The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-01-19 03:11:37

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

46 เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จากพลังงานธรรมชาติมาประยุกต์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ปัญหา อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงต้องชะลอ หรือ ระงับการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตาม แผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุม พบปะของบุคคลจำนวนมาก กิจกรรมที่ต้อง ดำเนินในรูปแบบการฝึกอบรม หรือค่ายพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นต้น ข้อเสนอแนะ สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม และสถานศึกษาในสังกัดได้ร่วมกันหารือปรับรูปแบบและแผนการจัด กิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จัดให้มีการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่น โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น 2. ดำเนินการจัดกิจกรรมในอาคาร สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก


47 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์สร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษา โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษากลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย(2) พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ (3) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและ ทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม กลยุทธ์ที่ 4.1 : เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับได้รับการพัฒนาด้านอาชีพเพิ่มขึ้น 4.1.1 โครงการประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกันจนจบการศึกษาภาคบังคับและศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น หรือมีความรู้ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 งบประมาณ 20,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. การรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา 2. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 3. ขับเคลื่อน "นโยบายพาน้องกลับมาเรียน" ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1.ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการไม่ น้อยกว่าร้อยละ 5 2.ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการประเมินคุณภาพผู้เรียน 3.สพป.นครปฐม เขต 2 มีสารสนเทศเพื่อใช้วางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4. ร้อยละ 100 ของนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ประชากรวัยเรียนที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับในเขตพื้นที่บริการของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้เข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 2. จำนวนนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 100 3. จำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ศึกษาต่อสายสามัญ สายอาชีพ หรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 92.42 4. ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเสมอกัน


48 เชิงคุณภาพ - เด็กทุกคนที่มีอายุ 3-6 ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมในระดับการศึกษาปฐมวัย และเด็กที่มีอายุ ย่างเข้าปีที่ 7 - 16 ทุกคน ได้รับบริการการศึกษาภาคบังคับ เหมาะสมตามศักยภาพ มีโอกาสตามสิทธิ อย่างเท่าเทียมทั่วถึงและตรงตามศักยภาพ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมี ความสุข จบการศึกษาตามกำหนดเวลาของหลักสูตร และเข้ารับการศึกษาต่อระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรืออาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ - ตัวชี้วัดที่ 5 ร้อยละของเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ จำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล(ค่าเป้าหมาย 100%) 4.1.2 โครงการการพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการ หน่วยงานรับผิดชอบ : ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 52,600 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก - ค้นหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบในจังหวัดนครปฐม - จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และแผนสอนเฉพาะบุคคล และแผนให้บริการช่วยเหลือ เฉพาะครอบครัว - นิเทศ ติดตามพัฒนาการของเด็กพิการ ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. เด็กพิการที่ยังไม่ได้รับการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ได้รับการศึกษา 2. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล แผนสอนเฉพาะบุคคล และแผน ให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว 3. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินเป้าหมายระยะยาวและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. เด็กพิการที่ยังไม่ได้รับการศึกษาในจังหวัดนครปฐมได้รับการศึกษาทุกคน 2. ผู้เรียนที่ดำเนินการค้นหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบในจังหวัดนครปฐม มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคลและแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวครบทุกคน 3. มีการนิเทศ ติดตามพัฒนาการของผู้เรียนที่ดำเนินการค้นหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบในจังหวัดนครปฐม


49 เชิงคุณภาพ ๑. ผู้เรียนที่ดำเนินการค้นหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบในจังหวัดนครปฐม ได้รับการจัดทำแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคลและแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว ตรงตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ๒. ผู้เรียนที่ดำเนินการค้นหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบในจังหวัดนครปฐมได้รับการนิเทศ ติดตามพัฒนาการ ของผู้เรียน ปัญหา อุปสรรค 1. บุคลากรผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมมีภาระงานค่อนข้างมาก จึงทำให้การดำเนินงานไม่ตรงตามแผน ที่กำหนดไว้ 2. ยานพาหนะของหน่วยงานมีไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ ประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลเด็กพิการที่ยังไม่ได้รับการศึกษาในจังหวัด นครปฐม กลยุทธ์ที่ 4.2 : การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเป็น เครื่องมือในการเรียนรู้ การสร้างอาชีพ รายได้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ค่าเป้าหมาย 100%) 4.2.1 โครงการสร้างสรรค์ “วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ต้นแบบการเสริมสร้างความปลอดภัยในระบบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน” กิจกรรมทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งบประมาณ 20,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ.


50 กิจกรรมหลัก ออกแบบสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลผลงานกิจกรรมทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) ที่ผู้สมัคร ส่งเข้าประกวด ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เชิงปริมาณ 1. คณะทำงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานประกวดผลงานที่สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนนักเรียนที่ส่งผลงานกิจกรรมทางเลือก ในรูปแบบออนไลน์(คลิปสั้น) เข้าประกวด 2. สพป.นครปฐม เขต 1 ได้รับข้อมูลผลงานกิจกรรมทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) ตามหัวข้อ ที่กำหนดจากผู้สมัครทุกประเภทการประกวด เชิงคุณภาพ สพป.นครปฐม เขต 1 สามารถรวบรวมข้อมูลผลงานกิจกรรมทางเลือกในรูปแบบออนไลน์(คลิปสั้น) จากผู้สมัครทุกประเภทการประกวดครบถ้วนพร้อมเผยแพร่ได้ตามปฏิทิน ที่ สพฐ. กำหนดและรายงาน สพฐ. เพื่อการคัดเลือกในระดับต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงาน สพป.นครปฐม เขต 1 ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดในคู่มือการประกวดผลงานนักเรียน กิจกรรม ทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) ของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยดำเนินการวางแผนออกแบบ สร้างระบบเก็บข้อมูลผลงานลงใน Cloud Drive เพื่อรองรับผลงานของผู้สมัครเข้าประกวดทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมทุกระดับ ประกอบด้วยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น(ขยายโอกาส) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทำ Google from การรับสมัครคลิปวีดีโอสั้น และคลิป TikTok ทดสอบระบบ เปิด-ปิดระบบการรับสมัครตั้งแต่วันที่ 4 – 18 กรกฎาคม 2565 ให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขปัญหาการส่งผลงานของผู้เข้าประกวด คัดแยกข้อมูลรายประเภทและ


51 รายเขตพื้นที่การศึกษาแยกเป็นโฟลเดอร์ผ่าน Cloud Drive ประชุมคณะทำงานผ่านระบบทางไกล เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เพื่อคัดกรองข้อมูลเบื้องต้นจัดส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีผู้เข้าประกวด จัดส่งผลงานทั้งสิ้น 252 ผลงาน แยกเป็นผลงานคลิปวีดีโอสั้น จำนวน 107 ผลงาน ผลงานคลิป TikTok จำนวน 145 ผลงาน จากผู้ส่งผลงาน จำนวน 108 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา 108 แห่ง ดำเนินการคัดเลือกผลงานที่ชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 1 และอันดับ 2 พร้อมทั้งนำผลงานชนะเลิศอันดับ 1 เผยแพร่ในเพจศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.) สรุปมีผู้ผ่านการคัดเลือกจาก 72 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศผลงานอันดับ 1 จำนวน 62 สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา รวม 84 ผลงาน นำไปเผยแพร่ในเพจศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน) ส่วน 10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 11 ผลงานไม่จัดส่งประกาศผลทำให้ขาดคุณสมบัติใน การพิจารณาผลงานรอบระดับประเทศ จึงทำให้มีผลงานที่นำไปตัดสินรอบระดับประเทศในวันที่ 30 สิงหาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 84 ผลงาน พร้อมทั้งรวบรวมผลการเผยแพร่ผลงานจากเพจศูนย์เฉพาะกิจ คุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.) นำส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัดสินการประกวดผลงานเพื่อชิงรางวัล Popular Vote รอบระดับประเทศต่อไป ปัญหา อุปสรรค ต้นสังกัดประชาสัมพันธ์การประกวดด้วยระยะเวลาสั้น จึงทำให้ผู้เข้าประกวดมีเวลาในการศึกษาเอกสาร และจัดทำผลงานในเวลาค่อนข้างจำกัด จึงทำให้ผู้เข้าประกวดส่วนใหญ่จะโทรศัพท์สอบถามทำให้ สพป.นครปฐม เขต 1 ต้องใช้เวลาในการตอบคำถามและแก้ปัญหาของผู้เข้าประกวดที่หลากหลาย ข้อเสนอแนะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจัดทำปฏิทินเพื่อประชาสัมพันธ์การประกวดให้มีความ เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนในทุกระดับการศึกษา ได้มีเวลาในการศึกษาข้อมูลและมีความพร้อมจะทำให้ผลงานที่เข้าประกวด มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์ที่ 4.3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม ตัวชี้วัดที่ 1. ร้อยละของสถานศึกษาพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม (ค่าเป้าหมาย 100%) 4.3.1 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม งบประมาณ 84,640 บาท งบประมาณจากสำนักงาน กศน. กิจกรรมหลัก 1) กิจกรรมสุขภาพกาย – จิต 5) กิจกรรมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) กิจกรรมยาเสพติด 6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) กิจกรรมเพศศึกษา 7) ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต 4) กิจกรรมคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 8) ทักษะชีวิตผู้สูงอายุ


52 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม พัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะ การเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วม และทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม พัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะ การเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วม และทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม 2.ผู้เรียนได้รับการพัฒนา จำนวน 988 คน เชิงคุณภาพ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป จำนวน 988 คน ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและการพัฒนา คุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม มีเจตคติค่านิยมที่ถูกต้อง มีทักษะหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ในสังคมปัจจุบัน สามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อม กับการปรับตัวในอนาคต ปัญหา อุปสรรค 1. ผู้สนใจเข้ารับการอบรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุบางส่วน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดหลักสูตร เนื่องจากปัญหาสุขภาพ และการเดินทางที่ต้องมีคนในครอบครัวมาดูแล 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีช่วงอายุที่แตกต่างกัน มีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กระบวนในการจัดการเรียนรู้ต้องใช้เวลามากกว่าที่กำหนด 3. จากสถานการณ์สภาพแวดล้อม และสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้สถานศึกษา มีการปรับเปลี่ยนโครงการ/กิจกรรม ให้มีเหมาะสมกับต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ครูผู้รับผิดชอบและวิทยากรผู้ให้ความรู้ต้องวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 2. จัดรถรับ –ส่ง หรือเลือกสถานที่จัดกิจกรรมให้อยู่ในพื้นที่ ให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย


53 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเป้าประสงค์ตามประเด็น ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นฐานการใช้งาน เพื่อให้การ บริหารจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาระบบ ฐานข้อมูลของจังหวัดและฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพเป็นปัจจุบันและทันต่อการใช้งาน (2) ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถ บริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ และ (4) ส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย กลยุทธ์ที่ 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของหน่วยงานทางการศึกษาส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และสนับสนุนกิจกรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล(ค่าเป้าหมาย 100%) 5.2.1 โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 งบประมาณ 100,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก -การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา (โครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ 1. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีความโปร่งใสปลอดการทุจริต และประพฤติมิชอบ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 2. ร้อยละ 90 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3. ร้อยละ 100 ของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2 มีคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลเชิงบวกที่ครอบคลุมการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกมิติ 4.ร้อยละ 100 ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามารถ ปฏิบัติงานตามกระบวนงาน/คู่มือการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเขตสุจริตและโรงเรียนสุจริต ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ


54 ผลการดำเนินการ เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีความโปร่งใสปลอดการทุจริต และประพฤติมิชอบ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 2. ร้อยละ 100 ของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐมเขต 2 มีคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลเชิงบวกที่ครอบคลุมการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกมิติ 3. ร้อยละ 100 ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามารถ ปฏิบัติงานตามกระบวนงาน/คู่มือการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเขตสุจริตและโรงเรียนสุจริต ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เชิงคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างระบบ และวิถีพอเพียง สุจริต รับผิดชอบ ปลอดอบายมุข และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อต่อต้านการทุจริต ทุกรูปแบบ บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามารถประยุกต์ใช้ทักษะ กระบวนการคิดเรื่องการมีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต ความพอเพียงมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม และต่อต้านการทุจริต รวมทั้งสร้างการรับรู้เรื่องการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online : ITA Online) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับการประเมิน จากหน่วยงานต้นสังกัด และบุคลากร ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้มีการศึกษาและเรียนรู้รูปแบบและวิธีการ ดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริตต้นแบบ เพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานเขตสุจริตให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัญหา อุปสรรค - การดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบของหน่วยงานราชการ ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทั้งในหน่วยงาน ประชาชน และหน่วยงาน ภายนอก ซึ่งต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ - หน่วยงานควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง


55 กลยุทธ์ที่ 5.3 สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ (ค่าเป้าหมาย 100%) 5.3.1 โครงการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งบประมาณ 19,000 บาท งบประมาณจาก สพฐ. กิจกรรมหลัก 1. จัดประชุมออนไลน์ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างความเข้าใจในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR) 2. การสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายโครงการ เชิงปริมาณ สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ทั้ง 121 แห่ง ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามระบบประกันคุณภาพภายใน เชิงคุณภาพ 1. สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีระบบประกันคุณภาพภายใน ที่เข้มแข็ง และพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก 2. สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีมาตรฐานการศึกษาในระดับ ดีขึ้นไปทุกมาตรฐาน และทุกระดับการศึกษา ผลการดำเนินการ 1. สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีระบบประกันคุณภาพ ภายในที่เข้มแข็ง และพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก 2. สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีมาตรฐานการศึกษา ในระดับดีขึ้นไปทุกมาตรฐาน และทุกระดับการศึกษา ปัญหา อุปสรรค โรงเรียนรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) บางมาตรฐานไม่สะท้อนการดำเนินงาน ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน ข้อเสนอแนะ ควรมีการสะท้อนผลการรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)


56 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนภูมิแสดงผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน่วยงานการศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีผลการดำเนินงานการจัด การศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ครบทั้ง 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ รวมจำนวน 35 โครงการ จำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง จำนวน 10 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ 3. โครงการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 4. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 5. โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 6. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 7. โครงการจัดอบรมแกนนำต้านยาเสพติดประจำปีการศึกษา 2565 8. โครงการวัยใสใจสะอาด ปราศจากสิ่งเสพติดและอบายมุข 9. โครงการตำรวจประสานโรงเรียน (1 โรงเรียน 1 ตำรวจ) ยุทธศาสตร์ที่ 1 30% ยุทธศาสตร์ที่ 2 15% ยุทธศาสตร์ที่ 3 37% ยุทธศาสตร์ที่ 4 12% ยุทธศาสตร์ที่ 5 6%


57 10. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง 10 โครงการ มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ The CEFR 2. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 3. โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 4. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - กิจกรรมเสริมสร้างความสามารถพิเศษ 5. โครงการภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ ทั้ง 5 โครงการ มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ จำนวน 12 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 2. โครงการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี่การศึกษา 2564 3. โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการ ประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) 4. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรม พัฒนาวิชาการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) 5. โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ 6. โครงการจิตอาสาและบริการวิชาชีพสู่ชุมชน 7. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน -กิจกรรมเสริมสร้างความ สามารถพิเศษ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการ STEM ศึกษา 8. โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 9. โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ -กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10. โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ -กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน 11. โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ระดับจังหวัด 12. โครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ทั้ง 12 โครงการ มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


58 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกันจนจบการศึกษาภาคบังคับและ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือมีความรู้ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ 2. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมจัดการเรียนการสอน 3. โครงการการพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม 4. โครงการสร้างสรรค์ “วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ต้นแบบการเสริมสร้างความปลอดภัยในระบบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน” กิจกรรมทางเลือกในรูปแบบออนไลน์ (คลิปสั้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 5. โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ - กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ทั้ง 5 โครงการ มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยี ดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต 2. โครงการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ทั้ง 2 โครงการ มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


ภาคผนวก


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม นางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คณะทำงาน นางณิชชารัช เนาวรัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน นางสาวอลิศา ว่องประชานุกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นายธนบดี โสภาจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นางสาวจิราพรรณ ชื่นเจริญ พนักงานจ้างปฏิบัติงานธุรการ ออกแบบและจัดทำรูปเล่ม นางสาวอลิศา ว่องประชานุกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นางสาวจิราพรรณ ชื่นเจริญ พนักงานจ้างปฏิบัติงานธุรการ


ส ำนักงำนศึกษำธิกำรจังหวัดนครปฐม 161/4 ถนนเพชรเกษม ต ำบลพระประโทน อ ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 0 3430 6418 โทรสำร. 0 3430 6417 เว็บไซต์ http://[email protected]


Click to View FlipBook Version