CMVC. Hotel Business Name Card ณัฐพร เพียงใจ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2566
CMVC. Hotel Business Name Card ณัฐพร เพียงใจ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2566
ก ใบรับรองโครงงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เรื่อง CMVC. Hotel Business Name Card โดย นางสาวณัฐพร เพียงใจ รหัส 66307010041 ได้รับการรับรองให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาชีพการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ........................................................................... ........................................................................... หัวหน้าแผนกวิชา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล) (นางสาวกัลยารัตน์ สุริยะธรรม) วันที่........เดือน..................พ.ศ.......... วันที่........เดือน.................พ.ศ.......... ........................................................................... อาจารย์ประจำวิชาโครงงาน (นางสาวนพรรรณพ ดวงแก้วกูล)
ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง CMVC. Hotel Business Name Card ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อศึกษารูปแบบ ของนามบัตร พัฒนารูปแบบนามบัตรเดิมให้มีข้อมูลเพิ่มเติม และ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล รายละเอียดห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางนามบัตร การดำเนินงานครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่คาดไว้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์นัชพร สาครธำรง คุณครูที่ปรึกษารายวิชาโครงงาน ที่ให้ได้ คำปรึกษาและเสนอแนะแนวคิดตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ มาโดยตลอดจนโครงงานเล่มนี้ เสร็จสมบูรณ์ผู้จัดทำโครงงานจึงขอกราบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ CMVC. Hotel Business Name Card เพื่อให้สำเร็จลุล่วงรวมถึงขอบพระคุณ คณะครู บุคลากร วิทยาลัยอาชีวศึกษา เชียงใหม่ และ ผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการ ตอบแบบสอบถามและให้คำแนะนำต่าง ๆ ผู้ศึกษาขอบคุณคุณครูแผนกวิชาการโรงแรมที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการออกแบบ นามบัตร รูปแบบของนามบัตร การให้ข้อมูลรายละเอียดห้องพัก สถานที่ต่าง ๆ และให้คำปรึกษาเป็น อย่างดีจนโครงงาน CMVC. Hotel Business Name Card เสร็จสมบูรณ์ ณัฐพร เพียงใจ
ค ชื่อ : นางสาวณัฐพร เพียงใจ ชื่อโครงงาน : CMVC. Hotel Business Name Card สาขาวิชา : การโรงแรม ประเภทวิชา : อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาจารย์ประจำวิชาโครงงาน : นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาโครงงาน : นางสาวนัชพร สาครธำรง ปีการศึกษา : 2566 บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง CMVC. Hotel Business Name Card มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษา รูปแบบของนามบัตร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนามบัตรเดิมให้มีข้อมูลเพิ่มเติม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลรายละเอียดห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ดำเนินการโดยเก็บ ข้อมูลจำนวนกลุ่มประชากรจาก คณะครูบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ และผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card จำนวนทั้งหมด 100 คน โดยวิธีการเลือกแบบ กลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาในการศึกษาโครงงานหนึ่งภาคเรียน เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ แบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของ CMVC. Hotel Business Name Card พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง 54 คน คิดเป็นร้อยละ 54 ด้านการจำแนกอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 19 ด้านการจำแนกอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/พนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 43 และผลวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ CMVC. Hotel Business Name Card ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ ( ̅ = 4.22 ) และ มีรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ภาพรวมของ CMVC. Hotel Business Name Card โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( ̅ = 4.28 )รองลงมาคือ ความสวยงามของ CMVC. Hotel Business Name Card และ ความสะดวกสบายในการใช้ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก (̅ =4.26) น้อยที่สุดคือ การออกแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card และ ลวดลายของ CMVC. Hotel Business Name Card มีความเหมาะสมและสวยงาม อยู่ในระดับมาก (̅ =4.15)
ง สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตารางที่ 1 ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านเพศ 24 ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้าน อายุ 25 ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้าน รายได้ 25 ตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของ นามบัตร 26 ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของ โล โก้ในนามบัตร 27 ตารางที่ 6 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับช่องทาง การ ติดต่อในนามบัตร โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้2 คําตอบ 28 ตารางที่ 7 ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ด้านเพศ 29 ตารางที่ 8 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้าน อายุ 29 ตารางที่ 9 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้าน อาชีพ 30 ตารางที่ 10 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง 30
จ สารบัญรูปภาพ เรื่อง หน้า ภาพที่ 2.1 นามบัตรยุคแรกเริ่ม 3 ภาพที่ 2.2 นามบัตรใช้จีบสาว 4 ภาพที่ 2.3 นามบัตรศตวรรษที่ 2 4 ภาพที่ 2.4 พระนามบัตรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ 5 ภาพที่ 2.5 ตัวอย่างงานพิมพ์นามบัตร 8 ภาพที่ 2.6 5 เหตุผลโดนๆ ทําไม “ นามบัตร ” ยังสำคัญในยุคดิจิตอล 8 ภาพที่ 2.6 ความหนากระดาษแต่ละแกรม 12 ภาพที่ 4.1 ภาพรูปแบบที่ 2 27 ภาพที่ 4.2 โลโก้ตัวเลือกที่ 1 27 ภาพที่ 5.1 ภาพรูปแบบที่ 2 33 ภาพที่ 4.2 โลโก้ตัวเลือกที่ 1 33
สารบัญ เรื่อง ใบรับรองโครงงาน กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนำ หน้า ก ข ค ง จ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.3 ขอบเขตของโครงงาน 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 1 2 2 2 2 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของนามบัตร 2.2 ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนามบัตร 2.3 ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์นามบัตร 2.4 ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์นามบัตร 2.5 ความรู้เกี่ยวกับกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์นามบัตร 2.6 งานศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา 3.1 กลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน 3.3 ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์และสรุปผล 3 6 10 11 12 13 19 19 21 22 22 บทที่ 4 ผลการศึกษาโครงงาน 4.1ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card 4.2 ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card 24 28
สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการศึกษา 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษา บรรณานุกรม 32 34 36 ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบเสนอโครงร่างโครงงาน ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคผนวก ค ภาพประกอบ ภาคผนวก ง แบบสอบถาม ประวัติผู้จัดทำ
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การใช้เอกสารแนะนำตัวเองก่อนที่จะมาเป็นนามบัตรนั้นคาดว่ามีจุดเริ่มต้นที่ประเทศจีน แล้วจึงค่อยเผยแพร่เข้าไปในยุโรปผ่านการติดต่อค้าขาย จากนั้นคาดกันว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 รูปแบบลักษณะเอกสารแนะนำตัวก็ได้พัฒนาไปสู่บัตรแนะนำตัวแบบพกพา หรือ “นามบัตร” สำหรับการใช้นามบัตรในสยามนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์คือในช่วงที่สยามมีการติดต่อ ค้าขายกับต่างชาติ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิทยาการ วิชาการ และการสื่อสาร นำไปสู่การ รับธรรมเนียม การใช้นามบัตรแบบชาติตะวันตก โดยคาดว่า การใช้นามบัตรในสยามครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากหลักฐานนามบัตรชิ้นแรก ที่พบในประเทศไทย คือ บัตรพระนามของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 2 หรือพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงนภา (ประเสริฐพงษ์ และ ขวัญสกุล ศรีจอมขวัญ ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม พฤษภาคม 2554) การดำเนินชีวิตและธุรกิจในปัจจุบันผู้คนมากมายที่เราได้พบปะสื่อสาร ทั้งในรูปแบบการ ทำงานในองค์กรหรือการประกอบธุรกิจ บางครั้งการพบเจอกับบุคคลสำคัญทางธุรกิจอาจใช้เวลาเพียง ไม่กี่นาที และไม่รู้จะเลยว่าจะมีโอกาสได้พบกันอีกหรือเปล่าการแลกนามบัตรจึงเป็นช่องทางที่ ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ การสนทนาพูดคุย และเป็นเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถเก็บ และ นำกลับมาดูได้ตลอดเวลา“นามบัตร”จึงเป็นสิ่งที่จะบอกให้คนอื่นทราบว่าคุณคือใคร มีสินค้าและ บริการอะไรที่จะส่งมอบออกไป นามบัตรจะเป็นเหมือนสะพานการเชื่อมต่อ ทำให้สามารถค้นหาข้อมูล เพื่อติดต่อรับบริการจากโรงแรมได้โดยตรง ผ่านช่องทางการติดต่อจากนามบัตร ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนานามบัตรขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างลูกค้าและโรงแรม นามบัตรนี้จัดทำเพื่อเป็นการแนะนำรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับห้องพัก ของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง บริเวณรอบ ๆ โรงแรม ภายในคูเมือง และลูกค้าสามารถนำ นามบัตรไปแนะนำให้กับลูกค้าท่านอื่น ๆ ที่สนใจจะเข้าพักในโรงแรม และเป็นการส่งเสริมทักษะการ เรียนรู้การฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ให้ฝึกปฏิบัติงาน ในสถานการณ์จริงก่อนออกฝึกงานในสถานประกอบการจริงได้ในอนาคต
2 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อศึกษารูปแบบของนามบัตร 1.2.2 เพื่อพัฒนารูปแบบนามบัตรเดิม ให้มีข้อมูลเพิ่มเติม 1.2.3 เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางนามบัตร 1.3 ขอบเขตโครงงาน เป้าหมายของโครงงาน 1.3.1 เชิงปริมาณ - CMVC. Hotel Business Name Card ขนาด 9x55 มิลลิเมตร จำนวน 100 ใบ - ไฟล์รูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card จำนวน 1 ไฟล์ 1.3.2 เชิงคุณภาพ - นามบัตรมีความแข็งแรง สีสันสวยงามและข้อมูลครบถ้วน 1.3.3 ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ถึง วันที่ 19 มกราคม 2567 สถานที่ดำเนินงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมสามารถน านามบัตรไปบอกต่อให้กับลูกค้าท่านอื่นได้ 1.4.2 นักเรียน นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม สามารถนำนามบัตร ไปปรับปรุงแก้ไข อัปเดตข้อมูล และนำเสนอสถานที่อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ 1.5 นิยามศัพท์ นามบัตร หมายถึง [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์บอกชื่อ สถานที่ของอาคารปฏิบัติการโรงแรมอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ข้อมูลในนามบัตรจะประกอบไปด้วย รายละเอียดของห้องอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถาปติยกรรม บริเวณรอบ ๆ โรงแรมภายในคูเมือง
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาเรื่อง CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำโครงงารได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและ หลักการต่าง ๆ จากเอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของนามบัตร 2.2 ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนามบัตร 2.3 ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์นามบัตร 2.4 ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์นามบัตร 2.5 ความรู้เกี่ยวกับกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์นามบัตร 2.6 งานศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของนามบัตร นามบัตรนั้นแต่เดิมเรียกว่า calling cards ใช้กันเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง ต่อมา กลายมาเป็น publicity cards ที่ชนชั้นกลางใช้กัน แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นนามบัตรอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ ภาพที่ 2.1 นามบัตรยุคแรกเริ่ม ที่มา : www.gogoprint.co.th ตามที่ได้กล่าวไป จุดเริ่มต้นของนามบัตรเรียกว่า calling หรือ visiting card โดยมีเพียงกลุ่มคนชนชั้นสูง เท่านั้นที่ใช้กัน ในศตวรรษที่ 17 กลุ่มชนชั้นสูงใช้การ์ดนี้ในการแจ้งว่าจะไปเยี่ยมเยือน หรือใช้ในการบอกให้คนอื่นโทรหา การ์ดในสมัยนั้นมีเพียงข้อมูลชื่อคน บางครั้งก็มีเบอร์โทร และคนที่ ได้รับการ์ดนั้นก็จะเขียนความรู้สึกที่มีต่ออีกคนลงด้านหลังของการ์ด ในศตวรรษที่ 19 คนชนชั้นกลางก็เริ่ม
4 มีการใช้การ์ดนี้ แต่ปรับเปลี่ยนการใช้ไปบ้าง โดยใส่ข้อมูลภูมิหลังวงศ์ตระกูล อาชีพ และสถานะทางสังคม บางคนก็เพิ่มรูป portrait เล็ก ๆ รูปถ่าย และของประดับต่าง ๆ ลงบนการ์ด ภาพที่ 2.2 นามบัตรใช้จีบสาว ที่มา : www.gogoprint.co.th คนสมัยก่อนเองก็ใช้การ์ดนี้ในการไปรับสาวและจีบสาวในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมามีการพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ทำให้นามบัตรอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้เกิดขึ้น นามบัตรเกิดขึ้นเพื่อ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงธุรกิจ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมนามบัตรกลายมาเป็น เครื่องมือในการโฆษณาบริษัท (Adrien Ulens,2016) ภาพที่ 2.3 นามบัตรศตวรรษที่ 2 ที่มา : www.gogoprint.co.th นามบัตร เป็นธรรมเนียมของชาวตะวันตกที่ใช้ในการแนะนำตัวกับบุคคลทั่วไปใน สมัยรัชกาลที่ 4สยามได้เปิดประตูรับอารยธรรมตะวันตก อย่างเต็มที่กษัตริย์คู่ในรัชกาลนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
5 ซึ่งทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างแตกฉานทั้งสองพระองค์ และทรงสมาคมกับชาวต่างประเทศ จึงทรงรับธรรมเนียม ใช้นามบัตรมาด้วย แต่ไม่มีหลักฐานว่าพระองค์ใดทรงพิมพ์พระนามบัตรขึ้นก่อน พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้น รศ.ดร. อรัญ หาญสืบสาย หัวหน้าภาค วิชา วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทาง การพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าทางคณะวิทยาศาสตร์ได้รับมอบพระนามบัตรของรัชกาลที่ 4 มาจากครอบครัวของนายเรเน่ พรู เดนท์ ดา-กรอน ช่างภาพและนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส โดย นางฌอง สก็อตต์ นักประวัติศาสตร์ชาว อังกฤษ ที่ให้ความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้พบเอกสารและจดหมายโต้ตอบระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กับนายดา-กรอน และมีพระนามบัตรแนบไปด้วยเมื่อ พ.ศ. 2410 นางฌ อง สก๊อตต์ จึงเป็นผู้ประสานงานกับครอบครัวดา-กรอน มอบสำเนาเอกสารต่าง ๆ นี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ เทคโนโลยีทางภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย พระนามบัตรเป็นการพิมพ์โดย ใช้ระบบตัวเรียง ซึ่ง ใช้ตัวอักษรหล่อจากตะกั่ว แล้วพิมพ์ลงบนกระดาษแข็ง ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ประจำรัชกาล และ พระนามตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ออกเสียงเป็นภาษาไทย พระนามในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ละติน อย่างละบรรทัด เชื่อว่าน่าจะพิมพ์ขึ้นที่โรงพิมพ์หลวง อักษรพิมพการ ซึ่งทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นที่วัดบวรนิเวศ ส่วนพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มีลักษณะใกล้เคียงกันมีปรากฏอยู่แผ่นเดียว จัดแสดงไว้ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครซึ่งเคยเป็นที่ประทับ ของพระองค์(หอจดหมายเหตุ,2660) ภาพที่ 2.4 พระนามบัตรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ที่มา : www.catholichaab.com การใช้เอกสารแนะนำตัวเองก่อนที่จะมาเป็นนามบัตรนั้นคาดว่ามีจุดเริ่มต้นที่ประเทศจีน แล้วจึง ค่อยเผยแพร่เข้าไปในยุโรปผ่านการติดต่อค้าขาย จากนั้นคาดกันว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 รูปแบบ ลักษณะเอกสารแนะนำตัวก็ได้พัฒนาไปสู่บัตรแนะนำตัวแบบพกพา หรือ “นามบัตร”สำหรับการใช้
6 นามบัตรในสยามนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คือในช่วงที่สยามมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิทยาการ วิชาการ และการสื่อสาร นำไปสู่การรับธรรมเนียมการใช้ นามบัตรแบบชาติตะวันตก โดยคาดว่า การใช้นามบัตรในสยามครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากหลักฐานนามบัตรชิ้นแรกที่พบในประเทศไทย คือ บัตรพระนามของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 2 หรือพระอนุชาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บัตรพระนามของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคือ มีตราพระปิ่น สมอเรือ และปืนใหญ่ พร้อมลงพระปรมาภิไธยเป็นภาษาอังกฤษ S.P.Pawarendrramesr (ปวเรนทราเมศ) และตำแหน่ง Second King of Siam ซึ่งมีความหมายว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่ 2”อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2554 ทายาท รุ่นที่ 4 ของครอบครัวดากรอง หรือครอบครัวของนายเรอเน่ พรูเดน ดากรอง (Rene Prudent Patrice Dagron) ช่างภาพ ชาวฝรั่งเศส ผู้เก็บรักษา “บัตรพระนามรัชกาลที่ 4” ได้ส่งมอบบัตรพระนามของรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) คืนให้กับประเทศไทย ลักษณะของบัตร พระนามนี้คือ พิมพ์พระนามเป็นตราพระมหามงกุฏ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์เป็นอักษรนูนทอง พร้อมด้วย พระปรมาภิไธยเป็นภาษาอังกฤษ คือ Somdetch Phra Paramendr Maha Mongkut ด้านใต้ พระปรมาภิไธยปรากฏพระนามอีก 3 ภาษา คือภาษาละติน ข้อความว่า Major Rex Siamensium ภาษาฝรั่งเศส ข้อความว่า Le Premier Roi De Siam และภาษาอังกฤษ ข้อความว่าThe First King of Siam ทั้งหมดนี้มีความหมายว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ 1” จากข้อความดังกล่าวทำให้เกิด ข้อสงสัยว่าข้อสันนิษฐานที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ที่ริเริ่มใช้นามบัตรอาจจะไม่ถูกต้อง เพราะหากเป็นเช่นนั้นการพิมพ์นามบัตรที่มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ ที่ 2” ก่อนการพิมพ์นามบัตร “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ 1” จะไม่ดูเป็นการข้ามหน้าข้ามตากัน หรือ และแม้ว่าจะมีการค้นพบนามบัตร ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนก็ไม่ได้แปลว่า พระองค์จะเป็นผู้ใช้นามบัตรก่อน ดังนั้นแล้วเรื่องใครเป็นผู้ใช้นามบัตรเป็นคนแรกของสยามนี้ก็ยังคงต้อง สืบเสาะค้นหากันต่อไป (ดวงนภา ประเสริฐพงษ์ และ ขวัญสกุล ศรีจอมขวัญ,2554) 2.2 ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนามบัตร นามบัตร เป็นสื่ออีกหนึ่งที่อยู่ในรูปของกระดาษ ด้วยการใช้การพิมพ์จากเครื่องระบบออฟเซ็ท ดิจิตอล ใช้สำหรับสื่อหรือ แจ้งให้ผู้รับนามบัตรทราบว่า ผู้แจกนามบัตรเป็นใคร , ทำงานเกี่ยวกับอะไร , อยู่ที่ไหน และจะติดต่อได้อย่างไร
7 2.2.1 มีค่ามากกว่าแค่กระดาษแผ่นเล็ก ๆ ซึ่งไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน ทุกธุรกิจก็ย่อมที่จะต้องมี นามบัตรเพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลในการติดต่อ ซึ่งยังถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกความมีตัวตนและเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของบุคคลหรือบริษัทอีกด้วย และยังเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพของ ผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่พนักงานของบริษัท จำเป็นต้องมีพกติดตัวไว้ด้วย 2.2.2 ความสำคัญของการใช้นามบัตร แม้จะอยู่ในยุคดิจิตอลแต่นามบัตรก็ยังเป็นสิ่ง ที่มีความสำคัญสำหรับบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ การออกแบบนามบัตรที่ดีต้องมีความชัดเจน เพราะนอกจากจะช่วยบ่งบอกความเป็นตัวตนของคุณหรือองค์กรแล้ว ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและ สร้างให้ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย แม้นามบัตรจะเป็นกระดาษแผ่นเล็ก แต่ก็เหมือนคุณกำลังฝาก ชื่อเสียงขององค์กรเอาไว้ ในการออกแบบนามบัตรให้ดูเรียบหรู แบบมีคลาสและมีข้อมูลครบถ้วน ย่อมเกิดผลดีกับคุณอย่างแน่นอน ยิ่งหากมีความโดดเด่นของลวดลายหรือการออกแบบ ประกอบกับการ เจรจาด้วยแล้วคุณอาจจะกลายเป็นที่น่าจดจำได้อย่างรวดเร็วสิ่งสำคัญที่ควรมีบนนามบัตร 2.2.3 สิ่งสำคัญที่ควรมีบนนามบัตร การออกแบบนามบัตรด้วยการเน้นความเรียบง่าย แต่โดดเด่น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องเลือกให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ขนาด หรือรูปแบบ ลวดลายและแม้แต่ กระดาษที่ปริ้นท์นามบัตร ก็ต้องทำให้ทุกอย่างออกมาอย่างลงและเหมาะสมกับตำแหน่ง หรืออาชีพของคุณ ซึ่งหากคุณอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาจเลือกใช้พื้นหลังที่มีสีขาว สีครีม หรือ สีเบจ เพราะโทนสีเหล่าพื้นหลังจะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ และง่ายต่อการอ่าน ทำให้น่าสนใจมากขึ้น 2.2.4 ข้อควรระวังในการใช้นามบัตร การออกแบบนามบัตรด้วยการเน้นความเรียบง่าย แต่โดดเด่นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องเลือกให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ขนาด หรือรูปแบบ ลวดลายและ แม้แต่กระดาษที่ปริ้นท์นามบัตร ก็ต้องทำให้ทุกอย่างออกมาอย่างลงและเหมาะสมกับตำแหน่ง หรืออาชีพ ของคุณ ซึ่งหากคุณอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาจเลือกใช้พื้นหลังที่มีสีขาว สีครีม หรือสีเบจ เพราะโทนสีเหล่าพื้นหลังจะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ และง่ายต่อการอ่าน ทำให้น่าสนใจมากขึ้นข้อควร ระวังในการใช้นามบัตร หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างการเป็นศิลปิน หรือ นักออกแบบ ฯ ล ฯ การเลือกใช้สีสดใส เพราะจะแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ ที่สำคัญบน นามบัตรควรมีมากกว่า 1 ภาษา ยิ่งหากคุณอยู่ในองค์กรที่ต้องติดต่อ หรือทำธุรกิจ กับต่างประเทศ ภาษาไทยอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไร คุณอาจเพิ่มข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษลง ในส่วนด้านหลัง นามบัตรเพื่อความสะดวก ในการติดต่อประสานงานต่อไปการทำให้นามบัตรดูมีความน่าเชื่อถือ คุณแค่ใส่ ข้อมูลที่จำเป็นลงไปเท่านั้น ที่สำคัญอย่าใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพ หรือกระดาษบางราคาถูก เพราะอาจทำให้ ผู้รับรู้สึกสงสัยเกี่ยว คุณภาพงานหรือบริการของคุณ ได้ และอย่าลืมเลือกใส่ข้อมูลที่จำเป็นอย่างครบถ้วน
8 ก่อนพิมพ์นามบัตร คุณควรตรวจสอบข้อมูลที่จะพิมพ์อย่าง ชื่อ-นามสกุล , ชื่อบริษัท ,ที่อยู่ และ E-Mail รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ และเบอร์สำนักงานที่สามารถติดต่อคุณได้โดยตรง ภาพที่ 2.5 ตัวอย่างงานพิมพ์นามบัตร ที่มา : www.vkk-packaging.com ในยุคที่โลกใบเก่าถูกย่อให้เล็กลง ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรม จนทำให้นักธุรกิจ รุ่นใหม่เริ่มหันกลับมาตั้งคำถามว่า การใช้ “ นามบัตร ” (Bussiness Card) เป็นสื่อกลางในการแนะนำตัว สำหรับคนที่เพิ่งรู้จักกันเป็นครั้งแรกยังจำเป็นอยู่หรือไม่ เมื่อทุกอย่างรอบตัวกลายเป็นดิจิตอลไปหมด ไม่ว่าคำตอบในใจคุณจะเป็นอย่างไร จากนี้ คือ 5 เหตุผลที่จะทำให้คุณรู้ว่าทำไมนามบัตรถึงยังเป็นหนึ่งใน ไม่กี่สิ่งที่เทคโนโลยียังแทนที่ไม่ได้ ภาพที่ 2.6 5 เหตุผลโดนๆ ทำไม“ นามบัตร ”ยังสำคัญในยุคดิจิตอล ที่มา : www.terrabkk.com
9 2.2.6.สะท้อนความเป็นมืออาชีพ การใช้นามบัตรเพื่อแนะนำตัวหรือระบุถึงรายละเอียด ในการติดต่อถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพและช่วย สร้างความประทับใจ ให้กับผู้ที่เจอกันเป็นครั้งแรกได้อย่างดี โดยเฉพาะสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องการ สร้างความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าตั้งแต่แรกเจอ ซึ่งการแนะนำตัวผ่านนามบัตรนี้น่าจะเป็นประโยชน์ ในเชิงธุรกิจมากกว่าที่คุณจะเลือกทำธุรกิจตามกระแส ไม่แยกชีวิตการทำงานออกจากโลกโซเชียล ที่ยังใช้วิธีแลกไลน์หรือเพิ่มเพื่อนในเฟซบุ๊คเพื่อเป็นช่องทางในการทำความรู้จักหรือติดต่องาน 2.2.7 นามบัตรคือเครื่องมือสื่อสารชั้นดี ในโลกธุรกิจที่โอกาสพร้อมวิ่งเข้าหาคุณเสมอ คุณไม่รู้หรอกว่า โอกาสที่จะได้พบและทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญในวงการธุรกิจ หรือ นักลงทุนที่เวลา เป็นเงินเป็นทองจะเข้ามาทักทายเมื่อไหร่ วิธีที่ดีที่สุด คือ ต้องไม่ปล่อยให้โอกาสที่เข้ามาหลุดลอยไป หนึ่งในมัสแฮฟไอเท็มที่นักธุรกิจที่ดีต้องติดตัวไว้ตลอดเวลาคือ “นามบัตร” เพราะช่วงเวลาสั้นๆที่ได้เป็น ทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญเหล่านี้ ไม่ว่าคุณจะสร้างความประทับใจแรกให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่อย่างน้อย “นามบัตร” ที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างความสัมพันธ์ และช่วยต่อยอด คอนเนกชั่นให้กับคุณในอนาคตได้แน่นอน 2.2.8. นามบัตรช่วยสร้างความประทับใจแรก หลายคนให้ความสำคัญกับการแต่งตัวและ การวางตัวเพื่อสร้างความประทับใจแรกในสายตาผู้พบเห็น แต่กลับมองข้ามตัวช่วยสำคัญ อย่าง “นามบัตร” เพราะคุณสมบัติของนามบัตรที่ดี ไม่เพียงบรรจุข้อมูลที่ชัดเจนครบถ้วน แต่ต้องไม่ลืมใส่ ความคิดสร้างสรรค์ลงไป เพื่อเปลี่ยนนามบัตรแสนธรรมดากลายเป็นนามบัตรสวยเตะตา จนต้องหยิบมาดูซ้ำที่สำคัญจดจำเจ้าของนามบัตรได้ไม่ลืม 2.2.9. สร้างแบรนด์ผ่านนามบัตร นอกจากนามบัตรที่เปี่ยมไปด้วยไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ จะช่วยสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับผู้รับแล้ว คุณอาจโชคดีกว่านั้น หากผู้ที่ได้รับนามบัตรของคุณไป เลือกนำไอเดียเก๋ๆของคุณที่ส่งผ่านนามบัตรไปบอกต่อให้ในกลุ่มเพื่อนหรือคนรู้จักได้รับรู้ ซึ่งถ้ามองว่านี่ คือหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ต้องการให้แบรนด์เกิดการบอกต่อแบบปากต่อปาก คุณก็ได้มาถึงก้าวแรก แห่งความสำเร็จแล้ว 2.2.10. บอกให้รู้ว่าคุณเป็นนักวางแผน คงไม่มีนักธุรกิจคนไหน อยากแนะนำตัวหรือฝากช่อง ทางการสื่อสาร ผ่านเศษกระดาษ หรือขออาศัยใส่ชื่อของคุณพ่วงไปในนามบัตรของคนอื่น ถ้าไม่อยากให้
10 คุณดูเป็นคนไม่เตรียมพร้อม ขาดการวางแผนที่ดี ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของนักธุรกิจมืออาชีพ ออกจากบ้านหรือที่ทำงานครั้งหน้าอย่าปล่อยให้ตัวเองต้องขายหน้าเพราะลืมพกนามบัตรติดตัว 2.3 ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์นามบัตร การที่จะพิมพ์นามบัตรให้ได้คุณภาพและงานออกมาดีสวยงามนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัย หรือองค์ประกอบหลายๆ อย่างดังต่อไปนี้. 2.3.1 กำหนดวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ของการจัดทำนามบัตรโดยทั่วไปมีไว้แจกผู้เกี่ยวข้องเพื่อ การติดต่อกันในภายภาคหน้า การทำนามบัตรมีทั้งทำอย่างประหยัด พิมพ์สีเดียวหรือสองสี และแสดงโลโก้ ชื่อองค์กร ที่อยู่ ชื่อ เบอร์โทรฯ ของเจ้าของบัตร อาจจะมีข้อความเกี่ยวกับสินค้า / บริการ ที่มีให้ในความเป็นจริงแล้ว นามบัตรสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาอย่างดี สามารถบรรจุภาพ สินค้า / บริการ รวมถึงภาพเจ้าของบัตรได้ และสามารถจัดพิมพ์แบบสอดสี/ สี่สี หากออกแบบให้สวยงาม ดูแปลกตาต่างจากนามบัตรทั่วไป ผู้รับจะเก็บรักษาและจดจำเจ้าของบัตรได้ดีขึ้น รูปแบบของนามบัตร พึงสะท้อนถึงภาพลักษณ์ขององค์กร / สินค้า / บริการนั้น ๆ อีกทั้งให้มีรูปแบบในแนวเดียวกันกับ เอกสารอื่น ๆ ขององค์กร เช่น หัวจดหมาย ซอง ฯ ล ฯ พึงระลึกเสมอว่านามบัตรจะสะท้อนถึงภาพพจน์ ขององค์กร / สินค้า / บริการของเจ้าของบัตรนั้น ๆ 2.3.2 กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์ วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่าง นามบัตรที่มีอยู่ในท้องตลาด เลือกรูปแบบที่เหมาะกับนามบัตรที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจาก “ขนาดของงานพิมพ์นามบัตร” ที่ระบุข้างล่างได้เพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวน พิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน ท่านสามารถสอบถามราคาประเมินได้จากโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์โดยระบุ รูปแบบหลายรูปแบบหรือจำนวนพิมพ์ได้หลายระดับ ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างนามบัตรคร่าว ๆ (Layout) เพื่อดูว่ารูปแบบเหมาะสมและดูดีหรือไม่ 2.3.3 ออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์ค ในปัจจุบันจะใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและ จัดทำต้นฉบับ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้ Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker ในการจัดทำต้นฉบับนามบัตร ควรจัดทำเป็นชุดพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวจดหมาย และซอง เพื่อให้รูปแบบของ เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นในทิศทางเดียวกัน ในการทำอาร์ตเวิร์คสำหรับนามบัตร ให้คำนึงถึง การวางข้อความและภาพประกอบ (หากมี) เนื่องจากนามบัตรมีขนาดที่จำกัด อีกทั้งอย่า ให้ข้อความ
11 แน่นจนเกินไป ให้มีช่องไฟไว้พักสายตา นามบัตรบางชิ้นมีการทำไดคัตหรือมีการปั๊มนูน (Embossing ) เป็นรูปให้ดูแปลกตา บางชิ้นเคลือบพลาสติกด้าน แล้วเคลือบ Spot UV บนภาพที่ต้องการเน้น ฯ ล ฯ อนึ่ง ทางโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์มีบริการรับออกแบบจัดทำต้นฉบับงานนามบัตรให้ลูกค้าของเราสั่งพิมพ์งาน เมื่อจัดทำอาร์ตเวิร์คต้นฉบับของนามบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งไฟล์งานและสั่งโรงพิมพ์ดำเนิน ตามขั้นตอนการพิมพ์ได้ต่อไป 2.3.4 อนึ่งงานพิมพ์นามบัตรที่ดี เริ่มจากต้นฉบับที่ดี ภาพที่คมชัด ใช้ซอฟแวร์ที่ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุด การพิมพ์ต้องได้คุณภาพ เมื่อได้นามบัตรที่ดีย่อมมีส่วนช่วยทำให้ประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ 2.4 ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์นามบัตร รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์นามบัตร ในการพิมพ์นามบัตรจะมีรูปร่างเป็นกระดาษ แผ่นเดียว กระดาษที่ใช้มีความหนาเพื่อความแข็งแรงไม่ยับง่าย การพิมพ์นามบัตรจะมีที่พิมพ์ เพียงด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้ อาจมีการพับแล้วแต่การออกแบบขนาดของงานพิมพ์นามบัตร ขนาดมาตรฐาน 3.5”x 2.125” หากมีการพับ เมื่อพับแล้วให้ได้ขนาดดังกล่าว กระดาษที่ใช้ใน การพิมพ์นามบัตร สำหรับงานพิมพ์นามบัตรจะต้องใช้กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรมขึ้นไป กระดาษแฟนซี (กระดาษที่มีเนื้อและผิวพิเศษ) ซึ่งมักนิยมใช้กันมาก การพิมพ์และตกแต่งผิวบนงาน พิมพ์นามบัตรมีการพิมพ์นามบัตร 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี ( CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้ มักพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบซิลค์สกรีนหรือระบบดิจิตอลพิมพ์หน้าเดียวหรือ สองหน้าแล้วแต่การออกแบบงานพิมพ์นามบัตรสามารถเคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม / ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping) แบบของการพับงานพิมพ์นามบัตร อาจมีการพับ 2 ตอน พับ 3 ตอน (โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการพับ) นอกจากนี้ยังมีวิธีพับแบบอื่น ๆ แล้วแต่การออกแบบเพิ่มเติมสำหรับ งานพิมพ์นามบัตรสามารถ ทำการปั๊มไดคัท (Die-cut) เป็นรูปต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การปรู๊ฟงานพิมพ์นามบัตร จากโรงพิมพ์ ฯ ปรู๊ฟจาก Computer Printer หรือผ่าน Fax สำหรับงานสีเดียว หรือ สองสีควรปรู๊ฟแบบ Digital Proof หรือ ปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟหากเน้นเรื่องสีสัน ซึ่งจะถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับงานพิมพ์จริง
12 2.5 ความรู้เกี่ยวกับกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์นามบัตร กระดาษมาตรฐานสำหรับนามบัตร เริ่มที่ความหนา 270 แกรม (gsm) เป็นกระดาษเคลือบผิว หรือเรียกว่ากระดาษอาร์ต สำหรับใช้กับนามบัตรทั่วไป ซึ่งไม่บางและมีความหนาที่เหมาะสม ลูกค้าสามารถเลือกน้ำหนักกระดาษ (ความหนา) ได้แก่ 270 แกรม, 300 แกรม, และ 350 แกรม. กระดาษชนิดเดียวกันความหนากระดาษจะแปรผันกับน้ำหนักกระดาษ กระดาษอาร์ต หรือกระดาษ เคลือบผิว (coated paper) คือกระดาษที่ผ่านกระบวนการเคลือบสารหรือ โพลิเมอร์หน้าผิวกระดาษ ให้ มีความเรียบและพิมพ์ง่าย ให้งานพิมพ์กราฟิกที่มีคุณภาพสูง กระดาษประเภทนี้ใช้ในการพิมพ์นิตยสาร (ปก) หรือบรรณจุภัณฑ์ กระดาษอาร์ต มีผิวที่เรียบและ ขาวปกติ ผิวเคลือบกระดาษมี 2 แบบได้แก่ 2.5.1 กระดาษอาร์ตด้าน (coated paper matt) ผิวกระดาษไม่ค่อยสะท้อนแสงเมื่อเทียบกับ อาร์ตมัน และเขียนง่ายกว่า งานพิมพ์บนกระดาษอาร์ตด้าน ไม่ได้ให้ความรู้สึกด้านทั้งหมดเนื่องจากงาน หมึกพิมพ์จะมีความเงาบ้างตามความเข้มของสีหากต้องการให้ดูรู้สึกด้านไม่สะท้อนแสงเลย ต้องเลือก บริการเคลือบด้าน (matt laminate) เสริม 2.5.2 กระดาษอาร์ตมัน (coated paper gloss)เทียบผิวกับอาร์ตด้าน จะดูเงา (มัน) กว่าแต่ไม่ได้ เงาสะท้อนเหมือนเคลือบเงา (gl os s la min ate) หากไม่แน่ใจว่าจะเลือกกระดาษอาร์ตด้านหรือมัน ทางบริษัท ฯ แนะนำให้เลือก อาร์ตด้าน ซึ่งปกติลูกค้าทั่วไปนิยมมากกว่า และจะรู้สึกแข็ง (หนา) กว่าอาร์ตมัน ภาพที่ 2.6 ความหนากระดาษแต่ละแกรม ที่มา : www.shopee.co.th
13 2.6 งานศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง โครงงาน CMVC.HOTEL Business Card ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าบทความงานศึกษา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ปวินท์ บุนนาค (2565) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว แคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี วิธีการดําเนินการวิจัยโดย 1.การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้อมูล จังหวัดปราจีนบุรี และธุรกิจลานกางเต็นท์ เพื่อนําข้อมูลมาหาอัตลักษณ์ให้กับโครงการ 2.กําหนดกลุ่มเป้าหมายทางกายภาพ และจินตภาพโดยให้กลุ่มเป้าหมายทําแบบสอบถามและ ผู้วิจัยทําการสัมภาษณ์ 3.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์แนวทาง การใช้สื่อ 4.หาข้อมูลคําสําคัญ วิเคราะห์หาสารที่ต้องการจะสื่อ บุคลิกภาพ อารมณ์และชื่อแบรนด์ 5.วิเคราะห์ข้อมูลเทรนด์การออกแบบ และให้ผู้เชี่ยวชาญทําการประเมินแนวทางการออกแบบที่เหมาะสม สรุปผลวิจัยพบว่า กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์สําหรับการออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์การ ท่องเที่ยวแคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี ได้สารที่ต้องการสื่อ คือ nature's symphony ส่วนบุคลิกภาพและ อารมณ์ คือ Dynamic , Modern และ Calm แนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันและอัตลักษณ์ที่ เหมาะสมและสามารถให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวได้ กฤตยภัทร ธรรมรุจี (2564) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน บ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด และเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการสื่อสารตลาดเพื่อ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด ใช้ระเบียบ วิธี วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพท าการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารชุมชน ผู้น าชุมชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในชุมชนจำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด มีการใช้เครื่องมือการสื่อสาร การตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน คือ 1) การสื่อสารการตลาดผ่านจากบุคคล สามารถสร้างความน่าสนใจและทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจ เข้ามาท่องเที่ยว 2) การประชาสัมพันธ์ช่วยให้นักท่องเที่ยวเกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรม การท่องเที่ยวของชุมชนชุมชนและนำไปสู่การตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยว 3) การโฆษณา ทำให้แหล่งท่องเที่ยวชุมชนน่าสนใจและมี ส่วน สำคัญต่อการตัดสินใจเดิน ทางมาท่องเที่ยวของ นักท่องเที่ยว 4) การตลาดผ่าน สื่อออนไลน์ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร
14 เกี่ยวกับรายละเอียดของชุมชน และตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว 5) การตลาดทางตรง ชุมชนมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว และนำมาใช้สำหรับส่งรายละเอียดการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้ นักท่องเที่ยวสนใจและเกิดความประทับใจ 6) กิจกรรมการส่งเสริมการขาย ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว นำกลยุทธ์ การลดราคาและเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยว และ 7) กิจกรรมการตลาดร่วมกับหน่วยงานอื่น ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีการร่วมมือ กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การ ท่องเที่ยวจังหวัด เทศบาล และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดตราด และจังหวัด ใกล้เคียงเพื่อขยายฐานกลุ่มนักท่องเที่ยว และศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีต่อการสื่อสาร การตลาด เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด โดยวิธีการ วิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อ การสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.82 โดยมีความพึงพอใจการสื่อสารการตลาด ผ่านจากบุคคล เท่ากับ 4.26 การโฆษณา เท่ากับ 4.15 และการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เท่ากับ 4.12 ตามลำดับ อัครชัย สัมฤทธิ์;ภาคภูมิ ชีพดำรงค์ และ ทาชินี สุขโข (2560) ได้ศึกษา ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ปริญญานิพนธ์ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก 2) ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ 3) ศึกษาระดับคุณภาพที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่องการ ออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่องการออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากกลุ่มตัวอย่างวิธีการศึกษา ทำโดย ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่องการออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจและทำการประเมินคุณภาพ สื่อผ่านแบบประเมินคุณภาพ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านเทคนิคการนำเสนอ รวมทั้งสิ้น 3 ท่าน และทำการประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน รวบรวมผลการประเมิน และนำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามวิธี ทางสถิติผลการศึกษาสรุปว่า ระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไร ให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.64 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก และจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.50 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด หลังจากผู้ชมได้รับชม
15 สื่อแล้วคาดว่า สื่อทำให้ผู้ชมได้เข้าใจ ในกระบวนการออกแบบนามบัตร รวมไปถึงเกิดความรู้สึกที่อยากจะ ออกแบบนามบัตร และอาจนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นได้ในอนาคต ประจักษ์ กึกก้อง (2560) ได้ทำการวิจัย เรื่องการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ที่พักแรมในจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาอุปสรรคในการผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์ 2) แนวทางการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ 3) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจที่พักแรมจังหวัดกำแพงเพชรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสาน วิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ประกอบการ ธุรกิจที่พักแรม หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยวิธีการเจาะจง จำนวน 6 คน และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม นักวิชาการ ด้านการตลาด โดยวิธีการเจาะจง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่ม ตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการธุรกิจที่พักแรม สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปมีการด าเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเป็นช่วงๆ และ ไม่สม่ำเสมอ มีการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์ ได้แก่ แผ่นพับ นามบัตร การจัดบอร์ด ป้ายประกาศ และสื่อมวลชนท้องถิ่น สำหรับปัญหา อุปสรรค พบว่า บุคลากรขาดความรู้ ทักษะด้านการประชาสัมพันธ์ และมีงบประมาณน้อย 2) แนวทางการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ตัวอักษรแสดงถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และบุคลิกของที่พักแรม มีเนื้อหา ประวัติของที่พักแรม รายละเอียดเกี่ยวกับการบริการต่าง ๆ เครื่องอำนวยความสะดวก ชัดเจน กระชับ สีหลัก สอดคล้องเหมาะสมตามหลักจิตวิทยาของสี ขนาดเหมาะสม พกพาสะดวก คำนึงถึงวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณภาพถ่ายจากสถานที่จริง บรรยากาศจริง 3) ระดับความพึงพอใจต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (̅ = 4.23) ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ปกหน้า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (̅ = 4.52) รองลงมาคือ หน้าใน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (̅ = 4.15) และปกหลัง ระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (̅ = 4.07) ประพนธ์ เนียมสา และ อรรถพงษ์ ศิริสุวรรณ (2560) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การออกแบบ อัตลักษณ์และเรขศิลป์สื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์โอทอป ไหมสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์กำหนดรูปแบบในการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์โอทอป ไหมสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์2) ออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์โอทอป ไหม
16 สมเด็จอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์โอทอป ไหมสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ งานวิจัยแบ่งเป็น 2 ช่วงได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลบริบทของกลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ระยะที่ 2 ทำการออกแบบผลงานจาก กระบวนการทางการออกแบบเรขศิลป์ผลการวิจัยพบว่า (1) การกำหนดอัตลักษณ์ได้นำปัจจัยทางความ เชื่อทางด้านพิธีกรรมทางศาสนาโดยใช้ธงใย ที่ถูกผลิตขึ้นเองของกลุ่มไหมสมเด็จ เพื่อประกอบพิธีกรรม ร่วมกับชุมชนอยู่เป็นประจำเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณอีสาน สะท้อนอัตลักษณ์ทางความเชื่อ และ นำลายผ้าไหม รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดซึ่งเป็นลายที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นโครงสร้างในการผลิตลาย เป็นที่นิยมของกลุ่มในการทอ สะท้อนอัตลักษณ์ทางหัตถกรรม แสดงถึงการสืบทอดศิลปะ วัฒนธรรม ดั้งเดิมของบรรพบุรุษในการประกอบอาชีพ (2) การออกแบบตราสัญลักษณ์ได้นำอัตลักษณ์ของ ธงใย และ ลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดของลายผ้าไหมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายกัน สามารถประสานเป็นตราสัญลักษณ์ได้โดยใช้โทนสีจำนวน 3 สีได้แก่ เหลือง แดง คราม ซึ่งถูกจัดกลุ่มจาก จำนวนสีทั้งหมดที่กลุ่มได้มีการย้อมผ้าของกลุ่ม โดยลดทอนให้เหลือค่าสีกลาง (3) รูปแบบสื่อ ประชาสัมพันธ์สื่อให้เห็นถึงกระบวนการ ผลิตตั้งแต่การเลี้ยงไหมจนถึงการผลิตเลือกใช้ภาพขั้นตอน การผลิตจริง โดยใช้สีเหลืองแสดงถึงการเลี้ยงไหมและสีครามในขั้นตอนการย้อมการทอ โดยจำแนก การใช้งานของสื่อสิ่งพิมพ์ออกได้2 ประเภท ได้แก่ 3.1) การใช้งานสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้แก่ ก า ร อ อ ก แ บ บ บ ร ร จุ ภั ณ ฑ์ ข น า ด เ ล็ ก แ ล ะ ใ ห ญ่ ถุ ง ใ ส่ บ ร ร จุ ภั ณ ฑ์ ส อ ด แ ท ร ก เ นื้ อ ห า ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม ป้ายแขวนบอกราคาและ วิธีการใช้การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ใช้สีครามจาก ผ้าย้อมครามในการเลียนแบบสีธรรมชาติที่ถูกย้อมขึ้นเองของกลุ่ม 3.2) การใช้งานสำหรับประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การออกแบบ นามบัตร แสดงตราสัญลักษณ์และข้อมูลการติดต่อ การออกแบบแผ่นพับ แสดง ประวัติข้อมูลผลิตภัณฑ์ใช้สีครามและเหลืองในการออกแบบ สรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการ ออกแบบตราสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกที่มาและอัตลักษณ์ของกลุ่มไหมสมเด็จได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (̅ = 4.04, S.D.=0.80)อยู่ในระดับความพึงพอใจมากสรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( ̅ = 4.12, S.D.=0.81) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก จารุวรรณ จรุงกลิ่น (2559) ได้ทำการวิจัยเรื่อง รูปแบบธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับ การจัดเลี้ยงทางธุรกิจ (Off-Premise Catering) ที่ประสบความสำเร็จในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ
17 (Off-Premise Catering) ที่ประสบความสำเร็จในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ 2) เพื่อศึกษาปัจจัย ด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อการใช้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ 3) เพื่อศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติด้านส่วนผสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ โดยใช้ วิธีเก็บข้อมูลผ่านกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่เคยติดต่อจัดหา หรือผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร จากการแจกแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด และผู้ประกอบการผ่านการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 7 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ หาค่าความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ผ่านโปรแกรมสถิติ สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistic Package for Social Sciences หรือ SPSS) จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ร่วมกับการสัมภาษณ์ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์ เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่มักใช้ผู้ให้บริการ จัดเลี้ยงรายเดิม ๆ แต่มีบางรายที่ลองเปลี่ยนใช้บริการจากผู้ให้บริการจัดเลี้ยงรายใหม่ โดยรู้จักผู้ให้บริการ รายใหม่จากสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ เช่น Website, Facebook และสื่อออนไลน์อื่น ๆ ส่วนรูปแบบ การจัดเลี้ยงที่ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นการจัดในที่ร่ม โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเลี้ยงเพื่อ สร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กร ส่วนงานจัดเลี้ยงนอกสถานที่เป็นประจำ คือ จัดเลี้ยงงานประจำปี ส่วนใหญ่จัดงานหลัง 18:00 น. และมีระยะเวลาในการจัดเลี้ยงในแต่ละครั้ง 3-4 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มีความถี่ ในการใช้บริการธุรกิจจัดเลี้ยง ปีละ 1 ครั้ง และผู้ที่มาร่วมงานหลักของงานจัดเลี้ยง คือ พนักงาน โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานจัดเลี้ยงใน แต่ละครั้งประมาณ 100 คนขึ้นไป ประกอบกับมีงบประมาณ ในการจัดงานแต่ละครั้ง 20,001 – 40,000 บาท (เฉพาะค่าอาหาร) กิจกรรมในงานจัดเลี้ยง นอกเหนือจาก ด้านอาหาร ได้แก่ การแสดง ดนตรี โชว์บันเทิงต่าง ๆ 2) ปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความ สำคัญต่อการเลือกใช้บริการปัจจัยด้านการตลาดโดยรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้บริการ ปัจจัยด้านการตลาดมากที่สุดเกี่ยวกับด้านราคา และคุณภาพของการ และบริการคุณภาพของอาหาร และ ให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้บริการปัจจัยด้านการตลาดน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการขาย และจากสัมภาษณ์ที่พบว่า ผู้ให้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มจัดเลี้ยงมื้ออาหารว่าง และกลุ่มมื้ออาหารหลัก และจุดเด่นของธุรกิจจัดเลี้ยง คือ ราคาถูกซึ่งกลุ่มลูกค้า คือ พนักงานบริษัทฯ
18 เป็นหลัก รองลงมาเป็นหน่วยงานราชการ สำหรับการแข่งขันของธุรกิจประเภทนี้มีสูงมาก เนื่องจากลงทุนที่ง่าย ดังนั้นกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นองค์กร หรือบริษัท ความต้องการพิเศษ คือ ราคาถูก คุณภาพดี อาหารอร่อย แต่ผู้ให้บริการธุรกิจรับจัดเลี้ยงส่วนใหญ่มีปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ คือปัญหา “ปัญหาด้านการแข่งขันทางธุรกิจ” “ปัญหาด้านพนักงาน” “ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น” สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ทางเฟสบุ๊ค IG ไลน์ รูปแบบปากต่อปาก นามบัตร เป็นต้น
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา ในการดำเนินโครงงาน CMVC. Hotel Business Name Card มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา รูปแบบของนามบัตร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนามบัตรเดิม ให้มีข้อมูลเพิ่มเติม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลรายละเอียดห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและ เครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางนามบัตร ซึ่งผู้จัดทำโครงงาน ได้ดำเนินการศึกษาดังนี้ 3.1 กลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน 3.3 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 กลุ่มตัวอย่าง ลูกค้าที่เข้ามาติดต่ออาคารปฏิบัติการโรงแรม จำนวน 100 คน โดยวิธีการตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน 3.2.1 แบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำโครงงานใช้แบบสอบถามรูปแบบ เป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบข้อมูลในนามบัตร รูปภาพที่นำมาใส่ในนามบัตร รูปแบบของนามบัตร ผู้จัดทำโครงงานได้แยกแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยสอบถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ รายได้ โดยที่ผู้ตอบได้เลือกตอบตาม ความเป็นจริง (Check-list) ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ของคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ผู้จำนวน 50 คน เกี่ยวกับรูปแบบ ข้อมูลในนามบัตร รูปภาพที่นำมาใส่ในนามบัตร รูปแบบของนามบัตร ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามรูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card
20 การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ โดยมีการสร้างเครื่องมือดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับรูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card และความคิดเห็น ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ผู้จัดทำโครงงานได้จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card ข้อมูลในนามบัตร รูปภาพที่นำมาใส่ในนามบัตร รูปแบบของ นามบัตร 3) นำแบบสอบถามรูปแบบที่จัดทำขึ้นให้กับอาจารย์ประจำวิชา เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องตามเนื้อหาและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ได้แสดงความคิดเห็น 3.2.2 แบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำโครงงานใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามความความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ซึ่งมี การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความความพึงพอใจโดย ผู้จัดทำโครงงานได้ แยกแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยสอบถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ อาชีพ โดยที่ผู้ตอบได้เลือกตอบตาม ความเป็นจริง (Check-list) ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ของผู้จำนวน 100คน ของผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card ของอาคารปฏิบัติ การโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงงานได้ใช้มาตราวัดแบบ Rating Scale 5 ระดับ ตามมาตรา วัดแบบลิเคิร์ท (Likert’ Scale) อ้างจาก บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ (2553) ในการวัดระดับ ความพึงพอใจ ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลางหรือพอใช้ 2 หมายถึง น้อยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน 1 หมายถึง น้อยที่สุดหรือต้องปรับปรุงแก้ไข
21 เกณฑ์การประเมินแบบสอบถามความคิดเห็น มี 5 ระดับโดยผู้จัดทำโครงงานได้เลือกวิธีการ ของ เร็นสิส เอ ลิเคิร์ท ดังนี้ (Likert, Rensis A. 2504) 4.50 – 5.00 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับมากที่สุด 3.50 – 4.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับมาก 2.50 – 3.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับน้อย 1.00 – 1.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับน้อยมาก ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ โดยมีการสร้างเครื่องมือดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card และความคิดเห็น ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ผู้จัดทำโครงงานได้จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card 3) นำแบบสอบถามความพึงพอใจที่จัดทำขึ้นให้กับอาจารย์ประจำวิชา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามเนื้อหาและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 4) นำแบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ไปยัง ของผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card ของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษา เชียงใหม่ 3.3 การดำเนินโครงงาน สำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง สืบค้นข้อข้อมูล รายละเอียดห้องพัก สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม สถาปัตยกรรม นำข้อมูลมาเรียบเรียงจัดทำลไลด์นำเสนอข้อมูล สร้างคิวอาร์โค้ด ออกแบบนามบัตร นำนามแบบแต่ละแบบนำไปสอบถามความคิดเห็นอาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา สาขาวิชาการโรงแรม สรุปแบบความคิดเห็น จัดทำนามบัตร
22 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำโครงงานได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการโครงงานครั้งนี้ อย่างเป็นขั้นตอนดังนี้ 3.4.1 ผู้จัดทำโครงงานทำการแจกแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ไปยัง คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โดยวิธีการเลือกแบบการสุ่มแบบง่าย ให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง 3.4.2 การเก็บรวบรวมแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำ โครงงานได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง 3.4.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามรูปแบบ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ 3.4.4 ผู้จัดทำโครงงานทำการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจไปยังกลุ่มตัวอย่าง ผู้ใช้บริการนามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card จำนวน 100 ชุด ของอาคารปฏิบัติการ โรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โดยวิธีการเลือกแบบการสุ่มแบบง่าย ให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง 3.4.6 การเก็บรวบรวมแบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำโครงงานได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวน 100 ชุด 3.4.7 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ 3.5 การวิเคราะห์และสรุปผล ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์ ของแบบสอบถามรูปแบบนามบัตรและการใช้CMVC. Hotel Business Name Card นำข้อมูลที่ได้ จาก การเก็บรวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามรูปแบบและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์สถิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทั้ง 2 เครื่องมือ ดังนี้ 3.5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์ โดย การหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) สูตรการหาค่าร้อยละ เมื่อ P แทน ร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องการแปลค่าให้เป็นร้อยละ n แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
23 3.5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 2แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้CMVC. Hotel Business Name Card ของผู้ใช้บริการอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิเคราะห์ โดยการ หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อ x แทน ค่าเฉลี่ย ∑x แทน ผลรวมทั้งหมดของความถี่ คูณ คะแนน N แทน ผลรวมทั้งหมดของความถี่ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนข้อมูลทั้งหมด สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน N แทน จำนวนคู่ทั้งหมด X แทน คะแนนแต่ละตัวในกลุ่มข้อมูล ∑x แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่ 3.5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบ แบบสอบถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ CMVC. Hotel Business Name Card โดยผู้จัดทำ โครงงานได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยวิธีการในรูปแบบบรรยายตามเหตุผลของผู้ตอบ แบบสอบถาม
บทที่ 4 ผลการศึกษาโครงงาน ใ น ก า ร ศึกษ าโ ค รงงา น C M V C. H o t el B u s i nes s N a m e C a r d ค รั้ ง นี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของนามบัตร2) เพื่อพัฒนารูปแบบนามบัตรเดิมให้มีข้อมูลเพิ่มเติม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางนามบัตร โดยสามารถแสดงผลการศึกษาและศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card 4.2 ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ของคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เกี่ยวกับข้อมูลในนามบัตร รูปภาพที่นำมาใส่ในนามบัตร การออกแบบของนามบัตร ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถาม รูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม จากการศึกษา CMVC. Hotel Business Name Card ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล เพศ อายุ รายได้ โดยหาค่าร้อยละ ซึ่งผลวิเคราะห์ปรากฏดังนี้ ตารางที่ 1 ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ ชาย 21 42 หญิง 29 58 รวม 50 100
25 จากตารางที่1ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ ได้สรุปผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 42 มีผล ตามลำดับ ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านอายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ 20-25 ปี 3 6 26-30 ปี 5 10 31-35 ปี 14 28 36-40 ปี 6 12 41-45 ปี 14 28 46-50 ปี 5 10 51-60 ปี 3 6 60 ปีขึ้นไป 0 0 รวม 50 100 จากตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ตอบแบบสอบถามด้านอายุ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างในช่วงอายุ 31-35 ปี และ 41-50 ปีมีผลเท่ากัน คือ คิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมา ช่วงอายุ 36-40 ปีคิดเป็นร้อยละ 12, ช่วงอายุ 26-30 ปีและ 46-50 ปีมีผลเท่ากัน คือ ร้อยละ 10 และอันดับสุดท้าย 20-25 ปีและ 46- 50 ปีคิดเป็นร้อยละ 6 เท่ากันตามลำดับ ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านรายได้ รายได้ จำนวน (คน) ร้อยละ ต่ำกว่า 10,000 บาท 5 10 10,001-20,000 บาท 8 16 20,001-30,000 บาท 5 10 30,001-40,000 บาท 14 28 สูงกว่า 40,001 ขึ้นไป 18 36 รวม 50 100
26 จากตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านรายได้ ผู้ศึกษาได้สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีรายได้ สูงกว่า 40,001 ขี้นไป คิดเป็นร้อยละ 36 รองลงมามีรายได้ 30,001-40,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28, มีรายได้ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16 และอันดับสุดท้าย มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท และ 20,001-30,000 คิดเป็นร้อยละ 10 เท่ากันตามลำดับ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card จากการศึกษา CMVC. Hotel Business Name Card ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่ม ตัวอย่าง คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ผู้จำนวน 50 คน จาก แบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ซึ่งข้อมูลปรากฏดังนี้ ตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของนามบัตร รูปแบบ จำนวน(คน) ร้อยละ รูปแบบที่ 1 9 18 รูปแบบที่ 2 21 42 รูปแบบที่ 3 8 16 รูปแบบที่ 4 12 24 รวม 50 100 จากตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของนามบัตร พบว่า รูปแบบที่ผู้ตอบ แบบสอบถามเลือกตอบมากที่สุด คือรูปแบบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 42 รองลงมา รูปแบบที่ 4 คิดเป็น ร้อยละ 24, รูปแบบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 18 และรูปแบบที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบน้อยที่ รูปแบบที่ 3 ร้อยละ 16 มีผลตามลำดับตามลำดับ
27 ภาพที่ 4.1 ภาพรูปแบบที่ 2 ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของโลโก้ในนามบัตร รูปแบบโลโก้ จำนวน(คน) ร้อยละ ตัวเลือกที่ 1 38 76 ตัวเลือกที่ 2 12 24 รวม 50 100 จากตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างการตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับรูปแบบของโลโก้ในนามบัตร พบว่าตัวเลือกที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76 และตัวเลือกที่ผู้ตอบแบบสอบ เลือกตอบน้อยที่สุด คือตัวเลือกที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 24 มีผลตามลำดับ ภาพที่ 4.2 โลโก้ตัวเลือกที่ 1 ตารางที่ 6 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับช่องทางการติดต่อในนามบัตร โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถาม เลือกได้2 คำตอบ
28 ช่องทางการติดต่อ จำนวน(คำตอบ) ร้อยละ เบอร์โทรแผนกวิชาการโรงแรม 44 40.89 Facebook แผนกวิชาการโรงแรม 27 24.90 ที่อยู่ 26 23.92 เบอร์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 8 7.47 Facebook วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 3 2.82 รวม 108 100 จากตารางที่ 6 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับ รูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับช่องทางการติดต่อในนามบัตร โดยให้ผู้ตอบ แบบสอบถามเลือกได้ 2 คำตอบ พบว่า ช่องทางที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกมากที่สุด ช่องทาง ติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์แผนกวิชาการโรงแรม คิดเป็นร้อยละ 40.89, รองลงมา Facebook แผนกวิชาการโรงแรม คิดเป็นร้อยละ 24.90,ข้อมูลด้านที่อยู่ คิดเป็นร้อยละ 23.92, เบอร์โทรศัพท์วิทยาลัย อาชีวศึกษาเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 7.47และช่องทางที่ผู้ตอบแบบสอบถาม เลือกน้อยที่สุด Facebook วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 2.82 มีผลตามลำดับ ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถาม รูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card ผลข้อเสนอแนะและความคิดเห็นส่วนใหญ่ พบว่า อยากพื้นหลังสีอ่อนลง เพื่อที่ใส่ตัวหนังสือจะได้อ่านง่าย อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมมี มากกว่า ที่ใส่ในนามบัตรควรเลือกได้มากกว่า 2 ข้อ อยากให้รูปแบบของนามบัตรออกมีอ่าน ง่ายตัวหนังสือชัดเจนสีตัวหนังสือตัดกับพื้นหลัง 4.2 แบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยสอบถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ อาชีพ โดยที่ผู้ตอบได้เลือกตอบตาม ความเป็นจริง (Check-list) ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ของผู้จำนวน 100คน ของผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card ของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงงานได้ใช้มาตราวัดแบบ Rating Scale 5 ระดับ ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ
29 4.2 แบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card จาก การศึกษา CMVC. Hotel Business Name Card ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล เพศ อายุ โดยหาค่าร้อยละ ซึ่งผลวิเคราะห์ปรากฏดังนี้ ตารางที่ 7 ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านเพศ เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ ชาย 46 46 หญิง 54 54 รวม 100 100 จากตารางที่ 7 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านเพศ ได้สรุปผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 54 รองลงมาเพศชายคิดเป็นร้อยละ 46 มีผลตามลำดับ ตารางที่ 8 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านอายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ 21-25 ปี 6 6 26-30 ปี 16 16 31-35 ปี 19 19 36-40 ปี 17 17 41-45 ปี 18 18 46-50 ปี 17 17 51 ปีขึ้นไป 6 6 รวม 100 100 จากตารางที่ 8ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านอายุได้สรุปผล การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ31-55 ปีคิดเป็นร้อยละ 19 รองลงมา ช่วงอายุ 41-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 18 , ช่วงอายุ 36-40 ปี และ 46-50 ปี มีผลเท่ากันคือ ร้อยละ 17 , ช่วงอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 16 และอันดับสุดท้าย ช่วงอายุ 21.25 ปี และ 51 ปีขึ้นไป มีผล เท่ากันคือ ร้อยละ 6 มีผลตามลำดับ ตามลำดับ
30 ตารางที่ 9ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านอาชีพ อาชีพ จำนวน (คน) ร้อยละ ข้าราชการ/พนักงานราชการ 43 43 นักเรียน/นักศึกษา 8 8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 24 24 พนักงานรับจ้างทั่วไป 21 21 ว่างงาน 4 4 รวม 100 100 จากตารางที่ 9 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างด้านอาชีพ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพข้าราชการ/ พนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมา ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 24 , ประกอบอาชีพพนักงานรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 21 , ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 8 และอาชีพที่กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบน้อยที่สุดคือ อาชีพว่างงาน คิดเป็นร้อยละ 4 มีผลตามลำดับ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบประเมินความพึงพอใจ CMVC. Hotel Business Name Card ของของผู้จำนวน 100 คน ของผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card ของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โดยการหาค่าเฉลี่ย (̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) จากแบบประเมินความพึงพอใจ CMVC. Hotel Business Name Card ข้อมูลปรากฏดังนี้ ตารางที่10 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง รายการประเมิน ผลการประเมิน ̅ S.D ผลการ ประเมิน 1. ความสวยงามของ CMVC. Hotel Business Name Card 4.26 0.73 มาก 2. ความทนทานของ CMVC. Hotel Business Name Card 4.23 0.68 มาก
31 รายการประเมิน ผลการประเมิน ̅ S.D ผลการ ประเมิน 3. ความสะดวกสบายในการใช้ CMVC. Hotel Business Name Card 4.26 0.73 มาก 4. การออกแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card 4.15 0.78 มาก 5. ลวดลายของ CMVC. Hotel Business Name Card มีความเหมาะสม และ สวยงาม 4.15 0.72 มาก 6. CMVC. Hotel Business Name Card สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 4.25 0.64 มาก 7. ภาพรวมของ CMVC. Hotel Business Name Card 4.28 0.62 มาก รวม 4.22 0.70 มาก จากตารางที่ 10 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลสรุป ความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างพบว่าผลสรุป CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ใน ระดับ มาก (̅ =4.22) เมื่อผลสรุปผลออกมาเป็นรายข้อพบว่า ภาพรวมของ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก (̅ =4.28) รองลงมาคือ ความสวยงามของ CMVC. Hotel Business Name Card และ ความสะดวกสบายในการใช้ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับ มาก (̅ =4.26) , CMVC. Hotel Business Name Card สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง อยู่ใน ระดับมาก (̅ =4.25) , ความทนทานของ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก (̅ =4.23) , การออกแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card และ ลวดลายของ CMVC. Hotel Business Name Card มีความเหมาะสม และ สวยงาม อยู่ในระดับมาก (̅ =4.15) ส่วนที่ 3 ผลสรุปข้อเสนอแนะ ผลสรุปความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในการทำแบบประเมินความพึงพอใจ CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อเสนอออกจากกลุ่มตัวอย่างได้ 2 ข้อดังนี้
32 1. ภาพรวมด้านบวกของ CMVC. Hotel Business Name Card ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อเสนอแนะด้านบวกของ CMVC. Hotel Business Name Card ทั้งหมดได้ว่ามีความคิดสร้างสรรค์ มีความสวยงาม เป็นนามบัตรแบบใหม่ที่สามารถแนะนำ รายละเอียดห้องพักได้ครบถ้วน มีรายละเอียดที่น่าสนใจ กระดาษมีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ได้ จริงและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ 2. ภาพรวมที่ควรปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดของ CMVC. Hotel Business Name Card จากการรวบรวมและสรุปข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มตัวอย่างบางท่านอยากให้ ปรับปรุงและพัฒนาผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อเสนอแนะทั้งหมดได้ว่าเว็บไซต์นำเสนอ ห้องพักควรใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งไม่ควรนำภาษาไทยและภาษาอังกฤษปะปนกัน
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของนามบัตร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนามบัตรเดิมให้มีข้อมูลเพิ่มเติม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียด ห้องพักอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางนามบัตร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยคณะครู บุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ และผู้ใช้นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card จำนวนทั้งหมด 100 คน โดยวิธีการเลือกแบบกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบสอบถาม รูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card และแบบสอบถามความพึงพอใจของ CMVC. Hotel Business Name Card การศึกษามีดังนี้ 5.1 สรุปผลการศึกษา 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษา 5.1 สรุปผลการศึกษา จากการศึกษาโครงงาน “ CMVC. Hotel Business Name Card ” ได้สรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้ 5.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card มีกลุ่มตัวอย่างทำการตอบแบบสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card จำนวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 29 คน คิดเป็นร้อยละ 58 ด้านการจำแนกอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างในช่วงอายุ 31-35 ปีและ 41-50 ปีมีผลเท่ากัน คือ คิดเป็นร้อยละ 28 ด้านการจำแนกรายได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีรายได้ สูงกว่า 40,001 ขี้นไป คิดเป็นร้อยละ 36 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card เกี่ยวกับ รูปแบบของนามบัตร พบว่า รูปแบบที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบมากที่สุด คือรูปแบบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 42
33 ภาพที่ 5.1 ภาพรูปแบบที่ 2 ด้านการจำแนกโลโก้ พบว่าตัวเลือกที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76 ภาพที่ 5.2 โลโก้ตัวเลือกที่ 1 ด้านการจำแนกช่องทางการติดต่อ ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้ 2 ตัวเลือก พบว่า ช่องทางที่ผู้ตอบ แบบสอบถามเลือกมากที่สุด ช่องทางติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์แผนกวิชาการโรงแรม คิดเป็นร้อยละ 40.89 , รองลงมา Facebook แผนกวิชาการโรงแรม คิดเป็นร้อยละ 24.90 5.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card มีกลุ่มตัวอย่างทำการตอบแบบประเมินความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card จำนวน 100 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 54 คน คิดเป็นร้อยละ 54 ด้านการจำแนกอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 19 ด้านการจำแนกอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 43 และผลวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ CMVC. Hotel Business Name Card ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยทั่งหมดเท่ากับ ( ̅ = 4.22 ) และ มีรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ภาพรวมของ CMVC. Hotel Business Name Card โดยมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( ̅ = 4.28 )
34 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาโครงงานเรื่อง “ CMVC. Hotel Business Name Card ” ในครั้งนี้สำเร็จตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพราะมีการศึกษาการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ รูปแบบของนามบัตร ได้พัฒนารูปแบบของ นามบัตรรูปแบบเดิมให้มีข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณรอบ ที่พัก ผ่านช่องทางนามบัตร และได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานโดยรวมสามารถสรุปได้เป็นรายการ ดังนี้ 5.2.1 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ธุรกิจโรงแรมใ นจังหวัดกำแพงเพชร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การพรรณนาวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยงที่ใช้บริการ ธุรกิจที่พักแรม ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ และไม่สม่ำเสมอ มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ แผ่นพับ นามบัตร การจัดบอร์ด ป้ายประกาศ และ สื่อมวลชนท้องถิ่น สำหรับปัญหา อุปสรรค พบว่า บุคลากรขาดความรู้ ทักษะด้านการประชาสัมพันธ์ และ มีงบประมาณน้อย ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัย เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์นามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card เป็นสื่อสิ่งพิมพ์สำเร็จรูป เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ ห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณรอบที่พัก และรูปภาพห้องพัก โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดหลังนามบัตร เพื่อเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานได้จัดทำขึ้น โดยเนื้อหาในคิวอาร์โค้ดประกอบไปด้วย ประเภทห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม สิ่งอำนวยความสำดวกในห้องพัก ราคาห้องพัก เส้นทางการเดินทางจากสถานที่ต่าง ๆ มายังอาคารปฏิบัติ การวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ อาทิ เช่น จากสนามบินเชียงใหม่มายังวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โดย สามารถจิ้มรูปภาพแผนที่ ที่ปรากฏในเว็บไซต์โดยการสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดหลังนามบัตร และ ทั้งยังมี ร้านอาหารและสถานที่ท่องท่องเที่ยวในระยะทาง ไม่เกิน 500 เมตร บริเวณรอบ ๆ ที่พัก โดยรายละเอียด จะประกอบไปด้วย ช่องทางการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์ เพจเฟสบุ๊ค เว็บไซต์ สถานที่ตั้ง และรูปภาพ 5.2.2 แนวทางการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ตัวอักษรแสดงถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และบุคลิกของที่พักแรม มีเนื้อหา ประวัติของที่พักแรม รายละเอียดเกี่ยวกับการบริการต่าง ๆ เครื่องอำนวยความสะดวกชัดเจน กระชับ สีหลัก สอดคล้องเหมาะสมตามหลักจิตวิทยาของสี ขนาดเหมาะสม พกพาสะดวก คำนึงถึงวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณภาพถ่ายจากสถานที่จริง บรรยากาศจริง อภิปลายผลได้ว่า สืบเนื่องจากการจัดทำ แบบสอบถามความพึงพอใจใน CMVC. Hotel Business Name Card ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของ
35 กลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลสรุป อยู่ในระดับ มาก ( ̅ =4.22 ) เนื่องจากเป็นการนำเสนอนามบัตรรูปแบบแบบใหม่ มีการแนะนำรายละเอียดครบถ้วน เมื่อผลสรุปผลออกมาเป็นรายข้อพบว่า ภาพรวมของ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.28 ) เนื่องจากนามบัตร ที่ปริ้นออกมาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน ความสวยงามของ CMVC. Hotel Business Name Card เนื่องจาก ความสวยงามมีการใช้สีสันสดใส สวยงามใช้สีม่วงที่เป้นสีประจำแผนกวิชาการโรงวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ใช้ตัวหนังสืออ่านง่าย สี ตัวหนังสือตัดกับพื้นหลัง ความสะดวกสบายในการใช้ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.26 ) เนื่องจาก การแนะนำรายละเอียดเพิ่มเติมต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการสแกนคิวอาร์โค้ด ผู้ใช้นามบัตรบางท่านยัง ไม่เข้าถึงเทคโนโลยีเท่าไหร่ ทำให้ไม่สะดวก CMVC. Hotel Business Name Card สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.25 ) เนื่องจาก โครงงานนามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card มีการแนะนำรายเอียดเพิ่มเติมของ ห้องพักในคิวอาร์โค้ด มีรูปภาพห้องพักประกอบการเลือกตัดสินใจในการจองห้องพัก และมีเบอร์โทรช่อง ทางการติดต่อ วิธีการเดินทางต่าง ๆ ที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้จริง ความทนทานของ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.23 ) เนื่องจาก นามบัตรเลือกใช้กระดาษอาร์ตมัน หนา 300 แกรมที่นิยมใช้ปริ้นนามบัตรทั่วไป มีความแข็งแรง ทนทาน กว่า หระดาษอาร์ตเงา รูปแบบของ CMVC. Hotel Business Name Card อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.15 ) เนื่องจาก รูปแบบ ตามมาตราฐานนามบัตร และเป็นรูปแบบที่คณะครู บุคลากรเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เลือก มากที่สุด ร้อยละ 42 ลวดลายของ CMVC. Hotel Business Name Card มีความเหมาะสมและสวยงาม อยู่ในระดับมาก ( ̅ =4.15 ) เนื่องจากดังข้อมูลที่ปรากฏในตารางที่ 10 เป็นตารางสรุปข้อมูลจากการสอบถามรูปแบบ CMVC. Hotel Business Name Card จากคณะครู บุคลากรเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เลือกรูปแบบของนามบัตร ผู้จัดทำโครงงานเลือกรูปแบบ โลโก้ ช่องทางการติดต่อ ที่ผู้ตัดแบบสอบถามเลือก มากที่สุด เป็นเครื่องมือในการออกแบบนามบัตร CMVC. Hotel Business Name Card
36 5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษา 5.3.1 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาโครงงานครั้งนี้ การศึกษาโครงงานเรื่อง “ CMVC. Hotel Business Name Card ” ปัญหาที่เจอคือ ไฟล์รูปภาพโล โก้ที่ได้รับมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการเป็นไฟล์รูปภาพธรรมดามีพื้นหลังสีขาว เมื่อนำไปลบพื้นหลังออก ทำให้สีตัวหนังสือใต้โลโก้ ไม่ชัดเจน เมื่อสั่งปริ้นนามบัตรออกมาทำให้ไม่ค่อยชัดเจน วิธีการแก้ไขปัญหา หา เว็บไซต์ลบพื้นหลังที่สามารถเก็บละเอียดพื้นหลังมากที่สุด และบันทึกเป็นแบบโปร่งใส 5.3.2 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาโครงงาน การศึกษาโครงงานเรื่อง “ CMVC. Hotel Business Name Card ” พบว่าควรศึกษารูปแบบของ นามบัตรให้มาก ศึกษาวิธีการออกแบบให้โดดเด่น น่าสนใจมีข้อมูลครบถ้วน ตรวจสอบความถูกต้อง การสะกดคำ รูปภาพที่ใช้ควรชัดเจน และเป็นรูปภาพปัจจุบัน
บรรณานุกรม กฤตยภัทร ธรรมรุจี“ การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราด ”. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://etheses.rbru.ac.th (27/10/66) ขวัญสกุล ศรีจอมขวัญ และ ดวงนภา ประเสริฐพงษ์. “ เปิดประวัติบัตรพระนามรัชกาลที่ ๔ ”. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://www.silpa-mag.com/culture/article (25/10/66) จารุวรรณ จรุงกลิ่น. “รูปแบบธุรกิจรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่สำหรับการจัดเลี้ยงทางธุรกิจ ”. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. http://dspace.bu.ac.th (26/10/66) ธนกฤต ดิษยครินทร์และ คณะศิลปกรรมศาสตร์. “การออกแบบเรขศิลป์เพื่อประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยว แคมป์ปิ้งจังหวัดปราจีนบุรี ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://digital.car.chula.ac.th (26/10/66) ธนาบุตร. “ กระดาษ ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://www.tanabutr.co.th (26/10/66) ประจักษ์ กึกก้อง. “ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดกำแพงเพชร ”. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://fms.kpru.ac.th (26/10/66) ประพนธ์ เนียมสา และ อรรถพงษ์ ศิริสุวรรณ. “ การออกแบบอัตลักษณ์และเรขศิลป์สื่อสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์โอทอป ไหมสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://www.researchgate.net/profile (27/10/66) ภูวดล คันธศักดิ์ศิริ. “ มายด์การ์ด: แอพพลิเคชั่นเพื่อการจัดการข้อมูลนามบัตร ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://libdoc.dpu.ac.th (25/10/66) รัชชนก สวนสีดา “ การออกแบบและการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://library.tru.ac.th (25/10/66) วุฒิชาติ สุนทรสมัย และคณะ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. “ การพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้านที่พักแรมแบบโฮมสเตย์: กรณีศึกษาเกาะ ช้าง จังหวัดตราด ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. http://dspace.lib.buu.ac.th (25/10/66)
บรรณานุกรม (ต่อ) อัครชัย สัมฤทธิ์;ภาคภูมิ ชีพดำรงค์ และ ทาชินี สุขโข “ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบ นามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://research.rmutt.ac.th (26/10/66) WordPress. “ ประโยชน์ของนามบัตร ” (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. http://www.vkk-packaging.com (25/10/66)
ภาคผนวก