The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sudaporn.aeed, 2019-07-06 02:02:01

30yearsnutrition_thai

30yearsnutrition_thai

โบกาเลย์ ภาคอริ ะวดี ขอบเขตของโครงการมงุ่ เนน้ 3 เรอื่ ง คอื 1) กอ่ สรา้ ง
อาคารเรียนพร้อมท้ังเป็นที่หลบภัยหากมีพายุไซโคลนเกิดข้ึนในอนาคต


2) พัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมในชุมชนตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ 3) พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กโดยประยุกต์ใช


รูปแบบการพัฒนาเด็กตามรูปแบบในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-
บรมราชกุมารี ที่ไดด้ ำเนนิ การในประเทศไทยมานานเกอื บ 30 ปี


ขณะน้ีโครงการอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียน มีที่หลบภัย

ทจี่ ุคนได้ 500 คน พร้อมกันน้ีสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมให้แก่


คณะครูโรงเรียนมัธยมกะดงกะนิ และเจ้าหน้าท่ีจากฝ่ายการศึกษาของภาค
อิระวดี เพ่ือเตรียมความพร้อมและเพิ่มพูนศักยภาพในการดำเนินกิจกรรม

ทงั้ การเกษตร งานโภชนาการและสุขภาพอนามัย และการจดั การศึกษา การ
ดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะครอบคลุมเด็กนักเรียนท้ังระดับประถมศึกษา
และมธั ยมศึกษาทัง้ หมด 1,133 คนซงึ่ จะได้รับประโยชนจ์ ากโครงการนี้







46

ราชอาณาจกั รกมั พชู า


เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ
พระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายคร้ัง ทรงได้รับการต้อนรับ
อย่างอบอุ่นจากราษฎร จึงได้พระราชทานวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เป็น


ของขวัญท่ียั่งยืนแก่ประชาชนชาวกัมพูชา เพ่ือตอบแทนน้ำใจไมตรี รวมทั้ง
แสดงถึงความสัมพันธ์และความเป็นมิตรท่ีดีต่อกันของประชาชนท้ังสอง
ประเทศ เมอ่ื วันท่ี 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548


ความร่วมมือได้เริ่มข้ึนใน พ.ศ. 2544 ที่จังหวัดกำปงธม สมเด็จ


พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงสรา้ งวทิ ยาลยั กำปงเฌอเตยี ล
ให้แก่ประชาชนชาวกัมพูชา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลตั้งอยู่ท่ี ตำบลซ็อมโบร์
อำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา


เปิดสอนทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา เพื่อให้ชาวกัมพูชาได้พัฒนาทักษะ
จำเป็นในการประกอบอาชีพและเพ่ือสามารถศึกษาต่อขั้นสูงได้ นอกจากการ
จัดศึกษาดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ยังทรงเน้นเร่ืองสุขภาพอนามัยของนักเรียน ด้วยเหตุที่ว่าสำหรับนักเรียนน้ัน
ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชาติใด ถ้าโภชนาการดี จะทำให้สุขภาพอนามัยดี


สตปิ ญั ญาและการเรยี นของนักเรียนจะบงั เกดิ ผลดตี ามมาดว้ ย นอกจากน้กี าร
เรียนรู้เร่ืองสุขภาพอนามัยและโภชนาการ ยังนำไปสู่ความรู้ด้านสุขศึกษาและ
คหกรรมศาสตร์ โดยนักเรียนอาจนำความรู้ดังกล่าวไปประกอบอาหารหรือ
ขนมสำหรับขายนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวปราสาทซ็อมโบร์ ซ่ึงเป็นสถานที


ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งท่ีต้ังอยู่ใกล้โรงเรียน ก็จะเป็นทางช่วยเพ่ิมรายได้ให้แก่
นักเรียน ปจั จุบันมนี กั เรยี นทงั้ สายสามญั และสายอาชวี ศึกษาประมาณ 1,200
คน ในสายอาชีวศึกษามีท้ังสาขาวิชากสิกรรมและสาขาวิชาปศุสัตว์ และ
สาขาวชิ าไฟฟา้ และสาขาวิชาอเิ ล็กทรอนกิ ส์


ใน พ.ศ. 2549 สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานความร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชาและองค์การการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เพ่ือพัฒนา
คณุ ภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนใน 3 จังหวัด คอื กำปงจาม กำปงสะปือ
และเปรแวง โดยการนำโครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันมาทดลองนำร่อง
ในโรงเรียนประถมศึกษา 3 โรงในชนบทห่างไกลของท้ัง 3 จังหวัด การ
ดำเนินงานประกอบด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสานขนาดเล็ก ส่งเสริม
การผลิตอาหารและการบริโภคอาหารท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมท้ัง
อนามัยส่วนบุคคลและการสุขาภิบาล สนับสนุนการสร้างบ่อน้ำเพ่ือเพ่ิมแหล่ง
น้ำ ขณะนี้ทำให้เด็กนักเรียนมีน้ำสะอาดด่ืมและพัฒนาอนามัยส่วนบุคคลโดย
การลา้ งมือ การดำเนินงานโครงการครอบคลมุ เด็กนกั เรยี น 2,328 คน





47

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวยี ดนาม


ใน พ.ศ. 2549 สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นำโครงการนำร่องเพ่ือพัฒนา
คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ไปดำเนินการในโรงเรียนในสาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้เด็กและเยาวชนท่ีด้อยโอกาสใน
ประเทศเหล่าน้ีมคี วามเปน็ อยู่ทดี่ ขี น้ึ


การดำเนินงานเริ่มจากการอบรมครูท่ีมาจากโรงเรียนในโครงการเพ่ือ
ให้มีความรู้และทักษะด้านการเกษตร อาหารโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
เพื่อให้ครูสามารถนำความรู้และทักษะท่ีได้รับไปใช้ในการดำเนินโครงการใน
โรงเรยี นของตนเองโดยยดึ ต้นแบบ “เกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน” ของสมเดจ็
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี เปน็ หลัก เม่อื โรงเรยี นมผี ลผลิต
จากการเกษตรก็ทำให้โรงเรียนสามารถจัดบริการอาหารท่ีมีคุณค่าทาง
โภชนาการเพิ่มข้ึน โรงเรียนท่ีได้รับการสนับสนุนการสร้างโรงครัวใหม่ ทำให้
เด็กนักเรียนสามารถเตรียมอาหารในส่ิงแวดล้อมท่ีสะอาด ถูกหลักอนามัยได้
การดำเนนิ งานตามพระราชดำริ ก่อให้เกดิ การสร้างความสัมพนั ธ์ในพน้ื ที่ เมื่อ
คณะครูจัดประชุมเจ้าหน้าท่ีท้องถ่ิน ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชน เพื่อช้ีแจง
เก่ียวกับโครงการที่ได้รับพระราชทาน และจุดมุ่งหมายของพัฒนาความเป็น
อยู่ที่ดีของเด็กนักเรียน ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากพื้นท่ี ท้ังในรูปของทุน
ดำเนินการ ตลอดจนเทคนคิ ต่างๆ ขณะนโ้ี รงเรียนในโครงการสามารถพัฒนา
จนเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนใกล้เคียงมาศึกษาดูงานและนำไปใช้ในโรงเรียน
ของตนได


การดำเนินโครงการตามพระราชดำริของพระองค์ครอบคลุม


เดก็ นกั เรยี นถงึ 1,357 คน จากโรงเรยี นหา่ งไกล 3 แหง่ ทม่ี ลี กั ษณะภมู ศิ าสตร์
ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนของชนกลุ่มน้อย
โรงเรียนในทร่ี าบในเขตน้ำทว่ ม และโรงเรยี นในหมบู่ า้ นชายทะเล







48

มองโกเลีย


จากการท่ีประเทศมองโกเลียได้ให้องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสห-
ประชาชาติ หรอื ยนู ิเซฟ และโครงการอาหารโลก ทำการประเมนิ โครงการ
อาหารของมองโกเลีย คณะประเมินผลได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศ
มองโกเลียในการนำโครงการเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันของสมเด็จพระเทพ-
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไปประยุกต์ใช้ในประเทศมองโกเลีย

ดังน้ันในต้นปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี จึงทรงจัดการศึกษาดูงานโครงการอาหารกลางวันให้แก่คณะผู้แทน


จากมองโกเลีย โดยใน พ.ศ. 2550 คณะแรกนำโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศกึ ษาธิการ วฒั นธรรมและวิทยาศาสตร์ และตอ่ มาใน พ.ศ. 2552
คณะที่สองนำโดยนายอำเภออัลตันบูลัก ซึ่งเป็นสถานที่ที่รัฐบาลมองโกเลียได้
คดั เลือกเพือ่ ทดลองดำเนินโครงการดงั กลา่ ว


โครงการความร่วมมือ 5 ปี ได้เริ่มทดลองทำที่โรงเรียนอัลตันบูลัก
อำเภออัลตันบูลัก จังหวัดทูฟ โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือสร้างต้นแบบของ
โครงการอาหารโรงเรียนสำหรับท่ีจะนำไปขยายผลท่ัวประเทศ โดยประยุกต์
จากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของ

เด็กนักเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ท้ังในเร่ืองการผลิตอาหาร
โภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและการ


ดำรงชวี ติ รวมทั้งส่งเสริมการมสี ่วนรว่ มจากทกุ ภาคสว่ น ท้ังส่วนกลาง ส่วน

49

ท้องถิ่น และชุมชน ปัจจบุ ันโครงการครอบคลุมนักเรียน 464 คน ครู 30
คน และประชาชนในอำเภออัลตันบูลกั


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตาม
ความก้าวหน้าของการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างใกล้ชิด โดยได้เสด็จ
พระราชดำเนนิ ไปทรงเย่ียมโรงเรยี นอลั ตันบลู ัก อำเภออัลตนั บลู ักเป็นคร้งั แรก
เม่ือวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เพื่อสำรวจพื้นที่พร้อมทั้งพระราชทาน


คำแนะนำในการดำเนินโครงการ และจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตาม
ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการในอนาคตด้วย





50

ภูฏาน


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน
ความร่วมมือกับรัฐบาลภูฏาน ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร
ของภฏู านในด้านโครงการอาหารโรงเรยี น โดยใน พ.ศ. 2550 ทรงพระกรณุ า
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ให้กับคณะ
ทำงานโครงการอาหารโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการของภูฏาน เพ่ือให้
คณะทำงานได้เพ่ิมพูนความรู้และทักษะในเรื่องการเกษตรเพื่อผลิตอาหาร
สำหรับบริโภค การจัดการผลผลิตโดยอาศัยหลักการสหกรณ์ การจัดอาหาร
กลางวันท่ีมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและสะอาดปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาล
อาหาร การควบคุมคุณภาพของการจัดอาหารในโรงเรียน การประเมินภาวะ
โภชนาการของเด็กนักเรียน การแปรรูปและการถนอมอาหาร พร้อมทั้งได้มี
โอกาสแลกเปล่ียนประสบการณ์กับบุคลากรของไทย ในการจัดบริการอาหาร
กลางวนั และการสรา้ งความร่วมมือกับชุมชน เพอื่ ความยัง่ ยืนของโครงการ







51

พระเกียรตคิ ณุ ระดับนานาชาต





รางวัล
รามอน
áมกä«ä«
ด้านบรกิ ารสาธารณะ
พ.ศ.
2534


คำสดุดีพระเกยี รตคิ ณุ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรมราชกมุ ารี

ãนพธิ ีทลÙ เกล้าทลÙ กระหมอ่ ม¶วายรางวลั
รามอน
áมกä«ä«

31
สิงหาคม
พ.ศ.
2534

กรุงมะนลิ า
ประเทศ¿ลปิ ปน ส





สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์โดย
ท่ัวกัน ทรงสนพระราชหฤทัยในความเป็นไทย ทรงเป็นพลังแห่งการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ของชาติ ทรงส่งเสรมิ การพฒั นางานหตั ถกรรม โดยใหม้ ีการสบื ทอดภมู ิปญั ญาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง มีการฟื้นฟู
หนังตะลุง ซ่อมแซมวัดวาอารามท่ีสำคัญ รวมทั้งส่งเสริมศิลปะด้านดนตรีไทย ทรงเครื่องดนตรีไทยได้
หลายประเภท โปรดทรงระนาดเอก ทรงเด่ียวระนาด ซึ่งแต่เดิมมักเล่นเฉพาะผู้ชายเท่าน้ัน ทรงฟื้นฟู
ดนตรไี ทยใหก้ ลับมาได้รบั ความนิยมอกี คร้งั หน่ึง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาต้ังแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับ
ปริญญาเอกในสถาบันการศึกษาภายในประเทศ ทรงสนพระราชหฤทัยในเร่ืองต่างๆ อย่างกว้างขวาง
นบั แต่ภาษาของเอเชยี จนถึงเทคนิคและทฤษฎกี ารศึกษาสมัยใหม่ ใน พ.ศ. 2527 ทรงใช้เทคโนโลยกี าร
สำรวจระยะไกล ศึกษาสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ปัจจุบันทรงเป็นพระอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ที่
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า การโปรดเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นการนำ
ช่ือเสียงมาสู่ประเทศ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการเดินทาง นับเป็นหนังสือประเภท
ขายดีที่สดุ โดยรายได้จากการจำหนา่ ยไดน้ ำมาพระราชทานเป็นทุนการศกึ ษาแก่เด็กท่ีขาดแคลน

เหนือสิ่งอื่นใด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระเมตตาต่อเด็กไทย
มูลนิธิในพระราชูปถัมภ์ได้ช่วยเหลือเด็กกำพร้าและเด็กอนาถาให้ได้รับการดูแลและมีบ้านใหม่ เด็กล้ีภัย
จำนวนมากได้รับการดูแลจากสภากาชาดไทยในฐานะท่ีทรงเป็นองค์อุปนายิกา เด็กหูหนวกและตาบอด
ทั่วประเทศมีโอกาสได้รับการศึกษาในโรงเรียนพิเศษ และเด็กนับแสนคนในถ่ินทุรกันดารตามชายแดนได้
บริโภคอาหารกลางวันท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งยังได้เรียนรู้การพึ่งตนเองด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว
น้ำพระทัยอันแผ่ไพศาลนับว่าเป็นต้นแบบ ทำให้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

52

ตามพระราชอัธยาศัย ทำให้โครงการมีทุนและการบริหารจัดการท่ีดี ไม่เพียงแต่ทรงอุปถัมภ์เด็กๆ ที่อยู่
ห่างไกล แต่ทรงติดตามความก้าวหน้าของเขาอย่างใกล้ชิด ทรงเย่ียมและพระราชทานกำลังใจในทุก
แหง่ หนเปน็ ประจำ

การพระราชทานกำลังใจของพระองค์เป็นของขวัญล้ำค่าแก่คนไทย ทรงเป็นท่ีเทิดทูนในความ
ถ่อมพระองคแ์ ละความเรยี บงา่ ย ทรงงานหนักด้วยความเสียสละเพอ่ื บริการแก่สังคม มีพระราชอธั ยาศัย
ร่าเริง และทรงเป็นเจ้าฟ้าพระอารมณ์ดีที่คนไทยช่ืนชอบและยึดถือเป็นต้นแบบของความเป็นไทย ที่
สามารถกา้ วไปในโลกสมยั ใหม่อยา่ งม่ันใจ

ในการทูลเกล้าทลู กระหม่อมถวายรางวัล รามอน แมกไซไซ ดา้ นบริการสาธารณะ ประจำปี พ.ศ.
2534 แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะกรรมการเทิดพระเกียรติพระองค์
ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชกุมารีแห่งราชอาณาจักรไทยท่ีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการ
พัฒนาประเทศไทยใหเ้ จรญิ ร่งุ เรอื ง และทรงสรา้ งส่งิ ดๆี อนั เปน็ ทสี่ ุดของความเป็นไทยอยา่ งเปน็ รูปธรรม




53

โล่เกียรตยิ ศ
¼Ùน้ ำดีเด่น¼Ùอ้ ุทศิ ตนเพ่ือโครงการกำจัดโรคขาดสารäอโอดนี

อยา่ งยงั่ ยืนãนประเทศäทย


คำสดดุ ีพระเกียรติคุณโดย
สภานานาชาตเิ พ่อื การควบคมุ โรคขาดสารäอโอดนี

19
สิงหาคม
2547

กรงุ เทพมหานคร





ตลอดระยะเวลาที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารี ทรงเป็นผู้นำท่ีทรงอุทิศพระองค์ในการดำเนินงานโครงการฯ จนเป็นท่ีประจักษ์ชัด ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

1. ทรงอทุ ิศเวลาและพระกำลงั ในการควบคมุ โรคขาดสารไอโอดนี ของประเทศ
2. ทรงเป็นประธานคณะกรรมการโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติเม่ือ พ.ศ. 2534 ทำให้เกิดความ

ร่วมมือและความเชื่อมโยงของหลายหน่วยงานอย่างกว้างขวางในการแก้ปัญหาโรคขาดสาร
ไอโอดนี ในประเทศไทย
3. ทรงเปน็ ประธานในพิธีเปดิ การประชุมสัมมนาระดับชาติคร้ังท่ี 1 เร่อื งโรคขาดสารไอโอดีน เม่อื
เดือนมีนาคม 2535 ในหัวข้อ การควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย พระราชทาน
พระราชดำรัสเปิดการประชุม ความตอนหน่ึงทรงแสดงความห่วงใยว่า หากปัญหานี้ไม่ได้รับ
การแก้ไขอย่างถูกต้องโดยทันที คุณภาพชีวิตของคนไทยนับล้านจะเส่ือมลงจนเป็นอุปสรรคต่อ
การพฒั นาสังคมและเศรษฐกจิ รวมท้ังความมน่ั คงของประเทศ
4. ทรงเปน็ ประธานในพธิ เี ปดิ การประชมุ สมั มนาระดับชาตคิ รัง้ ที่ 2 เร่ืองโรคขาดสารไอโอดนี ใน
หัวข้อ มุ่งสู่การกำจัดโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย ทรงบรรยายเร่ือง หลักการและ
ประสบการณ์ในโครงการควบคมุ โรคขาดสารไอโอดีน

54

5. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่ เม่ือ พ.ศ. 2539 อันเป็นปีแห่งการรณรงค์ระดับ
ชาติเพ่ือกำจัดโรคขาดสารไอโอดีน เพ่ือเฉลิมพระเกียรติเน่ืองในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
พระราชทานเกลือไอโอดีนแก่ประชาชนจำนวนประมาณ 12 ล้านครอบครัวทั่วประเทศ เพ่ือ
รณรงค์การใช้เกลอื ไอโอดนี ในการประกอบอาหาร

6. เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเย่ียมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นประจำทุกปี เพ่ือประเมิน
ผลความกา้ วหนา้ และสถานภาพของโครงการ



ที่กล่าวมาน้ี แสดงถึงความโดดเด่นและความสำคัญของภาวะผู้นำในทิศทางอันถูกต้องของสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ท่ีสำคัญย่ิงคือ การท่ีทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ในการกำจัดโรคขาดสารไอโอดีน อันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความ
มั่นคง และการท่ที รงเข้าถงึ ประชาชนระดบั รากหญา้ ทำใหก้ ารควบคุมโรคขาดสารไอโอดนี ในประเทศไทย
ประสบความสำเร็จได้ถึงระดับนี้ ทรงเรียนรู้ประสบการณ์อันทรงคุณค่าเหล่าน้ีจากการสัมผัสปัญหาและ
สภาพชวี ิตจริงของประชาชนมาแต่ครัง้ ยงั ทรงพระเยาว์

สภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนจึงมีความยินดียิ่งในการทูลเกล้าทูลกระหม่อม
ถวายพระเกียรติ ในฐานะท่สี มเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงมบี ทบาทโดดเด่นใน
การกำจัดโรคขาดสารไอโอดนี อย่างย่ังยืนในประเทศไทย




55

ทตÙ พิเศÉของโครงการอาหารโลกáห่งสหประชาชาติ

ด้านโครงการอาหารโรงเรียน



การประชมุ คณะกรรมการโครงการอาหารโลก


11
ตุลาคม
พ.ศ.
2547



กรุงโรม
ประเทศอติ าล



ข้าพเจ้ามีความยินดีท่ีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับตำแหน่งทูต
พิเศษของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ ด้านโครงการอาหารโรงเรียน ความเชี่ยวชาญด้าน
โภชนาการและพระราชประวัตทิ ี่โดดเด่นเกยี่ วกับพระราชปณิธานด้านมนุษยธรรม ประดุจประทีปส่องทาง
ให้แกเ่ ด็กหวิ โหย 300 ลา้ นคนท่ัวโลก โดยที่ 100 ลา้ นคนไม่มโี อกาสเขา้ โรงเรียน

อาหารในโรงเรียนเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตของประเทศ ข้าพเจ้าสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นคุณค่าของการ
ศึกษาและโภชนาการที่ดขี องเดก็



¤Ó»ÃÒÈÃÑ¢ͧ¹ÒÂà¨Áʏ ÁÍÃÏ ÔÊ
¼ÙÍŒ ӹǡÒÃâ¤Ã§¡ÒÃÍÒËÒÃâÅ¡






56

ทตÙ สัน¶วäมตรี
áหง่ องคก ารศÖกÉา
วทิ ยาศาสตร


áละวฒั นธรรมáห่งสหประชาชาต
ิ (ยเÙ นสโก)
ดา้ นการเสริมสร้างศกั ยภาพ

ของเด็กชนกลมุ่ นอ้ ย
ด้วยการศÖกÉาáละการอนรุ ักÉม รดกทางวฒั นธรรม


24
มีนาคม
พ.ศ.
2548

กรุงเทพมหานคร





สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นทูตสันถวไมตรีพระองค์แรกจาก
ประเทศในอาเซียน ทรงมบี ทบาทสนบั สนนุ การสร้างศกั ยภาพใหแ้ ก่เด็กชนกลุ่มนอ้ ย ดว้ ยการใหก้ ารศึกษา
และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ จะมุ่งเน้นบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทูตสันถวไมตรี
จะแสวงหาโอกาสให้เด็กเหล่าน้ีได้เข้าเรียนอย่างเต็มที่ในระบบการศึกษาท่ีมีอยู่ รวมทั้งดูแลปัญหาทาง
วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย สุขภาพและโภชนาการ ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน และความยากจน
ทูตสันถวไมตรีจะสนับสนุนและส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในหมู่ชนกลุ่มน้อย
พระราชกรณียกิจในด้านนี้จะทำให้ม่ันใจได้ว่า ทุกเสียงจะได้รับการตอบรับ และเด็กทุกคนจะมีโอกาส
เข้าถึงและได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ พระราชกรณียกิจที่ทรงส่ังสมมาอย่างยาวนาน รวมทั้ง
พระราชูปถัมภ์อันทรงคุณค่า จะเป็นแรงผลักดันให้ความพยายามขององค์การยูเนสโกที่จะส่งเสริมการ
ศึกษาเพื่อปวงชนเป็นไปอยา่ งตอ่ เน่อื ง และบรรลุผลสมดงั เจตนารมณ์ที่ตงั้ ไว้




57

ปริÞÞาเอกกติ ติมศักดìิ
สาขา
Humane
Letters



คำสดุดีพระเกยี รตคิ ณุ โดย
มหาวทิ ยาลัยจอหนส
 Îอบกินส

26
พÄÉภาคม
พ.ศ.
2548

มหาวทิ ยาลัยจอหนส
 Îอบกินส
ประเทศสหรัฐอเมริกา




คำถามว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาแต่โบราณมีบทบาทหรือไม่ในโลกสมัยใหม่ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นคำตอบหนงึ่ ที่ดที ่ีสุด

ด้วยพระราชหฤทัยที่ผูกพันอย่างลึกซ้ึงกับผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ทรงอุทิศ
พระองค์ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ตามรอยเบ้ืองพระยุคลบาทพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยหู่ วั

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงต้ังพระราชหฤทัยท่ีจะช่วยเหลือชนบท
หา่ งไกลทวั่ ทุกถ่นิ มใิ ช่ประทับอยู่เพยี งในพระราชวงั หากแตป่ ระทบั ทา่ มกลางชาวเขาภาคเหนอื ชาวทะเล
เร่ร่อน ตลอดจนชาวมุสลิมในภาคใต้ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างเป็นระบบเพ่ือรณรงค์เร่ืองการ
ศึกษา โภชนาการ สาธารณสขุ สทิ ธิมนุษยชน และการพัฒนาเศรษฐกิจอยา่ งยั่งยืน

ในเวทีโลก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับเกียรติในฐานะที่ทรง
สนบั สนุนวัฒนธรรมดัง้ เดิม ชนกลมุ่ น้อย และชาวชนบทยากไร้ที่ขาดการเหลยี วแล




58

รางวัลอนิ ทิรา
คานท
ี ดา้ นสันตภิ าพ
การลดอาวธุ áละการพัฒนา
พ.ศ.
2547


พิธีทลÙ เกล้าทลÙ กระหมอ่ ม¶วายรางวลั อนิ ทิรา
คานธ
ี ประจำป
ี พ.ศ.
2547

19
พÄศจิกายน
พ.ศ.
2548

กรงุ นวิ เดล
ี สาธารณรัฐอนิ เดยี


พวกเราในประเทศอนิ เดียต่างรู้จกั สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นอย่าง
ดี ทรงเปน็ ท่ีเคารพนบั ถอื อยา่ งสูงในประเทศของเราเช่นเดียวกบั ในประเทศของพระองค์ เรารู้จกั พระองค์
ในฐานะทรงเป็นนกั วชิ าการสนั สกฤตอย่างแท้จริง และในฐานะที่ทรงเปน็ พุทธศาสนิกทีเ่ คร่งครดั

แต่ทว่ามิได้ทรงเป็นเพียงทั้งหมดท่ีพรรณนามา ยังทรงเป็นที่รู้จักด้วยพระเกียรติคุณด้านอ่ืนๆ อีก
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพิสูจน์ให้เห็นว่า ทรงเป็นพลเมืองผู้ย่ิงใหญ่แห่งโลก พระราช-
กรณยี กจิ ดา้ นเดก็ และเยาวชน และด้านการอนุรักษ์สมบัตวิ ฒั นธรรมของประชาชนของพระองค์ แสดงให้
เราเหน็ อยู่เสมอมาว่า เราจะสามารถทำอะไรไดม้ าก หากมีแรงบันดาลใจใหท้ ำ สมเดจ็ พระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นท้ังตัวแทนผนู้ า่ ช่นื ชมแหง่ ประชาชนไทย และเป็นสญั ลกั ษณอ์ ันวิเศษ
แห่งประชาชาตทิ ี่ย่งิ ใหญ่



Ê¹Ø ·Ã¾¨¹¢ ͧ¹ÒÂÁÒ¹âÁÎѹ «§Ô ˏ

¹ÒÂ¡Ã°Ñ Á¹µÃÕá˧‹ ÊÒ¸ÒÃ³Ã°Ñ ÍÔ¹à´ÕÂ





59

รางวัลพเิ ศÉสมาพันธโภชนาการนานาชาติ

เพ่ือเทดิ พระเกียรติ¼ลงานดีเดน่


ãนการชว่ ยเหลือáละส่งเสรมิ โภชนาการของ¼ดÙ้ อ้ ยโอกาส

อันเปšนพนื้ ฐานของการพฒั นามนุÉย


2
ตลุ าคม
2552

กรุงเทพมหานคร


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นดวงประทีปให้แก่ชาวโลก ให้เห็น
กระบวนการที่ทำให้ประชาชนมีความม่ันคงทางโภชนาการอย่างทั่วถึง ตลอดระยะเวลา 30 ปีท่ีผ่านมา
ทรงอุทิศพระองค์เพ่ือพัฒนาโภชนาการและคุณภาพชีวิตของผู้ยากไร้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงพวกเด็กๆ ซ่ึง
เป็นอนาคตของชาติและของโลก

สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงใหเ้ ห็นวา่ การสร้างความมน่ั คงทาง
โภชนาการต้องข้ามพ้นกำแพงทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ ทรงเป็นผู้นำการบุกเบิกอย่างเป็น
ระบบ ในการนำอาหาร โภชนาการ และการศกึ ษา เข้าถึงประชาชน ซง่ึ มใิ ชค่ นสว่ นใหญ่ของสังคม แต่
เป็นผู้คนท่ีมักถูกละเลย พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเข้าถึง
เด็กและครอบครัวจำนวนนับไม่ถ้วนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ท่ีประชาชนถูกละเลยเนื่องจากความ
แตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา ทรงเอื้อมพระหัตถ์ข้ามพระราชอาณาจักร เพ่ือช่วยเหลือประชาชน
ผยู้ ากไรใ้ นประเทศเพอ่ื นบา้ นและประเทศท่อี ยูห่ า่ งออกไป ไดแ้ ก่ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว
ราชอาณาจักรกมั พูชา สาธารณรัฐสงั คมนยิ มเวยี ดนาม สหภาพพมา่ และมองโกเลีย

ทักษะความเชี่ยวชาญของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขยายขอบข่าย
ครอบคลุมการศึกษา โภชนาการ การสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจอย่าง
ยง่ั ยนื ในโลกปจั จบุ ันการบูรณาการความร้สู าขาต่างๆ มาประยกุ ต์ใช้เพือ่ การพฒั นาแบบองค์รวมเปน็ เรื่อง
ที่ไม่พบบ่อยนัก แต่สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็น
ไปได้ อนั นำไปสกู่ ารพัฒนาโภชนาการอย่างยั่งยนื

60

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นนักปฏิบัติท่ีทรงมุ่งผลสำเร็จ โดย
ทรงเชื่อม่ันว่า การเริ่มต้นเล็กๆ เรียนรู้จากความผิดพลาด และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าจะนำไป
สู่ความสำเรจ็ ทรงเป็นผ้ใู ฝเ่ รียนใฝร่ ู้ ทรงแสวงหาความรใู้ หม่ๆ นำมาประยกุ ตใ์ ช้อย่างเรยี บงา่ ย ประหยัด
และก่อใหเ้ กดิ ผลในการพฒั นาชีวิตความเป็นอยขู่ องเด็กๆ มารดา และครอบครวั ได้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมุ่งม่ันในการแก้ปัญหาหลายด้าน ทรง
เช่ือว่าการแก้ปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กต้องเริ่มให้เร็วที่สุด จึงทรงจัดให้มีโครงการอบรม
โภชนาการพื้นฐาน และสขุ วิทยา ให้แกเ่ ด็กหญงิ วัยรุน่ และหญงิ มีครรภ์ รวมท้ังหญงิ ทใ่ี ห้นมบตุ ร ทำให้เขา
เหล่านั้นสามารถเล้ียงลูกไดอ้ ย่างถูกต้อง และดแู ลด้านสุขภาพอนามยั ได้เมอ่ื จำเป็น

โครงการอาหารและโภชนาการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำไปสู่
การพัฒนาโภชนาการอย่างย่ังยืน การเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันทำให้เด็กๆ ได้เข้าร่วมในโครงการ ได้
เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง และได้ความรู้และทักษะ รวมท้ังได้ปรับเปล่ียนพฤติกรรมการบริโภคและ
สุขอนามัยส่วนบุคคล การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ทำให้เขาเหล่านั้นมีเครื่องมือท่ีทรงคุณค่าในการ
ดำรงชีวติ

แรงบันดาลพระราชหฤทัยท่ีทรงได้รับจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงเชื่อม่ันในการ
พัฒนาท้องถ่ินอย่างย่ังยืน ด้วยการเพ่ิมขีดความสามารถของประชาชนในด้านการเกษตรและการปศุสัตว์
เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตนเอง ทำให้มีอาหารท่ีมีคุณภาพสำหรับหญิงมีครรภ์ หญิง
ใหน้ มบตุ ร และเด็กๆ เกดิ ความม่นั คงทางอาหารและโภชนาการภายในครอบครัว

ในการพัฒนาโภชนาการ ทรงคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในพ้ืนที่ท่ีประชาชนมี
ขนบประเพณีทางศาสนาที่ต่างกัน มีความเช่ือทางวัฒนธรรมของตน และมีการแพทย์ดั้งเดิมของท้องถิ่น
ทรงใช้การวิจัยและพัฒนาเป็นเคร่ืองมือในการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถ่ินกับวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนา
พฤตกิ รรมดา้ นอาหารและโภชนาการ

สมาพันธ์โภชนาการนานาชาติรู้สึกเป็นเกียรติอย่างย่ิง ในการประกาศพระเกียรติคุณสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้เปี›ยมด้วยพระราชปณิธานอันมุ่งม่ัน และพระราช-
กรณยี กิจดา้ นโภชนาการอนั กอปรด้วยมนุษยธรรมใหป้ รากฏสืบไป






61

เอกสารอา้ งองิ


Institute of Nutrition. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn: Patroness of Rural and National
Development. 1991.

A speech by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. The 12th World Food Day at FAO Regional
Office for Asia and the Pacific, Bangkok, Thailand. (RAPA Publication 1992/18). 1992.

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Thai Rice. Ministry of Commerce. 1994.

A speech by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Seminar on ‘Protect the Children during
Economic Crisis’ at Bangkok, Thailand. 1999.

A speech by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. The First Symposium on Post-Primary
Refugee Education at Geneva, Switzerland. 2002.

Office of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects. Her Royal Highness Princess
Maha Chakri Sirindhorn’s Development Work in Remote Areas, 2nd ed. Bangkok, Amarin Printing and
Publishing. 2004.

Office of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects. Her Royal Highness Princess Maha
Chakri Sirindhorn’s Biography in Food and Nutrition. 2nd ed. Bangkok, Amarin Printing and Publishing.
2004.

Office of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects. Worksheets on Children and Youth
Development Project: Total Goiter Rate. Academic years 1993–2004.

A lecture by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Including the Excluded. Bangkok,
UNESCO Asia-Pacific Regional Bureau for Education. 2005.

Office of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects. Worksheets on Children and Youth
Development Project: School Agricultural Products. Academic year 2007.

Office of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Projects. The Fourth Children and Youth
Development Plan (2007–2016), initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.
Bangkok, Amarin Printing and Publishing. 2008.

International Telecommunication Union (ITU) TELECOM ASI 2008. Connect the World: Empowering
People using ICT. Ministry of Information and Communication Technology. 2008.

A lecture by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. The 5th UNCTAD XII Roundtable at
Accra, Ghana. Prigwan Graphic Co., Ltd. 2009.

พระราชดำรสั สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร.ี ในการอบรมครโู รงเรียนในโครงการเกษตรเพ่อื อาหาร

กลางวัน ณ จงั หวัดนราธวิ าส. พ.ศ. 2524.

พระราชดำรัส สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร.ี ในการสมั มนาโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และ

โครงการส่งเสริมคณุ ภาพการศึกษา ณ จงั หวัดสกลนคร. พ.ศ. 2527.

มณพี ลอยรอ้ ยแสง รวมพระราชนพิ นธใ์ นสมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ าร.ี กรุงเทพฯ : อักษรศาสตรบัณฑติ

รนุ่ ที่ 41 จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. พ.ศ. 2533.

สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. การพฒั นาเด็กและเยาวชนในถนิ่ ทรุ กนั ดาร. ในการสมั มนาความ

สมั พนั ธไ์ ทย-จนี “การพัฒนาพลงั แห่งเยาวชน : สร้างพ้นื ฐานคณุ ภาพชวี ติ รว่ มกันเพ่ืออนาคต”. ณ ธนาคารกสิกรไทย
กรงุ เทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพ์ ริน้ ตงิ้ แอนดพ์ บั ลชิ ชงิ่ จำกดั (มหาชน). พ.ศ. 2550.

62

กิตติกรรมประกาศ





คณะกรรมการจัดการประชุมโภชนาการนานาชาติ คร้ังท่ี 19 (19th
International Congress of Nutrition, ICN) ขอขอบคณุ คณะทำงานทีไ่ ด้
รวบรวมเนื้อหา จัดเตรียมต้นฉบับหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ
เน้ือหานิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพิเศษท่ีการประชุม
โภชนาการนานาชาติ ครง้ั ท่ี 19 จะไดจ้ ดั ขน้ึ ในประเทศไทย และขอขอบคุณ
กองงานในพระองค์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี และ
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้
เอื้อเฟือ้ เนือ้ หา ภาพประกอบ พร้อมคำแนะนำในการจดั ทำหนงั สอื และกรม
อนามยั กระทรวงสาธารณสุข ทไี่ ดส้ นับสนุนการจดั พมิ พห์ นังสอื นีด้ ้วย


คณะกรรมการจัดการประชุมโภชนาการนานาชาติ คร้ังท่ี 19 ขอ
ขอบคุณบริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ได้สร้างสรรค


ผลงานคุณภาพทง้ั ในการจดั รูปเลม่ หนงั สือ หนงั สืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ และการจดั
นิทรรศการ เพ่ือเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระราชกรณียกิจให้แผ่ไพศาล
สืบไป





คณะทำงาน


คณะทำงานจัดทำเนื้อหา “เสริมสร้างโภชนาการท่ีดี : พ้ืนฐานของ

การพัฒนา 30 ปี พระราชกรณียกิจการพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราช-

สุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี”


1. นพ. ณรงศกั ดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะทำงาน


2. ศ. เกยี รตคิ ณุ พญ. คณุ สาคร ธนมิตต ์ ผู้ทำงาน


3. รศ. ดร. คุณหญงิ สุมณฑา พรหมบญุ ผทู้ ำงาน


4. ว่าท่รี อ้ ยตรี กติ ติ ขันธมิตร ผทู้ ำงาน


5. พ.อ. หญิง ดร. นนั ทพร วรี วฒั น ์ ผทู้ ำงาน


6. นายอภิสิทธิ์ พ่ึงพร ผทู้ ำงาน


7. นพ. ณรงค์ สายวงศ ์ ผู้ทำงาน


8. ศ. เกยี รติคณุ ดร. สิรินทร์ พบิ ูลนิยม ผูท้ ำงานและเลขานกุ าร








63

เสรมิ สรา้ งโภชนาการทีด่ :ี พืน้ ฐานของการพัฒนา

30 ปี พระราชกรณียกิจการพัฒนา


สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมาร


ISBN: 978-974-235-202-8


พิมพค์ ร้ังท่ี 1 กันยายน 2552 3,000 เลม่


จดั พิมพโ์ ดย สมาคมโภชนาการแหง่ ประเทศไทยในพระราชปู ถัมภ์

สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี





พมิ พค์ รั้งที่ 2 พฤษภาคม 2553 5,000 เลม่


จัดพิมพ์โดย สำนักงานโครงการสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี

สวนจติ รลดา พระราชวงั ดุสิต กรุงเทพฯ 10303

โทรศัพท์ 0 2282 6511 โทรสาร 0 2281 3923





พมิ พ์ท่ี บริษทั อมรนิ ทรพ์ รนิ้ ตงิ้ แอนดพ์ ับลชิ ชง่ิ จำกัด (มหาชน)

65/16 ถนนชยั พฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรงุ เทพฯ 10170


โทรศัพท์ 0 2422 9000 โทรสาร 0 2433 2742, 0 2434 1385

e-mail: [email protected] Homepage: http://www.amarin.com














Click to View FlipBook Version