The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cr.cultural.lib, 2021-10-03 05:48:37

ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุผาเงา

ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

รราายยงงาานผลการดำเนนินินงงาานน
โคโครรงงกกาารรพพฒั ัฒนนาต‹อยอดทุนททาางงววฒั ัฒนนธธรรรรมม
ตาตมารมอรยอยศศาสาสตตรรพ พ รระะรราาชชาาเเพพอ่� ่อ� ชมุ ชนเขม็ แขขง็็งออยยา‹ ‹างงยยัง่ ั่งยยืนนื (บ(บววรรOOnnToTuoru)r)
ขอขงอชงุมชชุมนชคนณุคุณธรธรมรมนนŒอŒอมมนนำำหหลลกั ักปปรรชั ัชญาของเศรษฐฐกกิจิจพพออเพเพ�ยย� งงขขับับเคเคลล่ืออ่ืนนดดŒวยŒวพยพลงั ลบังวบรวร

สโดำโสนยดำกั นยกงกัาลกงนาุ‹มลวนฒักม‹ุวฒัจิกนกธจินรกธารรรามรพรจมพงัจ�เหศงั �เหวศษัดวษัดเชเชยี ยีงรงราายย โโททโโททรรรรศสศสาัพาัพรทรท ๐๑ ๐๕๑๕๕๓๕๓๓๓๑๑๕๑๕๑๐๕๐๕๐๐๑๑๖๗๑๑๙๖๐๗๙๐ www.m-culture.go.th/chiangrai
www.m-culture.go.th/chiangrai

สารบัญ

หนา้

๑. บรบิ ทชมุ ชน

๑.๑ ความเปน็ มาของชมุ ชน ๑

๑.๒ สภาพแวดล้อมของชุมชน 6

๑.๓ จำนวนครวั เรอื น/จำนวนประชาการ/รายไดเ้ ฉล่ีย/การประกอบอาชพี 7

๑.๔ หลักการบริหารหมู่บา้ น 7

๑.๕ แผนผังโครงสร้างคณะกรรมการหมบู่ า้ น 8

๑.๖ คณะกรรมการหมบู่ ้านแตล่ ะด้าน 9

๑.๗ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหมบู่ า้ น 9

๒. คำขวญั ของชมุ ชน

๓. จดุ เดน่ /เสนห่ ข์ องชุมชน 10

๔. ความเขม้ แขง็ ของบวร/บรม

๔.๑ ศาสนสถานของชมุ ชน 13

๔.๒ โรงเรียนของชมุ ชน 21

๔.๓ ผ้นู ำ “บวร” ของชุมชน 25

๔.๔ การมสี ่วนรว่ มของ “บวร” ในการพฒั นาชมุ ชน 26

๕. กระบวนการขับเคล่อื นชุมชนคุณธรรมของบวรนอ้ มนำ

หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ๙ ข้ันตอน 28

๖. ผลสัมฤทธิ์ในการขบั เคลอ่ื นชมุ ชนคณุ ธรรมน้อมนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงใน ๓ มิติ

๖.๑ คนในชุมชนยึดมั่นปฏบิ ัติตามหลักธรรมทางศาสนาทีต่ นนบั ถอื 80

๖.๒ คนในชมุ ชนน้อมนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพฒั นาคณุ ภาพชีวติ 81

๖.๓ คนในชมุ ชนสืบสานและดำเนนิ ชีวติ ตามวถิ วี ฒั นธรรมทดี่ งี าม 85

๖.๔ การกระจายข้อมูลข่าวสารของชมุ ชน 88

๗. การดำเนนิ งานพฒั นาตอ่ ยอดทุนทางวัฒนธรรมตามรอยศาสตรพ์ ระราชา

เพื่อชมุ ชนเข้มแขง็ อย่างยง่ั ยืน “บวร ” ตามกระบวนการ ๘ ขั้นตอน 88

8. การบรหิ ารจัดการในชุมชน 105

ภาคผนวก ก

แบบสำรวจความพร้อมของชมุ ชนคุณธรรมฯ ในการดำเนนิ งาน

ตามโครงการพฒั นาตอ่ ยอดทนุ ทางวัฒนธรรม

ตามรอยศาสตรพ์ ระราชาเพื่อชุมชนเข้มแข็งอย่างย่ังยนื (บวร On Tour)

ภาคผนวก ข

แบบประเมนิ ความพรอ้ มของชุมชนคณุ ธรรมฯ ในการดำเนนิ งาน (แบบ Check List)

โครงการพัฒนาต่อยอดทุนทางวฒั นธรรม ตามศาสตรพ์ ระราชา

เพื่อชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน (บวร On Tour)

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 1

ชุมชนคณุ ธรรมวัดพระธาตผุ าเงา (บา้ นสบคำ)
หมู่ ๕ ตำบลเวยี ง อำเภอเชยี งแสน จังหวัดเชียงราย

ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) หมู่ ๕ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง เหตุที่ชื่อ “บ้านสบคำ” เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้มีแม่น้ำคำไหลผ่านไป
บรรจบกบั แม่น้ำโขง ซึ่งคำวา่ “สบ” ในภาษาท้องถ่ินแปลว่า “พบ” หรอื “เจอ” น่ันคือ เป็นจุดที่แม่น้ำคำและ
แม่น้ำโขงมาเจอหรือมาบรรจบกันแต่ในอดีตคนไทลาวจะเรียกว่า "บ้านปากแม่น้ำคำ” เพราะเป็นช่วงที่แม่
น้ำคำมาเจอกันแม่น้ำโขง เรียกว่า “ปากน้ำ” แต่อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยส่วนใหญม่ ักจะเรียกว่า “บ้านสบคำ”
มากกวา่ ทีจ่ ะเรยี ก “บา้ นปากแม่นำ้ คำ” ซง่ึ สนั นษิ ฐานว่าเปน็ การเรียกตามภาษาทอ้ งถิน่

เดมิ บ้านสบคำ อยใู่ นเขตปกครองของหมู่ที่ ๓ ตำบลเวยี ง ต่อมาไดแ้ ยกหม่บู า้ นจาก หม่ทู ี่ ๓ มาเปน็
หมู่ท่ี ๕ บา้ นสบคำ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๐

วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่บริเวณ บ้านสบคำ ในเมืองเชียงแสนน้อยหรือเวียงปรึกษาในเอกสารโบราณ
ลา้ นนา อาทิ ตำนานเมืองเชยี งแสน ปรพชมุ พงศาวดารภาคท่ี ๖๑ หรอื พงศาวดารโยนก เปน็ ตน้ เวยี งปรึกษาน้ี

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 2

ระบุไว้ในเอกสารโบราณล้านนาว่าสร้างขึ้นโดยขุนลัง ภายหลังเวียงโยนกนาคพันธ์สิงหนวัติ ล่มสลายลง
กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ เมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัต นั้น สถาปนาโดยสิงหนวัติกุมาร ผู้มีเชื้อสายพระมหา
สมมติจากชมพูทวีปอพยพผู้คนมาสร้างเมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัติบนพื้นที่เมืองสุวรรณโคมคำเดิม
เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งปี พ.ศ.๑๐๘๘ ตรงกับสมัยรัชสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ ภายหลังที่พระองค์ทรง
ครองราชยไ์ ด้ ๑ ปี จงึ เกิดเหตกุ ารณ์แผ่นดนิ ไหวคร้ังใหญ่ ในวนั เสาร์ เดือน ๗ แรม ๗ คำ่ “ในปฐมยามแผ่นดิน
สะท้านดังสนนั่ ครั่นครนื ขึ้นครั้งหน่ึง ครนั้ ลว่ งเขา้ มชั ฌิมยามก็ดงั สนัน่ ล่นั เลือ่ นอีกครั้งหนงึ่ พอล่วงเข้าปัจฉิมยาม
ก็ดังกึกก้องเป็นคำรบสาม เมืองโยนกนครก็ทรุดล่มจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ พระเจ้าแผ่นดินและขัติยะ
วงษาเสนาอำมาตย์ราษฎรบรรดาที่อยู่ในนครนั้น ก็ถึงกาลกิริยาไปตามยถากรรม” (พงศาวดารโยกนก ,
๒๕๕๗, หนา้ ๑๕๗)

การล่มสลายของเมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัตินี้ ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาได้พบการทรุดตัวของ
เปลือกโลก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของแนวรอบเลื่อนของเปลือกโลกในพื้นที่เชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ของเมือง
โยนกนาคพันธ์สิงหนวตั เิ ดมิ คอื เขตเวยี งหนองหล่มปัจจบุ นั

จากนั้นได้สร้างเวียงปรึกษาข้ึนตามพงศาวดารโยนกกว่าว่าขุนพันนาและชาวบ้านไดป้ รึกษากันแต่งต้ัง
ขุนลังเป็นผู้ปกครองเมือง โดยขุนลังได้ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงทางทิศตะวันตก เมื่อวัน
อังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีเถาะ (ปีเมิงเหม้า) มหาศักราช ๔๗๖ (พ.ศ.๑๐๙๘) (พงศาวดารโยนก, ๒๕๕๗,
หน้า ๒๙๘) และมีหลักฐานตามเอกสารโบราณระบุว่า มีพระธาตดุ อยชนั (ดอยจัน) เป็นพระธาตสุ ำคญั ของเวียง
ปรึกษา ซึ่งได้ก่อสร้างมหาเจดีย์ครอบที่ประพุทธเจ้ามาประทับนอน ได้มอบพระเกศาตุบรรจุไว้ที่นั้นด้วย
พระองคท์ ำนายวา่ สถานท่นี จ้ี ัดไดช้ อ่ื ว่าธาตเุ จ้าดอยชัน (จนั ) นั้นแล...

นอกจากประวตั พิ ระธาตดุ อยชนั แลว้ ประวัตเิ จดยี อ์ งค์อน่ื ในเวยี งปรึกษา กไ็ มป่ รากฏในเอกสารโบราณ
ล้านนาอีก ด้วยเหตุน้ี อายสุ มัยการสร้างเมืองเชียงแสนน้อย หรอื เวยี งปรกึ ษา ในเอกสารโบราณล้านนามีความ
แตกต่างกันไป ที่เกา่ ทส่ี ุด คือ ในพงศาวดารโยนกวา่ สร้างใน พ.ศ.๑๐๙๘ ประชมุ พงศาวดารภาคที่ ๖๑ ว่าสร้าง
ใน พ.ศ.๑๕๕๗ และตำนานเมอื งเชียงแสนวา่ สรา้ งใน พ.ศ.๑๖๕๗

วัดพระธาตุผาเงา ที่ตั้งเลขที่ ๓๙๑ หมู่ที่ ๕ บ้านสบคำ ถนนเชียงแสน–เชียงของ ตำบลเวียง อำเภอ
เชียงแสน จังหวดั เชียงราย ประวัตชิ ่ือของวดั นี้มาจากชื่อของพระธาตผุ าเงา ที่ตัง้ อยบู่ นยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า
“ผาเงา” ก็คือ เงาของก้อนผ้า (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก
ชาวบ้านจงึ ต้ังชื่อวา่ “พระธาตุผาเงา” ความจรงิ ก่อนท่ีย้ายวดั มาทน่ี ี่ วดั เดิมมีช่ือวา่ “วดั สบคำ” ซึ่งต้ังอยู่บนฝ่ัง
แม่น้ำโขง เมื่อฝั่งแม่นำ้ ได้พังทลายลงดว้ ยแรงกระแสน้ำ ทำให้บริเวณของวัดเดมิ ถูกพัดพงั ลงใต้แมน่ ้ำโขงเกือบ
หมดวดั คณะศรทั ธาจึงได้ย้ายวัดไปอยูท่ ่ใี หมซ่ งึ่ ไม่ไกลจากท่ีเดมิ อยู่เยอื้ งกันคนละฟากถนน

วดั พระธาตผุ าเงาตัง้ อยบู่ นฝง่ั แมน่ ำ้ โขงทางทศิ ตะวันตก ตรงกนั ขา้ มกบั ประเทศลาวในบริเวณ บ้าน
สบคำ ตำบลเวยี ง อำเภอเชียงแสน จงั หวัดเชียงราย

ประวัตคิ วามเปน็ มาบ้านสบคำ
บ้านสบคำ หมู่ ๕ ตำบลเวียง อำเภอเชยี งแสน จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านหน่ึงที่อยู่ติดกบั แม่น้ำโขง
เหตุที่ชื่อ “บ้านสบคำ” เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้มีแม่น้ำคำไหลผ่านไปบรรจบกับแม่น้ำโขง ซึ่งคำว่า“สบ” ใน
ภาษาท้องถิ่นแปลว่า “พบ”หรือ “เจอ” นั่นคือ เป็นจุดที่แม่น้ำคำและแม่น้ำโขงมาเจอหรือมาบรรจบกันแต่ใน
อดีตคนไทลาวจะเรียกว่า “บา้ นปากแมน่ ำ้ คำ” เพราะเปน็ ชว่ งทแี่ มน่ ำ้ คำมาเจอกันแม่น้ำโขงเรียกว่า “ปากน้ำ”
แต่อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “บ้านสบคำ” มากกว่าที่จะเรียก “บ้านปากแม่น้ำคำ” ซ่ึง

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 3

สนั นษิ ฐานว่าเปน็ การเรียกตามภาษาท้องถิน่ ที่ในอดตี พืน้ ท่ีแห้งน้ีประชาชนที่เป็นกลุ่มคนไทเมืองมากกว่ากลุ่ม
คนไทลาวไม่เหมอื นในปจั จุบนั ทป่ี ระชาชนสว่ นใหญม่ บี รรพบุรษุ จากประเทศลาว

จากการศกึ ษาถึงตำนานเมืองเชียงแสน ทำใหส้ ามารถสันนิษฐานได้ว่าบ้านสบคำแห่งน้ีในอดีตเคยเป็น
หม่บู ้านทมี่ ีความสำคญั ในฐานะที่เป็นส่วนหนง่ึ ของพ้ืนท่ี “เวยี งปฤกษา” และยงั เปน็ ศนู ยก์ ลางการปกครอง ดัง
ความตอนหนึ่งที่บดินทร์ กนิ าวงศ์ และคณะที่ได้ทำการศึกษาถึงประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย-เชยี งแสน โดยได้
กล่าวถึงศูนย์กลางการปกครองของเวียงปฤกษาว่า “อยู่บริเวณบ้านสบคำอำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน” เหตุที่
บ้านสบคำ เป็นศูนย์กลางการปกครองเนื่องจากส่วนหนึ่งอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มเจ้านายเชื้อพระวงศ์
ทั้งหลายที่ไม่มีตำแหน่งสำคัญมากนัก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำสาขาหลายสาย อาทิ แม่น้ำคำ
แม่น้ำกก ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดของการคมนาคมในยุคนั้น ส่วนกรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเวียงปฤกษา ตั้งอยู่
บริเวณ “สบกก” ซึ่งเป็นศูนย์กลางท่าเรือและการติดต่อ ปัจจุบัน คือ เชียงแสนน้อย แต่อย่างไรก็ตามอาจจะ
สันนิษฐานต่อได้ว่า “บริเวณบ้านสบคำเป็นอาราบริเวณหนึ่งของเวียงปฤกษา” ต่อมาเมื่อพญาลาวจักรราชได้
ก้าวขน้ึ มาสร้างและครองเมอื งหิรญั นครเงินยาง พน้ื ทีแ่ หง่ นจ้ี งึ ถูกลดบทบาทลงไป

ถึงแม่ว่าพื้นที่แหง่ นีจ้ ะถูกลดบทบาทลง นับตั้งแต่ในยคุ สมัยของพญาลวะจังกราชเป็นตน้ มา แต่ก็ยังมี
ประชาชนอาศัยอยู่จนกระทั่งเจ้าพระยากาวลิ ะนำทัพจาเชยี งใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน เข้ามาตีเมืองเชียง
แสนและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเชียงแสนไปอยู่ในพ้ืนท่ีต่าง ๆ ดังกลา่ วข้างตน้ หลักจากน้ันพื้นที่แห่งน้ีจึงเป็น
ที่รกร้างมาโดยตลอด และผู้คนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยอีกครั้งหนึ่งหลักจาก พ.ศ.๒๔๑๗ ซึ่งได้มีการอพยพราษฎร
จากเมอื งลำปาง เชยี งใหม่ พะเยา แพร่ นา่ น จำนวน ๑,๕๐๐ ครวั เรือ เขา้ มาต้ังบ้านเรือน และใน พ.ศ.๒๔๒๐
พระเจ้าอินทวิชายานนท์ทรงโปรดให้เจ้าแก้ว นวรัฐ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ คุมไพร่พลไปตั้ง
ภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองเชียงแสนอีก ๓๐๐ ครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เข้ามาอยู่อาศัย
พน้ื ท่ีแห่งนี้กลมุ่ แรกๆ ไดแ้ ก่ พ่ออยุ๊ แดง อินทจ์ ักร กล่าวว่า “บรรพบุรษุ ของพวกตนอพยพมาจากจังหวัดน่าน”
ส่วนพ่ออุ๊ยขาว มหาเทพ กล่าวว่า “บรรพบุรุษของตนอพยพมาจากบ้านท่านุ่นบริเวณแขวงหลวงพระบางข้าม
มาอาศัยที่จังหวัดพะเยา ได้ระยะหนึ่งภายหลังจึงได้อพยพมาอยู่ที่เมืองเชียงแสน แต่ต่อมาได้เกิดสงครามโลก
(ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๕–๒๔๘๖) บิดา-มารดา จึงได้หนีภยั สงคราและพาพวกตนมาหลบอยูพ่ ืน้ ที่แห่งนี้ แต่ก่อน
หน้านั้นมกี ลมุ่ คนไทเมืองประมาณ ๗–๘ ครอบครัวอยู่กันก่อน กอ่ นทพี่ วกตนจะอพยพเข้ามา สภาพพ้ืนที่แห่ง
นี้ในอดีตเป็นป่ารก มีสัตว์ป่านานาชนิดอยู่อาศัย สำหรับกลุ่มคนที่อพยพจากเมืองเชียงแสนในครั้งนั้นมี
ประมาณ ๘ ครอบครัว กลุ่มคนไทลาวที่มาอยู่อาศัยในหมู่บ้านแห่งนี้ มี ๒ กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มคนลาวที่มีถ่ิน
ฐานมาจากบ้านท่านนุ่ แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และกลมุ่ คนไทลาวท่ีอพยพมาจากบริเวณแขวงหลวงพระบาง
ซง่ึ กล่มุ คงไทลาวทง้ั สองกลุ่มน้ี ในระยะแรกไดเ้ ข้ามาทำการค้าขายกบั ผู้คนในเมืองเชียงแสน ด้วยการถ่อเรือมา
รับสินค้า อาทิเช่น พริก เกลือ น้ำต้น (คนโฑ) ไปขายยังฝั่งประเทศลาว ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครอง
ประเทศลาว ประชาชนกลุ่มดังกล่าวจึงได้อพยพมาต้ังบ้านเรือนอยู่แถบเวยี งเก่า (ตัวเมอื งเชียงแสนในปัจจุบัน)
แต่ก็ยังประกอบอาชีพค้าขายเหมือนเดิน แต่เนื่องจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังกล่าว จึงทำให้ผู้อยู่
อาศัยในเมืองต้องอพยพหลบหนภี ยั สงครามเข้ามาอยู่อาศยั ในพื้นท่ีแหง่ น้เี พ่มิ ขนึ้ ”

ภายหลังจึงมีญาติพี่น้องและคนรู้จักตามสายเครือญาติเข้ามาอยู่อาศัยจนกระทั่งปั จจุบันด้วยเหตุ
ดังกล่าว บ้านสบคำจึงประกอบไปด้วยผู้อยู่อาศัยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้ ไทลาว ไทเมือง ไทลื้อ ขมุ ภายหลัง
ประชาชนของบ้านสบคำได้ไปประกอบอาชีพนอกท้องถ่นิ เช่น กรุงเทพฯ หรอื จงั หวัดอ่ืน ๆ จึงไดม้ กี ารแต่งงาน
ข้ามวัฒนธรรม บางคนได้แต่งงานกับคนภาคอีสานต่อมาจึงชักชวนกันมาอยู่ ดังนั้น ในปัจจุบันบ้านสบคำ
นอกจากจะมีกลุ่มคนไทเมือง ไทลาว ไทลื้อ ขมุแล้วยังเพิ่มไทอีสานมาอีกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น ในด้านความสัมพันธ์

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 4

ของผูค้ นท่อี าศัยอยู่ในบ้านสบคำสว่ นใหญ่จึงมีความสัมพันธก์ ันในระดับเครือญาติเพราะมีความสัมพันธ์กันด้วย
สายตระกลู

ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ หมู่บา้ นสบคำ เกดิ เหตุไฟไหม้ ชาวบา้ นเช่อื วา่ เป็นเพราะในวันเกิดเหตุ ชาวบา้ นกลุ่ม
หน่งึ ไปลา่ สัตว์ในปา่ ฝ่ังประเทศลาว ยิงได้กวางตวั ใหญ่ตวั หน่ึงแลว้ นำกวางน้นั มาแบ่งกันกนิ เมือ่ ชาวบา้ นกินเน้ือ
กวางตวั น้นั แล้วเกิดไฟไหม้บ้านทุกบา้ นทกี่ นิ เนอ้ื กวาง อีกทั้งในขณะท่เี กิดไฟไหม้นน้ั ชาวบา้ นบางคน ได้เห็นนก
ตัวหนึ่งอาบเลือดแล้วบินไปเกาะหลังคาบ้านหลังไหน บ้านหลังนั้นก็จะเกิดไฟลุกไหม้ทันทีด้วยเหตุดังกล่าว
ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเหตุการณ์ไฟไหม้หมู่บ้านเกิดจากอาถรรพ์ของกวางตัวนั้น และเหตุการณ์ไฟไหม้ในครั้งน้ัน
คงเหลือแต่วัดและโรงเรยี นทไี่ ม่ถูกไฟไหม้

ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ เกิดนำ้ ทว่ มใหญ่ทำใหช้ าวบา้ นตอ้ งอพยพหนนี ้ำข้นึ ไปอยทู่ ่ีเชิงดอยคำ (วัดพระธาตผุ า
เงาในปจั จุบัน) ด้วยเหตดุ ังกล่าว ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ เมอ่ื รัฐบาลไทยได้มีการตัดถนนสายหลกั เชยี งแสน–เชียงของ
ผา่ นหม่บู ้าน จึงทำใหช้ าวบ้านทส่ี ่วนใหญ่ทบ่ี ้านตดิ รมิ นำ้ โขง ไดม้ ีการอพยพผู้คนและย้ายมาปลกู สรา้ งบ้านใหม่ท่ี
ติดถนน ดงั เช่นปัจจุบัน สำหรบั น้ำท่วมในปีนัน้ พบว่า เมื่อวันท่ี ๓ กันยายน ๒๕๐๙ ระดับน้ำสูงสุด ๑๓.๘๑ เมตร
ระดับนำ้ ทะเลปานกลางที่ ๓๗๑.๑๑๑ เมตร

ปัจจุบันบ้านสบคำมีประชาชนมีตระกูลใหญ่ๆประมาณ ๗ ตระกูล สำหรับกลุ่มคนไทเมืองพบว่า
บางส่วนมีบรรพบุรุษจากจังหวัดพะเยา น่าน เชียงใหม่ นอกจากนั้นมีกลุ่มไทลื้อ และขมุอีกบางส่วน สำหรับ
การปลูกสร้างบ้านเรอื นของประชาชนในบ้านสบคำ พบว่า ในอดีตนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ทั้งหลังเพราะหาได้
ง่ายในพื้นที่ เช่น พื้นเป็นไม้ไผ่สับ ส่วนฝาบ้านเป็นไม้ไผ่สานเป็นแผ่น (ฝาขัดแตะ) หลักคามุงจาก จึงทำให้ง่าย
ตอ่ การเผาไหม้ ภายหลงั เม่อื มถี นนตัดผา่ น และความเจรญิ เริ่มข้ามาจึงทำให้สภาพบ้านเรือนของประชาชนส่วน
ใหญ่เกิดการพฒั นาและปรบั ปรุงพฒั นาเป็นบ้านไม้ยกพื้นสงู หลังคามุงกระเบอื้ ง

เดิมบ้านสบคำ อยู่ในเขตปกครองของหมู่ที่ ๓ ตำบลเวียง มี นายเปง็ พลสวสั ดิ์ เป็นผูช้ ว่ ยผใู้ หญบ่ า้ น
ต่อมาไดแ้ ยกหม่บู า้ นจากหมทู่ ี่ ๓ มาเป็น หมทู่ ี่ ๕ บ้านสบคำ เม่ือ พ.ศ.๒๔๙๐

ในด้านการประกอบอาชีพพบว่า ในระยะแรกของการเข้ามาอยู่อาศัย ประชาชนบางส่วนยังมที ี่ทำกนิ
ในฝั่งประเทศลาว เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำสวน (ปลูกยาสูบ) ก็จะข้ามฝั่งไปยังประเทศลาวและกลับมานอนที่ฝั่ง
ประเทศไทย แต่เมื่อลาวต้องตกอยู่ภายใต้ระบอบสังคมนิยม ทำให้ที่ดินถูกทหารยึดคืนทั้งหมด จึงต้องย้าย
กลับมาจับจองที่ดินในฝั่งไทยจนกระทั่งปัจจุบัน (มีทั้งปลูกยาสูบ ปลูกพืชไร่อื่น ๆ และปลูกข้าว) ปัจจุบันส่วน
ใหญ่ประกอบอาชพี ทางการเกษตร รับจ้างมีความเชีย่ วชาญพิเศษในด้านการจบั ปลา เพราะหมู่บ้านจะมีแมน่ ้ำ
ไหลผ่านท้งั แม่น้ำคำ แมน่ ้ำกก และแม่น้ำโขง ส่วนอปุ กรณท์ ่ใี ชใ้ นการจบั ปลา ส่วนใหญเ่ ป็นวสั ดุทท่ี ำมาจาก
ไมไ้ ผ่ เชน่ ไซ เบ็ด

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 5

ดา้ นวัฒนธรรม
ด้านการแต่งกาย พบว่า ในอดีตแต่ละกลุ่มชนจะมีเอกลักษณ์ในการแต่งกายเป็นของตนเอง แต่ใน
ปัจจบุ นั ส่วนใหญ่มกี ารแตง่ กายท่ีเป็นไปตามสมัยนิยม คอื การใสเ่ สอ้ื ผ้าทม่ี ีขายตามท้องตลาดทว่ั ไป แต่อย่างไร
กต็ ามเมื่อมกี จิ กรรมหรือเทศกาลทสี่ ำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปใี หม่ วันทำบญุ เทศกาลตา่ ง ๆ แต่ละชาติพันธ์ กจ็ ะ
แต่งกายประจำชาติพันธุ์ของตนเอง นอกจากนั้นในด้านการสืบทอดวัฒนธรรมของการแต่งกาย ได้มีการจัดต้ัง
กลุ่มแมบ่ า้ น ในนาม “กล่มุ ทอผ้าล้านนานเชียงแสน” เพอื่ ทจ่ี ะทอผา้ ลายเชยี งแสนและลายไทลอื้ ขึ้นในวดั
พระธาตุผาเงา อีกทั้งจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนานเชียงแสน” เพื่อนำเสนอวิถีชีวิตของแต่ละชาติพันธ์ ใน
เชยี งแสน อกี ด้วย
ด้านประเพณแี ละวฒั นธรรม พบว่า ในหมบู่ า้ นแหง่ นมี้ ปี ระเพณีและวฒั นธรรมท่ีสำคัญ ดงั นี้
๑. ทำบญุ วันขึน้ ปใี หม่
๒. ประเพณีสงกรานตห์ รือรดน้ำดำหัว สรงน้ำพระพุทธ และสรงน้ำพระสงฆ์ (ไทเมืองจะจัดในวันพญา
วนั ส่วนไทลาวจะสรงนำ้ พระในวันสงั ขารลอ่ ง) การแหไ่ ม้คำ (เฉพาะไทเมอื ง)
๓. วัดเข้าพรรษา การเวยี นเทียน ทำบุญทกุ วนั พระตักบาตรนอนวดั
๔. ประเพณีตาดตอ้ ด (ผ้าป่าหลอน) เปน็ ประเพณีของคนเมืองหรอื ไทเมอื ง
๕. ตานก๋วยสลากภัต
๖. ประเพณไี หลเรือไฟ ทำบุญวันออกพรรษา
๗. ตานข้าวจ่ี (คนลาว) ตานข้าวใหม่ (คนเมือง)
๘. ลอยกระทง หรือประเพณีย่ีเปง็ (คนเมืองจะปลอ่ ยโคมลอย ฟังเทศน์ มหาชาติ จดุ ถางประทปี แต่
คนลาวทำบุญอย่างเดียว)
๙. ประเพณกี ารเลยี้ งศาลเจา้ พ่อ (คนเมืองเล้ยี ง ๑ ครงั้ คนลาวเล้ยี ง ๒ ครง้ั ตอ่ ปี)
๑๐. จุลกฐิน

ส่วนด้านความเชื่อ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในบ้านสบคำนับถือศาสนาพุทธร่วมกับการนับถือผี จะ
เห็นได้จากประเพณีที่ประชาชนได้ปฏิบัติสืบทอด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวัดมากกว่าสถานที่อื่น ๆ จากการ
ศกึ ษาพบว่า บ้านสบคำมีวดั ท่ีประชาชนนยิ มไปทำบุญ คือ วดั สบคำ และวดั พระธาตุผาเงา

สำหรับความเชอ่ื ในเรอื่ งผี เช่น ผีปู่ย่าลดนอ้ ยลงไป ประชาชนสว่ นใหญ่จะไมม่ ีผีปผู่ ยี า่ เนื่องจาก
บรรพบุรุษมีการอพยพย้ายถิ่นอยู่ตลอดเวลา จะมีเพียงแต่ศาลเจ้าพ่อสบคำทีเ่ ปน็ ส่ิงยึดเหน่ียวให้กับประชาชน
ในพ้นื ท่ศี าลเจ้าพ่อสบคำ จะเปน็ อกี สถานท่หี นึง่ ทีป่ ระชาชนในหมบู่ ้านให้ความเคารพนับถือ ประชาชนที่อาศัย
อยู่ในหมู่บ้านเชื่อว่า เจ้าพ่อบ้านสบคำ จะเป็นผู้ที่คอยปกปักรักษาผู้คนในหมู่บ้านในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข
หรือกรณที ่บี ้านใดมีผูเ้ จ็บไข้ไดป้ ว่ ยก็จะจัดอาหารคาวหวานมาบนศาลเจ้าพ่อใหผ้ ทู้ ่เี จบ็ ไขไ้ ดป้ ่วยหายวันหายคืน
หรือแมแ้ ต่การบนเพ่ือให้ของหายกลับคืน หรอื แมแ้ ต่การบนเพื่อการประสบความสำเร็จในดา้ นการสอบเข้ารับ
ราชการสมคั รงาน หรือการเกณฑ์ทหารฯ

สำหรับพธิ เี ลีย้ งเจ้าพอ่ สบคำใน ๑ ปี จะมีการเลย้ี ง ๒ ครงั้ (สำหรบั ไทลาว ส่วนไทเมืองจะเล้ยี งครั้งเดียว
แตส่ ่วนใหญ่กม็ กั จะร่วมกันเล้ยี ง เช่น ถ้าไทลาวจดั ไทเมือง ไทลอื้ รว่ มกันเล้ยี ง เชน่ ถา้ ไทลาวจดั ไทเมอื ง ไทลื้อ
กจ็ ะไปร่วม หรอื ถา้ ไทเมอื ง ไทล้ือจดั คนไทลาวก็จะมารว่ ม)

การเลี้ยงผีเจ้าบ้าน ในอดีตจะมีการเรี่ยไรเงินเพื่อนำไปซื้ออาหารคาวหวาน ที่นำมาเลี้ยงเจ้าพ่อ คนละ
๕๐ สตางค์ แตป่ จั จุบนั กรรมการหม่บู า้ นจะเป็นผจู้ ัดการ ชาวบ้านกจ็ ะร่วมทำบญุ ตามศรทั ธา ไม่กำหนดจำนวน
เงนิ โดยในการเล้ียงจะมีอาหารคาวหวาน เชน่ ไกต่ ้ม ผลไม้ เหล้า มีกวา๋ นจ้ำเป็นผู้ทำพิธถี วายอาหาร

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 6

(สำหรับผู้ที่เป็นกว๋านจ้ำ หรือผู้ประกอบพิธีกรรม คือ ผู้ที่สามารถสื่อสารระหว่างมนุษย์กับผีได้ จะต้องเป็น
ผู้ชายที่ไม่เคยผ่านการบวชเรียน หรือชาวบ้านเรียกวา่ ต้องเป็นคนดิบ เพราะถ้าเคยบวช ผีจะไม่รับของที่นำมา
ถวาย)

แผนท่ีของหมู่บ้าน

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 7

ภมู ิประเทศ สภาพพืน้ ทโี่ ดยทั่วไป ลักษณะภมู ิประเทศเปน็ พนื้ ราบระหวา่ งภูเขาและที่ราบ ตดิ กบั
แม่น้ำโขง แมน่ ้ำคำ แมน่ ้ำกก มพี ื้นท่ีทัง้ หมด 323 ไร่ การคมนาคมสะดวกอยหู่ ่างจากทีว่ ่าการอำเภอเชียงแสน
ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

ทศิ เหนอื ตดิ กบั แม่น้ำโขง เมืองตน้ ผึง้ แขวงบ่อแกว้ สปป.ลาว
ทิศใต้ ติดกบั บา้ นสันธาตุ หมู่ 4 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จงั หวัดเชียงราย

จำนวนประชากร ทั้งสนิ้ ๑,๓๙๖ คน ประกอบด้วย

ประชากรชาย จำนวน ๖๗๒ คน ประชากรหญิง จำนวน ๗๒๔ คน

จำนวนประชากรผสู้ ูงอายุ ๑๙๘ คน (อายุ ๖๐ ปีขน้ึ ไป)

ประกอบดว้ ย

ประชากรผสู้ ูงอายชุ าย จำนวน ๑๐๐ คน

ประชากรผู้สูงอายุหญิง จำนวน ๙๘ คน

จำนวนครวั เรอื น จำนวน ๓๔๖ ครัวเรอื น

รายไดเ้ ฉลี่ย/ครัวเรอื น/ปี ๔๙,๐๐๐ บาท

หนี้สนิ เฉล่ียของครวั เรือน/ปี ๘,๐๐๐ บาท

การประกอบอาชีพ

๑. ทำไร่ จำนวน ๒๕๐ ครัวเรอื น

๒. ทำนา จำนวน ๑๓๐ ครวั เรอื น

๓. ทำสวน จำนวน ๒๕๐ ครวั เรือน

๔. เลี้ยงสัตว์ จำนวน ๑๓ ครวั เรือน

๕. ประมง จำนวน ๑๘ ครัวเรือน

๖. คา้ ขาย จำนวน ๕๑ ครวั เรือน

๗. รบั จา้ ง จำนวน ๑๕๐ ครัวเรือน

๘. รับราชการ จำนวน ๑๕ ครัวเรือน

๙. ทำงานประจำเอกชน/โรงงาน จำนวน ๑๒๐ ครัวเรือน

หลักการบริหารหมบู่ ้านสบคำสู่ความสำเรจ็ คณะกรรมการหมบู่ า้ นและกลุม่ อาชพี ตา่ ง ๆ บรหิ ารงาน
โดยใชห้ ลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งของรัชกาลที่ ๙ มาปรับใชใ้ นชีวติ ประจำวันโดยใชห้ ลกั เอ้ือเฟ้ือเก้ือกลู กนั
และดำรงชวี ติ ด้วยพชื ผกั สวนครัว

๑. หลักความพอเพียงคือพอประมาณมีเหตุผลมีความรอบคอบการดำเนินชีวติ ด้วยความพอเพียงไม่มี
ความประมาทในชวี ิต

๒. การมสี ว่ นร่วมในชุมชนคอื การพัฒนาบริหารงานต่าง ๆ ภายในหมบู่ ้านต้องขอความเห็นชอบมตทิ ่ี
ประชมุ และการทำประชาคมหม่บู ้านเพื่อใหไ้ ดม้ าซ่ึงความสามคั คี

๓. ความโปรง่ ใสของชมุ ชนคือข้อมูลตา่ ง ๆ งบประมาณของหม่บู ้านสามารถตรวจสอบได้ช้แี จงอธิบาย
ให้ชาวบ้านไดร้ บั รทู้ ุก ๆ เดือนทม่ี ีการประชุมหม่บู ้าน

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 8

๔. การบริการคือทางคณะกรรมการหมู่บ้านและผูม้ สี ่วนรว่ มต่าง ๆ ใหก้ ารบริการชาวบา้ นดา้ นการ
ดูแลสขุ ภาพส่ิงแวดลอ้ มท่ีอยอู่ าศัยของผ้ดู อ้ ยโอกาสในหมู่บา้ น

๕. หลกั ความเท่าเทยี มกนั คือการต้ังกฎระเบียบให้ทุกคนเคารพกฎของหมู่บา้ นใครที่ทำผิดกฎจะต้อง
ถกู ลงโทษตามกฎอยา่ งเท่าเทียมกันไม่ว่ารวยหรือจน

๖. การดูแลสขุ ภาพคือ รณรงคก์ ารปลูกพชื ผักสวนครวั ไวท้ านเอง ในครัวเรือนอยา่ งสม่ำเสมอ แจก
เมลด็ ผกั แต่ละครวั เรอื น เพอ่ื สุขภาพทปี่ ลอดภัย

แผนผังคณะกรรมการหมู่บา้ น
ชมุ ชนคณุ ธรรมวดั พระธาตผุ าเงา (บ้านสบคำ)
หมู่ ๕ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวดั เชียงราย

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 9

1. นายอานนท์ สมพนั ธ์ ผใู้ หญ่บ้านประธาน
2. นายสมศักดิ์ รงุ่ อำไพ รองประธาน
3. นายอำนาจ กาไชยวงศ์ ผ้ชู ่วยผู้ใหญ่บ้าน
4. นางดวงเพ็ญ สวุ รรณดี ผู้ชว่ ยผูใ้ หญ่บา้ น
5. นายสนธยา มหาเทพ ผู้ชว่ ยรกั ษาความสงบ (ผรส.)
6. นายณรงค์ เช้อื เจด็ ตน แพทย์ประจำตำบล
7. นายผาย สมพนั ธ์ สมาชิกเทศบาล
8. นายอรุณ ขนุ วัน สมาชกิ เทศบาล
9. ร้อยตรีสมคิด เข่อื นแก้ว ศกึ ษาและวฒั นธรรม
10. นายดำรง สายเครือ่ ง การคลัง
11. นายเดยี ว ธรรมวงค์ สวัสดิการและสังคม
12. นายพิเชษฐ์ กัลยา สาธารณสขุ
13. นางนชิ านยั น์ ทองผาง ประธานแม่บ้าน
14. นายกำแพง จนั ทกุล ทปี่ รึกษา
15. นายประดษิ ฐ์ พงศ์สวสั ด์ิ ที่ปรกึ ษา
16. นายคำพันธ์ ทองผาง ท่ีปรึกษา
17. นายทองสุข จติ บญุ ตรง ทปี่ รึกษา

กฏชุมชนเข้มแข็ง :กฎอันเป็นทตี่ ั้งแหง่ ความไมเ่ ส่อื ม เป็นประโยชนต์ อ่ ชุมชนแต่เพียงฝา่ ยเดยี ว
ขอ้ ๑ สมาชิกร่วมประชุมกันเปน็ นิตย์
ขอ้ ๒ สมาชิกเริ่มประชุมและเลกิ ประชมพร้อมกันทำกิจท่ีพึงกระทำโดยพร้อมเพรียงกนั
ข้อ ๓ สมาชิกยอมรับมติส่วนใหญ่ของท่ีประชุมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
ข้อ ๔ สมาชิกใหก้ ารยอมรับและเคารพผ้อู าวุโส
ขอ้ ๕ สมาชิกให้การสงเคราะหแ์ ละชว่ ยเหลอื ผดู้ อ้ ยโอกาสในสังคม (เช่น เดก็ สตรี คนชรา
คนพิการ และคนที่ยากจนกวา่ )
ขอ้ ๖ สมาชิกส่งเสริมและรักษาวฒั นธรรมประเพณที ด่ี ีงาม
ขอ้ ๗ สมาชกิ ชว่ ยกันทำนบุ ำรุงชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ ์
"รว่ มแรงทุกคน ชุมชนเข้มแขง็ "

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 10

กฎระเบียบหมู่บา้ นทองทุนแม่ของแผ่นดินบา้ นสบคำ
ตำบลเวียง อำเภอเชยี งแสน จงั หวัดเชียงราย

๑. หากผู้ใดเกีย่ วข้องกบั ยาเสพติด ไม่ว่าจะเสพหรือค้าต้องไดร้ ับโทษดังน้ี
๑.๑ เตอื น
1.2 ถูกตำรวจจบั และถกู ศาลตัดสินจะตอ้ งถูกตัดออกจากสมาชิกฌาปนกิจ
หมบู่ ้าน 5 ปี
๑.3 หากเสยี ชีวติ พระสงฆไ์ ม่รบั นิมนต์ไปสวดงานศพ

2. หากคนใดยิงปนื ในหมู่บ้าน และที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอนั ควรจะต้องถูกปรับนดั ละ
1,000 บาท
3. หากมีการชกตอยกันภายในงานต่าง ๆ ในเขตหมบู่ ้าน ผู้กอ่ เหตุจะต้องถูกปรับ 2,000
บาท คู่กรณีปรับ 1,000 บาท (พิจารณาคกู่ รณีก่อนว่าผิดจรงิ หรือไม่)
4. หากมีการลักขโมยของในหมบู่ า้ น ไม่วา่ สิง่ ของอะไรถูกปรบั ตามราคาทข่ี โมย 2 เท่า
ขั้นตำ่ 500 บาท
5.หากมกี ารลักลอบช็อตปลา ในบ่อสาธารณะ หนองของหมบู่ า้ น ถา้ จบั ไดจ้ ะมีโทษทัง้ จำ
ทัง้ ปรับ
6. หากคนใดสร้างความเดือดรอ้ นภายในหมู่บ้าน หากเกนิ เที่ยงคืนจะถูกลงโทษตาม
กฎระเบยี บของหมูบ่ ้าน แล้วแต่คณะกรรมการจะพิจารณาตามเหตกุ ารณ์

หลวงพ่อผาเงาลือเล่ือง ฟูเฟ่ืองเร่อื งสมุนไพร
ภาคภมู ใิ จผา้ ทอลายเชียงแสน ร่วมหวงแหนภาษาถ่ินอันลำ้ ค่า สูภ่ ูมิปญั ญาของชมุ ชน

ช่ือของวัดมาจากชื่อของพระธาตผุ าเงา ทต่ี ง้ั อย่บู นหนิ ก้อนใหญ่ สว่ นคำวา่ ผาเงาหมายถงึ เงาของ
กอ้ นผา ก้อนหินก้อนนี้มีขนาดใหญ่ทรงคลา้ ยเจดีย์ เวลาพระอาทิตย์ส่องผ่านก้อนหนิ ทำให้เกิดเงาขนาดใหญ่
ชาวบ้านจึงเรียกวา่ พระธาตผุ าเงา แต่ในสมัยกอ่ นน้ันวดั มีชื่อเดิมว่า วดั สบคำ ซ่ึงต้ังอยู่ริมฝ่งั แมน่ ำ้ โขงได้
พงั ทลายจากแรงกระแสน้ำ ทำให้วดั ถกู พดั พังทลายลงเกือบหมดวัด คณะศรทั ธาจงึ ไดส้ ร้างวัดขน้ึ มาใหม่ซึง่ ไกล
จากทีเ่ ดมิ ภายในวัดมีพระธาตอุ ยู่ ๓ องค์คือ พระธาตผุ าเงาตงั้ อยบู่ นยอดหนิ ผา พระธาตจุ อมจัน เหลือแต่ซาก
องค์พระเจดีย์สูงประมาณ ๕ เมตร ในบริเวณพ้ืนท่นี ั้นทางวัดไดส้ รา้ งโบสถข์ ้นึ มาหลงั หน่ึง ถัดจากพระธาตุจอม
จนั ข้ึนไปบนยอดเขา เปน็ ทต่ี งั้ ของพระธาตุเจ็ดยอด ซึ่งเหลือแตซ่ ากฐานสูง ๕ เมตร ทางวัดไดส้ ร้างพระบรม
ธาตุพทุ ธนิมติ เจดยี ์ขนาดใหญ่ครอบองค์พระธาตุไว้ แต่ยงั คงมองเหน็ ซากพระธาตุเจด็ ยอดได้ ณ ภายในองค์
เจดยี ์

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 11

วัดพระธาตุผาเงา วหิ ารหลวงพ่อผาเงา พระธาตุเจ็ดยอด

หอพระไตรปฎิ กเฉลิมพระเกียรติ วัดพระธาตุจอมจนั อุโบสถวหิ ารคตไม้สกั ทอง


จดุ ชมววิ สามฝง่ั โขง บนยอดดอยวดั พระธาตผุ าเงา ลานกิจกรรม ชมววิ สองฝงั่ โขง บา้ นสบคำ

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 12

ชืน่ ชมวิถีวัฒนธรรมบา้ นสบคำ
ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) เป็นคนไทเมือง (ไท-ยวน) โดยมีบรรพบุรุษจากจังหวัด
พะเยา น่าน เชียงใหม่ และมีกลุ่มไทลื้อ และขมุอีกบางส่วน จึงทำให้มีการสืบทอดวัฒนธรรมของการแต่งกาย
โดยมีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน ในนาม “กลุ่มทอผ้าล้านนานเชียงแสน” เพื่อที่จะทอผ้าลายเชียงแสนและลายไท
ลอ้ื ขนึ้ ในวดั พระธาตุผาเงา อกี ทง้ั จัดตั้ง “พิพธิ ภัณฑผ์ ้าทอลา้ นนานเชียงแสน”
เพื่อนำเสนอวิถีชีวิตของแต่ละชาติพันธ์ในเชียงแสน และมีการสร้าง “หอวัฒนธรรมนิทัศน์” เพื่อจัด
แสดงโบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ชั้นที่ ๑ จัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิต
และภูมิปัญญาของชุมชน ในท้องถิ่น เช่น มูยา การทำงาน การประมง การทำไร่ยาสูบ ไร่ข้าวโพด เป็นต้น ช้นั
๒ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ประวัติความเป็นมาเชียงแสน ภาพประวัติศาสตร์ของชุมชนใน
ท้องถน่ิ ชัน้ ๓ จัดแสดงนิทรรศการเก่ียวกบั พทุ ธประวัติ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก พุทธศลิ ป์

ด้านประเพณีและวัฒนธรรม อันเป็นที่รู้จัก ได้แก่ งานสวดมนต์ข้ามปี งานปริวาสกรรม งานพิธี
ทำบุญครบรอบวันขุดค้นพบหลวงพ่อผาเงา งานประเพณีปี๋ใหม่เมืองวัดพระธาตุผาเงา ประเพณีตานก๋วยสลาก
(สลากภัตต์) ประเพณีไหลเรือไฟ ๑๒ ราศี ประเพณีตานขา้ วจี่ (คนลาว) ตานขา้ วใหม่ (คนเมอื ง) ประเพณียี่เป็ง
(คนเมืองจะปล่อยโคมลอย ฟังเทศน์ มหาชาติ จุดถางประทีป แต่ละคนลาวทำบุญอย่างเดียว และจุลกฐินวัด
พระธาตผุ าเงา ฯลฯ

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 13

ชุมชนคุณธรรมวดั พระธาตผุ าเงา เปน็ ศูนย์การเรียนรู้
ชมุ ชนคณุ ธรรมวัดพระธาตุผาเงา เป็นศนู ยก์ ารเรียนรปู้ รชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จงั หวดั เชียงราย

ชมุ ชนคณุ ธรรมวดั พระธาตุผาเงา (บา้ นสบคำ) มี “วดั พระธาตุผาเงา” เป็นศาสนสถานประจำชุมชน
โดยมี พระพุทธิญาณมนุ ี เจ้าอาวาสวัดพระธาตผุ าเงา รองเจ้าคณะจงั หวัดเชยี งราย และมีวัดสบคำ โดยมี พระ
อธิการสรุ ศกั ดิ์ อิสสโรเป็นเจา้ อาวาส วดั สบคำ

วัดพระธาตผุ าเงา ตง้ั อยู่เลขท่ี ๓๙๑ หมทู่ ี่ ๕ ตง้ั อยู่บนฝง่ั แมน่ ้ำโขงทางดา้ นทศิ ตะวนั ตก ตรงกันขา้ มกับ
ประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสน ประมาณ
3 กม. หรืออยู่หา่ งจากสามเหล่ียมทองคำประมาณ 15 กม. มีพ้นื ที่ทัง้ หมด 743 ไร่ พนื้ ทีส่ ่วนใหญ่เปน็ เนนิ เขา
เล็ก ๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและ มาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนเขาเรียกดอยลูกนี้ว่า
“ดอยคำ” ต่อมาภายหลงั ชาวบ้านเรียกวา่ “ดอยจนั ” ชอื่ ของวดั น้ีมาจากชื่อของพระธาตผุ าเงาที่ตั้งอยู่บนยอด
หินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาก็คือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และ
ทำให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา” ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า “วัด
สบคำ” ซง่ึ ตง้ั อยบู่ นฝัง่ แมน่ ำ้ โขง ฝัง่ นำ้ ไดพ้ งั ทลายลง ทำใหบ้ รเิ วณ ของวดั พัดพังลงใต้นำ้ โขงเกอื บหมดวัด คณะ
ศรทั ธาจึงไดย้ า้ ยวัดไปอย่ทู ใี่ หมบ่ นเนินเขา ซงึ่ ไม่ไกลจากวัดเดิม

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 14

ปัจจบุ นั วัดพระธาตุผาเงา เปน็ วัดเจา้ คณะอำเภอเชียงแสน โดยมพี ระพุทธญิ าณมุนเี ป็นเจา้ อาวาส
และรองเจ้าคณะจงั หวดั เชียงราย ในขณะเดยี วกัน วดั พระธาตุผาเงา ถือวา่ เปน็ องค์กรทางพระพทุ ธศาสนา ที่
สำคญั ท้ังในระดับชมุ ชน ระดับตำบล ระดบั อำเภอ ระดบั จังหวัด ระดบั ประเทศ และระดบั นานาชาติ วดั พระ
ธาตุผาเงาแหลง่ เรยี นรู้ดา้ นศาสนา ศลิ ปะและวัฒนธรรม

วัดพระธาตุผาเงา นอกจากเป็นศาสนสถานสำคญั ทางพระพุทธศาสนา และเปน็ แหลง่ ทอ่ งเที่ยวที่
สำคัญของอำเภอเชยี งแสน จังหวดั เชียงรายแลว้ ยังเป็นองคก์ รที่มีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน
ศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรม ดังน้ี

๑. วดั พระธาตผุ าเงา เปน็ สำนกั งานเจา้ คณะอำเภอเชยี งแสนเปน็ ศูนยก์ ลางงานเผยแผ่ สืบสาน
ถ่ายทอดพระพุทธศาสนา ในระดับอำเภอ

๒. วดั พระธาตผุ าเงา เปน็ สำนักปฏบิ ัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๑
๓. วัดพระธาตุผาเงา เปน็ วดั ในโครงการส่งเสรมิ การท่องเท่ียวเสน้ ทางแสวงบุญในมติ ิทางศาสนา ของ
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ต้ังแตป่ ีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗
๔. วัดพระธาตุผาเงา เป็นวัดตามโครงการลานธรรม ลานวิถีไทย (ลานบุญ ลานปัญญา) ของกรมการ
ศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม วดั เข้าร่วมโครงการลานธรรม ลานวถิ ีไทย โดยมกี ารจัดกจิ กรรมตามวัตถุประสงค์
ของโครงการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ และมีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดให้มีการสอนในวัด เช่น การทอผ้าลายเชียงแสน
ซึ่งภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ผ้าทอเชียงแสนตั้งอยู่ มีกลุ่มทอผ้าลายเชียงแสน การสอนทอพรมเช็ดเท้า กลุ่มทำ
สมุนไพร และในปี ๒๕๕๓ กระทรวงวัฒนธรรม ได้คัดเลือกวัดพระธาตุผาเงาเป็นลานบุญ ลานปัญญาต้นแบบ
โครงการลานบุญ ลานปญั ญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๕. วัดพระธาตผุ าเงาเปน็ ศนู ยศ์ ึกษาพระพุทธศาสนาวนั อาทิตยข์ องกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม
โดยจัดการเรยี นการสอนให้แกน่ ักเรยี นและเยาวชนในพ้นื ท่ีอยา่ งต่อเน่ือง และการนำเด็กทำกิจกรรมเนื่องในวัน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาและนำนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรม
ของคณะกรรมการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดเชียงรายได้แก่กิจกรรม ศูนย์ศึกษา
พระพุทธศาสนาวันอาทิตยส์ ัมพนั ธ์ ครง้ั ที่ ๑ – ๑๑ กจิ กรรมโครงการของสำนักงานวัฒนธรรม เชน่ ส่งนักเรียน
เข้าร่วมประกวดบรรยายธรรมระดับจังหวัด ประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ ระดับจังหวัดเป็นต้น
นอกจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการจดั ตั้งเป็นศูนยศ์ ึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แล้ว วัดพระ
ธาตุผาเงายังสนับสนุนการดำเนินงานศูนยศ์ ึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในระดับกระทรวง เมื่อวันที่ ๒๖ –
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม วัดพระธาตุผาเงา ไดใ้ หก้ ารสนับสนุนส่งเสริมการ
จัดประชุมเชงิ ปฏบิ ตั ิการผบู้ รหิ ารศูนย์ศึกษาพระพทุ ธศาสนาวันอาทิตย์ ภาค ๖ ปงี บประมาณ ๒๕๕๔
๖. วัดพระธาตุผาเงา เป็นท่ีต้งั ของศูนยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรียนตำบลเวยี ง อำเภอเชียงแสน จังหวดั
เชียงราย
๗. วัดพระธาตุผาเงา เปน็ โรงเรียนคนสายวัย อำเภอเชียงแสน
๘. วดั พระธาตผุ าเงา มพี ิพธิ ภัณฑผ์ ้าทอล้านเชียงแสน ซ่งึ สถานท่ีจดั แสดงลวดลายผ้าทอสมัยเกา่
ลวดลาย
เชียงแสน และเป็นแหลง่ เรยี นรเู้ ก่ยี วกบั การทอผา้ เพอ่ื อนุรกั ษ์ผ้าทอลวดลายเชียงแสน
๙. วดั พระธาตุผาเงา เป็นท่ตี ้งั กล่มุ ทอผา้ แม่บ้านสบคำ เพื่อสบื สาน ถ่ายทอด อนุรกั ษ์ และจำหนา่ ย
ผลิตภัณฑ์ของกลมุ่ ทอผ้า ได้แก่ ผา้ ทอลายเชียงแสน ผา้ ทอพน้ื เมือง พรมเช็ดเทา้ เป็นต้น
๑๐. วัดพระธาตผุ าเงา มหี อวัฒนธรรมนิทศั น์ ซึ่งจัดแสดงภาพเกา่ และประวตั เิ มืองเชียงแสน

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 15

ผลงานทเี่ ปน็ การส่งเสริมสนับสนนุ กระทรวงวัฒนธรรมในการดำเนินงานศาสนา ศลิ ปะและ
วัฒนธรรม

วดั พระธาตผุ าเงา เปน็ องค์กรทางพระพุทธศาสนา ทใ่ี ห้การสง่ เสรมิ สนับสนุน โครงการ/กิจกรรมของ
กระทรวงวฒั นธรรมเสมอมา นบั แตค่ รั้งก่อนจัดตั้งเปน็ กระทรวงวฒั นธรรมจนถึงปัจจบุ ัน ดงั เช่น

๑. ก่อนจัดตง้ั เป็นกระทรวงวัฒนธรรม (กระทรวงศึกษาธกิ าร)
ปี ๒๕๔๐ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธกิ าร คัดเลือกวัดพระธาตุผาเงา เปน็ อุทยานการศึกษา
ปี ๒๕๔๕ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธกิ าร วัดพระธาตุผาเงา ได้รบั การคัดเลือกเปน็ วัดพัฒนา

ตัวอย่าง ปพี ุทธศักราช ๒๔๔๕
๒. กระทรวงวัฒนธรรม ( ๒๕๔๕ – ปจั จบุ นั )

๒.๑ ส่งเสรมิ สนบั สนนุ การจดั โครงการ/กิจกรรมปกติ ของกระทรวงวฒั นธรรม
วดั พระธาตผุ าเงา ดำเนินการสง่ เสริม สนับสนุนการจดั โครงการ/กจิ กรรมของกระทรวง
วฒั นธรรม ได้แก่

2.1.1 จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เชน่ วนั มาฆบูชา วันวิสาขบูชา
วนั อาสาฬหบูชา วนั เข้าพรรษา วันออกพรรษา ฯลฯ
2.1.2 จัดกิจกรรมวันสำคัญสถาบันพระมหากษัตริย์ เชน่ กจิ กรรมวันเฉลมิ พระ
เกียรติพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว ๕ ธนั วาคม กจิ กรรมวันเฉลิมพระเกียรติ
สมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกติ ิ์ พระบรมราชนิ ีนาถ ๑๒ ธันวาคม กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี โดยจัดโครงการบรรพชา
อุปสมบทพระภิกษุสามเณร และบวชศลี จาริณภี าคฤดรู ้อน เปน็ ประจำทุกปี โดยใน
ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ถอื ว่าเป็นครั้งท่ี ๒๓ ของวัดพระธาตผุ าเงา
2.1.3 จัดกิจกรรมตามวนั สำคญั ทางประเพณีและวฒั นธรรมไทยและท้องถ่ิน
เชน่ กิจกรรม สวดมนต์ข้ามปีวถิ ีไทย วถิ พี ุทธ กิจกรรมปน่ั ฝ้ายสายบุญจลุ กฐนิ ฯลฯ

วัดพระธาตุผาเงา ร่วมส่งเสริม สนับสนุนและมสี ่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมของ
กระทรวงวัฒนธรรม ทีส่ รา้ งคุณประโยชน์และสนองต่อนโยบายของกระทรวงวฒั นธรรมทีป่ รากฏเด่นชัด ได้แก่

1. วัดพระธาตุผาเงาเป็นองค์กรเผยแพร่ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมความเป็นไทยอันดี
งามให้แก่ชุมชน และสังคมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเห็นได้จากวัดพระธาตุผาเงาเป็น
สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๑ และมีการดำเนินการตาม
โครงการ/กจิ กรรมของกระทรวงวฒั นธรรมอนั ไดแ้ ก่

๑.๑ โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุ สามเณร และบวชศีลจาริน ภาคฤดรู อ้ น เฉลิมพระ
เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในห้วงของเดือนเมษายนของทกุ ปี
อย่างเสมอมา
๑.๒ การจดั กจิ กรรมวนั สำคญั ทางพระพทุ ธศาสนา เชน่ วนั มาฆบูชา วนั วสิ าบูชา
วันอาสาฬหบชู า และวนั เข้าพรรษา เป็นต้น
๒. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วัดพระธาตุผาเงาถือได้ว่าเป็นวัดสำคัญใน
ลำดบั แรกๆ ของจังหวัดเชยี งรายทเ่ี ป็นแหลง่ ทอ่ งเท่ยี วเชิงศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรมอย่างแท้จริง
มีประวัติความเป็นมาที่ช้านานมีสิ่งก่อสร้างอันได้แก่ โบสถ์ วัด และสถาปัตยกรรมที่สวยงาม สะอาด
สะอ้านเหมาะแก่การเยี่ยมชมสักการะซึ่งจะเห็นได้จากการได้รับการคัดเลือกเป็นวัดตามโครงการ

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 16

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา จังหวัดเชียงราย ของกรมการศาสนา
กระทรวงวฒั นธรรม ตงั้ แต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗
๓. วดั พระธาตุผาเงาเปน็ แหล่งเรียนรู้ทางดา้ นศาสนา ศลิ ปะและวัฒนธรรม

๓.๑ แหล่งเรียนรู้ทางศาสนา ของกระทรวงวัฒนธรรม วัดพระธาตุผาเงาเข้าร่วมกิจกรรม/
โครงการ ดงั นี้
- โครงการลานธรรม ลานวถิ ีไทย (ลานบญุ ลานปัญญา) ของกรมการศาสนากระทรวง
วฒั นธรรม
- โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ซึ่งวัดพระธาตุผาเงาได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวยาวนานนับตั้งแต่ยังมิได้เป็นกระทรว ง
วัฒนธรรม
- โครงการหมบู่ ้านรักษาศีลหา้
๓.๒ แหล่งเรียนรู้ทางศลิ ปะและวฒั นธรรม วัดพระธาตุผาเงาไดส้ ่งเสริมและสร้างแหล่งเรียนรู้
ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในวดั ดังนี้
- เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน จัดแสดงลวดลายผ้าทอสมัยเก่าลวดลาย
เชียงแสนและเป็นแหล่งเรยี นรู้เกยี่ วกับการทอผา้ เพือ่ อนรุ กั ษผ์ า้ ทอลวดลายเชียงแสน
- มีหอวัฒนธรรมนิทัศน์ จัดแสดงภาพเก่าและประวัตเิ มอื งเชยี งแสน
- วัดพระธาตุผาเงา สนับสนุนเด็ก และเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ในการฝึกฝน
ศิลปะการแสดง ทอ้ งถิน่ อันได้แก่ การเต้นบาสโลบ้ การตีกลอง ๑๒ ราศี
๔. วัดพระธาตุผาเงาเป็นแหล่งบ่มเพาะ ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาไทย วัดพระธาตุผาเงาให้ การ
สนับสนุน ส่งเสริมการสบื สาน ถ่ายทอด ส่งเสริมภมู ิปัญญาให้แกเ่ ด็ก เยาวชน และประชาชนสามารถ
นำไปประกอบอาชพี และสร้างรายได้ใหแ้ ก่ชมุ ชนได้ ดังน้ี
๔.๑ เปน็ ทีต่ ั้งและร่วมสนบั สนุนการดำเนินการกลุม่ วิสาหกจิ ชุมชนสมุนไพรผาเงา
เพื่อสง่ เสรมิ ภมู ิปญั ญาในการผลิตและทำสมุนไพร อนั ได้ ลกู ประคบสมนุ ไพร ยาหม่องไพร ชา
สมนุ ไพร เปน็ ต้น
๔.๒ เป็นท่ีตั้งและร่วมสนับสนุนการดำเนินการกลุ่มทอผ้าล้านนาลายเชียงแสน (บ้านสบคำ)
นอกจากมีการรวบรวมประวตั ิความเป็นมาผ้าทอลายเชยี งแสนแล้วยังมกี ารสืบสาน ถ่ายทอด
ลายผ้าทอเชยี งแสนให้ดำรงอย่ตู ่อไป โดยการสนบั สนนุ ให้กลุ่มแมบ่ ้านสบคำที่มีความรู้ ความ
สนใจในการทอผ้า รวมกลุ่มกันผลิตและทอผ้าล้านนาขึ้น โดยเน้นหลักที่การทอผ้าลายเชียง
แสน แตก่ ็มีการส่งเสริมให้มีการทอพรมเช็ดเทา้ จากเศษผ้า เพอ่ื เป็นการส่งเสริมและการสร้าง
รายได้ให้แกช่ มุ ชนอกี ทางหนงึ่ นอกจากการประกอบอาชพี ทำไรท่ ำนาตามปกติ
๔.๓ เป็นท่ีตั้งและรว่ มสนบั สนุนการดำเนินการโครงการสามวยั อำเภอเชียงแสน จงั หวัด
เชยี งรายโดยมีการเรียนการสอนให้แก่กลุ่มผสู้ ูงอายุชาวเชยี งแสน ในทกุ วันพฤหัส โดยเฉพาะ
เนน้ สง่ เสริมการสืบสาน ถ่ายทอดภูมปิ ัญญาของทอ้ งถน่ิ
๕. วัดพระธาตุผาเงาร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับประเทศอาเซียนผ่านมิติทาง
พระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ จนถึงปัจจุบัน ทั้งที่เป็นโครงการ/
กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม และกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานอื่นที่ขอความร่วมมือวัดพระ
ธาตุผาเงาในการจัดกิจกรรมทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ โครงการ/กิจกรรมท่ี

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 17

วัดพระธาตุผาเงาได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดส่งเสริมสมั พันธไมตรีกับประเทศอาเซียนผ่าน
มิตทิ างพระพุทธศาสนาทีก่ ่อใหเ้ กิดคุณประโยชนต์ ่อกระทรวงวฒั นธรรมทีป่ รากฏเดน่ ชัด

สถานทส่ี ำคญั และสิ่งศกั ด์สิ ทิ ธิ์ภายในวัดพระธาตผุ าเงา
พระพุทธรปู หลวงพ่อผาเงา ซ่ึงเป็นพระพุทธรปู สำคญั ประจำวัดและมีอายเุ ก่าแก่มากถึง ๗๐๐-๑,๓๐๐
ปี ขุดพบเมื่อวนั ท่ี ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมนี ัยว่า เม่ือคณะศรัทธาไดป้ รับพืน้ ท่ใี หม่เรียบร้อย
แลว้ จงึ เรม่ิ ขดุ และยกตอไม้ขนาดใหญอ่ อก ทกุ คนตา่ งต่นื เต้นและ ปตี ยิ ินดีเมอ่ื ได้พบวา่ ใตต้ อไม้นั้นมีอิฐโบราณ
ก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้ พอยกหน้ากากออกจึงได้พบพระพุทธรูปที่มี
ลักษณะสวยงามมาก ผูเ้ ชย่ี วชาญดา้ นโบราณวตั ถไุ ดว้ เิ คราะห์วา่ พระพุทธรูปองคน์ ีม้ อี ายุระหว่าง ๗๐๐-๑,๓๐๐
ปี คณะศรัทธาทั้งหมดจึงได้พร้อมใจกันตั้งชือ่ พระพุทธรูปนี้ว่า “หลวงพ่อผาเงา” และเปลี่ยนช่ือวัดใหม่จากวัด
สบคำ เป็นวดั พระธาตผุ าเงา ตงั้ แตบ่ ัดน้ันเปน็ ต้นมา

เจดีย์ผาเงา ตัง้ อย่บู นหินผาติดเนินเขาดอยชนั เปน็ เจดียอ์ งค์เลก็ ทรงแปดเหลีย่ ม ศิลปะลา้ นนาตง้ั อยู่
บนกอ้ นหินแกรนิต ขนาดใหญ่ สูง ๑๐ เมตร ทฐ่ี านของกอ้ นหินท่ปี ระดษิ ฐานพระธาตุมีหินนอนลาด ลักษณะ
คลา้ ยเงาของหนิ ผาทเ่ี จดีย์ตั้งอยู่ คณะผูค้ น้ พบจงึ ขนานนามว่า “พระธาตุผาเงา” ซง่ึ ไมป่ รากฏหลกั ฐานว่าสร้าง
ในสมยั ใด แตส่ นั นษิ ฐานวา่ สร้างรว่ มสมยั เดยี วกบั หลวงพ่อผาเงา

เจดยี ์จอมจัน ต้ังอย่บู นไหลด่ อยชัน ซึ่งตงั้ อยูร่ ะหว่างทิศเหนือ ติดกบั แมน่ ้ำคำ และท่ีราบลมุ่ เมอื ง
เชียงแสนทิศตะวนั ออกเฉยี งใต้ตดิ กบั แมน่ ้ำกก และแมน่ ำ้ โขง ทศิ ใต้ ตดิ กับท่ีราบลมุ่ หรืออยู่ในพิกัดภมู ปิ ระเทศ
ท่ี ๔๗ GPC ๑๕๙๓๘๖ บา้ นโปง่ น้อย พิมพ์ครงั้ ที่ ๑ – RTSD ลำดับชดุ L๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๐๔๙ มาตราส่วน
พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งไมป่ รากฏหลักฐานทางประวตั ิศาสตร์ แต่จากการบอกเลา่ ของชาวบ้านทราบว่า สันดอยอีกฝาก
หนึ่งนน้ั มโี บราณสถานอกี หลายแห่ง ซ่ึงนา่ จะเป็นวัดสำคัญของเมืองเชียงแสนน้อย มีลกั ษณะเดียวกับวัดพระ
ธาตดุ อยสุเทพของจงั หวัดเชยี งใหม่ ปจั จบุ ัน เจดีย์จอมจันไดร้ ับการบูรณะและอนรุ กั ษ์เมืองประวัติศาสตรเ์ ชยี ง
แสน ของสำนกั งานโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ ซ่ึงเจดยี ์จอมจันคงเหลอื แต่เจดยี ์
ตั้งแต่ฐานถึงปากระฆังเท่านนั้ ส่วนองค์ระฆงั และส่วนยอดพังทลายลงหมด

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 18

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นเจดียท์ ีส่ มบูรณ์ มีลักษณะเป็นเจดีย์เจ็ดยอด เมื่อชาวบ้านอพยพเขา้ มาตั้งถิ่นฐาน
บ้านเรือนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ยังพบสภาพเดิมมีลักษณะเป็นเจดีย์ยอด จึงได้เรียกขานว่าเจดีย์เจ็ดยอด ตาม
ลักษณะที่พบ จวบจนล่วงเลยมาถึงปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีการสำรวจโดยชาวบ้านเพื่อจัดตั้งวดั ซึ่งแผ้วถางบริเวณ
เจดีย์เจ็ดยอดบนดอยชัน (ดอยจันปัจจุบัน) พบว่าเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรม เป็นอันมากตามกาลเวลา เมื่อมีการ
ยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๒ คณะกรรมการได้ดำเนินการก่อสร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิต
เจดีย์เพื่อถวายเป็นพระราชกศุ ลแดพ่ ระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ
โดยการนำของอาจารยบ์ ญุ ธรรม โพธแ์ิ พ่งพุม่ ไดเ้ ดินทางมาหาสถานที่ เพอื่ จดั สรา้ งพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์
ขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือสุดของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างได้ดูที่ตั้งของเจดีย์เจ็ดยอดเดิม
ตรงตามวัตถุประสงค์คอื ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ติดชายแดนจึงได้เสนอและเรียนเชิญท่านผู้หญิง อุศนา ปราโมช
ณ อยุธยา เป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ครอบองค์เจดีย์เจ็ดยอดองค์เดิม ดัง
ปรากฏในปจั จบุ นั

อุโบสถ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะสถาปัตยกรรมล้านช้าง ตกแต่งด้วยไม้สักแกะสลัก
และลวดลายปูนปนั้ ในศิลปะแบบลา้ นนาเป็นโบสถว์ ิหารคด ขนาดกวา้ ง ๑๕ เมตร ขนาดยาว ๒๕ เมตร หลังคา
มุงกระเบื้องดินขอโบราณ ลดหลั่น ๒ ชั้น สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๑๘,๕๐๙,๙๐๐ บาท (สิบแปดล้าน
ห้าแสนเก้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) ภายในผนังอุโบสถแกะสลักไม้บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติโดยรอบอย่าง
งดงาม

วิหาร ลักษณะวหิ ารเป็นสถาปตั ยกรรมล้านนากอ่ สรา้ งด้วยคอนกรตี เสรมิ เหลก็ ตกแต่งด้วยลวดลาย
ปูนปั้น มีขนาดความกว้าง ๑๐ เมตร ขนาดความยาว ๒๘ เมตร หลังคาลดหลนั่ ๒ ชนั้ มุงดว้ ยกระเบื้องดินขอ
เคลอื บ หน้าบันวหิ ารประดบั ลวดลายปูนป้ันศลิ ปะเชยี งแสน บานประตทู ำด้วยไม้สักแกะสลกั ลวดลายเกี่ยวกับ
ประเพณีสบิ สองเดือนของล้านนา หน้าตา่ งทำด้วยไม้สักแกะสลักลวดลายเก่ียวกับเร่ืองราวพระเจ้าสิบชาติและ
พระเวสสนั ดรภายในวิหาร ฝาผนงั ประดบั ประติมากรรมนูนตำ่ เกย่ี วกบั พุทธประวัติ สัตว์ปา่ หิมะพานต์ ก่อสร้าง
ขึ้นครอบบริเวณวิหารเดิมด้วยอิฐโบราณที่มีอยู่เดิม โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.
๒๕๓๕

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 19

หอพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ วัดพระธาตุผาเงา สร้างข้ึนเพื่อ
รวบรวมพระไตรปิฎกนานาชาติ ๙ ประเทศ ๙ ภาษา
ประกอบด้วย ประเทศตา่ ง ๆ ได้แก่ อนิ เดีย ศรีลงั กา พม่า
จีน ญี่ปุ่น ลาว อังกฤษ กัมพูชา และประเทศไทย เพื่อ
ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จ
พระเจา้ อย่หู วั ทรงเจริญ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ในวันท่ี
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยสร้างในลักษณะของศิลปะแบบ
ล้านนา กลางสระน้ำ มีฐานรองรับสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วยเสา ๘๐ ต้น อาคารหอ
พระไตรปิฎกฯ สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง พื้นและราวระเบียงตกแต่งด้วยหินทราย โดยได้รับปัจจัยจากการ
ทอดผ้า จุลกฐินเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ - พ.ศ. ๒๕๕๒ และได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอาทิตย์ ที่
๒๙ มกราคม ๒๕๔๙ โดยมี ฯพณฯ พลเรือเอก หม่อมหลวงอัสนี ปราโมช องคมนตรี และผู้จัดการทรัพย์สิน
ส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนนิ ทรงเป็นประธานยกยอด
ฉัตรหอพระไตรปิฎกฯ และทรงประกอบพิธีเททองชนวนหล่อพระพุทธรูปบูชาวัตถุมงคล ในวันจันทร์ที่ ๑๒
กมุ ภาพันธ์ พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๐๐ น.

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ สนับสนุนการก่อสร้างโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหไพบูลย์โฮมเซ็นเตอร์ โดยคุณ
ไพบูลย์ และคุณหยินผิน เลาพงษ์สิต งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๘,๑๐๘,๑๐๙ บาท โดยมี
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุ ประวัติศาสตรค์ วามเป็นมาและภูมิปญั ญาท้องถ่ิน เพื่อเป็นแหล่งเรยี นรู้
ของชุมชนในท้องถ่ิน การดำเนินงานจดั แหล่งเรียนรู้ โดยคณะกรรมการศูนยว์ ัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบล
เวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับการสนบั สนนุ จาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน โดยคุณ
อญั ชลี สนิ ธุสอน พิพิธภณั ฑบ์ ้านฝน่ิ โดยคณุ พชั รี ศรมี ธั ยกุล และองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง หอวัฒนธรรม
นทิ ศั น์ เป็นอาคารรปู ทรงล้านนาประยกุ ตม์ จี ำนวน ๓ ชั้น

- ช้ันที่ ๑ จัดแสดงนทิ รรศการเกี่ยวกบั พทุ ธประวัติ ตำนานพระเจา้ เลียบโลก พทุ ธศลิ ป์
พระพุทธศาสนาในดนิ แดนล้านนา เคร่อื งพุทธบูชา และความเชื่อเรื่องตุง
- ชน้ั ท่ี ๒ จดั แสดงนทิ รรศการเกีย่ วกบั โบราณวตั ถุ ประวตั ิความเป็นมา ภาพประวัติศาสตร์ของชุมชน
ในท้องถิ่น
- ช้ันที่ ๓ จดั แสดงนทิ รรศการวถิ ีชีวิต และภูมิปญั ญาของชุมชนในท้องถน่ิ เช่น มูยา การทำนา การ
ประมง การทำไรย่ าสบู ไร่ขา้ วโพด เป็นตน้

พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยความดำริของผู้มีความจงรักภักดีใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนา โดยท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ
อยุธยา เป็นประธานคณะ กรรมการดำเนินการก่อสร้าง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระ
นางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ เสดจ็ พระราชดำเนนิ แทนพระองค์ พร้อมดว้ ยสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯสยาม
บรมราชกุมารี ทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์และทรง เททองพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ภายใน
พระบรมธาตุพุทธ-นิมิตเจดีย์ ด้านทิศเหนือ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๔ พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์
ออกแบบโดย อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี (ปัจจุบัน ศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี) การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ จนจวบปีพ.ศ.๒๕๓๖ จึงแล้วเสร็จ ประธานคณะกรรมการจึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 20

ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบาทจ้าอยู่หัว โดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมยอดฉัตรและทรงเฉลิม
ฉลองพระบรมธาตุพุทธนิมติ เจดยี ์ เมื่อวันท่ี ๒๙ มกราคม ๒๕๓๖พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดยี ไ์ ด้สรา้ งขึ้นครอบ
พระเจดีย์เจ็ดยอดไว้ซึ่งเป็นเจดีย์เก่า ภายในมีภาพเขียนฝาผนังพระราชประวัติพระนางจามเทวี ด้านนอก
สามารถเดินรอบได้ลักษณะคล้ายป้อมปราการ สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ประเทศลาวและพม่าได้ขนาดกว้าง
๔๐ เมตร ความยาว ๔๐ เมตร ความสูง ๓๙ เมตร สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๓๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(สามสิบสองล้านบาทถ้วน)

พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน เป็นเรือนไม้ทรงล้านนา ๒ ชั้น ใต้ถุนโล่ง เริ่มก่อสร้าง เมื่อพ.ศ.
๒๕๓๗ แล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ มีขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ความยาว ๒๐ เมตร สิ้นงบประมาณในการ
ก่อสร้าง ๑,๙๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ชั้นบนเป็นสถานที่จัดแสดงลวดลายผ้าทอ
สมัยเก่าลวดลายเชียงแสน แสดงวิถีชีวิตของชาวล้านนาดั้งเดิมใต้ถุน เป็นที่ทอผ้าของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเชียง
แสน ริเริ่มจัดตั้งโดย พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงารูปปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้
เกี่ยวกับการทอผ้าชุมชน เพื่ออนุรักษ์ผ้าทอลวดลายเชียงแสน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช
กุมารไี ดเ้ สด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพธิ เี ปดิ ป้ายพิพิธภัณฑผ์ า้ ทอล้านนาเชียงแสน เมอ่ื วนั ท่ี ๒๘ มกราคม
๒๕๔๓

แหลง่ เรียนร/ู้ ศูนยเ์ รียนรู้
๑. พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนา เชียงแสน
๒. หอวฒั นธรรมนทิ ศั น์
๓. หอพระไตรปิฎกเฉลมิ พระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธ.ค.๒๕๕๐
๔. ศนู ย์เรยี นร้เู ศรษฐกจิ พอเพียงตำบลเวียง
๕. แหลง่ เรียนร้กู ลุ่มทอผ้าพ้นื เมอื ง (วัดพระธาตผุ าเงา)
๖. แหลง่ เรียนร้สู มนุ ไพรแปรรูปเชยี งแสน
๗. แหลง่ เรียนรูโ้ รงเรยี นคนสามวัยวดั พระธาตผุ าเงา
๘. หอ้ งสมดุ และศนู ย์เรยี นรู้ กศน.ตำบลเวยี ง

วัดสบคำ หมูท่ ่ี ๕ บา้ นสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชยี งราย โดยมพี ระอธิการ
สุรศักดิ์ อิสสโร เป็นเจ้าอาวาสวัดสบคำ วัดสบคำ บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นวัดเล็ก ๆ
ต้ังอยูก่ ลางชุมชน ที่กำลังก่อสร้างศาลาการเปรยี ญ ชมุ ชนโดยรอบส่วนใหญ่ เปน็ เช้อื สายจากสปป.ลาว มีความ
สะอาดและเปน็ ระเบยี บเรียบร้อย

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 21

โรงเรยี น/สว่ นราชการทีต่ ัง้ อยใู่ นชมุ ชน ในพืน้ ทช่ี มุ ชนคณุ ธรรมวดั พระธาตุผาเงา มโี รงเรียนบ้านสบ
คำ และ ส่วนราชการที่ต้ังอย่ใู นพน้ื ท่ขี องชมุ ชน ส่วนราชการในพ้นื ทีใ่ กลเ้ คยี งและมีสว่ นร่วมเป็นพลังบวรในการ
ขับเคล่ือนชุมชนคุณธรรม คือเทศบาลตำบลเวียง บา้ นสบคำ หมทู่ ่ี ๕ เปน็ ชมุ ชนคณุ ธรรมท่มี ีความเขม้ แขง็ และ
เป็นต้นแบบ ดงั น้ี

โรงเรยี นบา้ นสบคำได้รบั ความรว่ มมือจากราษฎรหมทู่ ี่ 5 ตำบลเวยี ง อำเภอเชียงแสน จงั หวดั เชียงราย
ได้สงวนที่ดินอันเป็นที่ทำกินของหมู่บ้านไว้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนจำนวน 8 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา และได้
ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชัว่ คราวเมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อมาได้จ้างครูมาทำการสอน โดยเก็บเงินค่าตอบแทนเปน็
รายหวั ๆ ละ 20 บาทต่อเดอื น พ.ศ. 2502

กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาล โดยแต่งตั้งนาย
วินัย โสตถิผล ครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าสักน้อยมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านสบคำ พ.ศ. 2505 ได้รับ
งบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป. 1 ข ขนาด 3 ห้องเรยี นเป็นเงิน 50,000 บาท (ปัจจบุ นั รื้อถอน
ไปแลว้ ) ต่อมาในปเี ดียวกันชาวบ้านได้สร้างบ้านพักครูมอบให้ 1 หลงั 1 ชนั้ 1 ห้องนอน สรา้ งดว้ ยไม้ เป็นเงิน
10,000 บาท (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว) พ.ศ. 2507 ได้แต่งตั้งนายบุญรัตน์ วิไล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
นายวินัย โสตถิผล ในปี พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ข จำนวน 4
ห้องเรียนเป็นเงิน 90,000 บาท ปีพ.ศ. 2521 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้รับงบประมาณการ
ก่อสร้างดังต่อไปนี้ โรงฝึกงานแบบกรมสามัญ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 60,000 บาท (ใช้เป็นโรงอาหาร)
บ้านพักครูแบบกรมสามัญ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 40,000 บาท และส้วมแบบกรมสามัญ 5 ที่นั่ง เป็นเงิน
20,000 บาท ปัจจุบันได้รื้อถอนแล้ว พ.ศ.
2522 ได้รับการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนจาก
กระทรวงสาธารณสุข เป็นเงิน 15,000 บาท
พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร
เรยี นแบบ ชร. 01 จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงนิ
300,000 บาท (ตึกชั้นเดียว )พ.ศ. 2525
ได้รับงบประมาณก่อสร้างประปาโรงเรียนโดย
งบประมาณของ ส.ส. พรอ้ มกับเครื่องสูบน้ำและ
อุปกรณ์ เป็นเงิน 42,000 บาท ต่อมาคณะครู
และชาวบา้ นไดร้ ว่ มกนั จัดหาทนุ สรา้ งร้วั โรงเรยี น
3 ด้านเป็นเงิน 18,000 บาท โดยสร้างเป็นรั้ว

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 22

ลวดหนาม พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ (ไม้) 1 หลัง เป็นเงิน 10,000 บาท (รื้อถอนไป
แล้ว) พ.ศ. 2528ได้รับมอบถังเก็บนำ้ ฝนปนู ซีเมนต์จากกรมโยธาการ จำนวน 1 ถัง คณะครู อาจารย์ ร่วมกบั
บริษัทอาร์ติฟอร์ร่า สร้างอาคารอนุบาล และจำนวน 1 หลัง 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 150,000 บาท โรงเรียน
บ้านสบคำได้เปดิ ทำการสอนต้งั แต่ชน้ั อนบุ าลจนถงึ ชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 จนถงึ ปัจจบุ ัน

เทศบาลตำบลเวยี ง อำเภอเชยี งแสน จังหวดั เชียงราย

วสิ ยั ทัศน์
"ยดึ หลกั ความโปร่งใส ประชาชนมสี ว่ นร่วม สร้างชมุ ชนให้เข็มแขง็
สง่ เสริมอาชพี การศึกษาและวัฒนธรรม"

ขอ้ มูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชยี งแสน จังหวัดเชียงราย

๑. ด้านกายภาพ

๑.๑ ท่ีตง้ั ของหม่บู ้านหรอื ตำบล

เทศบาลตำบลเวียง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน มีอานาเขตติดต่อเขตแดน ๓ ประเทศ

ประกอบด้วย ประเทศไทย, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, และประเทศสหภาพเมียนม่าร์

ซง่ึ เปน็ ท่ีต้ังของแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วสามเหลีม่ ทองคำ โดยมีหนว่ ยราชการที่ทต่ี ้ังอยใู่ นเขตตำบลเวยี ง อาทิ ด่านตรวจ

พืชเชียงแสน ด่านตรวจสัตว์น้ำเชียงแสน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงร าย

สาขาเชียงแสน ฯลฯ ปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ ๕๔.๓๔ ตารางกิโลเมตร จำนวน ๓๓,๙๖๒.๕ ไร่ ตำบลเวียง

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเชียงแสนไปเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดกับพื้นท่ี

ตำบลต่าง ๆ ดงั น้ี

ทศิ เหนอื ตดิ ตอ่ สหภาพเมียนมาร์

ทิศตะวนั ออก ตดิ ต่อตำบลบ้านแซว และตำบลโยนก อำเภอเชยี งแสน

ทศิ ตะวนั ตก ตดิ ตอ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทศิ ใต้ ตดิ ตอ่ ตำบลโยนก ตำบลปา่ สัก และตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 23

๑.๒ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ
มลี ักษณะภมู ปิ ระเทศเป็นทีร่ าบลมุ่ แมน่ ้ำโขง เป็นพน้ื ราบระหว่างภูเขาและท่รี าบ และแม่นำ้ หลาย
สายไหลผา่ น ได้แก่ แม่น้ำกก แม่นำ้ คำ แม่นำ้ รวก และลำน้ำห้วยเกี๋ยง

๑.๓ ลกั ษณะภูมอิ ากาศ
มี 3 ฤดู ไดแ้ ก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดหู นาว

๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะของดนิ ในพ้นื ทเี่ ปน็ ดินรว่ น ดนิ เหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูก

๑.๕ ลกั ษณะของแหล่งน้ำ
มีพน้ื ท่ีติดกบั แหล่งน้ำธรรมชาติ ไดแ้ ก่
แม่น้ำโขง เป็นแมน่ ้ำนานาชาติ มีต้นน้ำจากประเทศธเิ บต ไหลผา่ นประเทศต่าง ๆ
แม่นำ้ คำ ไหลมาจากอำเภอแม่ฟา้ หลวงลงสู่แมน่ ำ้ โขง ทีบ่ า้ นสบคำ หมู่ท่ี 5
แม่น้ำรวก มีต้นน้ำจากสหภาพพมา่ เปน็ แมน่ ำ้ แบง่ เขตแดนระหวา่ งไทย - พมา่ ไหลลงสแู่ ม่น้ำ

โขงทบี่ า้ นสบรวก หมู่ 1

๑.๖ ลักษณะของไมแ้ ละปา่ ไม้
ในพืน้ ที่อยใู่ นเขตปา่ ไมช้ ุมชน มคี วามอุดมสมบูรณ์ มพี ันธุไ์ ม้หลากหลายชนดิ ไดแ้ ก่ ไมส้ ัก ไมพ้ ะยูง
และไมไ้ ผ่

๒.ดา้ นการเมืองการปกครอง

๒.๑ เขตการปกครอง

ตำบลเวยี งประกอบดว้ ยจำนวนหมู่บ้าน 9 หมู่บา้ น โดยจำนวนหมู่บา้ นท่อี ยูใ่ นเขตเทศบาลตำบล

เวยี ง เต็มทงั้ หมบู่ ้าน จำนวน ๗ หมูบ่ า้ น ไดแ้ ก่ หมู่ท่ี ๑,๔,๕,๖,๗,๘,๙ และจำนวนหมู่บ้านทอ่ี ยใู่ นเขตเทศบาล

ตำบลเวียง บางสว่ น มจี ำนวน ๒ หมบู่ ้าน ไดแ้ ก่ หมู่ที่ ๒,๓

หมูท่ ี่ ๑ บ้านสบรวก ผู้ใหญ่บ้านช่ือ นายประสิทธ์ิ สพุ นั ธ์ (กำนนั ตำบลเวียง)

หมู่ท่ี ๒ บ้านเวยี งเหนือ ผู้ใหญ่บ้านช่อื นายจรญู กันทะวิน (อยู่บางส่วน)

หมทู่ ่ี ๓ บา้ นเวียงใต้ ผ้ใู หญ่บ้านชื่อ นายจำรสั แก้วดำ (อยบู่ างส่วน)

หมู่ที่ ๔ บา้ นวงั ลาว ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสพุ รรณ นาระเรศ

หมทู่ ่ี ๕ บ้านสบคำ ผู้ใหญบ่ ้านชอ่ื นายอานนท์ สมพนั ธ์

หมทู่ ่ี ๖ บา้ นจอมกติ ติ ผู้ใหญบ่ า้ นชื่อ นายวสนั ต์ เทยี มตา

หมทู่ ่ี ๗ บ้านเชยี งแสนนอ้ ย ผู้ใหญบ่ า้ นชื่อ นายเกียรติคุณ สมรกั

หมู่ท่ี ๘ บ้านหว้ ยเกีย๋ ง ผใู้ หญ่บา้ นชอ่ื นายสนุ ทร ชายลาด

หมู่ที่ ๙ บา้ นป่าสกั หางเวียง ผใู้ หญบ่ า้ นชื่อ นายณรงค์ พลู ชยั

๒.๒ การท่องเทย่ี ว
- สามเหลีย่ มทองคำ ตั้งอยหู่ มู่ท่ี ๑ บา้ นสบรวก อย่หู า่ งจากอำเภอเชยี งแสนประมาณ ๘ ก.ม.

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 24

- วดั พระธาตจุ อมกติ ติ ต้ังอยู่หมทู่ ่ี ๖ บา้ นจอมกติ ติ อยู่ห่างจากอำเภอเชยี งแสนประมาณ ๒.๕ ก.ม.
- วดั พระธาตุป่าสกั ต้งั อย่หู มู่ที่ ๖ บ้านจอมกติ ติ อย่หู ่างจากอำเภอเชยี งแสนประมาณ ๑.๕ ก.ม.
- วัดพระธาตุผาเงา ต้งั อยูห่ มู่ท่ี ๕ บ้านสบคำ อย่หู า่ งจากตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ ๔ ก.ม.

๓. ศาสนา ประเพณี วฒั นธรรม
๓.๑ การนบั ถอื ศาสนา
ประชาชน หมู่ท่ี 2 - 5 และหมู่ท่ี 7 - 9 นบั ถือศาสนาพทุ ธ
ประชาชน หมทู่ ่ี 6 นบั ถอื ทั้งศาสนาพทุ ธ และศาสนาครสิ ต์
ประชาชน หมทู่ ี่ 1 นบั ถือท้ังศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอสิ ลาม
โดยมขี ้อมูล ศาสนสถาน ดังนี้
วัดมีจำนวน 8 วัด ได้แก่

1. วัดสบรวก
2. วดั พระธาตุภเู ขา้
3. วดั พระวังลาว
4. วดั พระธาตผุ าเงา
5. วัดสบคำ
6. วัดพระธาตจุ อมกติ ติ
7. วดั พระธาตุสองพ่ีน้อง
8. วดั หว้ ยเก๋ยี ง
9. วัดเชียงแสนนอ้ ย
๓.๒ ประเพณีและงานประจำปี
ช่วงเดือนตลุ าคม หลงั วนั ออกพรรษา จะมงี านไหลเรือไฟ บ้านสบคำ หมู่ 5 และชว่ งเทศกาล
สงกานต์ จะมีการแข่งขนั เรือพาย

๓.๓ ภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ิน ภาษาถ่ิน
ภูมิปัญญาท้องถ่นิ ที่โดดเด่น คือ
หมู่ 1 ได้แก่ กลุ่มแปรรปู ผลติ ภณั ฑท์ างการเกษตรมันเกรียบ, กลมุ่ พริกลาบ
หมู่ 4 กล่มุ ทอผา้ วงั ลาว
หมู่ 5 กลุม่ ผ้าทอเชยี งแสน และกลุ่มแปรรูปสมุนไพร
ภาษาถ่ิน คือ ภาษาเมืองล้านนา ภาษาเงีย้ ว (บ้านสบรวก หมู่ 1) ภาษาลอื้ (บ้านวงั ลาว หมู่ 4) และ
ภาษาลาว (บา้ นสบคำ หมู่ 5)

๓.๔ สนิ คา้ พน้ื เมืองและของทรี่ ะลึก
สนิ ค้าพน้ื เมืองและของที่ระลึกที่โดดเดน่ คือ ผลติ ภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรปู มนั เกรยี บ, พรกิ ลาบ
หมู่ 1
ผ้าทอ กระเป๋าวังลาว หมู่ 4 ผา้ ซ่ิน ผา้ ทอเชียงแสน, พรมเช็ดเท้า, และผลิตภัณฑ์สมนุ ไพรแปรรปู
หมู่ 5

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 25

ผู้นำ “บ” ของชุมชน

นายอานนท์ สมพันธ์
ผใู้ หญ่บ้าน หมู่ ๕ บา้ นสบคำ

ผนู้ ำ “ว” วัด/ศาสนสถาน

พระพุทธญิ าณมุนี
เจ้าอาวาสวดั พระธาตุผาเงา
รองเจา้ คณะจงั หวัดเชยี งราย

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 26

ผนู้ ำ “ร” โรงเรยี น/ราชการ

นายศุภชัย เข่ือนเพชร นาย ธวทิ ติยะกว้าง
โรงเรยี นบา้ นสบคำ ปลดั เทศบาลตำบลเวยี ง

การมสี ่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยการขบั เคลอื่ นดว้ ยพลัง “บวร” ของชุมชนคุณธรรมวดั พระธาตุ
ผาเงา (บา้ นสบคำ) มีรายละเอียด ดงั นี้

๑. การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณท์ เ่ี กิดขึ้นในชมุ ชน และแสดงความคิดเหน็ และลงมตใิ น
การดำเนนิ กจิ กรรมตา่ ง ๆ

๒. การมสี ว่ นรว่ มในการวางแผนการดำเนินงานตามภารกจิ ต่าง ๆ ของชมุ ชน โดยความร่วมมือ
ระหว่าง บ้าน วัดและโรงเรียน/สว่ นราชการ

๓. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติและดำเนนิ การของ บา้ น วดั และโรงเรยี น/ส่วนราชการ โดยทกุ ฝา่ ย
ได้เข้ามามสี ่วนร่วมในการดำเนนิ งานในกิจกรรมตา่ ง ๆ ทั้งในเรอ่ื งของการจัดหาและสนบั สนุนทางดา้ นวสั ดุ
อุปกรณ์ แรงงาน เงนิ ทนุ การดำเนินการหรือเข้าร่วมในการบริหารงาน

๔. การไดร้ บั ประโยชน์จากการดำเนนิ งาน ความสำเรจ็ รว่ มกัน
๕. การมีส่วนรว่ มในการติดตามและประเมนิ ผลการดำเนินงานที่ผา่ นมาแล้ว

ผู้นำพลัง “บวร” ร่วมกับคนในชุมชนในการพัฒนาชุมชน
ร่วมกัน โดยมีการติดตามรับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และข้อมูล
ข่าวสารการจัดกจิ กรรมร่วมกนั ของชุมชน ผ่านกลมุ่ ไลน์ “สบคำ ๖๐”
และเสียงตามสายทุกเช้า ในเวลา ๐๗.๐๐ น. ทค่ี รอบคลุมพ้ืนท่ี ๓๔๖
ครัวเรือน (ประชากร ๑,๓๙๖ คน) และการประชุมประจำเดือนคณะ
หมูบ่ ้าน และคณะทำงานชุมชนคณุ ธรรม ประชาสมั พนั ธก์ ารประชุมที่
ได้รับนโยบายประจำเดือนจากส่วนราชการระดับอำเภอ เพื่อติดตาม
ผล ทบทวน รับฟังปัญหาถ้าเกิดขึ้นพร้อมร่วมกันหาทางแก้ไข
สอบถามทุกข์ สขุ ความตอ้ งการความช่วยเหลือ ฯลฯ

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 27

กระจายขา่ วสารผา่ นทาง LINE

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 28

ดำเนนิ การตามกระบวนการ ๙ ขน้ั ตอน ยดึ หลกั ๓ ประการ ยึดม่นั ในหลักธรรม คำสอน
ทางศาสนา ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ในการดำรงชวี ิต ธำรงวถิ ีวฒั นธรรมไทย วัฒนธรรมทอ้ งถิน่
โดยใช้ “พลงั บวร” เปน็ ศูนย์กลางการพัฒนาทจ่ี ะทำให้เกิดความมน่ั คง มัง่ ค่งั ยง่ั ยืน มีการดำเนนิ การ
รายละเอยี ดดังน้ี

ขั้นตอนที่ ๑ ชุมชนมีผู้นำและคนในชุมชนประกาศเจตนารมณ์ หรือข้อตกลง หรือธรรมนูญร่วมกัน
ทีจ่ ะพฒั นาชุมชนใหเ้ ปน็ ชมุ ชนคุณธรรม

๑. จัดประชุมผู้นำชุมชน กรรมการที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน (พลังบวร) บ้าน วัด/ศาสนสถาน
โรงเรียน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในชุมชนเพื่อปลุกกระแสสรา้ งการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายไทยนิยม
ย่ังยืน และกจิ กรรมจิตอาสาทำความดีดว้ ยหัวใจ

๒. ระดมความคิดเห็นและประกาศเจตนารมณ์ของประชาชนในชุมชน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน
ชมุ ชนคุณธรรม และดำเนนิ กิจกรรมจติ อาสาทำความดีดว้ ยหวั ใจ

๓. เผยแพร่ประกาศข้อตกลงให้ประชาชนในชมุ ชนรบั รู้การขับเคล่ือนชุมชนคุณธรรมฯ

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 29

ขั้นตอนท่ี ๒ ชุมชนรว่ มกันกำหนดเป้าหมาย ปัญหาท่ีอยากแก้ และความดีทอี่ ยากทำ
๑. ผนู้ ำชุมชน กรรมการทีเ่ กยี่ วข้องจากทุกภาคส่วน (พลงั บวร) บ้าน วดั ศาสนาสถาน โรงเรยี น
เครอื ข่าย ทีเ่ กย่ี วข้องและประชาชนในชมุ ชน รว่ มกนั แสดงความคดิ เห็นวเิ คราะหจ์ ดุ อ่อน จดุ แขง็ ของชุมชน
ปญั หาในชมุ ชนท่ีต้องการแก้ไข อตั ลกั ษณ์ของชมุ ชนทตี่ ้องการรกั ษาไว้ หรอื ตอ้ งการพัฒนาขยายผลต่อไป
๒. นำผลการวเิ คราะหช์ มุ ชนฯ มากำหนดเปา้ หมายปญั หาท่ีอยากแกใ้ ห้ลดลงหรือหมดไปในชุมชน
เช่น การพนัน สรุ า ทะเลาะเบาะแว้ง ยาเสพติด ลกั ขโมย หน้ีสนิ ขยะ เปน็ ต้น และกำหนดเป้าหมายให้เกดิ สิง่ ดี
ขน้ึ ในชุมชนเพิ่มข้นึ เช่น รายได้ กลมุ่ จิตอาสา กล่มุ ออมทรัพย์ การสืบทอดศิลปะและวฒั นธรรม เปน็ ต้น
๓. ประชุมกำหนดกิจกรรมแนวทางการแก้ไขปัญหาและแนวทางการพฒั นาสืบสาน ขยายผลใหม้ ี
ความยั่งยืนตอ่ ไป

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 30

สรุปเน้ือหา
๑. ปญั หาภายในชุมชน (ปัญหาชุมชนทอ่ี ยากแก้) ประกอบด้วย ปัญหายาเสพติด ปัญหาการพนัน
ปญั หาขโมย ปญั หาสรุ า ปัญหาทะเลาะววิ าท ปญั หาหน้สี ิน และปัญหาขยด
๒. ความต้องการของชุมชน (ความดที ี่อยากทำ) ประกอบด้วยส่งเสรมิ การมีรายได้ การรวมกล่มุ จิต
อาสา กลุ่มออมทรัพย์ ความสะอาดในชุมชน สืบทอดศิลปะวฒั นธรรม และความสามัคคี
ขน้ั ตอนท่ี ๓ ชุมชนร่วมกนั จัดทำแผนพฒั นาส่งเสรมิ คณุ ธรรมของชุมชนเกี่ยวกับปัญหาท่อี ยากแก้
และความดีท่อี ยากทำ
แผนการพฒั นา
- มฐี านขอ้ มลู หมู่บ้านเพ่อื การจัดทำแผนพัฒนาหม่บู ้าน
- มกี ารประชมุ ประชาคมวิเคราะห์สถานะของหมู่บา้ น ผา่ นการมสี ว่ นรว่ มของหน่วยงานในพน้ื ทร่ี ะดับ
ตำบลร่วมกับ เทศบาลตำบลเวยี ง และหน่วยงานทเี่ กย่ี วข้องในการจดั ทำแผนพฒั นาหมบู่ ้าน
- มีการวิเคราะหป์ ระเมนิ ศักยภาพของหมบู่ ้าน (SWOT)
- มีการกำหนดโครงการ/กจิ กรรมในแผนพัฒนาหมูบ่ ้าน
- มีการดำเนนิ กจิ กรรมในแผนพัฒนาหม่บู า้ น
- มกี ารตดิ ตามประเมินผลการดำเนนิ งานตามแผนฯ
- มปี รับปรุงและทบทวนแผนฯเป็นประจำทุกปีของคณะกรรมการหมู่บา้ นในคราวประชุมประชาคม

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 31

การวเิ คราะหป์ ระเมินศักยภาพของหมบู่ ้าน (SWOT)
ของชุมชนคณุ ธรรมวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จงั หวัดเชียงราย

จุดแขง็ จุดอ่อน

๑. มีวัดพระธาตุผาเงา เป็นศูนย์กลางในการยึดเหน่ยี ว ๑. ถนนบางสายมืด

จติ ใจ ของคนในชมุ ชน ๒. คนในชุมชนไม่ชอบออกกำลงั กาย สง่ ผลถงึ การ

๒. ชุมชนนา่ อยู่ (บ้านสวย เมืองสขุ ) มสี ขุ ภาพร่ายกายไม่แข็งแรง

3. ผนู้ ำเขม้ แข็ง กล้าคดิ กลา้ ทำ มีภาวะความเป็น ๓. แสงสวา่ งตามถนนมีไม่พียงพอ สง่ ผลถงึ ความไม่

ผ้นู ำสงู ปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สิน

๔. มีทรพั ยากร ดิน น้ำ อุดมสมบูรณ์ ๔. คนสงู วัยมากขึ้น

๕. คนในชุมชนมีความรัก สามัคคี เก้ือกลู และแบ่งปนั ๕. วัยคนทำงาน น้อยลง

มีผลติ ภัณฑ์ผกั ปลอดภยั เป็นทร่ี ู้จักของคนทั่วไป

๖ คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี ให้ความร่วมมือ

ในการพัฒนา

๗. มศี นู ยส์ าธิตการตลาด ทีเ่ ขม้ แข็ง (รา้ นค้าชุมชน)

โอกาส อปุ สรรค

๑ .รัฐบาลสง่ เสรมิ ใหม้ กี ารทอ่ งเที่ยวโดยชุมชน ๑. ขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบายในบางเรื่อง ทำให้

๒. เทศบาลตำบลเวียง /หนว่ ยงานของรัฐ ให้การ กจิ กรรมชุมชน ขาดการสานต่อ

สนับสนุนงบประมาณ ในการขบั เคล่ือนกจิ กรรมใน ๒. ภยั ธรรมชาติมีความรนุ แรงมากข้ึน สง่ ผลถงึ

ชุมชน ผลผลิตของเกษตรกร

๓. ประเทศไทยเปดิ ประชาคมอาเซยี น ซ่ึงชุมชนอย่ตู ดิ ๓. ปัญหาพ่อค้าคนกลาง ชุมชนไมส่ ามารถกำหนด

กับประเทศเพ่อื นบ้าน ราคาผลผลิตของชุมชนได้ ขาดอำนาจในการ

๔. ความกา้ วหน้าของระบบไอที เขา้ ถึงสะดวก งา่ ยต่อ ตอ่ รอง

การกระจา่ ยข้อมูลขา่ วสาร

ข้นั ตอนที่ ๔ แผนสง่ เสริมคุณธรรมของชุมชน
ชุมชนรว่ มกันจัดทำแผนส่งเสริมคณุ ธรรมของชุมชนเกย่ี วกับปัญหาท่ีอยากแก้ และความดีท่อี ยากทำ
ซึง่ เป็นความต้องการของคนในชุมชนเพ่ือประโยชนส์ ุขของชุมชน (การระเบิดจากข้างใน)

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 32

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 33

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 34

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 35

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 36

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 37

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 38

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 39

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 40

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 41

ขน้ั ตอนที่ ๕ ความสำเรจ็ ของชมุ ชนตามแผนพัฒนา
ชมุ ชนมกี ารจัดกิจกรรมแก้ไขปญั หาของชมุ ชน และมีการส่งเสริมการทำความดขี องชมุ ชนตามทีร่ ะบุ
ไวใ้ นแผนส่งเสรมิ คุณธรรม
ประชาชนในหม่บู ้านมสี ว่ นร่วมกบั คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในการดำเนินการและกิจกรรมต่าง ๆ
มกี ารประชมุ /จัดเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการพัฒนาเป็นประจำสม่ำเสมอ ทกุ เดือน ๆ ละ ๑ คร้ัง

สรปุ ผลการขับเคลื่อนตามแผนส่งเสริมคณุ ธรรม

1. มกี ำหนดกฎกติกา ข้อบงั คบั หรือธรรมนูญของหมู่บา้ น
กฎระเบยี บหมู่บ้านทองทนุ แม่ของแผน่ ดินบ้านสบคำ
ตำบลเวียง อำเภอเชยี งแสน จงั หวดั เชียงราย

๑. หากผู้ใดเก่ียวข้องกบั ยาเสพตดิ ไม่วา่ จะเสพหรือคา้ ต้องได้รบั โทษดังน้ี
๑.๑ เตือน
1.2 ถูกตำรวจจบั และถกู ศาลตัดสนิ จะต้องถูกตัดออกจากสมาชิกฌาปนกจิ
หมูบ่ ้าน 5 ปี
๑.3 หากเสียชวี ติ พระสงฆ์ไม่รับนิมนตไ์ ปสวดงานศพ

2. หากคนใดยงิ ปืนในหมู่บ้าน และท่ีสาธารณะโดยไมม่ ีเหตุอนั ควรจะต้องถูกปรับนัดละ
1,000 บาท
3. หากมีการชกตอยกนั ภายในงานตา่ ง ๆ ในเขตหม่บู า้ น ผู้กอ่ เหตุจะต้องถูกปรับ 2,000
บาท คกู่ รณีปรบั 1,000 บาท (พิจารณาคกู่ รณีก่อนวา่ ผดิ จรงิ หรอื ไม่)
4. หากมกี ารลกั ขโมยของในหมู่บ้าน ไมว่ ่าสงิ่ ของอะไรถูกปรับตามราคาทขี่ โมย 2 เทา่
ขนั้ ต่ำ 500 บาท
5.หากมีการลักลอบช็อตปลา ในบอ่ สาธารณะ หนองของหมู่บ้าน ถ้าจับได้จะมโี ทษทงั้ จำ
ท้งั ปรบั
6. หากคนใดสร้างความเดือดร้อนภายในหมู่บ้าน หากเกินเทยี่ งคนื จะถกู ลงโทษตาม
กฎระเบียบของหมบู่ ้าน แลว้ แตค่ ณะกรรมการจะพิจารณาตามเหตกุ ารณ์

บ ว ร On Tour ชุมชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 42

๒. กิจกรรมการปกครอง และรกั ษาความสงบ
มกี ารจัดเวรยามรักษาความปลอดภยั ภายในหมูบ่ า้ น โดยการนำของผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนประชาชน
ภายในหม่บู ้าน ได้ทำการสอดสอ่ งดูแลรักษาความปลอดภยั ภายในหมูบ่ ้านตลอดเวลา และได้รับความรว่ มมือ
จากประชาชนคอยเป็นหูเปน็ ตาในการรกั ษาความปลอดภัยภายในหมู่บา้ น
มผี นู้ ำหมบู่ า้ น ฝา่ ยปกครอง คณะกรรมการ ได้เขา้ ร่วมรักษาความสงบเรียบรอ้ ยในชว่ งการสง่ เสรมิ
การท่องเท่ยี วในช่วงเทศกาลทอ่ งเท่ียวช่วงฤดูร้อน และกิจกรรมจิตอาสา และกิจกรรมอื่น และมกี ารเฝา้ ระวงั
ปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพตดิ

๓. กจิ กรรมการออมทรัพย์ เพื่อลดปัญหาหน้สี ิน
หมู่บ้านมีกองทุนสวัสดิการแก่สมาชิกในชุมชนและ มีการจัดสวัสดิการภายในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ยากจน
ได้โอกาสและคนทป่ี ระสบปญั หา โดยมีกลมุ่ ต่าง ๆ ไดแ้ ก่

- ฐานเรียนรู้ วิสาหกจิ ชมุ ชนผลิตภัณฑส์ มนุ ไพร วัดพระธาตุผาเงา

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 43

- ฐานเรียนรู้ ผา้ ทอลา้ นนาลายเชยี งแสน (CPOT ปี ๒๕๖๒)

- ฐานเรียนรู้ กลมุ่ ทอพรมเชด็ เท้าบา้ นสบคำ

- ฐานเรียนรู้ กลมุ่ ทำขนม

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 44

- ฐานเรยี นรู้ กลุม่ แปรรูปผลิตภณั ฑไ์ ข่

- ฐานเรียนรู้ กลมุ่ แปรรูปผ้า

- ฐานเรียนรู้ กลมุ่ ทำน้ำพรกิ

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 45

- ฐานเรียนรู้ กลุม่ จกั สาน

- กลุ่มฐานเรียนรู้ เศรษฐกจิ พอเพียงวัดพระธาตุผาเงา

- กลมุ่ ฐานเรียนรู้ โรงเรยี นคนสามวัยวัดพระธาตุผาเงา

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 46

- กลมุ่ ให้บรกิ ารคณะศกึ ษาดูงานระบุตามความต้องการ
(เยี่ยมชมตามฐานโดยการเดิน/ปัน่ จกั รยาน/ นั่งรถบริการของวดั /น่ังรถสามล้อเครื่อง)

- กลุม่ ดนตรีพนื้ เมือง เตน้ บาสโลบ ขับท้มุ หลวงพระบาง ตีกลลองหลวง

- กลมุ่ วิถชี ีวิตสัมผัสวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ไทย-ลาว (บา้ นสบคำ)

บ ว ร On Tour ชุมชนคุณธรรมบา้ นผาเงา| 47

- กลุ่มอาชพี ที่ให้บริการชม ชิม ช้อป ผา้ ทอพน้ื เมือง/สมุนไพรแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ชุมชน กาแฟผาเงา ร้านคา้ สวสั ดกิ ารในวัด

- กลมุ่ ฐานการเรยี นรเู้ ศรษฐกิจพอเพยี ง

๔. กจิ กรรมการลดปัญหาขยะ
ชุมชนคุณธรรมวดั พระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) เปน็ ชุมชนท่ีมกี ารจดั การขยะโดยชุมชนมีการคัดแยก
ขยะเปลย่ี นขยะเปน็ เงนิ เป็นปุ๋ย หากมขี ยะมีพิษจะรวบรวมใส่ถุงดำวางหน้าบ้าน และมีการปลูกผักปลอดภยั
ตลอดทั้งชุมชนทำให้หน้าบา้ นนา่ อยู่ หลังบ้านน่ามองบรรยากาศดดี ้วยความเขียวชอ่มุ ชุ่มช้ืนด้วยพชื ผักทม่ี ี
ประโยชน์และสามารถนำมารับประทานได้ด้วยอยา่ งปลอดภยั อีกทัง้ ยังมที ศั นียภาพแม่น้ำโขง ที่สวยงาม เปน็
ชุมชนทม่ี ีความปลอดภยั สูง ไมม่ กี ารอาชญากรรม ไม่มกี ารลกั ขโมย และการทะเลาะวิวาทของคนในชุมชน
ชมุ ชนมีความรัก ความสามคั คี ปรองดอง สมานฉันท์ในชุมชน ชาวบ้านต่างใหค้ วามช่วยเหลือซ่ึงกันและกนั
และประกอบอาชีพหลัก ทำการเกษตร เปน็ หลกั

บ ว ร On Tour ชมุ ชนคณุ ธรรมบา้ นผาเงา| 48

๕. กจิ กรรมการส่งเสรมิ ภูมปิ ัญญาพ้นื บ้าน/ผลติ ภณั ฑช์ ุมชน และการส่งเสรมิ การสร้างรายไดใ้ ห้แก่
ชุมชน และสง่ เสรมิ ใหค้ นในชมุ ชนปฏบิ ตั ติ นอยู่ในพน้ื ฐานความพอเพียง

หมูบ่ า้ นนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำฐานการเรียนรู้
พืชผักสวนครวั และผักปลอดภัย ฐานการเรียนรู้ทอผา้ ฐานการเรยี นรู้ทำพรมเช็ดเท้า ฐานการเรียนรูส้ มุนไพร
ฐานการเรียนรู้ไข่เคม็ และฐานการเรยี นรเู้ ศรษฐกิจพอเพยี ง เปน็ ตน้

การพฒั นาตอ่ ยอดผลติ ภณั ฑ์สนิ คา้ วฒั นธรรมไทย" ของกลมุ่ ผา้ ทอล้านนาเชยี งแสน


Click to View FlipBook Version