The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-01-19 01:47:53

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

(พ.ศ. 2566 – 2570) เอกสารหมายเลข 8/2565 กลุ่มนโยบายและแผน ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


คำนำ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีภารกิจหลักในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ โดยการบูรณาการหน่วยงาน การศึกษาทุกหน่วยงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม ร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานทางด้าน การศึกษาของจังหวัดนครปฐม ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาจังหวัด แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับนี้ ได้รับความร่วมมือ จากหน่วยงานการศึกษาทุกหน่วยงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ด้านการศึกษาในพื้นที่ ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (แผนระดับที่ 1) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (แผนระดับที่ 2) นโยบาย ของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา แผนอื่นที่เกี่ยวข้อง และบริบททางด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ขอขอบคุณหน่วยงานการศึกษาทุกหน่วยงาน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องที่ให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ทำให้การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาฉบับนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กลุ่มนโยบายและแผน พฤศจิกายน 2565


ก บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 9 (1) , (2) ได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า และแผนปฏิบัติ ราชการดังกล่าวต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจหน่วยงาน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวน ภารกิจของตน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (แผนระดับที่ 1)แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) นโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (แผนระดับที่ 2) นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่น ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงแผนระดับ 3 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับ การบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบายและ ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย โดยอำนาจหน้าที่ข้อ 11 (2) คือ การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบัติการ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 รวมทั้งสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 ยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม จึงได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบ แนวทางในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ วิสัยทัศน์ นครปฐม นครแห่งการพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา รักษ์ศิลปวัฒนธรรม ล้ำหน้าเทคโนโลยี มีทักษะวิชาชีพ พันธกิจ ๑. ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นคนดี มีคุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่วิถีการดำเนินชีวิต ๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสเสมอภาคทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลาย อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ๓. ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงมีทักษะวิชาชีพ ๔. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


ข เป้าประสงค์ 1. ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ น้อมนำ ศาสตร์พระราชา ๒. ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลาย อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ๓. ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 รวมถึงทักษะวิชาชีพเพื่อการมีงานทำ ๔. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา น้อมนำศาสตร์พระราชา 2. การพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ 3. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 4. การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา น้อมนำศาสตร์พระราชา เป้าหมาย ๑.1 ผู้เรียนมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ พร้อมธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่ การปฏิบัติ 1.2 ผู้เรียนมีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต 1.3 ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ประเด็น ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ เป้าหมาย 2.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ 2.2 ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างรายได้ รวมถึงมีทักษะด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะ ในศตวรรษที่ 21 เป้าหมาย 3.1 การจัดการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน 3.๒. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21


ค ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมาย 4.1 ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษา 4.2 นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่าน เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา แบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม เป้าหมาย 5.1 ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


(1) สารบัญ หน้า คำนำ บทสรุปผู้บริหาร ก สารบัญ (1) สารบัญตาราง (3) สารบัญรูปภาพ (4) ส่วนที่ 1 บริบทเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม 1 - ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัด 1 - อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 5 - ข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาจังหวัดนครปฐม 6 - ข้อมูลด้านคุณภาพการศึกษาจังหวัดนครปฐม 9 ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา 13 1. แผนระดับที่ 1 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 13 2. แผนระดับที่ 2 2.1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 17 2.2 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา 24 2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 25 2.4 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) 27 3. แผนระดับที่ 3 3.1 เป้าหมายการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) 29 3.2 แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579) 31 3.3 แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565) 34 3.4 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 37 3.5 แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล และกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2566 – 2570) 42 3.6 แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2566 – 2570) 43 3.7 นโยบายการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 44 ส่วนที่ 3 การวิเคราห์สถานการณ์ด้านการศึกษา (SWOT Analysis) 50 - การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Factors Analysis : IFA) 50 - การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก(External Factors Analysis : EFA) 51


(2) สารบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่ 4 สาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) 52 - ปรัชญาการศึกษา 52 - วิสัยทัศน์ 52 - พันธกิจ 52 - ค่านิยมร่วม - เป้าประสงค์ - ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา -ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี(พ.ศ. 2566 – 2570) - ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายรายประเด็นยุทธศาสตร์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ 52 52 52 53 58 ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) สู่การปฏิบัติ 61 ภาคผนวก - โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) - คณะผู้จัดทำ


(3) สารบัญตาราง ตาราง หน้า 1 ข้อมูลจำนวนโรงเรียน ครู และนักเรียน ของหน่วยงานทางการศึกษาจังหวัดนครปฐม 6 2 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกตามสังกัด และระดับ 7 3 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกรายอำเภอสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา 8 ตามอัธยาศัย 4 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกตามประเภทการให้บริการ/ประเภทความพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ 8 เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม 5 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด 9 6 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด 9 7 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด 10 8 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 - 2564 จังหวัดนครปฐม 10 9 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 - 2564 จังหวัดนครปฐม 10 10 ผลการทดสอบ O–NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 - 2564 จังหวัดนครปฐม 10 11 ผลการทดสอบ V-NET ระดับ ปวช. ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม 11 12 ผลการทดสอบ N–NET ชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม 11 13 ผลการทดสอบ N–NET ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม 12 14 ผลการทดสอบ N–NET ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม 12


(4) สารบัญรูปภาพ แผนภาพ หน้า 1 ระดับของแผนตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 ธันวาคม 2560 15 2 วิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 16 3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติสู่แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น 16 4 สาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา 24 5 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 29 6 กรอบแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ 31 7 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 38


ส่วนที่ 1 บริบทเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัด ประวัติความเป็นมา “นครปฐม” เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่มีความเจริญรุ่งเรือง มานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรม จากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมือง เปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำและสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการองค์พระปฐม เจดีย์สะดวกขึ้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรีมาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐม เจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ ครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จ แปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานเจริญ ศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้าน ทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรด ให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี”เป็น “นครปฐม” ที่ตั้งและอาณาเขต นครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เส้นแวงที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 ฟิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327


ห น้ า | 2 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,355,204 ไร่ เป็นร้อยละ 0.42ของประเทศและอันดับที่ 62ของประเทศอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี(ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีและเขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี คำขวัญประจำจังหวัดนครปฐม “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน” สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐมโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 2 – 10 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไป ลาดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และตะวันตกสู่ตะวันออกมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ดอนกระจายเป็นแห่งๆ และมีแหล่งน้ำกระจาย สำหรับพื้นที่ด้านตะวันออก และด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน มีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้น เพื่อการเกษตรและคมนาคมอยู่มาก พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2 - 4 เมตร สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝนของจังหวัดนครปฐม โดยใช้ข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐมย้อนหลัง 5 ปี (2559 – 2563) ปริมาณน้ำฝนจะอยู่ในช่วง 600 – 1,300 มิลลิเมตร ในปี 2563 ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 1,207.07 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 94 วัน ฝนตกมากที่สุดปี 2560 วัดได้ 1,227.90 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ ฝนตก 123 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2562 วัดได้ 694.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 87 วัน อุณหภูมิ อุณหภูมิในปี 2563 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 39.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 14.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด เดือนมีนาคม 39.7 องศาเซลเซียส และต่ำสุด เดือนธันวาคม 14.0 องศาเซลเซียสอุณหภูมิในปี 2562 มีฝนตกในฤดูฝน ฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 36.90 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด เดือนเมษายน 40.50 องศา


ห น้ า | 3 เซลเซียส และต่ำสุด เดือนมกราคม 14.20 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิในปี 2561 อุณหภูมิสูงสุด เดือนเมษายน 38.90 องศาเซลเซียส และต่ำสุด เดือนมกราคม 15.60 องศาเซลเซียส ข้อมูลการปกครอง เขตการปกครอง จังหวัดนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 919 หมู่บ้าน สำหรับการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 19 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 92 แห่ง เขตการปกครองจังหวัดนครปฐม ปี 2564 ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ประชากร จำนวนประชากรของจังหวัดนครปฐม ในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 920,729 คน เป็นชาย จำนวน 441,884 คน หญิง จำนวน 478,845 คน ครัวเรือน จำนวน 411,586 ครัวเรือน โดยมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 0.07 ปี 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 920,030 คน เป็นคนไทย 909,900 คน เป็นเพศชาย 441,351 คน เพศหญิง 478,679 คน และคนที่ไม่ได้สัญชาติไทย จำนวน 10,103 คน เป็นเพศชาย 5,308 คน และเพศหญิง 4,822 คน และครัวเรือน จำนวน 404,004 ครัวเรือน โดยปี 2562 มีอัตราที่เพิ่มขึ้น 0.32 ปี 2561 เพิ่มขึ้น 0.61 ปี 2560 เพิ่มขึ้น 0.72 ซึ่งจำนวนประชากรในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลง สำหรับอำเภอที่มีประชากร มากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง รองลงมา ได้แก่ อำเภอกำแพงแสน และอำเภอนครชัยศรีตามลำดับ จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2559 – 2563 ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)


ห น้ า | 4 การบริหารราชการ จังหวัดนครปฐม แบ่งส่วนการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง) มีจำนวน 66 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จำนวน 48 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 4 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระจำนวน 14 หน่วยงาน 2) ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีจำนวน 31 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จำนวน 23 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน ระดับอำเภอ แบ่งเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 919 หมู่บ้าน 3) ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 5 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 19 แห่ง และองค์การบริหาร ส่วนตำบล จำนวน 92 แห่ง สถานการณ์ด้านสังคม ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งพบว่าในระหว่างปี 2559 – 2563 จังหวัดนครปฐม มีจำนวน ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2559 มีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 135,625 คน คิดเป็น ร้อยละ 14.99 ของประชากรทั้งจังหวัด ปี พ.ศ. 2560 มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 142,221 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.60 ของประชากรทั้งจังหวัด ปี พ.ศ. 2561 มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 149,004 คน คิดเป็น ร้อยละ 16.25 ปี 2562 มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 156,470 คน คิดเป็นร้อยละ 17.01 และในปี2563 มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 164,560 คน คิดเป็นร้อยละ 17.87 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2564 จะมีประชากรผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น และการที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้าน สวัสดิการ เพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระ ในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเมื่อ มีอายุยืนยาว จะต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความ เสี่ยงจากการเจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ และส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความพิการหรือทุพพลภาพร่วมด้วย ทั้งนี้พบว่า ประมาณร้อยละ 75 ของผู้สูงอายุ ในประเทศไทย มีถิ่นที่อยู่อาศัยในชนบท ซึ่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และปลอดภัย ทำให้เกิดความเสี่ยงในการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้อง กับองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ให้ความสำคัญ กับแนวคิดเรื่อง “เมืองน่าอยู่ของผู้สูงวัย” นอกจากนี้ ปัญหาที่ พบอีกประการหนึ่ง คือ สภาพครอบครัวไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากครอบครัวขยายกลายเป็น ครอบครัวเดี่ยว ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังขาดผู้ดูแล


ห น้ า | 5 อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 161/4 ถนนเพชรเกษม ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดการปฏิบัติ ราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย และให้มีอำนาจหน้าที่ในเขต จังหวัด ดังต่อไปนี้ 1. รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไป ตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามหน้าที่ กศจ. มอบหมาย 2. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ 3. สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 4. จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ 6. ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 7. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา 8. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการ หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 9. ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา 10. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน 11. ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจ เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ ในจังหวัด


ห น้ า | 6 ข้อมูลด้านการศึกษาจังหวัดนครปฐม ตารางที่ 1 ข้อมูลจำนวนโรงเรียน ครู และนักเรียน ของหน่วยงานทางการศึกษาจังหวัดนครปฐม ที่ สังกัด โรงเรียน ครู นักเรียน (แห่ง) (คน) (คน) 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 122 2,040 30,750 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 120 1,880 27,465 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 29 1,909 37,307 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 44 2,225 34,402 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 12 586 6,554 6 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 7 103 6,674 7 สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3 167 593 8 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 1 7 65 9 กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 5 505 5,811 10 กระทรวงวัฒนธรรม 2 203 1,073 11 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 579 9,813 12 องค์การมหาชน 1 146 720 รวม 367 10,350 161,227 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2565)


ห น้ า | 7 ตารางที่ 2 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกตามสังกัด และระดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2565) หมายเหตุ : สังกัด สอศ. ไม่นับรวมระดับ ปวส. และปริญญาตรีสังกัด อว. ไม่นับรวมปริญญาตรี สังกัด อปท. ไม่นับรวม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด ศศศ. ไม่นับรวม ศูนย์การศึกษาพิเศษ และ กศน. สพฐ สช. สอศ. อปท. อว. พศ. สศศ. องคก์าร มหาชน วัฒนธรรม อนุบาล 1 1,199 2,192 - 383 182 - - - - 3,956 อนุบาล 2 5,606 2,524 - 912 182 - 3 - - 9,227 อนุบาล 3 5,907 2,601 - 797 184 - 7 - - 9,496 รวมระดบักอ่นประถมศกึษา 12,712 7,317 - 2,092 548 - 10 - - 22,679 ประถมศกึษาปีที่ 1 6,514 2,741 - 830 290 - 11 - - 10,386 ประถมศกึษาปีที่ 2 6,431 2,851 - 850 284 - 10 - - 10,426 ประถมศกึษาปีที่ 3 6,691 2,811 - 864 275 - 10 - - 10,651 ประถมศกึษาปีที่ 4 7,272 3,165 - 902 234 - 10 - - 11,583 ประถมศกึษาปีที่ 5 7,364 3,140 - 909 230 - 33 - - 11,676 ประถมศกึษาปีที่ 6 6,868 2,876 - 794 192 - 18 - - 10,748 รวมระดบัประถมศกึษา 41,140 17,584 - 5,149 1,505 - 9 2 - - 65,470 มธัยมศกึษาปีที่ 1 8,214 1,605 - 701 423 6 26 - 92 11,067 มธัยมศกึษาปีที่ 2 8,335 1,740 - 675 414 16 18 - 158 11,356 มธัยมศกึษาปีที่ 3 8,396 1,871 - 733 409 19 19 - 218 11,665 รวมระดบัมัธยมศกึษาตอนตน้ 24,945 5,216 - 2,109 1,246 4 1 7 3 - 468 34,088 มธัยมศกึษาปีที่ 4/ปวช.1 5,834 1,544 2,318 190 899 8 13 241 185 11,232 มธัยมศกึษาปีที่ 5/ปวช.2 5,678 1,359 1,887 143 857 7 25 239 187 10,382 มธัยมศกึษาปีที่ 6/ปวช.3 5,213 1,382 2,349 130 756 9 17 240 233 10,329 รวมระดบัมัธยมศกึษาตอนปลาย 16,725 4,285 6,554 463 2,512 2 4 5 5 720 605 31,943 รวมทงั้สนิ้ (คน) 95,522 34,402 6,554 9,813 5,811 6 5 220 720 1,073 154,180 ระดบั สงักดั รวมทงั้สนิ้


ห น้ า | 8 ตารางที่ 3 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกรายอำเภอ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หมายเหตุ : ข้อมูลภาคเรียนที่ 1/2565 ตารางที่ 4 ข้อมูลจำนวนนักเรียนแยกตามประเภทการให้บริการ/ประเภทความพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม หมายเหตุ : ข้อมูลภาคเรียนที่ 2/2565 กศน.อ าเภอ รวม (คน) ชาย (คน) หญงิ (คน) ชาย (คน) หญงิ (คน) ชาย (คน) หญงิ (คน) เมอืงนครปฐม 114 79 529 270 671 385 2,048 ก าแพงแสน 27 29 346 143 369 213 1,127 นครชัยศรี 19 24 138 123 162 200 666 ดอนตมู 4 6 108 112 130 134 494 บางเลน 18 18 86 90 106 159 477 สามพราน 38 38 273 260 441 437 1,487 พทุธมณฑล 23 23 111 45 105 68 375 รวมทงั้สนิ้ 243 217 1,591 1,043 1,984 1,596 6,674 ตอนปลาย ประถมศกึษา มัธยมศกึษาตอนตน้ มัธยมศกึษา บกพร่องทางการเห็น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องทางการพูดและภาษา บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ออทิสติก ความพิการซ้อน รวม (คน) 1 แรกเกิด - 3 ปี 12 4 - - 6 1 - - - 8 1 16 2 4 - 6 ปี 47 21 - 1 21 5 - 1 - 40 - 6 8 3 7 - 12 ปี 98 46 - 4 43 28 - - - 58 11 144 4 13 - 15 ปี 21 11 1 1 14 4 - - - 10 2 3 2 5 15 - 18 ปี 46 28 1 - 33 13 1 - - 17 9 7 4 6 18 ปีขึ้นไป 26 13 1 2 15 11 1 1 - 6 2 3 9 รวมทงั้หมด 250 123 3 8 132 6 2 2 2 - 139 2 5 373 ที่ช่วงอายุชาย (คน) หญงิ (คน) ประเภทการให้บริการ/ประเภทความพิการ


ห น้ า | 9 ข้อมูลด้านคุณภาพการศึกษาจังหวัดนครปฐม ตอนที่ 1 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครปฐม ตารางที่ 5 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด ระดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประเทศ 50.38 39.22 36.83 34.31 จังหวัด 54.56 45.51 39.15 36.03 สพป. 52.80 39.28 37.62 34.98 สช. 56.65 53.58 40.64 37.35 อปท. 49.20 36.25 35.76 31.30 ตารางที่ 6 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด ระดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประเทศ 51.19 31.11 24.47 31.45 จังหวัด 58.34 36.44 27.85 34.29 สพป. 52.44 27.70 21.12 30.56 สพม.นครปฐม 58.43 33.95 27.51 34.39 สช. 58.50 37.97 27.59 33.83 อปท. 47.22 25.86 20.29 29.29 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET V-NET และ N-NET ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม


ห น้ า | 10 ตารางที่ 7 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามสังกัด ระดับ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประเทศ 46.40 36.87 25.56 21.28 28.65 จังหวัด 55.87 43.66 38.68 34.76 33.64 สพม.นครปฐม 55.89 42.92 35.27 31.59 32.08 สช. 52.46 41.56 36.27 30.20 31.90 อปท. 57.28 44.36 26.50 22.78 29.78 ตอนที่ 2 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 – 2564 จังหวัดนครปฐม ตารางที่ 8 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 – 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 จ.นครปฐม 52.20 60.56 54.56 38.44 51.46 45.51 36.37 33.18 39.15 38.53 41.79 36.03 ตารางที่ 9 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 – 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 จ.นครปฐม 57.91 58.32 58.34 35.67 41.81 36.44 29.86 31.03 27.85 31.12 32.59 34.29 ตารางที่ 10 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 – 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปี 62 ปี 63 ปี 64 จ.นครปฐม 46.42 48.61 55.87 38.42 38.04 43.66 33.92 34.45 38.68 31.27 30.46 34.76 วิชา วิทยาศาสตร์ ปี 62 ปี 63 ปี 64 จ.นครปฐม 32.67 36.00 33.64


ห น้ า | 11 ตอนที่ 3 ผลการทดสอบ V-NET ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ขั้นสูง (ปวส.) จังหวัดนครปฐม ตารางที่ 11 ผลการทดสอบ V-NET ระดับ ปวช. ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา จำนวน ผู้เข้าสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย จังหวัดนครปฐม คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ ความรู้ด้านสมรรถนะหลักและ สมรรถนะทั่วไป 1,007 100 41.90 41.90 ตอนที่ 4 ผลการทดสอบ N-NET ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม ตารางที่ 12 ผลการทดสอบ N-NET ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา จำนวน ผู้เข้าสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย จังหวัดนครปฐม คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ ครั้งที่ 1 สาระการประกอบอาชีพ 176 100 28.01 39.83 สาระการพัฒนาสังคม 176 100 34.93 48.66 สาระความรู้พื้นฐาน 176 100 34.50 42.35 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 176 100 29.91 43.65 สาระทักษะการเรียนรู้ 176 100 28.75 38.24 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 31.22 42.55 ครั้งที่ 2 สาระการประกอบอาชีพ 130 100 46.04 40.73 สาระการพัฒนาสังคม 130 100 52.67 39.87 สาระความรู้พื้นฐาน 130 100 57.82 41.92 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 130 100 48.23 41.53 สาระทักษะการเรียนรู้ 130 100 30.97 32.81 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 47.15 39.37


ห น้ า | 12 ตารางที่ 13 ผลการทดสอบ N-NET ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา จำนวน ผู้เข้าสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย จังหวัดนครปฐม คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ ครั้งที่ 1 สาระการประกอบอาชีพ 321 100 39.03 36.47 สาระการพัฒนาสังคม 321 100 39.54 37.81 สาระความรู้พื้นฐาน 321 100 34.55 33.67 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 321 100 43.05 39.78 สาระทักษะการเรียนรู้ 321 100 41.10 37.41 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 39.45 37.03 ครั้งที่ 2 สาระการประกอบอาชีพ 290 100 43.55 38.79 สาระการพัฒนาสังคม 290 100 30.88 30.54 สาระความรู้พื้นฐาน 290 100 37.05 34.80 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 290 100 43.39 49.92 สาระทักษะการเรียนรู้ 290 100 42.30 37.22 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 39.43 38.25 ตารางที่ 14 ผลการทดสอบ N-NET ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครปฐม วิชา จำนวน ผู้เข้าสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย จังหวัดนครปฐม คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ ครั้งที่ 1 สาระการประกอบอาชีพ 432 100 41.54 36.64 สาระการพัฒนาสังคม 432 100 31.77 30.08 สาระความรู้พื้นฐาน 432 100 28.59 27.37 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 432 100 35.76 32.26 สาระทักษะการเรียนรู้ 432 100 30.70 27.75 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 33.67 30.82 ครั้งที่ 2 สาระการประกอบอาชีพ 441 100 37.13 32.95 สาระการพัฒนาสังคม 441 100 30.68 29.17 สาระความรู้พื้นฐาน 441 100 32.83 30.91 สาระทักษะการดำเนินชีวิต 441 100 40.89 35.85 สาระทักษะการเรียนรู้ 441 100 36.96 33.52 รวมเฉลี่ย 5 วิชา 35.69 32.48 หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 : กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้จัดทำภายใต้กรอบแนวคิด แผนระดับที่ 1 ระดับที่ 2 โดยสอดคล้องและเชื่อมโยงตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 การวิเคราะห์ SWOT ที่เกี่ยวข้อง และบริบททางด้านการศึกษาในพื้นที่ ดังนี้ 1. แผนระดับที่ 1 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี(พ.ศ. 2561 – 2580) 2. แผนระดับที่ 2 เฉพาะที่เกี่ยวข้อง 2.1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) 2.2 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา 2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) 2.4 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) 3. แผนระดับที่ 3 3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) พ.ศ. 2559 – 2573 3.2 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 3.3 แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565) 3.4 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3.5 แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2566 – 2570) 3.6 แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2566 – 2570) 3.7 นโยบายการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 1. แผนระดับที่ 1 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 บัญญัติให้รัฐ พึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบ ในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมาย วิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนา อย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” มี 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติ ได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน


ห น้ า | 14 และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วน ราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ ทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมา ภิบาล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทาง และเป้าหมายที่กำหนด 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้น การยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศ ในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจ และสังคมโลกสมัยใหม่ 2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการ ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต 3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคน รุ่นใหม่ รวมถึง ปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับ อนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคน ในประเทศได้ในคราวเดียวกัน 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดี ของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทย ที่มี ทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชน ในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวม การกระจาย อำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้าง ความเข้มแข็ง ของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติ ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายใน


ห น้ า | 15 และภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเป็นการดำเนินการ บนพื้นฐาน การเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ทั้ง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง 6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ ส่วนรวม” แผนภาพ 1 ระดับของแผนตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 ธันวาคม 2560


ห น้ า | 16 แผนภาพ 2 วิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2. แผนระดับที่ 2 เฉพาะที่เกี่ยวข้อง แผนภาพ 3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติสู่แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น


ห น้ า | 17 2.1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็น (1) ความมั่นคง แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ แนวทางการพัฒนาที่ 2 เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ภายใต้การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยและชาติไทยผ่านกลไก ต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงสร้างสรรค์ น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงแนวทางพระราชดำริต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ อย่างกว้างขวาง จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและพระราชกรณียกิจอย่างสม่ำเสมอ ประเด็น (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ บูรณาการร่วมระหว่างภาคีต่าง ๆ อาทิ ครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา สื่อ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการหล่อหลอมคนไทยให้มี คุณธรรม จริยธรรม ในลักษณะที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต โดยวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของสถาบันสังคมและวัฒนธรรม ที่เข้มแข็ง ทั้งครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา สื่อ และภาคเอกชน โดยมีแผนย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ แผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเสริมสร้างจิตสาธารณะและการเป็นพลเมือง ที่ดีโดยมีแนวทางการพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่ 2 บูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ในการจัดการเรียนการสอนในและนอกสถานศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนตามพระราชดำริ และปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จัดให้มีการเรียนรู้ทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญา ท้องถิ่น รวมทั้งการตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้รองรับ การเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ แนวทางการพัฒนาที่ 4 ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน อนุรักษ์พัฒนาและสืบสาน มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รณรงค์ส่งเสริม ความเป็นไทยในระดับท้องถิ่นและชุมชน จัดให้มีพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ ส่งเสริมชุมชนให้เป็นฐาน การสร้างวิถีชีวิตพอเพียง แนวทางการพัฒนาที่ 5 การส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สร้างจิต สาธารณะและจิตอาสาโดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร เพื่อรับผิดชอบ ต่อส่วนรวม สร้างเสริมผู้นำการเปลี่ยนแปลง และต้นแบบที่ดีทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยการยกย่องผู้นำที่มี จิตสาธารณะและจิตอาสา และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกลไกการดำเนินงานในการ สร้างเสริมการพัฒนาวจิตสาธารณะและจิตอาสา เพื่อสังคมและส่วนรวม โดยส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร สาธารณะที่ไม่หวังผลประโยชน์ ประเด็น (11) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต จำเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ สร้างความอยู่ ดีมีสุขของครอบครัวไทยซึ่งเป็นหน่วยที่ย่อยที่สุด เพื่อให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนช่วยเหลือสังคม พัฒนา และยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนา


ห น้ า | 18 ประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาภาษาไทยได้ดี มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 รวมทั้งอนุรักษ์ ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงและนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพ ตามความถนัดของตนเอง” แผนย่อยเพื่อพัฒนาและยกระดับทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เต็ม ศักยภาพและเหมาะสม ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ดังนี้ แผนย่อยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ โดยมีแนวทาง การพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย สร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับโลก ในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรม ที่เหมาะสมบนฐานความรู้ทางวิชาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์และถึงช่วงอายุต่าง ๆ พัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของประชากรแต่ละช่วงวัย รวมถึงการให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามา มีส่วนร่วม พร้อมทั้งการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง โดยเน้นการส่งเสริม การเกื้อกูลกันของคนทุกวัยในครอบครัวในการดูแลสมาชิกในครอบครัว การส่งเสริมนโยบายการสร้างความสมดุล ระหว่างชีวิตและการทำงาน การส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชน สถานประกอบการจัดบริการที่ส่งเสริมและพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และสนับสนุนครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรและการดูแลผู้สูงอายุ การสนับสนุนควบคู่กับการปฏิรูป สื่อให้มีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ในการให้ความรู้ต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งครอบครัว โดยที่จะต้องมีระบบการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตครอบครัว ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และมีความปลอดภัย มีระบบสนับสนุนในการดูแลเด็กและครอบครัวในชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งมีระบบ สนับสนุนในการทำงานที่เอื้อต่อครอบครัวที่ทุกภาคส่วนการพัฒนาสนับสนุนการจัดสวัสดิการและการส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน สร้างกระบวนการ เรียนรู้และพัฒนาทักษะของประชากรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต สร้างความตระหนักถึง ความสำคัญของการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม รวมทั้งสนับสนุนด้านวิชาการ และสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน เพื่อให้องค์กรเครือข่ายชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ที่ประชาชน ชุมชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เฝ้าระวัง และติดตามการดำเนินงานส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างเป็น รูปธรรม การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน โดยเน้นให้พ่อแม่มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝังให้ลูกเพิ่มพูนทักษะ การเรียนรู้ชีวิต ดนตรี กีฬา ศิลปะ รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และจัดกระบวนการ เรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม เอื้อแก่ครอบครัวทุกลักษณะ แนวทางการพัฒนาที่ 3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเชื่อมโยง และบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างภาคีการพัฒนาต่าง ๆ โดยการเชื่อมโยงข้อมูล ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาตนเอง สุขภาพ และการพัฒนาอาชีพในตลอดช่วงชีวิต เพื่อเสริมและสร้างศักยภาพ ของการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงานให้มีความเข้มแข็ง และตอบโจทย์


ห น้ า | 19 ประเทศ เป็นฐานข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถ ประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง และศักยภาพบุคคลของประเทศ นำไปสู่การตัดสินใจระดับนโยบายและปฏิบัติ เพื่อพัฒนา คนไทยอย่างมีทิศทางและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต รวมถึงข้อมูลที่สนับสนุนการผลิตกำลัง แรงงานที่มีทักษะตรงต่อความต้องการของตลาดงานในอนาคต และใช้ประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อ มีธนาคารคลังสมองเพื่อรวบรวมผู้สูงอายุที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และทักษะให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ แผนย่อยการพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ แนวทางการพัฒนาที่ 1 จัดให้มีการเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาวะ เจตคติ ความรู้ และทักษะ ให้แก่ พ่อแม่ก่อนการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการสร้างความ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ด้วยตนเอง ทั้งการจูงใจให้สถานประกอบการ จัดให้มีการจ้างงานที่ยืดหยุ่น รณรงค์ให้ผู้ชายตระหนักและมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ในบ้านและดูแลบุตรมากขึ้น แนวทางการพัฒนาที่ 2 จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาวะที่ดีและสมวัย โดยส่งเสริม และสนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก สู่มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสารอาหาร ที่จำเป็นต่อสมองเด็ก แนวทางการพัฒนาที่ 3 จัดให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่ดี ที่สมวัยทุกด้าน โดยการพัฒนาหลักสูตรการสอนและปรับปรุงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ที่เน้นการพัฒนาทักษะสำคัญด้านต่าง ๆ อาทิ ทักษะทางสมอง ทักษะด้านความคิด ความจำ ทักษะการควบคุม อารมณ์ ทักษะการวางแผนและการจัดระบบ ทักษะการรู้จักประเมินตนเองควบคู่กับการยกระดับบุคลากร ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุมทั้งการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้เน้นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบ การศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยและการเตรียมทักษะการอยู่ในสังคมให้มีพัฒนาการ อย่างรอบด้าน แผนย่อยการพัฒนาวัยเรียน/วัยรุ่น โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ แนวทางการพัฒนาที่ 1 จัดให้มีการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะ ด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับ ผู้อื่น แนวทางการพัฒนาที่ 2 จัดให้มีการพัฒนาทักษะด้านภาษา ศิลปะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ แนวทางการพัฒนาที่ 3 จัดให้มีการพัฒนาทักษะในการวางแผนชีวิตและวางแผนการเงิน ตลอดจนทักษะ ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน แนวทางการพัฒนาที่ 4 จัดให้มีพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การบ่มเพาะ การเป็นนักคิด นักนวัตกร และการเป็นผู้ประกอบการใหม่ รวมทั้งทักษะชีวิตที่สามารถอยู่ร่วมและทำงานภายใต้ สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม แนวทางการพัฒนาที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพและอนามัยที่เชื่อมต่อกันระหว่าง ระบบสาธารณสุขกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ตลอดจนภูมิคุ้มกันด้านต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น


ห น้ า | 20 แผนย่อยการพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ แนวทางการพัฒนาที่ 1 ยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะของคนในช่วงวัยทำงานให้มีคุณภาพ มาตรฐานสอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลและความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจและผลิตภาพเพิ่มขึ้นให้กับประเทศ แนวทางการพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ สามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ในการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ มีโอกาสและทางเลือกทำงาน และสร้างงาน ประเด็น (12) การพัฒนาการเรียนรู้ เน้นทั้งการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน การเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษาแล้ว ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาคนไทย ตามพหุปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอด การประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง โดยประกอบด้วย 2 แผนย่อย ดังนี้ แผนย่อยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 แนวทางการพัฒนาที่ 1 ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 แนวทางย่อย ได้แก่ (1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา ที่ใช้ฐานความรู้และระบบคิด ในลักษณะสหวิทยาการ มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ให้ได้มาตรฐานกับหลักสูตรในระบบการศึกษาชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีการ จัดทำรายงานประจำปีที่เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับการนิเทศ การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงหลักสูตร ฐานสมรรถนะ ปฏิรูปหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานฝีมือ แรงงานและมาตรฐานอาชีพ โดยเน้นการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และการฝึกงานในสถานประกอบการ ปฏิรูปการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยเน้นการเรียนรู้ที่ผูกกับงาน เพื่อวางรากฐานให้มีสถาบันอุดมศึกษา ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศได้ในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะ และทักษะในสาขาที่เป็นที่ต้องการของตลาด การพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างธุรกิจใหม่ที่มี ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม และสามารถไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ รวมถึงมีนักวิจัยและนวัตกรที่สามารถสร้างสรรค์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สามารถส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นอย่างดี (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา รวมถึงจัดกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อพัฒนา ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 มีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับเนื้อหาและวิธีการสอน โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน ทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ในการพัฒนาเนื้อหาและทักษะแบบใหม่ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีคุณลักษณะที่มีชีวิต มีพลวัต มีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมต่อและมีส่วนร่วม (3) พัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่เน้นการลงมือปฏิบัติ มีการสะท้อนความคิด/ทบทวนไตร่ตรอง โดยเน้นการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะชีวิต และสามารถนำมาใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้จริง และ


ห น้ า | 21 (4) พัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนได้เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ สร้างรายได้ รวมถึงมีทักษะด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต โดยใช้สื่อผสมอย่างหลากหลาย ปรับเปลี่ยน ตามความสามารถและระดับของผู้เรียน มีเนื้อหาที่ไม่ยึดติดกับตัวสื่อ เลือกประกอบเนื้อหาได้เอง ค้นหา แก้ไข จดบันทึกได้ เก็บประวัติการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีระบบการประเมินผลการเรียนรู้ที่รวดเร็วและต่อเนื่อง โดยผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน แนวทางการพัฒนาที่ 2 เปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย ได้แก่ (1) วางแผนการผลิต พัฒนาและปรับบทบาท “ครู คณาจารย์ยุคใหม่” ให้เป็น “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” มีหลักสูตรผลิตครูอาชีวะยุคใหม่ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและมาตรฐานอาชีพ โดยเน้นการเป็น ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในสาขาที่ตนเองสอน (2) ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรร ผู้มีความสามารถสูงให้เข้ามาเป็นครู ปฏิรูประบบ การผลิตครูยุคใหม่โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะของวิชาชีพครูที่สามารถสร้างทักษะในการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ และมีครูที่ชำนาญในด้านการสอนภาษาอังกฤษ และภาษาที่ 3 ที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ ในจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน อีกทั้งยังมีระบบการ อบรมและเสริมสมรรถนะครูที่ผ่านการศึกษาในระบบเดิม หรือครูภาษาอังกฤษ และภาษาที่ 3 ที่ยังไม่ผ่านการประเมิน มาตรฐานในระดับนานาชาติ (3) ส่งเสริมสนับสนุนระบบการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งเงินเดือน สายอาชีพและระบบสนับสนุนอื่น ๆ ปฏิรูประบบการผลิตครูอาชีวะยุคใหม่ โดยผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพจะต้องเป็น ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในสาขาที่ตนเองสอน มีความรู้ ทักษะ และสามารถสร้างสมรรถนะที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและมาตรฐานอาชีพให้แก่ผู้เรียน และมี อัตรากำลังเพียงพอต่อความต้องการของสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา แนวทางการพัฒนาที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับทุกประเภท ประกอบด้วย 6 แนวทางย่อย ได้แก่ (1) ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการสร้างความ รับผิดชอบ ต่อผลลัพธ์ ตั้งแต่ระดับบนสุดลงไปจนถึงระดับโรงเรียน รวมถึงมีโครงสร้างแรงจูงใจและความรับผิดชอบ ของหน่วยงานและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบที่เหมาะสม (2) จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นมีการกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในด้านความพร้อมของโครงสร้าง พื้นฐาน อุปกรณ์การเรียนการสอน การบริหารจัดการโรงเรียน จำนวนครูที่ครบชั้น ครบวิชา จำนวนพนักงาน สนับสนุนงานบริหารจัดการโรงเรียน (3) ปรับปรุงโครงสร้างการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพการศึกษามีการปรับปรุง โครงสร้างการศึกษาที่เน้นสายอาชีพมากขึ้น มีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดทักษะ ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะภาษาที่ 3 ทักษะและความรู้ในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ อย่างคล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม


ห น้ า | 22 (4) เพิ่มการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในการจัดการศึกษา ส่งเสริมภาคประชาสังคมปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และมีชีวิต รวมถึงการเรียนรู้และทบทวนทักษะพื้นฐาน ได้แก่ การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น โดยระดมทรัพยากรจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม (5) พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยแยกการประกันคุณภาพการศึกษาออกจากการประเมิน คุณภาพและการรับรองคุณภาพและการกำกับดูแลคุณภาพการศึกษา และปฏิรูประบบการสอบที่นำไปสู่การวัดผล ในเชิงทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 มากกว่าการวัดระดับความรู้ และ (6) ส่งเสริมการวิจัยและใช้เทคโนโลยีในการสร้างและจัดการความรู้ การเรียนการสอน และการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กับภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เข้มแข็ง แนวทางการพัฒนาที่ 4 พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 5 แนวทางย่อย ได้แก่ (1) จัดให้มีระบบการศึกษาและระบบฝึกอบรมบนฐานสมรรถนะที่มีคุณภาพสูงและยืดหยุ่น (2) มีมาตรการจูงใจและส่งเสริมสนับสนุนให้คนเข้าสู่ใฝ่เรียนรู้ พัฒนาตนเอง รวมถึงการยกระดับทักษะ วิชาชีพ (3) พัฒนาระบบการเรียนรู้ชุมชนให้เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม (4) พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลแฟลตฟอร์ม สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และ (5) พัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีคุณภาพที่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แนวทางการพัฒนาที่ 5 สร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติประกอบด้วย 5 แนวทางย่อย ได้แก่ (1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความโดดเด่นเฉพาะสาขา สู่ระดับนานาชาติ มีกรอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและมาตรฐานอาชีพที่กำหนดสมรรถนะและทักษะพื้นฐานสำหรับ สาขาอาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve เพื่อเป็นเครื่องมือในการยืนยัน และพัฒนาสมรรถนะของแรงงาน และมีกรอบแนวคิด ในการคาดการณ์อุปสงค์แรงงานในอนาคตในสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีแนวทางทบทวนและปรับปรุงให้แม่นยำ มากขึ้นเป็นระยะ (2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในระดับนานาชาติ รวมถึงการพัฒนาศูนย์วิจัย ศูนย์ฝึกอบรม และทดสอบในระดับภูมิภาค (3) จัดให้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (4) จัดให้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของไทยและพัฒนาการของประเทศเพื่อนบ้าน ในสถานศึกษา และสำหรับประชาชน และ (5) ส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และนักเรียนกับประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์


ห น้ า | 23 แผนย่อยการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย แนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการกลไกการคัดกรอง และการส่งต่อเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนไทยตามพหุปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมสนับสนุนครอบครัวในการ เสริมสร้างความสามารถพิเศษตามความถนัดและศักยภาพ ทั้งด้านกีฬา ภาษาและวรรณกรรม สุนทรียศิลป์ส่งเสริม สนับสนุนระบบสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ บนฐานพหุปัญญา และส่งเสริมสนับสนุนมาตรการจูงใจแก่ภาคเอกชน และสื่อในการมีส่วนร่วม และผลักดัน ให้ผู้มีความสามารถพิเศษ มีบทบาทเด่นในระดับนานาชาติ แนวทางการพัฒนาที่ 2 สร้างเส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการทำงาน และระบบสนับสนุนที่เหมาะสม สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนเพื่อผู้มีความสามารถพิเศษได้สร้างความ เข้มแข็งและต่อยอดได้ จัดให้มีกลไกการทำงานในลักษณะการรวมตัวของกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในหลากสาขาวิชา เพื่อรวมนักวิจัยและนักเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ สร้างความ ร่วมมือและเชื่อมต่อสถาบันวิจัยชั้นนำทั่วโลก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้นักวิจัยความสามารถสูงของไทยให้มีศักยภาพสูง ยิ่งขึ้น ประเด็น (21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ แนวทางการพัฒนาที่ 1 ปลูกและปลุกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต และการปลูกฝัง และหล่อหลอมวัฒนธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย ทุกระดับ มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม “คน” โดยการ “ปลูก” และ “ปลุก” จิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ ส่วนตน สิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม มีความละอายต่อการกระทำความผิด ไม่เพิกเฉยอดทนต่อการทุจริต และเข้ามา มีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมสุจริตในระดับ ชุมชนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่านิยมที่ยึดประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งเสริมวัฒนธรรมสุจริตผ่านหลักสูตร การศึกษาภาคบังคับที่เด็กไทยทุกคนต้องเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึง ระดับอุดมศึกษา เพื่อปฏิรูป “พลเมืองไทยในอนาคต” ให้มีความเป็นพลเมืองเต็มขั้น สามารถทำหน้าที่ความเป็น พลเมืองที่ดี มีจิตสำนึกยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมีระเบียบวินัย และเคารพ กฎหมาย แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความใสสะอาด ปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต โดยการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ถูกต้องเป็นธรรม ไม่คดโกง รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ตลอดจนการสร้างจิตสำนึก และค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตให้แก่บุคลากรขององค์กรโดยการสนับสนุนให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ติดตามพฤติกรรมเสี่ยงและแจ้งเบาะแส เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้ โดยมีมาตรการ สนับสนุนและคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส


ห น้ า | 24 2.2 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา แผนภาพ 4 สาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับปรับปรุงการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะจำเป็นของโลกอนาคต และเป็นพลเมือง ที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ ตลอดจนมีความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ขอให้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาไทยไปด้วยกัน ทั้งนี้ มุ่งเน้นกิจกรรมปฏิรูป ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ 5 กิจกรรม 1. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยพัฒนาเครื่องมือ และระบบบูรณาการทำงาน สนับสนุนนวัตกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ ระดับปฐมวัย สนับสนุนกลไกการดำเนินงานในระดับพื้นที่และต้นสังกัด รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและระดม การมีส่วนร่วมของสังคม 2. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน คือ ปรับหลักสูตรการพัฒนาครู ให้มีศักยภาพในการออกแบบการเรียนรู้ ปรับปรุงระบบการวัดประเมินผล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา ประเมินผลการดำเนินงานและขยายผลต่อไป 3. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน คือ ม.ต้น สายสามัญและสายอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมี ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ 4. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การ จ้างงานและการสร้างงาน มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน คือ จัดทำมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนระดับ ม.ต้น


ห น้ า | 25 ให้สนใจศึกษาต่อสายวิชาชีพ พัฒนาระบบความร่วมมือ ระบบจัดการบริหารจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีเชิงพื้นที่ และการคัดกรองสถานประกอบการที่มีคุณภาพมาตรฐาน สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการและ สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพเฉพาะด้าน เน้นการฝึกปฏิบัติ และติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการ 5. การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนา ประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน คือ สำรวจและวิเคราะห์ สภาพสถานการณ์ปัจจุบัน และกำลังการผลิตของสถาบันอุดมศึกษา การประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันยกร่างแผนการปฏิรูประบบการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดทำแผนปฏิรูป ระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษารวมถึงหน่วยงานภายใน ติดตามและประเมินผล 2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 -2570) เป็นกลไกที่สำคัญในการ แปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ซี่งเป็นการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ ก้าวข้ามความท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เร่งแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัด ของประเทศที่มีอยู่เดิม รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความเสี่ยงสำคัญที่มาจากการเปลี่ยนแปลงบริบท ทั้งจากภายนอกและภายใน ตลอดจนการเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น อย่างเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่า อย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมายหลัก จำนวน 5 ประการ ประกอบด้วย 1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ 3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4) การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน 5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้ บริบทโลกใหม่ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ 2 เป็นเป้าหมายหลัก ส่วนเป้าหมายที่ 3 5 และ 4 เป็นเป้าหมายรองตามลำดับ และเพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับ เคลื่อนที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมจึงได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน 13 หมุดหมาย ภารกิจสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีส่วนเกี่ยวข้องกับหมุดหมายการพัฒนา จำนวน 5 หมุดหมาย ดังนี้ 1) หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน เป้าหมาย : 1) การ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษขยายตัวเพิ่มขึ้น 2) การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างทั่วถึง กลยุทธที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ ชุมชน โดยสร้างเสริมองค์ความรู้ให้กับชุมชนจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมกลไกความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ประชาชนและประชาสังคมเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมือง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่และเมืองด้วย ความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ หลากหลายรูปแบบ


ห น้ า | 26 2) หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลงและคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม เป้าหมาย : 1) ครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นมีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถหลุดพ้น จากความยากจนได้อย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น กลยุทธ์ ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีคุณภาพ 3) หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ เป้าหมาย : สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนา และเพิ่มศักยภาพประชาชนและชุมชนในการรับมือภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความเสี่ยงและปรับตัวรับมือผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4) หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต เป้าหมาย: 1) คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ มีคุณลักษณะ ตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลันของโลก สามารถดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข 2) ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคนไทยทุก ช่วงวัยในทุกมิติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนาเด็กช่วงตั้งครรภ์ถึงปฐมวัยให้มีพัฒนาการรอบด้าน มีอุปนิสัยที่ดี กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 พัฒนาผู้ที่อยู่ในช่วงวัยระดับพื้นฐานให้มีความตระหนักรู้ในตนเอง มีทักษะดิจิทัลและมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การดำรงชีวิตและการทำงาน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 พัฒนาวัยแรงงานให้มีสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อการประกอบอาชีพและเชื่อมโยง กับโลกการทำงานในอนาคต กลยุทธ์ย่อยที่ 1.5 พัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นพลเมืองมีคุณค่าของสังคม โดยพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็น พลังงานของสังคม กลยุทธ์ที่ 3 การเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ ย่อยที่ 3.2 พัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ในระบบการศึกษาปกติ 5) หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ประชาชน เป้าหมาย : 1) การ บริการภาครัฐที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ 2) ภาครัฐมีขีดสมรรถนะคล่องตัว กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพการให้บริการภาครัฐ ที่ตอบโจทย์ สะดวกและประหยัด กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 ยกเลิกภารกิจให้บริการที่สามารถเปิดให้ส่วนอื่นให้บริการแทน กลยุทธ์ ย่อยที่ 1.2 ทบทวนกระบวนการทำงานของภาครัฐควบคู่กับการบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ กลยุทธ์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและโครงสร้างของภาครัฐให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้างและมีประสิทธิภาพรองรับการ เปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ทบทวนบทบาทภาครัฐและกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ภาครัฐ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 สร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลภาครัฐ กลยุทธ์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ใช้ ข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 ปรับเปลี่ยนภาครัฐทั้งหมดให้เป็นข้อมูลดิจิทัล กลยุทธ์ ย่อยที่ 3.2 ปรับเปลี่ยนกระบวนการภาครัฐเป็นดิจิทัลกลยุทธ์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารภาครัฐที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยน และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัลและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการภาครัฐให้เอื้อ ต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.1 ปรับระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ เพื่อดึงดูดและรักษาผู้มีศักยภาพมา ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.2 ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและพัฒนากฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนา ประเทศ


ห น้ า | 27 2.4 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) จัดเป็นแผนระดับที่ 2 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่องแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี รองรับยุทธศาสตร์ชาติซึ่งจัดเป็นแผนระดับที่ 1 ด้วย สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความ มั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้กำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคง เฉพาะเรื่อง หรือกำหนดแผนงานหรือโครงการที่เกี่ยวกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนและประสานการบูรณาการการดำเนินงานให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ในอันที่จะสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ วัตถุประสงค์แห่งชาติ 1. เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้มีความจงรักภักดี และธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความสามัคคีปรองดอง ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ ในชาติเพื่อลดการเผชิญหน้า และการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ 4. เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรง 5. เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาครัฐและส่งเสริมบทบาทและความเข้มแข็งของทุกภาคส่วนในการ รับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่กระทบกับความมั่นคง 6. เพื่อให้การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร มีความมั่นคง ความยั่งยืน และมีความสมดุลกับการขยายตัวของการพัฒนาประเทศ รวมถึงลดความเสี่ยงจากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ 7. เพื่อพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมของชาติในการเผชิญกับภาวะสงครามและวิกฤตการณ์ ความมั่นคง อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ 8. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพในการป้องกันประเทศ สนับสนุนภารกิจที่ไม่ใช่การสงคราม และสามารถผนึกกำลังของกองทัพกับทุกภาคส่วนในการเผชิญกับภัยคุกคามด้านการป้องกันประเทศในทุกรูปแบบ 9. เพื่อส่งเสริมสภาวะแวดล้อมที่สร้างสรรค์และสันติในการอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศ อาเซียน ประชาคมโลก บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ และการดำรงเกียรติภูมิของชาติ วิสัยทัศน์ “มีเสถียรภาพภายในประเทศ มีศักยภาพในการลดภัยข้ามเขตพรมแดนไทย มีบทบาท สร้างสรรค์ในภูมิภาคและประชาคมโลก” แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาที่จะมีส่วนในการสนับสนุน อาทิเช่น 1. การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ส่งเสริมให้คนไทยมีความสามัคคี สังคมมีความสงบสุข และประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคน ชุมชน พื้นที่ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคงโดยเฉพาะ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ตลอดจนมีความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคต ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ปลูกฝังวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ค่านิยมที่ดีงาม ความภูมิใจ


ห น้ า | 28 ในชาติ การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยการเรียนการสอน ทั้งในระบบและนอกระบบสถานศึกษา เพื่อสนับสนุน กิจกรรมในด้านความมั่นคง 2. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมทุกภาคส่วนในสังคมรวมถึงชุมชนไทยในต่างประเทศให้ตระหนักรู้ และเข้าใจถึงบทบาทและคุณค่าของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาติ รวมถึงสร้างความเข้าใจ ถึงหลักการเหตุผล และความจำเป็นในการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ นำศาสตร์พระราชาและ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงขยายผลตามโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้แพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ทั้งในและต่างประเทศ 3. การสร้างความสามัคคีปรองดอง ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความรักความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย และเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยมีแนวทางหรือการดำเนินการที่ส่งเสริมค่านิยมที่ดีของสังคมไทย การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งการยอมรับความคิดความเชื่อ อัตลักษณ์ วิถีชีวิต ภาษาและวัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกัน 4. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รณรงค์ให้เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชากรกลุ่มเสี่ยง ตระหนักรู้ถึงโทษของยาเสพติด เพื่อป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ โดยใช้กลไกประชารัฐ ผลักดันความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5. การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต รณรงค์ให้ความรู้แก่ทุกภาคส่วนถึงภัยทุจริต เพื่อสร้างค่านิยมต่อต้านและปฏิเสธการทุจริต 6.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้ และความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของภัยคุกคามความมั่นคงทางไซเบอร์ 7. การรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีจิตสำนึก และตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมั่นคง และยั่งยืนตามแนวทางประชารัฐ


ห น้ า | 29 3. แผนระดับที่ 3 3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) (พ.ศ. 2559-2573) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs ) เป็นวาระการพัฒนาภายหลัง ปี 2015 ระยะ 15 ปี ( ค.ศ. 2016-2030) ที่ผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติ จำนวน 193 ประเทศ ได้ร่วมกัน ลงนามรับรองพันธะสัญญาทางการเมืองระดับผู้นำในเอกสาร “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development” เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 15 ปีข้างหน้า เพื่อยืนยัน เจตนารมณ์ร่วมกันที่จะผลักดันและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกมิติและทุกรูปแบบ โดยมีเป้าหมาย หลัก 17 ข้อ ครอบคลุม 3 เสาหลักด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการ สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) (ค.ศ. 2000-2015) แผนภาพ 5 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การดำเนินการในส่วนของประเทศไทยนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อน ในรูปแบบคณะกรรมการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยมีปลัดกระทรวง ผู้แทนส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นกรรมการ และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะภายใต้ กพย. ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้าใจ และประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ กพย. ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับ มอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายย่อย 10 เป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายย่อยที่ 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573


ห น้ า | 30 เป้าหมายย่อยที่ 4.2 สร้างหลักประกันว่า เด็กชาย และเด็กหญิง ทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อม สำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชน และผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะ ทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานทำที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่ม ที่เปราะบาง ซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้ และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ ส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใน ปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.a สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษา ที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจาก ความรุนแรง ครอบคลุม และมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน เป้าหมายย่อย 4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศ พัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 เป้าหมายย่อยที่ 4.c เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลัง พัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573


ห น้ า | 31 3.2 แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนภาพ 6 กรอบแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เป็นแผนที่วางกรอบเป้าหมายและทิศทาง การจัดการ ศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาค ในการศึกษาที่มี คุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาคน ให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ แนวคิดการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการ จัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของสังคม (All For Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพ ของคนช่วงวัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และวิกฤติ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมี สาระสำคัญ ดังนี้ วิสัยทัศน์: คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและร่วมมือ ผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ ลดลง


ห น้ า | 32 ยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้อง กับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะ ตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และ นวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขา ที่ตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความ เชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน 3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมือง ไทยและทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3. คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกัน จากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึง การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ 3. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึง การศึกษาในพื้นที่พิเศษ 4. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแล และป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น


ห น้ า | 33 เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 2. คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและ สมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐาน วิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ 3. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัด กิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้อย่างมี คุณภาพและมาตรฐาน 4. แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 5. ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผล มีประสิทธิภาพ 6. ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษาได้มาตรฐานระดับสากล 7. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการ พัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน 2. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่ จำกัดเวลาและสถานที่ 3. สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 4. พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและ ประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ 5. พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มี คุณภาพและมาตรฐาน 6. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 7. พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์และบุคลากรทางการ ศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาค ในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย 3. ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการ ศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เพื่อการวาง แผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมินและ รายงานผล 1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึง การศึกษาที่มีคุณภาพ 2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับ คนทุกช่วงวัย 3. พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2. หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม 1. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์ สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการ ดำเนินชีวิต


ห น้ า | 34 เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้าน การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านการ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา 1. โครงสร้าง บทบาทและระบบการบริหารจัดการ การศึกษามีความคล่องตัว ชัดเจนและสามารถ ตรวจสอบได้ 2. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3. ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและพื้นที่ 4. กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากร ทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงาน ของประเทศ 5. ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญ กำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตาม ศักยภาพ 1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา 2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการ จัดการศึกษา 4. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงิน เพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ การจัดการศึกษา 5. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา 3.3 แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563–2565) สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565) ประกอบด้วย เป้าหมายหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และผลผลิต /ผลลัพธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ดังนี้ เป้าหมายหลัก 1. คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 2. ครูมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ 3. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภูมิภาค มีทรัพยากรพื้นฐานที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน 4. ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5. ระบบและวิธีการคัดเลือกเพื่อการศึกษาต่อ ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข


ห น้ า | 35 6. ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา ได้รับการเพิ่มเติมความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ ที่ตรงกับ สภาพตลาดแรงงานในพื้นที่ชุมชน สังคม จังหวัด และภาค 7. กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ 8. ผู้เรียนปฐมวัยได้รับการเตรียมความพร้อมในด้านสุขภาพและโภชนาการ ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 9. มีองค์ความรู้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ที่สนับสนุนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดและภาค 10. ระบบบริหารจัดการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับทุกภาคส่วน วิสัยทัศน์ “กระทรวงศึกษาธิการวางระบบเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ - ทักษะ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง” “วางระบบ” หมายถึง วางระบบการจัดการเรียนรู้ และระบบการบริหารจัดการการศึกษาที่บูรณาการ การทำงานระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้มีความคล่องตัว เพื่อดำเนินการปฏิรูปการศึกษา ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม “ผู้เรียน” หมายถึง เด็กปฐมวัย เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกช่วงวัยที่ได้รับบริการ จากกระทรวงศึกษาธิการ “มีความรู้ – ทักษะ” หมายถึง ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเกิดกับผู้เรียน ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) ทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ 21 (ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม / ทักษะด้านสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล / ทักษะชีวิตและอาชีพ “มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง” หมายถึง 1) ความรู้ความเข้าใจต่อชาติบ้านเมือง 2) ยึดมั่น ในศาสนา 3) มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 4) มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน “มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม” หมายถึง 1) รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด – ชอบ /ชั่ว – ดี 2) ปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 3) ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 4) มีระเบียบวินัย และ 5) มีสุขภาพที่แข็งแรง “มีงานทำ มีอาชีพ” หมายถึง 1) การฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็ก เยาวชน รักการทำงาน สู้งาน อดทนทำงานจนสำเร็จ 2) การเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงาน เป็น 3) ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรให้มีอาชีพ และมีงานทำ “เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง” หมายถึง การเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ มีจิตอาสา การอยู่ร่วมกันและยอมรับความแตกต่างในสังคมไทยบนหลักการประชาธิปไตย ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พันธกิจ 1. ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา 2. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 3. มุ่งความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพิ่มความคล่องตัว ในการรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา และสร้างเสริมธรรมาภิบาล


ห น้ า | 36 ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล 2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 4. เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผลผลิต /ผลลัพธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีทักษะการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิตและสุขภาวะที่ดี มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดในเชิงสร้างสรรค์ และแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นได้มีความสามารถในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตอาสา มีจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การดำเนินชีวิต ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ/ประเภท ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของชาติ รวมทั้งมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสามัคคีปรองดอง ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีองค์ความรู้และทักษะ ในด้านพหุปัญญา มีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีขวัญ กำลังใจที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีแผนการพัฒนาและการใช้อัตรากำลังครูให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะครู ระดับปฐมวัย ครูระดับอาชีวศึกษา ครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศ มีการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่มีปริมาณเพียงพอ โดยมีคุณภาพ มีสมรรถนะ มีทักษะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษด้านพหุปัญญา สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนได้รับการศึกษาเพื่อฝึกอาชีพตาม ความถนัด และความ สนใจ รวมทั้งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในทุกระดับและประเภทการศึกษา ได้รับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต สถานศึกษาในภูมิภาค/ชนบท ได้รับการยกระดับคุณภาพในการให้บริการ เด็กพิการและด้อยโอกาสได้รับ โอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้ง มีระบบเทียบโอนผลการเรียน และทักษะ ประสบการณ์เพื่อขอรับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นได้


ห น้ า | 37 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ผู้เรียนสถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทการศึกษาเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มรองรับ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และทักษะ ต่อยอดการประกอบอาชีพ /การปฏิบัติงาน รวมทั้งมี ศูนย์กลางในการจัดเก็บรวบรวมสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลที่ทันสมัย และระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษา ของประเทศที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องได้ ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา ระบบบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการมีความคล่องตัวในการบริหารงานการศึกษามากยิ่งขึ้น มีเอกภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ โครงสร้างของกระทรวงได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ โดยการ กระจายอำนาจลงไปสู่ส่วนภูมิภาค สถานศึกษาทุกระดับมีมาตรฐานขั้นต่ำตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีธรรมาภิบาลในการบริหาร และมีกลไกการส่งเสริมพลังทางสังคมให้ทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการร่วมและ/หรือ สนับสนุนทรัพยากรในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งมีกลไกการนำความรู้ ทักษะประสบการณ์ และภูมิปัญญา ของผู้สูงอายุมาถ่ายทอดสู่ผู้เรียนในพื้นที่ชุมชน เพื่อนำไปใช้สำหรับการประกอบอาชีพได้ 3.4 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖6 กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคน สมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคตแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความปลอดภัย และมีสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อม ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับ สังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดหลักการ สำคัญในการประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้ดังนี้ 1. สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประชาชน โดยให้ทุกหน่วยงานนำ รูปแบบการทำงานโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน 2. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบ ต่อตนเอง องค์กร ประชาชนและประเทศชาติ โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไกการรับฟัง ความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา


ห น้ า | 38 3. ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ประกาศและแถลงนโยบายไว้แล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ แผนภาพ 7 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกันจากภัย คุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่นๆ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในรูปแบบต่างๆ อย่างเข้มข้น รวมทั้งดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผลการ ดำเนินการ และแสวงหาสถานศึกษาที่ดำเนินการได้ดีเยี่ยม (Best Practice) เพื่อปรับปรุง พัฒนาและขยายผล ต่อไป 1.2 เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยบูรณาการอยู่ในกระบวนการ จัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเชิงบวก และสร้างสรรค์ พร้อมทั้งหาแนวทางวิธีการปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา 1.3 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึง ประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 1.4 เร่งพัฒนาบทบาทและภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในทุกหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ


ห น้ า | 39 2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน 2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสวรรค์ ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน สถานประกอบการ รวมทั้งการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มและห้องดิจิทัลให้คำปรึกษาแนะนำ 2.3 พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลฐานสมรรถนะสู่การ ปฏิบัติในชั้นเรียน เพื่อสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างตรรกะความคิด แบบเป็นเหตุเป็นผลให้นักเรียนไทยสามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ 2.4 พัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่ 2.5 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้มีความ ทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้าง วิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 2.6 จัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนคุณภาพสูง รวมทั้งมีการประเมินและพัฒนาผู้เรียน 2.7 ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับ ผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน สหกรณ์ ฯลฯ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ และการเผยแพร่สื่อแอนิเมชันรอบรู้เรื่องเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่ สูงขึ้น 2.8 ปรับโฉมศูนย์วิทยาศาสตร์และศูนย์การเรียนรู้ ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สวยงาม ร่มรื่น จูงใจ ให้เข้าไปใช้บริการ โดยมีมุมค้นหาความรู้ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุมจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ของผู้เรียน หรือกลุ่มผู้เรียน และการร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือจัดเป็นฐานการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่ผู้เรียน และประชาชนสามารถมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และได้รับเอกสารรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ได้ รวมทั้งมีบริเวณพักผ่อนที่มีบริการ ลักษณะบ้านสวนกาแฟเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น 2.9 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้ในการ วางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 2.10 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน 3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 3.1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการส่ง ต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อป้องกันเด็กตกหล่นและเด็กออก กลางคัน


ห น้ า | 40 3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อรับ การพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยบูรณาการร่วมงาน กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่ม เปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ในการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ อย่างเท่าเทียม 3.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการ เรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home–based Learning) 4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นเพื่อการมีงานทำ 4.2 ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และยกระดับสมรรถนะ กำลังคนตามกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การ พัฒนาประเทศ 4.3 พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบ หลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.4 ส่งเสริมการพัฒนาแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตาม สมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ และการนำผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทำงาน ศึกษาต่อ ขอรับ ประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับวุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) 4.5 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start up) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพ และการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนา ผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ 4.6 เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกำลังแรงงาน ในภาคเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกรอัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ 4.7 ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ โดยบูรณาการ ความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันสังคมอื่น 4.8 พัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน ที่สอดคล้องมาตรฐานอาชีพ เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนรู้และมวลประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ได้


ห น้ า | 41 5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA) 5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบระดับ สมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา 5.3 พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล 5.4 พัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะ ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 5.5 เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับ การให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม 6. การพัฒนาระบบราชการ และการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 6.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็น กลไกหลัก ในการดำเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) การส่งเสริม ความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 6.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสาร ข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบ สนอง ความต้องการของประชาชนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทาง 6.3 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจำเป็น และใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ 6.4 นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งและสายงานต่าง ๆ 6.5 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามกลไกการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ เร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองและแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ 1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษา โดยดำเนินการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย


Click to View FlipBook Version