The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ เล่มที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ เล่มที่ 1

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ เล่มที่ 1

การประแกนันวคทณุางกภาารพพกฒั ารนศารกึ ะบษบา

ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
พ.ศ. ๒๕๖๑

สำานักทดสอบทางการศึกษา

สำานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน 69

กแนรวทะาทงกราวรพงฒั ศนาึกระษบบากธาริกปราะรกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

แนวทางการพฒั นาระบบ
การประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
ตามกฎกระทรวงการประกนั

คุณภาพการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑

สำ� นกั ทดสอบทางการศกึ ษา
สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๕๖๔-๐๗๒-๕
ปีท่พี มิ พ์ : พ.ศ.๒๕๖๓
จ�ำนวนพมิ พ์ : ๑,๐๐๐ เลม่
จัดพมิ พ์โดย : ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ลขิ สทิ ธิ์เปน็ ของ : ส�ำนกั ทดสอบทางการศึกษา
สำ� นักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
โทรศพั ท ์ : ๐-๒๒๘๘-๕๗๕๗-๘
โทรสาร : ๐-๒๖๒๘-๕๘๖๒
เวป็ ไซต ์ : http://bet.obec.go.th
พมิ พ์ที่ : หา้ งหนุ้ สว่ นจำ� กดั   เอน็ .เอ.รัตนะเทรดด้ิง 
ที่อยู่ ๑๓/๑๔ ม.๕ แขวงบางด้วน เขตภาษีเจรญิ กทม. ๑๐๑๖๐
โทร.๐๘๑-๗๓๒-๔๒๔๖

ค�ำน�ำ

กระทรวงศึกษาธิการ มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกัน
คุณภาพการศึกษา โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานและประเด็นพิจารณา
ให้สะท้อนถึงคุณภาพอย่างแท้จริง ก�ำหนดเกณฑ์และรายการประเมิน
แบบองค์รวม (Holistic Assessment) ซึ่งเป็นการประเมนิ โดยใชข้ อ้ มลู เชงิ ประจักษ์
(Evidence Based) ลดภาระการจัดท�ำเอกสารท่ีใช้ในการประเมิน ยึดหลัก
การตัดสินระดับคุณภาพตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ
(Expert Judgment) ของผู้ประเมิน และใช้การตรวจทานผลการประเมิน
โดยคณะกรรมการประเมนิ ในระดับเดียวกัน (Peer Review) ปรบั กระบวนทศั น์
ในการประเมินท่ีมีเป้าหมายเพ่ือการพัฒนาบนพ้ืนฐานบริบทของสถานศึกษา
มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ในการปรับปรุงระบบ หลกั เกณฑ์ และวธิ ีการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาเพอ่ื ให้มี
กลไกการปฏิบัติท่ีเอ้ือต่อการด�ำเนินการตามมาตรฐานการศึกษา ของแต่ละระดับ
และเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประกาศใช้
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และระดับ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑ เพ่ือเป็นหลักในการเทียบเคียงส�ำหรับสถานศึกษา หน่วยงาน
ต้นสังกัด และส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาท้ังประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ก�ำกับดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพ
การศึกษา



แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ดังนั้น เพ่ือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งตามกฎกระทรวง
การประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑ สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา
ข้ันพื้นฐาน จึงได้จัดท�ำคู่มือชุดนี้ขึ้น เพื่อให้ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา
สามารถใชเ้ ป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน นเิ ทศ ติดตาม และช่วยเหลือ
สถานศึกษาในการด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และสถานศึกษา
สามารถใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศกึ ษา และเตรียมความพรอ้ มส�ำหรบั การประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ขอขอบคุณผู้บริหาร
ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านท่ีมีส่วนร่วมในการจัดท�ำ
คมู่ ือชดุ นใี้ หส้ มบูรณ์ และหวังว่าสถานศกึ ษาทุกสังกดั ทีจ่ ัดการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน
จะได้รับประโยชน์จากคู่มือชุดนี้ ใช้คู่มือชุดน้ีเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
ที่ก�ำหนดไว้ไดอ้ ยา่ งย่ังยืน

(นายอำ� นาจ วิชยานวุ ัต)ิ
เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน



แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

คำ� ชี้แจง

หลังจากกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ
การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการประกัน
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และประกาศมาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
ศนู ยก์ ารศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำ� หรบั ให้สถานศกึ ษาใชเ้ ปน็ แนวทางดำ� เนนิ งาน
เพ่ือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และเตรียมการส�ำหรับ
การประเมินคุณภาพภายนอก ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานจึงได้
จัดท�ำคู่มือ ส�ำหรับให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติเพ่ือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศกึ ษาใหเ้ ขม้ แข็ง
โดยคู่มือนี้ มีจ�ำนวน ๕ เล่ม มีเนื้อหาสาระครอบคลุมรายละเอียด
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งน�ำเสนอ
หลักการ เหตุผล แนวคิด และกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาตามระบบ
การประกันคณุ ภาพภายในของสถานศกึ ษา ดังน้ี

เล่มท่ี ช่ือเอกสาร สาระสำ� คญั

๑ แนวทางการพฒั นาระบบ แนวคิดและหลักการเก่ียวกับการประกันคุณภาพ
การประกนั คุณภาพ การศึกษา แนวทางการพัฒนาระบบการประกัน
การศกึ ษาตามกฎ คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และกรณี
กระทรวงการประกัน ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
พ.ศ. ๒๕๖๑ สถานศึกษาให้เขม้ แขง็



แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

เล่มที่ ช่อื เอกสาร สาระสำ� คัญ

๒ การก�ำหนดมาตรฐาน แนวคิด หลักการ แนวทางการก�ำหนดมาตรฐาน
การศกึ ษาของสถานศึกษา การศึกษาของสถานศึกษา และตัวอย่าง
การกำ� หนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา

๓ การจดั ท�ำแผนพัฒนา แนวคดิ หลกั การ ความสำ� คญั กระบวนการจดั ท�ำ
การจดั การศกึ ษา และตัวอย่างของแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
ของสถานศกึ ษา ของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจ�ำปี
(Action Plan)

๔ การจดั ทำ� รายงาน หลักการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง
ผลการประเมนิ ตนเอง ขัน้ ตอน โครงสรา้ ง และตัวอย่าง การจัดทำ� รายงาน
ของสถานศกึ ษา ประเมินตนเองของสถานศึกษา

๕ การเตรียมความพร้อม ความหมาย หลักการ แนวคิดและวัตถุประสงค์
ของสถานศกึ ษาเพอื่ รบั ของการประเมินคุณภาพภายนอก การเตรียม
การประเมนิ คณุ ภาพ ความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ภายนอก และตัวอย่างแนวทางการเตรียมข้อมูล/
ร่องรอยหลักฐานเชิงประจกั ษ์



แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

สารบัญ

คำ� น�ำ ก
คำ� ชีแ้ จง ค
สารบัญ จ
ตอนท่ี ๑ บทน�ำ ๓
l แนวคิดและหลกั การเกีย่ วกบั การประกันคุณภาพการศกึ ษา ๓
l การเปลี่ยนแปลงในระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ๖
l ความสมั พันธ์ระหว่างการประกนั คุณภาพภายใน
และการประเมินคุณภาพภายนอก ๘

ตอนที่ ๒ แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา
ภายในสถานศกึ ษา ๑๗
l ก�ำหนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา ๑๘
l จัดทำ� แผนพฒั นาการจัดการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
ทีม่ ุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ๑๘
l ด�ำเนินการตามแผนพัฒนาการจดั การศึกษา
ของสถานศึกษา ๑๙
l ประเมินผลและตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา ๒๐
l ตดิ ตามผลการดำ� เนนิ การใหม้ คี ุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษา ๒๑
l จัดท�ำรายงานผลการประเมินตนเอง ๒๒



แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ตอนที่ ๓ กรณีศึกษา ๒๕
บรรณานุกรรม ๔๓
ภาคผนวก ๔๕
คณะท�ำงาน ๖๕



แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๑ตอนที่
บทนำ�



๑ตอนที่
บทนำ�

ตอนที> ๑
๑. แนวคดิ และหลกั การเกย่ี วกบั กาบรทปนระํากันคณุ ภาพการศึกษา

ห1เชุม.พรชแื ืL อนนขอมโอแว คดองีคคลกุ ยคสณดะิงุณาสสรแ์ปรลลภัวงถรปรคะั้มกาากระหมานพะาวกษลโกร่ศาดอกังันปณกกึยกหบรคาราษคระขรวุณะรือเามอกพดก ภววคย>ีงึ�ัเำนา่างวุณรพกพเากคะปนา่อืกบัลรุณบมินสารกัดกบรารภางํะษรศเมก้าานาปึกณสัLงนาินพรษคนรงะะขงกาวปกาพคอานานัใร์งึงรมตขคเะสปปศอจมุณกา็ถงนึรกน่ัภันมสะใากษาใถคนพสจมราาหุณะใกงศน าห้บาคศึกเภรตก้กวปึ์กตศษาันบัรษ็ึนกาพาบกาษนมฐกจจกาากัมะราระนามเดะานมรรั ีปตําบศียีปกเกรรนวึกนะรฐาินนสเษะาริทผงกาสรนาธู้ป ศีาิทนกิภึปรกยกตธาาดครพิาภรษน�ำะมรแศาเกอาลภนึพกะงอาทินษทรแLีบผไกชางํลาู้ดใิจามุทดะหป้ขวน้ช่ีทไผ้กยอดตนเู้ํ�ำกงรกา้ากีแสยใาหมนห�ำลถครหภมะ้านผพีนคสนราู้เัฒดุณรศรังดีึยคกอภกนไไษานมิจวาวพงา้้
องค์ปครุะณกภอบาขพอกงาระรบศบึกกษาราป รกะากรันตคุิณดภตาาพมกตารรศวึกจษสาอปบระเกพอื่อบคดว้วยบกคาุรมพคฒั ุณนภาคาุณพภกาพากราศรึกศึษกษาา
การติดกตาารมปตรระวเจมสินอคบุณเพภLือคาพวบกคาุมรคศุณึกภษาาพซก่ึงารรวศมึกถษึงากการปใชร้ผะเลมปินรคะุณเภมาินพเกปา็นรศฐึกานษาเซพLึง่ือรกวามรถพึงกัฒารนใาช้
ผลปรคะเุณมินภเปา็นพฐใานนวเพงือLจกรากราพรฒั พนฒั าคนุณาภใาหพมใน่ตวอ่ งเจนร่ือกางรพดฒังแนสาใดหงมใ่ตน่อแเนผLือนงภดางั พภาทพี่ ๑

แผนภาพท่ี ๑ แสดงองค์ประกอบของระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

แผนภาพที) ๑ แสดงองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

จ า ก แ ผ น ภ า พ จ ะ เ ห็ น ไ ด้ ว่ า ก า ร พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ก า ร ศึ ก ษ า

จากแผนภาพท่ี ๑ จะเหน็ ได้วา่ การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา เป็นกระบวนการ
ก�ำหนดมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียนท่ีเป็นเป้าหมาย รวมท้ังมาตรฐาน
กระบวนการการด�ำเนินงานและปัจจัยที่เก่ียวข้องกับการจัดการศึกษาท่ีเชื่อว่า
จะสามารถส่งผลให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ทั้งน้ีในระหว่างด�ำเนินงาน
จัดการศึกษาสู่เป้าหมาย สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด จ�ำเป็นต้องมีการ
พัฒนากลไกในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหาร
และการจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ
และด้านคุณภาพผู้เรียน โดยบุคคลภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา
เพ่ือให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนท่ีมีคุณภาพตามเป้าหมายท่ีก�ำหนด
ได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ
ท้ังนี้สถานศึกษาต้องมีการประเมินคุณภาพการศึกษา เพ่ือรวบรวมข้อมูล
ผลการด�ำเนินงานที่สะท้อนคุณภาพของผู้เรียนและกระบวนการบริหารและ
การจัดการ และน�ำผลไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายท่ีก�ำหนดไว้ น�ำไปสู่การปรับปรุง
พัฒนาคณุ ภาพการศึกษาให้ยงั่ ยืนต่อไป
ในส่วนของการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษา หลังจากสถานศกึ ษา
ด� ำ เ นิ น ก า ร ป ร ะ เ มิ น คุ ณ ภ า พ ต า ม ม า ต ร ฐ า น ก า ร ศึ ก ษ า ข อ ง ส ถ า น ศึ ก ษ า
โดยบุคลากรภายในสถานศึกษาท่ีมีหน้าท่ีก�ำกับดูแลสถานศึกษานั้น และน�ำ
ผลการประเมินคุณภาพภายในดังกล่าวมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนา
มาตรฐานหรือพัฒนาเป้าหมาย และปรับเปล่ียนแนวทางการด�ำเนินงานปกติ
ของสถานศึกษา คือ กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการ
จัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนแล้วด�ำเนินงาน
ตามแผนท่ีวางไว้ควบคู่ไปกับการติดตามตรวจสอบกระบวนการด�ำเนินงาน
ระหว่างการปฏิบัติ และประเมินคุณภาพเปรียบเทียบกับเป้าหมายท่ีก�ำหนด
พร้อมกับใช้ผลการประเมินเป็นฐานการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในวงจร
การพัฒนาให้คุณภาพสถานศึกษาสูงข้ึนอย่างต่อเน่ืองตามล�ำดับ ทั้งน้ีทุกสถานศึกษา

4

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ต้องพัฒนาการด�ำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการบริหารจัดการศึกษาปกติของสถานศึกษา โดยค�ำนึงถึงหลักการและ
กระบวนการส�ำคัญ ได้แก่ ๑) หลักการมีส่วนร่วมแบบร่วมแรงร่วมใจ
ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของทุกคนในสถานศึกษา ๒) หลักการ
ร่วมรับผิดรับชอบในผลการจัดการศึกษาอย่างตรวจสอบได้ คือมีร่องรอย
สารสนเทศส�ำหรับอธิบายคุณภาพต่อสาธารณชนที่สามารถตรวจสอบได้ และ
๓) หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าท่ีของทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องรับผิดชอบ
และร่วมลงมือด�ำเนินการทุกข้ันตอนของการด�ำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา ทั้งน้ีโดยอาศัยกระบวนการด�ำเนินการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจร
คณุ ภาพแบบ PDCA คอื มีกระบวนการวางแผนกำ� หนดเปา้ หมายคุณภาพ (Plan)
ด�ำเนินการตามแผนควบคู่กับการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพระหว่าง
ด�ำเนินงาน (Do & Check) กระบวนการน�ำผลการประเมินมาเป็นฐานการตัดสินใจ
พัฒนาหรือยกระดับคุณภาพใหส้ ูงขน้ึ ต่อเนอ่ื งตามล�ำดบั (Act)
ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นบทบาทหน้าท่ีของส�ำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ท�ำหน้าท่ี
ติดตามตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับเพ่ือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ดังน้ัน
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพ
ภายนอก จึงเป็นกลไกท่ีมีเป้าหมายเพ่ือท�ำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งและ
สร้างความเช่อื มัน่ ต่อสังคม

5

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๒. การเปลย่ี นแปลงในระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
การดำ� เนินการประกันคุณภาพการศกึ ษาทผ่ี า่ นมา มีความคลาดเคล่ือนไป
จากหลักการประกันคุณภาพ ท้ังระบบการก�ำหนดมาตรฐานการศึกษา ระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และระบบประเมินคุณภาพการศึกษา
ในรายละเอียดหลายประเด็นที่ส่งผลให้เกิดการทบทวนประสิทธิภาพการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา เช่น มาตรฐานการศึกษาท่ีมีจ�ำนวนมากเกินจ�ำเป็น
ไม่สอดคล้องกับงานปกติเป็นภาระในการปฏิบัติ การประเมินและรายงาน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาท่ีแยกส่วนไปจากภาระงานปกติของ
สถานศึกษา เป็นการสร้างภาระเพิ่ม รวมทั้งระบบการประเมินภายในและภายนอก
ท่ีไม่สัมพันธ์กัน เป็นการท�ำงานที่ซ�้ำซ้อน สร้างภาระและเกิดประโยชน์ต่อ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่เพียงพอ จึงน�ำมาสู่การยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วย
ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ และ
ประกาศใช้กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นำ� ไปสูก่ ารเปล่ียนแปลงหลักเกณฑ์และแนวด�ำเนนิ การ
ประกนั คุณภาพการศึกษาในประเดน็ ตอ่ ไปนี้
๒.๑ ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา มีการปรับปรุงข้อก�ำหนด
หรือมาตรฐานการศึกษาที่ใช้เป็นเป้าหมายและแนวทางในการจัดการศึกษา
ให้สอดคล้องครอบคลุมกับภาระหน้าที่ในการจัดการศึกษาตามปกติของ
สถานศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานด้านคุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานด้าน
กระบวนการบริหารและการจัดการและมาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน
ทัง้ น้เี พื่อลดความซำ้� ซอ้ นและลดการสร้างภาระส่วนเกินในการปฏิบตั ิ
๒.๒ การด�ำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบตามหลักการ
ประกันคุณภาพการศึกษา เพ่ือใช้เป็นกลไกเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเน่ือง

6

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

และยั่งยนื โดยเน้นใหม้ กี ระบวนการด�ำเนินงานความยืดหยุ่นสอดคล้องกบั บริบท
เฉพาะของสถานศึกษาเป็นส�ำคัญทุกข้ันตอน ท้ังการก�ำหนดมาตรฐานการศึกษา
การวางแผนและด�ำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การด�ำเนินการ
ตามแผนและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพภายใน
และใช้ผลประเมนิ เพอื่ การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาตอ่ เนื่อง
๒.๓ การดำ� เนินงานประเมินคุณภาพการศกึ ษา
๑) ปรับเปล่ียนแนวคิดการประเมินคุณภาพการศึกษา ท้ังระบบ
การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประเมินภายนอก กล่าวคือใน
ระบบการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการน�ำแนวคิดและกระบวนการ
ประเมินแนวใหม่ ท่สี ามารถสะทอ้ นคุณภาพสถานศกึ ษาไดต้ รงตามความเปน็ จริง
สอดคล้องกับภาระหน้าที่และแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
ไม่สร้างภาระแก่สถานศึกษา และใช้ผลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ได้ตรงประเด็น คือแนวคิดการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment)
ในขณะท่ีระบบการประเมินภายนอก เน้นอิงแนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา
ซ่ึงกระบวนการประเมินท้ังสองแนวคิดต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์
(Evidence Based Assessment) และตดั สนิ ผลการประเมนิ คุณภาพการศึกษา
โดยอาศัยความเช่ียวชาญ (Expert Judgment) รวมท้ังการทบทวนผล
การประเมนิ โดยบุคคลระดับเดียวกัน (Peer Review) เพอื่ ใหก้ ารประเมินมีความตรง
และสามารถน�ำสู่การใช้ผลการประเมินสู่การพัฒนาต่อเน่ืองอย่างตรงประเด็น
และมปี ระสทิ ธิภาพต่อไป
๒) ปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องกับการประเมิน
คุณภาพการศึกษา มีการปรับเปล่ียนความสัมพันธ์ในการประเมินภายในและ
การประเมินภายนอก ประเด็นส�ำคัญคือ เน้นให้ความส�ำคัญของการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา และการประเมินคุณภาพภายนอกตามมาตรฐาน
ของสถานศึกษา เพื่อเป็นการตรวจสอบและยืนยันผลการประเมินภายใน และ

7

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การให้ข้อเสนอแนะเพ่อื การพัฒนาอยา่ งตรงประเดน็ เพื่อขจดั ภาระซำ้� ซ้อน และ
เพ่ิมโอกาสในการใช้ประโยชน์จากการประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ให้มปี ระสทิ ธิภาพสูงสดุ
๓) ปรับปรุงมาตรฐานผู้ประเมิน จัดให้มีการพัฒนาผู้ประเมิน
คุณภาพการศึกษาท้ังภายในสถานศึกษาและผู้ประเมินภายนอก ในด้านทักษะ
ความสามารถและทัศนคติที่เหมาะสมต่อการประเมินเพื่อพัฒนา กล่าวคือ ความรู้
ความเขา้ ใจ มที กั ษะและมีความเชยี่ วชาญการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล วเิ คราะหข์ อ้ มูล
และตัดสินผลการประเมินตามแนวคิดการประเมินเพ่ือพัฒนา เพ่ือให้
ผู้ประเมินภายในมีมาตรฐานมีความน่าเชื่อถือและส่งผลต่อการประกันคุณภาพ
การศกึ ษาอย่างแท้จริง
๓. ความสัมพันธร์ ะหว่างการประกนั คณุ ภาพภายในและการประเมินคณุ ภาพภายนอก
พระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๖ กลา่ วถึงหลักการ
ประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยแบ่งเป็นระบบการประกันคุณภาพ
ภายใน และการประกันคุณภาพภายนอกการประกันคุณภาพภายใน เป็นเร่ือง
ของสถานศึกษาที่ต้องจัดท�ำโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เก่ียวข้อง แต่การ
ประเมนิ คณุ ภาพภายนอก เปน็ การด�ำเนินงานโดยหน่วยงานภายนอกท่เี ปน็ อิสระ
และมีความเป็นกลางมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินตามมาตรฐานของ
สถานศึกษาทั่วประเทศและด�ำเนินการทุก ๆ ๕ ปี และตามตามกฎกระทรวง
การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ กำ� หนดให้สถานศกึ ษาแตล่ ะแห่ง
จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการก�ำหนด
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมท้ังจัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและด�ำเนินการตามแผนท่ี
ก�ำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผล ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

8

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ภายในสถานศึกษา เพ่ือพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
และจดั ส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ให้แก่หนว่ ยงานตน้ สังกัดหรือหน่วยงาน
ท่ีก�ำกบั ดแู ลสถานศกึ ษาเป็นประจ�ำทกุ ปี
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality
Assurance : IQA) จึงเป็นกระบวนการที่ต้องด�ำเนินการอย่างเป็นระบบและ
ตอ่ เน่ือง นอกจากจะเป็นการพฒั นาการจดั การศึกษาของสถานศึกษาโดยตรงแล้ว
ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษายังใช้เป็นหลักฐานเช่ือมโยงในการ
รองรับการประเมินคุณภาพภายนอก จากหน่วยงานภายนอกคือ ส�ำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) โดยใช้
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่มีความครอบคลุม ชัดเจน และสอดคล้อง
กับมาตรฐานการศึกษาชาติและมาตรฐานการศึกษาข้ันพื้นฐาน และสามารถ
สะท้อนคุณภาพของการบริหารจัดการศึกษาและการจัดการศึกษาท่ีเน้นผู้เรียน
เป็นส�ำคัญ เพ่ือเป็นหลักประกันให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนเกิด
ความมั่นใจว่านักเรียนจะได้รับการจัดการศึกษาท่ีมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานท่ีก�ำกับดูแล
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment : EQA)
เป็นการประเมิน ติดตามตรวจสอบกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการพัฒนาและยกระดบั
คุณภาพการศึกษา มีความท้าทายและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับ
คุณภาพสู่สากล และยังมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษา (Internal Quality Assurance : IQA) ในการร่วมรับผิดชอบ
(Accountability) ต่อผลการจัดการศึกษา และใช้ยืนยันคุณภาพของระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเปิดโอกาสให้
สร้างความโดดเด่นเฉพาะทาง ท้ังนี้โดยมีแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของ
การประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ดังแสดง
ในแผนภาพที่ ๒

9

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การกำ� หนด
มาตรฐาน

EQA รายงาน กฎกระทรวง พฒั นาเขา้ สู่ IQA
การประเมนิ คณุ ภาพ การประกนั คณุ ภาพ มาตรฐาน
การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ภายนอก

สมศ. จ�ำท�ำ SAR
ประเมนิ

แผนภาพท่ี ๒ แสดงความสมั พันธข์ องการประกนั คณุ ภาพภายใน
และการประเมินคุณภาพภายนอก

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality
Assurance : IQA) สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา เพ่ือสร้างความม่ันใจให้แก่ผู้ที่เก่ียวข้องว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รบั
การศึกษาท่ีมีคุณภาพ เพ่ือพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานท่ีสถานศึกษาก�ำหนด ระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นสว่ นหนึง่ ของการบริหารการศึกษา ซงึ่ เปน็ กระบวน
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเน่ือง โดยให้สถานศึกษายึดหลักการ
ส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เก่ียวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและก�ำกับ
ดแู ลของหนว่ ยงานตน้ สังกัด โดยมกี ระบวนการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาดงั น้ี

10

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๑. ก�ำหนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา สถานศกึ ษากำ� หนดมาตรฐาน
การศึกษาและเป้าหมายความส�ำเร็จที่สะท้อนคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษา
ซึ่งเป็นข้อก�ำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ท่ีต้องการให้เกิดขึ้น
ในสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายความส�ำเร็จก�ำหนดขึ้นจะเป็น
หลักเทียบเคียงส�ำหรับการส่งเสริม ก�ำกับดูแล ตรวจสอบและประเมินผล
และการประกนั คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาน้ันๆ
๒. พัฒนาเข้าสมู่ าตรฐาน สถานศกึ ษาจัดทำ� แผนพัฒนาการศกึ ษา ซึง่ เป็น
แผนท่ีก�ำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น
ในช่วงระยะเวลาที่ก�ำหนด โดยจัดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพ่ือให้เกิดความม่ันใจ
ว่าสถานศึกษาจะด�ำเนินการตามข้อตกลงท่ีก�ำหนดร่วมกัน เพื่อให้บรรลุตามเป้า
หมายของแต่ละกิจกรรมท่ีก�ำหนดอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
ข้ันพื้นฐาน และมีการด�ำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการก�ำกับ
ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเน่ืองให้บรรลุ
เป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ก�ำหนดไว้โดยจัดท�ำแผนปฏิบัติ
การประจำ� ปีท่ชี ดั เจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา
๓. จัดท�ำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment
Report : SAR) เป็นการน�ำข้อมูลผลการประเมินตามมาตรฐานของสถานศึกษา
จากติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลและจัดท�ำเป็นรายงานการประเมินตนเอง
เพื่อสะท้อนภาพความส�ำเร็จของการพัฒนา คุณภาพสถานศึกษาในรอบ
ปกี ารศึกษาทีผ่ า่ นมาภายใตบ้ ริบทของสถานศึกษา
ดังนั้นการประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษาจงึ เปน็ กระบวนการท่ีตอ้ ง
ด�ำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเน่ือง ทั้งก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การจัดท�ำแผนพัฒนาการศึกษา การด�ำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
การประเมินผล ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งด้าน
การบริหารการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ

11

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดท�ำรายงานผล
การประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
เพือ่ เตรยี มการรองรับการประเมนิ คุณภาพภายนอกตอ่ ไป
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment : EQA)
การประเมินคุณภาพภายนอก โดยส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คณุ ภาพการศึกษา (องคก์ ารมหาชน) มบี ทบาทส�ำคัญ ดังนี้
๑. ประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐาน
การศกึ ษาของสถานศึกษา โดยวเิ คราะห์ SAR เยีย่ มชมสถานศึกษา (Site Visit)
ติดตามและตรวจสอบ เพื่อสะท้อนถึงผลการจัดการศึกษาแต่ละระดับ
ท้ังด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา
และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ โดยค�ำนึงถึง
ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเช่อื ถอื ได้ และประสทิ ธผิ ลการจัดการศกึ ษา
ของสถานศกึ ษานัน้ ๆ โดยใชม้ าตรฐานของสถานศึกษา สร้างความเชอ่ื ม่ัน ให้แก่
ผู้มีส่วนเก่ียวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษานั้นว่าสามารถจัดการศึกษาได้
อยา่ งมคี ุณภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา และบรรลเุ ป้าประสงคข์ องหน่วยงานต้น
สงั กัดหรือหน่วยงานที่กำ� กบั ดแู ล
๒. รายงานผลการประเมินภายนอก ผู้ประเมินคุณภาพภายนอกสรุปผล
การประเมินตรวจสอบคุณภาพและจัดท�ำรายงาน น�ำส่งผลการประเมิน
พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานต้นสังกัดท่ีเก่ียวข้อง เพื่อให้หน่วยงาน
ได้ติดตามและพัฒนาใน ๓ ประเด็น ได้แก่ การแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ท่ีไม่เป็น
ไปตามนโยบาย และมาตรฐานของสถานศึกษา (Internal Correction)
การปรับปรงุ ประเด็นตา่ ง ๆ ให้ดขี ึ้น (Improvement) และการพฒั นานวัตกรรม
จากประเด็นตา่ ง ๆ (Innovation)

12

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การประเมินคุณภาพภายนอก มีแนวคิดส�ำคัญ คือ ใช้กลไกการประเมิน
คุณภาพภายนอกเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ
การศึกษาตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วย
การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามบริบทของสถานศึกษา
ลดการประเมิน ที่ยุ่งยากกับสถานศึกษา ลดการจัดท�ำเอกสารเพิ่มระบบ
เทคโนโลยีในการประเมิน และพัฒนาคุณภาพของผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เน้นการประเมินเพ่ือยืนยันคุณภาพของระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาว่า ด�ำเนินการเหมาะสม เป็นไปได้/เป็นระบบ เชื่อถือได้และ
เกิดประสิทธิผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามเป้าหมาย
มีพฒั นาการต่อเน่อื ง มนี วัตกรรมหรือเป็นแบบอย่างท่ีดีหรือไม่สง่ เสริมใหส้ ถานศึกษา
และหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตาม
มาตรฐานการศึกษาชาติ ตามจุดหมายของหลักสูตรและมีความพร้อมในการ
แข่งขันในระดับสากล ให้ความส�ำคัญกับการประเมินที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ย่ังยืน
และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสร้างความโดดเด่นหรือเป็นต้นแบบในการพัฒนา
ในระดับท้องถิ่น/ภูมิภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ ดังน้ันการประเมิน
คุณภาพภายนอกจึงสอดคล้องเป็นหน่ึงเดียวกันกับการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในของสถานศกึ ษา
การประเมินแบง่ เป็น ๒ ระยะ คอื ระยะที่ ๑ เป็นการประเมินเพ่อื ยืนยนั
คุณภาพโดยส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) โดยใช้วิธีการประเมินโดยอาศัยร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์
(Evidences Based Assessment) ครอบคลมุ องคป์ ระกอบทง้ั ระบบแบบองค์รวม
(Holistic Assessment) โดยไม่แยกส่วนหรือแยกองค์ประกอบการประเมิน
ในการประเมินผลงานหรือกระบวนการ แต่เป็นการประเมินในภาพรวมของ
ผลงานหรือภาพรวมของกระบวนการด�ำเนินงาน ตรวจทานผลการประเมิน

13

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

โดยคณะกรรมการในระดับเดียวกัน และสะท้อนผลการด�ำเนินงานโดยการประเมิน
และตัดสินผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยอาศัยความเช่ียวชาญ (Expert
Judgment) และระยะที่ ๒ เป็นการติดตามเพ่ือพัฒนาโดยหน่วยงานต้นสังกัดหรือ
หน่วยท่ีก�ำกับดูแลสถานศึกษา ตามข้อเสนอแนะของส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ดังน้ัน การประเมินคุณภาพ
ภายนอกจึงสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในของสถานศกึ ษา

14

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๒ตอนท่ี

แนวทางการพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพ

การศกึ ษาภายในสถานศึกษา



๒ตอนที่

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพ
การศกึ ษาภายในสถานศกึ ษา

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการ
ประกันคุณภาพการศึกษา ปรับเปล่ียนระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยให้มี
การประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกตามแนวคิด
หลักการว่า สถานศึกษาสามารถออกแบบระบบการประกันคุณภาพภายในท่ี
เหมาะสม เป็นไปได้และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาได้ด้วยตนเอง
การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการยืนยันระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศกึ ษา ผลทไี่ ดจ้ ากการประกนั คุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพ
ภายนอกนั้น จะต้องสามารถน�ำไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาได้ด้วย
รายละเอียดการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบด้วย
๑. ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
๒. จัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตาม
มาตรฐานการศกึ ษา
๓. ดำ� เนนิ งานตามแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของสถานศึกษา
๔. ประเมนิ ผลและตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษา
๕. ติดตามผลการด�ำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษา
๖. จัดทำ� รายงานผลการประเมนิ ตนเอง
รายละเอียดแต่ละเรอ่ื งสรปุ ดงั นี้

17

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๑. ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สถานศึกษาประกาศใช้มาตรฐานและเป้าหมายการด�ำเนินงานตาม
มาตรฐานการศึกษาให้ครอบคลุมทุกระดับการศึกษาท่ีสถานศึกษาจัดการศึกษา
ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ด้วยการสร้าง
ความรู้ ความเข้าใจให้กับครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทน
ผู้ปกครอง ชมุ ชน และผเู้ ก่ียวขอ้ งอน่ื ๆ ด�ำเนนิ การวเิ คราะห์มาตรฐานการศกึ ษา
หลักสูตรสถานศึกษา จุดเน้น บริบท ความต้องการ ทิศทางการจัดการศึกษา
อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา น�ำมาก�ำหนดเป็นมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศึกษาและประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพื้นฐานของสถานศึกษา ท้ังนี้ สถานศึกษา
สามารถก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพ่ิมเติมได้ พิจารณาก�ำหนด
เป้าหมายความส�ำเร็จทั้งเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพในปีการศึกษาปัจจุบัน
โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศผลการด�ำเนินงานของปีการศึกษาที่ผ่านมาอย่างเหมาะสม
และเปน็ ไปได้
๒. จดั ท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทีม่ งุ่ คุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษา
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ต้องสอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการจ�ำเป็นของสถานศึกษาและมีการจัดท�ำอย่างเป็น
ระบบ สถานศกึ ษาต้องจัดท�ำแผน ๒ ประเภท ดงั น้ี
๑) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นแผนระยะกลาง
๓ – ๕ ปี โดยสถานศึกษาสามารถน�ำแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการ
จัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของปัจจัย
ภายในสถานศกึ ษา วิเคราะห์โอกาส และอปุ สรรคของปจั จัยภายนอกสถานศกึ ษา

18

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ประเมินสถานภาพของสถานศึกษา ก�ำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
ก�ำหนดกรอบกลยุทธ์/กลยุทธ์การพัฒนา ก�ำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม
รองรับพร้อมประมาณการงบประมาณ ทรัพยากรท่ีใช้สนับสนุนการด�ำเนินงาน
ของสถานศกึ ษา
๒) แผนปฏิบัติการประจ�ำปี (Action Plan) เป็นการน�ำแผนพัฒนาการ
จัดการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการวิเคราะห์ทิศทางการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษา วิเคราะห์ประมาณการงบประมาณรายรับ รายจ่าย จัดล�ำดับความ
ส�ำคัญของโครงการ พร้อมกับจัดท�ำรายละเอียดของโครงการ กิจกรรม
ท่ีครอบคลุมมาตรฐานของสถานศึกษาด้านคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการ
บรหิ ารและจัดการ กระบวนการจดั ประสบการณ์/จัดการเรียนการสอน นโยบาย
และจุดเน้นของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การด�ำเนินงานของสถานศึกษาบรรลุ
ตามวสิ ัยทัศน์ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และเพ่อื แก้ไขปัญหาหรอื
ปรับปรงุ จดุ อ่อนของสถานศกึ ษา
ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องน�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการ
ประจ�ำของสถานศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานให้ความ
เห็นชอบกอ่ นนำ� ไปใช้จริง
๓. ด�ำเนนิ การตามแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของสถานศึกษา
การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาที่ก�ำหนดน้ัน
สถานศึกษาต้องมีระบบกลไกการบริหารและจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของ
แต่ละสถานศึกษา ไม่เป็นภาระกับครูหรือผู้เก่ียวข้องมากเกินไป สถานศึกษา
ต้องด�ำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจ�ำปี
มีการก�ำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของแผนงาน
โครงการ กิจกรรมตา่ ง ๆ เป็นไปตามระยะเวลาทก่ี ำ� หนด บรรลุเป้าหมายระดับใด

19

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

โดยสามารถใช้แนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยท่ีเน้นความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย เชน่ การบริหารเชิงระบบ (System Approach) การใชว้ งจรการพัฒนา
คุณภาพ (PDCA) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based
Management) การบริหารแบบมุ่งสัมฤทธ์ิ (Total Quality Management)
การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management)
การใชห้ ่วงโซค่ ุณภาพ (Chain of quality) เป็นต้น หรอื สถานศึกษาสามารถสรา้ ง
และพฒั นารูปแบบการบริหารและจดั การของตนเองก็ได้ นอกจากนี้ สถานศึกษา
ควรจัดระบบอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เช่น ระบบพัฒนาวิชาการ ระบบพัฒนาครูและ
บุคลากร ระบบการจัดการสภาพแวดล้อม ระบบเทคโนโลยแี ละสารสนเทศ ระบบ
การนิเทศภายใน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายส�ำคัญ
ในการพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาของสถานศกึ ษา คือ วัฒนธรรมคณุ ภาพทีเ่ กดิ ขึ้น
ในสถานศึกษา
๔. ประเมนิ ผลและตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษาภายในสถานศกึ ษา
การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เป็นระบบและกลไก ในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการด�ำเนินงานตาม
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาท่ีด�ำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ กระท�ำโดยบุคลากรในหน่วยงานหรือ
ผทู้ ่เี กีย่ วขอ้ ง สถานศึกษาต้องให้ความส�ำคัญกบั การประเมินเชงิ คณุ ภาพทสี่ ะท้อน
จุดเด่น และจุดควรพัฒนาท่ีเกิดขึ้นจากการการด�ำเนินงาน ผสมผสานกับ
การประเมินเชิงปริมาณควบคู่กันไป สถานศึกษาต้องก�ำหนดหรือมอบหมาย
ผู้รับผิดชอบในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการปฏิบัติงาน
ของครูและบุคลากรในสถานศึกษาตามบทบาทและหน้าท่ีที่ได้รับมอบหมาย
และระดับสถานศึกษาให้ชัดเจน วิเคราะห์มาตรฐานและเป้าหมายตามมาตรฐาน

20

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การศึกษาของสถานศึกษาที่ประกาศใช้ ก�ำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและ
เครื่องมือท่ีหลากหลายและเหมาะสม ด�ำเนินการประเมินผลและตรวจสอบ
คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง พร้อมทั้ง
สรุปรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อน�ำผล
การประเมินคุณภาพภายในไปจัดท�ำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
ตอ่ ไป
๕. ตดิ ตามผลการดำ� เนนิ การใหม้ ีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
เป็นการติดตามผลการด�ำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและ
แผนปฏิบัติการประจ�ำปีของสถานศึกษา เพ่ือให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ไปใช้
ปรับปรุงหรือพัฒนาการด�ำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ประเด็นท่ีสถานศึกษาติดตามผล ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการศึกษาของ
สถานศกึ ษา เช่น การพฒั นาหลักสตู รของสถานศึกษา กระบวนการจดั การเรียนรู้
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนา
บคุ ลากร กระบวนการบริหารและจัดการ การจดั สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้
เป็นต้น และการด�ำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจ�ำปีของสถานศึกษา
วา่ ด�ำเนนิ งานไดบ้ รรลตุ ามเปา้ หมาย ตวั ช้ีวัดความส�ำเร็จท่กี ำ� หนดหรือไม่ อย่างไร
สถานศึกษาสามารถติดตามผลระหว่างและเม่ือเสร็จสิ้นการด�ำเนินงานก็ได้
สถานศึกษาควรก�ำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามผล ก�ำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน
ติดตามผล วิเคราะห์และก�ำหนดกรอบพร้อมกับสร้างเครื่องมือติดตามผล
จัดท�ำระบบข้อมูลสารสนเทศ และรายงานผลการติดตามอย่างน้อยภาคเรียนละ
๑ ครั้ง

21

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๖. จดั ทำ� รายงานผลการประเมินตนเอง
รายงานผลการประเมินตนเอง (Self - Assessment Report : SAR)
ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาท่ีดี ต้องสะท้อนคุณภาพของผู้เรียนและ
ผลสำ� เรจ็ ของการบริหารจดั การศึกษา สถานศกึ ษาต้องนำ� ผลการประเมินคุณภาพ
ภายในมาจัดท�ำรายงานผลการประเมินตนเอง โดยรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลท่ัวไปและผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละ
มาตรฐานไปจัดท�ำรายงานผลการประเมินตนเองตามรูปแบบรายงานท่ีสถานศึกษา
กำ� หนด อาจเสนอเป็นความเรียง การบรรยายประกอบแผนภูมิ รปู ภาพหรอื กราฟ ฯลฯ
ตามบรบิ ทของสถานศกึ ษา โดยใช้ภาษาทอี่ ่านเขา้ ใจง่าย กระชับ ชดั เจน น�ำเสนอ
ข้อมูลท้ังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สาระส�ำคัญรายงานผลการประเมินตนเอง
แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร และส่วนท่ี ๒ ผลการ
ประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยแต่ละมาตรฐานน�ำเสนอใน ๓ ประเด็น คือ
๑) คุณภาพในแต่ละมาตรฐานอยู่ในระดับใด ๒) มีหลักฐานในการอ้างอิงผลการ
ประเมินตามประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐานอย่างไร ๓) สถานศึกษาจะมี
กระบวนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ดีขึ้น
กว่าเดิมได้อย่างไร สถานศึกษาอาจแนบภาคผนวกท่ีน�ำเสนอหลักฐานข้อมูลส�ำคัญ
หรือเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม น�ำเสนอรายงานผลการประเมินตนเอง
ตอ่ คณะกรรมการสถานศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐานให้ความเห็นชอบ และจัดสง่ รายงานดงั กลา่ ว
ต่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่ก�ำกับดูแลเป็นประจ�ำทุกปี เผยแพร่รายงาน
ต่อสาธารณชนและหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง และเตรียมรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอกตอ่ ไป
ทั้งน้ี สถานศึกษาแต่ละแห่งและหน่วยงานต้นสังกัด ต้องน�ำข้อมูลจาก
รายงานผลการประเมินตนเองและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินคุณภาพ
ภายนอกจากส�ำนักงานรบั รองมาตรฐานและประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา (องคก์ าร
มหาชน) ไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
และตอ่ เน่ือง ยัง่ ยนื ต่อไป

22

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๓ตอนท่ี
กรณศี ึกษา



๓ตอนที่

กรณศี ึกษา

กรณีศกึ ษา โรงเรยี นอนุบาลคณุ ภาพ
ท่ี ๑

โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัยต้ังอยู่
ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีครูและบุคลากร รวม ๒๕ คน
มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น ๓๒๕ คน เด็กปฐมวัยมาจากครอบครัวหลากหลายอาชีพ
และหลายระดับการศึกษา เด็กส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เน่ืองจาก
พ่อ แม่ต้องไปประกอบอาชีพหรือท�ำงานที่อื่น โรงเรียนอนุบาลคุณภาพเปิดสอน
ระดับปฐมวยั ๒ ระดับช้นั คอื ช้นั อนบุ าล ๒ (เด็ก ๔-๕ ขวบ) และชัน้ อนบุ าล ๓
(เด็ก ๕-๖ขวบ) ระดบั ช้นั ละ ๕ หอ้ งเรียน รวม ๑๐ หอ้ ง จัดกระบวนการเรียนรู้
ปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) ด�ำเนินการพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษายึดหลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(SBM) และแนวคิดเชิงระบบ PDCA จนประสบความส�ำเร็จในการด�ำเนินงาน
ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ได้รับการยอมรับจาก
ส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานการจัดการศึกษา
ปฐมวยั ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) และได้ท�ำบันทกึ ความร่วมมอื (MOU)
กับโครงการลดความเหลื่อมล้�ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (RIECE
Thailand) ด�ำเนินการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ปฐมวัยตามแนวคิด
ไฮสโคป (High Scope) และเปน็ ศนู ย์ฝึกอบรมครูปฐมวยั ตามหลักสูตรการศกึ ษา
ปฐมวยั RIECE Thailand รปู แบบ On-site training ผลการประเมินตนเองใน
ภาพรวมอยูใ่ นระดับ ยอดเยยี่ ม

25

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ มีข้ันตอนการด�ำเนินงานพัฒนาระบบการ
ประกนั คณุ ภาพภายใน สรุปได้ดังน้ี
๑. ขั้นเตรียมการและสร้างความตระหนกั
๑.๑ จัดประชุมครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา
เพ่ือชี้แจงท�ำความเข้าใจถึงความส�ำคัญของการประกันคุณภาพภายในซ่ึงจะน�ำไป
สู่การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา บทบาท และภารกิจของครู ผู้ปกครอง
และกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นและความสมัครใจ
ในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงาน
ตามระบบการประกันคณุ ภาพภายในของสถานศกึ ษา
๑.๒ ด�ำเนินการแต่งต้ังคณะกรรมการตามโครงสร้างการบริหารงาน
๔ งาน ไดแ้ ก่ งานวชิ าการ งานบคุ ลากร งานงบประมาณ และงานบรหิ ารทว่ั ไป
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
คณะกรรมการนเิ ทศภายใน และคณะกรรมการตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพภายใน
สถานศกึ ษา
๑.๓ วางแผนการด�ำเนินงานโดยการจัดท�ำแผนงาน/โครงการ/
กจิ กรรมตามภารงานของคณะกรรมการแตล่ ะคณะ

๒. ขนั้ ดำ� เนินการ
๒.๑ ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยยึดมาตรฐาน
การศกึ ษาปฐมวัย เอกลักษณ์และอตั ลกั ษณ์ของสถานศกึ ษา จดั ท�ำเป็นมาตรฐาน
การศึกษาปฐมวัยจ�ำนวน ๓ มาตรฐานโดยเพ่ิมรายละเอียดในประเด็นพิจารณา
ข้อ ๓.๒ ในมาตรฐานท่ี ๓ เป็น“จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป
(High Scope) โดยยดึ หลักการตามวงลอ้ แห่งการเรยี นรู้ (Wheel of Learning)
ท่ีเน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระท�ำ (Active Participatory Learning)
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านมุมเล่นท่ีหลากหลาย ท่ีมีส่ือและกิจกรรม

26

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ท่ีเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
และแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ภายใต้บรรยากาศของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง
ครูกบั เดก็ ”
๒.๒ กำ� หนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายความส�ำเรจ็ และจัดท�ำแผน
พัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยค�ำนึงถึงนโยบายด้านการศึกษาของ
รฐั บาล ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษา มาตรฐานของสถานศึกษา ผลการประเมนิ
ภายนอกรอบท่ีผ่านมา รวมท้ังข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอก
ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาทุกด้านในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับครูและเด็กปฐมวัย
จุดเดน่ และจุดทคี่ วรพฒั นาของสถานศึกษาของ สภาพปญั หา ความตอ้ งการและ
ความคาดหวงั ของผูป้ กครองและชมุ ชนทมี่ ตี อ่ สถานศกึ ษา
๒.๓ จัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปีโดยจัดท�ำโครงการ/กิจกรรมให้
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและงานท้ัง ๔ งาน
ตามภารกิจของสถานศึกษา และระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๒.๔ จัดท�ำแผนงาน/โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการจัด
กระบวนการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเน่ือง
แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดงั นี้
๑) กิจกรรมการพัฒนาครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา
- กิจกรรมการจัดท�ำแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย
ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)
- กิจกรรมการจัดการประชุมปฏิบัติการ “เทคนิคการจัด
กระบวนการเรยี นร้ปู ฐมวยั ตามแนวคดิ ไฮสโคป (High Scope)”
- กิจกรรมการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิด
ไฮสโคป (High Scope) โดยใช้กระบวนการ PLC
- กิจกรรมการประเมินและพัฒนาหลกั สตู รสถานศึกษา

27

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๒) กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคณุ ภาพเดก็ ปฐมวัย
- การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป (High
Scope)
- กิจกรรมการพัฒนาผู้ปกครองเด็ก “การอบรมเล้ียงดูเด็ก
ปฐมวยั ”
- กจิ กรรมพานทิ านกลบั บ้าน
- กิจกรรมค่ายวชิ าการปฐมวัย
- กิจกรรมการทศั นศกึ ษาแหลง่ เรยี นรู้
- กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
โดยจดั กจิ กรรมกลุ่มยอ่ ย
- กิจกรรมการเย่ียมบา้ นเดก็ ปฐมวัย
- กิจกรรมการประเมินพัฒนาการ และการจบหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย
๒.๕ ด�ำเนินการตามแผนงาน/โครงการอย่างต่อเน่ือง มีการประชุม
คณะกรรมการท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ประชุมครู
วางแผนการจัดกิจกรรมตามกิจวัตรประจ�ำวัน สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ประชุมครู
เพ่อื การปรับปรงุ แกไ้ ขปญั หาเด็กปฐมวยั เดือนละ ๑ คร้ัง ประชมุ คณะกรรมการ
ตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพภายในสถานศึกษาภาคเรยี นละ ๑ ครัง้
๓. ข้ันตรวจสอบและประเมินผลการดำ� เนนิ งาน
๓.๑ นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยคณะ
กรรมการนเิ ทศภายในภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
๓.๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC และทบทวนหลังการปฏิบตั ิงาน (AAR)
๓.๓ ประเมินพัฒนาการเดก็ ปฐมวัยภาคเรียนละ ๑ คร้ัง

28

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๓.๔ ประเมินและพัฒนาหลักสูตรโดยคณะครูผู้สอนทุกคน เม่ือสิ้น
ปกี ารศึกษา
๓.๕ ติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายใน
สถานศึกษาภาคเรยี นละ ๑ ครัง้
๓.๖ วิเคราะห์ผลการประเมิน เพ่ือหาจุดเด่น จุดท่ีควรพัฒนา
และจัดท�ำรายงานประจ�ำปีเผยแพร่แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง
คณะกรรมการสถานศึกษา สำ� นักงานเขตพ้ืนที่การศกึ ษาตน้ สงั กดั และสาธารณชน
๔. ขัน้ น�ำสกู่ ารปรับปรงุ และพฒั นา
- น�ำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาไป
วิเคราะหจ์ ุดเด่น จุดทีค่ วรพฒั นา เพ่ือเป็นข้อมลู สานสนเทศในการวางแผนพฒั นา
หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนา
คุณภาพเด็กปฐมวัย รวมท้ังเป็นข้อมูลในการเตรียมรับการประเมินภายนอก
รอบตอ่ ไป


29

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ห น้ า | ๑๖



แผนภาพที่ ๓ กระบวนการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของโรงเรียนอนบุ าลคณุ ภาพ
  แผนภาพท)ี 3 แผนภาพกระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลคุณภาพ

30

แแนนววททางางกการาพรพัฒฒั นนาราะรบะบบกบารกปารระปกันระคกุณนั ภคาุณพกภาารพศกึกาษราศตึกาษมากตฎากมระกทฎรกวงรกะาทรรปวรงะกกนัาครปณุ รภะากพนั กคารุณศภกึ าษพากพา.รศศ.ึก๒ษ๕า๖พ๑.ศ. 2561

กรณศี กึ ษา กระบวนการบริหารจัดการโรงเรยี น
ที่ ๒ ดว้ ยกระบวนการ ๕ รว่ ม

โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหน่ึงตั้งอยู่จังหวัดสระบุรี มีแนวคิดในการสร้าง
โอกาสเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่ีมีความเหมาะสมกับสภาพและบริบทของ
โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเอง ประชาชนมีอาชีพเป็นเกษตรกรและ
รับจ้าง นักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่�ำกว่าเป้าหมาย โดยน�ำกระบวนการ
๕ ร่วม คือ “ร่วมคดิ ร่วมทำ� ร่วมนำ� เสนอ ร่วมรบั ผดิ ชอบ และรว่ มภาคภูมิใจ”
มาใช้ในการบริหารและจัดการ มีการท�ำงานเป็นทีมร่วมกันของผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้น�ำชุมชน ผู้ปกครอง
นักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องในการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศ
การประกวดผลิตภณั ฑ์สหกรณ์นักเรียนดเี ดน่ ประจำ� ปกี ารศึกษา ๒๕๖๒ โรงเรยี น
ขนาดเล็กที่มวี ธิ กี ารปฏบิ ตั ิท่เี ป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ NT O-NET สูงกวา่
ระดับประเทศทุกวิชา ๓ ปีการศึกษาต่อเน่ือง โดยมีกระบวนการพัฒนา
ดงั แสดงในแผนภาพที่ ๔


31

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

เกดิ วฒั นธรรมคณุ ภาพทยี่ ่งั ยนื ห น้ า | ๑๖

 เวทีวชิ าการเปิดโรงเรยี นสบู่ ้าน การขบั เคลอ่ื นคณุ ภาพสมู่ าตรฐาน
 นําเสนอผลความสําเรจ็ ทางเวบ็ ไซต์
 วเิ คราะห์สภาพปัญหาและความจําเปน็
สอ่ื สงั คม เอกสารวิชาการ  จัดระบบขอ้ มลู สารสนเทศและการ
 ขอรับการประเมินรับรางวัลต่างๆ
ให้บริการ
รว่ มคิด  ประชมุ ปฏบิ ัติการผปู้ กครอง ชมุ ชน และครู

ร่วม รว่ มทํา สร้างความเขา้ ใจร่วมกัน
ภาคภูมิใจ  จัดทาํ แผนปฏิบตั ิการประจาํ ปี กําหนด

ร่วม ร่วม โครงการ/กิจกรรมตอบสนองนโยบาย
รบั ผดิ ชอบ นําเสนอ จุดเนน้ และความต้องการ
 ยกระดับผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นและ
คุณธรรม จริยธรรมของผ้เู รยี นแบบบรู ณา
การ เช่น พส่ี อนนอ้ ง เพ่อื นสอนเพอ่ื น
วางทกุ งานอา่ นทกุ คน ห้องสมดุ เคล่อื นที่
แข่งขันตอบปัญหา หนังสอื เลม่ เล็ก เป็นต้น

 ใชเ้ ครอื ขา่ ยพันธมิตรพฒั นาคุณภาพ
 รวบรวมร่องรอยหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์

การนาํ ความเปลย่ี นแปลงสสู่ ถานศกึ ษา การประเมนิ ความสาํ เรจ็ ตามมาตรฐาน
 รู้ตน (เรียนรู้จุดอ่อน อปุ สรรค)  ใชก้ ระบวนการนิเทศภายใน
 ร้ทู ัน (เปล่ียนแปลงคุณภาพท้งั  ติดตามตรวจสอบคณุ ภาพผเู้ รยี น

ระบบให้ทันการณ์) ประสทิ ธผิ ลการจดั การเรยี นการ
 สร้างสรรคพ์ ัฒนา (เกิด สอนของครู กระบวนการบรหิ าร
ภาคเรียนละ ๑ คร้ัง
กระบวนการ แบบอยา่ งที่ด)ี  แลกเปลย่ี นเรียนรู้ (PLC) ทบทวน
หลังการปฏบิ ตั ิงาน (AAR)
 รบั การนิเทศ ตดิ ตามจากต้นสังกดั
 สรุปการประเมนิ คณุ ภาพ
การศึกษาและจดั ทํารายงาน SAR

แผนภาพที่ ๔ แสดงกระบวนการบริหารจดั การโรงเรียนดว้ ยกระบวนการ ๕ รว่ ม
  แผนภาพที่ 4 แสดงกระบวนการบรหิ ารจดั การโรงเรียนด้วยกระบวนการ ๕ ร่วม

32

แนวทางการพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

กรณีศึกษา เรยี นรหู้ ว่ งโซค่ ณุ ภาพโรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา
ท่ี ๓

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กแห่งหนึ่ง มีครูจ�ำนวน ๕ คน มีนักเรียน
จ�ำนวน ๙๗ คน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีท่ี ๒ ถึงช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๖
ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการแต่งต้ังมาท�ำหน้าท่ีผู้อ�ำนวยการโรงเรียน เมื่อต้นปี
การศกึ ษา ๒๕๕๙ หลังจากมารบั ต�ำแหนง่ ได้น�ำแนวคิด “ห่วงโซ่คุณภาพ” (Chain
of quality) ในการขับเคล่ือนระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มี
ความเข้มแขง็ ดงั นี้
๑. สร้างความเข้าใจให้กับครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
ผู้ปกครองนักเรียน ผู้น�ำทางศาสนา ผู้น�ำชุมชน ด้วยการจัดประชุมและเสวนา
แลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ ๓ ครง้ั เพือ่ วิเคราะห์สภาพปญั หาและความต้องการของ
ผู้เก่ียวข้อง ก�ำหนดอุดมการณ์และเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนท่ีชัดเจน
รว่ มกัน คอื “การศกึ ษาของเด็ก ชว่ ยยกระดบั คุณภาพชีวติ ท่ดี ี”
๒. จัดระบบบริหารและการน�ำองค์กรให้ชัดเจน โดยจัดท�ำแผน
พัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนซ่ึงถือเป็นแผนระยะยาวท่ีสถานศึกษาใช้เป็น
แนวทางในการจัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปี มุ่งเน้นกระบวนการสร้างคุณภาพ
มาตรฐานการศึกษาท่ีสถานศึกษาก�ำหนดจากการประชุม เสวนา แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น การจัดระบบบริหารให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดผู้รับผิดชอบหลัก
ค�ำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วม ความถนัดและความต้องการของบุคคล
ใช้เทคโนโลยีในการจัดระบบสารสนเทศ มีการก�ำกับติดตามการด�ำเนินงาน
ตามระบบ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อบรรยากาศการจัด
การเรยี นการสอนทงั้ ในและนอกห้องเรยี น

33

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

๓. การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
ในการวิเคราะห์ ออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดกระบวนการเรียน
การสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระท�ำและได้ใช้กระบวนการคิด ตามแนวการจัด
การเรียนการสอนแบบ Active Learning น�ำกระบวนการของชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้ข้อมูลสะท้อนกลับเพ่ือพัฒนา
ศักยภาพบุคลากรน�ำไปสูก่ ารปรบั ปรงุ การเรยี นการสอนใหเ้ ป็นครูมอื อาชีพ
๔. การจดั การเรยี นการสอนทีม่ ีคณุ ภาพตามมาตรฐานการเรยี นรู้ ตัวช้ีวดั
ของหลักสูตรสถานศึกษาผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูใช้สื่อและ
เทคโนโลยีท่เี หมาะสมกับผเู้ รยี น ทันยุค ทนั สมัย พฒั นาคุณภาพการเรียนการสอน
และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคลจากผลการประเมินผู้เรียนระหว่างเรียนด้วย
เคร่ืองมือและวิธีการวัดและประเมินผลตามเป้าหมายในทุกช่ัวโมงการสอน
นำ� นวัตกรรมมาใชแ้ กป้ ญั หาการเรียนรขู้ องผู้เรียน
๕. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้บริหาร ครู นักเรียน
ผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมใน
การขับเคล่ือนคุณภาพผู้เรียน ผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน มีโอกาสได้
ตรวจสอบคณุ ภาพผเู้ รียน คุณภาพการบริหารและการจดั การ และคุณภาพการจดั
การเรียนการสอน เพ่ือการพัฒนาและยืนยันคุณภาพให้เป็นการยอมรับจาก
ชมุ ชนและหน่วยงานท่ีเกย่ี วขอ้ ง

34

แนวทางการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

การมสี ว่ นรว่ มของผู้มสี ่วนไดส้ ว่ นเสีย ผลลัพธ์

สร้าง จัดระบบ การ การจัดการ 1. ผู้เรียนรู้ เพื่อสร้างงาน
ความเข้าใจ บรหิ ารและ เสรมิ สร้าง เรียนการ และคุณภาพชีวิตที่ดี
การนาํ องคก์ ร ศักยภาพ สอนทม่ี ี
ใหช้ ัดเจน บุคลากร คุณภาพ 2. ผู้ร่วมสร้างสรรค์
นวัตกรรม เพื่อสังคม
ที่มั่นคง ม่ันค่ัง และ
ยั่งยืน

3. พลเมืองที่เข้มแข็ง
เพื่อสันติสุข

แผนภาพที่ ๕ ห่วงโซ่คแผณุ นภภาพาทพ่ี 5ขหอ่วงงโกซา่คุณรจภาดั พกขอางรกาศรึกจดั ษกาาร ศ(ึกCษhา ain of quality)
ปรบั ปรุงจาก Evaแผlนuภaาพtทio่ี 5nแสInดงdแนicวคaดิ tหoว่ งrโซsค่ ณุfoภาrพE(Cdhauincoaftqiuoalnity)Reviews in Early
ปรบั ปรงุ จาก Evaluation IndiCcahtoirlsdfhoroEodudcatSioenrRveivcieewss. in(๒Ea๐rl๐y C๔h)ildhood Services. (๒๐๐๔)

สถานศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการด้วยห่วงโซ่คุณภาพนําโดยผู้บริหารท่ีเป็นผู้นําทางวิชาการสูง

เจชะ่น เสเดรียิมวสกรัน้าสงถศัากส่งนยผภศลาตึกพ่อษคคราุณูผทู้ภสี่มอาพนีรกใะหาบร้เปจบัด็นบกบาุครรลิหเราาียกนรรกจทา่ีัมดรีคกสวอาานรมทดสี่มา้วีปมยราะหรสถ่วิททงธาโิภงซาวพ่คิชาุณกกาาภรรกาํามพหีภนนาดว�ำะเโปผด้าู้นหยํามผทาาู้บยงทรวี่ทิชิห้าาาทกร้าายทร ่ี
แสเวปงห็นาวผธิ ู้นกี า�ำรทหราอื งนววัติชการกรมาใรหมส่ทูง่ีจจะะทําเสใหร้ผิมู้เรสียนรบ้ารงรลศุเักป้ายหภมาายพท่ีตค้ังรไวูผ้ จู้สัดอกานรเใรหียน้เปรู้ท็นี่สนบุกุคกรละาตกุ้นใรหท้คิด่ีมี
อคแัลนวคกะาเนาวทมื่อรารด่งวมจลมมอัดสามงกาจทือามาําอกรายกกเร่าาราถงรรียดเททรนีจีย่ีทาากนุกงการควผู้สรนชิู้มู่กสทีาสาอุกร่กวนปฝนา่ฏาทไรยดิบ่ีมม้สมัตีีปอ่วิทีภุดนํราามใเะสหวกสีย้เะากิทรผิดผณธปู้นู้บิภ์แฏรำ� ลิิาหสทะัมพาาเพรปงัน้ากควธหราิช์ทมู รานี่ดากกีรัยก�ำะาทเหรหรี่ชียวเันด่นชาเงดจ่นกผเนันเู้ปปรดแก่ว้ายีลมคหะวกรกมกอันันางนัจยกาคกทาสรรคง่่ีทอจวผบัด้าาลคกทมารตเ้าชรัวอ่ยศื่อแึกคแมลษโะุณสยาชวงไภุมดงขชา้รหอับนพงา
กาวรปิธฏีกบิ าัตริงหานรดืองั นกลวา่ ัตวมกน่ั รใรจมไดใว้ หา่ ผม้เู ร่ทยี ่ีจนะมทคี ุณ�ำภใหาพ้ผไู้เดร้มียาตนรบฐารนรตลาุเมปท้าีส่ ถหามนาศึกยษทา่ีตกาํั้งหไวนด้ อจยัดา่ กงแานรน่ เอรนียนรู้ท่ี
สนุกกระตุ้นให้คิดและทดลองท�ำ การเรียนรู้สู่การปฏิบัติท�ำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างกันและกัน การจัดการศึกษาได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้มีส่วนได้
สว่ นเสีย ผ้บู ริหาร ครู นกั เรยี น ผูป้ กครอง ครอบครัวและชมุ ชน อันเน่อื งมาจาก
การท่ีทุกคนทุกฝ่ายมีอุดมการณ์และเป้าหมายท่ีชัดเจนร่วมกันจากความเช่ือมโยงของ
การปฏิบัติงานดังกล่าวม่ันใจได้ว่าผู้เรียนมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่สถานศึกษา
ก�ำหนดอยา่ งแนน่ อน

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

35

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

กรณีศึกษา กระบวนการพฒั นาระบบการประกนั คณุ ภาพภาย
ท่ี ๔ ในสถานศกึ ษา โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ

โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีการจัดระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษาด้วยกระบวนการ PDCA เป็นเครอื่ งมือในการ
ก�ำกบั ติดตาม ตรวจสอบ พฒั นาและจดั เก็บขอ้ มูลจากการปฏบิ ตั ิงานตามสภาพจริง
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้เก่ียวข้องทุกฝ่ายในการวางระบบและด�ำเนินงานโดย
ผ่านกิจกรรมวิเคราะห์องค์กรท่ีสะท้อนผลการปฏิบัติงานตามบริบทของ
สถานศึกษาและสอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา มีการสรุปประเมิน
และรายงานผลการก�ำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพภายใน
สถานศึกษาให้กับผู้เกี่ยวข้องทราบและน�ำผลจากการประเมินคุณภาพภายใน
สถานศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการด�ำเนินงาน
๘ ขั้นตอน คือ ๑) ก�ำหนดมาตรฐานการศึกษา และก�ำหนดการปฏิบัติงาน
การบริหารงานภายใน ๘ ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายจริยธรรม
ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายธุรการ-การเงิน ฝ่ายบริการสัมพันธ์ชุมชน ฝ่ายอาคาร
สถานที่ และฝ่ายนโยบาย ซึ่งมีการจัดท�ำโครงการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษา ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับก�ำหนดมาตรฐานการศึกษา ๒) จัดท�ำแผน
พัฒนาการจัดการศกึ ษา ๓) จัดระบบบรหิ ารและสารสนเทศ ๔) ดำ� เนนิ งานตาม
แผนพัฒนาการจัดการศึกษา ๕) ติดตามตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
โดยคณะกรรมการบริหารภายใน ๘ ฝ่าย ๖) ประเมินคุณภาพภายในตาม
มาตรฐานการศกึ ษา ๗) จดั ทำ� รายงานประจำ� ปี และ ๘) พัฒนาคุณภาพการศกึ ษา
อย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบส่งผลให้ได้รับความม่ันใจต่อระบบการบริหารและ
การจัดการของสถานศึกษาจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ชมุ ชน/ทอ้ งถ่ิน และผมู้ ีส่วนเกย่ี วขอ้ งเปน็ อย่างดี ซึง่ มี ดังน้ี

36

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ห น้ า | ๒๐

ระบรบะกบบากราปรรปะระกกนั ันคคณุุณภภาาพพภาภยาในยสใถนาสนศถึกาษนาศโกึรงษเรายี นโอรนงบุเรายีลคนณุ อภนาุบพาลคณุ ภาพ

โครงการพฒั นาคณุ ภาพตาม วิเคราะห์สภาพปัญหาขององคก์ ร
มาตรฐานการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน จากการทํา SWOT

 กาํ หนดมาตรฐานการศกึ ษา กําหนดวธิ ปี ฏิบตั ิงานการ
บรหิ ารงานภายใน (๘ ฝา่ ย)

 จัดทําแผนพัฒนาการจดั การศึกษา

โครงการตดิ ตามตรวจสอบ  จัดระบบบรหิ ารและสารสนเทศ โครงการตดิ ตามตรวจสอบ
คุณภาพภายในสถานศกึ ษา  ดําเนินงานตามแผนพัฒนาการจดั การศึกษา คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษา

 ติดตามตรวจสอบคณุ ภาพ  ประเมินคณุ ภาพภายในตามมาตรฐาน
การจดั การศกึ ษา (๘ ฝา่ ย) การศึกษา

ประชุมทบทวนฝ่าย พบ

ไมพ่ บ

 จดั ทาํ รายงานประจําปี

 พฒั นาคุณภาพการศกึ ษา
อยา่ งตอ่ เน่อื ง

37

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

กรณศี กึ ษา โรงเรยี นวิถีคณุ ภาพ
ท่ี๕

โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีท่ี ๖
นักเรียนจ�ำนวน ๑๐๕ คน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในปกครองของปู่ย่าตายาย
ขาดความอบอุ่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่�ำ และเส่ียงต่อการถูกยุบเน่ืองจากอยู่ใน
เ ข ต บ ริ ก า ร ข อ ง โ ร ง เ รี ย น แ ม ่ เ ห ล็ ก ที่ มี ขี ด ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ดึ ง ดู ด สู ง
เป็นความท้าทายที่โรงเรียนต้องแสวงหากลยุทธ์ในการรับมืออย่างรัดกุม
จากการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนา โรงเรียนมีผู้บริหารโรงเรียนและครูทุกคน
มี จิ ต วิ ญ ญ า ณ ข อ ง ค ว า ม เ ป ็ น ค รู มี ค ว า ม เ ข ้ า ใ จ ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง สั ง ค ม แ ล ะ
การเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ท่ีดีกับชุมชน จึงเกิดรูปแบบการพัฒนา
ท่ีเรยี บง่ายในวิถีการท�ำงานปกติองิ แนวคิดร่วมแรงรวมใจกับชมุ ชน (Community-
Collaborative Approach) และบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนอิง
แนวคิด Team-Teaching และควบคมุ คุณภาพด้วยกระบวนการ PLC ท้ังระหวา่ ง
ทีมครูผู้สอน และระหว่างครูกับชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีผลทดสอบระดับชาติ
ทั้ง NTและ O-NET สงู ขึ้นต่อเนื่องต้งั แตป่ ีการศึกษา ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ นักเรียน
และชุมชนมีความรักและศรัทธาต่อโรงเรียน เข้ามาร่วมแรงร่วมพลังพัฒนา
คณุ ภาพการศึกษาของลูกหลานใหย้ ง่ั ยนื ตลอดไป ดังแสดงในแผนภาพที่ ๖

38

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ขน้ั วางแผนพฒั นาคณุ ภาพ : ครู ผูปกครอง ชมุ ชน รว่ มกนั

¦ ก�ำหนดคุณภาพผู้เรียน ¦ ก�ำหนดบทบาทการร่วมพัฒนาของครู
¦ ก�ำหนดกลยุทธ์ในการพฒั นา และชุมชน
¦ ก�ำหนดมาตรฐานสถานศกึ ษา

ครู ผูป้ กครองและชมุ ชน
รว่ มก�ำหนดและพฒั นา
มาตรฐานสถานศกึ ษา

ครู ผปู้ กครอง ครูและผปู้ กครอง
และชมุ ชนรว่ มประเมนิ รว่ มแรงรว่ มพลังดำ� เนินการ
จดั การเรียนการสอนและควบคุม
มาตรฐานสถานศกึ ษา คณุ ภาพผู้เรยี น
และใชผ้ ลประเมินเป็นฐาน

การพัฒนาคณุ ภาพตอ่ เนื่อง

ชนั้ ประเมินและใชผ้ ลประเมนิ มาตรฐานสถานศกึ ษา ข้นั ดำ� เนินการและควบคุมคุณภาพ

¦ ครทู ุกคนท�ำ SAR ของตนเอง ¦ ครรู ่วมกนั สรา้ งทมี และเป้าหมายพฒั นาคุณภาพนกั เรยี น
¦ ครูทกุ คนรายงานคณุ ภาพผู้เรยี นต่อครูในทีม โรงเรียน : ทมี ปฐมวยั , ทมี ป.๑-๓ และทีม ป.๔-๖

ผปู้ กครองและชุมชน ¦ ครูแต่ละคนควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนดว้ ย
¦ ครู ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา ร่วมประเมิน test-led strategy (สอน สอบ/ประเมิน และบันทกึ ผล
การประเมนิ อยา่ งเป็นระบบ) ทีมแตล่ ะชนั้ ควบคมุ คุณภาพ
สถานศกึ ษา การเรียนการสอน/คณุ ภาพนกั เรียน และนเิ ทศภายใน
¦ คณะกรรมการสถานศึกษารว่ มวิเคราะหค์ วามสำ� เรจ็ ด้วยกระบวนการ PLC

ตามเป้าหมาย จุดแขง็ จุดพัฒนา เพ่อื พัฒนาตอ่ เน่ือง ¦ ครแู ละผปู้ กครอง สร้างรปู แบบควบคมุ คุณภาพนักเรียน
ดว้ ยเครือข่ายสังคมออนไลน์

แผนภาพที่ ๖ รปู แบบการบรหิ ารงานเชิงระบบ (PDCA) โรงเรยี นวถิ ีคุณภาพ


39

แนวทางการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑

กรณศี กึ ษา กระบวนการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ท่ี ๖ สถานศกึ ษา โรงเรยี นอนบุ าลคุณธรรม

โรงเรียนอนุบาลคุณธรรมเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีกระบวนการ
ในการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพภายในของสถานศกึ ษา ๕ องค์ประกอบ ดังน้ี
๑) มีการก�ำหนดเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพ จากการวิเคราะห์จุดเน้น
บริบท ความตอ้ งการของสถานศกึ ษา นโยบายและจุดเน้นจากหน่วยงานต้นสงั กัด
มาตรฐานการศึกษาระดับต่าง ๆ และจากผลการประเมินคุณภาพภายในและ
ภายนอกท่ีผ่านมา มาก�ำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ที่จะน�ำไปสู่การจัดท�ำ
แผนพฒั นาคณุ ภาพการศึกษา และแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำ� ปี
๒) การขับเคล่ือนคุณภาพสู่มาตรฐาน มีการออกแบบระบบการท�ำ
แผนงานโครงการหรือกิจกรรมรองรับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (PLC) และมีกระบวนการนิเทศ กำ� กบั ติดตาม ตรวจสอบการดำ� เนนิ งาน
๓) การประเมินความส�ำเร็จตามมาตรฐาน มีการนิเทศ ติดตาม
ตรวจสอบ จากหลายระดับโดยยึดหลักการกระจายอ�ำนาจแบบมีส่วนร่วม
จากผู้บริหาร หัวหน้ากล่มุ งาน หวั หน้ากลมุ่ สาระ หวั หนา้ งาน และมีการประเมิน
และรายงานผลการดำ� เนินงาน โดยใชก้ ระบวนการทหี่ ลายหลาย เชน่ การทบทวน
หลงั ปฏิบัตงิ าน (After action review : AAR) ผา่ นกระบวนการ PLC เพอื่ สรุป
ผลและหาแนวทางในการ
๔) การน�ำการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษาและการสร้างคุณค่า
แก่วงวิชาการ มีกระบวนการด�ำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล
ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม ผู้เรียนมีความสามารถ

40

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑

ในการอ่าน การเขียน การส่ือสาร และการคิดค�ำนวณ มีการคิดวิเคราะห์
มีความสามารถในการสร้างนวตั กรรมท่คี รูทำ� หน้าท่เี ป็น Coach ใช้การจัดการเรยี น
การสอนในรูปแบบ PBL (Project-Based Learning) ก่อให้เกิดการพัฒนา
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการอย่างเป็นรูปธรรมที่มีการวางแผน
การด�ำเนินการระยะยาวในรูปแบบของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ
แผนปฏิบัติการประจ�ำปี และก่อให้เกิดคุณภาพด้านกระบวนการจัดการเรียน
การสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญอย่างหลายหลาย เช่น จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดว้ ยกระบวนการ ๕ Steps (QSCCS) บันได ๕ ขัน้ (๕L) จดั การเรยี นการสอน
โดยใช้รูปแบบ STEM จัดการเรียนรู้โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใชก้ ระบวนการวจิ ยั QPAR เป็นตน้
๕) การเกิดวฒั นธรรมคณุ ภาพทีส่ ะท้อนการพัฒนาท่ยี ง่ั ยืน มกี ารบริหาร
โดยยึดหลักการของระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยการด�ำเนินการประกัน
คุณภาพรายบุคคลท่ีครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องด�ำเนินการพัฒนาตัวเอง
และคุณภาพการจัดการศึกษา มีการประเมินและรายงานผลการประกันคุณภาพ
รายบุคคลเพื่อความมีประสิทธิและย่ังยืน ด�ำเนินการสร้างให้โรงเรียนเป็นสังคม
แหง่ การเรียนรู้ ผ่านกระบวนการจัดชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)


41

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑


Click to View FlipBook Version