The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางเรื่องความสมบูรณ์พร้อมในการทำงาน (Fit for Work) ฉบับนี้ จัดทำเพื่อให้แพทย์
พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ประเมินสภาวะสุขภาพของคนทำงาน และความสามารถของ
ร่างกายที่งานนั้นๆ ต้องการ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้คนทำงานนั้นๆ สามารถทำงานได้โดยไม่มีผลเสีย
ต่อสุขภาพ ไม่มีผลเสียต่องาน และต่อเพื่อนคนงานอื่นๆ ตามลักษณะงานนั้นจะมีงานอยู่หลายประเภท
แต่ได้เลือกมา 6 ประเภทคือ การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานในที่อับอากาศ การประเมิน
ความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานในที่สูง การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานอาหาร
การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ผจญเพลิง การประเมินความพร้อมในการทำงานในคนขับ
รถบรรทุกสารเคมีอันตราย และการประเมินความพร้อมสำหรับผู้ที่สวมหน้ากากชนิดแนบแน่น ซึ่งแต่ละ
ประเภทมีลักษณะการทำงานที่เป็นจำเพาะและมีแทรกอยู่ในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม แนวทางฉบับนี้
ได้มาจากประสบการณ์ในการประเมินคนทำงานจริง โดยประยุกต์จากทฤษฎี มีบางอย่างที่อาจจะทำไม่ได้
ในตอนนี้ แต่ต้องใช้จกฏหมายส่งเสริม เช่น การตรวจสุขภาพเพื่อขับรถบรรทุกสารเคมี ซึ่งตามกฎหมาย
มีกำหนดไว้ไม่กี่อย่าง แต่ในความรับผิดชอบของแพทย์ และพยาบาล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Memi Jeemee, 2023-06-23 00:37:47

ความพร้อมในการทำงาน Fit for Work

แนวทางเรื่องความสมบูรณ์พร้อมในการทำงาน (Fit for Work) ฉบับนี้ จัดทำเพื่อให้แพทย์
พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ประเมินสภาวะสุขภาพของคนทำงาน และความสามารถของ
ร่างกายที่งานนั้นๆ ต้องการ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้คนทำงานนั้นๆ สามารถทำงานได้โดยไม่มีผลเสีย
ต่อสุขภาพ ไม่มีผลเสียต่องาน และต่อเพื่อนคนงานอื่นๆ ตามลักษณะงานนั้นจะมีงานอยู่หลายประเภท
แต่ได้เลือกมา 6 ประเภทคือ การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานในที่อับอากาศ การประเมิน
ความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานในที่สูง การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ทำงานอาหาร
การประเมินความพร้อมในการทำงานในผู้ผจญเพลิง การประเมินความพร้อมในการทำงานในคนขับ
รถบรรทุกสารเคมีอันตราย และการประเมินความพร้อมสำหรับผู้ที่สวมหน้ากากชนิดแนบแน่น ซึ่งแต่ละ
ประเภทมีลักษณะการทำงานที่เป็นจำเพาะและมีแทรกอยู่ในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม แนวทางฉบับนี้
ได้มาจากประสบการณ์ในการประเมินคนทำงานจริง โดยประยุกต์จากทฤษฎี มีบางอย่างที่อาจจะทำไม่ได้
ในตอนนี้ แต่ต้องใช้จกฏหมายส่งเสริม เช่น การตรวจสุขภาพเพื่อขับรถบรรทุกสารเคมี ซึ่งตามกฎหมาย
มีกำหนดไว้ไม่กี่อย่าง แต่ในความรับผิดชอบของแพทย์ และพยาบาล

1. หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสุขภาพคนทำงาน จากสถิติของหน่วยงานที่ดูแลด้านการดับเพลิงในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า จะมีการเกิด อัคคีภัยหนึ่งครั้งในทุกๆ 23 วินาที ถึงแม้ว่าจำนวนของการเกิดอัคคีภัยและการเสียชีวิตจากอัคคีภัย จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่ก็ยังพบปัญหาอยู่ โดยมีการเก็บสถิติย้อนหลัง ของอัคคีภัยที่เกิดการสูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011-2020 จะพบว่าในแต่ละปียังคงมีการเกิดอัคคีภัยครั้งรุนแรงอยู่เรื่อยๆ ปีละไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง ดังตารางที่ปรากฏ นพ. ศรว�ทย โอสถศิลปŠ แนวทางการตรวจสุขภาพ คนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 99 บทที่ 5 ตารางที่ 1 สถิติการเกิดอัคคีภัยที่มีการสูญเส�ยทรัพยส�นมูลค‹าตั้งแต‹ 10 ลŒานดอลลารสหรัฐข�้นไป ตั้งแต‹ป‚ ค.ศ. 2011-2020


100 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work รูปที่ 1 จำนวนครั้งการบาดเจ็บของนักผจญเพล�งในประเทศสหรัฐอเมร�กาแยกตามป‚ ตั้งแต‹ป‚ ค.ศ. 1981-2020 ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร พบว่า อัคคีภัย เป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นบ่อยอันดับต้นๆ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากไฟไหม้หญ้าและการเผาขยะ รองมาคือไฟฟ้า ลัดวงจร โดยมีการเก็บสถิติการเกิดไฟไหม้หญ้า/ขยะ และไฟฟ้าลัดวงจรไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 ดังนี้ • ป พ.ศ. 2560 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหมหญา/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟาลัดวงจร 785 ครั้ง • ป พ.ศ. 2561 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหมหญา/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟาลัดวงจร 654 ครั้ง • ป พ.ศ. 2562 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหมหญา/ขยะ 3,085 ครั้ง ไฟฟาลัดวงจร 638 ครั้ง • ป พ.ศ. 2563 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหมหญา/ขยะ 2,554 ครั้ง ไฟฟาลัดวงจร 629 ครั้ง • ป พ.ศ. 2564 ชวง 3 เดือนแรก มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหมหญา/ขยะ 712 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 104 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการเก็บสถิติไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรมและโกดังจัดเก็บสารเคมีในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 โดยพบเหตุเพลิงไหม้โรงงาน โกดังจัดเก็บสารเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนทั้งสิ้น 75 ครั้ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 เกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วทั้งสิ้น 24 ครั้ง ดังนี้ • โรงงานผลิตพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 15 ครั้ง • โรงงานรีไซเคิลน้ำมันหรือโกดังเก็บน้ำมัน จำนวน 5 ครั้ง • โรงงานผลิตสารเคมี จำนวน 4 ครั้ง และเมื่อมาดูสถิติที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพของนักผจญเพลิง พบว่ามีการเก็บข้อมูลโดยสมาคมป้องกัน อัคคีภัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association; NFPA) ว่าการบาดเจ็บ ของนักผจญในประเทศสหรัฐอเมริกาเพลิงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981-2020 มีแนวโน้มการเกิดการบาดเจ็บที่ลดลง แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงอยู่ โดยปี ค.ศ. 2020 พบการเกิดการบาดเจ็บของนักผจญเพลิงเป็นจำนวนทั้งสิ้น 64,875 ครั้ง


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 101 โดยเมื่อมาจำแนกตามสาเหตุที่เกิดการบาดเจ็บจะพบว่า เกิดจากการออกแรงที่มากเกินไป จนทำให้เกิดการ บาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 31) รองลงมาเป็นจากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น พลัดตก หรือลื่นล้ม (ร้อยละ 21) และ สาเหตุอื่นๆ (ร้อยละ 16) รูปที่ 2 การเกิดการบาดเจ็บบนพ�้นดินของนักผจญเพล�งในประเทศสหรัฐอเมร�กาแยกตามสาเหตุในป‚ ค.ศ. 2020 ส่วนในประเทศไทย มีการเก็บข้อมูลในพนักงานดับเพลิงในจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า สาเหตุการเจ็บป่วย ที่พบได้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครียด/กังวลจากความเร่งรีบในการทำงาน (ร้อยละ 96.6) แสบตา/ระคายเคืองตา จากการสัมผัสแสงและความร้อน (ร้อยละ 93.1) และปวดแสบ/ผด/ผื่นผิวหนังจากความร้อน (ร้อยละ 89.7) ข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเกิดอัคคีภัยพบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งในประเทศประเทศสหรัฐ อเมริกาและในประเทศไทย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักผจญเพลิงจนเกิดการบาดเจ็บและการเจ็บป่วย เป็นจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น จึงควรที่จะมีแนวทางการตรวจสุขภาพของนักผจญเพลิงออกมา เพื่อป้องกันนักผจญเพลิง ไม่ให้พบกับปัญหาด้านสุขภาพด้านต่างๆ ดังที่ปรากฏข้างต้น


102 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work 2.นิยาม ลักษณะการทำงาน และความเสี่ยงของการทำงานผจญเพลิงและกู้ภัย Firefighter มีคำแปลในภาษาไทยได้หลายคำ ไม่ว่าจะเป็นนักผจญเพลิง นักดับเพลิง หรือพนักงานดับเพลิง โดยนิยามตามกฎหมายแล้วหมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้มีหน้าที่ป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย โดยคำว่าป้องกันอัคคีภัยหมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้เกิดเพลิงไหม้ และให้หมายความรวมถึงการเตรียมการ เพื่อรองรับเหตุการณ์เมื่อเกิดเพลิงไหม้ด้วย ส่วนคำว่าระงับอัคคีภัยหมายความว่า การดับเพลิงและการลดการสูญเสีย ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเกิดเพลิงไหม้ และนอกจากนี้ยังมีนิยามของอาสาดับเพลิงซึ่งหมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานดับเพลิงในการป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย ส่วนกู้ภัย อาสากู้ภัย หรืออาสาสมัครกู้ภัย ไม่มีนิยามที่ชัดเจนในกฎหมาย แต่จะหมายถึงกลุ่มคนผู้มีความเสียสละ ทั้งทางกายและทางใจ เพื่ออุทิศให้แก่สังคมและเพื่อนร่วมโลก โดยไม่คำนึงถึงชนชั้นวรรณะเชื้อชาติ หรือศาสนา และ เป็นผู้ซึ่งยอมเสียสละเวลาส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ อาสาสมัครกู้ภัยมีหลายประเภท มาจากหลายสายงาน กระจายอยู่ทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครกู้ภัยของมูลนิธิต่างๆ รวมถึงหน่วยงาน ทางราชการ แต่ทุกคนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือต้องการช่วยเหลือผู้ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ให้พ้นจากวิกฤตินั้นๆ ไปได้ด้วยดี ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งนักผจญเพลิงออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่ 1) หน่วยผจญเพลิงเทศบาล (Municipal fire departments) • จะทำหนาที่ผจญเพลิงจากเหตุการณที่เกิดขึ้นตามบานเรือนของประชาชน หรือราชการ โดยจะขึ้นตรงกับ ฝ่ายบริหารของเมือง เช่น นายกเทศมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมักจะมีขอบเขตของงานที่กว้างกว่า นักผจญเพลิงอุตสาหกรรม และจะมีงานอื่นนอกจากผจญเพลิงร่วมด้วย เช่น การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ เป็นต้น 2) หน่วยผจญเพลิงอุตสาหกรรม (Industrial fire departments) • จะทำหน้าที่ผจญเพลิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ โดยจะขึ้นตรงกับฝ่ายบริหารของ สถานประกอบการนั้นๆ เช่น ผู้อำนวยการโรงงาน ผู้จัดการแผนก หรือฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร โดยมักจะพบกับเพลิงไหม้ชนิดที่จำเพาะเจาะจงกว่านักผจญเพลิงเทศบาล เช่น จากสารเคมีหรือวัตถุไวไฟ จากการระเบิด หรือจากกิจกรรมทางทะเล


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 103 ตารางที่ 2 ความแตกต‹างระหว‹างหน‹วยผจญเพล�งเทศบาลและหน‹วยผจญเพล�งอุตสาหกรรม


104 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work โดยความเสี่ยงของการทำงานผจญเพลิงและกู้ภัยนั้น แบ่งได้เป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านอุบัติเหตุ (Accidental Hazard) ความเสี่ยงชนิดนี้สามารถพบเจอได้บ่อยที่สุดในขณะที่ปฏิบัติงาน เช่น การตกจากที่สูงเนื่องจากเกิดการพังทลายของโครงสร้างตึกหรือพื้นที่เข้าไปทำงานไม่แข็งแรงพอ การบาดเจ็บจากแรงระเบิด หรือการบาดเจ็บจากเศษแก้ว เศษเหล็ก เศษไม้ หรือวัตถุชนิดต่างๆ ตกใส่ ร่างกาย เป็นต้น 2. ด้านกายภาพ (Physical Hazards) ความเสี่ยงชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการสัมผัสความร้อน เช่น การสูดหายใจเอาไอความร้อนเข้าไป การเกิดแผลไหม้ เป็นต้น หรือเกิดการสัมผัสเสียงดังหรือเสียงระเบิด รวมทั้งยังสามารถเกิดการบาดเจ็บจากการสัมผัสความเย็น เช่น ภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ได้อีกด้วย 3. ด้านเคมี (Chemical Hazards) ความเสี่ยงชนิดนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิด ควันหรือเขม่าต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยตรง หรืออาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้ โดยก๊าซส่วนใหญ่ที่ได้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีต่างๆ โดยตรง เช่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆ ตัวทำละลาย โลหะหนัก เป็นต้น 4. ด้านชีวภาพ (Biological Hazards) ความเสี่ยงด้านนี้อาจพบได้ค่อนข้างน้อย แต่ยังอาจจะเจอได้อยู่ เช่น ในกรณีการใช้อาวุธชีพภาพ หรืออาจเกิดจากการถูกของมีคมทิ่มแทง จนทำให้เกิดการติดเชื้อที่ติดต่อ ทางเลือด (Blood-borne infection) เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี หรือไวรัสเอชไอวี 5. ด้านการยศาสตร์ (Ergonomic) ความเสี่ยงด้านนี้เกิดจากการออกแรงกล้ามเนื้อที่มากเกินไปในระหว่าง ภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น ยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก หรือช่วยพยุงคนที่บาดเจ็บ จากการที่ใส่อุปกรณ์ ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และจากการเดินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ได้อีกด้วย 6. ด้านจิตสังคม (Psychosocial Hazards) การทำงานในด้านนี้ อาจก่อให้เกิดความเครียดได้ โดยโรค ทางจิตเวชที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือ โรคซึมเศร้า และปัญหาทางด้านอารมณ์ที่เกิดตามหลังเหตุการณ์รุนแรง ที่ได้พบเจอ (Post-traumatic stress disorder; PTSD) รวมถึงการทำงานที่ต้องเป็นกะ ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อการนอน จนทำให้เกิดความอ่อนล้า หรือหมดไฟในการทำงานได้อีกด้วย 3. Functional capacity evaluation สำหรับคนทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัย อาชีพนักผจญเพลิง เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ รวมถึงความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจในการปฏิบัติ ภารกิจเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การยกของ การถือของ การดึง ผลัก ลาก จูงสิ่งกีดขวาง การเดินขึ้นบันได การปีนป่าย เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่จะมาปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อาจต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายในการกิจกรรม ที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงดังต่อไปนี้ 1. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) พร้อมกับการทำกิจกรรมผจญเพลิง ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เช่น สายฉีดดับเพลิง หรืออุปกรณ์บางชนิด เช่น สว่าน ในการขุดเจาะ การคลาน การยกหรือแบกสิ่งของหรือคนที่มีน้ำหนักมาก เป็นต้น 2. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Respirator) ชนิดที่มีถังบรรจุอากาศภายในตัว (Self Contained Breathing Apparatus; SCBA) ซึ่งทำให้การหายใจนั้นลำบากยิ่งขึ้น 3. การทำงานในสภาพอากาศที่อันตราย เช่น มีก๊าซพิษ สารระคายเคือง เชื้อโรค เป็นต้น ในขณะที่สวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ 4. การปีนบันไดขึ้นที่สูงตั้งแต่ 6 ขั้นขึ้นไป ในขณะที่สวมใส่ชุดป้องกันไฟหรือถืออุปกรณ์ดับเพลิงที่มีน้ำหนักมาก


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 105 5. การสวมใส่ชุดป้องกันไฟซึ่งห่อหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง และอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 39 องศาเซลเซียส 6. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจในการทำภารกิจค้นหา ช่วยเหลือ แบก หรือลากผู้ประสบภัยตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัมให้ปลอดภัย จากสภาพบรรยากาศที่อันตราย และมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ดี 7. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจในการลากสาย ฉีดน้ำดับเพลิงซึ่งมีน้ำอยู่เต็มและมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากถึง 65 มิลลิเมตรไปยังแหล่งกำเนิดไฟ (โดยเฉลี่ย 50 เมตร) โดยผ่านอุปสรรคกีดขวางต่างๆ 8. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจในการปีนบันได ทำงานจากที่สูง เดินในที่มืด และพื้นผิวที่ไม่เท่ากัน โดยทำงานใกล้แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรืออันตรายอื่นๆ 9. การทำงานที่พร้อมเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ตลอดเวลาในสภาพที่ไม่มีการเตรียมพร้อมมาก่อน และอาจไม่ได้พัก ไม่ได้รับประทานอาหาร หรือได้รับยารักษาโรคใดๆ 10. การควบคุมอุปกรณ์และยานพาหนะที่ใช้ในภารกิจผจญเพลิงที่มีสัญญานไฟฉุกเฉินและเสียงไซเรน 11. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือซับซ้อนในเวลาที่จำกัด โดยร่างกายอยู่ในสภาพที่ล้า เครียด และอยู่ใน บรรยากาศที่อันตราย เช่น ร้อน มืด หายใจไม่สะดวก มีสัญญานไฟฉุกเฉินและเสียงไซเรนอยู่ตลอดเวลา 12. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารทั้งการให้คำสั่งและทำความเข้าใจ ในขณะที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจอยู่ และอยู่ในที่ๆ มีเสียงรบกวนรอบข้างมากๆ ทัศนวิสัยในการมองเห็นต่ำ และมีการทำงานของอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ตลอดเวลา 13. มีความสามารถในการรวมทีมใหม่ หากทีมที่มีอาจทำให้ภารกิจล้มเหลวได้ หรือสมาชิกในทีมเกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต 14. การทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะกะดึก และอาจขยายเวลาการทำงานได้เกินกว่า 12 ชั่วโมง ส่วนในด้านความสามารถใช้ออกซิเจนของร่างกาย หรือความสามารถทางแอโรบิค (Aerobic capacity) หรือเรียกสั้นๆ ว่าความฟิตของสภาพร่างกาย คนที่จะทำงานในอาชีพนักผจญเพลิงควรจะต้องมีระดับ Metabolic equivalence หรือจำนวนเท่าของพลังงานที่ร่างกายใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เปรียบเทียบกับพลังงานที่ใช้ใน ขณะพักอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 11 METs คำว่า METs ย่อมาจาก Metabolic Equivalents Tasks หมายถึง กิจกรรม ที่ทำให้เราต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญเพื่อให้ได้พลังงานมาใช้ในกิจกรรมนั้นๆ มีหน่วยวัดเป็นมิลลิลิตรต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเวลา 1 นาที โดยค่า 1 MET มีค่าเท่ากับความต้องการใช้ออกซิเจนในหนึ่งนาทีเป็นปริมาตร 3.5 มิลลิลิตร ซึ่งโดยปกติแล้วพลังงานที่ใช้ในขณะพักจะมีค่าเท่ากับ 1 MET และกิจกรรมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ทำงานนั่งโต๊ะ จะใช้พลังงานเป็น 2 เท่าของขณะพัก ดังนั้นความหนักของการทำงานนั่งโต๊ะเท่ากับ 2 METs โดยปกติแล้ว จะแบ่งระดับของกิจกรรมออกเป็นความหนักระดับเบา ปานกลาง และหนัก โดยระดับเบา คือ กิจกรรม ที่มีค่าน้อยกว่า 3.0 METs ระดับปานกลาง คือ กิจกรรมที่มีค่าระหว่าง 3.0 - 6.0 METs และระดับหนัก คือ กิจกรรม ที่มีค่ามากกว่า 6.0 METs


106 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work ตารางที่ 3 ตัวอย‹างกิจกรรมแบ‹งตามระดับความหนักระดับเบา ปานกลาง และหนัก โดยการทดสอบความฟิตของร่างกายว่าอยู่ในระดับที่สามารถทำงานในอาชีพนี้ได้หรือไม่ หากนำไปเทียบจาก การทำกิจกรรมที่กำหนดไว้อาจไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ชัดเจนและอาจมีการแปลผลที่เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นการทดสอบความฟิตของร่างกายจึงควรตรวจวัดด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการ ออกกำลังกาย (Exercise Stress Test; EST) หรือค่าการใช้ออกซิเจนของร่างกายเมื่อออกกำลังอย่างเต็มกำลัง ถึงที่สุด (Maximal Oxygen Consumption; VO2max) ที่มีหน่วยเป็นมิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็นตัวเลข และสามารถนำไปเทียบเคียงกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ได้โดยการทดสอบความฟิต ของร่างกายว่าอยู่ในระดับที่สามารถทำงานในอาชีพนี้ได้หรือไม่ หากนำไปเทียบจากการทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ อาจไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ชัดเจนและอาจมีการแปลผลที่เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นการทดสอบความฟิต ของร่างกายจึงควรตรวจวัดด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test; EST) หรือค่าการใช้ออกซิเจนของร่างกายเมื่อออกกำลังอย่างเต็มกำลังถึงที่สุด (Maximal Oxygen Consumption; VO2max) ที่มีหน่วยเป็นมิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็นตัวเลข และสามารถนำไปเทียบเคียงกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ได้


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 107 ตารางที่ 4 การเปร�ยบเทียบระดับความฟ�ตของร‹างกายโดยการตรวจดŒวยว�ธีต‹างๆ ในส่วนของอาชีพกู้ภัยนั้น หน้าที่บางอย่างอาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่หนักเท่าอาชีพนักผจญเพลิง ดังนั้น จึงอาจปรับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายให้ลดลงจากของอาชีพนักผจญเพลิงได้ เช่น การสวมใส่ชุดป้องกันไฟ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดที่มีถังบรรจุอากาศภายในตัว และการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น และในส่วนของความฟิตของร่างกาย อาจปรับลดลงจากเกณฑ์ของนักผจญเพลิงได้อีกด้วยในส่วนของอาชีพกู้ภัยนั้น หน้าที่บางอย่างอาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่หนักเท่าอาชีพนักผจญเพลิง ดังนั้นจึงอาจปรับการทดสอบสมรรถภาพ ของร่างกายให้ลดลงจากของอาชีพนักผจญเพลิงได้ เช่น การสวมใส่ชุดป้องกันไฟ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบ หายใจชนิดที่มีถังบรรจุอากาศภายในตัว และการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น และในส่วนของความฟิตของร่างกาย อาจปรับลดลงจากเกณฑ์ของนักผจญเพลิงได้อีกด้วย 4. ข้อห้ามทางสุขภาพของคนทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัย จากเนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า นักผจญเพลิงเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพค ่อนข้างมาก อีกทั้งยังต้องการความฟิตและความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่ค่อยข้างสูง ดังนั้น จึงมีข้อห้ามทางสุขภาพของคน ที่จะทำงานอาชีพนี้โดยแบ่งตามระบบได้ดังนี้


108 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work • ศีรษะ (Head) o มีการผิดรูปของกะโหลกศีรษะจนไม่สามารถใส่หมวกนิรภัยได้ o มีการผิดรูปของกะโหลกศีรษะและใบหน้าจนไม่สามารถทำการทดสอบการกระชับของหน้ากากได้ o ความผิดปกติของศีรษะใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย • คอ (Neck) o ความผิดปกติของคอใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย • ดวงตาและสายตา (Eye and Vision) o มีการมองเห็นระยะไกลของสองตาแย่กว่า 20/40 หลังแก้ไขด้วยเลนส์สายตา หรือแย่กว่า 20/100 หากไม่ได้แก้ไขด้วยเลนส์สายตา o มีตาบอดสีที่ไม่สามารถมองเครื่องมือที่มีการจำแนกสี เช่น กล้องสแกนความร้อน เป็นต้น o มองเห็นด้วยตาเพียงข้างเดียว o ความผิดปกติของดวงตาใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้ อย่างปลอดภัย • หูและการไดยิน (Ear and Hearing) o มีภาวะเวียนศีรษะเรื้อรังหรือมีปัญหาด้านการทรงตัว จนไม่สามารถทดสอบด้วยการเดินต่อเท้า (Tandem gait walking) ได้ o มีการได้ยินของหูข้างที่ดีโดยไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังแย่กว่า 40 dB(A) โดยเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 3,000 Hertz o ความผิดปกติของหูใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย • ฟน (Dental) o ความผิดปกติของฟันใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย • จมูก คอหอย หลอดลม หลอดอาหาร และกลองเสียง (Nose, Oropharynx, Trachea, Esophagus and Larynx) o มีการเจาะคอ o ไม่สามารถส่งเสียงได้ o ไม่สามารถทำการใส่อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจได้ o ความผิดปกติของจมูก คอหอย หลอดลม หลอดอาหาร และกล่องเสียงใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำ กิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงการทดสอบความกระชับของ หน้ากาก และการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดที่มีถังบรรจุอากาศภายในตัว (SCBA) • ปอดและผนังชองอก (Lung and Chest Wall) o ยังมีการไอเป็นเลือดอยู่ o เป็นถุงลมโป่งพอง o เป็นโรคความดันหลอดเลือดปอดสูง o เป็นวัณโรคปอด o มีการตรวจสมรรถภาพปอดได้ค่า FEV1 หรือ FVC น้อยกว่า 70% ของค่าคาดคะเน o มีความผิดปกติแบบอุดกั้น เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือหอบหืด เป็นต้น ร่วมกับมีค่า FEV1/FVC ต่ำกว่า 0.70 โดยที่ค่า FEV1 ต่ำกว่า 0.80 หรือทั้งค่า FEV1 และ FVC ต่ำกว่า 0.80


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 109 o มีภาวะขาดออกซิเจน โดยค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ในขณะพัก หรือค่า ความเข้มข้นของออกซิเจนลดลงมากกว่า 4% ในขณะออกกำลังกายในผู้ที่มีค่าความเข้มข้นของ ออกซิเจนในเลือดในขณะพักอยู่ระหว่าง 91 – 93% o เป็นโรคหอบหืดที่ต้องใช้ยาพ่นขยาหลอดลมหรือสเตียรอยด์อย่างน้อย 1 ครั้งในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี o ความผิดปกติของปอดใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย o เคยได้รับการปลูกถ่ายปอด o มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ยังไม่ได้รับการรักษา ยังไม่ได้ใส่เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก อย่างต่อเนื่อง (Continuous positive airway pressure; CPAP) และมีผลกระทบในเวลางาน • หัวใจ (Heart) o มีอาการแสดงที่เด่นชัดว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก เคยผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ใส่เส้นเลือดหัวใจเทียม หรือหัตถการอื่นที่ใกล้เคียงกัน o มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือหัวใจล้มเหลว รวมทั้งอาการแสดงที่บ่งบอกว่าหัวใจห้องล่าง ทั้งขวาและซ้ายทำงานผิดปกติ หรือเต้นผิดจังหวะ เช่น อาการเหนื่อย มีเสียงหัวใจผิดปกติชนิด S3 gallop มีการบวมส่วนปลาย มีหัวใจห้องล่างโต มีการวัดปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจ ในการบีบตัว 1 ครั้ง (Ejection fraction) ที่ผิดปกติ และ/หรือการที่ร่างกายไม่สามารถเพิ่ม ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output) ขณะที่ออกกำลังกายได้ o มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) และกล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ (Myocarditis) ชนิดเฉียบพลัน o มีภาวะวูบหรือหมดสติที่กลับมาเป็นซ้ำ o มีภาวะใดๆ ของหัวใจที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติชนิด Defibrillator ในร่างกาย หรือมี ประวัติหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (Ventricular tachycardia) หรือเต้นผิดจังหวะ (Fibrillation) เนื่องจากการขาดเลือด หรือเป็นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ o ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด Third-degree atrioventricular (AV) block o การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติชนิด Pacemaker o กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติชนิดหนาตัว (Hypertrophy) รวมถึงชนิด Idiopathic hypertrophic subaortic stenosis o ความผิดปกติของหัวใจใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่าง ปลอดภัย o เคยได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ • หลอดเลือด (Vascular) o ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หรือมีการทำลายของอวัยวะส่วนปลาย (End organ damage) o มีเส้นเลือดบริเวณช่องอกหรือช่องท้องโป่งพอง o มีการอุดตันหรือตีบของเส้นเลือด Carotid artery ที่ลดอัตราการไกลของเลือดมากกว่าหรือ เท่ากับ 50% o เป็นโรคที่ข้องกับเส้นเลือดส่วนปลาย จนทำให้มีอาการปวดขา (Claudication) o ความผิดปกติของหลอดเลือดใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้ อย่างปลอดภัย • อวัยวะภายในชองทองและระบบยอยอาหาร (Abdominal Organ and Gastrointestinal System) o มีภาวะไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบหรือต่ำกว่าขาหนีบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขถ้ามีอาการ o ความผิดปกติของช่องท้องใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้ อย่างปลอดภัย


110 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work • ระบบสืบพันธุ (Reproductive System) o ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิง ได้อย่างปลอดภัย *หมายเหตุ หากคนงานเป็นหญิงและเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดไว้ ชัดเจนว่าห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานดังกล่าว เนื่องจากอาจมีการทำงานในช่วงเวลา 22.00 นาฬิกาถึง 06.00 นาฬิกา เป็นงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน เป็นงานขับเคลื่อนที่ติดไปกับยานพาหนะ และอาจมีการยกแบกหาม ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ว่านายจ้างไม่สามารถนำลูกจ้างออกจากงานที่ได้รับมอบหมายได้หากลูกจ้าง หญิงมีครรภ์ยังสามารถทำได้และต้องการที่จะทำ ซึ่งศาลฎีกาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตีความแล้วว่านายจ้าง ไม่สามารถนำลูกจ้างออกจากงานอันตรายได้ อย่างไรก็ตามได้แนะนำว่า หากปรับเป็นงานที่เบากว่าหรืองานอื่นๆ ที่สมเหตุสมผลย่อมดีกว่า • ระบบปสสาวะ (Urinary System) o ภาวะไตวายที่ต้องทำการล้างไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis; CAPD) หรือด้วยวิธีการฟอกเลือด (Hemodialysis) o ความผิดปกติของระบบปัสสาวะใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิง ได้อย่างปลอดภัย o โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease; CKD) ระยะที่ 4 หรือแย่กว่า [อัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate; GFR) < 1 oz/min (30 ml/min)] • กระดูกสันหลังและกระดูกแกน (Spine and Axial Skeleton) o มีกระดูกสันหลังส่วนอกหรือเอวคดมากกว่าเท่ากับ 40 องศา o ความผิดปกติของกระดูกสันหลังและกระดูกแกนใดๆ ที่ทำให้ระบบรับสัมผัส (Sensory) หรือระบบ สั่งการ (Motor) บกพร่อง หรืออาการปวดที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท o ความผิดปกติของกระดูกสันหลังและกระดูกแกนใดๆ ที่ทำให้มีอาการปวดจนต้องใช้ยาแก้ปวด ชนิดที่เป็นยาเสพติดอยู่ซ้ำๆ หรือเป็นประจำ o กระดูกสันหลังส่วนคอหัก และทำให้แกนกลางของกระดูกสันหลังหลายแห่งถูกกดทับมากกว่า 25% o กระดูกสันหลังส่วนอกหัก และทำให้แกนกลางของกระดูกสันหลังหลายแห่งถูกกดทับมากกว่า 50% o กระดูกสันหลังส่วนเอวหัก และทำให้แกนกลางของกระดูกสันหลังหลายแห่งถูกกดทับมากกว่า 50% • แขนและขา (Extremities) o เคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อ o ระยางค์ส่วนบนถูกตัดหรือพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ระดับมือขึ้นไปหรือสูงกว่า o นิ้วโป้งถูกตัดทั้งระดับ Proximal phalanx จนถึงระดับ Midproximal phalanx o ระยางค์ส่วนล่างถูกตัดหรือพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ระดับเท้าขึ้นไปหรือสูงกว่า o มีแผลปลูกถ่ายเนื้อเยื่อกระดูก (Bone graft) ที่รักษาไม่หายทั้งชนิดเรื้อรังและเพิ่งเป็นไม่นาน o มีประวัติการเกิดไหล่หลุดมากกว่า 1 ครั้งที่ไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัดหรือมีประวัติเกิดซ้ำในระยะเวลา ไม่เกิน 5 ปี ร่วมกับมีอาการปวดหรือสูญเสียการเคลื่อนไหวทั้งชนิดที่เอกซเรย์ปกติและผิดปกติ


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 111 • ระบบประสาท (Neurological System) o มีการชักโดยไมมีปจจัยกระตุน (Unprovoked seizure) ยกเวน • ไม่มีอาการชักในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา หรือเป็นโรคลมชัก (Epilepsy) ที่ไม่มีอาการชัก ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา • ไม่มีการปรับยา หรือไม่ได้รับประทานยาในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา • ตรวจร่างกายทางระบบประสาทปกติ • ตรวจคลื่นไฟฟาสมอง (Electroencephalogram; EEG) ปกติ • ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) ปกติ • มีใบรับรองแพทย์ยืนยันจากแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา (Neurologist) o มีอาการเดินเซ (Ataxia) จากการเสื่อมของระบบประสาท o มีภาวะหลอดเลือดแดงที่สมองแข็ง (Cerebral arteriosclerosis) ซึ่งมีหลักฐานจากประวัติ การเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคขณะ (Transient ischemic attack; TIA) ภาวะสมองขาดเลือด ชั่วคราว (Reversible ischemic neurological deficit; RIND) หรือโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือด (Ischemic stroke) o มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก (Hemiparalysis) หรือมีการอ่อนแรงของแขนขา o เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis; MS) ซึ่งมีอาการรุนแรงขึ้นในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา o เปนโรคกลามเนื้อออนแรง (Myasthenia gravis; MG) ซึ่งมีอาการรุนแรงขึ้นในระยะเวลา 3 ป ที่ผ่านมา o มีภาวะกล้ามเนื้อฝ่อชนิด Dystrophy หรือ Atrophy ที่รุนแรงขึ้น o มีเส้นเลือดสมองโป่งพองที่ยังไม่ได้รับการรักษา o มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) o เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ มีอาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือ ภาวะความนึกคิดบกพร่อง (Cognitive impairent) o เป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) ร่วมกับอาการผลอยหลับ (Cataplexy) หรืออาการง่วงนอน มากผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive daytime sleep) o เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic lateral sclerosis; ALS) • ผิวหนัง (Skin) o มีการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่ผิวหนัง (Metastasis) หรือเป็นมะเร็งที่ผิวหนังแบบ Locally extensive basal or squamous cell carcinoma หรือเป็นมะเร็งชนิด Melanoma • ระบบเลือดและอวัยวะที่สรางเม็ดเลือด (Blood and blood-forming organ) o อยู่ในภาวะเลือดออกไม่หยุดที่ต้องมีการให้เลือดทดแทน o เป็นโรค Sickle cell disease ชนิด Homozygous o มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ


112 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work • ระบบตอมไรทอ (Endocrine system) o เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ I และ II ยกเว้น • มีการคงระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีโดยการรักษาจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญโดยการใช้ Insulin analogs • มีการแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่ามีแรงจูงใจและเข้าใจการรักษาที่ต้องมีการเจาะเลือดเพื่อดู ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งจากการคุมอาหารและ การรักษาด้วย Insulin • ไม่มีภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) ที่มากกว่าความผิดปกติแบบ Microaneurysm • มีการทำงานของไตที่ปกติ • ไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic) หรือระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral) • มีการทำงานของหัวใจที่ปกติ • มีใบรับรองแพทย์และประวัติยืนยันการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านต่อไร้ท่อ หรือแพทย์ที่ทำ การรักษา • โรคทางระบบรางกายและอื่นๆ (Systemic diseases and miscellaneous conditions) o ความผิดปกติของโรคทางระบบร่างกายใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจ ผจญเพลิงได้อย่างปลอดภัย • เนื้องอกและมะเร็ง (Tumor and malignant disease) o เป็นโรคมะเร็งที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย ยังไม่ได้รับการรักษา หรือกำลังทำการรักษาอยู่ • ภาวะทางจิตเวช (Psychiatric condition) o ภาวะทางจิตเวชใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่สำคัญของภารกิจผจญเพลิงได้อย่างปลอดภัย • การใชยา สารเสพติด หรือสารใดๆ (Chemical, Drugs and Medication) o มีการบุหรี่ o มีการใช้ยาที่ผิดกฎหมาย o มีการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติด รวมถึง Methadone o มีการใช้ยานอนหลับ o มีการใช้ยาที่ลดการแข็งตัวของเลือด o มีการใช้ยาในกลุ่ม Beta-adrenergic blocking o มีการใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ • ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น (Inhaled bronchodilators) • สเตียรอยด์ชนิดพ่น (Inhaled corticosteroids) • สเตียรอยด์ชนิดกินหรือฉีด (Systemic corticosteroids) • ยากลุ่ม Theophylline • ยากลุ่ม Leukotriene receptor blockers/antagonists ในส่วนของอาชีพกู้ภัยนั้น เนื่องจากลักษณะงานอาจไม่อันตรายเท่ากับของอาชีพนักผจญเพลิง ดังนั้นจึง สามารถปรับเกณฑ์ให้ลดลงจากเกณฑ์ของอาชีพนักผจญเพลิงที่กล่าวมาข้างต้นได้


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 113 5. แนวทางการตรวจสุขภาพของคนทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัยและแบบฟอร์มการ ตรวจสุขภาพ จากเนื้อหาที่ได้กล่าวไว้ทั้งหมดในข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่า อาชีพผจญเพลิงหรือกู้ภัยนั้นเป็นอาชีพที่มีความ อันตรายเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การตรวจประเมินสุขภาพของพนักงานก่อนที่จะเข้าไปทำงานนั้นจึงต้องกระทำด้วย ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากหากแพทย์อนุญาตให้พนักงานที่มีสุขภาพไม่พร้อมหรือมีความเจ็บป่วยที่เป็น อันตรายอยู่เดิมให้เข้าทำงานแล้ว อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต และความเจ็บป่วย จากการทำงานได้ ทั้งต่อตัวคนงานเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน รวมถึงต่อผู้ประสบภัยที่จะเข้าไปทำการช่วยเหลือด้วย ดังนั้นแพทย์จึงควรทำการตรวจประเมินสุขภาพด้วยความละเอียดถี่ถ้วน อ้างอิงจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ที่กำหนดว่า “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง” หมายความว่า งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอื่น ที่อาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพของลูกจ้าง ซึ่งการทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัยจะเข้าได้กับสภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จะต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้ที่ทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัยโดยแพทย์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติสาขา เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ หรือผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุข รับรอง โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพ ลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามระยะเวลาอื่นตามผลการตรวจสุขภาพ โดยมีแนวทางในการตรวจสุขภาพดังนี้ 1. การซักประวัติทั่วไป o การสอบถามข้อมูลลักษณะการทำงาน โดยถามเพื่อให้ทราบว่าเป็นนักผจญเพลิงหรือกู้ภัย และหากเป็น นักผจญเพลิง เป็นนักผจญเพลิงเทศบาลหรือนักผจญเพลิงอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรการความปลอดภัยที่ทางนายจ้าง มีให้ เช่น อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เนื่องจากต่างองค์กรกันก็ย่อมมีการบริหารจัดการในด้านเหล่านี้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น o การสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อแพทย์ในการใช้ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ของลูกจ้างที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพแต่ละราย เนื่องจากข้อมูลด้านสุขภาพหลายๆ อย่าง แพทย์ผู้ทำการตรวจ อาจไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายหรือทางห้องปฏิบัติการ เช่น โรคประจำตัวต่างๆ หรือประวัติการรักษา ในอดีต โดยการสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพนั้น ควรให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นผู้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ในใบรับรองแพทย์ด้วนตนเอง เพื่อเป็นการรับรองสุขภาพของผู้ที่เข้ารับการตรวจด้วยตนเอง และเพื่อที่แพทย์ที่ทำการ ตรวจจะได้นำมาทบทวนในภายหลังได้ว่ามีข้อห้ามทางสุขภาพใดหรือไม่ที่ไม่ควรให้ทำงานนี้ โดยข้อคำถามด้านสุขภาพ ที่แนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นผู้บันทึกด้วยตนเองมีดังนี้ • ปัญหาด้านการมองเห็น (โรคตา ประวัติการผ่าตัด การสูญเสียการมองเห็นทั้งชั่วคราวและถาวร) • ปัญหาด้านการได้ยิน • สภาพผิวหนัง (ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ผิวหนังแพ้ง่าย มีแผลเปิด) • มีอาการเวียนศีรษะ/วูบ/หมดสติ • ปัญหาทางด้านจิตเวช/เครียด/ซึมเศร้า • ประวัติการรักษาการใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในอดีต • โรคหอบหืด/หลอดลมอักเสบเรื้อรัง/ถุงลมโป่งพอง • ความรู้สึกที่ไม่ดีกับความเย็น ความร้อน ที่สูง หรือที่แคบ • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ • เจ็บหน้าอกหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ • กระดูกหรือซี่โครงหัก • เบาหวาน • แผลในกระเพาะอาหาร/ลำไส้แปรปรวน/โรคโครห์น (Crohn's Disease) • มะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง


114 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work • อาการเกร็ง/ชัก/โรคลมชัก • ปวดศีรษะ • ออนเพลียเรื้อรัง/โรค Gulf War Syndrome • วัณโรค • ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด • ข้อเท้าบวม หรือเส้นเลือดขอด • ภาวะเลือดออกง่าย • ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น • ตับอักเสบ • ไส้เลื่อน • ซีด • อาการปวดเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือการเคลื่อนไหวที่จำกัดของคอ ข้อมือ หลัง ข้อเท้า ไหล่ มือ สะโพก เท้า ข้อศอก เข่า และประวัติอื่นๆ ที่แพทย์ผู้ทำการตรวจสุขภาพควรสอบถามจากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม ได้แก่ • ประวัติการสูบบุหรี่ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา • ประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร • ประวัติการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจ • ประวัติการเกิดปัญหาจากการใส่หน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ • ประวัติการเป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแต่ยังไม่ได้รักษา • ประวัติโรคประจำตัว และยาที่ใช้อยู่ • ประวัติการการถูกจำกัดหรือปรับเปลี่ยนการทำงาน 2. การตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ ได้แก่ การตรวจวัดสัญญานชีพ ตรวจวัดดัชนีมวลกาย ศีรษะและคอ ดวงตาและ สายตา หูและการได้ยิน ช่องปากและฟัน จมูก คอหอย หลอดลม หลอดอาหาร และกล่องเสียง ปอดและผนังช่องอก หัวใจและหลอดเลือด ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบปัสสาวะ กระดูกสันหลังและกระดูกแกน แขนและขา ระบบประสาท ผิวหนัง ระบบเลือด ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทางจิตเวช โดยรายละเอียดข้อห้าม ในการทำงานสามารถดูได้จากหัวข้อก่อนหน้าด้านบน 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษอื่นๆ โดยกำหนดรายการตรวจที่จำเป็นต้องตรวจก่อนเข้างาน เปนพื้นฐาน และหลังจากนั้นอาจกำหนดใหตรวจซ้ำเปนระยะตามชวงอายุ เชน ถาอายุ < 35 หรือ 40 ป ใหตรวจ ทุก 3 ปี และถ้าอายุ > 35 หรือ 40 ปี ให้ตรวจทุกปี โดยรายการตรวจที่แนะนำมีดังนี้ o ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด o การทำงานของตับ o การทำงานของไต o ระดับน้ำตาลในเลือด o การตรวจปัสสาวะทั่วไป และสารเสพติดในปัสสาวะ o สมรรถภาพการได้ยิน o สมรรถภาพการมองเห็น o สมรรถภาพปอด o เอกซเรย์ปอด o คลื่นไฟฟ้าหัวใจ o การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 115 และการตรวจอื่นๆ ที่เป็นการตรวจเพิ่มเติมเป็นทางเลือก ได้แก่ o การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) o ระดับไขมันในเลือด o ภูมิคุ้มกันต่างๆ ของร่างกาย o การตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธีต่างๆ o การตรวจหาโลหะหนักในร่างกาย 4. การฉีดวัคซีนและให้ภูมิคุ้มกันโรค เนื่องจากอาชีพนักผจญเพลิงและกู้ภัยมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการติดเชื้อจากบาดแผล จากการที่ต้องสัมผัสผู้คนจำนวนมาก หรือจากการสัมผัสสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่า ดังนั้นจึงควรมีการให้ภูมิคุ้มกันดังต่อไปนี้ o วัคซีนบาดทะยัก โดยฉีดกระตุ้นทุก 5 ปี o วัคซีนพิษสุนัขบ้า o วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี o วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง


116 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work ตัวอย่างแบบฟอร์มการตรวจสุขภาพ ส่วนที่ 1 ของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว.............................................................………………....................................................... อายุ...............ปี สถานที่อยู่ (ที่ติดต่อได้)....................................................................................................................................................................... โทรศัพท์……..................... หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน - - - - ชื่อบริษัท.................................................................................. ตำแหน่งงาน....................................................................................... ข้อมูลสุขภาพ: กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง 1. ระบุการนอนโรงพยาบาลครั้งล่าสุด 3 ครั้ง (ไม่รวมการนอนตั้งแต่คลอด) วันที่ อายุ โรคหรืออาการที่ป่วย ชื่อโรงพยาบาล จังหวัด ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ 2. ระบุการผ่าตัดที่ไม่รวมในข้อที่ 1 ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ ____________ _____ ______________________________ ___________________ _______________ 3. วันที่ฉีดวัคซีนบาดทะยักครั้งล่าสุด............................................................………………......... ไม่เคย ไม่ทราบ 4. ระบุยาทั้งหมดที่ท่านใช้ประจำ (รวมทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อกินเอง วิตามิน สมุนไพร อาหารเสริม และอื่นๆ) .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 5. ระบุยาทั้งหมดที่ท่านเพิ่งใช้ใน 2 เดือนที่ผ่านมา (รวมทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อกินเอง) ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อ 4 .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 6. ท่านมี หรือเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ ปัญหาด้านการมองเห็น (โรคตา ประวัติการผ่าตัด การสูญเสียการมองเห็นทั้งชั่วคราวและถาวร) สภาพผิวหนังผิวปกติ (ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ผิวหนังแพ้ง่าย มีแผลเปิด) มีอาการเวียนศีรษะ/วูบ/หมดสติ ปัญหาทางด้านจิตเวช/เครียด/ซึมเศร้า ประวัติการรักษาการใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในอดีต โรคหอบหืด/หลอดลมอักเสบเรื้อรัง/ถุงลมโป่งพอง ความรู้สึกที่ไม่ดีกับความเย็น ความร้อน ที่สูง หรือที่แคบ ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เจ็บหน้าอกหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ กระดูกหรือซี่โครงหัก เบาหวาน แผลในกระเพาะอาหาร/ลำไส้แปรปรวน/โรคโครห์น (Crohn's Disease)


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 117 มะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการเกร็ง/ชัก/โรคลมชัก ปวดศีรษะ ออนเพลียเรื้อรัง/โรค Gulf War Syndrome วัณโรค ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด ข้อเท้าบวม หรือเส้นเลือดขอด ภาวะเลือดออกง่าย ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น ตับอักเสบ ไส้เลื่อน ซีด อาการปวดเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือการเคลื่อนไหวที่จำกัดของคอ ข้อมือ หลัง ข้อเท้า ไหล่ มือ สะโพก เท้า ข้อศอก เข่า 7. ท่านได้การสูบบุหรี่ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ใช่ ไม่ใช่ 8. ท่านเคยมีการแพ้ยา แพ้อาหาร ใช่ ไม่ใช่ 9. ท่านเคยเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 10. ท่านเคยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 11. ท่านเคยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 12. ท่านเคยมีปัญหาจากการใส่หน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจอาการหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. 13. ท่านกำลังรักษาอาการผิดปกติทางอารมณ์หรือโรคทางจิตเวชหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 14. ท่านเคยได้รับคำแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ยังไม่เคยทำหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 15. ท่านเคยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้จำกัดการทำงานหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ ท่านสามารถกลับไปทำงานเดิมได้อย่างเต็มที่หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าไม่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................................


118 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work 16. ท่านกำลังรับประทานยาที่ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายหรือจิตใจอยู่หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 17. ท่านเคยออกจากงานหรือถูกปฏิเสธการจ้างจากสภาพร่างกาย จิตใจ หรืออื่นๆ หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 18. ท่านเคยออกหรือถูกปฏิเสธตำแหน่งทางทหารจากสภาพร่างกาย จิตใจ หรืออื่นๆ หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 19. ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ท่านเคยรู้สึกชา หรือเจ็บแปล๊บที่มือข้างเดียวหรือสองข้าง หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 20. ท่านรู้สึกไม่สบายบริเวณข้อมือ แขน หรือไหล่ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน 21. โปรดระบุตำแหน่งที่ท่านรู้สึกปวด เจ็บแปล๊บ ชา หรือมีปัญหาอื่นๆ 22. ท่านกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาดังต่อไปนี้หรือไม่ • ใสคอนแทคเลนส ใช่ ไม่ใช่ • ใสแวนตา ใช่ ไม่ใช่ • ตาบอดสี ใช่ ไม่ใช่ • ภาวะผิดปกติอื่นๆ ของตาหรือสายตา ใช่ ไม่ใช่ 23. ท่านเคยได้รับการบาดเจ็บที่หู รวมทั้งการเกิดเยื่อแก้วหูฉีกขาดหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 24. ท่านกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินดังต่อไปนี้หรือไม่ • ไดยินลำบากขึ้น ใช่ ไม่ใช่ • ใสเครื่องชวยฟง ใช่ ไม่ใช่ • ภาวะผิดปกติอื่นๆ ของหูหรือการไดยิน ใช่ ไม่ใช่ 25. ท่านเคยหรือกำลังรักษาจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆ หรือสารพิษใดๆ หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 26. ท่านเคยสัมผัสปัจจัยเสี่ยงด้านเคมีหรือชีวภาพที่ท่านรู้และ/หรือกังวลหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ 27. ท่านมีเงื่อนไขทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องการหรือไม่ เช่น ปรับงาน/สถานที่ทำงาน ใช่ ไม่ใช่ 28. เฉพาะคนทำงานเพศหญิง – ขณะนี้ท่านตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย 119 ส่วนที่ 2 ของแพทย์ วันที่________เดือน_______________พ.ศ.___________ ข้าพเจ้า นพ./พญ.___________________________ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่______________ ได้ตรวจร่างกาย นาย/นาง/นางสาว__________________________________________________________ เมื่อวันที่ (วัน/เดือน/ปี)________________________________ มีรายละเอียดดังนี้ น้ำหนักตัว_______________กก. ความสูง________________ซม. ดัชนีมวลกาย__________________กก./ม.2 ความดันโลหิต________________มม. ปรอท ชีพจร________________ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ สภาพร่างกายทั่วไปจากการตรวจร่างกายภายนอก อยู่ในเกณฑ์ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) _________________ __________________________________________________________________ ประวัติการใช้ยาประจำ ไม่มี มี (ระบุชื่อยาที่ใช้ประจำ)_________________________________ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน ไม่ดื่ม ดื่ม (ระบุความถี่ที่ดื่ม)___________________________ การตรวจร่างกายโดยแพทย์ ศีรษะและคอ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ดวงตาและสายตา ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ หูและการได้ยิน ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ช่องปากและฟัน ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ จมูก คอหอย หลอดลม หลอดอาหาร และกล่องเสียง ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ปอดและผนังช่องอก ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ หัวใจและหลอดเลือด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบย่อยอาหาร ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบสืบพันธุ์ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบปัสสาวะ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ กระดูกสันหลังและกระดูกแกน ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ แขนและขา ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบประสาท ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ 29. เฉพาะคนทำงานเพศหญิง – ประจำเดือนครั้งสุดท้ายของท่านคือเมื่อใด........................................................................... 30. ท่านเคยมีการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆ หรือมีประวัติทางสุขภาพที่สำคัญอื่นๆ อีกหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ ถ้าใช่ โปรดบรรยาย ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................. ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความที่แจ้งข้างต้นนี้เป็นความจริงทุกประการ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูล สุขภาพของข้าพเจ้าแก่นายจ้าง เพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยในการทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัยของข้าพเจ้า ลงชื่อ.................................................................................... ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ


120 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work ผิวหนัง ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบเลือด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบต่อมไร้ท่อ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระบบภูมิคุ้มกัน ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ภาวะทางจิตเวช ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การทำงานของตับ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การทำงานของไต ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ระดับน้ำตาลในเลือด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การตรวจปัสสาวะทั่วไป ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ สมรรถภาพการได้ยิน ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ สมรรถภาพการมองเห็น ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ สมรรถภาพปอด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ เอกซเรย์ปอด ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ การตรวจพิเศษอื่นๆ (ถ้ามี) ปกติ ผิดปกติ (ระบุ) ________________________ แพทย์ได้ทำการตรวจประเมินสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคและความผิดปกติต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออันตราย หากทำงานทำงานผจญเพลิงหรือกู้ภัยแล้ว มีความเห็นดังนี้ สามารถทำงานบนที่สูงได้ (Fit to work) สามารถทำงานบนที่สูงได้แต่มีข้อจํากัดหรือข้อควรระวัง ดังนี้ (Fit to work with limitation/restriction) (รายละเอียด) _________________________________________________________________________ เป็นเวลา___________ ตั้งแต่วันที่____________ ถึงวันที่___________ และนัดมาประเมินซ้ำวันที่___________ ไมสามารถทำงานบนที่สูงได (Unfit to work) (รายละเอียด) _________________________________________________________________________ ลงชื่อ________________________________________ แพทย์ผู้ตรวจ


แนวทางการตรวจสุขภาพ บทที่ 6 ผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากาก ชนิดแนบแน‹น


1. หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันโรคจากการทำงานโดยการลดการสัมผัสสิ่งคุกคามในสถานที่ทำงานของพนักงาน สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การแก้ไขที่แหล่งกำเนิด การแก้ไขที่ทางผ่าน และการป้องกัน ที่ตัวพนักงานเองโดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ถึงแม้ว่าการใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลจะเป็นวิธีสุดท้ายในการนำมาใช้ในมาตรการป้องกัน แต่การใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลเป็นมาตรการที่สามารถทำได้รวดเร็ว และยังมีความจำเป็นในกรณีที่ไม่สามารถ แก้ไขที่แหล่งกำเนิดสิ่งคุกคามได้ ปัจจุบันอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมีหลายประเภทและ หลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป สำหรับอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจซึ่งนำมาใช้กันมากในกรณีที่คนทำงานมีการสัมผัสฝุ่น ไอระเหยสารเคมี และสิ่งคุกคามด้านชีวภาพ เช่น เชื้อโรคที่ติดต่อทางการหายใจ ในปัจจุบันมี หลากหลายชนิดด้วยเช่นกัน ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า หน้ากากป้องกัน โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ตามการป้องกันและคุณสมบัติของหน้ากาก การเลือกใช้หน้ากากป้องกันแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ของสารเคมีที่ปนเปื้อนในอากาศ ควรมีการประเมินสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานโดยนักสุขศาสตร์ อุตสาหกรรมก่อนการเลือกใช้ หน้ากากป้องกันที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือ หน้ากากชนิดแนบแน่นซึ่งสามารถลดการรับสัมผัส ได้ดี การสวมใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นให้ถูกต้องและเหมาะสมขณะปฏิบัติงานจะช่วยลดการสัมผัส หรือป้องกันอันตรายจากการทำงานได้ หน้ากากชนิดแนบแน่นที่ดีจำเป็นต้องแนบกับหน้าผู้ใส่ อย่างไร ก็ตามหน้าของผู้สวมใส่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น รูปหน้าไม่เหมือนกัน ขนาดของใบหน้า ไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้สวมใส่แต่ละคนจึงเหมาะกับหน้ากากชนิดแนบแน่นแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ภาวะทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานบางอย่างมีผลต่อการเลือกชนิดอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีโรคประจำตัวบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับการสวมใส่หนน้ากากชนิดแนบแน่น ดังนั้นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่นจึงมีความสำคัญเพราะทำให้ สามารถเลือกหน้ากากที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อไปได้ สำหรับประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่มีการกฎหมายกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน กับหน้ากากชนิดแนบแน่น แต่ในบางประเทศหรือบางบริษัทได้ออกข้อบังคับให้มีการประเมินภาวะ สุขภาพของผู้ปฏิบัติก่อนเริ่มสวมใส่หน้ากากแล้ว โดยการใช้แบบสอบถามและประเมินโดยแพทย์ต่อไป พญ. อรพรรณ ชัยมณี แนวทางการตรวจสุขภาพ ผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 123 บทที่ 6


124 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work 2. นิยาม ลักษณะการทำงาน และความเสี่ยงของการใช้หน้ากากชนิดแนบแน่นไม่ถูกต้อง การใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นให้แนบสนิทกับใบหน้าสามารถช่วยป้องกันและลดการรับสัมผัสสิ่งคุกคามที่ สามารถเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจได้ หน้ากากที่ดีต้องสามารถป้องกันทางเดินหายใจเมื่ออากาศผ่านตัวกรองของ หน้ากาก หากสวมหน้ากากครอบไม่สนิทกับใบหน้า อากาศจะเข้าสู่ทางเดินหายใจโดยไม่ผ่านตัวกรอง การใส่หน้ากาก ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หรือมีการรั่วซึมของสารเคมีเข้าไปในหน้ากาก อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้สวมใส่ขณะ ปฏิบัติงานและทำให้เกิดอันตรายตามมาได้เนื่องจากประสิทธิภาพของการป้องกันลดลง 3. การทดสอบ fit test ของการใช้หน้ากากชนิดแนบแน่น การทดสอบ fit test เป็นวิธีการตรวจสอบว่าชนิดและขนาดหน้ากากชนิดแนบแน่นเหมาะสมกับรูปหน้า ของผู้สวมใส่และปกปิดใบหน้าผู้สวมใส่ถูกต้องหรือไม่ และยังช่วยบอกด้วยว่าหน้ากากชนิดไหนไม่ควรสวมใส่ ไม่มี หน้ากากชนิดไหนที่เหมาะกับใบหน้าของผู้สวมใส่ทุกคน การที่จะบอกว่าหน้ากากชนิดไหนเหมาะสมกับผู้สวมใส่และ งานที่ปฏิบัติ สามารถบอกได้โดยทำการทดสอบ fit test หลังจากที่มีการประเมินการรับสัมผัสและความเสี่ยง จากงานแล้ว นอกจากนี้การทดสอบ fit test ยังช่วยประเมินได้ด้วยว่าหน้ากากที่สวมใส่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอื่นๆ ได้เหมาะสมหรือไม่ขณะปฏิบัติงาน การทดสอบ fit test ได้ถูกกำหนดให้มีการทดสอบในผู้ที่ต้องสวมใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นขณะปฏิบัติงาน ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนนาดา เป็นต้น แต่ในประเทศที่ไม่ได้กำหนดให้ทดสอบ ก็มีสถาน ประกอบการจำนวนหนึ่งที่กำหนดให้ต้องมีการทดสอบก่อนปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน ควรทำ fit test ก่อนเลือกใช้หน้ากากและทดสอบอีกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของหน้ากาก หรือในกรณีที่ผู้สวมใส่มีเหตุที่ทำให้ใบหน้าเปลี่ยนไป เช่น • น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้น • มีการรักษาฟันหรือช่องปาก • ใบหน้าเปลี่ยนเนื่องจากมีรอยแผลเป็นหรือเกิดริ้วรอยจากอายุบริเวณที่แนบกับหน้ากาก • มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องสวมศีรษะชนิดใหม่เพิ่มขึ้นมา ผลจากการทดสอบ fit test ว่าอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจมีสมรรถนะดีเพียงใด ดูได้จากค่า fit factor ซึ่งหมายถึง ค่าประมาณของความแนบแน่นของหน้ากากที่ทดสอบกับผู้สวมใส่หน้ากาก โดยคำนวณอัตราส่วนของ ความเข้มข้นของสารในอากาศต่อความเข้มข้นของสารในหน้ากากขณะสวมใส่ การทดสอบ fit test มี 2 แบบ คือ 3.1 การทดสอบเชิงคุณภาพ (Qualitative fit testing : QLFT) การทดสอบเชิงคุณภาพ เป็นการทดสอบโดยการประเมินการรับกลิ่นหรือรสของผู้สวมใส่หน้ากาก โดยใช้สารทดสอบ ที่มีรสขมหรือหวาน เช่น สารละลาย Saccharine หรือ Bitrex พ่นเข้าไปในฝาครอบโดยมีผู้เข้ารับการทดสอบ ใส่หน้ากากอยู่ภายใน แล้วประเมินจากการรั่วซึมของหน้ากากว่าผู้สวมใส่หน้ากากสามารถรับกลิ่นและรสได้หรือไม่ โดยผลการทดสอบจะได้เป็นผ่านหรือไม่ผ่าน หากผู้ถูกทดสอบไม่สามารถรับรสหรือกลิ่นได้ จะถือว่าการทดสอบ fit test นี้ “ผ่าน” (fit factor = 100) การทดสอบเชิงคุณภาพนี้ขึ้นกับความรู้สึกและการตอบสนองของผู้ถูกทดสอบ ที่สวมใส่หน้ากาก ดังนั้นผู้ที่ทำการทดสอบควรมีความชำนาญกับการทดสอบนี้เป็นอย่างดี การทดสอบเชิงคุณภาพใช้บ่อยในการทดสอบหน้ากากครอบครึ่งหน้าทั้งแบบที่ใช้ครั้งเดียวและแบบใช้ซ้ำ ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ทดสอบกับหน้ากากชนิดครอบเต็มหน้า


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 125 3.2 การทดสอบเชิงปริมาณ (Quantitative fit testing : QNFT) การทดสอบเชิงปริมาณ เป็นการประเมินอัตราส่วนของอนุภาคละอองฝอยภายในหน้ากากต่อภายนอกหน้ากาก เพื่อประเมินดูว่าหน้ากากแนบกับใบหน้าผู้สวมใส่ดีหรือไม่ โดยการคำนวณ fit factor ตัวอย่างการทดสอบเชิงปริมาณ เช่น • Ambient particle counting • Controlled negative pressure (CNP) การคำนวณ fit factor สำหรับการทดสอบด้วยวิธี ambient particle counting คำนวณ quantitative fit factor (QNFF) โดยคำนวณอัตราส่วนของความเข้มข้นของละอองฝอย มีสูตรดังนี้ QNFF = Co/ Ci โดย Co คือ ความเข้มข้นของละอองฝอยภายนอกหน้ากาก Ci คือ ความเข้มข้นของละออกฝอยภายในหน้ากาก สำหรับการทดสอบด้วยวิธี controlled negative pressure คำนวณ QNFF โดยคำนวณอัตราส่วนของ อัตราการไหลเข้าของอากาศ และค่าเฉลี่ยของอัตราการรั่วซึม มีสูตรดังนี้ QNFF = IFR / LFR โดย IFR คือ อัตราการไหลเข้าของอากาศ (inspiratory flow rate) LFR คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราการรั่วซึม (mean leakage flow rate) การทดสอบเชิงปริมาณใช้ทดสอบกับหน้ากากได้ทุกประเภท ทั้งแบบหน้ากากครอบครึ่งหน้าและเต็มหน้า หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว และหน้ากากที่ใช้ซ้ำ ความแน่นและ fit test exercise เป็นการทดสอบความแนบแน่นของหน้ากากขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ผู้สวมใส่หน้ากากมีการเคลื่อนไหว ด้วยท่าทางต่าง ๆ ดังนี้ 1. หายใจปกติ 2. หายใจลึก ๆ 3. ขยับศีรษะไปด้านข้าง ซ้ายสลับขวา 4. ขยับศีรษะขึ้นลง ก้มศีรษะและเงยศีรษะ 5. อ่านหนังสือ / พูดเสียงดัง 6. ขยับใบหน้า 7. ก้มตัวถึงระดับเอว 8. หายใจปกติ การทดสอบ fit test exercise ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะประกอบไปด้วย 8 ท่าทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น แต่ในประเทศอังกฤษ ใช้ท่าทางทดสอบ 7 ท่าทาง โดยตัดการขยับใบหน้าออก สูตรคำนวณ fit factor ทั้งหมด . ff1 : Fit factor ของท่าทางที่ 1 …….. ff8 : fit factor ของท่าทางที่ 8 Overall fit factor =


126 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work การทดสอบก่อนใช้งาน ควรตรวจสอบความแนบแน่นทุกครั้งเมื่อสวมใส่หน้ากากและก่อนการทดสอบ fit test เพื่อดูว่าใส่ได้ถูกต้อง หรือไม่ ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยทำการทดสอบได้ทั้ง positive pressure หรือ negative pressure ดังนี้ การตรวจสอบแบบ Positive-pressure หมายถึง การใช้มือปิดตัวกรองของหน้ากากและหายใจออก ถ้าหน้ากากขยับเล็กน้อย แสดงว่าใส่ได้เหมาะสม การตรวจสอบแบบ Negative-pressure หมายถึง การใช้มือปิดตัวกรองของหน้ากากแล้วหายใจเข้า ถ้าไม่มีอากาศเข้ามาได้ แสดงว่าใส่ได้เหมาะสม การสวมใส่หน้ากากร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอื่น ๆ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตานิรภัย กระจังป้องกันหน้า อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน หมวก มีผลต่อการสวมใส่หน้ากาก เช่น การใส่หน้ากากร่วมกับแว่นตานิรภัย ทำให้เกิดฝ้าขึ้นที่แว่นได้ การปรับตำแหน่ง หน้ากากเมื่อใส่ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ อาจทำให้หน้ากากไม่แนบแน่น ดังนั้นควรนำอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่จะใส่ร่วมกับหน้ากากมาใส่ขณะทำการทดสอบ fit test ด้วย การทดสอบ fit test ใช้ทดสอบกับหน้ากากชนิดแนบแน่นเท่านั้น ไม่นำไปใช้ทดสอบกับหน้ากากชนิด หลวมกระชับ (Loose-fitting respirator) ขณะทำการทดสอบ fit test ควรคำนึงถึงสุขอนามัยด้วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคขณะทดสอบ ควรปฏิบัติดังนี้ : • ห้องที่ทดสอบมีระบบระบายอากาศที่ดี • ผู้ทดสอบและผู้เข้ารับการทดสอบควรล้างมือทั้งก่อนและหลังการทดสอบ • ผู้เข้ารับการทดสอบควรทำความสะอาดหน้ากากชนิดที่ใช้หลายครั้งด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม โดยดูจากคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายต่อตัวหน้ากาก • หน้ากากที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เช่น หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว ไม่ควรนำมาใช้กับผู้เข้ารับการทดสอบ หลายคน • ผู้ทดสอบควรใส่ถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวขณะทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ และถอดถุงมือออกให้ถูกวิธี • ทิ้งถุงมือชนิดและหน้ากากที่ใช้ครั้งเดียวที่ใช้แล้วทันที 4. ข้อห้ามทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่น การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินว่าสามารถปฏิบัติงานโดยใช้หน้ากากชนิดแนบแน่นมีความสำคัญเนื่องจาก จะช่วยป้องกันคนทำงานจากสิ่งแวดล้อมที่มีสารพิษอยู่ การประเมินยังช่วยบอกว่าคนทำงานนั้นสามารถใช้หน้ากาก ชนิดแนบแน่นในสิ่งแวดล้อมเฉพาะหรือในกรณีที่ต้องใช้แรงทางกายภาพมาก การมีโรคบางอย่างจะทำให้คนทำงาน ไม่สามารถใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสุขภาพจะช่วยทำให้ทราบว่าการ ใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นรบกวนการหายใจ การมองเห็น การสื่อสาร หรือการใช้เครื่องมือทำงานที่จำเป็น โดยการ ประเมินต้องพิจารณาด้าน หน้ากากชนิดแนบแน่น เช่นใส่ร่วมกับเครื่องจ่ายออกซิเจน ก็จะมีน้ำหนักมาก ต้องใช้หน้ากาก นานขนาดใด ความถี่ของการใช้ ระยะเวลาการใช้ กำลังกายที่ต้องใช้ ถ้าต้องใส่เป็น SCBA อุณหภูมิ ความชื้นของ สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน และมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลใส่ร่วมกันหรือไม่ 5. Functional Capacity Evaluation ของการใส่หน้ากากชนิดแนบแน่น เมื่อใส่หน้ากากชนิดแนบแน่น มีทั้งในกรณีใช้หน้ากากอย่างเดียว เช่นการใส่หน้ากาก N95 การใส่หน้ากาก ชนิดมีตลับกรอง การใส่หน้ากากชนิด full face mask และการใช้ SCBA ซึ่งอาจมีตลับกรอง ต่อมาเข้าถุงคลุมศีรษะ หรือต้องสะพายถังออกซิเจนไว้ที่หลัง หรือใส่ชุด Level A ซึ่งจะหนัก ดังนั้นในการประเมินสมรรถภาพกาย จะต้อง ทราบชนิดของหน้ากาก น้ำหนัก ขนาด ระยะเวลาที่ใช้ดังกล่าว


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 127 ผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ • มีการเพิ่มของแรงต้านในทางเดินหายใจ • มีการเพิ่มของอัตราการหายใจ เนื่องจากหายใจลำบาก • ค่อยๆมีการลดของสมรรถภาพร่างกาย • มีการลดลงของกำลังกาย ผลต่อหัวใจ • เพิ่มการทำงานของหัวใจ • เพิ่มการเต้นของหัวใจ • เพิ่มความดันเลือด • มีการกลัวที่แคบ • เกิดความวิตกกังวล • มีการหายใจเร็ว (hyperventilation) ดังนั้นผู้ที่ใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นที่ต้องสะพายถังออกซิเจน จะต้องเป็นผู้แข็งแรง ยิ่งถ้าเคยใส่ทำงานมาก่อน แล้วก็จะยิ่งดี ต้องสามารถสะพายของหนักเดินไปมาได้นาน ทนความร้อนได้ ไม่กลัวที่แคบ จมูกได้กลิ่นดี เนื่องจากการ ใส่หน้ากากชนิดแนบแน่นวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสารพิษรั่วเข้ามา สามารถทำงานกับเครื่องมือเฉพาะได้อย่างเชี่ยวชาญ เนื่องจากบางครั้งต้องใส่ชุดหนัก และใส่ถุงมือ จึงอาจทำให้ทำงานไม่ได้ดี จะต้องมีสายตาดีมองเห็นชัด เนื่องจาก บางครั้งต้องเข้าไปในบริเวณที่สารเคมีฟุ้ง ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี และยังต้องมีการได้ยินดี เนื่องจากบางครั้งมองไม่เห็น หรือต้องคอยรับฟังเสียงผิดปกติ นอกจากนี้จะต้องมีการพักผ่อนเพียงพอ ตัดสินใจโดยรวดเร็วได้ และไม่เสพของมึนเมา หรือกินยารักษาโรคที่มีผลทางจิตใจ หรือการไหลเวียนเลือดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง (postural hypotension) อย่างไรก็ตามในบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งใส่หน้ากากเบา และ physiology stress ที่เกิดขึ้นก็ไม่มาก ทำให้ส่วนใหญ่ปลอดภัยและสามารถทำงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่นได้ 6. ข้อห้ามทางสุขภาพในการทำงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่น • ผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจชนิดร้ายแรง • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดร้ายแรง • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ • ผู้ที่กลัวที่แคบ • ผู้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าที่ทำให้ไม่สามารถใส่หน้ากากแนบใบหน้าได้ 7. แนวทางการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่นและแบบฟอร์ม การตรวจสุขภาพ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีบทบาง 1. ขั้นต้นจะต้องประเมินความพร้อมในการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าคนงานสามารถใส่ PPE ได้หรือไม่ ในการทำ เช่นนั้น แพทย์จะต้องบ่งชี้โรคที่คนทำงานนั้นมีอยู่ 2. เมื่อผ่านขั้นตอนแรก แพทย์จะต้องหาคนงานที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ซึ่งมีทั้งคนที่ทำงานโดยตรง คนที่ ฝึกอบรม และคนที่เป็น outsource worker ถึงแม้ว่าคนงานจะได้รับการเฝ้าระวังเกี่ยวกับงานที่ทำมาก่อน เช่น การสัมผัสตะกั่ว แอสเบสตอส สารพิษอื่นๆ ด้วย ดังนั้นแม้ว่าคนงานจะมาให้ประเมินการใช้งานกับหน้ากากชนิดแนบแน่น อาจเป็นโอกาสดีที่จะตรวจร่างกายเพื่อค้นหาความผิดปกติก่อน และควรมีการซักประวัติการทำงาน และอาการที่มี ในขณะทำงาน และยังต้องป้องกัน รวมทั้งร่วมเลือกชนิดหน้ากากที่เหมาะสมกับคนงาน 3. ในการให้ใบรับรองแพทย์สำหรับใส่หน้ากากชนิดแนบแน่น แพทย์จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการสัมผัสในที่ทำงาน ซึ่งได้แก่ระยะเวลา ความถี่ของการใช้ น้ำหนักของ PPE อื่นที่ใช้ร่วม 4. แพทย์จะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆ เพื่อ implement respiratory protection program และจัดการ ตรวจเป็นระยะ รวมถึงการประเมินโปรแกรมทั้งหมด


128 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้ปฏิบัติงานกับหน้ากากชนิดแนบแน่น ควรมีการประเมินสุขภาพก่อน แล้วค่อยทำ fit test ในการประเมินสุขภาพอาจจะประเมินจากการตรวจสุขภาพหรือประเมินจากการใช้แบบสอบถามที่ OSHA ได้กำหนด เพื่อใช้สำหรับการประเมินสุขภาพนี้ไว้ หากผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าใช่ ในข้อ 1-8 ใน Part A Section 2 อาจมี ความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ต่อไป การตรวจสุขภาพนี้ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกปี สำหรับ บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งใส่หน้ากาก N95 หรือชุด SCBA ให้ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งถ้าผ่านทุกข้อ ก็อาจ จะถือว่าปลอดภัยในการทำงาน ประวัติจากแบบสอบถามของ OSHA ควรนำมาใช้เพื่อหาปัญหาดังนี้ 1. โรคที่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ 2. ปัญหาทางจิตใจ หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการกลัวที่แคบ 3. ปัญหาที่เกี่ยวกับการหายใจระหว่างการทำงานตามปกติ 4. มีปัญหาการได้ยิน การมองเห็น หรือตาบอดสี 5. เคยมีปัญหากับการใช้หน้ากากชนิดแนบแน่นมาก่อน 6. ยาที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่มีผลกับระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้ 7. มีความพิการทางกายภาพ หรือไม่ รวมถึงโรคกระดูกสันหลัง หรือโรคกระดูกกล้ามเนื้อ 8. การทำงานกับความร้อนไม่ได้ สิ่งที่ควรตรวจเพิ่มเติมคือ 1. กระดูกและกล้ามเนื้อ และปัญหาความผิดปกติทางกายภาพของคนงาน (โดยเฉพาะถ้าต้องใส่ SCABs) 2. การมีใบหน้าผิดรูปและมีขนหรือหนวด 3. การใช้แว่นสายตาสั้น และ contact lenses 4. การได้ยิน 5. โรคปอดชนิด restrictive หรือ obstructive 6. โรคหัวใจและหลอดเลือด การมีหลักฐานว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง ที่ไม่ได้รับการรักษา หรือประวัติการมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเร็วๆนี้ การมีโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ 7. ความผิดปกติทางเอนโดคริน ซึ่งอาจทำให้หมดสติทันที หรือการตอบสนองเสียไป เช่นการควบคุมเบาหวาน โดยใช้อินซูลิน 8. ความผิดปกติทางระบบประสาง ไม่สามารถทำงานละเอียดที่ต้องการการประสานของกล้ามเนื้อ มีสภาพ ที่ทำให้การตอบสนองช้าลง ความรู้สติแย่ลง มีประวัติโรคลมชักที่ควบคุมไม่ได้ 9. โรคทางจิตใจ การกลัวที่แคบ อาการวิตกกังวลรุนแรง 10. สภาวะอื่น เช่น โรคผิวหนังซึ่งอุปกรณ์ PPE อาจทำให้มีการอักเสบมากขึ้น และตาม revised OSHA standard for respirator certification คนงานใดๆ ถ้า 1. สูบบุหรี่อยู่หรือมีการสูบบุหรี่ก่อนหน้าจะประเมิน 2. มีประวัติชัก เบาหวาน อาการทางเดินหายใจจากภูมิแพ้ กลัวที่แคบ การดมกลิ่นได้ยาก 3. มีประวัติ แอสเบสตอส หอบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ วัณโรค ซิลิโคสิส ลมรั่ว ในปอด มะเร็งปอด กระดูกซี่โครงหัก มีการบาดเจ็บที่หน้าอกหรือมีการผ่าตัดเกี่ยวกับปอด หรืออาการทางเดินหายใจ เช่น หายใจเร็ว ไอ หายใจมีเสียงหวีด หรือเจ็บหน้าอก 4. มีประวัติหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง เจ็บหน้าอก เท้าบวม หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงหรือ มีปัญหาทางหัวใจใดๆ หรือมีอาการทางหัวใจเช่นเจ็บหรือแน่นหน้าอก รู้สึกจังหวะหัวใจหายไปบางจังหวะ หรือแสบร้อน หน้าอกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร 5. มีประวัติการใช้ยาสำหรับหายใจ หรือปัญหาทางปอด หัวใจ ความดันโลหิต หรือชัก 6. ประวัติการมีปัญหากับการใช้หน้ากากชนิดแนบแน่น จะต้องได้รับการประเมินสุขภาพจากแพทย์


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 129 แบบสอบถามเพื่อประเมินระบบทางเดินหายใจ Part A. Section 1. (จำเป็นต้องตอบ) พนักงานที่ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจต้องตอบถามเหล่านี้ 1. วันที่ :_________________ 2. ชื่อ – นามสกุล :_____________________________ 3. อายุ :___________________ 4. เพศ : ชาย / หญิง 5. ส่วนสูง : __________ ฟุต __________ นิ้ว 6. น้ำหนัก : ____________ ปอนด์ 7. ตำแหน่งงาน :_______________________________________________________________ 8. เบอร์โทรศัพท์: ____________________ 9. เวลาสะดวกรับโทรศัพท์ : ________________ 10. นายจ้างของท่านได้บอกวิธีติดต่อแพทย์ผู้ประเมินแบบสอบถามนี้แก่ท่านหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 11. กรุณาเลือกอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจที่ท่านใช้ (เลือกได้มากกว่า 1 อัน) : a. ______ อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจชนิดใช้ครั้งเดียวมีไส้กรองชนิด N, R, หรือ P (filter-mask, noncartridge type เท่านั้น) b. ______ ชนิดอื่น ๆ (เช่น หน้ากากชนิดครึ่งหน้าหรือเต็มหน้า , powered-air purifying, supplied-air, self-contained breathing apparatus). 12. ท่านเคยใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจหรือไม่ : เคย / ไม่เคย ถ้า “เคย” ท่านใส่ชนิดไหน :___________________________________________________________ _____________________________________________________________ Part A. Section 2. (จำเป็นต้องตอบ) ทุกท่านที่ใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจต้องตอบคำถามข้อ 1-9 ด้านล่าง ( (กรุณาเลือก "ใช่" หรือ “ไม่ใช่”) 1. ท่านยังสูบบุหรี่หรือเคยสูบในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา : ใช่ / ไม่ใช่ 2. ท่านเคยมีโรคดังต่อไปนี้หรือไม่ a. ลมชัก: ใช่ / ไม่ใช่ b. เบาหวาน: ใช่ / ไม่ใช่ c. ภฺมิแพ้ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ : ใช่ / ไม่ใช่ d. กลัวที่แคบ : ใช่ / ไม่ใช่ e. จมูกไม่ได้กลิ่น : ใช่ / ไม่ใช่ 3. ท่านเคยเป็นโรคปอดเหล่านี้หรือไม่ a. โรคปอดจากแร่ใยหิน : ใช่ / ไม่ใช่ c. หลอดลมอักเสบเรื้อรัง : ใช่ / ไม่ใช่ e. ปอดอักเสบ : ใช่ / ไม่ใช่ g. ปอดฝุ่นหิน : ใช่ / ไม่ใช่ i. มะเร็งปอด : ใช่ / ไม่ใช k. ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอกหรือผ่าตัดหน้าอกมาก่อน : ใช่ / ไม่ใช่ l. โรคปอดอื่น ๆ ที่เคยได้รับการวินิจฉัย : ใช่ / ไม่ใช่ b. หอบหืด : ใช่ / ไม่ใช่ d. ถุงลมโป่งพอง : ใช่ / ไม่ใช่ f. วัณโรคปอด : ใช่ / ไม่ใช่ h. ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด : ใช่ / ไม่ใช่ j. กระดูกซี่โครงหัก : ใช่ / ไม่ใช่


130 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work 4. ตอนนี้ท่านมีอาการผิดปกติของการหายใจเหล่านี้หรือไม่ a. หายใจไม่อิ่ม : ใช่ / ไม่ใช่ b. เหนื่อยง่ายเมื่อเดินเร็วหรือเดินขึ้นเนิน : ใช่ / ไม่ใช่ c. เหนื่อยง่ายเมื่อเดินปกติบนพื้นราบ : ใช่ / ไม่ใช่ d. เหนื่อยจนต้องหยุดเดินขณะเดินบนพื้นราบ : ใช่ / ไม่ใช่ e. เหนื่อยง่ายขณะซักผ้าหรือแต่งตัว : ใช่ / ไม่ใช่ f. มีอาการเหนื่อยง่ายจนรบกวนการทำงาน : ใช่ / ไม่ใช่ g. ไอมีเสมหะเหนียว : ใช่ / ไม่ใช่ h. ไอตอนเช้า : ใช่ / ไม่ใช่ i. ไอมากตอนนอน : ใช่ / ไม่ใช่ j. ไอเป็นเลือดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา : ใช่ / ไม่ใช่ k. หายใจมีเสียงวี๊ด : ใช่ / ไม่ใช่ l. หายใจมีเสียงวี๊ดจนรบกวนการทำงาน : ใช่ / ไม่ใช่ m. เจ็บหน้าอกขณะหายใจลึก ๆ : ใช่ / ไม่ใช่ n. อาการอื่น ๆ ที่ท่านคิดว่าเกี่ยวข้องมาจากโรคปอด : ใช่ / ไม่ใช่ 5. ท่านเคยมีปัญหาโรคหัวใจเหล่านี้หรือไม่ a. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน : ใช่ / ไม่ใช่ b. โรคหลอดเลือดสมอง : ใช่ / ไม่ใช่ c. เจ็บหน้าอก: ใช่ / ไม่ใช่ d. หัวใจวาย : ใช่ / ไม่ใช่ e. บวมที่เท้าและขา ( ไม่เกี่ยวกับการเดิน) : ใช่ / ไม่ใช่ f. หัวใจเต้นผิดจังหวะ : ใช่ / ไม่ใช่ g. ความดันโลหิตสูง : ใช่ / ไม่ใช่ h. โรคหัวใจอื่น ๆ ที่ท่านเคยได้รับการวินิจฉัย : ใช่ / ไม่ใช่ 6. ท่านเคยมีอกาการของโรคหัวใจเหล่านี้หรือไม่ a. เจ็บหน้าอกบ่อย ๆ : ใช่ / ไม่ใช่ b. เจ็บหน้าอกขณะออกกำลังกาย : ใช่ / ไม่ใช่ c. เจ็บหรือแน่นหน้าอกจนรบกวนการทำงาน : ใช่ / ไม่ใช่ d. หัวใจเต้นผิดจังหวะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา : ใช่ / ไม่ใช่ e. แสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร : ใช่ / ไม่ใช่ f. อาการอื่น ๆ ที่ท่านคิดว่าเกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด : ใช่ / ไม่ใช่ 7. ท่านรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้หรือไม่ a. ปัญหาการหายใจหรือโรคปอด : ใช่ / ไม่ใช่ b. โรคหัวใจ : ใช่ / ไม่ใช่ c. ความดันโลหิต : ใช่ / ไม่ใช่ d. ลมชัก : ใช่ / ไม่ใช่


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 131 8. หากท่านเคยใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ ท่านเคยมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ (หากท่านไม่เคยใช้ ข้ามไปตอบข้อ 9 ) a. ระคายเคืองตา : ใช่ / ไม่ใช่ b. ผื่นแพ้ผิวหนัง : ใช่ / ไม่ใช่ c. เครียด : ใช่ / ไม่ใช่ d. อ่อนแรงหรืออ่อนเพลีย : ใช่ / ไม่ใช่ e. ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่รบกวนการใส่หน้ากาก : ใช่ / ไม่ใช่ 9. ท่านต้องการพบแพทย์ผู้ประเมินคำตอบจากแบบสอบถามนี้หรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ผู้ที่ใช้หน้ากากครอบเต็มหน้าหรือเครื่องช่วยหายใจ (self-contained breathing apparatus :SCBA) ต้องตอบคำถามข้อ 10-15 ด้านล่างนี้ สำหรับผู้ใช้หน้ากากอื่นนอกจากนี้สามานรถเลือกตอบได้ตามความสมัครใจ 10. ท่านเคยมีอาการตามัวหรือไม่ (ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร) : ใช่ / ไม่ใช่ 11. ตอนนี้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นเหล่านี้หรือไม่ a. ใส่คอนแทคเลนส์ : ใช่ / ไม่ใช่ b. ใส่แว่นสายตา : ใช่ / ไม่ใช่ c. ตาบอดสี : ใช่ / ไม่ใช่ d. ปัญหาเกี่ยวกับตาและการมองเห็นอื่น ๆ : ใช่ / ไม่ใช่ 12. ท่านเคยได้รับบาดเจ็บที่หู หรือมี่เยื่อแก้วหูฉีกขาดหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 13. ตอนนี้ท่านมีปัญหาการได้ยินเหล่านี้หรือไม่ a. ได้ยินไม่ชัด : ใช่ / ไม่ใช่ b. ใส่เครื่องช่วยฟัง : ใช่ / ไม่ใช่ c. ปัญหาการได้ยินหรือโรคหูอื่น ๆ : ใช่ / ไม่ใช่ 14. ท่านเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณหลังหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 15. ตอนนี้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อหรือไม่ a. อ่อนแรงที่แขน มือ ขาหรือเท้า : ใช่ / ไม่ใช่ b. ปวดหลัง : ใช่ / ไม่ใช่ c. ขยับแขนและขาลำบาก: ใช่ / ไม่ใช่ d. ปวดหรือขยับลำบากขณะก้มตัวหรือแอ่นตัว : ใช่ / ไม่ใช่ e. ก้มหรือเงยศีรษะลำบาก : ใช่ / ไม่ใช่ f. พับศีรษะไปด้านข้างลำบาก : ใช่ / ไม่ใช่ g. ก้มถึงระดับเข่าลำบาก : ใช่ / ไม่ใช่ h. นั่งยองลำบาก : ใช่ / ไม่ใช่ i. ขึ้นบันไดขณะถือของหนักมากกว่า 11 กิโลกรัม : ใช่ / ไม่ใช่ j. ปัญหากระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่รบกวนการใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ : ใช่ / ไม่ใช่


132 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work Part B คำถามในส่วนนี้อาจมีเพิ่มเติมได้ตามความเห็นแพทย์ผู้ประเมิน 1. ท่านทำงานบนที่สูงกว่า 5,000 ฟุตหรือทำงานในพื้นที่ที่มีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" ท่านรู้สึกเวียนศีรษะ หายใจเหนื่อย หน้าอกสั่นหรือมีอาการอื่น ๆ เมื่อทำงานภายใต้สภาวะนี้หรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 2. ท่านเคยสัมผัสกับฝุ่น ไอระเคยของสารเคมีที่บ้านหรือที่ทำงานหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" กรุณาบอกชื่อสารเคมี ถ้าท่านทราบ ___________________________ 3. ท่านเคยทำงานกับสารหรือภายใต้สภาวะเหล่านี้หรือไม่: a. แร่ใยหิน : ใช่ / ไม่ใช่ b. ฝุ่นหิน (เช่น งานพ่นทราย): ใช่ / ไม่ใช่ c. ทังสเตน / โคบอลท์ (เช่น งานเชื่อม โม่ บด): ใช่ / ไม่ใช่ d. เบอริลเลี่ยม : ใช่ / ไม่ใช่ e. อลูมิเนี่ยม : ใช่ / ไม่ใช่ f. ถ่านหิน (เช่น งานเหมือง) : ใช่ / ไม่ใช่ g. เหล็ก : ใช่ / ไม่ใช่ h. ดีบุก : ใช่ / ไม่ใช่ i. อยู่สิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น : ใช่ / ไม่ใช่ j. สัมผัสสิ่งคุกคามอื่น ๆ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" กรุณาบอกการสัมผัส :__________________________________________________ 4. งานหรืออาชีพอื่น ที่ท่านมี : _____________________________________________________ 5. อาชีพก่อนหน้านี้ :____________________________________________________________ 6. งานอดิเรกในปัจจุบันและในอดีต :__________________________________________________ 7. ท่านเคยฝึกทหารหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" ท่านสัมผัสกับสิ่งคุกคามทางชีวภาพหรือสารเคมีหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 8. ท่านเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตอบโต้อุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตรายหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 9. ท่านใช้ยาอื่น ๆ นอกเหนือจากยารักษาโรคทางระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ความดันโลหิตและลมชัก ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่ และท่านได้ซื้อยาอื่น ๆ รับประทานเองหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" กรุณาระยุชื่อยา ถ้าท่านทราบ :_______________________ 10. ท่านจะใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจหรือไม่ a. HEPA Filters: ใช่ / ไม่ใช่ b. Canisters (เช่น gas masks): ใช่ / ไม่ใช่ c. Cartridges: ใช่ / ไม่ใช่ 11. ท่านคาดว่าจะใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจบ่อยแค่ไหน (เลือกตอบเฉพาะข้อที่ท่านคาดคิด) : a. ตอบหลบหนีเท่านั้น : ใช่ / ไม่ใช่ b. ตอนช่วยเหลือฉุกเฉินเท่านั้น : ใช่ / ไม่ใช่ c. น้อยกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ : ใช่ / ไม่ใช่ d. น้อยกว่า 2 ชั่วโมง/วัน : ใช่ / ไม่ใช่ e. 2 - 4 ชั่วโมง/วัน : ใช่ / ไม่ใช่ f. มากกว่า 4 ชั่วโมง/วัน : ใช่ / ไม่ใช่


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น 133 12. งานที่ท่านทำขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจเป็นงานลักษณะใด : a. งานเบา (น้อยกว่า 200 กิโลแคลลอรี่/ชั่วโมง): ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" ระยะเวลาที่ทำงานเฉลี่ยใน 1 กะ :____________ชั่วโมง____________นาที ตัวอย่างงานเบา เช่น งานนั่งเขียนหรือพิมพ์ดีด ประกอบชิ้นส่วนขนาดเบาหรือยืนควบคุมเครื่องจักร b. งานหนักปานกลาง (200 - 350 กิโลแคลลอรี่/ชั่วโมง) : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" ระยะเวลาที่ทำงานเฉลี่ยใน 1 กะ :____________ชั่วโมง____________นาที ตัวอย่างงานหนักปานกลาง เช่น นั่งตอกหรือตะไบ ขับรถบรรทุกหรือรถโดยสาร ยืนตอกหรือตะไบ ยืนประกอบชิ้นงาน เคลื่อนย้ายสิ่งของหนักประมาณ 15.88 กิโลกรัมระดับลำตัว เดินบนพื้นราบด้วยความเร็ว 3.2 กม./ชม. หรือเดินลงด้วยความเร็ว 4.8 กม./ชม. หรือออกแรงผลักรถเข็นซึ่งบรรทุกของประมาณ 45 กิโลกรัมบนพื้นราบ c. งานหนัก (350 กิโลแคลลอรี่/ชั่วโมง) : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" ระยะเวลาที่ทำงานเฉลี่ยใน 1 กะ :____________ชั่วโมง____________นาที ตัวอย่างงานหนัก เช่น ยกของหนักประมาณ 22 กก. จากพื้นถึงระดับเอวหรือไหล่ ขุดหรือตักโดยใช้เสียมหรือพลั่ว ยืนก่ออิฐ เดินขึ้นด้วยความเร็ว 3.2 กม./ชม. ขึ้นบันไดขณะถือของประมาณ 22 กก. 13. ท่านจะใส่อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ ถ้า "ใช่" กรุณาระบุอุปกรณ์ที่จะใส่ :_______________________________________________________ 14. ท่านจะทำงานในสภาวะที่ร้อนหรือไม่ (อุณหภูมิเกิน 25 องศา): ใช่ / ไม่ใช่ 15. ท่านจะทำงานในสภาวะที่อับชื้นหรือไม่ : ใช่ / ไม่ใช่ 16. กรุณาบรรยายลักษณะงานที่ท่านจะทำขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ : _______________________________________________________________________ _______________________________________________________________________ 17. กรุณาบรรยายสภาวะอันตรายที่ท่านอาจจะเจอขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ (เช่น ที่อับอากาศ ก๊าซอันตราย) : _______________________________________________________________________ _______________________________________________________________________ 18. สารเคมีอันตรายที่ท่านจะต้องสัมผัสขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจมีอะไรบ้าง ถ้าทราบ : 1. ชื่อสารเคมี :___________________________________________ ขนาดโดยประมาณที่รับสัมผัสใน 1 กะ :__________________________________ ระยะเวลาที่สัมผัสใน 1 กะ :______________________________________________ 2. ชื่อสารเคมี :___________________________________________ ขนาดโดยประมาณที่รับสัมผัสใน 1 กะ :__________________________________ ระยะเวลาที่สัมผัสใน 1 กะ :______________________________________________ 3. ชื่อสารเคมี :___________________________________________ ขนาดโดยประมาณที่รับสัมผัสใน 1 กะ :__________________________________ ระยะเวลาที่สัมผัสใน 1 กะ :______________________________________________ สารเคมีอันตรายอื่น ๆ ที่ท่านจะต้องสัมผัสขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ : _____________________________________________________________________________ _____________________________________________________________________________


134 ความพรŒอมในการทำงาน Fit for work 19. หน้าที่อื่น ๆ ที่ท่านจะต้องรับผิดชอบขณะใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจที่อาจมีผลต่อความปลอดภัยของผู้อื่น (เช่น กู้ชีพ รักษาความปลอดภัย) สำหรับแพทย์กรอก จากการประเมินแบบสอบถามและตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีคำแนะนำดังนี้ : จำเป็นต้องตรวจประเมินซ้ำ ใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจได้ ไม่มีข้อจำกัด มีข้อจำกัด ดังนี้ ___________________________________________________________ ใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจไม่ได้ ข้อเสนอแนะ : ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________ ( _______________________________ ) : วันที่ : ___________________ แพทย์ ____________________________


บรรณานุกรม แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอน ที่ 18 ก. (ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 15 ก. (ลงวันที่ 2 มีนาคม 2564). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 15 ก. (ลงวันที่ 2 มีนาคม 2564). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอน ที่ 80 ก. (ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563). กลุ่มงานนโยบายเศรษฐกิจแรงงานมหภาค กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน. ดัชนีชี้วัดภาวะแรงงาน พ.ศ.2564. [Internet]. 2564 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2021/09/indicator-2564.pdf กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินผู้ป่วยเพื่อกลับเข้าทำงานหลังการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ. 2552. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคและ ภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี2560. [Internet]. 2560 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/02_envocc_situation_60_ appendix.pdf. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคและ ภัยสุขภาพ จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี2561. [Internet]. 2561 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_02_envocc _situation.pdf พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 17 มกราคม 2554). แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด. คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย. [Internet]. 2558 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://tmc.or.th/pdf/dec ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนว ปฏิบัติการตรวจสุขภาพ ตามปัจจัยเสี่ยงด้านเคมีและกายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบ กิจการ พ.ศ. 2555. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 105 ง. (ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555).


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2562. ภัทราวลัย สิรินารา. แนวทางด้านการแพทย์สำหรับคนทำงานที่สูง. [Internet]. 2564 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.ohswa.or.th/17713197/occmed-for-jorpor-series-ep7 สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยสไปโรเมตรีย์ (Guideline for spirometric evaluation). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์; 2545. สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มศูนย์การแพทย์ เฉพาะทางด้าน อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2559. สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย; 2557. สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, ขวัญชนก ยิ้มแต้. การวินิจฉัยและการรักษาโรค Benign Paroxysmal Positional Vertigo. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2543; 15(4):255-59. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). มาตรฐานการจัดการ ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ. 101: 2561). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน); 2562. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2559-2563. [Internet]. 2564 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/5ebe42693bf27ca624d2a 14a89f99223 .pdf สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2560-2563 ประเภทกิจการก่อสร้างอาคาร. [Internet]. 2564 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_ storage/sso_th/23684816fed94fdf1394b78f992f980f.pdf สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2563 จำแนกตามความรุนแรงและหมวดประเภทกิจการ ปี 2563. [Internet]. 2563 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.sso.go.th/wpr/assets /upload/files_storage/sso_th/f55e2be5327fd09233f01c8f719ce701.pdf สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2562. [Internet]. 2562 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/ 85a0f0f67e58c6123eacabeba09fca8f.pdf สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2563 จำแนกตามความรุนแรงและสาเหตุที่ประสบอันตราย ปี 2563. [Internet]. 2563 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.sso.go.th/ wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/afdafa598f4baad4f976701a8d291f75.pdf Canadian Centre for Occupational Health and Safety Government of Canada. Fall Protection – Legislation. [Internet]. 2022 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.ccohs.ca/oshanswers/hsprograms/fall%20protection_legislation.html


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง International Labour Organization. Working at Height. [Internet]. [cited 11 เมษายน 2565]. Available from:https://www.ilo.org/global/topics/labour-administration-inspection/ resources-library/publications/guide-for-labour-inspectors/working-at-height/lang- -en/index.htm Kasim Turgut, Mehmet Ediz Sarihan, Cemil Colak, Taner Güven, Ali Gür, and Sükrü Gürbüz. Falls from height: A retrospective analysis. World J Emerg Med. 2018; 9(1): 46–50. Lakke SE, Soer R, Geertzen J, Wittink H, Douma R, van der Schans C, et al. Construct validity of functional capacity tests in healthy workers. BMC musculoskeletal disorders. 2013; 14: 180. Legge J, Burgess-Limerick R, Peeters G. A New Pre-Employment Functional Capacity Evaluation Predicts Longer Term Risk of Musculoskeletal Injury in Healthy Workers: A Prospective Cohort Study. Spine. 2013; 38. Nathan DM, Turgeon H, Regan S. Relationship between glycated haemoglobin levels and mean glucose levels over time. Diabetologia. 2007; 50: 2239–2244. Occupational Safety & Health Administration United States Department of Labor. Occupational Safety and Health Standards. [Internet]. 2016 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/standardnumber/1910/1910.28 Occupational Safety & Health Administration United States Department of Labor. Safety and Health Regulations for Construction. [Internet]. 2016 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/standardnumber/1910/1910.28 Pransky G, Dempsey P. Practical Aspects of Functional Capacity Evaluations. Journal of occupational rehabilitation. 2004; 14: 217-29. The Working at Height Regulation 2005. [Internet]. 2015 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://www.legislation.gov.uk/uksi/2005/735/regulation/2/made Workplace Safety and Health (Work at Heights) Regulations 2013. [Internet]. 2022 [cited 11 เมษายน 2565]. Available from: https://sso.agc.gov.sg/SL/wsha2006-s223-2013


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย; 2557 แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2557.กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้าน อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการ ทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2564 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตาม ปัจจัยเสี่ยงด้านเคมีและกายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2555. สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.2546-2561. วารสารจับตาโรค และภัยสุขภาพ. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562. แสงโฉม เกิดคล้าย. โรคพิษจากก๊าซและการขาดอากาศหายใจ – สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2550. แสงโฉม เกิดคล้าย. สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงานในที่อับอากาศ – รายงานเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 4S. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549. CCOH. Confined space: Introduction. [Internet]. [cited 2022 Mar 23]. Available from:: https://www.ccohs.ca/oshanswers/hsprograms/confinedspace_intro.html Department of Occupational Safety and Health. Industry code of practice for safe working in a confined space 2010. Malaysia: Ministry of Human Resources, Malaysia; 2010. Hearing Standards. Guidelines on the medical examinations of seafarers / International Labour Office, Sectoral Activities Programme; International Migration Organization. – Geneva: ILO, 2013. Ministry of Defence (MOD). Safety rule book for persons in charge of work in confined spaces in conjunction with JSP 375 volume 3 chapter 6. United Kingdom: MOD; 2011. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). NIOSH Criteria for a recommended standard: Working in confined spaces (NIOSH Publication No. 80-106). Cincinnati: NIOSH; 1979. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). Worker deaths in confined spaces: A summary of NIOSH surveillance and investigative findings (NIOSH Publication No. 94-103). Cincinnati: NIOSH; 1994. Occupational Safety and Health Administration (OSHA). Confined spaces [Internet]. [cited 2022 Mar 23]. Available from: http://www.osha.gov/SLTC/confinedspaces/. Occupational Safety and Health Administration (OSHA). Permit-required confined spaces (OSHA 3138 01R). Washington, D.C.: OSHA; 2004. Sydney Water. HSG059. Fitness and Aptitude Assessment Guidelines for Working in Confined Spaces. [cited 2022 April 10]. Available from: https://www.sydneywater.com.au/content /dam/sydneywater/documents/provider-information/instructions/confined-spaces-fitness- and-aptitude-assessment-guide.pdf


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานปรุงอาหาร กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนที่ 80 ก (ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563) กระทรวงแรงงาน.ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดงานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 231 ง (ลงวันที่ 27 กันยายน 2564)) กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร พ.ศ.2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96, ตอนที่ 193 (ลงวันที่ 22 พ.ย.2522) กระทรวงสาธารณสุข.กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนที่ 42 ก (ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2561) พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนที่ 4 ก (ลงวันที่ 17 มกราคม 2554). สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ (Principles of Food Sanitation Inspector) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/ DATA0001/ 00001017.PDF สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร “สถานที่ จำหน่ายอาหาร” ตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINF OCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001845.PDF Dingani Moyo , Florence Moyo Outcomes of food handlers’ medical examinations conducted at an occupational health clinic in Zimbabwe ; 2020. Food Handlers Fitness to Work Guidelines for Food Business Managers. [Internet]. [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.tendringdc.gov.uk/sites/default/ files/documents/ environ ment/FoodHandlersFitnesstoWork.pdf Food Standards Agency. Food Handlers: Fitness to work. [Internet]. 2009 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.food.gov.uk/sites/default/ files/media/document/ fitnessto work guide.pdf Food Standards Scotland for safe food and health eating. Food Handlers Fitness to Work . [Internet]. 2019 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.foodstandards. gov.scot/ down loads/Food_handlers_-_Fitness_to_work_v6_-_Final_-_December_2019.pdf Functional Capacity Evaluation (Physical Ability Assessment). [Internet]. [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://healthywork.org.uk/occupational-health-services/ functional-capacity-ev a luation/ Health and Safety Executive. A recipe for safety Health and safety in food and drink manu facture. [Internet]. 2015 [cited 2022 Mar 26]. Available from:https://www.hse. gov.uk/ pub ns/ priced/hsg252.pdf International Journal of Medical Science and Public Health . 2019 vol8 issue9 Kang, K., Kim, H., Kim, D. D., Lee, Y. G., & Kim, T. (2019). Characteristics of cooking-generated PM10 and PM2.5 in residential buildings with different cooking and ventilation types. [Internet]. 2019 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://doi.org/10.1016/j.scitotenv. 2019.02.316


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานปรุงอาหาร Masuda M, Wang Q, Tokumura M, et al. Risk assessment of polycyclic aromatic hydrocarbons and their chlorinated derivatives produced during cooking and released in the exhaust gas. Ecotox Environ Saf 2020; 197: 110592. Occupational Safety & Health Administration. Medical Screening and Surveillance [Internet]. [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.osha.gov/medical-surveillance/screening Occupational Therapy’s Role in Functional Capacity Evaluation. [Internet]. [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.aota.org/ /media/corporate/files/ aboutot/professionals/ what is ot/wi/facts/functional-capacity.pdf Queenland Heatlh. Food Handler Exclusion Guidelines. November 2017. [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0036/684495/food- handler-exclusion-guide.pdf Rajeev Kumar, Puja Dudeja, Anita Maurya, Dhananjay Kumar Singh . Medical examination of food handlers : A missing link in food safety. The Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs). [Internet]. 2022 [cited 2022 Mar 26]. Available from:https://www.cdc.gov/ biomonitoring /PAHs_FactSheet.html U.S. Public Health Service. FDA U.S. Food & Drug. [Internet]. 2017 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www.fda.gov/food/fda-food-code/food-code-2017 World Health Organization. Health surveillance and management procedure for food-handling personnel. [Internet]. 1989 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://apps.who.int/iris/ bitstream/ handle/10665/39610/WHO_TRS_785.pdf?sequence=1


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒขับข�่รถบรรทุกสารเคมี กฎกระทรวง การขอและการออกใบอนุญาตขับรถและการต่ออายุใบอนญุาตขับรถ พ.ศ. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 เมย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2563/A/088/T_0006.PDF กฏกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน พ.ศ. 2558. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/024/1.PDF ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมขนส่งทางบก. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 เมย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2816 คู่มือการขนส่งวัตถุอันตราย. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 26 เมย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://reg3.diw. go.th/haz/wp-content/uploads/2015/07/haz_trans.pdf ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่องการขอรับหนังสือรับรองผ่านการอบรมการขับรถวัตถุอันตราย พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://elaw.dlt.go.th/ElawUpload/LAWUPLOAD/418.pdf ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุ การแก้ไขรายการ และการออกใบแทนใบอนญุาต เป็นผู้ประจำรถ พ.ศ. ๒๕๖๔. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/040/T_0027.PDF สำนักสวัสดิภาพการขนส่ง กรมขนส่งทางบก. คู่มือการอบรมหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการขนส่ง สำหรับพนักงานขับรถขนส่ง 2560. Austroad. Assessing fitness to drive. [Internet]. 2020 [cited 2022 May 6]. Available from: https://austroads.com.au/drivers-and-vehicles/assessing-fitness-to-drive Driver & Vehicle Licensing Agency: Assessing fitness to drive. 2022. [Internet]. 2022 [cited 2022 May 5]. Available from: https://www.gov.uk/government/publications/ assessing-fitness-to-drive-a-guide-for-medical-professionals Federal Motor Carrier Safety Administration (FMCSA) Medical Examiner Handbook .2020 . [Internet]. 2020 [cited 2022 May 2]. Available from: https://www.google.com/url?sa=t&rct =j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwi_7IK-k_v4AhVM7TgGHbsjAc0QFno ECA4QAQ&url=https%3A%2F%2Fwww.fmcsa.dot.gov%2Fsites%2Ffmcsa.dot.gov%2Ffiles %2F2020-04%2FDRAFT%2520FMCSA%2520Medical%2520Examiner%2520Handbook-4 -23-2020.docx&usg=AOvVaw32LYywWfnfqHWgKRsVQzbS ICD10 ver. 2016. [Internet]. 2016 [cited 2022 May 2]. Available from: https://icd.who.int/browse 10/2016/en#/F10.1 ICD 10 ver. 2019. [Internet]. 2016 [cited 2022 May 2]. Available from: https://icd.who.int/browse 10/2019/en#/F10.2 International hazard data sheets on occupation. Driver Truck /Heavy. [Internet]. 2019 [cited 2022 May 5]. Available from: https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/@ed_ protect/@protrav/@safework/documents/publication/wcms_186282.pdf Meerkerk GJ, Njoo KH, Bongers IM et al. The specificity of the CDT assay in general practice: the influence of common chronic diseases and medication on the serum CDT concentration. Alcohol Clin Exp Res. 1998;22(4):908-13.


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย กนกวรรณ นิ่มทัศนศิริ, ญาณิศา เผื่อนเพาะ, ธนยศ ดอกดวง, พิทักษ์ ศิริวงศ์. การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และแนวทางในการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal. 2557;7:181-90. กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์ การเฝ้าระวังภัยด้านสารเคมี ปี 2564 รอบ 6 เดือนแรก (1 มกราคม – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564). [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ publish/1173020210902081306.pdf. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอน ที่ 80 ก. (ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 8 ก. (ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541). พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน ที่ 28 ก. (ลงวันที่ 19 เมษายน 2542). สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/ DRAWER016/GENERAL/DATA0000/00000419.PDF. ศิริพร ด่านคชาธาร, จันจิรา มหาบุญ, มุจลินท์ อินทรเหมือน, มัตติกา ยงประเดิม, จักรพงษ์ อินทร์พรม, จินตนา พืชผล, และคณะ. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานดับเพลิง จังหวัดนครศรีธรรมราช. พยาบาลสาร. 2561;45:111-20. สกุลพร สงทะเล, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุคนธา ศิริ, สุรินธร กลัมพากร. สมรรถภาพปอดและปัญหาระบบทางเดิน หายใจของพนักงานดับเพลิง กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561:32;45-58. Ainsworth BE, Haskell WL, Whitt MC, Irwin ML, Swartz AM, Strath SJ, et al. Compendium of physical activities: an update of activity codes and MET intensities. Med Sci Sports Exerc. 2000;32:S498-504. doi: 10.1097/00005768-200009001-00009. Bhojani FA, Castillejo-Picco LA, Cathcart D, Emmett EA, Frangos S, Glencross PM, et al. Fitness-for-duty assessments of industrial firefighters: guidance for occupational medicine physicians. J Occup Environ Med. 2018;60:e82-9. doi: 10.1097/ JOM.0000000000001256. Campbell R, Evarts B. United states firefighter injuries in 2020 [Internet]. 2021. [cited 2022 May 2]. Available from: https://www.nfpa.org/-/media/Files/News-and-Research/Fire-statistics- and-reports/Emergency-responders/osffinjuries.pdf. Canadian Center for Occupational Health and Safety. Fire Fighter [Internet]. 2018 [cited 2022 May 11]. Available from: https://www.ccohs.ca/oshanswers/occup_workplace /firefighter.html. County of Los Angeles, Department of Human Resources. Occupational Health Programs Pre-employment/Post-offer Medical Examinations: Pre-placement Firefighter Health History Questionnaire [Internet]. 2018 [cited 2022 May 16]. Available from: https://employee.hr.lacounty.gov/wp-content/uploads/2019/01/Firefighter-Health-History- Questionnaire_010219-FINAL.pdf. Fletcher GF, Balady GJ, Amsterdam EA, Chaitman B, Eckel R, Fleg J, et al. Exercise standards for testing and training: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association. Circulation. 2001;104:1694-740. doi: 10.1161/hc3901.095960.


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานผจญเพลิงหร�อกูŒภัย Gibbons RJ, Balady GJ, Bricker JT, Chaitman BR, Fletcher GF, Froelicher VF, et al. ACC/AHA 2002 guideline update for exercise testing: summary article. a report of the American college of cardiology/American heart association task force on practice guidelines (committee to update the 1997 exercise testing guidelines). J Am Coll Cardiol. 2002;40 (8):1531-40. doi: 10.1016/s0735-1097(02)02164-2. National Fire Protection Association. Fire loss in the united states: trend tables [Internet]. 2021. [cited 2022 May 2]. Available from: https://www.nfpa.org//-/media/Files/News-and- Research/Fire-statistics-and-reports/US-Fire-Problem/osFireLossTables.pdf. National Fire Protection Association. NFPA 1582 Standard on comprehensive occupational medical program for fire departments 2013. Massachusetts USA. National Fire Protection Association. NFPA 600 Standard on industrial fire brigades 2000. Massachusetts USA. PTTEP. PTTEP Additional Medical Check-up for Specific Tasks [Internet]. 2022 [cited 2022 May 16]. Available from: https://shv.pttep.com/Files/Upload/Downloads/88/8%20PTTEP% 20ADDITIONAL%20MEDICAL%20CHECKUP%20FOR%20SPECIFIC%20TASKS.pdf. PTTEP. PTTEP Medical Examination Check List Forms for offshore site workers below 35 years of age [Internet]. 2022 [cited 2022 May 16]. Available from: https://shv.pttep.com /Files/Upload/Downloads/85/5%20PTTEP%20MEDICAL%20CHECKUP%20LISTS%20FOR %20OFFSHORE%20SITE%20WORKERS%20BELOW%2035%20YEASRS%20OF%20AGE.pdf. PTTEP. PTTEP Medical Examination Check List Forms for offshore site workers 35 years of age and above [Internet]. 2022 [cited 2022 May 16]. Available from: https://shv.pttep.com/ Files/Upload/Downloads/86/6%20PTTEP%20MEDICAL%20CHECKUP%20LISTS%20FOR% 20OFFSHORE%20SITE%20WORKERS%2035%20YEASRS%20OF%20AGE%20AND% 20ABOVE.pdf. Pregnancy Discrimination Act of 1978. USA Weil MF. Protecting employees’ fetuses from workplace hazards: Johnson controls narrows the options. Berkeley Journal of Employment and Labor Law. 1993.14(1);142–78. Available from: http://www.jstor.org/stable/24050618


แนวทางการตรวจสุขภาพผูŒปฏิบัติงานกับหนŒากากชนิดแนบแน‹น An Introduction to Tight-Fitting Respirator Fit Testing. 2016. Available at : https://multimedia. 3m.com/mws/media/1306028O/introduction-to-respirator-fit-testing-europe.pdf Australian/ New Zealand Standard AS/NZS 1715:2009 (2009) Selection, Use and Maintenance of Respiratory Protective Devices, Sydney/Wellinton: Standard Australia/Standard New Zealand. Canadian Minister of Justice (2017) “Canada Occupational Health and Safety Regulations.” http://www.laws-lois.justice.gc.ca/PDF/SOR-86-304.pdf. Fit testing and medical monitoring requirements for wearers of filtering facepiece respirators. 2002. Available at : https://www.osha.gov/laws-regs/standardinterpretations/2002-06-12-0 Fit testing basics. Available at : https://www.hse.gov.uk/respiratory-protective-equipment/fit- testing-basics.htm Health and Safety Executive (HSE) (2012) “Fit Testing of Respiratory Protective Equipment Facepieces. OC 282/28 (6:30/04/2012).” http://www.hse.gov.uk/foi/internalops/ocs/ 200-299/282_28.pdf. Health and Safety Executive. Guidance on respiratory protective equipment (RPE). 2020. Available at: https://www.hse.gov.uk/ pubns/indg479.pdf Occupational Safety and Health Administration (OSHA). 2011 “Respiratory Protection,” Code of Federal Regulations Title 29, Part 1910.134, https://www.osha.gov/pls/oshaweb /owadisp.show_document?p_table = standards&p_id = 12716. OSHA Respirator Medical Evaluation Questionnaire (Mandatory). Available at : https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/standardnumber/1910/1910.134AppC Respiratory Protection Medical Evaluation Form For Employees. Available at : https://www.ehs.harvard.edu/sites/default/files/... • PDF file Szeinuk J, Beckett WS, Clark N et al. Medical evaluation for Respirator Use. American Journal of Industrial Medicine2000;37: 142-157. The Control of Lead at Work Regulations 2002 – Approved Code of Practice and guidance L132 (Third edition) HSE 2002. Available at : www.hse.gov.uk/pubns/priced/ l132.pdf The selection, use and maintenance of respiratory protective equipment – A practical guide HSG53 HSE 2013 www.hse.gov.uk/pUbns/priced/hsg53.pdf Which respirators need to be fit tested?. Available at : https://www.colden.com/which- respirators-need-to-be-fit-tested/


Click to View FlipBook Version