The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-01-19 01:47:53

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

ห น้ า | 42 และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ 3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการ แก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการ ติดตามฯ ตามข้อ 2 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ 4. สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว หากมีความสอดคล้อง กับหลักการนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น ให้ถือเป็น หน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผล สำเร็จ และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม 3.5 แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2566 – 2570) วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พันธกิจ 1. พัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา 2. มุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้มีความเป็นเลิศ (Excellent) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive advantage) 3. สร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง 4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพิ่มความคล่องตัวในการ รองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา และสร้างเสริมธรรมาภิบาล เป้าประสงค์ 1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 2. ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงาน และทิศทางการพัฒนาของประเทศ 3. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษา มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตทีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง เสมอภาคและเท่าเทียม 4. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง 2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะ และความสามารถ ในการแข่งขัน 3. เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ


ห น้ า | 43 3.6 แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2566 – 2580) วิสัยทัศน์ (Vision) “เมืองอัจฉริยะที่มีอัตลักษณ์ที่รู้จักในด้านการเกษตรแปรรูปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เขตการลงทุน การศึกษาและประตูเศรษฐกิจด้านตะวันตก รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอาหารและวัฒนธรรม” พันธกิจ (Mission) 1. ยกระดับรายได้ของประชากรในจังหวัด ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 2. การพัฒนาระดับพื้นที่เพื่อกระจายความเจริญ รองรับการขยายตัว และสนับสนุนการขยาย ความเจริญของเมืองหลวง 3. ศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ชุมชน ครอบครัว บุคคล ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง มีจิตอาสา เทิดทูนสถาบัน ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา (Strategy Issues) 1. พัฒนานครปฐมให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่มีอัตลักษณ์เป็นที่รู้จักทั้งด้านการเกษตร แปรรูปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เขตการลงทุน การศึกษาและประตูเศรษฐกิจด้านตะวันตก รวมถึง การท่องเที่ยวเชิงอาหารและวัฒนธรรม (Smart tourism) รองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging) 2. สร้างความแข็งแกร่งระดับพื้นที่ให้สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกระจาย ความเจริญให้เป็นระบบขนส่งและเคลื่อนที่อัจฉริยะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความสุขให้กับประชาชน ในทุกระดับ Smart mobility and Transport) 3. พัฒนาประชาชนให้เป็นประชาชนอัจฉริยะ (Smart Citizen) มีความสามารถในการหารายได้ ลดรายจ่าย ลดปัญหาครัวเรือนและสิ่งแวดล้อม สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียม โดยนำศาสตร์พระราชามาเป็น แนวทางปฏิบัติ ภายใต้ระบบบริหารสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ (Smart Healthy) และการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับแนวทางการพัฒนา (Smart Learning) ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 1. ภายในปี พ.ศ. 2570 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดต่อหัว (GPP Per Capita) มีมูลค่า เท่ากับ 315,595 บาท ต่อคนต่อปี (ปี 2566 – 2570 เพิ่มขึ้นปีละ 2%) 2. ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index – HAI) จังหวัดนครปฐม (ด้านการ คมนาคมและการสื่อสาร) มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาคกลาง 3. ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index – HAI) จังหวัดนครปฐม อยู่ใน 10 ลำดับแรกของประเทศ


ห น้ า | 44 3.7 นโยบายการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 1) นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งมั่น ในการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 ที่ได้กำหนดแนวทางการพัฒนา “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยังคงกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ด้าน เช่นเดิม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” จึงกำหนดนโยบาย และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ 1. ด้านความปลอดภัย 1.1 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน พร้อมเสริมสร้างระบบและ กลไกในการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา จากโรคภัยต่างๆ ภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ 1.2 ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.3 สร้างภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) 2. ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 – 6 ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา สร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วม ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอภาค และได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสำหรับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคตให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ 2.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ให้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2.4 ส่งเสริมเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและจัดหาทางเลือกในการ เข้าถึงการเรียนรู้ การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ 2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้นักเรียนหลุดออกจากระบบ การศึกษา และช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ 3. ด้านคุณภาพ 3.1 ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่มีความพร้อม ให้นำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เน้นสมรรถนะไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษา ให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการ และบริบท 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่เหมาะสมตามช่วงวัย สามารถจัดการตนเอง มีการคิด ขั้นสูง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงานของตนเองและร่วมกับผู้อื่น โดยใช้ การรวมพลังทำงานเป็นทีม เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน รวมทั้งมี ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข


ห น้ า | 45 3.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี่ทักษะที่จำเป้นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การมีอาชีพ มีงานทำ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.4 ส่งเสริม และพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียน ให้ควบคู่การเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการนำระบบธนาคารหน่วยกิต มาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียนในสถานศึกษา 3.5 พัฒนา ส่งเสริม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพ 4. ด้านประสิทธิภาพ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักธรรมาภิบาล 4.2 นำเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของผู้เรียน 4.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการ ขับเคลื่อนบริหารจัดการโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแสวงหาการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 4.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ โรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และปรับกระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิต – 19 โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียน ทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน 2. เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความ ปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) 3. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 – 6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงโอกาส ทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการ ที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้ง จัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน 5. จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัย ด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู 6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ทุกระดับ


ห น้ า | 46 7. ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกลและ ถิ่นทุรกันดาร 8. มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ 9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 2) นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 “ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” แบ่งเป็นประเด็น นโยบายการขับเคลื่อน ดังนี้ 1. การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1.1 ขับเคลื่อนศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) และความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) เพื่อการพัฒนากำลังคนตามบริบทเชิงพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศ 1.2 พัฒนาสมรรถนะอาชีพในทักษะอนาคต (Future Skills) โดยการ Up-Skill Re-Skill และ New-Skill และการเป็นผู้ประกอบการภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) 1.3 สร้างความเข้มแข็งระบบความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการพัฒนา คุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นและมีคุณภาพ 2. การยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน 2.1 ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐานในภาพรวมของจังหวัด โดยใช้ Big Data กำลังคนในพื้นที่ 2.2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพ อาชีวศึกษาแบบองค์รวม 2.3 ยกระดับการดำเนินงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) และเพิ่มประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นช่างอาชีวะ “ช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย” 2.4 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ การสะสม หน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) และการต่อยอดองค์ความรู้ และสมรรถนะใหม่ หรืออาชีพใหม่ (New Job/Future Job) 2.5 พัฒนาทักษะวิชาชีพผู้เรียนอาชีวศึกษาผ่านการฝึกประสบการณ์และการปฏิบัติงานจริง 2.6 ขยายโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้กับเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ อย่างครอบคลุมเสมอภาค และเท่าเทียมกัน 2.7 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะในการใช้และสร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ที่ทันสมัยในโลกดิจิทัลและในอนาคต 2.8 ยกระดับโครงการห้องเรียนอาชีพ ที่ผู้เรียนสายสามัญสามารถนำหน่วยกิตไปใช้ใน การศึกษาต่อสายอาชีพหรือนำไปสู่การประกอบอาชีพได้


ห น้ า | 47 3) นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ๓.๑ ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ ๑) น้อมนําพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดําริทุกโครงการ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ ๒) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่สนองตอบยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๓) ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย การเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ และอุดมการณ์ ความยึดมั่น ในสถาบันหลักของชาติ การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Social Media) รวมถึงการใช้กระบวนการจิตอาสา กศน. ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ๔) ปรับปรุงหลักสูตรทุกระดับทุกประเภท ให้สอดรับกับการพัฒนาคน ทิศทางการพัฒนา ประเทศ สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการและความหลากหลายของผู้เรียน/ผู้รับบริการ รวมถึง ปรับลด ความหลากหลายและความซ้ำาซ้อนของหลักสูตร เช่น หลักสูตรการศึกษาสําหรับกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูง พื้นที่พิเศษ และพื้นที่ชายแดน รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ๕) ปรับระบบทดสอบ วัดผล และประเมินผล โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ให้ผู้เรียน สามารถเข้าถึงการประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ เพื่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ให้ความสําคัญ กับการเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ พัฒนาระบบการประเมิน สมรรถนะผู้เรียน ให้ตอบโจทย์การประเมินในระดับประเทศและระดับสากล เช่น การประเมินสมรรถภาพผู้ใหญ่ ตลอดจนกระจายอํานาจไป ยังพื้นที่ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ๖) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเองครบวงจร ตั้งแต่การลงทะเบียนจนการประเมินผลเมื่อจบหลักสูตร ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน การศึกษา ต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการเรียนรู้ให้กับ กลุ่มเป้าหมายที่สามารถเรียนรู้ ได้สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ๗) พัฒนา Digital Learning Platform แพลตฟอร์มการเรียนรู้ของสํานักงาน กศน. ตลอดจน พัฒนาสื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และให้มีคลังสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ง่ายต่อการสืบค้นและนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ๘) เร่งดําเนินการเรื่อง Academic Credit-bank System ในการสะสมและเทียบโอน หน่วยกิต เพื่อการสร้างโอกาสในการศึกษา ๙) พัฒนาระบบนิเทศการศึกษา การกํากับ ติดตาม ทั้งในระบบ On-Site และ Online รวมทั้ง ส่งเสริมการวิจัยเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาการดําเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๓.๒ ด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ ๑) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับแต่ละช่วงวัย และการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ ๒) พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่เน้น New skill Upskill และ Reskill ที่สอดคล้องกับบริบท พื้นที่ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่มอาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology


ห น้ า | 48 ๓) ยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น “ส่งเสริม ความรู้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และช่องทาง การจําหน่าย ๔) ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็น Active Ageing Workforce และมี Life skill ในการดำรงชีวิตที่เหมาะกับช่วงวัย ๕) ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้พิการ ออทิสติก เด็กเร่ร่อน และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ๖) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลและทักษะด้านภาษา ให้กับบุคลากร กศน.และผู้เรียน เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ ๗) ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน กศน. ๘) สร้างอาสาสมัคร กศน. เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ในชุมชน ๙) ส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของบุคลากร กศน. รวมทั้งรวบรวมและเผยแพร่ เพื่อให้หน่วยงาน / สถานศึกษา นำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ๓.๓ ด้านองค์กร สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ ๑) ทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน สถานศึกษา เช่น สถาบัน กศน.ภาค สถาบันการศึกษา และพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร สถานศึกษาขึ้นตรงสังกัดส่วนกลาง กลุ่มสำนักงาน กศน.จังหวัด ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพ ราษฎรไทยบริเวณชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่ ๒) ยกระดับมาตรฐาน กศน.ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญของชุมชน ๓) ปรับรูปแบบกิจกรรมในห้องสมุดประชาชน ที่เน้น Library Delivery เพื่อเพิ่มอัตรา การอ่านและการรู้หนังสือของประชาชน ๔) ให้บริการวิทยาศาสตร์เชิงรุก Science@home โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือนำวิทยาศาสตร์ สู่ชีวิตประจำวันในทุกครอบครัว ๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ในรูปแบบ Public Learning Space Co-Learning Space เพื่อการสร้างนิเวศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคม ๖) ยกระดับและพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นสถาบันพัฒนาอาชีพ ระดับภาค ๗) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม กศน. จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ ๓.๔ ด้านการบริหารจัดการคุณภาพ ๑) ขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทบทวนภารกิจ บทบาท โครงสร้างของหน่วยงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย ๒) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการบริหาร จัดการ และการจัดการเรียนรู้ เช่น การปรับหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการจัดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ๓) ปรับปรุงแผนอัตรากำลัง รวมทั้งกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการนำคนเข้าสู่ตำแหน่ง การย้าย โอน และการเลื่อนระดับ


ห น้ า | 49 ๔) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตำแหน่งให้ตรงกับ สายงาน และทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ๕) ปรับปรุงระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้มีความครอบคลุม เหมาะสม เช่น การปรับค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของผู้พิการ เด็กปฐมวัย ๖) ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงาน ข้อมูลเด็กตกหล่นจากการศึกษาในระบบ เด็กเร่ร่อน ผู้พิการ ๗) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ ๘) ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ ๔.๐ และการประเมินคุณภาพ และความโปร่งใสการดำเนินงานของภาครัฐ (ITA) ๙) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับข้าราชการและบุคลากรทุกประเภทในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกาศเกียรติคุณ การมอบโล่ / วุฒิบัตร ๑๐) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความพร้อมในการ จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน


ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการศึกษา (SWOT Analysis) การกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการศึกษาภาคกลางและปริมณฑล นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งบริบทต่างๆ ของพื้นที่ จึงได้ทำการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมด้านการศึกษา (SWOT Analysis) ของจังหวัดนครปฐม โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการศึกษาของจังหวัดนครปฐม (SWOT Analysis) ดังนี้ การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Factors Analysis : IFA) ❖ จุดแข็ง (Strengths) 1. มีสถานศึกษาทุกระดับทั้งในระบบ นอกระบบ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (จัดการศึกษา โดยครอบครัว/สถานประกอบการ) ที่มีคุณภาพตั้งกระจายคลอบคลุมทุกพื้นที่ ส่งผลให้ประชากรสามารถเข้าถึงบริการ การศึกษาอย่างทั่วถึงตลอดชีวิต 2. มีเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา หน่วยงานการศึกษา/สถานศึกษามีความเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือ ในการจัดการศึกษา 3. มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยหลากหลายเพียงพอ เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 4. มีสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่จัดการศึกษาทวิภาคีที่เป็นแบบอย่างและส่งผลต่อผู้เรียน เมื่อจบแล้ว มีงานทำ 100% 5. มีสถานศึกษาต้นแบบระดับอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายสนับสนุนการเรียนต่อ ในระดับอาชีวศึกษา 6. สถาบันอาชีวศึกษาที่เข้มแข็งมีต้นแบบการสอนแบบ Critical Thinking ในระดับอาชีวศึกษาเพื่อให้ ผู้เรียนมีทักษะความเป็นผู้นำ เห็นคุณค่าแห่งตน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งผลต่อพฤติกรรมทางบวก และการมีงานทำ 7. สถานศึกษาทุกระดับมีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง ส่วนใหญ่ได้รับการรับรองคุณภาพ ภายนอก จาก สมศ. 8. มีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น โรงเรียนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง /โรงเรียนคุณธรรม / โรงเรียนต้นแบบ สิ่งแวดล้อม / โรงเรียนศูนย์ STEM ภาคกลาง ฯลฯ ครูแกนนำ / ครูต้นแบบ / ครูดีเด่นต่างๆ เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษา 9. บุคลากรทางการศึกษาในภาพรวมมีเพียงพอ ❖ จุดอ่อน (Weaknesses) 1. คุณภาพของผู้เรียนโดยรวมยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 50) โดยเฉพาะกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 2. การจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษา ยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลงสู่ศตวรรษที่ 21 4. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ยังไม่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นพบความถนัดของตัวเอง ขาดบุคลากรด้านการ แนะแนวการศึกษา 5. ครูสอนไม่ตรงสาขาที่จบ ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา (สังกัดประถมศึกษา)


ห น้ า | 51 6. โรงเรียนขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่าและโอกาสในการ เรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ 7. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 8. นักเรียนบางส่วนยังขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 9. ผู้เรียนในบางระดับการศึกษายังมีอัตราเสี่ยงการออกกลางคัน 10. ครูในโรงเรียนสังกัดประถมศึกษายังมีภาระงานนอกเหนือจากการสอน ส่งผลให้มีเวลาในการ ทบทวนพัฒนาผู้เรียนน้อยลง 11. ระบบข้อมูลสารสนเทศการศึกษาของจังหวัดขาดความเป็นเอกภาพและไม่สามารถเชื่อมโยง และ นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External Factors Analysis : EFA) ❖ โอกาส (opportunities) 1. หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ภาคประชาชน ประชาสังคมให้ทุกภาคส่วน ในจังหวัดมีความเข้มแข็ง ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 2. มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงกระจายในพื้นที่ เอื้อต่อการส่งเสริมสนับสนุนร่วมมือ ในการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้สอคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศ 3. มีแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม เช่น องค์พระปฐมเจดีย์ พุทธมณฑล (ศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาแห่งโลก) วัดไร่ขิง ฯลฯ /อาชีพ /ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม ภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 4. ความก้าวหน้าของนวัตกรรม เทคโนโลยี ทันสมัยและการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีคุณภาพสูงและราคาถูก เข้าถึงได้ง่าย เอื้อต่อการพัฒนา/พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามสมรรถนะที่ต้องการ 5. มีแหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการหลากหลายรองรับการเติบโตของผู้เรียนสายอาชีพ สร้างรายได้ระหว่าง เรียนและมีหลักประกันการมีงานทำ 6. นโยบายการจัดการศึกษาที่ชัดเจน เช่น Active Learning , Learning Loss , โรงเรียนคุณธรรม , STEM Education การสนับสนุนการเรียนต่อด้านอาชีพ ฯลฯ ส่งผลให้หน่วยงาน / สถานศึกษามีกรอบในการดำเนินงานเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน 7. กฎระเบียบเอื้อต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตการประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถ เข้าเรียนในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย 8. สภาพเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากการเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ/การขนส่ง ❖อุปสรรค (Threats) 1. แนวโน้มอัตราการเกิดของประชากรลดลงส่งผลให้มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น 2. สภาพสังคมที่อ่อนแอ ครอบครัวแตกแยกแหล่งอบายมุข การใช้สื่อเทคโนโยลีทางลบ ส่งผลให้ผู้เรียน บางส่วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีปัญหาด้านการเรียน มีการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และมีแนวโน้มจะออกกลางคัน 3. ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นแรงงาน ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและมีแนวโน้มจะออกกลางคัน 4. ค่านิยมของผู้ปกครองส่วนใหญ่ส่งบุตรหลานเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ


ส่วนที่ 4 สาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ปรัชญาการศึกษา สร้างคนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นคนดี ปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ นครปฐม นครแห่งการพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา รักษ์ศิลปวัฒนธรรม ล้ำหน้าเทคโนโลยี มีทักษะวิชาชีพ พันธกิจ ๑. ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เป็นคนดี มีคุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่วิถีการดำเนินชีวิต ๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสเสมอภาคทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลาย อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ๓. ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงมีทักษะวิชาชีพ ๔. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ค่านิยมร่วม เดินตามรอยพระยุคลบาท ปฏิบัติราชการด้วยความเป็นธรรม เป้าประสงค์ 1. ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ น้อมนำศาสตร์พระราชา ๒. ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลายอย่างทั่วถึงมีคุณภาพ ๓. ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 รวมถึงทักษะวิชาชีพเพื่อการมีงานทำ ๔. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา 1. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา น้อมนำศาสตร์พระราชา 2. การพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ 3. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 4. การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม


ห น้ า | 53 ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา น้อมนำศาสตร์พระราชา เป้าหมาย ตัวชี้วัด ๑. ผู้เรียนมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ พร้อมธำรงไว้ซึ่ง สถาบันหลักของชาติน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การ ปฏิบัติ ๒. ผู้เรียนมีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม และ เป็นผู้มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามบริบทความ หลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ๑. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอน หรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองหรือจิตอาสา หรือการมีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันในสังคม ๒. ร้อยละของสถานศึกษาที่ส่งเสริมและบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี ความรู้ความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น ๓. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ปลูกฝังวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ค่านิยมที่ดีงาม ความภูมิใจในชาติ 2.การสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการศึกษา 3.ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ปลูกฝังผู้เรียนให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต โดยใช้ กระบวนการลูกเสือและยุวกาชาดหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย 5. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น 6.การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม โครงการสำคัญ 1. โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ (ศธจ.นครปฐม) 2. โครงการการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ ระดับพื้นที่ (ศธจ.นครปฐม) 3. โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของจังหวัดนครปฐม (ศธจ.นครปฐม)


ห น้ า | 54 ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ๑. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะตาม มาตรฐานวิชาชีพ ๒. ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างรายได้ รวมถึง มีทักษะด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต ๑. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการ พัฒนาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ๒. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการ พัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ๓. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ก่อนจบการศึกษา ๔. จำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเพิ่มขึ้น ๕. สัดส่วนของผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญศึกษา กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ๑.ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ๒. พัฒนาครูให้มีศักยภาพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ ที่ทันสมัย ๓. จัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ๔. พัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานอาชีพ ๕. พัฒนาทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ โครงการสำคัญ 1. โครงการ NPT Smart Citizen (ศธจ.นครปฐม) 2. โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ The CEFR (สพป.นครปฐม เขต 1) 3. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สพป.นครปฐม เขต 2) 4. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพ (วอศ.นครปฐม) 5. โครงการเวทีแลกเปลี่ยน ความรู้ ข้อมูลประสบการณ์ระหว่างสถานศึกษา (วอศ.นครปฐม) 6. โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการหรือองค์กรภายนอก (วอศ.นครปฐม)


ห น้ า | 55 ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เป้าหมาย ตัวชี้วัด ๑. การจัดการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน ๒. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็น ของโลกศตวรรษที่ 21 ๑. ร้อยละเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการ สมรรถนะ และ คุณลักษณะที่ดีที่สมวัยทุกด้าน ๒. ระดับคุณภาพคะแนนการประเมินความสามารถใน การอ่าน (RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ๓. ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มี คะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) วิชา คณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ๔. ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่าน เกณฑ์คะแนนร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.ส่งเสริมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ได้มาตรฐานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 2. พัฒนาหลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 3. พัฒนาหลักสูตรการออกแบบเรียนรู้ 4. พัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในทุกระดับทุกประเภท 5.ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพหุปัญญาในรูปแบบที่หลากหลาย 6.ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โครงการสำคัญ 1. โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดนครปฐม (ศธจ.นครปฐม) 2. โครงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ปีการศึกษา 2565 (ศธจ.นครปฐม) 3. โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมิน ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) (สพป.นครปฐม เขต 2)


ห น้ า | 56 ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมาย ตัวชี้วัด ๑. ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษา ๒. นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่าน เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ๑.อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับปฐมวัยของประชากร อายุ 3-5 ปี ๒.อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษาของ ประชากรอายุ 6-11 ปี ๓.อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของ ประชากรอายุ 12-14 ปี ๔.อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าของประชากรอายุ 15-17 ปี 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 6. ร้อยละของผู้เรียนทั่วไปและผู้เรียนที่มีความต้องการ จำเป็นพิเศษที่ได้รับการช่วยเหลือให้กลับเข้าสู่ระบบ การศึกษา 7. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ที่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษาทุกสังกัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.ส่งเสริมระบบการแนะแนวในสถานศึกษาเพื่อการตัดสินใจศึกษาตามความถนัดและสนใจ 2.ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เช่น ผลิตเป็น สื่อออนไลน์ เชื่อมโยงกับสถาบันอุดมศึกษา/แหล่งเรียนรู้/พิพิธภัณฑ์/ผลิตผลทางเกษตร/อุตสาหกรรม ฯลฯ 3. มีระบบเทียบโอนผลการเรียนและทักษะประสบการณ์เพื่อขอรับวุฒิการศึกษาหรือใบรับรอง 4. เพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โครงการสำคัญ 1. โครงการประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกันจนจบการศึกษาภาคบังคับและศึกษาต่อในระดับที่ สูงขึ้น หรือมีความรู้ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ (สพป.นครปฐม เขต 2) 2. โครงการการพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม (ศกศ.1) 3. โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับจังหวัด (ศธจ.นครปฐม)


ห น้ า | 57 ยุทธศาสตร์การพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญ ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดย เน้นการมีส่วนร่วม เป้าหมาย ตัวชี้วัด ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ๑. ร้อยละของสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้านการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงาน องค์กรภาคี เครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับการติดตามประเมินผล ระบบบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพการศึกษาในระดับจังหวัด กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.สร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2.ส่งเสริมการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาจังหวัดโดยผ่านกลไก ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) 3. พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ โครงการสำคัญ 1. โครงการการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหาร จัดการศึกษาจังหวัดนครปฐมโดยผ่านกลไกของ กศจ. (ศธจ.นครปฐม) 2. โครงการการบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยผ่านการมีส่วนร่วมของ กศจ. (ศธจ.นครปฐม) 3. โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม (ศธจ.นครปฐม) 4. โครงการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ (ศธจ.นครปฐม)


ห น้ า | 58 ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายรายประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายราย ประเด็นยุทธศาสตร์ ค่าเป้าหมาย (ร้อยละ) หน่วยงาน 2566 2567 2568 2569 2570 ที่รับผิดชอบ 1. การจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความ มั่นคงและเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสาน้อมนำ ศาสตร์พระราชา 1. ร้อยละของสถานศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอน หรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความ เป็นพลเมืองหรือจิตอาสาหรือ การมีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน ในสังคม 100 100 100 100 100 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 2. ร้อยละของสถานศึกษาที่ ส่งเสริมและบูรณาการการจัดการ เรียนการสอน และการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิถี วัฒนธรรมท้องถิ่น 100 100 100 100 100 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 3. ร้อยละของสถานศึกษา ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 100 100 100 100 100 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 2. การพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเป็นเมือง อัจฉริยะ 1. ร้อยละของครูและบุคลากร ทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้ มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ 100 100 100 100 100 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 2. ร้อยละของครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 100 100 100 100 100 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 3. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการ ประเมินมาตรฐานวิชาชีพก่อนจบ การศึกษา 100 100 100 100 100 สถานศึกษาสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัด นครปฐม 4. จำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีเพิ่มขึ้น 10 15 20 25 30 สถานศึกษาสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัด นครปฐม 5. สัดส่วนของผู้เรียนอาชีวศึกษา ต่อผู้เรียนสามัญศึกษา 2 4 6 8 10 สถานศึกษาสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัด นครปฐม 3. การยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีทักษะใน ศตวรรษที่ 21 1. ร้อยละเด็กปฐมวัยที่มี พัฒนาการ สมรรถนะ และ คุณลักษณะที่ดีที่สมวัยทุกด้าน 86 87 88 89 90 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม


ห น้ า | 59 ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายราย ประเด็นยุทธศาสตร์ ค่าเป้าหมาย (ร้อยละ) หน่วยงาน 2566 2567 2568 2569 2570 ที่รับผิดชอบ 2. ระดับคุณภาพคะแนนการ ประเมินความสามารถในการ อ่าน (RT) ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 3 3 3 3 3 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 3. ร้อยละของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคะแนนเฉลี่ยการประเมิน คุณภาพผู้เรียน (NT) วิชา คณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 3 3 3 3 3 ศธจ.ร่วมกับ ทุกหน่วยงาน การศึกษา ในจังหวัดนครปฐม 4. ร้อยละของนักเรียนที่มี คะแนนผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้น ฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่าน เกณฑ์คะแนนร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป 33 34 35 36 37 ศธจ. 4. การเข้าถึงบริการทาง การศึกษาและส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต 1. อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับ ปฐมวัยของประชากรอายุ 3-5 ปี 77 79 81 83 85 ศธจ. (ข้อมูลจาก ศธภ.2) 2. อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับ ประถมศึกษาของประชากรอายุ 6-11 ปี 100 100 100 100 100 ศธจ. , สพป. (ข้อมูลจาก ศธภ.2) 3. อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ของ ประชากรอายุ 12-14 ปี 100 100 100 100 100 ศธจ. , สพป. , สพม. (ข้อมูลจาก ศธภ.2) 4. อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือ เทียบเท่าของประชากรอายุ 15-17 ปี 85 86 87 88 89 ศธจ. , สพม. (ข้อมูลจาก สพม.) 5. ร้อยละของสถานศึกษาที่มี ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 100 100 100 100 100 สพป. , สพม. 6. ร้อยละของผู้เรียนทั่วไปและ ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็น พิเศษที่ได้รับการช่วยเหลือให้ กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 100 100 100 100 100 ศกศ.1 (จำแนก เป้าหมาย)


ห น้ า | 60 ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายราย ประเด็นยุทธศาสตร์ ค่าเป้าหมาย (ร้อยละ) หน่วยงาน 2566 2567 2568 2569 2570 ที่รับผิดชอบ 7. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความ ต้องการจำเป็นพิเศษที่ได้รับการ ศึกษาในสถานศึกษาทุกสังกัด 90 95 98 99 100 ศกศ.1 5. การพัฒนาประสิทธิ ภาพการบริหารและการ จัดการศึกษาแบบบูรณา การโดยเน้นการมีส่วน ร่วม 1. ร้อยละของสถานศึกษา ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้านการจัดการศึกษาระหว่าง หน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 80 85 90 95 100 ศธจ. ขอรับข้อมูล จากหน่วยงาน การศึกษา 2. ร้อยละของสถานศึกษา ที่ได้รับการติดตามประเมินผล ระบบบริหารและการจัดการ ศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิ ภาพการศึกษาในระดับจังหวัด (ผ่านการประเมินร้อยละ 100 ตามรอบการประเมิน) 100 100 100 100 100 ศธจ. ขอรับข้อมูล จากหน่วยงาน การศึกษา


ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)สู่การปฏิบัติ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัตินั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่จะมุ่งมั่น ผลักดันการกำหนดแผนงาน/โครงการ ภายใต้กลยุทธ์ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา และในการดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการระดมสรรพกำลัง ทั้งในด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วม อย่างเป็นเอกภาพและการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ดังนั้น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงกำหนดแนวทางที่สำคัญในการนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนี้ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัติ 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานการศึกษา สถาบันการศึกษา และสถานศึกษาทุกสังกัด ในจังหวัด เพื่อการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแปลงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ชัดเจน รวมทั้งมีการกำหนดความรับผิดชอบตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เพื่อให้ บรรลุเป้าประสงค์หลัก 2. ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญ ในการนำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปเป็นกรอบแนวทางในการบริหารและพัฒนาการจัดการศึกษา 3. จัดให้มีการดำเนินการชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้หน่วยงานการศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับ ทราบ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนให้การดำเนินงานตามแผนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยเทคนิควิธีการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การยกย่องชมเชย เป็นต้น 5. ประสานความร่วมมือและขอรับการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานในส่วนกลางและจังหวัด ในการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม และแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานในระดับพื้นที่ การติดตามประเมินผล การติดตามและประเมินผลการนำไปสู่การปฏิบัติ มีแนวทางและกระบวนการสำคัญ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะทำงานติดตาม ประเมินผล ตามตัวชี้วัดความสำเร็จการจัดการศึกษาของหน่วยงาน การศึกษาทุกสังกัด 2. กำหนดแนวทางการติดตามความก้าวหน้าในการนำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐมไปสู่การ ปฏิบัติ พัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยนำวิธีการ


ห น้ า | 62 ติดตามที่เหมาะสมมาใช้และประสานการติดตาม ประเมินผลกับหน่วยงานการศึกษาและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการติดตามประเมินผลกระทบการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมของจังหวัด 3. พัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เพื่อให้ได้ข้อมูล สารสนเทศสำหรับการทบทวน แก้ไข ปรับปรุง การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ทันเหตุการณ์ 4. สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ระหว่างหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัดในจังหวัด ให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและติดตามประเมินผลในระดับ จังหวัดให้มีความสัมพันธ์สอดคล้อง เป็นเอกภาพในการปฏิบัติมากขึ้น 5. มีการกำหนดระยะเวลาของการติดตาม ประเมินผลและรายงานที่ชัดเจน เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของตัวชี้วัดในแต่ละยุทธศาสตร์ รวมทั้งทบทวนกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย หรือปรับแผนพัฒนา การศึกษาให้เหมาะสม ตลอดจนเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผน โดยมีการนำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานและ ผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงแผนและพัฒนาการจัดทำแผนในอนาคตให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น 6. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ


ภาคผนวก


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม นางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คณะทำงาน นางณิชชารัช เนาวรัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน นางสาวอลิศา ว่องประชานุกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นายธนบดี โสภาจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นางสาวจิราพรรณ ชื่นเจริญ พนักงานจ้างปฏิบัติงานธุรการ ออกแบบและจัดทำรูปเล่ม นางสาวอลิศา ว่องประชานุกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นางสาวจิราพรรณ ชื่นเจริญ พนักงานจ้างปฏิบัติงานธุรการ


Click to View FlipBook Version