The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2566

หลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2566

ส่วนที่ 1 ความนำ ความหมาย หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นแผนหรือแนวทาง หรือข้อกำหนด ของการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง กองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่ ที่จะใช้ใน การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ โดยมุ่งหวังให้มีความสมบูรณ์ทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้ มาตรฐานสากลเพื่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ดังนั้นหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับ ปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึง ประกอบด้วยสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลาง สาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น และ สาระสำคัญที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม โดยจัดเป็นสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน /กิจกรรม เพิ่มเติมเป็นรายปีและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาตาม คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ความสำคัญ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้เป็นแนวทาง ให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในการจัด ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้พัฒนาให้บรรลุถึงคุณภาพตามมาตรฐานในการพัฒนาเยาวชนของชาติ นอกเหนือจากการใช้เป็นแนวทาง หรือข้อกำหนดในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้บรรลุตามจุดหมาย ของการจัดการศึกษาแล้ว หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่พัฒนาขึ้นยัง เป็นหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายให้ครอบครัว ชุมชน องค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมจัด การศึกษาของสถานศึกษา โดยมีแนวทางสำคัญที่สถานศึกษากำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ ๑. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และความเพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจ และเร้าให้เกิดความก้าวหน้าแก่ ผู้เรียนให้มากที่สุด มีความรู้สูงสุด ผู้เรียนทุกคนมีความเข้มแข็ง ความสนใจ มีประสบการณ์ และ ความมั่นใจเรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน มีทักษะในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น


๒ รู้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น และมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุผล ๒. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ส่งเสริมการพัฒนาด้านจิต วิญญาณ จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรม พัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจ และศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พัฒนาหลักคุณธรรมและความ อิสระของผู้เรียน และช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เป็นธรรม ขึ้น มีความเสมอภาค พัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และ ระดับโลก สร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล เป็นอิสระ และมี ความรับผิดชอบ ลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาได้พัฒนาขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา โดยยึดองค์ประกอบหลักสำคัญ ๓ ส่วนคือ หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และสาระสำคัญที่สถานศึกษาพัฒนา เพิ่มเติม เป็นกรอบในการจัดทำรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนด เหมาะสมกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นและจุดเน้นของสถานศึกษา โดยหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน เทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะของหลักสูตร ดังนี้ ๑. เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง สำหรับจัดการศึกษาใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖) ๒. มีความเป็นเอกภาพ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรของ สถานศึกษาสำหรับให้ครูผู้สอนนำไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ ๒.๑ มีสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาใช้เป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๒.๒ มีสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ ศักยภาพการคิดและการทำงาน ประกอบด้วย สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพ และภาษาต่างประเทศ ๒ .๓ มีสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ความต้องการของผู้เรียน และบริบท ของสถานศึกษา ๒.๓ มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และ สังคม เสริมสร้างการเรียนรู้นอกจากสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม และการพัฒนาตนตามศักยภาพ


๓ ๒ .๔ มีการกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการกำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้ ๓.๑ มาตรฐานหลักสูตร เป็นมาตรฐานด้านผู้เรียนหรือผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษา อันเกิดจากการได้รับการอบรมสั่งสอนตามโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมดใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบ คุณภาพโดยรวมของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในทุกระดับ และสถานศึกษาต้องใช้สำหรับการประเมิน ตนเองเพื่อจัดทำรายงานประจำปีตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็น แนวทางในการกำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริม กำกับ ติดตาม ดูแล และปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ตามมาตรฐานที่กำหนด ๓.๒ มีตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมายระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะ ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็น รูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์ สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบพัฒนาการผู้เรียน ความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ และเป็นหลักในการเทียบโอน ความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ๓.๓ มีความเป็นสากล ความเป็นสากลของหลักสูตรสถานศึกษา คือมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ การจัดการสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มี คุณลักษณะที่จำเป็นในการอยู่ในสังคมได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ โดยอยู่บนพื้นฐานของความพอดีระหว่างการเป็นผู้นำ และผู้ตาม การทำงานเป็นทีม และ การทำงานตามลำพังการแข่งขัน การรู้จักพอ และการร่วมมือกันเพื่อสังคม วิทยาการสมัยใหม่ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการฝึกฝนทักษะ เฉพาะทาง และการบูรณาการในลักษณะที่เป็นองค์รวม ๔. มีความยืดหยุ่น หลากหลาย หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นเอง โดยยึดโครงสร้างหลัก ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นขอบข่ายในการจัดทำ จึงทำให้หลักสูตรของสถานศึกษามีความยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความ ต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเหมาะสมกับตัวผู้เรียน ๕. การวัดและประเมินผลเน้นหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและ เพื่อตัดสินผลการเรียน โดยผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตาม มาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นเป้าหมาย หลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขต พื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพ


๔ ผู้เรียน และใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และ ความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการ พัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ วิสัยทัศน์ สถานศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสู่สากล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอพียง อัตลักษณ์ มารยาทดี มีน้ำใจ ร่าเริงแจ่มใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปรัชญาโรงเรียน สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดี ย่อมเป็นผู้เจริญ เป้าประสงค์โรงเรียน ๑. ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีค่านิยมและคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ๒. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ๓ .ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี ๔. ผู้เรียนมีใจรักสิ่งแวดล้อม สืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ๕ .ผู้เรียนได้รับทรัพยากรจากทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ ๑ .ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมใน การใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและ ความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและ สังคม


๕ ๒ .ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ๓ .ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ใน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ ตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ๔ .ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันใน สังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และ การรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ๕ .ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีใน ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้าน การเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ


๖ ส่วนที่ ๒ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตร สถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของสถานศึกษามีแนว ปฏิบัติ ดังนี้ ระดับการศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดการศึกษา ดังนี้ ระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นทักษะพื้นฐาน ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐานการติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดเวลาเรียน หลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้จัดเวลาเรียนตามกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดให้เหมาะสมตามบริบท จุดเน้นของ โรงเรียนและสภาพของผู้เรียนดังนี้ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวัน ละ 5 ชั่วโมง โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๖ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วยโครงสร้างเวลา เรียนและโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ดังนี้ 1. โครงสร้างเวลาเรียน เป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดในภาพรวม เวลาเรียนของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ที่เป็นเวลาเรียนพื้นฐาน เวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติม และเวลาใน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกแต่ละชั้นปี ในระดับประถมศึกษา ดังนี้


๗ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖6 โครงสร้างเวลาเรียน ระดับประถมศึกษา ๒. โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี เป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดเวลาเรียนของรายวิชาพื้นฐาน รายวิชา /กิจกรรมเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำแนกแต่ละชั้นปี ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน : ชั่วโมง/ปี ระดับประถมศึกษา ป.๑ ป.๒ ป3. ป.4 ป.๕ ป.๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐ ๘๐ ๘๐ 120 120 120 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 4๐ 4๐ 4๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔๐ ๔๐ ๔๐ 4๐ 4๐ 4๐ ศิลปะ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 8๐ 8๐ 8๐ การงานอาชีพ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ 4๐ 4๐ ภาษาต่างประเทศ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ (รวมเวลาเรียน)รายวิชาพื้นฐาน 800 800 800 80๐ 80๐ 80๐ รายวิชาเพิ่มเติม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ภาษาจีน ๔๐ ๔๐ ๔๐ รวมเวลาเรียน (รายวิชาเพิ่มเติม) 80 80 80 80 80 80 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔0 ๔0 ๔0 กิจกรรมนักเรียน - ลูกเสือ ยุวกาชาด - ชุมนุม 4๐ 3๐ 40 3๐ 40 3๐ 40 3๐ 40 3๐ 40 3๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและ สาธารณประโยชน์ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ รวมเวลา (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) ๑๒0 ๑๒0 ๑๒0 ๑๒0 ๑๒0 ๑๒0 รวมเวลาทั้งหมด 1,000 ชั่วโมง 1,000 ชั่วโมง


๘ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘0๐ 20 ท๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐ ๕ ค๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๕ ว๑๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐ ๒ ส๑๑๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๔๐ ๑ ส๑๑๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔๐ ๑ ศ๑๑๑๐๑ ศิลปะ ๔๐ ๑ ง๑๑๑๐๑ การงานอาชีพ ๔๐ ๑ อ๑๑๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑๒๐ ๓ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๘๐ ๒ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๓ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๙ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘0๐ ๒0 ท๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐ ๕ ค๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๕ ว๑๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐ ๒ ส๑๒๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๔๐ ๑ ส๑๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔๐ ๑ ศ๑๒๑๐๑ ศิลปะ ๔๐ ๑ ง๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ ๔๐ ๑ อ๑๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑๒๐ ๓ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๒๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๘๐ ๒ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๓ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๑๐ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘00 ๒0 ท๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐ ๕ ค๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๕ ว๑๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐ ๒ ส๑๓๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๔๐ ๑ ส๑๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔๐ ๑ ศ๑๓๑๐๑ ศิลปะ ๔๐ ๑ ง๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ ๔๐ ๑ อ๑๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑๒๐ ๓ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๓๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๘๐ ๒ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๓ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๑๑ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘0๐ ๒0 ท๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๑60 ๔ ค๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑60 ๔ ว๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒0 ๓ ส๑๔๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๘0 ๒ ส๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา 40 1 ศ๑๔๑๐๑ ศิลปะ ๘0 ๒ ง๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ ๔0 ๑ อ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๘0 ๒ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๔๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๔๐ ๑ จ๑๔๒๐๑ ภาษาจีน ๔๐ ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 3 กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๑๒ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘0๐ ๒0 ท๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๑60 ๔ ค๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑60 ๔ ว๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒0 ๓ ส๑๕๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๘0 ๒ ส๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา 40 1 ศ๑๕๑๐๑ ศิลปะ ๘0 ๒ ง๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ ๔0 ๑ อ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๘0 ๒ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๕๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๔๐ ๑ จ๑5๒๐๑ ภาษาจีน ๔๐ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๓ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๑๓ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) (ชม./สัปดาห์) รหัสวิชา รายวิชาพื้นฐาน ๘0๐ ๒0 ท๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๑60 ๔ ค๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑60 ๔ ว๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒0 ๓ ส๑๖๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๘0 ๒ ส๑๖๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๑ พ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา 40 1 ศ๑๖๑๐๑ ศิลปะ ๘0 ๒ ง๑๖๑๐๑ การงานอาชีพ ๔0 ๑ อ๑๖๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๘0 ๒ รหัสวิชา รายวิชาเพิ่มเติม 8๐ 2 อ๑๖๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๔๐ ๑ จ๑6๒๐๑ ภาษาจีน ๔๐ ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๓ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๑ กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ ยุวกาชาด ชุมนุม 4๐ 3๐ ๑ ๑ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมดตามโครงสร้างหลักสูตร ๑,๐0๐ ๒5


๑๔ รายวิชาของโรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาพื้นฐาน ท๑๑๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท๑๒๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท๑๓๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท๑๔๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ท๑๕๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ท๑๖๑๐๑ ภาษาไทย จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาพื้นฐาน ค๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ค๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ค๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง - กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาพื้นฐาน ว๑๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 8๐ ชั่วโมง ว๑๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 8๐ ชั่วโมง ว๑๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 8๐ ชั่วโมง ว๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 12๐ ชั่วโมง ว๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 12๐ ชั่วโมง ว๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 12๐ ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพื้นฐาน ส๑๑๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๒๑๐๑ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๓๑๐๑ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๔๑๐๑ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส๑๕๑๐๑ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส๑๖๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๘๐ ชั่วโมง


๑๕ ส๑๑๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๕ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส๑๖๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๖ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาพื้นฐาน พ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน 4๐ ชั่วโมง พ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน 4๐ ชั่วโมง พ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาและพละศึกษา จำนวน 4๐ ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ รายวิชาพื้นฐาน ศ๑๑๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ๑๒๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ๑๓๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ๑๔๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ศ๑๕๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ศ๑๖๑๐๑ ศิลปะ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชาพื้นฐาน ง๑๑๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ง๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ง๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ง๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ง๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ง๑๖๑๐๑ การงานอาชีพ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง


๑๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) รายวิชาพื้นฐาน อ๑๑๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง อ๑๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมงอ๑๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง อ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ๑๖๑๐๑ ภาษาอังกฤษ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง รายวิชาเพิ่มเติม อ๑๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ๑๒๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ๑๓๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ๑๔๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง อ๑๕๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง อ๑๖๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง จ๑๔๒๐๑ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง จ๑๕๒๐๑ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง จ๑๖๒๐๑ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ชั่วโมง


๑๗ ส่วนที่ ๓ คำอธิบายรายวิชา คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท๑๑๑๐๑ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลาเรียน ๒๐๐ ชั่วโมง ศึกษาและฝึกอ่านออกเสียงคำพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่น บอกความหมายของคำและข้อความที่อ่าน อ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ แล้วสามารถ ตอบคำถาม เล่าเรื่องย่อ คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจอย่าง สม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน อ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน และมี มารยาทในการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย เพื่อส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีความสามารถตรงตามศักยภาพ เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ และมีมารยาทในการเขียน ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่าย ๆ และปฏิบัติตาม จับใจความจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง โดยตอบคำถาม เล่า เรื่อง พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก พูดแนะนำตนเอง ขอความช่วยเหลือ กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลข ไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ และต่อคำคล้องจอง ง่าย ๆ บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก และ ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ เพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ และทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สู่สากล กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะการฟัง การดู และการพูด ด้วยการฟังนิทาน สังเกตภาพ สำรวจสิ่งรอบตัว สนทนาจากประสบการณ์ ทายปริศนา เล่นเกม และร้องเพลง โดยสอดแทรกกิจกรรมให้ฝึกฝนการอ่านและการเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักภาษา เกิดทักษะใน การใช้ภาษาสื่อสาร สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความชื่นชม เห็นคุณค่าภูมิ ปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ


๑๘ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔, ป. ๑/๕, ป. ๑/๖, ป. ๑/๗, ป. ๑/๘ ท ๒.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓ ท ๓.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔, ป. ๑/๕ ท ๔.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔ ท ๕.๑ ป. ๑/๑, ป. ๑/๒ รวม 5 มาตรฐาน ๒๒ ตัวชี้วัด


๑๙ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท12101 ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลา 200 ชั่วโมง ฝึกอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่าย ๆ อธิบายความหมายของ คำ และข้อความที่อ่าน ตั้งคำถาม ตอบคำถาม ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดแสดงความคิดเห็น และ คาดคะเนเหตุการณ์เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน อ่าน ข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ มีมารยาทในการอ่าน ฝึกคัดลายมือด้วยตัว บรรจงเต็มบรรทัด เขียนเรื่องสั้น ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์เขียนเรื่องสั้น ๆ ตามจินตนาการมีมารยาท ในการเขียน ฝึกทักษะการฟัง ฟังคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อนและปฏิบัติตามเล่าเรื่อง บอกสาระสำคัญ ของเรื่องตั้งคำถามตอบคำถามพูดแสดง ความคิดเห็นความรู้สึก พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตาม วัตถุประสงค์มีมารยาทในการฟังการดูและการพูด ฝึกทักษะ การเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทยเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำเรียบเรียงคำเป็น ประโยคได้ตรงตามเจตนาของ การสื่อสารบอกลักษณะคำคล้องจองเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับ กาลเทศะ ฝึกจับใจความสำคัญ จากเรื่อง ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรม สำหรับ เด็กเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานตามที่ กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการแสวงหาความรู้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติอธิบาย บันทึก การตั้งคำถาม ตอบคำถาม ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น กระบวนการ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่า ของ การอนุรักษาภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท 1.1 ป.21/, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6, ป.2/7, ป.2/8 ท 2.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4 ท 3.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5 ป.2/6, ป.2/7 ท 4.1 ป.2/1,ป.2/2,ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5 ท 5.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3 รวม 5 มาตรฐาน 27 ตัวชี้วัด


๒๐ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท๑๓๑๐๑ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง ศึกษาความหมายของคำ การอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรอง การอ่านคำที่มีตัวการันต์ การอ่านคำที่มี รร การอ่านคำที่มีพยัญชนะและสระไม่ออกเสียง การอ่านคำ พ้อง การอ่านคำที่มี ฑ ฤ ฦ การจับใจความสำคัญจากนิทาน นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมจากบทเรียน การอ่านประกาศ และคำขวัญ การอ่านข้อมูลจากแผนภาพแผนที่ และแผนภูมิ การเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งต่าง ๆ การเขียนบันทึกประจำวันการเขียนจดหมาย ลาครูการเขียนเรื่องตามจินตนาการ การจับใจความสำคัญและพูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง และดู การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน ศึกษาการสะกดคำและแจกลูกคำ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา การผันอักษร ๓ หมู่ คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มี ฤ ฤๅ คำที่ใช้ บัน บรร คำที่ใช้ รร คำที่มี ตัวการันต์ และความหมายของคำ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา การใช้พจนานุกรม การแต่งประโยค เพื่อการสื่อสาร การแต่งคำคล้องจองและคำขวัญ ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น บอกข้อคิดและแสดงความคิดเห็นจากการอ่านวรรณคดี วรรณกรรม และเพลงพื้นบ้าน ท่องจำ บทอาขยาน และบทร้อยกรองตามที่กำหนดและตามความสนใจโดยใช้กระบวนการคิด การฝึกทักษะ ทางภาษา การปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะในการใช้ภาษาในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ เห็นคุณค่าของความเป็นไทยและภูมิปัญญาทางภาษา มีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูด และการเขียน เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะทักษะ การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๓ / ๑ ป.๓ / ๒ ป.๓ / ๓ ป.๓ / ๔ ป.๓ / ๕ ป.๓ / ๖ ป.๓ / ๗ ป.๓ / ๘ ป.๓ / ๙ ท ๒.๑ ป.๓ / ๒ ป.๓ / ๓ ป.๓ / ๔ ป.๓ / ๕ ป.๓ / ๖ ท ๓.๑ ป.๓ / ๑ ป.๓ / ๒ ป.๓ / ๓ ป.๓ / ๔ ป.๓ / ๕ ป.๓ / ๖ ท ๔.๑ ป.๓ / ๑ ป.๓ / ๒ ป.๓ / ๓ ป.๓ / ๕ ป.๓ / ๖ ท ๕.๑ ป.๓ / ๑ ป.๓ / ๒ ป.๓ / 3 ป.๓ / 4 รวม ๕ มาตรฐาน ๓๑ ตัวชี้วัด


๒๑ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท14101 ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 160 ชั่วโมง ศึกษาเรื่องคำ ประโยคสำนวนจากบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง จากเรื่องที่อ่าน เรื่องสั้น เรื่องที่ฟัง ดูนิทานพื้นบ้าน นิทานคติธรรมและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า โดยใช้วิธีอ่านออกเสียง อ่านเรื่องสั้น อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจ มีสมรรถนะและ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล เขียนสื่อสาร เขียนย่อความ เขียน จดหมาย เขียนบันทึก เขียนรายงานโดยมีการหลักใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เขียนเรื่องสั้น เขียน แผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ อธิบาย ความหมายของคำ ประโยคและสำนวน อธิบายข้อคิดจากการอ่าน ตั้งคำถามและตอบคำถาม คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านโดยระบุเหตุผลประกอบ พูดสรุปความ พูดแสดงความรู้ พูดรายงาน ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดูมุ่งส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพของตน ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ แต่งประโยคได้ ถูกต้องตามหลักภาษา แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ บอกความหมายของคำและสำนวน เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้ ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านและนิทานคติธรรม อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ใน ชีวิตจริง ร้องเพลงพื้นบ้าน โดยสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณีและความเป็นไทย ท่องจำอาขยาน ตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ มีมารยาทในการอ่าน ในการเขียน การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๔/๑ ป.๔/๒ ป.๔/๓ ป.๔/๔ ป.๔/๕ ป.๔/๖ ป.๔/๗ ป.๔/๘ ท ๒.๑ ป.๔/๑ ป.๔/๒ ป.๔/๓ ป.๔/๔ ป.๔/๕ ป.๔/๖ ป.๔/๗ ป.๔/๘ ท ๓.๑ ป.๔/๑ ป.๔/๒ ป.๔/๓ ป.๔/๔ ป.๔/๕ ป.๔/๖ ท ๔.๑ ป.๔/๑ ป.๔/๒ ป.๔/๓ ป.๔/๔ ป.๔/๕ ป.๔/๖ ป.๔/๗ ท ๕.๑ ป.๔/๑ ป.๔/๒ ป.๔/๓ ป.๔/๔ รวม 5 มาตรฐาน 33 ตัวชี้วัด


๒๒ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท๑๕๑๐๑ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว บทร้อยกรองได้ถูกต้อง อธิบายความหมายของคำ ประโยค และข้อความ ที่เป็นการบรรยายและการพรรณนา อธิบายความหมายโดยนัย แยกข้อเท็จจริงและ ข้อคิดเห็น วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อเสนอแนะและปฏิบัติตามได้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พจนานุกรม เลือกอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพและมุ่ง พัฒนาผู้เรียนสู่สากล มีมารยาทในการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครึ่งบรรทัด เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจนและ เหมาะสม เขียนแผนภาพโครงเรื่อง แผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน เขียนย่อความ เขียนบันทึกจากการอ่าน เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ได้ตรงตามเจตนา กรอกแบบรายการต่าง ๆ เขียนเรื่องตามจินตนาการ การเขียนแนะนำ การเขียน คำอวยพร และมีมารยาทในการเขียน พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึก ตั้งคำถาม ตอบคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา วิเคราะห์ความ น่าเชื่อถืออย่างมีเหตุผล เข้าใจ ตระหนัก เห็นคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งนำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด มีสมรรถนะและทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมที่เหมาะสม ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค เครื่องหมายวรรคตอน ปริศนาคำทาย จำแนก ส่วนประกอบของประโยค เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น เปรียบเทียบคำภาษาพูด และภาษาเขียน ใช้คำราชาศัพท์ได้เหมาะสมกับบุคคล บอกคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย แต่งบท ร้อยกรองประเภท กาพย์ยานี ๑๑ และใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ในประโยคได้อย่างถูกต้อง สรุปเรื่องจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน ระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่านวรรณคดี และวรรณกรรม แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง ภูมิใจในความเป็นไทยและเห็นคุณค่าของวรรณคดี วรรณกรรม ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘ ท ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘, ป.๕/๙ ท ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ท ๔.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗ ท ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วัด


๒๓ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท๑๖๑01 ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง ฝึกการฟัง ดู พูด อ่าน เขียน โดยฟังและดูสื่อโน้มน้าวใจ การพูดสรุปความ เล่าเรื่อง แสดง ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ และประเมินค่า อ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วร้อยกรอง อ่านจับใจความ อ่านวรรณคดีและวรรณกรรม คัดลายมือ ท่องจำบทอาขยาน แนะนำตนเอง แนะนำสถานที่สำคัญ บรรยาย ย่อความ แสดงความคิดเห็น จดหมายส่วนตัว รายงานการศึกษาค้นคว้า หลักการอ่านร้อยแก้วร้อยกรอง หลักการอ่านจับใจความ ความหมายและตัวอย่างของ ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ความหมายของคำตามบริบท หลักการใช้ภาษาโน้มน้าวใจ หลักการเขียน ตัวอักษรไทยและเลขไทย หลักการเขียนแนะนำ หลักการเขียนบรรยาย หลักการเขียนย่อความ หลักการเขียนแสดงความคิดเห็น หลักการเขียนจดหมายส่วนตัว หลักการเขียนรายงานการศึกษา ค้นคว้า หลักการพูด สรุปความ หลักการพูดเล่าเรื่อง หลักการพูดแสดงความคิดเห็น คำราชาศัพท์ ระดับภาษา ภาษาถิ่น ชนิดและหน้าที่ของคำ คำภาษาต่างประเทศ กลุ่มคำหรือวลี ประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อน กลอนสุภาพ สำนวนสุภาษิตคำพังเพย มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การดู การพูด และการเขียน เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้ มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท๑.๑ ป.๖/๑,ป.๖/๒,ป.๖/๓,ป.๖/๔,ป.๖/๕,ป.๖/๖,ป.๖/๗,ป.๖/๘,ป.๖/๙ ท๒.๑ ป.๖/๑,ป.๖/๒,ป.๖/๓ป.,๖/๔,ป.๖/๕,ป.๖/๖,ป.๖/๗,ป.๖/๘,ป.๖/๙ ท๓.๑ ป.๖/๑,ป.๖/๒,ป.๖/๓,ป.๖/๔,ป.๖/๕,ป.๖/๖ ท๔.๑ ป.๖/๑,ป.๖/๒,ป.๖/๓,ป.๖/๔,ป.๖/๕,ป.๖/๖ ท๕.๑ ป.๖/๑,ป.๖/๒,ป.๖/๓,ป.๖/๔ รวม 5 มาตรฐาน 34 ตัวชี้วัด


๒๔ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค11101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 200 ชั่วโมง ศึกษาการอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 การแสดงจำนวนไม่เกิน 20 ในรูปความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย ส่วนรวม การบอกอันดับที่ หลัก ค่าประจำหลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก การเขียนตัวเลข แสดงจำนวนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < การเรียงลำดับจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำนวน ความหมายของการ บวก ความหมายของการลบ การหาผลบวก การหาผลลบ การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปัญหาการลบ การสร้างโจทย์ปัญหา รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูป เรขาคณิตสามมิติ แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 1 ทีละ 10 แบบรูปซ้ำของจำนวน รูป เรขาคณิตและรูปอื่นๆ การวัดความยาวโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน การวัดและเปรียบเทียบ ความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร การวัดน้ำหนักโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน การวัดและเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็น ขีด โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม เป็นขีด การอ่านแผนภูมิรูปภาพ โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเชื่อมั่นใน ตนเอง ได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็น ไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนา สู่ความเป็นสากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3, ป.1/4, ป.1/5 ค 1.2 ป.1/1 ค 2.1 ป.1/1, ป.1/2 ค 2.2 ป.1/1 ค 3.1 ป.1/1 รวม 5 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด


๒๕ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค12101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลา 200 ชั่วโมง ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ จำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำนวนนับไม่ เกิน 100๐ และ 0 เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบ ของจำนวนนับไม่เกิน 100๐ และ 0 การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณ ของจำนวน ๑ หลัก กับจำนวนไม่เกิน ๒หลัก การหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดง การหารที่ตัวตั้งไม่เกิน ๒ หลัก ตัวหาร ๑ หลัก ทั้งหารลงตัว และหารไม่ลงตัว การหาผลลัพธ์ การ บวก ลบ คูณ หารระคน ของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐๐ และ ๐ การแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ ปัญหา ๒ ขั้นตอน ของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐๐ และ ๐ การหาคำตอบของโจทย์ปัญหา เกี่ยวกับ เวลาที่มีหน่วยเดี่ยวและเป็นหน่วยเดียวกัน การวัดและเปรียบเทียบความยาวเป็นเมตร และ เซนติเมตร การแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา การบวก การลบเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็น เมตร และเซนติเมตร การวัดและเปรียบเทียบน้ำหนักกิโลกรัม และกรัม กิโลกรัม และขีด การแสดง วิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา การบวก การลบเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม และกรัม กิโลกรัม และขีดการวัดและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็นลิตร การจำแนกและบอกลักษณะ ของรูปหลายเหลี่ยมและวงกลม การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเมื่อ กำหนดรูป ๑ รูป แทน ๒ หน่วย ๕ หน่วย หรือ ๑๐ หน่วย โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง เปรียบเทียบ บอก อ่าน เขียน แสดงวิธีทำ สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการที่ได้ไปใช้ ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อ คณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับชอบ มีวิจารณญาณและ เชื่อมั่นในตนเอง ตามตัวชี้วัด ดังนี้ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6, ป.2/7, ป.2/8 ค 2.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6 ค 2.2 ป.2/1 ค 3.1 ป.2/1 รวม 4 มาตรฐาน 16 ตัวชี้วัด


๒๖ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค13101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เวลา 200 ชั่วโมง ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้จำนวนและตัวเลข ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 เรียงลำดับจำนวน ไม่เกิน 100,000 จากสถานการณ์ต่าง ๆ หลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก การเขียนตัวเลขแสดง จำนวนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน เศษส่วน การอ่าน และเขียน เศษส่วน แสดงปริมาณสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆตามเศษส่วนที่กำหนด การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวเศษ เท่ากันโดยที่ตัวเศษน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวส่วน การบวก การลบ การคูณ การหาร จำนวนนับที่ มากกว่า 100,000 และ 0 การบวก การลบ การคูณการหารยาว และการหารสั้น การบวก ลบ คูณ หารระคน การแก้โจทย์ปัญหาและการสร้างโจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาคำตอบ การบวกลบ เศษส่วน การบวกและการลบเศษส่วน การแก้โจทย์ปัญหาการบวก และโจทย์ปัญหาการลบเศษส่วน แบบรูป แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน เงิน การบอกจำนวนเงิน และการ เขียนแสดงจำนวนเงิน แบบใช้จุด การเปรียบเทียบจำนวนเงินและการแลกเงิน การอ่านและเขียน บันทึกรายรับ รายจ่าย การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงิน เวลา การบอกเวลาเป็นนาฬิกา และนาที การเขียนบอกเวลาโดยใช้มหัพภาค (.) หรือทวิภาค (:) และการอ่าน การบอกระยะเวลาเป็นชั่วโมง และนาที การเปรียบเทียบระยะเวลาโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงกับนาที การอ่านและการ เขียนบันทึกกิจกรรมที่ระบุเวลา การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา และระยะเวลา ความยาว การวัด ความยาวเป็นเซนติเมตร และมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตร กิโลเมตรและเมตร การเปรียบเทียบ ความยาวโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาวการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก การเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสม การคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม และเป็นขีด การเปรียบเทียบ น้ำหนักระหว่างกิโลกรัมกับกรัม เมตริกตันกับกิโลกรัมจากสถานการณ์ต่าง ๆ การแก้โจทย์ปัญหา เกี่ยวกับน้ำหนัก ปริมาตรและความจุ การวัดและเปรียบเทียบปริมาตร ความจุเป็นลิตรและมิลลิลิตร การเลือกใช้เครื่องตวงที่เหมาะสม การคาดคะเนปริมาตรและความจุเป็นลิตร การแก้โจทย์ปัญหา เกี่ยวกับปริมาตร ความจุที่มีหน่วยเป็นลิตรและมิลลิลิตร ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวงกับมิลลิลิตร รูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรและจำนวนแกนสมมาตร แผนภูมิรูปภาพและใช้ข้อมูลจาก แผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา การเขียนตารางทางเดียว (one-way table)จาก ข้อมูลที่เป็นจำนวนนับและการใช้ข้อมูลจากตารางทางเดียวในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า สังเกต เปรียบเทียบ วาดภาพ ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการที่ได้ไปใช้ ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อ คณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและ เชื่อมั่นในตนเอง ได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รัก


๒๗ ความเป็นไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6, ป.3/7, ป.3/8, ป.3/9, ป.3/10, ป.3/11 ค 1.2 ป.3/1 ค 2.1 ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6, ป.3/7, ป.3/8, ป.3/9, ป.3/10, ป.3/11, ป.3/12, ป.3/13 ค 2.2 ป.3/1 ค 3.1 ป.3/1, ป.3/2 รวม 5 มาตรฐาน 28 ตัวชี้วัด


๒๘ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค14101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 160 ชั่วโมง ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ จำนวนและ ตัวเลข จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 และ 0 การอ่านและเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงหลักและค่าประจำหลัก การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนในรูปกระจาย การ เปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับจำนวน ค่าประมาณของจำนวนนับและการใช้เครื่องหมาย เศษส่วน เศษส่วนแท้ เศษเกิน จำนวนคละ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคละและเศษเกิน เศษส่วนที่ เท่ากัน เศษส่วนอย่างต่ำ และเศษส่วนที่เท่ากับจำนวนนับ การเปรียบเทียบ เรียงลำดับเศษส่วนและ จำนวนคละ ทศนิยม การอ่านและการเขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ตามปริมาณที่กำหนด หลัก ค่าประจำหลัก ค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของทศนิยม และการเขียนตัวเลขแสดงทศนิยมในรูป กระจาย ทศนิยมที่เท่ากัน การเปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยม การบวกและการลบ การคูณและ การหาร จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 และ ๐ การประมาณผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หาร การ บวก ลบ คูณ หารระคน การแก้โจทย์ปัญหาและการสร้างโจทย์พร้อมทั้งคำตอบ การบวก การลบ เศษส่วน การบวก การลบเศษส่วน และจำนวนคละ การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและโจทย์ปัญหาการ ลบเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก การลบทศนิยม การบวก การลบทศนิยม การแก้โจทย์ปัญหา การบวก การลบทศนิยม ไม่เกิน ๒ ขั้นตอน แบบรูป แบบรูปของจำนวนที่เกิดจาก การคูณ การ หารด้วยจำนวนเดียวกัน เวลา การบอกระยะเวลาเป็นวินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี การ เปรียบเทียบระยะเวลาโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเวลา การอ่านตารางเวลา การแก้โจทย์ ปัญหาเกี่ยวกับเวลา การวัดและการสร้างมุม การวัดขนาดของมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์ การสร้างมุม เมื่อกำหนดขนาดมุม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การหาความยาวของรูป พื้นที่ การแก้โจทย์ปัญหา รูป เรขาคณิต ระนาบ มุม ชนิด สมบัติ และการสร้างรูปสี่เลี่ยมมุมฉาก การนำเสนอข้อมูล การอ่าน และการเขียนแผนภูมิแท่ง (ไม่รวมการย่นระยะ) การอ่านตารางสองทาง (two-way table) โดย การกำหนดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ อ่าน เขียน เปรียบเทียบ โดยการปฏิบัติจริง สรุปเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อให้นักเรียน มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล


๒๙ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.4/1, ป. 4/2, ป. 4/3, ป. 4/4, ป. 4/5, ป. 4/6, ป. 4/7, ป. 4/8, ป. 4/9, ป. 4/10, ป.4/11, ป. 4/12, ป. 4/13, ป. 4/14, ป. 4/15, ป. 4/16 ค 2.1 ป. 4/1, ป. 4/2, ป. 4/3 ค 2.2 ป. 4/1, ป.4/2 ค 3.1 ป. 4/1 รวม 4 มาตรฐาน 22 ตัวชี้วัด


๓๐ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค15101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 160 ชั่วโมง ศึกษาความหมาย และฝึกให้เกิดความคล่องในการคิดคำนวณ การแก้โจทย์ปัญหา รวมทั้ง การเขียนแสดงความหมาย หรือวิธีการในเรื่องต่อไปนี้ ทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและ ทศนิยม ค่าประมาณของทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง ที่เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม ๑ ตำแหน่ง และ ๒ ตำแหน่ง การใช้เครื่องหมาย จำนวนนับและ ๐ การบวก การลบ การคูณ และการหาร การแก้ โจทย์ปัญหาโดยใช้วิธีบัญญัติไตรยางศ์ เศษส่วน การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก การลบของเศษส่วนและจำนวนคละ การคูณ การ หารเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคนเศษส่วนและจำนวนคละ การคูณ การ หารทศนิยม การประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม การคูณทศนิยม การหารทศนิยม การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับทศนิยม ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์การอ่าน การเขียนร้อย ละหรือเปอร์เซ็นต์ การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ ความยาว ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว เซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร โดยใช้ความรู้เรื่องทศนิยม การแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวโดยใช้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนหน่วยและทศนิยม น้ำหนัก ความสัมพันธ์ ระหว่างหน่วยน้ำหนัก กิโลกรัมกับกรัม โดยใช้ความรู้เรื่องทศนิยม การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ น้ำหนักโดยใช้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนหน่วยและทศนิยม ปริมาตรและความจุ ปริมาตรของทรง สี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความสัมพันธ์ระหว่างมิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เมตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและ ความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปเรขาคณิตสองมิติความยาวของรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ของรูป สี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูป สี่เหลี่ยมและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปเรขาคณิต เส้นตั้งฉาก และสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก เส้นขนานและสัญลักษณ์แสดงการขนาน การสร้างเส้นขนาน มุม แย้ง มุมภายใน และมุมภายนอก ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง(Transversal) รูปเรขาคณิต สองมิติ ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม การสร้างรูปสี่เหลี่ยม รูปเรขาคณิตสามมิติ ลักษณะและ ส่วนต่าง ๆของปริซึม การนำเสนอข้อมูล การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่ง การอ่านกราฟเส้น โดย การกำหนดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ อ่าน เขียน เปรียบเทียบ โดยการปฏิบัติจริง สรุปเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อให้นักเรียน มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล


๓๑ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7, ป.5/8, ป.5/9 ค 2.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4 ค 2.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4 ค 3.1 ป.5/1, ป.5/2 รวม 4 มาตรฐาน 19 ตัวชี้วัด


๓๒ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค16101 คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 160 ชั่วโมง ศึกษาความหมาย และฝึกให้เกิดความคล่องในการคิดคำนวณ การแก้โจทย์ปัญหา รวมทั้ง การเขียนแสดงความหมาย หรือวิธีการในเรื่องต่อไปนี้ เศษส่วนและจำนวนคละ เปรียบเทียบ เรียงลำดับเศษส่วนและจำนวนคละ จากสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้ความรู้เรื่อง ค.ร.น. การเขียน อัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณ ๒ ปริมาณ จากข้อความหรือสถานการณ์ โดยปริมาณแต่ละ ปริมาณเป็นจำนวนนับ การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ การหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนนับไม่เกิน ๓ จำนวน ตัวประกอบ จำนวนเฉพาะ ตัวประกอบเฉพาะและการแยกตัว ประกอบเฉพาะแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. การหา ผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ ปัญหาเศษส่วนและจำนวนคละ ๒ – ๓ ขั้นตอน ทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและทศนิยม การหาผลหารของทศนิยมที่ตัวหารและผลหาร เป็นทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง แสดงวิธีหาคำตอบ ของโจทย์ปัญหา การบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม ๓ ขั้นตอน แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ ปัญหาอัตราส่วน ร้อยละ ๒ – ๓ ขั้นตอน แบบรูป การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป แสดงวิธีคิด และหาคำตอบของปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป ปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบด้วยทรง สี่เหลี่ยมมุมฉาก แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ ประกอบด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม มุมภายในของรูป หลายเหลี่ยม ความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว รอบรูปและพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม ความยาวรอบรูปและพื้นที่ของวงกลม การแก้โจทย์ปัญหา เกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของวงกลม แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว รอบรูปหลายเหลี่ยม พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม ความยาวรอบรูปวงกลมและพื้นที่ของวงกลม จำแนก รูปสามเหลี่ยมโดยพิจารณาจากสมบัติของรูป สร้างรูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและ ขนาดของมุม การสร้างวงกลม ส่วนต่างๆ ของวงกลม บอกลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติชนิด ต่างๆ ทรงกลม ทรงกระบอก กรวย พีระมิด ระบุรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบจากรูปคลี่ของรูป เรขาคณิตสามมิติ อ่านแผนภูมิรูปวงกลม ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปวงกลมในการหาคำตอบของโจทย์ ปัญหา โดยการกำหนดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ อ่าน เขียน เปรียบเทียบ โดยการปฏิบัติจริง สรุปเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อให้นักเรียน มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ความเป็นสากล


๓๓ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค 1.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, ป.6/6, ป.6/7, ป.6/8, ป.6/9, ป.6/10, ป.6/11, ป.6/12 ค 1.2 ป.6/1 ค 2.1 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3 ค 2.2 ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4 ค 3.1 ป.6/1 รวม 5 มาตรฐาน 21 ตัวชี้วัด


๓๔ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว11101 วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 80 ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการ ดำรงชีวิตของสัตว์ในบริเวณที่อาศัยอยู่ หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์และพืช การทำ หน้าที่ร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ การจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติ การเกิดเสียงและทิศทาง การเคลื่อนที่ของเสียง ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืน ลักษณะภายนอกของหิน การแก้ปัญหาโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้สื่อซอฟต์แวร์ การใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล การดูแลรักษาอุปกรณ์ และมีสมรรถนะ มีทักษะ การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รักความเป็นไทย ได้เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การ สืบค้นข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว 1.1 ป.1/1 , ป.1/2 ว 1.2 ป.1/1 , ป.1/2 ว 2.1 ป.1/1 , ป.1/2 ว 2.3 ป.1/1 ว 3.1 ป.1/1 , ป.1/2 ว 3.1 ป.1/1 ว 4.2 ป.1/1 , ป.1/2 , ป.1/3 , ป.1/4 , ป.1/5 รวม 7 มาตรฐาน 15 ตัวชี้วัด


35 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว12101 วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา 80 ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการแสงและน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช วัฏจักรชีวิตของพืช ดอก รวมถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต อีกทั้งสมบัติของวัสดุและการนำสมบัติของวัสดุไป ประยุกต์ใช้ในการทำวัตถุในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้วัสดุที่ใช้แล้วมีประโยชน์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้การเคลื่อนที่ของแสง จากแหล่งกำเนิดแสง ส่งผลให้สามารถมองเห็นวัตถุ และเสนอแนะ แนวทางการป้องกันอันตรายจากการมองวัตถุบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม นอกจากนี้ในเรื่องของ ดินมีส่วนประกอบที่หลากหลาย และสามารถจำแนกชนิดของดินโดยใช้เกณฑ์ของลักษณะเนื้อดินและ การจับตัว รวมถึงอธิบายการใช้ประโยชน์จากดิน อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือ ข้อความ การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย จากการใช้สื่อซอฟต์แวร์ การใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ตะหนักถึงความสำคัญของการปกป้องข้อมูล ส่วนตัว มีสมรรถนะ มีทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้น ข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และมีความสามารถในการตัดสินใจ การใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศอย่างเหมาะสม ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ เหมาะสม รักความเป็นไทย ได้เรียนรู้ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการรับรู้ และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิต วิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมที่พึงประสงค์ต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๒/๑, ป.๒/๒ , ป.๒/๓ ว ๑.๓ ป.๒/๑ ว ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ ว ๒.๓ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ว ๓.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ ว ๔.๒ ป.๒/๑ , ป.๒/๒ , ป.๒/๓ , ป.๒/๔ รวม 6 มาตรฐาน ๑๖ ตัวชี้วัด


36 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว13101 วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา 8๐ ชั่วโมง ศึกษาการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ ปัจจัยในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของมนุษย์ และสัตว์ วัฏจักรชีวิตของสัตว์ วัตถุประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อยซึ่งสามารถแยกออกจากกันและ ประกอบกันเป็นวัตถุชิ้นใหม่ได้ การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อทำให้ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ผลของแรงที่มี ต่อการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส วัสดุที่แม่เหล็กดึงดูดได้ แรง แม่เหล็ก ขั้วแม่เหล็ก การเปลี่ยน พลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่ง การทำงานของเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า แหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า การใช้ ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย การเกิดกลางวัน กลางคืน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ การกำหนด ทิศ ความสำคัญของดวงอาทิตย์ ส่วนประกอบ ของอากาศ ความสำคัญของอากาศ ผลกระทบของมลพิษ ทางอากาศ การเกิดลม ประโยชน์และโทษ ของลม ใช้การสืบเสาะหาความรู้ สังเกต รวบรวมข้อมูล จัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล สร้าง แบบจําลอง และอธิบายผลการสํารวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและมีทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อมุ่งพัฒนาสู่ความเป็น สากล ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มี ความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา แสดงอัลกอริทึม ในการทำงาน แก้ปัญหาอย่างง่าย โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ เขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดย ใช้ซอฟต์แวร์ หรือสื่อ ตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและอยู่ในการดูแลของครูหรือ ผู้ปกครอง มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รักความเป็นไทย ได้เรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ ว ๒.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ ว ๒.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ ว ๒.๓ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ ว ๓.๑ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ ว ๓.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ ว ๔.๒ ป.๓/๑ , ป.๓/๒ , ป.๓/๓ , ป.๓/๔ , ป.๓/๕ รวม 7 มาตรฐาน ๒๕ ตัวชี้วัด


37 อธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 120 ชั่วโมง ศึกษาการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ การจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ ไม่ใช่พืชและสัตว์ การจำแนกพืชออกเป็นพืชดอกและพืชไม่มีดอก การจำแนกสัตว์ออกเป็นสัตว์ มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเฉพาะของสัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลา กลุ่ม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มสัตว์ปีก และกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม หน้าที่ ของราก ลำต้น ใบและดอกของพืชดอก สมบัติทางกายภาพ ด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำ ความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุ การนำสมบัติทางกายภาพของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมบัติ ของสสารทั้ง 3 สถานะ ผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุ การวัดน้ำหนักของวัตถุ การใช้เครื่องชั่งสปริง วัดน้ำหนักของวัตถุ มวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ การจำแนกวัตถุเป็น ตัวกลางโปร่งใส ตังกลางโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง สร้างแบบจำลองแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตก ของดวงจันทร์ สร้างแบบจำลองที่อธิบายแบบรูป การเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ สร้าง แบบจำลองแสดงองค์ประกอบของระบบสุริยะและคาบโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ การใช้เหตุผลเชิง ตรรกะในการแก้ปัญหา การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย การตรวจหาข้อผิดพลาดใน โปรแกรม การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและการใช้คำค้น การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรวบรวม นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ใช้การสืบเสาะหาความรู้ ตั้งคำถาม คาดคะเนคำตอบหรือสร้างสมมติฐาน วางแผนและ สำรวจ ตรวจสอบโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินความ น่าเชื่อถือของข้อมูล รวมรวมข้อมูล ประมวลผลอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ผลและสร้าง ทางเลือก นำเสนอข้อมูล ลงความคิดเห็นและสรุปผลการสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ในด้านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา และอธิบายการทำงานหรือคาดการผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย ออกแบบและเขียนโปรแกรม ตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของตนเองและผู้อื่น ตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้ความรู้และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต สามารถสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ รู้จักการ ปกป้องข้อมูลส่วนตัว มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๔/๑ ว ๑.๓ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป. ๔/๔ ว ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป. ๔/๔ ว ๒.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ว ๒.๓ ป.๔/๑


38 ว ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ว ๔.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป. ๔/๔, ป. ๔/๕ รวม 7 มาตรฐาน ๒๑ ตัวชี้วัด


39 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา 12๐ ชั่วโมง ศึกษาการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมในแต่ ละแหล่งที่อยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งไม่มีชีวิต การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพืช สัตว์ และมนุษย์การเปลี่ยนสถานะของสสาร การละลายของสารในน้ำ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ แรงลัพธ์ แรงเสียดทาน การได้ยินเสียงผ่านตัวกลาง ลักษณะและการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง และเสียงค่อย ระดับเสียงและมลพิษทางเสียง ความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ การใช้แผน ที่ดาว แบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าในรอบปีปริมาณน้ำในแต่ละแหล่ง ปริมาณน้ำที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ได้ การใช้น้ำอย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ วัฏจักรน้ำ กระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็ง กระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ การใช้ เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การเขียนรหัสลำลองเพื่อแสดงวิธีแก้ปัญหา การออกแบบ และการ เขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไขและการทำงานแบบวนซ้ำ การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลและการประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล อันตรายจากการใช้งานและอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ใช้การสืบเสาะหาความรู้ สังเกต รวบรวมข้อมูล จัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล สร้าง แบบจำลองและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ในด้านการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่น แสดงวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ใช้รหัสลำลองแสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็น ขั้นตอน ออกแบบ และเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข และการทำงานแบบวนซ้ำตรวจหาข้อผิดพลาด ของโปรแกรม ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการแก้ปัญหา ใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูล แยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้ความรู้และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีมารยาท มีจิตวิทยาศาสตร์จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ว ๑.๓ ป.๕/๑, ป.๕/๒ ว ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ ว ๒.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๒.๓ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒


40 ว ๓.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ว ๔.๒ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ รวม 8 มาตรฐาน ๓๒ ตัวชี้วัด


41 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว๑๖๑๐๑ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลาเรียน ๑๒๐ ชั่วโมง บรรยาย จำแนก เปรียบเทียบ อภิปราย ระบุ อธิบาย สร้างแบบจำลอง ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ในการแก้ปัญหา ออกแบบและเขียนโปรแกรม ใช้อินเตอร์เน็ต รวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับประโยชน์ของสารอาหารที่ตนเองได้รับ ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย หน้าที่และการ ดูดซึมของอวัยวะในระบบย่อยอาหารให้ทำงานเป็นปกติการแยกสารผสม โดยการหยิบออก การร่อน การใช้แม่เหล็กดึงดูด การรินออก การกรองและการตกตะกอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมถึง การแยกสารในชีวิตประจำวัน การเกิดแรงไฟฟ้าซึ่งเกิดจากวัตถุผ่านการขัดถู หน้าที่ของส่วนประกอบ ของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย แผนภาพการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ผลของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน รวมถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การเกิดเงา มืดเงามัว แผนภาพรังสีของแสงแสดงการเกิดเงามืดเงามัว การเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาและ จันทรุปราคา พัฒนาการของเทคโนโลยีอวกาศ การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน การเกิดหินอัคนี หินตะกอนและหินแปร วัฏจักรหินจากแบบจำลอง การใช้ประโยชน์ ของหินและแร่ในชีวิตประจำวัน การคาดคะเนสภาพแวดล้อมในอดีตจากซากดึกดำบรรพ์ การเกิดลม บก ลมทะเล และมรสุมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ผลของมรสุมต่อการเกิดฤดูของประเทศ ไทย ผลกระทบจากน้ำท่วม การกัดเซาะของชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ การเฝ้าระวังและ ปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดในท้องถิ่น การเกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจก โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติตนเพื่อลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด แก็สเรือนกระจก โดยใช้กระบวนทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้น ข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่ เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริม ผู้เรียนตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล มีสมรรถนะและทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมมีความเป็นไทย ศึกษาขั้นตอนการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบใน ชีวิตประจำวัน ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ตรวจหา ข้อผิดพลาดและแก้ไขโปรแกรม การใช้อินเตอร์เน็ตค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย ใช้กระบวนการการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการ อธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขโดยใช้แนวคิดการทำงานแบบ วนซ้ำและเงื่อนไข การออกแบบโปรแกรมโดยเขียนเป็นข้อความหรือผังงาน การออกแบบและเขียน โปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรการวนซ้ำและการตรวจสอบเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณี ถ้าไม่เป็นไป ตามที่ต้องการให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และฝึก ตรวจสอบข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่น ใช้ ซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรม โดยใช้โปรแกรม Scratch


42 ตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกัน ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยมีมารยาท เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เคารพในสิทธิของ ผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม ทำงานด้วยความกระตือรือร้น และตรง เวลา มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีลักษณะนิสัยการทำงานที่เหมาะสมมีคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ว ๑.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕ ว ๒.๑ ป.๖/๑ ว ๒.๒ ป.๖/๑ ว ๒.๓ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘ ว ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒ ว ๓.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ว ๔.๒ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔ รวม 7 มาตรฐาน ๓๐ ตัวชี้วัด


43 คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ส๑๑๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลาเรียน ๘๐ ชั่วโมง ศึกษาเกี่ยวกับประวัติของศาสดาที่ตนนับถือ การดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่าง ความสำคัญ และหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เห็นคุณค่า ขอการปฏิบัติตามหลักธรรม การพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ การบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ การแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนา ที่ตนนับถือ และศาสนาของประเทศสมาชิกสมาคมอาซียน การปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และ วันสำคัญ ทางศาสนา ปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะเป็นพลเมืองดี และปฏิบัติสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ หน้าที่ของตนเองและผู้อื่น เข้าใจโครงการบริหารตามกระบวนการประชาธิปไตย เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทย มีความเป็นไทย ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รู้และเข้าใจ การกระจายรายได้ รายรับ รายจ่ายของตนเอง มีส่วนร่วมในการผลิต และบริโภค ปฏิบัติตาม บทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เห็นประโยชน์ของการประหยัด อดออม ให้รู้จักการปฏิบัติตนได้ถูกต้องและเห็นคุณค่าของการ ประหยัด มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ บอกและจำแนกสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ มีความรู้ พื้นฐานทางกายภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในประเทศอาเซียนระบุความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ระยะ ทิศ ใช้แผนผังง่ายๆในการแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆในห้องเรียน สังเกตและบอกการ เปลี่ยนแปลงของอากาศในรอบวัน สังเกตและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ รอบตัวเพื่อการปฏิบัติอย่างเหมาะสม มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้านและชั้นเรียน โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนการทางจริยธรรม กระบวนกลุ่ม กระบวนสืบค้น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความสื่อสัตย์สุจริตรักความเป็นไทยและมีจิต สาธารณะ ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ป.๑/๔ ส ๑.๒ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ส ๒.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ส ๒.๒ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ส ๓.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓


44 ส ๓.๒ ป.๑/๑ ส ๕.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ป.๑/4 ส ๕.๒ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ รวม ๘ มาตรฐาน ๒๓ ตัวชี้วัด


45 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ส1210๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เวลา 80 ชั่วโมง ศึกษา ความหมาย ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ศาสดา คัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในพระรัตนตรัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา มรรยาทของชาวพุทธ ศาสนพิธี พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา ชื่นชมการทำความดีของตนเอง บุคคลในครอบครัว และในโรงเรียน ตามหลักศาสนา รวมทั้งเห็นคุณค่าของการสวดมนต์แผ่เมตตา พัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตน นับถือ ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา กฎ ระเบียบ และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มารยาท ไทย ยอมรับความคิด ความเชื่อ การปฏิบัติของผู้อื่นที่แตกต่างโดยปราศจากอคติเคารพในสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น ศึกษาความสัมพันธ์ของตนเองละสมาชิกในครอบครัวในฐานะเป็นส่วน หนึ่งของชุมชน บทบาท อำนาจในการตัดสินใจในโรงเรียนและชุมชน ทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้าและ บริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว การแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการโดยวิธีต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย บันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง รวมทั้งสรุปผลดีของการใช้จ่าย ที่เหมาะสมกับรายได้และการออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ระบุสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ตำแหน่งและลักษณะทางกายภาพของสิ่งต่างๆ สังเกตและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ อธิบายความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างฤดูกาล กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน พร้อมทั้งจำแนกและใช้ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดไป ที่ใช้แล้วหมดไปและสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้อย่างคุ้มค่า โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทาง สังคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และใช้เครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์ในการสืบค้นและสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีความสามารถทาง ภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ ทักษะในศตวรรษที่ 21 คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีหลักธรรมในการ ดำเนินชีวิต รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุข ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส 1.1 ป.2/1 ป.2/2 ป.2/3ป.2/4 ป.2/5 ป.2/6 ป.2/7 ส 1.2 ป.2/1 ป.2/2 ส 2.1 ป.2/1 ป.2/2 ป.2/3 ป.2/4 ส 2.2 ป.2/1 ป.2/2 ส 3.1 ป.2/1 ป.2/2 ป.2/3 ป.2/4 ส 3.2 ป.2/1 ป.2/2


46 ส 5.1 ป.2/1 ป.2/2 ป.2/3 ส 5.2 ป.2/1 ป.2/2 ป.2/3 ป.2/4 รวม ๘ มาตรฐาน ๒๘ ตัวชี้วัด


47 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ส๑๓๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลาเรียน ๘๐ ชั่วโมง ศึกษาความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ ในฐานะที่เป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย ประวัติของศาสดาที่ตนนับถือ การดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและศาสนิก ชนตัวอย่าง คัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เห็นคุณค่าของการสวด มนต์ การพัฒนาจิต ตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ การปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมต่อ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนพิธีพิธีกรรม และวันสำคัญทางศาสนา และการแสดงตนเป็น ศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ เข้าใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะเป็น สมาชิกของตนเองและชุมชน ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น เคารพความคิดความ เชื่อ การปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตของบุคคลที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมในท้องถิ่นเข้าใจ โครงสร้างการบริการระดับตำบล มีส่วนร่วมประเพณีวัฒนธรรม ต่อโรงเรียน ครอบครัว ท้องถิ่น และปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญสูงสุดของประเทศ เข้าใจ การกระจายรายได้ รายรับ รายจ่าย ของครอบครัวตนเอง ปฏิบัติตามบทบาท หน้าที่ของตนเองในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภคตามหลักคุณธรรม ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เข้าใจวิธีการ เศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจการแลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการ สำรวจข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในโรงเรียนและชุมชนโดยใช้แผนผัง แผนที่ และรูปถ่ายเพื่อแสดง ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ระยะ ทิศทาง วาดภาพแผนผังเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญใน บริเวณโรงเรียนและชุมชน อธิบายลักษณะทางกายภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน เปรียบเทียบและ อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน อธิบายการใช้ประโยชน์ของ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและการประกอบอาชีพของมนุษย์ และการประกอบอาชีพ อธิบายความแตกต่างของเมืองและชนบท ความสัมพันธ์ทางกายภาพ ในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน อธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษและมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ กระบวนการทางจริยธรรม กระบวนกลุ่ม กระบวนสืบค้น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการสื่อสาร สามารถนำไปปฏิบัติในการ ดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้าน ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ พัฒนาตนเองตามศักยภาพเพื่อให้มีสมรรถนะ ทักษะการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาสู่ สากล


48 มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ป.๓/๔ ป.๓/๕ ป.๓/๖ ป.๓/๗ ส ๑.๒ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ส ๒.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ป.๓/๔ ส ๒.๒ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ส ๓.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ส ๓.๒ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ส ๕.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ส ๕.๒ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ป.๓/๔ ป.๓/๕ ป.3/6 รวม 8 มาตรฐาน ๓๑ ตัวชี้วัด


49 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ส๑๔๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลาเรียน ๘๐ ชั่วโมง ศึกษา อธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนา ศาสนาที่ตนนับถือ ในฐานะเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของศาสนิกชน พุทธประวัติตั้งแต่บรรลุธรรมจนถึงประกาศธรรม ประวัติของศาสดาที่ตนนับถือ เห็นคุณค่าการปฏิบัติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/ศาสนิกชน ตัวอย่าง พระรัตนตรัย การปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท ๓ ในพระพุทธศาสนา หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ การทำความดีของตนเอง บุคคลในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน ตามหลักศาสนา เห็นคุณค่าของการสวดมนต์ แผ่เมตตา การมีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิ ในพระพุทธศาสนา และการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ การปฏิบัติตามหลักธรรม ของศาสนาที่ตนนับถือ การอยู่ร่วมกันเป็นชาติได้อย่างสมานฉันท์ ประวัติศาสดาของศาสนาอื่น ๆ การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ มรรยาทของความเป็นศาสนิกชน ที่ดี การปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนา ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย การปฏิบัติ ตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีสิทธิ พื้นฐานเด็ก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น วิธีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในชีวิตประจำวัน อำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย บทบาทหน้าที่ของ พลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศึกษา วิเคราะห์ ยกตัวอย่าง อธิบาย ระบุปัจจัยที่มีผลต่อ การเลือกซื้อสินค้าและบริการ สิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ของคน ในชุมชน หน้าที่เบื้องต้นของเงินในระบบเศรษฐกิจ ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ระบุการใช้ แผนที่ ภาพถ่าย ระบุลักษณะสำคัญทางกายภาพของจังหวัดตนเอง ระบุแหล่งทรัพยากรและสิ่งต่าง ๆ ในจังหวัดของตนเองด้วยแผนที่ ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด สภาพ แวดล้อมทางกายภาพของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในจังหวัด การเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อม และผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม ทักษะการสำรวจ ทักษะการสังเกต ทักษะการ สืบค้นข้อมูล ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการเรียงลำดับ ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการ สรุปย่อ ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่สากล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้าน ความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงมีสมรรถนะ และทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ


50 มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘ ส ๑.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ส ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕ ส ๒.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ส ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ส ๓.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ส ๕.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ส ๕.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ รวม ๘ มาตรฐาน ๓๐ ตัวชี้วัด


Click to View FlipBook Version