The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sudaporn.aeed, 2019-07-06 02:02:01

30yearsnutrition_thai

30yearsnutrition_thai

เสริมสรา้ งโภชนาการทดี่ ี : พน้ื ฐานของการพฒั นา

30 ปี พระราชกรณยี กิจการพฒั นา


สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ าร




คำนำ








ด้วยสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-
บรมราชกุมารี ได้รับเกียรติจากสมาพันธ์โภชนาการนานาชาติ (International Union of Nutritional
Sciences) ให้เป็นเจา้ ภาพจดั การประชมุ โภชนาการนานาชาติ ครั้งท่ี 19 (19th International Congress
of Nutrition) ซ่ึงกำหนดจัดขึน้ ในวนั ที่ 4 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมนี กั วิชาการดา้ นโภชนาการและ


ผู้จัดนิทรรศการประมาณ 4,000 คนจากกว่าหนึ่งร้อยประเทศท่ัวโลกให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมใน

คร้ังน้ี นับเป็นโอกาสดีท่ีประเทศไทยได้แสดงศักยภาพทั้งด้านวิชาการและการดำเนินการจัดงานระดับ
นานาชาติ ตลอดจนการแลกเปล่ียนความรู้และประสบการณ์ เพ่ือนำไปสู่การพัฒนาด้านโภชนาการให้ด

ยิ่งขึ้น อีกท้ังยังได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้จักขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี
ตลอดจนแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วของประเทศไทย


ในการน้ี คณะกรรมการจดั การประชมุ ฯ สำนกึ ในพระมหากรุณาธิคณุ ทส่ี มเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระราชหฤทัย และทรงสนับสนุนการจัดงานต้ังแต่เร่ิมต้น อีกทั้งด้วยพระราช-
กรณยี กจิ ในการพัฒนางานด้านโภชนาการมากวา่ 30 ปี โดยเฉพาะอย่างย่ิง การแก้ไขปญั หาทุพโภชนาการ
ในเด็กนักเรียน ในแม่และเด็กที่อยู่ในชุมชนทุรกันดารและยากไร้ อันนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคทาง
โภชนาการและคุณภาพชีวิต ผลงานตามโครงการพระราชดำริปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงผลสัมฤทธิ์ทาง
โภชนาการ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งด้านการศึกษา และการส่งเสริมอาชีพ
ผลงานและประสบการณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ขยายไปสู่ประเทศ


เพ่ือนบา้ นและนานาชาติเปน็ อเนกอนันต์


ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณท่ีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติ
พระราชกรณยี กจิ ดา้ นโภชนาการมาอย่างต่อเน่อื งและจริงจัง อีกท้ังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ทรงรับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยไว้ในพระราชูปถัมภ์ คณะกรรมการจัดการประชุมโภชนาการ
นานาชาติ ครัง้ ท่ี 19 จงึ จดั ทำหนงั สือแสดงพระราชประวตั ิและพระราชกรณยี กจิ การพฒั นาดา้ นโภชนาการ
เพื่อเผยแพร่ให้เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างกว้างขวางและเป็นประโยชน์
สบื ไป









(ศ. เกียรติคุณ นพ. เทพ หมิ ะทองคำ)

(ศ. เกียรติคุณ นพ. ไกรสทิ ธ์ิ ตนั ตศิ ิรินทร)์ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย

ประธานคณะกรรมการ
จดั การประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19 ในพระราชูปถมั ภ

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี


( )

สารบญั



พระราชประวัต ิ 1


หลกั การพฒั นาคุณภาพชวี ติ ประชาชน 5


การส่งเสรมิ โภชนาการทดี่ ีของประชาชน 13
การเกษตรเพอื่ อาหารกลางวัน 15

การสร้างสขุ ลักษณะนิสยั ที่ดีด้วยอาหารกลางวนั ของโรงเรียน 18

อาหารวา่ งเพอื่ สง่ เสรมิ โภชนาการของเดก็ ในพน้ื ท่ีทรุ กันดารหา่ งไกล 20

การควบคุมการขาดสารไอโอดนี 22

การควบคมุ การขาดจุลโภชนาหารอืน่ ๆ 24

การดำรงภาวะโภชนาการระหว่างศลี อด 26

โภชนาการสำหรบั เดก็ นกั เรยี นในระดับมัธยมศึกษา 27

บทบาทของศาสนาในการสง่ เสริมโภชนาการทด่ี ี 28

ระบบติดตามและประเมนิ ผลดว้ ยตนเอง 30

การปรับปรุงโภชนาการของแมแ่ ละเด็ก 31

การสง่ เสรมิ โภชนาการของเด็กเล็ก 33

การเสรมิ สร้างศกั ยภาพของแมใ่ นอนาคต 34

การอนรุ กั ษแ์ ละการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย 35

ขา้ วไทย เชือ่ มโยงสมยั โบราณกับโลกาภิวตั น์ 36

ธนาคารข้าวเพอ่ื บรรเทาการขาดแคลนอาหารในชนบททรุ กันดารหา่ งไกล 40

การส่งเสริมความมน่ั คงทางอาหารดว้ ยเกษตรผสมผสาน 41


การขยายผลในตา่ งประเทศ 43

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว 44

สหภาพพมา่ 45

ราชอาณาจักรกมั พชู า 47

สาธารณรัฐสงั คมนิยมเวียดนาม 48

มองโกเลีย 49

ภูฏาน 51


พระเกียรตคิ ุณระดับนานาชาติ 52


( )

พระราชประวัติ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า เจ้าฟา้ มหาจกั รีสิรินทร รฐั สีมาคุณากร
ปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชสมภพ เม่ือวันที่ 2 เมษายน

พ.ศ. 2498 ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
พระองคท์ ี่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั

ภูมิพลอดุลยเดช และสมเดจ็ พระนางเจ้าสริ กิ ิติ์
พระบรมราชนิ นี าถ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จ

การศึกษาข้ันพน้ื ฐานจากโรงเรยี นจติ รลดา ทรงสอบไล่ได้อนั ดับท่ี 1 ในการ
สอบท่ัวประเทศท้ังในระดับประถมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2511 และระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายศิลป์) เมื่อ พ.ศ. 2516 ทรงศึกษาต่อระดับ
อุดมศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอก
ประวัติศาสตร์ และวิชาโทภาษาบาลี-สันสกฤต จนสำเร็จการศึกษาได้รับ
พระราชทานปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 และรับ
พระราชทานรางวัลเหรียญทองสาขาประวัติศาสตร์พร้อมครุยกิตติมศักด
์ิ
ในฐานะที่ทรงได้คะแนนสูงสุดในชนั้


ในระดับบัณฑิตศึกษา สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ได้รับพระราชทานปริญญาศิลป-
ศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ าจารกึ ภาษา
ตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ
พ.ศ. 2522 และปริญญาอักษรศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาบาลี-สันสกฤต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.

2524 ต่อมาทรงศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้รับพระราชทาน

ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ เมอ่ื พ.ศ. 2529


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใฝ่

พระราชหฤหัยย่ิงในด้านการศกึ ษา แมท้ รงสำเร็จการศึกษาแล้วก็ทรงเรยี นรู้
ตลอดเวลา ทรงใฝเ่ รียนรศู้ าสตร์ใหม่ๆ อยูเ่ สมอ และด้วยพระราชปณธิ าน
ที่จะช่วยเหลือประชาชนเป็นแรงบันดาลให้ทรงค้นหาแนวทางและวิธีการ
ใหมๆ่ อยู่เปน็ นิจ


ด้วยความสนพระราชหฤทัยในศิลปะไทยและวัฒนธรรมไทย จึงทรง
ศึกษาดนตรีไทย ศิลปะและหัตถกรรมไทยเกือบทุกแขนงอย่างลึกซึ้ง ทรง
เป็นเลศิ ทางวรรณคดีทั้งของไทยและตา่ งประเทศ และทรงพระราชนิพนธไ์ ด้
ยอดเยี่ยมท้ังร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศหลาย
ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝร่ังเศส เยอรมัน จนี เขมร บาลี สันสกฤต และ
ละติน และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศต่างๆ มากมาย
นอกจากน้ีทรงสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ท้ังศิลปะด้ังเดิมและ
ศิลปะร่วมสมัย


ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ทรงงานหนักเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ
พระบรมราชินีนาถไปยังถ่ินทุรกันดารในชนบท จึงทรงเข้าพระทัยในความ
ต้องการของประชาชน ทรงทราบดีว่าการที่จะยกระดับมาตรฐานความเป็น
อยูข่ องประชาชน ต้องอาศยั ความรหู้ ลากหลายด้าน อาทิ การพัฒนาการ
เกษตรต้องใช้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ พฤกษศาสตร์ การปรับปรุงพันธ์ุพืช
การจดั การแหล่งน้ำ แผนท่ี และอ่นื ๆ ทรงเช่ยี วชาญการใช้เทคโนโลยีและ
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมเพื่อการพัฒนาท่ียั่งยืน ทรงเน้นเรื่อง

สุขอนามัยและโภชนาการด้วยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
รวมท้ังทรงส่งเสริมงานศลิ ปะและหัตถกรรมเพ่ือใหป้ ระชาชนมรี ายไดเ้ สรมิ


ด้วยเหตุท่ีทรงตระหนักถึงความสำคัญของศาสตร์ต่างๆ ในการ
พัฒนา จึงทรงศึกษาค้นคว้าและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติพระราช-
กรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนดังเป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดโดย

ท่ัวไป โครงการตามพระราชดำริมีทั้งโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน

ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเน้นด้านการศึกษาและโภชนาการในโรงเรียนกันดาร

ห่างไกล โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและโครงการธนาคารพืชพรรณ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น ด้านการช่วยเหลือผู้พิการน้ันทรงนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร มาช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของ

ผพู้ กิ าร รวมทง้ั ช่วยให้พวกเขาชว่ ยเหลอื ตนเองไดม้ ากข้ึนดว้ ย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงงานใน
องค์กรการกุศลและมูลนิธิต่างๆ มากมาย ทรงเป็นองค์อุปนายิกา
สภากาชาดไทยต้ังแต่ พ.ศ. 2520 และทรงเป็นประธานมูลนิธิต่างๆ

อาทิ มูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งดูแลโครงการพัฒนาและโครงการอนุรักษ

สิ่งแวดล้อมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิอานันทมหิดลเพื่อ

ส่งเสริมการอุดมศึกษา มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมไทย มูลนิธิ
สายใจไทยเพื่อช่วยเหลือทหารผ่านศึก และมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลเพ่ือ
พระราชทานรางวัลระดับนานาชาติแก่ผู้มีผลงานดีเด่นสาขาแพทยศาสตร์
และสาธารณสขุ ศาสตร์ ทรงเปน็ ทปี่ รกึ ษาของคณะกรรมการสารานกุ รมไทย
สำหรับเยาวชนตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั


ในระดับนานาชาติ ทรงเป็นท่ีปรึกษาพิเศษด้านสุขภาพของ
ประชากรกลุ่มชายขอบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก

ตะวันตกขององค์การอนามัยโลก ทรงเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ของ

คณะกรรมการที่ปรึกษาสาขาสุขภาพของ Bloomberg School of

Public Health, Johns Hopkins University และทรงเป็นมนตรีของ
Refugee Education Trust และทูตพิเศษของโครงการอาหารโลกแห่ง
สหประชาชาตดิ ้านโครงการอาหารโรงเรยี น


เป็นท่ีทราบกันดีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศว่า สมเด็จ

พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงอทุ ศิ พระวรกายทรงงาน
อย่างหนักเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเน่ือง จึงได้รับการทูลเกล้า

ทูลกระหม่อมถวายรางวัลแมกไซไซด้านการบริการสาธารณะเม่ือ พ.ศ.
2534 นกั โภชนาการดีเดน่ จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
เมอื่ พ.ศ. 2535 ดว้ ยพระราชกรณียกิจโครงการเกษตรเพือ่ อาหารกลางวนั
โล่เกียรติยศจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน เม่ือ
พ.ศ. 2547 ในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์เป็นผู้นำในการกำจัดภาวะพร่อง
ไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน รางวัลอินทิรา คานธี จาก
รัฐบาลสาธารณรฐั อนิ เดยี เม่ือ พ.ศ. 2547 ดว้ ยพระราชกรณยี กจิ ดเี ด่นด้าน
สันติภาพและการพัฒนา และทรงเป็นทูตสันถวไมตรี แห่งองค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแหง่ สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ด้านการเสริม

สร้างศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อยด้วยการศึกษาและการอนุรักษ์มรดกทาง
วัฒนธรรม เม่อื พ.ศ. 2548

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่ม
งานสอนเม่ือ พ.ศ. 2522 คร้ังแรกทรงร่วมสอนในหมวดวิชาศึกษา
ท่ัวไปที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลายปีถัดมาทรงเข้ารับราชการสังกัด
กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า ป˜จจุบันทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ
ประวตั ิศาสตร์ ซ่ึงทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มให้มีการปรบั ปรงุ
หลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทรงส่งเสริมชมรมดนตรีไทยของสถาบัน
การศึกษานี้ด้วย นอกจากน้ัน ทรงรับเชิญบรรยายในหลายสถาบัน และ
ทรงเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการท้ังในประเทศและต่างประเทศอยู่
เปน็ นิจ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรชี า
ย่ิงด้านอักษรศาสตร์และการประพันธ์ พระราชนิพนธ์จำนวนมากที่
พิมพ์เผยแพร่ท้ังบทกวี ภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ศาสนา และอ่ืนๆ สะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัด พระราชนิพนธ์สารคดี
เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศได้รับความนิยมอย่างมาก และ
รายได้จากการจำหน่ายได้นำไปเป็นทุนการศึกษา ที่มูลนิธิสมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดามอบให้แก่นักเรียนและนักศึกษาทั้งสายอาชีวะและสายสามัญ
จำนวนมากที่ขาดแคลนทุนทรัพย์มาโดยตลอด

ผู้ท่ีศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพ-
รตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี จะประทบั ใจในความสนพระราชหฤทยั
ใฝ่ศึกษาแสวงหาความรู้ และซาบซ้ึงในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ท่ี
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพ่ือช่วยเหลือประชาชนทุกหมู่เหล่าให้มีชีวิต
ความเปน็ อยูท่ ่ีดีข้ึน

4

หลกั การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน


ตง้ั แต่เกิดมาจำความได้ก็เห็นทงั้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั สมเด็จพระนางเจา้ ฯ

พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี ทรงคดิ หาวธิ ีการต่างๆ

ทีจ่ ะยกฐานะความเปน็ อยขู่ องคนไทยให้ดีขึ้น ไดต้ ามเสด็จเหน็ ความทกุ ขย์ ากลำบาก


ของพี่นอ้ งเพือ่ นร่วมชาตกิ ค็ ดิ วา่ ช่วยอะไรได้ ควรชว่ ย ไมค่ วรนงิ่ ดูดาย

เม่อื โตขน้ึ พอมแี รงทำอะไรไดก้ ็ทำไปอยา่ งอัตโนมัติ โดยทำตามพระราชกระแสหรือทำตามแนว


พระราชดำริ การช่วยเหลือประชาชนเปน็ หน้าทขี่ องสถาบันพระมหากษตั ริย์

ตอ้ งทำประจำอยแู่ ล้ว อน่งึ การช่วยเหลือคนทตี่ กทกุ ข์ได้ยากน้นั ก็สอดคลอ้ งกบั คำสอน


ในพุทธศาสนาดว้ ย ผ้ทู ี่ทำบญุ ยอ่ มได้รบั ความอ่มิ อกอม่ิ ใจ คอื ได้บุญ

รวมพระราชนิพนธ์ มณพี ลอยร้อยแสง พ.ศ. 2533


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้โดยเสด็จ
พระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเย่ียมราษฎรในชนบทและพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล
ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมาตั้งแต่ยังเยาว์พระชันษา ทรงพบเห็นราษฎร
จำนวนมากมีความทุกข์ยาก จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยมุ่งม่ันท่ีจะช่วยเหลือ
ราษฎรเหล่านน้ั ใหม้ คี ุณภาพชวี ติ ทดี่ ขี ึ้น


ใน พ.ศ. 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเริ่มงานพัฒนาของพระองค์ โดยทรงเริ่มท่ีเด็กและเยาวชน ด้วยทรง
ตระหนักว่าเด็กและเยาวชนเป็นพลังสำคัญของประเทศในอนาคต และเป็น

กลุ่มเสี่ยงท่ีสุด หากขาดอาหาร เจ็บป่วย และขาดการศึกษาแล้ว จะทำให้

ไม่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ จึงไม่อาจเป็นท่ีพ่ึง
ของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติต่อไปได


ดังนั้นเพ่ือแก้ปัญหาการขาดอาหารในเด็กวัยเรียนและเพ่ิมศักยภาพ

ในการเรียนรู้ อีกท้ังเพ่ือหารูปแบบการพัฒนาท่ีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี จงึ ทรงทดลองทำโครงการ
เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 3 แห่งใน
จังหวัดกาญจนบรุ ี ราชบรุ ี และประจวบคีรขี ันธ์ ซ่ึงปรากฏผลเป็นที่นา่ พอใจ
ในปีต่อมาจึงทรงขยายงานไปในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ
จากการที่ทรงติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเน่ือง โดยเสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงเย่ียมโรงเรียนด้วยพระองค์เองและทรงจดบันทึกความก้าวหน้า พร้อม
ท้ังทรงศึกษาจากเอกสารรายงานต่างๆ ทรงพบปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงมี

พระราชดำริในการดำเนินโครงการพัฒนาอีกมากมาย เพื่อช่วยเหลือเด็ก
เยาวชน และประชาชนท่อี ยู่ในถ่นิ ทุรกันดาร โดยไม่จำกดั เช้อื ชาติและศาสนา
ให้มีชีวิตความเปน็ อยทู่ ดี่ ีขน้ึ


งานพัฒนาทีส่ มเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง
ริเริ่มและทรงงานมาอยา่ งตอ่ เนอ่ื งเปน็ เวลาเกือบ 30 ปี สง่ ผลให้เดก็ จำนวน
มากมภี าวะโภชนาการและสขุ ภาพดขี น้ึ มคี วามสามารถในการเรยี นรู้ อกี ทงั้ ยงั
เรยี นตอ่ ในระดบั สงู ขนึ้ ทำใหม้ รี ายไดม้ าจนุ เจอื ครอบครวั และสามารถชว่ ยเหลอื
พัฒนาชุมชนในพนื้ ที่ห่างไกลใหม้ ีสภาพแวดลอ้ มและความเปน็ อยทู่ ี่ดีขน้ึ


ประสบการณ์ของพระองค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในพ้ืนที่ทุรกันดารห่างไกลที่มีสภาพแตกต่างกันไป เป็นบทเรียนท่ีดีให้แก

นักวิชาการทางโภชนาการและนักพัฒนานำไปประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ใน
การพฒั นาเด็ก เยาวชน และสังคมในโลกปัจจบุ ันได้เปน็ อย่างด


ในการทรงงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงมงุ่ เนน้ ให้
คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยทรงใช้วิธีการท่ีแตกต่างกันให้เหมาะสม

แก่การแก้ปัญหาท่ีหลากหลาย ในเรื่องของการพัฒนาน้ัน พระราชทาน

พระราชดำรสั ว่า


การพัฒนาคือกระบวนการท่ีนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าหรือ
การเปล่ียนแปลงท่ีดีข้ึน นักพัฒนาซึ่งปัจจุบันมักเรียกว่าผู้ส่งเสริม

การพัฒนา ล้วนมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ ม

จุดมุ่งหมายท่ีจะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายโดยไม่
ทำลายส่ิงแวดล้อม และต้องพยายามอนุรักษ์สมดุลธรรมชาติด้วยการ
ดูแลรักษามิให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดส้นิ ไป


การพัฒนาขึ้นกับปัจจัยด้านวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ศาสนา
เชื้อชาติ สภาพเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนา เป็นเร่ืองที่ต้อง

ใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่หลากหลาย ท้ังเทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลย

ทเี่ หมาะสม และเทคโนโลยีพนื้ บา้ น เปน็ ต้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนา
ท่ีประสบความสำเร็จ มักจะเป็นกรณีที่นักพัฒนามีความมุ่งมั่นเอาใจใส่
รับผิดชอบ และเคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น กล่าวคือ การ
พฒั นาเกี่ยวขอ้ งกับมนุษยธรรมและจติ ใจอยา่ งมาก




การประชุมแหง่ องค์การสหประชาชาต

ว่าด้วยการค้าและการพฒั นา (อังคถ์ ัด) ครง้ั ที่ 12


การประชมุ โตะ๊ กลมระดบั สงู

ณ กรงุ อกั กรา สาธารณรฐั กานา แอฟรกิ า


24 เมษายน พ.ศ. 2551

จากโรงเรยี น 3 แหง่ ในปี พ.ศ. 2523 เปน็ 711 แหง่ ในปี พ.ศ. 2552

นับเป็นเวลาเกือบ 30 ปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-

บรมราชกุมารี ทรงเร่ิมโครงการแรกใน 3 โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร และตอ่
มาขยายเป็น 711 แห่ง หลักการสำคัญท่ีสะท้อนถึงแนวทางในการทรงงาน
ของพระองคใ์ นช่วงเวลาอนั ยาวนาน มดี งั ตอ่ ไปน
ี้

1. อาหารและโภชนาการสำคญั เป็นอันดับแรก


เด็กมีความสำคัญ ในฐานะเป็นอนาคต เปน็ ความหวงั ของชาติ
แต่ในปัจจุบัน ยังมีเด็กไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ขาดความสมบูรณ์ท้ัง
ทางร่างกายและสมอง เพราะไม่ได้รับประทานอาหารท่ีถูกสุขลักษณะ
และถูกส่วนอันเน่ืองมาจากฐานะทางครอบครัว หรือขาดความรู้เร่ือง
โภชนาการ ยิ่งยามประเทศชาติอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นน้ี ย่ิง
น่าเป็นห่วงว่าจำนวนเด็กเหล่านี้จะเพ่ิมมากขึ้น ในการพัฒนาเด็ก ถ้า
ไม่สามารถพัฒนาปัจจัยพื้นฐานในด้านสุขภาพและอนามัยก่อน เด็กก็
จะไม่มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาด้านอื่นๆ ไม่อาจนับว่าเป็น
อนาคตของชาตไิ ด้ การทีจ่ ะช่วยใหเ้ ดก็ เหลา่ นม้ี โี อกาสในเรอ่ื งการกนิ ดี
ขึ้นนั้น ตอ้ งอาศัยความรว่ มมอื อย่างจริงจงั ทุกฝา่ ย


การประชุมสมั มนา “ร่วมใจ…ปกปอ้ งเดก็ ไทยยามวิกฤต”

กรงุ เทพมหานคร


8 มกราคม พ.ศ. 2542


2. เริ่มตน้ ทดลองทำเลก็ ๆ เมอ่ื สำเรจ็ จึงคอ่ ยขยายผล


วธิ ีการทำงานของข้าพเจา้ คือ เร่ิมตน้ ทดลองทำเลก็ ๆ ทำให้
สำเร็จจึงคอ่ ยขยายผล ไมใ่ ช่เร่ิมต้นกท็ ำงานใหญ่โตเลยทเี ดียว ในชว่ ง
ปลายทศวรรษท่ี 2520 ขา้ พเจ้าพบเหน็ ปัญหาการขาดสารอาหารของ
เด็กในวัยเรียน จึงเริ่มคิดหาระบบท่ีจะกระจายอาหารไปสู่ผู้ขาดแคลน
ประเทศของเรามีอาหารมากแต่การกระจายของอาหารยังไม่ดีนัก
ข้าพเจ้าต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เพราะคงไม่มีใครมีเงินมากพอที่จะแก้
ปัญหาได้ทั้งหมด และในตอนนั้นข้าพเจ้าเป็นเพียงบัณฑิตจบใหม่ จึง
ต้องทำโครงการขนาดเล็กที่ข้าพเจ้าพอจะควักกระเป๋าของตัวเองได้
ข้าพเจ้าคัดเลือกโรงเรียนในภาคกลางที่ไม่วิกฤตนักแต่ก็ไม่ใช่ร่ำรวย
เป็นจุดเริ่มต้น จำนวนก็ต้องไม่มากเกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะจัดการได้ จึง
เลือกเพียง 3 แห่ง ไม่ใช่เป็นพันแห่ง และยังไม่ครอบคลุมไปถึง

ภาคใต้ในตอนน้ัน ปัจจุบันมีการขยายโครงการไปยังท้องถิ่นท่ีท้าทาย
มากข้นึ


เมอ่ื เห็นว่ามีความเป็นไปได้ ข้าพเจ้าจงึ มอบส่งิ ที่ทดลองแล้ววา่
ได้ผลให้แก่หน่วยงานที่เก่ียวข้อง เพ่ือนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

ตอ่ ไป

ถ้าเราจะเร่ิมโครงการใด เช่น บอกให้เกษตรกรปลูกพืชหรือ
เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ย่อมมีความเส่ียงมากมาย อาทิ ภูมิอากาศอาจ

แปรปรวน เกษตรกรจึงเส่ียงต่อการล้มละลายและมีความเดือดร้อน
ตามมา โดยท่ีหน่วยงานเอกชนหรือรัฐท่ีแนะนำให้เขาปลูกยังไม่ต้อง

รับผิดชอบในช่วงน้ี ดังน้ันการทดลองนำร่องจนเราม่ันใจว่างานนั้น
ทำไดจ้ ริง จึงนบั วา่ เป็นการจัดการความเสย่ี งอยา่ งหนง่ึ


การประชมุ แหง่ องคก์ ารสหประชาชาต

ว่าดว้ ยการคา้ และการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 12

การประชุมโต๊ะกลมระดบั สูง ณ กรงุ อักกรา สาธารณรัฐกานา แอฟรกิ า


24 เมษายน พ.ศ. 2551


3. โรงเรียนเป็นศนู ย์กลางของการพัฒนา

โดยท่ถี อื วา่ โรงเรยี นนเ้ี ป็นศนู ยก์ ลางของชุมชนแห่งหนงึ่ ถา้ เรา

สามารถทำให้คนรุ่นใหม่ในสังคม คือนักเรียนท่ีอยู่ในโรงเรียน และ
พวกผู้ปกครองท่ีจะมาดูมาช่วยมาเห็น มีความรู้ทางด้านเทคนิค
ทางการเกษตรอย่างใหม่ที่ทางราชการต้ังใจจะส่งเสริมแต่ก็ส่งเสริม

ตั้งแต่ในวัยเด็กวัยเรียน เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่เขาจะได้มีการได้รับ
การฝกึ หดั ใหท้ ำตามแบบแผนอยา่ งใหม่ ซงึ่ จะมปี ระสทิ ธภิ าพมากกวา่ ท่ี
เคยทำมา หรอื วา่ จะไดม้ คี วามคนุ้ เคยในการตดิ ตอ่ กบั ทางราชการ เมอื่
มีข้อขัดข้องอะไรจะได้ปรึกษาหารือกันได้อย่างง่ายขึ้น และผู้ปกครอง
คนในหมู่บ้านเอง เมื่อมีปัญหาข้อขัดข้องอะไรก็จะได้รู้ได้แน่ว่าจะมีที่ท่ี
จะมาหาได้ ได้แกท่ ่ีโรงเรยี น ซ่ึงครจู ะไดเ้ ปน็ สว่ นท่ีจะช่วยเหลอื ไดม้ าก


การสัมมนาโครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน

และโครงการสง่ เสริมคณุ ภาพการศึกษา

จงั หวดั สกลนคร

17 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2527





10

4. ยงิ่ เรว็ เทา่ ไรกย็ ิง่ ดี

ศาสตราจารย์ของข้าพเจ้าท่านหน่ึงกล่าวว่า การทำงานกับ

เด็กวัยเรียนและเด็กก่อนวัยเรียนนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะว่าสมอง
ของคนเราจะเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างเต็มท่ีก่อนท่ีจะถึงวัย

ดังกล่าว เราควรพยายามทำงานกับกลุ่มเด็กท่ีเล็กกว่าน้ันอีก และ

จะดียิ่งข้ึนถ้าเราสามารถให้การดูแลช่วยเหลือหญิงต้ังครรภ์และ

หญงิ ใหน้ มบตุ ร


60 ปอี งคก์ ารยเู นสโก “Including the Excluded:

Building on UNESCO’s First 60 Years”

กรงุ เทพมหานคร

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548


5. กญุ แจคอื การพฒั นาความสามารถของคน

กญุ แจของการพฒั นา คือ การใหก้ ารศึกษาและการฝกึ อบรม

ในประสบการณ์ของข้าพเจ้า วธิ ดี ั้งเดมิ คอื การสรา้ งโรงเรยี น ศนู ย์การ
เรียนรู้ของชุมชน ศูนย์ถ่ายทอดความรู้และศูนย์สาธิตการพัฒนายัง
เป็นวิธีการที่ใช้ได้ดี ท่ีทำให้ผู้คนในชุมชนชนบทห่างไกลมีโอกาสได้รับ
การศึกษาทงั้ ในระบบและนอกระบบ


11

ข้าพเจ้าเชื่อว่า การสร้างศักยภาพด้วยการลงมือทำวิจัยและ
พัฒนาด
้วยตนเองน้ันมีความสำคัญอย่างย่ิง หากเรามีความสามารถท่ี
เราพัฒนาขึน้ มาเอง การพัฒนาน้นั จะย่ังยนื เพราะในระยะยาวเราไม่
สามารถพึง่ พาเทคโนโลยขี องผอู้ น่ื ตลอดไป


การประชมุ แห่งองคก์ ารสหประชาชาต

วา่ ดว้ ยการค้าและการพัฒนา (องั ค์ถดั ) ครัง้ ที่ 12

การประชมุ โต๊ะกลมระดับสูง ณ กรงุ อกั กรา สาธารณรัฐกานา แอฟรกิ า


24 เมษายน พ.ศ. 2551


6. การพฒั นาแบบองค์รวม


ข้าพเจ้าพบว่า โครงการจะประสบความสำเร็จดีถ้ามีความ

ร่วมมือร่วมแรงจากหลายฝ่าย รวมท้ังอาสาสมัครที่มีความต้ังใจ

ช่วยงานด้วย เพราะการพัฒนาเป็นกระบวนการท่ีบูรณาการ ดังนั้น
การพัฒนาจึงต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมเป็นหลัก เมื่อกล่าวถึง
“บรู ณาการ” ขา้ พเจา้ หมายถงึ การพัฒนาแบบองคร์ วม คือ มที ั้งเร่ือง
สุขภาพ การศึกษา การฝกึ อาชีพ การแปรรปู ผลิตผลทางการเกษตร
และอตุ สาหกรรม เปน็ ต้น


การประชมุ แห่งองคก์ ารสหประชาชาต

ว่าด้วยการคา้ และการพัฒนา (อังคถ์ ดั ) ครัง้ ท่ี 12

การประชุมโต๊ะกลมระดับสงู ณ กรงุ อกั กรา สาธารณรัฐกานา แอฟรกิ า


24 เมษายน พ.ศ. 2551







12

การสง่ เสรมิ โภชนาการท่ดี ีของประชาชน




สำหรับขา้ พเจา้ โภชนาการเปน็ เร่ืองท่ขี ้าพเจา้ สนใจเป็นพิเศษ การตามเสด็จ

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถไปท่ัวราชอาณาจักร

ทำให้ขา้ พเจ้าได้พบเด็กขาดอาหารอย่บู ่อยๆ และข้าพเจา้ กเ็ หน็ ดว้ ยกับผ้เู ช่ยี วชาญด้านโภชนาการว่า

การปรับปรงุ ภาวะโภชนาการของเดก็ เปน็ เร่อื งสำคญั ซึ่งต้องการความใส่ใจจากทกุ คนอยา่ งเรง่ ดว่ น


ขา้ พเจา้ เช่ือว่า เราทุกคนเหน็ พ้องต้องกันวา่ อาหาร เปน็ ปัจจัยพ้นื ฐานท่สี ำคัญปจั จยั หนึ่ง

การจะทำให้ผู้คนเขา้ ถึงอาหารได้มากขน้ึ ให้มีความม่ันคงด้านอาหารในครวั เรือน

และมอี าหารท่ีเหมาะสมบรโิ ภค เป็นเร่ืองสำคัญทจ่ี ะตอ้ งพัฒนาเปน็ อนั ดับแรก


องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ

สำนกั งานภาคพื้นเอเชียและแปซฟิ กิ กรุงเทพมหานคร


20 ตุลาคม พ.ศ. 2535


นับต้ังแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา สมเด็จ

พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงเริ่มตน้
งานพัฒนาที่การส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพของ

เด็กนักเรียนในโรงเรียนท่ีอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ในการ
ทรงงานพัฒนาส่วนใหญ่จะทรงใช้โรงเรียนหรือสถาน
ศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา ทั้งนี้เพราะสถานศึกษา
เปน็ แหล่งทีม่ ผี ูม้ คี วามรู้ คือครู ซึ่งเปน็ แกนสำคญั ในการ
ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ ให้แก่เด็ก ใน
บางพ้ืนท่ีท่ีสถานการณ์ของปัญหาอาหารและโภชนาการมี
ความรุนแรงและซับซ้อนมากข้ึน จะทรงใช้การพัฒนา
พน้ื ท่ีแบบบูรณาการมาชว่ ยในการแก้ปัญหา


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ทรงพัฒนางานอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์

ที่เปลี่ยนแปลงไป จากโครงการ 1 โครงการ ต่อมาได้
ทรงขยายมาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม ท่ีครอบคลุม

ทั้งในด้านสุขภาพ การศึกษา การอาชีพ การอนุรักษ

ส่ิงแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น และกลุ่มเป้าหมาย
จากเดิมท่ีมีเพียงเด็กวัยเรียนก็ทรงขยายให้ครอบคลุม

เด็กเลก็ จนถงึ ทารกในครรภ์มารดาด้วย


13

งานพฒั นาทส่ี มเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง
ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องได้เข้าถึงเด็กกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ตามชายขอบของ
ประเทศ ซง่ึ ขาดโอกาสทจี่ ะไดร้ บั การพฒั นา งานของพระองคไ์ มเ่ พียงแต่ชว่ ย
แก้ปัญหาความหิวโหยและทุพโภชนาการของเด็กเท่าน้ัน แต่ยังช่วยสร้าง
โอกาสให้เด็กสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อีกด้วย พระองค์มีพระวิริยอุตสาหะ
และพระราชหฤทัยแน่วแน่ที่จะทรงงานเพื่อให้เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการดี
สุขภาพแขง็ แรงพรอ้ มทจี่ ะเรียนรู้ และไดร้ บั การพัฒนาศกั ยภาพ มคี วามรู้และ
ทกั ษะพื้นฐานทจ่ี ำเป็นในการดำรงชวี ิตอยา่ งเพยี งพอ สามารถพฒั นาตนเองให้
เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการส่งเสริม
โภชนาการของผู้สูงอายุตลอดจนการดูแลโภชนาการของผู้ป่วย ซ่ึงทรง
พบเห็นปัญหาเหล่านี้ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปในชนบทห่างไกล
และจากผู้ใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะทรงเช่ือว่าโภชนาการที่ดีมีความจำเป็นต่อการมี
คุณภาพชีวติ ทดี่ ขี องคนในภาวะดังกล่าว


ต่อไปน้ีเป็นตัวอย่างพระราชกรณียกิจที่ทรงทำเพ่ือส่งเสริมการมี
โภชนาการทดี่ ขี องประชาชนไทย





14

การเกษตรเพ่อื อาหารกลางวนั


เด็กที่อาศัยอยู่ในพ้ืนท่ีทุรกันดารห่างไกลส่วนใหญ่มาจากครอบครัว
เกษตรกรที่ยากจน มักประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะ
ครอบครัวไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้ง

ไม่สามารถเข้าถึงอาหารแหล่งอื่นได้ ผลที่ตามมาคือ เด็กเหล่านี้มักตก

อยู่ในวงจรของความหิวโหย ภาวะขาดสารอาหาร และการขาดเรียนบ่อยๆ
ส่งผลให้ไมส่ ามารถเจริญเติบโตและพัฒนาได้เตม็ ศกั ยภาพ


ในการแกป้ ญั หา สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี
มีพระราชดำริในการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันข้ึนเมื่อ

พ.ศ. 2523 โดยทรงใช้วิธีการทำเกษตรแบบผสมผสานแทนการให้อาหาร
สำเร็จแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถ่ินทุรกันดาร ด้วยการพระราชทาน
เมล็ดพันธ์ุพืช พันธุ์สัตว์ อุปกรณ์การเกษตร เคร่ืองครัว พร้อมท้ังเทคนิค

สมยั ใหมแ่ ละคำแนะนำ ดังพระราชดำรัสความวา่


อยากให้เป็นพืชผักหรืออุปกรณ์แล้วให้นักเรียนมาทำการ
เกษตรซ่ึงเป็นวิธีที่อ้อมและยากขึ้นมาอีกทางหนึ่ง อาหารที่จะให้

รั บ ป ร ะ ท า น น้ั น เ ป็ น อ า ห า ร ท่ี ไ ด้ ม า จ า ก ผ ลิ ต ผ ล ข อ ง นั ก เ รี ย น ผ้

รบั ประทานเอง ซึ่งอาจจะได้ผลชา้ แต่กเ็ ปน็ วิธหี นง่ึ ซึ่งจะไดร้ บั อาหาร
และคิดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นผลพลอยได้ที่สำคัญ คือ ความรู้

ทางด้านการเกษตรและด้านโภชนาการ ซ่ึงจะเป็นวิชาติดตัวไปจน
นักเรียนเหล่านั้นเติบโตข้ึนเป็นผู้ใหญ่และได้ประกอบอาชีพทางด้าน
การเกษตรกรรม วิชาการใหม่ๆ เหล่านั้น อาจจะนำมาช่วยในการ
ครองชพี ไดม้ ากทเี ดียว




การอบรมครโู รงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

จงั หวดั นราธวิ าส


26 กนั ยายน พ.ศ. 2524


15

ในการดำเนินกิจกรรมเกษตรในโรงเรยี นน้นั ทรงมุ่งเนน้ ให้เดก็ นกั เรยี น
ร่วมกันทำการเกษตรเพ่ือผลิตอาหารสำหรับนำไปบริโภค เด็กนักเรียนได้

เรียนรู้เทคนิคการปลูกผัก ผลไม้ โดยเน้นพันธุ์พื้นบ้าน การเล้ียงสัตว์ การ
เก็บเกี่ยว การแปรรูปและการถนอมอาหาร เทคนิคการบริหารจัดการน้ำ
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหมัก การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้หญ้าแฝกในการ
อนุรักษ์โครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของดิน อีกทั้งใบของหญ้าแฝกยังนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นงานศิลปหัตถกรรม
และการใช้ชีววิธีในการควบคุมกำจัดศัตรูพืช กิจกรรมเหล่าน้ีเปิดโอกาสให

เด็กนักเรียน ครู ชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม
การเกษตร เคหกิจเกษตร และเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขได้ทำงานร่วมกันอย่าง
ใกลช้ ดิ


ในระยะเริ่มต้น ผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรในโรงเรียนนั้น มี
ปริมาณพอเพียงสำหรับม้ือกลางวัน 1 ม้ือใน 1 สัปดาห์เท่านั้น ต่อมา
ปริมาณผลผลิตค่อย ๆ เพ่ิมขึ้นจนทำให้สามารถประกอบอาหารกลางวันได้
เพ่ิมเป็น 2 วนั ตอ่ สัปดาห์ และในทส่ี ดุ ก็เพียงพอสำหรบั ทกุ วันเรยี นตลอดทงั้ ปี
สำหรบั โรงเรียนประจำ การเกษตรในโรงเรยี นจึงเปน็ แหลง่ อาหารท่ีสำคญั ทใ่ี ช้
ประกอบอาหารสำหรับเดก็ นักเรยี นประจำทุกมอื้ ทุกวนั


ปริมาณผลผลิต ปรมิ าณ
ปะเภท ในปี 2550 ความตอ้ งการ
(กรมั /มือ้ /คน) (กรมั /มอื้ /คน)
30 - 40
เน้ือสตั ว์ 46.3
ถ่วั เมล็ดแหง้ 8.0 25
ผัก 80.6 100
ผลไม้ 67.4 70 – 120

16

ในระยะต่อมาเมื่อผลผลิตมีปริมาณมากพอ สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงนำหลกั การสหกรณม์ าใช้ในการจัดการฟารม์
ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรในโรงเรียนทุกชนิดตลอดปีจะนำมาจำหน่ายให้แก่
ร้านสหกรณ์โรงเรียน เพ่ือจำหน่ายต่อให้กับโรงครัวของโรงเรียนนำไปใช้
ประกอบอาหารกลางวันท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย หากมีผลผลิต
เหลือก็นำไปจำหน่ายให้แก่ชุมชน รายได้ที่เกิดข้ึนสามารถนำไปใช้เป็น

กองทุนหมุนเวียนเพ่ือการผลิตคร้ังต่อไป ในกระบวนการเหล่าน้ีเด็กนักเรียน

ได้เรียนรู้วิธีการทำบัญชี การทำงานเป็นกลุ่ม การบริหารจัดการธุรกิจขนาด
ยอ่ ม และยังเปน็ การเพมิ่ พูนทกั ษะทางดา้ นคณติ ศาสตร์ ภาษา พรอ้ มกับการ
ปลูกฝังในเรื่องหลักการประชาธิปไตย ความซ่ือสัตย์ ความเอื้อเฟ้ือเผื่อแผ่
และความประหยัดดว้ ย


ในแต่ละปีโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-

ราชกุมารี ครอบคลุมเด็กมากกว่า 100,000 คนท่ีอยู่ในโรงเรียนและศูนย์

การเรียนรู้ท่ีห่างไกล ในพื้นท่ีและวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน ต้ังแต่

ชนกลุ่มน้อยบนภูเขาสูงในภาคเหนือ ไปจนถึงหมู่บ้านพื้นราบในภาคกลางและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมู่บ้านมุสลิมสุดเขตแดนภาคใต้ และหมู่บ้าน
ชาวเลหรอื ยปิ ซที ะเลในหมเู่ กาะตา่ งๆ ครอบคลมุ พน้ื ท่ี 44 จงั หวดั ของประเทศ


โครงการของสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ได้
ส่งผลให้เด็กในท้องถิ่นทุรกันดารมีภาวะโภชนาการดีขึ้น และที่สำคัญย่ิง
เป็นการพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีของเด็กในการผลิตทางการ
เกษตรท่ีให้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย โดยใช้ทรัพยากร
อย่างประหยัดและคุ้มค่า ส่ิงเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการประกอบ
อาชีพและการพึ่งตนเองต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรยี น ชมุ ชน และองค์กรท้องถนิ่ ใหแ้ นน่ แฟ้นย่งิ ขึน้







17

การสรา้ งสุขลกั ษณะนสิ ยั ทด่ี ดี ว้ ยอาหารกลางวนั

ของโรงเรยี น


ความขาดแคลนอาหาร ความไมร่ ู้ และอนามยั สว่ นบคุ คลทไี่ มเ่ หมาะสม
เป็นสาเหตุท่ีทำให้ภาวะทุพโภชนาการในเด็กชนบทห่างไกลรุนแรงมากขึ้น

ในการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สมเด็จพระเทพรัตน-
ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมุ่งเน้นท่ีจะลดความรุนแรงของภาวะ

ทุพโภชนาการลง นอกจากมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานแล้ว ยังมีการ
จัดบริการอาหารกลางวันควบคู่ไปด้วย


ในระยะเริ่มแรกของการจัดบริการอาหารกลางวัน สมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้แก่
โรงเรียนเพื่อจัดอาหารกลางวนั ให้แก่เดก็ นกั เรียนในอัตรา 1 บาทตอ่ คนต่อวนั
อาหารสดที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาจากการเกษตรในโรงเรียน โดยความ
ช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เคหกิจเกษตร และเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในพื้นที่ ทำให้โรงเรียนสามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับ
แผนการประกอบอาหาร


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใส่พระทัย

ไมเ่ ฉพาะเรอ่ื งคณุ ภาพทางโภชนาการของอาหารกลางวนั เทา่ นัน้ แต่ยังทรงให้
ความสำคัญเร่ืองสุขาภิบาลอาหารด้วย พระองค์มีพระราชดำริให้จัดทำคู่มือ
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียน โดยในด้านของ
คุณค่าทางโภชนาการ ได้กำหนดมาตรฐานอาหารกลางวันดังนี้คือ พลังงาน
และสารอาหารควรเป็นปริมาณหน่ึงในสามของความต้องการในแต่ละวัน

ตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงท่ีควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย
พ.ศ. 2546 และนำสู่การปฏิบัติโดยการแปลงปริมาณสารอาหารเหล่านั้น
เปน็ ปริมาณของอาหาร 5 หมู่ท่ีจะใช้ในการประกอบอาหารแตล่ ะรายการ ใน
ด้านสุขาภิบาลอาหารได้กำหนดแนวทางในการประกอบอาหารที่สะอาดและ

18

ปลอดภยั ทั้งในการพัฒนาสภาพแวดลอ้ มท่ีถกู หลกั สุขาภิบาลอาหาร และการ
พฒั นาในเรอ่ื งอนามัยส่วนบคุ คลด้วย


ในแต่ละวัน นักเรียนจะร่วมกับกลุ่มแม่บ้านและสมาชิกของชุมชนท่ี
หมุนเวียนกันมาช่วยเตรียมอาหารภายใต้การแนะนำของครู การเลือกอาหาร
ข้ึนอยู่กับความนิยมของท้องถ่ิน ปัจจุบันโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ
สามารถจัดอาหารทีส่ ะอาด และมีคุณค่าทางโภชนาการใหแ้ กเ่ ดก็ มากกว่าแสน
คนในทกุ วันเรยี น


การจัดอาหารกลางวันในโรงเรยี น ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-
รตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ถือวา่ เปน็ เครือ่ งมือสำคัญที่เด็กนักเรยี น
ผู้ปกครอง สมาชิกชุมชน และครูในโรงเรียนได้เรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนา
พฤติกรรมการกินท่ีเหมาะสมซึ่งเป็นผลระยะยาว ขณะเดียวกันเด็กนักเรียน
ก็ได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ทำให้อ่ิมท้อง มีสมาธิในการเรียนซ่ึงเป็น
ผลลัพธ์ระยะส้ัน เม่ือรวมผลลัพธ์ท้ังสองก็จะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดี
ของเด็กนักเรยี นนั่นเอง


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและความย่ังยืนของโครงการเกษตรเพ่ืออาหาร

กลางวัน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี มีส่วนกระตุ้นให้รัฐบาลได้ทบทวนการดำเนินโครงการอาหารกลางวัน

ซึ่งเคยดำเนนิ การเม่ือ พ.ศ. 2529 และ 2530 แต่หยุดชะงักไปเนือ่ งจากขาด
งบประมาณ ใน พ.ศ. 2535 รฐั บาลจึงได้ประกาศใชพ้ ระราชบญั ญัติกองทนุ
เพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา เพ่ือเร่งแก้ปัญหา

ทุพโภชนาการและการขาดแคลนอาหารกลางวันของเด็ก โดยกำหนดวงเงิน
กองทนุ ไว้ 6,000 ล้านบาท นอกจากนกี้ ระทรวงศึกษาธิการยงั ไดน้ ำโครงการ
เกษตรเพ่ืออาหารกลางวันของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-
ราชกุมารี ไปขยายตอ่ ในโรงเรียนในสงั กัด โดยมจี ดุ ม่งุ หมายทีจ่ ะส่งเสริมภาวะ
โภชนาการและผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี





19

อาหารว่างเพอื่ ส่งเสริมโภชนาการของเด็ก

ในพ้ืนที่ทรุ กันดารหา่ งไกล


การจดั บริการอาหารกลางวัน ตามโครงการเกษตรเพือ่ อาหารกลางวนั
ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กที่อยู่ใน
พน้ื ท่ีทุรกนั ดารหา่ งไกลและขาดความมั่นคงทางอาหาร อาหารกลางวนั จึงเปน็
ม้ือท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการท่ีดีที่สุดและเป็นอาหารม้ือเดียวของวันสำหรับเด็ก
นกั เรียนจำนวนมาก


ด้วยทรงห่วงใยว่าเด็กจะบริโภคอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงคิดคน้ หาวิธที ี่จะเพม่ิ อาหาร
ให้แก่เด็กเหล่าน้ัน โดยทรงริเร่ิมโครงการอาหารว่างในโรงเรียน ด้วยการ
สนับสนุนของเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมการเกษตรและชุมชน ทำให้มีการปลูก

ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และไม้ผลท่ีโตเร็ว ได้แก่มะละกอ และกล้วย ในพื้นท่

ของโรงเรียนและชุมชน ผลผลิตจากพืชเหล่าน้ีสามารถนำมาประกอบเป็น
อาหารว่างให้แก่เด็กนักเรียนได้อย่างน้อยวันละ 1 ม้ือในตอนบ่าย ตัวอย่าง
อาหารวา่ งทมี่ ีคุณค่า เช่น นม
ถ่ัวเหลอื ง (200 มล.) ถัว่ เขียว
ต้มน้ำตาล คุกกี้ถ่ัวเหลือง
กล้วย (1 ลูก) มะละกอ (7
ชิ้นพอคำ) กล้วยฉาบ กล้วย
เชื่อม และขา้ วตม้ มดั เป็นตน้ อาหารวา่ งดังกล่าวชว่ ยเพิม่ พลงั งานให้แก่เด็ก
อกี อย่างน้อยวันละ 100 กโิ ลแคลอร


ในเรื่องถั่วเหลืองนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ทรงส่งเสริมการปลูกและการบริโภคทั้งในรูปนมถ่ัวเหลือง และ
ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองอื่นๆ เพราะทรงเห็นว่าเป็นแหล่งโปรตีนท่ีดีและมีราคาถูก
แต่เนื่องจากผลผลิตถั่วเหลืองในโรงเรียนมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอแก่ความ
ต้องการ จึงได้พระราชทานนมถ่ัวเหลืองผงให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล


เพื่อให้เด็กนักเรียนดื่มนมถั่วเหลืองวันละแก้ว

ทกุ วัน จนกระทงั่ ใน พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้จัดตงั้
โครงการนมโรงเรียนขึ้น ซ่ึงครอบคลุมถึงระดับ

ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 และมีนโยบายท่ีจะขยาย
จนถึงระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 ในปีงบประมาณ
2553 อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ยังพระราชทาน

นมถัว่ เหลืองต่อ เพือ่ ใหเ้ ดก็ นกั เรยี นทุกคนไดด้ ืม่ นม

20

อย่างน้อยวันละแก้วทุกวัน ทำให้ได้
รับพลงั งาน และโปรตนี รวมทัง้ สาร
อาหารอื่นๆ เพิ่มขึ้น การส่งเสริม
การดื่มนมถั่วเหลืองของพระองค์มี
ส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี
ทางอาหารในการเสริมแคลเซียมลง
ในนมถั่วเหลือง และขยายการผลิต
ไปสู่ระดับอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา ปัจจุบันการดื่มนมถ่ัวเหลืองท่ีมี
แคลเซยี มสงู เป็นทนี่ ิยมกนั แพรห่ ลายในหม่คู นไทย







21

การควบคุมการขาดสารไอโอดีน


ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ภาวะการขาดสารไอโอดีนมีความรุนแรงใน
หลายพ้ืนท่ีท่ีห่างไกลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชากรในพื้นท่ีห่างไกลเหล่าน้ี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้มีการ
ควบคุมและป้องกันการขาดสารไอโอดีนในโรงเรียน เป็นการเสริมการทำงาน
ของกระทรวงสาธารณสขุ โดยทรงส่งเสริมใหโ้ รงเรียนใช้เกลอื เสริมไอโอดีนใน
การประกอบอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับ
รณรงค์ส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนเป็นประจำ โดยผ่านทาง
กลุ่มแม่บ้าน ผู้ปกครองที่มาร่วมเตรียมอาหารที่โรงเรียน การใช้เกลือเสริม
ไอโอดีนจึงขยายไปส่คู รอบครัวของเดก็ นกั เรยี นดว้ ย





เนื่องจากภาวะแร้นแค้นและยากลำบากในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การ

ส่งเสริมเกลือเสริมไอโอดีนท่ีมีคุณภาพเป็นไปไม่ทั่วถึง จึงต้องส่งเสริมการใช

น้ำเสริมไอโอดีนควบคู่ไปด้วย โดยการจัดกลุ่มนักเรียนให้รับผิดชอบในการ

เตรียมน้ำเสริมไอโอดีนทุกวัน และมีการควบคุมคุณภาพโดยใช้ชุดทดสอบ
ไอโอดนี ภายใต้การควบคุมอยา่ งใกล้ชิดของครทู ีไ่ ดร้ ับการอบรมแลว้ ในพืน้ ท่ี
ทีม่ กี ารขาดไอโอดีนเกนิ ร้อยละ 20 และไม่สามารถจัดหาเกลอื เสริมไอโอดนี ได้
ในบางฤดู กระทรวงสาธารณสุขได้จัดยาแคปซูลเสรมิ ไอโอดนี ในน้ำมัน (ขนาด
200 ไมโครกรัมทุก 6 เดือน) ให้แก่เดก็ และหญงิ วัยเจริญพันธ์ุ


22

น อ ก จ า ก นี้ ใ น ก า ร เ ฝ้ า ร ะ วั ง ก า ร ข า ด ส า ร
ไอโอดีน ยังคงใช้อัตราคอพอกในเด็กประถมเป็น

ดัชนีติดตามระดับการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่เส่ียง
โดยการฝึกอบรมครู และให้ครูตรวจคอพอกในเด็ก
นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาทุกคนปีละ 2 ครั้ง แมว้ ่าวธิ ี
น้ีจะไม่ดีเท่ากับการตรวจวัดสารไอโอดีนในปัสสาวะซ่ึง
ต้องใช้เคร่ืองมือราคาแพงและผู้ท่ีมีความชำนาญ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-ราชกมุ ารี
ทรงเห็นว่าวิธีการนี้จะช่วยให้ครูและชุมชนสามารถ
ประเมินสถานการณ์ปัญหาการขาดสารไอโอดีนใน
พื้นที่ของตนได้ โดยไม่ต้องรอการสนับสนุนจาก
ภายนอก


ในปัจจุบันภาวะการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ห่างไกล อยู่ในระดับ

ท่ีควบคุมได้ โดยมีอัตราคอพอกในเด็กนักเรียนต่ำกว่าร้อยละ 5 มาต้ังแต

ปีการศึกษา 2543 เพอ่ื ใหแ้ น่ใจว่าปญั หาดงั กลา่ วจะไม่เกิดขึ้นอกี การใชเ้ กลือ
เสริมไอโอดนี และน้ำดมื่ เสริมไอโอดนี ยังคงดำเนินต่อเนอ่ื งในพน้ื ท่ีห่างไกล





การดำเนินกิจกรรมควบคุมภาวะการขาดสารไอโอดีนดังกล่าว ส่งผล
ให้เด็กนักเรียน ครู และสมาชิกในชุมชน มีความรู้และทักษะในการป้องกัน
การขาดสารไอโอดนี ดว้ ยตนเอง







23

การควบคมุ การขาดจุลโภชนาหารอืน่ ๆ


นอกจากสารไอโอดนี แลว้ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรม-
ราชกมุ ารี ทรงห่วงใยในเรื่องของการขาดวติ ามินเอและธาตเุ หลก็ ดว้ ย เพราะ
การขาดสารอาหารจำเป็นทั้ง 2 ชนิดนี้ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและ
การเรยี นรขู้ องเดก็


ปัญหาการขาดวิตามินเอในประเทศไทย ได้มีความพยายามในการ
แก้ไขจนระดบั ความรุนแรงเปล่ียนจากระดับท่ีเหน็ อาการทางคลนิ ิกชดั เจน มา
เป็นระดับเซลล์ซ่ึงซ่อนเร้น ก่อนท่ีจะปรากฏอาการให้เห็น (sub-clinic
deficiency) มาต้งั แต่ พ.ศ. 2535 จนกระทง่ั ใน พ.ศ. 2541 ไดม้ ีรายงาน

ผูป้ ่วยเดก็ ตาบอด ร่วมกบั การติดเชอ้ื ทางเดินหายใจ และการขาดโปรตีนและ
พลังงาน และบางรายพบตาเป็นเกร็ดกระดี่และแผลที่กระจกตา ที่อำเภอ
อมก๋อย จังหวัดเชยี งใหม่ เมื่อสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ทรงทราบ จึงมพี ระราชดำริให้ดำเนนิ กิจกรรมการผลิตอาหารขึ้น เพ่อื
สนับสนนุ และรองรับมาตรการการให้วิตามนิ เอของกระทรวงสาธารณสขุ


อำเภออมก๋อยตั้งอยู่ในพ้ืนท่ีภูเขาสูงในภาคเหนือของประเทศ การ
คมนาคมเปน็ ไปดว้ ยความยากลำบาก บางพื้นที่ไม่สามารถเขา้ ถึงได้โดยเฉพาะ
ในฤดูฝน ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นท่ีดังกล่าวเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง
มีภาษาและขนบธรรมเนียมของตนเอง ทำให้การติดต่อส่ือสาร และการเข้า
ถงึ บรกิ ารต่างๆ ของรฐั ทำได้ยาก ส่งผลใหค้ ณุ ภาพชวี ิตของประชาชนในพน้ื ท่ี
ดงั กล่าวดอ้ ยกวา่ ในพื้นที่อน่ื ๆ


ในการทรงงานในพื้นที่ท่ียากลำบากเช่นน้ี สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงใช้วิธีการให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลาง
ของการพัฒนา ซ่ึงอยู่ในรูปแบบของศูนย์การเรียนชุมชน อันเป็นบริการ

เพียงอย่างเดียวของรัฐท่ีมีอยู่ในชุมชนน้ีเป็นจุดเร่ิมต้น ในบางชุมชนท่ียังไม่มี
ศูนย์การเรียนดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานเงินส่วนพระองค์เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนข้ึนมาก่อน แล้ว
จึงดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการผลิตอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการ ทรง
เน้นการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ท่ีมีวิตามินเอสูง นอกจากน้ียังได้พระราชทาน
นมวัวและนมถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมให้แก่เด็กในศูนย์ หลังจากเร่ิมผลิต
อาหารได้ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเนน้ การ
จัดบริการอาหารท่ีมีคุณค่าครบถ้วน รวมทั้งการจัดกิจกรรมพัฒนาอนามัย

ส่วนบุคคลด้วย กิจกรรมดังกล่าวได้ขยายสู่ชุมชน หลังจากที่ได้ดำเนินการ

ไประยะหน่ึง จึงมีพระราชดำริให้จัดต้ังกลุ่มอาชีพต่างๆ ตามความถนัดและ

ภูมปิ ัญญาของแตล่ ะชุมชน พรอ้ มทั้งฝกึ อบรมพัฒนาผลิตภณั ฑ์เพื่อใหส้ ามารถ
เพ่ิมรายได้ให้แก่ครอบครัว


24

เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นท่ีอำเภออมก๋อยทำให้ไม่
สามารถเข้าถึงกลุ่มประชากรได้อย่างทั่วถึง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี จึงทรงนำ “เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์” มาช่วย

ในการจัดการพื้นท่ี ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ท้ังท่ีตั้งของชุมชน
สภาพพื้นท่ี ความรุนแรงของปัญหาทุพโภชนาการ มาแสดงบนแผนที่ซึ่ง
สามารถอ่านได้ง่ายและรวดเร็ว ระบบนี้ช่วยให้ทรงดำเนินกิจกรรมได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพและเข้าถึงกลมุ่ เปา้ หมายไดร้ วดเร็วย่งิ ข้นึ


โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปัญหานี้ยังคงเป็นปัญหา
สาธารณสุขของประเทศ นอกจากมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการ
ให้ยาเม็ดธาตุเหล็กทุกสัปดาห์แก่เด็กนักเรียน เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
แล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงให้การ
สนับสนุนงานดังกล่าวโดยเฉพาะเด็กในพ้ืนที่ห่างไกลทุรกันดารท่ีมีความเสี่ยง
สูง โดยการให้สถานศึกษาท้ังโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนดำเนินงานใน
รูปแบบต่างๆ อาท

o สง่ เสรมิ การบริโภคอาหารทีม่ ีธาตเุ หล็กสงู ได้แก่ ตบั ไข่ ถัว่ เมลด็

แห้ง ผ่านการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน โดยให้ม

ไข่ต้มสกุ บริโภคสปั ดาห์ละ 2 ฟอง ไมใ่ ช้ไขแ่ ตกหรอื ไขบ่ ุบ และให้มี
ตับบริโภคสัปดาห์ละครั้ง หรือสองสัปดาห์ตอ่ คร้ัง

o ให้โภชนศึกษาแก่เด็กโดยการสอดแทรกในวิชาสุขศึกษา เก่ียวกับ
บทบาทของธาตุเหล็กในร่างกาย ผลจากการขาดธาตุเหล็ก และ
แหลง่ อาหารทม่ี ีธาตุเหล็กสงู






25

การดำรงภาวะโภชนาการระหว่างศีลอด


รามาฎอน หรือศีลอด เป็นเดือนท่ี 9 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งชาว
มุสลิมอายุ 12 ปีข้ึนไปจะอดอาหารตลอดเดือนต้ังแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึง
พระอาทติ ยต์ ก แม้วา่ จะไม่มกี ารบังคับให้เดก็ อดอาหาร แตเ่ ดก็ มสุ ลมิ สว่ นใหญ่
พยายามอดอาหารให้มากท่ีสุดเพื่อเป็นการฝึกฝนตนเองสำหรับอนาคต เด็ก
เหล่าน้ีรวมถงึ เด็กมสุ ลมิ ในพ้นื ทห่ี ่างไกลในภาคใต้ด้วย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริที่
จะทรงช่วยเด็กมุสลิม ซึ่งมิได้ยกเว้นแม้ในระหว่างการถือศีลอดด้วย ท้ังนี้
เน่ืองจากในเวลาปกติเด็กเหล่านี้จะได้รับบริการอาหารกลางวันจากโรงเรียน
อยู่แล้ว ดังนั้นจึงทรงคิดหาวิธีท่ีจะช่วยให้เด็กเหล่าน้ันได้รับสิทธ์ิในการ

จัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนในระหว่างการถือศีลอด ด้วยทรง

เข้าพระทัยเป็นอย่างดีย่ิงในความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละ
พ้ืนท่ี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงทดลอง

รูปแบบการจัด “อาหารกลางคืนระหว่างศีลอด” ข้ึน โดยความร่วมมือของ
โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในการศึกษาหารูปแบบท่ีเหมาะสมเพ่ือให้เด็กได้รับ
อาหารเพียงพอ


รูปแบบท่ีทดลอง อาทิ โรงเรียนให้แม่บ้านเตรียมอาหารตอนเย็นเพ่ิม
อีก 1 ครงั้ ในแต่ละวัน เพ่ือให้เด็กทีถ่ อื ศลี อดนำกลับบา้ นแทนอาหารกลางวัน
อีกทางหนึ่งคือการให้เด็กนำนมและ/หรือไข่กลับไปท่ีบ้าน เป็นต้น จากการ

ทดลองหลายๆ รูปแบบ พบว่าการให้นมผงเป็นวิธีที่ดีท่ีสุดและสะดวกท่ีสุด
ทั้งนี้เพราะเป็นการให้สารอาหารจำเป็นท่ีสำคัญคือแคลเซียม วิตามินเอ
วิตามินบี 2 และเหลก็ มากกว่ารปู แบบอนื่





26

โภชนาการสำหรับเด็กนักเรยี นในระดบั มธั ยมศกึ ษา


โดยปกติการจัดบริการอาหารกลางวันของสถานศึกษาจะมุ่งเน้นไปท่ี
เด็กเล็กและเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาเท่าน้ัน ยังไม่ครอบคลุมถึงเด็ก
นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
จิตวิทยา และบทบาททางสังคมอย่างรวดเร็ว เป็นวัยที่อยู่ในระยะการ
เปลยี่ นแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ


เด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ห่างไกลยังคงประสบปัญหา

ในวงจรของความยากจน ความหิวโหย และการเจ็บป่วยเช่นเดียวกับ

เด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษา จากสภาวะดังกล่าวส่งผลให้เด็กนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาในพ้ืนที่ห่างไกลหลายคนสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับ
อาหารไม่เพียงพอ ไม่สามารถเติบโตเป็นสมาชิกท่ีมีคุณภาพของชุมชนและ
ประเทศชาติ และโดยเฉพาะอยา่ งยิ่งเดก็ ผู้หญงิ ซ่งึ เข้าส่วู ัยเจริญพันธุ์ และจะ
เปน็ แม่ผู้ใหก้ ำเนิดบุตรในอนาคต


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนัก

ในความสำคัญน้ี จึงทรงขยายโครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันไปยัง

เด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในพื้นท่ีชนบทและห่างไกลต้ังแต่ พ.ศ. 2547
โดยพระราชทานเงนิ ใหแ้ กโ่ รงเรียน 43 แห่ง ในอัตรา 10 บาทต่อคนต่อวัน
ซึ่งครอบคลุมเด็กนักเรียนจำนวนทั้งส้ิน 5,638 คน นอกจากเด็กนักเรียน

จะได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าและสะอาดปลอดภัยแล้ว ยังได้รับความรู้

และพัฒนาพฤติกรรมการกินท่ีเหมาะสมด้วย โรงเรียนจึงเป็นระบบที่มี
ประสทิ ธิภาพที่ทำใหเ้ ด็กไดร้ ับการพฒั นาโภชนาการอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง





27

บทบาทของศาสนาในการสง่ เสริมโภชนาการทีด่ ี


เด็กผู้ชายส่วนหนึ่งที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประถม
ศึกษาในชุมชนทุรกันดารห่างไกล ทั้งที่เป็นชาวไทยภูเขาและที่มาจาก
ครอบครัวที่ยากจน สามารถเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาได้ โดยเข้าศึกษาต่อ

ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม พระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการรับเด็กที่ขาดโอกาส

เหล่านี้เข้ามาบวชเป็นสามเณร และให้การศึกษาทั้งวิชาพุทธศาสนาและวิชา
สามญั


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน
ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสมาต้ังแต่
พ.ศ. 2545 เช่นเดียวกับเด็กอ่ืนๆ ในท้องถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงพบว่า
สามเณรหลายรูปยังมีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถเรยี นรู้ได้อย่างเต็ม
ศักยภาพ เน่ืองจากวัดที่เป็นท่ีต้ังของโรงเรียนพระปริยัติธรรมส่วนใหญ่มักจะ
ตั้งอยู่ในชุมชนเล็กๆ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมเหล่าน้ีมักจะรับสามเณร

จากวัดอ่ืนๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมาศึกษาร่วมด้วย ดังนั้นชุมชนจึงไม่สามารถให้

การสนับสนุนโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำรทิ ่จี ะสง่ เสรมิ โภชนาการของสามเณร


ในการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้ดำเนินการส่งเสริม
โภชนาการของสามเณรน้ัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี พระราชทานเงินจำนวน 10 บาทต่อสามเณร 1 รูปต่อวัน ให้แก่
โรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคเหนือและภาคกลาง เพื่อจัดภัตตาหารเพล
ถวายสามเณร ขณะนี้มีโรงเรียนพระปริยัตธิ รรมทง้ั หมด 34 แห่งในภาคเหนือ
และภาคกลาง ท่ีร่วมดำเนินการในการจัดภัตตาหารเพลถวายสามเณร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเน้นในเร่ือง

ของคุณภาพของภัตตาหารท้ังคุณค่าทางโภชนาการตามหลักโภชนาการ และ
ความสะอาดปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยการจัดโปรแกรมการ


28

ฝึกอบรมและศึกษาดูงานให้แก่ผู้ประกอบอาหารให้กับสามเณร นอกจากนี้
ยังพระราชทานเคร่ืองชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรม
เพ่ือให้ครูสามารถทำการประเมนิ ภาวะโภชนาการของสามเณรได


ปัจจบุ นั มีสามเณรได้รบั การถวายภตั ตาหารเพลและส่งเสรมิ โภชนาการ
ทัง้ หมด 5,996 รูป อย่างไรก็ตามโรงเรียนพระปริยตั ิธรรมบางแหง่ เร่ิมประสบ
ปัญหาสามเณรมีน้ำหนักเกิน ทั้งนี้อาจเน่ืองมาจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
และเปลยี่ นวิถีการดำรงชีวิต ในการแก้ปญั หาโภชนาการขาด และการปอ้ งกัน
ปญั หาโภชนาการเกินนั้น สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงตระหนักถึงความจำเป็นของการศึกษาวิจัยเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมและ
สอดคลอ้ งกบั วิถกี ารดำรงชีวติ ตามแบบของพระภิกษสุ ามเณร


จากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมนั้น นอกจากจะทำให้เด็กด้อยโอกาสได้รับ
บริการด้านการศึกษาแล้ว ยังได้รับการส่งเสริมโภชนาการ อันจะช่วยให้เด็ก
และเยาวชนกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพ่ือเป็นคนมีคุณภาพของ
สงั คมและประเทศชาติต่อไป





29

ระบบติดตามและประเมินผลดว้ ยตนเอง


ในการทรงงานการพัฒนาโภชนาการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญต่อการติดตามและประเมินผล ท้ังน้ี
เพราะทรงถือว่าเป็นเคร่ืองมือสำคัญที่จะบอกให้ทราบถึงความก้าวหน้าและ
ความสำเรจ็ ของการดำเนนิ งาน


สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี มพี ระราชดำริให้
โรงเรียนในโครงการจัดทำระบบติดตามและประเมินผล เพ่ือให้โรงเรียน
สามารถจัดทำข้อมูลที่จำเป็นในการติดตามและประเมินผลได้ด้วยตนเอง ไม่
ตอ้ งรอนักวชิ าการจากภายนอก ครูสามารถติดตามการเจรญิ เตบิ โตและภาวะ
โภชนาการของเดก็ เปน็ รายบคุ คลได้ และสามารถใหก้ ารดแู ลไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
ทรงเลือกวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด นั่นคือ การช่ังน้ำหนักและวัดส่วนสูง ซ่ึง
เปน็ ตัวบง่ ช้ีภาวะโภชนาการของเดก็ ไดด้ ที ี่สุด


ในตอนเร่ิมต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานเคร่ืองมือได้แก่ เครื่องช่ังน้ำหนักและท่ีวัดส่วนสูงให้แก่โรงเรียน
และจัดการฝึกอบรมเพ่ือเพ่ิมพูนความรู้และทักษะให้แก่ครู ทั้งในด้านเทคนิค
ของการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง การแปลผลและการนำข้อมูลไปใช้ในการ
แกไ้ ขปญั หาทพุ โภชนาการของเดก็ เป็นรายบุคคล และเพือ่ การพฒั นากจิ กรรม
ของโรงเรียนด้วย พร้อมทั้งจัดทำคู่มือท่ีจำเป็น เพ่ือให้ครูสามารถดำเนินการ
ไดด้ ้วยตนเอง และเป็นการควบคมุ คณุ ภาพในการชั่งและวดั ไปดว้ ยในตวั จาก
การที่ทรงสนับสนุนโรงเรียนและทรงติดตามพร้อมท้ังพระราชทานคำแนะนำ

ให้แก่ครูอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทำให้ระบบติดตามและประเมินผลของ
โรงเรียนเป็นระบบท่ีมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการเป็นกิจวัตรประจำ

มาจนถึงปจั จบุ นั


30

การปรับปรุงโภชนาการของแม่และเด็ก


หญิงตั้งครรภ์ในท้องถิ่นทุรกันดารมักขาดอาหารบริโภค เนื่องจาก

ขาดความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน นอกจากน้ียังขาดโอกาสในการ
ได้รับบริการอนามัยแม่และเด็ก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากสถานบริการของรัฐ
การคลอดมักไดร้ บั ความชว่ ยเหลือจากหมอพ้นื บา้ นหรอื หมอตำแย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึง
ความสำคัญของการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเด็ก
แรกเกิด ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตท่ีสุดในวงจรชีวิต การขาดสารอาหารของแม่ท
ี่
ตั้งครรภ์จะส่งผลให้เด็กในครรภ์และเด็กแรกเกิดมีภาวะโภชนาการบกพร่อง
จึงมีพระราชดำริในการดำเนินกิจกรรมเพ่ือสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
ดูแลแม่และเด็ก โดยทรงเน้นท่ีการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนห่างไกล
เหล่าน้ี ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการดูแลหญิงต้ังครรภ์จนกระทั่ง
คลอดบุตรได้อย่างปลอดภัยและทารกแรกเกิดอยู่รอดปลอดภัย ได้รับการ
เลี้ยงดูให้มีโภชนาการดีและมีพัฒนาการตามวัย กิจกรรมตามพระราชดำริ
ได้แก่


• การฝึกอบรมหมอตำแยของแต่ละหมู่บ้านท่ีโรงพยาบาลในท้องถ่ิน
เพื่อให้สามารถดูแลแม่และทำคลอดได้อย่างถูกวิธี จนเด็กคลอด
อย่างปลอดภัย


31

• การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่แม่และอาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้าน โดยความร่วมมือจากเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขของรัฐ
ในการจัดการฝึกอบรม เป็นวิธีท่ีช่วยให้อาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้านและแม่สามารถติดตามการเจริญเติบโต และ

ให้อาหารเด็กได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง อีกทั้งเจ้าหน้าท่ี
สาธารณสุขของรัฐยังสามารถให้คำแนะนำในการจัดปรับอาหาร
ของเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของ
เดก็ ในชุมชนดีขึ้น


• การเพ่ิมผลผลิตทางการเกษตรในครัวเรือนโดยการส่งเสริมการทำ
เกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับบางพ้ืนท่ีท่ีมีปัญหาการขาดสารอาหารรุนแรง นอกจาก

ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานในชุมชนแล้ว สมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ยังมีพระราชดำริให้ขยาย
โครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันลงสู่ครัวเรือน โดยโรงเรียน
และหน่วยงานได้ให้พันธ์ุไก่ เป็ด และอาหารสัตว์ แก่ครอบครัว
ของเด็กที่ขาดสารอาหาร นำไปเลี้ยงเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
และครูได้ติดตามไปดู พร้อมทั้งให้คะแนน ทำให้ครอบครัวเด็กได้
ลงมือทำจรงิ และเกิดผลผลติ ข้ึนจริง





32

การสง่ เสรมิ โภชนาการของเดก็ เลก็


ในชุมชนทหี่ า่ งไกล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่ง
มีรายได้น้อยและต้องอาศัยผลผลิตของตนเองในการยังชีพ ผลผลิตมากน้อย
ขึน้ อยกู่ ับดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติ และภาวะตลาด ทำให้พอ่ แมห่ นุ่มสาวต้อง
ออกจากหมูบ่ ้านไปหางานทำในเมือง โดยทิ้งลกู ใหอ้ ยบู่ า้ นกบั ญาติผ้ใู หญ่ หรือ
อยู่กนั ตามลำพัง


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยเด็ก
เหล่าน้ัน ด้วยทรงตระหนักว่าโภชนาการของทารกและเด็กเล็กมีความสำคัญ
ย่ิงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะวิกฤตนี้ ดังจึงมีพระราชดำริใน
การดำเนนิ งานรว่ มกับองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบล (อบต.) ในการจัดสถานท่ีให้
เด็กเหล่านี้มารวมกัน เพราะทรงเห็นว่าในหมู่บ้านท่ีอยู่ห่างไกลจะเป็นการ
สะดวกกว่าถ้าทุกคนมารวมกันอยู่ท่ีเดียว โดยเรียกว่า “ศูนย์ส่งเสริมและ
พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ” ในการดำเนนิ งานในระยะแรก สมเด็จพระเทพรตั น-
ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี พระราชทานทุนกอ่ สรา้ งศนู ย์ และจ้างคนใน
ชุมชนมาดูแลเด็ก จัดอาหารกลางวันและอาหารเสริมเล้ียงเด็ก ภายใต้การ
ดูแลของ อบต. และเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขในพื้นท่ีเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

ทางวชิ าการ ต่อมา อบต. รบั ภาระในเรอื่ งคา่ ใช้จา่ ยตา่ งๆ ของศูนย์ ศนู ย์จะ
ทำหน้าที่เล้ียงดูเด็ก จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก จัดอาหาร
กลางวันและอาหารเสริม ติดตามการเจริญเติบโตและดูแลสุขภาพของเด็ก
อายุต่ำกวา่ 3 ปี รวมท้ังใหก้ ารอบรมแกผ่ สู้ ูงวัย เก่ยี วกับโภชนาการพน้ื ฐาน
และการดูแลสุขภาพ ในกรณีที่ขาดบุคลากรท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสม ศูนย์จะ
ทำงานร่วมกับครูในโรงเรียนประถมศึกษาท่ีอยู่ในชุมชน ผลจากความร่วมมือ
ดังกล่าว ทำให้อัตราน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ลดจาก
ระดบั รอ้ ยละ 20 เหลือร้อยละ 6.8


พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นตัวอย่างหน่ึงของการสร้างความร่วมมือระหว่างพระองค์ในฐานะภาค
เอกชน กับชุมชนหรือองค์การระดับท้องถ่ิน (อบต.) และเจ้าหน้าที่ของภาค
รัฐ ท้ังเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุขและโรงเรียน ในการดูแลส่งเสริมโภชนาการ

ต้ังแต่ระยะแรกๆ ของชีวิต อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กท่ีด้อยโอกาส

เหล่าน
ี้







33

การเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพของแมใ่ นอนาคต


ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามความก้าวหน้าของ
งานพัฒนาในโรงเรียนในท้องถ่ินทุรกันดารห่างไกล สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบว่า เด็กผู้หญิงมักจะแต่งงานเม่ืออายุ
นอ้ ย หลงั จากเรียนจบช้ันประถมศึกษาปที ี่ 6 แล้วเพยี ง 2 – 3 ปีเทา่ นน้ั
แมว้ ่าในการทรงงานพฒั นาในระยะเร่มิ แรกต้ังแต่ พ.ศ. 2523 ทรงเน้นที่เด็ก
วัยเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่เม่ือทรงทำโครงการมาได้ 16 ปี ทรงขยาย
ขอบข่ายของงานครอบคลมุ หญิงมคี รรภแ์ ละเดก็ เลก็ แต่ถึงกระนั้นกย็ งั อาจจะ
ชา้ เกินไป ด้วยทรงตระหนักวา่ แมท่ ี่มภี าวะโภชนาการดแี ละมกี ารศึกษา มักจะ
มีลูกที่มีโภชนาการและสุขภาพที่ดีด้วย จึงมีพระราชดำริท่ีจะเร่ิมใหเ้ ร็วกว่านั้น
อีก นั่นคือมีการเตรียมเด็กตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธ์ุ โดยการพัฒนา
“หลักสูตรการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กสำหรับ
นกั เรียนช้นั ประถมศึกษาปที ่ี 5 – 6” ข้ึนใน พ.ศ. 2542 – 2543 หลักสูตรน้ี
มุ่งหวังท่ีจะสร้างความตระหนัก รวมทั้งพัฒนาความรู้และพฤติกรรมท่

เหมาะสมเกี่ยวกับโภชนาการและสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก คณะทำงาน
ซึ่งประกอบด้วยครูจากโรงเรียนในพ้ืนท่ีห่างไกล นักวิชาการศึกษาจาก
กระทรวงศึกษาธกิ าร และเจ้าหนา้ ทสี่ าธารณสุขจากกระทรวงสาธารณสุข ได้
ร่วมกนั จัดทำหลักสตู รโดยมีเน้ือหาครอบคลุม 4 หัวขอ้ ไดแ้ ก่ 1) ครอบครวั
ซึ่งครอบคลุมเน้ือหาเกี่ยวกับประเภทของครอบครัวและบทบาทของสมาชิกใน
ครอบครวั 2) ความพร้อมของการมคี รอบครวั ท่เี ป็นสุข 3) การดูแลสุขภาพ
อนามัยของหญิงมีครรภ์และทารก และ 4) การปฏิบัติท่ีดีเพื่อให้มารดาและ
ทารกมีโภชนาการดี ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 12 – 16 ชั่วโมงในแต่ละ

ระดับช้ัน ครูสามารถจัดการเรียนการสอนโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

สขุ ศึกษาและพลศึกษา หรอื วิชาการงานพ้ืนฐานและเทคโนโลยีก็ได้ พรอ้ มกนั น้ี
ได้มีการพัฒนาแผนการสอน 14 แผน พร้อมคู่มือครู และฝึกอบรมให้แก่

ครูผูส้ อนดว้ ย


หลักสูตรดังกล่าวได้เร่ิมทดลองใช้เม่ือ พ.ศ. 2543 ในโรงเรียน
ทุรกนั ดารห่างไกล ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวใหเ้ หมาะสมกับวัย
วัฒนธรรรม และขนบธรรมเนียมของแต่ละท้องถ่ิน เช่น การปรับปรุงให้
เหมาะสมกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ภาคใต้ และสำหรับ
ชาวไทยภเู ขาทางภาคเหนอื เปน็ ตน้








34

การอนุรกั ษแ์ ละการปรบั ปรุงคุณคา่ ทางโภชนาการ

ของอาหารไทย


สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงเปน็ แบบอยา่ ง
ที่ดีในการฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารไทย ทรงรวบรวมตำรับอาหารไทยที่เป็นที่
นิยมและมีพระราชดำริให้สถาบันวิชาการพัฒนาสูตรอาหารท่ีมีคุณค่าทาง
โภชนาการและมีความสมดุลในมื้ออาหาร ตัวอย่างเช่น ตำรับอาหารไทย

พืน้ บา้ นครบ 1 ม้อื (เชน่ นำ้ พริกปลาทู แกงจืดฟกั ) ท่ีไดว้ เิ คราะห์ปรมิ าณ
พลังงาน โปรตีน คารโ์ บไฮเดรต ไขมนั แคลเซียม โซเดยี ม เหล็ก วติ ามนิ เอ
วติ ามินซี โคเลสเตอรอล และเบตาแคโรทีน


อาหารจานเดียว เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกมุ ารี มพี ระราชดำริให้พฒั นา และพระราชทานใหก้ ับโรงเรียน
เพ่ือใช้ในการจัดอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน โดยนำอาหารพื้นบ้าน
หลายๆ อย่างท่ีนิยมบริโภคกันในแต่ละพื้นที่มาผสมผสานจัดเป็นสำรับท่ีมี
คณุ คา่ ทางโภชนาการ รวมอยู่ในจานเดียวกัน นอกจากจะมีคณุ คา่ อาหารครบ
ส่วนแล้ว ยังสะดวกในการจัดเตรียมอีกด้วย ดังตัวอย่างที่นำไปใช้ท่ีโรงเรียน
พระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นโรงเรียนท่ีมีเด็กนักเรียนมาจากหลากหลาย
พ้ืนที่ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม นอกจากเด็กนักเรียนจะได้บริโภค
อาหารแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงให้ความ
สำคัญกับการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร
ท่ีบริโภค และการพัฒนาบริโภคนิสัยที่เหมาะสมด้วย ทำให้เด็กนักเรียนรู้ว่า
ควรทำอะไร และทำไมจงึ ต้องทำ นอกจากนีย้ ังทรงเนน้ ถงึ การให้ข่าวสารทาง
โภชนาการว่า ควรใหง้ ่าย เขา้ ใจได้ และมีหลกั การทถี่ ูกตอ้ ง





35

ข้าวไทย เชื่อมโยงสมัยโบราณกับโลกาภวิ ตั น


ข้าวเป็นพืชอาหารท่ีสำคัญ เพราะเป็นแหล่งพลังงานของประชากร
เกือบคร่ึงโลก ประเทศไทยได้ช่ือว่าเป็นประเทศที่ส่งข้าวออกมากที่สุดประเทศ
หนึ่งของโลก แม้ในยามวิกฤตที่ทั่วโลกขาดแคลนข้าว ประเทศไทยก็ยังเป็น
แหล่งข้าวท่ีสามารถส่งให้แก่ประเทศท่ีต้องการได้ ข้าวไทยมีลักษณะเฉพาะ
เมล็ดข้าวจะเรียวยาวและฝ้ามัวพร้อมกับมีกลิ่นหอม ในการประกวดเมล็ดพืช
ท่ัวโลกทเี่ มอื งเรจินา ประเทศแคนาดา ใน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) ขา้ วไทย
ไดเ้ ปน็ ทรี่ จู้ กั กนั เปน็ อยา่ งดที วั่ โลก ขา้ วพนั ธปุ์ นิ่ แกว้ และขา้ วพนั ธพุ์ นื้ เมอื งอนื่ ๆ
ของไทยไดร้ ับรางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวลั อืน่ ๆ อีก 8 รางวลั รวมเปน็ 11
รางวัล จากทง้ั หมด 20 รางวลั ปจั จบุ ันข้าวไทยโดยเฉพาะขา้ วหอมมะลิเป็น

ทรี่ ู้จกั และมีชือ่ เสียงทว่ั โลกดว้ ยคุณภาพและกล่ินหอมพิเศษ


ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย พลังงานที่คนไทยได้รับจากข้าวจะ
ประมาณรอ้ ยละ 55-60 ของพลงั งานที่ไดร้ บั ท้งั หมดในแตล่ ะวนั ในบางพนื้ ท่ี
ในชนบทห่างไกลพลังงานท่ีได้จากข้าวน้ีอาจสูงถึงร้อยละ 70 คนไทยบริโภค
ข้าวในหลายๆ รูปแบบ เช่น หงุ ข้าวแบบไมเ่ ช็ดน้ำ แลว้ เทนำ้ ขา้ วซ่ึงมีวิตามิน
สูงมาให้เด็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในครอบครัวดื่ม ข้าวบดกับกล้วยเป็นอาหาร
เสริมสำหรับทารก การบริโภคร่วมกับถั่วและงาเป็นการเพิ่มคุณค่าทาง
โภชนาการ อาหารหวานหลายอยา่ งกท็ ำมาจากข้าว หรือแป้งขา้ วเจา้ ผสมกับ
ส่วนผสมอ่ืนๆ ทำเป็นแท่ง เช่น กระยาสารท เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าทาง
โปรตนี สูง


ข้าวไทยนอกจากจะเป็นอาหารหลักและนำรายได้มาสู่ประเทศแล้ว

ยังมีความเชื่อมโยงต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทยมาต้ังแต่สมัย

โบราณ ประเพณีและพธิ ีกรรมตา่ งๆ จะปรากฏในทกุ ขนั้ ตอนของการปลกู ข้าว
ชาวนาไทยบูชากราบไหว้ “แม่โพสพ” ซ่ึงเป็นเทวดาประจำพืช เพื่อความ

อุดมสมบูรณ์ของพืชที่ปลูกตามฤดูกาล เชื่อกันอีกว่าเทวดาประจำพืชดังกล่าว
มักเป็นผู้หญิง เพราะข้าวเป็นอาหารหลักใช้เล้ียงชีวิตให้มีสุขภาพดี เปรียบ
เสมือนมารดาเลี้ยงลูกให้เติบโตต่อไป “พิธีขอฝน” ซึ่งมีชื่อเรียกและพิธีกรรม
แตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น ประเพณีบ้ังไฟ การโยนครกโยนสาก

ของภาคอีสาน การแห่นางแมวของภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน
เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการทำนายังคงต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อ
ถึงเวลาเพาะปลูกแล้วฝนยังไม่ตก ชาวนาจึงต้องทำพิธีขอฝน “การลงแขก”
เป็นประเพณีท่ีเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ การลงแขกเป็นการ

รวมกลุ่มแลกเปล่ียนแรงงาน โดยชาวนาจะขอแรงเพื่อนฝูงญาติมิตรและ

เพอื่ นบา้ นทอ่ี ยรู่ ว่ มชุมนมุ เดยี วกนั มารว่ มกนั ไถนา ปกั ดำ เก็บเก่ียว ตลอดจน

36

เก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง เป็นประเพณีอันงดงามท่ีก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี
และความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้สมาชิกในชุมชนอยู่ร่วมกัน
อยา่ งมีความสุข


ใน พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล

แรกนาขวญั เพอื่ ความเปน็ สริ มิ งคลและบำรุงขวัญเกษตรกร ชกั นำใหม้ คี วาม
ม่ันใจในการทำนา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แยกเป็น
2 พิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธ์ุพืชต่างๆ เช่น

ข้าวเหนียว ข้าวเปลือก ขา้ วฟ่าง ขา้ วโพด ถั่ว งา เผอื ก มัน และพชื อืน่ ๆ
เพื่อให้พืชเหล่านั้นเจริญงอกงาม ปราศจากโรค ส่วนพระราชพิธีแรกนาขวัญ
เป็นพระราชพธิ ีแรกไถกอ่ นที่ชาวนาจะทำพิธแี รกนาในนาของตนเอง พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยพสกนิกร ทรงนำพันธ์ุข้าวต่างๆ มาปลูก
ทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา เมล็ดพันธ์ุที่เก็บเกี่ยวได้จะพระราชทาน

แจกจ่ายให้พสกนิกรทั่วประเทศ เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบ
อาชพี เกษตรของตนตามประเพณีนิยมสบื ไป


จาก

พระราชนิพนธ์เร่อื ง ข้าวไทย

ในโอกาสท่เี สดจ็ ฯ ไปทรงบรรยายเรอ่ื ง ขา้ วไทย

ท่สี ถาบัน International Rice Research Institute

ณ กรงุ โตเกียว ประเทศญปี่ ุ่น

25 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2537


37

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญ

รอยตามเบื้องพระยุคลบาท ทรงส่งเสริมข้าวไทยในหลายๆ วิธี ใน พ.ศ.
2537 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องข้าวไทย และเสด็จพระราชดำเนินไปทรง
บรรยายเรอ่ื งขา้ วไทยท่ี International Rice Research Institute (IRRI)
เมื่อวันท่ี 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปนุ่ ซึ่งมี
คุณค่ายิ่งต่อการสร้างภาพพจน์ของข้าวไทย บทพระราชนิพนธ์บางส่วนได้
ปรากฏในเนอื้ หาขา้ งตน้


สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงมีสว่ นร่วมใน
การสร้างความตระหนักให้คนไทย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ให้เห็นคุณค่าของ
ข้าวไทย ทรงเป็นตัวอย่างที่ดี ดังจะเห็นได้จาก การเสด็จพระราชดำเนิน

ไปทรงร่วมในการทำนา ทรงไถนาท้ังการใช้ควายและรถไถนา ทรงหว่านข้าว
ทรงดำนา และทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง นอกจากน้ียังทรงส่งเสริมให

ทำนาในโรงเรียนในชนบทห่างไกลท่ีมีพ้ืนท่ีเพียงพอ พร้อมท้ังจัดกิจกรรมการ

38

เรียนรู้ถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ให้นักเรียน โดยให้นักเรียนหัดทำนาในทุก

ขั้นตอน ในบางโรงเรียนจะมีการสร้างโรงสีข้าวเพ่ือสีข้าวสำหรับบริโภค
พร้อมกับใหน้ ักเรียนไดเ้ รยี นรู้ และในบางครง้ั สามารถให้บรกิ ารสขี า้ วแกช่ ุมชน
ด้วย แกลบและรำทไ่ี ดจ้ ากการสีข้าวก็นำไปเลยี้ งสตั ว์ตอ่ ไป


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความ
สำคัญกับงานวิจัยด้วย ได้มีพระราชดำริให้นักวิจัยไทยศึกษาและรวบรวม
ข้อมูลเก่ียวกับพันธุกรรมของข้าวไทย รวมทั้งการศึกษาจีโนมของข้าวของ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ข้าวพันธุ์ป่า
และพันธ์ุพ้ืนเมือง รวมท้ังยีนหลักๆ ของพันธ์ุข้าว ความรู้ที่ได้สามารถนำไป
พฒั นาปรับปรงุ พนั ธุข์ ้าวใหม้ ีผลผลิตสูงและมีคุณคา่ ทางโภชนาการมากข้ึน ซงึ่
จะเปน็ ประโยชน์ต่อชาวไทยและประชากรโลก







39

ธนาคารขา้ วเพื่อบรรเทาการขาดแคลนอาหารในชนบท
ทรุ กันดารห่างไกล


ในชนบททุรกันดารห่างไกล ประชาชนมักปลูกข้าวไว้สำหรับบริโภค

ในครัวเรือน แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดพ้ืนที่ในการทำนา และขาดความ

อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้ผลผลิตข้าวต่ำ หลายครอบครัวไม่สามารถผลิตข้าวได้
เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัวตลอดปี จึงทำให้ต้องเผชิญกับการ
ขาดแคลนขา้ วเป็นเวลา 1-3 เดอื นกอ่ นทจี่ ะถึงฤดกู ารผลิตใหม่


เพ่ือช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยการพ่ึงตนเอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริให้
หมู่บ้านในพ้ืนที่ทุรกันดารห่างไกลในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จัดต้ังธนาคารข้าวข้ึน ในการจัดต้ังธนาคารข้าวหมู่บ้านน้ัน สมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินเพ่ือจัดซื้อวัสดุสำหรับ
ก่อสร้าง แล้วใหช้ าวบ้านร่วมแรงกันก่อสร้าง ในตอนเร่ิมต้น ยังพระราชทาน
ขา้ วให้กบั ธนาคารขา้ วเพอ่ื เป็นทุนในการจดั ต้ัง ธนาคารขา้ วหมบู่ ้านท่จี ัดต้ังขน้ึ
มาน้ีจะดำเนินการโดยคณะกรรมการ ซง่ึ ชาวบ้านเลือกกนั ขึ้นมาเอง 6-10 คน
และคณะกรรมการยังได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการจัดทำบัญชี
ด้วย คณะกรรมการเหล่านี้จะกำหนดข้อปฏิบัติในการยืมและการคืนข้าวโดย
เป็นการตกลงร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นๆ ของหมู่บ้าน เช่นอาจคืนเป็นข้าว
เปน็ เงนิ หรอื เป็นผลิตภณั ฑ์เกษตรอน่ื ๆ ก็ได้ ข้นึ กบั สภาพของแต่ละครัวเรือน
และชุมชน


ธนาคารขา้ ว ตามพระราชดำรสิ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-
บรมราชกุมารี นอกจากจะช่วยให้ประชาชนมีข้าวบริโภคในช่วงท่ีขาดแคลน
เป็นการบรรเทาความรุนแรงของความหิวโหยและการขาดสารอาหารแล้ว
ธนาคารข้าวยังมีส่วนสำคัญในการสร้างจิตสำนึกเพ่ือช่วยเหลือซ่ึงกันและกันใน
สังคม


40

การส่งเสรมิ ความมัน่ คงทางอาหาร

ด้วยเกษตรผสมผสาน


ในพ้นื ท่ที ่ีแห้งแลง้ และกันดารของประเทศดังเช่นจังหวัดขอนแก่น และ
จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ประชาชน
ประกอบอาชีพทางการเกษตรและรายได้ทั้งหมดขึ้นกับการเกษตร แต่
เน่ืองจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และภูมิอากาศท่ีแปรปรวนทำให้ผลผลิต
โดยเฉพาะข้าวตกต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน สมาชิกใน
ครอบครัวจึงประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะเด็กมีภาวะ
การขาดสารอาหารดว้ ย


เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพ้ืนท่ีดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี มีพระราชดำรใิ ห้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นท่ีแบบ
บูรณาการตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพ่ิมผลผลิต
ทางการเกษตร และเพอ่ื ให้ประชาชนมีความมั่นคงทางอาหาร ในระยะแรกได้
ทรงทดลองดำเนินการท่ีหมู่บ้าน 1 แห่งในจังหวัดขอนแก่น และอีก 2
หมบู่ ้านในจังหวดั บรุ รี มั ย์ การดำเนนิ โครงการประกอบด้วย การพัฒนาระบบ
ชลประทานเพ่ือขยายพ้ืนท่ีทำการเกษตรในฤดูแล้ง การขดุ สระและอา่ งเกบ็ นำ้
เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำสำหรับใช้ในครัวเรือน การปรับปรุงนาข้าว และพันธ์ุข้าว
การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้พืชตระกูลถั่วซ่ึงมีโปรตีนสูง ผลพลอยได้จากการ
ใช้พืชตระกูลถั่วเหล่าน้ี ก็คือเมล็ดถั่ว แทนที่จะท้ิง สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี มพี ระราชดำรใิ หน้ ำมาแปรรปู โดยใชเ้ ทคนคิ ง่ายๆ
ท่ปี ระชาชนสามารถทำเองได้ เช่น ทำเปน็ อาหารว่างประเภทถ่ัวตัด เปน็ การ
เพิ่มคุณค่าให้กับผลผลิต ทำให้มีรายได้เพิ่มข้ึน นอกจากน้ียังทรงส่งเสริมให้
แต่ละครัวเรือนทำไร่นาสวนผสมเพื่อให้มีผลผลิตที่หลากหลายและเพียงพอต่อ
การบริโภคตลอดทั้งปี พร้อมกันน้ียังทรงให้จัดการฝึกอบรมในเร่ืองโภชนาการ
และบริโภคนิสัยให้แกช่ มุ ชนดว้ ย หลังการเกบ็ เก่ียว มพี ระราชดำริใหท้ ำอาชพี
เสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้แก่ครอบครัว เช่น การทอผ้าไหม ซึ่งเป็นหัตถกรรม
พืน้ บา้ นในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื


ต่อมาโครงการได้ขยายพ้ืนท่ีไปอีก 5 หมู่บ้าน การดำเนินงานส่งผล
ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 937-1,250 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ เป็น 1,401-
3,304 กิโลกรมั ต่อเฮคตาร์ ประชาชนผลติ อาหารไดม้ ากข้นึ มรี ายไดเ้ พ่มิ ขนึ้
และท่สี ำคญั ทีส่ ดุ คอื เด็กมภี าวะโภชนาการดขี ้ึน








41

42

การขยายผลในต่างประเทศ






สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอุทิศ
พระองค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ด้อยโอกาสในราชอาณาจักร
มาเกอื บ 30 ปี โครงการพฒั นาของพระองคไ์ ดผ้ ลเปน็ ท่ีน่าพอใจ เห็นไดจ้ าก
การที่เด็กนับแสนคน มีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยดีข้ึน สามารถ
เรียนหนังสือจนจบและเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป สามารถประกอบอาชีพ

มีรายไดแ้ ละดแู ลครอบครวั และสามารถชว่ ยเหลอื พัฒนาชุมชนได้

โครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้
ขยายจากโครงการทดลองขนาดเล็กในโรงเรียนห่างไกล 3 แห่ง ไปเป็น
โครงการพัฒนาแบบผสมผสานในหมู่บ้านที่ห่างไกลมากมาย โครงการทดลอง
ขนาดเล็กตั้งแต่ทรงเริ่มต้นและเป็นท่ีรู้จักกันดีคือโครงการเกษตรเพ่ืออาหาร
กลางวัน ปัจจุบันได้กลายเป็นรูปแบบของการพัฒนาที่ย่ังยืนในการเสริมสร้าง
ศักยภาพของคนให้สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ความสำเร็จเหล่านี้
มิได้เป็นที่ประจักษ์เฉพาะคนไทยเท่าน้ัน แต่ยังเป็นท่ีทราบกันดีในหมู่ชาว

ตา่ งประเทศด้วย

เพื่อนำประสบการณ์ของพระองค์ไปขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก
เยาวชน และสังคมท่ีด้อยโอกาสในประเทศอื่นๆ สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานความร่วมมือกับประเทศต่างๆ
ตามทแ่ี ตล่ ะประเทศขอพระราชทานมา นอกจากนย้ี งั พระราชทานความรว่ มมอื
กบั องค์การนานาชาตหิ ลายแห่ง อาทิ องค์การการศึกษา วทิ ยาศาสตร์ และ
วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและ
เกษตรแห่งสหประชาชาติ ตลอดจนองค์กรเอกชน เพื่อร่วมกันสร้างความ
อย่ดู กี ินดี ความสงบและความสขุ ให้แก่ประชากรของโลกตอ่ ไป






43

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว


ใน พ.ศ. 2533 สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.
ลาว) คนไทยท่ีพำนักอยู่ใน สปป. ลาวได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน

เป็นจำนวน 200,000 บาท เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
จึงพระราชทานเงินกลับคืนให้ สปป. ลาว โดยสนับสนุนการช่วยเหลือ


เด็กกำพร้าในแขวงเวียงจันทน์ เงินพระราชทานดังกล่าวได้นำมาใช้ในการ
สร้างหอพักให้แก่เด็กกำพร้าท่ีโรงเรียนวัฒนธรรมหลัก 67 ต่อมาได้
พระราชทานโครงการเกษตรเพอ่ื อาหารกลางวนั ใหแ้ ก่โรงเรยี น นำมาประยุกต์
ใช้เพื่อพัฒนาโภชนาการของเด็กกำพร้าให้ดีขึ้น โครงการร่วมมือดังกล่าวเปิด
โอกาสให้ประชาชนในราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เป็นการสร้างสัมพันธไมตรี
ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งข้ึน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือน สปป. ลาวทุกปี เพ่ือทรง
ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และพระราชทานเครื่องมืออุปกรณ์

พันธ์ุพืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนการสนับสนุนระบบน้ำด่ืมน้ำใช้ นอกจากน้ี
สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี มพี ระราชดำริให้จดั การ
ฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ครูในหลายๆ เรื่อง เช่น งานอนามัย
สว่ นบุคคล การเฝา้ ระวังทางโภชนาการ สขุ าภิบาลอาหาร เป็นตน้ เมือ่ ภาวะ
โภชนาการของเด็กนักเรียนดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-
ราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการเสริมทักษะด้าน
การฝึกอาชีพ และด้านเทคโนโลยีการศึกษา ปัจจุบันโรงเรียนแห่งน้ีเป็น


ต้นแบบและมีชื่อเสียงเป็นท่ีรู้จักว่ามีผลการเรียนในขั้นดีมาก เป็นท่ีศึกษา

ดูงานของโรงเรยี นอนื่ ๆ รวมทั้งหนว่ ยงานต่างๆ ดว้ ย


16 ปตี ่อมา ความรว่ มมอื ดงั กลา่ วได้ขยายขอบเขตการส่งเสรมิ โภชนาการทด่ี ีและคณุ ภาพชีวิตทดี่ สี โู่ รงเรยี น
อีก 15 แห่ง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อย และโรงเรียนประถมศึกษาในแขวงเวียงจันทน์ คำม่วน


อุดมไชย หวั พัน เซกอง และอตั ตะปอื รวม 6 แขวง ครอบคลุมเด็ก 3,497 คน โครงการของสมเดจ็ พระเทพ-
รตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ชว่ ยใหโ้ รงเรยี นมีผลผลิตทางการเกษตรสำหรับนักเรียนและครู เพ่ือใชเ้ ตรียม
อาหารท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของเด็กดีขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมืออันดี
ระหว่างโรงเรยี น ชุมชน และองค์กรของรฐั อีกด้วย


44

สหภาพพมา่


ใน พ.ศ. 2538 สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(UNDP) และกระทรวงศึกษาธกิ ารของสหภาพพม่าได้กราบบงั คมทูล สมเดจ็
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงช่วยในเรื่องโครงการ
อาหารของโรงเรียนในสหภาพพม่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-
บรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการศึกษา


ดูงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ให้แก่ครูของสหภาพพม่า 8 คน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ครู พร้อมทั้งพระราชทานเมล็ดพันธ์ุ
เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมท่ีโรงเรียน แต่การดำเนินงานในช่วงนั้นได้ขาด
ความตอ่ เนือ่ ง จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. 2545 ความร่วมมือดังกล่าวจงึ ไดร้ บั การ
สานตอ่ จนถึงใน พ.ศ. 2547 ในช่วง 3 ปีน้มี โี รงเรยี นทง้ั หมด 46 โรงใน 13
ภาค/รัฐ ได้เข้าร่วมในโครงการ ครูและครูใหญ่ พร้อมท้ังเจ้าหน้าท่ีระดับ
บริหารของกระทรวงศึกษาธกิ ารสหภาพพมา่ จำนวน 59 คน ไดร้ ับการเสริม
สร้างศักยภาพท้ังในด้านการเกษตร โภชนาการ และการศึกษา เพื่อให้
สามารถถ่ายทอดให้แก่เด็กนักเรียนต่อไป ปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งได้มีการ
ปลูกพืชผักและผลไม้ เด็กนักเรียนได้รับความรู้และพัฒนาทักษะด้าน
การเกษตร และการปฏบิ ตั ิตนเพ่ือโภชนาการและสขุ ภาพท่ดี ี


เมื่อพายุไซโคลนนาร์กีสพัดเข้าถล่มในเขตตอนกลางและตอนใต

ของสหภาพพม่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้
พระราชทานความร่วมมือในการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนพม่า โดยจัดทำเป็นโครงการก่อสร้างโรงเรียนในพื้นที่ท่ีถูกพาย


ไซโคลนนาร์กีสพัดเข้าถล่มเม่ือต้นปี พ.ศ. 2552 ท่ีหมู่บ้านกะดงกะนิ เมือง

45


Click to View FlipBook Version