“…ลองหนั มาเผชิญกับโลกนี้ เรียนรู้วถิ ขี องมัน เฝา้ มองมัน
แตอ่ ยา่ ดว่ นสรปุ ความหมายของมัน …” (H.G.Wells)
การศกึ ษามรรควธิ ใี นการพัฒนามนษุ ย์ สงั คม
วิชาการศกึ ษาเพ่ือการพฒั นา คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค 1/2565
“…ลองหนั มาเผชิญกบั โลกนี้ เรียนรู้วถิ ีของมัน เฝ้ามองมัน
แต่อยา่ ด่วนสรปุ ความหมายของมัน …” (H.G.Wells)
การศกึ ษามรรควิธใี นการพฒั นามนุษย์ สังคม
วิชาการศึกษาเพือ่ การพัฒนา คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค 1/2565
บทนํา
ณ บอ่ ปลาคราฟ จดุ นัดหมายวันน้ันในชน้ั เรียน 465
รวมเล่มบทความวิชาการทางการศึกษา ด้วยโจทย์ “ การศึกษา มรรควิธีในการพัฒนา
มนุษย์ สังคม” เป้ามุ่งในชั้นเรียนนี้ เชื่อว่าการศึกษาคือวิธีที่มนุษย์สามารถพัฒนาตามศักยภาพ
เสรีในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และเป็นหนทางที่จะนํามนุษย์ในการพัฒนาผู้คน สังคม ภาคการศึกษา
ที่ 1 ปีการศึกษา 2565 กับชั้นเรียนที่ไม่ใหญ่นัก เรามีสมาชิกที่มาเจอกัน และทํางานร่วมกัน
ในช่วงเวลาไม่มากนัก เราอ่าน เราเขียน เราแลกเปลี่ยน และเราปันกัน ในชั้นเรียนและนอกช้ัน
เรียน เทอมนี้มีโอกาสออกไปข้างนอก ล้อมวงคุยกับหนังสือที่เลือก จากการอ่าน และเริ่มลงมือ
เขียน ช่วงท้ายที่กตการ่วมในชั้นเรียนออกแบบไว้ คือ บทความทางการศึกษาที่สมาชิกตั้งโจทย์
ค้นหาความรู้เพื่ออธิบายตัวเองและสมาชิก เรานํามาแลกกัน คุยกัน อภิปรายกันในวง“สานเสวนา”
และบทความทั้งหมดตั้งใจเผยแพร่ สื่อสารกับผู้อื่นนอกชั้นเรียนเรา ปันกันอ่าน และร่วมถก
ตงั้ คาํ ถามตอ่ ในประเดน็ ชวนคิดท่สี มาชิกต้ังใจ
ขอบคณุ สมาชกิ ในชน้ั เรา
ครู
พฤศจิกายน 2565
สารบญั หนา้
ลําดบั 1
8
1 การเข้าถงึ สทิ ธทิ างการศกึ ษากบั การพฒั นาสังคม 16
2 ก . ศกึ ษาเพื่อใคร ? 20
3 สายธารการศึกษา 26
4 การถกู กดขี่บนความเทา่ เทยี ม 33
5 การศกึ ษาสามารถพฒั นาชวี ติ และความเป็นมนุษย์ 38
6 การศกึ ษาไท 45
7 “โรงเรยี น ฉนั กบั โลกภายนอก” 52
8 การศึกษาในสิ่งทช่ี อบ VS สง่ิ ทสี่ งั คมยอมรบั 59
9 โควิด - 19 จดุ เปลยี่ นสําคญั ของการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ในประเทศไทย 65
10 มองใหถ้ ูกมุม มมุ ที่ถูกลมื
11 กบั ดกั ของผถู้ ูกปลดปลอ่ ย
การเข้าถงึ สทิ ธทิ างการศกึ ษากับการพัฒนาสงั คม
นนั ทนัช ผลพิมาย 6305610377
1
ปัญหาการเข้าถงึ สิทธทิ างการศกึ ษา
การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษานั้นเป็นเรื่องสําคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงถึงการพัฒนา
ประเทศของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลแต่ละประเทศต่างผลักดันนโยบายด้านการศึกษาอยู่
ตลอดเวลานอกจากนั้นการศึกษายังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในหลายเหตุการณ์ หากแต่
ประการสําคัญหนึ่งที่ยกมากล่าวถึงคือ ปัญหาการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ไม่ใช่เพียงในประเทศ
ไทยที่เด็กจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นต่างเผชิญกับประเด็น
นเี้ ช่นกัน เดก็ ด้อยโอกาสทางการศกึ ษา (Underprivilleged Children in Education) คอื คําจํากดั
ความของกลุ่มคนอายุตํ่ากว่า 18 ปีที่เป็นผู้มีโอกาสน้อยกว่าคนทั่วไปด้วยปัญหาหลายประการจน
ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้นั้นขาดโอกาสที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้เข้ารับการศึกษา ปริมาณ
ของเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษานั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใน
ปัจจุบันหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด – 19 นั้นแม้สถานการณ์โรคระบาดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
หากแต่เรากลับเหน็ ได้วา่ เดก็ จํานวนมากเข้าถงึ การศกึ ษาได้ยากลําบากตลอดชว่ งเวลาที่ผา่ นมา
เมื่อเกิดปัญหาในการเข้าถึงระบบการศึกษานั้นย่อมส่งผลกระทบถึงปัญหาของการพัฒนา
สังคมเพราะระบบการศึกษานั้นมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน การศึกษานั้นดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ว่ารัฐบาลทั่วโลกมีการเน้นยํ้าถึงนโยบายในด้านนี้หากแต่ไม่ได้ให้ความสําคัญหรือเข้าใจบริบท
ปัญหาอย่างถ่องแท้ การศึกษาเปรียบเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการ
ขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้า รวมทั้งการพยายามใช้การศึกษาในการลดความเหลื่อมลํ้าทั้งใน
ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม องค์ประกอบทางการศึกษานั้นเป็นส่วนขับเคลื่อนที่สําคัญของ
การพัฒนาประเทศ ดั้งนั้นการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษากับการพัฒนาสังคมจึงมีความเชื่อมโยงกัน
และกนั การไดร้ ับการศกึ ษาจึงเปน็ เรอื่ งสาํ คัญของเดก็ ทุกคนและเปน็ เรื่องทไี่ ม่ควรถูกละเลยไป
สทิ ธกิ ารศึกษาของประชาชนไทย
สังคมประชากรโลกนั้นสิทธิประการหนึ่งท่ีถูกกลา่ วถงึ และให้ความสําคัญคือ สิทธิความเท่า
เทียม ในที่น้ีกล่าวถึงเรื่องสิทธิความเท่าเทียมทางการศึกษาที่คนทุกคนพึ่งได้รับและเข้าถึงระบบ
การศึกษา ในประเทศไทยนั้นมีสิทธิการศึกษาที่ประชาชนไทยทุกคนควรได้รับ โดยในสิทธิ
มนุษยชนด้านสิทธทิ างสงั คมนน้ั สทิ ธใิ นการไดร้ ับการศกึ ษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 มาตรา 54 รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อน
วัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (สํานักวิชาการ สํานักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2561) โดยเด็กไทยนั้นถูกกําหนดไว้ว่าจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แต่ในความเป็นจริงนั้นสิทธิการศึกษาของประชาชนไทยยังมีการตั้งคําถามอยู่เสมอว่าแท้จริงแล้ว
สิทธิการศึกษาของประชาชนไทยนั้นได้ให้อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งการ
เข้าถึงสิทธิการศึกษาภาคบังคับไม่มีค่าใช้จ่ายจริงหรือไม่ เช่น ในโครงการเรียนฟรีนั้นอาจจะ
ตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐที่ให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากแต่ใน
โลกการทํางานปัจจุบันนั้นวุฒิในการใช้ทํางานเพื่อให้ได้รับรายได้ขั้นตํ่าที่เพียงพอต่อค่าครองชีพ
ในปัจจุบันคือวุฒิปริญญาตรี ซึ่งเด็กและเยาวชนหลายคนไม่ได้รับโอกาสเนื่องจากด้วยปัจจัย
แวดล้อมหลายด้านทั้งความพร้อมของครอบครัว การเข้าถึงหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการสอบเข้า
เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ข้อจํากัดต่าง ๆ เหล่านี้นั้นทําให้ยังมีคนจํานวนมากที่ไม่สามารถ
2
เข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม เป็นต้น รวมทั้งในสถานการณ์ของโรงเรียนและระบบ
การศึกษาไทยในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ในหลายโรงเรียนมีการแบ่งห้องเรียนพิเศษที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพิ่มขึ้น หรือโรงเรียน
จํานวนมากก็ยังคงเก็บค่าใช้จ่ายทางการศึกษาหรือค่าเทอมในทุก ๆ ภาคการศึกษาอยู่เสมอทั้งใน
ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา ดังนั้นอาจมองได้ว่าการศึกษาสิทธิการศึกษาของประชาชน
ไทยที่ได้รับในปัจจุบันนั้นมีความขัดแย้งกับคํากล่าวในรัฐธรรมนูญที่กําหนดไว้ แม้จะระบุว่าเด็กทุก
คนได้รับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากแต่ในความเป็นจริงนั้นผู้ปกครองก็ต้องร่วมจ่ายเงิน
เพ่ือให้เด็กไดร้ ับการศึกษาอยเู่ สมอมา
การเข้าถงึ สิทธทิ างการศึกษา
ในประเทศไทยนั้นมีเด็กที่เข้าสู่ระบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอก
ระบบ รวมทั้งยังมีประชากรในประเทศอีกจํานวนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ตัวอย่างกลุ่มที่หนึ่งคือ ผู้พิการซึ่งการจะเข้าถึงการศึกษาแบบบุคคลทั่วไปสําหรับคนกลุ่มนี้นั้นอาจ
กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องยากเด็กหลายคนที่มีความพิการไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้เลยซึ่งทํา
ให้เห็นว่าในสังคมยังการปิดกั้นโอกาสในกลุ่มคนเหล่านี้ แม้จะมีโรงเรียนสําหรับคนพิการหากแต่ก็
ไม่ได้มีอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั่วประเทศไทย ตัวอย่างกลุ่มที่สองคือ กลุ่มชาติพันธุ์/กลุ่มเด็ก
สัญชาติไทยในพ้ืนห่างไกลนั้นเป็นหนึ่งในตัวอย่างของปัญหาการศึกษาและสิทธิทางการศึกษาซ่ึง
เด็กกลุ่มนี้นั้นขาดโอกาสในการเรียน ด้วยปัญหาการเดินทางไปโรงเรียน จํานวนครูผู้สอนที่ไม่
เพียงพอ หรือปัญหาทรัพยากรในครอบครัว เด็กเหล่านี้นั้นก็เป็นประชากรของประเทศที่จะเติบโต
ไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศแต่ก็กลับถูกละเลยให้ต้องไขว่คว้าหาทางด้วยตนเอง
นอกจากกลุ่มตัวอย่างข้างต้นแล้วนั้นยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการศึกษาที่ตน
พึงมีได้ซึ่งรัฐบาลของประเทศไทยนั้นก็ยังไม่ได้ให้ความสําคัญอย่างทั่วถึงสําหรับกลุ่มคนเหล่านี้
หากรัฐบาลยังคงละเลยก็ย่อมทําให้ประเทศสูญเสียกําลังคนในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศใน
อนาคตเพิ่มมากขึน้
มองการศกึ ษาไทยตามการศึกษาแนวคดิ ระบบธนาคารของ เปาโล เฟรรี
การศึกษาไทยนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาที่ยังมีแนวความคิดระบบธนาคาร (เปาโล
เฟรรี) แฝงอยู่ซง่ึ ครแู ละนกั เรยี นยงั มีชอ่ งวา่ งระหวา่ งกนั เน้นการเรียนการสอนแบบการป้อนความรู้
ให้นักเรียนเหมือนกับการนําเงินไปฝากเข้าธนาคารซึ่งทําให้เด็กนั้นไม่ได้เกิดการเรียนรู้อย่าง
สร้างสรรค์ กลายเป็นการเรียนในรูปแบบท่องจําแบบเดิม ๆ ซํ้า ๆ ส่งผลให้เด็กส่วนใหญ่รู้สึกเบ่ือ
หนา่ ยการศกึ ษาไทยและมีหลายส่วนที่เลือกที่จะหนั หนา้ สู่อบายมขุ แทนการศกึ ษา นอกจากนน้ั แล้ว
การศึกษาไทยยังไม่ได้มุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักเท่าที่ควร การศึกษาไทยกับถูกตัดสินในแง่
เหตุผลที่ไม่ได้มองถึงตัวเด็ก เปาโล เฟรรกี ลา่ วไวใ้ นหนงั สอื การศกึ ษาของผถู้ กู กดขไ่ี วว้ า่ การศกึ ษา
แบบฝากธนาคารพยายามทําความจริงให้เป็นมายาคติรวมทั้งต่อต้นสานสนทนาและปฏิบัติติกับ
ผู้เรียนเยี่ยงผู้รับความช่วยเหลือ การศึกษาแบบธนาคารยับยั้งการสร้างสรรค์และทําให้ เจตนา
ของจิตสํานึกตกอยู่ใต้การควบคุม โดยจะเห็นได้ว่าการศึกษาแบบฝากธนาคารนั้นยับยั้งและทําให้
พลังแห่งความสร้างสรรค์หมดไป ซึ่งส่งผลให้เด็กและประชากรของประเทศไทยนั้นยังคงถูกกดข่ี
3
อยู่ภายใต้อํานาจ โดยการเรียนรู้นั้นนั้นมีการแบ่งแยกทุกสิ่งในการเรียน ทําให้เด็กผู้อยู่ในระบบ
การศึกษาไทยไม่เกิดการเรียนรู้ ทําเพียงแค่จดจําในสิ่งที่ถูกป้อนข้อมูล ซึ่งย่อมส่งผลให้การพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นกําลังหลักของการพัฒนาประเทศดําเนินไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ ไม่
เกดิ องค์ความรู้หรอื การบรู ณาการสง่ิ ใหม่ ๆ
การศึกษาสรา้ งสงั คม
ปัจจุบันนั้นสังคมโลกถูกขับเคลื่อนไปในรูปแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งส่งผลให้
การศึกษาถูกนํามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระบบการศึกษาถูกทําให้กลายเป็น
การป้อนแรงงานเพื่อตอบสนองกลุ่มทุน จากเดิมการศึกษาควรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมให้
เป็นสังคมที่มีความเจริญทั้งเชิงวัตถุและวัฒนธรรมควบคู่กันไป การศึกษาเพื่อสร้างสังคมน้ัน
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยเคยมีคําพูดไว้ว่า การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติโดย
ต้องการชี้ให้เห็นว่าการศึกษานั้นเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการพัฒนาประชากรและประเทศซึ่ง
ประชากรของประเทศนั้นเป็นทรัพยากรที่สําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
นั้นการศึกษาในประเทศไทยสร้างหลักสูตรตามกระแสของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งทําให้เกิดความไม่ยั่งยืนของการศึกษาส่งผลให้หลายสาขาวิชาต้องปิดตัว หรือมีการเกิดขึ้นใหม่
รวมทั้งการเรียนไปแล้วไม่มีอาชีพรองรับ ดังนั้นเราจึงควรมองย้อนกลับมาที่การศึกษาสร้างสังคม
วา่ แทจ้ รงิ แล้วนิยามของการสรา้ งสงั คมนัน้ ควรเป็นอยา่ งไร
ผู้เขียนบทความมีความคิดเห็นต่อการศึกษาสร้างสังคมคือการศึกษาควรมิใช่เพียงการ
ผลิตบุคลากรเพื่อตอบสนองกลุ่มทุนต่าง ๆ หากแต่การศึกษาควรสร้างประชากรที่มีคุณภาพอย่าง
สร้างสรรค์ออกสู่สังคมเพื่อให้สังคมเติบโตได้อย่างยั่งยืนและประชากรของประเทศสามารถ
ดํารงชีวิตได้ต่อไป คําพูดที่ว่าการศึกษาสร้างคน คนสร้างชาตินั้นกลับสะท้อนให้เราคิดถึงว่า
การศึกษานั้นทําให้คนเราได้เรียนรู้ในบริบทต่าง ๆ ทั้งด้านที่ตนเองสนใจและไม่สนใจเพื่อให้เรา
เติบโตอย่างมีความรู้ หากคนที่ได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพรวมทั้งเข้าถึงสิทธิการศึกษาโดย
ทว่ั ถึง ไมถ่ กู แบง่ แยก การศึกษาจงึ จะกลา่ วไดว้ ่าการศึกษาสร้างคนและคนสร้างชาตอิ ยา่ งแทจ้ รงิ
การศกึ ษากับประเดน็ การพฒั นาสังคม
เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการศึกษาในปัจจุบันถูกมองเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนา
สังคมในหลายประเทศต่างมุ่งเน้นการทุ่มเทงบประมาณไปกับระบบการศึกษา การวิจัยในด้านต่าง
ๆ ของประเทศเพื่อหาจุดแข็งให้กับประเทศตนเอง การพัฒนาการศึกษานํามาซึ่งผลประโยชน์แก่
เศรษฐกิจของประเทศ เช่น ในประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเวลาการพัฒนาประเทศ รัฐบาลให้
ทุนการศึกษาในระดับประถมอย่างทั่วถึงเพื่อพัฒนาให้แรงงานเป็นแรงงานมีฝีมือ เพิ่มมูลค่า
แรงงานให้แก่ประชากรชาวเกาหลีใต้ มีการดําเนินการขยายการศึกษาไปสู่การศึกษาระดับสูง มี
การจัดตั้งสถาบันวิจัยแห่งชาติ โดยจะเห็นได้ถึงการให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้ประเทศเกาหลีใต้หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนาภายใน
ช่วงเวลาไม่นาน นอกจากนั้นประเทศเกาหลีใต้ยังให้ความสําคัญกับกระบวนการคัดเลือกครูเข้าสู่
สถาบันผลิตครู รวมทั้งเมื่อเกิดวัฒนธรรมการแข่งขันของนักเรียนในระบบการศึกษา รัฐบาลก็ให้
ความสนใจและพยายามปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์แทน เป็นต้น
4
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ถึงความสําคัญของการศึกษาที่หากต้องการพัฒนาสังคมนั้นภาครัฐ
ของไทยจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญกับการเข้าใจและเข้าถึงระบบการศึกษาไทยเพิ่มมากข้ึน
เพราะประชากรของประเทศคือกําลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ นอกจากจะเป็นแรงงานท่ี
ขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ตวั ประชากรกย็ งั เปน็ ผอู้ ปุ โภค บรโิ ภคดว้ ยเชน่ เดยี วกนั หากรฐั บาลยงั คงละเลย
ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ปัญหาสังคมเช่น ความเหลื่อมลํ้าทางรายได้ ประเด็น
ความขัดแย้งทางการเมือง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆเหล่านี้นั้นก็จะยังคงดําเนินอยู่ต่อไปและไม่ได้รับการ
แกไ้ ขปญั หาทีล่ งลึกถึงต้นตอ
ความสําคัญของการมสี ทิ ธทิ างการศึกษา
ข้าพเจ้าคิดว่าประชากรของประเทศทุกคนควรมีสิทธิทางการศึกษา โดยไม่แบ่งแยกและ
เท่าเทียมเมื่อประชากรของประเทศควรได้รับการศึกษาที่เหมาะสมกับช่วงวัย เนื่องจากการศึกษา
นั้นเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นกําลังสําคัญในการ
พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในหลายประเทศที่
พัฒนาแล้วนั้นต่างให้ความสําคัญกับระบบการศึกษาของประเทศ งบประมาณของภาครัฐถูก
นําไปใช้กับระบบการศึกษาของประเทศเป็นส่วนใหญ่ เมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับสิทธิ
ทางการศกึ ษาของตนอยา่ งทั่วถงึ และเท่าเทยี มก็ยอ่ มทาํ ใหป้ ระเทศพัฒนาและเติบโต
จุดมุ่งหมายของการศึกษาท่จี ะเปล่ยี นแปลงสังคม
การได้รับสิทธิทางการศึกษานั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ต้องให้
ความสําคัญในการพัฒนาและให้ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษา เมื่อเข้าถึงระบบ
การศึกษาย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ให้สามารถดํารงอยู่และ
ตอบสนองความต้องการของตนและสังคม การเข้าถึงการศึกษานั้นคาดหวังได้ว่าจะเปลี่ยนแปลง
สังคมที่มีความเหลื่อมลํ้าอยู่ในปัจจุบันให้ดีขึ้นได้ แม้ความเหล่ือมลํ้าจะไม่เคยจางหายไปจาก
สังคมแต่การศึกษาที่เป็นเครื่องมือสําคัญของการพัฒนานั้นควรเข้ามามีบทบาทในการลดช่องว่าง
ทางสงั คมและความเหล่ือมลาํ้ ดังกล่าวใหม้ ากที่สดุ
ขอ้ เสนอแนะต่อการพฒั นาสังคมด้วยการใช้การศึกษาเป็นเครอ่ื งมือ
ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าหากในประเทศไทยต้องการให้ประเทศมีการพัฒนาและหลุดพ้น
จาก ประเทศกําลังพัฒนาแล้วนั้นรัฐบาลหรือผู้นําของประเทศควรให้ความสนใจการปรับ
โครงสร้างการศึกษารวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนให้
รับสิทธิทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมให้ได้มากที่สุด เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป็นเรื่องสําคัญประการหนึ่งในขั้นตอนการพัฒนาประเทศดังที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงอยู่เสมอ ในหลาย
ประเทศทั่วโลกต่างมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นสําคัญดังที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างไปในข้างต้นของบทความ
ไม่ว่ารัฐบาลจะพยายามมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในด้านอื่น ๆ อย่างไรแต่ยัง
ละเลยการพัฒนาการศึกษาให้เท่าทันกับยุคสมัยและเหมาะสมกับบริบทของประเทศซึ่งเป็นเรื่องท่ี
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วนั้นก็ยังไม่สามารถทําให้ประเทศพัฒนาได้
เพราะทรัพยากรมนุษย์คือกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศมากที่สุด ประชากรที่มีคุณภาพย่อม
นาํ พาประเทศขบั เคล่อื นไดต้ ่อไปอยา่ งมีคณุ ภาพ
5
บทสรุป
กล่าวโดยสรุปการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษากับการพัฒนาสังคมนั้นมีความเชื่อมโยงกันอยู่
ภายในตัวเอง สิทธิทางการศึกษาของประชาชนไทยนั้นควรได้รับการดูแลและใส่ใจเพิ่มมากข้ึน
เด็กซึ่งจะเติบโตไปเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศจึงพึงได้รับการศึกษาที่มีความ
เหมาะสมและเท่าเทียมอย่างทั่วถึงในทุก ๆ ที่ไม่ว่าจะอยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล หรือมีข้อจํากัด
ทางด้านร่างกายและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ การวางแผนการศึกษาอย่างเป็นระบบและปรับปรุงอยู่
เสมอนั้นย่อมทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และพร้อมสําหรับการก้าวไปเป็นกําลัง
สําคัญในการพัฒนาประเทศ การที่จะพัฒนาสังคมนั้นจึงควรเริ่มต้นจากการมอบสิทธิการศึกษาที่
มีคุณภาพ มีคุณค่า มีความเท่าเทียม การนําการศึกษามีเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาน้ัน
ย่อมนํามาสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณภาพ ทรัพยากรมนุษย์นั้นท้ายที่สุดย่อมนํามาสู่
การขบั เคล่ือนประเทศไทยไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ
6
เอกสารอา้ งอิง
กาญจนา เงารงั สี. (2559). การศึกษากบั การพฒั นาท่ียัง่ ยนื Education for Sustainable
Development (ESD). สืบคน้ จาก
http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/10042/DL_10266.pdf?t=636697170966756621
เณริกา เกิดนาสาร. (2563). รูปแบบการศกึ ษาตามแนวคิดเปาโล แฟรเ์ ร่ เพ่ือพัฒนา
ศกั ยภาพและการร้หู นังสอื ของผู้ตอ้ งขังสตรี ในเรือนจําเขต 9. สบื คน้ จาก http://ithesis-
ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3002/1/58251803.pdf
ทศิ ทางการดาํ เนนิ งานดา้ นการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). สืบค้นจาก
http://www.tw-tutor.com/downloads/edu.pdf
ธวชั ชัย กจิ รตั นะกลุ . (2558). เอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรอื่ ง สิทธมิ นุษยชนด้าน
การศกึ ษาของไทย. สืบค้นจาก
https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=1489
เปาโล เฟรรี. (2560). การศึกษาของผ้ถู กู กดข.ี่ กรุงเทพฯ: สํานักพิมพส์ วนเงินมมี า.
วสนั ต์ ปวนปันวงศ์. (2561). สิทธิการศกึ ษาของเดก็ ไร้สัญชาติ กรณศี ึกษาโรงเรยี นบา้ นโปง่ น้อย
อําเภอเมือง จงั หวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://so05.tci-
thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/download/115598/118099/453387#:~:te
xt= AD
วารสารวิชาการคณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร.์ (2556). ปัญหาเดก็ ด้อยโอกาสทาง
การศึกษา : สถานการณค์ วามไมเ่ สมอภาคในสงั คมไทย. สบื ค้นจาก https://so03.tci-
thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/download/85712/68174/208165
วชิ ยั พยคั ฆโส. (2552). การศึกษา “สร้างคน” คน “สรา้ งชาติ” (จบ). สืบค้นจาก
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/25701
สาํ นักวชิ าการ สาํ นักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร. (2561). บทบัญญตั ิดา้ นการศึกษา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สบื ค้นจาก
https://lamphuncity.go.th/wp-content/uploads/2020/05/% 22560.pdf
7
ก.ศึกษาเพือ่ ใคร ?
พรสดุ า ควรชม 6305610740
8
“ไม่อยากเรียนเลยเว้ย เหนื่อยมาก ตื่นเช้าอะ ฮอ...... น่าเบื่อเรียนเพื่อ.... โอ้ย เมื่อไหร่จะ
เรียนจบเนี้ย ไม่ได้ขี้เกียจนะแต่แค่ไม่อยากเรียนอะ มันแบบน่าเบื่อมากเลย ไม่ชอบเลย.... โอ้ย
โอย้ ๆๆๆ สเู้ พ่ืออนาคตที่ดี แล้วเรยี นจบแลว้ ได้อะไรวะ? งงๆ”
ข้อความข้างต้นเป็นการเขียนระบายความรู้สึกของเด็กที่มีต่อการศึกษาลงบนกระดานสี
ขาวที่มารดาของ เขาซื้อให้ ข้อความเพียงสามบรรทัดสะท้อนอะไรหลายอย่าง ซึ่งหากมองผิวเผินก็
อาจเป็นเพียงการระบาย ความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการศึกษาของผู้เรียน แต่ทว่าอีกมุมหนึ่ง
ช่างน่าหดหู่ที่ผู้เรียนต้องตกอยู่ในภวังค์แห่ง ความรู้สึกเช่นนั้น ระบบการศึกษา ครูผู้สอน กระบวน
วิธีในการถ่ายทอด และสภาพสังคมกําลังกดขี่ให้ผู้เรียนไร้ ซึ่งอิสรภาพ ทําให้ผู้เขียนฉุกคิดถึงถึง
ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น เหตุใดผู้เรียนจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น สิ่งใดเป็นตัว กําหนดให้ผู้เรียน
ต้องยอมจํานนต่อสภาวะดังกล่าว การศึกษากําลังทําอะไรกับผู้เรียน และจากวาทกรรมที่ว่า
“การศึกษาเพือ่ พัฒนาผูเ้ รียน” แทจ้ รงิ แล้วเพ่ือผู้เรียนหรอื เพ่อื ใคร?
จากประเด็นปัญหาและข้อสงสัยข้างต้น ผู้เขียนเกิดความสนใจและได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ
เพิ่มเติม จนกระทั่งร้อยเรียงออกมาเป็นงานเขียนชิ้นนี้ซึ่งงานเขียนชิ้นนี้มุ่งชวนผู้อ่านคิดและต้ัง
คําถามไปพร้อมกนัถึง ปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่เกิดขึ้น นโยบายการศึกษาที่เป็นตัวกําหนด
ทิศทางของผู้เรียน รวมไปถึงการท่ี ผู้เรียนต้องเผชิญกับสภาวะที่ไร้ซึ่งอิสรภาพอันเป็นผลมาจาก
การถูกกดขี่จากปัจจัยต่างๆ โดยผู้เขียนจะบรรยาย เน้ือหาเหล่านี้ผ่าน 3 ก. ประกอบด้วย ก.
การศกึ ษา, ก. การกําหนดนโยบายการศกึ ษา, และ ก. การไร้อสิ รภาพ ของผเู้ รียน
ก. การศึกษา
“การศึกษา” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมายถึง
กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก
การอบรม การสืบสานทาง วัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การ
สร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัด สภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคล
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (ราชกิจจา นุเบกษา, 2542) จากคํานิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่า วัตถ
ปุ ระสงค์หลักของการศึกษามุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเจริญ งอกงามอันจะนําไปสู่ความเจริญงอกงาม
ของสังคมแต่เมื่อหันกลับมามองสภาพการศึกษาไทยในปัจจุบันนับว่า คาดเคลื่อนจาก
วัตถุประสงค์ไปมาก เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิอุตสาหกรรมนิยมเข้ามามีบทบาทในการกํากับ และ
ครอบงําสังคมไทยเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ระบบการศึกษาไทยมุ่งผลิตผู้เรียนเพื่อตอบสนองความ
ต้องการ ของภาคอุตสาหกรรมเป็นสําคัญ โดยจะเห็นได้ว่าในระดับอุดมศึกษามีการจําแนกคณะ
และสาขาวชิ าออกเปน็ แขนงตา่ ง ๆ เพือ่ ใหผ้ เู้ รียนไดเ้ รียนรทู้ กั ษะเฉพาะทางวิชาชีพทมี่ ีความสําคญั
จําเป็นและสอดรับกับความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการแบ่งแยกศาสตร์ต่าง ๆ ออกจาก
กัน ส่งผลให้ปัจจัยต่าง ๆ ไม่ถูกพิจารณาอย่าง รอบด้านและเชื่อมโยงกัน เมื่อผู้เรียนเรียนรู้เฉพาะ
ศาสตร์โดยขาดการคํานึงถึงความสําคัญของบริบทโดยรอบที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันแล้ว
ก็ย่อมส่งผลให้ทิศทางความเจริญงอกงามของผู้เรียนถูกจํากัดและผูกติดอยู่ กับความต้องการของ
ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นการลดทอนศักยภาพและความเจริญงอกงามของผู้เรียน โดยตรง (นิธิ
เอยี วศรีวงศ,์ 2546, น.25-27)
9
การศึกษาไม่เพียงแต่ลดทอนศักยภาพ แต่การศึกษายังถูกลดทอนให้เล็กลงและจํากัดอยู่
เฉพาะครูกับ นักเรียนอีกด้วย (ประเวศ วะสี, 2554, น.35) โดยจะเห็นได้ว่า การศึกษาไทยมี
รูปแบบการสอนที่มุ่งเน้นให้ครู ป้อนชุดความรู้แก่นักเรียน ซึ่งกระบวนวิธีในการถ่ายทอดองค์
ความรู้ดังกล่าวขาดการกระตุ้นให้นักเรียนเกิด ความสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมจึงไม่นําไปสู่
การศึกษาต่อด้วยตนเอง หรือหากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะศึกษาด้วย ตนเองก็นับว่าต้องใช้แรง
สนับสนุนด้านทุนทรัพย์จากครอบครัวเป็นสําคัญ ส่งผลให้การศึกษารูปแบบน้ีเกิดขึ้น ได้ยากใน
สังคมไทย เนื่องจากเศรษฐานะของครอบครัวไทยโดยส่วนใหญ่ไม่เอื้ออํานวย ด้วยเหตุนี้ผู้เรียน
โดยมากจําต้องก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ภาครัฐจัดสรรให้ โดยไม่สามารถเลือกศึกษาได้ตาม
ความต้องการของ ตน ความรู้ในห้องเรียนจะเป็นไปตามหลักสูตรที่กระทรวงกําหนดและผ้◌ูเรียน
จะตอ้ งมผี ลการศกึ ษาตามเกณฑ์ มาตรฐานของกระทรวง สง่ ผลใหผ้ ู้เรยี นม่งุ เนน้ การศกึ ษาเพ่ือการ
สอบเป็นสําคัญ เม่ือผู้เรียนยึดติดกับผลสัมฤทธ์ิ ทางการศึกษาย่อมก่อให้เกิดความเครียด ความ
กดดัน และปัญหาอื่น ๆ ตามมา ซึ่งในปี 2563 สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หรือ สสส. เผยผลการวิจัยโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของ
โลกศตวรรษที่ 21 พบว่า “เด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยมีความสุขใน การเรียนลดลง
และมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเครียดต่อการแข่งขันในระบบ
การศึกษา” (ศธ. 360 องศา, 2563) จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่า สภาพการศึกษาในปัจจุบันส่ง
ผลกระทบต่อ ความสุขและสุขภาพของผู้เรียนเป็นอย่างมาก เมื่อการศึกษาเต็มไปด้วยความเครียด
ความกดดัน และส่งผล กระทบต่อสุขภาพผู้เรียนเช่นนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามของ
ผเู้ รยี นเป็นแน่แท้
จากที่กล่าวมานี้สะท้อนให้เห็นถึงความคาดเคลื่อนของการศึกษาในปัจจุบันกับ
วัตถุประสงค์หลักตามคํา นิยามในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ รวมถึงผลกระทบจาก
การศึกษาที่มีต่อผู้เรียนในด้านต่าง ๆ แต่ใน ขณะเดียวกันกลับมีผู้เรียนจํานวนไม่น้อยดิ้นรน
ขวนขวายเพื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ยิ่งในครอบครัวที่มีฐานะยิ่ง ส่งเสียให้บุตรหลานได้รับ
การศึกษาในระดับสูงที่สุดเพื่อการันตีสถานะทางสังคมของตน ซึ่งส่วนมากผู้ที่ประสบ ความสําเร็จ
และก้าวขึ้นสู่ยอดพีระมิดทางการศึกษานั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีฐานะปานกลางไปจนถึงฐานะดี
ทั้งสิ้น (รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ, 2544, น.65) เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีกําลังและปัจจัยในการสนับสนุน
ผู้เรียนให้ เข้าถึงการศึกษาในระดับสูงได้ ในขณะที่ผู้มีฐานะยากจนก็พยายามตะเกียกตะกาย
เพื่อให้ได้รับการศึกษามาก ที่สุดเท่าที่จะทําได้ ด้วยความหวังที่จะพาตนเองและครอบครัวก้าวข้าม
สถานะเดิมที่เป็นอยู่ไปสู่สถานะที่สูงกว่า หลายครั้งจึงจะเห็นว่าบางครอบครัวยอมกู้หนี้ยืมสิน นํา
ที่ดินทํากินเข้าจํานอง หรือในบางครอบครัวยอมที่จะ ยกบุตรของตนให้เป็นลูกบุญธรรมผู้อื่น
เพื่อให้บุตรได้รับการศึกษามากที่สุด และนําไปสู่โอกาสในการเข้าสู่ลู่ อาชีพในภาคอุตสาหกรรมท่ี
ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของเงินเดือน สวัสดิการ และโบนัสจํานวนมาก รวมถึง การได้รับ
เกียรติและการยอมรับจากคนในสังคม ท้ายที่สุดการศึกษาในปัจจุบันกลับกลายเป็นเพียง
เครื่องประดับที่บ่งชี้สถานะทางสังคมและเป็นเครื่องมือในการยกระดับสถานะทางสังคมให้สูงข้ึน
ซ่ึงปลายทาง ของการศึกษาสําหรับผู้ที่มีฐานะยากจนก็ยังคงเวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรวังวนแห่งการ
รับใชน้ ายทนุ อยูร่ า่ํ ไป และ นอ้ ยคนนกั ทจี่ ะหลุดพ้นจากวฏั จกั รน้ี (ระพี สาคริก, 2545, น.27)
10
ก. การกาํ หนดนโยบายการศกึ ษา
การกําหนดนโยบายทางการศึกษามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผู้เรียนเนื่องจากนโยบายเป็นภาพ
ใหญ่ที่ภาคส่วน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องดําเนินการและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผล
สัมฤทธ์ิตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การกําหนดนโยบายทางการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สําคัญในการกําหนด
และควบคุมทิศทางผู้เรียนให้เป็นไปตามที่รัฐ กําหนด ซึ่งนโยบายการศึกษาไทยในปัจจุบันประสบ
ความสําเร็จในหลายด้าน แต่ก็นับว่ายังมีปัญหาที่รอการ แก้ไขและพัฒนาในหลายด้านเช่นเดียวกัน
โดยจะเห็นได้ว่าแม้ในปัจจุบันรัฐได้มีความพยายามกระจายโอกาส ทางการศึกษาไปยังพื้นที่ห่างไกล
เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางเข้าถึงโอกาสในการศึกษาได้มากขึ้น แต่ ก็นับว่ายังมีเด็กไทย
จํานวนมากเข้าไม่ถึงโอกาสเหล่านั้น หรือในบางกรณีที่เด็กเข้าถึงโอกาสการศึกษาแต่ก็ยังมี ประเด็น
เรื่องความเหลื่อมล้ําในด้านคุณภาพของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยี และอื่น ๆ อีกมากมาย
ส่งผลให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกับเด็กในเมือง (สํานักงาน
เลขาธิการสภา การศึกษา, 2560, น.ง-จ) จึงอาจกล่าวได้ว่า สถานศึกษาที่มีคุณภาพยังคงกระจุกตัว
อยู่แต่ในเมืองส่งผลให้ คุณภาพการศึกษาระหว่างในเมืองและในชนบทมีความแตกต่างกัน สะท้อน
ให้ถึงความโน้มเอียงในการให้ ประโยชน์ของรัฐที่มุ่งสนับสนุนและให้ประโยชน์แก่ชนชั้นกลางและชน
ชัน้ สงู ในสังคมเมอื ง (รังสรรค์ ธนะพร พันธ,์ุ 2544, น.5)
ยิ่งรัฐสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ต่อชนชั้นกลางและชนชั้นสูงมากเพียงใด ชนชั้นล่างก็ย่ิง
เลือนหายไป จากสารระบบมากเท่านั้น ทั้งที่คนกลุ่มนี้มีความต้องการที่จะได้รับโอกาสมากกว่าคน
กลุ่มอื่นเพราะพวกเขาไม่มีแม้แต่กําลังที่จะเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานท่ี
พวกเขาพึงจะได้รับเสียด้วยซํ้า การที่รัฐมี อํานาจในการกําหนดนโยบายการศึกษาก็ควรให้การ
สนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพแก่พวกเขา รวมถึงการ จัดบริการการศึกษาที่สอดรับกับกระแส
พลวัตโลกและความหลากหลายของผู้เรียน ซึ่งในการจัดบริการ การศึกษา “รัฐ” มีบทบาทสําคัญ
ในการกําหนดและควบคุมหลักสูตรทางการศึกษาให้เป็นไปตามกระแสสังคม โลก แต่ทว่า
หลักสูตรการศึกษาไทยในระบบยังมีความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในหลายด้าน อีกทั้งยังขาด
ความหลากหลาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะสําคัญในการจัดบริการทางการศึกษาในปัจจุบัน อันเป็นผล
สืบ เนื่องมาจากระบบข้าราชการที่มีความซับซ้อนของขั้นตอนส่งผลให้กว่าจะดําเนินเรื่องจนกลาย
มาเป็นนโยบาย การศึกษาก็ห่างไกลจากพลวัตโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปเสียแล้ว
(รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2544, น.102) ทั้งนี้หลักสูตรในตํารายังเป็นเนื้อหาที่ไม่ผ่านการอัพเดทให้
เท่าทันต่อปัจจุบันและขัดต่อความเป็นจริงใน บางส่วน ยกตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ที่ผู้เรียนมักถูกปลูกฝังว่าพม่าเผาทําลายกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2310 จนทําให้ใครหลายคนมี
มุมมองและทัศนะในทางลบต่อคนพม่า ซึ่งในภายหลังนักวิชาการชาว ออสเตรเลียได้เผยว่าพม่า
มิได้เผาทําลายกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด หากแต่เป็นฝีมือของชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม รวมถึงคน
ไทยและคนจีนอีกด้วย ส่งผลให้ผู้เขียนตระหนักถึงอิทธิพลการปลูกฝังและส่งต่อชุดความคิดและ
ทัศนะทางการเมืองผ่านหลักสูตรการศึกษา ผู้เขียนจึงเริ่มพิจารณาการศึกษาในฐานะเครื่องมือใน
การชกั จูง ผเู้ รยี นให้เปน็ ไปตามกระบวนทศั น์ทีร่ ฐั มงุ่ หวัง
จากที่ได้กล่าวมาในส่วนของ ก. การกําหนดนโยบายการศึกษาจะเห็นได้ว่า ทุกสิ่งซึ่งอยู่
ภายใต้กลไกแห่ง การศึกษาล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือที่ถูกผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดการ
ผู้เรียนให้อยู่ภายใต้การควบคุม และปกครองทั้งสิ้น โดยรัฐใช้หลักสูตรการศึกษาเป็นเครื่องมือใน
11
การปลูกฝังชุดความคิด ความเชื่อ ระเบียบ แบบแผน ค่านิยม และแนวการปฏิบัติแก่คนในสังคม
(ระพี สาคริก, 2545, น.21) เพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติไป ในทิศทางเดียวกัน เมื่อคนในสังคมมีชุด
ความคิด ความเชื่อ ไปในทิศทางเดียวกันย่อมส่งผลดีต่อรัฐในฐานะ ผู้ปกครองในการควบคุม
บังเหียนให้เหล่าองคาพยพประพฤติปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งง่ายต่อการ ควบคุมทิศ
ทางการขับเคลื่อนของประเทศ จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกําหนด
ทิศทางและหล่อหลอมผู้เรียนให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันและสมาทานชุดความรู้ตามที่ผู้มีอํานาจ
กําหนดไว้ เพ่ือพัฒนาผู้เรียนตามความต้องการ ในท้ายที่สุดผู้เรียนกลับกลายเป็นตัวแสดงหนึ่งบท
เวทีที่เรียกว่า “สังคม” ซึ่งหากผู้ใดร้◌ูเท่าทันก็อาจไม่ตกเป็นเครื่องมือในการขับเคล่ือนอุดมการณ์
ของรฐั แต่ยงั คงหนีไมพ่ ้นและจาํ ตอ้ ง ศกึ ษาภายใต้หลกั สตู รทร่ี ัฐกําหนด
ก. การไรอ้ สิ รภาพของผเู้ รยี น
อิสรภาพของผู้เรียนถือเป็นหนึ่งในปัญหาสําคัญที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ผู้เรียนถูกจํากัด อิสรภาพและกดทับในหลายด้านจากหลายเหตุปัจจัย หนึ่งในปัจจัยสําคัญที่เข้ามา
กํากับอิสรภาพของผู้เรียนคือ “สถาบันครอบครัว” ผู้เรียนจํานวนไม่น้อยต้องตกอยู่ในสภาวะความ
กดดันอันเป็นผลมาจากความคาดหวังของ ครอบครัวที่มุ่งให้ผู้เรียนมีการศึกษาที่ดี มีผลการเรียน
ท่ีดี และสามารถสอบเข้าในสถาบันทีม่ ีชือ่ เสียงได้ เพ่ือ นําไปสู่การประสบความสาํ เร็จในหน้าท่ีการ
งานและนํามาซึ่งการยกระดับสถานะของครอบครัว (Balk, 1995, P.59 อ้างถึงใน พิกุล ทรัพย์โชค
, 2550, น.2) ซึ่งโดยมากบิดามารดามักมีความคาดหวังในตัวผู้เรียนอยู่ใน ระดับสูงจึงพยายาม
ผลักดันทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาให้ได้มากที่สุด ในบางครอบครัวที่เข้มงวด กับบุตร
หลานเป็นอย่างมาก มีการกําหนดตารางเวลาในการอ่านหนังสือชัดเจน อีกทั้งยังผลักดันบุตรเข้าสู่
สถาบันกวดวิชาในช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุดสุดสัปดาห์ ด้วยความปรารถนาให้ผู้เรียนมีอนาคต
ที่ดี แต่ทว่า ความปรารถนาดีล้วนเป็นดาบสองคม หากผู้เรียนมีความถนัดและความสนใจใน
ทิศทางเดียวกันก็นับว่าเป็น ผลดี แต่ในทางกลับกันหากความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามอาจส่งผลให้ ผู้เรียนรู้สึกอึดอัด กดดัน ไร้อิสระในการตัดสินใจ และ
จําต้องเรียนในสิ่งที่บิดามารดาเห็นสมควร เมื่อต้องเรียน ในสิ่งที่ไม่ปรารถนาอาจส่งผลให้ผลการ
เรียนตํ่ากว่าระดับความคาดหวังของครอบครัว ส่งผลให้ผู้เรียนต้องใช้ ความพยายามอย่างสูง
ก่อให้เกิดความเครียดตามมา (ธนู ชาติธนานนท์ อ้างถึงใน พิกุล ทรัพย์โชค, 2550, น.3) และอาจ
นําไปสพู่ ฤติกรรมทีไ่ มพ่ งึ ประสงค์ อาทิ การจบชีวิตลงอยา่ งน่าสลดของผเู้ รยี น
ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อกระบวนทัศน์และความคาดหวังของสถาบันครอบครัว อีก
ทั้งยังเป็น มูลเหตุสําคัญที่นําไปสู่การกดขี่อิสรภาพผู้เรียนคือ “ค่านิยม” โดยค่านิยมเป็นสิ่งที่กดทับ
สถาบันครอบครัวและ ส่งผลให้สถาบันครอบครัวเกิดการปลูกฝังชุดความคิดและแนวการปฏิบัติท่ี
กดทับอิสรภาพผู้เรียนซํ้าแล้วซํ้าเล่า ค่านิยมเกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน อาทิ
ค่านิยมเกี่ยวกับผลการเรียนที่ผู้ปกครองคาดหวัง ให้ผู้เรียนมีผลการเรียนสูงกว่าผู้อื่น ยิ่งผู้เรียนมี
ผลการเรียนสูงเพียงใด ยิ่งทวีคูณความภาคภูมิใจแก่ครอบครัว, ค่านิยมเกี่ยวกับสถาบันการศึกษา
ที่เม่ือผู้เรียนสามารถสอบเข้าไปยังสถานศึกษาชั้นนําของประเทศได้ ก็จะได้ รับคําชมไม่ขาดสาย
จากญาติพี่น้องและคนรอบข้าง, และค่านิยมด้านอาชีพที่เมื่อผู้เรียนก้าวเข้าสู่ลู่อาชีพที่ สังคมให้
การยอมรับ เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก นักธุรกิจ ฯลฯ ก็มักจะได้รับเกียรติและการ
12
สรรเสริญ เยินยอจากคนรอบข้าง ค่านิยมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้เรียนต้องเข้าสู่ลู่แห่งการแข่งขัน
ทางการศกึ ษา เกดิ การ แกง่ แย่งเบียดเสยี ดอยา่ งเข้มขน้ เพ่ือใหไ้ ดม้ าซึง่ ความจุดหมายทพ่ี วกเขาเอง
อาจไม่ได้เป็นผู้กําหนดเสียด้วยซํ้า ก่อให้เกิดความเครียด ความกดดัน และลดทอนความสุขของ
ผู้เรียนในที่สุด ค่านิยมจึงเป็นอุปสรรคอันใหญ่ หลวงในการขับเคลื่อนและปฏิรูปการศึกษา หาก
แกนหลักของค่านิยมชุดหลักที่สังคมยึดถือยังคงแข็งแกร่ง เช่นนี้ เห็นทีการขับเคลื่อนทาง
การศึกษาคงเปน็ ไปไดย้ าก
อนึ่ง ปัจจัยที่มีความสําคัญไม่แพ้กันและมีผู้เรียนจํานวนไม่น้อยต้องเผชิญคือ
“ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ ภายในสถานศึกษา” แม้ในประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบ
ประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพอย่าง เท่าเทียมกัน แต่ในสถานศึกษาอาจไม่เป็นเช่นนั้น
ผู้เรียนไม่สามารถมีสิทธิและเสรีภาพได้อย่างอิสระเนื่องด้วย ความสัมพันธ์เชิงอํานาจทําให้ผู้สอนมี
อํานาจในการควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียน ในขณะเดียวกันผู้เรียนก็รู้สึก ยําเกรงในอํานาจ
ดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ผู้เรียนเลือกที่จะอยู่ในระเบียบแบบแผนและแนวปฏิบัติที่ ครูผู้สอน
เน้นย้ํา แต่ก็นับว่ายังมีผู้เรียนบางส่วนที่มีความคิดและความเชื่อแตกต่างไปจากผู้สอน ซึ่งเม่ือ
ผู้เรียน คนใดมีความคิดหรือพฤติกรรมที่ต่างไปก็มักจะถูกทําให้เป็นอื่นโดยใช้ความสัมพันธ์เชิง
อํานาจกดขี่ให้ผู้เรียน ต้องยําเกรงในระบบอาวุโส ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่นักเรียนสงสัยในความรู้
ขณะที่ผู้สอนกําลังถ่ายทอดและต้ัง คําถาม หลายครั้งเมื่อผู้สอนไม่สามารถให้คําตอบได้ก็มักแสดง
ท่าทีกระฟัดกระเฟียดและแสดงอารมณ์โกรธ หรือตําหนิผู้เรียน จนทําให้ผู้เรียนไม่กล้าที่จะต้ัง
คําถาม ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เรียนเกิดข้อสงสัยในการใช้ อํานาจเหล่านี้ แต่เลือกที่จะนิ่งเฉย
เพราะกลัวการถูกตําหนิ ถูกตัดสิน และถูกทําให้เป็นอื่น ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ในแต่ละปีมีผู้เรียน
จํานวนไม่น้อยที่หลุดจากระบบการศึกษา สืบเนื่องมาจากความไม่เห็นด้วยและการแสดงท่า ที่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อครูผู้สอน การหลุดจากระบบการศึกษาเป็นความเส่ียงท่ีผู้เรียนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงที่จะ
เผชิญ จนท้ายที่สุดพวกเขาเลือกที่จะจํานนต่อระบบการศึกษาโดยปราศจากการป่าวร้องถึง
ความอยุตธิ รรมนี้
ผู้เรียนถูกจองจําจากค่านิยมที่สถาบันครอบครัวและสังคมปลูกฝังจนหยั่งรากลึกลงใน
ความคิดและจิตใจ อีกทั้งยังมีสถานศึกษาและครูผู้สอนเป็นผู้ตอกย้ําชุดความรู้ ความคิด ค่านิยม
และแบบแผนพฤติกรรมที่คนใน สังคมส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ทําให้ผู้เรียนไม่สามารถคิดและ
แสดงพฤติกรรมอันเป็นการแหวกขนบได้ มิหนําซ้ํา ยังถูกจองจําจากรัฐ ผู้ซึ่งกุมและพรากอิสรภาพ
ทางการศึกษาไปจากผู้เรียนโดยใช้อํานาจผ่านบทบาทของ กระทรวงต่าง ๆ ที่มีอํานาจหน้าที่ใน
การกําหนดทิศทางของผู้เรียนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและ นโยบายบริหารของประเทศ
(พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธ์ุ, 2560) เมื่อการศึกษาเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะช่วยให้มนุษย์ตื่น รู้จากความมืด
บอดในโลกที่ปกคลุมและปิดตายโดยผู้มีอํานาจรัฐ อันจะนําไปสู่การปลดเปลื้องพันธนาการ ผู้เรียน
จากการถูกจองจําทั้งปวง แต่แล้ววันนี้เรายังมีความหวังอยู่หรือไม่ หากแม้เพียงอิสรภาพทาง
การศึกษา ซึ่งเป็นความหวังเดียวที่จะนําพาสู่การพัฒนา ผู้เรียนยังไม่สามารถครอบครองได้โดย
ปราศจากการควบคุม มิหนําซ้ําทางเลือกที่ผู้เรียนถือครองก็ล้วนแล้วแต่เป็นทางเลือกที่ถูกยัด
เยียดท้ังสิ้น เม่ือเป็นเช่นนี้เรามีอิสรภาพ จริงหรือ? หรือแท้จริงแล้วอิสรภาพของเราถูกบ่อนเซาะ
โดยผู้มีอํานาจจนสูญสิ้นและเหลือไว้เพียงหมากตัวหนึ่ง ที่ทําหน้าที่คอยเดินตามทางที่ผู้มีอํานาจ
กาํ หนดกเ็ ท่าน้ัน
13
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราถูกโบยเคี่ยนจากระบบการศึกษามาโดยตลอดและ
เรามักปลอบ ประโลมตนเองด้วยวาทะที่ว่า “การศึกษาจะนํามาซึ่งอนาคตอันดี” แต่กว่าจะไปถึงสิ่ง
ที่เรียกว่า “อนาคต” เรา ต่างก็เจ็บปวดไม่น้อยจากระบบการศึกษาที่เป็นอย่◌ู ช่างน่าอนิจจา เรา
ตา่ งกม้ หนา้ พากเพยี รศกึ ษาอย่าง ขะมกั เขม้นเพ่ือใหไ้ ด้มาซง่ึ ใบปริญญาหนึ่งใบท่เี ม่ือพินจิ พิจารณา
อย่างถี่ถ้วนจะเห็นได้ว่า ใบปริญญาที่ได้มาล้วน แล้วแต่เปียกปอนไปด้วยคราบน้ําตาแห่งความหวัง
ความเหน็ดเหนื่อยและความตรากตรําลําเค็ญของเราทั้งสิ้น ซึ่งในระหว่างทางเราต้องสังเวยความ
เป็นมนุษย์ ความเป็นตัวตน ความสุข และความสดใสที่มีเพียงเพราะวัตถุ นิยมชิ้นหนึ่งที่สังคมเชิด
ชูและให้การยอมรับ ด้วยความหวังและความปรารถนาที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและ สถานะทาง
สังคมของตนเองและครอบครัวให้สูงขึ้น จนกระทั่งละเลยความสําคัญของการแสวงหาความหมาย
และคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต หากสภาพสังคมยังคงบีบบังคับให้ผู้เรียนส่วนใหญ่มุ่งทิศทางแห่ง
การศกึ ษาออก จากตนเองเช่นนี้ (ระพี สาคริก, 2545, น.17) แล้ว “ก. ศกึ ษา” นี้เพอื่ ใคร?
14
เอกสารอ้างองิ
นธิ ิ เอียวศรวี งศ์. (2546). นอกร้ัวโรงเรยี น. กรุงเทพฯ: โครงการสรรพสาสน์ สํานกั พิมพ์
มลู นิธิเดก็ .
ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แกค้ วามทกุ ขย์ ากของคนทง้ั แผน่ ดิน. นครปฐม:
หจก สํานกั พิมพ์ ฟิสกิ สเ์ ซ็นเตอร.์
เปาโล เฟรร.ี (2560). การศึกษาของผถู้ กู กดข่ี ฉบบั ครบรอบ 50 ปี. (สายพณิ กลุ
กนกวรรณ ฮัมดานี, ผแู้ ปล). กรุงเทพฯ: สวนเงนิ มมี า.
พิกลุ ทรพั ยโ์ ชค. (2550). การศึกษาความคาดหวังของผปู้ กครองท่ีมีตอ่ การจดั
การศึกษาวิทยาลัย อาชวี ศกึ ษานครปฐม. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศกึ ษา). กรุงเทพ:
บัณฑติ วทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ. สืบค้นเม่อื 5 พฤศจิกายน 2565, จาก
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Adm/Pigul_S.pdf
พีร์ พงศ์พพิ ัฒนพนั ธ์.ุ (31 ธนั วาคม 2560). การศกึ ษาเพอื่ เสรภี าพ. สยามรัฐ. สบื คน้ เมื่อ
27 ตลุ าคม 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/28785
ระพี สาครกิ . (2545). อนจิ จาการจดั การการศกึ ษาไทย. นนทบรุ ี: โครงการสื่อ
เกษตรกรรมย่ังยนื .
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์.ุ (2544). การศกึ ษา ทนุ นิยม และโลกานวุ ตั ร. กรงุ เทพฯ: โครงการ
จดั พมิ พ์คบไฟ.
ราชกิจจานเุ บกษา. (2542). พระราชบญั ญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจา
นุเบกษา เล่ม 116 ตอน ท่ี 74 ก. (19 สงิ หาคม 2542). สบื ค้นจาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
ศธ. 360 องศา. (2563). เดก็ ไทย : เรียนเพอ่ื รู้ หรือเรียนเพื่อสอบ. สบื ค้นจาก
https://moe360.blog/2020/09/15/learn-to-learn/
สํานกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ –
๒๕๗๙. สืบค้นจาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
15
สายธารการศึกษา
นางสาวต่วนพูตรี เสะอเุ ซง็ 6205681544
16
สายธาร หมายถึง ทางนํ้าเล็กที่ไหลจากเขาเป็นสาย การที่ผู้เขียนตั้งชื่อว่า สายธารแห่ง
การศึกษา เพื่อเป็นการเปรียบเทียบการศึกษาว่าการที่เด็กได้ศึกษาผ่านสถาบันต่าง ๆ จนสําเร็จ
การศึกษาออกมาเป็นเหมือนกับทางนํ้าเล็กที่ไหลจากเขากลายเป็นสาย ไหลลงสู่ทะเล โดยสายนํ้า
ต่าง ๆ มีที่มาที่แตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเปรียบเสมือนกับเด็กที่ผ่าน
การศึกษาจากสถาบันที่มีความแตกต่างกัน แต่ปลายทางของการศึกษาเล่าเรียนนั้นก็คือการสําเร็จ
การศึกษาและมงี านทาํ
เนื่องจากผู้เขียนกําลังศึกษาอยู่ปีสี่ อีกไม่กี่เดือนก็จะสําเร็จการศึกษาแล้ว จึงชอบคิดถึง
เรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เช่น จบไปแล้วจะทํางานอะไร จะมีงานทําไหม จะได้ทํางานตรงกับ
สายที่ตัวเองศึกษาเล่าเรียนไหม เมื่อเกิดคําถามเหล่านี้ขึ้นมา ผู้เขียนจึงได้มีการแลกเปลี่ยนกับ
เพื่อน รุ่นพี่ที่รู้จักกัน จากการพูดคุยผลปรากฏว่ามีทั้งคนที่ทํางานตรงกับที่ตนเองศึกษาเล่าเรียน
มา คนที่ทํางานไม่ตรงสาย และคนที่ว่างงาน จึงทําให้ผู้เขียนเกิดการตั้งคําถามขึ้นมากับตัวเองว่า
การศึกษาที่เราพยายามศึกษามาตลอดจนสุดท้ายเราสําเร็จการศึกษาจบออกมาพร้อมกับ
ความหวังว่าจะมีงานทํา ความจริงแล้วมันจะเป็นไปตามที่หวังหรือไม่ เพราะในปัจจุบัน คนไทย
หลาย ๆ คนทสี่ าํ เร็จการศกึ ษามาจํานวนมากยังไม่มีงานทาํ วา่ งงาน หรือทาํ งานไมต่ รงสาย
สถาบันการศึกษาโดยรวมผลิตบัณฑิตตกงานปีละครึ่งล้าน และผลิตคนที่ไม่มีคุณภาพที่ดี
พอ ขาดทักษะ ไม่ตรงตามความต้องการของงานยุคใหม่ ผู้จบการศึกษาปีละครึ่งล้าน
จึงไม่มีงานทํา ต้องดิ้นรนไปตามชะตากรรมที่เลื่อนลอย มากไปกว่านั้น กลุ่มเด็กจบการศึกษาที่มี
งานทําเกือบครึ่งได้งานทําแบบที่ไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียน ส่วนกลุ่มที่ทํางานตรงตามสาขาท่ี
เรียนก็ขาดคุณภาพ ทักษะ ประสบการณ์ไม่เป็นที่พึงพอใจของระบบงาน ต้องมีการฝึกงานใหม่
และลงทุนซํ้าจากสถานประกอบการ เพื่อปรับเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้ทํางานหน้างาน
จริงๆ ได้ นี่คือมิติความล้มเหลวซับซ้อนที่แฝงฝังอยู่ในระบบการศึกษา สะท้อนปัญหาการศึกษาที่
ปรับตัวไม่ทันโลก
ข้อมูลล่าสุดจากสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
เปิดเผยสถานการณ์การว่างงานในไตรมาส 4 ของปี 2564 มีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 6.3 แสนคน ตัวเลข
การว่างงานของนักศึกษาจบใหม่มีจํานวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วง
ที่โควิดแพร่ระบาด โดยผู้ว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่จบการศึกษาในสาขาด้านสังคมศาสตร์ ธุรกิจ
การบริหาร และพาณิชย์ ช่วงปลายปี 2562 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2563 มีเด็กจบระดับอุดมศึกษาที่
ว่างงานและไม่เคยมีงานทํามาก่อนอยู่ประมาณเกือบ 80,000 คน และค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นจนปัจจุบัน
อยู่ที่ประมาณ 120,000 คน และถ้าเราดูกลุ่มผู้ว่างงานที่ไม่เคยมีงานทํามาก่อนจํานวนกว่า
380,000 คน จะพบว่าส่วนใหญ่ถึง 49.3% คือผู้ที่จบระดับอุดมศึกษา รองลงมาคือระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย 15.9%, มัธยมศึกษาตอนต้น 15.7%, ชั้นประถมศึกษาและตํ่ากว่านั้น 9%
ส่วน ปวส. 7% และ ปวช. เพยี ง 2.9% (พลวุฒิ สงสกุล, 2565)
จากข้อมูลทําให้เห็นได้ชัดว่าเมื่อเราจบมา ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าเราจะมีงานทําหรือบรรลุ
เป้าหมายตามที่หวังไว้ ทําให้เห็นว่าความเชื่อที่ว่าเมื่อเรียนสําเร็จการศึกษาแล้วเราจะมีงานทํานั้น
อาจจะไม่เป็นจริง ปลายทางของสายนํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลกว้างอาจจะไม่ได้งดงามตามที่วาดไว้ แต่
จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ภายในชั้นเรียน ทําให้ผู้เขียนมองเห็นถึงมุมมองใหม่
17
ๆ ถึงปลายทางของการสําเร็จการศึกษา เช่น การยอมรับกับทางเลือกที่ตัวเองได้เลือก การได้
ทกั ษะต่าง ๆ ระหวา่ งการศึกษาเลา่ เรียน เปน็ ตน้
การยอมรับกับทางเลือกที่ตัวเองได้เลือก คือ การยอมรับถึงผลที่จะตามมาหลังจากที่เลือกเข้า
คณะตามที่ตัวเองสนใจหรืออยากเรียน ถึงแม้ว่าหากสําเร็จการศึกษาแล้วจะไม่ได้ทํางานตามที่เคย
วาดไว้หรือตรงกับสายงานที่ศึกษาเลา่ เรยี นมา แต่ทั้งน้กี เ็ ปน็ ผลท่ีมาจากการตัดสินใจของตวั เอง
การได้ทักษะต่าง ๆ ระหว่างการศึกษาเล่าเรียน ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีกิจกรรม
ต่าง ๆ มากมาย รวมถึงชมรมและชุมนุมต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าร่วมได้ตามความสมัครใจ
ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากที่ได้รับในชั้นเรียน เช่น ทักษะการ
ประสานงานกับหน่วยงาน ทักษะการพูด ทักษะการจัดสัมมนา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทักษะ
เหล่านี้มีส่วนสําคัญอย่างมากเมื่อสําเร็จการศึกษาไป เพราะจะทําให้เราสามารถทํางานได้อย่าง
หลากหลาย
นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเงิน
ไม่ใช่สิ่งสําคัญในการดํารงชีวิต ดังนั้นถึงแม้ว่าบางคนสําเร็จการศึกษามาแล้ว แต่ไม่ได้ทํางานตรง
กบั สายงานทศ่ี ึกษาเล่าเรยี นมา ปัจจยั หนึ่งทสี่ ําคัญก็คอื เงิน
“ยอมทํางานไม่ตรงสาย หรือเบนข็มไปเรียนต่อ” นับเป็นตัวแทนเสียงของคนรุ่นใหม่
ที่บ่อยครั้งเริ่มท้อ สิ้นหวังกับหนทางการหางานหรือไม่อยากอยู่บ้านเฉย ๆ ว่าง ๆ อีกต่อไปแล้วเลย
จํายอมทํางานไม่ตรงสาย แม้จะบ่นว่า เสียดายที่ไม่ได้นําความรู้ที่รํ่าเรียนมาอย่างหนักไปทํางาน
ตรงสาย แต่เพราะชีวิตคนเรายังต้องขับเคลื่อนด้วยเงิน เธอจึงอยากหาเงินด้วยตัวเอง และไม่อยาก
เป็นภาระให้ใคร อีกทั้งบางครั้งก็คิดว่าถ้าว่างงานต่อไปนาน ๆ โอกาสที่ได้งานอื่น ๆ ก็จะน้อยลง
ด้วย เธอเลยคิดว่าจะไปเรียนต่อในสิ่งที่ตัวเองอยาก เพื่อเก็บประสบการณ์ต่าง ๆ
ใหไ้ ดเ้ ยอะ ๆ แลว้ ค่อยกลบั มาหาโอกาสเพอ่ื ทาํ ในสง่ิ ทีใ่ ช่ และชอบตอ่ ไป
นอกจากนั้นเสียงของเด็กจบใหม่บางคนยังเล่าถึง ความจําเป็นในเงื่อนไขทางฐานะการเงิน
ของครอบครัวที่ไม่สามารถพักได้แม้แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ เรียนจบมาก็ต้องพยายามดิ้นรนหางาน
ทําเลย แม้จะเป็นงานที่สร้างรายได้ไม่มากก็ตาม แต่ก็ต้องทํา เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ มาที่พอจะ
ช่วยเหลอื แบ่งเบาค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้บ้าง (ณัฐนชิ า อิสสะอาด, 2564)
สิ่งเหล่านี้ถึงแม้อาจจะดูเป็นข้อดี แต่สําหรับผู้เขียนแล้วก็คาดหวังและหวังว่าระบบ
การศึกษาของประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปงไปในทางที่ดีขึ้นและเชื่อมโยงกับตัวผู้เรียนเป็นหลัก
การพิจารณาหยุดปัญหาการศึกษาคงต้องทบทวนตรงไปที่ผลลัพธ์ปลายทาง ผลสัมฤทธิ์ทางการ
ศึกษาต้องมีเป้าหมายปลายทางชัดว่า บุคลากรที่เป็นผลิตผลของการศึกษานั้น เรียนจบแล้วต้องมี
งานทํา มีทักษะประสบการณ์ตรงตามระบบงานจากสาขาที่รํ่าเรียนมา มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือมี
ศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการได้หลังจากที่จบการศึกษามา นี่คือผลลัพธ์ปลายทางที่พึง
ปรารถนาและควรจะเป็น ที่ระบบการศึกษาต้องตระหนักอย่างยิ่ง ที่จะนําไปพิจารณาร่วมกับ
องค์ประกอบแวดลอ้ มอนื่ ๆ ที่สอดคล้องกับโลกแวดล้อมปจั จบุ ัน
18
บรรณานุกรม
ณฐั นิชา อสิ สะอาด. (2564). ความปวดใจของเด็กเจ็บใหม่ ทีอ่ ยากใหผ้ ้ใู หญเ่ ขา้ ใจกนั บา้ ง. สบื ค้น
จาก https://www.brandthink.me/content/new-graduates-problems.
พลวฒุ ิ สงสกุล. (2565). วิกฤตเดก็ จบปริญญาตรหี างานทาํ ไม่ไดม้ ากทีส่ ุด. สบื คน้ จาก
https://thestandard.co/bachelor-degree-job-finding-crisis/.
salika. (2564). ความสาํ เรจ็ ของการศึกษาวดั กนั ท่ี…ผลผลิตเป้าหมายปลายทาง. สืบค้นจาก
https://www.salika.co/2021/12/30/success-of-thai-education-is-result/.
19
การถูกกดขี่บนความเท่าเทียม
นางสาวศริ ภัสสร จงสาํ ราญ 6305681139
20
‘การศึกษา’ เคยเป็นเครื่องมือหรือเป็นหนึ่งในกุญแจสําคัญในการผลักดันและขับเคลื่อน
สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าและเหตุผลที่ผู้เขียนเลือกใช้คําว่า ‘เคยเป็น’ ก็เนื่องด้วยในปัจจุบัน
การศึกษาที่ก้าวไกลอาจจะไม่ใช่สิ่งที่การันตีความก้าวหน้าของสังคมนั้นๆได้อย่างแท้จริง
แต่ท้ายที่สุดก็ยังคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในบริบทของสังคมยังคงมองว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่สําคัญ
และเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและเพื่อที่จะเห็นผลสัมฤทธิ์แห่งการพัฒนา
ที่แสดงออกผ่านการที่คนในสังคมสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงก็เป็นอีกหนึ่ง
สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าสังคมนั้นมีความเจริญก้าวหน้าและให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ซึ่งขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ลํ้าค่าและควรค่าแก่การลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม
ประเทศที่กําลังพัฒนาที่ยังคงมองว่าการศึกษาเป็นกุญแจหลักในการพัฒนาคนและนําพาประเทศ
สู่ความเจริญมากยิ่งขึ้นในอนาคตจึงเป็นสาเหตุในการสมาทานแนวคิดกระจายการศึกษาอย่างเท่า
เทียมแต่ไม่ได้คํานึงถึงความเสมอภาคในการได้รับซึ่งนําไปสู่ปัญหาใหม่ที่เป็นที่มาของ ‘การถูกกด
ขี่บนความเท่าเทียม’ ความเท่าเทียมและความเสมอภาคบ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินสองคําน้ีมา
ควบคู่กันแต่หากมองอย่างลึกซึ้งสองคํานี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงซึ่งในบางครั้งความเท่า
เทียมก็ไม่ได้มาพร้อมกับความเสมอภาคเสมอไป ยกตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ในทุกประเทศทั่วโลก
ต่างก็มีโครงสร้าง แนวคิด นโยบายและระบบการปกครองเป็นของตัวเองซึ่งบริบททางสังคมก็ย่อม
มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอาจจะมีการหยิบยืมแนวคิดกันบ้างเพื่อนําไปต่อยอดในการพัฒนา
ประเทศของตนก็ย่อมไม่ใช่เรื่องผิดแปลกหากได้มีการพูดคุยและทําความเข้าใจหรือไม่ได้
ลอกเลียนแบบมาจนหน้าตกใจกลายเป็นการขโมยความคิดกันไปซึ่งหน้าการกระทําลักษณะนี้แม้
จะมีให้เห็นบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็มักได้รับการปล่อยผ่านเพราะแม้จะลอกนโยบายที่สําเร็จจากสังคม
หนึ่งก็ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีความสําเร็จหรือการพัฒนาของอีกสังคมหนึ่งเนื่องจากบริบทสังคมท่ี
ต่างกัน ปัจจัยในการพัฒนาก็ย่อมมีความผันแปรไปตามบริบทสังคมนั้นๆ นโยบายทางการศึกษาก็
เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกันในสังคมวงสนทนาของกลุ่มผู้นําหรือผู้มีอํานาจใน
การบริหารประเทศที่มุ่งอยากจะพัฒนาให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าผ่านการศึกษา แต่
ระบบการศึกษาที่บิดเบี้ยวก็สามารถเป็นเครื่องมือในการทําลายสังคมมากกว่าจะเป็นเครื่องมือใน
การพัฒนาสังคมได้เช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมที่ได้กล่าวไป
ข้างต้นควบคู่กับการหยิบยกบริบทสังคมในประเทศไทยมาอภิปราย โดยประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่ง
ประเทศที่แสดงให้เห็นว่าให้ความสําคัญในเรื่องของการศึกษาทั้งนโยบายเรียนฟรี 15 ปี, นโยบาย
การศึกษาภาคบังคับ ซ่ึงนโยบายเหล่านี้ก็ล้วนต้องการที่จะส่งเสริมในคนในประเทศได้เข้าถึง
การศึกษาได้อย่างเท่าเทียม แต่ความเท่าเทียมที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ส่งเสริมและพัฒนาชีวิต
คนในสังคมให้เป็นไปตามเป้าประสงค์อย่างแท้จริง หากกล่าวเช่นนี้คําถามที่ตามมาก็คือ แล้วเหตุ
ใดเด็กไทยยังคงทุ่มเทหรือเรียกได้ว่าอุทิศเกือบครึ่งชีวิตให้กับการศึกษา ซึ่งเราอาจจะต้องแยกเป็น
ประเด็นก่อนว่าการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษากับการที่ทุกคนได้รับการศึกษาที่เป็นไปตาม
มาตรฐานเดียวกันนั้นมีความแตกต่างกัน เป็นที่แน่นอนว่าเด็กทุกคนในประเทศไทยสามารถเข้าถึง
การศึกษาได้ สิ่งนี้เป็นความเท่าเทียมที่ทุกคนพึงได้รับ แม้จะกล่าวเช่นนั้นก็ยังคงมีเด็กอีกหลายคน
ที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่มีโอกาสแม้จะเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ต้น มากไปกว่านั้น
มาตรฐานหรือนโยบายทางการศึกษาก็ไม่ได้มีความ ‘เสมอภาค’ และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
แม้จะมีการกําหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีผู้ควบคุมดูแลโดยเฉพาะอย่าง กระทรวงศึกษาธิการที่
21
เป็นผู้กําหนดและเขียนโครงสร้างหลักสูตรที่เล็งเห็นว่าเหมาะสมในการพัฒนาเยาวชนสําหรับ
โรงเรียนประถมและมัธยมทั่วประเทศ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือไม่ใช่ทุกโรงเรียนจะสามารถ
ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ถูกเขียนไว้ตามโครงสร้างหลักสูตรที่มีอยู่ได้ด้วยเหตุผลและปัจจัยหลาย
อย่าง แม้จะโครงสร้างหลักสูตรที่นํามาใช้เป็นมาตรจะมีการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนอยู่เสมอตาม
ยุคสมัยแต่การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นก็ยังอยู่ภายใต้การตีกรอบของสังคมซึ่งมองตามบริบททาง
สังคมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมลํ้าได้อย่าง
ชัดเจนในทุกมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนด้านการศึกษา การวางนโยบายต่างๆที่เป็น
การหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาที่มองว่าเป็นการสร้างโอกาสและกระจายความเท่าเทียมสู่สังคม
ยังสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลและ
โรงเรียนที่อยู่ภายใต้การบริหารของภาคเอกชนโดยในเรื่องนี้สิ่งที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีเพียงแค่มิติทาง
การศึกษาแต่ยังมีเรื่องของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นเดียวกันซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็
ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน จะเห็นได้ว่าแม้การศึกษาจะถูก
นํามาใช้เป็นตัวกลางในการลดช่องว่างของความเหลื่อมลํ้าและความเท่าเทียมแต่การศึกษาก็ยัง
เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมลํ้าและความเท่าเทียมเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างใน
กรณีของการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนก็จะเห็นได้ว่ามีความ
แตกต่างกันซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคในมิติทางการศึกษาหาก
เปรียบเทียบเด็กสองคนที่มีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาเหมือนกันซึ่งเป็นความเท่าเทียมท่ีเกิดขึ้นแต่
เด็กคนหนึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนรัฐที่ขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรในระหว่างที่เด็กอีกคนเรียนใน
โรงเรียนเอกชนที่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์และบุคลากรก็สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงความ
แตกตา่ งที่เกดิ ขึน้ ซง่ึ ทั้งหมดทั้งมวลกส็ ง่ ผลใหเ้ กิดความไม่เสมอภาคทางการศึกษา
แม้จะต้องยอมรับว่าการจะสร้างความเสมอภาคในมิติทางการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไป
ได้ยากเพราะไม่เพียงแค่ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนรัฐและเอกชนแต่ทุกโรงเรียนย่อมมีความ
แตกต่างกันเมื่อมีการเปรียบเทียบเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนรัฐด้วยกัน
เองหรือเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนเอกชนก็ย่อมมีความแตกต่างกันโดยบริบททางสิ่งแวดล้อม
และสังคม ซึ่งสําหรับโรงเรียนในภาครัฐสิ่งที่เห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหาในการพัฒนาความพร้อม
ทางด้านการศึกษาในหลายโรงเรียนก็คือเรื่องของบุคลากรและงบประมาณที่ไม่เพียงพอในการ
พัฒนาสถานศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่กระทรวงกําหนดส่งผลให้เกิดการแข่งขันในภาค
การศึกษา เด็กที่มีต้นทุนทั้งในเรื่องของครอบครัว ทรัพย์สินหรือสภาพแวดล้อมก็ย่อมมีโอกาส
เข้าถึงโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่าทั้งในด้านอุปกรณ์และบุคลากร มากไปกว่านั้นยังมีสถาบัน
กวดวิชาเข้ามาเกี่ยวข้องส่งผลให้เห็นว่าหากมีโอกาสและต้นทุนที่มากกว่าก็ย่อมเข้าถึงสิ่งที่ดีกว่าซึ่ง
เป็นกลไกที่เกิดขึ้นในโลกทุนนิยมแห่งนี้ ในทางกลับกันเด็กที่มีต้นทุนชีวิตที่น้อยกว่าก็ย่อมมี
ตัวเลือกที่ลดลงหรือในบางกรณีก็ไม่มีแม้แต่ตัวเลือกเดียว จําเป็นต้องเรียนในโรงเรียนที่ต่างก็รู้ว่า
ไม่ได้มาตรฐานตามที่กําหนดแต่มาตรฐานก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่การันตีว่าผลสัมฤทธิ์ที่เกิดต่อตัวผู้เรียน
นั้นเกิดมากหรือน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ผู้เขียนกําลังจะชี้ให้เห็นก็คือการหยิบยื่นบางอย่างภายใต้
แนวคิดความเท่าเทียมอาจจะไม่ได้ดีที่สุดเสมอไปหากความเท่าเทียมน้ันขาดซึ่งความเสมอภาค
และความเป็นมาตรฐานโดยท้ายที่สุดแล้วก็วนกลับมาสู่วังวนแห่ง ‘ความไม่เท่าเทียม’ ดังเดิม มาก
22
ไปกว่านั้นระบบการศึกษาที่บิดเบี้ยวเช่นนี้ยังส่งต่อความไม่เป็นธรรมในอีกหลายด้าน นอกจาก
ความไม่เสมอภาคแล้วในบริบทสังคมไทยสิ่งที่โรงเรียนหยิบยื่นให้ก็คือการส่งต่อระบบอํานาจนิยม
กฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นเครื่องตอกยํ้าให้เห็นถึงการถูกกดขี่และความไม่เท่าเทียมซึ่งถูกตี
กรอบผ่านการนําเรื่องของวัยวุฒิมาข้องเกี่ยวโดยไม่ได้มีการทําความเข้าใจหรือพูดคุยให้เห็นถึง
เหตุผลในการกระทํานั้นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทําที่สะท้อนให้เห็นถึงการกดขี่เหล่านี้ถูก
กระทําผ่านผู้ที่ขึ้นว่าเป็นผู้ส่งต่อวิชาความรู้เพื่อบ่มเพาะเยาวชนสู่สังคมและหากจะมองในมิติของ
การสะท้อนมุมมองการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นควรจะเป็นสิ่งที่ควรนําให้
ห่างไกลจากการศึกษามากที่สุด เรามักจะได้ยินคําว่า ‘ปัญญาชน’ ซึ่งเป็นคําที่สะท้อนถึงตัวบุคคล
ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนผ่านกระบวนการทางการศึกษาทั้งในเรื่องมิติทางความรู้และมิติทางสังคม
หรือเรียกได้สั้นๆว่า ‘ผู้มีความรู้’ ในขณะเดียวกันการที่จะสร้างผู้มีความรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมผู้ที่
ถ่ายทอดก็ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เช่นเดียวกันซึ่งการถ่ายทอดความรู้หากกล่าวให้เป็นรูปธรรมจะต้อง
อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ‘ระบบการศึกษา’ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องวางแผนและจัดสรรนโยบายท่ี
เหมาะสมเพื่อสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ให้เป็นไปตามรูปแบบที่วางไว้ซึ่งดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า
แม้จะมีการวางรูปแบบทางการศึกษาให้มีมาตรฐานและคาดหวังผลสัมฤทธิ์มีประสิทธิภาพมาก
เพียงใดแต่ความไม่เท่าเทียมก็จะยังคงเกิดขึ้นตราบใดที่ขาดซึ่งความเสมอภาคและการแก้ปัญหา
ในองค์รวมเมื่อเป็นเช่นนี้คนในสังคมบางส่วนจึงได้สะท้อนและหยิบยกการแก้ปัญหาเรื่องความ
เหลื่อมลํ้าในทุกมิติผ่านการทดลองใช้ที่เห็นได้ว่าประสบความสําเร็จได้ในหลายประเทศซึ่งก็คือ
ความเป็น ‘รัฐสวัสดิการ’ ที่เป็นนโยบายที่ประเทศในแถบยุโรปเลือกใช้เพื่อลดช่องว่างของความ
เหลื่อมลํ้าและเป็นการกระจายความเท่าเทียมที่ใกล้เคียงกับคําว่า ‘เสมอภาค’ มากที่สุด เนื่องจาก
การปกครองภายใต้นโยบายรัฐสวัสดิการเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าได้อย่างพร้อมเพียง
ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา แต่รัฐสวัสดิการที่เท่าเทียมก็ยังคงสะท้อนให้เห็นถึง
ความไม่เท่าเทยี มเชน่ เดยี วกนั ในเร่ืองของการจ่ายภาษภี ายใตเ้ งอ่ื นไขของรฐั สวสั ดกิ าร
หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ‘มีมากจ่ายมาก มีน้อยจ่ายน้อย’ เพื่อเป็นการถ่วงดุลให้เกิดความ
เท่าเทียมในสังคมและให้ทุกคนได้เข้าถึงสวัสดิการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมทั้งด้านสิทธิในการ
รักษาพยาบาล รวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาที่ไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายหรือส่วนต่างเพิ่มเติม
แต่หากมองในมุมของความไม่เท่าเทียมความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่จ่ายภาษีมากกับผู้ที่
จ่ายภาษีน้อยจะสามารถกล่าวได้ว่าผู้ที่เสียภาษีมากถูกกดขี่เพื่อที่จะสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น
สู่สังคมหรือไม่ ซึ่งคําถามในลักษณะนี้นํามาเป็นข้อถกเถียงในสังคมนําไปสู่การตั้งคําถามถึงสิ่งที่
ได้รับว่าแท้จริงแล้วสิ่งนี้เรียกได้ว่าเท่าเทียมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายจริงหรือ นอกจากนี้ประเด็นใน
เรื่องของรัญสวัสดิการยังมีการถกเถียงกันในบริบทสังคมไทยว่าหากนํามาปรับใช้กับประเทศไทย
จะสามารถลดช่องหว่างของความเหลื่อมลํ้าที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ก่อนที่จะนําไปสู่ข้อสรุปที่ใน
ปัจจุบันยังไม่ปรากฎให้เห็นว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยควรจะเป็นรัฐสวัสดิการหรือควรยึดอยู่กับ
นโยบายในปัจจุบันแต่หากให้มองในมิติมางสังคมการที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ
ยังคงเป็นเรื่องที่ยากเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นยังคงต้องอาศัยการแก้ไขที่โครงสร้างแต่ไม่สามารถ
ละเลยปัญหาเล็กๆหรือปัญหาที่เป็นเส้นเลือดฝอยได้ นอกจากนี้ยังคงมีคนในสังคมอีกจํานวนมาก
ที่ยังไม่เข้าใจถึงความเป็นรัฐสวัสดิการเนื่องจากยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนรวมไปถึงไม่เห็นถึง
23
ความจําเป็นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและกังวลว่าจะเป็นการเพิ่มปัญหาซึ่งจากเดิมที่ก็ยังคงมี
มากและไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งปัญหาหลักๆก็คือความเหลื่อมลํ้าที่เป็นบ่อเกิดปัญหาในทุกมิติและ
ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการกดขี่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในโลกของทุนนิยมที่เกิดขึ้น
เงินตราเป็นสิ่งสําคัญในการขับเคลื่อนสังคม ซ่ึงในประเทศไทยแม้จะกล่าวได้ว่านอกจากสิทธิใน
การเข้าถึงการศึกษาแล้วสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ประชาชนทุกคน
ได้รับอย่างเท่าเทียมผ่าน ‘โครงการบัตรทอง’ หรือ ‘สามสิบบาทรักษาทุกโรค’ ในยุครัฐบาลทักษิณ
แต่ความเท่าเทียมนี้ก็ยังคงมีช่องว่างที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อคนบางกลุ่มซึ่งยึดโยงกับการ
ถูกกดขี่บนความเท่าเทียมก็คือภาพรวมของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยยังคงขาดการพัฒนา
ที่ทั่วถึงทั้งในเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์และตัวของบุคลากรที่ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์
หลายคนได้มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงภาระงานที่หนักและตารางงานที่ไม่สมเหตุสมผล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องแบกรับหน้าที่อย่างหนักใน
การรักษาผู้ป่วยส่งผลให้มีการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์เกิดขึ้นจํานวนมาก เมื่อบุคลากร
ทางการแพทย์ไม่เพียงพอก็ส่งผลให้แพทย์หนึ่งคนต้องแบกรับภาระงานที่มากขึ้นซึ่งส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งบุคลาการทางการแพทย์ในทุกสายอาชีพมักจะถูกสังคมมองว่าเป็น
อาชีพที่ทํางานหนัก ต้องอดหลับอดนอนเพื่อขึ้นเวรแต่ไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าความจําเป็นใน
การทํางานหนักของบุคลากรทางการแพทย์คืออะไรและปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลให้บุคลากรทางการ
แพทย์ต้องมีรูปแบบการทํางานที่ต้องอดหลับอดนอนและสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและ
สุขภาพจิตจากการทํางานที่ Overload นั้นมาจากอะไร ซึ่งจําเป็นต้องยอมรับว่าในทุกความเท่า
เทียมทางสังคมอาจนํามาซึ่งการกดขี่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากไปกว่านั้นความชินชาและความไม่
สนใจก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการส่งทอดความไม่เป็นปกติที่กลายเป็นเรื่องปกติเพียงเพราะคนส่วน
ใหญ่สังคมเห็นพ้องต้องกันแต่คนบางส่วนต้องตกเป็นเหยื่อของการถูกกดขี่ผ่านความเท่าเทียมที่
เกิดขน้ึ
หลังจากที่ได้สะท้อนมิติความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านระบบ
การศึกษาที่บิดเบี้ยวรวมถึงผ่านการได้รับสิทธิและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆอย่างเท่าเทียมภายใต้การ
ถูกกดขี่ผ่านมุมมองของนโยบายรัฐสวัสดิการ ตลอดจนมิติในทางอาชีพที่สังคมยอมรับและเป็น
ส่วนหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียมทางสังคมแต่แท้จริงแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งในการถูกกดขี่ จาก
ประเด็นที่ได้กล่าวไปข้างต้นสิ่งที่สังคมสะท้อนกลับมาในลักษณะเดียวกันก็คือนอกจากช่องว่าง
ความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจและชนชั้นที่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมและชัดเจนในสังคมไทยแล้วอีกหน่ึง
สิ่งที่เห็นได้ชัดและมักจะถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกจัดสรรไว้อย่างเท่าเทียมดีแล้วก็คือ
ช่องว่างแห่งความรู้และการศึกษา ซึ่งหากกล่าวว่าแม้ในปัจจุบันจะเกิดปัจจัยในหลายด้านที่เป็นตัว
ช่วยในการพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมแต่การในบริบทสังคมไทยนอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว การศึกษา
ก็ยังคงมีส่วนสําคัญที่จะสามารถนํามาพัฒนาสังคมให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นแต่ยังคง
จําเป็นต้องมีแนวทางที่ชัดเจนภายใต้การพัฒนาระบบการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมซ่ึง
การพัฒนาสองสิ่งนี้ควบคู่กันจะสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นและส่งผลให้เกิดการพัฒนาในมิติ
อื่นๆตามมาสิ่งที่ต้องเริ่มทําก็คือการลดช่องว่างทางการศึกษาและกระจายความเสมอภาคให้
ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการก้าวหน้าซึ่งก็เป็นอีกหน่ึง
24
ช่องทางที่ทําให้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างไม่มีขอบเขต ดังนั้นนอกจากการศึกษาในชั้นเรียน
ที่เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรแล้วสิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควนจะสนับสนุนก็คือการแสวงหา
ความรู้นอกห้องเรียนซึ่งคําพูดในลักษณะนี้ถือหด้ว่าเป็นประโยคคลาสสิคในทุกยุคทุกสมัยที่ผู้ใหญ่
มีความต้องการที่อยากจะให้เยาวชนแสวงหาสิ่งที่ชอบ ศึกษาความรู้นอกตําราเพื่อสร้าง
ประสบการณ์ชีวิตแต่สุดท้ายก็ติดอยู่ที่กรอบของสังคมส่งผลให้เด็กและเยาวชนหลายคนไม่กล้า
แสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริงสิ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนซึ่งเป็นเรื่องที่
ผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องเล็งเห็นถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสําคัญเพราะในอนาคตเด็กในวันนี้ก็ต้อง
เติบโตและเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศ การตีกรอบของสังคมสามารถเป็นหนึ่งในสิ่งท่ี
ฉุดรั้งการพัฒนาที่สามารถเกิดขึ้นซึ่งหากจะคํานึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว สิ่งที่กําลังเป็น
ปัญหาในปจั จบุ ันจงึ เป็นสง่ิ สาํ คัญท่ีควรจะต้องให้ความสําคญั
25
การศกึ ษาสามารถพัฒนาชีวติ
และความเป็นมนษุ ย์
ธันยพร เช่ยี วธญั ญกิจ 6305680578
26
การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ มีทักษะ มีความรู้ เป็นผู้รับการฝึก
การอบรมให้พัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับการเรียนรู้เสมอ
โดยส่วนหนึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเพื่อสามารถอยู่รอดได้ และอีกส่วนหนึ่งคือเรียนรู้โดย
ผ่านระบบการศึกษา ซึ่งเป้าหมายหลักของการศึกษา คือ การเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ เป็นผู้รู้
และเป็นผู้ที่มีวิธีคิด มีจิตสํานึกและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากตอนแรกก่อนจะได้รับ
การศกึ ษา
การศึกษา หรือ "Education " มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "Educare" มีความหมาย
ตรงกับคําว่า "Bring up" หมายถึง การดึงออก การศึกษามิใช่การใส่เข้าไป (put in) แต่หมายถึง
การดึงเอาความรู้ หรือสิ่งที่มีอยู่ในผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด (สนิท ศรีสําแดง,
ม.ป.ป.) ตามทัศนะนี้ถือว่า ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่แล้ว การศึกษาจึงเป็นเพียงการ
พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นให้เจริญงอกงามขึ้นเท่านั้น ตามแนวความคิดนี้ผู้สอนจึงมีฐานะเป็นเพียง
Guide คือผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกเท่าน้ัน
เรอื่ งการปฏิบตั หิ รอื ไม่นนั้ เปน็ เร่อื งของท่าน (อกขาตาโร ตถาคตา)
โดยปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าอาจเป็นผลมาจาก
รูปแบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นสร้างผู้เรียนให้เป็นเพียงผู้จํา ล้วนเป็นเพียงการ
จําเพื่อไปสอบ สร้างให้ผู้เรียนมีสภาพเป็นตําราที่เดินได้ โดยไม่ได้นําเอากระบวนการ "การเปลี่ยน
คน สร้างสรรค์สังคม" มาเป็นเป้าหมายสําคัญของการศึกษา คําถามที่เกิดตามมา คือ หาก
การศึกษาที่เป็นอยู่พาเราไปสู่ทางออกของปัญหาที่กําลังเผชิญอยู่ไม่ได้ หนําซํ้ากลับยิ่งสร้างปัญหา
ใหม่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะวิถีของการศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นการศึกษาที่สร้างให้คิดแบบแยก
ส่วน หล่อหลอมให้คนมีจิตสํานึกการแข่งขัน และยึดเอาตนเอง หรือหมู่พวกของตนเป็นศูนย์กลาง
โดยสารพันปัญหาที่มีดีกรีความรุนแรงระดับโลกที่เคยเกิดขึ้น เช่น ภาวะโลกร้อน วิกฤติแฮมเบอร์
ส่วนปัญหาความแตกต่างทางความคิดทางด้านการเมืองจนกลายเป็นความแตกแยกก็เป็นปัญหา
ท่ีพบได้ทั้งในระดับประเทศ และในระดับปัจเจกบุคคล ก็ยังพบว่าคนในยุคนี้ "ทุกข์ง่าย สุขยาก"
ทั้งนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการที่ปัจเจกบุคคลขาดสํานึกที่ดีและขาดซึ่งความตระหนักถึงภาระหน้าที่
ของตนทม่ี ีต่อมวลมนษุ ยแ์ ละสรรพสงิ่ ในธรรมชาติ มีปัญญาแต่ขาดความเป็นมนษุ ย์
พอกล่าวถึงสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และโจทย์การศึกษาแบบไทย ไม่
สามารถตอบโจทย์การพัฒนาผู้เรียนได้ตามการเปลี่ยนแปลง คงมีคําถามตามมาว่า "จะทํา
อย่างไร" และ "มีวิธีการอย่างไร" จึงจะสามารถเกิดกระบวนการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง
การศึกษาเพื่อพัฒนาได้ ที่เมื่อเข้าถึงการศึกษาแล้วจะก่อเกิดความเป็นมนุษย์ข้างในจิตใจด้วย
อิสรภาพความสุข ความรักเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นการศึกษาที่ต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม เป็นการพัฒนาปัญญาของ
ผู้ศึกษาไปพร้อมกับการพัฒนาความเป็นมนุษย์ภายในจิตใจด้วย ซึ่งที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการศึกษา
เพือ่ ให้ความรคู้ ือ การศกึ ษาเพอื่ พฒั นาความเป็นมนุษย์
ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรม พัฒนาได้ด้วยศีล ด้านจิตใจ พัฒนาได้ด้วยสมาธิ และ
ดา้ นความรู้ พัฒนาได้ดว้ ยปญั ญา ซงึ่ จะตอ้ งมีการพัฒนาไปพรอ้ มๆ กนั เพราะเป็น 3 ดา้ นของชีวิต
ที่ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ การพัฒนาในลักษณะนี้จะเป็นการพัฒนาอย่างประสานกลมกลืน
27
ส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดีทั้งระบบตามแนวพุทธจริยธรรม ที่เป็นเรื่องที่ครอบคลุมทั้งพฤติกรรม
จติ ใจ และปญั ญา เป็นการพัฒนาชีวิตทง้ั หมด (พระธรรมปิฎก (ป..ปยตุ ฺโต), 2540: 142-146)
นอกจากนี้พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ยังได้เสนอหลักการตรวจสอบว่า การศึกษา
ที่เปน็ อยู่ในปัจจบุ นั นี้ ถูก หรอื ผิด ไวด้ ังน้ี
"ถ้าหากว่าการศึกษาทําให้คนมีความรู้มากขึ้น แต่มีความสุขน้อยลง มีความทุกข์มากขึ้น
ก็แสดงว่าการศึกษานนั้ ก็คงจะผดิ "
"ถ้าหากว่าการศึกษาทําให้คนมีความรู้มากขึ้น แต่มีความดีงามน้อยลง มีความชั่วมากขึ้น
ก็แสดงวา่ การศึกษานน้ั ก็คงจะผิด"
"ถ้าหากคนมีความดีงาม โดยไม่มีความรู้ ก็ผิดเหมือนกัน เพราะเป็นความงาม
โดยความหลงงมงาย ไมไ่ ด้เป็นไปด้วยความรู้ ไมไ่ ด้เปน็ ไปดว้ ยปญั ญา"
"ถ้ามีความสขุ โดยไมม่ ปี ญั ญา ไมม่ คี วามดงี าม ก็ผดิ อกี "
"การศึกษาให้ครบทั้ง 3 อย่าง ในการพัฒนานี้จะต้องดูว่าผู้ที่ได้รับการศึกษา คือ คนที่เรา
สอนหรือให้การศึกษานี้ มีปัญญาเพิ่มขึ้นไหม มีความดีงามและความสุขหรือภาวะไร้ทุกข์หรือไม่"
(พระเทพเวที (ป.อ. ปยตุ โต), 2531: 64)
ฉะนั้น การศึกษาจึงเป็นกระบวนการถ่ายทอด "ความรู้" และ "ความดี" จากผู้ถ่ายทอดคน
หนึ่งไปสู่ผู้รับอีกคนหนึ่งและทําให้เกิดความเจริญงอกงามขึ้นในตัวบุคคล ช่วยให้บุคคลนั้นมีการ
พัฒนาชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น รู้จักใช้ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้นั้นมาแก้ปัญหา สามารถอยู่ใน
สังคมได้อย่างดีและมีความสุข นอกจากนี้ การศึกษายังเป็นกระบวนการพัฒนากาย จิต และ
ปัญญา ทําให้มนุษย์เป็นอิสระอยู่เหนือสัญชาตญาณฝ่ายตํ่าและมีความสมบูรณ์ในตัวเองมาก
ยิ่งขึ้น และเมื่อคนในสังคมมีความเป็นอิสระอยู่เหนือสัญชาตญาณฝ่ายตํ่า ก็จะมีความยับยั้งชั่งใจ
ในการทําความช่วั ทําให้สงั คมดีขนึ้ มคี วามสงบสขุ ผ้คู นในสงั คมมคี ณุ ภาพทีด่ ีขน้ึ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการสร้างรากฐานของระดับการดํารงชีวิตของคนให้ดีขึ้น
โดยการให้ความรู้การฝึกด้านคุณธรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพรวมกันอยู่
ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขในประเทศไทยได้มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิต
เป้าหมายหลักในการ "พัฒนาคุณภาพชีวิต"คือการให้มีความสามารถในการ "พึ่งพาตนเอง"
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือเริ่มจากการพัฒนา"ตนเอง" ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม
(คนึงนิจ อนโุ รน์, "แนวทางในการพฒั นาตนส่กู ารพฒั นาคุณภาพชีวติ ", 2561)
นอกจากนี้การศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อพัฒนาบุคคลในมิติด้านสังคมเพียงอย่าง
เดียวเท่านั้น แต่การศึกษาก็มีมิติด้านเศรษฐกิจและการเมืองรวมอยู่ด้วย ซึ่งการศึกษาก็เป็นตัว
สะท้อนความมีหรือไม่มีเสถียรภาพทางสังคมในทุกด้านอยู่ด้วยอย่างที่ไม่อาจแยกส่วนใดๆ ได้
เพราะคนเป็นผลผลิตทางการศกึ ษาที่เขา้ ไปแทรกตัวอยู่ในทกุ มิติของสังคม
อีกสาเหตุของปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากการเข้าไม่ถึงการศึกษา
นั่นก็เพราะการศึกษาคือรากฐานของทุกสิ่ง ความสมบูรณ์แบบของรากฐานการศึกษาในปัจจุบัน
ยังคงอยู่เป็นเพียงทฤษฎี นั่นก็เพราะปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษาในไทยยังคงเป็นปัญหา
เรื้อรังมายาวนาน การศึกษาที่ดีตามมาตรฐานจํากัดอยู่กับนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่มีกําลังจ่ายหรืออยู่
ในตัวเมือง อย่างไรก็ดี แม้คุณภาพของโรงเรียนจะมีผลต่อการเรียนรู้ เพราะถ้าเด็กนักเรียนยากจน
ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนที่มีคุณภาพ ผลการเรียนของนักเรียนจะอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่
28
ต่างจากนักเรียนรํ่ารวยเท่าไรนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนไม่ได้มีคุณภาพเท่ากัน
หมด เด็กฐานะปานกลางไปจนถึงรํ่ารวยสามารถเลือกโรงเรียนที่ตอบสนองและพัฒนา
ความสามารถของพวกเขาไดอ้ ยา่ งเตม็ ท่ี เด็กยากจนกลับไมม่ โี อกาสนั้น
“จริงๆ การศึกษาทั่วถึงนะ แต่การศึกษาคุณภาพที่ควรจะเป็นมันไม่ได้ทั่วถึง” ธานินทร์
ทิมทอง ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จํากัด กิจการเพื่อสังคมที่ช่วย
ยกระดับการศึกษา พูดถึงปัญหาการศึกษาในไทยที่มีความเหลื่อมลํ้าสูง จนทําให้การศึกษาที่มี
คุณภาพเขา้ ไมถ่ ึงเดก็ นกั เรียนทุกกลมุ่
นกั เรียนไทยอ่านไม่ออก เขยี นไมไ่ ด้
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สุดอย่างในระดับประถมศึกษาที่เน้นการอ่านออกเขียนได้เป็นลําดับ
แรก หากแต่ยังมีเด็กไทยในระดับประถมมากกว่า 140,000 คนท่ีอ่านหนังสือไม่ออก และ 270,000 ที่
เขียนหนังสือไม่ได้ เนื่องจากปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรคือเหตุผลหลักที่ทําให้การศึกษาข้ัน
พื้นฐานไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น ทั้งทรัพยากรบุคคลอย่างคุณครู ทั้งมีครูไม่ครบชั้น หรือสัดส่วนครู
ต่อนักเรียนที่ไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน เครื่อง
เขียน ชุดนักเรียน และอาหารกลางวัน ทั้งหมดส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ไม่ได้สร้างสิ่งแวดล้อมใน
การเรียนรู้ท่เี พยี งพอและท่วั ถงึ โดยเฉพาะกับนกั เรยี นในพนื้ ท่หี า่ งไกลจากโอกาส
นักเรียนไทยลาออกจากโรงเรยี นกลางคัน
การหลุดจากระบบการศึกษาหรือต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเป็นเรื่องปกติไปแล้วใน
ครอบครัวที่มีฐานะยากจน และการหาเลี้ยงปากท้องเป็นเรื่องจําเป็นเร่งด่วนมากกว่า ถึงแม้รัฐจะมี
นโยบายต่างๆ เพื่อช่วยอุดหนุนทางด้านการศึกษา แต่ในสภาพความเป็นอยู่จริง ปัญหาการเงิน
ยังคงเป็นเรื่องสําคัญของครอบครัวอยู่ดีจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีปัญหาเด็กหลุดออกจาก
ระบบการศึกษาของไทยสร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมสูงถึงปีละ 330,000 ล้าน
บาท และที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาจํานวน 120,000 คน ไปเป็นคุณแม่วัยใส
และอีก 36,537 คน ถูกดําเนินคดีโดยสถานพินิจ (ข้อมูลจากสถาบันอนาคตไทยศึกษา) เท่ากับว่า
เราสูญเสียทรัพยากรบุคคลของประเทศอันเนื่องมาจากการขาดการศึกษาหรือโอกาสทาง
การศึกษาท่ีดี
นักเรยี นไทยในชนบทไมไ่ ดร้ บั การศกึ ษาทไ่ี ดม้ าตรฐาน
ช่องว่างทางการศึกษาที่สําคัญคือเรื่องระยะทางห่างไกลจากชุมชนหรือเขตเมือง
โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นสูงขึ้นนั่นคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา นั่นทําให้
นักเรียนไทยในชนบทที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนยากจนกว่ามีโอกาสเข้าเรียนมัธยม
ปลายยากกว่า เนื่องจากความสามารถในการสร้างรายได้ที่ต่างกัน ยิ่งฉีกให้ช่องว่างของความ
เหลื่อมลํ้าระหว่างฐานะที่แตกต่างกันยิ่งห่างไกลกันออกไป การพิสูจน์เป็นตัวเลขสถิติทางคุณภาพ
ทางการศึกษากระทําผ่านการทดสอบประเมินศักยภาพในโครงการ PISA ที่เน้นการทดสอบทักษะ
การรู้เรื่อง เน้นความเข้าใจในการเรียนรู้และการวิเคราะห์ถึงชีวิตในอนาคต ชี้ให้เห็นว่าเด็กใน
กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีคะแนนดีกว่าเด็กจากต่างจังหวัดอย่างเห็นได้ชัด โดย 47% ของเด็ก
มัธยมในเขตชนบทไม่สามารถอ่านจับใจความได้ ความแตกต่างเหล่านี้เกิดขึ้นจากสัดส่วน “ครูต่อ
29
นักเรียน” ในโรงเรียนขนาดใหญ่และในกรุงเทพฯ มีมากเกินจนล้น แต่โรงเรียนขนาดเล็กกว่า 1
หมน่ื แห่งมีครูไม่ครบช้ันเรียนด้วยซ้าํ
นักเรียนไทยอย่ใู นครอบครวั ที่ไม่มีเงนิ ทนุ พรอ้ มสนบั สนนุ การศกึ ษา
ฐานะยากจนเป็นอุปสรรคสําคัญต่อการศึกษา นโยบายของภาครัฐในการจัดสรรเงิน
อุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจนในสถานศึกษาอย่างเท่าเทียมนั้นแก้ไขปัญหาด้าน
เงินทุนทางการศึกษาได้เพียงส่วนหนึ่ง และเป็นการมองในเชิงภาพรวมระดับประเทศ ยกตัวอย่าง
ในปี 2558 ประเทศไทยมีเด็กในวัยเรียนที่มีฐานะยากจน จํานวน 4,600,000 คน และเป็นตัวเลข
สูงถึง 65% ของครอบครัวไทยซึ่งไม่มีเงินเก็บมากพอที่จะส่งลูกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยใน
ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ทํางานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจและครัวเรือนในเชิงลึก และสร้างวิถีทาง
แก้ไขปัญหาที่ได้ผลในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่นโครงการเงินอุดหนุน
ช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไข โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา น่ัน
เป็นเหมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ให้นักเรียนไทยในชนบทได้มีความหวังว่า การศึกษาขั้นสูงข้ึน
ไมใ่ ชเ่ รอื่ งที่ไกลเกินเอ้อื ม และยังคงมีคนทีม่ องเหน็ เขาเสมอแม้อยใู่ นพนื้ ท่ีหา่ งไกล
หากระยะทางของพื้นที่ห่างไกลคือปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดความแตกต่างทางการศึกษา
ระหว่างนักเรียนเมืองกับนักเรียนในชนบท แล้วเราจะกําจัดช่องว่างของระยะทางเช่นนี้ได้ด้วยวิธี
ไหนบ้าง? คงต้องกลับมองกันที่ต้นเหตุของความเหลื่อมลํ้าเสียมากกว่าระยะทางที่ห่างไกล ซึ่งจาก
การเปรียบเทียบประสบการณ์จัดการศึกษากับนานาประเทศพบว่า งบประมาณจัดสรรในระดับ
เงินอุดหนุนจากภาครัฐในระดับขั้นพื้นฐานที่ยังมีช่องโหว่ในการจัดการ และส่งผลต่อเนื่องถึงความ
เหลื่อมลํ้าในระบบการศึกษา สู่ระดับรายบุคคล เช่นนั้นแล้ว เงินทุนการศึกษาจึงเป็นหนึ่งในปัจจัย
ทชี่ ว่ ยส่งเสริมและพฒั นาตน้ ทุนมนษุ ยใ์ หม้ ีโอกาสทางการศึกษามากขนึ้ กวา่ ท่ีกําลงั เปน็ อยู่
การศึกษาภาคบังคับกับการเข้าถึงประชากรวัยเรียนที่ยังไม่ทั่วถึง ส่วนหนึ่งจากปัญหาภายใน
ครอบครัว อีกส่วนสําคัญเกิดจากการจัดการพื้นฐานด้านการศึกษาที่แตกต่างกันไปตามบริบทของ
พื้นที่ซี่งมีปัญหาและความต้องการเฉพาะ นั่นทําให้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นแบบโดมิโน เมื่อรากฐาน
ทางการศึกษาทั้งจากครอบครัวและเงินทุนไม่มั่นคงแล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่พยุงนักเรียนในระบบให้ก้าว
เดนิ ตอ่ ไปในเสน้ ทางการเรยี น ทง้ั ส่งผลตอ่ ถงึ อนาคตทง้ั กับตวั เดก็ เองและสงั คมโดยรวม
ซึ่งการศึกษาที่ดี มีคุณภาพเป็นสิ่งพื้นฐานสําคัญที่ทุกคนควรจะมี และสามารถเข้าถึงได้
เพราะการศึกษาช่วยเปลี่ยนชีวิตคนเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันยังเปลี่ยนสังคม จากการ
ปลูกจิตสํานึกและขัดเกลาภายในโรงเรยี น และการศกึ ษายังขับเคลอ่ื นเศรษฐกิจของประเทศได้
หากทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพก็จะสามารถทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ซึ่งอาจนิยามความหมายของคุณภาพชีวิตที่ดีได้ว่า การดํารงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มี
ความสขุ มคี วามสมบรู ณ์ ท้ังร่างกายและจิตใจ สามารถปรบั ตัวให้เข้ากับสภาพแวดลอ้ มและสังคม
ที่ตนอยู่ได้อย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถเผชิญปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้
ศกั ยภาพสว่ นบคุ คลสรา้ งสรรค์พฒั นาตนเองและสงั คมใหอ้ ยู่รว่ มกนั ได้อย่างสนั ตสิ ขุ
คุณภาพชีวิตอาจสามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ คุณภาพชีวิต (ภายใน)
อันเกี่ยวกับการดํารงชีวิตส่วนบุคคลและครอบครัว ส่วนลักษณะที่สอง คือ คุณภาพชีวิต
(ภายนอก) อันเก่ยี วกบั การทาํ งาน (Quality of Work Life) และการดาํ รงชีวิตในสงั คม
30
แตใ่ นความจริงแมโ้ อกาสทางการศกึ ษาจะสามารถชว่ ยยกระดับชวี ิตของคนในประเทศได้
จรงิ แตห่ ากการศึกษามคี วามเหลื่อมล้าํ ย่อมทาํ ให้เกิดช่องว่างทางสังคมในอนาคตไดม้ ากเชน่ กัน
เพราะคนท่ไี ด้รบั การศกึ ษานอ้ ยก็จะขาดโอกาสในการเข้าถงึ งานทด่ี ีมรี ายได้สูง ขณะทีค่ นรวยจะ
ได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า ทาํ ใหเ้ กดิ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งคนจนและคนรวยสูงมาก
ทงั้ ยงั ส่งผลไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกจิ ของประเทศ
ผู้เขียนคิดว่าประเทศไทยในปัจจุบันยังต้องการ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารให้มี
ประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรมการกระจายงบประมาณที่เป็นธรรม ปฏิรูปการใช้งบประมาณ
ให้เกิดประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของประเทศ อีกท้ัง
ด้วยปัญหาภาวะเศรษฐกิจมั่งคั่งที่กระจุกตัว ยังมีผลทําให้อํานาจทางการเมืองก็มีลักษณะกระจุก
ตัว คนมั่งมีสามารถใช้อํานาจทางการเมืองที่เกิดจากการควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ความ
เหลื่อมลํ้าสูงทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งขัดขวางการก่อตัวของโครงสร้างทางการเมืองประชาธิปไตย
ท่ีตอ้ งการสง่ เสรมิ อิสรภาพ เสมอภาค และยตุ ิธรรมใหป้ รากฏแกพ่ ลเมืองของสงั คม
การจัดการศึกษาเพื่อนําไปสู่การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
จงึ อย่ใู นอํานาจของทุกรัฐ และเป็นความปรารถนาทีจ่ ะไปสจู่ ดุ นน้ั
การศึกษา จึงเป็นทั้งเป้าหมายหลักและที่มั่นสุดท้าย ก็คือ ตัวสังคมที่เข้มแข็ง เป็นสังคม
ที่มั่นคง มีอิสระ ปลอดจากการครอบงําของธุรกิจหรือการเมือง หรือของประเทศใดๆ และจะมั่นคง
ได้ต้องมเี อกภาพโดยความร่วมมอื ของทกุ ฝ่าย ทุกหน่วยงานทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
โดยเฉพาะด้านการพัฒนากระบวนการเรยี นการสอนก็ควรให้สอดคล้องกับการทํางานของ
สมองของผู้เรียน และเป็นการเรียนที่มีคุณภาพที่ใช้งานได้จริง เช่น อาจจัดโครงการที่มุ่งพัฒนา
ผู้สอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ เช่นครูอาจารย์ และทัศนคติของผู้บริหารการศึกษาอย่างจริงจังและ
ผู้เขียนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า หากวางรากฐานพัฒนาการการศึกษาการพัฒนาชีวิตของมนุษย์คน
หนึ่งชีวิตตั้งแต่แรกเกิด และพัฒนาศักยภาพความสามารถด้านต่างๆตามที่บุคคลนั้นมี
ความสามารถหรือมีความชื่นชอบ ไปพร้อมกับการพัฒนาจริยธรรมภายในจิตใจของผู้เรียนรู้
การศึกษาจะเป็นกระบวนการที่สามารถพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็ม
ตามศักยภาพมีพัฒนาการที่สมดุลทั้งปัญญา จิต ใจ ร่างกายและสังคม ซึ่งจะสามารถทําให้มี
คุณภาพชีวิตท่ีดีขึน้ รวมถงึ ทําให้สังคมดีข้นึ ไดอ้ ย่างแนน่ อน
31
อ้างองิ
พระธรรมปฎิ ก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). การศกึ ษาเพอ่ื อารยธรรมท่ยี ัง่ ยืน. พมิ พ์คร้งั ที่ 3.
กรุงเทพฯ:มลู นธิ พิ ุทธรรม.
สาํ นกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2560). สรุปการประชมุ
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ :
โรงพมิ พ์ครุ ุสภา.
วิฑูรย์ สมิ ะโชคดี. (2564). คุณภาพคอื ความอย่รู อด ตอน คณุ ภาพชวี ิต…อยู่ทใี่ คร?.
สืบคน้ จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_2530804
ระบบการศึกษาเหลอื่ มล้ํา ทาํ คุณภาพชวี ติ ตกตาํ่ เศรษฐกิจโตชา้ . (2556). สืบคน้ จาก
https://www.sanook.com/campus/1182318/
workpointTODAY. (2563). Learn Education ร่วมสร้างการศึกษารปู แบบใหม่ ลด
ความเหลอ่ื มลํ้า. สบื คน้ จาก https://workpointtoday.com/learn-education/
Nathanich Chaidee. (2562). มองปัญหาการศึกษา ผา่ น Data ทสี่ ะท้อนความเหล่ือมลา้ํ
ทางการศกึ ษาไทย.สืบค้นจาก https://thematter.co/brandedcontent/gse-2019-limited-
education-05/86262
32
นฮิ คั ซัล หลงั ยาหนา่ ย 6305680065
การศึกษา ไท
บทนํา
33
ในปัจจุบันระบบการศึกษาในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษานั้นมีจุดมุ้งหมายโดยมีการกําหนด
หลักสูตร และการวัดประเมิลผล เพื่อที่จะวัดความรู้ของผู้เรียนเพื่อที่จะสามารถประเมิน
ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ แต่การเรียนรู้ของเด็กไทยที่มีการพัฒนาที่ช้า เนื่องจาก
หลายสาเหตุทั้งภาวะทางร่างกายที่ทําให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การดูแลเลี้ยงดู
ของครอบครัวและสภาพแวดล้อมที่ดํารงอยู่ เมื่อหลักสูตรการเรียนมีความหละหลวมในการเรียน
ทําให้ผู้เรียนจึงจําเป็นที่จะต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเอง และการศึกษานั้นดําเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน ทําให้เห็นได้ว่าการศึกษาในประเทศไทยนั้นมีช่องว่างทางการศึกษาอยู่มาก และตั้งแต่
อดตี จนถึงปจั จบุ นั ก็ยงั ไม่สามารถทีจ่ ะแกป้ ัญหานไ้ี ด้
“การศึกษา” เป็นการแสวงหาความมรู้ที่มีอยู่ในทุกมิติ ซึ่งการศึกษานั้นสามารถทําให้เกิด
ความรู้หรือชุดความคิดที่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น การศึกษานั้นไม่เพียงแต่การเรียนรู้
เท่านั้น แต่จะเป็นรูปแบบในการที่จะช่วยเหลือให้แก่ผู้เรียนที่มีความสนใจในเรื่องราวต่างๆ ให้
สามารถเกิดขึ้นได้จริงแก่ผู้เรียน การศึกษานั้นสามารถที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ การ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นจะเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ทางด้านการเรียนรู้ ซึ่งได้มาจากความสนใจ
ของผู้เรียนและจะนําไปสู่การพัฒนาตนเองและการศึกษาจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความฉลาดเฉลียว
เพิ่มขึ้นและการพูดคุยจะมหี ลักคิดในการพูดคุยรวมไปถึงมีเหตุมีผล ในปัจจุบันระบบการศึกษายัง
มีปัญหาเรื้อรังเช่นภาระงานของครูที่ต้องแบกรับมากจนเกินไปจนไม่สามารถที่จะเต็มที่กับการ
สอน และการศึกษาไทยนั้นยังมีกรอบในการให้ผู้เรียนได้ทําในสิ่งต่างๆ และการถูกตีกรอบใน
ความอิสระของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนนั้นควรมีสิทธิที่จะเลือกในการที่จะทําอะไร ไม่ทําอะไรได้ด้วย
ตวั เอง เพราะว่าทกุ คนย่อมมีความเป็นปจั เจกบคุ คล
การศึกษาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และคําว่าไทที่แปลว่าความอิสระ จะเป็นการศึกษาที่มี
ความเป็นอิสระ แต่ในคําว่าไทก็ยังมีกรอบที่คอยหุ้มล้อมไว้ เปรียบสเหมือนกับการถูกกดขี่ทางด้าน
การศึกษา ในปัจจุบันระบบการศึกษาในไทยนั้นยังคงต้องการพัฒนาระบบการเรียนให้แก่ผู้เรียน
ให้สามารถที่จะเรียนรู้ได้ง่ายและสะดวกต่อการเรียนรู้ และการพัฒนาผู้สอนครูอาจารย์เพื่อที่จะ
สามารถที่จะเข้าใจและสามารถที่จะพัฒนาผู้เรียนได้อย่างตรงจุดมากขึ้น การเข้าใจผู้เรียนนั้นเป็น
สิ่งที่มีความสําคัญ ระบบการศึกษาไทยนั้นควรวางรากฐานให้แก่ผู้เรียนให้มมีความมั่นคงและ
สามารถเขา้ ถึงไดง้ ่าย
ในอนาคตกับระบบการศึกษาไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาก้าวหน้าทางด้านการสอน
และการตระหนักถึงความเหลื่อมลํ้าเป็นสิ่งที่สําคัญต่อการเรียนของผู้เรียนและเพิ่มโอกาศให้แก่
ผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก เกิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีการพัฒนาขึ้นและมี
หลักสูตรใหมๆ่ เขา้ มาให้สามารถทจ่ี ะเลือกเรียนไดต้ ามอัธยาศยั
ระบบการศึกษาในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก
ระบบ และการศึกษาตามอธั ยาศยั ดงั น้ี
การศึกษาในระบบ เป็นระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา มีวิธีการใน
การเรียนอย่างชัดเจน รวมไปถึงหลักสูตรในการเรียนที่มีให้แก่ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกได้
ระยะเวลาในการเรียนเพื่อที่จะนําไปสู่การประเมินวัดผลการเรียนของผู้เรียนให้อยู่ภายใต้เกณ์ท่ี
34
ส่วนกลางได้มีการกําหนดไว้ ซึ่งการศึกษาในระบบนั้นก็สามารถที่จะแบ่งย่อยออกมาเป็น
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งสามารถแบ่งออกมาเป็นการศึกษาก่อนประถมศึกษา ซึ่งนั้นเป็น
การศึกษาที่เริ่มแรกในการศึกษาภาคบังคับ โดยจะเป็นการเรียนที่จะเตรียมตัวผู้เรียนให้มีความ
พร้อมต่อการเรียนในระดับผระถมศึกษาต่อไป ต่อมาการศึกประถมศึกษา ซึ่งนี้จะเป็นการเรียนท่ี
เป็นการวางความรู้ความสามารถพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ในการฝึกเขียน ฝึกอ่าน ฝึกคํานวณ และจะ
เรียน 6 ปี หรือ 12 เทอม ต่อมาการศึกษามัธยมศึกษาเป็นการเรียนที่ต่อมาจากประถมศึกษาซึ่ง
นั้นมีความสําคัญในการที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ที่มุ้งเน้นให้เกิดการเรียนให้ตรงตาม
ความต้องการของผู้เรียนและยังคงคํานึงถึงความถนัดของผู้เรียนเป็นหลักและจะต้องมีความแหมะ
สมกับวัยของผู้เรียน เพื่อที่จะสามารถนําความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาต่อในอนาคตหรือการ
ทํางานที่ตนเองต้องการในอนาคต และจะเป็นการเรียน 6 ปี หรือ 12 เทอมเช่นกันกับระดับ
ประถมศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นจะต่อเนื่องมาจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
ทีม่ าตอ่ ยอดในการศึกษาทีต่ ่อยอดไปยงั การทํางานในอนาคตของผู้เรยี น
การศึกษานอกระบบนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้เรียนที่มีความสนใจในการเรียน
การศึกษานอกระบบนั้นเป็นการหาความรู้ที่มีการพัฒนาความรู้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และ
ทํากิจกรรมร่วมกันตามวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของแต่ละวิชา และการศึกษานอกระบบนั้นจะมี
การศกึ ษาทตี่ อ่ เนอื่ งเพื่อทีจ่ ะเพ่ิมวุฒิการศึกษา การศึกษาทางไกลซง่ึ เป็นการเรยี นทอี่ ยหู่ ่างไกล
การศึกษาตามอัธยาศัยนั้นเป็นความประสงของผู้เรียนตามความสนใจของผู้เรียน และ
ความพรอ้ มของผู้เรียน เปน็ การเรียนไดต้ ลอดเวลาและสามารถทจ่ี ะเรียนรไู้ ด้ตลอดชีวิต
วิวัฒนาการของการศึกษาไทยนั้นยังคงพัฒนาต่อเนื่อง แต่ยังการพัฒนายังคงมีความล่าช้า
มาก ทําให้การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นเกิดการล่าช้าไปด้วย ซี่งผู้เรียนก็สามารถที่จะศึกษาหาข้อมูล
เพิ่มเติมได้ แต่ผู้เรียนบางคนนั้นไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาเพิ่มเติมได้จึงนํามาสู่ความเหลื่อมลํ้า
ทางการศึกษาอยู่ และการทํางานของบุคคลาการทางการศึกษานั้นทํางานที่เยอะไปกว่าการสอน
ผู้เรียน จนนําไปสู่การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ในประเทศไทยนั้นครูย่อมที่จะมีงานอื่นเข้ามาแทรกที่
นอกเหนอื ไปจากการสอน
ผู้เขียนเป็นคนนึงที่ผ่านระบบการศึกษาไทย การศึกษาโรงเรียนรัฐ เป็นโรงเรียนที่ไม่ใช่
โรงเรียนประจําจังหวัด เป็นโรงเรียนเล็กๆ ซึ่งเป็นการเรียนที่ผู้เรียนมีความจําเป็นที่ต้องหาความรู้
ด้วยตัวเอง บุคลากรทางการศึกษา ครูมีความจําเป็นในการที่ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ โดยมี
กระบวนการเรียนที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลากร สิ่งที่มี
ความสําคัญที่สุดคือความเป็นอิสระในการเลือกสายการเรียนด้วยตนเองตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่ง
ผู้เขียนเองก็เคยโดนครูที่เข้ามาชี้นําในการที่เราจะเลือกเรียนโดยจะโดนตั้งแต่ม.3 โดยบังคับให้
เลือกเรียนสายวิทย์คณิต ซึ่งในตอนนั้นก็คิดว่าครูหวังดีก็เรียนสายวิทคณิต พอเรียนไปแล้วรู้สึกไม่
ชอบ และรู้สึกยาก สมองร่างกายต่อต้านในความรู้ที่ได้รับในตอนนั้นมาก สมองไม่เปิดรับเลยจน
ทําให้ตนเองมองว่าครูทําไมถึงต้องมาก้าวก่ายในการตัดสินใจของคนอื่น พยายามต่อสู้กับความไม่
ชอบมา 3 ปีจนจบเมื่อจบแล้วก็เลือกที่จะเรียนที่นี่ และเมื่อเลือกที่จะเรียนที่นี่ครูคนเดิมได้เดินเข้า
มาพูดว่าไม่ต้องเรียนหรอกคณะนี้ คนอย่างเทอไม่สามารถทําได้หรอก อย่าไปพยายามเลย ไป
เรียนใกล้ๆบ้านเหอะ (ซึ่งในต้อนนั้นได้มีโอกาสในการเป็นดีไซเนอร์และตัดเย็บชุดตุ๊กตาขาย) ทํา
ให้ผู้เขียนก็ไม่ฟังคําพูดของครูคนนี้อีก ผู้เขียนมองว่าการที่ครูเขาพยายามที่จะเข้ามาพูดแบบนี้มัน
35
ทําให้เรารู้สึกแย่และจะด้อยค่าตัวเองได้ โดยเลือกที่จะไมใ่ ส่ใจและก้าวข้ามมา ซึ่งนี่ทําให้เห็นได้ว่า
การศึกษายังมีความถูกตีกรอบกับครูบางกลุ่ม ความเป็นอิสระที่ยังถูกตีกรอบอยู่ในสังคม
การศึกษาไทย ผู้เขียนเรียนเคยเจอและประสบปัญหากับครูที่มีอายุและจะไม่พยายามที่จะอัพเดท
ข้อมูลในการสอน เมื่อนักเรียนเข้าไปพูดคุย มักที่จะได้รับคําตอบที่ว่าก็ฉันสอนแบบนี้มานานแล้ว
ข้อมูลที่ปรากฏนั้นเป็นชุดความรู้ที่ล้าสมัยมาก ซึ่งนี่เป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยพบเจอจาก
ระบบการศกึ ษาไทยในโรงเรยี นมัธยมศกึ ษา
หนังสอื DIGITAL DISRUPTION การศกึ ษาล้าสมัย เรียนเล่นๆ ให้เป็นเรื่อง วิเชียร ไชยบัง
จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้พบเจอนําไปสู่การศึกษาหนังสือ DIGITAL DISRUPTION
การศึกษาล้าสมัย เรียนเล่นๆ ให้เป็นเรื่อง ภายในหนังสือไปเล่าเรื่องถึงการวาดรูปที่เด็กมี
จินตนาการแต่ถูกตีกรอบด้วยเกรดที่กดขี่ความคอดสร้างสรรค์ของเด็ก ทําให้เด็กกลัวในการวาด
รูปมาตั้งแต่เข้าโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เนื่องจากการใช้เกรดในการตัดสินงานศิลปะของ
เด็ก ทําให้เห็นถึงระบบการศึกษาที่มีความล้าสมัยพัฒนาที่ช้าทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ช้าจน
นําไปสู่การหลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีเยอะมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผู้เขียนหนังสือยัง
กล่าวไว้ว่า “การศึกษาเป็นระบบที่กระทําต่อผู้คน ทั้งเป็นความสมยอมของผู้คนที่ถูกกระทํา
เพื่ออ้างความสมเหตุสมผลของการอยู่ร่วมกันอย่างมีมาตรฐานกลาง แต่การเรียนรู้ต่าง
ออกไป การความพยายามอย่างไม่สิ้นสุดต่อการเอาชนะปัญหาที่ตนกําลังเผชิญอยู่ เมื่อ
เอาชนะปัญหาหรือก้าวผ่านมันได้เราก็จะรู้สึกดี” (วิเชียร ไชยบัง. 2562) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า
การศึกษานน้ั คอยกดั กนิ ผ้คู นและผู้คนนน้ั ก็ยอมที่จะโดนกัดกนิ เพื่อทจ่ี ะแลกเปล่ียนในสิ่งตา่ งๆ
สามารถสรุปได้ว่า จากการได้เขียนบทความชิ้นนี้ทําใหสามารถเห็นระบบการศึกษาไทย
ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติที่ผู้เขียนได้พบเจอ และได้แลกเปลี่ยนกับผู้เรียนในบทความต่างๆในมิติ
ที่มีความต่างกันออกไป การศึกษาในประเทศไทยซึ่งดูเหมือนจเข้าถึงได้ง่ายแต่ภายใต้ความเข้าถึง
ง่ายนั้นยังมีอุปสรรคอยู่มากมาย ทั้งข้อจํากัดในเรื่องการเงิน ข้อจํากัดในเรื่องความพร้อมของ
ผู้เรียน และกระบวนการสอนของผู้สอนที่จําเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตัวผู้สอน
เพอ่ื ใหส้ ามารถตามทนั การเรียนรู้ใหม่
36
บรรณานุกรม
กรุงเทพธรุ กิจ. (2562). ปัญหาหลกั ของการศกึ ษาไทย. สืบค้นจาก
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122393.
ทเู ดย์. (2563). นักการศึกษา แนะ ครูต้องกระตุน้ เดก็ ให้เกดิ การเรยี นรหู้ ลายด้าน ปรบั
รูปแบบสกู่ ารศกึ ษายคุ ใหม่. สบื ค้นจาก https://workpointtoday.com/education-23/.
ไทยพบี เี อ็ส. “การศกึ ษาไทย” อย่างไรต่อ?. สบื คน้ จาก https://theactive.net/data/tsd-
forum-education/
วนิดา ชนนิ ทยุทธวงศ์ และคณะ. (ม.ป.ป.). เกก็ เรียนรู้ช้า ค่มู ือสําหรบั ครู. สืบคน้ จาก
https://mhc7.dmh.go.th/wp-content/uploads/2019/12/101-.
วิเชยี ร ไชยบงั . (2562). DIGITAL DISRUPTION การศึกษาลา้ สมยั เรียนเลน่ ๆ ให้เป็น
เร่อื ง. สบื ค้นจากหนงั สือ
ศูนย์วิชาการ แฮปป้ีโฮม. (2561). เรยี นรชู้ า้ คอื อะไร. สืบค้นจาก
https://www.happyhomeclinic.com/lp07-slow-learner.html.
สํานักความสัมพันธ์ตา่ งประเทศ สํานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). การศึกษา
ไทย. สบื คน้ จากhttps://www.bic.moe.go.th/images/stories/pdf/thailand-education-
system.pdf.
อาภรณ์ รัตนม์ ณ.ี (2553). ทาํ ไมระบบการศึกษาไทยจึงพฒั นาช้า. สืบคน้ จาก
https://www.mcu.ac.th/article/detail/448.
Thitima. (2563). ปญั หาพัฒนาการเดก็ ไทย กับแนวทางการพัฒนาที่สอดรบั กบั ทกั ษะใน
ศตวรรษท่ี 21. สบื คน้ จาก https://www.hsri.or.th/media/news/detail/12472.
Unicef. (2565). สทิ ธิในการเรยี นรูเ้ พ่ือเด็กทุกคน. สืบคน้ จาก
https://www.unicef.org/thailand/th.
Unicef. (2564). พันธกิจประเทศไทย ฟืน้ ฟูการศกึ ษา ปีการศึกษา 2564. สืบคน้ จาก
https://www.unicef.org/thailand/th
37
“โรงเรยี น ฉัน กับโลกภายนอก”
School Me vs The World
ธรี ภทั ร ภาณุสวุ ฒั น์
Teerapat Panusuwat
38
บทคัดย่อ
หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็น่าจะต้องเปรียบเทียบ “โรงเรียน” กับ “ฟาร์มปศุสัตว์”
อย่างไรน่ะ หรือ ก็เพราะว่า โรงเรียนเป็นท่ี ที่มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นใครก็ถูกป้อนความรู้ในแบบ
เดียวกัน ซึ่งคุณภาพของความรู้ ก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของโรงเรียนและคุณภาพของผู้สอน
เช่นเดียวกันกับฟาร์มปศุสัตว์ คุณภาพของสัตว์ที่อยู่ ในฟาร์ม ก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของฟาร์มและ
คุณภาพของอาหาร ฟาร์มทั่วไปจะมีตารางเวลาในการให้อาหาร สัตว์อยู่ โดยไม่สนว่าสัตว์ชนิดน้ัน
ต้องการอาหารมากน้องเพียงไหน หรือไม่ต้องการอาหารในเวลานั้น บางฟาร์ม ก็ให้อาหาร
คุณภาพดี มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ในฟาร์ม มีการปฏิบัติต่อสัตว์ใน
ฟาร์มอย่างดี เล่นมีการเลี้ยงในพื้นที่เปิด มีการนวด หรือการเปิดเพลงให้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม ผล
สุดท้ายคือการ ส่งเข้าโรงเชือดทั้งนั้น เฉกเช่นเดียวกันกับสถานศึกษา ที่มีการใช้แบบแผนที่จําเจ
มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพียงน้อยนิด อาจสังเกตได้จากการส่งต่อชีทเรียน หรือ lecture จาก
รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่นมาเรื่อยๆ แต่เนื้อหาและการเรียนการสอนก็จะมีความคล้ายคลึงกัน
อยู่มาก นั่นเท่ากับว่า pattern ในการเรียนการสอน นั้นเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก และผลการศึกษา
ก็เป็นตัวกําหนดคุณภาพของผู้ศึกษา เช่นเดียวกันกับคุณภาพ ของเนื้อสัตว์ที่มีเกรดเป็นตัวกําหนด
คุณภาพ และการเรียนการสอนก็จํากัดทางเลือกให้ผู้ศึกษาเลือกเพียงไม่กี่ ทาง ทําให้ในขณะน้ัน
ผู้ศึกษาจําต้องเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดกับตัวผู้ศึกษาเอง มากกว่าการเลือกตามความชอบ หรือความ
ถนัดของผู้ศึกษา และอาจจะเปรียบเทียบกับสัตว์ที่อยู่ในโลกกว้างที่ปราศจากรั้วหรือกรงขัง
กับ การศึกษา Homeschool ซึ่งผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ด้วยตนเองและสามารถทํากิจกรรม
ที่ชอบหรือมี ความถนดั ไดไ้ ปในตวั โดยไม่ถกู ตกี รอบ
39
บทนํา
การศึกษาจากมุมมองของผู้เขียน ถือว่าเป็นสมรภูมิที่เราทุกคนจะต้องเผชิญ
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อ เตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตด้วยตนเองสักวันหนึ่งในภายภาคหน้า
ถ้าหากเริ่มมองจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุด จบของชีวิตคนๆหนึ่ง ต้นทุนชีวิตถือเป็นปัจจัยอย่างแรก
ที่จะส่งผลเป็นสิ่งแรกตั้งแต่เกิด เช่น ฐานะทางการเงิน ของครอบครัว ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือก
สถานศึกษาได้ ทําให้เรามีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี ในทางกลับกัน คน จนก็ไม่สามารถ
ที่จะมีตัวเลือกได้มากเท่ากับคนชนชั้นกลางหรือคนรวย ก็จะเริ่มต้นด้วยพื้นฐานทางการศึกษา
ท่ี อาจด้อยกว่าคนอื่น ในสถานศึกษาของประเทศไทยนั้น ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติหรือสัญชาติใด
ไม่ว่าคุณมีพื้น ฐานความรู้มากน้อยเท่าไร หรือไม่ว่าคุณมีความถนัดในด้านไหน คุณก็จะถูกสอน
ในสิ่งเดียวกันเสมอ ตาม หลักสูตรโครงร่างที่ผู้สอนวางไว้ เช่นเดียวกันกับสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ลิง นก เสือ จระเข้ คุณก็จะถูกบังคับให้ ทําในสิ่งที่ไม่ถนัดเสมอ การให้ผู้ศึกษาทําในสิ่งที่ตนเอง
ไม่ถนัดแล้วประเมินผลออกมาเป็นเกรด เพื่อวัด ความสามารถ เช่นสอนให้จระเข้ปีนต้นไม้ สอนให้
นกไปดําน้ํา หรือสอนให้เสือบินบนฟ้า แล้วใช้เกณฑ์เพียง เกณฑ์เดียวในการวัดผล จึงไม่ได้เป็น
ผลดีต่อผู้ศึกษาเลย และยังสร้างความกดดนั ให้กับผศู้ ึกษาเสียมากกว่า โดย รายละเอียดภายในนัน้
อาจจะมาจากความคาดหวังของผู้ปกครอง โอกาสทางการศึกษา หรือความจําเป็นใน ด้านอื่นๆ
และทุกคนอาจจะเคยได้ยินคําว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ” ดังนั้นจึงต้องตั้งใจเรียน ใฝ่หาความรู้
และมีมายาคติต่างๆเพื่อตีกรอบให้เด็กทั้งหลาย เช่น คําขวัญวันเด็ก ที่จะขึ้นอยู่กับการ
เปลีย่ นแปลง ระดับประเทศ หรือ Social movement ต่างๆในแต่ละปี
การศึกษาหรือการหาความรู้นั้น ไม่จําเป็นที่จะต้องถูกจํากัดอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น
และผู้ ศึกษาก็มีความเป็นปัจเจก มีความหลากหลาย และมีความถนัดและความสนใจต่อสิ่งต่างๆ
ทีต่ ่างกับอยา่ งไม่ จํากัด เพราะฉะนั้นในคําพดู หรือวลที างการศึกษาทท่ี ุกคนเคยได้ยนิ กันมาวา่ “ครู
คือแม่พิมพ์ของชาติ” ทําให้ มองเห็นว่า ทุกคนจะต้องผ่านแบบพิมพ์เดียวกันทั้งหมด แต่ก็ไม่ใช่ทุก
คนที่จะมีโอการในการเลือกแม่พิมพ์ที่ดีได้ ยกตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบ คือ ถ้าเปรียบโรงเรียนหรือ
สถานศึกษา เปน็ การคมนาคม คนท่มี ฐี านะกจ็ ะสามารถ เลือกไดว้ ่ะใช้การเดนิ ทางแบบไนที่สะดวก
และรวดเร็วต่อเขา ในทางกลับกนั คนที่ขาดโอการในด้านต่างๆก็จะ ไมส่ ามารถเลอื กวธิ เี ดนิ ทางใน
การเดินทางได้มากนัก กล่าวคือคนรวยอาจเลือกเดินทางโดยรถเครื่องบิน รถยนต์ ส่วนตัว หรือ
ไฟฟ้า ซึ่งสามารถซื้อเวลาและความสะดวกสบายได้ แต่คนจนที่มีทางเลือกน้อย ก็อาจจะต้องใช้
ขนส่งสาธารณะหรือรถเมล์ฟรีอีกทั้งการศึกษายังมขี้อกําหนดกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับต่างๆที่
อาจจะไม่มี ความจําเป็นก็ปัจจัยหลักที่เป็นตัวกําหนดบทบาทของผู้ศึกษาอย่างมาก เช่น กฎเกณฑ์
เรื่องเครื่องแบบ กฎเกณฑ์เรื่องทรงผม เป็นต้น เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
การเรียนการศึกษาถูก ปรับเปลี่ยนเป็นการศึกษาผ่าน Platform Online อย่างเต็มรูปแบบ และ
ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือ ข้อบังคับที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผู้ศึกษาก็ยังสามารถทําการศึกษาได้
ตามปกติ ไม่ได้มีผลกระทบใดๆตอ่ การเรียน การสอนและการศึกษาเลย ผเู้ ขยี นจึงมองย้อนกลบั ไป
ที่คําถามที่มีมาอย่างยาวนานว่า “กฎเกณฑ์ ข้อบังคับใน โรงเรียนหรือสถานศกึ ษาที่ไม่มีความ
จาํ เป็นหรอื ไมส่ ง่ ผลตอ่ การเรียนการสอน ยังจําเป็นกับสถานศึกษาอยู่ หรอื ไม?่ ”
40
การศกึ ษาในรว้ั กระจก
ในปัจจุบัน การศึกษาของประเทศไทยนั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดกว้าง
ในการศึกษา มากขึ้น ผู้ศึกษาสามรถเรียนรู้ได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะพบว่ามีการเกิดซ้ําของปัญหา
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอยู่ ทํา ให้มองเห็นว่าแท้จริงแล้ว การศึกษานั้นไม่ได้ขยับไปด้านหน้าอย่าง
เต็มกําลัง และผลพวงที่ตามมาก็คือ ผู้ศึกษา ไม่สามารถถูกระบบการศึกษาดึงประสิทธิภาพ
ออกมาได้อย่างสูงสุดแต่ในทางกลับกันก็กลับถูกตีกรอบที่อ้าง ว่ามีความเสรีภาพด้วยกระจกใส
ที่ล้อมรอบอยู่ และผู้ศึกษากําลังเผชิญกับปัญหาจากรอบด้านมากมาย บางคน อาจจะนําปัญหาที่
มีมาเป็นแรงผลักดันแต่กับบางคนปัญหาเหล่านั้นก็เป็นแรงกดดันแต่หากจะมองปัญหาที่เกิด
ในสถานศึกษานั้นจากภาพเล็กไปสู่ภาพใหญ่ ก็น่าจะมองจากตัวผู้ศึกษาและผู้สอน
ไปจนถงึ หลักสูตรการศึกษา และนโยบายทางการศึกษาจากภาครฐั
ปัญหาที่มักเกิดกับตัวผู้ศึกษาที่น่าจะเห็นได้ชัดและเป็นปัญหาองค์รวม เช่น การถูกบังคับเรียนใน
วิชาที่ ไม่ถนัด การถูกจํากัดในความคิด การตั้งคําถาม เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้
เข้ามามีบทบาทกับผู้ ศึกษาในรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก ผู้ศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั่วโลกได้
อย่างรวดเร็ว และสามารถเลือกที่จะ เชื่อแหล่งข้อมูลใดก็ได้ที่ตนเองเห็นว่าสมควร ทําให้ผู้ศึกษา
สามารถหาคําตอบเพื่อคลายข้อสงสัยได้ด้วยตนเอง ภายในการค้นหาเพียงครั้งเดียวและสาเหตุที่ผู้
ศึกษาเลือกที่จะหาข้อมูลด้วยตนเองนั้นอาจจะมาจากการ ปฏิเสธการตอบคําถามของผู้สอน
หรือการถูกจํากัดในการถามคําถามในสถานศึกษา เป็นต้น ส่วนปัญหาใน ด้านหลักสูตรของ
การศึกษานั้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานศึกษาว่าสามารถเอื้ออํานวยต่อผู้ศึกษาได้มากน้อย เพียงใด
หรือมีตัวเลือกในการเลือกศึกษาของผู้ศึกษาที่ตรงตามความต้องการของผู้ศึกษามากน้อยเพียงใด
เช่น การมีห้องเรียนที่หลากหลายให้ผู้ศึกษา คือ ห้องเรียนสายวิทย์ อาจแบ่งเป็นห้อง KING ห้อง
QUEEN หรอื ห้องเรียนวิทย์-แพทย์ฯ วิทย์-วิศวะฯ เป็นต้น หรือห้องเรียนสายศิลป์ แบ่งเป็น ศิลป์
คํานวณ ศิลป์ภาษา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น ซึ่งก็ถือเป็นข้อดีถ้าหาก
สถานศึกษาสามารถจัดเตรียมห้องเรียนสําหรับ การศึกษาเรียนรู้ให้กับผู้ศึกษาได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุก
สถานศึกษาที่มีความพร้อมในการจัดโปรแกรมห้องเรียนดังกล่าว อาจมีข้อจํากัดด้วยงบประมาณ
หรือบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น ต่อมาคือนโยบายของภาครัฐ ที่ร้อยตํารวจ เอกหญิง อาภรณ์
รัตน์มณี (2553) กล่าวว่า “รัฐบาลหลายยุคยังให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษาในระดับรอง
เมื่อเทียบกับปัญหาด้านอื่นๆ ความจริงแล้วเรื่องการศึกษาถือว่าเป็นปัญหาที่สําคัญและเร่งด่วน
ของประเทศ ซึง่ มีข้อที่น่าสังเกตว่าผู้ที่จะมารับผิดชอบกํากับดูแลการศึกษาของชาติกลับกลายเป็น
ว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจงานด้านการศึกษา หรือมีความรู้และประสบการณ์
ทางด้านการศึกษาไม่มากนัก กล่าวคืออาจมี ความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพอื่น แต่เมื่อมา
รับผิดชอบงานทางด้านการศึกษากลับไม่สามารถกํากับดูแล และกําหนดนโยบายด้านการศึกษา
ให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย และนโยบายการศึกษาของชาติได้ ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อการ
ปฏิรูปการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติกับบุคลากรทางการศึกษา ทั้งๆที่ในวง การศึกษามี
บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างมากมาย” ทําให้เห็นว่าเสรีภาพทางการศึกษาที่เห็นใน
ปัจจบุ นั นัน้ แท้จรงิ แล้วกย็ งั ถกู จํากัดไวด้ ว้ ยร้ัวใสๆเหมือนกบั ตู้ปลา
41
การศกึ ษาในโลกกวา้ ง
การศึกษาแบบ Homeschool หรือที่กระทรวงศึกษาธิการ ใช้คําว่า การจัดการศึกษา
โดยครอบครัว ในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น จดทะเบียนกับสนง.เขตพื้นท่ี
การศึกษา จดกับโรงเรียนที่ รองรับเด็ก homeschool ลงทะเบียนเรียนกับมูลนิธิการศึกษาทางไกล
ผ่านดาวเทียม (ชั้นป.1 - ป.6) หรือกับ สถาบันการศึกษาทางไกลสําหรับระดับมัธยม หรืออาจจด
ทะเบียนเรียนออนไลน์กับหลักสูตรต่างประเทศ ดังนั้น จะเห็นว่าการทํา Homeschool นั้น
ผู้ปกครองไม่จําเป็นต้องเป็นผู้สอนเองทุกอย่างเสมอไป บาง ครอบครัวอาจสอนเอง หรืออาจจัดหา
ผู้ที่มีความชํานาญในด้านต่างๆ มาสอนก็ได้ โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองทํา หน้าที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้
และให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ศึกษาถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าHomeschoolแต่ผู้ศึกษา จดทะเบียนกับ
สนง.เขตพื้นที่การศึกษา ก็จะได้รับวุฒิการศึกษาตามระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งได้รับ
สิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น การรับเงินสนับสนุนการศึกษา หรือการเรียนรด. สําหรับครอบครัว
ที่จดทะเบียน เรียนกับสถาบันการศึกษาทางไกล หรือฝากชื่อกับโรงเรียน หรือศูนย์การเรียนต่างๆ
ก็จะได้รับวุฒิจากสถาบันท่ี ตนเองสังกัดเช่นกัน หากผู้ศึกษา สามารถผ่านการประเมินได้ตาม
เกณฑ์ก็ย่อมได้รับวุฒิการศึกษาเหมือนเด็กใน ระบบโรงเรียนทั่วไป สามารถนําไปใช้ศึกษา
ต่อในระดับสูงขึ้นไปได้ เปรียบได้กับการเรียนรู้ศึกษาไปพร้อมกับ การค้นหาตนเอง ทั้งความชอบ
ความถนัดและตวั ตนที่แท้จริง มีการเปิดโอกาสให้ผู้ศกึ ษาไดม้ กี ารลงผิดลอกถกู รู้จักตนเองมากข้ึน
ผ่านความสําเร็จแล้ความล้มเหลวของตนเอง เพิ่มขีดจํากัดทางความสามารถของตนเองได้
อยา่ งไมจ่ าํ กัด และมีผปู้ กครองคอยให้คาํ แนะนําหรอื ใหก้ ารสนบั สนุน
การศึกษาจากต่างโลก
หลายคนอาจจะเคยอ่านหรือดูการ์ตูนแฟนตาซีแนวต่างโลก หรือ อิเซไก (ญี่ปุ่น: 異世界;
โรมาจิ: Isekai) เป็นประเภทของไลท์โนเวล, มังงะ, อนิเมะ และวิดีโอเกม ซึ่งว่าด้วยเรื่องราว
ของมนุษย์ธรรมดาจากโลก ถูกโยกย้าย, ถูกส่ง, ไปเกิดใหม่, หรืออาจจะติดอยู่ในจักรวาลคู่ขนาน,
โลกจินตนิมิต หรือโลกเสมือน ที่ซึ่งพวก เขาต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ รวมไปถึงกฎเกณฑ์,
วัฒนธรรม และปรัชญาใหม่ การนําบุคคลจาก "โลกจริง" ย้ายไปยังโลกจินตนิมิตด้วยวิธีการ
บางอย่างทําให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้รับรู้เกี่ยวกับโลกใหม่ในเวลาเดียวกันกับตัว ละครเอก เป็นแนวคิด
ที่เปน็ ทีน่ ิยมสําหรบั นักเขียนมงั งะและไลท์โนเวล
บ่อยครั้งที่จักรวาลคู่ขนานนี้มีอยู่ในโลกเดิมของตัวละครเอกในฐานะจักรวาลสมมติ
แต่ก็อาจเป็น จักรวาลที่ไม่รู้จักมาก่อนก็ได้ จักรวาลใหม่อาจเป็นโลกที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
โดยมีเพียงตัวละครเอกที่มี ความทรงจําบางส่วนจากชาติก่อนหน้า เช่นในเรื่องบันทึกสงครามของยัย
เผด็จการ หรืออาจจะเป็นโลกเสมือน ที่กลายเป็นโลกความเป็นจริง ในแนว ต่างโลกด้านกลับ ตัวละคร
ในโลกแฟนตาซีจะถูกส่งจากโลกเดมิ และ/ หรือถกู บังคบั ให้ปรบั ตัวใหเ้ ข้ากับสงั คมยคุ ใหม่
แนวต่างโลกมักจะเป็นเรื่องราวของการบรรลุความปรารถนา ด้วยบุคคลที่ถูกส่งไปต่างโลกมัก
เป็น NEET, ฮิกิโกะโมะริ, หรือเกมเมอร์ ในโลกแฟนตาซีแห่งใหม่ ตัวละครจะสามารถประสบ
ความสําเร็จโดยใช้ ความรู้ประเภทที่ไม่มีความสําคัญในชีวิตจริง หรือทักษะการเล่นเกมโดยใช้เกม
อินเตอร์เฟซที่มีเพียงตัวละครนั้น ๆ ที่สามารถเข้าถึง พลังของตัวละครมีตั้งแต่ความสามารถทางเวท
มนตร์ที่ยิ่งใหญ่เหนือใคร ไปจนถึงพลังที่ ค่อนข้างอ่อนแอ ซึ่งตัวละครเอกไม่ได้รับพลังพิเศษใด ๆ
42
นอกเหนือจากความสามารถที่จะรอดจากความตายใน รูปของลูปเวลา ตัวละครเอกในเรื่องแนวต่างโลก
มักเป็น "ผู้กล้าที่ถูกเลือก" แต่ก็มีบางเรื่องที่แตกต่างออกไป ซึ่ง เหล่าคนที่เข้ามาในโลกแฟนตาซีเป็น
ขนุ พลและนักรบในประวัติศาสตร์ซงึ่ มีความโหดเหีย้ มมากกว่าผู้ทีอ่ าศยั ใน ตา่ งโลก เปน็ ต้น
จากแนวคิดดังกล่าว ผนวกกับคําพูดที่เราเคยได้ยินจนคุ้นหูว่า “Knowledge is Power”
ผู้เขียนจึง มองเห็นว่า การเปรียบเทียบระบบการศึกษาไทยระหว่างการศึกษาในรั้วของสถานศึกษา
กับการศึกษาที่มีอิสระ ไว้ดังนี้ ตัวละครเริ่มต้นในต่างโลก มักจะถูกตั้งค่าสถานะเริ่มต้นไว้ตามค่า
ปกติ และสามารถเลือก “อาชีพ” หรือความถนัดเริ่มต้นได้ และต่อยอดความสามารถนั้นไปให้ถึง
ขีดสุด โดยการเก็บเกี่ยวค่าประสบการณ์หรือ การ “Level Up” ผ่านการเรียนรู้ศึกษา การฝึกฝน
และการเผชิญกับปัญหา หรือคู่ต่อสู้ต่างๆในโลกกว้าง ในทางกลับกัน ถ้าหากเราเรียนรู้แค่ใน
สถานศึกษา ด้วยการทํากิจวัตรในแต่ละวันที่ซ้ําๆจําเจ เป็นเวลาหลายๆปี การเรียนรู้หรือการเก็บ
เกี่ยวประสบการณ์ก็จะเป็นไปได้อย่างล่าช้า เนื่องจากไม่มีตัวกระตุ้นหรือมีน้อยมาก ท่ีจะทําให้เรา
พยายามแก้ไขและข้ามผ่านปัญหาไปได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ในเนื้อเรื่องแฟนตาซีแนวต่างโลก
มักจะ มีเหตุการณ์พิเศษ หรือ “Event” ต่างๆ เพื่อให้ตัวละครได้พบเจอกับบททดสอบที่ยากหิน
เพื่อเก็บเกี่ยวค่า ประสบการณ์และไอเทมพิเศษ เปรียบได้กับการสอบ หรือกิจกรรมในสถานศึกษา
ต่างๆที่เราต้องทํา เพื่อให้เรา นั้นได้ฝึกฝนตัวเองและทบทวนองค์ความรู้ตลอดปีการศึกษาที่ผ่าน
มา แต่ต่างกันตรงที่ การสอบนั้น เป็นเพียง การวัดความรู้ที่เราไม่รู้เลยว่าในอนาคตจะได้นํามาใช้
จริงหรือไม่ หรือเพียงแค่สอบให้ผ่านๆไปแล้วก็ลืม สิ่งที่มี ความคล้ายคลึงกันอีกอย่างระหว่า
การศึกษากับแฟนตาซีต่างโลก คือการมีพวกพ้องที่สามารถคอยช่วยเหลือตัว เราได้ และทําให้เรา
มีมุมมองทางความคิดเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น พรรคพวกเหล่านั้นมักจะคอย Empower ให้ตัว เอก
นั้นก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยตนเอง และในระบบการศึกษา การต่อสู้ในโลกแข่งขัน
ทางการ ศึกษานั้นมีความเข้มข้นมาก การเลือกคบเพื่อนก็นับเป็นสิ่งที่สําคัญ เพราะในวัยรุ่น
คนเรามักจะมีการ แสดงออกทางพฤติกรรมที่อาจจะเป็นตัวตนของเราไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และการ
หล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อมรอบ ข้างก็เป็นส่วนสําคัญที่ส่งผลต่อการแสดงออกทางความคิด หรือ
มุมมองของตัวผู้ศึกษา ทําให้มีความชอบหรือ ความคิดเปลี่ยนแปลงหรือไหวเอนไปกับสิ่งเร้า
รอบตัวได้ง่าย การเลือกเรียนตามเพื่อนจึงเป็นสิ่งที่อาจจะทําให้ผู้ ศึกษาเลือกทํามากที่สุด โดยท่ี
ตนเองอาจจะไม่มีความถนัดในสิ่งที่เลือก อีกทั้งระบบการศึกษาก็จะป้อนความรู้ ที่มีพื้นฐานทาง
ความคิดของผู้สอนว่า ทุกคนเรียนรู้พร้อมกัน เริ่มเรียนรู้จากศูนย์ ก็น่าจะมีความเข้าใจที่ เท่าๆกัน
แต่อันที่จริงแล้ว ในทางสติปัญญาหรือการรับรู้ข้อมูลในบทเรียนต่างๆที่ผู้สอนได้สอนให้ของแต่ละ
บุคคลอาจจะไม่เท่ากัน ซึ่งทําให้ผู้ศึกษาที่ตามไม่ทันบทเรียน ต้องเผชิญกับปัญหา และมีทางออก
ด้วยการเรียน พิเศษ ท่ีตอ้ งจ่ายเงนิ เพม่ิ ในอตั ราทีส่ ูง หรอื อาจจะตอ้ งยา้ ยสายการเรยี นเลยกเ็ ป็นได้
...แลว้ คุณล่ะ จะเลือกออกแบบตวั ละครของคณุ ในชีวติ จริงแบบไหน?
43
เอกสารอา้ งองิ
รอ้ ยตาํ รวจเอกหญิง อาภรณ์ รตั นม์ ณี (2553). ทาํ ไมระบบการศึกษาไทยจงึ พัฒนาชา้ .
สืบค้นวันท่ี 10 พฤศจกิ ายน 2565 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/448
Homeschool กับ 5 เร่ือง ทคี่ นสว่ นใหญ่มักเขา้ ใจผิด. สืบคน้ วันท่ี 13 พฤศจิกายน 2565.
จาก https://www.starfishlabz.com/blog/349-homeschool-
%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A- 5-
%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%
E0%B9%88%
E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0
%B8%A1%E
0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0
%B9%83%E0 %B8%88%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94
ตา่ งโลก. สืบคน้ วันที่ 13 พฤศจกิ ายน 2565. จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%
E0%B9%8 2%E0%B8%A5%E0%B8%81
44
การศกึ ษาในส่ิงท่ีชอบ VS สิ่งท่สี ังคมยอมรับ
พงษก์ ร ไชยปาล 6305610534
45
บทนํา
การศึกษาเป็นสิ่งที่ทําให้ผู้คนได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่สนใจหรือสิ่งที่หลายคนมองเห็นว่าดี
การศึกษาเป็นเหมือนตัวกลางในการนําพาผู้คนให้มีประสบการณ์หรือทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง
ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหมือนเส้นทางในการพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล การศึกษาคือการเรียนรู้
ซึ่งการเรียนรู้นั้นอาจไม่ได้หมายถึงการศึกษาในโรงเรียนหรือการศึกษาในสถานที่ให้ความรู้เพียง
อย่างเดียว อาจไม่ได้หมายถึงการศึกษาจากตําราแต่การเรียนรู้อาจหมายถึงการที่คนใดคนหนึ่ง
ได้รับประสบการณ์จากช่องทางไหนก็ตามที่มีส่วนช่วยให้เขาสามารถพัฒนาทักษะเหล่านั้น
เพิม่ เตมิ ต่อไปได้
การศึกษานั้นจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของความรู้และการเรียนรู้ให้พร้อมที่จะใช้
ประโยชน์ และมีบทบาทในสังคมที่ดี การเรียนรู้จะช่วยให้การใช้ชีวิตในสังคมเป็นไปอย่างถูกต้อง
รู้จักการปรับเปลี่ยนตนเองขั้นพื้นฐานให้ไปสู่สังคมตามรูปแบบต่างๆ ที่จะทําให้ตนเองอยู่รอด
วัตถุประสงค์ของการศึกษานั้น ต้องการให้ผู้เรียนได้หาความรู้ด้วยตัวเอง และพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้
ความรู้จากแหล่งใหม่ๆ รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ตัวเองด้วยเพื่อจะได้ทําให้ส่งเสริมพื้นฐานการใช้ชีวิตที่ดีแล้วจะได้มีทักษะต่างๆ ในการใช้ชีวิตแม้ว่า
เกิดปญั หากส็ ามารถนําไปประยกุ ตใ์ ช้ไดเ้ พือ่ ท่ีจะไดแ้ กป้ ัญหาได้ทันทว่ งที (Autismnwaf, 2020)
การศึกษาถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สําคัญมาก เพราะการศึกษามีส่วนช่วยให้คนได้พัฒนาตนเอง
หรือการนําสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดในทักษะที่หลากหลาย หรือการนําทักษะที่ได้จากการศึกษา
เรียนรู้ไปทําประโยชน์ต่อไปในอนาคต การศึกษาสามารถพัฒนามนุษย์ได้ ซึ่งการพัฒนาเหล่าน้ี
เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนน้ั แลว้ การศกึ ษาถอื ไดว้ า่ เปน็ หนทางในการพฒั นา
ตนและเป็นอีกหนึ่งหนทางในการมีส่วนช่วยให้มนุษย์สามารถดํารงชีวิตต่อไปได้ในปัจจุบัน แต่
การศึกษาอาจไม่ได้เรียบง่ายหรือเป็นหนทางสว่างตลอดไป เพราะการศึกษาย่อมมีอุปสรรคหรือ
แง่มุมที่สะท้อนให้เห็นความแตกต่าง ดั่งในปัจจุบันที่การเลือกศึกษาในสิ่งที่ชอบบางอย่างยังไม่ถูก
ยอมรับในสังคม จึงถูกตีตราว่าการศึกษาในเรื่องเหล่านั้นไม่เหมาะสมหรือไม่สมควรเพียงเพราะ
บริบททางสังคมไม่เห็นพ้องไปด้วยกัน เพราะบางการศึกษาหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่แปลกหรือ
เป็นเรื่องที่ไม่น่ายกย่อง จึงเป็นประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมในปัจจุบันว่าการศึกษาไม่ใช่เรื่อง
ของอิสระทางการเลือก ไม่ใช่ความเปิดกว้างทางการศึกษา แต่การศึกษาในปัจจุบันยังคงมีกรอบ
หรือโครงสร้างที่มองไม่เห็นคลุมเอาไว้อีกทีหนึ่ง เป็นการผลิตมนุษย์ให้ไปในทิศทางที่ถูกคาดหวังไว้
ทางสังคม ฉะนั้นแล้วการศึกษายังไม่ใช่เสรีอย่างแท้จริง เป็นเพียงคําพูดที่สังคมได้ตีกรอบล้อม
โครงสรา้ งเอาไว้ เหมือนเป็นบรบิ ททีถ่ กู ครอบงาํ และถูกส่งตอ่ กันในระยะยาว
การศึกษาในสิง่ ทีช่ อบ
การศึกษาในสิ่งที่ชอบ เมื่อมองตามบริบทของความหมายแล้วคือการเลือกศึกษาในสิ่งที่แต่
ละคนสนใจหรือเป็นสิ่งที่ชื่นชอบและมีความเห็นด้วยไปกับสิ่งนั้น การศึกษาเป็นเหมือนการค้นหา
ตัวตนให้พบเจอ การเลือกศึกษาในสิ่งที่ชื่นชอบเป็นการศึกษาเพื่อตนเองให้พบเจอกับคําว่าชื่นชอบ
หรือถนัดและสามารถศึกษาและพัฒนาต่อไปได้อีกในอนาคต การศึกษาจึงเป็นทางเลือกที่
เกี่ยวข้องกับความเป็นปัจเจกบุคคลเอาไว้อยู่ การเลือกศึกษาหรือการเลือกทางเดินในแบบของ
ตนเอง เป็นการดํารงอยู่เพื่อตนเอง การศึกษาในสิ่งที่ชอบในหลายๆ ครั้งในสังคม ยังไม่ถูกยอมรับ
หรือเปิดกว้างทางการเรียนรู้ เช่น การที่ผู้คนมีความสนใจในอาชีพสมัยใหม่หรือการเรียนรู้และ
46