทิ ยา ในวารสารการเงิน เศรษฐศาสตร์ และ
ธุรกิจแห่งเอเชีย กล่าวว่า พฤติกรรมการทำงานการเชิงนวัตกรรมของผู้ปฏิบัติงานเป็นองค์ประกอบ
สำคัญที่ช่วยให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งจะรับประกันการดำรงอยู่ในระยะยาวใน
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการก่อตัว การขยาย และการ
ดำเนินการของสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นเดียวกับแนวคิดเชิงสร้างสรรคใ์ นองค์กร ดังนั้นพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานจงึ กลายเป็นจุดสนใจทีส่ ำคัญสำหรับทุกอุตสาหกรรมในทกุ ประเทศ
ภายในกระบวนการผลิตและการพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรมเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มี
ความสำคัญสำหรับการปรับปรุงการดำเนินงาน (เช่น การผลิต การพัฒนา และการให้บริการ) และ
เพื่อมูลค่าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมเป็น
เส้นทางที่สำคัญซึ่งองค์กรสามารถดำเนินการเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้ นอกจากนี้ยังทำ
หนา้ ท่ีเป็นองค์ประกอบสำคญั ในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขนั และปรบั ปรงุ ประสทิ ธิภาพการ
บริหารจัดการ มอี งคป์ ระกอบหลายอย่างท่สี ง่ ผลต่อการเตบิ โตและการพฒั นาขององค์กร เชน่ รูปแบบ
ความเป็นผู้นำ การใช้เทคโนโลยี การฝึกอบรม เป็นต้น แต่สำหรับพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม
ของพนักงานในบริษัท การแบ่งปันความรู้เป็นปัจจัยสำคัญ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ขององค์กร การ
แบ่งปันความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งปันความรู้
กลายเป็นที่รู้จักในฐานะกระบวนการท่ีบุคคลแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลโดยการอภิปรายเพื่อสร้าง
แนวคิดและสร้างนวัตกรรมใหม่ในสถานที่ทำงาน นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานเข้าใจอาชีพของตน
ในทางที่มีความหมายมากขึ้น และนำมาซึ่งการยอมรับส่วนบุคคลภายในแผนก การแบ่งปันความรู้ไม่
เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อบุคคลในองค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจและ
ผลกำไรท้ังหมด

นวัตกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับองค์กรที่จะประสบความสำเร็จ และบรรลุ
เป้าหมายของการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อการดำรงอยู่และความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมต่างๆ องค์กร
ตอ้ งการนวตั กรรมอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลติ และการจดั การ ดังนน้ั เม่อื เวลาผา่ นไป พฤติกรรม
การทำงานเชิงนวัตกรรมจึงกลายเป็นหนึ่งในช่องทางหลักที่ให้การพัฒนาอย่างยัง่ ยืนแกอ่ งค์กร และมี
บทบาทสำคัญในการบรรลุผลประโยชน์ในการแข่งขัน ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการ และการ
แนะนำวธิ ีการผลติ ใหม่

27

โปรดทบทวนความสำคญั ของ พฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม
จากทศั นะของ Abdullah มีสาระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดูได้จากเว็บไซตข์ า้ งล่างนี้

https://doi.org/10.13106/jafeb.2020.vol7.no9.549

สรุป จากทัศนะของ Ahmad (2015), Tayyaba et al. (2016), Zainal and Effendi
(2020), และ Abdullah (2020) ดังกล่าวข้างต้น เห็นว่า พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมมี
ความสำคญั เนื่องจากเป็นพฤตกิ รรมทป่ี ระกอบดว้ ยความคดิ สรา้ งสรรค์และนวตั กรรม ซึง่ เป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับงานแทบทุกประเภท มีผลต่อการประสบความสำเร็จในระดับบุคคลและระดับองค์กร และ
สัมพนั ธ์กบั ประสทิ ธิภาพเชิงโครงสร้างขององคก์ รและประโยชนต์ ่อการปฏิบตั ิงานของแตล่ ะคน คอื

1) เปน็ กลยุทธท์ ี่ใช้เพอื่ เอาชนะและแก้ปญั หาท่ีเก่ียวข้องกบั ความต้องการงาน
2) เป็นกลยุทธใ์ นการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์และการใช้ความคดิ ทีแ่ ปลก
ใหม่และมปี ระโยชนใ์ นงานของตน
3) เปน็ รากฐานของการเปลย่ี นแปลงในองค์กรตลอดจนนวัตกรรมในองค์กร
4) เป็นการปรับปรงุ สภาพปัจจุบันหรือสร้างสิง่ ใหมใ่ ห้กับองค์กรและเพื่อตนเอง
5) เป็นการปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและการพัฒนา
ทางเทคโนโลยี
6) เป็นการสร้างสรรคน์ วตั กรรมเพือ่ ใหส้ ามารถแขง่ ขันได้
7) ชว่ ยใหอ้ งค์กรมคี วามไดเ้ ปรยี บในการแขง่ ขนั อย่างย่ังยนื เหนอื คแู่ ข่ง และมสี ว่ นสำคัญต่อ
ความสำเรจ็ และความอยู่รอดในระยะยาวขององค์กร
8) ช่วยปรับปรุงประสิทธภิ าพการบรหิ ารจดั การ
9) เพม่ิ ประสทิ ธภิ าพการทำงานและความสำเร็จขององคก์ ร

28

จากนานาทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม (The
importance of innovative work behavior) ดังกล่าวข้างต้น ท่านเห็นว่ามีองค์ประกอบ
(Elements) หรือตัวบ่งชี้ (Indicators) ที่สำคัญอะไรบ้าง ท่ีทำให้เข้าใจในความสำคัญนั้นได้อย่าง
กระชับและชดั เจน โปรดระบแุ นวคิดหรอื องคป์ ระกอบน้นั ในภาพท่ีแสดงข้างล่าง

Abdullah, A. (2020). Linking knowledge sharing to innovative work behaviour: The role
of psychological empowerment. The Journal of Asian Finance, Economics and
Business, 7(9), 549-560. https://doi.org/10.13106/jafeb.2020.vol7.no9.549

Ahmad, M. (2015). Impact of job demands on employees' innovative work behavior.
Master’s thesis, Project Management, College COMSATS University, Pakistan.

Tayyaba, A., Shen, L., & Haider, M.J. (2016). The impact of relational leadership on
employee innovative work behavior in industry of China. Economic and
Business Journal, 11(2), 153-161. http://dx.doi.org/10.1016/j.aebj.2016.06.001

Zainal, M.A, & Effendi, E. (2020). How teachers’ innovative work behaviour can affect
education quality?. Journal Of Critical Reviews, 7(17), 770-779.
http://www.jcreview.com/fulltext/197-1593851851.pdf

29

30

หลังจากการศกึ ษาค่มู ือชุดน้ีแลว้ ทา่ นมีพฒั นาการด้านพุทธิพสิ ัย (Cognitive Domain) ซ่ึง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจาํ แนกพฤติกรรมในขอบเขตน้ีออกเปน็ 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดงั นี้

1. บอกคุณสมบัติ จบั คู่ เขียนลำดับ อธบิ าย บรรยาย ขดี เสน้ ใต้ จำแนก หรอื ระบุ ลกั ษณะ
ท่ีแสดงถึงพฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวตั กรรมได้

2. แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความ ยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง หรือ
เรียบเรียง ลกั ษณะท่แี สดงถงึ พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวัตกรรมได้

3. แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือปรับปรุง
ลักษณะทแ่ี สดงถงึ พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวัตกรรมได้

4. แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกตา่ ง หรือบอกเหตุผล ลักษณะที่แสดงถึง
พฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

5. วัดผล เปรียบเทียบ ตีค่า ลงความเห็น วิจารณ์ ลักษณะที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงาน
เชิงนวัตกรรมได้

6. รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สร้าง ประดิษฐ์ หรือวางหลักการ ลักษณะที่แสดงถึง
พฤตกิ รรมการทำงานเชิงนวตั กรรมได้

1. โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม จาก
ทศั นะทน่ี ำมากล่าวถึงแตล่ ะทัศนะ

2. หลังจากการศึกษาเนื้อหาโปรดทบทวนความเข้าใจจากคำถามท้ายเนื้อหาของแต่ละ
ทัศนะ

3. ศึกษารายละเอียดของนิยามที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” เว็บไซต์ที่
นำเสนอไว้ทา้ ยเน้อื หาของแต่ละทศั นะ

31

Oukes (2010) เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย TWENTE ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำวิจัย
เรื่อง พฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม:กรณีศึกษาที่ผู้ผลิตยางรถยนต์ (Innovative Work
Behavior a Case Study at a Tire Manufacturer) กล่าวถึง ตัวกำหนดพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม (Determinants of Innovative Work Behavior) ดงั ตาราง

ตารางแสดงตัวกำหนดพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม

หมวดหมู่ ปัจจยั
บุคคล
- บุคลิกภาพบุคคลภายในองค์กร
งาน - การรบั ร้คู วามสามารถของตนเอง
- การริเรมิ่
ทีม - บคุ ลิกภาพเชงิ รุก
- การจ้างงาน
- ระดับการศกึ ษา
- รปู แบบการแกป้ ัญหา
- การกำหนดทศิ ทางเปา้ หมายการเรยี นรู้
- ผลการดำเนินงานท่ีคาดหวงั
- ผลลัพธ์มโนภาพทค่ี าดหวงั

- ความเปน็ อสิ ระในงาน
- ความคาดหวงั ในงานของผู้จ้าง
- ความยืดหยุ่นในการใชง้ าน
- การกำหนดทิศทางตามบทบาท
- ตำแหนง่ งาน
- การควบคุมงาน
- ภาระผกู พนั ในกรสร้างนวัตกรรม
- อิทธิพลในทีท่ ำงาน
- การเสริมพลงั ทางจิตวทิ ยา
- การเสริมอำนาจโครงสรา้ ง

- การสนบั สนุนหัวหน้าทีม
- การควบคุมวิธกี ารของทีม
- บทบาทของทมี
- การสนบั สนุนทีม

32

หมวดหมู่ ปจั จยั
ความสมั พันธ์
- ภาวะผู้นำแบบมสี ่วนรว่ ม
ระดับองคก์ ร - ความเปน็ ผูน้ ำท่ีสนบั สนุน
- ภาวะผู้นำการเปลยี่ นแปลง
- ภาวะผนู้ ำแบบแลกเปลยี่ น
- ความเปน็ ผูน้ ำทใ่ี ช้อทิ ธิพลเปน็ ฐาน
- การแลกเปล่ยี นระหวา่ งผนู้ ำกับสมาชิก
- พฤติกรรมกระตุน้ ความเป็นผู้นำ
- การติดตอ่ งานภายนอก

- บรรยากาศขององคก์ ร
- การสนับสนนุ ในนวัตกรรม
- กลยุทธ์การเปน็ ผู้ประกอบการขององค์กร
- กลยุทธ์นวตั กรรม
- โครงสรา้ งความรู้
- การตอบแทน
- ความปรารถนาในนวัตกรรมของพนักงาน

โปรดทบทวนลักษณะหรือคุณลักษณะของบุคคลที่มีพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม จากทศั นะของ Oukes มสี าระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลิก” ดูได้จากเวบ็ ไซต์ข้างล่างนี้

https://essay.utwente.nl/62728/

Source - https://www.disruptignite.com/blog/unlock-innovation

33

Bagley (2014) เป็นประธานและซีอีโอของ NorTech และเป็นรองเลขาธิการสำนักงาน
การลงทุนด้านเทคโนโลยีของรัฐเพนซิลเวเนีย ได้กล่าถึง ลักษณะ 10 ประการของนักนวัตกรรมผู้
ยงิ่ ใหญ่ (The 10 Traits of Great Innovators) ไดแ้ ก่

1. การมีนวัตกรรม หมายถงึ การทำส่งิ ทแี่ ตกต่างหรือทำสง่ิ ทไ่ี ม่เคยทำมาก่อน
2. นักนวัตกรรมต้องเป็นผู้นำที่แท้จริง คือมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์กรที่มีพลวัต มีประสิทธิผล
สูง และยึดค่านิยมท่ีต้องการให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการทำงาน สนับสนุนและให้โอกาส
บุคลากรก้าวหน้าทางอาชีพ ทำให้บุคลากรรู้สึกว่ามีคุณค่าและได้รับการเคารพ โดยกำหนดบทบาท
และความรบั ผิดชอบให้อยา่ งชัดเจน มีอำนาจในการตัดสนิ ใจ
3. นกั นวัตกรรมต้องเข้าใจว่านวตั กรรมไมเ่ คยเกิดข้นึ เปล่าๆ กล่าวคอื ควรใหค้ ณุ ค่า สร้าง
และรักษาเครือข่ายการทำงานร่วมกันที่มีความกระตือรือร้น ให้ถือเป็นโอกาสในการร่วมกันระบุจุด
แขง็ จุดอ่อน โอกาส และภยั คุกคามขององคก์ ร
4. นักนวัตกรรมต้องมุ่งมั่นที่จะสร้างความหลากหลายและเข้าใจว่าต้องใช้มุมมองท่ี
แตกต่างกันมากมายเพื่อทำความเข้าใจความซับซ้อนของความท้าทายทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และ
ความท้าทายอน่ื ๆ อยา่ งเตม็ ท่ี
5. นักนวัตกรรมต้องละทิ้งรูปแบบการเป็นผู้นำที่มีการควบคุมสูงและไม่ไว้วางใจใคร
และเป็นผู้นำโดยการชี้นำเป็นหลักขององค์กร ดังนั้นผู้นำต้องให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์และ
พัฒนาทักษะท่ีจำเปน็ ในการก้าวไปสูร่ ะดับต่อไปในอาชีพของตนได้
6. นักนวัตกรรมควรไมก่ ลัวทีจ่ ะทำตามวิธีการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากกวา่ แม้ว่าจะต้องมี
ความเส่ยี งมากข้ึนกต็ าม
7. นักนวัตกรรมต้องเข้าใจว่านวัตกรรมจะเกิดขึน้ ได้น้ันไม่ได้เกดิ จาดความพยายามเพียง
ครั้งเดียว ซึ่งทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยนัก
นวัตกรรมต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพที่รู้วิธีการขจัดการต่อต้านทางแนวคิดของ
บุคลากร
8. นักนวัตกรรมต้องไม่กลัวที่จะแหกกฎเกณฑ์และก้าวข้ามภูมิปัญญาดั้งเดิม ต้องรู้จัก
การคดิ นอกกรอบท่ีแตกต่างจากแนวคิดเดิมๆ
9. นักนวัตกรรมจะต้องไม่วัดผลแบบเดิมๆ มากเกินไป เพราะเป็นการขัดขวาง
ความกา้ วหนา้
10. นักนวัตกรรมตอ้ งมกี ารสรา้ งแนวคิดใหม่ๆ ทีต่ ่างจากธรรมเนยี มเดมิ ของตนเอง

34

โปรดทบทวนลกั ษณะหรือคุณลักษณะของบคุ คลที่มพี ฤติกรรมการทำงานเชิง
นวตั กรรม จากทศั นะของ Bagley มีสาระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเวบ็ ไซตข์ า้ งล่างนี้

https://www.forbes.com/sites/rebeccabagley/2014/01/15/the-10-traits-of-great-
nnovators/?sh=3168f4b84bf4

Newquist (2015) เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่สร้างสรรค์ของ Global Experience
Specialists สำหรับแบรนด์และสตูดิโอฮอลลีวูด ได้กล่าวถึง 7 ลักษณะของนักประดิษฐ์ที่ประสบ
ความสำเร็จอยา่ งสงู (7 Characteristics of Highly Successful Innovators) ไดแ้ ก่

1. การคิดต่าง (Divergent Thinking) นักนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จจะมองหา
ความสัมพันธ์ของสิ่งตา่ งๆ เพื่อสร้างทฤษฎีว่าเกีย่ วข้องกันอย่างไร แทนที่จะค้นหาคำตอบที่ "ถูกต้อง"
เพยี งข้อเดียว มองหาความเป็นไปไดม้ ากมาย ซ่ึงนี่คอื ที่มาของนวัตกรรม

2. ความอยากรู้อยากเห็นท่ไี ม่รจู้ ักพอ (Insatiable Curiosity) ตอ้ งมคี วามอยากรู้อยาก
เห็นโดยธรรมชาติที่จะกระตุ้นให้เกิดคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฉันรวมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน” หรือ
“ฉันจะกา้ วจาก A ไป B ไดง้ ่ายข้นึ ไดอ้ ยา่ งไร” หรอื จะทำสิง่ ต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งไร

3. ความหลงใหลที่ติดต่อไปยังคนอื่น (Infectious Passion) บุคคลท่ีมีความคิด
สรา้ งสรรค์ในเรอ่ื งใดเร่อื งหน่งึ จะตอ้ งรู้จกั แบ่งปนั ความคดิ สร้างสรรค์นน้ั กบั ผู้อื่นด้วย

4. ความแข็งแกร่ง (Stamina) คือ ต้องมีความพากเพียรที่จะสร้างนวัตกรรมไม่หลีกหนี
ความท้าทายแต่ใช้มนั เปน็ แรงผลกั ดันในการกา้ วตอ่ ไป

5. ความเป็นผู้นำที่น่าดึงดูดใจ (Compelling Leadership) นักนวัตกรรมจำเป็นต้องมี
ความสามารถรวบรวมทีมที่อยู่รอบตัวเอง โดยทำให้คนในทีมมีความกระตือรือร้นรู้สึกยินดีอย่างยิ่งท่ี
จะทำงานของตนเอง

6. ความเคารพต่อผู้สร้างนวัตกรรมรายอื่น (Respect for Other Innovators) การ
สนใจความคิดเหน็ หรือนวัตกรรมของผู้อืน่ จะช่วยให้ตนเองและทีมงานสร้างสรรค์ผลงานจนบรรลุผล
ได้

7. ความกล้าหาญ (Courage) กล้าที่จะเผชิญคำวิจารณ์ เพราะคนที่จะประสบ
ความสำเรจ็ คือคนทกี่ ล้าตอ่ สู้ตอ่ ไปแม้วา่ คนอืน่ จะวิจารณ์อยา่ งไร

35

โปรดทบทวนลักษณะหรอื คุณลักษณะของบุคคลท่ีมพี ฤติกรรมการทำงานเชงิ
นวตั กรรม จากทศั นะของ Newquist มสี าระสำคัญอะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดไู ด้จากเวบ็ ไซตข์ ้างลา่ งนี้

https://www.disruptorleague.com/blog/2015/03/13/7-characteristics-of-highly-successful-innovators/

Patel (2018) เป็นผปู้ ระกอบการ นักการตลาด และนักลงทุนต่อเน่ือง เป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์
สุขภาพ Penguin CBD กล่าวถึง 11 นิสัยที่พิสูจน์ได้ของคนที่มีนวัตกรรมสูง (11 Proven Habits of
Highly Innovative People) ได้แก่

1. ไล่ตามความหลงใหลของตนเอง (Pursue your Passions) คนที่มีความคิด
สร้างสรรค์จะมีแรงจูงใจจากภายใน ความปรารถนาภายในน้ีกระต้นุ ให้ต้องไล่ตามความฝนั แรงจูงใจที่
ขับเคลื่อนจากภายในจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพราะบุคคลนั้นปรารถนาจะทำงานให้ประสบ
ความสำเรจ็ ใช้หลักการสรา้ งแรงบนั ดาลใจจากภายในของความคิดสร้างสรรค์

2. บันทึกแนวคิดอย่างสม่ำเสมอ (Keep a Book of Ideas) คนที่ประสบความสำเร็จ
และมีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นคนจดบันทึก ชอบเขียนสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจังหวะของเสี้ยว
ความคดิ ทีเ่ กดิ แรงบันดาลใจหรอื แนวคดิ ท่ีน่าสนใจท่ีได้อา่ น เพอ่ื ให้ไดก้ ลบั ไปทบทวนในภายหลงั ได้

3. ขยายฐานความคิดของตนเองผ่านประสบการณ์และความรู้ (Expand your Mind
Through Experiences and Knowledge) คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการได้รับความรู้
ผา่ นการอ่านและศกึ ษาสง่ิ ใหม่ ๆ รวมถึงการเปดิ รบั ประสบการณ์ใหม่ โดยจะสามารถขยายความคิดได้
เมื่อรวมความรู้และประสบการณ์เข้าด้วยกัน ความสามารถในการยืดหยุ่นและเข้าใจแนวคิดท่ีซับซ้อน
ก็จะเพ่มิ ขึน้

4. ถามทกุ อย่าง (Question Everything) คนทเ่ี ปน็ นกั นวตั กรรมมักเป็นคนข้ีสงสยั ชอบ
ตั้งคำถามกับสมมติฐานมากมายที่คนอื่นยอมรับ ยิ่งคุณตั้งคำถามมากเท่าไหร่ จินตนาการก็จะยิ่งถูก
กระต้นุ ให้พจิ ารณาความเป็นไปได้อ่ืน ๆ มากขน้ึ เทา่ นั้น น่คี ือเหตผุ ลที่คนท่ีมคี วามคิดสร้างสรรค์มักจะ
สบื สวนและตรวจสอบส่ิงตา่ ง ๆ อยู่เสมอ เปน็ การเปดิ โอกาสให้ตนเองได้รบั โอกาสใหม่ๆ

36

5. สรา้ งสภาพแวดล้อมท่สี ร้างสรรค์ (Set up a Creative Environment) บรรยากาศ
รอบตัวมอี ทิ ธพิ ลต่อความสามารถของบุคคลในการเข้าถึงความคิดสร้างสรรค์ของตน คนที่มีนวัตกรรม
รู้ดีว่าองค์ประกอบใดที่จะกระตุ้นจนิ ตนาการของตน จึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมท่ีจะชว่ ย
กระต้นุ ความคิดสรา้ งสรรค์และปล่อยให้ความคิดไหลลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ

6. ปลดปล่อยตัวเองจากข้อจำกดั (Free Yourself of Constraints) ต้องขจดั ข้อจำกัด
ที่ปิดกั้นและโยนสมมติฐานเก่าและความเชื่อที่จำกัดตัวเองออกไป ซึ่งเกิดจากความกลัวของตนเอง
และอยู่ในรูปแบบของการปฏิเสธและข้อแก้ตัว ทุกครั้งที่พูดว่าทำไม่ได้จึงไม่ทำ เป็นการจำกัดตัวเอง
และหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง คนที่มีความคิดเป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริงจะมองหาวิธีที่จะเป็นอิสระมี
ความมั่นใจและกล้าท่ีจะกา้ วไปข้างหน้าและทา้ ทายตัวเองและโลกรอบตวั ต่อไปเร่ือยๆ

7. ฟูมฟกั กระบวนการที่สร้างสรรค์ (Nurture the Creative Process) คนทม่ี ีความคิด
ที่เป็นนวัตกรรมจะต้องปล่อยให้กระบวนการสร้างสรรค์ดำเนินไปตามวิถีทางของมัน โดยตระหนักว่า
ความคิดตอ้ งผา่ นระยะฟักตัว ผูท้ ม่ี ีนวตั กรรมจะจดั สรรเวลาในแต่ละสัปดาหเ์ พื่อระดมความคิดและทำ
สมาธิ ขน้ั ตอนน้เี ปน็ กญุ แจสู่กระบวนการสร้างสรรคแ์ ละช่วยให้ความคิดและแนวคิดได้รบั การขัดเกลา

8. มองหารูปแบบและความเชื่อมโยงอย่างไม่ลดละ (Relentlessly Look for
Patterns and Connections) คนที่มีนวัตกรรมจะมองหาความหมายตามลำดับของสิ่งต่าง ๆ
เพื่อให้เข้าใจมากขน้ึ วา่ ทำไมสงิ่ ตา่ ง ๆ ถึงเป็นอยา่ งทีเ่ ป็นอยแู่ ละจะปรบั ปรงุ ได้อย่างไร

9. จัดสรรเวลาให้กับหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจ (They Juggle Multiple Areas of
Interest) นักนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมต้องไม่มุ่งเน้นเฉพาะงานเดียว ต้องผลักดันตามความสนใจที่
หลากหลายน้ัน

10. ปรับปรุง ซ่อมและแยกสิ่งต่าง ๆ ออกจากกัน (They Tinker and Take Things
Apart) นกั นวตั กรรมต้องถูกผลักดันให้อยากเข้าใจว่าทุกอย่างทำงานอย่างไร พยายามทำความเข้าใจ
ว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ จึงทำงานในลกั ษณะทเี่ ปน็ เจาะลึกลงไปในส่วนประกอบท่ีรวมกนั ข้ึนเป็นสิง่ น้ัน โดย
สามารถเข้าใจไดว้ ่ามีการเชอื่ มตอ่ อย่างไรและจะปรับปรงุ ได้อยา่ งไร

โปรดทบทวนลักษณะหรือคุณลกั ษณะของบคุ คลท่ีมพี ฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม จากทัศนะของ Newquist มสี าระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลิก” ดูไดจ้ ากเว็บไซตข์ า้ งล่างน้ี

https://www.entrepreneur.com/article/313733

37

Hassi (2019) เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ ได้ให้ทัศนะ
เก่ียวกับ 12 ลกั ษณะของคนมีพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม มดี งั นี้

1. มีการไตร่ตรองอยา่ งต่อเนื่อง (Continuous Reflection) ผู้มีพฤติกรรมเชงิ นวัตกรรม
ท่ีมีการไตร่ตรองอยู่เสมอ คือ ชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิดและทิศทางของการทำงาน สังเกตเห็น
ข้อมลู ใหมๆ่ และส่งิ แวดลอ้ มรอบ ๆ ตวั อยา่ งไมร่ จู้ บ

2. การสำรวจแบบไม่ยึดติด (Unattached Exploration) ผู้ท่ียึดติดกับแนวคิดหน่ึง
มักจะไม่เปดิ ใจทจี่ ะปล่อยแนวคดิ นน้ั และลองทำอยา่ งใหม่ๆ ดังนัน้ ผทู้ ่ีมีแนวคดิ จะสร้างสรรค์ส่ิงใหม่ ๆ
ก็ไม่ควรยดึ ตดิ แบบเดมิ ๆ เปดิ กว้างเพ่อื สำรวจทิศทางท่เี ปน็ ไปได้ต่างๆ กอ่ นตัดสินใจเลอื ก

3. การทำความเข้าใจระหว่างการคิดเชิงนามธรรมกับความคิดที่เป็นรูปธรรม
(Iterating between Abstract and Concrete Thinking) บุคคลส่วนใหญ่มีปัญหาในการ
เปลี่ยนจากแนวคิดที่เป็นนามธรรมไปสู่รายละเอียดที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น บุคคลที่ชอบคิดเชิงแนวคิด
และการคดิ เชงิ ปฏิบตั ิร้จู กั เชอื่ มโยงระหว่างทัง้ สอง จะทำให้สามารถมองเห็นความไมแ่ นน่ อนในแนวคิด
และออกแบบการทำงานทดี่ ไี ด้

4. เน้นการลงมือทำ (Action-oriented) บุคคลที่มุ่งเน้นลงมือทำและผลักดันทมี ของตน
ให้เปลี่ยนจากการวางแผนการจัดการทดลองไปเป็นการสร้างต้นแบบและดำเนินการทดลอง มักจะ
ประสบผลสำเร็จ

5. เน้นมองหาโอกาส (Opportunity-focused) ผู้ที่เน้นมองหาโอกาสจะสามารถเห็น
โอกาสในสถานการณ์ต่างๆ และแบ่งปันเส้นทางที่เป็นไปได้ในงานต่างๆ กับทีมของตน ซึ่งมีบทบาท
สำคัญในการขับเคลื่อนทีมไปข้างหน้าสู่ความสำเร็จ เพราะคนที่ปรับตัวในทางบวกต่อความลำบากมี
แนวโน้มที่จะมีพฤตกิ รรมทเ่ี ปน็ นวัตกรรมมากกว่า

6. ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Mental Resilience) บุคคลที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจจะ
ช่วยให้บุคคลไดร้ ับขอ้ มลู ใหม่แม้เป็นข้อเสนอแนะเชงิ ลบ และยอมรับขอ้ มลู อยา่ งสร้างสรรค์

7. ความอ่อนนอ้ มถ่อมตนทางปัญญา (Intellectual Humility) ความอ่อนน้อมถ่อมตน
ทางปัญญาเป็นแกนหลักของนวัตกรรม บุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมจะมีความคิดที่ถ่อมตัวเมื่อ
เผชิญกับข้อมูลใหม่ และเปิดรับการเรียนรูโ้ ดยยอมรับการแบ่งปันความคิดเห็นทีอ่ าจทำให้ท้อใจ เป็น
การเปิดชอ่ งทางใหมๆ่ สำหรบั การพฒั นาทางเลือกอ่ืน

8. ความกล้าหาญ (Courage) บุคคลต้องกล้าเสนอแนวคิดที่ยังไม่สมบูรณ์เพื่อการ
สะท้อนผลโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอแนะที่ทันท่วงที ที่ต้องการให้บุคคลกล้ายอมรับฟังความ
คดิ เหน็ ของคนอ่ืน กล้าเผชญิ กบั ความเสีย่ งที่อาจจะถกู ปฏิเสธและล้มเหลว

38

9. การตอบสนองเร็วต่อความไม่แน่นอน (Sensitivity Towards Uncertainties)
บุคคลส่วนใหญ่ไม่มีปฏิกริ ิยาตอบสนองเรว็ ต่อความไม่แน่นอน ดังนั้นบุคคลส่วนใหญ่จึงต้องการความ
ช่วยเหลืออยา่ งต่อเน่ืองจากผูส้ อนเพื่อสังเกตความไม่แน่นอนก่อนที่จะดำเนินการออกแบบการทำงาน
ส่งผลใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงในการแก้ปัญหา

10. การออกแบบการทดลองที่มีคุณค่า (Designing Valuable Experiments) บุคคล
ต้องพยายามออกแบบการทดลองท่ีมีคณุ ค่า เพื่อให้รวดเรว็ และมุ่งเน้นในการสอน บุคคลจะได้รบั การ
ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการค้นพบการดำเนินการเร็วที่สุดที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ท่ี
จำเปน็ และกา้ วไปขา้ งหนา้

11. การสกัดการเรียนรู้ (Extracting Learning) บุคคลประสบปัญหาในการสกัดการ
เรียนรู้จากการทำงานกำลังที่ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรม บุคคลต้องให้ความ
สนใจกับขอ้ มูลหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคดิ ความคดิ เหน็ ที่มีความหมาย และวิธกี ารใชข้ ้อเสนอแนะเพื่อ
ปรบั ปรุงแนวคดิ เดมิ ๆ

12. การนำการเรียนรู้และการปรับแนวคิดไปใช้ (Implementing Learning and
Idea Adaptation) บุคคลที่มีแนวโน้มท่ีจะมีนวัตกรรม จะมีความสามารถในการสกัดการเรยี นรู้ท่มี ี
ความหมายและนำการเรียนรนู้ น้ั มาปรบั ความคดิ และพฒั นางาน

โปรดทบทวนลักษณะหรือคุณลกั ษณะของบคุ คลท่ีมพี ฤติกรรมการทำงานเชิง
นวตั กรรม จากทัศนะของ Newquist มีสาระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ ้างลา่ งน้ี

https://dobetter.esade.edu/en/characteristics-innovative-people

Source - http://www.sa.chula.ac.th/6-skills/

39

Day (n.d.) เปน็ นกั วชิ าการ ของประเทศสหรฐั อเมรกิ า ไดก้ ลา่ วว่า นกั นวตั กรรมคอื บุคคล
ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ประสบ
ความสำเรจ็ ดังนั้นคุณสมบัตเิ ชิงนวัตกรรมท่ีต้องมี คือ

1. การให้ความสำคัญกับนวัตกรรม (Valuing Innovation) นักนวัตกรรมต้องตระหนกั
วา่ นวัตกรรมเปน็ วิธีเดียวท่ีจะสามารถสร้างการแข่งขนั ได้อย่างแท้จริง และร้จู กั แบ่งปันความรู้กับผู้อ่ืน
เป็นผลให้ตนเองให้ความสำคัญกับนวตั กรรมและชว่ ยใหผ้ อู้ ืน่ ทำเช่นเดียวกันดว้ ย

2. ส่งเสริมให้กล้าที่จะเสี่ยง (Encourage Risk-Taking) นักนวัตกรรมต้องตระหนักว่า
การเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่สู่สังคมที่ก้าวหน้า นักนวัตกรรมจะสนับสนุนให้ผู้อื่นมี
ความอยากรอู้ ยากเหน็ และสง่ เสริมให้ยอมรับความเสี่ยงอยา่ งเป็นระบบ ด้วยการส่งเสรมิ ความคิดใหม่
ๆ และการเรยี นรจู้ ากความลม้ เหลว โดยมองวา่ เป็นโอกาสในการเตบิ โตมากกวา่ การลม้ เหลว

3. การสอนผูอ้ ื่น (Teaching Others) นักนวัตกรรมต้องตระหนักว่าแนวคิดใหม่และการ
นำไปปฏิบัตไิ ม่ควรเป็นเฉพาะของตนอง แต่จะต้องนำพาคนอื่นให้มนี วัตกรรมด้วย บุคลิกภาพของนกั
นวัตกรรมจะต้องสร้างทีมนักคิดที่ก้าวหน้า เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือ เมื่อมี
การแบง่ ปันแนวปฏิบัตทิ ี่ดีที่สดุ ของนวตั กรรมและความคดิ ในวงกวา้ ง องค์กรกจ็ ะได้รับประโยชน์

4. จะเริ่มต้นท่ีไหนก็ไดส้ ักที่ (Starting Somewhere) นักนวัตกรรมต้องตระหนักว่าไม่มี
ทางรู้ว่าแนวคิดใดที่ควรค่าแก่การดำเนินการต่อ จนกว่าจะได้ลองทำ ในการเป็นนักนวัตกรรมให้
เริ่มต้นด้วยแนวคิดท่ีตนเองมีและเปิดใจเรียนรู้เพิ่มเติม โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับนวัตกรรมใน
ปัจจุบัน ได้แก่ การปรับปรุงประสบการณ์ของบุคคล และมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ ผลงาน ชิ้นงานและ
บรกิ ารใหม่

5. การมองหารูปแบบในทุกๆ ที่ (Looking for Patterns Everywhere) นกั นวัตกรรม
มักจะมองหาวิธีแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ด้วยวิธีการมองหาตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบจากงานที่ประสบ
ผลสำเรจ็

6. คิดบวกอยู่เสมอ (Staying Positive) นักนวัตกรรมต้องมีทัศนคติที่ดี โดยไม่สรุปว่า
บางอย่างใช้ไม่ได้ผลเพียงเพราะไม่เคยทำแบบนั้นมาก่อน จึงต้องมองหาแนวคิดใหม่ๆ เพราะว่าถ้าทำ
ในสิ่งที่เคยทำมา ก็จะไดผ้ ลอยา่ งทเี่ คยไดร้ ับเสมอ

7. การสร้างแรงจูงใจให้เกดิ นวตั กรรม (Incentivizing Innovation) นกั นวตั กรรมต้อง
นำผู้อื่นมาอยู่ภายในทีมเพื่อสอนวิธีสร้างนวัตกรรม สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ที่เต็มใจที่จะสร้างสรรค์ส่ิง
ใหม่ ๆ โดยสรา้ งแรงจงู ใจทส่ี ง่ เสริมและให้รางวลั สำหรับบคุ คลทม่ี ีความคิดสรา้ งสรรค์นัน้ ๆ

40

8. การงานเป็นทีม (Being a Team Player) นักนวัตกรรมต้องตระหนักว่าการทำงาน
เปน็ ทีมจำเป็นตอ้ งมกี ารทำงานร่วมกันและพยายามอย่างเตม็ ที่ที่จะเป็นหน่งึ ในสมาชิกในทีม แทนที่จะ
อยูอ่ ยา่ งอิสระ โดยให้ความสำคญั กับแนวคิดทีว่ ่ารวมกันจะดีกว่า

9. การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกัน (Connecting and Collaborating) นัก
นวัตกรรมต้องต้องเข้าใจว่าความก้าวหน้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน โดย
การทำงานรว่ มกบั ผู้อนื่ เพ่ือทำให้เกิดแนวคิดตา่ งๆ ทเี่ กดิ ขึ้นจริง

10. ให้คุณค่ากับวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม (Valuing a Culture of Innovation) นัก
นวัตกรรมที่ดีต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมให้กระจายทั่วทั้งองค์กรเพื่อเพิ่มความสามารถด้าน
นวตั กรรมให้ได้สงู ขึ้น การมีวัฒนธรรมแหง่ นวัตกรรมไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรเท่าน้ัน แต่ยัง
เปน็ ประโยชนต์ อ่ สังคมโดยรวมด้วย

11. มจี นิ ตนาการ (Imagination) การประดิษฐ์คอื การแก้ปัญหา นักนวตั กรรมต้องเข้าใจ
ว่าทุกอย่างเริ่มต้นจากวิสัยทศั น์ว่าจะทำอย่างไรให้ส่ิงตา่ งๆ ง่ายขึ้น แทนที่จะเป็นปัญหา โดยมองเห็น
ความเปน็ ไปได้ เม่ือมีปญั หาจึงตอ้ งหาทางออกทสี่ รา้ งสรรค์

12. มีความอดทน (Patience) ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับนักนวัตกรรม ใช้ใน
การวเิ คราะหข์ ้อดีและข้อเสียทม่ี อี ยู่ เพอ่ื ใช้ในการตดั สนิ ใจทจี่ ะประดิษฐ์ผลงานแต่ละรายการ

13. มีความหลงใหล (Passion) ต้องมีความมุ่งมั่นในการทำลายอุปสรรคและการ
ปรับเปลีย่ นนวัตกรรมอย่างต่อเนอ่ื ง เพราะเปน็ ส่วนสำคัญในการมองเห็นแนวคดิ ท่ีจะออกดอกออกผล
ความหลงใหลเปน็ แรงผลักดนั ในการคน้ หาและขบั เคลื่อนไปสกู่ ารบรรลุเป้าหมายท่ตี ั้งไว้

14. ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) มุ่งมั่นที่จะแข่งขันเพราะจะช่วย
ใหเ้ กดิ ความสำเรจ็ มากขนึ้ โดยการแสวงหาวธิ ีใหมๆ่ อยู่เสมอเพ่ือแซงหน้าคแู่ ข่งและเป็นการได้พัฒนา
ตนเอง

โปรดทบทวนลักษณะหรอื คุณลักษณะของบุคคลที่มพี ฤติกรรมการทำงานเชงิ
นวตั กรรม จากทัศนะของ Newquist มีสาระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเวบ็ ไซต์ขา้ งลา่ งน้ี

https://ideascale.com/10-qualities-of-great-innovators/

41

สรุป จากทัศนะของ Oukes (2010), Bagley (2014), Newquist (2015), Patel (2018),
Hassi (2019) และ Day (n.d.) ดังกล่าวข้างต้น สามารถระบุลักษณะหรือคุณลักษณะของบุคคลที่มี
พฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรม ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงลักษณะหรือคณุ ลักษณะของบคุ คลท่ีมีพฤติกรรมการทำงานเชิงนวตั กรรม

ลกั ษณะหรือคณุ ลกั ษณะของบุคคล Hassi
ทีม่ พี ฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรม Bagley
Day
Newquist
Patel
Oukes

1. มกี ารคิดต่าง (Divergent Thinking) ✓

2. มที ศั นคตทิ ี่ดี (Staying Positive) ✓

3. มีความอดทน (Patience) ✓✓

4. เน้นการลงมือทำ (Action-oriented) ✓✓✓

5. มกี ารสกัดการเรยี นรู้ (Extracting Learning) ✓ ✓

6. การเป็นสมาชิกในทีม (Being a Team Player) ✓✓

7. มกี ลยทุ ธ์ดา้ นนวัตกรรม (Innovation Strategy) ✓

8. มกี ารไตรต่ รองอยา่ งต่อเนื่อง (Continuous Reflection) ✓ ✓ ✓

9. บนั ทกึ แนวคิดอยา่ งสม่ำเสมอ (Keep a Book of Ideas) ✓

10. เป็นผูน้ ำที่แท้จริง การสอนผูอ้ ื่น (Teaching Others) ✓✓✓ ✓

11. การให้ความสำคญั กับนวัตกรรม (Valuing Innovation) ✓✓ ✓

12. ความอ่อนนอ้ มถ่อมตนทางปัญญา (Intellectual Humility) ✓ ✓

13. กำหนดทิศทางเป้าหมายการเรยี นรู้ (Orienting Learning ✓

Goals)

14. กำหนดผลการดำเนนิ งานท่ีคาดหวงั (Determine the ✓

Expected Performance)

15. มคี วามอยากรู้อยากเห็นทไ่ี ม่รู้จักพอ (Insatiable Curiosity) ✓✓✓

16. การเช่อื มต่อและการทำงานร่วมกนั (Connecting and ✓✓

Collaborating)

42

ลกั ษณะหรือคุณลักษณะของบคุ คล Hassi
ท่ีมีพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรม Bagley
Day
Newquist
Patel
Oukes

17. ให้คณุ ค่ากับวฒั นธรรมแห่งนวัตกรรม (Valuing a Culture ✓✓ ✓

of Innovation)

18. การตอบสนองเรว็ ต่อความไม่แน่นอน (Sensitivity ✓

Towards Uncertainties)

19. ตอ้ งการมคี วามสามารถในการแขง่ ขัน (Competitiveness) ✓ ✓

20. มกี ารแลกเปลย่ี นระหวา่ งผ้นู ำกับสมาชิก ✓

21. ความเคารพตอ่ ผ้สู รา้ งนวัตกรรมรายอืน่ (Respect for ✓

Other Innovators)

22. การนำการเรียนรแู้ ละการปรับแนวคดิ ไปใช้ ✓ ✓✓

(Implementing Learning and Idea Adaptation)

23. สร้างแนวคดิ ใหมๆ่ ที่ตา่ งจากธรรมเนยี มเดมิ ✓✓✓✓✓

24. เนน้ มองหาโอกาส มองหารปู แบบในทุกๆ ท่ี (Opportunity- ✓ ✓ ✓ ✓

focused)

25. มีความยดื หยนุ่ ทางจิตใจ มุ่งม่ันท่ีจะสรา้ งความหลากหลาย ✓ ✓ ✓ ✓ ✓

(Mental Resilience)

26. การออกแบบการทดลองทม่ี คี ุณคา่ ฟูมฟักกระบวนการที่ ✓ ✓

สรา้ งสรรค์ (Nurture the Creative Process)

27. ความกล้าหาญ ทจี่ ะรับความเสีย่ งอยา่ งเปน็ ระบบ ส่งเสริม ✓ ✓ ✓ ✓

ใหก้ ล้าเสย่ี ง (Encourage Risk-taking)

28. การสำรวจแบบไมย่ ดึ ติด ทำส่ิงทแ่ี ตกต่างหรอื ทำส่งิ ท่ีไม่เคย ✓ ✓ ✓ ✓

ทำมาก่อน (Unattached Exploration)

29. การทำความเขา้ ใจระหวา่ งการคิดเชงิ นามธรรมกบั ความคิด ✓ ✓

ท่เี ป็นรูปธรรม (Iterating between Abstract and

Concrete Thinking)

30. มคี วามหลงใหล ในการทำลายอุปสรรคและการปรบั เปล่ียน ✓✓✓

นวัตกรรมอยา่ งต่อเนื่อง (Passion)

จากนานาทัศนะเกี่ยวกับลักษณะหรือคุณลักษณะของบุคคลที่มีพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวัตกรรม ดังกลา่ วขา้ งต้น ท่านเห็นวา่ มอี งคป์ ระกอบ (Elements) หรอื ตวั บ่งชี้ (Indicators) ท่ีสำคัญ
อะไรบา้ ง ทท่ี ำให้เขา้ ใจในลกั ษณะหรือคุณลักษณะของบุคคลนนั้ ได้อยา่ งกระชบั และชดั เจน โปรดระบุ
แนวคิดหรือองค์ประกอบนน้ั ในภาพทแ่ี สดงขา้ งล่าง

43

Bagley, R.O. (2014, January 15). The 10 traits of great innovators. Retrieved July 28,
2021 from https://www.forbes.com/sites/rebeccabagley/2014/01/15/the-10-
traits-of-great-innovators/?sh=3168f4b84bf4

Hassi, L. (2019, October 19). 12 characteristics of innovative people. Retrieved July
28, 2021 from https://dobetter.esade.edu/en/characteristics-innovative-
people

Jessica Day (n.d.). Characteristics of successful innovators and what are some traits
of a successful inventor?. Retrieved July 28, 2021 from
https://ideascale.com/10-qualities-of-great-innovators/

Newquist, E. (2015, March 13). 7 Characteristics of Highly Successful Innovators.
Retrieved July 28, 2021 from
https://www.disruptorleague.com/blog/2015/03/13/7-characteristics-of-highly-
successful-innovators/

Oukes, T. (2010). Innovative work behavior a case study at a tire manufacturer.
Master’s thesis, Business Administration, University of Twente.

Patel, D. (2018, June 6). 11 Proven Habits of Highly Innovative People. Retrieved July
28, 2021 from https://www.entrepreneur.com/article/313733

44

45

หลงั จากการศกึ ษาคมู่ ือชุดนี้แล้ว ทา่ นมพี ฒั นาการดา้ นพทุ ธิพสิ ัย (Cognitive Domain) ซ่ึง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจาํ แนกพฤตกิ รรมในขอบเขตน้ีออกเปน็ 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดังนี้

1. บอกคณุ สมบตั ิ จับคู่ เขยี นลำดบั อธิบาย บรรยาย ขดี เส้นใต้ จำแนก หรอื ระบุ อุปสรรค
และวิธกี ารเอาชนะอุปสรรคในการพฒั นาพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมได้

2. แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความ ยกตัวอยา่ ง บอกความแตกตา่ ง หรอื เรียบ
เรียง อุปสรรคและวิธีการเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเชิง
นวตั กรรมได้

3. แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือปรับปรุง
อุปสรรคและวธิ กี ารเอาชนะอปุ สรรคในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

4. แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกต่าง หรือบอกเหตุผล อุปสรรคและวิธีการ
เอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤตกิ รรมการทำงานเชงิ นวัตกรรมได้

5. วดั ผล เปรียบเทียบ ตีคา่ ลงความเหน็ วจิ ารณ์ อุปสรรคและวิธกี ารเอาชนะอุปสรรคในการ
พฒั นาพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมได้

6. รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สร้าง ประดิษฐ์ หรือวางหลักการ อุปสรรคและวิธีการ
เอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเชงิ นวตั กรรมได้

1. โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับอุปสรรคและวิธีการเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤติกรรม
การทำงานเชิงนวัตกรรม จากทัศนะทนี่ ำมากล่าวถงึ แตล่ ะทัศนะ

2. หลงั จากการศกึ ษาเนอ้ื หาโปรดทบทวนความเข้าใจจากคำถามท้ายเน้ือหาของแต่ละทัศนะ
3. ศึกษารายละเอียดของนยิ ามที่เปน็ ตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” เว็บไซตท์ ่นี ำเสนอ

ไว้ทา้ ยเน้ือหาของแต่ละทศั นะ

46

Sieczka (2011) เป็นผู้ก่อตั้ง Growing Great Ideas.com เว็บไซต์ทรัพยากรการ
ฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน ได้กล่าวถึง สาเหตุและผลกระทบ: อุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์และ
นวัตกรรม ว่าองค์กรส่วนใหญ่มีอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ ความคิด และนวัตกรรม บางอันก็
ชดั เจนในขณะทีบ่ างอันกล็ ะเอียดอ่อน อปุ สรรคบางประการเกิดจากทัศนคตแิ ละการรบั รู้ถึงภาวะผู้นำ
ขององค์กร ในขณะที่อุปสรรคอื่นๆ มาจากโครงสร้างองค์กรหรือแม้แต่จากตัวบุคลากรเอง เนื่องจาก
อปุ สรรคเหลา่ นี้มีแนวโน้มที่จะขจัดความเป็นไปไดใ้ นการสร้างสรรค์ออกจากองค์กร การระบุและขจัด
อุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การระบุ ตระหนัก และยอมรับว่า
อุปสรรคมีอยู่ องค์กรสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆได้ โดยเน้นกระบวนการคิดมากขึ้นโดยใช้กล
ยทุ ธง์ ่ายๆ

ไมม่ พี ลงั ขับเคลอ่ื น (Immovable Forces)
สาเหตุ : มีการต่อต้านแนวคิดและกระบวนการใหม่ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากธรรมชาติของ
มนุษย์จะรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิม จึงเกิดการ
ต่อต้านเพราะความคิดสร้างสรรค์ต้องยอมรับความไม่แน่นอนและอาจไม่เป็นไปตามผลลัพธ์ที่
ตัง้ เปา้ หมายไว้
ผลกระทบ : นิสัย ความเชื่อ และสมมติฐานแบบเก่า ทำให้เป็นปัญหาต่อการเปิดกว้างต่อ
แนวคิดใหม่ๆ และการเอาชนะการริเริ่มที่สร้างสรรค์หรือสร้างนวัตกรรม ถ้าสภาพที่เป็นอยู่ยังคงไม่มี
อะไรเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ : แบ่งปันความรู้ แนวคิดท่ีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสถานท่ี
ทำงานผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงในบริบทและเพื่อขจัดความคิดอุปาทาน
เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สร้างคลังแนวคิดเพื่อจัดหาทรัพยากรที่ทำให้คุ้นเคยกับ
ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ระบุและสื่อสารประโยชน์ของการนำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งสำหรับ
องคก์ รและตวั บุคคล เพอื่ ชว่ ยให้ได้รบั การยอมรับ
การตัดสนิ (Judgment)
สาเหตุ : ความกลวั ในความคดิ ใหม่ มกั ถกู แสดงออกมาเป็นการวิพากษ์วจิ ารณ์และบางคร้ัง
กใ็ ชว้ จิ ารณญาณทร่ี ุนแรง เยาะเยย้ และเห็นเปน็ เร่ืองตลก
ผลกระทบ : บคุ คลทมี่ คี วามลงั เลท่จี ะแบ่งปนั แนวคิดเพราะกังวลวา่ จะไมม่ ีใครชอบแนวคิด
น้ัน โดยกลัวการเยาะเย้ยหรอื ผลกระทบของความลม้ เหลวทีอ่ าจเกิดขึน้
ยุทธศาสตร์ : ใช้อุดมการณ์ที่ปราศจากการเยาะเย้ยภายในองค์กร เชิญและสนับสนุนให้
บุคลากรทุกคน ทุกระดับและทุกกลุ่มงาน มีส่วนร่วมกับความคิดริเริ่มเชิงนวัตกรรม สื่อสารความ

47

ล้มเหลวและขั้นตอนที่ผิดพลาดเป็นก้าวสำคัญสู่แนวทางการสร้าง ประดิษฐ์ผลงาน นวัตกรรม
ผลิตภณั ฑ์ และบรกิ ารใหม่

เลน่ ตามกฎ (Playing by the Rules)
สาเหตุ : นโยบายและขั้นตอนต่างๆ โครงสร้างองค์กรที่ไม่ยืดหยุ่นและเข้มงวด ประเพณี
และวัฒนธรรมการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ทำให้บุคลากรไม่มีส่วนร่วม ขัดขวางกระบวนการที่เป็น
นวตั กรรมหรือสรา้ งสรรค์
ผลกระทบ : สภาพแวดลอ้ มท่ีกดข่ี กดดนั เปน็ การบงั คับให้บุคลากรต้องปฏบิ ัติตามรูปแบบ
กฎเกณฑ์ และข้อจำกดั โดยธรรมชาตขิ องสถานะท่ีเป็นอยู่ สิง่ นี้ขดั ขวางความคิดสร้างสรรคแ์ ละแนวคิด
ใหม่ ๆ
กลยุทธ์: แม้ว่ากฎเกณฑ์บางอย่างจะมีความจำเป็น แต่กฎเกณฑ์ก็สามารถยับยั้งให้เกิด
นวัตกรรมและแนวคิดใหม่ๆได้ จึงควรพิจารณาว่ากฎเกณฑ์บางข้อ สามารถผ่อนปรน เปลี่ยนแปลง
ปรับปรงุ หรือตัดออก เพื่อใหก้ ระบวนการทางความคดิ เจรญิ ก้าวหนา้ ได้หรอื ไม่
การทำงานอยา่ งหนกั (Hard Work)
สาเหตุ : การนำแนวคิดจากการพัฒนาไปส่กู ารปฏบิ ัติ มักจะต้องใช้ความพยายามหรือเวลา
อย่างมากในการสร้างผลลัพธ์ขององค์กร ทำให้บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ต้องการอุทิศเวลาหรือความ
พยายามในการทำงานเพ่ือสร้างสรรคใ์ ห้เสรจ็ สมบูรณ์
ผลกระทบ : การคิดลบเกิดขน้ึ ก่อนท่จี ะเรม่ิ การทำงานต่างๆหรืองานการถูกยับย้ังก่อนท่ีจะ
เร่ิมตน้ ขนึ้ การขาดความเชื่อมั่นในผลลัพธ์ท่ีเป็นไปได้ของกระบวนการสรา้ งสรรค์ จะเป็นการขัดขวาง
หรอื ขจัดสง่ิ ท่ีอาจเปน็ แนวคดิ ท่ียิ่งใหญ่ตอ่ ไปได้อย่างง่ายดาย
กลยุทธ์ : การไปให้ไกลกว่าคำตอบที่รู้และมีอยู่แล้วและการให้เวลาเพื่อค้นหาคำตอบ
มากกว่าหนึ่งคำตอบนั้นต้องใช้ความพยายาม ส่งเสริมบุคลากรโดยทำให้เป็นการแข่งขันหรือแบ่ง
ความคดิ ริเริม่ ท่ใี หญเ่ ปน็ ชน้ิ เลก็ ช้ินนอ้ ยเพ่อื ใหจ้ ดั การได้ง่ายขน้ึ
ไมม่ ีกระบวนการ (No Process)
สาเหตุ : บุคลากรมคี วามคดิ และตอ้ งการแบง่ ปนั แต่ไมท่ ราบชอ่ งทางในการเสนอแนวคิด
ผลกระทบ : ประสบการณ์ในองค์กรที่ผ่านมาแสดงให้บุคลากรเห็นว่าแนวคิดที่ใส่ในกล่อง
ข้อเสนอแนะไม่เกิดผล ดงั นน้ั บุคลากรจึงไมส่ นท่ีจะเสนออะไรทั้งสิ้น เพราะรู้สึกวา่ ไมม่ ีเหตุผลท่ีจะต้อง
มีส่วนร่วม
กลยุทธ์ : ทำให้บุคลากรเสนอแนวคิดได้ง่ายผ่านช่องทางและเทคโนโลยีที่หลากหลายเพ่ือ
ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูล ให้ผู้นำรับทราบและช่ืนชมคุณค่าของความคิดแม้ว่าจะไม่สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ ถ้าความคิดได้ผล ก็นำไปพัฒนา
เข้าใจผิด (Misunderstanding)
สาเหตุ : บุคคลที่ไม่มีความสร้างสรรค์ในกระบวนการทำงานอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับงานท่ี
สร้างสรรค์ได้ บางคร้งั ผ้บู ริหารอาจมคี วามรเู้ พียงเล็กน้อยเกย่ี วกับประเภทของงานที่ใช้ในการผลิตงาน
สรา้ งสรรค์

48

ผลกระทบ : ความฝังใจท่ไี ม่ถูกต้องเก่ียวกับสิ่งท่ีสร้างสรรคอ์ าจส่งผลให้เกดิ ความขัดแย้งใน
ที่ทำงานที่ขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่สร้างสภาพแวดล้อม
การทำงานทไ่ี มเ่ ปน็ ท่พี งึ พอใจหรือทำงานไม่ได้สำหรบั บุคลากรบางคน

กลยุทธ์ : จัดหาโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้ใช่ความคิดสร้างสรรค์ จัดเตรียมบริบทสำหรบั
แนวคิดและนวัตกรรมภายในองค์กรด้วยตัวอย่างที่สร้างสรรค์ เสนอโอกาสการฝึกอบรมให้บุคลากร
คนุ้ เคยกบั ด้านท่สี ร้างสรรค์มากข้ึน

ผลกระทบของอุปสรรคภายในองค์กรอาจมีตั้งแต่การบ่อนทำลายที่ละเอียดอ่อนที่สุดของ
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ไปจนถึงการตีความความคิดสร้างสรรค์ท่ีผิดออกไป ไม่ว่าอุปสรรคจะเป็น
เช่นไร ก็สามารถทำลายกระบวนการทางความคิดและนวัตกรรมได้ อุปสรรคไม่เพียงแต่จะหยุด
บคุ ลากรไม่ให้มสี ว่ นร่วมเท่านน้ั แต่ยังทำให้องค์กรโดยรวมไม่พฒั นาไปขา้ งหนา้

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การระบุอุปสรรคที่สรา้ งสรรคด์ ้วยความเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติทีอ่ งค์กร
และบุคลากรจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ด้วยความพยายามอย่างมีสติในการก้าวข้ามสิ่งกีดขวางบน
ถนนแห่งการสร้างสรรค์ องค์กรสามารถรับส่วนลึกของความคิดสร้างสรรค์และเอาชนะอุปสรรค
เหล่าน้ีได้ ผลลัพธ์ทไ่ี ด้คือองคก์ รทมี่ นี วัตกรรม สร้างสรรค์ และเน้นแนวความคดิ มากขน้ึ

โปรดทบทวนอปุ สรรคและวธิ ีการเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤติกรรมการ
ทำงานเชงิ นวตั กรรม จากทศั นะของ Sieczka มสี าระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
หมายเหตุ : ศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดไู ด้จากเวบ็ ไซต์ขา้ งลา่ งนี้

https://trainingindustry.com/articles/strategy-alignment-and-planning/cause-and-effect-barriers-to-
creativity-and-innovation/

Source - http://www.oknation.net/blog/uptraining/2016/01/05/entry-1/comment

49

Tracy (2016) เป็นประธานและซีอีโอของ Brian Tracy International ซึ่งเป็นบริษัทท่ี
เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบคุ คลและองค์กร ได้กลา่ วถึง 6 อุปสรรคต่อความคิดสรา้ งสรรค์
และวธิ ีเอาชนะมนั ดงั นี้

1. ขาดการชี้นำจากตนเองหรือผู้อื่น ( Lack of Direction from Yourself or
Others) อุปสรรคประการแรกในการคิดเชิงสร้างสรรค์คือ การขาดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ท่ี
ชัดเจน ท่ไี ด้รบั การจดบันทึกควบคู่ไปกบั แผนปฏบิ ัตกิ ารท่ีลงรายละเอียดและเปน็ ลายลักษณ์อักษร

เมื่อบุคคลมีความชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการและวิธีที่จะบรรลุเป้าหมาย ความคิด
สรา้ งสรรค์ของบุคคลนน้ั กจ็ ะฟน้ื คืนข้ึนมา เรม่ิ เปลง่ ประกายดว้ ยแนวคดิ และข้อมูลเชิงลึกท่ีช่วยให้ก้าว
ไปขา้ งหนา้ และพัฒนาทักษะความคิดสรา้ งสรรคไ์ ด้ทันที

2. การกลัวความล้มเหลว (Being Afraid of Failure) อุปสรรคสำคัญประการที่สอง
ของการคิดเชงิ สร้างสรรคค์ อื ความกลัวความล้มเหลวหรอื การสูญเสยี

ก็คือความกลัวที่จะผิดพลาด หรือสูญเสียเงินหรือเวลาเมื่อเกิดขึ้น ให้คิดว่าถึงแม้คนเรา
ลม้ เหลวมานับคร้ังไม่ถว้ นในชีวิต แตม่ นั ก็ไม่ไดส้ รา้ งความเสยี หายถาวรให้กบั เราเสมอไป

มันคือความเป็นไปได้ของความล้มเหลว ความคาดหมายของความล้มเหลวที่ทำให้การ
กระทำเปน็ อัมพาต และกลายเปน็ สาเหตุหลักของความลม้ เหลวและการแก้ปญั หาท่ไี ม่ได้ผล

3. กลัวการถกู ปฏิเสธ (Being Afraid of Rejection) อุปสรรคสำคัญประการท่ีสามของ
การคิดเชงิ สรา้ งสรรค์คอื ความกลวั การวจิ ารณ์ ความกลวั การเยาะเยย้ การดูถกู หรอื การปฏเิ สธ

เป็นการกลัวที่ฟังหรือดูโง่เขลา สิ่งนี้เกิดขึ้นจากความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นชอบและ
เห็นชอบ แม้กระทง่ั คนที่ตวั เราไม่รูจ้ ักหรอื ไม่สนใจ ผลกค็ ือเรามักตัดสินใจว่า “ถ้าเราตอ้ งการก้าวหน้า
ก็ตอ้ งทำตามคนอนื่ ”

ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตที่ยังไม่บรรลุความสำเร็จเพราะกลัวที่จะพยายามเสนอตัวเองหรือ
แนวคิดเพ่อื ความสำเร็จ

กลัวที่จะขอให้ใครสักคนซื้อหรือลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน อันเป็นผลมาจาก
ความกลวั ทีจ่ ะถูกปฏเิ สธและวพิ ากษว์ จิ ารณ์

4. ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ( Never Changing or
Adapting to the Situation) อปุ สรรคสำคญั ต่อการคิดเชิงสร้างสรรค์เรยี กว่า "สภาวะสมดลุ " น่คี อื
จิตใตส้ ำนึกที่ปรารถนาอยา่ งลกึ ซึ้งที่จะคงไวซ้ ึง่ ความสอดคล้องกบั สิง่ ท่ีตนเองทำหรือพดู ในอดีต

เป็นความกลัวที่จะทำหรือพูดสิ่งใหม่หรือแตกต่างจากสิ่งที่เคยทำมาก่อน แรงกระตุ้นจาก
สภาวะสมดุลนี้ทำให้บุคคลไม่สามารถเป็นสิ่งท่ีตนเองสามารถเป็นได้และกีดกันตนเองจากการบรรลุ
ความสำเร็จ เป็นแรงกดดันนำบุคคลกลับไปทำสงิ่ ที่คุณเคยทำมาตลอดโดยไม่รู้ตวั กลายเป็นความเคย

50

ชินท่ียึดติดอยู่ ความคืบหน้าทั้งหมดหยุดลง ในเวลาไม่นาน เพราะหาเหตุผลเข้าขา้ งตนเองเพือ่ พิสูจน์
ว่าจะไมเ่ ปลี่ยนแปลง

5. ไม่มีการคิดเชิงรุก (Not Thinking Proactively) อุปสรรคประการที่ห้าของการคิด
เชิงสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จคือ การอยู่เฉย ถ้าคนเราไม่กระตุ้นความคิดของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ด้วยแนวคิดและข้อมูลใหม่ ๆ ความคิดเราจะสูญเสียกำลังใจและพลังงานไป เหมือนกับกล้ามเนื้อท่ี
ไม่ได้ออกกำลงั กาย

แทนท่จี ะคิดเชงิ รกุ และสรา้ งสรรค์ ความคิดจะเฉยเมยและเปน็ ไปโดยอตั โนมัติ
สาเหตุหลักของการคิดแบบเฉยเมยคืองานประจำ คนส่วนใหญ่ตื่นนอนเวลาเดิมทุกเช้า
ทำงานเหมอื นเดิม พบปะสงั สรรคก์ ับคนกลุม่ เดิมในตอนเย็น และดรู ายการโทรทัศนเ์ ร่ืองเดียวกนั
ผลที่ตามมาของการไม่มีความท้าทายจิตใจอย่างต่อเนื่อง จึงกลายเป็นคนทื่อและพึงพอใจ
เท่าที่มี หากมีคนเสนอแนะหรือเสนอแนวคดิ ใหม่หรือวธิ ีการทำส่ิงต่าง ๆ มกั จะตอบโต้ด้วยการปฏิเสธ
และท้อแท้ ในไม่ช้าก็เริ่มรู้สึกถูกคุกคามจากข้อเสนอแนะของการเปลี่ยนแปลงจากส่ิงที่เคยทำมาใน
อดตี
6. เป็นคนหาเหตผุ ลเข้าข้างตนเองและไม่เคยปรับปรงุ (You Rationalize and Never
Improve) อุปสรรคที่หกของการคิดอย่างสร้างสรรค์คือ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง การเป็นคนมี
เหตุมผี ลหมายความว่า การใช้ความคิดของตนเองอยา่ งต่อเน่ืองเพอ่ื อธิบายสิ่งต่างๆเกี่ยวกับโลกใบน้ีให้
ตวั เองฟัง เพ่อื ใหเ้ ขา้ ใจไดด้ ขี ึ้นและรู้สกึ ปลอดภัยมากขนึ้ กลา่ วอีกนัยหน่งึ คอื ไม่ว่าตนเองจะตัดสินใจทำ
หรือไม่ทำ จะมีเหตผุ ลที่ดสี ำหรับการตัดสินใจอย่างรวดเรว็
การตัดสินใจอยา่ งมเี หตุผลทำให้ไม่สามารถเรียนรทู้ ่ีจะปรับปรงุ ประสิทธิภาพได้
ยิ่งเราคิดหาวิธีสร้างสรรค์ในการแก้ปญั หาในชีวิตประจำวันและการทำงานทีม่ ีความสำคญั
และหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไร คุณก็จะประสบความสำเร็จ
มากข้ึนเท่านัน้

โปรดทบทวนอุปสรรคและวธิ กี ารเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาพฤติกรรมการ
ทำงานเชิงนวัตกรรม จากทศั นะของ Tracy มีสาระสำคญั อะไร?
…………………………………………………………………………………………….......................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................

หมายเหตุ : ศึกษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเว็บไซต์ข้างล่างนี้

https://www.entrepreneur.com/article/282960


Click to View FlipBook Version