The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมเล่มวิจัย 5 บท นางสาวณัฐริกา โตจิต_บริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mind.ntrk19, 2023-11-10 06:59:56

รวมเล่มวิจัย 5 บท นางสาวณัฐริกา โตจิต_บริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด

รวมเล่มวิจัย 5 บท นางสาวณัฐริกา โตจิต_บริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด

การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด นางสาวณัฐริกา โตจิต รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี


การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด นางสาวณัฐริกา โตจิต รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี


ชื่อเรื่อง การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ชื่อนักศึกษา นางสาวณัฐริกา โตจิต รหัสประจำตัวนักศึกษา 116310509502-5 ปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา รายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการสอบวิจัย ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ อาจารย์ที่ปรึกษา ……………………………………………………. ( ดร.วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา ) รายงานวิจัยนี้ได้รับพิจารณาเห็นชอบโดย ประธานกรรมการ ………………………………………………….. ( ผศ.ดร.พุทธิวัต สิงห์ดง ) กรรมการ ………………………………………………………………. ( ดร.ชาริณี พลวุฒิ) ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี


ก ชื่อเรื่อง การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ชื่อนักศึกษา นางสาวณัฐริกา โตจิต รหัสประจำตัวนักศึกษา 116310509502-5 ปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารคลังสินค้า และระบุสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการหาและหยิบสินค้า 2) เพื่อเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงกระบวนการและตำแหน่งในการจัดเก็บภายในคลังสินค้า 3) เพื่อทำการเปรียบเทียบตำแหน่ง การจัดเก็บสินค้าและระยะเวลาในการหยิบสินค้าก่อนและหลังการปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ หัวหน้าคลังสินค้า และพนักงานคลังสินค้า จำนวน 3 คน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่าจากข้อมูลอัตราการหมุนเวียนสินค้าย้อนหลัง 6 เดือน โดยเรียงลำดับ สินค้าที่มีอัตราการหมุนเวียนจากสูงไปต่ำ สินค้ากลุ่ม F มีทั้งหมด 28 รายการ มีอัตราการหมุนเวียน สินค้า อยู่ที่ 79.45% มีปริมาณรายการสินค้า อยู่ที่ 22.73% ของปริมาณรายการสินค้าทั้งหมด กลุ่ม S มีทั้งหมด 30 รายการ มีอัตราการหมุนเวียนสินค้า อยู่ที่ 16.03% มีปริมาณรายการสินค้า อยู่ที่ 25.45% ของปริมาณรายการสินค้าทั้งหมด กลุ่ม N มีทั้งหมด 52 รายการ มีอัตราการหมุนเวียนสินค้า อยู่ที่ 4.52% มีปริมาณรายการสินค้า อยู่ที่ 51.82% ของปริมาณรายการสินค้าทั้งหมด โดยใช้ค่าเฉลี่ย รวมทั้งหมด 10 ครั้ง ที่ทำการหยิบสินค้า ทั้งก่อนหยิบสินค้าและหลังหยิบสินค้ามาเปรียบเทียบกัน ผล ที่ได้คือ ก่อนทำการจัดเรียงสินค้าแบบการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) ใช้เวลาในการเดิน หยิบสินค้าเฉลี่ย 274.9 วินาทีและผลหลังจากที่มีการจัดเรียงสินค้าแบบการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) ใช้เวลาในการเดินหยิบสินค้าเฉลี่ย 124.6 วินาทีลดลง 150.3 วินาทีหรือ 2 นาที 30 วินาที ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการหยิบสินค้าและสามารถลดระยะทางในการเดินหยิบ สินค้าได้ คำสำคัญ : การเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการคลังสินค้า การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น


ข Independent Study Title Study of ways to increase warehouse management efficiency Case study of the establishment of the Landco Sport And Musical Company Name-Surname Miss Nattharika Tochit Major Subject Logistics and Supply Chain Management Academic Year 2023 Independent Study Advisor Mr.Varangkoon Issaragura Na Ayuthaya ABSTRACT The purpose of this research is to study 1) to study the warehouse management process and identify the causes of problems affecting the timing of finding and picking products. 2) To propose guidelines for improving the process and storage position. Within the warehouse 3) to compare the storage location and the time it takes to pick up the product before and after the improvement of the storage location The sample used in this research is the warehouse head. And 3 warehouse employees using in-depth interviews (In-depth Interview) The results show that from the 6-month product turnover data, in order of products with high to low turnover rates, Group F products have a total of 28 items, with a turnover rate of 79.45%, with a product volume of 22.73% of the total product volume, Group S has a total of 30 items with a turnover rate of 16.03%. The product volume is 25.45% of the total product volume. Group N has a total of 52 items. The product turnover rate is 4.52% The product volume is 51.82% of the total product quantity by using a total average of 10 times when picking products both before picking up the product and after picking the product together. The result is that before sorting the product, take an average of 274.9 seconds to walk and the result after the product arrangement takes time to walk, pick up the product on average 124.6 seconds, reduce 150.3 seconds or 2 minutes 30 seconds, allowing it to increase the efficiency of picking the product and reduce the distance of walking the product Keywords: Optimization, Warehouse management, FSN Analysis


ค กิตติกรรมประกาศ การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้สำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณา และความ อนุเคราะห์จากบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ที่ได้ช่วยให้คำแนะนำและเปิดโอกาส ให้ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษารวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์จนเกิดเป็นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอขอบคุณบริษัทกรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัดที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณ ดร.วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ และเสนอแนะแนวทางอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.พุทธิวัต สิงห์ดง ประธานกรรมการสอบและ ดร.ชาริณีพลวุฒิ คณะกรรมการสอบและตรวจสอบความถูกต้องของงานวิจัย พร้อมทั้งการให้คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้ งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเสียสละเวลาในการเป็นกรรมการสอบในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่และครอบครัวที่ได้ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนในการทำการ วิจัยตลอดจนสนับสนุนในด้านทุนทรัพย์จนทำให้วิทยานิพนธ์เล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีตลอดมา สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานค้นคว้าฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ หาก การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ขาดตกบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ประการใด ผู้วิจัยขอกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย ณัฐริกา โตจิต


ง สารบัญ บทคัดย่อภาษาไทย ก บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญตาราง ฉ สารบัญภาพ ช บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย 2 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 3 1.5 นิยามศัพท์ 3 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 2.1 บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด 5 2.2 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) 7 2.3 ลักษณะของกิจกรรมหลักของคลังสินค้า (Warehouse Activities) 8 2.4 กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า 9 2.5 การหยิบสินค้า 13 2.6 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 15 2.7 แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) 17 2.8 แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) 19 2.9 การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) 22 2.10 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) 26 2.11 วิจัยที่เกี่ยวข้อง 30


จ สารบัญ (ต่อ) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 32 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 32 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 33 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 33 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 34 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 35 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 36 4.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 36 4.2 กระบวนการทำงานโดยใช้แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) 39 4.3 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าโดยแผนผังก้างปลา 42 (Fishbone Diagram) 4.4 การประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีเอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) เพื่อปรับปรุง 46 4.5 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) 52 บทที่ 5 สรุปผลงานวิจัย 54 5.1 สรุปผลการศึกษา 54 5.2 อภิปรายผลการวิจัย 57 5.3 ข้อจำกัดในการทำวิจัย 58 5.4 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการทำวิจัย 59 5.5 ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องในอนาคต 59 บรรณานุกรม 60 ภาคผนวก ก 62 ภาคผนวก ข 67 ภาคผนวก ค 72 ประวัติผู้เขียน 91


ฉ สารบัญตาราง ตาราง ตารางที่ 2.1 แสดงระบบจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ (Informal System) 10 ตารางที่ 2.2 แสดงระบบจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว 10 (Fixed Location System) ตารางที่ 2.3 แสดงระบบจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) 11 ตารางที่ 2.4 แสดงระบบจัดการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า 12 (Commodity System) ตารางที่ 2.5 แสดงระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว 12 (Random Location System) ตารางที่ 2.6 แสดงระบบการจัดเก็บแบบผสม (Combination System) 13 ตารางที่ 2.7 การจำแนกกลุ่มด้วยสินค้าคงคลังโดยการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) 25 ตารางที่ 4.1 แสดงปัญหาการจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบด้านพนักงานและวิธีการแก้ไข 44 ตารางที่ 4.2 แสดงปัญหาการจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบด้านอุปกรณ์การทำงาน 45 และวิธีการแก้ไข ตารางที่ 4.3 แสดงปัญหาการจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบด้านขั้นตอนการทำงาน 45 และวิธีการแก้ไข ตารางที่ 4.4 ตารางเกณฑ์การแบ่งกลุ่มสินค้าโดยการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) 46 ตารางที่ 4.5 ตารางสรุปผลการแบ่งกลุ่มสินค้าโดยการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) 47 ตารางที่ 4.6 ตารางแสดงเวลาเฉลี่ยการจับเวลาทุกขั้นตอน ก่อนและหลังปรับปรุงเอฟเอสเอ็น 50 (FSN Analysis) ตาราง 4.7 เปรียบเทียบระยะเวลาการหยิบสินค้าจากการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น 50 (FSN Analysis) ตาราง 4.8 ตารางแสดงเวลาเฉลี่ยการจับเวลาขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนและหลังปรับปรุง 51 เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis)


ช สารบัญภาพ ภาพ ภาพที่ 2.1 สัญลักษณ์ของบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด 6 ภาพที่ 2.2 นโยบาย ISO ของบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด 7 ภาพที่ 2.3 วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 16 ภาพที่ 2.4 แสดงสัญลักษณ์ ชื่อเรียก และคำจำกัดความของ Flow Process Chart 18 ภาพที่ 2.5 แสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา (Fishbone Diagram) 20 ภาพที่ 2.6 การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis) 24 ภาพที่ 2.7 ตัวอย่างสัญลักษณ์ความปลอดภัยแบบต่าง ๆ 26 ภาพที่ 2.8 ตัวอย่างป้ายบอกประเภทราคาสินค้าต่าง ๆ 27 ภาพที่ 2.9 ตัวอย่างขีดบอกระดับสูงสูดอายุการใช้งาน 27 ภาพที่ 2.10 ตัวอย่างป้ายโฆษณา 28 ภาพที่ 2.11 ตัวอย่างกราฟแสดงผลการปฏิบัติงานของแต่ละแผนก 28 ภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 32 ภาพที่ 4.1 ข้อมูลการสัมภาษณ์หัวหน้าคลังสินค้า 36 ภาพที่ 4.2 ข้อมูลการสัมภาษณ์พนักงานคลังสินค้าคนที่ 1 37 ภาพที่ 4.3 ข้อมูลการสัมภาษณ์พนักงานคลังสินค้าคนที่ 2 38 ภาพที่ 4.4 แสดงขั้นตอนการทำงานภายในคลังสินค้าก่อนปรับปรุง 39 ภาพที่ 4.5 แผนภูมิการไหลกระบวนการทำงานหลังปรับปรุง 40 ภาพที่ 4.6 แผนภูมิการไหลกระบวนการทำงานเปรียบเทียบระยะเวลาก่อน-หลังปรับปรุง 41 ภาพที่ 4.7 แผนผังก้างปลาแสดงการใช้ระยะเวลาในการหยิบสินค้านาน 42 ภาพที่ 4.8 Plan Layout คลังสินค้า ASB ชั้น M 48 ภาพที่ 4.9 แผนภาพคลังสินค้าก่อนปรับปรุง 48 ภาพที่ 4.10 แผนภาพคลังสินค้าหลังปรับปรุง 49 ภาพที่ 4.11 กราฟเปรียบเทียบการหยิบสินค้าก่อนและหลังปรับปรุง 51 ภาพที่ 4.12 แสดงการติดสัญลักษณ์สินค้าหน้าแถว 52 ภาพที่ 4.13 แสดงการติดธงสีเขียวหน้าแถว 53


1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันคลังสินค้าเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทานของการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค และเมื่อ พิจารณาถึงการจัดการในคลังสินค้าจะเห็นได้ว่าในอุตสาหกรรมจนถึงร้านค้าขนาดเล็กต่าง ๆ ยังพบ ปัญหาในการบริหารคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ให้การจัดเก็บสินค้า การรวบรวมสินค้า การแบ่งจ่าย สินค้า เป็นต้น การจัดการสินค้าคงคลังเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการรองรับสินค้า เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและทันเวลา เมื่อมีการบริหารจัดการสินค้าในคลังสินค้าที่มีความ เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ การจัดการสินค้าคงคลังจึงเป็นประเด็นหลักของธุรกิจ โดยการจัดการสินค้าคง คลังประกอบด้วย การดูแล การวางแผน และจัดการสินค้าที่ยังไม่ได้ขาย หรือสินค้าคงคลัง วัตถุดิบ และสต๊อกสินค้า โดยที่เป้าหมายของการบริหารสินค้าคงคลัง คือการดูการไหลเวียนของสินค้าจาก กระบวนการผลิตไปยังกระบวนการจัดเก็บ จนไปถึงกระบวนการจำหน่าย การจัดการสินค้าคงคลัง โดยทั่วไปหน้าที่ของสินค้าคงคลังคือ รักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากการสั่งซื้อ จำนวนมาก ๆ เป็นการลดต้นทุน การใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสินค้าคงคลังก็ ถือเป็นต้นทุนโดยตรง บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์มิวสิคเคิล จำกัด ก่อตั้งขึ้นใน เดือนเมษายน พ.ศ.2521 เริ่มต้น เมื่อคุณยิ่งยง อาทิภาณุ เริ่มเข้าสู่วงการกีฬาตั้งแต่ปีพ.ศ.2508 โดยทำกิจการเกี่ยวกับเครื่องดนตรีและ อุปกรณ์กีฬา หลังจากมีประสบการณ์ 14 ปี บริษัทได้เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ได้เป็นเพียงการ ซื้อขายกับแบรนด์กำไรต่ำแต่ยังออกแบบและผลิตเครื่องกีฬาเอง เช่น ลูกหวาย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์และ บริการต่าง ๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนครอบคลุมตั้งแต่สินค้ากีฬา เครื่องดนตรี เครื่องเขียน อุปกรณ์ ตั้งแคมป์ อุปกรณ์ฟิตเนส ไปจนถึงอุปกรณ์ตกปลา ให้กับลูกค้าทั่วประเทศ โดยบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์มิวสิคเคิล จำกัด เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่น่าเชื่อถือที่สุดกับร้านค้า โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า แพลตฟอร์มออนไลน์ และหน่วยงานราชการทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังจัดหาสินค้าและบริการให้กับ ธุรกิจอื่น (Supplier) ที่ได้รับความไว้วางใจในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทั้งใน ประเทศไทยและต่างประเทศ (Landco Sport and Musical Co., Ltd, 2559 : ออนไลน์) ผู้จัดทำวิจัยได้ศึกษาระบบการทำงานภายในคลังสินค้า ASB ชั้น M โดยทำหน้าที่ตรวจเช็ค สต๊อกสินค้าและจัดสินค้าในคลังสินค้า เพื่อนำสินค้าไปตรวจสอบและทำการจัดส่งให้หน่วยงานถัดไป


2 เพื่อที่จะจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยปัญหาที่พบคือการบริหารคลังสินค้า บุคลากรภายในคลังสินค้ามี ไม่เพียงพอ และการหยิบสินค้าใช้ระยะเวลานานในการค้นหาและหยิบสินค้า เนื่องจากมีการจัดเก็บ สินค้าไม่ถูกตำแหน่ง ไม่มีการติดป้ายระบุสินค้า รวมไปถึงการจัดเก็บสินค้าที่เป็นสินค้าที่มีการหยิบ บ่อยแต่มีระยะทางในการเดินไปหยิบสินค้าไกล ทำให้เกิดความสูญเปล่าของระยะเวลาในการหยิบ สินค้าและสิ้นเปลืองพลังงานของพนักงาน โดยทั่วไปการจัดการคลังสินค้าไม่เป็นเพียงแค่การมองเรื่อง ของการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ซึ่งความรวดเร็วก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจอีกด้วย และยัง มีกิจกรรมการหยิบสินค้าซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลามากที่สุดในทุก ๆ กิจกรรม ดังนั้นเพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า ผู้วิจัยจึงสนใจ ต้องการศึกษาสภาพปัญหา กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์มิวสิคเคิล จำกัด โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการจัดแบ่งสินค้าตามการเคลื่อนไหวของ สินค้าในการใช้ เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข และลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการคลังสินค้า การจัดเก็บสินค้า รวมไปถึงการหยิบสินค้า วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารคลังสินค้าและระบุสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อ ระยะเวลาในการหาและหยิบสินค้าภายในคลังสินค้าของบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิว สิคเคิล จำกัด 2. เพื่อทำการเปรียบเทียบตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าและระยะเวลาในการหยิบสินค้าก่อนและ หลังการปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า 3. เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการและตำแหน่งในการจัดเก็บภายในคลังสินค้า ของบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางแก้ไขและบริหารจัดการ คลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 2. เพื่อนำผลการประยุกต์ใช้ FSN Analysis ไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการ คลังสินค้า 3. สามารถลดระยะเวลาในการหาสินค้าและหยิบสินค้าได้


3 ขอบเขตงานวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์และจับเวลาผู้ปฏิบัติงานใน แผนกคลังสินค้าและการสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องภายในคลังสินค้าในกระบวนการหยิบสินค้า ได้แก่ ระยะทางการหยิบสินค้า ระยะเวลาการหยิบสินค้า และตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลในระบบของบริษัท ได้แก่ ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า และแผนผังคลังสินค้า และรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย บทความเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 2. ขอบเขตด้านเวลา ภาคปีการศึกษาที่ 4/1 ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2566 – 27 ตุลาคม พ.ศ.2566 3. ขอบเขตด้านสถานที่ คลังสินค้า ASB ชั้น M บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด นิยามศัพท์เฉพาะ 1. Rack หมายถึงชั้นวางสินค้าขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับน้ำหนักของสินค้าได้ 1,000 กิโลกรัม ต่อพาเลท ซึ่งเหมาะกับคลังสินค้าทั่วไป 2. Location code หมายถึงรหัสของตำแหน่งบนชั้นวาง 3. Item code หมายถึงรหัสของสินค้าหรือชิ้นงานที่จัดเก็บในคลังสินค้างานวิจัยคลังสินค้า 4. Pick Slip หมายถึงใบเตรียมสินค้า 5. คลังสินค้า หมายถึงสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง สถานที่ใช้ในการ เก็บรักษาสินค้า วัตถุดับหรือสิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของกระบวนการ Supply Chain ให้อยู่ในสภาพและคุณภาพที่พร้อมจะนำส่งมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่ร้องขอ โดยอาจเรียกเป็นชื่ออื่น ๆ เช่น คลังสินค้า โกดัง ที่เก็บของ ที่เก็บสินค้า คลัง พัสดุ 6. การจัดการสินค้าคงคลัง หมายถึง การเก็บทรัพยากรไว้ใช้ในปัจจุบันหรือในอนาคต เพื่อให้ การดำเนินการของกิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนกำหนดปริมาณสินค้าคง คลังที่เหมาะสม การรักษาจำนวนสินค้าให้ถูกต้องตามสถานการณ์ คำว่า “สินค้า” ไม่ได้ หมายความเฉพาะผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังร่วมถึงวัตถุดิบ ชิ้นส่วน เครื่องมืออุปกรณ์และอื่น ๆ ที่มีมูลค่าทางการเงิน การจัดการสินค้าคงคลังมีความสำคัญในการทำธุรกิจและสามารถแบ่ง ออกได้เป็นการจัดการสต็อกและสินค้าคงคลัง


4 7. การจัดเก็บสินค้า หมายถึง การจัดระเบียบ การจัดวางสินค้าไว้ในสินค้าคงคลังเพื่อให้สินค้า พร้อมสำหรับกระบวนการผลิตหรือเพื่อจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าได้สะดวกรวดเร็ว และการ ดูแลรักษาสินค้าไว้ในพื้นที่เก็บรักษาของสิ่งอำนวยดวามสะดวกแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลัง เก็บสินค้าโรงเก็บสินค้า หรือพื้นที่เก็บสินค้ากลางแจ้ง ให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับ การจัดส่งสินค้านั้นออกไปเพื่อการจำหน่ายหรือการใช้ตามความมุ่งหมายของสินค้านั้น 8. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือเจาะลึกลงรายละเอียดรายบุคคล ทำให้ได้ ข้อมูลที่ลงลึกถึงพฤติกรรมทัศนคติมุมมองความคิดเห็น ความเชื่อความคิดความต้องการ ความรู้สึก ความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านที่ถนัด 9. แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) คือการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิตที่ กระบวนการเป็นส่วนสำคัญในการที่จะหาสาเหตุของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงต้องทำการ สร้างแผนภาพ 10. แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) หรือเรียกเป็นทางการว่าแผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) เป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem) กับ สาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น 11. การวิเคราะห์ FSN มาจากรายการสินค้าที่เคลื่อนไหวเร็ว (Fast moving) เคลื่อนไหวช้า (Slow moving) และรายการสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Non-moving) เพื่อพิจารณาปริมาณ รายการสินค้าที่อัตราการใช้งานและความถี่ในการใช้งาน เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผัง การจัดเก็บสินค้าให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ 12. การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เป็นระบบการควบคุมการทำงานให้พนักงาน ทุกคนสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงาน เป้าหมาย ผลลัพธ์การทำงานได้ง่ายและชัดเจน รวมถึงเห็นการผิดปกติต่าง ๆ และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้บอร์ด ป้าย สัญลักษณ์สีและ อื่น ๆ เพื่อสื่อสารให้พนักงานทราบถึงข้อมูล ข่าวสารที่สำคัญของสถานที่ทำงาน 13. การหยิบของ (Picking) หมายถึง การดึงผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบจากพื้นที่จัดเก็บเพื่อนำไปสู่ การมอบหมายให้ลูกค้าหรือผู้ที่ต้องการใช้งาน


5 บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการ บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ศึกษา โดยมีเนื้อหาดังนี้ 2.1 บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด 2.2 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) 2.3 ลักษณะของกิจกรรมหลักของคลังสินค้า (Warehouse Activities) 2.4 กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า 2.5 การหยิบสินค้า 2.6 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2.7 แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) 2.8 แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) 2.9 การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) 2.10 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด เดิมมีชื่อว่า ร้านยิ่งยงสปอร์ต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2521 โดยคุณยิ่งยง อาทิภาณุ ดำเนินธุรกิจประเภทซื้อมา-ขายไปในผลิตภัณฑ์ สินค้ากีฬาและเครื่องดนตรี อุปกรณ์ออกกำลังกายและอุปกรณ์เดินป่า ต่อมาในปี พ.ศ.2529 คุณยิ่งยง อาทินภาณุจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2529 ดำเนินธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก โดยเป็นผู้ติดต่อหา แหล่งสินค้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และติดต่อผู้ประกอบการร้านค้าในทุกภูมิภาคของ ประเทศ ในการกระจายสินค้าด้วยการบริหารงานด้วยความใส่ใจลูกค้า และมุ่งมั่นพัฒนาการด้าน บริหารหลังการขายด้วยดีทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าออกไปได้ทั่วประเทศ รวมไปถึงเริ่มพัฒนา ผลิตภัณฑ์ในการสร้างแบรนด์สินค้าของตนเอง ลักษณะการประกอบการผลิตภัณฑ์การให้บริการหลัก


6 ขององค์กรบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด เป็นธุรกิจนำเข้าส่งออกและจำหน่าย อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์แคมปิ้งเดินป่า ถ้วยรางวัล เครื่องดนตรีไทยและดนตรีสากลครบวงจร อุปกรณ์ ต่าง ๆ บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ขายส่งทั้งในห้างสรรพสินค้าภายในประเทศ และต่างประเทศ ฐานลูกค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย ปัจจุบันบริษัทได้มีการจำหน่าย สินค้าในช่องทางจัดจำหน่ายใหม่ ได้แก่ ช่องทางอินเตอร์เน็ตที่สร้างความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค เช่น การหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการเลือกซื้อ การเปรียบเทียบราคาสินค้า ซึ่งมีเว็บไซต์หลัก ๆ 2 แหล่ง ได้แก่ Lazada และตลาดไทย ซึ่งเป็นช่องทางที่สร้างผลการดำเนินงานสุทธิที่ประสบความสำเร็จให้กับบริษัท และการจัดหาสินค้าก็มาจากการนำเข้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้า เพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด จุดแข็งของบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด คือการให้บริการลูกค้าด้วยแบ รนด์และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายภายใต้ราคาที่แข่งขันได้และมีสต็อกพร้อมทำให้บริษัทเติบโตอย่าง ต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ บริษัทกระตือรือร้นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่างแก่ ลูกค้า ผ่านการออกแบบของบริษัทเองหรือจากพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของบริษัท แม้ว่าบริษัทจะจัดหา ผลิตภัณฑ์บางอย่างจากต่างประเทศ แต่แหล่งที่มาส่วนใหญ่ของบริษัทอยู่ที่นี่ในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีทีมงานออกแบบของบริษัทเอง เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเองผ่านสาย การประกอบของบริษัทหรือสายการผลิตของพันธมิตรของบริษัท บริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิว สิคเคิล จำกัด ได้มอบผลิตภัณฑ์และเงินทุนให้กับโรงเรียนในชนบท มูลนิธิการกุศล ตลอดจนสนับสนุน สโมสรกีฬาและสถานศึกษาทั่วประเทศไทยทุกปี และให้ความสำคัญกับพนักงานของบริษัทไม่น้อยไป กว่าลูกค้าและซัพพลายเออร์ของบริษัท ดังนั้นบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด จึง มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้เกินความคาดหมาย ภาพที่ 2.1 สัญลักษณ์ของบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด


7 นโยบายคุณภาพ ISO ภาพที่ 2.2 นโยบาย ISO ของบริษัทแลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ร้านค้าท้องถิ่นกว่า 800 ร้านค้า ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย มุมกีฬาในห้างสรรพสินค้า เช่น The Mall, Outlet Mall, Siam Paragon เป็นต้น แพลตฟอร์มออนไลน์ เว็บไซต์ , facebook, Lazada, Shopee จำนวนพนักงาน พนักงานประมาณ 150 - 200 คน (Landco Sport and Musical Co.,Ltd,2559: ออนไลน์) 2.2 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ความหมายของสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลัง (Inventory) คือสินค้าที่เก็บรักษาไว้ในคลัง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือขาย ต่อไปในอนาคต สินค้า หมายถึง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต (work in process) หรือสินค้าสำเร็จรูป (finished product) ก็ได้ การบริหารสินค้าคงคลัง หมายถึง การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลังในระดับปริมาณที่ เหมาะสม โดยการพิจารณาถึงจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าได้ทันเวลาและเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังรวมต่ำสุด การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) คือการจัดการบริหารสินค้าคง คลังให้มีการจัดเก็บไว้ในระดับที่เหมาะสม ความสามารถในการแข่งขันในด้านโลจิสติกส์จะให้ ความสำคัญในงานด้านการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยถือเป็นหัวข้อหลัก 1 ใน 3 เรื่อง ทั้งงานด้านโล จิสติกส์และโซ่อุปทานต้องทำก่อน เพราะหากธุรกิจที่ทำมีการเก็บสินค้าในคลังไว้มากเกินความจำเป็น


8 ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียที่มาก ทั้งในรูปของเงินทุนที่ต้องเสียดอกเบี้ย (Interest) เสียค่าเก็บรักษา (Inventory Carrying costs) เสียค่าเสื่อมมูลค่า (Depreciate ) รวมไปถึงการมีค่าใช้จ่ายในการดูแล อื่น ๆ อีกมากมาย แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ในอดีตต่างก็เลือกที่จะจัดเก็บและยอมที่จะเสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีสินค้าไว้ บริการหรือส่งมอบลูกค้าได้ทันทีเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าต้องการ เพราะถ้าหากมีสินค้าคงคลังน้อยไป ไม่ สามารถตอบสนองได้เพียงพอกับความต้องการลูกค้า ก็จะเกิดความเสียหายขึ้นต่อกิจการสูญเสีย โอกาสในการทำรายได้อาจต้องสูญเสียลูกค้าเพราะไปที่อื่นแทนแล้วหรือขาดวัสดุในการผลิตจนการ ผลิตอาจจะหยุดชะงักลง รวมถึงขาดความน่าเชื่อถือและเกิดปัญหายอดขายที่หายไป การบริหารสินค้าคงคลังนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในหลาย ๆ ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน สินค้า หรือการให้บริการฝ่ายจัดการผลิต หรือฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายของ ต้นทุนในการดำเนินการ ซึ่งต้นทุนที่มีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน ก็คือค่าใช้จ่ายในวัตถุดิบ งานระหว่างทำสินค้าสำเร็จรูปและวัสดุสิ้นเปลือง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องบริหารสินค้าคงคลังให้มี การหมุนเวียนอยู่เสมอและมีการวางแผนการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างเหมาะสม ไม่ให้มีมากจนเกินไป หรือน้อยจนเกินไป ทั้งนี้ควรต้องหาระดับของสินค้าคงคลังที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการของสินค้าคงคลังเหลือน้อยที่สุด ดังนั้นการบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพจะทำ ให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของสินค้าคงคลังลดลงและสามารถเพิ่มกำไรของธุรกิจได้(นันทวรรณ สมศรี และศุภฤกษ์เหล็กดี,2563) 2.3 ลักษณะของกิจกรรมหลักของคลังสินค้า (Warehouse Activities) 2.3.1 กระบวนการรับสินค้า (Receiving) การรับสินค้าเป็นการนำสินค้าเข้าเพื่อที่จะทำการจัดเก็บโดยระบบของการรับสินค้าจะมี การตรวจสอบสินค้าได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นจำนวน ขนาด น้ำหนัก ราคา ตลอดจนไปถึงช่วย คำนวณยอดสินค้าที่ยังคงค้างอยู่ในสต๊อก เพื่อที่จะสามารถจัดสรรพื้นที่ที่จะนำสินค้าในล็อตใหม่เข้าไป เก็บ ระบบยังสามารถบอกรายละเอียดในการเรียง จัดเก็บ สินค้าแต่ละชนิด เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการผลิต 2.3.2 ระบบเก็บสินค้า (Put-Away) ระบบตรวจสอบขนาดของพื้นที่และชั้นเก็บของต่าง ๆ ว่ามีขนาดและน้ำหนักเท่าไหร่ เพียงพอต่อสินค้าที่จะนำเข้ามาเก็บหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถจำแนกประเภทของสินค้าที่จะนำมาเก็บ


9 และช่วยให้พนักงานสามารถรู้ถึงสถานที่ในการเก็บสินค้าได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องพึ่งกระดาษหรือ ความจำและช่วยบริหารเนื้อที่และจัดโซนที่เหมาะสม 2.3.3 กระบวนการแปลงหน่วย (Let-Down) ถือเป็นส่วนสำคัญในระบบุคลังสินค้าโดยจะเป็นการแปลงหน่วยสินค้าเพื่อให้การจ่าย หรือ การจัดการเกี่ยวกับคลังทำงานได้สะดวก ซึ่งบางครั้งหน่วยของการจัดเก็บของสินค้าประเภทเดียวกัน อาจจะมีหน่วยการจัดเก็บแตกต่างกัน ทำให้การจัดการยุ่งยากขึ้นจึงมีการแปลงหน่วยเหล่านั้นให้เป็น หน่วยเดียวกัน 2.3.4 การจ่ายสินค้า (Picking) เมื่อมีการสั่งสินค้าหรือมีคำสั่ง (Order) เพื่อต้องการสินค้าจะมีการจัดการเกี่ยวกับการจ่าย สินค้าหรือการหยิบ (Picking) เพื่อนำสินค้าที่จัดเก็บไว้มาทำการตัดจ่าย โดยมีการจัดการส่วนของการ จัดคลังสินค้า (Stock) ว่าสินค้าใดถูกจ่ายบ้าง จำนวนเท่าใด โดยมีการตัดจ่ายแบบ Realtime (ปกติ จะใช้เครื่อง RFID ที่สามารถทำการตัดจ่ายทันทีได้และมีเครื่อง Scan เพื่อทำการ Scan สินค้าที่ ต้องการจ่าย) 2.3.5 การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) การตรวจนับสินค้าเป็นการตรวจสอบจำนวนสินค้าที่มีอยู่จริงในคลังสินค้าโดยปกติจะมีการ ตรวจนับอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรับยอดคงเหลือให้ตรงกับระบบโดยโปรแกรมจะมีส่วนในการ ตรวจนับ เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ คือสามารถกำหนดการตรวจสอบหรือตรวจนับเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ จำเป็นต้องรอถึงสิ้นเดือน หรือสิ้นปี ซึ่งจะเป็นระบบแบบ Realtime ซึ่งจะมีการใช้งานควบคู่กับเครื่อง ยิงบาร์โค้ดเพื่อทำการตรวจนับและสามารถปรับยอดในขณะนั้นได้ (Logistic Café,2552) 2.4 กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า Jame and Jerry (1998) ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง The Warehouse Management Handbook; the second edition ในเรื่อง Stock Location Methodology โดยมีการจัดแบ่ง รูปแบบในการจัดเก็บสินค้านั้นออกเป็น 6 แนวคิด คือ 2.4.1 ระบบจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ (Informal System) เป็นรูปแบบการจัดเก็บสินค้าที่ไม่มีการ บันทึกตำแหน่งการจัดเก็บเข้าไว้ในระบบและสินค้าทุกชนิดสามารถจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ใ น คลังสินค้า ซึ่งพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้านั้นจะเป็นผู้ที่รู้ตำแหน่งและจำนวนสินค้าที่จัดเก็บซึ่ง จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดเก็บนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็กมีจำนวนสินค้าหรือ SKU (Stock Keeping Unit หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุด) ไม่มาก และมีจำนวนตำแหน่งที่จัดเก็บน้อยด้วย


10 สำหรับในการทำงานนั้นจะมีการแบ่งพนักงานที่รับผิดชอบเฉพาะเป็นโซน ๆ โดยที่แต่ละโซนนั้นไม่ได้มี แนวทางการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้อาจเกิดปัญหาการจัดเก็บหรือการยากในการค้นหา สินค้า ในวันที่พนักงานประจำโซนไม่มาทำงานโดยแสดงการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของรูปแบบ การจัดเก็บสินค้าโดยไร้รูปแบบ ดังนี้ ระบบจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ (Informal System) ข้อดี ข้อเสีย ไม่มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ความยากในการค้นหาสินค้า มีความยืดหยุ่นสูง การปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับทักษะของพนักงาน คลังสินค้า การบริหารจัดการคลังสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ ตารางที่ 2.1 แสดงระบบจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ (Informal System) 2.4.2 ระบบจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System) แนวความคิดในการ จัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้เป็นแนวคิดที่มาจากทฤษฎีกล่าวคือสินค้าทุกชนิดหรือทุก SKU นั้นจะมี ตำแหน่งจัดเก็บที่กำหนดไว้ตายตัวอยู่แล้ว ซึ่งการจัดเก็บรูปแบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาด เล็ก มีจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานไม่มากและมีจำนวนสินค้าหรือจำนวน SKU ที่ไม่มาก โดยจาก การศึกษาพบว่าแนวคิดจัดเก็บสินค้านี้จะมีข้อจำกัด หากเกิดกรณีสินค้านั้นมีการสั่งซื้อเข้ามาทีละ มาก ๆ จนเกินจำนวนโซน ที่กำหนดไว้ของสินค้าชนิดนั้น หรือในกรณีที่สินค้าชนิดนั้นมีการสั่งซื้อเข้า มาน้อยในช่วงเวลานั้น ซึ่งไม่เป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการจัดเก็บที่ดี ระบบจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location system) ข้อดี ข้อเสีย ง่ายต่อการนำไปใช้ การใช้พื้นที่จัดเก็บที่ไม่เต็มที่ ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติงาน การเสียพื้นที่จัดเก็บโดยเปล่าประโยชน์ในกรณีที่ ไม่มีสินค้าอยู่ในสต๊อก ความยากง่ายต่อการขยายพื้นที่จัดเก็บ ความยากง่ายต่อการจดจำตำแหน่งในการ จัดเก็บสินค้า ตารางที่ 2.2 แสดงระบบจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System)


11 2.4.3 ระบบจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) รูปแบบจัดเก็บสินค้า โดยใช้รหัสสินค้า (Part Number) มีแนวคิดใกล้เคียงกับการจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixe location) โดยข้อแตกต่างนั้นจะอยู่ที่การเก็บแบบใช้รหัสสินค้านั้นจะมีลำดับการจัดเก็บเรียงกัน เช่น รหัสสินค้าหมายเลข A123 นั้นจะถูกเก็บก่อนรหัสสินค้าหมายเลข B123 เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บแบบนี้ เหมาะกับกับองค์กรที่มีความต้องการในการเข้าและออกของรหัสสินค้านั้นจำนวนคงที่ เนื่องจากได้มี การกำหนดตำแหน่งจัดเก็บไว้แล้ว ในการจัดเก็บแบบใช้รหัสสินค้านี้จะทำให้พนักงานรู้ตำแหน่งสินค้า ได้ง่ายแต่จะไม่มีความยืดหยุ่น ในกรณีที่องค์กรหรือบริษัทนั้นกำลังเติบโตและมีความต้องการขาย จำนวน SKU ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า แสดงระบบจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) ข้อดี ข้อเสีย ง่ายต่อการค้นหา ไม่มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการหยิบสินค้า ความยากในการปรับปริมาณความต้องการ สินค้า ง่ายต่อการนำไปใช้ การเพิ่มการจัดเก็บสินค้าใหม่นั้นจะมีผลกระทบ ต่อการจัดเก็บสินค้าทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึกตำแหน่งสินค้า การใช้พื้นที่จัดเก็บไม่เต็มที่ ตารางที่ 2.3 แสดงระบบจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) 2.4.4 ระบบจัดการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Commodity System) เป็นรูปแบบ การจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Product Type) โดยมีการจัดตำแหน่งการวางคล้ายกับ ร้านค้าปลีกหรือตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไปที่มีการจัดวางสินค้าในกลุ่มเดียวกันหรือประเภทเดียวกันไว้ ในตำแหน่งที่ใกล้กัน ซึ่งรูปแบบในการจัดเก็บสินค้าจัดอยู่ในรูปแบบตามประเภทของสินค้า (Combination System) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าคือการเน้นเรื่องการใช้พื้นที่ จัดเก็บมากขึ้น และสะดวกสำหรับพนักงานหยิบสินค้าในการทราบถึงตำแหน่งของสินค้าที่จะต้องไป หยิบ แต่มีข้อเสียคือ เนื่องจากพนักงานที่หยิบสินค้าต้องมีความรู้ในเรื่องของสินค้าแต่ละชนิดหรือแต่ ละยี่ห้อที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการหยิบสินค้าผิดได้โดยแสดงข้อดีและข้อเสีย ของการจัดเก็บในรูปแบบนี้คือ


12 ระบบจัดการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Commodity System) ข้อดี ข้อเสีย การแบ่งประเภทของสินค้าทำให้พนักงาน ปฏิบัติงานเข้าใจง่าย กรณีที่สินค้าประเภทเดียวกัน มีหลายรุ่นหรือ หลายยี่ห้ออาจทำให้หยิบ สินค้าผิดรุ่น หรือยี่ห้อ ได้ การหยิบสินค้าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของสินค้าแต่ละชนิด หรือแต่ละยี่ห้อที่จะหยิบ มีความยืดหยุ่นสูง การใช้พื้นที่จัดเก็บไม่คุ้มค่า ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึกตำแหน่งสินค้า สินค้าบางประเภทที่มีความยุ่งยากในการจัด ประเภทสินค้า ตารางที่ 2.4 แสดงระบบจัดการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Commodity System) 2.4.5 ระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว (Random Location System) เป็นการ จัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว ทำให้สินค้าแต่ละชนิดสามารถจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ใน คลังสินค้า แต่รูปแบบการจัดเก็บแบบนี้จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บและติดตามข้อมูล ของสินค้าว่า จัดเก็บอยู่ในตำแหน่งใดโดยต้องมีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลาด้วย ซึ่งในการจัดเก็บ แบบนี้จะเป็นรูปแบบที่ใช้พื้นที่จัดเก็บอย่างคุ้มค่าเพิ่มการใช้งานเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บและเป็นระบบถือ ว่ามีความยืดหยุนสูงเหมาะกับคลังสินค้าทุกขนาด ระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว (Random Location System) ข้อดี ข้อเสีย สามารถใช้งานพื้นที่จัดเก็บได้เกิดประโยชน์ สูงสุด ต้องมีการบันทึกข้อมูลการจัดเก็บสินค้าอย่าง ละเอียดและมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นสูง ต้องเข้มงวดในติดตามการบันทึกข้อมูลการ จัดเก็บ การง่ายต่อการขยายการจัดเก็บ การง่ายในการปฏิบัติงาน ระยะทางในการเดินหยิบสินค้าไม่ไกล ตารางที่ 2.5 แสดงระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว (Random Location System)


13 2.4.6 ระบบการจัดเก็บแบบผสม (Combination System) เป็นรูปแบบการจัดเก็บที่ผสมผสาน หลักการของรูปแบบการจัดเก็บในข้างต้น โดยตำแหน่งในการจัดเก็บนั้นจะต้องมีการพิจารณาจาก เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสินค้าชนิดนั้น ๆ เช่น หากคลังสินค้านั้นมีสินค้าที่เป็นวัตถุอันตราย หรือ สารเคมีต่าง ๆ รวมอยู่กับสินค้าอาหาร จึงควรแยกการจัดเก็บสินค้าอันตรายและสินค้าเคมีดังกล่าวให้ อยู่ห่างจากประเภทสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งถือเป็นรูปแบบการจัดเก็บแบบกำหนด ตำแหน่งตายตัวสำหรับพื้นที่ที่เหลือในคลังสินค้านั้น เนื่องจากมีการคำนึงถึงเรื่องการใช้งานพื้นที่ จัดเก็บ ดังนั้นจึงจัดให้พื้นที่ที่เหลือมีการจัดเก็บแบบไม่กำหนดตำแหน่งตายตัวก็ได้โดยรูปแบบการ จัดเก็บแบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าทุก ๆ ประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่และ คลังสินค้าที่จัดเก็บนั้นมีความหลากหลาย ระบบการจัดเก็บแบบผสม (Combination System) ข้อดี ข้อเสีย มีความยืดหยุ่นสูง อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสนเนื่องจาก มีระบบการจัดเก็บมากกว่า 1วิธี เป็นการรวมข้อดีทุกระบบการจัดเก็บ สามารถปรับเปลี่ยนการจัดเก็บได้ตามสภาพ ของสินค้า สามารถควบคุมการจัดเก็บได้เป็นอย่างดี สามารถขยายการจัดเก็บได้ง่าย ตารางที่ 2.6 แสดงระบบการจัดเก็บแบบผสม (Combination System) ที่มา : ชุมพล มณฑาทิพย์กุล (2552) 2.5 การหยิบสินค้า หลังจากจัดเก็บสินค้าไปช่วงเวลาหนึ่งแล้วเมื่อมีคำสั่งซื้อของลูกค้าจึงต้องมีการหยิบหรือ เคลื่อนย้ายสินค้าออกจากพื้นที่จัดเก็บ เพื่อมาจัดเรียงและจัดเตรียมก่อนที่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้าหรือ ผู้บริโภคต่อไป การหยิบสินค้า (Picking) นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้


14 2.5.1 วิธีการหยิบสินค้า (Piece Picking) เป็นการหยิบสินค้าแบบรายชิ้นตามรายละเอียดใบสั่งซื้อของลูกค้าซึ่งจะมีวิธีการหยิบ สินค้าอยู่ 4 แบบหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 2.5.1.1 การหยิบสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Single Order Picking) เป็นการหยิบสินค้าที่ ง่ายที่สุดโดยจะหยิบตามใบสั่งซื้อหรือคำสั่งซื้อของลูกค้าทีละคำสั่งจนครบทุกคำสั่งซื้อ โดยมีการ กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิดที่แน่นอนและชัดเจนและนำสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายที่บ่อย มาวางไว้ในบริเวณที่ใกล้กับทางเดินเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการหยิบสินค้า 2.5.1.2 การหยิบสินค้าพร้อม ๆ กันหลายคำสั่งซื้อ (Batch Picking) เป็นการหยิบ สินค้าตามใบสั่งซื้อหรือคำสั่งพร้อมกันครั้งละหลายคำสั่งซื้อ โดยทำการหยิบสินค้าในรายการที่ เหมือนกันพร้อม ๆ กัน ในคราวเดียวเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าให้น้อยลง 2.5.1.3 การหยิบสินค้าตามโซนพื้นที่วางสินค้า (Zone Picking) เป็นการหยิบ สินค้าโดยให้พนักงานหยิบสินค้าที่อยู่ประจำพื้นที่จัดเก็บสินค้าในแต่ละจุดทำการหยิบสินค้าของแต่ละ คำสั่งซื้อเฉพาะที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบของตนเองแล้วจึงนำมาร่วมกัน เพื่อคัดแยกตามคำ สั่งซื้อและเตรียมสำหรับการจัดส่งต่อไป 2.5.1.4 หยิบตามความพอใจของพนักงาน (Wave Picking) การหยิบสินค้าวิธีนี้จะ แตกต่างจากวิธีอื่นข้างต้น โดยพนักงานจะสามารถหยิบสินค้าได้หลายรายการพร้อมกันหลายคำสั่งซื้อ หรือแยกตามคำสั่งซื้อ ซึ่งจะหยิบแบบไหนก็ได้จึงช่วยลดจำนวนรอบของการหยิบสินค้า และทำให้ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น 2.5.2 การหยิบสินค้าแบบกล่อง (Case Picking) เป็นการหยิบสินค้าแบบเป็นกล่องโดยไม่มีการแกะกล่องออกเพื่อหยิบสินค้าที่อยู่ ภายในออกมา ดังนั้นจึงเหมาะกับสินค้าที่ไม่มีความหลากหลายและมีจำนวน SKU น้อยกว่า การหยิบ สินค้าแบบรายชิ้น (Piece Picking) โดยการหยิบสินค้าแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการหยิบแบบธรรมดา (Basic Case-Picking) มากกว่า เพราะต้องหยิบสินค้าทีละกล่องทำให้ไม่สามารถหยิบสินค้าพร้อมกัน ได้หลายคำสั่งซื้อในเวลาเดียวกัน ทำให้วิธีการหยิบสินค้าพร้อม ๆ กันหลายคำสั่งซื้อ (Batch Picking) สำหรับการหยิบสินค้าแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักเช่นเดียวกันกับวิธีการหยิบสินค้าตามโซนพื้นที่วาง สินค้า (Zone Picking) และหยิบตามความพอใจของพนักงาน (Wave Picking) ด้วยเหตุผลเดียวกัน ตามที่กล่าวมา 2.5.3 การหยิบสินค้าเป็นพาเลท (Pallet Picking) การหยิบสินค้าแบบนี้จะรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “Unit-Load Picking” ซึ่งเป็นการ


15 หยิบสินค้าเป็นพาเลท โดยแต่ละพาเลทจะมีสินค้าบรรจุอยู่ในกล่องจำนวนมากกว่า 1 กล่อง ขนไป ตามขนาดของสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในและบรรจุไว้จนเต็มพาเลท วิธีนี้จะง่ายกว่าการหยิบสินค้า 2 วิธี แรกข้างต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการหยิบสินค้าเนื่องจากพาเลทที่บรรจุสินค้าจนเต็มพาเลทนั้นจะมี ขนาดใหญ่และส่วนใหญ่จะเคลื่อนย้ายได้ครั้งละ 1-2 พาเลทเท่านั้น โดยอาจจะเป็นการย้ายสินค้าออก จากพื้นที่จัดเก็บมาไว้ที่บริเวณจัดเตรียมสินค้าหรืออาจจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์โดยตรงเลย ก็ได้นอกจากวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วการหยิบ สินค้าแต่ละวิธียังแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้ 2.5.3.1 สินค้าที่เข้ามาก่อนจ่ายออกก่อน (First In First Out: FIFO) เป็นการหยิบ สินค้า โดยหยิบสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีการรับเข้ามาในคลังสินค้าออกมาใช้งานหรือส่งมอบก่อน และ สินค้าใดที่เข้ามาทีหลังก็จะหยิบออกมาเป็นลำดับท้าย ๆ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดกรณีที่สินค้าหรือวัตถุดิบ หมดอายุหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้ 2.5.3.2 สินค้าที่เข้ามาทีหลังจ่ายออกก่อน (Last In First Out: เป็นการหยิบสินค้า โดยสินค้าที่รับเข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายจะถูกนำออกมาก่อนเป็นลำดับแรกและเป็นการหยิบ สินค้าที่ เข้ามาก่อนจะถูกหยิบออกมาเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งตัวอย่างสำหรับกรณีนี้คือการหยิบสินค้าลงจากรถ ขนส่ง ซึ่งสินค้าที่หยิบลงมาก่อนนั้นจะถูกบรรจุเข้าไปเป็นลำดับสุดท้าย เพราะเวลาโหลดสินค้าขึ้นรถ หรือตู้คอนเทนเนอร์นั้นสินค้าที่หยิบเป็นลำดับแรกจะถูกจัดวางในบริเวณในสุดเพื่อความสะดวกในการ บรรจุสินค้าลำดับถัดไปและเพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้คุ้มค่ามากที่สุดนั้นเองอย่างไรก็ตาม การหยิบ สินค้าที่มีประสิทธิภาพนั้นควรใช้เวลาและระยะทางที่สั้นในการหยิบสินค้ารวมทั้งความผิดพลาดจาก การหยิบสินค้าก็ควรจะต่ำที่สุดและไม่ทำให้สินค้าได้รับความเสียหายในระหว่างที่หยิบสินค้าด้วย โดย การหยิบสินค้าต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้น (Depot) ไปทางซ้ายสุดที่มีสินค้าที่ต้องการจากนั้นทำการหยิบ สินค้าจนครบทุกรายการตามใบสั่งซื้อหรือใบแสดงรายการสินค้าที่ต้องหยิบ (Picking List) โดย คำนึงถึงระยะทางที่สั้นที่สุดเสมอ หลังจากนั้นจะกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้งจึงจะจบการทำงานในรอบ นั้น ๆ (พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, 2554) 2.6 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสัมภาษณ์เชิงลึก คือเจาะลึกลงรายละเอียดรายบุคคล ทำให้ได้ข้อมูลที่ลงลึกถึงพฤติกรรม ทัศนคติมุมมองความคิดเห็น ความเชื่อความคิดความต้องการความรู้สึก ความรู้ความเชี่ยวชาญในด้าน ที่ถนัดและที่สำคัญทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก Insight เข้าใจลูกค้า เข้าใจผู้ใช้เข้าใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังขอ การตัดสินใจ การกระทำต่าง ๆ ลูกค้าคิดอะไรทำไมลูกค้าถึงซื้อไม่ซื้อเพราะอะไรถึงทำให้ตัดสินใจทำ เช่นกัน


16 2.6.1 วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ภาพที่ 2.3 วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ที่มา : COPYRIGHT 2021, Penfill.Co.,Ltd 2.6.2 คำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การตั้งคำถามและลักษณะของคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกIn-depth Interview Questions ควรแบ่งเป็นส่วน ๆ ตามหัวข้อที่พูดคุย จากนั้นสร้างคำถามภายใต้หัวข้อเหล่านี้และถ้า หากต้องการลงลึกประเด็นเรื่องใด ก็สามารถสร้างคำถามย่อยได้อีก โดยคำถามที่ใช้ควรเป็นลักษณะ ถามปลายเปิด (Open-ended questions) เพื่อเปิดกว้างทางความคิด สามารถต่อยอดเพิ่มเติมไปสู่ ประเด็นต่าง ๆ และจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก 2.6.2.1 เกริ่นนำก่อนเข้าการสัมภาษณ์ 2.6.2.2 คำถามข้อมูลทั่วไป (Demographic) เพื่อทำความรู้จักผู้ให้สัมภาษณ์เบื้องต้น 2.6.2.3 ชุดคำถามสัมภาษณ์ตามจุดประสงค์วิจัย โดยแบ่งแยกหัวข้อเป็นส่วน ๆ ไล่เรียง ตามลำดับความคิด เรื่องราวของประเด็นต่าง ๆ ให้ลื่นไหลที่สุด (Question Flow Design) 2.6.3 ข้อดีในการใช้คำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2.6.3.1 การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสื่อสารสองทาง (Two-ways communication) ทำ ให้ช่วยสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน เข้าใจความหมายที่ผู้ให้ข้อมูลต้องการจะสื่ออย่างแท้จริงด้วย Empathy 2.6.3.2 เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดจากสีหน้าทาทางประกอบ 2.6.3.3 ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด เข้าใจเหตุผล ที่มาที่ไปได้อย่างครบถ้วน 2.6.3.4 สามารถลงลึกถึงปัญหาในเรื่องที่พูดยาก หรือเรื่องที่อ่อนไหวได้


17 2.6.3.5 ช่วยทำให้มองเห็นปัญหา รับรู้ถึงสิ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ประสบเจอจริง ในทางกลับกัน ยังเป็นวิธีการที่ผู้สัมภาษณ์สามารถตรวจสอบความจริงของการให้ข้อมูลได้ด้วย 2.6.3.6 ช่วยประเมินคุณค่า แนวทางที่ต้องการตรวจสอบหรือสร้างสถานการณ์ให้เลือก ตัดสินใจได้ 2.6.3.7 มีความยืดหยุ่น สามารถปรับคำถามให้เข้ากับบริบท ประสบการณ์พฤติกรรมเฉพาะ บุคคลได้ 2.6.4 ข้อจำกัดในการใช้คำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2.6.4.1 ข้อมูลที่ได้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยขึ้นกับทักษะความสามารถของผู้สัมภาษณ์ 2.6.4.2 ปริมาณของข้อมูลที่ได้ขึ้นกับความร่วมมือและความเติมใจของผู้ให้ข้อมูล 2.6.4.3 การจัดการเวลาไม่ให้นานจนเกินไป และการสร้างบรรยากาศที่น่าพูดคุย 2.6.4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ข้อมูลกับผู้สัมภาษณ์ความใกล้ชิด สนิทสนมกันจะมีผล ต่อการให้ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทีอาจเอนเอียง ไม่เป็นกลางได้ (COPYRIGHT2021,Penfill.Co.,Ltd) 2.7 แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) แผนภูมิกระบวนการ (Process Chart) เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลได้อย่าง ละเอียด กระชับ ประกอบด้วยสัญลักษณ์คำบรรยายและลายเส้น เพื่อบอกรายละเอียดของขั้นตอน กระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถมองเห็นภาพของกระบวนการผลิตได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ต้นจนจบ และนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น แผนภูมินี้ใช้วิเคราะห์ขั้นตอนการไหล (Flow) ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พนักงาน และอุปกรณ์ ที่ เคลื่อนไปในกระบวนการพร้อม ๆ กับกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐาน 5 ตัว ซึ่งกำหนดโดย ASME ในสหรัฐอเมริกา ดังนี้ คือ 1. วงกลม (Operation) แทน การวางแผน การคำนวน การให้คำสั่ง การรับคำสั่ง 2. สี่เหลี่ยม (Inspection) แทน การตรวจสอบคุณภาพ ปริมาณ คุณลักษณะของวัตถุ 3. ลูกศร (Transportation) แทน การเคลื่อนที่พนักงานกำลังเดิน 4. ครึ่งวงกลม (Delay) แทน การคอยเพื่อให้ชิ้นงานต่อไปเริ่มต้น เก็บวัสดุชั่วคราวระหว่าง ทำงาน 5.สามเหลี่ยม (Storage) แทน การเก็บวัสดุที่เป็นเวลานานการเก็บถาวร


18 ภาพที่ 2.4 แสดงสัญลักษณ์ ชื่อเรียก และคำจำกัดความของ Flow Process Chart (วิชญา จันทนา และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ,2563) 2.7.1 แนวทางการวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล 2.7.1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน เช่น ลดการปริมาณการ เคลื่อนย้าย หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2.7.1.2 บ่งชี้กระบวนการที่ต้องศึกษาพร้อมทั้งรายละเอียดของกระบวนการ 2.7.1.3 กำหนดว่าเป็นการวิเคราะห์การไหลของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ - การทำงานบนผลิตภัณฑ์ตั้งเเต่ชิ้นส่วน วัตถุดิบเข้าสู่สายการผลิต จนประกอบเสร็จเป็นผลิตภัณฑ์ พนักงาน - การปฏิบัติงานของพนักงานคนหนึ่งในการทำงาน เคลื่อนย้ายสิ่งของ การเดินเครื่องมืออุปกรณ์- การโยกย้ายของเครื่องมือหรือการใช้งานของอุปกรณ์ 2.7.1.4 เริ่มวิเคราะห์จากจุดเริ่มต้น บันทึกงานตามที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดทุกขั้นตอน พร้อมทั้งบรรยายสั้น ๆ ถึงลักษณะงานที่เกิดขึ้น 2.7.1.5 เก็บข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง 2.7.1.6 โยงเส้นระหว่างสัญลักษณ์จากบนลงล่าง 2.7.1.7 สรุปขั้นตอนการปฏิบัติงานลงในตารางสรุปผล 2.7.2 ประโยชน์ใช้งานของแผนภูมิกระบวนการไหล


19 2.7.2.1 เป็นแผนภูมิที่จำแนกกิจกรรมต่าง ๆ ออกจากกันเป็น 5 ประเภท โดยเริ่มจาก กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่การปฏิบัติงานไปจนถึงกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า 2.7.2.2 แยกแยะกิจกรรมของพนักงานออกจากกิจกรรมที่ทำบนผลิตภัณฑ์ ทำให้ สามารถมองเห็นจุดเน้นในการวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน 2.7.2.3 ใช้ควบคู่ไปกับแผนภาพการไหล จะช่วยชี้ให้เห็นการรอคอยและระยะทางการ เคลื่อนที่ 2.7.2.4 สามารถใช้แผนภูมิเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบแสดงผลก่อนและหลังการปรับปรุง (Terrestrial,2020) 2.8 แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) Fishbone Diagram คือเครื่องมือในการค้นหาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น ช่วยให้สามารถหา สาเหตุของข้อบกพร่องและความล้มเหลวในกระบวนการต่าง ๆ ในภาษาไทยนิยมเรียกสองแบบคือ แผนภูมิก้างปลา และผังก้างปลา ผังแผนภูมิก้างปลาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เป็น กระบวนการที่มีโครงสร้างช่วยในการช่วยระบุปัจจัยพื้นฐาน หรือสาเหตุของเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ การทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการทำงานที่เป็นสาเหตุของความล้มเหลวของระบบว่า สามารถช่วยพัฒนาการดำเนินการที่สนับสนุนการแก้ไขได้ ผังก้างปลา ตามชื่อเป็นแผนภาพที่เลียนแบบโครงกระดูกปลา ปัญหาพื้นฐานถูกวางไว้ในหัวข้อตรง หัวปลา (หันหน้าไปทางขวา) และสาเหตุจะขยายไปทางซ้ายเช่นเดียวกับโครงกระดูก ก้างปลา แต่ละ ก้างแสดงถึงสาเหตุสำคัญ ในขณะที่ก้างย่อยแสดงถึงสาเหตุของแต่ละสาเหตุสำคัญ โครงสร้างของผัง ก้างปลา สามารถแตกแขนงออกไปได้หลายระดับตามความจำเป็นเพื่อหาสาเหตุของปัญหา จุดกำเนิดแผนภูมิก้างปลา Fishbone Diagram แนวคิดของ Fishbone Diagram หรือผัง ก้างปลา กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2463 แต่ผู้ที่นำมาใช้และทำให้ผังก้างปลาแพร่หลายมาจนถึงทุก วันนี้คือคุณคาโอรุ อิชิกาวะ (Kaoru Ishikawa) ที่นำผังก้างปลามาใช้ในการจัดการปัญหาและเพิ่ม คุณภาพการผลิตสำหรับอู่ต่อเรือคาวาซากิในช่วงปี พ.ศ.2503-พ.ศ.2511 คุณคาโอรุ อิชิกาวะ เป็น วิศวกรที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยโตเกี่ยว อยู่ในสหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร แห่งประเทศญี่ปุ่น แนวคิดของแผนภูมิก้างปลาที่คุณอิชิกาวะ อธิบายในยุคนั้นแสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่แตกต่างกันระหว่าง สิ่งที่เกิดก่อนหน้าของปัญหาและผลกระทบที่ระบุไว้ในยุคนั้น


20 แผนภูมิก้างปลาได้รับความนิยมถึงขนาดที่บริษัท Mazda Motors ใช้ในการพัฒนารถสปอร์ต Mazda MX5 แผนภูมิก้างปลาบางครั้งก็ถูกเรียกว่า แผนภูมิอิชิกาวะ (Ishikawa Diagram / Fishikawa) ตามชื่อผู้ส่งเสริมให้แพร่หลาย ภาพที่ 2.5 แสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา (Fishbone Diagram) การกำหนดปัจจัยบนก้างปลา เราสามารถที่จะกำหนดกลุ่มปัจจัยอะไรก็ได้แต่ต้องมั่นใจว่า กลุ่มที่เรากำหนดไว้เป็นปัจจัยนั้น สามารถที่จะช่วยให้เราแยกแยะและกำหนดสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่าง เป็นระบบและเป็นสาเหตุเป็นผล โดยส่วนมากมักจะใช้หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ ซึ่ง 4M 1E นี้มาจาก M - Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร M - Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก M - Material วัตถุดิบหรืออะไหล่อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการ M - Method กระบวนการทำงาน E- Environment อากาศสถานที่ความสว่างและบรรยากาศการทำงาน 2.8.1 เหตุผลหลัก 4 ประการในการใช้ผังก้างปลา 2.8.1.1 การแสดงความสัมพันธ์: ผังก้างปลาจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ และผลกระทบที่เป็นไปได้โดยแสดงในลักษณะของแผนภาพที่เข้าใจได้ง่าย 2.8.1.2 แสดงสาเหตุทั้งหมดพร้อมกัน: สาเหตุหรือห่วงโซ่สาเหตุใด ๆ ที่แสดงอยู่บนผัง ก้างปลา อาจทำให้เห็นถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมดและง่ายต่อการนำเสนอปัญหาต่อผู้มีส่วนร่วม


21 2.8.1.3 อำนวยความสะดวกในการระดมความคิด: ผังก้างปลาเป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยม ด้วยความที่โครงสร้างเอื้อให้ทุกคนในทีมช่วยกันระดมความคิด การดูผังก้างปลาอาจกระตุ้นให้ทีม ค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ 2.8.1.4 ช่วยรักษาโฟกัส: ผังก้างปลาช่วยให้ทีมมีสมาธิในขณะที่คุณหารือเกี่ยวกับ ข้อมูลที่ต้องรวบรวมช่วยให้มั่นใจได้ว่าทีมรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุด และไม่มีการเสียเวลาไปกับการไล่ตามปัญหาที่ไม่มีอยู่จริงเมื่อไหร่ควรใช้แผนภูมิก้างปลา เมื่อต้องการ ค้นหาสาเหตุของปัญหาซึ่งปัญหาหนึ่ง อาจมีปัจจัย หรือสาเหตุที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย เมื่อต้องการ ระดมความคิด เพื่อให้สมาชิกของทีมร่วมกันหาสาเหตุของปัญหาที่ระบุไว้ที่หัวข้อก้างปลา 2.8.2 หลักการใช้งานแผนภูมิก้างปลา การใช้งานแผนภูมิก้างปลาเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของ ปัญหามีจุดมุ่งหมาย เพื่อ หาถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เป็นการใช้เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหา เดิมที่เคยเจอ นอกจากนี้ยังใช้ในการป้องกันข้อบกพร่องด้านคุณภาพแรกเริ่มต้องระบุถึงปัจจัยที่ส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลง “ปัญหาที่พบเจอหรือสิ่งที่อยากแก้ไข” ในส่วนหัวข้อก้างปลาให้ได้ก่อนหลัง จากนั้นจึงเริ่มหาถึงปัจจัยที่เอื้อให้เกิดสิ่งเหล่านั้น สาเหตุหลักของปัญหาแต่ละส่วน รวมถึงสาเหตุรอง ถ้ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนแนะนำให้นำผังก้างปลามาใช้คู่กับโมเดลการวิเคราะห์ตามกลุ่มอุตสาหกรรม ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหา คือในการแก้ปัญหาและสร้างแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ให้ประสบความสำเร็จคือการกำหนดปัญหาที่ถูกต้อง อาจเริ่มด้วยเขียนถึง ปัญหาที่คุณกำลังเผชิญ ให้ทั้งทีมได้ทราบว่าปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ปัญหาคืออะไร ปัญหา เกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขั้นตอนที่ 2 ระดมความคิดเกี่ยวกับสาเหตุหลัก คือการตัดสินใจว่าจะจัดหมวดหมู่ การตัดสินใจว่าจะจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาอย่างไร รวมถึงปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา สิ่ง เหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องของ วัสดุ กำลังคน เครื่องจักร การวัดผล และสภาพแวดล้อม ขั้นตอนที่ 3 กำหนดสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เป็นกระบวนการระดมความคิดอย่าง แท้จริง คุณและทีมจะเริ่มระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแต่ละสาเหตุหลัก โดยการ ลากเส้นออกมาดานข้างของก้างที่เป็นสาเหตุหลักที่คุณได้ระบุไว้จากขั้นตอนที่สอง เรียกเส้นนี้ว่า “เส้น สาเหตุ”


22 ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ แผนภูมิก้างปลา ขั้นตอนนี้ควรมีแผนภูมิก้างปลาที่ผ่านการ ระดมความคิดมาอย่างเต็มที่แล้ว สิ่งที่ควรทำถัดไปคือการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ Root Cause Analysis อย่าง 5 Whys เพื่อการสืบสวนเจาะลึกลงไปให้ถึงแก่นของแต่ละสาเหตุ เพื่อดูว่าสาเหตุใด เหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาจริง ๆ 2.8.3 ประโยชน์ของแผนผังก้างปลา 2.8.3.1 ใช้เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดจากสมองของทุกคนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม คุณภาพอย่างเป็นหมวดหมู่ซึ่งได้ผลมากที่สุด 2.8.3.2 แสดงให้เห็นสาเหตุต่าง ๆ ของปัญหาของผลที่เกิดขึ้นที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จนถึง ปมสำคัญที่จำเป็นนำไปปรับปรุงแก้ไข 2.8.3.3 แผนผังนี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้มากมายทั้งในหน้าที่ การงาน สังคม แม้กระทั่งชีวิตประจำวัน 2.8.4 ข้อดี 2.8.4.1 ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิก แผนภูมิก้างปลาจะช่วยรวบรวมมีความคิดของสมาชิกในทีม 2.8.4.2 ทำให้ทราบสาเหตุหลักๆ และสาเหตุย่อย ๆ ของปัญหา ทำให้ทราบสาเหตุที่ แท้จริงของปัญหาซึ่งทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูกวิธี 2.8.5 ข้อจำกัด 2.8.5.1 ความคิดไม่อิสระเนื่องจากมีแผนภูมิก้างปลาเป็นตัวกำหนดซึ่งความคิดของ สมาชิกในทีมจะมาร่วมอยู่ที่แผนภูมิก้างปลา 2.8.5.2 ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถสูงจึงจะสามารถใช้แผนภูมิก้างปลาในการระดม ความคิด (กนิษฐา พิพิธภัณฑ์ , 2557) 2.9 การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) รุธิร์ พนมยงค์ (2548) การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในความเหมาะสม เป็นโจทย์ใหญ่ที่คน ปฏิบัติงานโลจิสติกส์ว่าควรจะมีปริมาณเท่าใด ให้เพียงพอแต่ละประเภท ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าคงคลัง นั้น จะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) ซึ่งจะผันแปรไปกับปริมาณของสินค้าคงคลัง ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในด้าน ต่าง ๆ อาทิ ต้นทุนเงินทุน (Capital Cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ต้นทุนใน การดูแล สินค้า ได้แก่ ค่าประกันภัย และภาษี ต้นทุนพื้นที่การจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ต้นทุนด้านสถานที่


23 ซึ่งความสัมพันธ์กับปริมาณของสินค้า รวมทั้งต้นทุนความเสี่ยงในการจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ความล้าสมัย การลักขโมย เป็นต้น การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) หรือทฤษฎีวัดตามความถี่ในการหมุนเวียนสินค้า FSN (Fast Moving analysis) (วรพล เนตรอัมพร, 2557) การจัดเก็บตามปริมาณความต้องการหยิบ สินค้า (Volume-based Storage) ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดเก็บสินค้า ที่มีความต้องการสูงไว้อยู่ใกล้กับ ประตูเข้าออกเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดเก็บสินค้าแบบ ซุ่ม (Random Storage) และแบบตาม ปริมาณความต้องการหยิบสินค้า (Volume-based Storage) มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันคือการ จัดเก็บแบบ Volume-based Storage นั้นจะช่วยลดเวลาและระยะทางใน การหยิบสินค้า แต่ข้อเสีย คือทำให้เกิดความแออัดในช่องทางเดินที่เก็บสินค้าและทำให้เกิดความไม่สมดุลใน การใช้พื้นที่ในการ จัดเก็บสินค้า สำหรับจัดเก็บแบบซุ่ม (Random Storage) นั้น จะเป็นวิธีที่มีการใช้ ประโยชน์ของพื้นที่ จัดเก็บได้ทั่วทั้งคลังสินค้าซึ่งจะช่วยลดความแออัดของช่องทางเดินลงไปได้แต่ข้อเสียคือทำให้เสียเวลา ในการหยิบสินค้ามากเนื่องจากสินค้าที่มีการหยิบบ่อยนั้น อาจมีพื้นที่จัดเก็บที่อยู่ไกลจากประตู การวิเคราะห์ FSN มาจากรายการสินค้าที่เคลื่อนไหวเร็ว (Fast moving) รายการสินค้าที่ เคลื่อนไหวช้า (Slow moving) และรายการสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Non moving) เพื่อพิจารณา ปริมาณ อัตราการใช้งานและความถี่ในการใช้งานเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผังการจัดเก็บสินค้า ให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการจัดวางสินค้าที่เหมาะสม สะดวกต่อการจัดเก็บ การหยิบ สินค้าเพื่อใช้งาน รวมถึงวางแผนการจัดซื้อได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นรายการที่มีความถี่ในการ ใช้งานบ่อย จะต้องถูกเก็บไว้ใกล้กับทางออกของคลังสินค้า รายการที่มีความถี่ในการใช้งานน้อยและ รายการที่ไม่มีการใช้งานสามารถเก็บไว้ในที่ห่างไกลได้ โดยจะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะเพื่อ ป้องกันการหมดอายุ และล้าสมัยของสินค้า (Melanie, 2018)


24 ภาพที่ 2.6 การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis) (เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ,2561) - วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว (Fast Moving, F) คือวัสดุที่มีความต้องการใช้งานถี่ มีการ เรียกใช้งานบ่อย อาจกำหนดเวลาหมุนเวียนสูงสุดเป็น Y รอบ/เดือน หากมีระยะเวลารอบหมุนเวียนมี มากกว่า Y จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มที่มีการใช้งานถี่ มีการหมุนเวียนที่มาก - วัสดุที่มีการหมุนเวียนช้า (Slow Moving, S) คือวัสดุที่มีความต้องการใช้งานต่อรอบใน ช่วงเวลาไม่มากนัก มีค่าที่อยู่ในระหว่างระยะเวลารอบหมุนเวียนขั้นต่ำ X รอบ/เดือน แต่ยังไม่เกิน ระยะเวลารอบหมุนเวียนสูงสุดที่กำหนด Y รอบ/เดือน - วัสดุที่ไม่มีการหมุนเวียน (Non Moving, N) คือวสุดที่มีความต้องการใช้งานน้อยมาก บางครั้งอาจแทบไม่ได้มีการนำมาใช้เลย ทำให้วัสดุในกลุ่มนี้แทบจะไม่มีการหมุนเวียนเลย ใช้ช่วงเวลา ที่เก็บนานทำให้มีอัตราการหมุนเวียนรอบต่อเดือนน้อย กำหนดเวลาหมุนเวียนต่ำกว่า X รอบ/เดือน การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้นั้นในส่วนของค่า X และY นั้นจะมีความ แตกต่างกัน ในแต่ละบริษัทการได้มาซึ่งความถี่นั้นต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้ว นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดความถี่ทางสถิติข้อมูลนี้ทางฝ่ายคลังสินค้าควรเป็นผู้เก็บข้อมูลและเป็น ฝ่ายกำหนด ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การตลาดที่ ทำให้ความต้องการในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย


25 ตารางที่ 2.7 การจำแนกกลุ่มด้วยสินค้าคงคลังโดยการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) จากตารางที่ 2.7 การจำแนกกลุ่มสินค้าคงคลังตามการจัดกลุ่มตามีอัตราการใช้งาน ดังนี้ รายการสินค้าที่เคลื่อนไหวเร็ว (Fast Moving : F) เป็นวัตถุดิบที่มีอัตราการใช้งานสูง โดยมี อัตราการใช้งานอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใช้งานของทั้งหมด รายการสินค้าที่เคลื่อนไหวช้า (Slow Moving : S) เป็นวัตถุดิบที่มีอัตราการใช้งานปานกลาง โดยมีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใช้งานของทั้งหมด รายการสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Non Moving : N) เป็นวัตถุดิบที่มีอัตราการใช้งานต่ำหรือไม่ มี การใช้งานเลย โดยมีอัตราการใช้งานอยู่ 5 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใช้งานของทั้งหมด 2.9.1 ขั้นตอนการจัดจำแนกกลุ่มด้วยการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) มีดังนี้ 2.9.1.1 จำแนกกลุ่มสินค้าด้วยอัตราการใช้งานของสินค้าคงคลังแต่ละรายการที่ หมุนเวียนในคลังสินค้าย้อนหลัง 6 เดือน และทำการจัดเรียงลำดับข้อมูลตามลำดับจากมากไปหาน้อย และจำแนกกลุ่มสินค้าด้วยค่าเฉลี่ยการเก็บสินค้าในคลัง 2.9.1.2 คำนวณหาค่าเปอร์เซ็นต์ของสินค้าแต่ละรายการและเปอร์เซ็นต์สะสมของ สินค้าคงคลัง 2.9.1.3 นำเอาค่าเปอร์เซ็นต์มาแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังเป็นกลุ่ม F,SและN ตามเปอร์เซ็นต์ ที่ระบุไว้ในตารางที่ 2.7 อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์สามารถคาดเคลื่อนได้ขึ้นอยู่กับความผันผวนของอุปสงค์ อาจเป็น เวลา 6 เดือน ที่สินค้ามีการหมุนเวียนเร็วเนื่องจากได้รับความนิยมมาก แต่ก็กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีการ หมุนเวียน เมื่อสินค้านี้ไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป การจัดการสินค้าคง คลัง Fast Moving Slow Moving Non Moving อันตราการใช้งาน 80% 15% 5%


26 2.10 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) การควบคุมด้วยการมองเห็น เป็นระบบการควบคุมการทำงานให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าใจ ขั้นตอนการทำงาน เป้าหมาย ผลลัพธ์การทำงานได้ง่ายและชัดเจนรวมถึงเห็นการผิดปกติต่าง ๆ และ แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้บอร์ด ป้าย สัญลักษณ์สีและอื่น ๆ เพื่อสื่อสารให้พนักงานทราบถึงข้อมูล ข่าวสารที่สำคัญของสถานที่ทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักการของ Visual Control ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร 2.10.1 ประเภทของการควบคุมด้วยการมองเห็น การควบคุมด้วยการมองเห็นเป็นเทคนิคที่ใช้ การสื่อสารผ่านการมองเห็น โดยแสดงให้ เห็นผลการปฏิบัติงานเห็นความผิดปกติ หรือสื่อสาร ความหมายบางอย่างให้เห็นได้อย่างสะดวก ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้น การแบ่งประเภทของการควบคุมด้วยการมองเห็น สามารถแบ่งได้หลาย ลักษณะ เช่น แบ่งตามประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เป็นกลุ่ม 2.10.1.1 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อความปลอดภัย เช่น สัญลักษณ์ต่าง ๆ ภาพที่ 2.7 ตัวอย่างสัญลักษณ์ความปลอดภัยแบบต่าง ๆ (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539) 2.10.1.2 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เช่น ตัวอย่างลักษณะงานดีงานเสีย 2.10.1.3 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อการบริหารสินค้าคงคลัง เช่น ป้ายบอกประเภทสินค้าต่าง ๆ


27 ภาพที่ 2.8 ตัวอย่างป้ายบอกประเภทราคาสินค้าต่าง ๆ (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539) 2.10.1.3 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ขีดบอกระดับสูงสุด-ต่ำสุดของน้ำมันเครื่อง ภาพที่ 2.9 ตัวอย่างขีดบอกระดับสูงสูดอายุการใช้งาน (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539)


28 2.10.1.4 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น ป้ายโฆษณาสินค้า ภาพที่ 2.10 ตัวอย่างป้ายโฆษณา (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539) 2.10.1.5 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน เช่น กราฟแสดงผลการปฏิบัติงานของแต่ละแผนก ฯลฯ ภาพที่ 2.11 ตัวอย่างกราฟแสดงผลการปฏิบัติงานของแต่ละแผนก (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539)


29 2.10.2 ประโยชน์ของการควบคุมด้วยการมองเห็น การควบคุมเชิงประจักษ์การควบคุมด้วยสายตา หรือการควบคุมด้วยการมองเห็น โดยทั่วไปเป็นเทคนิคที่ใช้ในระบบเครื่องจักรอยู่แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่ในระบบการบริหารจัดการ ทั่วไป เป็นเทคนิคใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เริ่มนำมาใช้เพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพองค์กร โดยมีประโยชน์ดังนี้คือช่วยทำให้ผู้บริหารและบุคลากรมี ความรู้และความเข้าใจในระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น ทำให้มีทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ และพัฒนาองค์กรต่อไปได้จริง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ช่วยทำให้เกิดประโยชน์ใน การทำงาน ลดความสูญเสียในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น และปรับปรุงคุณภาพงานเทคนิค Visual Control จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยให้การทำงาน มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 2.10.3 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) ที่ดี Visual Control เป็นเครื่องมือที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหานั้นซ้ำขึ้นมาอีก ซึ่งอาจ เป็นมาตรการควบคุมให้จุดที่เป็นสาเหตุนั้น เป็นปกติอยู่เสมอ Visual Control ที่ดีมีลักษณะดังนี้ 2.10.3.1 ทำให้ทราบสถานะของสิ่งนั้นว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด 2.10.3.2 สามารถทำให้ทราบถึงสภาวะที่แท้จริงว่าเป็นปกติหรือว่ามีความผิดปกติ เกิดขึ้นแล้ว 2.10.3.3 สามารถทำให้ทราบว่าจะต้องดำเนินการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ อย่างไร ดังนั้น Visual Control ที่ดีจะเป็นระบบหรือสิ่งที่ควบคุมดูแลนั้นจะเป็นผู้แสดงความผิดปกติ เอง และสิ่งที่มีความผิดปกตินี้จะแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลได้รับทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และให้ ผู้รับผิดชอบได้รีบเข้ามาดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมทันเวลา 2.10.4 การเลือกใช้ Visual Control การเลือก Visual Control ไปใช้งานมีหลักง่าย ๆ ดังนี้ 2.10.4.1 ควรเลือกใช้ทั้งขนาด รูปร่าง และสี ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ 2.10.4.2 ติดอยู่ในระดับหรือตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติเห็นได้ชัดเจน 2.10.4.3 สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริง 2.10.4.4 ไม่ควรมีเยอะจนเกิดความสับสน การควบคุมด้วยสายตา หรือการควบคุมด้วยการมองเห็นมีประโยชน์มาก หากนำไปใช้ งานจริง แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือทุกคนต้องทำด้วยความรู้ความเข้าใจ ตระหนักให้ความร่วมมือเล็งเห็น


30 ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้ เพราะถ้าหากทำไปโดยที่ขาดสิ่งเหล่านั้นแล้ว Visual Control ก็จะ กลายเป็นสิ่งที่ทำไว้เพื่อโชว์ผู้บริหาร ลูกค้า หรือผู้ตรวจประเมิน (Auditor) เท่านั้นเอง (ดร.วิทยา อินทรสอน,2539) 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร (2560) ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค ABC Analysis ในการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า บริษัทกรณีศึกษาบริษัท AAA จำกัด เพื่อศึกษาการลด ระยะเวลาในการหยิบสินค้าโดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้การจัดเรียงสินค้า ABC Analysis โดยการออกแบบ และวางผังคลังสินค้า ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดจากการใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าเกิดจาก การขาดประสิทธิภาพในระบบการจัดเก็บสินค้าจึงทำให้ใช้เวลามากในการเดินทางหยิบสินค้า การ จัดเรียงสินค้าด้วยเทคนิค ABC ทำให้พนักงานใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค้าน้อยลงโดยใช้ค่าเฉลี่ย ของพนักงานจำนวน 5 คน ก่อนที่จะนำเทคนิค ABC เข้ามาช่วยในการจัดเรียงสินค้าพนักงานจำนวน 5คน ใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค่าเฉลี่ย 9.45 นาทีและหลังจากที่มีการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC พนักงานชุดเดิมจำนวน 5 คน ใช้เวลาในการเดินทางหยิบสินค่าเฉลี่ย 6.41 ลดลง 3.04 นาทีจะเห็นได้ ว่าพนักงานใช้เวลาในการหยิบสินค้าลดลง โดยการจัดเรียงสินค้าที่มียอดขายสินค้าสูงสุด (หน่วย : ลัง) ไว้ใกล้ประตูทางออก และสินค้าที่มียอดขายปานกลางหรือเคลื่อนไหวปานกลางและยอดขายสินค้าต่ำ หรือเคลื่อนไหวช้าไว้ตามลำดับ เพื่อเป็นการลดระยะเวลาและระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้อย่าง เหมาะสม เจนรตชา แสงจันทร์ (2562) ได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดย ประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการคลังสินค้า 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการคลังสินค้า 3) เพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้าย สินค้า 4) เพื่อลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือหัวหน้าคลังสินค้า พนักงานคลังสินค้าและพนักงานบัญชี จำนวน 5 คนโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บรวบรวม ผลการศึกษาพบว่า การนำใช้เทคนิควิเคราะห์หาเหตุ (Why-Why Analysis) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการคลังสินค้า ใช้แผนภูมิการไหล (Flow Process Chart) เพื่อการพิจารณาขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีความซ้ำซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาสามารถ ลดเวลาการปฏิบัติงานได้ 4 นาที10 วินาทีวิเคราะห์ปัญหาโดยแยกหัวข้อโดยวาดแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) การจัดตำแหน่งสินค้าโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) โดย


31 เรียงลำดับรายการสินค้าที่มีอัตราการหมุนเวียนสูงไปหาต่ำ โดยสินค้าประเภทกลุ่ม F มีจำนวนทั้งหมด 13 รายการมีมูลค่ารวม 3,381,302 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 48.59 ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้าประเภทกลุ่ม S มีจำนวนทั้งหมด 17 รายการมีมูลค่ารวม 2,096,665 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.13 ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้าประเภทกลุ่ม N มีจำนวนทั้งหมด 147 รายการมีมูลค่ารวม 1,480,537 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.28 ของจำนวนรายการทั้งหมด และเปรียบเทียบก่อน-หลัง การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) ทำให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบสินค้าลดลง 15.05 วินาทีการ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าแบบเอฟเอสเอ็น (FSN Analysis) สามารถลดระยะทางในหยิบ สินค้าและง่ายต่อการเบิกจ่ายสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่คลังสินค้าและสุดท้ายคือการควบคุม ด้วยการมองเห็น (Visual Control) ร่วมกับทฤษฎีการเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) โดยใช้ป้ายบ่งบอก สินค้าและกำหนดสีตาม 4 ไตรมาส ควบคุมอายุของสินค้าป้องกันการเกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ไชยพร ปรีชาวงษ์ (2556) ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้าอัตโนมัติด้วย วิธีการ จัดแบ่งพื้นที่การจัดเก็บ และเสนอแนวทางการแบ่งกลุ่มสินค้าตามปริมาณสินค้าที่เคลื่อนไหว โดย แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่ม A B และ C ที่มีอัตราหมุนเวียนสินค้าเข้าและออกคลังสูง (Fast Moving) ปานกลาง (Medium Moving) และต่ำ (Slow Moving) ตามลำดับผลจากการศึกษา พบว่า การจัดกลุ่มสินค้าแบบใหม่ทำให้ระยะทางการเคลื่อนที่ของสินค้าลดลง 8,662,705 เมตร คิด เป็นร้อยละ 51.89 เมื่อเปรียบเทียบจากการจัดกลุ่มสินค้าแบบเดิม แพรพลอย พุฒิพงศ์บวรภัค (2561) ทำการศึกษาเกี่ยวกับการลดระยะเวลาในการหยิบจ่าย สินค้า กรณีศึกษา บริษัท PP&A จำกัด โดยพบปัญหาการหาสินค้าล็อกจ่ายล่าช้า เนื่องการจัดเก็บที่ไม่ เป็นระบบ โดยผู้วิจัย ใช้ Why-Why Analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำการศึกษากระบวนการ ทำงานของแผนกหยิบสินค้า จึงเริ่มทำการแก้ไขโดยใช้การแบ่งกลุ่มของสินค้าตามหลัก Commodity System พร้อมจัดลำดับตำแหน่งในการวางสินค้า โดยนำข้อมูลยอดจ่ายมาทำการจัดลำดับตามหลัก FSN Analysis และเพื่อการหาสินค้าที่ง่ายขึ้นจึงใช้ เทคนิค Visual Control เพื่อจัดทำป้ายบ่งชี้เพื่อ บอกประเภทของสินค้า ผลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บ คือระยะเวลาเฉลี่ยในการหาสินค้า ลดลงจาก 18.51 นาทีเหลือ 14.12 นาทีลดลง 13.81% ส่งผลให้การหาสินค้าล็อกจ่ายลดลงและ กระบวนการทำงานสั้นลงด้วย โดยในการปรับใช้รูปแบบการจัดเรียงใหม่นี้ จะต้องมีการจัดอบรม พนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานและหาสินค้า หากเปลี่ยนสถานที่จัดเก็บ ป้ายบ่งชี้ต่าง ๆ ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปตามขนาดของพื้นที่จัดเก็บด้วย


32 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ผู้จัดทำวิจัยต้องการศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร คลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการ บริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด โดย การศึกษาหาปัญหาที่แท้จริงจากการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก และเทคนิคการวิเคราะห์ FSN Analysis เพื่อพิจารณาปริมาณรายการสินค้าที่มีอัตราการใช้งานและความถี่ในการใช้งาน เพื่อเป็น แนวทางในการออกแบบผังการจัดเก็บสินค้าให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการ จัดวางสินค้าที่เหมาะสม สะดวกต่อการจัดเก็บ การหยิบสินค้าเพื่อใช้งานได้อย่างเหมาะสม 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ศึกษาความเป็นมาของปัญหา ในปัจจุบัน วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา หาแนวทางการแก้ไขปัญหา ทดลองปรับปรุงข้อมูล สรุปผลและเสนอแนะ รวบรวมปัญหาที่พบ จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ พนักงานภายในคลังสินค้า เก็บรวบรวบปัญหาที่พบว่ามีเรื่องใดบ้าง ใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์หา สาเหตุที่แท้จริง นำทฤษฎี FSN Analysis มาประยุกต์ใช้ ในการแก้ไขปัญหา เปรียบเทียบผลการทดลองปรับปรุง ข้อมูลที่ได้ สรุปผลที่ได้จากการปรับปรุงและ เสนอแนะ


33 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1.1 ศึกษาความเป็นมาของปัญหาในปัจจุบัน ทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงานภายใน บริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด คลังสินค้า ASB ชั้น M โดยเริ่มต้นจากการเก็บ รวบรวมข้อมูลกิจกรรมการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566 ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.2566 โดยจากการสังเกต การจดบันทึก การสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ใช้ กระบวนการทำงานโดยใช้แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) เปรียบเทียบก่อนและ หลังระยะเวลาในการทำงานรวดเร็วขึ้นมากเท่าใด 3.1.2 รวบรวมปัญหาที่พบ เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหา 3.1.3 วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยใช้แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) 3.1.4 หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยนำทฤษฎี FSN Analysis มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไข ปัญหา 3.1.5 ทดลองปรับปรุงข้อมูล โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองปรับปรุงข้อมูลที่ได้ 3.1.6 สรุปผลจากผลการวิเคราะห์ตรงตามวัตถุประสงค์ 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือพนักงานแผนกคลังสินค้าบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด ผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้า ASB ทั้ง 5 ชั้น จำนวนทั้งหมด 6 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หัวหน้าแผนกคลังสินค้า พนักงานคลังสินค้าผู้ที่รับผิดชอบ คลังสินค้า ASB ชั้น M จำนวนทั้งสิ้น 3 คน เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก 3.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจริงจากบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด 3.3.1 การสังเกตการปฏิบัติงาน 3.3.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก 3.3.3 นาฬิกาจับเวลา 3.3.4 แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.3.5 คอมพิวเตอร์(โปรแกรม Microsoft Excel) 3.3.6 แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ในการนำมาใช้สำหรับการสัมภาษณ์ 3.3.6.1 แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)


34 3.3.6.2 แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) 3.3.6.3 ทฤษฎี FSN Analysis 3.3.6.4 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยปฐมภูมิแบบเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ (Interview) เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และเป็นการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้าที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการรับการจัดเก็บ การเบิกจ่าย การ ตรวจนับสต๊อก และการจัดการข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์จะเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) คือเป็นการ สัมภาษณ์โดยกำหนดเพียงแนวหัวข้อสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะระบุข้อความกว้าง ๆ ที่เป็นแนวในการ ถามเปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น โดยไม่บังคับให้จำใจตอบคำถามที่กำหนด เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ต้องการอย่างครบถ้วนในทุก ๆ ประเด็นที่สนใจศึกษา การศึกษานี้มีข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 3.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสถานการณ์จริงโดยอาศัย กระบวนการขั้นตอนปฏิบัติงานปัญหาเบื้องต้น การสังเกตจากพฤติกรรมของพนักงานขณะปฏิบัติงาน และการสัมภาษณ์ประสบการณ์โดยตรงจากหัวหน้าคลังสินค้าและพนักงานคลังสินค้า 3.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิมีการศึกษาเพื่อนำข้อมูลทางเอกสารวิชาการบทความทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษา เพื่อนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาอ้างอิงการดำเนินงานการศึกษาที่จะนำ ข้อมูลมาอ้างอิงให้ผลการศึกษามีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยมี ลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 3.4.2.1 การสำรวจและเก็บรวบรวมปัญหาทั่วไปเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกการ วิเคราะห์ของปัญหา 3.4.2.2 ทำการศึกษากระบวนการทำงานถึงลักษณะกิจกรรมของแต่ละกระบวนการ และรายละเอียดการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินงาน


35 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจนแล้วเสร็จได้ดำเนินการ ดังนี้ 3.5.1 ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลและรายละเอียดที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์หัวหน้าคลังสินค้าและพนักงานคลังสินค้าจากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก จากการปฏิบัติงานจริงของพนักงานคลังสินค้า และทำการจดบันทึก 3.5.2 การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการเก็บข้อมูลโดยแบ่งการวิเคราะห์ ออกเป็นแต่ละประเด็นดังนี้ 3.5.2.1 แผนผังคลังสินค้า (Layout Warehouse) เพื่อเข้าใจถึงการจัดวางสินค้าและนำมา ปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น 3.5.2.2 สาเหตุที่ใช้เวลานานในการหยิบสินค้าและขั้นตอนการทำงานไม่ชัดเจน


36 บทที่ 4 ผลการวิจัย จากการศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานและรูปแบบการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าของบริษัท แลนด์โก้สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด โดยอาศัยการสังเกต รวบรวมข้อมูลการลงพื้นที่จริง เพื่อ เก็บข้อมูลเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับฝ่ายคลังสินค้า เพื่อเป็นการนำวิธีและแนวทางที่ได้มา ทำการศึกษาประยุกต์ใช้กับคลังสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการวางตำแหน่งของสินค้าและ ลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า 4.1 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ภาพที่ 4.1 ข้อมูลการสัมภาษณ์หัวหน้าคลังสินค้า แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ชื่อวิจัย การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด หัวหน้าคลังสินค้า คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ (การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) 1. จากการทำงานที่ผ่านมาประสบปัญหาในเรื่องของการบริหารคลังสินค้าอย่างไรบ้าง "การสื่อสารงานกันไม่เข้าใจ มีการพูดคุยกันน้อยระหว่างพนักงานและหัวหน้าเลยอาจส่งผลให้เกิด ความผิดพลาดในการทำงาน การมีพนักงานไม่เพียงพอ มีสินค้าขายดีปะปนกันอยู่ภายในแถว ไม่มี ป้ายบ่งชี้อย่างชัดเจนที่แถว" 2.ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปัญหา "ไม่มีการจัดกลุ่มสินค้าแยกชัดเจน สินค้าขายดีควรมาอยู่ใกล้ตัวมั้ย เวลาทำการจัดสินค้าก็จะง่าย ไม่ ต้องเดินเยอะ เดินไกล ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินไปหยิบมาก หรือการทำป้ายบ่งชี้สินค้าให้ชัดเจน" 3.ข้อเสนอแนะในคลังสินค้า อยากแก้ไขอะไรบ้าง "การพูดคุยกันกับพนักงานต้องมีมากขึ้น การจัดกลุ่มสินค้าแยกไปเลยว่าสินค้าใดขายดีก็ย้ายมาอยู่ ใกล้ตัว เวลามาคำสั่งซื้อมามาก ๆ จะได้ไม่เสียพลังงานเยอะ ไม่เหนื่อยมาก เพราะพนักงานที่มีก็ไม่ เพียงพอกับการปฏิบัติงาน"


37 ภาพที่ 4.2 ข้อมูลการสัมภาษณ์พนักงานคลังสินค้าคนที่ 1 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ชื่อวิจัย การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด พนักงานคลังสินค้า คนที่ 1 คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ (การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) 1. จากการทำงานที่ผ่านมาประสบปัญหาในเรื่องของการบริหารคลังสินค้าอย่างไรบ้าง "ประสบปัญหาในเรื่องของการจัดสินค้าไม่ทัน การหยิบสินค้าผิด การหาสินค้าใช้ระยะเวลานาน การเดินไปหยิบสินค้าใช้ระยะเวลาเยอะในการเดินไปหยิบ อุปกรณ์ในการทำงานมีไม่เพียงพอ" 2.ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปัญหา "การที่มีพนักงานไม่เพียงพอพร้อมรองรับกับงานที่ต้องทำทุกวัน ไม่มีป้ายบอกสินค้า สินค้าที่มีคำสั่ง ซื้อเข้ามาบ่อยอยู่ไกล ต้องเดินไปหยิบนาน" 3.ข้อเสนอแนะในคลังสินค้า อยากแก้ไขอะไรบ้าง "มีพนักงานเพียงพอกับงานจริง การจัดเก็บสินค้าขายดีไว้ใกล้กับทางออกน่าจะทำให้การหยิบสินค้า ง่ายขึ้น"


38 ภาพที่ 4.3 ข้อมูลการสัมภาษณ์พนักงานคลังสินค้าคนที่ 1 จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมี ดังนี้ ปัญหาที่ 1 การหยิบสินค้าผิด ไม่มีป้ายบ่งชี้สินค้าว่าสินค้าภายในแถวคืออะไร เป็นสินค้าชนิด ใดบ้าง ปัญหาที่ 2 ความล่าช้าในการจัดสินค้า การหยิบสินค้านาน การเดินไปหยิบสินค้าขายดีอยู่ไกล ทำให้สูญเสียพลังงานในการทำงาน หากต้องเดินไปหยิบสินค้านั้น ๆ วันละหลาย ๆ คำสั่งซื้อ ปัญหาที่ 3 ไม่มีการจัดกลุ่มสินค้าขายดีไว้ในพื้นที่เดียวกัน ทำให้มีสินค้าที่มีอัตราการหมุนเวียน สินค้าเร็ว อัตราการหมุนเวียนสินค้าปานกลาง และอัตราการหมุนเวียนสินค้าช้า ปะปนกันอยู่ในพื้นที่ ปัญหาที่ 4 พนักงานมีไม่เพียงพอ พนักงานไม่มีความพร้อมในการทำงาน ไม่มีการแบ่งหน้าที่ อย่างชัดเจน ปัญหาที่ 5 อุปกรณ์การทำงานมีไม่เพียงพอ ส่งผลการนำสินค้าไปส่งยังแผนก Qc ช้าไปด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ชื่อวิจัย การศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า กรณีศึกษาสถานประกอบการบริษัทแลนด์โก้ สปอร์ต แอนด์ มิวสิคเคิล จำกัด พนักงานคลังสินค้า คนที่ 2 คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ (การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) 1. จากการทำงานที่ผ่านมาประสบปัญหาในเรื่องของการบริหารคลังสินค้าอย่างไรบ้าง "การเดินไปหยิบสินค้า บางครั้งวางของไม่ตรง Row, Lock ทำให้หาสินค้าไม่เจอ พนักงานไม่มี ความพร้อมในการทำงาน วางสินค้าตามความเคยชิน สินค้าขายดีอยู่ไกล ในหนึ่งวันต้องหยิบสินค้า ที่เป็นรายการเดิมหลายรอบทำให้สูญเสียพลังงานในการทำงานโดยเปล่าประโยชน์" 2.ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปัญหา "ไม่มีป้ายบ่งชี้หน้าแถวของสินค้าว่าเป็นสินค้าอะไรบ้าง สินค้าขายดีปะปนกับสินค้าที่ขายช้า " 3.ข้อเสนอแนะในคลังสินค้า อยากแก้ไขอะไรบ้าง "ทำป้ายบ่งชี้สินค้าให้มีความชัดเจน มองเห็นได้ง่าย การจัดเก็บสินค้าควรเก็บให้ถูกที่ตามที่สินค้า ต้องอยู่ เนื่องจากหากสินค้าหาไม่เจอก็ทำให้เสียเวลาในการหาสินค้า"


39 แผนภูมิหมายเลข...ใบที่...เลข… ผลิตภณัฑ/์วสัดุ/พนกังาน กิจกรรม : ข้นัตอนการทา งาน คร้ัง เวลา คร้ัง เวลา คร้ัง เวลา ปฏิบตัิงาน 3 303.9 เคลื่อนยา้ย 4 487.9 วิธีทา งาน : ปัจจุบนั /ปรับปรุง ล่าชา้ 2 46 ตรวจสอบ 2 87.2 เก็บ แผนก: คลงัสินคา้รวม 11 925 รายละเอียดกิจกรรม ระยะทาง (เมตร) เวลา (วินาที) หมายเหตุ 1. ตรวจสอบคา สั่งซ้ือที่หนา้จอระบบวา่สินคา้มีครบเพียงพอต่อคา สั่งซ้ือหรือไม่ - 12.3 2. ปริ้นส์Plick Slip (ใบจดัสินคา้) - 22 3. เดินไปยงั Row ที่จดัเก็บสินคา้ 18 50.6 4.หา Lock ที่จดัเก็บสินคา้ - 11.8 5. หยบิสินคา้ตามจา นวนที่ใบจดัสินคา้กา หนด - 274.9 6. นา สินคา้มายงัจุด Qc ของคลงัเพื่อใหห้นกังานตรวจสอบความถูกตอ้งก่อน 17 50.2 7. พนกังานทา การ Qc สินคา้เพื่อความถูกตอ้งครบถว้น สมบรูณ์ - 74.9 8. หาStock Card - 15.1 9. ตดั Stock Card - 30.9 10. กดยนืยนัการจดัสินคา้ในระบบ - 7 11. นา สินคา้ส่งไปยงัแผนก QC เพื่อตรวจสอบและทา การขนส่งต่อไป 39 375.3 สญัลกัษณ์ แผนภูมิการไหลของกระบวนการ FLOW PROCESS CHART สรุปผล Activity ปัจจุบนัหลงัปรับปรุง ลดลง 4.2 แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) จากการได้ลงไปปฏิบัติงานจริง ผู้วิจัยได้เรียนรู้จากการสังเกตถึงขั้นตอนการทำงานภายใน คลังสินค้า ASB ชั้น M ว่ามีขั้นตอนกระบวนการในการทำงานแบบใดบ้าง จึงได้นำมาศึกษาว่าในแต่ละ ขั้นตอนการทำงาน มีระยะเวลาในการทำงานอย่างไร และทำการจับเวลาในแต่ละขั้นตอน เป็นจำนวน 10 ครั้งทุกขั้นตอน เพื่อศึกษาหาขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากที่สุด ภาพที่ 4.4 แสดงขั้นตอนการทำงานภายในคลังสินค้าก่อนปรับปรุง จากภาพที่ 4.4 แสดงขั้นตอนการทำงานภายในคลังสินค้า โดยใช้แผนภาพกระบวนการไหล (Flow Process Chart) ทั้งหมด 11 ขั้นตอน จะเห็นได้ว่าระยะเวลารวมทุกขั้นตอนเฉลี่ยอยู่ที่ 925 วินาทีหรือ 15 นาที 24 วินาที ซึ่งขั้นตอนการทำงานที่ใช้ระยะเวลาในการทำงานมากและควรทำการ ปรับปรุงแก้ไข คือ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการหยิบสินค้าตามจำนวนที่ใบจัดสินค้ากำหนด


40 แผนภูมิหมายเลข...ใบที่...เลข… ผลิตภณัฑ/์วสัดุ/พนกังาน กิจกรรม : ข้นัตอนการทา งาน คร้ัง เวลา คร้ัง เวลา คร้ัง เวลา ปฏิบตัิงาน 3 153.6 เคลื่อนยา้ย 4 405.2 วิธีทา งาน : ปัจจุบนั /ปรับปรุง ล่าชา้ 2 46 ตรวจสอบ 2 87.2 เก็บ แผนก: คลงัสินคา้รวม 11 692 รายละเอียดกิจกรรม ระยะทาง (เมตร) เวลา (วินาที) หมายเหตุ 1. ตรวจสอบคา สั่งซ้ือที่หนา้จอระบบวา่สินคา้มีครบเพียงพอต่อคา สั่งซ้ือหรือไม่ - 12.3 2. ปริ้นส์Plick Slip (ใบจดัสินคา้) - 22 3. เดินไปยงั Row ที่จดัเก็บสินคา้ 6 9.2 4. หา Lock ที่จดัเก็บสินคา้ - 11.8 5. หยบิสินคา้ตามจา นวนที่ใบจดัสินคา้กา หนด - 124.6 6. นา สินคา้มายงัจุด Qc ของคลงัเพื่อใหห้นกังานตรวจสอบความถูกตอ้งก่อน 7 8.9 7. พนกังานทา การ Qc สินคา้เพื่อความถูกตอ้งครบถว้น สมบรูณ์ - 74.9 8. หาStock Card - 15.1 9. ตดั Stock Card - 30.9 10. กดยนืยนัการจดัสินคา้ในระบบ - 7 11. นา สินคา้ส่งไปยงัแผนก QC เพื่อตรวจสอบและทา การขนส่งต่อไป 39 375.3 สญัลกัษณ์ แผนภูมิการไหลของกระบวนการ FLOW PROCESS CHART สรุปผล Activity ปัจจุบนัหลงัปรับปรุง ลดลง ภาพที่ 4.5 แผนภูมิการไหลกระบวนการทำงานหลังปรับปรุง จากภาพที่ 4.5 หลังจากทำการปรับปรุงผังคลังสินค้าด้วยทฤษฎี FSN Analysis ควบคู่กับ การใช้การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) พบว่าระยะเวลาในทุกขั้นตอนการทำงานอยู่ที่ 692 วินาทีหรือ 11 นาที 31 วินาที ลดลงไป 233 วินาทีหรือ 3 นาที 52 วินาที


Click to View FlipBook Version