The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-01-19 03:11:37

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

เอกสารหมายเลข 8/2565 กลุ่มนโยบายและแผน ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม รายงานผลการด าเนินงาน ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


คำนำ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับนี้ ได้รวบรวมผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาตามแผนพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยแสดงให้เห็นภาพความสำเร็จและความก้าวหน้า ของการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของภารกิจ ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมรับผิดชอบ ซึ่งจะนำเสนอผลการดำเนินงานดังกล่าว จำแนก ตามประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ประเด็น ดังนี้ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รายงานผล การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ฉบับนี้ สำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการดำเนินงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และแนวทางในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาการศึกษาต่อไป กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ตุลาคม 2565


สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม 1 เป้าประสงค์รวม และประเด็นยุทธศาสตร์ 1 บทบาทและภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 4 โครงสร้างการบริหารงาน 5 ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบหน้าโครงการตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 10 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 23 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 31 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 47 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐาน 53 ของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สรุปผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนภูมิแสดงผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 56 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์ ภาคผนวก คำสั่งจังหวัดนครปฐม ที่ 2276/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะผู้จัดทำ


วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมร่วม เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษา


1 วิสัยทัศน์ นครแห่งการเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อาชีพ ใช้วิถีชีวิตพอเพียง พันธกิจ 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชากรทุกคนมีสิทธิและโอกาสเสมอกันทางการศึกษา โดยได้รับ การจัดการเรียนรู้ ตลอดชีวิตที่หลากหลายอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะ ในศตวรรษ ที่ 21 3. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการพัฒนา บุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ค่านิยมร่วม นครปฐม ปฐมนครแห่งความจงรักภักดี เป้าประสงค์ 1. ประชากรทุกคน ได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลาย อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และพัฒนาสู่อาชีพ 2. หน่วยงานทางการศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานสอดคล้องกับการ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ 4. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพชีวิต จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษา 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล


2 กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา 1.3 เสริมสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน 2.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การพัฒนาทักษะ วิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรม 2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ กลยุทธ์ 3.1 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความ เป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 3.3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) 3.4 พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3.5 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม 3.6 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็น อาชีพ และสร้างรายได้ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา กลยุทธ์ 4.1 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย 4.2 พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4.3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม


3 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์ 5.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดและฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพ เป็นปัจจุบันและทันต่อการใช้งาน 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 5.3 สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ 5.4 ส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดี สี่มุมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย


4 บทบาทและภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 161/4 ถนนเพชรเกษม ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมาย กำหนดการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย และให้มี อำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ 1. รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการ ที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามหน้าที่ กศจ. มอบหมาย 2. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ 3. สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 4. จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ 6. ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 7. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา 8. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการ หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 9. ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา 10. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน 11. ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติ ภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ ในจังหวัด


5 โครงสร้างการบริหารงาน ที่มา : หน้าเว็บไซต์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


ผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


6 งบหน้าโครงการตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท)/ แหล่งงบประมาณ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 1.1 พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดี ต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.1.1 โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคล บาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 160,000 สป.ศธ. ศธจ.นครปฐม 1.1.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบัน พระมหากษัตริย์ 273,262 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 1.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา 1.2.1 โครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 2,800 สอศ. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน -กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 879,290 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 1.3 เสริมสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามใน รูปแบบใหม่ 1.3.1 โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 120,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 1 1.3.2 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 71,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 2 1.3.3 โครงการจัดอบรมแกนนำต้านยาเสพติดประจำปีการศึกษา 2565 19,640 สอศ. วิทยาลัยการ อาชีพบางแก้วฟ้า 1.3.4 โครงการวัยใสใจสะอาด ปราศจากสิ่งเสพติดและอบายมุข 30,000 สอศ. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 1.3.5 โครงการตำรวจประสานโรงเรียน (1 โรงเรียน 1 ตำรวจ) - วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 1.3.6 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ 435,910 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 2.1 พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน 2.1.1 โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ The CEFR 29,120 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 1


7 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท)/ แหล่งงบประมาณ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ 2.1.2 โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 10,700 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 2 2.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพ และทักษะ การสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรม 2.2.1 โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 3,196,500 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 2.2.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ 440,430 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 2.2.3 โครงการภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ 123,275 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา - - - ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 3.1 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน 3.1.1 โครงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 568,820 ศทส. ศธจ.นครปฐม 3.1.2 โครงการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี่ การศึกษา 2564 394,020 ศทส. สพป.นครปฐม เขต 1 3.1.3 โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากการประเมินคุณภาพ ผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถ ด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) 19,750 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 2 3.1.4 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาวิชาการยกระดับ ผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอก ระบบโรงเรียน (N-NET) 206,220 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทาง วิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 3.2.1 โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของพนักงานราชการ 140,312 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 3.3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) 3.3.1 โครงการจิตอาสาและบริการวิชาชีพสู่ชุมชน 1,900 สอศ. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 3.3.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมเสริมสร้างความ สามารถพิเศษ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยกระบวนการ STEMศึกษา 186,330 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม


8 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท)/ แหล่งงบประมาณ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ 3.4 พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3.4.1 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 381,600 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 3.5 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม 3.5.1 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 241,600 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 3.5.2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน 645,420 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 3.6 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้ 3.6.1 โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปี การศึกษา 2565 ระดับจังหวัด 35,000 สอศ. วิทยาลัยการ อาชีพบางแก้วฟ้า 3.6.2 โครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้าง เพื่อชุมชน (Fix It Center) - วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 3.6.3 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ การเรียนรู้แบบโครงงาน 186,330 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 4.1 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย 4.1.1 โครงการประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียม กันจนจบการศึกษาภาคบังคับและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือมี ความรู้ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ 20,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 2 4.1.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมจัดการเรียนการสอน 12,311,874.18 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม 4.1.3 โครงการการพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการโดยศูนย์การศึกษา พิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม 52,600 สพฐ. ศกศ.1 จังหวัด นครปฐม 4.2 พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4.2.1 โครงการสร้างสรรค์ “วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ต้นแบบการ เสริมสร้างความปลอดภัยในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” กิจกรรม ทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 20,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 1 4.3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและ ทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม 4.3.1 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ - กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 84,640 กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม


9 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท)/ แหล่งงบประมาณ หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 5.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดและฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพเป็นปัจจุบันและทันต่อ การใช้งาน - - - 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลใน สถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต 100,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 2 5.3 สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ 5.3.1 โครงการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา 19,000 สพฐ. สพป.นครปฐม เขต 1 5.4 ส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง เพื่อ สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย - - - รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ จำนวน 21,407,343.18 บาท


10 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นคง โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง มีกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้าง ความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิด ที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และ (3) เสริมสร้างกลไกการ ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ค่าเป้าหมาย 100%) 1.1.1 โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม งบประมาณ 160,000 บาท งบประมาณจาก สป.ศธ. กิจกรรมหลัก 1. ค่ายการเรียนรู้ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ - บรรยาย โดยจิตอาสา 904 - กิจกรรมฐานการเรียนรู้ - ฝึกปฏิบัติ 4 ฐาน 2. พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ – รักษ์บ้านรักถิ่น) - บำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดสถานที่ราชการ วัด และชุมชน - ปลูกต้นไม้ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เชิงปริมาณ นักเรียน นักศึกษา วิทยากรและครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 750 คน เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ได้เรียนรู้พระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์จักรี มีเจตคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม สามารถวางแผนการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีงานทำ ได้เรียนรู้ถึงนวัตวิถีของท้องถิ่นและชุมชน มีจิตสำนึกรักและภูมิใจในท้องถิ่นชุมชน ของตนเอง


11 ผลการดำเนินงาน 1. ค่ายการเรียนรู้ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาเรียนรู้ พระราชกรณียกิจของพระราชจักรีวงศ์ ได้รับการส่งเสริมให้มีเจตคติ ที่ดีต่อบ้านเมือง มีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีพื้นฐานชีวิต ที่มั่นคงและมีคุณธรรม สามารถวางแผน การประกอบอาชีพเพื่อให้มีงานทำได้เรียนรู้ถึง นวัตวิธีของท้องถิ่นและชุมชน มีจิตสำนึกรักและภูมิใจในท้องถิ่น และชุมชนของตนเอง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 86.39 2. พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ – รักษ์บ้านรักถิ่น) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดี รวมไปถึงสร้างความสัมพันธ์ด้านสังคม และเป็น การขัดเกลาด้านจิตใจให้รู้คุณค่าของการแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้อื่น การมีจิตสาธารณะและใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 1.1.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 273,262 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ 2) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


12 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความ สามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความ สามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. นักศึกษา กศน. ได้รับการพัฒนา จำนวน 939 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความ สามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้นักศึกษา กศน. ทั้งในระดับประถมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 939 คน ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างความ จงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์ เสริมสร้างความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยและชาติไทย น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา รวมถึง แนวทางพระราชดำริต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเป็นพลเมืองดี ยอมรับและเคารพความแตกต่างในสังคม พหุวัฒนธรรม และความหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์ ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส


13 โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติ การประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคลจำนวนมาก กิจกรรมที่ต้องดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรม หรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วม กิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา (ค่าเป้าหมาย 90%) 1.2.1 โครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม งบประมาณ 2,800 บาท งบประมาณจาก สอศ. กิจกรรมหลัก ให้ความรู้ด้านวินัยจราจร การขับขี่ปลอดภัย การเลือกซื้อหมวกนิรภัย แก่นักเรียน/ นักศึกษาระดับ ปวช./ปวส. จำนวน 2,800 คน ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. เพื่อให้ความรู้เรื่องการใช้หมวกนิรภัย การเลือกซื้อหมวกนิรภัยให้มีความปลอดภัย 2. เพื่อรณรงค์เรื่องวินัยจราจร ป้ายบอก สัญลักษณ์เครื่องหมายจราจร 3. เพื่อให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัย ทั้งจักยานยนต์และรถยนต์ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ นักเรียน/ นักศึกษาระดับ ปวช./ปวส. จำนวน 2,800 คน ได้รับความรู้ด้านวินัยจราจร การขับขี่ ปลอดภัย การเลือกซื้อหมวกนิรภัย เชิงคุณภาพ นักเรียน/ นักศึกษา สามารถนำความรู้จากกิจกรรมที่จัดให้ไปใช้ได้จริง


14 ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 1.2.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 879,290 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) กิจกรรมจิตอาสา กศน. 3) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียน มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียน มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา 2. นักศึกษา กศน. ได้รับการพัฒนา จำนวน 4,831 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมจิตอาสา กศน. และกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้นักศึกษา กศน. ทั้งในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4,831 คน ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ส่งผลให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง และสามารถปรับใช้


15 ให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความรอบคอบ และระมัดระวัง รู้จักวางแผนอย่างมีสติ ภายใต้คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่หลง ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลาง ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการโครงการ/ กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไป ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคลจำนวนมาก กิจกรรม ที่ต้องดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรม หรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


16 กลยุทธ์ที่ 1.3 เสริมสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัย ทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ และโรคอุบัติใหม่ (ค่าเป้าหมาย 100%) 1.3.1 โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งบประมาณ 120,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. กิจกรรมสนับสนุนงบประมาณในการอบรมลูกเสือต้านภัยยาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา 2. สนับสนุนนักเรียนให้เข้าใจการนําทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดในชีวิตประจำวัน 3. การขับเคลื่อนการดำเนินการสถานศึกษาปลอดสารเสพติด เหล้าบุหรี่ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยา เสพติดและอบายมุข ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการใช้สื่อนิทานพัฒนาทักษะทางสมองในเด็กปฐมวัย (EF) 4. สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา และ 1 ตำรวจ 1 โรงเรียน ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output) 1) สถานศึกษาจัดค่ายลูกเสือต้านภัยยาเสพติดในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 19 โรงเรียน (อย่างน้อยโรงเรียนละ 8 - 10 คน) ผ่านการเข้าค่าย เป็นนักเรียนแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพในการเป็นผู้นำ ในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถขยายผลในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักเรียนแกนนำเข้ารับการอบรมค่ายทักษะชีวิต จำนวน 100 คน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีภูมิป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถขยายผลในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 3) สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งมีการรายงานข้อมูลในระบบ CATAS และระบบ Nispa 4) ครูและ บุคลากรทางการศึกษามีการขับเคลื่อนงานด้านยาเสพติด ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุข และการใช้สื่อนิทานพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย (Executive Function : EF) เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) 1) ลูกเสือต้านภัยยาเสพติดในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตัน (ม.1 - ม.3) ได้รับการขับเคลื่อน กิจกรรมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในและรอบสถานศึกษา โดยการจัดตั้งทีมสายตรวจในโรงเรียน ตรวจตรา/ สำรวจพื้นที่เสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน/รอบโรงเรียน สอดส่องดูแลพฤติกรรมเพื่อนนักเรียน แจ้งข้อมูล เบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติด รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และร่วมกันทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไข ปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม 2) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สอดรับกับทักษะ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21


17 3) สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง ได้รับการส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานศึกษา ปลอดยาเสพติด สารเสพติด เหล้า บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการใช้สื่อนิทานพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย (Executive Function : EF) อย่างเป็นรูปธรรม 4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด กำกับ ติดตาม การดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาขยายโอกาสในสังกัด จำนวน 19 โรงเรียน ในการจัดอบรมลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2565 โรงเรียนละ 5,000 บาท งบประมาณทั้งสิ้น 95,000 บาท เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรม ป้องกันแก้ไข ปลูกฝัง ความรู้ และการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากภัยยาเสพติด โดยมีจุดเน้นเนื้อหา “สังคมปลอดภัยจากยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายใหม่” มีการบูรณาการกับงานด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยกำหนดเป้าหมายให้โรงเรียน จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจสำหรับนักเรียน ชั้น ม.1 - ม.3 และให้คัดเลือกนักเรียน 8 - 10 คน เป็นนักเรียนแกนนำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา รวมทั้งเพิ่มศักยภาพ ในการเป็นผู้นำ ตลอดจนเน้นย้ำด้านความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษภัยของสารเสพติด เหล้า บุหรี่ โดยสอดแทรก ในระบบการจัดการ เรียนการสอนพร้อมทั้งงานที่เกี่ยวข้อง การใช้สื่อเสริมสร้าง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ยาเสพติด เช่น การใช้สื่อนิทานพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย (Executive Function : EF) สารเสพติด (เหล้า/บุหรี่) รวมทั้ง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกมิติซึ่งส่งผลให้ 1) นักเรียนชั้น ม.1 – ม.3 ผ่านการเข้าค่ายกิจกรรมลูกเสือแกนนำต่อต้านภัยยาเสพติดในสถานศึกษา ครบทั้ง 19 แห่ง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2) นักเรียนแกนนำเข้ารับการอบรมค่ายเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิต 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีองค์ความรู้และสามารถถ่ายทอดให้แก่นักเรียนโดยสอดแทรก ในระบบการจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้งงานที่เกี่ยวข้อง การใช้สื่อเสริมสร้าง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น การใช้สื่อนิทานพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย (Executive Function : EF) สารเสพติด (เหล้า/บุหรี่) 4) โรงเรียนจัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เช่น การรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด


18 ปัญหาอุปสรรค ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนิน กิจกรรมบางรายการ โดยเฉพาะข้อจำกัดการรวมกลุ่มนักเรียน หรือการเคลื่อนย้าย ข้อเสนอแนะ ขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มการให้ความรู้แก่ครูผู้สอนในช่วงชั้นปฐมวัย ให้ครูสามารถนำความรู้ ไปใช้ได้อย่างกว้างขวางตรงประเด็น 1.3.2 โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 งบประมาณ 71,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. การรณรงค์เรื่องยาเสพติดในสถานศึกษา และวันยาเสพติดโลก 2. กิจกรรมลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ - ร้อยละ 80ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีทักษะชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจและมีความพร้อม สามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง จากภัยยาเสพติด ความรุนแรง การคุกคาม ในชีวิตและทรัพย์สิน อาชญากรรมไซเบอร์ การค้ามนุษย์และภัยพิบัติต่าง ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับประโยชน์ นักเรียน ผู้บริหาร ครู ในสังกัดทุกคน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีทักษะชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจและมีความพร้อม สามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง จากภัยยาเสพติด ความรุนแรง การคุกคาม ในชีวิตและทรัพย์สิน อาชญากรรมไซเบอร์ การค้ามนุษย์และภัยพิบัติต่าง ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุขเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) เชิงคุณภาพ - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของภัย ยาเสพติด โดยการนำนโยบาย มาตรการแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. มาใช้ในการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาในสังกัด เพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสมผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการพัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอนและเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยให้เกิดความรู้ ความคิด และทักษะที่เหมาะสมในการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการใช้และการค้ายาเสพติด และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนให้เรียนรู้และยึดถือปฏิบัติในวิถีชีวิตในการป้องกันยาเสพติด ดังนี้ 1. จัดทำโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565


19 2. มอบนโยบายให้ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักให้ครูผู้สอน และนักเรียน ในการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในการ ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด 3. ดำเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ดังนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐมโครงการ TO BE NUMBER ONE ที่ทำการอำเภอนครชัยศรี การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอนครชัยศรี (ศป.ปส. อ.นครชัยศรี), การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์, ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม การขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ โครงการครู D.A.R.E , องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมการรณรงค์เรื่องยาเสพติดและวันยาเสพติดโลก 5. สนับสนุนโครงการ TO BE NUMBER ONE โดยมีโรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบมหามงคล 6. แจ้งและติดตามสถานศึกษาในสังกัดให้ดำเนินการ ดังนี้ 6.1 ให้นำเข้าข้อมูลกำลังพล ประจำปี 2565 6.2 ให้นำเข้าข้อมูลผ่านระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา (CATAS System) 6.3 ให้รายงานผลการดําเนินงานดานยาเสพติดในสถานศึกษา ป 2565 เขาสู่ระบบสารสนเทศ ยาเสพติดจังหวัด (NISPA) ปัญหาอุปสรรค 1. สภาพครอบครัว ชุมชน สังคมที่มีความหลากหลายของผู้ปกครองในการช่วยเหลือดูแลบุตรหลาน ให้ห่างไกลจากยาเสพติด 2. การสำรวจข้อมูลนักเรียนเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อการแก้ปัญหาและเฝ้าระวังยังต้อง คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ - 1.3.3 โครงการจัดอบรมแกนนำต้านยาเสพติด ประจำปีการศึกษา 2565 หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) งบประมาณ 19,640 บาท งบประมาณจาก สอศ. กิจกรรมหลัก 1. ให้นักเรียน นักศึกษาทุกแผนก ได้ตระหนักถึงโทษในการใช้สารเสพติด 2. ให้ได้กลุ่มนักเรียน นักศึกษาแกนนำแผนกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น


20 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ - มีนักเรียน นักศึกษากลุ่มแกนนำ ทุกแผนกทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 80 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - มีนักเรียน นักศึกษากลุ่มแกนนำ ทุกแผนกทั้งหมด 95 คน เชิงคุณภาพ 2.1 นักเรียน นักศึกษา ลดละเลิกสารเสพติด 2.2 นักเรียนนักศึกษากลุ่มแกนนำรู้โทษภัยของยาเสพติดมากขึ้น ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 1.3.4 โครงการวัยใสใจสะอาด ปราศจากสิ่งเสพติดและอบายมุข หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม งบประมาณ 30,000 บาท งบประมาณจาก สอศ. กิจกรรมหลัก จัดอบรมนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้เรื่องสิ่งเสพติดและอบายมุข ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. นักเรียน นักศึกษา มีทักษะในการใช้ชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2. นักเรียน นักศึกษาได้มีความรู้และตระหนักถึงโทษภัยของสิ่งเสพติดทุกประเภท 3. นักเรียน นักศึกษา รู้จักวิธีการปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งเสพติดทุกประเภท ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - นักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยฯ ทุกชั้น ทุกแผนก เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 70 เชิงคุณภาพ - นักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยฯ เป็นผู้ปลอดจากสิ่งเสพติดทุกประเภท ละเว้นอบายมุข ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ -


21 1.3.5 โครงการตำรวจประสานโรงเรียน (1 โรงเรียน 1 ตำรวจ) หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม งบประมาณ - บาท กิจกรรมหลัก กิจกรรมการเรียนรู้แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและอบายมุข ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ๑. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมสามารถแก้ปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและอบายมุขต่าง ๆ ภายใน วิทยาลัยฯ ได้ 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการของโครงการภายในวิทยาลัยฯให้เป็นโรงเรียนสีขาวปลอดยา เสพติด ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมเข้าร่วมโครงการ จำนวน 400 คน เชิงคุณภาพ - นักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยฯ เป็นผู้ปลอดจากสิ่งเสพติดทุกประเภท ละเว้นอบายมุข ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 1.3.6 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 435,910 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 2) กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม เสริมสร้างกลไกการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม เสริมสร้างกลไกการป้องกันแก้ไข ปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ 2. นักศึกษา กศน. ได้รับการพัฒนา จำนวน 2,263 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต และกิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพส่งผลให้นักศึกษา กศน. ทั้งในระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2,263 คน ได้รับการ เสริมสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคาม


22 ในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้ผู้เรียนคำนึงถึงความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับผลกระทบ หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อาทิ การงาน การเงิน หรือแม้แต่ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เป็นต้น ปัญหา อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการ โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคลจำนวนมาก กิจกรรมที่ต้องดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรมหรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วม กิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


23 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อรองรับการแข่งขัน โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน มีกลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน (2) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพ และทักษะ การสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรม และ (3) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง องค์ความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน ตัวชี้วัดที่ : 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ค่าเป้าหมาย 80%) 2.1.1 โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ The CEFR หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งบประมาณ 29,120 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. พัฒนาครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามกรอบของ The CEFR ได้ 2. นิเทศ กำกับ ติดตามและช่วยเหลือโรงเรียนในสังกัดให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามกรอบของ The CEFR 1 โรงเรียน ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เชิงปริมาณ 1. ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนการรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR ได้ 2. ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 109 คนคิดเป็นร้อยละ 90 สามารถออกแบบการจัดการเรียนการรู้ ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR ได้ 3. สถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR ของสถานศึกษาในสังกัด เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีความรู้ความเข้าใจ และจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ครู จำนวน 121 คน ได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการรู้ภาษาอังกฤษ ตามกรอบของ The CEFR ได้


24 2. ครู จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 90 สามารถออกแบบการจัดการเรียนการรู้ภาษาอังกฤษ ตามกรอบของ The CEFR ได้ 3. สถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบของ The CEFR ของสถานศึกษาในสังกัด เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีความรู้ความเข้าใจ และจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามกรอบ ของ The CEFR ปัญหาอุปสรรค สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) จึงทำให้นักเรียนเกิดภาวะ การเรียนรู้ถดถอย (Learning loss) ทำให้การดำเนินการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ The CEFR เป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากครูต้องกลับไปทบทวนบทเรียนเดิมให้นักเรียน ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เกิดการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัย 2.1.2 โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 งบประมาณ 10,700 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. สมัครผู้เข้าสอบคัดเลือก 2. ประชุมคณะกรรมการจัดสอบ/จัดเตรียมสถานที่ที่ดำเนินการสอบ 3. ดำเนินการสอบคัดเลือก


25 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. ร้อยละ 98 ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะความคิดทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2. ผู้เรียนทุกคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะความคิดทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 98 ของนักเรียนที่สมัครสอบคัดเลือกฯ ได้รับการพัฒนาทักษะความคิดทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2. ผู้เรียนทุกคนที่สมัครสอบคัดเลือกฯ ได้รับการพัฒนาทักษะความคิดทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เชิงคุณภาพ - ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่สมัครสอบ คัดเลือกโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 (รอบแรก) ในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2565 ระหว่างเวลา 09.30 – 15.30 น. ณ โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบมหามงคล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีผู้สมัครเข้าสอบ ดังนี้ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ประถมศึกษา จำนวน 93 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 33 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 58 คน โดยมีนักเรียนสอบผ่านและได้ไปสอบคัดเลือก รอบที่ 2 ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ณ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 28 คน ดังนี้ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 8 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 คน โดยยึดแนวปฏิบัติตามมาตรการการ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีทัศนคติเชิงบวก เกิดทักษะกระบวนการคิด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การ พัฒนาทักษะวิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรม ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศ ตามความถนัดและความสนใจ มีทักษะการดำรงชีวิต และนำไปสู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพ (ค่าเป้าหมาย 80%)


26 2.2.1 โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 3,196,500 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรม 1 อำเภอ 1 อาชีพ 2) กิจกรรมพัฒนาอาชีพระยะสั้น (กลุ่มสนใจไม่เกิน 30 ชม.) 3) กิจกรรมชั้นเรียนวิชาชีพ (31 ชม.ขึ้นไป) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ มีทักษะการดำรงชีวิต และนำไปสู่การพัฒนา ทักษะวิชาชีพ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ มีทักษะการดำรงชีวิต และนำไปสู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพ 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 3,963 คน เชิงคุณภาพ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดอบรมอาชีพ ระยะสั้น ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป จำนวน 3,963 คน ได้รับการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน และความต้องการของตลาด ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง หรือการบริการ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะของผู้เรียนโดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพและภูมิสังคมเฉพาะของพื้นที่ รวมถึงมุ่งเน้นสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงง าน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการบริการ


27 ปัญหาอุปสรรค 1. จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเข้ารับการฝึกวิชาชีพ เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดกลุ่ม ผู้เรียน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว 2. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพบางส่วน ให้ความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมเพียงแค่ต้องการสร้างโอกาสในการ เรียนรู้ แต่ยังไม่นำไปสู่การประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพ หรือต่อยอดอาชีพ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3. ผู้เข้ารับการอบรมมีช่วงอายุที่แตกต่างกัน มีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กระบวนในการจัดการเรียนรู้ต้องใช้เวลามากกว่าที่กำหนด 4. จากสถานการณ์สภาพแวดล้อม และสังคมในปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนโครงการ/ กิจกรรม ให้มีเหมาะสมกับต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 5. จากการปรับเปลี่ยนนโยบาย ทำให้ภารกิจงานของครูกศน. เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การดำเนินการจัด กิจกรรมการศึกษาในด้านต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ และมีการเบิกจ่ายล่าช้าไม่เป็นไปตาม ไตรมาส ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจน เทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการวัดประเมินผลของวิทยากร 2. ครูผู้รับผิดชอบและวิทยากรผู้ให้ความรู้ต้องวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. จัดกิจกรรมนอกวัน และเวลาราชการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ 4. การให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติต้องจัดตามความสามารถ และศักยภาพที่เหมาะสมในการ เรียนรู้ของผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของสถานศึกษามีการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเป็นนักคิดและเป็น ผู้สร้างนวัตกรรม (ค่าเป้าหมาย 80%) 2.2.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ งบประมาณ 440,430 บาท งบประมาณสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้สู่ประชาคมโลก 2) กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม ผู้เรียนเป็นนักคิดและเป็นผู้สร้างนวัตกรรม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม ผู้เรียนเป็นนักคิดและเป็นผู้สร้างนวัตกรรม 2. นักศึกษา กศน. ได้รับการพัฒนา จำนวน 1,890 คน


28 เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้สู่ประชาคมโลก และกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ ส่งผลให้นักศึกษา กศน. ทั้งในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,890 คน ได้รับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะเพื่อรองรับการแข่งขัน การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหา อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการ โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคล จำนวนมาก กิจกรรมที่ต้องดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรม หรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


29 ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารภาษา ต่างประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขัน (ค่าเป้าหมาย 100%) 2.2.3 โครงการภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 123,275 บาท กิจกรรมหลัก ฝึกอบรมประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ความรู้ มีเจตคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ในสังคมปัจจุบัน โดยสนับสนุน ส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขัน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดการศึกษาที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขัน 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 105 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดอบรมประชาชนตามโครงการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2565 ให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมตามโครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตประจำวันได้


30 ปัญหา อุปสรรค 1. ระยะเวลาในการจัดตามหลักสูตรยาวนานเกินไป 2. การจัดกิจกรรมอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) จึงต้องปฏิบัติตน ตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการฝึกสนทนา ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน และไม่สามารถไปฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงในชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และไม่สามารถไปฝึกพูดกับชาวต่างชาตินอกสถานที่ฝึกอบรมได้ ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


31 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของผู้เรียน (2) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความ เป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย (3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้ แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) (4) พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล (5) เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพและสร้างรายได้ กลยุทธ์ที่ 3.1 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา 3.1.1 โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 งบประมาณ 19,750 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. การบริหารการจัดสอบทั้งระบบ 2. การจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา 3. จัดทำสารสนเทศรายงานผลการการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1.ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการไม่ น้อยกว่าร้อยละ 5 2.ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการประเมินคุณภาพผู้เรียน 3.สพป.นครปฐม เขต 2 มีสารสนเทศเพื่อใช้วางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 2. ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนได้รับการประเมินคุณภาพผู้เรียน 3. มีข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้วางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


32 เชิงคุณภาพ 1. ดำเนินการจัดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 10 มีนาคม 2565 และดำเนินการจัดการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ในวันที่ 18 มีนาคม 2565 ตามสนามสอบที่กำหนดโดยผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 ดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านความสามารถ ด้านการอ่าน มีพัฒนาการสูงขึ้น จากปีการศึกษา ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.78 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านความสามารถ ด้านคณิตศาสตร์ และความสามารถด้านภาษาไทย มีพัฒนาการสูงขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ร้อยละ 14.20 2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยวิเคราะห์ผลความสามารถด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และวิเคราะห์ผล ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ และความสามารถด้านภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อจัดทำสารสนเทศ คุณภาพการจัดการศึกษาที่สามารถสะท้อนถึงคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในปีการศึกษา 2565 3. โรงเรียนในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 ได้รับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านความสามารถ ด้านภาษาไทย และความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายชุมชนวิชาชีพแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเครือข่าย 4. จัดทำสารสนเทศรายงานผลการทดสอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 3 และอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๕๐ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทุกรายวิชา ทุกชั้นที่สอบ 3.1.2 โครงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม งบประมาณ 568,820 บาท งบประมาณจาก ศทส. กิจกรรมหลัก 1) ประชุมปฏิบัติการจัดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2564


33 2) ประชุมปฏิบัติการจัดระบบและจ่ายแบบทดสอบ –กระดาษคำตอบเอกสารและอุปกรณ์การสอบ O-NET ให้สนามสอบ 3) สนามสอบดำเนินการจัดสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประชุมปฏิบัติการรับและตรวจสอบความถูกต้องของกระดาษคำตอบ เอกสารการจัดสอบและ เอกสารการเงิน 5) ประชุมปฏิบัติการจัดทำสารสนเทศผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2564 6) ประชุมปฏิบัติการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพศึกษา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สังกัด สช. และ อปท. ในจังหวัดนครปฐมได้รับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. เอกสารสารสนเทศผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ฉบับ 3. ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 70 คน เข้ารับการประชุมปฏิบัติการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สังกัด สช. และ อปท. ในจังหวัดนครปฐมได้รับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. เอกสารสารสนเทศผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 1 ฉบับ 3. ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 415 คน เข้ารับการประชุมปฏิบัติการ เชิงคุณภาพ 1. สถานศึกษานำสารสนเทศผลการทดสอบ O-NET ไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 2. ครูนำสารสนเทศผลการทดสอบ O-NET ไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ปัญหา อุปสรรค 1. การจัดสอบ O-NET มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และต่างสังกัด อาจทำให้ การประสานงานและการสื่อสาร ไม่ครอบคลุมชัดเจนอันส่งผลต่อการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย


34 2. เงื่อนเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมและการใช้งบประมาณจำกัดเพียงแค่ 1 เดือน การดำเนินการจึงเร่งรีบ และขาดการตรวจสอบความถูกต้องที่รัดกุม ข้อเสนอแนะ 1. ใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ได้แก่ จดหมาย กลุ่มไลน์ โทรศัพท์ ประชุมฯลฯ 2. กระจาย มอบหมายงานให้กับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ รับผิดชอบ 3.1.3 โครงการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี่การศึกษา 2564 หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งบประมาณ 394,020 บาท งบประมาณจาก ศทส. กิจกรรมหลัก จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปที่ 6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ปการศึกษา 2564 และจัดทำสารสนเทศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ปการศึกษา 2564 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เปาหมายเชิงผลผลิต (Output) เชิงปริมาณ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ทุกคนในศูนยสอบที่สมัครใจ ไดรับการ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปการศึกษา 2564 2. รอยละของผูเรียนในสังกัดที่มีผลคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ( O-NET) ในแตละ วิชาเพิ่มขึ้นจากปการศึกษาที่ผานมา เชิงคุณภาพ 1. ทุกสนามสอบดําเนินการจัดสอบอยางมีมาตรฐานเปนไปตามแนวดําเนินการจัดสอบของสถาบันทดสอบ ทางการศึกษาแหงชาติ (องคกรมหาชน) 2. ผูบริหาร ครูผูสอนมีขอมูลสารสนเทศในการกําหนดนโยบายการพัฒนาการเรียนการสอน การวัด ประเมินผลตรงตามตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน เปาหมายเชิงผลลัพธ(Outcome) 1. ผูเรียนในสังกัดมีผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ( O-NET) สูงกวารอยละ 40 2. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีขอมูลสารสนเทศในการวางแผนปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพผูเรียน เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 ผลการดำเนินงาน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ดังตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี 2564 กับระดับประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


35 นฐ.1 สพฐ ประเทศ สรุปผล ภาษาไทย 51.46 52.13 51.19 สูงกว่าประเทศ ต่ำกว่า สพฐ. คณิตศาสตร์ 21.26 24.75 24.47 ต่ำกว่าประเทศ และ สพฐ. วิทยาศาสตร์ 30.07 31.67 31.45 ต่ำกว่าประเทศ และ สพฐ. ภาษาอังกฤษ 26.15 30.79 31.11 ต่ำกว่าประเทศ และ สพฐ. รวมเฉลี่ย 32.24 34.84 34.56 ต่ำกว่าประเทศ และ สพฐ. ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากการแพรระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สงผลใหโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ไม่สามารถเรียน On-site โดยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียน การสอนแบบ On - line On - Air On-hand แทน ซึ่งอาจจะสงผลตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไมเปนไปตาม คาเปาหมาย ข้อเสนอแนะ - ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนการศึกษานอกระบบมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา 3.1.4 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาวิชาการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบ โรงเรียน (N-NET) หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 206,220 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก พัฒนาวิชาการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)


36 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ : ผู้เรียนการศึกษานอกระบบมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) เพิ่มขึ้นจากปี การศึกษาที่ผ่านมา ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม จัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน 2. ผู้เรียนการศึกษานอกระบบมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย มีผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านกิจกรรมพัฒนาวิชาการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบ โรงเรียน (N-NET) ส่งผลให้นักศึกษา กศน. มีคะแนนเฉลี่ยทั้งในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - กลยุทธ์ที่ 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มี ความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.2.1 โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 140,312 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก ดำเนินโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากร ทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทาง วิชาการด้วยรูปแบบที่หลากหลาย


37 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากร ทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 2. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 160 คน เชิงคุณภาพ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ไดเสริมสร้างความรู ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ให้เป็นผู้มีศักยภาพและขีดความสามารถที่เพียงพอ และเหมาะสมในการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ที่ไดรับมอบหมาย และสามารถนำความรูที่ไดรับไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อราชการตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตลอดจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กร และเพื่อนร่วมงาน มีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อย่างสร้างสรร มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - กลยุทธ์ที่ 3.3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.3.1 โครงการจิตอาสาและบริการวิชาชีพสู่ชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม งบประมาณ 1,900 บาท งบประมาณจาก สอศ. กิจกรรมหลัก - ฝึกทักษะวิชาชีพการโรงแรมให้กับชุมชน - เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน และการบริการให้กับสังคมและชุมชน - สร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนการโรงแรมในการฝึกทักษะอาชีพด้านการบริการ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. เพื่อฝึกทักษะวิชาชีพการโรงแรมให้กับชุมชน 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน และการบริการให้กับสังคมและชุมชน 3. เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนการโรงแรมในการฝึกทักษะอาชีพด้านการบริการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ -ครูสาขาวิชาการโรงแรมให้บริการวิชาการและวิชาชีพจำนวน 5 คน - นักเรียน นักศึกษาร่วมกิจกรรมจำนวนร้อยละ 60


38 เชิงคุณภาพ - นักเรียน นักศึกษา ครู สาขาวิชาการโรงแรม มีจิตอาสาและบริการวิชาชีพได้ - นักเรียน นักศึกษา ครู สาขาวิชาการโรงแรม ได้มีส่วนรวมกับชุมชน องค์กร ท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 3.3.2 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการ STEM ศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 186,330 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก เสริมสร้างความสามารถพิเศษ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการ STEMศึกษา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ 2. นักศึกษา กศน. ได้รับการพัฒนา จำนวน 420 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้าน กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการ STEM ศึกษา ส่งผลให้นักศึกษา กศน. ทั้งในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 420 คน ได้รับการ พัฒนาสมรรถนะและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ปัญหา อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติ การประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้


39 โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคลจำนวนมาก กิจกรรมที่ต้องดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรม หรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก กลยุทธ์ที่ 3.4 พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.4.1 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 381,600 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก จัดอบรมเพื่อขยายผลการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ชุมชนในระดับตำบล หลักสูตร Digital Literacy การใช้งานโปรแกรมสำนักงานเพื่อการมีงานทำ และหลักสูตรการค้าออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดเชื่อมโยง จาก Online และ Office ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ : ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1.1 ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 1.2 ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 1,590 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมศูนย์ดิจิทัลชุมชน ให้แก่ กลุ่มเป้าหมายแรงงานนอกระบบ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาตามหลักสูตร Digital Literacy การใช้งาน โปรแกรมสำนักงานเพื่อการมีงานทำ และหลักสูตรการค้าออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดเชื่อมโยงจาก Online และ Office เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิต ทั้งด้านการเรียนรู้ การประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ


40 ปัญหา อุปสรรค 1. ผู้เข้ารับการอบรมของโครงการมีพื้นฐานและความสามารถในการเรียนรู้ระบบดิจิทัล ไม่เท่ากัน จึงทำให้ การฝึกอบรมบางขั้นตอนต้องใช้เวลามาก ทำให้ต้องทบทวนและอธิบายอย่างละเอียดเป็นรายบุคคล 2. อุปกรณ์ เครื่องมือ ไม่ทันสมัย ไม่เพียงพอ ไม่สะดวกต่อการฝึกอบรม 3. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะ เทคนิค ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ /Smart phone ไม่เท่ากัน 4. ระบบ Internet สัญญาณ WIFI ไม่เสถียร และไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานพร้อม ๆ กัน ข้อเสนอแนะ - กลยุทธ์ที่ 3.5 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดที่ 1 หน่วยงานทางการศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้าง จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.5.1 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ - กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. นครปฐม งบประมาณ 241,600 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก จัดกิจกรรมในรูปแบบการฝึกอบรมประชาชน ที่นำกรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่ประชาชนในทุกระดับ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ส่งเสริม สนับสนุน และจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ส่งเสริม สนับสนุน และจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 822 คน


41 เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ให้ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถพึ่งพาตนเอง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ ปัญหา อุปสรรค 1. จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเข้ารับการฝึกวิชาชีพ เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดกลุ่ม ผู้เรียนไม่สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีช่วงอายุที่แตกต่างกัน มีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กระบวนในการจัดการเรียนรู้ต้องใช้เวลามากกว่าที่กำหนด 3. จากสถานการณ์สภาพแวดล้อม และสังคมในปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนโครงการ/ กิจกรรม ให้มีเหมาะสมกับต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนเทคนิค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการวัดประเมินผลของวิทยากร 2. ครูผู้รับผิดชอบและวิทยากรผู้ให้ความรู้ต้องวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. จัดกิจกรรมนอกวัน และเวลาราชการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ 4. การให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติต้องจัดตามความสามารถ และศักยภาพที่เหมาะสมในการเรียนรู้ ของผู้เรียน


42 ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของสถานศึกษาทุกแห่งมีโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.5.2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 645,420 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก จัดกิจกรรมอบรมประชาชน ด้วยกระบวนการให้ประชาชนรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างกระบวนการจิตสาธารณะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัด นครปฐม มีโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม มีโครงการ/กิจกรรมแก้ไข ปัญหาขยะมูลฝอย 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 598 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม และชุมชนให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ให้ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาด้านต่าง ๆ ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน การ อนุรักษ์พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมี เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ เกิดทักษะ ทัศนคติ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป ปัญหา อุปสรรค 1. จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเข้ารับการฝึกวิชาชีพ เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดกลุ่ม ผู้เรียน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีช่วงอายุที่แตกต่างกัน มีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กระบวนในการจัดการเรียนรู้ต้องใช้เวลามากกว่าที่กำหนด


43 3. จากสถานการณ์สภาพแวดล้อม และสังคมในปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนโครงการ/กิจกรรม ให้มีความเหมาะสมกับต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนเทคนิค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการวัดประเมินผลของวิทยากร 2. ครูผู้รับผิดชอบและวิทยากรผู้ให้ความรู้ต้องวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. จัดกิจกรรมนอกวัน และเวลาราชการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ 4. การให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติต้องจัดตามความสามารถ และศักยภาพที่เหมาะสมในการเรียนรู้ ของผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 3.6 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สามารถ เป็นอาชีพ และสร้างรายได้ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้(ค่าเป้าหมาย 100%) 3.6.1 โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ระดับจังหวัด หน่วยงานรับผิดชอบ : วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) งบประมาณ 35,000 บาท กิจกรรมหลัก 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ 2. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ศึกษามาสร้างและพัฒนาเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 3. นักเรียนฝึกปฏิบัติ และมีผลงานเพื่อนำสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นักศึกษาเข้าสู่การประเมินสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ผลงานการเข้าร่วมประกวดผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับจังหวัดทั้ง 6 ประเภท คิดเป็นผู้เข้าร่วมร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ นักเรียน นักศึกษามีผลงาน นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่เข้าร่วมแข่งขันในระดับภาค เชิงคุณภาพ นักเรียนได้รับการฝึกปฏิบัติตามมาตรฐานรายวิชาและนักเรียนมีวัสดุฝึกปฏิบัติอย่างครบถ้วนและ มีผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่เข้าร่วมการประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ในระดับภาค


44 ปัญหาอุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - 3.6.2 โครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) หน่วยงานที่รับผิดชอบ : วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม งบประมาณ - บาท กิจกรรมหลัก - พัฒนารูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน -สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน -ลดรายจ่ายของประชาชนโดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ - เสริมสร้างประสบการณ์ตรงและความเชื่อมั่นให้กับนักเรียน นักศึกษาในการออกไปประกอบอาชีพ -สร้างจิตสำนึกให้นักเรียน นักศึกษาให้มีจิตอาสาในการบริการชุมชน ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน 2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน 3. เพื่อลดรายจ่ายของประชาชนโดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ 4. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและความเชื่อมั่นให้กับนักเรียน นักศึกษาในการออกไปประกอบอาชีพ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ -ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน 1 ศูนย์ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) และได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงาน ฯ ระดับดีขึ้นไป - นักเรียน นักศึกษาจิตอาสา 40 คน / ศูนย์นักเรียน นักศึกษา มีจิตอาสา นำวิชาชีพไปบริการชุมชน - ประชาชนผู้เข้ารับบริการ 100 คน / ศูนย์รู้วิธีการใช้ การดูแลรักษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม - ประชาชนฝึกอบรมวิชาชีพ 30 คน / ศูนย์สร้างอาชีพใหม่หรือต่อยอดอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้การเป็น ผู้ประกอบการ - เป้าหมายการซ่อม 300 รายการ/ศูนย์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและอุปกรณ์เครื่องใช้ ในครัวเรือนมีอายุการใช้งานนานขึ้น - ช่างชุมชน 5 คน / ศูนย์ช่างชุมชนมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการสร้างอาชีพ - บริการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดเทคโนโลยี - ใช้เทคโนโลยีหรือสร้างนวัตกรรม เพื่อขยายโอกาสในการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมและส่งเสริมมาตรฐาน การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์


45 - หมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน/ศูนย์ ประชาชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมบริการ เชิงคุณภาพ - นักเรียน นักศึกษาจิตอาสา 40 คน / ศูนย์ นักเรียน นักศึกษา มีจิตอาสา นำวิชาชีพไปบริการชุมชน - ประชาชนผู้เข้ารับบริการ 100 คน / ศูนย์ รู้วิธีการใช้ การดูแลรักษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม - ประชาชนฝึกอบรมวิชาชีพ 30 คน / ศูนย์ สร้างอาชีพใหม่หรือต่อยอดอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้การเป็น ผู้ประกอบการ - เป้าหมายการซ่อม 300 รายการ/ศูนย์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและอุปกรณ์เครื่องใช้ใน ครัวเรือนมีอายุการใช้งานนานขึ้น -ช่างชุมชน 5 คน / ศูนย์ช่างชุมชนมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการสร้างอาชีพ - บริการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดเทคโนโลยี - ใช้เทคโนโลยีหรือสร้างนวัตกรรม เพื่อขยายโอกาสในการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมและส่งเสริมมาตรฐานการ รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ - หมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน/ศูนย์ประชาชนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมบริการ ปัญหา อุปสรรค – ข้อเสนอแนะ - ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จากพลังงานธรรมชาติ มาประยุกต์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ค่าเป้าหมาย 100%) 3.6.3 โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ การเรียนรู้แบบโครงงาน หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 186,330 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก เสริมสร้างความสามารถพิเศษ การเรียนรู้แบบโครงงาน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม มีการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จากพลังงานธรรมชาติมาประยุกต์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 749 คน


Click to View FlipBook Version