จากการอา่ นการศึกษา
ของผ้ถู กู ก ด ข่ี
สู่
“การเขียนงานการศึกษาเพ่ือการพัฒนามนุษย์ สังคม”
จากการอา่ นการศึกษา
ของผู้ถกู ก ด ข่ี
สู่
“การเขยี นงานการศึกษาเพื่อการพัฒนามนษุ ย์ สังคม”
บทนาํ
จากการอ่าน (การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี) ของเปลโล แฟเร และการเร่ิมต้นเขียนสู่สาธารณะ
เป็นปฏิบัติการทางวัฒนธรรมเพ่ือสร้างการเปล่ียนแปลง เราเริ่มวางเป้าหมายการเขียนงานคร้ังน้ี
กันด้วยเป้าร่วมเช่นน้ี งานทุกชิ้นเริ่มต้นจากการอ่านหนังสือ การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี ของนักศึกษา
วชิ าการศึกษาเพื่อการพัฒนา (สค. 465) ของคณะสังคมสงเคราะห์ ศาสตรม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
ภาคการศึกษา 1/2564 จากการอ่าน สู่การคิดโจทย์ คําถามท่ีเกิดขึ้นและขยายความต่อด้วยข้อเขียน
ซึ่งเป็นจุดเร่ิมต้นท่ีคาดหมายเพ่ือสื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อเป็นบทเรียนรู้ที่ค้นเจอและร่วมแลกเปลี่ยน
พู ดคุยกับผู้คนในสังคม ทั้งผู้สนใจงานของเปาโล แฟเร ผู้สนใจประเด็นการศึกษาเพ่ือการพัฒนา
มนษุ ย์ สังคม และผู้อา่ นท่วั ไป
เราหวังจะเห็นผูค้ นค้นเจอการศึกษาที่แทท้ ่ีทาํ หน้าทีค่ ืนความเปน็ มนุษย์ให้กบั ผู้คนในสังคมร่วม
ส่งความปรารถนาดีต่อมนุษย์ทุกคน
ในชั้นเรยี นการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาค 1/2564
สารบัญ
เรื่อง หน้า
1. เรงิ ณรงค์ สุขกลดั 6105610627 1-5
6105680489 6-7
2. ชษิ ณุชา สุวารักษ์ 6105681065 8 - 11
6105681214 12 - 15
3. ณภทั รพิม วงศโภชย์ 6105681644 16 - 20
6119610548 21 - 25
4. มติ ราภา เรืองรกั ษ์ 6205490029 26 - 28
6205610089 29 - 32
5. คัธรินทร์ บวั ทอง 6205610220 33 - 36
6205610287 37 - 40
6. วรรณวิไล กิ่งมะลิ 6205610311 41 - 44
6205680835 45 - 50
7. ปทั มพร นนั ทมงคลชัย 6402460049 51 - 52
6402460486 53 - 55
8. กัญญาพัชร ศรที ํานา 6402465121 56 - 59
6402465212 60 – 61
9. ปญั จรัตน์ จีนมหันต์
10. ประภาพรรณ จิตชาญวชิ ยั
11. ศศิประภา บัวนารถ
12. ธนวัฒน์ พักวัด
13. คณุ กร สิทธิพานิชชกลุ
14. เอเปค ตตยิ ากิตติ
15. ณฐั นนท์ นามวงศ์
16. นธิ ณิ ัฐ พงศ์ธเนศ
ในบริบทของเปาโล แฟร์ มโนธรรมสํานึก ไมใ่ ช่ สํานึกในความผิด ถูก ชว่ั ดี
หรือสํานกึ ในทางศีลธรรม จรรยา
แตห่ มายถึง ความสํานกึ ในความขัดแยง้ (Contradiction)
“… สําหรับแฟร์เขามองว่ามันต้องเป็นการศึกษาที่ทําให้ผู้ถูกกดข่ีเห็นโลกอย่าง
ท่ีมันเป็นจริง ๆ การศึกษาต้องมุ่งลงไปที่การแก้ไขปัญหาของมวลมนุษย์
มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การศึกษาแบบใหม่ ต้องทําลายความเช่ือ
งมงายโดยใช้การเสวนาแทนการสอน เพราะการเสวนาจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ
คดิ แบบ สามารถกอบกู้ความเป็นมนุษยก์ ลบั คืนมาได้”
- เปาโล เฟรเร -
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เรงิ ณรงค์ สุขกลัด 6105610627
“เ ด็ ก ไ ม่ รู้ จั ก โ ต ” - ก า ร ผ ลิ ต ซ้ํ า อ นุ ผู้ ก ด ข่ี จ า ก ผู้ ถู ก ก ด ข่ี วิ พ า ก ษ์
ผ่านการศึกษาของผ้ถู ูกกดขข่ี องเปาโล เฟรรี
26 ตลุ าคม 2564 – เรงิ ณรงค์ สุขกลัด
“ไอเด็กไม่รู้จกั โต…”
คือ ถ้อยคําตําหนิติเตียนท่ีจะมอบให้กับเด็ก ๆ เวลาท่ีเขาขาดคุณสมบัติสําเร็จรูปหน่ึงใด
ของการเป็นผู้ใหญ่ เช่น เร่ืองของการเล้ียงดูตนเอง การท่ียังทํากิจกรรมบางอย่างเช่นเด็ก ๆ
อยา่ งการเลน่ เกม เกบ็ สะสมของเลน่ เป็นต้น
น อ ก จ า ก น้ี ใ น ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น ฉ บั บ 2554 ยั ง บ ร ร จุ ว ลี ท่ี ว่ า ”เ ล้ี ย ง ไ ม่ รู้ จั ก โ ต ” ไ ว้
โดยให้คํานิยามต่อวลีดังกล่าวไว้ว่า “ก.เล้ียงจนโตควรจะพึ่งพาตนเองได้แล้ว แต่ก็ยังขอเงินและข้าว
ของเป็นต้นจากพ่ อแม่, เล้ียงจนโตแล้วยังประจบออเซาะพ่ อแม่เหมือนเด็ก ๆ” ซ่ึงจากนิยามน้ี
แสดงถึงคุณสมบัติสองประการของ “ความโต” ไว้ ได้แก่ การพึ่ งพาตนเองได้ อันหมายถึง
การท่ีบุคคลต้องหาเล้ียงชีพได้ด้วยตนเอง ไม่ขอเงินหรือส่ิงของจากผู้ปกครอง และการยืนหยัด
เด็ดเด่ียว ไม่ต้อง “ออเซาะ” ผู้ใด หรือวลีดังกล่าวอาจถูกนําไปมอบให้กับเด็กท่ีมักลองผิดลองถูก
จากความสนใจใคร่รู้ ท่ีผู้มีคุณสมบัติสําเร็จรูปมักห้ามปรามว่า “อย่าทําอะไรโง่ ๆ “ เป็นต้น ท้ังน้ี
ในความเป็นจริงคุณสมบัติของการเป็นผู้ใหญ่น้ันมีมากข้อมากกว่าน้ี ซ่ีงเด็ก ๆ จะต้องถูกบังคับให้
เรียนรู้ หากไม่อยากถกู ตาํ หนติ ีตราด้วยวลขี า้ งต้น
อย่างไรก็ดีการเรียนรู้การเป็นผู้ใหญ่สําหรับสังคมไทยน้ันอาจไม่จําเป็นต้องจ่ายค่าหลักสูตร
เรียนแพง ๆ ดังเช่นท่ีมีในอังกฤษในนาม Adulting School ท่ีเน้นสอนทักษะในการดําเนินชีวิต
ของผใู้ หญ่ ในร่นุ ก่อน ๆ ซ่งึ อาจตามไม่ทนั สมัยนกั แตก่ ม็ จี ุดทแ่ี ลกเปล่ยี นกนั ได้บ้าง แต่สําหรบั เด็ก ๆ
ในไทยน้ันห้องเรียนของพวกเขาอยู่รอบตัวในทุกมิติของสังคม และคุณครูของพวกเขาก็ช่ังดูแล
ใกลช้ ดิ จนแทบไม่เว้นช่องว่างใหห้ ายใจในทุกมติ เิ ช่นกนั โดยคอร์สทเ่ี รียนน้นั มชี อ่ื “ระบบอาวุโส”
ระบบอาวุโสน้ันเป็นระบบท่ีอยู่คู่สังคมไทยมานานโดยอาจจะพัฒนาต่อยอดมาจากระบบศักดินา
ท่ีมีการแบ่ง “ศักด์ิ” กันด้วยท่ีนา หรือ ในทางหน่ึงอาจมีมาก่อนศักดินาด้วยซ้ําเน่ืองจาก การนับถือ
คนท่ีอายุมากกว่า หรือฐานะสูงกว่าตนน้ันเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของประเทศจํานวนมากในแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ่ึงระบบความคิดน้ีแฝงตัวอยู่ในทักมิติของชีวิต หรือบางคร้ังอาจไม่เว้น
แม้แต่ในหัวจิตหัวใจของเรา ดังเช่น ในระบบรัฐราชการ ไม่ว่าจะข้ึนกับกระทรวงใด ๆ ก็จะมีการแบ่ง
สายงานการบังคับบัญชาออกมาเป็นแผนผังแบบ Top-Down เลือกปฏิบัติมีท่ีรักมักท่ีชัง ในวงการ
ศึกษา “เด็กใหม่” ก็จะพบกับรุ่นพี่ การนับถือรุ่น ระบบ SOTUS ห้องเชียร์ ครูใหญ่ รองครูใหญ่ ฯลฯ
กระท่ังในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยจํานวนมากก็ยังสมาทานในวัฒนธรรมองค์กรแบบ “Old
school” เช่น การเลือกปฏิบัติในการเล่ือนตําแหน่งหรือการรับเข้าทํางานผ่านระบบรุ่นพ่ีรุ่นน้อง
1
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ของมหาวิทยาลัยตน หรือ ย่อยลงมาในสถาบันสังคมแรกสุดเช่นครอบครัว เด็ก ๆ ก็สามารถเรียนรู้
การเปน็ ผใู้ หญจ่ ากผู้ปกครอง พ่ีชาย พี่สาว ไปจนถงึ มิตรขา้ งเรือนได้
แน่นอนว่าเน้ือหาหลักสูตรน้ีอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละปัจจัยของบุคคล เช่น เศรษฐฐานะ
ระดับของสถาบันทางสังคม พ้ืนท่ีวัฒนธรรมท้องถ่ิน อย่างไรก็ดีระบบอาวุโส อันเป็นแบบอย่างของ
ความโตในแต่ละปัจจัยน้ีก็มีส่วนเช่ือมกันอยู่ท่ีนอกเหนือจากการมีความรับผิดชอบท่ีสูงข้ึนแล้ว(ท่ีใน
ความเป็นจริงอาจหมายถึงการน่ังอยู่ในห้องออฟฟิศส่วนตัวคอยลงลายมือช่ือบนกระดาษต่าง ๆ
ก่อนจะโยนภาระงานมาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา) ระบบอาวุโสน้ียังได้ฉายภาพแบบอย่างของความโต ใน
ฐานะท่ีเป็นบ่อเกิดของ ทรัพย์สิน สิทธิพิเศษ ความเป็นอิสระ(อย่างจํากัด) และสิ่งท่ีสําคัญท่ีสุดคือ
“อํานาจ” ในระดับต่าง ๆ อันเป็นสัญญะสําคัญของ “ความโต” ไปเป็นผู้ใหญ่ และขณะเดียวกันก็เป็น
เคร่อื งมือสําคญั สําหรบั การกดข่อี ย่าง(ไม)่ ชอบธรรม
“เพราะมีอํานาจ ฉนั จงึ กดข่”ี
คําว่ากดข่ีตามนิยามของ เฟรรี หมายถึง การกระทําใด ๆ ท่ีเป็นเหตุของภาวะการสูญเสีย
ความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) ซ่ึงเฟรรีกล่าวว่าสิ่งน้ีคือความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ใน
ลักษณะเดียวกับท่ีมาร์กกล่าวถึงลู่ทางวิวัฒนาการของสังคมผ่านความขัดแย้งของชนช้ันตาม
ประวัติศาสตร์ในแนวคิดวัตถุนิยมวิภาษณ์ ท้ังสองแนวความคิดน้ีช้ีว่าประวัติการกดข่ี หรือ การ
ลดทอนความเป็นมนุษย์น้ันเกิดข้ึนในทุกขณะของประวัติศาสตร์มาร์กช้ีว่าส่ิงน้ีคือองค์ประกอบหน่ึง
ของความขัดแย้งอันนําไปสู่การขับเคล่ือนสังคมมุ่งสู่สังคมระดับท่ีสูงกว่า และได้รับการยืนยันโดยเฟร
รที ช่ี ้วี ่า การกดขน่ี ้มี ีอย่จู ริง ดังวา่
ขณะท่ีท้ังการทําให้เป็นมนุษย์และการสูญเสียความเป็นมนุษย์ เป็นทางเลือกท่ีมีอยู่จริง
ทางแรกเท่าน้ันท่ีเป็นกิจการงานของประชาชน ภารกิจน้ีถูกปฏิเสธตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการ
ยื น ยั น จ า ก ก า ร ป ฏิ เ ส ธ น้ั น เ อ ง มั น ถู ก ข ว า ง โ ด ย ค ว า ม อ ยุ ติ ธ ร ร ม ก า ร ขู ด รี ด ก ด ข่ี
และความรนุ แรงของผูก้ ดข…่ี
ดังน้ันเด็ก ๆ ซ่ึงในทางหน่ึงก็คือปัจเจกชนผู้ยังไม่บรรลุซ่ึงนิติภาวะตามกฎหมาย นอกจาก
จะได้เรียนรู้การโตเป็นผู้ใหญ่จากการสังเกตจากภายในหน่วยสถาบันสังคมต่าง ๆ แล้ว เด็ก ๆ ยังได้
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านการเป็น “เหย่ือ” จริง ๆ ของการกดข่ีของอํานาจในแต่ละระดับอีกด้วย
โดยร้อยเรียงมาต้ังแต่ระดับนานาชาติท่ีประเทศโลกท่ีหน่ึง ต่าง ๆ จะเข้ามากดข่ี ขูดรีดประเทศโลกท่ี
สามผ่านการดึงเอาทรัพยากรและแรงงานไปเพ่ือใช้ในการผลิต ผ่านกลไกตลาด การยึดครอง
นโยบาย ฯลฯ ตามทฤษฎีระบบโลก (World system theory) ถัดมาในระดับของรัฐท่ีเป็นสถาบัน
สําคัญในการวางโครงสร้างของสังคมในทุกมิติ ก็ยังเป็นบ่อเกิดสําคัญของการกดข่ีเช่นกัน ดังเช่น
มิติการเมืองท่ีฝ่ายผู้ถืออํานาจรัฐมักกดข่ี รังแกฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเห็นต่างทางการเมืองผู้ไม่ยอม
เช่ือฟังท้ังผ่านกลไกการเมือง และความรุนแรง การออกแบบวางหลักสูตรการศึกษาท่ีมักอิงตาม
ความต้องการความต้องการของตลาดและนายทุน หาใช่ความต้องการของเด็ก ๆ และประชาชนไม่
2
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
หรืออีกทางหน่ึงอาจออกแบบโดยร่วมมือกับชนช้ันสูงหน่ึงใดให้หลักสูตรออกมาโดยมีนัยยะแฝงในการ
ปลูกฝังคติ ความเช่ือ และ “ความจงรักภักดี” (ท่ีอ่านอย่างไรก็ตีความได้ถึงการบังคับให้รัก) โดยอาจ
กล่าวได้ว่าการวางหลักสูตรในลักษณะน้ีน้ันคือการทําให้สูญเสียความเป็นมนุษย์ สนับสนุนแนวคิดคน
ไม่เท่ากันอย่างแท้จริง รวมไปถึงระบบทหารท่ีเช่ือมโยงกับเด็ก ๆ ผ่านการเกณฑ์ทหารท่ีนับเป็นการ
ปลูกฝังการกดข่ีอย่างชัดแจ้งอีกทางหน่ึงด้วย ย่อยลงไปถึงหน่วยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ
ในระดับกลาง เช่น โรงเรียน หน่วยงานรัฐ ท่ีทํางาน ฯลฯ ก็ยังมีลักษณะของการปลูกฝังการกดข่ี
เช่นกัน ในโรงเรียนนอกเหนือจากหลักสูตรท่ีวางอยู่บนความคับแคบของชนช้ันนําผู้แสวงหาแต่ผล
กําไรและการสรรเสริญ คุณครูก็เป็นกลไกหน่ึงท่ีสอนการกดข่ีให้กับเด็ก ๆ ในฐานะอนุผู้กดข่ีเช่นกัน
เน่ืองด้วยระบบข้าราชการ (Bureaucracy) มีการกดข่ีลงมาเป็นทอด ๆ ซ่ึงคุณครูก็เป็นหน่ึงในน้ัน
ผลลัพธ์จากน้ันคือคุณครูก็นําอาจท่ีตนมีอย่างจํากัดมากดข่ีนักเรียน นักศึกษาใต้อํานาจของตน
ดังเช่น การต้ังตนเป็นผู้บังคับใช้กฎระเบียบในการตรวจเสื้อ ผ้า หน้า ผม ของเด็ก หากไม่ถูกระเบียบ
ก็มีความชอบธรรมในการลงโทษ รวมถึงการเป็นผู้ผูกขาดการสื่อสารทางเดียวในบางคร้ังยังอาจมี
การตีตราด้วยถ้อยคํารุนแรงในการตัดสินชีวิตเด็กหากเด็กไม่สามารถบรรลุความต้องการของตนท่ี
อยากให้เด็กได้ดี ตามครรลองของหลักสูตรท่ีเคลือบมาด้วยมายาคติอันคับแคบของชนช้ันนํา เป็นต้น
และสถาบันหน่วยสุดท้ายท่ีผู้เขียนเลือกหยิบยกมากล่าวถึง คือ สถาบันครอบครัว หรือ ท่ีบ้าน
ของเดก็ ๆ อนั เป็นสถาบันท่สี ําคญั และใกลช้ ิดกับเดก็ ๆ มากทส่ี ุด
สถาบันครอบครัวคือหน่วยทางสังคมท่ีเล็กท่ีสุดของปัจเจกชน จากรวมตัวกันของบุคคล
ต้ังแต่สองคนข้ึนไป โดยมีหน้าท่ีในการดูแลสมาชิกภายในครอบครัวในทุกมิติต้ังแต่แรกเกิดจน
เสียชีวิตโดยระบุไว้ตามกฎหมาย (แต่ไม่ได้ความว่ารัฐจะผลักภาระท้ังหมดให้กับครอบครัวและปัจเจก
ชน) ในมิติสําคัญหน่ึงท่ีสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลกันและกัน คือ กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
(Socialization) อันผู้ปกครองจะต้องถ่ายทอดให้กับ เด็ก ๆ ให้เติบโตมาอย่างตรงตามครรลองและ
มีคุณสมบัติสําเร็จรูปเช่นเดียวกับพวกเขา อย่างไรก็ดีครรลองเหล่าน้ีก็อาจไม่ได้กว้างไปกว่าหลักสูตร
ของชนช้ันนําเลย นอกจากน้ีวิธีการขัดเกลาของพวกเขาก็มักแสดงออกถึงการใช้อํานาจในการช้ีนํา
บังคับให้เด็ก ๆ เป็นไปตามความต้องการ โดยไร้สิทธิในการต้ังคําถาม มิเช่นน้ันเด็ก ๆ อาจกลายเป็น
ภาชนะรองรับอารมณ์อันชอบธรรมของผู้ใหญ่ได้ เน่ืองจากเด็ก ๆ โดยปกติจะอยู่ในสถานะท่ีไม่มี
ทางเลือก (No choice) เพราะยังต้องพ่ึงพาผู้ใหญ่ในการดําเนินชีวิตอยู่ ในทางหน่ึงส่ิงน้ีอาจเลียกได้
ว่าคือการคุกคาม (Abuse) ท่ีถึงแม้จะไม่ใช่การคุกคามทางกายภาพ (Physical abuse) แต่จะถือ
การคุกคามทางอํานาจ (Power abuse) และมักมาพร้อมกับการคุกคามทางวาจา (Verbal abuse)
รว่ มด้วย
ในส่วนของการกดข่ีเชิงสถานบันเช่นน้ี เป็นไปตามท่ีเฟรรีกล่าวไว้ว่า “การสูญเสียความเป็น
มนุษย์น้ันไม่ใช่ ชะตากรรมท่ีลิขิตไว้ แต่เป็นผลลัพธ์ของระเบียบท่ีอยุติธรรม ก่อให้เกิดความรุนแรงใน
ตวั ผูก้ ดข่ี ตามมาด้วยการสูญเสียความเปน็ มนษุ ยข์ องผถู้ ูกกดข”่ี
3
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
“การกดขอ่ี ย่างชอบธรรม ?”
ในข้ันตอนระหว่างท่ีเด็ก ๆ กําลังได้รับการขัดเกลาทางสังคมให้เป็นไปตามครรลองของอัตตา
นิยมร่วม (Intersubjectivity) น้ี หากมีเด็กคนใดฝ่าฝืน ต้ังคําถาม หรือแสดงความคิดเห็นออกมา
ส่ิงน้ีย่อมนําไปสู่การตะขิดตะขวงใจของผู้ปกครองผู้เพรียบพร้อมเป็นอย่างมาก ดังท่ีเฟรรีช้ีว่าส่ิงน้ีจะ
ไปคุกคามต่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองท่ีเคยปกครองอย่างม่ันคง และสิ่งท่ีพวกจะทําต่อไปก็คือ
การโยนถ้อยคําตีตรา ให้กับเด็ก ๆ เหล่าน้ัน ว่า “พวกอกตัญeู” “พวกป่าเถ่ือน” “พวกสามกีบ”
“พวกชังชาติ” ฯลฯ ก่อนจะเน้นย้ําความชอบธรรมในการกระทําอันอารยะ ซ่ึงกดข่ีของพวกเขา โดยใน
ระดับสถาบันครอบครัว ผู้ปกครองอาจเน้นย้ําว่าตนน้ันให้ท่ีพักอาศัย ท่ีกินท่ีด่ืม เงินทองและความ
ผาสุกให้กับสมาชิก ดังสมาชิกจึงจะต้องเช่ือฟงั อย่างไม่เอาใจออกห่าง ในระดับโรงเรียนอาจถูกวางไว้
ด้วยค่านิยมการสรรเสริญครูผู้ประสาทวิชา พายเรือจ้างมาส่งเด็ก ๆ จนถึงฝ่ ัง เตรียมความพร้อม
ให้กับเด็ก ๆ ก่อนเข้าสู่วัยแรงงาน เด็กจึงจําเป็นต้องเช่ือฟัง เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์เสมอ
ในระดับนายทุนและธุรกิจมักเห็นได้จากค่านิยมการเชิดชูนายจ้าง ผู้ให้งานและเงินเดือน ลูกจ้างจึง
จะต้องขยัน ซ่ือสัตย์ ประหยัด อดทน ต่อการทํางานเพื่อตอบแทนสินจ้างเหล่าน้ี หรือกระท่ังชนช้ันนํา
ท่ีเน้นความกตัญeูต่อสู้เสียเลือดเสียเน้ือ เพื่อให้ชนรุ่นหลังมีแผ่นดินให้ “ซุกหัวนอนกัน” เป็นต้น
ซ่ึงส่ิงน้ีเป็นเคร่ืองมือหน่ึงของผู้กดข่ีท่ีมักใช้บิดเบือนความจริงของผู้ถูกกดข่ี คือ การ “ทําให้เช่ือง”
โดยการกดข่ีสลับกับการมอบความเอ้ือเฟ้ อื หรือ ท่ีเฟรรีใช้คําว่า การ “เพลามือ” จากอํานาจโดยเห็น
แก่ความอ่อนแอของผู้ถูกกดข่ี โดยกระทําผ่านการสงเคราะห์ทางมนุษยธรรมอันนําไปสู่การสําเร็จ
ความไคล่ทางศีลธรรมต่อตัวผู้กดข่ี และการรู้สึกเป็นบุญคุณไม่ได้ลําบากจนเกินไปในตัวผู้ถูกกดข่ี
พร้อมกับอาจรู้สึกว่าตนจะเสียประโยชน์หากสร้างความขัดแย้ง และตอกย้ําด้วยกหลักความเช่ือ
ท้องถ่ินท่ีให้คุณค่าอย่างเข้มข้นต่อค่านิยมความกตัญeูกตเวที เม่ือเป็นเช่นน้ี ผู้กดข่ีย่อมสามารถ
ประวิงเวลาของความขัดแย้งออกไปได้
อย่างไรก็ดีหากลองต้ังคําถามต่อความเอ้ือเฟ้ อื เหล่าน้ีในทางหน่ึงก็อาจไม่ใช่ความเอ้ือเฟ้ อื เสีย
ทีเดียว แต่หากคล้ายกับหน้าท่ีของบทบาทแต่ละบทบาทมากกว่า ดังเช่นหน้าท่ีในการเล้ียงดูบุตรเป็น
ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หน้าท่ีของคุณครูคือการจัดการเรียนการสอน หน้าท่ีของนายจ้างท่ีมีต่อ
ลูกจ้างซ่ึงทํางานให้กับตนเองคือการจ่ายค่าตอบแทน กระท่ังการมีท่ีอยู่ การมีชีวิตรอด หรือการมีเช้ือ
ชาติและสัญชาติ ก็เป็นสิทธ์ิของบุคคลท่ีจะได้รับความคุ้มครองโดยรัฐตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอยู่
แล้ว ดังน้ันจึงอาจไม่จริงเสียทีเดียวท่ีจะนับส่ิงเหล่าน้ีเป็นบุญคุณท่ีเด็ก ๆ จะต้องทดแทนโดยการ
ยอมเสียความเป็นมนุษย์ของพวกเขาไป โดยไร้ซ่ึงการต้ังถาม วิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น
ตามท่เี ฟรรชี ้ถี ึงความเอ้อื เฟ้ อื น้วี ่า
การศึกษาของผู้ถูกกดข่ีท่ีขับเคล่ือนโดยความเอ้ือเฟ้ ือจริงใจแบบมนุษยนิยม
(มนุษยธรรมนิยม) นําเสนอตนในฐานะการศึกษาของมนุษยชาติ การศึกษาท่ีเริมจากความ
สนใจของการหลงตนเองของผู้กดข่ี (อัตตานิยมในร่างคลุมของความเอ้ือเฟ้ อื จอมปลอมแบบ
ลัทธิพ่อปกครองลูก) และถือเอาผู้ถูกกดข่ีเป็นผู้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยแก่น
แทแ้ ลว้ ดํารงไวแ้ ละเปน็ รูปแบบหนง่ึ ของการกดข…่ี
4
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
บทส่งท้าย
จากท่ีกล่าวมาท้ังหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่าภายในสังคมไทย ความรับรู้หน่ึงของเด็ก ต่อการ
“เติบโตเป็นผู้ใหญ่” ในลักษะหน่ึงอยู่ในความหมายถึงการมี “อํานาจ” ในระดับต่าง ๆ แล้วแต่สถานะ
ของแต่ละบุคคล ซ่ึงอํานาจยังเป็นเคร่ืองมือสําคัญของการ “กดข่ี” เม่ือเด็กซึมซับและคุ้นชินกับนิยาม
เช่นน้ี เขาย่อมมองการกดข่ีคือสิ่งท่ีชอบธรรม ง่ายต่อการนําไปปฏิบัติตาม เพียงแค่ใส่อารมณ์ ใช้
กําลัง หรือเสียงดัง ๆ เขาก็สามารถบังบัญชาลูกได้ตาใจปราถนา หรือบางคนอาจเลือกการไต่เต้าไป
ในตําแหน่งแห่งท่ีสูงกว่า และใช้อํานาจน้ันในการสั่งการ ควบคุมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา นักเรียนในความ
ดูแลของตน ฯลฯ ซ่ึงแม้จะควบคุมโดยธรรมเช่นไร ก็ไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าการกดข่ี เพราะทาง
ท่ีดีท่ีสุดของการสร้างการเรียนรู้น้ันไม่ใช่การบังคับ หรือ สร้างมายาคติใด ๆ แต่คือการสานสนทนา
เพื่อนําไปสู่ “ปัญญารู้คิด” (Praxis) อันเป็นกระบวนการคิดอย่างละเอียดถ่ีถ้วน นําไปสู่การละลึกใน
การกระทํา ปฏิบัติใด ๆ ซ่ึงส่ิงน้ีต้องเกิดข้ึนกับตัวผู้กดข่ีและตัวผู้ถูกกดข่ี อันจะนํามาสู่วิถีการเป็น
มนุษย์ท่ีแท้จริง อย่างไรก็ดีเส้นทางสู่การเป็นมนุษย์ท่ีแท้น้ี เต็มไปด้วยอุปสรรค และความท้าทายท่ีผู้
แสวงหาทุกคนจะต้องเผชิญ ท้ังในส่วนของภายในจิตใจของผู้แสวงท่ีต้องเอาชนะใจตนเองจาก
ผลประโยชน์ส่วนตัวอันได้มากจากการกดข่ี ความแน่วแน่ในการปฏิเสธความสัมพันธ์ใด ๆ ท่ีมีต่อการ
กดข่ี หรือ กระท่ังการต่อสู้กับโครงสร้างท่ีอยู่ภายนอก โดยเป็นไปไม่ได้เลยท่ีการแสวงหาน้ีจะบรรลุได้
ด้วยตนเอง โดยปราศจากการลงมือปฏิบัติของผู้ถูกกดข่ีซ่ึงมีความเข้าใจ และความเข้มแข็ง ต่อการ
แสวงหาในคร้ังน้ีมากท่ีสุด เพราะน้อยคร้ังท่ีผู้มีอํานาจกดข่ีจะยอมสละบัลลังก์แห่งประโยชน์ของตน
โดยปราศจากแรงเขย่าจากฐานราก
รายการอา้ งอิง
เฟรร,ี เปาโล. (2560). การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี ฉบบั ครบรอบ 50 ปี. แปลโดย สายพิณ กลุ
กนกวรรณ ฮัมดาน.ี กรุงเทพ. สวนเงินมีมา
5
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ชิษณุชา สุวารักษ์ 6105680489
“...ในบางทเี รากเ็ ป็นผ้กู ดข่ี บางทเี รากเ็ ป็นผู้ถกู กดข.่ี ..”
ความกลัวเสรีภาพ ส่ิงท่ีจํากัดให้มนุษย์ผู้กดข่ี ยังคงกระทําการกดข่ีมนุษย์ท่ีมีอํานาจ
ในการต่อรองน้อยกว่าตนต่อไปเร่ือย ๆในสังคมท่ีอํานาจคือต้นทุนช้ันดีเย่ียมของการใช้ชีวิต
อํานาจสร้างโอกาส อํานาจเป็นเกราะกําบัง อํานาจทําได้ท้ังเปล่ียนผิดเป็นถูก อํานาจคือทุกส่ิง
ทุกอย่าง หากแต่การจะมีเสรีภาพเท่ากันน้ันหมายความว่ามนุษย์จะมีอํานาจอย่างเท่าเทียมกัน
การมีเสรีภาพสําหรับคนทุกชนช้ันอย่างถ้วนท่ัวจึงเป็นส่ิงท่ีน่ากลัวสําหรับกลุ่มคนท่ีได้รับอํานาจ
หรือโอกาสมากกว่ากลุ่มคนอีกกลุ่ม กลุ่มคนท่ีได้รับอภิสิทธ์ิมากกว่าผู้อ่ืนน้ันมักจะหวงแหนเคร่ืองมือ
ท่ีช่วยยกระดับพวกเขาให้แตกต่างจากผู้อ่ืน ไม่ว่าทางใดก็ทางหน่ึง และท้ังท่ีตระหนักได้และตระหนัก
ไมไ่ ด้
ในบางคร้ังการกดข่ีก็อาจเกิดข้ึนโดยท่ีผู้ถูกกดข่ีไม่รู้ตัว อันเน่ืองมาจากการต้องการเอาตัว
รอด ต้องการป้องกันตนเองออกจากสิ่งไม่พึ งประสงค์ท่ีจะทําให้ผู้กดข่ีน้ันหลุดออกจากพื้ นท่ี
ปลอดภัยท่ีตนคุ้นชิน แล้วอาจลืมคํานึงถึงผลกระทบท่ีตามมาจากการกระทําของตน หรือแม้ว่าผู้กดข่ี
น้ันจะทราบว่าการกดข่ีของตนได้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อ่ืนไป แต่ก็เลือกท่ีจะเมินเฉยต่อ
ผลกระทบเหล่าน้ันไปเพื่อยังคงไว้ซ่ึงศีลธรรมประจําใจท่ีพวกเขา (หรือพวกเรา) ยึดถือเพื่อหลีกเล่ียง
ต่อความรู้สึกผดิ ต่อผถู้ ูกกดข่ี
และ “...ในบางทีเราก็เป็นผู้กดข่ี บางทีเราก็เป็นผู้ถูกกดข่ี...”1 อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมการกดข่ี
ฝังรากลึกอยู่ในสังคมของเราจนหากเราไม่ได้มาพินิจพิจารณาการกระทําของตนเองอย่างถ่ีถ้วนมาก
ๆก็อาจจะไม่ทราบได้เลยว่าการกระทําท่ัวไปของเราทําให้เกิดผู้ถูกกดข่ีไปมากเท่าใด ยกตัวอย่าง
เหตุการณ์ท่ีไวรัลในโซเชียลเน็ตเวิร์คเม่ือประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 นักเรียนเข้าไปตักเตือน
ป้าท่ีคุยโทรศั พท์เสี ยงดังในโรงเรียนแล้วถูกป้าตบ นักเรียนคนน้ันจึงตบกลับ โดยผู้ท่ีเห็น
และอยู่ในสถานการณ์ รวมท้ังครูกลับน่ิงเฉยและไม่มีท่าทีว่าจะเข้าห้ามเม่ือนักเรียนถูกป้าตบ
แต่เม่ือนักเรียนตบป้ากลับทุกคนรีบลุกไปห้ามทันที แสดงให้เห็นถึงสังคมระบบอาวุโสท่ีผู้มีวัยวุฒิ
มากกว่ามักกดข่ีผู้มีวัยวุฒิน้อยกว่าอยู่เป็นนิจ คนในสังคมจึงชินชาและรู้สึกว่าเป็นเร่ืองปกติ
แต่เม่ือผู้ท่ีมีวัยวุฒิน้อยกว่าลุกข้ึนมาโต้ตอบการกระทําน้ัน กลับถูกผู้ท่ีชินชากับการกดข่ีในรูปแบบของ
ระบบอาวุโสลุกข้ึนมาห้ามปรามในทันที ท้ังท่ีการโต้ตอบการกระทําน้ัน หากเทียบตามหลักกลศาสตร์
ของนิวตัน คือ action = reaction หรือ เม่ือวัตถุหน่ึงออกแรงกระทํากับวัตถุอีกช้ิน วัตถุช้ินท่ีถูก
กระทาํ กย็ อ่ มออกแรงกระทาํ กลบั ด้วยขนาดทเ่ี ทา่ กันแตใ่ นทศิ ทางตรงขา้ มเสมอ
1 กลา่ วโดย เนติวทิ ย์ โชติไพศาล ใน งานเสวนา “การศึกษาของผ้ถู ูกกดขี่” เทยี บเป็นสมการ จะได้
6
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
การตบด้วยอารมณ์อารมณ์โกรธท่ีถูกผู้มีวัยวุฒิน้อยกว่าตักเตือน = การตบกลับด้วยอารมณ์โกรธ
ทถ่ี ูกผมู้ ีวยั วุฒมิ ากกว่าตบเน่อื งจากเขา้ ไปตักเตือน
ดงั นน้ั ก็อาจกล่าวไดว้ า่ การโตต้ อบการกระทําของนกั เรยี นผูน้ น้ั เปน็ ไปอย่างสมมาตรกันแล้ว
เช่ือมโยงกับส่ิงท่ีแฟรรีได้กล่าวถึงสังคมและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนในทํานองว่าส่ิงท่ี
เกิดข้ึนในโรงเรียน หรือสิ่งท่ีเกิดข้ึนในช่วงวัยเรียนจะส่งผลต่อสภาพสังคมโดยรวม ข้าพเจ้าเห็นด้วย
กับทัศนะน้ีท้ังในเชิงปรัชญาและเชิงจิตวิทยา เน่ืองจากในช่วงวัยเรียนเด็กได้ใช้เวลาส่วนมากท่ีสุด
(หากไม่นับเวลานอน) ในแต่ละวันไปกับสังคมในโรงเรียน เป็นเวลาอย่างน้อยถึง 12 ปี (ตามเกณฑ์
การศึกษาข้ันต่ํา) ดังน้ัน โรงเรียนจึงมีส่วนต่อการขัดเกลาเด็กอย่างมาก ตัวอย่างของผลลัพธ์ของ
ผลลัพธ์จากสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนคือทักษะการใช้ภาษาของนักเรียนท่ีเรียนใน
โรงเรียนนานาชาติโดยคนท่ีมีภาษาแรกเป็นภาษาไทย คนในครอบครัวพูดภาษาไทย แต่เม่ือเข้าไปอยู่ใน
สภาพการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพ่ือนพูดภาษาอังกฤษ ครูพูดภาษาอังกฤษ เม่ือเรียนไปได้
ระยะเวลาหน่ึงทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนจะลดลง และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษจะเพิ่มข้ึน
อย่างมีนัยสําคัญ เน่ืองจากโรงเรียนนานาชาติบางแห่งไม่อนุญาตให้นักเรียนพู ดภาษาไทยภายใน
โรงเรียน นักเรียนจึงใช้ภาษาอังกฤษเพ่ิ มข้ึน และหากเรียนต่อไปในระยะหน่ึงจะสามารถใช้
ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วในท่ีสุด ตัวอย่างน้ียังสามารถเปล่ียนจากพัฒนาการทางด้านภาษา
เปน็ พัฒนาการดา้ นอ่นื ๆได้ ท้งั พัฒนาการดา้ นอารมณ์ ดา้ นสังคม ด้านรา่ งกาย และสติปัญญา
หากเด็กคนหน่ึงเติบโตมาในโรงเรียนท่ีมีการกดข่ีภายในโรงเรียน ท้ังจากเพื่อน และผู้สอน
เด็กก็จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับความกดข่ีน้ัน โดยอาจกระทําตัวเป็นผู้กดข่ีต่อไปโดยไม่รู้ตัว
รู้เพียงแต่ว่าตนไม่อยากเป็นผู้ถูกกระทํา แล้วก็จะผลิตซ้ําจํานวนผู้กดข่ีในสังคมไปอีกเป็นจํานวน
ทวีคูณ
7
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ณภทั รพิม วงศโภชย์ 6105681065
บทคดั ย่อ
สถาบันการศึกษาศึกษา หรือ “โรงเรียน” ได้ถูกให้ความหมายในทางสังคมวิทยาเอาไว้ว่า
เป็นกลุ่มของความสัมพันธ์ท่ีทําให้เกิดความรู้ แนวคิด เพ่ือความเจริญก้าวหน้าของสังคม1 อย่างไรก็ดี
ส ถ า บั น ก า ร ศึ ก ษ า ใ น แ ต่ ล ะ สั ง ค ม ก็ มี ลั ก ษ ณ ะ ท่ี แ ป ร ผั น ไ ป ต า ม รู ป แ บ บ ส ภ า พ สั ง ค ม ข อ ง แ ต่ ล ะ พื้ น ท่ี
แต่ท้ายท่ีสุดแล้วน้ันการจัดการศึกษาของทุก ๆ สังคมจะอยู่ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ การจัดการ
ศึกษาเพื่อการพัฒนาสมาชกิ ในสังคมเพ่ือสังคมทเ่ี จรญิ กา้ วหน้า
ในอุดมคติของผู้เขียน สถานศึกษาจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่
น้ัน มักข้ึนอยู่กับ สภาพแวดล้อมและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและบุคลากรท่ีเอ้ืออํานวยต่อ
การศึกษาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยยังคงไม่สามารถ
พัฒนาสถานศึกษาท่ีเอ้ืออํานวยต่อการเรียนการท่ีมีประสิทธิภาพได้ หากอ้างอิงตามการศึกษางาน
ของ เปาโล เฟรรี (Paulo Freire) การวิเคราะห์ตัวอย่างร่วมกับหลักคิดของเปาโล เฟรรี ในงาน
เขียนช้ินน้ีสามารถนําไปใช้เป็นส่วนหน่ึงในตัวอย่างของ การศึกษาเพ่ือการพัฒนาสถานศึกษา
ใหม้ ปี ระสิทธภิ าพได้ ในอนาคต
ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างผูส้ อนและผเู้ รียน ท้งั เชิงสัญลักษณแ์ ละเชิงปฏิบัติ
ค ว า ม สั ม พั น ธ์ เ ชิ ง อํ า น า จ ร ะ ห ว่ า ง ผู้ เ รี ย น แ ล ะ ผู้ ส อ น เ ป็ น สิ่ ง ท่ี มี ม า อ ย่ า ง ย า ว น า น
เ น่ื อ ง จ า ก ส ถ า บั น ก า ร ศึ ก ษ า ใ น รู ป แ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า อ ย่ า ง เ ป็ น ท า ง ก า ร ( Formal Education)
มีโครงสร้างทางสังคมเฉกเช่นเดียวกับสังคมภายนอก 2การสร้างกฎระเบียบท่ีเป็นทางการและไม่เป็น
ทางการเป็นส่วนหน่ึงของการหล่อหลอมและกําหนดบทบาท สถานภาพทางสังคมให้แก่สมาชิกใน
สถาบัน นอกจากน้ีระบบชนช้ันก็เป็นส่ิงท่ีพบได้อย่างชัดเจนในระบบการศึกษา ต้ังแต่ผู้บริหารจนถึง
บุคลากรระดับล่าง ระบบชนช้ันทําให้เกิดความสัมพันธ์แบบผู้กดข่ีและผู้ถูกกดข่ี จากการศึกษางาน
เขียน การศึกษาของผู้ถูกกดข่ีพบว่าความกลัวจากการถูกกดข่ีจะนําไปสู่ความต้องการท่ีอยากจะเป็น
ผู้ถูกกดข่ีเสียเอง3 กล่าวคือ เม่ือถูกกดดันจากฝ่ายการบริหารการศึกษาผู้ท่ีทําหน้าท่ีครู มีแนวโน้มท่ีจะ
กลายเป็นผู้กดข่ีเสียเอง ผู้ท่ีจะต้องรับบทบาทในการถูกกดข่ีต่อจากครูคือนักเรียนผู้ท่ีถูกเข้าใจว่าเป็น
คนมาขอรับความรู้ จากครูผู้ท่ีเจริญแล้วทางปัญญา การถูกกดข่ีของนักเรียนจากครูผู้สอนมี
หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเชิงสัญลักษณ์ หรือเชิงปฏิบัติ ตัวอย่างของการกดข่ีใน
เชิงสัญลักษณ์อันได้แก่ การมีพื้นท่ีทางสังคมท่ีสงวนเอาไว้ให้สําหรับครูโดยเฉพาะ อาทิ การแยก
ห้องน้ําครู-นักเรียน ลิฟท์สงวนเอาไว้ใช้เฉพาะอาจารย์เท่าน้ัน เป็นต้น สัญญะของการสงวนสิทธิ
พิเศษเหล่านเ้ี ป็นการทาํ ให้นกั เรยี นในร้สู ึกดอ้ ยกวา่ ตา่ํ กว่า และไดร้ ับบทบาทของถูกกดข่ี
1 ณรงค์ เส็งประชา, มนุษยก์ บั สังคม, พิมพ์คร้ังท่ี 4 (กรงุ เทพฯ : โอเดยี นสโตร,์ 2541), น.95.
2 บรรเทงิ พาพิจิตร, สังคมวิทยา = Sociology, (กรงุ เทพฯ : โอเดยี นสโตร,์ 2547), น.156.
3 เปาโล เฟรรี, การศึกษาของผู้ถกู กดขี่, แปลโดย สายพิณ กลุ กนกวรรณ ฮัมดานี, (กรงุ เทพฯ : สวนเงนิ มีมา, 2560), น.74.
8
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ภาพประกอบท่ี 1 แสดงให้เห็นถงึ การแยกใช้ห้องนา้ํ ระหวา่ งครูและนกั เรยี น
แหล่งทม่ี า: http://1ab.in/brd0
ในความสั มพั นธ์ของผู้กดข่ีและผู้ถูกกดข่ี ผู้กดข่ีมักออกข้อกําหนด (Prescription)
ในทุกลักษณะเพื่ อยัดเยียดตัวเลือกของตนให้กับผู้ถูกกดข่ี4 นอกจากน้ียังมีความต้องการ
ท่ีจะครอบงํา ส่งต่อความคิดและเจตคติของตนให้แก่ผู้ถูกกดข่ี โดยดําเนินการในนามของเสรีภาพ
ความสงบเรียบร้อยและสันติสุข5 ซ่ึงมักจะแสดงให้เห็นในรูปแบบกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ในฐานะ
บรรทัดฐาน กล่าวคือท่ีอยู่นอกเหนือจากข้อบังคับท่ีเป็นรูปธรรมของโรงเรียน อาทิ การติดโบว์
และขอ้ บงั คบั ต่าง ๆ ของโบว์ การห้ามใส่เครอ่ื งประดบั การกาํ หนดความยาวของผม ในนกั เรยี นหญิง
ท่ีไว้ผมผมยาว การตรวจค้นกระเป๋าเพ่ือค้นหาสิ่งของท่ีทางคณะครูกําหนดไว้ว่าผิดกฎ เช่น อาหาร
ท่ซี ้อื จากนอกโรงเรยี น และเคร่อื งสําอาง เป็นต้น การกระทําตา่ ง ๆ ทผ่ี ้เู ขยี นไดย้ กมาน้นั เปน็ ขอ้ บังคับ
ท่ีใช้ท่ีอยู่นอกเหนือจากกฎข้อบังคับของทางโรงเรียน และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย
เครอ่ื งแบบนกั เรยี น พ.ศ. 2551 และเป็นขอ้ ตกลงในเชิงบรรทัดฐานทง้ั ส้ิน
ภาพประกอบท่ี 2 แสดงใหเ้ หน็ ถงึ การพยายามรักษากฎข้อบงั คับของคณะครูตอ่ นกั เรยี น
4 เรื่องเดยี วกนั .
5 เรอ่ื งเดียวกัน, น.115.
9
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ตัวอย่างดังท่ีผู้เขียนได้ยกมาเหล่าน้ี เป็นสถานการณ์จริงท่ีเกิดข้ึนภายในสถาบันการศึกษา
ระดับมัธยมสถานท่ีท่ีควรจะเกิดการถ่ายทอดและเรียนรู้ แลกเปล่ียนความคิดเห็นเชิงวิชาการระหว่าง
ผู้เรียนและผู้สอน กลับถูกทําให้เป็นสถานท่ีท่ีมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของเด็ก
เน่ืองจากกระบวนการการกดข่ีต้ังแต่ระดับผู้บริหารจนถึงผู้เรียน ผู้กดข่ีพรากเสรีภาพไปจากผู้ถูกกด
ข่ีและทําลายความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกดข่ี ผ่านกฎและข้อบังคับท่ีสร้างข้ึนในนามของความเรียบร้อย
และสันติสุข
ความสัมพันธจ์ ากการกดข่ี ส่งผลตอ่ สภาพแวดลอ้ มการเรยี นรอู้ ยา่ งไร
กฎระเบียบมากมายในสถานศึ กษาท่ีผู้เขียนได้กล่าวในข้างต้น ส่งผลให้ครู อาจารย์
ท่ีควรมีบทบาทและหน้าท่ีในการแลกเปล่ียนความรู้ความคิดเห็นในเชิงวิชาการ กลับกลายเป็นผู้ท่ีทํา
หน้าท่ีควบคุม และนอกจากน้ีการอยู่ภายใต้กรอบความคิดชุดใดชุดหน่ึงเพียงชุดเดียว ส่งผลให้
ผู้เรียนถูกจํากัดเสรีภาพทางความคิดและการกระทํา จนในท้ายท่ีสุดผู้เรียนเกิดความรู้สึกอึดอัด
เน่ืองด้วยสภาพแวดล้อมโดยรอบท่ีไม่เอ้ืออํานวย ถูกปิดก้ัน และความคิดเชิงอนุรักษ์นิยมท่ีถูกทําให้
เป็นปรกติ (Normalize) จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนท่ีล้มเหลว กล่าวคือ ครูในฐานะ
ผู้กดข่ี และ นกั เรียนผ้ทู อ่ี ดทนตอ่ การกระทาํ
การเรียนการสอนทม่ี ปี ระสิทธภิ าพในอดุ มคตขิ องผเู้ ขียน และเปาโล เฟรรี
ในสถานศึกษาระดับมัธยมของประเทศไทย มักปรากฏการเรียนการสอนในรูปแบบ การเรียน
การสอนแบบบอกเล่า (Narrative Education)6 การเรียนการสอนแบบบอกเล่าน้ันมีรูปแบบของ
การสอนท่ีตายตัว ผู้สอนมีทําหน้าท่ีถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนเพียงอย่างเดียว เป็นการเรียนการ
สอนท่ีนักเรียนไม่ได้คิด ไม่เข้าใจ และมักจะท่องจํา สิ่งต่าง ๆ ท่ีผู้สอนบอกเล่ามา ไม่ปรากฏการคิด
วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างการเรียนการสอน สําหรับผู้เขียนน้ันมองว่า การศึกษา
แบบบอกเล่าเป็นวิธีการศึกษาท่ีล้าหลังและไร้ประสิทธิภาพ ทําให้ผู้เรียนไม่ถูกบูรณาการ ไม่สามารถคิด
วเิ คราะห์ และสังเคราะห์ ได้เองหากไรซ้ ่งึ คาํ สอนจากครู
ผู้เขียนมองว่าการศึกษาท่ีมีประสิทธิภาพในอุดมคติของผู้เขียน จะต้องเป็นการศึกษาท่ีเปิด
กว้าง เปิดโอกาสให้คิด ผู้เรียนและผู้สอนสามารถถกเถียงเหตุผลในเชิงวิชาการได้ โดยปราศจาก
ความสัมพันธ์ในเชิงอํานาจ ในการศึกษางานเขียนของ เปาโล เฟรรี ผู้เขียนได้ค้นพบว่ามี แนวปฏิบัติ
ของการศึกษาแบบหยิบยกปัญหา7 ท่ีเก่ียวข้องกับปัญหาข้ัวขัดแย้งระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
โดยจะคํานึงว่าครู มิใช่ผู้ทําการสอนฝ่ายเดียวอีกต่อไป แต่ครูเองเป็นผู้ท่ีถูกสอนด้วย อาทิสภาพ
สังคมในปัจจุบัน เทคโนโลยีเป็นสิ่งท่ีเด็กถนัดมากกว่า การเรียนรู้จากเด็กนักเรียนเพื่อพัฒนา
ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของตนเองก็เป็นส่ิงท่ีผู้สอน สามารถนํามาปรับใช้และยกระดับขีด
ความสามารถของตนเองได้ เป็นต้น ดังท่ี เปาโล เฟรรี ได้กล่าวไว้เก่ียวกับการเรียนรู้ซ่ึงกันและกัน
ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ในปีค.ศ. 1997 ว่า “ท้ังสองฝ่ายกลายมารับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการ
ทท่ี กุ คนเตบิ โต ในกระบวนการน้ี ข้อโต้แย้งบนพื้นฐานของอาํ นาจหนา้ ท่ี ถือเป็นโมฆะ” (น. 117)
6 เรอื่ งเดียวกนั , น.106.
7 เรื่องเดยี วกนั , น.117.
10
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
สถานศึกษาในฐานะสถาบันทางการศึกษาท่ีมีหน้าท่ีพัฒนาสมาชิกในสังคมให้เจริญก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพน้ัน ยังแฝงไปด้วยสภาพแวดล้อมท่ีไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้อันเกิดมาจาก
ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สิ่งเหล่าน้ีควรถูกคํานึงถึงและพยายามปรับสมดุล
ให้เหมาะสม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจท่ีส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมถูกกล่าวถึงในงานด้าน
การศึกษาหลายช้ิน หน่ึงในน้ันคือ เปาโล เฟรรี นักการศึกษาท่ีมีผลงานตีพิมพ์เก่ียวกับ การศึกษา
ของผู้ถูกกดข่ี ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงอํานาจในสถานศึกษา สะท้อนให้เห็นถึงข้ัวอํานาจต่าง ๆ
ทส่ี ่งผลต่อสถานศึกษาในหลากหลายแง่มมุ ท้งั สภาวะแวดล้อม และรปู แบบการเรียนการสอน เปน็ ต้น
11
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
มิตราภา เรืองรกั ษ์ 6105681214
‘เหลา่ ผู้ถูกกดขี่ ทรี่ บั บทเปน็ ผู้กดข’ี่
“การศึ กษาของผู้ถูกกดข่ี” เป็นหนังสื อท่ีมีการใช้ภาษาท่ียากแก่การทําความเข้าใจ
ข้าพเจ้าเปรียบเทียบการอ่านหนังสือเล่มน้ีว่า หากอ่านอย่างรีบเร่ง โดยมีเป้าหมายเพียงรีบอ่านให้จบ
เร็วๆ ก็ไม่ต่างจากการอ่านภาษาต่างประเทศท่ีเราทําได้เพียงอ่านออกเสียงได้ แต่ไม่สามารถเข้าใจ
ความหมายของคําหรือประโยคน้ัน ๆ หนังสือเล่มน้ีจึงต้องค่อยๆละเลียดอ่านทีละบรรทัดเพ่ือซึมซับ
สิ่งท่เี ปาโล แฟรเร่ ต้องการจะสื่อ และในบางชว่ งของหนงั สือเลม่ นน้ี ้นั ข้าพเจา้ ยอมรบั วา่ อา่ นอย่างไร
ก็ไม่เข้าใจเสียที แต่มีประเด็นหน่ึงท่ีข้าพเจ้าสนใจและคิดว่าจะสามารถนํามาต่อยอดและเช่ือมโยง
วเิ คราะหก์ ับหนังสือเลม่ นไ้ี ดไ้ ม่มากก็น้อย คอื ประเด็นเรอื่ งผ้ทู ไี่ มส่ ามารถออกจากการถกู กดขี่
การต่อสู้กับผู้กดข่ีเพ่ือความเป็นอิสระเสรีและความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์น้ัน ต้องเร่ิมมาจาก
การต่อสู้เพ่ือสิทธิของตัวผู้ถูกกดข่ีเอง เพราะจะมีใครท่ีสามารถเข้าใจความเจ็บปวดของการโดนกดข่ี
ไปมากกว่าผู้ท่ีถูกกดข่ีเสียอีก และแน่นอนว่าการลุกข้ึนมาต่อสู้น้ันไม่ใช่เร่ืองง่าย โดยเฉพาะผู้ท่ีถูกกดข่ี
มาเป็นเวลานาน จนได้ปรับตัวกับส่ิงท่ีกดข่ีตน สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งท่ีกดข่ีโดยท่ีไม่รู้ตัวว่า
ตนเองน้ันกําลังถูกทําให้เสียความเป็นมนุษย์ไปเสียแล้ว และจะคิดว่า การรวมตัวกันต่อสู้เพื่อเสรีภาพ
น้ันเป็นภัยคุกคามแก่ตนเอง พวกเขาชอบท่ีจะอยู่กันเป็นกลุ่มท่ีตนรู้สึกว่าม่ันคงในสภาวะท่ีไร้เสรีภาพ
และถูกกดข่ี ดกี ว่าการเขา้ รว่ มการตอ่ สู้เพ่ือเสรภี าพ
ในกรณีน้ี ทําให้ข้าพเจ้านึกถึงเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนในปัจจุบัน น่ันก็คือ การชุมนุมเพื่อเรียกร้อง
สิทธิต่าง ๆ ในปัจจุบันของกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาและประชาชนท่ัวไปท่ีต้องการจะหลุดพ้นจาก
การครอบงําของรัฐบาลปัจจุบัน การเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ผ่านการชุมนุม เช่น การเรียกร้องการ
เข้าถึงวัคซีนท่ีมีคุณภาพ, การเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น โดยการชุมนุมน้ัน
เป็นไปอย่างสันติและไร้ความรุนแรง โดยข้าพเจ้าเปรียบเหล่าผู้ท่ีออกมาชุมนุมน้ัน เป็นผู้ที่ถูกกดขี่
โดยรฐั บาล คนเหลา่ น้ตี ้องเรียกร้องส่ิงท่ตี นควรจะไดแ้ ละตอ้ งการหลดุ พ้นจากการถกู กดข่ี
ส่วนฝ่ายท่ีเป็นผู้กดข่ีในน้ัน คือ ฝ่ายรัฐบาล แต่ส่ิงท่ีข้าพเจ้าสนใจในเร่ืองน้ีคือ ผู้ท่ีรับบท
ท้ังเป็นคนท่ีถูกกดข่ีและกดข่ีผู้อ่ืนไปด้วยในเวลาเดียวกัน คือ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
จากสังกัดหน่วยงานปกตรองกองบัญชาการตํารวจนครบาล หรือเป็นท่ีรู้จักกันในนาม เจ้าหน้าท่ีคฝ.
ท่ีทําหน้าท่ีควบคุมฝูงชนในการชุมนุมในทุก ๆ คร้ัง และทุกการควบคุมของเหล่าเจ้าหน้าท่ีคฟ.น้ัน
ล้วนเต็มไปด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถฉีดน้ําแรงดันสูง, การใช้แก๊สน้ําตา และการใช้
กระสุนยางรวมไปถึงกระสุนจรงิ เป็นต้น
เรามาพู ดถึงส่ิงท่ีแสดงถึงการถูกกดข่ีของเหล่าเจ้าหน้าท่ีคฝ. น่ันก็คือ การนําตํารวจช้ัน
ผู้น้อยมารับหน้าท่ีในการควบคุมฝูงชน เปรียบเสมือนให้พวกเขาเป็นด่านหน้าท่ีต้องเผชิญกับความ
เส่ียงในด้านการถูกประณามจากการท่ีมีการแชร์จดหมายเปิดผนึกจากใจเจ้าหน้าท่ีคฝ. มีส่วนท่ีเป็น
การกล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข เม่ือวันท่ี 28 ก.พ.64 ว่าได้สั่งการให้
ตํารวจคฝ. ต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปี เพราะกลัวจะมีการสูญเสียชีวิตจากร่างกายทนไม่ไหวเหมือนกรณี
12
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เคสของนายตํารวจรายหน่ึงท่ีเสียชีวิตไปแล้ว ก่อนท่ีทางนายตํารวจได้เล่าเร่ืองในการปฏิบัติหน้าท่ี
ดว้ ยความเหนด็ เหน่อื ยแต่ก็อดทนมาโดยตลอด
กระท่ังล่าสุดตนก็ยังต้องทนทํางานหนัก มีเวลาพั กผ่อนน้อย จนผ่านมา 5 เดือนแล้ว
หลังจากท่ีผบ.ตร.เคยกล่าวให้สัมภาษษณ์ไว้กับสื่อ ซ่ึงก็ยังไม่ได้มีการสลับเปล่ียนกําลังพลคฝ.
แตอ่ ย่างใดทําให้ตนรสู้ ึกผดิ หวงั น้อยใจ เสียใจ นอ้ ยใจเปน็ อยา่ งมาก
และอะไรทาํ ให้เหล่าตํารวจพวกน้ยี อมทจ่ี ะถูกกดข่โี ดยผกู้ ดข่ี ?
หากพู ดถึงตํารวจ ทุกคนอาจจะนึกถึงผู้พิทักษ์สันติราชท่ีคอยช่วยเหลือประชาชนยามท่ี
เดือดร้อน แต่สําหรับสังคมไทยน้ัน ข้าพเจ้ามองว่ามันมีอะไรท่ีแอบแฝงไปมากกว่าน้ัน เน่ืองจากตัว
ข้าพเจ้าเองก็อยู่ในครอบครัวท่ีมีญาติพ่ีน้องท่ีใกล้ชิดมีอาชีพเป็นตํารวจ และพบว่าเปาอาชีพท่ีมีการ
ชิงดีชิงเด่นและแข่งขันกันเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะในสังคมต่างจังหวัด หากใครได้รับราชการตํารวจ
จะถือวา่ เปน็ คนเก่ง และดมู หี น้ามตี าในสังคมทันที
โดยพ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพั นธ์ ปัจจุบันเป็น ส.ส.บัญชีรายช่ือ พรรคก้าวไกลน้ัน
ได้ให้ความเห็นในฐานะท่ีเคยรับราชการตํารวจมาก่อน ว่าความต้องการเป็นตํารวจเพราะอยาก
ช่วยเหลือผู้อ่ืน อยากเป็นผู้เสียสละ อยากเป็นฮีโร่ อยากเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายกับคนท่ีกระทําผิดใน
สังคม ในส่วนน้ีคือแรงจูงใจท่ีไม่เป็นปัญหา เป็นการอยากเข้ามาในระบบเพราะอุดมการณ์ เพราะความ
ฝันส่วนตัวของเขา แต่ในส่วนท่ีมีปัญหาคือการอยากเป็นเจ้าคนนายคน อยากเล่ือนชนช้ันทางสังคม
อยากมีอํานาจพิ เศษกว่าคนอ่ืน สามารถมอบประโยชน์หรือลงโทษคนอ่ืนได้ ท่ีสําคัญคือได้รับ
สวัสดิการมากกว่าคนท่ัวไป มันเป็นปัญหาท่ีฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด การท่ีบ้านเมือง
เรามีชนช้ันท่ีเหนือกว่า สามารถกดข่ีผู้อ่ืน สามารถใช้อํานาจมาให้คุณให้โทษคนอ่ืนได้แบบน้ี จึงทําให้
หลายคนมองว่าเป็นช่องทางท่ีจะสามารถเอาตัวรอดจากสังคมน้ีได้ เพราะในสภาพสังคมแบบน้ี
มันบีบบังคับให้พวกเขาต้องด้ินรนเข้ามาในระบบเอง ซ่ึงมันผิดเพี้ยนไปมาก จนถึงขนาดท่ีปัจจุบันมัน
กลายเป็นวิถีของระบบราชการ
ส่ิงท่ีพ.ต.ต.ชวลิตได้เสนอแนวคิดเก่ียวกับวงการตํารวจน้ัน สอดคล้องกับระบบชนช้ัน
และทําเห็นระบบของการกดข่ีอย่างท่ีเปาโล แฟรเร่เคยกล่าวไว้ในหนังสือการศึกษาของผู้ถูกกดข่ี
อย่างชัดเจน ว่าผู้กดข่ีจะแสร้งแสดงความเอ้ือเฟ้ อื เผ่ือแผ่ให้แก่เหล่าผู้ท่ีถูกกดข่ี ให้หลงเช่ือว่าตนน้ัน
ได้รับความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ แต่อันท่ีจริงแล้วน้ัน ความเป็นมนุษย์ของเหล่าผู้ถูกกดข่ีน้ัน
ถูกควบคุมโดยผู้กดข่ีเสียแล้ว โดยเปรียบเทียบกับบรรดาผู้คนท่ีต้องการจะเข้ามาในระบบราชการ
ตาํ รวจ เพ่ือสวสั ดิการท่ดี ี และเปน็ อาชพี ทส่ี ามารถผลกั ดนั ให้ตนนน้ั สามารถเป็น ‘ผูก้ ดข่’ี เสียเองได้
และนอกจากเจ้าหน้าท่ีคฝ. ยังคงมีส่ือหรือสํานักข่าว ท่ีรับบทท้ังเป็นคนท่ีถูกกดข่ีและกดข่ีผู้อ่ืน
ไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยสํานักข่าวท่ีนําเสนอความจริงและจุดประสงค์ของการชุมนุมน้ันมีน้อยมาก
เน่ืองจากเกรงกลัวอํานาจจากรัฐ โดยจากการสัมภาษณ์นายบุญ (นามสมมติ) นักข่าวออนไลน์จาก
สํานักข่าวแห่งหน่ึง ได้ใจความว่า ในช่วงแรกของการชุมนุมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น้ัน
ไม่สามารถลงรายละเอียดเก่ียวกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้เลย เพียงแค่นําเสนอว่ามีการชุมนุม
เกิดข้ึนเพียงเท่าน้ัน และไม่สามารถแตะเร่ืองสถาบันพระมหากษัตริย์ได้เลย แม้กระท่ังข่าวการ
13
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
รัฐประหารในประเทศเพ่ือนบ้านอย่างเมียนมาร์ ก็โดนส่ังห้ามนําเสนอข่าวอย่างละเอียด และเหล่า
ผบู้ ริหารยังเสนอแนะให้นกั ข่าวหนั ไปทาํ “ข่าวอ่นื ท่ชี าวบ้านสนใจ” มากกว่าการเมืองอีกด้วย
ซ่ึงการนําเสนอของส่ือน้ันมีความจําเป็นและสําคัญเป็นอย่างมากในการช่วยกระจายข่าวในยุค
ปัจจุบัน หากไม่มีส่ือในการช่วยกระจายข่าว การต่อสู้เพ่ือส่ิงท่ีเหล่าผู้ถูกกดข่ีต้องการจะสามารถ
ดําเนินไปได้อย่างไร ในปัจจุบันผู้คนได้เมินเฉยเก่ียวกับการชุมนุมไปเสียแล้ว มีเพียงผู้ท่ีอยู่ในพื้นท่ีการ
ชุมนุมหรือผูท้ ่ตี ิดตามข่าวสารเฉพาะกลมุ่ เทา่ นน้ั ท่จี ะสามารถรบั รู้ความเป็นไปของการต่อสู้ครง้ั น้ี
ในมุมมองของนักวิชาการรัฐศาสตร์ ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพู นศิริ นักวิชาการด้าน
รัฐศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการของสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็น
นักวิจัยสถาบัน The German Institute for Global and Area Studies (GIGA) กล่าวไว้ว่า
ความน่าเศร้าของสถานการณ์ปัจจุบันคือ การเลือกตั้งถูกครอบงําด้วยกลไกของผู้มีอํานาจ
ส่วนกลไกอื่น ๆ เช่น ศาล สถาบันที่บังคับใช้กฎหมาย ก็ถูกครอบงําเกือบทั้งหมดเช่นกัน เรา
เริ่มเห็นความหวังที่ริบหรี่ในการเปล่งเสียงไปถึงผู้มีอํานาจ ดังนั้นการลงถนนเลยเป็นทางเลือก
เดียว ท่ีคนจะรบกวนระบบได้มากท่ีสุด เป็นท่ีท่ีทาํ ให้ผู้มีอํานาจได้ยินเสียงได้มากท่ีสุด
ข้าพเจ้าสรุปได้จากการอ่านและประเด็นท่ีนํามาเช่ือมโยงว่า สิ่งท่ีพบเห็นได้เสมอๆ ในระยะ
เร่ิมแรกของการต่อสู้ คือจุดมุ่งหมายในการต่อสู้ของผู้ถูกกดข่ีมักลงทิศหลงทาง แทนท่ีผู้คนท่ีผู้ถูก
กดข่ี ในข้างต้นคือเจ้าหน้าท่ีคฝ.และสํานักข่าวจะร่วมต่อสู้เพื่อการปลดปล่อย แต่กลับกลายเป็นผู้กดข่ี
คนใหม่เสียเอง เพราะโครงสร้างทางความคิดของพวกเขายังคงถูกกําหนดจากความขัดแย้งของ
สถานการณ์ท่ีดํารงอยู่อย่างเป็นรูปธรรม ท่ีซ่ึงตัวตนของพวกเขาถูกหล่อหลอมมาอุดมคติคือการเป็น
มนุษย์ท่ีสมบูรณ์ แต่พวกเขาไม่รู้เลยว่า ผู้กดข่ีน้ันได้พรากเอาความเป็นมนุษย์ของตนไปจนหมดสิ้น
แล้ว รวมไปถึงการกระทําท่ีพวกเขากระทําต่อบุคคลท่ีควรจะเป็นเพื่อนร่วมต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากการ
โดนกดขน่ี ้นั ข้าพเจา้ คิดว่า การกระทําเหล่าน้สี ่งผลใหพ้ วกเขานน้ั อยูใ่ นสถานะทน่ี ่าอดสูมากทส่ี ุด
14
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
รายการอ้างอิง
เดลน่ี วิ ส์. 2564. เปดิ ใจจดหมายจากคฝ. น้อยใจนาย นห่ี รือรางวลั วอน ผบ.ตร.ทาํ ตามคําพูด.
สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/news/121451/
ภาวรรณ ธนาเลศิ สมบรู ณ์. 2564. เม่อื ส่ือติดกับความเปน็ กลางและความกลัว- เปิดปมส่ือ
ไทย ทําไมจึงปดิ ปากตวั เอง?. สืบค้นจาก https://www.the101.world/media-self-censorship/
กฤตนัย จงไกรจักร. 2564. ผมอยากให้ระบบอปุ ถมั ถต์ ายไปจากวงการตาํ รวจไทย. สืบค้น
จาก https://themomentum.co/closeup-chavalit-laohaudomphan/
ไทยรัฐ. 2564. ‘อคตทิ างชนชน้ั ’ สรา้ งความเหล่อื มล้าํ ในกระบวนการประชาธปิ ไตย. สืบค้นจาก
https://plus.thairath.co.th/topic/speak/100500
15
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
คัธรินทร์ บวั ทอง 6105681644
บทความ “จากผูถ้ กู กดข่ี สู่ผู้กดข”่ี
“ ผ้ถู กู กดขี่ ถูกกดขี่ จากผู้ถูกกดขี่ ของผกู้ ดขนี่ นั้ เป็นเหมอื นวัฎจกั รไม่จบส้ิน ”
บทนํา
คําว่า “กดข่ี” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาณ พ.ศ.๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า “กดข่ี”
หมายถึง ข่มให้อยู่ในอํานาจตน , ใช้บังคับเอา , ทําอํานาจเอา , บางทีใช้เข้าคู่กับคําว่าข่มเหง
เป็น กดข่ีข่มเหง (ข่มเหง หมายถึง ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อ่ืน) ดังน้ันคําว่า
“ผู้ถูกกดข่ี” จึงหมายถึง ผู้ข่มให้อยู่ในอํานาจของตน และคําว่า “ผู้ถูกดข่ี” จึงหมายถึง “ผู้ถูกข่มให้อยู่
ภายใต้อํานาจ” ซ่ึงหากเราสํารวจดูจะพบว่าเราล้วนเคยเป็นท้ังผู้กดข่ี และผู้ถูกกดข่ีจากสถาณการณ์
ต่าง ๆ รวมถึงความสัมพันธ์ในบางความสัมพันธ์ หรือ สถาณะในบางสถาณะ บทบาทในบางบทบาท
หน้าท่ีในบางหน้าท่ี ซ่ึงในบางคร้ังเราอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเราเองได้กระทําตนเป็น “ผู้กดข่ี” หรือตนเองน้ัน
ได้ถูกกดข่ีจนกลายเป็น “ผู้ถูกกดข่ี” หรือในบางคร้ังตัวเราเองอาจจะเป็นท้ัง “ผู้กดข่ี” และ “ผู้ถูกกด
ข่ี” ในเวลาเดียวกัน และเพราะบางคร้ังการกระทําเหล่าน้ันช่างเหมือนปกติไม่ต่างจากการหายใจของ
มนุษย์ มนุษย์จึงไม่รู้ตนเองว่ากําลังกดข่ี หรือกําลังถูกกดข่ีหรืออยู่หรือไม่ เพราะมันคือความปกติ
หรือความเคยชินของมนุษย์ในสังคม ซ่ึงในทัศนะของข้าพเจ้าน้ันคิดว่าการกระทําให้เกิดการกดข่ีน้ัน
พ่วงมากับส่ิงท่ีเรียกว่า “อํานาจ” หรือ “ความต้องการ” ของผู้ท่ีอยู่เหนือกว่า และในบางคร้ังอาจจะ
พ่วงมากับส่ิงท่ีเรียกว่า “ค่านิยม” , “บรรทัดฐานทางสังคม” , “วัฒนธรรม” , “จารีต” , “ประเพณี”
เป็นต้น โดยคําเหล่าน้ีล้วนมักเป็นตัวขัดเกลาทางสังคมท่ีทําให้คนในสังคมไปในทิศทางเดียวกัน
ซ่ึงน่ันหมายถึงคนในสังคมล้วน “เป็นคน” ในรูปแบบเดียวกันและไปในทางเดียวกัน เพ่ือให้สามารถ
ดํารงอยู่ในสังคมเดียวกันโดยมีบรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี น้ันคอยกดให้คน
ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ซ่ึงในบางคร้ังอาจจะเป็นผลให้คนในสังคมสูญเสียความเป็นตนเอง
หรือสูญเสียความเป็นมนุษย์จากระบบการขัดเกลาดังกล่าว หรือจากอํานาจดังกล่าว จึงเรียกได้ว่า
เป็นการกระทาํ ใหถ้ ูกกดข่ี
คาํ สําคัญ : กดข่ี , การขัดเกลา
จากบทความ “ระบบการศึกษาไทย ปีศาจท่ีกัดกินความเป็นคนของครู” บทความท่ีถูกเขียน
โดยคุณ Nattatiti K. ได้เกร่ินในช่วงต้นของบทความว่า “ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนถือเป็นอีก
หน่ึงปัญหาสังคมท่ีเกิดข้ึนบ่อยคร้ัง และถูกหยิบยกข้ึนมาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย
ทว่าแม้กระทรวงศึกษาธิการจะเปล่ียนผู้กุมบังเหียนหลายต่อหลายคนแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวกลับไม่
เคยถูกแก้ไข นักเรียนยังคงเป็นเหย่ือจากการใช้อํานาจในโรงเรียน และครูท่ีได้ช่ือว่าเป็นผู้ประสิทธ์ิ
ประสาทวิชา ก็ถูกมองว่าเป็นผู้สร้างบาดแผลให้กับนักเรียนในหลายกรณีเช่นกัน แต่สิ่งท่ีหลายคน
16
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
อาจจะมองข้ามไป คือครูเองก็เป็นเหย่ือของระบบอํานาจนิยมไม่ต่างจากนักเรียน แต่หากเราลองมอง
ปัญหาท้ังหลายให้ลึกลงไปมากกว่าเร่ืองครูใช้อํานาจ เราจะได้พบกับคําตอบ ซ่ึงหน่ึงในน้ันคือเร่ือง
ของ ‘ภาระงาน’ ซ่งึ เปน็ ปญั หาท่ผี ูกมดั ครูเอาไวอ้ ยา่ งแนน่ หนาและยาวนาน”
“งานหลักของครคู ืองานสอน แต่ถา้ ครสู อนอยา่ งเดยี วจุถือวา่ ไม่ทาํ งาน”
“งานหลักของครูคืองานสอน แต่ถ้าครูท่ีสอนอย่างเดียวจะไม่ถือว่าทํางาน ดังน้ันจึงต้อง
เป็นครูท่ีสอนด้วย ทํางานเอกสารด้วย ทําโครงการต่าง ๆ ด้วย ซ่ึงพอมีอะไรเยอะแยะแบบน้ี ก็ไม่รู้
จะเอาเวลาไหนไปเตรียมการสอน แค่จัดการอารมณ์ตัวเองให้ไม่เครียดก็ยากแล้ว กลายเป็นว่าเราเข้า
ไปสอนให้จบ ๆ ไป แล้วเด็กจะได้อะไรเราก็ไม่สนแล้ว” ครูมุก ครูภาษาไทยท่านหน่ึงเร่ิมต้นเล่าปัญหา
และนอกจากน้ี ครูยังต้องรับมือกับ “ระบบอํานาจ” ซ่ึงเป็นอีกหน่ึงปัจจัยท่ีทําให้สังคมครูไม่ค่อยมี
ความยืดหยุ่นและยังคงยึดม่ันกับกฎระเบียบอย่างเหนียวแน่น “เราต้องยอมรับว่าครูเป็นคนท่ีไม่ได้มี
ประสบการณ์เยอะ คือเราเรียนเยอะ แต่เราอาจจะไม่ได้ไปใช้ชีวิตหรือมองโลกในแง่มุมอื่นเท่าไร
ดังน้ันเวลาท่ีครูมาอยู่ด้วยกัน เราก็อาจจะมีมุมมองท่ีไม่ได้กว้างมาก ครูผู้ใหญ่ก็คาดหวังให้เราต้อง
เป็นแบบเขา ต้องดุเด็ก ต้องลงโทษเด็ก ขณะท่ีผู้บริหารก็จะคอยสอดส่องให้ครูต้องอยู่ในกรอบ
ตลอดเวลา เพราะถ้าครูไม่อยู่ในกรอบ ผู้บริหารก็จะเดือดร้อน” ครูข้าวหอม อาจารย์มหาวิทยาลัยท่ี
คลุกคลีกับแวดวงครูมาอย่างยาวนาน อธิบาย “ถ้าเรารายงานว่ามีปัญหา มันจะกลายเป็นว่าเราสร้าง
ปัญหา เพราะฉะน้ัน ครูก็เลยจะโฟกัสแต่สิ่งท่ีทําให้ภาพออกมาดูดี เพ่ือตอบสนองอํานาจท่ีส่ังลงมา
เร่ือย ๆ มันเป็นระบบท่ีทําร้ายเรามาก มันกัดกินความเป็นคน เรามีความรู้สึกนึกคิดและมีหัวจิต
หัวใจ แต่เขาทําเหมือนเราไม่มีเลย เขาส่ังงาน เราก็ต้องทําตามเท่าน้ัน จนในท่ีสุดเราก็เป็นตัวอะไร
สักอย่างท่ถี กู เล้ยี งใหเ้ ชอ่ื ง” ครุมุกเสริม
ซ่ึงจากการบอกเล่าข้างต้นน้ันได้แสดงให้เราเห็นถึงห่วงโซ่ของความสั มพั นธ์ของการกดข่ี
อํานาจภายในระบบการศึกษา โดยเร่ิมจากผู้บริหาร หรือผู้ท่ีมีอํานาจมากกว่า ใช้อํานาจในการกดข่ีครู
อย่างท่ีครูมุกและครูข่าวหอมเล่า และการกดข่ีต่าง ๆ จึงส่งผลไปยังตัวผู้เรียนหรือนักเรียน
เพราะด้วยภาระงานของครูท่ีต้องแบกรับและอํานาจท่ีกดทับครูอยู่ ดังน้ันการถูกกดข่ีของครูจาก
อํานาจเบ้ืองบนจึงนําไปสู่การกดข่ีนักเรียนน่ันเอง และเม่ือครูผูกขาดอํานาจในโรงเรียน จน “เสียง”
ของนักเรียนไร้ความหมาย กล่าวคือ นักเรียน “ดี” สําหรับครู คือนักเรียนท่ีไม่ต้ังคําถาม ไม่โต้เถียง
หรือนักเรียนท่ีถูกเล้ียงให้เช่ืองเหมือนกับครูท่ีเช่ืองในระบบ ขณะท่ีนักเรียนท่ีลุกข้ึนมาต้ังคําถามกับ
การใช้อํานาจของครู กลายเป็นนักเรียนท่ีครูไม่ช่ืนชม ย่ิงไปกว่าน้ัน ด้วยภาระงานและความคาดหวัง
ของผู้ปกครองก็ส่งผลให้ครูต้องก้มหน้าทําหน้าท่ีท่ีถูกกําหนดไว้ จนขาดโอกาสท่ีจะได้เรียนรู้
และพัฒนาตัวเองอย่างท่ีควรจะเป็น ก่อเกิดเป็นค่านิยม “เชิดชูเด็กเก่ง” เพราะเด็กเก่งคือผลงานท่ี
เป็นรูปธรรมของครู และเกิดปัญหาทําให้เด็กไม่เก่งถูกทอดท้ิงและหลุดออกจากระบบการศึกษา
ปัญหาเร่ืองการศึกษาเป็นปัญหาท่ีหลายภาคส่วนพยายามเปล่ียนแปลงแก้ไขให้ดีข้ึน ดังน้ัน ปัญหา
ของครูจึงถูกชูข้ึนมาเป็นหน่ึงปัญหาหลักท่ีต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่การแก้ไขเชิง
โครงสร้างต้องเกิดข้ึนพร้อม ๆ กับการเปล่ียนแปลงของปัจเจก กล่าวคือครูต้องยอมรับว่าตัวเอง
17
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เป็นส่วนหน่ึงของปัญหาการศึกษาไทย และพัฒนาตัวเองให้เท่าทันโลก และเม่ือถามถึงหนทางการ
แก้ไขปัญหาดังกล่าว ‘ครูอ่าน’ ครูสอนศิลปะของโรงเรียนแห่งหน่ึงทางภาคเหนือได้เสนอว่า “ครูต้อง
คิดใหม่ เพราะสภาพสังคมและวิธีการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ไม่เหมือนเดิมแล้ว สมัยก่อนวิธีท่ีว่าเธอ
ต้องฟังฉัน เธอต้องท่อง แล้วเธอจะเก่งข้ึน มันอาจจะได้ผล เพราะมันมีแค่ครูกับนักเรียน แล้วก็มี
หนังสือ แต่ในตอนน้ีแหล่งเรียนรู้เยอะมาก แม้กระท่ังในเกม ทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้และนําไปสู่การต้ัง
คําถาม” และครูเพชรได้เสนอว่า “ครูต้องลดบทบาทตัวเอง เราไม่ใช่ผู้ให้ความรู้หลักอีกแล้ว แต่เรา
ควรเป็นผู้ร่วมเรียนรู้หรือเป็นผู้ผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ในตัวเด็ก คือเราต้องอย่ายึดม่ันว่าสิ่งท่ีเรา
รู้ เป็นส่ิงท่ีถูกต้องท่ีสุด องค์ความรู้มีการเปล่ียนแปลง เราจึงต้องขยับตามให้ทัน แล้วอีกอย่างเรา
ต้องยอมรบั วา่ เด็กกอ็ าจจะเปน็ ครขู องเราได้เชน่ กัน แลว้ มนั จะเกิดบรรยากาศการเรียนร”ู้
จากบทความ “ระบบการศึกษาไทย ปีศาจท่ีกัดกินความเป็นคนของครู” แสดงให้เห็นห่วงโซ่
ความสัมพันธ์ของการใช้อํานาจในรูปแบบของการกดข่ีในรูปแบบของระบบการศึกษาของไทย ซ่ึงมี
ความสอดคล้องกับหัวข้อท่ีข้าพเจ้าต้องการจะส่ือ คือ “จากผู้ถูกกดข่ี สู่ผู้กดข่ี” ซ่ึงหมายถึง “ ผู้ถูก
กดข่ี ถูกกดข่ี จากผู้ถูกกดข่ี ของผู้กดข่ีน้ันเป็นเหมือนวัฎจักรไม่จบสิ้น” น่ันเอง นอกจากจะแสดงให้
เห็นถึงการใช้อํานาจในการกดข่ีแล้วน้ัน ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้รูปแบบการศึกษาในรูปแบบของการ
ฝากธนาคารตรงประโยคท่ีว่า “สมัยก่อนวิธีที่ว่าเธอต้องฟงั ฉัน เธอต้องท่อง แล้วเธอจะเก่งขึ้น” และมี
การเสนอการแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาแบบหยิบยกปัญหาตรงประโยคท่ีว่า “เราควรเป็นผู้ร่วม
เรียนรู้หรือเป็นผู้ผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ในตัวเด็ก คือเราต้องอย่ายึดมั่นว่าส่ิงที่เรารู้ เป็นส่ิงที่
ถูกต้องที่สุด องค์ความรู้มีการเปลี่ยนแปลง” ซ่ึงแนวคิดการศึกษารูปแบบการฝากธนาคาร และ
การศึกษารูปแบบของการหยิบยกปัญหาน้ันถูกเสนอและเรียบเรียงในหนังสือหมวดการศึกษาท่ีมีช่ือ
ว่า “การศึกษาของผู้ถกู กดข”ี่
“การศึ กษาของผู้ถูกกดข่ี” ซ่ึงถูกเขียนโดย “เปาโล เฟรเร” ในส่ วนหน่ึงได้พู ดถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เม่ือเรานึกถึงการบรรยายจากครูผู้สอนและการฟงั บรรยาย
ของผู้เรียนท่ีครูผู้สอนพาผู้เรียนท่องจําเน้ือหา เฟรเรได้มองว่ารูปแบบการบรรยายน้ันจะเปล่ียน
ผู้เรียนให้กลายเป็น “ภาชนะ” เป็นท่ี “รองรับ” สําหรับครูผู้ “เติมเต็ม” ย่ิงเติมเต็มภานะน้ันได้มาก
เท่าไหร่ ครูผู้สอนก็จะย่ิงเป็นครูผู้สอนท่ีดีมากข้ึนเท่าน้ัน และหากผู้เรียนน้ันยินยอมเป็นภาชนะให้
ครูผู้สอนเติมเต็มอย่างนอบน้อมมากเท่าไหร่ เขาก็จะย่ิงเป็นผู้เรียนท่ีดีมากข้ึนเช่นกัน ดังน้ันแนวคิด
การศึกษาดังกล่าวจึงเป็นท่ีมาของคําว่า “การศึกษาแบบฝากธนาคาร” หรือ “Banking education”
ส่งผลให้การศึกษากลายเป็นระบบปฎิบัติการฝากสะสม ซ่ึงครูเป็นผู้ฝากและผู้เรียนทําหน้าท่ีเป็นผู้รับ
ฝาก และความรู้คือของขวัญท่ีผู้ถือตนว่ามีความรู้หยิบย่ืนให้แก่คนท่ีพวกเขาถือว่าไม่รู้อะไรเลย ซ่ึงการ
ท่ีเขาเอาภาพเขลาน้ันไปสวมให้กับผู้อ่ืน ถือเป็นลักษณะประการหน่ึงของอุดมการณ์การกดข่ี และ
เพราะปราศจากความคิดสร้างสรรค์ ปราศจากการแปรเปล่ียนและความรู้ ปราศจากการไต่ถาม
ปราศจากการรู้ปฏิบัติ ปัจเจกบุคคลจึงมิอาจเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้ ดังน้ันผู้ท่ียึดม่ันในเป้าหมาย
ของการปลดปล่อยอย่างแท้จริงจึงต้องปฏิเสธแนวคิดแบบการฝากธนาคาร การศึกษาแบบฝาก
ธนาคารจึงเป็นสิ่งท่ีเฟรเรได้เสนอให้ละท้ิงไป และได้เสนอแนวทางการจัดการศึกษาใหม่ของเขาข้ึนมา
โดยเรยี ก “การศึกษาแบบหยิบยกปญั หา” หรอื “Problem-posing education”
18
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
“การศึกษาแบบหยิบยกปัญหา” การจัดการศึกษาแบบน้ีเป็นการทําลายความสัมพันธ์ในแบบ
ด้ังเดิมลงท่ีผู้สอนมีอํานาจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือ “ฝาก” องค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ซ่ึงใน
ความสัมพันธ์ในการศึกษาแบบหยิบยกปัญหา จะเป็นความสัมพันธ์ท่ีทลายความเป็นผู้สอนและผู้เรียน
แยกออกจากกัน ให้เข้ามาผสานอยู่ในตัวมนุษย์ กล่าวคือ ไม่มีใครเป็นผู้สอนและไม่มีใครเป็นผู้เรียน
ตลอดไป แต่ทุกคนต่างเป็นผู้สอนและผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน การศึกษาในรูปแบบน้ีจึงไม่มีท้ังผู้สอน
และผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่มีท้ังผู้ฝากและผู้รับฝาก ไม่มีท้ังผู้เติมเต็มและผู้รองรับ แต่โลกต่างหากท่ี
จะเป็นส่ือกลางในการแสวงหาคําตอบการศึกษาแบบหยิบยกปัญหาจึงเป็นกระบวนการสนทนาระหว่าง
กัน การสนทนาท่ีเกิดข้ึนจึงไม่มีใครเป็นผู้สอนและผู้เรียนอย่างตายตัว แต่ทุกคนต่างเป็นท้ังผู้สอนและ
ผู้เรียนได้ตลอดเวลา การสนทนาท่ีเกิดข้ึนน้ันจึงเป็นการพู ดคุยผ่านสภาพความเป็นจริงเป็นการ
พู ดคุยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ซ่ึงแน่นอนว่าประสบการณ์ของผู้
สนทนาย่อมมีความแตกต่างกันไปตามภูมิหลัง การสนทนาท้ายสุดแล้วผู้เข้าร่วมต่างเป็นผู้ร่วมกัน
แสวงหาคําตอบหรือแสดงให้เห็นความกดข่ีท่ีเกิดข้ึน และพร้อมลุกข้ึนไปเปล่ียนแปลงสภาพท่ีเกิดข้ึน
อย่างสร้างสรรค์ ซ่ึงความแตกต่างของการศึกษาแบบฝากธนาคารและการศึกษาแบบหยิบยกปัญหา
จึงอยู่ท่ีความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน กระบวนการสอนท่ีแตกต่างกันออกไป ตลอดจน
แนวความคิดท่ีอยู่เบ้ืองหลังของการจัดการศึกษา การศึกษาแบบฝากธนาคารจึงเพียงต้องการ
จรรโลงสังคมแบบเดิมเอาไว้ ขณะท่ีการศึกษาแบบหยิบยกปัญหากลับทําสิ่งท่ีตรงกันข้าม น่ันคือการ
เปล่ยี นแปลงสังคมไปสู่สภาพทด่ี ีกวา่
ในทั ศนะของข้ าพเจ้ าหลั งจากการอ่ าน “การศึ กษาของผู้ ถู กกดข่ี ” ของเปาโล เฟรเร
ได้ว่าการศึกษาน้ันต้องเป็นการศึกษาท่ีทําให้ผู้ถูกกดข่ีเห็นโลกอย่างท่ีโลกควรเป็นจริง ๆ ดังน้ันการศึกษา
ต้องมุ่งไปท่ีการแก้ไขปัญหาของมวลมนุษย์ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ มุ่งให้เกิดการต้ังคําถาม
การศึกษาต้องใช้การเสวนาหรือการสนทนาแทนการสอนแบบถามตอบ เปล่ียนจากรูปแบบของการฝาก
และการรับฝาก เป็นการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันท้ังผู้เรียนและผู้สอน หรือเปล่ียนจากการเอาปลามาให้เป็น
การสอนจับปลาจากการหว่านแห เพราะการเสวนาจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซ่ึงการ
คิ ด แ บ บ วิ พ า ก ษ์ จ ะ ช่ ว ย ก ร ะ ตุ้ น ใ ห้ เ กิ ด ก า ร ไ ต ร่ ต ร อ ง ก า ร ต้ั ง คํ า ถ า ม
การหาหนทางแก้ไขปัญหา สู่การลงมือแก้ปัญหา ความรู้จึงไม่หยุดน่ิงตายตัว เม่ือความรู้ไม่หยุดน่ิง
ตายตัว น่ันหมายความว่ามนุษย์จะไม่หยุดเพียงแค่การเรียนรู้ท่ีจะกระทําเพียงแค่การจับปลาเพียงการหว่าน
แห แต่น้ันหมายถึงมนุษย์จะคิดหาทางจับปลาโดยทางอ่ืน เพื่อให้ได้มาซ่ึงวิธีของตนเองโดยปราศจากวิธี
ข อ ง ผู้ อ่ื น แ ล ะ ทํ า ใ ห้ ไ ด้ ม า ซ่ึ ง ผ ล ท่ี ต น เ อ ง พึ ง พ อ ใ จ น่ั น ห ม า ย ถึ ง ม นุ ษ ย์ จ ะ ภู มิ ใ จ ใ น ต น เ อ ง
น่ั น ห ม า ย ถึ ง ม นุ ษ ย์ ส า ม า ร ถ เ ดิ น ต า ม ท า ง ข อ ง ต น เ อ ง โ ด ย ป ร า ศ จ า ก ก า ร บั ง คั บ บั ง เ หี ย น ข อ ง ผู้ อ่ื น
น่ันหมายถึงมนุษย์สามารถเป็นมนุษย์โดยปราศจากการถูกกดข่ีของอํานาจต่าง ๆ และไม่กลายเป็นผู้ถูกกด
ข่ี ข อ ง ผู้ ก ด ข่ี อี ก ต่ อ ไ ป น่ั น แ ส ด ง ว่ า เ ร า ส า ม า ร ถ ห ลุ ด พ้ น จ า ก อํ า น า จ ท่ี ก ร ะ ทํ า ก า ร ก ด ข่ี
มนุษย์สามารถเป็นมนุษย์ได้อย่างท่ีควรและอย่างภาคภูมิ สามารถเป็นอิสระอย่างเสรีได้เม่ือเรามีการคิด
วิพากษ์ และเพราะกระบวนการคิดต่าง ๆ ย่อมน้ันสถาบันทางการศึกษามีส่วนในการก่อให้เกิดกระบวนการ
ตา่ ง ๆ ดังนน้ั การเปล่ยี นรูปแบบของการศึกษา จึงเปน็ จดุ เรม่ิ ต้นของการถูกปลดจากการถูกกดข่นี น่ั เอง
“ขณะที่หญิงและชายไตร่ตรองถึงตัวเองกับโลกไปพร้อม ๆ กัน และขยายเขตการรับรู้ออกไป พวก
เขาจะเร่มิ หนั มาสังเกตเหน็ ปรากฎการณท์ กี่ ่อนหน้านไี้ ม่ได้ปรากฏเด่นชัด”
19
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
รายการอ้างอิง
เปาโล เฟรร.ี (2560). การศึกษาของผ้ถู ูกกดขี่ ฉบบั ครบรอบ 50 ป.ี สายพิณ กลุ กนกวรรณ
ฮมั ดาน,ี ผู้แปล. กรุงเทพฯ: สวนเงนิ มีมา.
มนต์ศักด์ิ ชัยวีระเดช. (2560). มองการเปล่ยี นแปลงแนวคดิ การศึกษาในศตวรรษท่ี 21 ผา่ น
เปาโลเฟรเร ใน การศึกษาของผ้ถู กู กดข.่ี วารสารศาสตร,์ ปที ่ี 10 (ฉบบั ท่ี 1 มกราคม - เมษายน
2560), เลขหน้า 253 – 263, Retrieved
fromhttps://so06.tcithaijo.org/index.php/jcmag/article/view/220198?fbclid=IwAR1dk
P0eLPnc_A9HTcd_JfWp8rxLxkeui7jndeeRWTrujnxGIH9EkCU8c4Q
สํานกั งานราชบณั ฑิตยสภา. (2554). พจนานกุ รรม ฉบับราชบัณทติ ยสถาณ พ.ศ.2554.
สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/
อรรถพล ประภาสโนบล. (2559). วพิ ากษ์วัฒนธรรมยุคดิจติ อลผา่ นปรชั ญาการศึกษาของ
เปาโล แฟร.์ วารสาร ปณิธาน, ปีท่ี 12 (ฉบับท่ี 1 มกราคม - มิถุนายน 2559), เลขหน้า 78 – 97,
Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/index
Nattatiti K. (2564). ระบบการศึกษาไทย ปีศาจทกี่ ัดกนิ ความเปน็ คนของคร.ู สืบคน้ จาก
https://www.sanook.com/news/8358770/
20
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
วรรณวไิ ล กง่ิ มะลิ 6119610548
ความน่งิ เฉย = ความไม่ปกติ
Paulo Freire ชาวบราซิลท่ีเป็นนักการศึ กษาและนักปรัชญา เป็นผู้ท่ีมีความโดดเด่น
และเป็นผู้นําในเร่ืองการศึกษา การเรียนการสอน และท่ีสําคัญเป็นผู้เขียนหนังสือท่ีช่ือดังระดับโลก
ล้วนรู้จักและนําทฤษฎีจากในหนังสือมาวิพากษ์วิจารณ์หรือนําไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในยคุ
ปัจจุบนั รวมท้งั ยงั สอนแนวคิดการถูกดขท่ี ท่ี ําให้เปน็ ประเด็นใหญท่ ่ที ่วั โลกตอ้ งจบั ตามอง
เ ป า โ ล แ ฟ ร์ ( Paulo Freire) ช า ว บ ร า ซิ ล เ กิ ด เ ม่ื อ วั น ท่ี 1 9 กั น ย า ย น ค . ศ . 1 9 2 1
ในเมือง เรคซิเฟ่ (Recife) พ้ืนฐานของครัวของท่านเกิดอยู่ในฐานะปานกลางแต่ช่วงท่ีประเทศบราซิล
อยู่ในสภาวะตกต่ําทางเศรษฐกิจ ซ่ึงมีผลกระทบต่อครอบครัวของเปาโลอย่างมาก จึงทําให้ครอบครัว
ของเขาต้องตกตระกําลําบาก ซ่ึงช่วงน้ีแหละท่ีทําให้เปาโล แฟร์ ได้ตระหนักถึงรสชาติความเป็นอยู่
ของความยากจนและการใช้ชีวิตท่ีแตกต่างออกไปเลยเกิดชุดความคิดท่ีว่า “ต้องการจํากัดช่องว่าง
ความยากจนน้ีออกไป”จากประสบการณ์และบทเรียนท่ีเปาโล แฟร์ได้เรียนรู้ผ่านชีวิตจริงทําให้เขา
อยากท่ีจะช่วยเหลือคนฐานะยากจน เปาโล แฟร์สร้างปรัชญาการศึกษาท่ีผสมกระบวนการแบบเพลโต
เข้ากับความคิดมาร์ซิสม์ ท่ีต่อต้านการศึกษาแบบอาณานิคม จึงเกิดเป็นหนังสือ “การศึกษาของผู้ถูก
กดข่ี” จากความหิวโหย ความรันทด กังขา คาดหวัง และโศกเศร้า ล้วนแต่มีความรู้สึกของเปาโล
แฟร์ ในหนังสือเล่มน้ี ซ่ึงเขาเช่ือว่า จะสามารถปลดปล่อยทุกคนได้ท้ังผู้ชายและผู้หญิงท่ีถูกนําหน้า
ด้วยการประณามอํานาจของผู้ทก่ี ดข่ตี ้ังใจผลิตชุดความคิดบางอย่างออกมาและป้อนข้อมูลใส่พวกเรา
ทุกคน ซ่ึงทําให้พวกเราทุกคนถูกถอดถอนหรือถูกทําลายความเป็นมนุษย์ไปผ่านการศึกษาแบบ
“ฝากธนาคาร”ท่ีเป็นเคร่ืองมือในการกดข่ี เม่ือพวกเราทุกคนถูกกดข่ีจนเกิดเป็นความเคยชิน
ก็กลายเป็นมุ่งไปสู่ “วัฒนธรรมความเงียบ” ท่ีพู ดถึงความเงียบของมนุษย์ในการไม่มีสิทธ์ิมีเสียง
และมองว่าทุกอย่างเป็นเร่ืองปกติ จึงทําให้เปาโล แฟร์ กล่าวถึงแนวคิด “มโนธรรมสํานึก”
การได้ตระหนักถึงความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนในสังคม ซ่ึงเป็นหน่ึงในวิธีการท่ีจะช่วยให้ลดวัฒนธรรมความ
เงียบได้ และยังมีข้อหัวหรือประเด็นอ่ืน ๆ ท่ีสําคัญท่ีกล่าวถึงการถูกกดข่ีหรือผู้กดข่ี เช่ือมโยงถึง
การศึกษา อิทธิพลของชนช้ัน การเมือง เศรษฐกิจ รวมท้ังความเป็นมนุษย์ท่ียังคงอยู่ และเปาโลแฟร์
ยังเคยติดคุกด้วยงานวรรณกรรมท่ีต่อกรกับเผด็จการทหาร เม่ือได้ออกจากคุกก็ได้ทํางาน
หลากหลายอย่างรวมท้ังเป็นศาสตราจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยช้ันนําของประเทศอเมริกา
และอังกฤษ แต่ในท่ีสุดประเทศบราซิลก็ได้ตระหนักแนวคิดท่ีสําคัญของเปาโล แฟร์ จนสุดท้ายได้รับ
แต่งต้ังเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จนกระท่ังถึงวาระสุดท้าย และเสียชีวิตเม่ือวันท่ี
2 พฤษภาคม ค.ศ.1997 ในส่วนน้ีก็เป็นประวัติฉบับย่อของเปาโล แฟร์ และหนังสือเล่มดังกล่าวท่ีมี
หัวข้อและพู ดถึงในแง่ของการถูกกดข่ีท่ีอยากให้ได้รับการปลดปล่อยอย่างเท่าเทียม (แดนอีศาน ,
2551)
ประเด็นท่ีผู้เขียนต้องการเลือกนํามาเขียนให้ผู้อ่านได้เข้าใจและรับสารจากผู้เขียน จากการ
อ่านหนังสือเปาโล แฟร์ เล่มน้ี คือ ประเด็นด้าน “วัฒนธรรมความเงียบ (Culture of Salience)”
เหตุผลท่ีผู้เขียนต้ังใจนําประเด็นน้ีมาเขียนเป็นเพราะว่า “วัฒนธรรมความเงียบ” เป็นส่ิงท่ีมีอยู่รอบ
21
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ูส้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2564
สังคมเรา เป็นส่ิงท่ีพบเจอได้ง่ายหรือส่ิงใกล้ตัวน่ันเอง แต่มีบุคคลอ่ืน ๆ หรือสังคมมากมายท่ีมองว่า
เร่ืองน้ีไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงแค่แนวคิดลอย ๆ และมองข้ามเร่ืองน้ีไปด้วยซ้ํา แต่เม่ือผู้เขียนได้อ่าน
หนังสือเล่มน้ีกลับตระหนักคิดถึงส่ิงท่ีเปาโล แฟร์ต้องการจะสื่อสารถึงการผลิตซ้ําหรือถูกกดข่ีจน
กลายเป็น “วัฒนธรรมความเงียบ” ผู้เขียนจึงมองเห็นเป็นส่ิงสําคัญในการท่ีจะทําให้สังคม
และประชาชนหลายคนได้เห็นมุมมองอีกมิติท่ีเราไม่เคยคาดคิดว่าเราจะเป็นหน่ึงในส่วนร่วมท่ีกลายเป็น
ผู้ถกู กดขห่ี รอื เป็นผกู้ ดข่ไี ดโ้ ดยท่เี ราไมร่ ตู้ ัว
วัฒนธรรมความเงียบ (Culture of Salience) เปาโล แฟร์ ให้ทัศนะว่า โลกทัศน์ของ
มนุษย์ คือ สิ่งท่ีทําให้มนุษย์ไร้ศักด์ิศรี คือการกดข่ี(oppression) ซ่ึงเป็นผลมาจากการท่ีประชาชน
หรือบุคคลต่าง ๆ อยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมเงียบ (Culture of Silence) หมายถึง
การเพิกเฉย น่ิงเฉยต่อสิ่งรอบข้างท้ังด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา หรือการต้ังคําถามกับสิ่ง
ท่ีเรามีอยู่ ส่งผลให้ผู้ท่ีอยู่ในวัฒนธรรมความเงียบจะตกเป็นชนช้ันล่างของสังคมหรือเป็นทาสน่ันเอง
คนเหล่าน้ีจะไม่ได้ตระหนักรู้ถึงปัญหาท่ีเกิดข้ึนในสังคมหรือรอบตัวท้ังปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง
การศึกษา เปาโล แฟร์ จึงคิดว่า การท่ีจะให้คนเหล่าน้ีรู้สิ่งท่ีกําลังเกิดข้ึนกับตัวเองเป็นเร่ืองท่ีสําคัญ
เพราะถ้าหากยังเป็นแบบน้ีต่อไปก็อาจจะถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพหรือความอิสระในการเลือกของ
ตนเอง และการท่ีมนุษย์ไม่ต้ังคําถามกับบริบทรอบตัวน่ีแหละ ทําให้กลายเป็นการเพิกเฉยและมองว่า
ทุกอย่างเป็นเร่ืองธรรมดา เช่น หากวันน้ีเราต้องยืนทํางานท้ังวันเพราะไม่มีเก้าอ้ีน่ัง ก็จะต้องยืนท้ังวัน
ไมม่ กี ารเกิดการต้งั คาํ ถามวา่ “ทาํ ไมเราถึงไมม่ ีเกา้ อ้นี ่งั ” ทุกคนอาจมองวา่ เรอ่ื งนเ้ี ป็นเร่อื งเลก็ หรอื เป็น
เร่ืองท่ีก็ปกติอยู่แล้วน่ิท่ีเราทํางานก็ต้องยืนทํางานอย่างเดียวไม่ใช่หรอ แต่ในความเป็นจริงแล้วทุก
อาชีพทุกงานล้วนต้องเคารพสิทธิเสรีภาพในการน่ังได้ น่ังพักในการทํางาน หรือตอนท่ีไม่มีลูกค้า
หลายๆ คนเลยไม่กล้าต้ังคําถามกับการท่ีทําไมเราไม่ได้น่ัง หากต้ังคําถามไปก็อาจจะทําให้หัวหน้างาน
ไม่พอใจและไม่จ้างงานเราต่อแล้วก็ได้ น่ีก็ถือว่าเป็นผู้กดข่ีท่ีมาในรูปแบบของเจ้านาย ทําไมลูกน้อง
หรือพนักงานอย่างเราไม่กล้ามีสิทธ์ิมีเสียงท่ีจะเรียกร้องอะไร เม่ือเวลาผ่านไปแล้วมีแต่ผู้คนท่ีทําแบบน้ี
เร่ือยๆ ส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ท้ังนายจ้างและลูกจ้างก็จะกลายเป็นมีความเช่ือว่าส่ิงน้ี คือ สิ่งท่ีถูกต้อง
ส่งผลให้วัฒนธรรมความเงียบเป็นสิ่งท่ีทําให้ทุกอย่างกลายเป็นเร่ืองปกติ เม่ือใดท่ีมีการต้ังคําถาม
ข้ึนมา “คุณจะกลายเป็นคนผิด” และมากไปกว่าน้ันหากเร่ืองน้ีเป็นเพียงแค่เร่ืองเล็กน้อย และเร่ือง
ใหญ่ท่เี กดิ ข้นึ ละ่ จะมีผลกระทบในแนวกว้างมากแค่ไหน (เฟรร,ี เปาโล, 2560)
จากวิจัยหัวข้อ “บทวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพ่ือเสริมพลังอํานาจชุมชนในการป้องกัน
ปัญหาการค้ามนุษย์” เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และนําเสนอแนวทางในการจัดกระบวนการ
เรียนรู้เพื่ อเสริมพลังอํานาจชุมชนในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยวิจัยน้ีกล่าวถึง
ปรากฏการณ์การค้ามนุษย์ท่ีเกิดข้ึนในชุมชนของไทย จากผู้เสียหายท่ีถูกบังคับค้าแรงงานและค้า
บริการ ถูกเอารัดเอาเปรียบจ้างนายจ้างและถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพทันทีเม่ือตัดสินใจมาเป็นลูกจ้าง
ท้ังความไม่ปลอดภัยในการสภาพการทํางาน การถูกทําร้าย ถูกใช้งานเย่ียงทาส และถูกแสวงหา
ประโยชน์ท่ีเกิดข้ึน โดยท่ีเช่ือมโยงกับหลักแนวคิดของเปาโล แฟร์ ในวัฒนธรรมความเงียบ เม่ือเขาได้
ตัดสินใจเลือกมาเส้นทางน้ีก็ไม่อาจมีสิทธ์ิท่ีจะเดินถอยหลังหรือการคิดว่าเราถูกเอารัดเอาเปรียบ
มีเพี ยงแต่ว่า เม่ือเราโดนแบบน้ีเราก็ต้องทนและเดินหน้าไปต่อเท่าน้ัน หรือบางคร้ังเม่ือพู ดไป
ก็ไม่สามารถได้รับการแสดงความคิด การพู ดได้ เพราะนายจ้างจะบอกว่า “จ้างมาให้ทํางาน ไม่ใช่จ้าง
22
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
มาเพื่อให้พู ด” เม่ือเกิดเหตุการณ์แบบน้ีบ่อยคร้ังการค้ามนุษย์ในรูปแบบน้ีหรือคนท่ีไปทํางานกลับ
เพียงรู้สึกว่ามันเป็นส่ิงปกติท่ีเราต้องได้รับ เพราะเรามาทํางาน โดยไม่ต้ังคําถามกับส่ิงท่ีเกิดข้ึน
ได้เพียงแต่ยอมรับมันเท่าน้ัน ชุดความคิดน้ีจึงถูกแช่ลงไปกลายเป็นชุดความคิดท่ีมนุษย์ทุกคนมีภาพ
จําเดียวกันว่า ผู้ท่ีใช้แรงงานหรือการค้ามนุษย์ ก็ไม่ต่างไปจากสัตว์ท่ีเปาโล แฟร์เคยกล่าวไว้ว่า
“มนุษย์ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน ตรงท่ี มนุษย์มีจิตสํานึก (consciousness )มนุษย์ต้องอยู่ในฐานะ
ผู้กระทํา(subjects) ไม่ใช่ในฐานะถูกกระทํา(objects)” (Paulo Friere, 1968) โดยท่ีวิจัยน้ีก็ได้พู ดถึง
การนําเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่ อเสริมพลังอํานาจชุมชนในการป้องกันปัญหา
การค้ามนุษย์ โดยท่ี 1.สร้างการรับรู้และความตระหนัก (strengthening perception and
awareness) 2.การต้ังคําถามจากประเด็นปัญหาร่วมกัน (promoting questions from shared
problems) 3 . ก า ร ส นั บ ส นุ น ใ ห้ เ กิ ด ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ร่ ว ม กั น ( promoting joint operations)
4. การให้ชุมชนได้ร่วมวิพากษ์ผลการดําเนินงาน (promotion communities in critiquing
outcomes together) ซ่ึงท้ังหมดก็เป็นแนวทางหน่ึงท่ีจะช่วยให้ประชาชนหรือชุมชนน้ีได้เกิดการต้ัง
คําถามและสามารถท่จี ะวพิ ากษ์วิจารณ์ส่ิงตา่ ง ๆ ได้โดยทไ่ี มถ่ ูกเอารดั เอาเปรียบจากผอู้ น่ื หรอื เฝ้าระวัง
ให้ไม่ถูกกดข่ีจากผู้มีอํานาจ อาจเป็นส่ิงท่ีหล่อหลอมให้กลายเป็นพฤติกรรมและส่งต่อสู่ลูกหลาน
ตัวอย่างวิจัยท่ีผู้เขียนยกข้ึนมาเพราะต้องการแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงหรือสถานการณ์จริงท่ีเรา
ทุกคนมองว่ามันเป็นเร่ืองปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นส่ิงท่ีไม่มีใครควรได้รับการถูกกดข่ีหรือเอา
รัดเอาเปรียบโดยท่ีไม่มีทางต่อสู้ เพราะวัฒนธรรมความเงียบน้ันเกิดข้ึนจากตัวเรา ผู้ท่ีจะผ่านพ้นโดย
ปราศจากกลายเป็นผู้ถูกกระทํา มีเพียงแต่ต้องเรียนรู้ท่ีจะรู้ถึงสิทธิเสรีภาพ และความสงสัยในการต้ัง
คําถามของตัวเองก็เปน็ สิ่งทท่ี กุ คนควรจะมตี ิดตัว (ป่ นิ หทยั , ชนติ า, 2561)
มโนธรรมสํานึก (Conscientization) เปาโล แฟร์ เช่ือว่า “ความแตกต่างระหว่างมนุษย์
และสัตว์อยู่ท่ีว่า มนุษย์มี มโนธรรมสํานึกและการกระทําของมนุษย์จะต้องสัมพันธ์กับจิตสํานึกของเขา
เสมอ”การให้การศึกษาควรจะเป็นไปเพื่ อให้คนเป็นอิสระมีความนึกคิดและตระหนักรู้ในตนเอง
ไม่เป็นเพี ยงแค่วัตถุท่ีให้ผู้อ่ืนครอบงํา เป็นผู้มีอิสระและเป็นผู้กําหนดชะตากรรมของตนเองได้
มนุษย์จึงควรจะได้ตระหนักว่า ตนเป็นผู้ท่ีสามารถกําหนดและเปล่ียนแปลงสภาพแวดล้อมได้
มโนธรรมสํานัก คือ ความตระหนักในสภาพขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคม คงไม่อาจหลีกหนีกับวัฒนธรรมความเงียบ หากประชาชนทุกคนอยู่ในสภาวะน้ีส่ิงท่ีจะต้อง
ขาดไป คือ ความเก่ียวข้องด้านการเมือง ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ปกครอง หรือมีนโยบายอะไร แม้กระท่ังไม่รู้
ว่าผลกระทบท่ีตัวเองได้รับมีส่วนเก่ียวข้องจากการเลือกและตัดสินใจในการเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหาร
พวกเขารอเพียงความกรุณาหรือความหวังจากผู้อ่ืนเท่าน้ัน หากมีผู้ใดมาโปรดคงกลายเป็นเหมือน
แสงท่ีส่องมายังพวกเขา แต่หารู้หรือไม่ว่าความจริงสิ่งท่ีเขาได้ควรเป็นส่ิงท่ีเขาจําเป็นต้องได้อยู่แล้ว
ดังน้ัน เม่ือเห็นความขัดแย้งทางสังคมท่ีเกิดข้ึน เราก็ควรจะตระหนักถึงความแย้งท่ีเกิดข้ึนในทันที
เพื่อลดความสูญเสียในการท่ีเราอาจโดนอํานาจกดข่ีทางรูปแบบท่ีเขาสามารถท่ีจะทําอะไรกับพวกเรา
กไ็ ด้ (Freire, P, 2012)
บทความข้างต้นของผู้เขียนมีจุดยืนท่ีต้องการให้ผู้อ่านเห็นถึงวัฒนธรรมความเงียบท่ีเกิดข้ึน
ใกล้ตัวและอาจเป็นส่ิงท่ีพวกเรากําลังทําอยู่โดยอาจไม่ได้ตระหนักถึงว่าเราเป็นผู้ท่ีถูกกดข่ี บทความน้ี
จึงอยากให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความสําคัญการร้ือถอนวัฒนธรรมความเงียบท้ิง โดยอาจใช้แนวคิด
23
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
การมีมโนธรรมสํานึกเข้ามาช่วยแก้ปัญหาน้ีได้ และยังกล่าวถึงวิจัยท่ีนํามาสนับสนุนถึงวัฒนธรรม
ความเงียบ เป็นเหตุการณ์ท่ีเราทุกคนมองว่ามันเป็นเร่ืองปกติ แต่เป็นสิทธิส่วนบุคคลท่ีควรจะได้รับ
ความปลอดภัยหรือการดูแล และยังมีเหตุการณ์อ่ืน ๆ ท่ีสามารถเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เข้าใจตาม
ประสบการณ์ท่พี บ ซง่ึ ผ้เู ขียนมองวา่ หากผู้อ่านไดอ้ า่ นบทความน้หี วังว่าจะสามารถเชอ่ื มโยงวฒั นธรรม
ความเงยี บกบั บริบทในสังคมได้
เม่ือสังคมท่ีเราอยู่เกิดเป็นวัฒนธรรมความเงียบเราจึงควรท่ีจะต้องช่วยให้คนเหล่าน้ีได้รับรู้
ความจริงภายใต้อิทธิพลการถูกกดข่ีท่ีโดนกดทับมาแสนนาน จึงกลายเป็นรากฐานของความปกติ
ซ่ึงส่ิงน้ีแหละจะทําลายความเป็นมนุษย์ในตัวของเราทุกคนไป หากเราพลาดท่ีจะได้มีส่วนร่วมในการ
แสดงความคิดเห็น การมีสิทธ์ิมีเสียง การรับรู้ส่ิงรอบตัว รู้เหตุผลของหลายๆ อย่าง หรือการมีอิสระ
ในการเลือก ส่ิงท่ีเราได้ตัดสินใจเอง และรู้ถึงการทํางานภายใต้รัฐบาล การเมือง เศรษฐกิจ
โดยท่ีทุกเร่ืองราวท่ีกล่าวมาน้ันมีผลกระทบต่อตัวเราทุกคนท้ังสิ้ น ในด้านความเป็นมนุษย์
สิทธิเสรีภาพ ความอิสระในการเลือก ด้านการศึกษา หรือการแบ่งแยกชนช้ันท่ีไม่อาจเท่าเทียมกันได้
เพียงแต่ผลกระทบนน้ั เราจะสามารถตง้ั คําถามกับส่ิงทเ่ี กดิ ขน้ึ และเชอ่ื มโยงกับสิ่งทเ่ี ราควรจะไดร้ ับได้รึเปลา่
องค์กรและทุกภาคส่วนสามารถท่ีจะช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากการถูกกดข่ีร่วมมือกันแก้ไข
ด้วยวิถีแห่งการคิดและการปฏิบัติ (Praxis) อาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด เสนอแนวทาง
หรือร่วมหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันและวิพากษ์วิจารณ์ส่ิงท่ีเกิดข้ึนในสังคมได้ เม่ือประชาชนได้มี
ความรู้และได้เรียนรู้ท่ีตัวเองมีสิทธ์ิท่ีจะคิด ตัดสินใจและอิสระในการใช้ชีวิตแล้วในท่ีสุดเขาก็จะสามารถ
หลุดพ้นจากการถูกกดข่ีโดยท่ีไม่มองว่าเร่ืองท่ีไม่ปกติเป็นเร่ืองท่ีปกติอีกต่อไป อาจช่วยให้ผู้กดข่ี
หลายๆ คนกลับต้องยอมรับสิทธ์ิเสียงของคนอ่ืน ๆ เพ่ือลบล้างฐานชุดความคิดท่ีว่า “การเงียบ
คือ สิ่งท่ีดีท่ีสุด” หรือประชาชนท่ีอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลก็ไม่ควรถูกกดข่ีด้านความคิดเห็นหรือ
ปิดตารวมท้ังการเข้าถึงข้อมูลในหลายๆ อย่าง ซ่ึงเม่ือกลายเป็นพฤติกรรมท่ีส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่นอาจจะ
ทําให้การถูกกดข่ีจาก “วัฒนธรรมความเงียบ” น้ันหายไป แต่ก็ยังมีแนวคิดหรือวิธีอ่ืน ๆ อีกมากมาย
ท่ียังช่วยให้ลบล้างแนวคิดชุดน้ี เช่น มโนธรรมสํานึกท่ีผู้เขียนได้กล่าวถึง ท่ีสร้างจิตสํานึกในการ
ตระหนักถึงความขัดแย้งว่ามันไม่ใช่เร่ืองปกติ ซ่ึงผู้อ่านก็เช่นเดียวกันท่ีจะช่วยขับเคล่ือนแนวคิดน้ีให้
เป็นท่ีรู้จักและทําให้ผู้อ่ืนหลุดพ้นจากการถูกกดข่ี ผู้เขียนอยากลองให้ผู้อ่านได้คิดวิธีในการแก้ไข
ปัญหาน้ีและลองต้ังคําถามกับส่ิงรอบตัวรวมถึงส่ิงท่ีตัวเองได้รับว่าเรา ควรค่าแก่การได้รับหรือสิ่งท่ี
ได้รับมันเหมาะสมหรือยัง สิ่งเหล่าน้ีน่าจะเป็นส่ิงท่ีดีท่ีจะช่วยให้มนุษย์โลกของเราทุกคนหลุดพ้นโดย
ปราศจากการตกเป็นเบ้ียล่างของอํานาจจากทุกแห่ง เป็นส่ิงท่ีมนุษย์ทุกคนควรจะได้รับและมีสิทธ์ิท่ีจะ
เลือกใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ เร่ืองราวประเด็นเหล่าน้ีท่ีผู้เขียนพยายามส่งสารให้ผู้อ่านได้รับอาจเป็นส่ิงท่ี
เปาโล แฟร์ ได้คดิ คน้ และต้องการทจ่ี ะเผยแพร่เชน่ เดียวกัน ....“สู่ความเปน็ มนษุ ย”์ ....
24
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
บรรณานุกรม
แดนอีศาน. (2551). มองอสิ รภาพและความสามารถในการกําหนดชะตาชีวิตมนุษยผ์ ่านผลงานเปาโล
แฟร์ สืบค้น 27 ตลุ าคม 2564 จาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/FogSea/2008/03/18/entry-2
แฟร์ เปาโล. (2517). การศึกษาสําหรบั ผกู้ ดข.ี่ แปลและเรยี บเรยี งโดย ช เขียวพุ่มพวง.
กรุงเทพมหานคร: สหพันธ์นกั ศึกษาเสรีแห่งประเทศไทยจดั พิมพ์.
แฟร์ เปาโล. (2522). การเคลอื่ นไหวทางวฒั นธรรมเพื่อเสรีภาพ. แปลและเรยี บเรยี งโดย
มนตรี กรรพุมมาลย์. กรงุ เทพมหานคร:เจรญิ วิทยก์ ารพิมพ์.
Paulo Friere. 1968. pedagogy of the oppressed.N.Y.: the seaburry press.
ป่ นิ หทัย หนูนวล1, ชนิตา รักษ์พลเมอื ง2. (2561). บทวเิ คราะหก์ ระบวนการเรียนรูเ้ พื่อเสรมิ พลงั
อํานาจชุมชนในการป้องกนั ปัญหาการคา้ มนุษย.์ วารสารสังคมสงเคราะหศ์ าสตร,์ ปีท่ี 26
(ฉบับท่ี 2), 81-105.
อรรถพล ประภาสโนบล. (2559).วิพากษ์วฒั นธรรมยคุ ดจิ ิตอลผา่ นปรชั ญาการศึกษาของ เปาโล แฟร์.
วารสารปณิธาน, ปที ่ี 12 (ฉบบั ท1่ี ), 78-94.
Freire, P. (1973). Education for critical consciousness. Translated and Edited by
Myra Bergman Ramos. London: Sheed and Ward.
Freire, P. (1974). Cultural action for freedom. USA: Penguin Education.
Freire, P. (2012). Pedagogy of the oppressed. Translated by Myra Bergman Ramos.
New York: Continuum International Publishing Group.
เฟรร,ี เปาโล. การศึกษาของผูถ้ ูกกดข.่ี —กรงุ เทพฯ : สวนเงนิ มีมา, 2560. 296 หนา้
25
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564
ปทั มพร นนั ทมงคลชยั 6205490029
ใบงานท่ี 4 บทความวิชาการ จากการอ่านงาน แฟเร่
‘ การศึกษา ศึกษาจรงิ หรอื เพียงท่องจํา.. ’
ในบทท่ีสองของหนังสือ ได้กล่าวถึงภารกิจของครูท่ีมีหน้าท่ีบอกเน้ือหาท่ีตนรู้เข้าไปในหัว
นักเรียน และนักเรียนก็เป็นผู้ฟงั อย่างอดทน เป็นความสัมพันธ์ท่ีคนหน่ึงกระทํา อีกคนก็รับการกระทํา
น้ันเหมือนเป็นภาชนะสําหรับให้เติมเต็ม ย่ิงครูเติมได้เยอะเท่าไหร่ก็เป็นครูท่ีดีเท่าน้ัน ส่วนภาชนะยอมให้
เติมเท่าไหร่ก็ถือเป็นนักเรียนท่ีดีเท่าน้ัน ท้ังท่ีการเติมเต็มด้วยวิธีการบอกเล่าให้นักเรียนจดจํา
แต่เน้ือหา บางคร้ังเน้ือหาน้ันมันหลุดจากความเป็นจริง ไม่ได้มีใครช้ีให้เห็นความสําคัญของการจดจํา
เนอ้ื หานน่ั หรือเพราะโครงสรา้ งการกดขใ่ี นการศึกษามันมมี าตลอดจนไมม่ ีใครเคยต้งั คาํ ถามกับมนั
ผู้เขียนช่ืนชอบซีรีส์เกาหลีมาก ๆ ประเด็นท่ีอยากนํามาอธิบายให้ชัดเจนเข้าใจได้ง่ายมากข้ึน
คือ การท่องจําช่ือเสียงเรียงนามของคนสําคัญต่าง ๆ เพื่อจําไปตอบในข้อสอบ ในบางกรณีอย่าง
การจําช่ือนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นเคร่ืองมือหรือทฤษฎีท่ีเราใช้อ้างอิงในงานเขียน
หรืองานวิจัย ก็อาจจําเป็นท่ีต้องรู้ท่ีมาท่ีไปของคนสําคัญเพื่อความน่าเช่ือถือ แต่สําหรับช่ือกษัตริย์
หรือประธานาธิบดีหรือบุคคลท่ีไม่ได้เฉพาะเจาะจงในด้านใดด้านหน่ึง เป็นผู้ท่ีอาจจะไปรบชนะสงคราม
หรือมีบริบททางการเมืองและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะกษิตริย์ในประเทศไทยท่ีช่ือเสียงเรียงนาม
ยาวมาก ๆ ในช้ันเรียนสมัยมัธยมก็จะมีการให้ฝึกคัดท่องจํา คําถามคือในหลายเหตุการณ์เช่น
นําช่ือคนน้ันไปอ้างอิงทางประวัติศาสตร์หรือการพู ดถึงเหตุการณ์เปล่ียนแปลงของประเทศท่ีสําคัญ
การทําความเข้าใจให้ตรงกันของนักเรียนจะไม่สามารถใช้ช่ือเล่นหรือช่ือย่อหรือตําแหน่งย่อแทนได้เลย
ใช่ไหม ทําไมจะต้องจดจําช่ือท่ีแสนใกล้เคียงกันและยาวเกือบเท่า ๆ กันทุกคนด้วย แม้กระท่ังใน
ประเทศเกาหลีท่ีช่ือคนและช่ือกษัตริย์ไม่ได้ยาวเกิน 5 พยางค์ อ้างอิงจากซีรีส์เร่ือง Splash Splash
Love ท่ีนางเอกของเร่ืองเป็นเด็กสาวมัธยมปลายใกล้ถึงวันสอบเข้ามหาลัย บังเอิญย้อนเวลาไปยัง
ยุคโชซอนของเกาหลีกลางพิธีบูชาเทพ ก่อนท่ีจะย้อนเวลาไปน้ัน นางเอกเป็นเด็กท่ีเครียดมาก
เพราะตนเองเรียนไม่เก่ง โดนครอบครัวดุด่ามาตลอดจนตัดสินใจท่ีจะเดินตากฝนไม่ไปโรงเรียน
ในตอนท่ีนางเอกได้ย้อนเวลาไปเจอพระเอกท่ีเป็นกษัตริย์ยุคสมัยน้ัน ทําให้นางเอกพยายามนึกช่ือ
กษัตริย์ในแต่ละยุคสมัยของเกาหลี ซ่ึงในตอนแรกก็เดาช่ือพระเอกไม่ถูกเพราะท่องจําในห้องเรียนไม่
เคยได้ ไม่รู้ว่ากษัตริย์แต่ละคนมีพระราชกรณียกิจท่ีสําคัญอะไร พอไปใช้ชีวิตอยู่ในสมัยน้ันแล้วได้
ย้อนกลับมาเป็นเด็กมัธยมในปัจจุบัน นางเอกถึงจะสามารถตอบได้ว่ากษัตริย์ในยุคน้ันทําอะไรไว้บ้าง
ทําให้ผู้เขียนตระหนักว่าในเกือบทุก ๆ สังคม มนุษย์มักจะยึดติดกับช่ือเสียงนามธรรม มากกว่าการลง
รายละเอียดถงึ วิธใี หไ้ ด้มาซ่งึ ผลงานนน่ั
26
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
ซีรสี ์เรอื่ ง Splash Splash Love
การศึกษากลายเป็นปฏิบัติการฝากสะสม มุ่งผลแค่ว่าใครสะสมได้เยอะเท่ากับเป็นคนเก่ง
ใครขายเก่ง(วิเคราะห์เก่ง) ไม่จําเป็นต้องได้รับการยกย่องในร้ัวโรงเรียน แต่สังคมของการทํางาน
และการใช้ชีวิตต้องการคนวิเคราะห์เก่งเป็นอย่างมากเพ่ือความเติบโตก้าวหน้าของสายงาน กลายเป็น
ว่าจบจากมัธยมท่ีมีแต่การท่องจํา เข้ามหาลัยมาก็มีเวลาปรับตัวให้กลายเป็นคนคล่องแคล่วด้านการ
วิเคราะห์เป็นแค่ภายใน 4-8 ปีก่อนก้าวไปสู่สังคมวัยทํางาน มันเหมือนเป็นการฉายภาพให้เห็นความ
อยู่กับท่ีและการคงไว้ซ่ึงอุดมการณ์การกดข่ี ต้ังแต่เด็ก ครูเป็นผู้เลือกเน้ือหาการเรียนให้นักเรียน
พอสายงานท่ีเรียนจบมาเป็นครู ก็มีฐานคิดว่าจะต้องสอนให้นักเรียนได้รู้ในส่ิงท่ีได้รับรู้มาเหมือนกัน
แต่ไม่ได้สนวิธีท่ีจะนําไปต่อยอดหรือกลวิธีในการให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ไปจนถึงครูต้ังระเบียบ
วินัยให้นักเรียนอยู่ในกรอบ ครูอํานาจความรู้และอํานาจวิชาชีพปนเปกันไปหมด ย่ิงในสังคมไทย
แนวคิดมนุษยธรรมนิยมต่างนํามากล่าวอ้างเพ่ือให้นักเรียนอยู่ในกฎเกณฑ์ ท้ังท่ีการใช้ความยืดหยุ่น
หรือแม้แต่ในประเทศท่ีพัฒนาแล้ว ไม่จําเป็นต้องร่างกฎพวกน้ีมาอย่างจริงจังเลยก็ได้ เพราะมันไม่ได้
มีความจําเป็นต้ังแต่แรกเม่ือประเทศอ่ืนต่างต้ังคําถามกับมันไปแล้ว ( เช่น กฎการห้ามใส่ถุงเท้าข้อสั้น
การตดิ โบวม์ ัดผม ฯ วา่ ทําไปทําไม )
ในปัจจุบัน มีคนมากมายพยายามจะแก้ไขปัญหาการศึกษาแบบย่ําอยู่กับท่ีน้ี ให้ก้าวหน้ามากข้ึน
ท้ังในบริบทครู บริบทการเป็นนักเรียน และบริบทคนภายนอกท่ีต้ังคําถามจากประสบการณ์ท่ีตนเอง
เคยเจอข้ึนมา โดยเปล่ียนการศึกษาแบบฝากธนาคารเป็นการศึกษาแบบหยิบยกปัญหามาใช้แทน
เพื่อให้ผู้เรียนได้ด้ินรนท่ีจะขวนขวายความรู้มาด้วยคนเองตามจิตสํานึกท่ีควรจะเป็นไป และใช้การ
แทรกแซงเชิงวิพากษ์ต่อความเป็นจริง คือการไม่ได้มีภาพความรู้หรือภาพจําเก่า ๆ ท่ีได้มาจากการ
เติมเต็มของครูฝ่ายเดียว เหมือนเป็นการค่อย ๆ ปฏิวัติให้มนุษย์มีแนวปฏิบัติแห่งเสรีภาพ ( คือการท่ี
27
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
ทุกคนต่างเป็นผู้สอนและผู้ถูกสอน ให้ทุกคนเติบโตไปพร้อมกัน ) ทุกคนเข้าถึงการศึกษาและต้ัง
คําถามกับมันได้ จนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจอะไรใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว แต่ข้อเสียของการศึกษา
แบบหยิบยกปัญหาน้ี คือจะไม่สามารถรับใช้ประโยชน์ของผู้กดข่ีตามท่ีหนังสือบอก แต่การนําไปเป็น
แนวปฏิวัติการศึกษาก็ถือเป็นจุดเร่ิมต้นท่ีดี แม้ว่ามันอาจจะขัดแย้งกับพ้ืนฐานอํานาจหน้าท่ีท่ีระบบ
สังคมเคยปฏิบัติต่อ ๆ กันมา ก็ถือว่ามีผู้คนมากมายหลายคนต่างรับรู้ว่าการศึกษาตอนน้ีมันมีความ
กดทับใครอยู่บ้าง แต่ทุกคนไม่ได้ตระหนักรู้เพราะด้วยความเคารพความเป็นปัจเจก ก็เลยเกิดเป็น
คําถามในใจผู้เขียนอีกว่า ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าการปฏิวัติน้ีจะสําเร็จลุล่วงให้ไม่มีใครเลยถูกกดข่ี
ท้ังหมดมันไม่ได้หมดไปซะทีเดียว เพราะคนเป็นครูท่ีเคยถูกกดข่ี แม้จะรับรู้ว่าการกดข่ีมีรูปแบบยังไง
แต่ก็ใช้วิธีการชักจูงให้นักเรียนหรือคนรุ่นใหม่ไม่ใช่วัตถุถูกกระทําให้เหมือนว่าทุกคนควรเข้าใจคนท่ีถูกด
ข่ี เช่น การขาดสมดุลของระบบประเมินการเรียนการสอน ท่ีเน้นหนักไปท่ีการประเมินเพื่อตัดสิน
มากกว่าการประเมินเพื่อพัฒนา คอื ขอ้ เสียทพ่ี าระบบการศึกษาไทยไรท้ ิศทาง
เพราะง้ันถ้าจะเปล่ียน ก็ต้องเปิดการสนทนาร่วมเจตนาท้ังครูกับนักเรียนและฝ่ายต่าง ๆ
ท่ีเก่ียวข้อง ให้ช่วยกันรังสรรค์ความรู้ใหม่ด้วยภารกิจต่าง ๆ ให้ได้ไตร่ตรองเรียนรู้ไปร่วมกัน
เข้าใจในมุมเขามุมเราท้ังการเป็นผู้กดข่ี การโดนกดข่ี และการมาเจอกันตรงกลางยังไงไม่ให้ใครโดน
กดข่ี ในมุมมองผู้เขียนจะขอเสนอว่าตรงน้ีมันย้อนกลับไปถึง ‘ ปรัชญาการศึกษา ’ เลยว่าการศึกษามี
ไว้เพื่ออะไร เพื่อเป็นเคร่ืองมือของรัฐในการสร้างคนแบบท่ีรัฐต้องการเข้าสู่ระบบแรงงานตามท่ี
นโยบายประเทศผลิตมา หรือเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนามนุษย์แต่ละคน ให้เขาเข้าถึงศักยภาพสูงสุด
แล้วสามารถตระหนักรู้ รวมไปถึงตัดสินใจอย่างชาญฉลาดด้วยคุณธรรมท่ีไม่ได้โดนกดข่ีและไม่ได้กดข่ี
ใคร ตัวอย่างเช่นระบบสังคมอย่างไทยแลนด์ 4.0 ถ้าตีความตามภาครัฐก็จะเป็นอีกอย่างหน่ึง
แต่ตีความในภาคของเด็กนักเรียน มันคืออะไร เขาต้องการอะไร และถ้าท้ายท่ีสุด มันมีความต้องการ
ของประเทศไปพร้อมกันว่า ว่าจะไปในทางน้ี ก็ต้องมาคิดว่าตรงดีเทลน้ีจะทําอย่างไรต่อ ถ้าคุณ
อยากจะสร้างวิศวกรท่ีซ่อมเคร่ืองบินได้ คุณมีหลักสูตรผลิตวิศวกรแบบน้ันหรือยังแล้วมันดึงดูดผู้คน
ได้มากแค่ไหน หรือยังคงเป็นระบบท่ีให้คนสอนวิศวกรมาสอนแต่ตัววิศวกรท่ีทํางานก็ใช้ชีวิตอีกอย่าง
การปฏิวัติไม่ใช่การคิดแต่จะเปล่ียนนโยบายเพื่อตอบสนองบางสิ่งท่ีไม่ได้คํานึงอย่างแท้จริงว่าใครกดข่ี
ใครอยหู่ รอื ไม่
รายการอ้างองิ
สิริลักษณ์ สุขสวัสด์ิ และอังคณา นาคเกิด. 2561. ปฏิรูปการศึกษาไทยยังไง ทําไมยังอยู่ใน
กะลานีเซียร.์ สืบค้นจาก https://urbancreature.co/thailand-education-reformed/
28
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
กญั ญาพัชร ศรีทาํ นา 6205610089
Sphere of TRUTH
การตกอยู่ในสภาพท่ีไร้ความสามารถท่ีจะกําหนดชะตาชีวิตตนเอง อีกท้ังยังเป็นเหย่ือ
ของผู้กดข่ีในการแสวงหาประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกกดข่ีก็ได้ปรับตัวเข้ากับโครงสร้างท่ีและยอม
จํานนกับสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนยาวนานหลายศตวรรษเพราะความเคยชิน ความเป็นมนุษย์ถูกถอดถอน
หรือลดทอนลงจากผ้าปิดตาล่องหนของผู้กดข่ี ความจริงทางสังคมท่ีไม่ได้เป็นความจริงแต่เป็น
ความหมายท่ีผู้กดข่ีกําหนดให้สังคมน้ัน ๆ เข้าใจไปในทางเดียวกับเหมือนกับรูปภาพท่ีไม่มีมิติ
โดยผู้วาดคือผู้กุมอํานาจ และสีท่ีใช้จะถูกบังคับให้ละเลงลงผ้าใบอย่างเป็นระเบียบไม่แตกแถว
น่ันคือการถูกทําให้กลายเป็นสิ่งของ (Objectify) โดยผู้กดข่ี ในท่ีท่ีกล่าวว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย
อย่างประเทศไทยก็ถูกกําหนดการใช้ชีวิตในระบบอาวุโส สถานภาพแต่กําหนดท่ีกําหนดบทบาทให้อยู่
กับท่ีและดํารงชีวิตตามท่ีเขาทํามาและทําต่อไปโดยไม่ต้ังคําถาม บางคร้ังผู้ถูกกดข่ีถูกครอบงําทาง
อุดมการณ์จนแสดงออกทางพฤติกรรมและมีวิถีชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติท่ีเอ้ือประโยชน์ต่อนายทุน
ในงานของแฟร์ กล่าวในแนวน้ีว่า ผู้ถูกกดข่ีมีลักษณะของการดูแคลนตนเอง ซ่ึงเกิดจากการซึมซับ
ทัศนคติของผู้กดข่ีท่ีมีต่อตนเอง สภาพแวดล้อมท่ีสร้างทวิภาวะในตัว รวมถึงภาพมายาคติในการ
เรยี กผู้ท่มี คี วามรมู้ ากกวา่ วา่ “ศาสตราจารย”์ โดยไมต่ ะหนกั วา่ ตนเองก็สามารถเรียนรูไ้ ดเ้ ช่นเดยี วกัน
ในทฤษฎีทางสังคมของ Berger and Luckman ท่กี ล่าวถึงการวิเคราะห์ความจริงทางสังคม
(Social construction of reality) โดยนํามาปรับให้เข้าใจกับบริบทของชาวนา กล่าวคือ ความจริง
ทางสังคมบอกว่าชาวนาคือคนท่ีไม่มีอํานาจ จําเป็นต้องรอคอยความช่วยเหลือไม่ทางใดก็ทางหน่ึง
น่ันมาจากการท่ีสังคมเป็นตัวกําหนดการมีตัวตนของชาวนา ซ่ึงเป็นความรู้หรือ/และประสบการณ์ท่ีมี
มาก่อน (priori) กล่าวง่ายๆ คือการท่ีความจริงถูกตีความโดยมนุษย์ นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจท่ีเกิด
ในทุก ๆ วัน ในทางกลับกัน ทฤษฎีทางสังคมของ Durkheim ท่ีเสนอมุมมองของการให้ความสําคัญ
กับความจริงทางสังคมผ่านความหมายของสิ่งของ (Social Facts) พูดง่ายๆ ในบริบทของชาวนาก็
คือเป็นการบอกเหตุผลท่ีสังคมสร้างตัวตนให้กับชาวนา อย่างเช่น เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจของ
ประเทศน้ัน ๆ ย่ําแย่ เป็นต้น ซ่ึงข้อเท็จจริงทางสังคมน้ีเป็นเทคนิคอย่างหน่ึงของการกําหนดทัศนคติ
ความเช่ือ และการกระทําของคนในสังคม ก่อสร้างโครงสร้างท่ีซับซ้อน ป้องกันไม่ให้คนในโครงสร้าง
น้ั น ก้ า ว อ อ ก จ า ก บ ร ร ทั ด ฐ า น อี ก ท้ั ง Durkheim ไ ด้ แ ส ด ง ตั ว อ ย่ า ง เ ก่ี ย ว กั บ ก า ร แ ต่ ง ง า น
โดยจะเช่ือมโยงเก่ียวกับการกดข่ีท่ีเกิดข้ึนในสังคมไทย ‘ผู้ชายคือช้างเท้าหน้าโดยผู้หญิงเป็น
ผู้สนับสนุนสามีอยู่ท่ีบ้าน’ คํากล่าวน้ีไม่มีเพียงกดข่ีผู้หญิงให้อยู่ภายใต้อํานาจ ยังเป็นการกดข่ีผู้ชาย
ด้วยการกําหนดลักษณะความเป็นชายลงไปด้วย คําถามท่ีเกิดข้ึนมาคือ คํากล่าวน้ีสร้างความจริงทาง
สังคมในมิติใด ซ่ึงทฤษฎีท้ังสองท่ีได้นํามากล่าวถึงเป็นส่วนหน่ึงของการบงการทางอ้อมของสังคม
โดยผู้กดข่ี หรือ ‘ความเป็นจริงทางสังคมถูกกําหนดโดยผู้ท่ีมีอํานาจในมือ’ ในงานเขียนของแฟร์
กล่าวถึงชนช้ันสูงท่ีครอบงําความสามารถและชอบท่ีจะคิดโดยปราศจากประชาชน แต่ยังใช้รูปแบบ
ขนมปังและละครสัตว์ เพ่ือนําไปสู่การเช่ืองเช่ือและสร้างอิทธิพลให้สร้างมารถควบคุมได้น้ันเอง (With
or without “bread and circus”, the oppressive reality and the oppression of elitists
still exist through time, then and now) ในสังคมของประเทศบางแห่งยังคงมีรูปแบบน้ีให้เห็น
29
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ท้ังแบบชัดเจนและแยบยล อย่างการแจกเงินให้ชาวนา โดยบอกว่าเงินดังกล่าวมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือ
แน่นอนว่าเจตนาท่ีว่าน้ันมีบางอย่างแอบแฝง น้ันคือการสร้างตัวตนให้กับชาวนาว่าเป็นผู้ท่ีต้องอยู่ใน
ฐานะของผู้รอการบริจาค ในภาษาของแฟร์คือการทําเพ่ือให้ พวกเขาอ่อนข้อลง และในทฤษฎีของ
Marx ตามบริบทข้างต้นคือการแบ่งชนช้ัน เจ้านาย และแรงงาน กล่าวคือเจ้านายให้ทุนกับแรงงาน
เพื่อให้สร้างผลผลิตตามเง่ือนไขท่ีกําหนด จากน้ันนําไปเปล่ียนเป็นผลประโยชน์ สถานการณ์ท่ีเกิดข้ึน
นําไปสู่จุดแตกหัก (Breakdown) ของผู้ถูกกดข่ีน้ันคือการเรียกร้องค่าแรงข้ันต่ํา สวัสดิการท่ีดี
การรวมตัวกันน้ีก่อให้เกิดการแลกเปล่ียนความทุกข์ยากระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ถึงกระน้ัน
การเปลย่ี นแปลงดังกลา่ วกย็ ังคงมีให้เห็นอยเู่ ร่อื ยๆ ในประเดน็ ถกเถียงเดิม
นอกจากท่ีกล่าวมาข้างต้น ในประเทศท่ีรัฐเป็นผู้กําหนดสร้างความจริงผ่านส่ือพิ มพ์
สื่อข่าว หรืออ่ืน ๆ ก็เป็นการปิดก้ันความจริงและทําให้ความจริงน้ันบิดเบ้ียว (ความจริงท่ีกล่าวคือ
ความจริงท่ีเป็นสากล ความจริงท่ีสรรค์สร้างในหลากหลายมิติ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และวิพากษ์
อย่างม่ถูกปิดก้ัน) ซ่ึงเฮนรี จีรู ผู้ท่ีปรากฎอยู่ในงานเขียนของแฟร์ก็ช้ีในแนวเดียวกันว่า สังคมช่ืน
ชอบกับภาวะสูญเสียความทรงจําทางประวัติศาสตร์และสังคม และคําท่ีเก่ียวข้องทางการเมืองจะถูก
ขโมยไปใช้เปน็ อาวธุ ปกปิดความหมายของคาํ ทจ่ี ะกลายเปน็ ภยั ในอนาคต เช่น อิสรภาพ ประชาธิปไตย
เป็นต้น แฟร์เองก็ได้กล่าวถึงการเขียนบทความข่าวท่ีเป็นเหตุการณ์เดียวกัน แต่การตีความหมาย
ของแต่ละแห่งแตกต่างกัน และสังคมไทยก็สามารถเห็นได้จากการใส่ข้อมูลช้ีนําให้กับผู้ศึกษา
เช่น การเป็นคนดี การเป็นลูกท่ีต้องเช่ือฟงั พ่อแม่ การเคารพบางส่ิงบางอย่างโดยไม่ให้มีคําถาม การ
เรียนแบบไม่ได้กําหนดให้เกิดการตอบโต้หรือสานเสวนาในห้องเรียน ท่ีเรียกว่า วัฒนธรรมเงียบ
นอกจากน้ันยังมีระบบท่ีทําให้โครงสร้างแนวต้ังยังอยู่คือ ระบบอาวุโส ซ่ึงไม่ว่าอย่างไรแล้วประเทศไทย
ยังคงยึดติดกับระบบดังกล่าวอยู่ (อาจกล่าวได้ว่า ถาวร)ในฐานะท่ีผู้เขียนเป็นนักการศึกษาคนหน่ึงใน
โครงสร้างอันซับซ้อน กล่าวได้ว่าการเรียนโดยไม่สามารถโต้ตอบเสวนาน้ันเป็นการทรมานระยะยาว
รูปแบบหน่ึง ความทรมานดังกล่าวคือการท่ีต้องอยู่กับการรับรู้เพียงไม่ก่ีมิติ ต้องเข้าใจในส่ิงท่ีเรียน
มาโดยปราศการคิดวิเคราะห์ และก้มหัวให้กับคนท่ีเขาบอกว่าต้องเคารพ ท้ังท่ีสากลมีความเป็นจริงท่ี
หลากหลายมิติท่ีได้มาจากการวิพากษ์กันอย่างเปิดกว้าง ไม่เท่าน้ัน การศึกษาท่ีเกิดข้ึนในสังคมไทยน้ัน
ยังอยู่อย่างหย่ังรากลึก เช่นเดียวกับท่ีงานเขียนของแฟร์ถูกห้ามไม่ให้เผยแพร่ จึงย่ิงเป็นการบังคับ
ใหผ้ ูถ้ กู กดขย่ี อมรับสภาพทเ่ี ปน็ อยู่ ยากท่จี ะต่อตา้ นเพื่ออิสรภาพท่ถี กู ฉกฉวยไปอย่างน่าเจบ็ ใจ
การคิดและปฏิบัติ หรือการรู้ปฏิบัติ (Praxis) ในงานเขียนของแฟร์เปรียบเทียบความ
แตกต่างระหว่างสัตว์ท่ี ทําตามเพียงสัญชาตญาณบอก แต่มนุษย์เป็นส่ิงมีชีวิตท่ีรู้คิด มองโลกเป็น
และสามารถปฏิบัติได้ ดังน้ันเพ่ือกําจัดการกดข่ีออกไปจําเป็นต้องอ้างอิงทฤษฎีการปฏิวัติตามท่ีเลนิ
นกล่าว ซ่ึงในความเป็นจริงท่ีได้เผชิญจากการเรียกร้องอย่างสันติวิธีน้ัน ก็ได้ถูกปิดก้ันจากผู้นําโดย
ใช้กฎหมายมาเป็นเคร่ืองมือ กดให้ผู้ท่ีคิดจะเปล่ียนแปลงระบบการกดข่ีน้ีลง ทําให้เช่ืองเช่ือและ
ควบคุมได้ หรือในบางคร้ังก็ใช้ภาพมายาคติให้คิดว่าการเปล่ียนแปลงได้เกิดข้ึน แต่อย่างไรแล้วการ
บงการน้ันก็ยังมีอยู่ ซ่ึงการบงการท่ีว่าทําโดยผ่านการศึกษา ซ่ึงก็เป็นเหมือนวัฏจักรท่ีวนอยู่ซ้ํา ๆ
เราจึงเห็นได้จากอดีตว่าถึงแม้จะมีการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อปลดปล่อยอยู่หลายต่อหลายคร้ัง แต่ใน
ท้ายท่ีสุดแล้วก็จะถูกทําให้สะดุดและล่มจากการถูกขัดขวางไม่วิธีใดก็วิธีหน่ึง กล่าวได้ว่าในบางคร้ัง
ภายใต้โครงสร้างอันทรงพลังของการกดข่ีซ่ึงการปลดแอกไม่สามารถทําได้โดยสันติวิธี (“…under a
30
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
powerful structure of oppression where liberation could not be acquired through
peaceful means.”)
ปัญหาของการปิดบังความให้เหลืออยู่มีก่ีมิติ นอกจากท่ีผู้กดข่ีทําได้โดยการลดความหมายท่ี
เป็นภัยอย่าง อิสรภาพ พ่วงติดกันประชาธิปไตยแล้ว อาจจะยังมีการใช้รูปแบบของกําหนดลําดับข้ัน
(รุ่นพี่-รุ่นน้อง เจ้านาย-ลูกน้อง ครู-นักเรียน) ในงานของแฟร์มีการพู ดเก่ียวการศึกษาแบบฝาก
ธนาคาร ท่ีเหมือนกับการยัดข้อมูลให้กับผู้เรียนโดยปราศจากการสานเสวนา ลดการวิพากษ์ลง
ในสังคมไทยก็พู ดเร่ืองแนวๆ น้ีไว้ว่า เป็นนักเรียนห้ามเถียงครู เป็นรุ่นน้องต้องทําตามคําส่ังรุ่นพ่ี
น่ันเป็นผลผลิตมาจากการศึกษาท่ีไม่มีการวิพากษ์ใช่หรือไม่ บทเรียนและเน้ือหาท่ีออกโดยกระทรวง
การศึกษามีความจริงท่ีเป็นสากลอยู่มากน้อยเท่าใด การช้ีนําให้ผู้เรียนคิดในแบบท่ีกําหนดมา ลดทอน
แนวคิดการต้ังคําถาม ผู้สอนเพีบงแต่ เติม ความรู้ท่ีเรียนมาในอดีตและส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไป
แต่ไม่มีการต้ังคําถามว่า ระบบน้ีมีอยู่มานานเท่าใดและมีเพ่ืออะไร การจดและจําตามส่ิงท่ีผู้สอนพูดโดย
ไม่ใช้ความสําคัญกับความจริง ย่ิงกับวิชาสายสังคมศาสตร์ อย่างหน้าท่ีพลเมือง ศาสนา เป็นสิ่งท่ี
ความจริงของสากลไม่ได้ตายตัว ดังน้ันจึงเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ให้กับการแทรกเน้ือหาช้ีนําความคิด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้ังแต่อดีตจนถึงตอนน้ีก็ยังมีอยู่ ถึงแม้ว่าโลกาภิวัตน์จะทําให้ผู้เรียนก้าวออกมา
จากความจริงท่ีถูกปรุงแต่งแล้วก็ตาม แต่การทําอะไรสักอย่างกับโครงสร้างท่ีเหมือนช้ินเน้ือท่ีตัดออก
ได้ยากน้ีก็แทบหาความเป็นไปได้น้อย ไม่ใช่ว่าผู้เรียนหรือผู้สอนทุกคนจะได้อ่านงานเขียนของแฟร์
และจะสามารถเปล่ียนได้เลย มีเพียงการเรียนท่ีสร้างส่งเสริมการสานสนทนา ให้ผู้เรียนและผู้สอนได้
เปล่ียนความรู้ระหว่างกันมากข้ึน ในอีกแง่ของผลผลิตของการศึกษาท่ีบางคร้ังก็กดให้ผู้ท่ีไม่ผ่าน
เกณฑ์ ต้องหลุดจากระบบการศึกษา แม้ว่าจะมีสวัสดิการร้องรับแล้ว แต่น้ันก็ไม่พอ และในงานแฟร์
กล่าวถึงชาวนา ท่ีถูกกดข่ีจากสภาพสังคม รวมท้ังสถาภาพ บทบาท ท่ีกดให้จมอยู่กับความจน
การรอคอยความช่วยเหลือ และการถูกมองว่าเป็นอาชีพของผู้ยากไร้ จากท่ีได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
เก่ียวกับความจริงท่ีผู้มีอํานาจสร้างข้ึนจนมองว่าเป็นความจริงทางสังคม การเรียกร้องของชาวนา
เก่ียวกับราคาข้าวท่ีเห็นได้ทุกยุคสมัยยังไม่ได้รับการแก้ไข ในงานเชิงวิพากษ์ของ Pitch Pongsawat
(2001) ได้สํารวจกรอบการศึกษาชาวนาในฐานะท่ีเป็นชนช้ันชายขอบทางอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
ปัญหาในโครงสร้างมิติน้ี นอกจากชาวนาแล้วยังมีกลุ่มคนทํางานท่ียังต้องการสวัสดิการของรัฐท่ีดี
ค่าแรงข้ันต่ําท่ีถูกเรียกร้องมานานแสนนาน ในปัจจุบันค่าแรงข้ันต่ําผกผันกับราคาของในตลาด
ค่อนข้างมาก ภายใต้การตัดสินใจของภาครัฐท่ีไร้การเสวนากับชาวนาทําให้กลไกตลาดมีผลต่อการใช้
ชีวิตของพวกเขา และแฟร์ได้กล่าวในทํานองน้ีว่า การร่วมหัวจมท้าย ผู้นําไม่อาจคิดโดยปราศจาก
ประชาชน หรือเพื่อประชาชน แต่ต้องคิดร่วมกันประชาชน แต่แนวคิดแนวน้ีจําต่อต้านการควบคุม
และไม่สามารถครอบงําได้อีกต่อไป ในฐานะของผู้กดข่ีไม่สามารถคิดร่วมกับประชาชนหรือปล่อยให้
พวกเขาคดิ เองได้ น้นั เป็นผลใหผ้ ้กู ดขอ่ี อ่ นกาํ ลงั ลง
อย่างไรก็ตาม กระบวนการท่ีผู้ถูกกดข่ีจะเรียกร้องเพื่อเปล่ียนแปลงโครงสร้างแนวต้ังอัน
ซับซ้อนจําเป็นต้องเข้าใจเก่ียวกับการมองตนในมุมของผู้ถูกกดข่ีและก้าวออกจากความกลัวเสรีภาพ
ซ่ึงทําได้โดยการรรับสร้างจากความจริงในมิติใหม่ๆ กล่าวคือการรู้คิด วิพากษ์ ให้เห็นความจริงท่ีเป็น
สากล ความจริงท่ีไม่ได้ถูกสร้างโดยผู้กดข่ีหรือผู้มีอํานาจ ความจริงท่ีหลากหลายให้นําไปต่อยอด ดัง
ชอ่ื ของบทความ Sphere of Truth ท่เี หมือนกับโลกไม่ไดแ้ บน แตโ่ ลกกลม ทุกอยา่ งสามารถติดตอ่
31
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
เรียนรู้กันได้ สร้างใหม่ก็ได้ การต่อต้านระบบการกดข่ีแม้ว่าจะเป็นไปได้ยากเพราะหากไร้การควบคุม
โดยฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงแล้ว ความไร้ระเบียบก็จะตามมาทันที เพียงแต่การกดข่ีท่ีว่าควรเป็นการกดข่ีท่ีผู้
ถูกกดข่ีได้มีอิสระทางความคิด และผู้กดข่ีไม่ควรทําเพื่อ ทําให้แต่เป็นการทําร่วมกัน นอกจากน้ีผู้เขียน
เห็นว่าความสําคัญของการสานเสวนามีอิทธิพลอย่างมากในการเร่ิมต้นเปล่ียนแปลงโครงสร้างท่ี
บังคับให้เช่ืองเช่ือน้ี ดังน้ันความจริงหลากหลายมิติเองก็เป็นหน่ึงในสิ่งท่ีจะสร้างการสานเสวนาให้
ดํารงอยู่ตอ่ ไปเพ่ือใหก้ ารกดข่หี ายไป
รายการอ้างองิ
เปาโล เฟรรี. (2560). การศึกษาของผู้ถูกกดขี่ Pedagogy of the oppressed 50th
anniversary edition (สายพิณ กุลกนกวรรณ และ ฮมั ดานี, ผู้แปล). กรงุ เทพฯ: สํานกั พิมพ์สวน
เงินมมี า. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1970, 1993)
วรี ะ หวังสัจจะโชค. (2562). บทสํารวจกรอบการศึกษาการปรบั ตัวของชาวนาไทยทาง
เศรษฐกิจการเมืองและโจทย์สําหรับการศึกษาในอนาคต, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบรู พา, 5
(1), 22- 52. อับดลุ เลาะ เจะ๊ หลง. (2559). การศึกษาของผู้ถกู กดขี่ Pedagogy of the oppressed.
วารสารสงขลา
นครินทร,์ 22 (2), 295-322. อนุรกั ษ์ วัฒนะถาวรวงศ์. (2554). The Social Construction
of Reality. (ออนไลน)์ . สืบค้นเม่อื 25 ตลุ าคม 2564.
http://anuruckwatanathawornwong.blogspot.com/2011/07/social-construction-of-
reality.html
Greeland. (2019). ข้อเท็จจริงทางสังคมคอื อะไรและส่งผลเสียตอ่ สังคมอยา่ งไร?. (ออนไลน)์ . สืบคน้
เม่อื 25 ตุลาคม 2564. https://www.greelane.com/th/วิทยาศาสตรเ์ ทคโนโลยคี ณิตศาสตร์/
สังคมศาสตร์/social-fact-3026590/
Pressbooks. (2017). Social Construction of Reality. (ออนไลน)์ . สืบคน้ เม่อื 25
ตลุ าคม 2564.https://pressbooks.howardcc.edu/soci101/chapter/social-construction-
of-reality/
32
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ปญั จรัตน์ จนี มหันต์ 6205610220
ทอ่ี ย่ขู องการกดข่ี
ความล้มเหลวของการศึกษาไทย ท่ีเน้นวัดผลสัมฤทธ์ิจากเกรดและคะแนนสอบ ตัวช้ีวัด
ทางการเรียนท่ีมอบหมายให้นักเรียนทําการบ้านท่ีไม่ต่างอะไรจากการทดสอบเพ่ือใช้ทบทวนเน้ือหาท่ีได้
เรียนมา การจํากัดสายการเรียนต้ังแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาท่ีเรียนไม่ครอบคลุมถึงส่ิง
ท่ีผู้เรียนต้องการเรียนรู้ จนผลิตซ้ํานักเรียนท่ีเหมือนกันเพ่ือให้มีความรู้สอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียน
ต้ อ ง พ บ ก า ร แ ข่ ง ข้ั น แ บ บ แ พ้ คั ด อ อ ก ต ล อ ด ชี วิ ต ใ น ร้ั ว โ ร ง เ รี ย น ห า ก ถ า ม ว่ า เ รี ย น สิ่ ง น้ี ไ ป
เพ่ืออะไร เด็กส่วนใหญ่คงตอบว่า“เรียนเพ่ือนําไปสอบ” กฎระเบียบมากมายท่ีกดทับและละเมิดสิทธิ
มนุษย์ชนของเด็ก เช่น ห้ามทําสีผม ห้ามไว้หน้าม้า ห้ามแต่งหน้า ห้ามไว้เล็บยาว ห้ามใส่เคร่ืองประดับ
ห้ามใส่ถุงเท้าพ้ืนดํา เป็นต้น ท่ีสําคัญท่ีสุด รูปแบบการสอน ท่ีครูเป็นจุดศูนย์กลาง ครูมีอํานาจมาก
ท่ีสุดในห้องเรียน ต้ังแต่การออกแบบการเรียนการสอน การออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ให้คะแนน
ตัดเกรด ถือเป็นผู้ท่ีกุมทุกอย่างไว้ในมือ นักเรียนจึงต้องทําตามสิ่งท่ีครูอยากให้ทํา หรือ อยากให้เป็น
โดยปริยาย หากไม่ได้ คุณคือส่วนท่ีระบบการศึกษาไม่ต้องการ การเรียนท่ีมีลักษณะเดียวคือ
ครูทําหน้าท่ีบรรยาย สอน นักเรียนมีหน้าท่ีฟงั อย่างเดียว ผู้เขียนเช่ือว่าวิธีการเรียนเช่นน้ี เป็นต้นตอ
ใหญท่ ท่ี าํ ให้เกิดความลม้ เหลวของการศึกษา
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่าน การศึ กษาของผู้ถูกกดข่ี ฉบับครอบรอบ50ปี ในช้ันเรียน
วิชา การศึกษากับการพัฒนาสังคม ทําให้ผู้เขียนได้ทราบว่า การเรียนการสอนในการศึกษาไทย
เรยี กว่า “การศึกษาแบบฝากธนาคาร” ตามความคดิ ของเปาโล แฟร์ ดงั น้ี
การศึกษากําลังป่วยเป็นโรคการบอกเล่า(narration sick-ness) ครูจะพู ดถึงความเป็นจริง
เสมือนว่ามันไม่เคล่ือนไหว แน่น่ิง ถูกแบ่งเป็นช้ินเล็กช้ินน้อยและคาดการณ์ได้ ไม่เช่นน้ัน
ก็จะสาธกถึงประเด็นท่ีแปลกแยกจกประสบการณ์ในชีวิตของนักเรียนโดยสิ้นเชิง ถารกิจของครูคือ
“เ ติ ม ” เ น้ื อ ห า ท่ี ต น บ บ อ ก เ ข้ า ไ ป ใ น หั ว นั ก เ รี ย น ซ่ึ ง เ ป็ น เ น้ื อ ห า ท่ี ห ลุ ด จ า ก ค ว า ม เ ป็ น จ ริ ง
ตั ด ข า ด จ า ก อ ง ค์ ร ว ม ท่ี เ ป็ น ท่ี ม า แ ล ะ อ า จ ช่ ว ย ช้ี ใ ห้ เ ห็ น ค ว า ม สํ า คั ญ ข อ ง มั น คํ า ท่ี ใ ช้ จ ะ ไ ร้ รู ป ธ ร ร ม
และกลายเป็นโวหารนา้ํ ท่วมทงุ่ ทก่ี ลวงเปลา่ แปลกแยก และสร้างความแปลกแยก (น.105)
ในการศึกษระบบธนาคร ความรู้เป็นของกํานัลท่ีมอบให้โดยผู้ท่ีถือว่าตนอุดมความรู้แก่ผู้ท่ีพวก
เขามองวา่ ไม่รู้อะไรเลย (น.107)
ความเก่งกาจของการศึกษาแบบฝฝากธนาคารท่ีจะลดพลังสร้างสรรค์ของนักเรียน หรือทํา
ให้เป็นโมฆะไป และในขณะเดียวกันก็กระต้นความเช่ือคนง่าย ล้วนสนองประโยชน์ของผู้กดข่ี ซ่ึงไม่ได้
ตอ้ งกการจะให้โลกถกู เผยโฉมเอ้อื ประโยชนไ์ ว้ (น.108)
ประกอบ คุปรัตน์ เร่ืองของข้อสอบแบบปรนัย : ความล้มเหลวของการศึกษาไทย (น.1-6,
2531) สรุปได้ดังน้ี ทําให้ไม่มีทักษะในการสื่อความหมาย กระบวนการศึกษามีความบิดเบือน ข้อสอบบ
ส่วนใหญ่สามารถวัดได้เพียงความรู้ ความจํา ความเข้าใจ ในหนังสือสักเล่มหน่ึงเพื่อจะมีการทดสอบ
ความรู้กัน การเตรียมตัวสอบสําหรับบกกรสอบแบบน้ีมีผลต่อคะแนนมาก แต่อาจไม่มีผลต่อการทําให้
ผู้เรียนหรือผู้สอบมีความรู้เพ่ิมข้ึนมากนัก ต้องมีคําตอบท่ีถูกดพียง1ข้อ ไม่เปิดแง่มุมในการมองวิธีกร
คิดของคน การใช้หลักเหตุผลท่ีแตกต่างถกเถียงว่ามันไม่อาจวัดความคิดสร้างสรรค์ได้ ในเม่ือมัน
33
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ข้ึนอยู่กับหลักกกการจับความถูกความผิดใส่ ตาม “ช่อง” และให้ทางออกของปัญหาไว้ว่า
1.วิธีการวัดประเมินผลมีอยู่อย่างหลากหลาย อย่าปล่อยให้มันกลายเป็นเพียงหน่ึงหรือถือว่าการวัดผล
ต้องอาศัยข้อสอบปรนัยเพียงอย่างเดียว 2.ปรับกลไกหรือเคร่ืองจักรหรือคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้อง
กับการประแมนผลของมนุษย์ 3.การวัดผลมนุษย์จะเป็นไปได้อย่างตรงไปตรงมามกท่ีสุดต่อเม่ือมนุษย์
ต้องลดความกดดันภายในสังคมมนุษย์ลงมา ถ้าสมมติว่าสังคมมีความเท่าเทียมกันมากข้ึน
คนจะมองกันอย่างตรงไปตรงมามากข้ึน คนจะมองตนเองอย่างเปิดใจและประเมินตนเองได้
มนุษยจ์ ะไดป้ ระเมินเพ่ือนมนุษย์อย่างเพ่ือการพัฒนาชีวิตเขา มากกว่าจะตัดสินชเ้ี ปน็ ชต้ี ายในอนาคต
ผู้เขียนคิดว่าสองส่ิงน่ีทําให้เห็นสภาพของห้องเรียนในไทยอย่างชัดเจน คือหากมีการเรียน
การสอนแบบ ฝากธนาคารเกิดข้ึนแล้วละก็ เม่ือต้องการประเมินผล วัดความรู้ของผู้เรียน จะมีอะไรดี
สะดวกสบายไปกว่าการทําข้อสอบแบบปรนัย ท่ีสามารถใช้กับคนจํานวนมาก สามารถใช้คอมพิวเตอร์
ตรวจเพ่ือความสะดวก แม่นยําได้ เหมือนจะดูเข้ากับโลกในปัจจุบัน ท้ังท่ีความจริงมันตรงข้ามกันเลย
เพราะ การทําข้อสอบปรนัยเป็นเหมือนการย้ําถึง ความจริงมีเพียงหน่ึง นักเรียนถูกบอกเล่าว่าอะไร
ถูก อะไรผิด ขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดการวิพากษ์ เพราะเป็นการยัดเหยียดคําตอบให้กับผู้เรียน
เรยี บร้อยแลว้
ไม่เพี ยงแค่ครูท่ีเป็นตัวแปรสําคัญเท่าน้ันในการทําให้การศึกษาไทยล้มเหลว ด้วยระบบ
การศึกษาของไทย ท่ีกําหนดหลักสูตรมาจากส่วนกลาง (กระทรวงศึกษาธิการ) กําหนดตัวช้ีวัดและ
สาระการเรียนรู้ให้ปฏิบัติตาม มันบังคับให้โรงเรียนทําตาม โรงเรียนก็บังคับให้ครูทําตาม ครูมาบังคับ
เด็กให้เรียนตาม เป็นการศึกษาแบบแนวน่ิง(สั่งการจากบนลงล่าง) ท่ีละเลยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ออกแบบส่ิงท่ีตนต้องการศึกษา อีกท้ังโครงสร้างของรัฐราชการแบบไทยเปล่ียน
โยบายค่อนข้างบ่อย มอบหมายงานให้ครูมากกว่าการเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่มีเวลาอยู่กับ
นักเรียนเท่าท่ีควร นักเรียนเป็นเหมือนเป็นเคร่ืองมือในการสร้างผลงานให้แก่ครูเพ่ือการเล่ือนข้ัน
นกั เรยี นคอยทําตามท่คี รสู ั่งเท่านน้ั
.. แต่ชีวิตมนุษย์จะมีความหมายได้ก็ต่อเม่ือมีการสื่อสารกันเท่าน้ัน การคิดของครูจะพิสูจน์ได้
ว่าจริงแท้ ก็ด้วยความจริงแท้ของการคิดของนักเรียนเท่าน้ัน ครูไม่สามารถคิดแทนนักเรียน หรือยัด
เหยียดความคิดตนให้ นักเรียนได้ การคิดจริงแท้ การคิดท่ีเป็นธุระกับ ความเป็นจริง ไม่ได้เกิดข้ึน
ลําพังบนหอคอยงาช้าง แต่เกิดในการสื่อสารเท่าน้ัน หากเป็นจริงว่าความคิดมีความหมายต่อเม่ือ
เกดิ ข้นึ จากการกระทาํ ต่อโลก กเ็ ปน็ ไปไม่ได้ทจ่ี ะได้นักเรยี นอยู่ใต้บังคบั บัญชาของครู (น.113)
เป็นส่ิงท่ีเปาโล แฟร์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ซ่ึงผู้เขียนคิดว่าตรงกับบริบทการศึกษาไทยเป็น
อย่างมาก การศึกษาท่ีถูกออกแบบโดยผู้ท่ีอยู่บนหอคอยงาช้าง ขาดการสื่อสารกับผู้เรียนต้ังแต่การ
ออกแบบการเรียน จนถึงการเรียนการสอนในห้องเรียน ท่ีครูเป็นเพียงผู้สอน ไม่เป็นผู้ส่ือสาร
และนกั เรียนจะส่ือสารไมไ่ ด้ หากยงั คงยดึ วา่ ครเู ปน็ ผูท้ ม่ี อี ํานาจมากท่สี ุดในหอ้ งเรียน
เพ่ือการปฏิเสธการศึกษาแบบฝากธนาคาร เปาโล แฟร์ได้เสนอการศึกษาแบบ “หยิบยก
ปัญหา” ท่ีจะทลายแบบแผนของการศึกษาแบบแนวด่ิง บทบาท อํานาจหน้าท่ี ของครูและนักเรียน
จะสิ้นสุดลง เหลือเพียง ครู-นักเรียน นักเรียน-ครู ครูไม่ใช้ผู้ท่ีทําการสอนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผู้
ถูกสอนด้วย ผ่านการสนทนากับนักเรียน ไม่มีใครสอนใคร หรือใครสอนตนเอง ผู้คนสอนกันและกัน
ไม่มีการช้ีนํา เม่ือต้ังปัญหาท่ีทุกคนสนใจร่วมกันข้ึนมา ก็จะใช้การวิพากษ์วิจารณ์เป็นสําคัญ อีกท้ัง
34
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
การได้ต้ังคําถามก็เป็นสัญลักษณ์หน่ึงของการไม่ถูกกดข่ีเพราะ ท่ีใดมีการกดข่ีย่อมไม่อนุญาตให้ต้ัง
คําถาม เม่ือไม่ถูกกดข่ี เท่ากับเราสามารถเอาชนะอํานาจนิยมและการแบ่งชนช้ันได้ กระตุ้นให้ผู้คน
วิเคราะห์ความจริง ว่าความจริงไม่แช่แข็ง ความจริงเปล่ียนแปลงได้ และสร้างการเปล่ียนแปลงท่ีดี
ขน้ึ ได้ ตา่ งจากการศึกษาแบบฝากธนาคารทค่ี รเู ป็นผรู้ ู้ทกุ อยา่ ง ส่วนนกั เรยี นนน้ั ไม่ร้อู ะไรเลย
ความสําคัญย่ิงของการศึกษาแบบหยิบยกปัญหา คือนํามาซ่ึงการปลุกมโนธรรมสํานึก
(Conscientization) ของมนุษย์ ซ่ึงเป็นสิ่งสําคัญท่ีถูกย้ําใน การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี มันเป็น
กระบวนการซ่ึงทําให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงส่ิงท่ีกดข่ีหรือสภาวะท่ีเอารัดเอาเปรียบพวกเขาอยู่ เพราะได้
สานสนทนาถงึ สถานการณ์ สภาพปัญหาทเ่ี กิดขน้ึ กบั เราอย่างเป็นจริง
กระบวนการปลุกมโนธรรมสํานึก (Conscientization) เป็นกระบวนการท่ีบุคคลหรือสมาชิก
ในกลุ่มถูกกระตุ้นให้เสาะแสวงหา “ความจริง” เก่ียวกับตนเอง และตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงเหล่าน้ัน
ผ่านกระบวนการสะท้อนคิดหรือวิพากษ์อดีตและการกระทํา (Reflection and Action) เป็น
กระบวนการพัฒนาสติสัมปชัญญะท่ีสามารถวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล และ บุคคลสามารถลงมือ
ปฏิบัติเพื่อทําให้เกิดความเปล่ียนแปลง มโนธรรมสํานึกหรือการตระหนักรู้ของบุคคลน้ัน จะไม่เกิดข้ึน
หากไม่มีสติสัมปชัญญะ (Consciousness) และหากช่วยให้บุคคลเข้าใจถึงความเป็นจริงท่ีเกิดข้ึนและ
มองเห็นความเช่ือมโยงของเหตุการณ์และความเป็นจริงท่ีเก่ียวข้องกับตนเองได้แล้ว บุคคลจะเกิด
สติสัมปชัญญะ(Consciousness)ท่ีชัดเจน และจะเร่ิมเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการเพื่ อ
เปล่ียนแปลง (Praxis) ความมีเหตุผลและการให้เกียรติซ่ึงกันและกัน เป็นความสามารถในการ
ตระหนักรู้หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเฉพาะความตระหนักรู้ท่ีเกิดข้ึนในอดีตรวมถึงการเกิดมโน
ทัศน์ใหม่จากมโนทัศน์เก่าและความรู้จากความรู้เดิม ซ่ึงเปาโล แฟร์ เช่ือว่าเป็นเคร่ืองมือสําคัญในการ
ช่วยให้บุคคลหลุดพ้นจากการถูกกดข่ีครอบงํา (ขิดชงค์ ส.นันทนาเนตร 2560, อ้างถึงใน เณริกา,
2563)
จิตสํานึกวิพากษ์ท่ีนํามาซ่ึงการปลดปล่อย การได้สนทนาถึงสภาพความเป็นจริงในสังคม
เร่ิมมองความจริงต่อครู โรงเรียน กระทรวงการศึกษา ทําให้ร่วมสานสนทนาต้องการเปล่ียนแปลง
โครงสร้างท่ีกําลังกดข่ีผู้เรียนอย่างปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบการศึกษาจากแนวด่ิง อํานาจ
นิยมด้านกฎระเบียบเร่ืองการแต่งกาย ทรงผม ท้ังยังเป็นส่วนหน่ึงของความล้มเหลวทางการศึกษา
ดังท่ีกล่าวไว้ข้างต้น ไม่ยอมต่อการศึกษาแบบเดิมท่ีผลิตมนุษย์ท่ีถูกลดทอนให้เป็นไปตามระเบียบทาง
สังคม หรือ ตามแบบท่ผี มู้ อี าํ นาจตอ้ งการ แตส่ รา้ งมนุษยท์ ่เี ป็นมนุษยอ์ ยา่ งสมบรู ณ์
สรปุ การศึกษาของไทย กาํ ลงั เผชญิ ท้งั การศึกษาแบบฝากธนาคาร อาํ นาจนิยมในโรงเรียน ท่ี
ทําให้การศึกษาไร้ประสิทธิภาพ หนังสือการศึกษาของผู้ถูกกดข่ี ได้นําเสนอว่าสิ่งท่ีเกิดข้ึนข้างต้น
สามารถขจัดได้โดย การศึกษาแบบหยิบยกปัญหาผ่านการสานสนทนา ทําให้เกิดมโนธรรมสํานึก หรือ
จิตสํานึกวิพากษ์ ท่ีนํามาซ่ึงการตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของการกดข่ีในสังคม ท้ังภายในและ
นอกโรงเรียน ผู้คนท่ีมีจิตสํานึกวิพากษ์จะกลายมาเป็นผู้เปล่ียนแปลง กล่าวคือ ผู้เรียนจะไม่กลายเป็น
ผูถ้ ูกกดข่ใี นระบบการศึกษาอกี ต่อไป มากกวา่ น้นั คือ ระบบการศึกษาจะไม่มีผู้กดขแ่ี ละผู้ถูกกดข่ี
35
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
รายการอ้างอิง
เปาโล เฟรร.ี (2560). การศึกษาของผู้ถกู กดขี่ ฉบับครบรอบ 50 ป.ี (สายพิณ กุลกนกวรรณ
ฮมั ดาน,ี ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท สวนเงินมมี า จํากัด. (ตน้ ฉบับพิมพ์ปี 1970).
เณริกา เกิดนาสาร. (2563). รูปแบบการศึกษาตามแนวเปาโล แฟร์เร่ เพื่อพัฒนาศักยภาพ
และการรู้หนังสือของผู้ต้องขังสตรี ในเรือนจําเขต9. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศสตร์ดุษฎีบัณฑิต).
มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, บัณฑติ วิทยาลัย, ภาควชิ าการศึกษาตลอดชวี ิต.
ประกอบ คุปรัตน์, พรทิพย์ ไชยโส, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ คณะ. (2531). เร่ืองของ
ข้อสอบแบบปรนยั : ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย. วิธีวทิ ยาการวจิ ยั , 3(1), 1-6, สืบคน้ จาก
https://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/oldweb/book/o3i1.pdf
พิมพ์ใจ ศิริสาคร. (2536). ผลของการใช้วิธีการสอนแบบมโนธรรมสํานึก ตามแนวความคิด
ของ เปาโล แฟร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เรื่อง "ชีวิตครอบครัวที่มีคุณภาพ" ของเยาวชนใน
ชมุ ชนแออัด. (วิทยานิพนธค์ รศุ าสตรมหาบณั ฑติ ). จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บณั ฑิตวทิ ยาลยั ,
ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน. ทําไมการจัดการศึกษาของไทยจึง “ล้มเหลว”?! /จรูญ หยู
ทอง-แสงอุทยั . (2561). สืบคน้ จาก
https://mgronline.com/south/detail/9610000009414
ระบบการศึกษาไทย ปีศาจทกี่ ัดกินความเปน็ คนของครู. (2564). สืบคน้ จาก
https://www.sanook.com/news/8358770/
36
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ประภาพรรณ จิตชาญวชิ ัย 6205610287
The only ex that I want in life is Ex-ist.
มนุษย์เกิดจากความรัก บางคนก็แตกสลายจากความรัก ความรักคือความรู้สึกโหยหา
อารมณ์ท่ีดึงดูด ความผูกพันและการสนทนา ความรักฟ้ ืนฟู หลายๆอย่าง หากไม่มีความรักต่อโลก
ต่อเพื่อนมนุษย์ มนุษย์เองอาจจะสูญหายไปจากโลกใบน้ีแล้วก็เป็นไปได้ ความรักสร้างความศรัทธา
แต่ไม่ใช่ศรัทธาท่ีเช่ือแบบงมงาย กลับกันเป็นการศรัทธาท่ีน่าสนใจคือการศรัทธาแบบมีวิจารญาณ
การมีความเช่ือต่อสิ่งใดสิ่งหน่ึงอย่างมีเหตุผล อย่างเช่นการเช่ือในความสามารถของเพื่อนมนุษย์
ความรักต่อสิ่งมีชีวิตท่ีเรียกว่าเพ่ื อนมนุษย์ ความรักต่อมนุษย์คือการยืนหยัดเพื่ อเพ่ื อนมนุษย์
และความรู้สึกท่ีตนเองเท่ากับเพ่ือนมนุษย์คนอ่ืน หรืออีกช่ือเรียกคือมนุษยธรรม ในภาษาอังกฤษ
เรียกว่า Humanity ความรักมีอยู่หลากหลายรูปแบบก็จริงบนโลกใบน้ี แต่ส่ิงท่ีเหมือนกันคือการ
เรียนรู้ท่ีจะรัก และการรักท่ีจะเรียนรู้ คู่รักล้วนเรียนรู้กันและกันผ่านการพู ดคุย หลายๆคู่แตกหัก
เพราะพู ดมากเกินไป บางคู่เลิกราเพราะไม่มีการพู ดหรือสนทนากันใด ๆ เกิดข้ึนเลย การสนทนาคือ
ทักษะความสามารถชนิดแรกๆท่ีมนุษย์สามารถทําได้ การสนทนาคือการสื่อสารท่ีสําคัญในการใช้ชีวิต
สนทนาเพ่ือแลกเปล่ียน และเรียนรู้ การท่ีคู่รักสนทนาเพื่อศึกษาดูใจกัน ก็เหมือนกับการศึกษาท่ัวไป
แต่การศึกษาท่ัวไปสําหรับผู้เขียนน้ัน ไม่ใช่การศึกษาท่ีมีต้นแบบและทําได้เพียงแค่เดินตามทางเก่า
เพราะถ้าหากเป็นเช่นน้ัน ในยุคดิจิทัลเช่นน้ี เราจะเรียกมันว่าการ Copy & paste เป็นแบบการ
รวบรวม และวางใส่ลงในคนๆหน่ึงเท่าน้ัน การศึกษาท่ัวไปท่ีผู้เขียนต้ังใจจะหมายถึง คือการศึกษาของ
ผู้ถูกกดข่ี แบบเปาโล เฟร์รี การศึกษาท่ีไม่มีรูปแบบตายตัว เปล่ียนแปลง และใช้ความคิดแบบเชิง
วิพากษ์ในการเรียนรู้ สนทนาแลกเปล่ียนกัน เน่ืองจากทุกคนบนโลกใหม่น้ีไม่ได้เกิดมาด้วย
ความสามารถท่ีเหมือนกันท้ังหมด ทุกคนมีความสามารถท่ีแตกต่างกันไป อิสรภาพในการเรียนรู้จึง
เป็นส่ิงสําคัญ อิสรภาพในการใช้ชีวิตก็เช่นกัน อิสรภาพในการใช้ชีวิต แน่นอนว่าไม่สามารถหาพื้นท่ี
อย่างจํากัดได้ หากมนุษย์ยังคงต้ังคําถามกับการมีอิสระท่ีมากเกินไป น้ันแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ผู้น้ันยัง
ไม่สามารถเข้าถึงอิสรภาพได้อย่างแท้จริง การเข้าถึงอิสรภาพท่ีแท้จริงมีความจําเป็นท่ีจะต้องใช้ความ
รัก และความศรัทธาในการท่ีจะทําให้เกิดอิสรภาพ เม่ือมนุษย์ท้ังหลายมีความรักต่อกัน พร้อมท่ีจะยืน
หยัดเพ่ือกันและกัน ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองน้ันจะสามารถสร้างความศรัทธาให้แก่
มนุษยชาติได้ เช่นเดียวกันกับในกรณีของคู่รัก เม่ือเกิดความรัก ความศรัทธาจะสามารถสร้างความไว้
เน้ือเช่ือใจได้ มนุษย์สองคนไม่มีใครเป็นเจ้าของใครได้อย่างแท้จริง มีเพียงใจและความรู้สึกของเขาผู้
น้ันเท่าน้ัน ท่ีจะส่ือถึงกัน หากวันใดใครคนใดคนหน่ึงกลายเป็นสิ่งของ หรือผู้ถูกกดข่ีของอีกคน และ
การกลายเป็นผู้ถูกกดข่ีในความสั มพั นธ์ เราไม่สามารถเรียกส่ิ งน้ันว่าความรักได้อีกต่อไป
ความสัมพันธ์ท่ีไม่เป็นมิตรต่ออิสรภาพ เม่ือผู้ใดผู้หน่ึงออกคําส่ัง หรือรู้สึกเหนือกว่าอีกคน และอีกคน
ต้องคอยรับคําส่ัง หรือทําตามท่ีโดนสั่งมา หรือโดนบอกมาแล้วต้องทําตาม แน่นอนอยู่แล้วว่าสิ่งน้ัน
ไมส่ ามารถเปน็ ความรักไดอ้ ีกต่อไป และต้องการการเปล่ยี นแปลงอย่างดว่ น ความสัมพันธ์ของหลายๆ
คู่รักเป็นเช่นน้ีบ้างในบางคร้ัง หลายคู่ท่ีแต่งงานกันแล้วเร่ิมพู ดคุยและรับฟงั กันน้อยลง ในหนังสือ
‘You’re Not Listening: What You’re Missing & Why it Matters’ เคท เมอร์ฟี นักข่าวจาก
37
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
นิวยอร์กไทมส์ วิเคราะห์ถึงปัญหาของการ ‘ไม่ฟงั ’ กันในยุคปัจจุบัน และพยายามช้ีให้เห็นว่าการฟงั มี
ความสําคัญเพียงใด ผ่านภาษาท่ีสละสลวย ผ่านงานวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนบทสัมภาษณ์ผู้คนอีก
จํานวนมาก มาจากหลากหลายอาชีพท่ีต่างกัน ต้ังแต่นักแสดงคนดัง ไปถึงเจ้าหน้าท่ี CIA โดย
หนังสือจะพยายามทําให้ผู้อ่านได้ให้ค่อยๆคิดและ ตระหนักถึงความสําคัญของการฟงั มากกว่าการให้
วิธีฟงั แบบ ‘สําเร็จรูป’ เพราะหากปราศจากการตระหนักถึงความสําคัญของการฟงั ด้วยใจจริงแล้ว
เช่นเดียวกับการศึกษาแบบเปาโล คือการท่ีคนสนทนา ยังคงมีชีวิตอยู่ตามแบบแผน หรือต้นฉบับ
คนสนทนาปลอมผู้น้ันไม่สามารถเข้าร่วมในการคิดเชิงวิพากษ์ได้ สารสนทนา หรือการสนทนาเหล่าน้ัน
จะกลายเป็นแค่เร่ืองตลก และไม่มีอยู่จริงบนโลกท่ีเราดํารงลงอยู่ ในโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีท่ีมี
ความสามารถในการท่ีจะทําให้คนเราเข้าถึง และพู ดคุยกันได้มากกว่า และง่ายข้ึน อย่างในกรณีของ
การแชทผ่านทางข้อความออนไลน์ แน่นอนว่ามันทําให้เราได้พุ ดคุยกัน แต่สิ่งท่ีกําลังเกิดข้ึนน้ันเป็น
เพียงการคยุ กนั เท่านน้ั ไม่ใช่การสารสนทนา
การคุยกันออนไลน์น้ันเป็นส่ิงท่ีทําให้หลายๆง่ายข้ึนในการใช้ชีวิต ผู้เขียนเองยอมรับในส่วน
ของตรงน้ี อีกท้ังในบางคร้ังก็เป็นการพู ดคุยกันเพ่ือเล่ียงท่ีจะส่ือความรู้สึกได้อีกด้วย ในบางคร้ัง
ผู้เขียนเองมีเร่ืองกังวลท่ีต้องพู ดคุยกับคนรู้จัก ผู้เขียนเองเลือกใช้การแชทในการสื่อสาร เน่ืองจาก
มันทําให้การส่ืออารมณ์น้อยท่ีสุด และเข้าถึงความรู้สึกท่ีแท้จริงได้ท่ีสุด เพราะผู้อ่านเอง ไม่สามารถ
รับรู้ได้ถึงน้ําเสียง สีหน้า หรือบรรยากาศรอบ ๆ ในตอนน้ันได้ ผู้อ่านท่ีได้รับข้อความแชทน้ันทราบ
เพียงอย่างเดียวคือทราบแค่ว่าผู้เขียน เขียนอะไรไปเท่าน้ัน ตัวผู้รับสารหรือผู้อ่านสามารถนําเอาสารท่ี
ส่ือไปไปตีความอย่างไรก้ได้ น้ันอาจจะฟังดูไม่ดีเท่าไหร่ แต่บางคร้ังเหตุการณ์แบบน้ีก็เกิดข้ึนจริง
เพราะเราไม่ต้องการให้ผู้รับสารทราบว่าเราคิดและรู้สึกกับส่ิงน้ันอย่างแท้จริงอย่างไร การแชทคุยกัน
จึงทําให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ และสําหรับผู้เขียนเองน้ัน มันเกิดข้ึนหลายคร้ังมากในชีวิตของ
ผู้เขียน บางคร้ังต้ังใจท่ีจะกระทํา บางคร้ังไม่ต้ังใจ เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างการแชทข้อความออนไลน์
ทําให้เกิดความสะดวก ง่ายท่ีจะเข้าถึงกันและกัน สมาร์ตโฟนให้เราได้แทบจะเกือบทุกส่ิงอย่าง ไม่ว่าจะ
เป็นการอ่านข่าว แชทกับเพื่อน ส่ือสารกับคนท้ังโลก แต่ส่ิงหน่ึงท่ีสมาร์ตโฟนให้พวกเรามนุษย์ไม่ได้
คืออารมณ์อ่ิมเอมจากการสนทนาท่ีดีกับคนด้วยกัน ซ่ึงต้องอาศัยการรับฟงั ท่ีดี และการรับฟงั ท่ีดีใน
อีกแง่มุมหน่ึงคือการค้นหาส่ิงท่ีอยุ่ข้างในของใจใครบางคนและทําให้พวกเขาเหล่าน้ันได้เห็นว่าเราใส่ใจ
มากพอท่ีอยากจะรู้ เป้าหมายของการฟงั คือการเข้าใจกัน การฟงั คือการให้ความสนใจ และต้องการ
ความสงสัยใคร่รู้ (curiosity) เป็นเคร่ืองมือหลัก งานศึกษาทางประสาทวิทยาค้นพบว่า เม่ือฟงั และ
เข้าใจส่ิงท่ีอีกฝ่ายกําลังพูด คล่ืนสมองของมนุษย์เราและผู้พูดจะประสานกัน ซ่ึงค่อนข้างท่ีจะส่วนทาง
กับในความเป็นจริง งานวิจัยเผยว่าในการพูดคุยกัน มีน้อยกว่า 5% ท่ีผู้ฟงั จะมีความรู้สึกร่วมกับผู้พูด
น่ันทําให้สัตว์เล้ียงของเราดูยังจะรับฟงั เราเสียมากกว่า และหลายคนก็เลือกท่ีจะคุยกับสุนัขท่ีบ้านแทน
อย่างไรก็ตามมนุษย์เราหลายคนทราบดีว่ามนุษย์ กับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน และพวกมันไม่ได้รับ
ฟงั หรือเข้าใจเราจริง ๆ พวกมันแค่ไม่มีอะไรทําและบังเอิญอยู่ตรงน้ันเท่าน้ันเอง สัตว์ใช้ชีวิตอยู่บน
โลกน้ีตามแบบแผนของพวกมัน พวกมันไม่จดจําอดีต ไม่รู้จักอนาคต สิ่งท่ีพวกมันมีคือการใช้ชีวิต
หรือการมีชีวิตรอดไปวันๆเท่าน้ัน ต่างจากมนุษย์ผู้มีและทราบถึงประวัติศาสตร์ เร่ืองราวในอดีต
อยู่กับปัจจุบัน และสามารถสร้างอนาคตได้ มนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะมนุษย์สามารถแยกตนเองออก
จากโลกได้ และมีความสามารถในการตระหนักได้ถึงความไม่สมบูรณ์ของตนเอง มีความคิดเป็นของ
38
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ตนเอง และแน่นอนว่าพวกเรามีชีวิตเป็นของตนเอง มนุษย์มีห้วงเวลาและประวัติศาสตร์ให้เรียนรู้
และตระหนักถึงความผิดพลาดและมีความสามารถในการเปล่ียนแปลงเพ่ือท่ีจะสร้างอนาคตท่ีดีข้ึนได้
อย่างคํากล่าวของปิแยร์ ฟู ร์แตร์ “จักรวาลปรากฎแก่ข้าพเจ้าไม่ใช่ในฐานะพ้ืนท่ีท่ีมีอิทธิพลย่ิงใหญ่
ไพศาลจนข้าพเจ้าได้แต่ปรับตัวตาม แต่ในฐานะเป็นโอกาส เป็นอาณาบริเวณ ท่ีก่อรูปร่างตามวิถีท่ี
ข้าพเจ้ากระทําต่อมัน” จากคํากล่าวข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการมีอยู่ของสัตว์กับ
มนุษย์ได้เป็นอย่างดี สัตว์มีชีวิต ใช้ชีวิตและปรับตัวตามโลกโดยมีความหมายโดยนัยส่ือถึงการมีชีวิต
เพื่อความอยู่รอดเท่าน้ัน พวกมันไม่สามารถแยกตนเองจากโลกได้ ในขณะเดียวกันมนุษย์น้ันมีชีวิต
ดํารงอยู่ และกลายเป็นมนุษย์ท่ีแยกจากโลก ท้ังน้ีมนุษย์เป็นส่ิงมีชีวิตชนิดเดียวท่ีผู้เขียนทราบว่ามี
ความสามารถในการตระหนักในการกระทําของตนเองได้ และส่ิงท่ีทําให้เราแกต่างจากสัตว์ไปอีกข้ันคือ
การท่ีเราน้ันมีความรู้สึก นึกคิด และตระหนักถึงส่ิงมีชีวิตชนิดเดียวกันอย่างมนุษย์ได้ ตระหนักได้ว่า
การกระทําใดการกระทําหน่ึงของตนเองน้ันอาจส่งผลต่อมนุษย์อีกคนหน่ึง ด้วยเหตุน้ีเองมนุษย์จึง
อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อน และมีสังคม สําหรับผู้เขียน ตรงน้ีเองเน่ียแหละท่ีทําให้ก่อเกิดผู้กดข่ีและผู้ถูก
กดข่ีข้ึน เม่ือมนุษย์เร่ิมสูญเสียความเป็นมนุษย์ไป เม่ือเขาผู้น้ันไม่เพียงตระหนักถึงผู้อ่ืน และเร่ิม
ตัดสินใจแทน ด้วยเหตุตรงน้ีเองจึงทําให้มนุษย์ผู้ท่ีแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอ่ืน ๆ ต้องคิดและตระหนัก
อย่างวิพากษ์ให้ได้ นอกจากน้ีการตระหนักได้แล้ว จะต้องทบทวนตนเองอยู่เสมออีกด้วย เน่ืองจาก
บางคร้ังมนุษย์ก็ทําความผิดพลาด ส่ิงน้ีอาจจะมองดูเป็นโครงสร้างท่ีย่ิงใหญ่ แต่แท้จริงแล้วเป็น
เพียงสิ่งเล็กๆท่ีทุกต้องมี ไม่ใช่ควรมี กรณีของคู่รักท่ีแต่งงานกันจึงเป็นตัวอย่างท่ีแสดงให้เห็นถึงส่ิง
ทผ่ี เู้ ขียนพยายามจะอธบิ ายมาตลอด
คู่รักท้ังสองคนเป็นมนุษย์ และแน่นอนว่าเม่ือมีปัญหากันในความสัมพันธ์มักมีฝ่ายใดฝ่ายหน่ึง
เป็นผู้กดข่ีและผู้ถูกกดข่ีเสมอ เพราะหากขาดผู้ถูกกดข่ีก็จะไม่มีผู้ถูกกดข่ี และหากไม่มีใครกดข่ีใคร
ก็จะไม่มีผู้กดข่ี นอกจากน้ีมนุษย์เองสามารถตระหนัก และมีความสามารถท่ีจะเข้าถึงการคิดแบบเชิง
วิพากษ์ เพียงแต่บางคร้ังเราก็ต้องการสิ่งหน่ึงมากระตุ้นเพื่อให้เราตระหนักได้ และแสดงความรู้สึก
ออกมา บางคร้ังการมีตัวกลางในการส่ือสารก็ไม่ได้แย่นัก อย่างในกรณีท่ีคู่รักแต่งงานท่ีตระหนักได้
ว่าตนเองน้ันเร่ิมมีปัญหาภายใน จึงต้องเพิ่งพาจิตแพทย์ในการรักษาความสัมพันธ์ และส่ิงท่ีจิตแพทย์
จะทําน้ันคือการเปิดใจ ให้พวกเขาท้ังคู่เกิดสารสนทนา ตระหนักและคิดเชิงวิพากษ์ถึงเหตุและผลท่ี
แท้จริงเพ่ือยอมรับ เพื่อเปล่ียนแปลงในแบบท่ีพวกเขาต้องการ เกิดความเข้าใจ และเป็นอิสระ ไม่ใช่
เร่ืองท่ีผิด หรือเลวร้ายอะไร หากมนุษย์คนหน่ึงจะได้ใช้เวลาทบทวนตนเอง การพู ดคุยกับตนเองเป็น
เร่ืองน่าสนใจ บทความใน The New York Times ได้สัมภาษณ์ Ethan Kross อาจารย์สอนด้าน
จิตวิทยาจาก มหาวิทยาลัยมิชิแคน ได้อธิบายว่า การพู ดแบบออกเสียงท่ีเป็นประโยชน์กับตัวเอง
สามารถแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื
1) instructional self-talk การคุยตัวเองในสิ่งท่กี ําลงั ทําหรอื รสู้ ึกอยู่ คลา้ ยๆ กับการพึมพําหรอื บน่
อะไรบางอยา่ งนิดๆ หนอ่ ยๆ
2) motivational self-talk การบอกอะไรบางอย่างกับตัวเอง เพื่อเป็นแรงผลักดันให้กับตัวเรา
ในรูปแบบนจ้ี ะให้อารมณไ์ ปทางบวกๆ
อย่างท่ีอ้างอิงข้างต้น จะเห็นได้ว่าการพู ดคุยกับตนเองทางใดทางหน่ึงเป็นส่ิงท่ีน่าแปลกใจ
เพราะมันทําให้เรารู้สึกดีขน้ึ ได้ เพียงแค่ได้พูดสิ่งๆน้นั ออกมา มนุษย์สนทนากับตนเองเพื่อตระหนักและ
39
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ดํารงชีวิตตนเองต่อไปอย่างท่ีเขาและเธอต้องการ เพราะการใช้ชีวิตของมนุษย์คือการศึกษา หนังสือ
การศึกษาของผู้ถูกกดข่ีได้อธิบายไว้ว่าหากปราศจากการสารสนทนาย่อมไม่มีการส่ือสาร และหาก
ปราศจากการสื่อสารก็ไม่มีการศึกษาท่ีแท้จริง หากปราศจากการส่ือสารคู่รักหลายๆคู่ก็คงไม่สามารถ
ดํารงอยู่ต่อไปได้ ปราศจากการศึกษาการเรียนรู้กันและกันก็จะไม่เกิดข้ึน หลายๆคนเองก็ต้องการ
จิตแพทย์เพ่ือระบายเร่ืองราวต่าง ๆ ออกมาก การดํารงชีวิตเป็นอะไรท่ีมากกว่าการใช้ชีวิต มนุษย์
ดํารงชีวิตอยู่บนโลกใบน้ีเป็นเวลา และเกิดวิวัฒนาการ มนุษย์ดํารงอยู่ในโลกท่ีพวกเขาสร้างใหม่และ
เปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลา สําหรับมนุษย์โลกเป็นแค่พื้นท่ีท่ีใช้แสดงศักยภาพ โลก “ท่ีน่ี” ของมนุษย์
ไม่ใช่แค่พื้นท่ีทางกายภาพ แต่เป็นพ้ืนท่ีท่ีมีเวลาและประวัติศาสตร์ มนุษย์ดํารงอยู่และตายจากเม่ือ
ร่างกายถึงเวลา มนุษย์มีความสามารถในการดํารงชีวิต และสร้างโลกในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ มนุษย์
ตระหนักได้ถึงการมีส่วนร่วม และมีจิตสํานึกร่วมในการดํารงชีวิตอยู่ในสัมพันธภาพเชิงวิภาษระหว่าง
การกําหนดขีดจํากัดและเสรีภาพของตนเอง สิ่งน้ีเองจะสามารถสร้างสังคมท่ีดีให้แก่โลกมนุษย์ได้
และคําถามท่ีมี หรือเก่ียวข้องกับความเสรีภาพท่ีมากเกินไปจะไม่ถูกกต้ังข้ึนบนโลกใบน้ี และน่ีคือสังคม
ท่ีผู้เขียนเอง และเช่ือว่าหลายๆคนก็ต้องการ สังคมท่ีไม่มีผู้ถูกกดข่ีและการทําผิดพลาดเป็นเร่ืองปกติ
พร้อมยินดีท่ีจะยอมรับและเปล่ียนแปลงไปในทางท่ีดีข้ึน เพ่ือหลุดพ้นจากส่ิงท่ีเป็นอยู่ในปัจจุบัน และ
เคยเป็นในอดีต เพื่อใหค้ ณุ ไดเ้ ปน็ คณุ ทด่ี ีข้นึ ในอนาคตและสามารถกําหนดสร้างเองได้
รายการอ้างองิ
เปาโล เฟรรี. (2560).การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี ฉบับครบรอบ 50 ปี (สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัม
ดานี แปล).กรงุ เทพมหานคร.สํานักพิมสวนเงนิ . (ตน้ ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ.2511)
The Matter. (2562).พู ดกับตัวเองไม่ใช่เร่ืองแปลก นักจิตวิทยา บอกว่า การคุยออกเสียงกับ
ตั ว เ อ ง ช่ ว ย ล ด ค ว า ม เ ค รี ย ด แ ล ะ เ พ่ิ ม โ ฟ กั ส กั บ ง า น ไ ด้ . สื บ ค้ น 24 ตุ ล า ค ม 2564. จ า ก
https://thematter.co/brief/goodsmorning/goodsmorning-1572307200/88660
กิตติพงษ์ เรือนทิพย์. (2564).“You’re not listening” คนเหงาเพราะเราไม่ฟงั กัน. สืบค้น 24
ตุลาคม 2564. จาก https://www.the101.world/notable-you-are-not-listening/
40
วชิ า สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ศศิประภา บัวนารถ 6205610311
ความเงยี บทย่ี งั คงดงั อยู่
ในสังคมปัจจุบันน้ันยังคงมีการกดข่ีเกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองท้ังท่ีสามารถเห็นได้เป็นรูปธรรมหรือ
แฝงฝังอยู่ในรากลึกของสังคมมาอย่างยาวนาน ซ่ึงรูปแบบในการกดข่ีน้ันมีท้ังท่ีผู้กดข่ีตระหนักรู้และ
ไม่ตระหนักรู้อันเน่ืองมาจากหลากหลายสาเหตุท่ีทําให้เรากลายเป็นผู้กดข่ีโดยไม่รู้ตัว ซ่ึงหากเป็นดังท่ี
กล่าวมาน้ันการกดข่ีก็จะดํารงอยู่ภายในสังคมเราอย่างต่อเน่ืองโดยไม่มีท่ีส้ินสุด ผู้เขียนจึงได้มีโอกาส
ศึกษาหนังสือเร่ือง การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี ฉบับครบรอบ50 ปี ของเปาโล เฟรรี โดยเปาโล เฟรรี
ได้พู ดถึงเร่ืองการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองโดยแนวคิดหลักของประเด็นน้ีคือการท่ีเราในฐานะมนุษย์ท่ี
อ่านออก เขียนได้น้ัน ควรมีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอยู่อย่างสม่ําเสมอเน่ืองจากในสถานการณ์หรือ
เหตุการณ์ต่าง ๆท่ีเราทุกคนพบเจอน้ันเราอาจจะกลายเป็นผู้กดข่ีเสียเองโดยท่ีไม่รู้ตัว ดังน้ันการหม่ัน
ทบทวนตัวเองอยู่เสมอจึงเป็นอีกหน่ึงแนวทางท่ีมีความสําคัญอย่างมากหากเราต้ังใจจะไม่เป็นผู้กดข่ี
ในสังคมน้ีอีกต่อไป การท่ีผู้เขียนหยิบยกประเด็นน้ีมาเขียนในบทความเน่ืองจากว่าผู้เขียนเคยมี
ประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีความสนใจและเห็นว่าหากเรามีความมุ่งม่ันท่ีจะ
เปล่ียนแปลงสังคมน้ีและอยากให้สังคมสามารถหลุดพ้นจากการกดข่ีได้จําเป็นท่ีจะต้องตระหนักรู้ถึง
แนวคิดท่ีแฟร์ ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ ซ่ึงจากข้อความดังกล่าวข้างต้นน้ันจะสะท้อนให้เห็นถึงการกด
ข่ีท่ีเกิดข้ึนท้ังท่ีผู้กดข่ีตระหนักรู้หรือไม่ตระหนักรู้ก็ตามผู้ท่ีถูกรู้สึกกดข่ีน้ันก็ได้รับผลกระทบโดยตรง
จากเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนจึงทําให้ผู้กดข่ีในทุกสมัยน้ันต้องมีการลุกข้ึนมาเพ่ือต่อสู้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
หลุดพ้นจากการกดข่ีท่ีเกิดข้ึน แต่ในระยะต่อมาเป้าหมายของผู้กดข่ีมักหลงทิศทางไปคือแทนท่ีจะต่อสู้
เพื่อเป็นการปลดปล่อยแต่ผู้กดข่ีน้ันมีแนวโน้มท่ีจะกลายเป็นผู้กดข่ีคนใหม่หรือผู้กดข่ีย่อย ๆ เสียเอง
โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าวน้ันจึงทําให้แฟร์ มุ่งเน้นในเร่ืองการสร้างจิตสํานึกรู้ทัน โดยไม่ว่าจะเป็น
การตระหนักรู้ทันความรู้สึกของท้ังผู้กดข่ีและผู้ถูกกดข่ีเองโดยการใช้ความรักในการปลดปล่อยท้ัง
สองไปพร้อมกันเน่ืองจากผู้กดข่ีน้ันก็ปรารถนาท่ีจะรู้สึกเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันกับผู้ถูกกดข่ีเน่ืองจาก
การลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อ่ืน ไม่ช่วยให้ผู้กดข่ีมีความเป็นมนุษย์มากข้ึนแต่อย่างใด และการ
กดข่ีท่ีเกิดข้ึนภายในสังคมน้ันไม่เพียงแต่เห็นได้ผ่านทางสังคม วัฒนธรรมหรือประเพณีของสังคมท่ีมี
การกดข่ีน้ันๆหากแต่ยังสามารถเห็นได้ผ่านทางการศึกษาได้อีกด้วย โดยจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
ท่ีเก่ียวของน้ันผู้เขียนพบงานของ (อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง,2559) เร่ืองการศึกษาของผู้ถูกกดข่ี โดยได้มี
การพู ดถึงการศึกษาจากหนังสือของเปาโล เฟรรี โดยมีประเด็นท่ีผู้เขียนเห็นว่ามีความน่าสนใจในการ
ท่ีจะหยิบยกมาไว้ในบทความน้ีคือการท่ีเขาได้กล่าวว่า “การศึกษาท่ีไม่ต้ังคําถามถึงความสัมพันธ์ทาง
อํานาจของผู้กดข่ีและผู้ถูกกดข่ีก็เป็นเพียงกระบวนการธํารงไว้ซ่ึงการกดข่ีอยู่น่ันเอง’’ โดยจาก
ประโยคดังกล่าวน้ันจะสะท้อนให้เห็นถึงการศึกษาท่ีเกิดข้ึนภายใต้สังคมท่ียังคงมีการกดข่ีเกิดข้ึนอยู่
โดยการศึกษาดังกล่าวน้ันจะเป็นการศึกษาท่ีผู้ศึกษาน้ันไม่มีการต้ังคําถามต่อความรู้ท่ีได้รับหรือรวมไป
ถึงการต้ังคําถามของการใช้อํานาจภายในห้องเรียน โดยการศึกษาน้ันมักเป็นการศึกษาแบบทางเดียว
คือการท่ีผู้สอนน้ันมอบความรู้ให้แก่ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว และผู้เรียนน้ันก็มีหน้าท่ีในการรับความรู้
เพี ยงแต่อย่างเดียวหากแต่ไม่สามารถต้ังคําถามหรือมอบแนวคิดหรือความรู้อีกหน่ึงมุมท่ีผู้เรียน
สามารถมองเห็นได้ผ่านมุมมองของผู้เรียนเองสะท้อนกลับไปยังผู้สอนได้ รวมไปถึงการสนทนา
41
วชิ า สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ระหว่างท้ังตัวผู้เรียนและตัวผู้สอนน้ันก็กลับกลายเป็นการสื่อสารทางเดียวเช่นกันอันเน่ืองมากจาก
อํานาจของการกดข่ีท่ีแฝงฝังอยู่ภายในห้องเรียนโดยท่ีผู้เรียนและผู้สอนน้ันไม่รู้ตัวเน่ืองด้วยเป็นการ
ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติหรือกฎกติกาท่ีสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาท่ียาวนาน ซ่ึงการศึกษาดังกล่าวน้ัน
จะสอดคล้องกับแนวคิดของแฟร์ท่ีกล่าวถึงเร่ือง “การศึกษาแบบฝากธนาคาร” โดยการศึกษาแบบ
ฝากธนาคารจะเป็นการศึกษาแบบทางเดียวและเป็นการฝากความรู้ไว้ท่ีผู้เรียนเพียงอย่างเดียวเสมือน
กับการฝากเงินในธนาคารท่ีผู้รับฝากน้ันได้เพี ยงแต่มีหน้าท่ีในการรับฝากเงินแต่เพี ยงอย่างเดียว
เท่าน้ัน ซ่ึงจากแนวคิดดังกล่าวของแฟร์น้ันสามารถพบได้ในการศึกษาของไทยดังจะเห็นได้จาก
วัฒนธรรม ค่านิยม ความเช่ือท่ีสืบทอดต่อกันมาท่ีกล่าวถึงการเป็นนักเรียนต้องเช่ือฟงั ในส่ิงท่ีครูสอน
และสิ่งท่ีครูสอนน่ันถือเป็นท่ีสิ้นสุดหากนักเรียนน้ันเกิดการต้ังคําถามหรือมีความคิดเห็นท่ีแตกต่างไป
จากความรทู้ ผ่ี ้สู อนมอบให้นน้ั จะถือเปน็ การไมใ่ ห้เกยี รตผิ ู้สอน และไมเ่ คารพต่อผสู้ อน
มากไปกว่าน้ันการศึกษาแบบฝากธนาคารยังมุ่งเน้นเพียงแค่ให้ผู้เรียนน้ันจดจําเฉพาะคําตอบท่ี
ผู้สอนมอบให้เท่าน้ันและเป็นคําตอบท่ีชัดเจน ตายตัว แบ่งแยกข้ัวคําตอบเป็น ถูก ผิด อย่างชัดเจน
ซ่ึงน่ันจึงเป็นอีกหน่ึงปัจจัยท่ีทําให้ผู้เรียนไม่สามารถกระตุ้นกระบวนการคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ของ
ตัวเองได้ซ่ึงจากแนวคิดทางด้านการศึกษาดังกล่าวน้ันจะทําให้เห็นว่าภายในห้องเรียนน้ันมีอํานาจนิยม
ท่ีแฝงอยู่ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของส่ือท่ีเผยแพร่ออกมาเพื่อเป็นการตอกย้ําต่อค่านิยมการกดข่ี
ภ า ย ใ น ห้ อ ง เ รี ย น โ ด ย เ ป็ น ก า ร ป ลู ก ฝั ง ค่ า นิ ย ม ดั ง ก ล่ า ว ใ ห้ แ ก่ เ ด็ ก โ ด ย ต้ั ง ใ จ ผ่ า น สื่ อ ส า ธ า ร ณ ะ
โดยตัวอย่างท่ีผู้เขียนยกมาน้ันคือตัวอย่างจากซ่ีรีส์ Hormone วัยว้าวุ่น 2 โดยจะเป็นสื่อท่ีเผยแพร่
ออกมาสู่สาธารณะโดยเด็กทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงได้ โดยฉากท่ีผู้เขียนเห็นว่าเป็นการใช้อํานาจ
ภายในห้องเรียนคือฉากในคาบภาษาอังกฤษโดยมีคุณครูกําลังทําการสอนอยู่หน้าห้องเรียนและมีเด็ก
นักเรียนหญิงคนหน่ึงท่ีคิดว่าคุณครูแปลผิดเน่ืองจากว่าตนเองน้ันเคยไปอยู่ท่ีต่างประเทศมาก่อนจึง
ยกมือและบอกคุณครูว่าคําน้ีครูอาจจะแปลผิดแต่ครูน้ันเกิดอารมณ์โมโหและไม่พอใจท่ีนักเรียนน้ัน
แสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งต่อความรู้ท่ีครูมอบให้ โดยใช้อํานาจในการเป็นผู้ควบคุมการเรียน
การสอนในรายวิชานัน้ ในการหยุดยัง้ การตั้งคาํ ถามของนักเรียน โดยจากเหตกุ ารณ์ดังกลา่ วนัน้ จะเห็น
ได้ว่าการใช้อํานาจภายในห้องเรียนหรือการกดข่ีน้ันยังคงแฝงฝังอยู่ในระบบการศึกษาไทยแม้ว่า
ประเทศไทยจะกล่าวว่าตนเองนน้ั เข้าสู่ยุค 4.0 แล้วกต็ าม
นอกจากน้ันการศึกษาแบบฝากธนาคารยังส่งผลให้เกิดการพึ่งพาและไม่ช่วยให้เกิดการคิดและ
วิเคราะห์รวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเน่ืองจากการศึกษาแบบธนาคารน้ันจะเน้นไปท่ีความรู้ท่ี
ได้จากผู้สอนเป็นหลักซ่ึงการท่ีผู้เรียนน้ันพ่ึงพาแต่ผู้สอนเพียงอย่างเดียวน้ันทําให้แรงจูงใจท่ีจะกระตุ้น
ให้ผู้เรียนน้ันมีความสนใจในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองน้ันลดลงจนส่งผลไปถึงกระบวนการคิด
วิเคราะห์ของตัวผู้เรียนเองก็ลดลงตามไปอีกด้วย นอกจากน้ันเม่ือประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคทุนนิยม
และเทคโนโลยีซ่ึงส่งผลให้วิถีการดํารงชีวิตและสภาพสังคมของประชาชนน้ันเปล่ียนไปก็เป็นอีกหน่ึง
สาเหตุท่ีส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวผู้เรียน ดังจะเห็นได้จาก (Matichon Online,2562) ท่ีได้พู ดถึง
เร่ืองสถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทย โดยสรุปได้ว่าในปัจจุบันเม่ือสังคมมีการ
เปล่ียนแปลงเข้าสู่ยุคทุนนิยมมากข้ึนจึงส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมีการเปล่ียนแปลงไป
ตามสภาพของสังคมโดยกล่าวได้ว่าอาจเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยจนเป็นท่ีน่าวิตกกังวล โดยหากเปรียบ
พฤติกรรมการเรียนจากในอดีตและปัจจุบันจะพบได้ว่าในอดีตน้ันเด็กและเยาวชนมีความใกล้ชิดกับ
42
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ครอบครัวและผู้ปกครองมากในปัจจุบันจึงทําให้สถาบันครอบครัวมีบทบาทในการอบรมและส่ังสอน
ให้แก่เด็กโดยมีความสําคัญเทียบเท่ากับการได้รับความรู้จากผู้สอนในโรงเรียนแต่ในปัจจุบันน้ันการมี
เทคโนโลยีท่ีสามารถช่วยให้เด็กเข้าถึงความรู้ได้มากข้ึนน้ันทําให้เกิดผลดีต่อตัวผู้เรียนในด้านการ
สามารถเข้าถึงชุดความรู้ท่ีมีความหลากหลายและทันสมัยมากย่ิงข้ึนแต่ในทางตรงข้ามน้ันผู้เรียน
บางส่วนตระหนักว่ามีเทคโนโลยีท่ีช่วยในการศึกษาแล้วจึงไม่ตระหนักท่ีจะค้นคว้าหาความรู้หรือคิด
วิเคราะห์ด้วยตนเองและมากไปกว่าน้ันในปัจจุบันมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซ่ึงทํา
ให้ผู้เรียนและผู้สอนน้ันต้องพบปะและเรียนรู้กันทางไกลในรูปแบบออนไลน์เท่าน้ันและนอกจากน้ัน
สถานการณ์ดังกล่าวทําให้มีหลากหลายปัจจัยท่ีตอกย้ําต่อแนวคิดทางการศึกษาในรูปแบบฝาก
ธนาคารของเปาโล แฟร์ มากข้ึนไม่ว่าจะเป็นการท่ีต้องเรียนออนไลน์น้ันส่งผลให้ต้องมีการปรับเกณฑ์
การให้คะแนนและรูปแบบการเรียนการสอนเพ่ือให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันให้มากท่ีสุด การเรียน
การสอนจึงเป็นไปในรูปแบบท่ีผู้สอนน้ันพยายามท่ีจะอัดความรู้ให้แก่ผู้เรียนเพ่ือทําให้ผู้สอนสามารถ
สอนทันได้ในเวลาท่ีกําหนดไว้รวมไปถึงเม่ือมีการเรียนออนไลน์ผู้เรียนบางคนไม่สามารถเปิดกล้องได้
ในขณะเรียนจึงทําให้ผู้สอนไม่สามารถเห็นถึงสีหน้าของผู้เรียนได้รวมไปถึงผู้เรียนก็ไม่กล้าท่ีจะถามถึง
ส่ิงท่ีตนเองสงสัยเน่ืองจากเป็นการเรียนออนไลน์จึงย่ิงทําให้ปัญหาเกิดข้ึนกับผู้เรียนเป็นอย่างมาก
ความรู้ท่ีได้รับก็จะย่ิงเป็นความรู้ในทางเดียว การสานสนทนาในห้องเรียนจึงเป็นการสนทนาในทาง
เดยี วอยา่ งทแ่ี ฟรเ์ คยได้กลา่ วไว้
แต่ในทางกลับกันน้ันผู้เขียนมองว่าการเรียนออนไลน์กลับทําให้อํานาจนิยมท่ีแฝงฝังอยู่ใน
ห้องเรียนมาเป็นระยะเวลายาวนานน้ันลดลงเน่ืองจากในอดีตหากผู้เรียนไม่มีชุดนักเรียน หรือไม่มี
อุปกรณ์การเรียนท่ีครบหรือถูกต้องตามเกณฑ์ท่ีทางสถานศึกษากําหนดก็จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ไป
เรียน รวมไปถึงการจะต้องมีเคร่ืองแต่งกายหรืออุปกรณ์การเรียนตามค่านิยมของผู้เรียนส่วนมาก
และรูปแบบทรงผมท่ีเข้ามามีอิทธิพลต่อการศึกษามากย่ิงข้ึนได้ซ่ึงการกระทําดังกล่าวน้ันจะทําให้เกิด
ความเหล่ือมล้ําและเกิดเป็นอํานาจนิยมท่ีปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานแต่ในปัจจุบันการเรียนออนไลน์น้ัน
ผู้เรียนไม่จําเป็นท่ีจะต้องแต่งตัวหรือต้องมีอุปกรณ์การเรียนท่ีมากมายรวมไปถึงไม่จําเป็นท่ีจะต้องมี
อุปกรณ์ท่ีตามค่านิยมก็สามารถเรียนได้ ซ่ึงผู้เขียนมองว่าประเด็นน้ีเป็นอีกหน่ึงทางท่ีสามารถลด
อํานาจนิยมท่ีเกิดข้ึนภายในห้องเรียนได้และนอกจากน้ันจากสถานการณ์ท่ีทําให้เกิดการเรียนออนไลน์
น้ันยังส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมความเงียบในรูปแบบท่ีแฟร์ เคยกล่าวไว้ซ่ึงจะทําให้เห็นได้ว่าจากการ
เ รี ย น อ อ น ไ ล น์ น้ั น ทํ า ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ก า ร ก ด ข่ี ใ น ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า ท่ี ชั ด เ จ น ข้ึ น ดั ง ผู้ เ ขี ย น จ ะ เ ห็ น ไ ด้ จ า ก
ประสบการณ์ท่ีผู้เขียนเรียนออนไลน์มาเกือบ2ปีเต็ม โดยการกดข่ีน้ันอาจจะมาในรูปแบบการบังคับให้
ผู้เรียนน้ันเปิดกล้องตลอดการเรียนการสอน การเรียกช่ือให้ตอบคําถาม ซ่ึงการกระทําดังกล่าว
อาจจะเป็นไปโดยความไม่สมัครใจของตัวผู้เรียนเอง แต่ผู้เรียนก็จะต้องทําตามกันเสมือนเป็นประเพณี
ท่ีเกิดข้ึนในระบบการศึกษาเน่ืองจากอํานาจนิยมท่ียังคงหลงเหลืออยู่ในระบบการศึกษาไทยและไม่มีที
ท่าว่าจะเลือนหายไป ซ่ึงจากการกระทําดังกล่าวน้ันจะทําให้เกิดวัฒนธรรมความเงียบข้ึนมาโดยไม่รู้ตัว
เน่ืองจากการท่ีทุกคนเพิกเฉยต่อการกดข่ีท่ีเกิดข้ึนน้ันถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนเก่ียวข้องในการกดข่ีน้ัน
แต่การน่ิงเฉยจะส่งผลให้การกดข่ีน้ันยังคงอยู่และแผ่ขยายการกดข่ีไปในวงกว้างและทําให้การกดข่ีน้ัน
เป็นไปอย่างต่อเน่ืองในระยะเวลาท่ียาวนานมากย่ิงข้ึนซ่ึงถ้าหากเรายังคงปล่อยให้วัฒนธรรมความ
เงียบน้นั คงอยตู่ อ่ ไปในสังคมการกดข่กี จ็ ะคงอย่ตู ่อไปเฉกเชน่ เดยี วกัน
43
วิชา สค. 465 ปรชั ญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ดังน้ันเราจะเห็นได้ว่าการกดข่ียังคงกับสังคมไทยต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงมีทีท่าท่ีจะ
สืบเน่ืองต่อไปอย่างไม่หยุดย้ังแต่หากเราทุกคนเร่ิมท่ีจะวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง และเร่ิมท่ีจะไม่น่ิงเฉย
ต่อการกดข่ีก็จะสามารถเป็นจุดเร่ิมต้นท่ีดีได้ต่อการต่อต้านการกดข่ีท่ีเกิดข้ึนและมากไปกว่าน้ันการ
ป ฏิ รู ป ก า ร ศึ ก ษ า ก็ ถื อ เ ป็ น อี ก ส่ ว น ห น่ึ ง ท่ี มี ค ว า ม สํ า คั ญ อ ย่ า ง ม า ก ต่ อ ก า ร ล ด ก า ร ก ด ข่ี ใ น สั ง ค ม ล ง
เน่ืองจากการศึกษาถือเป็นปัจจัยข้ันพ้ืนฐานท่ีจะทําให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ดังน้ันหากระบบ
ก า ร ศึ ก ษ า มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ แ ล ะ มุ่ ง เ น้ น ไ ป ท่ี ก า ร ส า ส น ท น า ร ะ ห ว่ า ง ผู้ เ รี ย น แ ล ะ ผู้ ส อ น ร ว ม ไ ป ถึ ง ก า ร
แลกเปล่ียนความรู้และยอมรับความคิดเห็นจากท้ังสองฝ่ายก็จะส่งผลให้การศึกษาน้ันเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ สุดท้ายน้ีผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านทุกท่านท่ีได้อ่านงานช้ินน้ีน้ันตระหนักถึงการกดข่ีท่ี
ยังคงเกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองในสังคมและหม่ันวิพากษ์ตนเองอยู่อย่างสม่ําเสมอซ่ึงการกระทําเช่นน้ีไม่
เพียงแต่จะเป็นจุดเร่ิมต้นในการช่วยสังคมแต่ยังเป็นการตระหนักถึงความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ท่ี
เกิดข้ึนจากการถูกกดข่ี ถึงเวลาแล้วหรือยังท่ีเสียงของผู้ถูกกดข่ีจะดังข้ึนจนผู้คนในสังคมสามารถ
สัมผัสถึงความเจ็บปวดของพวกเขาเหล่าน้ันได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังท่ีเสียงของผู้ถูกกดข่ีจะไม่เงียบ
สงัดเฉกเช่นไม่มีตัวตนอยู่ในสังคมน้ีเหมือนกับผู้อ่ืน และถึงเวลาแล้วหรือยังท่ีเสียงของผู้ถูกกดข่ีจะไม่
ดังอยู่ภายใต้ความเงยี บสงดั ของสังคมอย่างทเ่ี คยเป็นมา
รายการอ้างอิง
อับดุล เจ๊ะหลง. (2559). การศึกษาของผู้ถูกกดข่ี Pedagogy of the Oppressed. สืบค้น
เม่อื วนั ท่ี 24 ตุลาคม 2564 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/
ปรําปรา. (2553). เปาโลแฟร์ วิพากษ์การศึกษาแบบฝากธนาคาร. สืบค้นเม่ือวันท่ี 25 ตุลาคม
2564 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/wattanaz
เปาโล เฟรรี, การศึกษาของผูถ้ กู กดข่ี ฉบับครบรอบ 50 ป,ี แปลโดย สายพิณ กุลกนกวรรณ
ฮัมดาน,ี (กรุงเทพ:สวนเงนิ มมี า, 2560)
44
วิชา สค. 465 ปรัชญาการศึกษา Section 910001 อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
ธนวัฒน์ พักวดั 6205680835
ความเปน็ มนษุ ย์กบั การศึกษา
สังคมในยุคปัจจุบันน้ันเราไม่สามารถปฏิเสธว่าปัญหาท่ีเกิดน้ันเกิดข้ึนมาจากสาเหตุปัจจัย
ท่ีแตกต่างกัน แต่สาเหตุท่ีนักศึกษามองเห็นว่ายังคงเป็นปัญหาท่ีชัดเจนและมีมาอย่างยาวนาน
น่ั น ก็ คื อ ปั ญ ห า ข อ ง ก า ร ศึ ก ษ า ท่ี ผู้ ค น ต่ า ง ล้ ว น ท่ี จ ะ มี สิ ท ธิ ท่ี จ ะ เ ข้ า ถึ ง ใ น โ ล ก ปั จ จุ บั น ท่ี ค ว ร จ ะ ไ ด้ รั บ
การศึกษาท่ีครอบคลุมทุกพื้นท่ี แต่ในทางกลับกัน นักศึกษายังเห็นถึงความเหล่ือมล้ํา โครงสร้างท่ีเรา
น้ันยังคงมองว่าเป็นปัญหาในการเข้าถึงการศึกษาโดยเห็นได้จากตามชนบน และ ข่าวท่ีเกิดข้ึน
บางคนน้ันแสวงหาโรงเรียนท่ีมีช่ือเสียง โรงเรียนท่ีคนท่ัวไปว่ากันว่าดี แต่รู้หรือไม่ว่า การกระทํา
เหล่าน้ัน เป็นสิ่งท่ีพวกเขากําลังสืบถอดวาทกรรม และ การยอมรับแบบไม่รู้ตัว หรือ ท่ีเรียกกันว่า
วัฒนธรรมเงียบท่ีเกิดจากการท่ีเราไม่คิดไตร่ตรองการท่ีเรายอมรับในส่ิงท่ีคนบางกลุ่มถูกมองว่าดี
และในบางทีก็เป็นสิ่งท่ีทําให้เกิดการมองไม่เห็นถึงคุณค่าของตัวเอง ในการศึกษางาน เร่ือง Paulo
Freire น้ัน นักศึกษามองว่าเป็นหนังสือท่ีให้แง่มุมท่ีมีความหลากหลาย และสามารถนํามาตีโจทย์ให้
เข้ากับสังคมไทยได้อย่างหลากหลาย แต่ในส่ิงท่ีนักศึกษาน้ันจะยกงานเขียนของหนังสือเล่มน้ีมา
คือ ประเด็นความเป็นมนุษย์ การทําลายความเป็นมนุษย์ และประเด็นของการศึกษาแบบฝากธนาคาร
ซ่ึง 2 ประเด็นท่ีนักศึกษาได้นํามาน้ัน นักศึกษามองว่าสามารถนํามาเขียนได้ในหลากหลายแง่มุมโดยท่ี
เข้ากับสังคมไทยในแย่มุมท่ีนักศึกษาได้เห็นและได้ผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบันโดยนักศึกษาจะเร่ิมงาน
เขียนด่งั ต่อไปน้ี
ยุคสมัยท่ีกําลังเปล่ียนไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีทําให้คนเราน้ันติดต่อส่ือสารกันง่ายข้ึน
เกิดโลกาภิวัตน์ ทําให้เราติดต่อกันได้ทุกแง่มุม และในทุกประเด็น ท่ีแสดงให้เห็นถึงความเช่ือมโยง
ระหว่างปัจเจคไปยังความต้องการต่าง ๆ ความต้องการของมนุษย์ท่ีมีมากน้ัน เป็นบ่อเกิดแห่งการ
กดข่ี และ การถูเอารัดเอาเปรยี บโดยท่เี ราอาจจะไมร่ ู้ตัว
ความต้องการของคนท่ีมีมากข้ึนในทุก ๆ วันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือปัจจัยหลักในการ
ขับเคล่ือนชีวิต จึงสอดคล้องกับการทํางานท่ีนักศึกษามองว่า สาเหตุน้ีคือสาเหตุท่ีสําคัญของการ
เกิด ชนช้ัน หรือ การแบ่งกลุ่ม ท่ีนํามาสู่การกดข่ี ด่ังงานของ Paulo Freire และมีนักคิดท่ีนักศึกษา
มองว่ามีความเก่ียวข้อง คือ Karl Max ท่ีพูดถึงชนช้ันทางสังคม ท่ีอธิบายถึงโครงสร้างทางสังคมท่ี
ถูกออกแบบมาให้ทุนนิยม ท่ีพู ดดถึงชนช้ัน กระqุมพร หรือนายทุน ท่ีขัดแย้งกับชนช้ัน กรรมมาชีพ
หรือ ชนช้ันแรงงานในปัจจุบัน เราจะเห็นได้อย่างต่อเน่ืองว่า ความต้องการท่ีมีมากของนายทุนน้ัน
สามารถนํามาสู่การกดข่ีการทํางานของชนช้ันแรงงานได้อย่างดี เพราะเน่ืองจากการท่ีชนช้ันแรงงาน
ไม่ได้มีทุนท่ีสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยในการจ้างและการผลิตเองได้ เลยใช้ทุนท่ีตัวเองมีน้ันขูดรีดได้
ซ่ึงเกิดจากการแตกต่างระหว่างชนช้ันเสมอมา ซ่ึงก็จะสามารถยกตัวอย่างได้ในสังคมไทย
ท่ีโรงงานผลิตต่าง ๆ โดยการทํางานอาจจะไม่เก่ียวกับความต้องการของชนช้ันแรงงานหรือความรัก
ในการทํางานนน้ั ๆ เพียงแคว่ ่าเขาน้นั มองว่าสิ่งใดทต่ี อบโจทยก์ ับชวี ิตเขาไดม้ ากทส่ี ุดในเวลาน้นั
โดยชนช้ันแรงงานน้ันจะถูกกดข่ีหรือขูดรีด เพียงแค่เพราะเขาไม่มีทุนไม่มีทรัพยากรใด ๆ
มีเพี ยงร่างกาย และกําลังแรง เพื่ อท่ีจะหาเงินมาเล้ียงดูครอบครัวและการมีชีวิตอยู่ในสังคม
โดยไม่รับรู้เลยว่าความเป็นมนุษย์ท่ีแท้จริงและการเข้าใจตัวเอง มีเพียงแต่การเอาชีวิตรอดในระบบน้ี
45