The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หากท่านใดต้องการ Download file สำหรับอ่านแบบ Offine สามารถคลิกได้ที่นี่

ออกแบบและผลิตรูปเล่มโดย : Natnaree Chouywattana (Email: [email protected])

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pinhathai Nunuan, 2021-02-14 03:04:23

ใบงานที่ 3 เด็กพิเศษในความสนใจของผู้เรียน : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

หากท่านใดต้องการ Download file สำหรับอ่านแบบ Offine สามารถคลิกได้ที่นี่

ออกแบบและผลิตรูปเล่มโดย : Natnaree Chouywattana (Email: [email protected])

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ให้ความรู้ทางกฎหมาย การจัดทํานิติกรรมสัญญา การไกล่เกล่ียหรือการประนีประนอมยอมความ
การจัดหาทนายความและการใหค้ วามช่วยเหลอื อน่ื ๆ
บทบาทของผเู้ ก่ยี วขอ้ งในการทํางาน
ผู้เก่ียวข้องในการทํางาแต่ละคร้ังจะต้องอาศัยความเช่ียวชาญและความชํานาญของทีมสหวิชาชีพท่ีมี
ความเกย่ี วข้องในแต่ละกรณี อาทิ

นักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าท่ีในการเตรียมเด็กท่ีมีความต้องการความช่วยเหลือ (ประวัติ
ส่วนตัว ปัญหาท่ีเกิดข้ึน การศึกษา อ่ืน ๆ) การทําให้เด็กตระหนักในคุณค่า ศักยภาพของตนเอง
เตรียมให้เขาได้เติบโตในสังคมท่ีเข้าใจ นักสังคมจะต้องช่วยอธิบายให้ครอบครัว ครู เพ่ือน ได้เข้าใจ
ถึงธรรมชาติของตัวเด็ก อีกท้ังนักสังคมจะต้องเป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงเรียน องค์กร ชุมชน
หน่วยงาน ในการทํางานเก่ยี วข้องกบั เด็กและครอบครวั ในการพัฒนาเด็กได้อย่างรอบดา้ น

นักจิตวิทยา ทําหน้าท่ีในการประเมินสภาพจิตใจของเด็กว่าได้รับผลกระทบทางจิตใจหรือไม่
อกี ท้งั ยงั มกี ารชว่ ยใหค้ รู คนรอบขา้ งและผูป้ กครองเขา้ ใจการเรยี นรขู้ องตวั เด็ก

แพทย์เฉพาะทาง แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าตัวเด็กน้ันมีความผิดปกติทางสายตาในระดับใด
และแพทย์จะเปน็ ผดู้ ูแลรกั ษาอาการความผดิ ปกติทางสายตาในลาํ ดับตอ่ ไป

ครูผู้สอน ครูจะเป็นอีกหน่ึงบุคคลท่ีความใกล้ชิดกับตัวเด็กมากรองลงมาจากครอบครัว
ดังน้ันครูจะเป็นบุคคลท่ีมีข้อมูลของเด็กท่ีจะสามารถนํามาเป็นข้อมูลประกอบการปฏิบัติงาน ครู
จะต้องเข้ามาร่วมทํางานเพื่ อเป็นการทําความเข้าใจในส่ิ งท่ีเด็กเป็นเรียนรู้เก่ียวกับสาเหตุและความ
ต้องการของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการมองเห็นเพ่ื อสามารถนํากลับไปปรับปรุงหลักสู ตรและ
รปู แบบการเรียน การสอนใหม้ คี วามสอดคล้องมากท่สี ุด

48

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

นชิ านนั ท์ เปยี สัมประทวน 6105680604

กลมุ่ เปา้ หมายทส่ี นใจ คอื เดก็ พิเศษทม่ี ีความบกพรอ่ งทางการได้ยิน (hearing impairment)
เน่ืองจากอาการของเด็กกลุ่มน้ีเป็นอาการท่ีอาจจะเกิดการสูญเสียการได้ยินต้ังแต่กําเนิดหรือ

อาจจะสูญเสียการได้ยินในภายภาคหลัง อีกท้ังยังมีปัจจัยท่ีหลากหลายซ่ึงทําให้เกิดอาการดังกล่าว
ข้ึนได้จึงถือว่าเป็นกลุ่มท่ีมีความน่าสนใจในการศึกษาและทําความเข้าใจ นอกจากน้ันพัฒนาการ
ทางด้านการสื่อสารและภาษาเป็นส่วนหน่ึงท่ีมีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมากการท่ี
เด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินน้ันส่งผลให้พัฒนาการในด้านอ่ืนทํางานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
หรือทําให้เด็กน้ันมีพัฒนาการในด้านอ่ืนไม่ว่าจะเป็นสังคม อารมณ์ และสติปัญญาบกพร่องได้เพราะมี
ความบกพร่องทางการได้ยินมาขว้างก้ันการเรียนรู้และพั ฒนาศั กยภาพในตนเองของกลุ่มเด็ก
ดังกลา่ ว

โดยกลุ่มท่ีเลือกจัดอยู่ในกลุ่ม Physically Handicapped ซ่ึงเป็นกลุ่มท่ีมีความบกพร่อง
ด้านความพิการต่าง ๆ อาทิ บกพร่องทางการพู ด ได้ยิน การเคล่ือนไหว หรือมีโรคประจําตัวท่ีส่งผล
ให้ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น ซ่ึงปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า หรือมีพัฒนาการบางด้านท่ี
ไม่เท่าเด็กปกติในช่วงวัยเดียวกัน ดังน้ันเด็กกลุ่มน้ีจึงต้องการความช่วยเหลือและวิธีการดูแลท่ี
แตกต่างจากเดก็ ปกตทิ ว่ั ไป

ขอ้ มลู เบ้อื งต้นเพื่อทาํ ความเขา้ ใจกลมุ่ เป้าหมาย
ลักษณะท่วั ไป

สามารถแบ่งประเภทความบกพร่องทางการได้ยิน (hearing impairment) ตาม
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง กําหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.
๒๕๕๒ ไดด้ ังน้ี

• หูตึง (Hard of hearing) หมายถึงภาวะท่ีบุคคลมีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับน้อย
(Mild) ถึงมาก (Severe) โดยท่ัวไปจะสามารถพู ดคุยส่ือสารได้ และยังสามารถใช้เคร่ืองช่วย
ฟัง (Hearing aids) การแสดงคําบรรยาย (Captioning) รวมท้ังเทคโนโลยีอํานวยความ
สะดวกเพื่อช่วยการฟังและการได้ยิน (Assistive listening devices) อีกท้ังผู้ท่ีมีความ
บกพร่องทางการได้ยินมาก ยังสามารถใช้ประสาทหูเทียม (Cochlear implant) ซ่ึงเป็นชุด
อุปกรณ์ท่ีผ่าตัดฝังเข้าไปในหูส่วนในได้ โดยจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบล
ลงมาถงึ ๒๖ เดซิเบล

• หูหนวก (Deaf) หมายถึงภาวะท่ีบุคคลมีอาการหูตึงรุนแรง (Profound) โดยอาจได้ยินเพียง
เล็กน้อยเท่าน้ันหรืออาจไม่ได้ยินเลย และจะส่ือสารโดยใช้ภาษามือ (Sign language)
ซง่ึ โดยทว่ั ไปหากตรวจการไดย้ นิ จะมกี ารสูญเสียการไดย้ นิ ๙๐ เดซเิ บลข้นึ ไป
สาเหตขุ องปัญหาความบกพร่องทางการไดย้ ิน จําแนกไดเ้ ป็น 2 กลุม่ ดงั น้ี

49

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

• ปัจจัยอันเกิดแต่กําเนิด (Congenital causes) ซ่ึงปัจจัยน้ีจะนําไปสู่ภาวะบกพร่องทางการ
ได้ยินในทันทีหลังกําเนิดหรือหลังกําเนิดเพียงเล็กน้อย โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม
ซ่ึงเก่ียวข้องกับกรรมพั นธุ์ (hereditary genetic factors) ปัจจัยทางพั นธุกรรมซ่ึงไม่
เ ก่ี ย ว ข้ อ ง กั บ ก ร ร ม พั น ธุ์ ( non-hereditary genetic factors) ห รื อ อ า จ เ กิ ด จ า ก
ภาวะแทรกซ้อน (complications) ตอนอยู่ในครรภ์ รวมท้ังในช่วงแรกเกิด โดยท่ัวไปสาเหตุ
ของความบกพรอ่ งทางการไดย้ ินอันเกิดแต่กาํ เนิดน้นั มกั เกิดจากสาเหตุ ดงั น้ี
1. โรคหัดเยอรมัน (Rubella) ซิฟิลิส (Syphilis) หรือโรคติดเช้ืออ่ืน ๆ อันเกิดต่อ
มารดาในขณะต้งั ครรภ์
2. ทารกแรกเกิดน้าํ หนกั ตัวนอ้ ย
3. ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (birth asphyxia)
4. การใช้ยาท่ีก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินอย่างไม่เหมาะสมในขณะ
ต้ังครรภ์ เช่น อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
เป็นตน้
5. เด็กเป็นโรคดีซ่านฉับพลัน (Severe Jaundice) ในช่วงแรกเกิด ซ่ึงสามารถทําลาย
เส้นประสาทการในไดย้ นิ ของทารกได้

• ปัจจัยท่ีได้รับมาหลังกําเนิด (Acquired causes) สามารถนําไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้
ยินได้ในทุกช่วงอายุ โดยท่ัวไปสาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยินมักเกิดจากสาเหตุ
ดังน้ี
1. โรคท่ีเกิดจากการติดเช้ือ เช่น เย่ือหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) โรคหัด (Measles)
และโรคคางทูม (Mumps) สามารถนําไปสู่ภาวะหูตึงได้โดยเฉพาะอย่างย่ิงเม่ือเกิดใน
เด็ก
2. การติดเช้ือเร้ือรังในหู ซ่ึงมักแสดงออกมาในลักษณะโรคหูน้ําหนวก (Discharging
ears) โดยนอกจากจะนําไปสู่ภาวะหูตึงแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนท่ี
รนุ แรง เช่น ฝีในสมอง (Brain abscesses) และโรคหัด
3. การสะสมของของเหลวในหูจนทําให้หูช้ันกลางอักเสบ (Otitis Media) ถือเป็นสาเหตุ
หลักอนั นาํ ไปสู่ปญั หาความบกพร่องทางการได้ยนิ ในเด็ก
4. การใช้ยาท่ีก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินไม่ว่าในช่วงวัยใดก็ตามซ่ึง
อาจทาํ ใหเ้ กดิ ความเสียหายต่อหูช้นั ใน
5. ความบาดเจบ็ ท่เี กดิ ข้นึ ต่อศีรษะหรือหู
6. การฟงั เสียงทด่ี ังเกนิ ไปอย่างต่อเนอ่ื ง
7. อาการหูตึงท่ีแปรผันไปตามอายุ หรือ อาการประสาทหูบกพร่องในวัยชรา
(Presbycusis) ซ่งึ เกดิ จากการเสื่อมของเซลล์อันเก่ยี วกบั กระแสประสาท

50

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

8. ข้ีหู รวมท้ังส่ิงแปลกปลอมท่ีขวางอยู่ในช่องหูก็สามารถเป็นสาเหตุของปัญหาความ
บกพร่องทางการได้ยินได้ในบุคคลทุกวัย เพียงแต่ลักษณะความหูตึงจากสาเหตุน้ีส่วน
ใหญ่จะเปน็ เพียงระดับนอ้ ยและสามารถแก้ไขไดใ้ นทันที

สถานการณป์ ัญหา / ความตอ้ งการ
จากการศึกษารายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยของกรมส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทําให้ทราบว่า ในปัจจุบันน้ันมีจํานวนผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(hearing impairment) เป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยคิดเป็นจํานวน 375,680 คน หรือ ร้อยละ
18.41

ซ่ึงปัญหาหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมายน้ีนอกจากเร่ืองการได้รับการรักษาหรือได้รับ
สิทธิตามการข้ึนทะเบียนผู้พิการตามกฎหมายแล้วน้ันก็ยังคงมีบางส่วนท่ียังไม่ครอบคลุมแก่กลุ่มคน
ดงั กล่าวนน้ั ก็คือ ผู้ทม่ี ภี าวะหูตึง 1 ขา้ งหรอื หหู นวก 1 ขา้ ง ผ้ทู ส่ี ูญเสียการไดย้ ินทอ่ี ยู่ระหวา่ งการรกั ษา
หรือยังไม่สิ้นสุดการรักษา ซ่ึงกลุ่มคนดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิตามทะเบียนผู้พิการ อีกท้ังนอกจาก
ปัญหาดังกล่าวแล้วน้ันปัญหาท่ีอาจเกิดข้ึนตามมาอันเน่ืองมาจากความบกพร่องทางการได้ยินก็ไม่ใช่
เพียงแค่ปัญหาเกย่ี วกบั สุขภาพรา่ งกายแตร่ วมถงึ ปัญหาในดา้ นต่าง ๆ อาทิ

• เด็กมีพัฒนาการทางสังคมท่ีช้า เน่ืองจากการสื่อสารท่ีแตกต่างกันหรือความไม่เข้าใจในการ
สื่อสาร

• เด็กรู้สึกแตกต่างไปจากคนอ่ืน เพราะไม่สามารถสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือละเล่นบางอย่าง
เหมือนเดก็ ปกติได้

• เด็กรู้สึกขาดความม่ันใจในตนเอง กลัวการสนทนาหรือการพู ดผิด จึงแยกตัวเองออกจาก
สังคม

• เดก็ มักมีพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารทช่ี ้าและบกพร่อง
• เด็กท่ีมีปัญหาความบกพร่องทางการได้ยินจํานวนประมาณ 1 ใน 3 มักขาดการยับย้ังช่ังใจ

และไม่สนใจการเรียนเพราะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งท่ีเรียนได้ เป็นเหตุให้เด็กขาดการศึกษาอันจะ
ส่งผลตอ่ ไปยงั อนาคตในภายภาคหนา้

51

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

• เด็กขาดความปลอดภัยในชีวิต เน่ืองจากไม่สามารถรับรู้สัญญาณอันตรายท่ีแจ้งเตือนทาง
เสียงได้

ซ่ึงปัญหาในด้านต่าง ๆ น้ันก็เป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กจึงถือว่า
เป็นปญั หาท่ตี อ้ งได้รับการแก้ไขและได้รบั ความใส่ใจเปน็ อยา่ งมาก

บริการ สวัสดิการต่าง ๆ สําหรบั เด็กพิเศษท่มี คี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ ิน
• ทะเบียนคนพิ การ เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี สามารถขอเบิกเคร่ืองช่วยฟังได้ 2 ข้าง
โดย สามารถเบิกเคร่ืองใหม่ได้ในทุก 3 ปี ถ้าหากเคร่ืองช่วยฟงั เสียหรือไม่สามรถซ่อมได้เบ้ีย
ความพิการ อีกท้ังผู้พิการท่ีมีสิทธ์ิจะได้รับเบ้ียคนละ 500 บาทต่อเดือน และคนพิการท่ีสูงอายุ
หรืออายุต้ังแต่ 60 ปีข้ึนไปมีสิทธิได้รับท้ังเบ้ียความพิการรวมท้ังเบ้ียผู้สูงอายุเป็นจํานวน
1,000 บาทต่อเดอื น
• บริการฟ้ นื ฟู สมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ สามารถเข้ารับการรักษาตามสิทธ์ิ
ไดใ้ นโรงพยาบาลทม่ี กี ารลงการใชส้ ิทธ์ิ
• ระบบสวัสดิการข้าราชการ โดยผู้ท่ีมีสิทธ์ิในระบบสามารถใช้สิทธ์ิเบิกจ่ายค่าเคร่ืองประสาทหู
เทียม 1 ข้าง ไม่เกิน 850,000 บาท ท้ังน้ีไม่รวมค่าผ่าตัดและค่าบริการฟ้ ืนฟู การได้ยินใน
ขณะท่ีผู้ใช้สิทธ์ิประกันสังคม และประกันสุขภาพยังไม่ได้รับสิทธ์ิการเบิกค่าเคร่ืองประสาทหู
เทยี มดังกลา่ ว
• การจัดการศึกษาสําหรับผู้ท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน (hearing impairment) น้ันก็
คือ โรงเรียนสอนคนหูหนวก (โรงเรียนโสตศึกษา) โรงเรียนดังกล่าวจะมีการจัดเรียนการสอน
ต้ังแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และบางโรงเรียนมีการเรียนการสอน
สายอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วย ซ่ึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกหน่ึงท่ีจะทําให้กลุ่มคน
ดงั กล่าวได้รบั ความรู้และไดร้ บั การศึกษาอย่างครอบคลมุ มากย่งิ ข้นึ
• บริการจ้างงานคนพิการ ตามระเบียบใหม่ของกระทรวงแรงงานกําหนดให้สถานประกอบการ
ของเอกช และหน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทํางานในอัตราส่วนจํานวนลูกจ้าง
ทง้ั หมด เป็นจํานวน 50 คน ต่อ คนพิการ 1 คน
• บริการส่ิงอํานวยความสะดวก โดยหน่วยงานท้ังภาครัฐและเอกชนจะต้องจัดสิ่งอํานวยความ
สะดวกตามความเหมาะสมเพื่ อให้คนพิ การสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ
เช่น บริการในการเดินทาง บริการขนส่งสาธารณะ บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการให้สัตว์
นําทางเดนิ ทางกบั คนพิการ เปน็ ตน้
• บริการเงินกู้ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิขอกู้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพอิสระได้ โดยกู้เป็นรายบุคคล คนละไม่เกิน 40,000 บาท
หรอื กู้เปน็ กลุ่มเพื่อช่วยกันประกอบอาชพี ไมม่ ีดอกเบย้ี แตต่ อ้ งผอ่ นส่งภายใน 5 ปี

52

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

• บริการล่ามภาษามือ โดยสามารถขอบริการล่ามภาษามือได้ 5 กรณี ได้แก่ การใช้บริการ
ทางการแพทย์และการสาธารณสุข การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการ
ประกอบอาชีพ การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในช้ันพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานเจ้าหน้าท่ีตามกฎหมายอ่ืน การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม รวมท้ังเป็น
ผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซ่ึงมีคนพิการทางการได้ยิน
เข้าร่วมด้วย และบริการอ่ืนใดตามท่ีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือประกาศ
กาํ หนด

บทบาทผูเ้ ก่ยี วข้องในการทํางานกบั กลุม่ เปา้ หมาย
นกั สังคมสงเคราะห์

• มีบทบาทในการเฝ้าระวัง หาสาเหตุ ให้การช่วยเหลือ แก้ไข และติดตามการเจริญเติบโต
พัฒนาการ รวมถึงการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของเด็กอย่างต่อเน่ือง ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วน
ร่วมในการพัฒนาเด็กโดยให้ความรู้ฝึกทักษะ รับฟังปัญหา และคําปรึกษาในการแก้ปัญหา
รวมถึงการช่วยประคับประคองจิตใจ ลดความเครียดและวิตกกังวลเพ่ือช่วยให้ครอบครัวมี
ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพและเป็นหลักในการดูแลเด็กได้อย่างเต็มท่ี อีกท้ังยังต้อง
มีการวางแผนการช่วยเหลือฟ้ นื ฟูและบําบัดรักษาให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กและมี
การใหข้ ้อมลู กบั ครอบครัวเกย่ี วกับสิทธติ า่ ง ๆ ตามกฎหมายทเ่ี ดก็ พึงไดร้ บั อกี ด้วย

แพทย์
• มีบทบาทในการช่วยเหลือทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ ท้ังด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ และ
พฤติกรรมมีหน้าท่ีในการตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิ การตามพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อประกอบการขอมีบัตรประจําตัวแก่
เด็กพิเศษ

ครู
• มีบทบาทในการจัดการศึกษาพิ เศษท่ีเหมาะสมกับเด็ก ส่งเสริมทักษะการส่ือสารท่ีดีใน
ห้องเรียนโดยการคํานึงถึงเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน สังเกตพัฒนาการทางด้าน
ต่าง ๆ ของเด็ก สร้างโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพ่ือนร่วมห้อง มีความรู้ความเข้าใจ
เกย่ี วกับเดก็ พิเศษ และเปดิ โอกาสใหเ้ ด็กไดพ้ ัฒนาความเชอ่ื มน่ั รวมถึงศักยภาพในตนเอง

ครอบครวั
• มีบทบาทในการแสดงความรักและความเอาใส่ใจต่อเด็กทําให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นเม่ือ
อยู่กับครอบครัว สื่อสารให้ชัดเจนและควรแน่ใจว่าลูกได้รับสารตามท่ีพ่อแม่ต้องการส่ือ สอน
ทักษะการแก้ปัญหาท่ีดีให้กับเด็กเม่ือเกิดปัญหาข้ึนเด็กท่ีได้สามารถแก้ไขเบ้ืองต้นด้วยตนเอง

53

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

ได้ คํานึงถึงความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ ของเด็ก มีความรู้และความเข้าใจปัญหาทาง
พฤตกิ รรมของเด็กและพร้อมให้การสนับสนุนในตัวเดก็

54

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รม่ ฉตั ร โนรี 6105680844

1. ท่มี าและความสําคญั
เด็กพิเศษ (Exceptional child) เป็นเด็กท่ีไม่สามารถพัฒนาความสามารถของตนเองให้

เป็นไปในทางท่ีดีได้เท่าท่ีควรจากการใช้วิธีในการเรียนการสอนแบบปกติ ต้องอาศัยวิธีการท่ีมีความ
เฉพาะเพ่ือทําให้เกิดการพัฒนา เด็กในกลุ่มน้ีจะมีความต้องการบางอย่างท่ีพิเศษมากไปกว่าเด็กท่ัวไป
โดยความบกพร่องน้ันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องท่ีมาจากเหตุทาง
ร่างกาย สติปัญญาหรืออารมณ์และสังคม จําเป็นท่ีจะต้องได้รับการบําบัดฟ้ นื ฟู หรือการส่งเสริมการ
พัฒนาท่ีเหมาะสมกับความบกพร่องน้ัน ๆ เพื่อให้เด็กในกลุ่มน้ีสามารถท่ีจะช่วยเหลือตนเองได้ใน
สังคม ซ่ึงสามารถแบ่งเด็กพิเศษออกได้เป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย เด็กในกลุ่มท่ีเก่ียวข้องกับ
พัฒนาการในด้านของสติปัญญา เด็กในกลุ่มท่ีเก่ียวข้องกับการปรับตัว และ เด็กในกลุ่มท่ีเก่ียวข้อง
กับความบกพร่องทางดา้ นร่างกาย

เด็กท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and
Emotional Disorders) คือ เด็กท่ีมีการแสดงออกท้ังทางพฤติกรรมและอารมณ์ท่ีไม่เหมาะสม หรือ
มีความคิดท่ีผิดแปลกไปจากเด็กท่ัวไปหรือในแบบท่ีปกติ ซ่ึงอาจส่งผลให้เกิดการต่อต้านหรือการทํา
ร้ายร่างกายไม่ว่าจะเป็นท้ังต่อตัวเองและต่อผู้อ่ืน เป็นเหตุท่ีทําให้กระทบต่อการเรียนการสอนของเด็ก
เป็นอย่างมาก อาจทําให้เกิดความยากลําบากในการจัดระบบการศึกษาได้ เด็กท่ีอยู่ในสภาวะน้ีจะไม่
สามารถท่ีจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะกับท้ังครอบครัว เพื่อน
ครู หรือผู้คนรอบข้างเองก็ตาม หากเด็กในกลุ่มน้ีไม่ได้รับการดูแลหรือการพัฒนาท้ังทางด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญาท่ีเหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายได้ เช่น ปัญหา
การทําร้ายตัวเอง การทําร้ายคนรอบข้าง การใช้สารเสพติด หรือโดยเฉพาะอย่างย่ิง ปัญหาการฆ่า
ตัวตายซ่ึงถือเป็นปัญหาใหญ่ท่ีร้ายแรงท่ีสุด โดยจากสถิติ ผู้ท่ีฆ่าตัวตายจํานวนกว่าร้อยละ 95 น้ัน
ได้รับการตรวจพบว่ามีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ร่วมด้วย ดังน้ันการช่วยเหลือเด็กใน
กลุ่มเป้าหมายน้ี จึงจําเป็นท่ีจะต้องอาศัยการบูรณาวิธีการจากศาสตร์ต่าง ๆ ควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็น
ในเชิง บําบัด ป้องกัน หรือฟ้ นื ฟู เองก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางานมากย่ิงข้ึน และอัน
เน่ืองมาจากความยากในการคาดเดา การรับมือ และการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก จึง
เป็นสาเหตุท่ีทําให้สนใจเลือกกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ในการจัดทาํ รายงานในครง้ั น้ี

2. หัวขอ้ การเขียนรายงาน
2.1 กลุ่มท่เี ลือกจัดอยใู่ นกลมุ่ ใด
การจัดประเภทเดก็ พิเศษ แบ่งเดก็ ออกไดเ้ ป็น 3 กลมุ่ ประกอบไปดว้ ย
- Atypical Learners เป็นกลุ่มของเด็กพิเศษท่ีเก่ียวข้องกับเร่ืองของการเรียนรู้

และพัฒนาการในด้านสติปัญญา แบ่งเป็น กลุ่มท่ีเรียนรู้ช้า (Retarded, Slow learner) และกลุ่มท่ี
เรียนร้เู ร็ว (Gifted, Academically talented)

55

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

- Disturbed เป็นกลุ่มของเด็กพิเศษท่ีเก่ียวข้องกับเร่ืองของการปรับตัวในทาง
อารมณแ์ ละสังคมทไ่ี มด่ ี ซง่ึ จะส่งผลให้เกิดปญั หาท่นี าํ มาสู่การปรบั ตวั ทางสังคมของเดก็ เอง

- Physically Handicapped เป็นกลุ่มของเด็กพิเศษท่ีเก่ียวข้องกับความบกพร่อง
ทางด้านรา่ งกาย เชน่ ความพิการ การมองเหน็ การได้ยนิ ฯลฯ

โดยจากการจัดกลุ่มของเด็กพิเศษแบ่งเป็นประเภทต่างตามแบบข้างต้นน้ัน กลุ่มเป้าหมาย
เด็กท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ท่ีได้เลือกศึกษาในคร้ังน้ีน้ัน จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่ม
Disturbed ซ่ึงเป็นกลุ่มท่ีเก่ียวข้องกับเร่ืองของการปรับตัว เน่ืองจากเด็กในกลุ่มน้ีไม่สามารถท่ีจะ
ปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนในสังคมได้เป็นอย่างดี มีอารมณ์ท่ีโดดรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการมี
ภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล การมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การถอยหนี หรือ กลุ่มท่ีเป็น
Perfectionist ซ่ึงอาจเป็นปัญหาทําให้เกิดความไม่เข้าใจ และการหลีกเล่ียงสังคมข้ึนได้ เป็นเหตุท่ีย่ิง
จะทําให้เด็กในกลุ่มน้ีไม่สามารถท่ีจะเกิดการพั ฒนาในการปรับตัวเพ่ื ออยู่ร่วมกับคนอ่ืนในสั งคมได้
น่นั เอง

2.2 ข้อมลู เบอ้ื งต้นเพ่ือทําความเข้าใจกลมุ่ เป้าหมายท่เี ลอื ก
2.2.1 ลกั ษณะท่วั ไป สถานการณป์ ัญหา /ความต้องการ (ข้อมูล สถติ ิ ตัวเลขตา่ ง ๆ)
ลักษณะท่ัวไปของเด็กท่ีอยู่ในกลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะ

เป็นเด็กท่ีมีพฤติกรรมหรืออารมณ์ท่ีเบ่ียงเบนหรือผิดแปลกไปจากปกติเป็นอย่างมาก และเป็นไป
อย่างต่อเน่ือง ซ่ึงเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการ
รับรู้ อารมณ์ หรือความคิด อาจพบร่วมกับอาการจิต เช่น โรคทางจิตเภท โรคซึมเศร้า หรือ โรค
สมองเส่ือม เป็นต้น

ความบกพร่องทางอารมณ์ซ่ึงนําไปสู่ความบกพร่องทางพฤติกรรมท่ีเกิดข้ึนน้ัน
มีลักษณะท่ีหลากหลาย สามารถจําแนกได้เป็นระดับต้ังแต่เบา (Mild) ไปจนถึงรุนแรง (Severe)
นอกจากน้ีเด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหน่ึงลักษณะอีกด้วย ซ่ึงตัวอย่างของความ
บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ท่ีพบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล (Anxiety) ซ่ึงทําให้เด็กมี
นิสัยข้ีกลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (Depression) ท่ีส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น
ปัญหาทางสุขภาพ โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กน้ัน
สามารถจําแนกได้ตามกล่มุ อาการ ดังน้ี

- ปัญหาด้านความประพฤติ (Conduct Disorders) : การใช้กําลังทําร้าย
ผู้อ่ืน ทําลายข้าวของ ลักทรัพย์ มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น เกร้ียวกราด ชอบโทษผู้อ่ืน มักโกหกอยู่
เสมอ หนีเรยี น รวมถึงหนีออกจากบา้ น ใชส้ ารเสพตดิ หมกมนุ่ ในกิจกรรมทางเพศ ฯลฯ

- ปัญหาด้านความต้ังใจและสมาธิ (Attention and Concentration) :
มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดส่ิงหน่ึงในระยะส้ัน สมาธิส้ัน งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใด ๆ
ฯลฯ

- ภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และสมาธิสั้น (Attention Deficit) :
มลี ักษณะกระวนกระวาย อยไู่ ม่สุข

- การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal) : การหลีกเล่ียงการปฏิสัมพันธ์กับ
ผูอ้ น่ื และมกั รสู้ ึกวา่ ตนเองด้อยกว่าผ้อู ่นื เฉอ่ื ยชา ขาดความมน่ั ใจ ข้อี าย ข้กี ลวั

56

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

- ค ว า ม ผิ ด ป ก ติ ใ น ก า ร ทํ า ง า น ข อ ง ร่ า ง ก า ย ( Function Disorder) :
ความผิดปกติเก่ียวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) โรคอ้วน (Obesity) ความผิดปกติ
ของการขับถ่ายทง้ั อจุ จาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

- ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง : ขาดเหตุผลใน
การคิด อาการหลงผิด (Delusion) อาการประสาทหลอน (Hallucination) พฤติกรรมการทําร้าย
ตัวเอง

ท้ังน้ี การจะกําหนดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์น้ัน ไม่สามารถ
ใช้ได้กับเด็กท่ีมีปัญหาปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยากเพียงอย่างเดียวเท่าน้ัน แต่จะต้องได้รับการรับรอง
ว่าเป็นผลของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ด้วย โดยอาศัยการประเมินผลทางจิตวิทยา
และการสังเกตอย่างมีระบบ ซ่ึงความบกพร่องน้ี จะเป็นเหตุท่ีส่งผลต่อเด็กในด้านของประสิทธิภาพใน
การเรียนรู้ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเด็กกลุ่มน้ีจะไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่อย่างใดก็
ตาม เด็กยังสามารถท่ีจะเป็นผู้ท่ีมีผลการเรียนดีเย่ียมได้ เพียงแต่จําเป็นต้องได้รับการดูแลและ
ชว่ ยเหลอื เปน็ พิเศษเนอ่ื งจากไมส่ ามารถท่จี ะปรบั ตัวใหเ้ ขา้ กบั สภาพแวดลอ้ มรอบตวั ไดเ้ ป็นอย่างดี

ตามสถิติของประเทศไทย มีผู้เรียนท่ีมีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้และ
พฤติกรรมสูงถึง 254,576 คน ข้อมูลจากสํานักบริหารการศึกษาสํานักงานการศึกษาข้ันพื้นฐาน
(สพฐ.) ในปี พ.ศ. 2558 พบว่า มีจํานวนนักเรียนในระบบการศึกษาท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
กว่า 224,223 คน บกพร่องทางสติปัญญา 20,275 คน ออทิสติกถึง 4,518 คน และเด็กท่ีมีความ
บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์มากถึง 5,560 คน โดยในปัจจุบัน มีเด็กประมาณร้อยละ 6 ถึง
10 ของเด็กท่ีกําลังประสบภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ โดยในจํานวนดังกล่าว
จําเป็นท่ีจะต้องได้รับการศึกษาพิเศษ รวมไปถึงการได้รับบําบัดรักษาท่ีเหมาะสม การสอนในห้องเรียน
อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอท่ีจะทําลายข้อจํากัดในการเรียนรู้ของเด็กลงได้ อีกท้ังตัวเด็กยังอาจเป็นผู้
ขดั ขวางการเรยี นการสอนในหอ้ งเรยี นอกี ด้วย

ความสําคัญในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาเด็กในกลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางด้าน
พฤติกรรมและอารมณ์น้ัน หากได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วก็จะย่ิงก่อให้เกิดผลดีต่อตัวเด็กเอง
เน่ืองจากหากตรวจพบและส่งเด็กให้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็ย่อมท่ีจะเพ่ิ มโอกาส
ความสําเร็จในการท่ีเด็กจะหายขาดจากความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์อย่างท่ีเป็นอยู่น้ี
ดังน้ัน บุคคลท่ีเป็นบริบทแวดล้อมรอบข้างเด็ก อย่างเช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู จึงควรหม่ัน
สังเกตสัญญาณความผิดปกติท่ีเด็กอาจแสดงออกมา อย่างเช่น การมีนิสัยลักขโมย การโกหก
การใช้อารมณ์ หรือการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ท้ังต่อบุคคลอ่ืน สัตว์ หรือส่ิงของ รวมไปถึงการ
สังเกตพฤติกรรมการหมกมุ่นทางเพศท่ีไม่เหมาะสมด้วย และปัญหาการสูบบุหร่ีหรือการใช้สารเสพ
ติดในเด็กท่ีอาจเกิดข้ึนเม่ือเด็กเติบโตข้ึน หากเด็กมีพฤติกรรมด้านลบดังเช่นท่ีกล่าวไปน้ัน จึงไม่ควรท่ี
จะน่ิงนอนใจเป็นอย่างเด็ดขาด เพราะสัญญาณดังกล่าวบ่งบอกว่าเด็กควรได้รับการดูแลอย่างให้
ใกล้ชดิ มากย่งิ ขน้ึ กวา่ เดิม

2.2.2 บริการ สวัสดกิ ารต่าง ๆ ท่มี ีสําหรับกลมุ่ ดงั กล่าว (ในรปู แบบไหนบ้าง อย่างไร)
เน่ืองจากเด็กท่ีอยู่ในกลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ มีความ
เก่ียวพันกับอาการทางจิตเภท อาการซึมเศร้า และสุขภาพจิต ดังน้ัน บริการและสวัสดิการจึงเน้นไป

57

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ในทางการบําบัดและการใช้ยาเสียส่วนใหญ่ โดยการบําบัดในลักษณะเช่นน้ี ถือว่าเป็นวิธีการรักษา
โดยท่ัวไปสําหรับเด็กท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ซ่ึงจะเน้นไปท่ีการทพการบําบัดใน
หลากหลายรูปแบบร่วมกัน เช่น การทําครอบครัวบําบัด (Family Therapy) ซ่ึงเน้นการพู ดคุยกัน
ของสมาชิกในครอบครัว ในขณะท่ีการบําบัดทางปัญญาพฤติกรรม (Cognitive Behavior
Therapy) มุง่ ไปทก่ี ารเปล่ยี นแบบแผนความคดิ ของเดก็ นอกจากน้ี การเลน่ บําบดั (Play Therapy)
จะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกดีย่ิงข้ึน สําหรับการใช้ยาน้ันก็สามารถ
แก้ไขปัญหาความบกพร่องลักษณะต่าง ๆ ของเด็กได้ตามประเภทของยา ได้แก่ ยาต้านอาการ
ซึมเศร้า (Antidepressant) ยากระตุ้น (Stimulant) ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizer) และ
ยารักษาภาวะวิตกกังวล (Anti-anxiety Drug) เน่ืองจากอาการทางจิตเช่นน้ี จําเป็นท่ีจะต้องใช้ยา
เพ่ือบรรเทาความรุนแรงของการการลง ซ่ึงสามารถทําควบคู่กับการบําบัดโดยกิจกรรมด้วยได้
เพื่อให้เกิดประสิทธภิ าพมากย่งิ ข้นึ

นอกจากน้ัน การจัดการศึกษาในรูปแบบทางจิตวิทยาการศึกษาก็เป็นบริการอีกแบบท่ี
เด็กท่ีอยู่ในกลุ่มน้ีควรท่ีจะได้รับ ซ่ึงจากกรวิจัยทางการศึกษาพบว่า หากมีการจัดการศึกษาอย่าง
ถูกต้องและใช้การดูแลช่วยเหลือเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษในกลุ่มน้ีอย่าอย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ
น้ัน จะทําให้เด็กมีแนวโน้มท่ีจะเปล่ียนแปลงพฤติกรรมไปในทางท่ีดีข้ึน เช่นในเร่ืองของการส่งงาน ส่ง
งานได้ตรงเวลามีความรับผิดชอบมากข้ึน พฤติกรรมรบกวนในช้ันเรียนลดลงคิดเป็นร้อยละ 50 –
100 มีวินัยในตนเองเพิ่มข้ึนมาก ไม่หนีเรียน และแกล้งเพื่อนน้อยลง จากประสบการณ์และบันทึกของ
กรณีศึ กษาน้ีผู้วิจัยเห็นว่าการแก้ไขพฤติกรรมรบกวนของเด็กท่ีมีความต้องการพิ เศษกลุ่มน้ีต้อง
อาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้อง และท่ีสําคัญคือครูท่ีปรึกษาต้องรู้จักและเข้าใจพฤติกรรม
ของเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษอย่างชัดเจนและใช้ระบบดูแลช่วยเหลือเด็กท่ีอย่างใกล้ชิดและต่อเน่ือง
เพ่ือให้เด็กมีปรับปรุงตนเอง ตระหนักถึงคุณค่าและเป้าหมายในชีวิต และนําไปสู่การเปล่ียนแปลง
ในทางทด่ี ีข้นึ

2.2.3 บทบาทผู้เก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายท่ีเลือก (การป้องกัน ส่งเสริม
พัฒนา และ/หรือแกไ้ ขปญั หา)

การท่ีจะแก้ไขพฤติกรรมของเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษในกลุ่มน้ีน้ัน ต้องอาศัยความ
ร่วมมือกับหลายฝ่าย หลายภาคส่วน ตามท่ีได้กล่าวไปในข้างต้น โดยผู้ท่ีเก่ียวข้องอันดับแรก นับว่า
เป็นข้ันพื้ นฐานท่ีมีความสัมพั นธ์กับเด็กโดยตรงมากท่ีสุด คือ พ่ อแม่ ครอบครัว ผู้ปกครอง
หรือญาติพี่น้องท่ีมีความใกล้ชิดกับเด็ก ให้ช่วยทําหน้าท่ีในการสอดส่องดูแล สังเกตอารมณ์และ
พฤติกรรมของเด็ก เพ่ือให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากย่ิงข้ึน นอกจากน้ัน
อาชีพครูก็เป็นอีกอาชีพหน่ึงท่ีควรให้ความสําคัญกับเด็ก เน่ืองจากเป็นผู้ท่ีทําหน้าท่ีในการส่งเสริม
พัฒนา ส่ังสอนและมอบบทเรียนให้แก่เด็ก หากครูหรือผู้สอนไม่สามารถเข้าใจความต้องการท่ีเฉพาะ
ของเด็กได้ การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ก็จะไม่เกิดผล และไม่ประสบผลสําเร็จในการเรียนรู้ใน
ท้ายท่สี ุด

ท้ังน้ีหากพบเจอปัญหาท่ีเกิดข้ึนแล้วมองว่าการแก้ไขปัญหาน้ันเกินกว่าความสามารถ
ของตนเองท่จี ะรับมือได้ ให้รบี ส่งต่อใหล้ กู ไดเ้ ข้าพบกับหมอหรือจติ แพทย์เดก็ นักจติ วทิ ยาคลินิก หรือ
นักกิจกรรมบําบัด เพ่ือให้ทําหน้าท่ีในการประเมินและบําบัดรักษาต่อไป หากเด็กไม่ได้รับการตรวจ

58

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

ต้ังแต่เร่ิมแรกและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ก็
อาจลุกลามกลายเป็นปัญหาเร้ือรังติดตัวและกลายเป็นปัญหาร้ายแรงเม่ือเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่
โดยเฉพาะอย่างย่ิงการพฤติกรรมก้าวร้าวและการฆ่าตัวตาย นอกจากบุคลากรทางการแพทย์แล้วนัก
สังคมสงเคราะห์ก็เป็นอีกบทบาทหน่ึงท่ีมีความสําคัญในการช่วยป้องกัน ส่งเสริม หรือพัฒนา
ศักยภาพของเด็กในกลุ่มน้ี เน่ืองจากเป็นอีกวิชาชีพหน่ึงท่ีทํางานร่วมกับเด็กโดยตรง และโดยเฉพาะ
อย่างย่งิ กลุ่มเด็กทต่ี ้องการการผลักดันสวสั ดกิ ารชว่ ยเหลือต่าง ๆ เช่นน้ี

59

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ศศิภา แยม้ บบุ ผา 6105680919

กลุ่มเปา้ หมาย : เดก็ ทม่ี คี วามบกพร่องทางการเรยี นรู้ (Specific Learning Disorder)
ข้าพเจ้ามีความสนใจท่ีจะศึกษาเด็กพิเศษกลุ่ม Atypical Learners ในส่วนของกลุ่มความ
บกพร่องทางการเรียนรู้ เน่ืองจากในปัจจุบันเด็กส่วนมากประสบปัญหาความบกพร่องทางการเรียนรู้
เป็นจํานวนมากและเป็นความบกพร่องท่ีส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเด็กเป็นอย่าง
มากหากไมไ่ ด้รับการดแู ลชว่ ยเหลือและจดั การเรยี นการสอนท่เี หมาะสม
เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Specific Learning Disorder) หรือ LD จัดอยู่ใน
กลุ่ม Atypical Learners เน่ืองจากเป็นความบกพร่องในด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ โดยกรม
สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2545) กล่าวว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning
disabilities หรือ LD) เป็นความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ท่ีแสดงออกมาในรูปของปัญหาการ
อ่าน การเขียน การสะกดคํา การคํานวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทํางานท่ีผิดปกติ
ของสมอง ทําให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนต่ํากว่าท่ีควรจะเป็น พิจารณาจากผลการเรียนเปรียบเทียบ
กับระดับเชาวน์ปญั ญา
ผดุง อารยะวิญkู (2542, หน้า 23-33) และศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ (2543, หน้า 25-30)
สามารถการแบง่ ความบกพรอ่ งทางการเรียนรไู้ ด้เป็น 4 ลกั ษณะดงั น้ี

1. กลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia) ความบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia)

เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ท่ีพบมากท่ีสุดโดยปกติความสามารถในการอ่านต้องอาศัย
ความต่อเน่ืองของส่ิงต่าง ๆ ได้แก่ การมุ่งความสนใจไปยังสิ่งท่ีจะอ่านและมีการเคล่ือนไหว
สายตาตามหน้ากระดาษและตามสิ่งท่ีอ่านการจดจําตัวอักษรท่ีเป็นตัวแทนของเสียงน้ัน ๆ
ได้การเข้าใจคําศัพท์และไวยากรณ์ การรวบรวมคําศัพท์และความทรงจําและถ่ายทอดออกมา
แต่เด็กท่ีมีปัญหาทางด้านการอ่านจะมีความบกพร่องในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวน่ันคือเด็กจะ
ไม่สามารถจําแนกตัวอักษรท่ีคล้ายกันได้ในขณะอ่านซ่ึงเกิดจากการทํางานของสมองท่ี
เก่ียวกับการมองเห็น (visual Processing) ผิดปกติทําให้ความสามารถในการจําแนกเสียงท่ี
คล้ายคลึงกัน (Phonological Awareness) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าท่ีควร ไม่สามารถสะกดคํา
ได้ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง ทําให้เกิดความยากลําบากในการอ่าน เช่น ในการอ่านคําแต่ละคํา
จะต้องสะกดคําจึงจะอ่านได้ อ่านออกเสียงได้ไม่ชัดเจน เกิดความไม่ระมัดระวังในการอ่าน เช่น
การคาดเอาตัวอักษรตัวแรกของคําเพียงอย่างเดียว อ่านคําผิดหรือสลับตําแหน่งประโยค
อ่านข้าม อ่านเพิ่มคํา ไม่สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้อย่างถูกต้อง จําคําศัพท์ได้จํากัด
อธิบายความหมายของคําท่ีอ่านไม่ได้ จับใจความสําคัญและเรียบเรียงเล่าเร่ืองท่ีอ่านไม่ได้
รวมไปถึงปัญหาการวิเคราะห์คําการเข้าใจความหมายของส่ิงท่ีอ่านท้ังท่ีเป็นคําและประโยค
ส่งผลให้เด็กไม่สามารถตคี วามหมายและทาํ ความเขา้ ใจในเร่อื งท่อี า่ นได้

2. กลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางด้านการเขียน (Dysgraphia) เป็นความบกพร่องท่ีแสดงออก

ให้ทราบถึงกระบวนการคิดท่ีอยู่ภายในซ่ึงจําเป็นต้องอาศัยกลไกการทํางานของสมองท่ี
ซับซ้อนเพื่ อเช่ือมโยงข้อมูลหลายส่ วนประกอบกันโดยแต่ละกลไกก็จะมีส่ วนของสมองท่ีทํา
หน้าท่ีเก่ียวข้องกับกลไกน้ัน ๆ ประสานงานอยู่และเรียกการทํางานของสมองในส่วนน้ีว่าการ

60

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ทํางานแบบ Higher Cortical Function กล่าวคือในข้ันแรกเด็กจะต้องรวบรวมส่ิงท่ีเขียน
เป็นความคิดรวบยอดแล้วนําสิ่งท่ีคิดไว้ไปเช่ือมโยงกับอักษรซ่ึงเป็นสิ่งท่ีเคยเรียนรู้มาก่อน
ต้ อ ง มี ก า ร จั ด ลํ า ดั บ ตํ า แ ห น่ ง ข อ ง ตั ว อั ก ษ ร แ ล ะ คํ า อ ย่ า ง ถู ก ต้ อ ง ใ น ข้ั น ต อ น น้ี ต้ อ ง อ า ศั ย
กระบวนการท่ีเรียกว่า Visual Processing ต่อมาจึงนําตัวอักษรหรือคําท่ีเรียบเรียงไว้แล้วมา
ถ่ายทอดลงบนกระดาษโดยอาศัยการเคล่ือนไหวของกล้ามเน้ือเรียบเอ็นและข้อต่อต่าง ๆ
ซ่ึงเรียกว่าการเคล่ือนไหวแบบ Kinetic Melody กระบวนการท่ีใช้ในการเขียนท้ังหมดจึงเป็น
การทํางานท่ีซับซ้อนของสมองดังน้ันเด็กท่ีมีปัญหาด้านการเขียนจึงมักจะเขียนตัวอักษรหรือ
คําสลับท่ีเขียนตัวอักษรผิดรูปแบบสะกดคําไม่ถูกต้องเว้นวรรคไม่ถูกต้องเขียนผิดไวยากรณ์
คัดลอกขา้ จบั ดินสองุ่มง่ามไมถ่ นดั และลายมอื ไม่ดี

3. กลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางด้านการคํานวณ (Dyscalculia) จัดเป็นความบกพร่องท่ี

เก่ียวกับความสามารถทางด้านการคํานวณ ได้แก่ การจดจําตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ความเข้าใจเก่ียวกับการวัดปริมาณระยะทางเวลาและหน่วยของเงินตราเด็กท่ีมีความบกพร่อง
ทางด้านการคํานวณมักจะไม่เข้าใจค่าของตัวเลขต้ังแต่หลักหน่วยสิบร้อยพันหม่ืนเร่ือย ๆ
ไปนับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้คํานวณบวกลบคูณหารด้วยการนับน้ิวจําสูตรคูณไม่ได้
เขียนเลขกลับกันมีความลําบากในการตีโจทย์ปัญหาหรืออ่านตัวเลขหลายตัวไม่เข้าใจเร่ือง
เวลาความคิดรวบยอดเก่ียวกับระยะทางและความคิดเชิงปริมาณกลุ่มท่ีมีความบกพร่อง
ทางดา้ นการคํานวณ

4. ความบกพร่องท่ีไม่เฉพาะเจาะจงความบกพร่องท่ีไม่เฉพาะเจาะจง (Learning Disorder

Not Otherwise Specified) ความบกพร่องทางการเรียนรู้ประเภทอ่ืน ๆ ท่ีไม่เข้าเกณฑ์
ของความบกพร่องทางการอ่านการเขียนและการคํานวณซ่ึงอาจจะหมายรวมถึงความ
บกพร่องท้ัง 3 ประเภทเกิดร่วมกันหรือความบกพร่องท่ีไม่ได้ต่ํากว่าเกณฑ์มากนักความ
บกพร่องอน่ื ๆ ท่พี บรว่ มกบั ความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ ได้แก่

4.1 ความบกพร่องทางด้านสมาธิ (Attention Disorders) เป็นปัญหาท่ีพบร่วมกับ
ภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้บ่อย แต่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาสําหรับผู้ท่ีมีความ
บกพร่องของสหรัฐอเมริกาไม่ได้กําหนดให้เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ท้ังน้ีการวินิจฉัย
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและความบกพร่องด้านสมาธิมีความชัดเจนและ
แยกขาดจากกันเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมกับความบกพร่องทางสมาธิจะไม่
สามารถจดจ่อและสนใจกับสิ่งท่ีจะต้องเรียนรู้บางคนหุนหันพลันแล่นอดทนรออะไรไม่ได้ขอบ
ขัดจงั หวะเวลาคนอน่ื พูดทําให้เกิดปญั หาทางพฤตกิ รรมในหอ้ งเรียนกับเพื่อนและครู

4.2 ความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร (Communication Disorders) เป็นตัว
บ่งช้ีแรกเร่ิมท่ีสุดของความบกพร่องทางการเรียนรู้บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการพู ดและ
ภาษาจะมีความยากลําบากในการออกเสียงพู ดการใช้ภาษาพู ดเพ่ือสื่อสารหรือการเข้าใจสิ่งท่ี
ผู้อน่ื พูดโดยมลี กั ษณะของปญั หาคือ

4.2.1 ความบกพร่องทางด้านการแสดงออกด้วยภาษาจะเป็นปัญหาในด้านการ
ถ่ายทอดความร้สู ึกนึกคิดออกมาด้วยการพูดเชน่ เด็กบางคนเรยี กชอ่ื ส่ิงต่าง ๆ ผิด

61

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

4.2.2 ความบกพร่องทางด้านการรับรู้ภาษาและการแสดงออกจะเป็นปัญหาเก่ียวกับ
การทําความเข้าใจในคําพูดในบางแง่หรือบางดา้ นเช่นคนงานที่ไม่สามารถปฏบิ ัตติ ามคาํ สั่งงา่ ย
ๆ ได้ซ่ึงคนเหล่าน้ีมีการได้ยินปกติเพียง แต่เขาไม่สามารถจะทําความเข้าใจกับเสียงกับคําหรือ
กบั ประโยคนางประโยคท่เี ขาไดย้ นิ

4.2.3 ความบกพร่องทางด้านการออกเสียงเป็นปัญหาในการควบคุมอัตราการพู ด
ของตนเองหรืออาจมีช่วงห่างของพัฒนาการด้านการเรียนรู้ท่ีจะออกเสียงพู ดล้าหลังจาก
เพื่อนในวยั เดยี วกนั
สถานการณ์ปัญหาท่ีพบ เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้หากไม่ได้รับการดูแลอย่าง
เหมาะสมและมักประสบปัญหาอุปสรรคในด้านการเรียน เรียนช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ตามเพ่ือนไม่ทัน
มีปัญหาในการเรียนและการทํากิจกรรมท่ีได้รับมอบหมาย มักสูญเสียความม่ันใจ ความภาคภูมิใจใน
การเรียน อาจเกิดการตําหนิ ดูถูก จากท้ังตนเองและบุคคลรอบข้าง เช่น เพ่ื อน ผู้ปกครอง
และ คุณครู เน่ืองจากความไม่เข้าใจในความบกพร่องและไม่รู้วิธีในการดูแลจัดการเรียนการสอน จึง
หันไปเอาดีในด้านอ่ืนทดแทนท้ังในด้านดี เช่น ด้านดนตรี กีฬา หรือศิลปะ และทางลบเช่น การฝ่าฝืน
กฎระเบียบ หนีเรียน ชกต่อย ติดเกม ติดสารเสพติด เป็นต้น นอกจากน้ันยังส่งผลกระทบต่อปัญหา
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เน่ืองจากพ่อแม่ไม่เข้าใจในข้อจํากัดของเด็ก มีความคาดหวังว่าเด็ก
น่าจะเรยี นหนังสือได้ แต่เมอ่ื เดก็ ไมส่ ามารถทาํ ในส่ิงทค่ี าดหวังได้ก็ทําให้พ่อแม่ตําหนิ กดดนั และบงั คับ
เค่ียวเข็ญเพิ่มข้ึน และความสัมพันธ์ภายนอกครอบครัว เช่น ครู เน่ืองจากครูไม่เข้าใจข้อจํากัดของ
เด็ก จัดการเรียนการสอนและการสอบตามแบบปกติ เม่ือเด็กไม่สามารถทําตามมาตรฐานได้ก็ย่ิงทํา
ให้ครูตําหนิ กดดัน และเค่ียวเข็ญมากย่ิงข้ึน และในความสัมพันธ์กับเพื่อน เด็กมักถูกล้อเลียนในเร่ือง
ของการเรียน ซ่ึงส่งผลให้เด็กเกิดความอับอาย เสียความม่ันใจ หรือหันไปแสดงออกทางลบ
เช่น การชกต่อย แกล้งเพื่อน จนทําให้ไม่ได้รับการยอมรับจากเพ่ือน และจากอุปสรรคในการเรียนรู้จะ
ทําใหเ้ ด็กขาดความรแู้ ละทักษะ พัฒนาการท่คี วรได้รับตามช่วงวัยทเ่ี หมาะสม
ในส่วนของการส่งเสริมบริการและสวัสดิการของกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ในด้านการศึกษาน้ันมีการจัดบริการและสวัสดิการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542 ยกตัวอย่างเช่น
1. มีการจัดสวัสดิการส่งเสริมการเรียนโดยอํานวยความสะดวกแก่เด็กท่ีมีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ เช่นการจัดทําแผนการสอนเฉพาะบุคคล การอํานวยความสะดวกในด้าน
อุปกรณ์การเรียนการสอน ส่ือ อิเล็กทรอนิกส์ สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาท่ีมีความ
เหมาะสมอํานวยความสะดวก และมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริม
การเรยี นร้ใู หเ้ หมาะสมกบั เดก็ แต่ละบุคคลตามความตอ้ งการเฉพาะ
2. แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP) เป็นแผนท่ีเกิดจากกระบวนการประชุม
กันระหว่างครอบครัวของเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษและนักวิชาชีพ เพ่ือวางแผนการให้การ
พั ฒนาเด็กท่ีมีความต้องการพิ เศษโดยครอบครัว แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะ
ครอบครัวน้ีใช้สําหรับเด็กต้ังแต่แรกเกิดถึง 3 ปี เป็นส่วนหน่ึงของกฎหมายด้านการศึกษา
พิ เศษ โดยมีหลักการสําคัญในการเอ้ืออํานวยให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่าง
ครอบครัวและบคุ ลากรทเ่ี ก่ยี วข้อง

62

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

3. การจัดทําแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนกําหนดแนวทางการจัดการศึกษาท่ี
สอดคล้องกับความจําเป็นพิเศษของบุคคลพิการแต่ละบุคคล รวมไปถึงกําหนดสิ่งอํานวย
ความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออ่ืน ๆ ทางการศึกษาให้เป็นเฉพาะบุคคล
โดยท่ัวไปจะจัดให้กับเด็กท่ีมีอายุต้ังแต่ 3 ปีข้ึนไปโดยมีจุดประสงค์ในการสอนท่ีหลากหลาย
แตกต่างไปตามความเฉพาะของบุคคล มีการเร่ิมต้นในหลักสูตรท่ีไม่เท่ากัน อัตราความเร็วและ
ระยะเวลาการสอนไม่ตายตัว ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีการจัดกลุ่มการเรียนการ
สอนท่ีแตกต่างหลากหลายข้ึนอยู่กับลักษณะเน้ือหางานหรือลักษณะทักษะ และมีการประเมิน
ผู้เรียนโดยใช้ระบบอิงเกณฑ์ IEPเป็นเคร่ืองมือในการจัดการกับกระบวนการตรวจสอบและ
กระบวนการสอนท้ังหมด เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาให้กับเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษหรือ
เด็กท่ีมีความบกพร่องอย่างเหมาะสมกับความต้องการพิ เศษทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละ
บุคคล โดยมีการกําหนดการให้บริการทางการศึกษาพิเศษและมีการดําเนินการควบคุม
ติดตามผลการให้บริการ

บทบาทของผู้เก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในการ
ทํางานกับกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้น้ันมีรูปแบบการทํางานแบบสหวิชาชีพ โดยมี
ผู้เก่ียวข้อง เช่น นักจิตวิทยา นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ ครู เป็นต้น โดยบทบาทของสห
วิชาชีพในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปในรูปแบบของการจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กท่ีมี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยจะต้องมีการประเมินแยกแยะระดับความผิดปกติด้วยการทําการ
ทดสอบโดยนักจิตวิทยา และมีการจัดทําแผนการเรียนการสอน การดูแลเฉพาะด้าน โดยเป็นการ
ประชุมร่วมกันระหว่าง นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักการศึกษา ครู รวมไปถึงครอบครัวเด็ก
เพ่ือให้ทุกฝ่ายเข้าใจความบกพร่องทางการเรียนรู้และเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก และเพื่อออกแบบ
รู ป แ บ บ ก า ร ส อ น ท่ี เ ห ม า ะ ส ม กั บ เ ด็ ก เ ป็ น ร า ย บุ ค ค ล เ พื่ อ ใ ห้ เ กิ ด ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ แ ล ะ ส า ม า ร ถ ส่ ง เ ส ริ ม
พัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง นอกจากน้ันนักสังคมสงเคราะห์ยังมีบทบาทในการเตรียมความ
พร้อมของเด็ก ผู้ปกครองและคุณครู รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และสังคมรอบตัวเด็กให้
เอ้ืออํานวยต่อการพัฒนาของเด็กอย่างรอบด้าน และเป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงเรียน องค์กร
ชุมชนในการทํางานและมีการนําทรัพยากรภายในและภายนอกโรงเรียนและครอบครัวมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด และในส่วนของการเรียนการสอนน้ันต้องอาศัยครูซ่ึงมีบทบาทสําคัญในการ
พัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ท่ีเหมาะสมกับตัวเด็กและ
เปน็ การส่งเสรมิ การเรยี นรู้ของเด็กให้เกิดผลสัมฤทธ์ิ

63

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563

ศศิกานต์ โคว้ วิลัยแสง 6105680927

กลุ่มเป้าหมายท่ีสนใจ : คนพิการทางการมองเห็น ความพิการน้ีอยู่ในกลุ่มของ Physically
Handicapped หรือ ความพิการทางกาย ขอ้ มลู เบ้อื งตน้ ของกล่มุ เปา้ หมายนค้ี อื

ในทางการแพทย์ คนทบ่ี กพรอ่ ง ทางการมองเห็น หรอื ทเ่ี รียกวา่ คนตาบอด หมายถึงผทู้ ่มี อง
ไม่เห็น หรือ พอเห็นเห็นแสง เห็นเลือนราง และมีความบกพร่องทางสายตา ท้ังสองข้าง โดยมี
ความสามารถในการมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนปกติ หลังจากท่ีได้รับการรักษาและแก้ไขทางการ
แพทย์ หรือมีลานสายตา กวา้ งไมเ่ กิน30 องศา โดยแบ่งเปน็ 2 ประเภท ดังน้ี

1. ตาบอดสนิท หมายถึง คนท่ีไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นได้บ้างไม่มากนัก
ไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ ในการเรียน การสอน หรือทํากิจกรรมได้
ต้องใช้ประสาทสัมผัส อ่ืนแทนในการเรียนรู้ และหากมีการทดสอบสายตาประเภทน้ี อาจพบว่าสายตา
ข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/20 หรือน้อยกว่าน้ัน และมีลานสายตา โดยเฉล่ียอย่างสูงสุดจะ
แคบกว่า 5 องศา

2. ตาบอดไม่สนิท หรือบอดเพียงบางส่วน สายตาเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่องทาง
สายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติ เม่ือทดสอบสายตาประเภทน้ี จะมีสายตาข้างดี
สามารถมองเหน็ ไดใ้ นระยะ 20/60 หรือนอ้ ยกวา่ นั้น และมีลานสายตา โดยเฉลี่ย อยา่ งสูงสุด จะกว้าง
สูงสุดไมเ่ กิน 30 องศา

ในปี พ.ศ. 2563 กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์รายงานสถานการณ์ด้าน
คนพิการในประเทศไทยพบว่าคนพิการท่ีได้รับการออกบัตรประจําตัวคนพิการ จํานวน 2,076,313 คน
(ร้อยละ 3.12 ของประชากรท้ังประเทศ) เป็นคนพิการ เพศชาย จํานวน 1,083,556 (ร้อยละ 52.19)
และเพศหญิง จํานวน 992,757 คน (ร้อยละ 47.81) มีผู้พิการทางการเห็นมากเป็นลําดับท่ี 3 จํานวน
191,020 คน (ร้อยละ 9.20)

สวัสดิการท่ีมีต่อกลุ่มผู้พิการทางการเห็น อย่างแรกผู้พิการทุกคนต้องทําบัตรประจําตัวคน
พิการ(บัตรประจําตัวมีอายุหกปีนับแต่วันออกบัตร ) สําหรับคนพิการในกรุงเทพมหานครให้ย่ืนคําขอ
ต่อเลขาธิการสํานักทะเบียนกลาง สําหรับจังหวัดอ่ืนให้ย่ืนต่อสํานักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคง
ของมนุษย์จังหวัดซ่ึงเป็นสํานักงานทะเบียนจังหวัด โดยมีพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
จังหวัดเป็นนายทะเบียนจังหวัด กรณีท่ีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้
ความสามารถ หรือในกรณีท่ีคนพิการมีสภาพความพิการถึงข้ันไม่สามารถไปย่ืนคําขอด้วยตนเอง
ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะย่ืนคําขอแทนก็ได้ แต่ต้องนํา
หลกั ฐานวา่ เป็นคนพิการไปแสดงตอ่ นายทะเบียนกลางหรือนายทะเบยี นจงั หวัด แลว้ แตก่ รณี

คนพิการน้ันจะมีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ Convention on the Rights of Persons
with Disabilities ( CRPD ) เป็นการเคารพในศักด์ิศรีท่ีมีมาแต่กําเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเอง การมี
เสรีภาพในการตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล การไม่เลือกปฏิบัติ การเข้ามี
ส่วนร่วมในสังคม การเคารพความแตกต่าง ความเท่าเทียมกันในโอกาส ความสามารถในการเขา้ ถงึ

64

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

สิทธิคนพิการ ได้แก่ สิทธิความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิการมีชีวิต เสรีภาพ
และความม่ันคงของบุคคล สิทธิท่ีได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถตามกฎหมายบนพื้นฐานอันเท่า
เทียมกัน เสรีภาพจากการถูกทรมาน เสรีภาพจากการแสวงหาประโยชน์ การใช้ความรุนแรงและการ
ถูกล่อลวง สิทธิท่ีจะได้รับการเคารพต่อศักด์ิศรีทางร่างกายและจิตใจ สิทธิในการอาศัยอยู่ในชุมชน
เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น สิทธิการเคารพการเป็นส่วนตัว สิทธิการเคารพใน
การสร้างครอบครัว สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิทางการศึกษา สิทธิด้านการทํางาน สิทธิสําหรับมาตรฐาน
ความเปน็ อยู่ท่พี อเพียง

การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการ หมายถึง ความแตกต่าง การกีดกัน หรือการ
จํากัดบนพื้นฐานของความพิการ ซ่ึงมีวัตถุประสงค์หรือส่งผลให้เป็นการเสื่อมเสียหรือทําให้ไร้ผลซ่ึง
การยอมรบั การอปุ โภค หรือการใชส้ ิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขน้ั พื้นฐานท้งั ปวงบนพ้ืนฐานท่เี ทา่ เทยี ม
กับบุคคลอ่ืนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นพลเมืองหรือด้านอ่ืน รวมถึง
การปฏิบตั ใิ นทกุ รูปแบบ รวมทง้ั การปฏเิ สธการช่วยเหลือทส่ี มเหตสุ มผล

ในสิทธิทางการศึกษา
1. สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจําเป็น ให้ถือเป็นการ
เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย และให้สถานศึกษามีหน้าท่ีจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานสําหรับ
คนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานน้ั โดยไม่เกบ็ ค่าใชจ้ ่าย
2. กําหนดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาข้ันพื้นฐานและการศึกษา
ปฐมวัยรวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีท่ีรัฐต้องจัดให้อย่างท่ัวถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
แต่การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลท่ีมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การส่ือสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซ่ึงไม่สามารถพึงตนเองได้
หรือไม่มีผดู้ แู ลหรือด้อยโอกาส ต้องจดั ใหม้ ีสิทธแิ ละโอกาสได้รบั การศึกษาข้นั พ้ืนฐานเป็นพิเศษ
3. คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายต้ังแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจน
ตลอดชีวิต พร้อมท้ังได้รับเทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก ส่ือ บริการและความช่วยเหลืออ่ืนใดทาง
การศึกษา เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคํานึงถึง
ความสามารถ ความสนใจ ความถนดั และความต้องการจําเป็นพิเศษของบคุ คลน้นั
4. ได้รับการศึกษาทม่ี ีมาตรฐานและประกันคณุ ภาพการศึกษา
5. ให้สถานศึกษาและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสําหรับคนพิการท้ัง
ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบท่ีหลากหลายท้ังการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะ
ความพิการ
6. การจัดทําหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผล
การศึกษาให้ดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท
ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามท่ีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐานกําหนด หรือ
สถานศึกษาเห็นสมควร
7. จดั ให้มีการบรกิ ารสําหรับคนพิการซง่ึ มีอปุ สรรคในการเดินทางคนพิการ
8. สถานศึกษาท้ังอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาท่ีรับคนพิการเข้าศึกษา มีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน
คา่ บํารงุ คา่ ธรรมเนียม และคา่ ใช้จ่ายอ่นื ๆ ตามจาํ นวนเงนิ ท่ตี อ้ งเรียกเก็บจากนกั ศึกษาพิการ

65

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

คนพิการมีสวัสดิการการช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายว่าต่างแก้ต่างคดี คน
พิการจะได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายในเร่ืองต่างๆ ดังน้ี การให้คําปรึกษาหารือทางกฎหมาย การ
ให้ความรู้ทางกฎหมาย การจัดทํานิติกรรมสัญญา การไกล่เกล่ียหรือการประนีประนอมยอมความ
การจัดหาทนายความ และการให้ความช่วยเหลืออ่ืนในทางคดี คนพิการสามารถย่ืนคําขอรับความ
ช่วยเหลือเป็นหนังสือ หรือด้วยวาจา หรือส่งทางไปรษณีย์ เพื่อขอรับความช่วยเหลือในคดีต่างๆ
ได้แก่คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีแรงงาน และคดีทรัพย์สินทางปัญญา สถานท่ีย่ืนคําขอใน
กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งหรือย่ืนต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือสถานท่ีอ่ืนท่ีอธิบดีกรม
พัฒนาสังคมและสวัสดิการกําหนด ส่วนในท้องท่ีจังหวัดอ่ืนให้แจ้งหรือย่ืนต่อสํานักงานพัฒนาสังคม
แ ล ะ ค ว า ม ม่ั น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์ จั ง ห วั ด ห รื อ ท่ี ห น่ ว ย บ ริ ก า ร ใ น พื้ น ท่ี ต า ม ท่ี ผู้ ว่ า ร า ช ก า ร จั ง ห วั ด กํ า ห น ด
ค่าใช้จ่ายท่ีจะได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ การวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ค่าจ้างทนายความเพื่อแก้
ต่างคดี การวางเงินเป็นหลักประกันในการปล่อยตัวช่ัวคราว และค่าใช้จ่ายอ่ืน ๆ ท่ีเก่ียวข้อง โดยอาจ
ได้รับความชว่ ยเหลอื เตม็ จํานวนหรอื บางส่วนกไ็ ด้

สําหรับเบ้ียคนพิการน้ัน กําหนดให้คนพิการท่ีมีสิทธิได้รับเบ้ียความพิการต้องมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังน้ี มีสัญชาติไทย มีบัตรประจําตัวคนพิการ มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตพื้นท่ี
องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินตามทะเบียนบ้าน ไม่เป็นบุคคลซ่ึงอยู่ในความอุปการะของสถาน
สงเคราะห์ หรือถูกขังในเรือนจําตามหมายจําคุกโดยคําพิพากษาถึงท่ีสุดให้จําคุก โดยไม่ตัดสิทธิคน
พิการท่ีได้รับสิทธิตามท่ีบัญญัติไว้ในกฎหมายหรือระเบียบอ่ืน คนพิการจะต้องลงทะเบียนและย่ืนคํา
ขอรับเบ้ียคนพิการต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน หรือสถานท่ีอ่ืนตามท่ีผู้บริหารท้องถ่ินประกาศ
กําหนด การจ่ายค่าเบ้ียความพิการให้จ่ายได้ในอัตราเดือนละ 500 บาท ( ห้าร้อยบาทถ้วน ) โดยให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ เป็นผู้จา่ ยให้แก่ผู้มสี ิทธเิ ปน็ รายเดอื นภายในวนั ท่สี ิบของทกุ เดือน

นอกจากน้ียังมี กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในสํานักงานส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งชาติใช้เพ่ือเป็นค่าใช้จ่ายเก่ียวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการ การส่งเสริมและการดําเนินงานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการ การฟ้ นื ฟูสมรรถภาพคน
พิการ การศึกษาและการประกอบอาชีพคนพิการ รวมท้ังการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน
ขององค์กรท่ีเก่ียวข้องกับคนพิการ โดยจัดสรรให้อย่างเป็นธรรมและท่ัวถึง คนพิการหรือผู้ดูแลคน
พิการสามารถกู้ยืมเงินทุนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพไม่เกินรายละ
40,000 บาท ( สี่หม่ืนบาทถ้วน ) หรือกู้ยืมรายกลุ่มๆ ละไม่เกิน 1,000,000 บาท ( หน่ึงล้านบาท
ถว้ น ) โดยผอ่ นชําระภายใน 5 ปี โดยไม่มีดอกเบย้ี

สิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากส่ิงอํานวยความสะดวก สวัสดิการและความช่วยเหลืออ่ืนจาก
รัฐ

1. การบริการฟ้ ืนฟู สมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการ
รักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เคร่ืองช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทาง
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมพฤตกิ รรม สตปิ ญั ญา การเรยี นรู้ หรอื เสริมสร้างสมรรถภาพให้ดขี น้ึ

2. การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความ
เหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาท่ัวไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอก

66

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ระบบโดยให้หน่วยงานท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับสิ่งอํานวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออ่ืนใด
ทางการศึกษาตามความเหมาะสม

3. การฟ้ ืนฟู สมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการท่ีมีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน
มาตรการเพื่อการมีงานทํา การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และการบริการสื่อ สิงอํานวยความ
สะดวกเทคโนโลยหี รอื ความชว่ ยเหลอื อ่นื ใด เพื่อการทาํ งานและประกอบอาชพี ของคนพิการ

4. การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มท่ีและ
มีประสิทธิภาพแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลท่ัวไป และได้รับสิ่งอํานวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ
ทจ่ี ําเป็น

5. การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมการพัฒนาและบริการอัน
เป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ท่ีมีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัด
ทนายความว่าต่างแกต้ ่างคดี

6. ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
และเทคโนโลยสี ่ิงอาํ นวยความอาํ นวยความสะดวดเพ่ือการสื่อสาร

7. สิทธิท่ีจะนําสัตว์นําทาง เคร่ืองมือหรืออุปกรณ์นําทาง หรือเคร่ืองช่วยความพิการใด ๆ
ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานท่ีใดๆ เพ่ือประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอํานวยความ
สะดวกอันเป็นสาธารณะโดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่มเติมสําหรับสัตว์
เคร่อื งมืออปุ กรณ์ หรือเคร่อื งช่วยความพิการ

8. การจดั สวัสดกิ ารเบย้ี ความพิการ
9. การปรับสภาพแวดลอ้ มทอ่ี ยอู่ าศัย การมีผชู้ ่วยคนพิการหรอื การจดั ใหม้ ีสวัสดกิ ารอ่นื
จากด้านบนจะเห็นได้ว่าบทบาทผู้เก่ียวข้องกับการทํางานกับผู้บกพร่องทางการเห็น ได้แก่
กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน กองทุนส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในสํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแห่งชาติ เป็นต้น อาจทํา
หน้าท่ีแยกกันหรือประสานกันเพื่อการปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาคนพิการ เช่น กรม
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทําหน้าท่ีให้ความช่วยเหลือกู้ยืมเงินเพื่อประกอบวิชาชีพ
ให้เงินสงเคราะห์คนพิการ บริการผู้ช่วยคนพิการ บริการล่ามภาษามือ ลดหย่อนภาษีคนพิการ การทํา
บตั รประจําตวั คนพิการ เป็นต้น

67

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผูส้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รตมิ า แก้วจ้อน 6105681420

Dyslexia
กลุ่มเด็กDyslexia เป็นเด็กพิ เศษประเภทท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Atypical

Learners)ซ่ึงดิฉันไม่ได้รู้จักเด็กDyslexiaเลยเม่ืออ่านบทความเก่ียวกับเดกกลุ่มน้ีแล้วทําให้คิดในใจ
ว่า ปกติเด็ก ๆ ในช่วงวัยกําลังเรียนรู้ก็มีการพูดกลับกันไปมาเช่นพูดแม่เป็นพ่อ พูดพ่อเป็นแม่ พูด ร
เป็น ย เป็นต้นแล้วเม่ือโตข้ึนเด็ก ๆ ก็จะสามารถพู ดและเรียนรู้ได้ปกติ ดิฉันไม่เคยคิดเลยว่าจะมีเด็ก
กลุ่มหน่ึงท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ท่ีไม่สามารท่ีจะอ่านหรือคํานวณเหมือนเด็กท่ัวไปได้ ซ่ึงหาก
มองภายนอกเด็กกลุ่มน้ีจะถูกมองว่าเป็นเด็กท่ีเรียนไม่เก่งได้แต่แท้จริงแล้วเด็กพวกน้ีมีอาการ
ผิดปกติน่ันเอง ซ่ึงเด็กกลุ่มน้ีก็สามารถท่ีจะหายเป็นปกติได้หากมีการเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ีถูกต้อง หลายๆ
คนท่ีเป็นเด็กกลุ่มDyslexia เม่ือโตมาก็สามารถท่ีจะเป็นบุคคลท่ีเก่งและมีช่ือเสียได้เช่น อัลเบิร์ต
ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) จอห์น เลนนอน (John Lennon) และปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) เป็น
ต้น ทาํ ใหด้ ฉิ นั สนใจในเด็กกลมุ่ นแ้ี ละอยากท่จี ะศึกษาขอ้ มลู ของเดก็ Dyslexia เพิ่มเตมิ
ลักษณะทว่ั ไปของกลุ่มเดก็ Dyslexia

เด็กกลุ่ม Dyslexia น้ันเป็นเด็กท่ีมีภาวะบกพร่องเก่ียวกับการเรียนรู้ภาษา การสะกดคําและ
การแยกแยะเสียงตัวอักษร การเช่ือมโยงเสียงของตัวอักษรกับรูปร่างของตัวอักษรจึงทําให้เด็กกลุ่ม
นไ้ี มส่ ามารถท่จี ะอา่ น สะกดคาํ หรือไม่สามารถท่จี ะเขียนหนงั สือได้ ซง่ึ เด็กกลุ่มน้ไี มไ่ ด้เป็นเดก็ ท่มี ปี ัญหา
ด้านการมองเห็นหรือปัญหาด้านสติปัญญา พวกเขาสามารถท่ีจะเรียนกับเด็กคนอ่ืน ๆ ได้แต่เด็ก
กลมุ่ น้จี ะต้องใชค้ วามพยายามและเวลานานในการอา่ นหนงั สือ
ลักษณะของเด็กลมุ่ Dyslexiaท่สี ามารถเห็นไดแ้ ละสังเกตได้สามารถแบ่งเปน็ ชว่ งวยั ไดด้ งั น้ี

1. วัยก่อนเข้าเรียน: เด็กในช่วงวัยน้ีอาการยังแสดงออกได้ไม่ชัดเน่ืองจากยังเป็นลักษณะท่ัวไป
ของเด็กท่ีกําลังเรียนรู้แต่ว่ามีอาการบางอย่างท่ีสามารถจะบ่งบอกได้คือ เด็กกลุ่มน้ีจะพู ดช้า
กว่าเด็กปกติ ไม่สามารถท่ีจะออกเสียงของคําท่ีมีพยางค์ยาวๆได้ ไม่สามารถท่ีจะจําตัวอักษร
ตัวเลขและสีได้ ไม่สามารถท่ีจะสะกดคําได้และเรียนรู้คําใหม่ๆได้ช้าอีกท้ังเด็กกลุ่มน้ียังไม่
สามารถเข้าใจในการใช้เสียงสัมผัสในเพลงหรือกลอน จะเป็นได้ว่าอาการเหล่าน้ีสามารถท่ีจะ
สังเกตเดก็ ไดว้ า่ เดก็ คนไหนทม่ี คี วามเส่ียงท่จี ะเป็นเด็กกลมุ่ Dyslexia

2. วัยเร่ิมเข้าเรียน: ในช่วงวัยน้ีจะเป็นวัยท่ีเห็นถึงอาการของเด็กกลุ่ม Dyslexia ได้อย่างชัดเจน
โดยเด็กกลุ่มน้ีจะมีปัญหาเก่ียวกับการอ่านและการเขียนหนังสือได้อย่างชัดเจน โดยมีอาการท่ี
สามารถสังเกตได้ดังน้ี ไม่สามารถท่ีจะเรียนรู้และจดจําช่ือหรือเสียงของตัวอักษรท่ีเรียนได้
ไม่สามารถท่ีจะแยกแยะความแตกต่างของเสียงตัวอักษรและรูปคําของแต่ละอักษรหรือรูปคํา
ได้ มีปัญหาในเร่ืองของการจดจําลําดับของสิ่งต่าง ๆ มีพัฒนาการด้านสะกดคําได้ช้ากว่า
ปกติ ไม่สามารถท่ีจะอ่านออกเสียงของคําท่ีไม่คุ้นเคยได้ ไม่สามารถท่ีจะเลือกใช้คําพู ดท่ีจะใช้
สื่อสารกับคนอ่ืนได้อย่างเหมาะสมและเด็กกลุ่มน้ีจะมีการเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขท่ีผิดไปจาก
ปกตเิ ชน่ เขยี น6เปน็ 9 เขยี น dเป็นb เปน็ ต้น

68

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

3. วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยในช่วงวัยน้ีมักมีอาการท่ีไม่ต่างกับเด็กในช่วงวัยอ่ืนโดยจะมีอาการคือ
เด็กกลุ่มน้ีจะมีการอ่านและเขียนท่ีช้าจึงทําให้การทํางานน้ันต้องใช้เวลาในการเขียนงานและ
อ่านนานกว่าปกติ ไม่สามารถท่ีจะสรุปใจความของเร่ืองต่าง ๆ ได้ มีปัญหาเร่ืองการสะกดคํา
ไม่สามารถอ่านออกเสียงช่ือและคําต่าง ๆ และมีปัญหาในการจดจําเช่นเดียวกับวัยเข้าเรียน
ไม่สามารถท่ีจะเข้าใจมุขหรือความหมายของสํานวนต่าง ๆ ได้และเด็กกลุ่มน้ีจะมีปัญหาในเร่ือง
ของการเรียนภาษาต่างประเทศเป็นต้น

เด็กกลุ่ม Dyslexia ในประเทศไทยสามารถแบง่ ออกได้เป็น3 ด้านดงั น้ี
1. เด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านการอ่าน มีความผิดปกติในด้านทักษะการอ่าน โดยจะมี
ความสามารถในการอ่านท่ีต่ํากว่าคนท่ีอายุเท่า ๆ กัน โดยผู้บกพร่องทางด้านน้ีจะมีระดับ
สติปัญญาท่ีต่ํากว่าคนท่ีอายุเท่า ๆ กันประมาณ 2 ระดับช้ันเรียนโดยความบกพร่องทางด้าน
การอ่านนม้ี ักจะถูกพบในเดก็ มากท่สี ุด
2. เด็กท่ีมีความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคํา การสร้างคําหรือการสร้างประโยค
โดยเด็กกลุ่มน้ีจะเป็นกลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางด้านการเขียน การสะกดคําและการสร้าง
ประโยคโดยเด็กกลุ่มน้ีจะไม่สามารถท่ีจะจะสะกดคําได้อย่างถูกต้องและยังไม่สามารถท่ีจะสร้าง
ประโยคท่ีมีความหมายได้หรือว่าเม่ือเขียนเด็กกลุ่มน้ีเม่ือเขียนแล้วอ่านไม่รู้ ซ่ึงความบกพร่องน้ี
สามารถท่จี ะพบร่วมกบั ความบกพรอ่ งทางด้านการอา่ นได้ดว้ ย
3. เด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านทักษะการคํานวณ โดยเด็กท่ีมีความบกพร่องด้านน้ีจะขาด
ทักษะในด้านการคํานวณจึงทําให้เด็กกลุ่มน้ีไม่สามารถท่ีจะเข้าใจกระบวนการในการคํานวณ
ต่างได้ไม่ว่าเป็นเป็นการบวก ลบ คูณหรือหารซ่ึงบางกลุ่มอาจจะมีปัญหาด้านการทดเลขและ
การตีโจทย์ปัญหาได้กล่าวคือเด็กสามารถท่ีจะแก้ไขโจทย์ท่ีปกติได้แต่หากเป็นโจทย์ท่ีมีการ
สร้างสถานการณส์ มมตุ เิ ด็กจะไม่สามารถทจ่ี ะเขา้ ใจไดว้ ่าจะต้องแก้โจทยอ์ ยา่ งไร

จดุ เดน่ ของ Dyslexia
1. มองเห็นกว้างกวา่ คนอ่นื โดยเด็กกลมุ่ Dyslexia จะสามารถทจ่ี ะมองเหน็ สิ่งตา่ ง ๆ อยา่ งเป็น
องค์รวมทําให้เขาสามารถท่ีจะมองสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างกว่าคนอ่ืน ๆ ดังคําท่ีMatthew H.
Schneps, มหาวิทยาลัย Harvard กล่าวว่า “ราวกับว่าคนท่ีเป็น Dyslexia มักจะใช้เลนส์มุม
กว้างในการมองโลก ในขณะท่ีคนอ่ืน ๆ มักจะใช้เลนส์มุมแคบ แต่แต่ละอันก็ดีท่ีสุดในการ
เปดิ เผยรายละเอยี ดท่แี ตกต่างกัน”
2. พบส่ิงท่ีแปลกออกไป เด็กท่ีเป็นกลุ่ม Dyslexia มีความสามารถในการประมวลภาพระดับโลก
และสามารถตรวจจับตัวเลขท่ีเป็นไปไม่ได้ โดยจากผลการวิจัยของศูนย์ดาราศาสตร์ฟสิ ิกส์
Harvard-Smithsonianได้ยืนยันว่า คนท่ีเป็น Dyslexiaน้ันจะสามารถท่ีจะระบุและจดจําภาพ
ทซ่ี บั ซอ้ นได้ดีกว่าคนท่วั ไป

69

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

3. ปรับปรุงการจดจํารูปแบบ คนท่ีเป็น Dyslexiaมีความสามารถท่ีจะดูสิ่งต่าง ๆเช่ือมต่อกับ
ระบบท่ีมีความซับซ้อนได้อย่างไรเพื่อท่ีจะใช้ในการระบุความคล้ายคลึงในสิ่งต่าง ๆ ซ่ึงการมาร
ความสามารถในการปรับปรุงจดจําน้ันจะมีความสํ าคัญเป็นพิ เศษกับหลายๆสาขาวิชาเช่น
วทิ ยาศาสตร์และคณติ ศาสตร์เปน็ ต้น

4. มีความรู้เชิงพื้นท่ีท่ีดี คนกลุ่มน้ีจะมีทักษะท่ีดีในการจัดการกับวัตถุ3มิติซ่ึงสถาปนิกและนัก
ออกแบบแฟช่นั ช้นั นําท่วั โลกหลายๆคนก็เปน็ Dyslexia

5. รูปภาพนักคิด โดยคนท่ีเป็น Dyslexia มักจะคิดเป็นรูปมากกว่าคําพู ดโดยการวิจัยของ
มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียแสดงให้เห็นว่า เด็กท่ีเป็น Dyslexia น้ันมีความทรงจําท่ีเป็น
ภาพมากกว่าเด็กท่วั ๆ ไป

การดแู ลของพ่อแม่ท่มี ีลูกเป็น Dyslexia
1. พ่ อและแม่ควรให้ลูกได้ฟังเสียงต้ังแต่อายุ 6 เดือนซ่ึงจะเป็นการเสริมสร้างเด็กท่ีเป็น
Dyslexia ได้
2. หากสังเกตว่าลูกมีอาการของ Dyslexia ควรพาไปพบแพทย์เพ่ือทํางานรักษาต้ังแต่อายุยัง
นอ้ ย
3. ปรึกษาครูท่ีสอนเก่ียวกับการเรียนท่ีเหมาะสมของลูกและคอยสอบถามเก่ียวการเรียนการสอน
ของลูกอย่างสมา่ํ เสมอ
4. พยายามท่จี ะใหล้ ูกน้นั ไดฝ้ กึ อา่ นหนังสืออย่างสม่าํ เสมอ
5. ทํ า ค ว า ม เ ข้ า ใ จ กั บ โ ร ค แ ล ะ ค ว ร ท่ี จ ะ อ ธิ บ า ย ใ ห้ ลู ก ไ ด้ เ ข้ า ใ จ ถึ ง ส่ิ ง ท่ี ตั ว เ อ ง เ ป็ น
วา่ ภาวะน้ไี ม่ใชส่ ิ่งท่เี ลวร้ายหรือเปน็ สิ่งทจ่ี ะทาํ รา้ ยชีวติ ของเขาได้
6. พยายามกระตุ้นให้ลูกมีความม่ันใจในตัวเองและเห็นคุณค่าของในความสามารถของตนเองใน
ดา้ นอน่ื ๆ ดว้ ย

สวัสดิการหรอื บรกิ ารท่คี วรมสี ําหรบั กลุ่ม Dyslexia
1. การเรียนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับเด็กท่ีเป็น Dyslexia ซ่ึงโปรแกรมจะถูกพัฒนา
เพ่ือช่วยกระตุ้นการทํางานของเซลล์สมองและการเช่ือมต่อของเซลล์ประสาทเก่ียวข้องกับ
การประมวลผลทางด้านภาษาทําให้เด็กท่ีมีอาการ Dyslexia สามารถท่ีจะพัฒนาทักษะด้าน
การทาํ งาน ความรวดเรว็ ในการประมวลผลและการบริหารจดั การเป็นตน้
2. การเพิ่มเวลาในการทาํ ขอ้ สอบของเด็กกลมุ่ Dyslexia ในห้องเรยี นทเ่ี รยี นกบั เดก็ ท่วั ไป
3. การเรียนฟรเี ช่นเดียวกบั เด็กท่วั ๆ ไป
4. มีห้องเรียนและครูท่ีสามารถสอนเฉพาะให้กับเด็กกลุ่มน้ีได้เช่นการเรียนเพ่ิมหลังเลิกเรียนใน
กรณีท่เี ดก็ Dyslexiaศึกษารว่ มกบั เดก็ ท่วั ไป
5. มีการวัดระดับและประเมินผลเก่ียวกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ท่ีเด็ก Dyslexiaน้ันมีความ
บกพรอ่ ง

70

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

6. มีผเู้ ช่ยี วชาญท่สี ามารถชว่ ยเหลือคนท่มี ีอาการ Dyslexiaได้
ผ้ทู ่มี ีความเกย่ี วขอ้ งในการทาํ งานกบั เดก็ กลุม่ Dyslexia

1. แพทย์: โดยแพทย์น้ันสามารถท่ีจะรักษาเด็กกลุ่ม Dyslexia ได้โดยการบําบัดเช่น การบําบัด
โดยใช้วิธี Phonological Interventionซ่ึงเป็นการเปล่ียนวิถีการดําเนินชีวิตของคนกลุ่ม
Dyslexiaและคนรอบข้างแต่วิธีน้ีไม่เป็นท่ีแพร่หลายมากนัก แพทย์จะต้องมีความเช่ียวชาญและ
สามารถท่ีจะแนะนําการปฏิบัติตัวต่าง ๆ ต่อเด็ก Dyslexiaให้กับครอบครัวของเด็กได้ ซ่ึงการ
ทํางานของแพทย์น้ันจะเก่ียวกับการแก้ไขฟ้ นื ฟู โดยทํางานร่วมกับนักบําบัดเพ่ือแก้ไขอาการ
Dyslexiaของเด็กให้เด็กน้ันหายจากการเป็น Dyslexia หรือทําให้เด็กน้ันสามารท่ีจะอ่าน
เขยี นและเข้าใจสิ่งตา่ ง ๆ ได้

2. ครู: โดยครูน้ันจะต้องเข้าใจเก่ียวกับส่ิงท่ีเด็กเป็นและมีวิธีการท่ีจะสอนท่ีถูกต้องและเหมาะสมให้
เด็กน้ันสามารถท่ีจะเรียนได้เหมือนเพ่ื อนๆและครูยังจะต้องคอยสั งเกตว่าเด็กในห้องน้ันมี
ความผิดปกติหรือไม่ หากครูไม่สามารถท่ีจะสังเกตได้ว่าเด็กของตนเองมีอาการ Dyslexia
จะทําให้เกิดผลเสียต่อเด็กได้และอาจจะทําให้เด็กน้ันมีนิสัยท่ีก้าวร้าวได้อีกด้วย โดยการทํางาน
ของครูน้ันจะเป็นไปในลักษณะของการส่งเสริมพัฒนาเด็กท่ีเป็น Dyslexia ให้เด็กน้ันสามารถ
กลบั มามพี ัฒนาการในดา้ นตา่ ง ๆ ท่ไี ด้เหมอื นกบั เด็กทว่ั ๆ ไป

71

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

สุธดิ า หนูวัน 6105681438

กลุ่มเป้าหมายท่ีสนใจจะศึกษาคือ “ปัญหาความเครียดในวัยรุ่น” เหตุผลท่ีเลือกเร่ืองน้ีเพราะ
เป็นปัญหาใกล้ตัวท่ีหลายคนมองข้าม ไม่ได้ให้ความสําคัญถึงผลกระทบท่ีจะตามมา ท้ังท่ีเป็นปัญหาท่ี
พบเห็นเป็นจํานวนมากในปัจจุบัน รวมถึงจัดอยู่ในกลุ่ม “Disturbed” ท่ีเป็นการปรับตัวไม่ดีทาง
อารมณ์และสังคม มีปัญหาทางอารมณ์ ซ่ึงถือเป็นปัญหาท่ีมีความเก่ียวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์
เปน็ อย่างมาก

ความเครียดเกิดข้ึนจากการท่ีร่างกายมนุษย์เจอความกดดันหรือเม่ือเผชิญหน้ากับเหตุการณ์
อันตราย อาจทําให้เกิดความรู้สึกกลัว หวาดระแวงหรืออาจทําให้ความดันโลหิตสูงข้ึน ในแต่ละคนจะมี
ลักษณะอาการท่ีแตกต่างกันไปและในสถานการณ์เดียวกันน้ันบางคนอาจมีความเครียดกับส่ิงท่ี
เกดิ ข้นึ แต่อีกคนอาจจะรบั มือได้ ขน้ึ อยู่กับความสามารถในการรบั มอื และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน

ลักษณะของความเครียด ความเครียดท่ีเกิดข้ึนทันทีและร่างกายตอบสนองทันที เม่ือ
ความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติได้เหมือนเดิม เช่น ความกลัว ตกใจ หิวข้าว ส่วน
ความเครียดเร้ือรังเป็นความเครียดท่ีเกิดข้ึนทุกวัน เม่ือร่างกายไม่ตอบสนองต่อความเครียดน้ัน
จะกลายเป็นการสะสมความเครยี ด เชน่ ความเครยี ดจากการเรียน ความเครียดจากการทาํ งาน ความ
เหงา เปน็ ตน้

เม่ือเกิดความเครียดจะมีอาการทางกาย ได้แก่ ปวดไมเกรน ปวดหลังเบ่ืออาหาร นอนหลับ
ยาก คล่ืนไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เป็นต้นและมีการแสดงออกด้านจิตใจคือ วิตกกังวล ข้ีลืม สมาธิสั้น
ตัดสินใจไม่ดี การแสดงออกทางอารมณ์คือ หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ท้อแท้ ซึมเศร้า มองโลกในแง่
ร้าย ร้องไห้ ส่วนอาการท่ีแสดงออกทางพฤติกรรม ได้แก่ ติดบุหร่ี สุรา แยกตัวจากผู้อ่ืน หากผู้ท่ีมี
ความเครียดมากจะอ่อนแรง ไม่อยากทําอะไรเลย มีปัญหาเร่ืองการนอนหลับ ไม่มีความสุขในชีวิตหรือ
เป็นโรคซึมเศร้าและอาจจะนําไปสู่การฆ่าตัวตาย ดังน้ันไม่ควรปล่อยให้มีอาการเช่นน้ีเป็นระยะเวลานาน
ควรจะมีการปรึกษาแพทยเ์ พ่ือใหไ้ ด้รบั การรักษาอยา่ งทนั ท่วงที

การรักษาอาการเครียด ส่ิงสําคัญคือผู้ป่วยต้องเข้าใจสาเหตุท่ีทําให้เกิดอาการเช่นน้ีก่อน
มีการพู ดคุยกันกับครอบครัว คนใกล้ชิดท่ีไว้วางใจเพ่ือระบายความรู้สึกให้เขารับรู้เพื่อจะได้ช่วยกัน
แบ่งเบาและแก้ไขปัญหา หากมีอาการเร้ือรังหรือรุนแรง ควรมีการพบแพทย์ ปรึกษาจิตแพทย์เพ่ือรับ
ยาท่ีจะช่วยปรับอารมณ์ให้อาการดีข้ึนหรือมีการบําบัดความคิดและพฤติกรรม โดยแพทย์จะพูดคุยกับ
ผู้ป่วยให้มีการปรับความคิดและทัศนคติให้มีการมองอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รวมถึงต้อง
ระวงั ภาวะแทรกซอ้ นของโรคอ่นื ๆ ตามมา

และปัญหาความเครียดท่ีเกิดข้ึนน้ัน ส่วนใหญ่จะเกิดข้ึนในช่วงวัยรุ่น ดังท่ี อธิบดีกรม
สุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันภาวะเครียดในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มสูงข้ึน ซ่ึงสอดคล้องกับผลการ
ให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทางโทรศัพท์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในปีงบประมาณ 2562
จากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า มีวัยรุ่นโทรเข้ามาขอรับบริการปรึกษาใน
เร่ืองความเครียดสูงสุด โดยกลุ่มของวัยรุ่น อายุ 11-19 ปี โทรมาขอรับบริการปรึกษาสายด่วน
สุขภาพจิต ประมาณ 10,000 สาย ซ่ึงปัญหาสุขภาพจิตท่ีพบมากท่ีสุด 3 อันดับแรกสําหรับวัยรุ่น

72

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ได้แก่ อันดบั ท่ี 1 ความเครียด/วติ กกังวล รอ้ ยละ 51.36 อนั ดับท่ี 2 ปญั หาความรัก รอ้ ยละ 21.39 และ
อนั ดับท่ี 3 ซมึ เศรา้ รอ้ ยละ 9.82

จากข้อมูลสถิติดังกล่าวทําให้เห็นได้ว่า ความเครียด ความวิตกกังวลท่ีเกิดข้ึนเป็นจํานวนมาก
ในวัยรุ่นน้ัน ถือว่าเป็นปัญหาท่ีควรให้ความสําคัญเป็นอย่างมาก ดังน้ัน หน่วยงานท่ีมีความเก่ียวข้อง
หรือเจ้าหน้าท่ีท่ีมีความรับผิดชอบในงานด้านสังคมและสุขภาพจิต รวมถึงรัฐบาลน้ันควรมีการ
จัดบริการในการให้คําปรึกษา จัดสรรสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่กลุ่มท่ีประสบปัญหา เพ่ือให้คนกลุ่มน้ี
ได้รับการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ซ่ึงจากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยน้ันมีบริการ
ใหแ้ ก่ประชาชน นน่ั คือ

-บริการให้คําปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตหรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ท่ีเป็นบริการของรัฐ
เพ่ือให้ประชาชนท่ีมีปัญหาทางอารมณ์ มีความเครียดหรือวิตกกังวลในเร่ืองต่าง ๆ สามารถท่ีจะโทร
มาพู ดคุย ระบายความรู้สึกและขอคําปรึกษาได้ เพราะบางคนอาจไม่สะดวกท่ีจะปรึกษากับคนใน
ครอบครัว ไม่กล้าจะปรึกษาเพ่ือนหรือเร่ืองบางเร่ือง การได้ปรึกษากับคนท่ีไม่รู้จัก อาจจะทําให้สบาย
ใจท่ีจะพูดมากกว่า ซ่ึงสายด่วนสุขภาพจิตก็ถือเป็นอีกทางเลือกหน่ึงท่ีดี เพราะแน่นอนว่าผู้ท่ีเป็นคนให้
คาํ ปรึกษาเองก็ไดม้ ีการเรยี นรู้ อบรมและมีความเชย่ี วชาญในดา้ นน้มี าโดยตรง

-บริการแบบทดสอบด้านสุขภาพจิตในเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต ท่ีจะมีท้ังแบบประเมิน
ความเครียด แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าและแบบประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซ่ึงทุกคน
สามารถเข้าไปทําแบบทดสอบได้ด้วยตัวเอง เพ่ือรับรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงในระดับไหนและจะสามารถ
ปรบั ตัวเองไดห้ รืออาจจะไปพบจติ แพทยเ์ พื่อพูดคยุ ทาํ ความเขา้ ใจกับปัญหาท่เี ผชญิ อยูไ่ ด้

-บรกิ ารแอปพลเิ คชันกรมสุขภาพจิตสําหรบั ประชาชน อย่างเช่น mental health check up
เป็นแอปใหม่ของกรมสุ ขภาพจิตท่ีออกแบบมาเพ่ื อประเมินสุ ขภาพจิตเบ้ืองต้นด้วยตนเองและคัด
ครองปัญหาโรคจิตเวช โดยเฉพาะประชาชนท่ีได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และยัง
มีแอปค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น เพื่อให้พ่อแม่ได้เข้าถึงความรู้ในการเล้ียงดูลูกหลานวัยรุ่นในสังคม
ปจั จบุ นั ไดอ้ ย่างถกู ต้อง เปน็ ตน้

-บริการให้คําปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตท่ีแต่ละมหาวิทยาลัยได้จัดสวัสดิการให้แก่นักศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาท่ีมีความเครียด กังวลในเร่ืองการเรียน ปัญหาค่าใช้จ่าย ปัญหาครอบครัวหรืออ่ืน ๆ
สามารถมีพื้นท่ีท่ีจะระบายความรู้สึกและเพื่อให้นักศึกษารู้สึกว่าตนมีท่ีพ่ึงพิงท่ีจะคอยให้คําปรึกษาเม่ือ
ตอ้ งเผชญิ กับภาวะทย่ี ากลาํ บาก

-โรงพยาบาลท่ีมีแผนกสุขภาพจิต ซ่ึงการพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา อาจไม่ได้หมายความ
ว่าเราจะต้องป่วย แต่การได้พู ดคุยปรึกษากับผู้ท่ีมีความรู้โดยตรงจะช่วยให้ปัญหาทางอารมณ์และ
ความรู้สึกทเ่ี ราเผชญิ อยู่ ไดร้ ับการดูแลรกั ษาอยา่ งถกู ต้องและเหมาะสม

ผู้ทเ่ี กย่ี วข้องในการทํางานกับกลมุ่ เป้าหมายดงั กลา่ วมบี ทบาทท่แี ตกตา่ งกันออกไป ได้แก่
-คนในครอบครัว พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดควรมีบทบาทในการช่วยกันแก้ไขปัญหาท่ีเกิดข้ึน
บ่อยคร้ังท่ีวัยรุ่นมีความเครียดหรือวิตกกังวล ซ่ึงปัญหาน้ันมักเกิดจากความไม่เข้าใจกันของคนใน
ครอบครัว เช่น การบังคับให้เรียนในสายวิชาท่ีพ่อแม่เห็นว่าดี การเข้มงวดในการเล้ียงดูมากเกินไป
การทะเลาะกันภายในครอบครัว เหล่าน้ีเกิดข้ึนจากกการท่ีครอบครัวไม่ยอมเปิดใจรับฟงั เหตุผลของ
กันและกัน และเป็นเหตุให้เด็กวัยรุ่นบางคนต่อต้านหรือบางคนก็เก็บเงียบ ทําให้เกิดการสะสม

73

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ความเครียด เด็กไม่มีความสุขในชีวิต ซ่ึงถือเป็นผลกระทบท่ีร้ายแรงต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก หรือ
บางกรณีคือเด็กมีความกดดันจากการเรียน เกิดความเครียดสะสมทําให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาท้ัง
ปญั หาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ดงั นน้ั ครอบครวั ถอื เป็นพ้ืนฐานสําคญั ทจ่ี ะส่งผลต่ออารมณค์ วามร้สู ึก
และการใช้ชีวิตในสังคมของเด็กวัยรุ่น พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงควรใส่ใจความรู้สึกของลูกเป็นสําคัญ
รับฟังส่ิงท่ีเขาต้องการ พู ดคุยกับเขาด้วยเหตุผล ทําให้เขาเห็นว่าครอบครัวคือท่ีพ่ึ งท่ีจะคอย
ช่วยเหลือเม่ือเขาเดือดร้อน เป็นพื้นท่ีท่ีปลอดภัยท้ังร่างกายและจิตใจ ทําให้เขารู้สึกว่าครอบครัวจะ
คอยสนับสนุนเขาอยูเ่ บ้อื งหลงั รวมถงึ จะคอยชว่ ยกันแกไ้ ขปญั หาหรือตกั เตอื นเมอ่ื เขาทาํ ผดิ พลาด

-ในหลายๆคร้ังท่ีวัยรุ่นหรือผู้คนรู้สึกเครียด กังวลกับปัญหาท่ีเผชิญอยู่อาจไม่ได้ต้องการ
คําตอบหรือแนวทางแก้ไขปัญหา ณ ตอนน้ัน เพียงแต่ต้องการคนท่ีจะคอยรับฟัง อยากระบาย
ความรู้สึกให้ใครสักคนฟงั แล้วคนคนน้ันก็รับฟงั อย่างเต็มใจ ซ่ึงบางเร่ืองอาจจะไม่สะดวกท่ีจะพู ดคุย
กับครอบครัว ดังน้ันเพ่ือนก็ถือว่ามีบทบาทสําคัญสําหรับวัยรุ่นหลายคน เพียงแค่คอยอยู่เป็นเพื่อน
กันในยามท่ีทุกข์ คอยรับฟังปัญหา ให้คําแนะนําท่ีดีและคอยให้กําลังใจกัน เพียงแค่น้ีก็อาจจะทําให้
ความเครยี ดเบาบางลงไปไดเ้ ช่นกัน

-คุณครูในโรงเรียนมีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือ เด็กวัยรุ่นท่ีมีปัญหาด้านอารมณ์
โดยเฉพาะเด็กท่ีมีความเครียดจากการเรียนในห้องเรียนหรือมีความเครียดจากการเข้าสังคมในกลุ่ม
เพื่อน เด็กเหล่าน้ีอาจไม่ได้แสดงความต้องการหรือแสดงอาการวิตกกังวลออกมาโดยตรงให้เห็น
ดังน้ันคุณครูท่ีปรึกษาและคุณครูผู้สอนควรให้ความสําคัญ สังเกตพฤติกรรม สีหน้าของเด็กด้วย ไม่
เพียงแต่สอนในเร่ืองวิชาการเท่าน้ัน เพ่ือป้องกันความเครียดสะสมหรือโรคซึมเศร้าท่ีอาจจะเกิดข้ึนใน
เด็กได้ โดยโรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมนันทนาการท่ีส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการ
ช่วยกันทํางาน เสริมสร้างพัฒนาการในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบและวางแผนกันโดยไม่ไป
ตีกรอบหรือเข้มงวดจนเกินไป และคุณครูเองควรมีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอยู่ห่างๆเพื่อจะได้
ทราบว่ามีเด็กคนใดท่ีมีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือการเข้าสังคมหรือไม่ รวมถึงโรงเรียนควรมีการ
ทํางานร่วมกันกับนักจิตวิทยาในการให้เด็กได้มีการทําแบบทดสอบด้านอารมณ์ แบบทดสอบ
ความเครียดและแบบทดสอบด้านสุขภาพจิตอย่างสม่ําเสมอ รวมถึงมีการติดตามผลการทดสอบเพ่ือ
จะนําไปแก้ไขปญั หาท่เี กดิ ข้นึ หรือแนวทางในการป้องกันต่าง ๆ

-นักจิตวิทยาในโรงเรียนและนักสังคมสงเคราะห์ในด้านเด็กหรือทางการศึกษามีบทบาทสําคัญ
ในการช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและปัญหาการเข้าสังคมในเด็กวัยรุ่น อย่างข้างต้น
หากมีการทําแบบทดสอบแล้วพบว่ามีเด็กท่ีมีปัญหาทางด้านอารมณ์ ซ่ึงอาจจะส่งผลต่อการเข้าสังคม
การอยู่ร่วมกันกับกลุ่มเพ่ือน ดังน้ัน นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ คุณครูและผู้นําในโรงเรียนควร
มีการทํางานร่วมกันในการช่วยกันปรับความคิดและพฤติกรรม โดยให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมฯได้มี
การเข้าไปพู ดคุย ให้คําปรึกษากับเด็กอย่างเป็นมิตรโดยไม่ให้เขารู้สึกอึดอัด ซ่ึงกระบวนการต่าง ๆ
อาจจะต้องใช้เวลา และคุณครูกับผู้นําโรงเรียนควรมีการติดต่อพู ดคุยและประสานไปยังผู้ปกครอง
ของเด็กด้วย อีกท้ังโรงเรียนอาจมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ได้มี
การบรรยายให้ความรู้ในเร่ืองการจัดการกับอารมณ์ การปรับตัวในสังคม โดยเฉพาะการรับมือและ
ป้องกนั กับปญั หาความเครยี ดท่จี ะเกดิ ขน้ึ ไดง้ ่ายมากกบั วัยรนุ่ ทกุ คน

74

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

-จิตแพทย์มีบทบาทในการรับฟงั และวินิจฉัยปัญหาทางอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วย มีหน้าท่ี
ในการบําบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยให้ดีข้ึน รวมถึงการให้การรักษาโดยการให้ผู้ป่วยทาน
ยาเพ่ือปรบั อารมณ์หรืออาการต่าง ๆ ดขี ้นึ

-กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขก็มีหน้าท่ีในการจัดรูปแบบการประเมิน แบบทดสอบ
ทางด้านสุขภาพจิต โรคทางจิตเวชต่าง ๆ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงการประเมิน
สถานการณ์ ดชั นชี ว้ี ดั ความสุขของคนไทยเพ่ือประเมนิ ความเสี่ยงต่อปญั หาท่อี าจจะเกดิ ขน้ึ

75

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563

มนตธ์ ชั จติ กลาง 6105681628

1.กลุ่มอาการออทิสติก (Autism Spectrum Disorders: ASD) คือ ภาวะระบบประสาท
ทํางานซับซ้อน ผู้ท่ีเป็นออทิสติกจะมีความสามารถเก่ียวกับการปฏิสัมพั นธ์กับผู้คนในสังคม
พัฒนาการทางภาษา และทักษะการส่ือสารด้อยกว่าคนปกติ ท้ังน้ี ผู้ป่วยออทิสติกมักมีพฤติกรรมทํา
อะไรเหมือนเดิมซ้าํ ๆ เช่น โยนของไปมา สะบัดมือซ้าํ ๆ หรือชอบพูดเลยี นแบบ โดยอาการอาจรุนแรง
หรอื ไมร่ นุ แรงกไ็ ด้ เพราะผปู้ ว่ ย

2.1 จัดอยู่ในกลุ่ม Atypical Learners มีความสามารถในการเรียนรู้ท่ีช้ากว่าเด็กคนอ่ืน แต่
เด็กออทิสติกก็จะมีพรสวรรค์และความสามารถทางวิชาการท่ีมากกว่าคนอ่ืนหรือ อัจฉริยะปัญญาอ่อน
อาทิเช่น อัจฉริยะออทิสติก Idiot Savant : คิม พีค (Kim Peek) อัจฉริยะด้านความจํา ได้ฉายา
คิมพิวเตอร์ คิมเป็น Savant มีความจําท่ีสุดมหัศจรรย์แต่ขาดมิติในการพินิจพิเคราะห์อย่างถึงท่ีสุด
ว่ากันว่ามีคนชนิดน้ีท่ีกําลังถูกศึกษาเพื่อเรียนรู้มิติก คิม พีค มีความสามารถพิเศษในเร่ืองของ
ความจํา ต้ังแต่อายุได้ขวบคร่ึง ใครอ่านหนังสืออะไรให้ฟัง เขาก็จะจําได้หมด ตอน 3 ขวบหัดอ่าน
หนังสือออกได้ด้วยตัวเอง และจากน้ันมา เขาก็ไล่อ่านไล่ท่องมาเร่ือย ๆ จนทุกวันน้ี สามารถจดจํา
ข้อความในหนงั สือทกุ หนา้ ทกุ บรรทัดไดอ้ ยา่ งขน้ึ ใจรวมท้งั หมดแล้วประมาณ 12,000 เลม่ เปน็ ตน้

2.2.1 ลักษณะท่วั ไป สถานการณ์ปญั หา ความต้องการ
ออทิสติก มีลักษณะเป็นกลุ่มโรคท่ีเกิดความผิดปกติของสมอง โดยจะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก
ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการรอบด้าน ซ่ึงสามารถแบ่งพัฒนาการออกเป็น 2 ด้าน
หลักๆ คือ

ด้านภาษาและสังคม ในกลุ่มโรคออทิสติกจะอยู่ในสภาวะท่ีมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ร่วมกับความ
บกพร่องทางด้านสังคม เชน่ ไม่สามารถใช้ภาษาทา่ ทางส่ือสารกับบุคคลอน่ื ได้
ด้านพฤติกรรม หมกมุ่นอยู่กับพฤติกรรมอย่างใดอย่างหน่ึงท่ีไม่เหมาะสม หรือทําซ้ํา ๆ มีท่าทางการ
เคลอ่ื นไหวซา้ํ ๆ เชน่ สะบัดมือ เลน่ มือ หมนุ ตวั เขยง่ เท้า
สถานการณ์ปัญหา ปัญหาเก่ียวกับประสาทสัมผัส เด็กออทิสติกจะมีระบบประสาทสัมผัสท่ีอ่อนไหวได้
ง่าย โดยจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ส่ิงเร้ารอบตัวท่ีมากกว่าเด็กท่ัวไป เช่น รู้สึกกลัวหรืออารมณ์แปรปรวน
ไดง้ ่ายเมอ่ื ได้ยนิ เสียงดงั หรือฟา้ แลบ
ความต้องการ เด็กออทิสติกก็มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนเด็กท่ัวไป เพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกได้
อย่างเหมาะสม เด็กยงั ต้องการความรัก ความเขา้ ใจ และการยอมรับ

2.2.2 บรกิ าร สวสั ดิการต่าง ๆ ท่มี ีสําหรบั กลุม่ ดังกลา่ ว
การฟ้ ืนฟู สมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation) มีการจัดทําแผนการศึกษา
เฉพาะบุคคล (IEP- Individualized Education Plan) เน่ืองจากสภาพปัญหา และวิธีการเรียนรู้
ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน เน้นการเตรียมความพร้อม เพ่ือให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจําวันจริง
ๆ ได้ แทนการฝกึ แตเ่ พียงทักษะทางวิชาการเทา่ น้นั

2.2.3 บทบาทผู้เก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายท่ีเลือก ( การป้องกัน ส่งเสริม
พัฒนาและการแกไ้ ขปัญหา )

76

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

Autistic Thai Foundation มูลนิธิออทิสติกไทย ดําเนินงานด้านส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
เด็ก เยาวชน บุคคลออทิสติก บุคคลท่ีมีความต้องการจําเป็นพิเศษ บุคคลท่ีมีความบกพร่องทาง
พัฒนาการหรอื การเรยี นรู้ คนพิการและผ้ดู ้อยโอกาสในสังคม
แพทย์ นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพู ด นักกิจกรรมบําบัด และคุณครูสอนเด็กพิเศษ ซ่ึงจะช่วยให้เด็ก
สามารถพัฒนาทักษะการเข้าสังคมและการสื่อสารให้ดีข้ึนและใช้ชีวิตปกติได้ พ่อแม่และทีมดูแลเด็ก
พิเศษควรร่วมมือกันเพื่อช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้บ้างในเบ้ืองต้น หลังจากน้ัน จึงพัฒนาการ
เรียนรดู้ ้านวิชาการตอ่ ไปโดยขอความรว่ มมอื จากครู

กลุ่มท่ี 2 เด็กทม่ี ีความบกพรอ่ งทางสตปิ ัญญา (intellectual disabilities)
1. เด็กท่ีมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ํา กว่าเกณฑ์เฉล่ียและมี24พฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง

ต้ังแต่ 2 ด้านข้ึนไป จากท้ังหมด 10 ด้าน โดยมีอาการแสดงก่อนอายุ18 ปีพฤติกรรมการปรับตน
หมายถึง การปฏิบัติตนในชีวิตประจํา วันท่ัวไป ซ่ึงทํา ให้บุคคลน้ันสามารถดํารงชีวิตได้ด้วยตนเองใน
สังคม ไดแ้ ก่การส่ือความหมาย

2.1 จัดอยู่ในกลุ่ม Atypical Learners เน่ืองจากบกพร่องในการดูแลตนเอง การดํารงชีวิต
ในบ้าน ทักษะสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืนการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน การควบคุมตนเอง
การนํา ความรู้มาใช้ในชีวิตประจําวัน การใช้เวลาว่าง การทํางาน และการมีสุขอนามัยและความ
ปลอดภยั เบ้อื งตน้

2.2.1 ลักษณะท่วั ไป สถานการณ์ปัญหา ความต้องการ
เด็กท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา มักมีปัญหาเกือบทุกด้านในชีวิตประจําวัน และปัญหา

การเรียน เน่ืองจากเด็กมีข้อจํากัดหรือเพดานในการเรียนรู้ ทําให้ไม่สามารถทําส่ิงต่าง ๆ ได้เท่ากับ
เพ่ือนในวัยเดียวกัน เป็นภาวะท่ีสมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ ทําให้เกิดความ
บกพรอ่ งของทักษะดา้ นต่าง ๆ ในระยะพัฒนาการ และส่งผลกระทบตอ่ ระดบั เชาวน์ปัญญาทกุ ๆ ด้าน
ความบกพร่องทางสติปัญญา ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน
คือ มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างชัดเจน ร่วมกับมีความความบกพร่องในทักษะ
การปรับตัว โดยมีอาการให้เห็นต้ังแต่ช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น ส่งผลให้เกิดข้อจํากัดในชีวิตประจําวัน
หลายดา้ น ทง้ั ท่บี า้ น โรงเรียน ทท่ี าํ งาน
2.2.2 บรกิ าร สวสั ดิการตา่ ง ๆ ท่มี สี ําหรบั กลมุ่ ดงั กลา่ ว

การฟ้ นื ฟู สมรรถภาพทางการแพทย์ ส่งเสริมการป้องกัน บําบัดรักษาและฟ้ นื ฟู สมรรถภาพ
บํ า บั ด รั ก ษ า ค ว า ม ผิ ด ป ก ติ ท่ี อ า จ พ บ ร่ ว ม ที ม ส ห วิ ช า ชี พ เ ช่ น อ ร ร ถ บํ า บั ด ก า ย ภ า พ บํ า บั ด
กิจกรรมบําบัด เปน็ ต้น

ภาครัฐได้ให้ความสําคัญในการส่งเสริมสิทธิโอกาส และความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมของ
บุคคลพิการมุ่งพัฒนาศักยภาพบุคคลพิการในทุกมิติให้มีความเข้มแข็งท้ังร่างกายและจิตใจ เพื่ออยู่
ในสังคมอย่างภาคภูมิใจซ่ึงสอดคล้องท่ีองค์การสหประชาชาติท่ีต้องการมุ่งให้ไทยเป็นสังคมแห่ง
โอกาส สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิบุคคลพิการท่ีส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิและรับรองให้บุคคล
พิการมีหลักประกันในสิทธิเสรีภาพและศักดิศรีความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคทัดเทียมกับบุคคลท่ัวไป

77

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

รวมถึงยังได้เน้นดูแลบุคคลพิการท้ังโครงสร้างพ้ืนฐานและเชิงสังคม สร้างสังคมท่ีปราศจาก
อปุ สรรคไม่ว่าจะสภาพแวดลอ้ ม ขอ้ มูล และการส่ือสาร กฎระเบียบหรือทัศนคติของคนในสังคม

2.2.3 บทบาทผู้เก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายท่ีเลือก ( การป้องกัน ส่งเสริม พัฒนาและ
การแก้ไขปัญหา ) หน่วยงานภาครัฐ มีการกําหนดให้จัดเป็นผู้พิการประเภท “ความบกพร่องทาง
สตปิ ัญญา” ตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่อื ง กาํ หนดประเภทและหลกั เกณฑ์ของคนพิการทาง
การศึกษา พ.ศ.2552 ซ่งึ ออกในพระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสําหรบั คนพิการ พ.ศ.2551
โรงเรียน เพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะท่ีจําเป็น จึงควรกระตุ้นให้ทบทวนบทเรียนบ่อย ๆ พยายามทํางานหรือ
การบ้านให้สําเร็จแม้จะใช้เวลานานก็ตามหาวิธีการเรียนรู้อ่ืนเข้ามาเสริมหรือทดแทนควบคู่ไปด้วยควร
สอนเสริมพิเศษแบบตัวต่อตัว หรือกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะพ้ืนฐานท่ีจะเป็น โดย
ฝึกอา่ นทบทวนบทเรียน และฝกึ ทาํ แบบฝกึ หัดอยา่ งสมา่ํ เสมอ

กลมุ่ ท่ี 3 เด็กท่มี ีความบกพรอ่ งทางรา่ งกาย หรือการเคลอ่ื นไหว
1. เด็กท่ีมีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเน้ือผิดปกติมีอุปสรรคในการ

เคล่ือนไหวซ่ึงอาจมีสาเหตุจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเน้ือและกระดูก ความ
ผิดปกติแต่กําเนิด อุบัติเหตุ และโรคติดเช้ือ ตัวอย่างเช่นโรคสมองพิการ (cerebral palsy) โรค
กล้ามเน้ือลีบอ่อนแรง (muscular dystrophy) โรคกระดูกอ่อน(osteogenesis imperfecta)
พิการแขนขาดว้ นแตก่ ําเนิดหรอื จากอุบัตเิ หตุ (limb deficie)

2.1 จัดอยู่ในกลุ่มPhysically Handicapped เน่ืองจาก เด็กท่ีมีความบกพร่องทางร่างกาย
ครอบคลุมลกั ษณะของความบกพร่องทางการเคล่อื นไหว
2.2.1 ลกั ษณะทว่ั ไป สถานการณ์ปญั หา ความต้องการ

บุคคลท่ีมีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหน่ึงหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและ
กล้ามเน้ือพิการเจ็บป่วยเร้ือรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาทมีความลําบากในการเคล่ือนไหว
ซง่ึ อปุ สรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ

ความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ อาจเป็นความผิดปกติท่ีติดตัวเด็กมาแต่กําเนิด หรือ
เกิดข้ึนในภายหลังจากความเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุ ซ่ึงอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนรู้
ของเด็กโดยเฉพาะอย่างย่ิงในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กบางรายจะสามารถใช้ชีวิตได้เสมือน
ปกติ แต่เด็กท่ีมีปัญหาทางร่างกายและสุขภาพแต่ละคนย่อมมีปัญหาหรืออาการท่ีแตกต่างกัน ดังน้ัน
ความช่วยเหลือพิเศษท่ีเด็กต้องการจึงแตกต่างกันตามไปด้วย อาทิ พ่อแม่และครูควรใส่ใจทุก
รายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการให้เด็กรับประทานอาหารท่ีเหมาะสม รวมถึงการกระตุ้นการใช้ภาษาและ
การแสดงออกของเด็ก
2.2.2 บรกิ าร สวัสดิการต่าง ๆ ทม่ี ีสําหรบั กลมุ่ ดงั กล่าว
เด็กท่ีมีความบกพร่องสามารถท่ีจะรับการใช้บริการตลอดจนสวัสดิการและความช่วยจากรัฐตาม
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และท่ีแก้ไข
เพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ.2556 หรือ ตามกฎหมายอ่ืนกําหนด อาทิ 1. การฟ้ ืนฟู สมรรถภาพโดย
กระบวนการทางการแพทย์ ในเร่ืองการบริการฟ้ นื ฟู สมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และ

78

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 2. การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางการศึกษา ในเร่ือง การศึกษาตาม
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสมในสถานศึกษา
เฉพาะ หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับส่ิงอํานวยความสะดวก
ส่ือ บรกิ าร และความชว่ ยเหลอื อน่ื ใดทางการศึกษา เปน็ ต้น
2.2.3 บทบาทผู้เก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายท่ีเลือก ( การป้องกัน ส่งเสริม พัฒนาและ
การแกไ้ ขปญั หา )
รัฐ จัดทําสิทธิประโยชน์ส่ิงอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะให้แก่เด็กท่ีมีความบกพร่องทาง
ร่างกาย หรือการเคล่ือนไหวรวมถึง การบริการฟ้ ืนฟู สมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์
การศึกษาตามกฎหมายตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาท่ัวไป การฟ้ นื ฟู
สมรรถภาพด้านอาชพี การใหบ้ รกิ ารอน่ื เพ่ือการทาํ งานและประกอบอาชพี ของคนพิการ

79

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563

จิรภัทร ไกรนรา 6105681636

สําหรับกลุ่มเป้าหมายท่ีสนใจจะศึกษาค้นคว้าเพ่ิมเติมในการทําใบงานคร้ังท่ี 3 คร้ังน้ี คือ
กลุ่มเป้าหมาย Physically Handicapped หรือ กลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
โดยเหตุผลท่ีสนใจในการศึกษากลุ่มเด็กประเภทท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายเพราะการศึกษาในด้าน
น้ีอาจจะเป็นด้านท่ีนักสังคมสงเคราะห์น้ันจะสามารถให้ความช่วยเหลือในเข้าถึงทรัพยากรหรือโอกาส
ในการใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้เหมาะสมท่ีสุด และจะทําความเข้าใจและเข้าถึงในการให้ความช่วยเหลือ
หรือให้การบริการในกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางทางกายได้อย่างครบถ้วน อีกท้ังในปัจจุบันในยุค
สมัยท่ีเทคโนโลยีในสมัยน้ีน้ันสามารถทําให้เด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกายน้ันสามารถเข้าถึง
โอกาสในการใช้ชีวิตตามสิทธิของตนได้อย่างมีความเป็นไปได้ ท้ังในการเข้าถึงการศึกษา หรือการ
เข้าถึงสิทธิการใช้สาธารณูปโภคได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นจุดประสงค์ท่ีสนใจในทําการศึกษาค้นคว้า
การทาํ ใบงานในคร้งั น้ี
2.1 หวั ขอ้ การศึกษา

กลุม่ Physically Handicapped หรอื กลมุ่ เด็กท่มี ีความบกพร่องทางดา้ นรา่ งกาย
2.2 ข้อมูลเบอ้ื งต้นในการทาํ ความเขา้ ใจกลมุ่ เปา้ หมาย

2.2.1 ลักษณะทว่ั ไป สถานการณป์ ัญหา ความต้องการ
ในส่วนของลักษณะท่ัวไปของกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกายน้ันจะจําแนก

ลักษณะของความบกพร่องทางกายได้เป็นหัวข้อหลักได้ดังน้ี คือความบกพร่องทางร่างกายด้านการ
เคล่ือนไหว ความบกพร่องทางร่างกายด้านการส่ือสาร ความบกพร่องทางร่างกายด้านการมองเห็น
โดยจะอธิบายตามลําดบั ดงั น้ี

ความบกพร่องทางร่างกายด้านการเคล่ือนไหว คือ การท่ีบุคคลมีข้อจํากัดในการ
ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซ่ึงเป็นผลมาจาก
ความบกพร่อง หรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคล่อื นไหว อนั ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา
อาจมาจากสาเหตุ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง แขนขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเร้ือรังจนมีผลกระทบต่อ
การทํางาน มือเท้า แขนขา และยังมีโรคหรือภาวะผิดปกติท่ีอาจก่อให้เกิดความบกพร่องในการ
เคล่ือนไหวท่ีเกิดข้ึนในกลุ่มเด็ก เช่น โรคข้อกระดูกไม่สมบูรณ์ โรคขาโก่งแต่กําเนิด โรคแขนขาขาด
ต้ังแต่กําเนิด โรคกล้ามเน้ือผิดปกติซ่ึงเป็นโรคทางพันธุกรรมท่ีอาจส่งผลกระทบให้เกิดการพิการท่ี
ถาวรได้ เป็นต้น และในส่วนของสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทาง
ร่างกายด้านการเคล่ือนไหวคือการใช้ชีวิตประจําวันท่ีมีความเป็น อุปสรรคและการไม่สามารถเข้าถึง
โอกาสในการศึกษา เช่น การเข้าศึกษาในโรงเรียนท่ัวไป เพราะเด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
ส่วนใหญ่อาจจะต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเฉพาะผู้พิการหรืออาจจะเข้าศึกษาได้ในโรงเรียนท่ัวไป
แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกแบบส่ิงอํานวยความสะดวกให้นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางด้าน
ร่างกายเช่นเดียวกันตลอดจนถึงสถานท่ีต่าง ๆ ท่ัวไป และในส่วนของความต้องการเบ้ืองต้นของเด็ก
กลุ่มท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายคือมีผู้ดูแลประจําหน่วยงานสามารถช่วยดูแลในส่วนของการ
อํานวยความสะดวกเบ้อื งตน้ และสถานท่ที ่สี ามารถอาํ นวยความสะดวกได้

80

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ความบกพร่องทางรา่ งกายด้านการสื่อสาร
ผู้ท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายด้านการส่ือสาร กล่าวคือ เป็นผู้ท่ีมีความ

บกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้ท่ีเกิดมาแล้วไม่สามารถได้ยินเสียงหรือได้ยินเสียงเพียงเล็กน้อย
หรอื สูญเสียการไดย้ นิ เม่อื ยงั อยใู่ นวยั ทารกก่อนท่จี ะเรยี น ภาษาและการพูดน้นั จดั เปน็ พวกผู้ท่หี ูหนวก
โดยกําเนิน ซ่ึงจะส่งผลให้ได้รับผลกระทบทางการส่ือสารอันเป็นส่ิงท่ีสําคัญหรือเป็นปัจจัยสําคัญ
อย่างหน่ึงในพื้นฐานของการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่น้ันอาจเกิดจากสาเหตุทาง
พันธุกรรม หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุท้ังหลังคลอดและก่อนคลอด หรืออาจเกิดจากภาวะผิดปกติทาง
จิตใจทร่ี ุนแรงอย่างมาก ปญั หาหลกั ท่พี บเจอน้นั คอื ปัญหาทางดา้ นของการสื่อสารในสังคม ซง่ึ ส่งผล
กระทบอย่างมากในกรท่ีจะใช้ชีวิตร่วมกับผ่ืน ท้ังในการสื่อสารเบ้ืองต้น จึงจําเป็นจะต้องหาเทคโนโลยี
เช่น เคร่ืองช่วยฟัง ในการช่วยอํานวยความสะดวก หรือ ต้องสื่อสารกับผู้อ่ืนโดยใช้ภาษามือซ่ึงมี
ข้อจํากัดอย่างมากท่ีจะใช้ในการส่ือสารได้อย่างเฉพาะกลุ่ม ในส่วนของความต้องการพ้ืนฐานน้ันคือ
การเข้าถึงการศึกษาท่ีมีส่วนสําคัญอย่างมากในพัฒนาการต้ังแต่เด็กตลอดจนสามารถใช้ชีวิตด้วย
ตนเองได้

ความบกพร่องทางร่างกายด้านการมองเห็น คือ ผู้ท่ีมีปัญหาทางด้านการมองเห็น
ไม่ว่าจะเป็นการท่ีมองเห็นเลือนราง ตลอดไปจนถึงการไม่สามารถมองเห็นอะไรเลยหรือตาบอก โดยใน
การท่ีมีอาการบกพร่องทางการมองเห็นน้ีอาจจะส่งผลได้ไม่มากเท่ากรณีอ่ืน ๆ เพราะยังสามารถรับรู้
และเข้าถึงการศึกษาได้ในระดับหน่ึง เพรามีสิ่งเอานวยความสะดวกข้ันพ้ืนฐานท่ีเป็นสากล เช่น อักษร
เบลล์ ท่ีจะทําให้สามารถอ่านได้จากการลูบคลํา หรือทางเดินสําหรับคนตาบอดตามพื้นท่ีสาธารณะ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังส่งผลกระทบและสร้างความลําบากในการใช้ชีวิต ในส่วนของความต้องการคือ
อาจจะต้องการผู้ดูและในการให้ความช่วยเหลือในการอํานวยความสะดวกเบ้ืองต้น และส่ิง
สาธารณูปโภคท่ีความบกพร่องทางร่างกายด้านการมองเห็นจะสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและ
ทว่ั ถึงย่งิ ขน้ึ

2.2.2 บริการ สวสั ดิการตา่ ง ๆ ท่มี สี ําหรับกลุม่ ดังกล่าว
ในส่วนของการบริการต่าง ๆ ในประเทศไทยน้ันอาจกล่าวได้ว่ายังไม่เพียงพอและยังไม่

มีความท่ัวถึงพอสําหรับกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ท้ังระบบการศึกษาท่ีถึงแม้ว่าจะมี
สวัสดิการท่ีจะสามารถให้เด็กได้เรียนฟรีข้ันพื้นฐาน แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านส่ิงอํานวยความสะดวก
บางโรงเรียนน้ันไม่สามารถจัดหาการบริการสําหรับเด็กท่ีมีความต้องการพิเศษได้ในส่วนใหญ่ และ
ถึงแม้จะมีระบบการให้ความช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการท่ีคอยช่วยเหลือในด้านของค่าใช้จ่าย เช่น
เบ้ียยังชีพผู้พิการ แต่สวัสดิการน้ันก็ดําเนินไปได้อย่างไม่เพียงพอและไม่ท่ัวถึง อีกท้ังปัญหาในด้าน
ของการท่ีไม่สามารถเข้ารับการรักษา เพราะผู้ท่ีประสบปัญหาท่ีเป็นกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่อง
ทางด้านร่างกายส่ วนใหญ่น้ันมีพื้ นฐานครอบครัวท่ียังไม่มันคงหรือยังเป็นครอบครัวท่ียากจนเป็น
ส่วนมาก จึงอาจจะส่งผลกระทบในด้านค่าใช้จ่ายเป็นปริมาณมาก ตลอดจนระบบบริการทาง
การแพทย์ทย่ี งั มีปญั หาขาดแคลนบคุ คลากรทม่ี ีไม่เพียงพอตอ่ ผทู้ ป่ี ระสบปญั หา

2.2.3 บทบาทผ้เู กย่ี วข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายท่เี ลอื ก
ในส่วนของบทบาทของผู้ท่ีเก่ียวข้องกับกลุ่มเด็กท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย

อาจกล่าวได้ว่าผู้ท่ีเก่ียวข้องท่ีสุดเป็นลําดับแรกน้ันคือสถาบันครอบครัวซ่ึงมีความสําคัญและมี

81

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2563

ผลกระทบอย่างมากในการต่อตัวเด็ก ท้ังในด้านของความสัมพันธ์ครอบครัวตลอดจนการสอนทักษะ
ในการใช้ชีวิตของตัวเด็กด้วย ซ่ึงจะส่งผลอยากมากต่อความเป็นตัวตนของเด็กคนน้ัน ๆ ลําดับต่อมา
คือบทบาทของสถาบันการศึกษาจะมีผลอย่างมากต่อตัวเด็กเองท้ังในด้านของการศึกษา พัฒนาการ
ของตัวเด็ก และยังมีอาชีพครูท่ียังเป็นอีกบทบาทท่ีสําคัญท่ีส่งผลต่อเด็กท้ังสภาพจิตใจและสภาพ
สังคมอย่างมากอีกด้วย อีกบทบาทท่ียังมีความสําคัญก็คือแพทย์ ท่ีทําหน้าท่ีในการรักษาและเยียวยา
ในตัวเด็กท้ังในด้านของร่างกายและจิตใจ และอีกหน่ึงบทบาทท่ีมีส่วนสําคัญน้ันก็คือนักสังคม
สงเคราะห์ท่ีมีหน้าท่ีในการเข้าถึงตัวเด็กเพ่ือเข้าใจและแก้ไขปัญหาท่ีผู้คนท่ีกําลังพบเจอกับปัญหาน้ัน
ๆ ร่วมกันกับสหวิชาชีพในการเข้าช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาเพื่ อท่ีจะให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึง
สวัสดิการและสามารถอยู่ร่วมในสั งคมได้อย่างมีความสุ ขและสามารถดํารงชีวิตและพ่ึ งพาตนเอง
ต่อไปได้ในอนาคต

82

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2563

คธั รนิ ทร์ บวั ทอง 6105681644

“ ถ้าพู ดถึง ‘เด็กสมาธิสั้น’ คุณจะนึกถึงอะไรครับ เด็กที่พู ดมา พู ดไม่หยุด ไม่มีสมาธิจดจ่อ นึกถึง
เด็กที่ดู ‘ไม่ค่อยเต็ม’ หรือนึกถึงอะไรกันบ้างครับ หากคุณคิดคล้ายๆกับข้างต้น ผมอยากบอกว่าทั้ง
ถูกและไม่ถูกครับ ความจริงแล้ว เด็กที่สมาธิสั้นก็เหมือนเด็กปกติทั่ว ๆ ไปนี่แหละครับ เพียงแต่พวก
เรามีเรื่องราวที่พิเศษกว่าเด็กคนอื่นเกิดขึ้นในสมองเรา พวกเรายังขาดการยั้งคิด พู ดมาก และทําส่ิง
แปลกๆที่ไม่เหมือนคนปกติ ก็เพราะความพิเศษในสมองนี่แหละครับ ที่ผมใช้คําว่า ‘พวกเรา’ เพราะผม
เองกเ็ ป็นเดก็ สมาธสิ ั้นคนหนงึ่ ครบั เป็นเด็กสมาธิสั้นทเี่ คยโดนหาว่าเป็นเด็กปัญญาออ่ น…”

ข้อความข้างต้นเป็นคําโปรยจากหนังสือเร่ือง “ความสุขของเด็กสมาธิสั้น” ท่ีได้รับรางวัล
ดีเด่น หนังสือสารคดี ประจําปี พ.ศ.2563 ซ่ึงหนังสือเล่มน้ีฉันได้ซ้ือมาเพราะคําโปรยดูน่าสนใจ
และเพราะคนใกล้ตัวของฉันน้ันเป็นเด็กสมาธิสั้น ฉันจึงคิดว่าหนังสือเล่มน้ีจะพาฉันเข้าไปยังโลกของ
พวกเขาบ้าง ฉันจึงได้ซ้ือหนังสือเล่มน้ีให้เป็นของขวัญของตัวเอง ทว่าจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้แกะออก
จากซองเลยสักคร้ัง ฉันมีคนท่ีสนิทคนหน่ึง ขอต้ังนามสมมุติว่า “ตะวัน” เพราะเขาน้ันช่างสดใสเสีย
เหลือเกิน คร้ังแรกท่ีเห็นตะวันฉันค่อนข้างแปลกใจนิดหน่อยท่ีเด็กคนน้ีร่าเริงและซุกซนกว่าเด็กรุ่น
เดียวกัน และตะวันพู ดเก่งพอตัว ถ้าเปรียบตะวันเป็นขีดในแบตเตอร่ี เขาคงเป็นแบตเตอร่ีท่ีเต็มอยู่
ตลอดเวลา ถึงแม้บางคร้ังแบตเตอร่ีของเขาจะลดลงบ้าง แต่ก็สามารถชาร์จได้ด้วยของกินท่ีเขาชอบ
หรืองานอดิเรกของเขา เวลาฉันไปไหนกับตะวัน เขาค่อนข้างเป็นเหมือนนินจา เพราะแค่คลาดสายตา
ไปแวบเดยี วก็หายไปไหนเสียแลว้ เขาแทบอยูไ่ มน่ ง่ิ เอาเสียเลย

“ไมไ่ ปกนิ ข้าวเท่ยี งเหรอตะวนั ”
“ไม่กิน ไม่หวิ ตะวันกินยาไป เลยไมห่ วิ ”
“เอ๋ กินยาเหรอ ไมส่ บายเหรอ ทาํ ไมตอ้ งกนิ ยา”
“ยาสําหรับเดก็ สมาธิส้ัน ตะวนั เป็นเดก็ สมาธิส้ัน”
“หะ๊ ….ตะวนั เป็นเด็กสมาธสิ ้ันเหรอ??”
บทสนทนาน้ันทําให้ฉันรู้ว่าตะวันเป็นเด็กสมาธิส้ัน ง้ันแสดงว่าท่ีตะวันแสดงพฤติกรรมก่อนหน้า
น้ี เพราะเขาเป็นสมาธิสั้นง้ันเหรอ พฤติกรรมท่ีซุกซน อยู่ไม่น่ิง พูดน้ําไหลไฟดับน้ันหนะ เพราะเขาเป็น
เด็กสมาธิสั้นงน้ั หรือ
“ถ้าตะวันกินยา ตะวันจะน่ิง ไม่วอกแวก แต่ถ้าไม่กิน ตะวันจะวอกแวกง่าย ถ้าน่ังเรียนนาน ๆ
ตะวัน จะหลุดง่าย อ่อถ้าตะวันกินยาจะไม่หิวข้าวด้วย แบบเบ่ือ ๆ อาหาร แล้วก็รู้สึกซึมนิดหน่อย
เหมอื นเปน็ ผลขา้ งเคียงเลยแหละ”
หลังจากวันน้ันฉันก็คอยสังเกตพฤติกรรมของตะวัน แต่ฉันก็พบว่าเขาก็ดูเป็นเหมือนเด็กธรรมดา
ปกติท่ัว ๆ ไป ไม่ได้ต่างจากฉัน หรือคุณเสียเท่าไหร่ และเพราะตะวัน ฉันจึงสนใจในกลุ่มเด็กสมาธิส้ัน
ซ่ึงจัดอยู่ในกลุ่มของ “Atpical Learners” เพราะว่าโรคสมาธิสั้นน้ันเกิดจากความผิดปกติในการ
ทาํ งานของสมองท่ที ําใหผ้ ู้ปว่ ยมคี วามบกพร่องในการควบคุมสมาธแิ ละการแสดงออกของพฤตกิ รรม
โ ร ค ส ม า ธิ ส้ั น ห รื อ attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) เ ป็ น ภ า ว ะ
บกพร่องในการทําหน้าท่ีของสมองท่ีมีอาการหลักเป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่
ขาดสมาธิท่ีต่อเน่ือง , ซนมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่น่ิง และขาดการย้ังคิดหรือหุนหันพลันแล่น โดยเร่ิม

83

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

แสดงอาการต้ังแต่ในวัยเด็ก และส่วนใหญ่มักเป็นต่อเน่ืองไปจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ หากไม่ได้รับ
การรักษาช่วยเหลือท่ีดีอาการความผิดปกติท่ีจะเป็น จะทําให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ท้ังในด้านการ
เรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม จากผลการสํารวจของกรมสุขภาพจิต เม่ือปี พ.ศ.2559 พบเด็ก
ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 5.83 หรือประมาณ 2-3 คนในห้องเรียนท่ีมีเด็ก 50 คน ในปัจจุบันเด็ก
และวัยรุ่นท่ีมีปัญหาเหล่าน้ีส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการดูแล แม้จะมีการคัดกรองโดยโรงเรียน แต่ไม่ได้รับ
บริการทางสาธารณสุข เน่ืองจากความขาดแคลนบุคลากร และทรัพยากรในการจัดการ ทําให้อัตรา
การเข้าถึงบริการต่ํามาก เม่ือไม่สามารถเข้าถึงบริการ ทําให้เด็กเหล่าน้ีไม่ได้รับการดูแล เกิดปัญหา
การเรียนต่อเน่ือง ไม่สามารถอยู่ในระบบโรงเรียนได้ หรือแม้อยู่ได้ก็ใช้ความสามารถของตนเองไม่
เต็มท่ี เม่ือไม่ประสบความสําเร็จในการเรียนทําให้เกิดความเส่ียงในการเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์และ
พฤติกรรมตามมา ซ่ึงมักแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมในวัยรุ่น ซ่ึงการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
ต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การให้คําแนะนําแก่พ่อแม่ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ
การช่วยเหลอื ทางด้านการเรียน และการใชย้ า

และเน่ืองจากเด็กไทยมีแนวโน้มในการเป็นสมาธิส้ันเพิ่มมากข้ึน แต่ยังเข้าถึงบริการรักษาน้อย
มาก โดยข้อมูลในปี 2560 มีเพียงร้อยละ 10.55 โดยกรมสุขภาพจิตได้มีนโยบายจัดทําทศวรรษการ
เข้าถึงการรักษาของเด็กสมาธิสั้น ซ่ึงต้ังเป้าไว้ภายใน 10 ปีจะเพ่ิมให้ได้ร้อยละ 75 และผู้ป่วยสมาธิส้ัน
สามารถเขา้ รับการรกั ษา หรอื ปรึกษาได้ท่โี รงพยาบาลของรัฐ เช่น แผนกจติ แพทย์เดก็ ในโรงพยาบาล
ยุวประสารทไวทโยถัมภ์ของกรมสุขภาพจิต เป็นต้น และสมารถใช้สิทธ์ิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หรือบัตรทองได้ และการช่วยเหลือเด็กสมาธิส้ันอย่างมีประสิทธิภาพน้ันต้องมีการช่วยเหลือหลายด้าน
จากหลายฝา่ ย ทง้ั แพทย์ ครู และพ่อแม่ การชว่ ยเหลอื ประกอบดว้ ย

1. การช่วยเหลือด้านจิตใจ แพทย์จะให้ข้อมูลท่ีถูกต้อง เพื่อขจัดความเข้าใจผิดต่าง ๆ
ของพ่อแม่ โดยเฉพาะความเข้าใจผิดท่ีคิดว่าเด็กเกียจคร้าน และเพ่ือให้เข้าใจว่าปัญหา
ท่ตี นเองมีน้นั ไม่ไดเ้ กดิ จากการทต่ี นเองเปน็ คนไม่ดี

2. การปรับเปล่ียนพฤติกรรม จะช่วยให้เด็กมีสมาธิ มีความอดทน ควบคุมตนเองได้ดีข้ึน
การปรับพฤติกรรมน้ันหากคุณครูและพ่อแม่ปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน พฤติกรรม
ของเด็กจะปรับเปล่ยี นไปในทางท่ดี ีข้นึ

3. การช่วยเหลือด้านการศึกษา เด็กสมาธิส้ันควรได้รับการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะ
กบั ลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก

4. การรักษาด้วยยา เด็กบางคนอาจต้องรักษาด้วยยา ซ่ึงยาจะไปกระตุ้นให้สารเคมีใน
สมองท่ชี ่อื โดปามีนหลง่ั ออกมามากขน้ึ ทําให้เด็กนง่ิ ข้นึ และมสี มาธมิ ากข้นึ

ผู้ปกครองสามารถมีบทบาทในการช่วยเหลอื เด็กสมาธสิ ้ันได้ดงั น้ี
1. จัดสภาพแวดล้อมในบา้ นและกาํ หนดกิจวัตรประจาํ วันให้เป็นระเบียบแบบแผน
2. จัดหาบริเวณท่สี งบและไม่มสี ่ิงรบกวนสมาธสิ ําหรับใหเ้ ด็กทําการบ้าน
3. แบ่งงานท่มี ากใหเ้ ด็กทําทีละน้อย และคอยกํากับใหท้ ําจนเสร็จ

84

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

4. ควรพู ดหรือส่ังงานในจณะท่ีเด็กพร้อมท่ีจะฟงั เช่น อาจรอจังหวะท่ีเหมาะ หรือบอกให้
เดก็ ตง้ั ใจฟงั

5. บอกเด็กล่วงหน้าถึงส่ิงท่ีต้องการให้ปฏิบัติและช่ืนชมทันทีเม่ือเด็กทําได้ หากเด็กยังทํา
ไม่ได้อาจวางเฉยโดยไม่ตําหนิ หรือประคับประคองช่วยเด็กให้ทําได้สําเร็จถ้าเป็นเร่ือง
สําคัญ

6. เม่ือเด็กมีพฤติกรรมก่อกวนท่ีอาจมาจากอาการของโรคสมาธิส้ัน ควรใช้วิธีท่ีนุ่มนวล
หยดุ พฤตกิ รรมนน้ั หรอื เบนความสนใจให้เด็กไดท้ าํ กจิ กรรมอ่นื แทน

7. หากเด็กทําผิด ควรใช้ท่าทีท่ีเอาจริงและสงบในการจัดการ เช่น อาจแยกเด็กให้อยู่ใน
มุมสงบตามลําพังช่ัวคราว หรือลงโทษด้วยวิธีท่ีไม่รุนแรง และเป็นไปตามข้อตกลง
เชน่ ลดเวลาดูโทรทศั น์ เปน็ ต้น

8. ให้เด็กมีโอกาสใช้พลังงานและการไม่ชอบอยู่น่ิงให้เป็นประโยชน์ เช่น ช่วยทํางานบ้านท่ี
สามารถทําได้

9. ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างท่ีดี และช่วยฝึกเด็กให้มีระเบียบวินับ อดทนรอ บริหาร
เวลาและจดั ระเบียบในการทาํ กิจกรรมตา่ ง ๆ

10. ติดต่อและประสานงานกับครูอย่างสม่ําเสมอในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนและ
การปรบั ตัวในโรงเรียน

เน่ืองจากผู้ปกครองควรมีการประสานงานกับทางโรงเรียนและให้คําแนะนําแก่ครูเพื่อให้การช่วยเหลือ
เด็กสมาธิส้ันท้ังในด้านการเรียน และการปรับตัวท่ีโรงเรียน ซ่ึงคุณครูสามารถมีบทบาทในการ
ช่วยเหลือเดก็ สมาธสิ ั้นได้ดงั น้ี

1. ให้เด็กน่ังหน้าหรือใกล้ครู เพ่ือจะได้คอยกํากับให้เด็กมีความต้ังใจในการทํางานมากข้ึน
ไม่ควรให้เด็กน่ังหลังห้องหรือใกล้ประตูหน้าต่าง ซ่ึงจะมีโอกาสถูกกระตุ้นให้เสียสมาธิ
ได้ง่าย

2. วางกฎระเบียบ และตารางกจิ กรรมต่าง ๆ ของห้องเรยี นใหช้ ัดเจน
3. ชว่ ยดูแลใหเ้ ดก็ ทํางานเสรจ็ และคอยตรวจสมุดเพ่ือให้แน่ใจไดว้ ่าเดก็ จดงานจนครบ
4. ฝึกการจดั ระเบยี บ วางแผน แบ่งเวลาในการทาํ งาน และตรวจทบทวนผลงาน
5. ใหก้ ารช่นื ชมทันทที เ่ี ด็กตง้ั ใจทาํ งาน หรือทาํ ส่ิงท่เี ปน็ ประโยชน์
6. เม่ือเด็กเบ่ือหน่ายหรือเร่ิมหมดสมาธิ ควรหาวิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจ

บทเรยี นโดยไม่ทาํ ให้เด็กเสียหน้า
7. เม่ือเด็กมีพฤติกรรมก่อกวน อาจใช้วิธีพูดเตือน เบนความสนใจให้ทํากิจกรรมอ่ืน หรือ

แยกให้อยู่สงบตามลําพังประมาณ 5 นาที ควรหลีกเล่ียงการตําหนิ ดุว่า หรือลงโทษ
รนุ แรง ซง่ึ จะเป็นการเรา้ ให้เดก็ เสียการควบคุมตวั เองมากขน้ึ
8. ช่วยเหลือเป็นพิเศษทางด้านการเรียน เช่น การสอนเสริมแบบตัวต่อตัวกลุ่มเล็ก ๆ ใน
รายทม่ี ีความบกพร่องในทักษะดา้ นการเรยี น

85

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ูส้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

9. มองหาจุดดีของเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางความสามารถ และช่วยให้
เพื่อนยอมรบั

10. ตดิ ต่อกบั ผู้ปกครองอย่างสม่าํ เสมอเพ่ือวางแผนรว่ มกันในการช่วยเหลือเด็ก

86

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผ้สู อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2563

ฟา้ ประดบั ดาว สุวรรณคร 6105681719

เด็กทม่ี คี วามบกพรอ่ งทางการได้ยิน (Hearing Impaired Children)

เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยินจัดอยู่ในกลุ่ม Physically Handicapped โดยเป็นใน
รูปแบบของ Speech handicapped เป็นในเร่ืองของการพู ด การได้ยินท้ังเป็นการได้ยินไม่ชัดเจน
หรือหหู นวก

ความบกพร่องทางการได้ยินน้ันสามารถจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยท่ีมีมาแต่กําเนิด และ
ปัจจัยท่ไี ดร้ ับมาหลงั กําเนดิ ดังน้ี

ปัจจยั ทม่ี มี าตง้ั แต่กําเนิด นน้ั นาํ ไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินในทันทหี ลังเกิด หรอื หลังเกดิ
เพียงเล็กน้อย โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซ่ึงเก่ียวข้องกับกรรมพันธุ์หรือไม่เก่ียวข้องกับ
กรรมพันธ์ุ หรืออาจจะเกิดจากภาวะแทรกซ้อนในขณะท่ีทารกอยู่ในครรภ์ สาเหตุของความบกพร่อง
ทางการได้ยินโดยท่ัวไปท่ีเกิดข้ึนต้ังแต่กําเนิด มักได้แก่ โรคหัดเยอรมัน ซิฟลิ ิส หรือโรคติดเช้ืออ่ืน ๆ
อันเกิดต่อมารดาในขณะต้ังครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด การ
ใช้ยาท่ีก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินอย่างไม่เหมาะสมในขณะต้ังครรภ์ โดยเป็นการ
เข้าไปทาํ ลายเส้นประสาทการในได้ยินของทารกได้

ต่อมาเป็นปัจจัยท่ีได้รับมาหลังกําเนิด สามารถนําไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินได้ในทุกช่วง
อายุ ซง่ึ มกั ได้แก่ โรคท่เี กดิ จากการติดเช้อื ซง่ึ สามารถนาํ ไปสู่ภาวะหตู ึงได้ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ เม่อื เกดิ
ในเด็ก การติดเช้ือเร้ือรังในหู ซ่ึงมักแสดงออกมาในลักษณะโรคหูน้ําหนวก ซ่ึงทําให้เกิดการสะสมของ
ของเหลวในหูจนทําให้หูช้ันกลางน้ันอักเสบ, ความบาดเจ็บท่ีเกิดข้ึนต่อศีรษะหรือหู การฟงั เสียงท่ีดัง
เกินไปอย่างต่อเน่ือง อาการหูตึงท่ีแปรผันไปตามอายุ ซ่ึงเกิดจากการเส่ือมของเซลล์อันเก่ียวกับ
กระแสประสาท ข้ีหู รวมท้ังสิ่งแปลกปลอมท่ีขวางอยู่ในช่องหูก็สามารถเป็นสาเหตุของปัญหาความ
บกพร่องทางการได้ยินได้ในบุคคลทุกวัย เพียงแต่ลักษณะความหูตึงจากสาเหตุน้ีส่วนใหญ่จะเป็น
เพียงระดับน้อย และสามารถแก้ไขไดใ้ นทันที

เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน คือ เด็กท่ีไม่สามารถได้ยินได้เทียบเท่ากับบุคคลท่ีมี
ความสามารถในการได้ยินปกติท่ีสามารถรับฟงั เสียงด้วยหูท้ัง 2 ข้างต้ังแต่ระดับ 25 เดซิเบลข้ึนไป
ซ่ึงจะถือว่าเป็นบุคคลท่ีสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) สามารถจําแนกออกได้เป็น 4 ระดับ คือ หู
ตึงน้อย (Mild) หูตึงปานกลาง (Moderately severe) หูตึงมาก (Severe) และหูตึงรุนแรง
(Profound) โดยความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเกิดได้กับหูข้างเดียวหรือท้ัง 2 ข้าง และเป็น
สาเหตุของความยากลาํ บากในการไดย้ นิ เสียงพูดหรือแม้กระทง่ั เสียงท่ดี ังกต็ าม

ความบกพร่องทางการได้ยินน้ันสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ หูตึง หูหนวก โดย
อธบิ ายได้ดังน้ี

หตู งึ (Hard of hearing)
หมายถึง ภาวะท่ีบุคคลมีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับน้อยถึงมาก โดยท่ัวไปจะ
สามารถพู ดคุยสื่อสารได้ และยังสามารถใช้เคร่ืองช่วยฟงั , การแสดงคําบรรยาย รวมท้ังเทคโนโลยี

87

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

อํานวยความสะดวกเพื่อช่วยการฟงั และการได้ยิน อีกท้ังผู้ท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยินมาก ยัง
สามารถใชป้ ระสาทหูเทยี ม (Cochlear implant) ซง่ึ เป็นชุดอุปกรณ์ทผ่ี า่ ตดั ฝงั เขา้ ไปในหูส่วนในได้

หหู นวก (Deaf)
หมายถึง ภาวะท่ีบุคคลมีอาการหูตึงรุนแรง โดยอาจได้ยินเพียงเล็กน้อยเท่าน้ันหรืออาจไม่ได้
ยินเลย และจะส่ือสารโดยใชภ้ าษามอื
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เม่ือเดือน กุมภาพันธ์ 2556 พบว่า กว่าร้อยละ
5 ของประชากรโลก หรือประมาณ 360 ล้านคน กําลังประสบปัญหาสูญเสียการได้ยิน โดยคิดเป็น
ผู้ใหญ่ 328 ล้านคน และเด็ก 32 ล้านคน ความบกพร่องทางการได้ยินน้ันอาจเกิดมาจากปัจจัยทาง
พันธุกรรม การติดเช้ือบางประเภท เช่น เย่ือหุ้มสมองอักเสบ การได้รับยาท่ีก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะ
และเส้นประสาทในการได้ยิน การฟงั เสียงท่ีดังเกินไป รวมไปถึงปัจจัยด้านอายุ แม้ว่าความบกพร่อง
ทางการได้ยินจะนําไปสู่ปัญหาทางด้านพฤติกรรม สังคม อารมณ์ และการเรียนรู้ของเด็ก ท้ังยัง
ส่งผลกระทบในระยะยาวเพราะอาจจะเป็นอุปสรรคต่อชีวิตการทํางานในอนาคต รวมท้ังในการใช้
ชีวิตประจําวันท่ัวไป แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยกล่าวว่ากว่าคร่ึงของอาการหูตึงและหูหนวกสามารถ
ป้องกนั ไม่ใหล้ กุ ลามได้
ปัญหาท่ีมาพร้อมกับการท่ีไม่สามารถได้ยินเสียงได้น้ันได้ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก
ท้ัง มีปัญหาทางด้านการส่ือสาร เด็กหูหนวกจะมีปัญหาทางภาษามาก เพราะขาดการส่ือความหมาย
ด้านภาษาพูด ต้องใช้มือแทนภาษาพูด ทําให้ติดต่อกับบุคคลอ่ืนได้น้อย มักเขียนหนังสือผิดเขียนกลับ
คํา รู้คําศัพท์น้อย การใช้ภาษาเขียนผิดพลาด, มีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะสาเหตุของภาษาทําให้การ
ส่ือความทําความเข้าใจเป็นไปได้ยากลําบาก ถ้าหากไปอยู่ในสังคมท่ีไม่เป็นท่ียอมรับแล้ว ก็ย่อมเพ่ิม
ปัญหามากข้ึน ซ่ึงทําให้เด็กสุขภาพจิตเสื่อม มีปมด้อย ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ เช่นโกรธง่าย
เอาแต่ใจตัวเอง ข้ีระแวง ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีความหนักแน่นอดทนต่อการทํางาน หนีงานหนัก
เป็นต้น, มีปัญหาด้านครอบครัว ในกรณีท่ีครอบครัวของเด็กไม่ยอมรับ จะทําให้เด็กขาดความรัก
ความเข้าใจ ขาดความอบอุ่นทางใจ มีความทุกข์เพราะความน้อยเน้ือต่ําใจ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาฝัง
รากลึกจิตใจของเด็กมาก เพราะจะระบายกับใครก็ไม่ได้เน่ืองจากความบกพร่องการสื่อความหมาย
ทางการพู ด ส่งผลไปยังปัญหาด้านสังคม ถ้าหากอยู่ในสังคมท่ีไม่ยอมรับ ขาดความเข้าใจ เด็กมักจะ
ถูกกล่ันแกล้ง ล้อเลียน ซ่ึงเป็นสาเหตุหน่ึงท่ีทําให้เด็กหูหนวกเกิดความน้อยเน้ือต่ําใจ และบางคร้ัง
อาจตกเป็นเคร่ืองมือของพวกมิจฉาชีพ เช่น เด็กบางรายก็ถูกล่อลวงให้ค้าประเวณี ติดยาเสพติด
และนักการพนัน และสุดท้ายเด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านการประกอบอาชีพ บุคคลท่ีหูหนวกจะเสียสิทธิ
ในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกับคนปกติ ซ่ึงปัญหาเหล่าน้ีเกิดข้ึนมาจากการไม่ได้รับสวัสดิการหรือ
ความช่วยเหลือจากรัฐ จากการสํารวจการเข้าถึงความช่วยเหลือหรือสวัสดิการของรัฐและการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าประชากรพิการท่ีไม่ได้จดทะเบียนคนพิการมีมากกว่าคร่ึง (ร้อยละ 55.6)
ท้ังน้ีเน่ืองจากไม่ต้องการจดทะเบียน (รวมถึงไม่คิดว่าตนเองพิการ) หรือความพิการไม่อยู่ในระดับท่ี
จดทะเบียนได้ซ่ึงมีค่อนข้างมากถึงร้อยละ 48.0 และมีอีกเพียงเล็กน้อยร้อยละ 7.6 ท่ีไม่ได้จดทะเบียน
คนพิการเน่ืองจากไม่ทราบข้อมูลเก่ียวกับการจดทะเบียน ไม่มีคนพาไป และเดินทางไม่สะดวก เป็นต้น
ท้ังน้ียังมีประชากรพิการอีกร้อยละ 15.1 มีความจําเป็นต้องใช้เคร่ืองช่วยแต่ไม่มี และผู้พิการ 1 ใน 5
(ร้อยละ 21.2) ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื หรือสวสั ดิการจากรฐั แตย่ ังไมไ่ ดร้ ับ

88

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

บริการหรือสวัสดิการท่ีรัฐได้จัดทําให้เพื่อช่วยเหลือแก่เด็กท่ีมีปัญหาในด้านของการได้
ยินนน้ั มีดงั น้ี

- สวัสดิการด้านการศึกษา ในด้านของสวัสดิการข้ันพ้ืนฐานในเร่ืองของการศึกษา โดยเป็น
การจัดการศึกษาท่ีเหมาะสมกับเด็กโดยแบ่งออกเป็นหลายวิธี เช่น การจัดการศึกษาท่ีเน้นการแก้ไข
ปัญหาความบกพร่องทางการได้ยินผ่านการใช้เคร่ืองช่วยฟงั เคร่ืองขยายเสียงหรือการใช้เทคโนโลยี
ต่าง ๆ ท่ีสามารถเพ่ิมระกับเสียงการได้ยิน เช่น การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม การจัดการศึกษาแบบ
เน้นการฟังเป็นฐาน ท่ีจะมีการเรียนการสอนวิธีการพู ดโดยใช้การได้ยินเป็นหลัก หรือการจัด
การศึกษาท่ีให้ความสําคัญกับการใช้ภาษามือ ซ่ึงเป็นภาษาพื้นฐานของคนหูหนวก โดยจะเน้นการใช้
สายตาเป็นฐาน นอกจากน้ียังมีการจัดต้ังศูนย์การศึกษาพิเศษ ซ่ึงคือสถานศึกษาท่ีจัดต้ังโดยรัฐท่ีจัด
การศึกษาในรูปแบบนกระบบหรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการต้ังแต่แรกเกิดจนถึงตลอดชีวิต รวมถึง
การจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูดูแลผู้พิการ ท้ังน้ีต้องเป็นการศึกษาฟรีตามนโยบายของรัฐท่ีระบุให้เด็ก
ได้เรียนฟรี 15 ปี

- สวัสดิการด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล เป็นในรูปแบบของการบริการด้านการ
ฟ้ นื ฟู สมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ ท้ังการตรวจวินิจฉัย การให้คําแนะนําหรือการแนะ
แนว การฟ้ ืนฟู สมรรถภาพทางการได้ยิน การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และสังคม
บาํ บดั การฝกึ ทักษะการเรยี นรู้ขน้ั พื้นฐาน การใหบ้ รกิ ารเก่ยี วกับกายอปุ กรณเ์ ทียม กายอปุ กรณ์เสรมิ
เคร่อื งช่วยความพิการหรอื สื่อส่งเสรมิ พัฒนาการ

- บริการสวัสดิการสังคม คนพิ การมีสิทธิได้รับสวัสดิการตามความเหมาะสมอย่าง
สมเหตสุ มผล

- บริการล่ามภาษามือ
บทบาทผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องในการทํางานกับกลุ่มเป้าหมายน้ันประกอบไปด้วยหลากหลาย
วิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ครู หรือพ่อแม่ผู้ปกครองของ
เดก็ โดยการทํางานน้นั เป็นการปอ้ งกนั ส่งเสริมและพัฒนาเดก็
นักสังคมสงเคราะห์น้ันมีหน้าท่ีในการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก อธิบาย ให้คําปรึกษา
ประสานงานแก่ครู พ่อแม่ หรือสังคมรอบตัวเด็กให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเด็ก สร้างความตระหนักรู้
ในคุณค่าของตนเองให้แก่เด็กเพ่ือให้เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของตน ช่วยให้ครู
เข้าใจเด็กในห้องเรียน รวมไปถึงจัดกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีสามารถส่งเสริมเด็กในเร่ืองของการปรับตัว
การควบคุมอารมณ์หรอื เป็นกิจกรรมท่ชี ่วยในเรอ่ื งพัฒนาการของเด็ก
ตอ่ มาเป็นบคุ ลากรทางการแพทย์ โดยมีทง้ั
- แพทย์ท่ัวไปและแพทย์ผู้เช่ียวชาญเฉพาะ ท่ีทําหน้าท่ีตรวจ วินิจฉัยรวมถึงวางแผนการ
บําบัดรักษาเพื่อให้สามารถดํารงชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติท่ีสุด ซ่ึงอาศัยความร่วมมือกับพยาบาล
นักกจิ กรรมบําบัด นักการพูด เปน็ ต้น
- นักโสตสัมผัสวิทยา คือผู้ท่ีมีความรู้และความสามารถในการตรวจวัดการได้ยินและแนะนํา
การใชเ้ คร่อื งชว่ ยฟงั

89

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563

- นักการแก้ไขการพู ด ผู้ท่ีมีความรู้ในการทดสอบและประเมินความสามารถในการพู ด เพื่อ
วางแผนแก้ไขในด้านการพูดของเด็ก มีการฝึกตามความเหมาะสมรายกรณี แนะนําเทคนิควิธีการสอน
แกค่ ณุ ครผู ู้สอนพูด

และนอกจากน้ยี ังมีบคุ ลากรทางการศึกษา ซง่ึ ได้แก่
- ผู้อํานวยการการศึกษาพิเศษ โดยมีหน้าท่ีรับผิดชอบการจัดการดูแลเด็กพิเศษทุกคน
รวมถงึ สนบั สนุนการสอนเสริมและตรวจสอบความเหมาะสมของการจดั เดก็ เข้ารว่ มกิจกรรม
- ครูการศึกษาพิเศษ เป็นผู้ท่ีรับผิดชอบการดําเนินการ จัดต้ัง ประเมินผลและวางแผน
การศึกษาของเด็กพิเศษเปน็ รายกรณี
สรุปได้ว่า เด็กท่ีมีปัญหาด้านการได้ยินน้ันมีท้ังแต่กําเนิดและภายหลังกําเนิด โดยท่ีแบ่งได้ตาม
ระดับความรุนแรงและบริการท่ีรัฐได้จัดต้ังข้ึนเพ่ือผู้มีปัญหาทางการได้ยินน้ันก็มรท้ังในด้านของสิทธิ
ข้ันพ้ืนฐานด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ เป็นต้น โดยผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องน้ันมีการทํางานร่วมกันเป็น
กระบวนการ ประสานงานหรือข้อมูลกันเพื่อช่วยเหลือให้เด็กท่ีมีปัญหาทางด้านการได้ยิน หรือเด็ก
พิเศษในรูปแบบอ่ืน ๆ ได้รับการดูแลและได้รับสวัสดิการท่ีพึงได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับ
พัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพ่ือให้เด็กน้ันได้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยไม่มีการแบ่งแยก
หรือถูกเลือกปฏิบัติจากใครผู้ใดผู้หน่ึงหรือจากสังคม และสามารถเป็นส่วนหน่ึงของสังคมได้อย่างมี
ความสุข

90

วชิ า สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ปานตะวนั เฝ้าด่าน 6105681750

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้พิการทางสายตา เหตุผลท่ีเลือกเน่ืองจากเคยเห็น ผู้พิการทางสายตา
สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ มีวันหน่ึงพบผู้พิการทางสายตาสอบถามเส้นทางไปท่ีแห่งหน่ึง
เม่ือนักศึกษาแจ้งข้อมูลไป ผู้พิการทางสายตาท่านน้ันก็ทําท่าทีว่ารู้จัก และจึงเดินต่อไปโดยไม่ได้ให้เรา
นําทางไป นักศึกษาจึงสนใจค้นคว้าข้อมูลเก่ียวกับผู้พิการทางสายตา เพ่ือให้มีความเข้าใจเก่ียวกับผู้
พิการทางสายตาใหม้ ากข้นึ

ผู้พิการทางสายตาท่ีนักศึกษาเลือกอยู่ในกลุ่มท่ี 3 ซ่ึงกลุ่ม physically handicapped ซ่ึง
เป็นผู้ท่ีผิดปกติทางด้านร่างกาย ผู้อ่ืนจะสามารถเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ตาบอด หู
หนวก แขนขาด ขาขาด มีนว้ิ เกนิ หรอื ปอลิโอ

ในทางการแพทย์ คนท่ีบกพร่องทางการมองเห็น หรือท่ีเรียกว่า ผู้พิ การทางสายตา
หมายถึงผู้ท่ีมองไม่เห็น หรือ พอเห็นเห็นแสง เห็นเลือนราง และมีความบกพร่องทางสายตา ท้ังสอง
ข้าง โดยมีความสามารถในการมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนปกติ หลังจากท่ีได้รับการรักษาและ
แก้ไขทางการแพทย์ หรอื มีลานสายตา กว้างไม่เกนิ 30 องศา โดยแบ่งเปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี
1. ตาบอดสนิท หมายถึง คนท่ีไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นได้บ้างไม่มากนัก ไม่
สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ ในการเรียน การสอน หรือทํากิจกรรมได้
ต้องใช้ประสาทสัมผัส อ่ืนแทนในการเรียนรู้ และหากมีการทดสอบสายตาประเภทน้ี อาจพบว่าสายตา
ข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/20 หรือน้อยกว่าน้ัน และมีลานสายตา โดยเฉล่ียอย่างสูงสุดจะ
แคบกวา่ 5 องศา
2. ตาบอดไม่สนิท หรือบอดเพียงบางส่วน สายตาเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่องทางสายตา
สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติ เม่ือทดสอบสายตาประเภทน้ี จะมีสายตาข้างดี สามารถ
มองเห็นได้ในระยะ 20/60 หรือน้อยกว่าน้ัน และมีลานสายตา โดยเฉล่ีย อย่างสูงสุด จะกว้างสูงสุด
ไม่เกิน 30 องศา

สภาพปัญหาของผู้พิการทางสายตา ซ่ึงจะกล่าวถึงในเร่ืองการเดินทาง การศึกษา การ
ทาํ งาน
ซ่ึงการเดินทางของผู้พิการทางสายตา ข้ึนอยู่กับเหตุปัจจัยหลายประการ เช่น ทักษะในการทํา
ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคล่ือนไหว เทคนิคในการใช้ไม้เท้าขาว หรืออุปกรณ์ช่วยใน
การเดินทางชนิดอ่ืน ๆ นอกจากน้ี ยังข้ึนกับสภาพแวดล้อม หรือตนเองท่ีมีต่อความสามารถของผู้
พิการทางสายตาอของแต่ละคน ซ่ึงปัจจุบันการเดินของผู้พิการทางสายตาสามารถใช้รถโดยสาร
สาธารณะได้แต่ตัวเลือกในการเดินทางท่ีสะดวกมีไม่เยอะ รถสาธารณะท่ีคํานึงถึงผู้พิการทางสายตา
ยกตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าBTS/MRT ซ่ึงจะมีส่ิงอํานวยความสะดวก ลิฟต์สําหรับผู้พิการในการใช้
บริการ เม่ือใช้รถไฟฟ้าจะมีเสียงตามสายว่าขณะน้ีถึงสถานีใด ทําให้ผู้พิการทางสายตาได้รับความ
สะดวกและไม่เกิดความสับสน แต่ในทางกลับกัน ผู้พิการทางสายตาไม่สามารถข้ึนรถเมล์ได้หากไม่มี
คนนําทาง เน่ืองจากไม่สามารถรับรู้ได้ว่ารถเมล์จะเดินทางมาถึงเม่ือใด และรถเมล์ใช่สายท่ีเขาจะ
เดินทางไปหรือไม่ และถึงแม้จะสามารถข้ึนรถเมล์ได้แล้ว เขาก็ไม่สามารถท่ีจะรับรู้ได้ว่าขณะน้ีรถเมล์ได้
เดินทางถึงสถานท่ีใด จึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อ่ืน ส่งผลให้ผู้พิการทางสายตาลดคุณค่าใน

91

วิชา สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเด็กพิเศษ Section 810001
อาจารย์ผสู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ตนเอง ในด้านเรียนหนังสือ โดยท่ัวไปแล้ว ผู้พิการทางสายตาจะได้รับการสอนให้ใช้อักษรเบรลล์เป็น
ส่ือในการอ่าน และเขามีศักยภาพในการเรียนรู้ เขียนหนังสือ นอกจากน้ี ก็อาจเรียนรู้ผ่านสื่ออ่ืน ๆ
เช่น เสียง สื่ออิเลคโทรนิคส์ หรือคอมพิวเตอร์ และอักษรขยายใหญ่สําหรับคนท่ีเห็นเลือนรางได้
ในด้านการทํางาน ผู้พิการทางสายตาแทบจะไม่ต่างจากบุคคลท่ัวไป มีผู้พิการทางสายตาทํางาน
หลากหลายสาขา เช่น เป็นนักวิชาการ ครู อาจารย์ พนักงานบริษัท วิศวกร นักธุรกิจ นักจิตวิทยา
เกษตรกรนักวิทยาศาสตร์ และ อ่ืน ๆ แต่ท่ียังไม่ปรากฏในขณะน้ีคือ อาชีพคนขับรถ และในส่วนของ
การช่วยเหลือตนเองผู้พิ การทางสายตาส่ วนใหญ่ก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่างเหมือนคน
ปกติท่วั ไปไม่ว่าจะ อาบนา้ํ ซักผ้า หรอื การรบั ประทานอาหาร เป็นตน้

สิ่งท่ีผู้พิการทางสายตาต้องการ คือ สิทธิท่ีเท่าเทียมกับคนปกติ อยากให้คนอ่ืนคิดว่าผู้
พิการทางสายตาไม่ว่าจะเลือนรางหรือไม่เห็นเลยก็ตาม ก็สามารถดํารงชีวิตเหมือนเช่นคนปกติได้ แต่
ต้องการคําแนะนําช่วยเหลือเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าน้ัน ไม่ต้องการคําเยาะเย้ยถากถาง นินทาว่า
กล่าว หรือคําว่า “ น่าสงสาร ” หรือ “ น่าลําบากน่าดู ” คําพูดแบบน้ีเม่ือผู้พิการได้ยินจะรู้สึกห่อเห่ียว
แต่คนพิการต้องการได้ยินคําว่า “ ถึงตาพิการก็สามารถดํารงชีวิตเหมือนคนปกติได้ ” คําเช่นน้ีคือ
คําทอ่ี ยูใ่ นแงบ่ วก คนท่ตี าพิการหรือพิการส่วนอน่ื ๆ จะรูส้ ึกว่าตนเองมีคณุ คา่

สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย มีคนพิการท่ีได้รับการออกบัตรประจําตัวคนพิการ
จํานวน 2,041,159 คน (ร้อยละ 3.08 ของประชากรท้ังประเทศ) สามาถจําแนกเป็นคนพิการ เพศชาย
จํานวน 1,068,145 (ร้อยละ 52.33) และเพศหญิง จํานวน 973,014 คน (ร้อยละ 47.67) และพิการ
ด้านการมองเหน็ จาํ นวน 204,012 คน (ร้อยละ 9.99)

ผู้พิ การทางสายตาได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายและได้รับประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และอนุบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 คน
พิการได้รับสิทธิท่ีสําคัญอย่างเป็นรูปธรรม ซ่ึงครอบคลุมวิถีชีวิตคนพิการ ต้ังแต่ เกิด จนตาย รวม
อยา่ งน้อย 8 ประการ ไดแ้ ก่
1. เบ้ียความพิการ –คนพิการทุกคนท่ีมีสมุด/บัตรประจําตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ“เบ้ียความ
พิการ” คนละ 500 บาท/เดือนได้ ซ่ึงแต่เดิม เฉพาะคนพิการท่ีไม่มีรายได้เท่าน้ัน จึงจะมีสิทธิได้รับ
“เบ้ียยังชีพ” เดือนละ 500 บาท นอกจากน้ัน คนพิการท่ีสูงอายุ หรืออายุต้ังแต่ 60 ปีข้ึนไป มีสิทธิ
ไดร้ ับทง้ั “เบ้ยี ความพิการ” และ”เบ้ยี ผสู้ ูงอาย”ุ รวมเดอื นละ 1,000 บาท
2. บรกิ ารฟ้ นื ฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ แตเ่ ดิมคนพิการได้รับบริการทางการ
3. บริการจัดการศึกษา คนพิการทุกคนมีสิทธิเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ท้ังการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน 15 ปี
รวมถึงการศึกษาระดบั อาชีวศึกษา ประกาศนยี บตั รช้นั สูง และระดับปริญญาตรี
4. บริการจ้างงานคนพิ การ ตามระเบียบใหม่ของกระทรวงแรงงาน ซ่ึงเตรียมจะประกาศใช้
กําหนดให้สถานประกอบการของเอกชน และหน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทํางาน ใน
อัตราส่วนจํานวนลูกจ้างท้ังหมด คาดว่า น่าจะเป็น 50 คน ต่อ คนพิการ 1 คน ท้ังน้ี หากสถาน
ประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทํางานจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ หรือสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ด้วยการให้
สัมปทาน จัดสถานท่ีจําหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลือคน

92

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563

พิการหรือผู้ดูแลคนพิการอย่างสมเหตุสมผล ส่วนหน่วยงานราชการท่ีไม่รับคนพิการเข้าทํางานไป
ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ แต่ต้องสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการใน
ลกั ษณะเดยี วกนั
5. บริการสิ่งอํานวยความสะดวก หน่วยงานท้ังภาครัฐและเอกชนจะต้องจัดส่ิงอํานวยความสะดวก
ตามความเหมาะสม เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ เช่น บริการในการ
เดินทาง บริการขนส่งสาธารณะ บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการให้สัตว์นําทางเดินทางกับคนพิการ
เป็นต้น ท้ังน้ี ค่าใช้จ่ายท่ีสถานประกอบการจัดทําส่ิงอํานวยความสะดวกให้คนพิการสามารถนําไป
ลดหยอ่ นภาษีเงินได้
6. บริการเงินกู้ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิขอกู้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการเพื่อการประกอบอาชีพอิสระได้ โดยกู้เป็นรายบุคคล คนละไม่เกิน 40,000 บาท หรือกู้เป็น
กลุ่มเพ่ือช่วยกนั ประกอบอาชพี ไม่มดี อกเบย้ี แตต่ อ้ งผอ่ นส่งภายใน 5 ปี
7. บริการสวัสดิการสังคม คนพิการมีสิทธิได้รับสวัสดิการตามความเหมาะสมอย่างสมเหตุสมผล เช่น
1) ผู้ช่วยคนพิการ (สําหรับคนพิการระดับรุนแรง) ซ่ึงผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานของกระทรวง
พัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษยแ์ ล้ว
8.การลดหย่อนภาษีเงินได้ ผูด้ แู ลคนพิการทม่ี ีรายได้ และต้องเสียภาษีเงินได้ มสี ิทธไิ ด้รับ

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เป็นโรงเรียนแห่งหน่ึงในประเทศไทยท่ีเปิดสอนผู้พิการ
ทางสายตา ซ่ึงเป็นโรงเรียนเอกชนการกุศลมีท้ังแบบประจําและไปกลับ สอนต้ังแต่ระดับช้ันอนุบาล 2
จนถึงประถม 6 จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า ในประเทศไทยมีโรงเรียนสอนคนตาบอดเอกชนไม่ถึง 10
แห่ง ท้ังโรงเรียนท่ีสอนต้ังแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมปลายและโรงเรียนระดับมัธยมปลาย
นอกจากน้ียังมีโรงเรียนรัฐบาลท่ีสอนคนตาบอดภายใต้สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษอีก 2 แห่ง
และศูนย์การศึกษาพิเศษในแต่ละจังหวัด นอกจากโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการแล้วยังมีโรงเรียน
เรียนร่วมท่ีโรงเรียนสอนคนตาบอดเป็นผู้ส่งนักเรียนไปเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในระดับอนุบาลเด็ก
จะต้องฝึกทักษะการดํารงชีวิต เช่น การใส่เส้ือผ้า กินข้าว แปรงฟนั เข้าห้องน้ํา และเม่ือขยับข้ึนมาใน
ระดับช้ัน ป.1 เด็กจึงเร่ิมเรียนทักษะทางด้านวิชาการ ด้วยความท่ีเป็นโรงเรียนสอนคนตาบอดและเด็ก
แต่ละคนมีความต้องการพิเศษเฉพาะท่ีต่างกัน จึงทําให้ครูต้องดูแลอย่างใกล้ชิดมากข้ึน จึงมีกฎว่า
ในระดับช้ันอนุบาล คุณครู 1 คนถูกมอบหมายให้สอนนักเรียนคาบละไม่เกิน 5 คน ถ้าเป็นระดับช้ัน
ประถมคุณครู 1 คน สามารถสอนนักเรียนได้คาบละ 10 คน เพื่อท่ีครูแต่ละคนจะได้ดูแลนักเรียนได้
อย่างทว่ั ถงึ

บทบาทท่เี ก่ยี วข้อง
ครอบครัวเป็นพื้นฐานสําคัญท่ีจะช่วยให้ผู้พิการสามารถเติบโตเป็นคนท่ีช่วยตนเอง สามารถ

ดูแลและให้กําลังใจผู้พิการได้อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะพ่ึงประสบเป็นผู้พิการ หรือพิการต้ังแต่กําเนิด
ในช่วงแรกคนในครอบครัวไม่ควรให้ผู้พิการทางสายตาอยู่คนเดียว ควรพาไปทํากิจกรรมต่าง ๆ เรียน
อักษรเบลล์ หรือพาไปเรียนในโรงเรียนปกติ ท่ีอนุญาตให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติได้และอย่า
ทาํ เหมือนเขาเปน็ คนพิการใหป้ ฏบิ ัติเหมอื นคนปกติทว่ั ไป

93

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ ู้สอน ผศ.ดร.ป่ ินหทยั หนนู วล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563

สังคมควรท่ีจะปรับตัวเข้าหาผู้พิการทางสายตา เพราะคนพิการทางสายตา ก็เป็นบุคคลหน่ึง
แม้ตามองไม่เห็นแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกับคนปกติได้ หากสังคมยอมรับ และเปิดโอกาสให้เขาได้เข้ามามี
บทบาทในการดํารงชีวติ ดงั นน้ั ควรจะมกี ารเรียนรู้ทจ่ี ะชว่ ยเหลอื ผูพ้ ิการทางสายตาอยา่ งถกู วิธี

นักจิตวิทยา สามารถท่ีจะเข้าใจปัญหาและปลอบประโลมปัญหาทางด้านจิตใจผู้พิการทาง
สายตาได้ เน่ืองจากการเป็นผู้บกพร่องทางด้านสายตา ทําให้ผู้พิการทางสายตาลดคุณค่าในตนเอง
ไมร่ กั ตนเอง และรสู้ ึกนอ้ ยเนอ้ื ตา่ํ ใจ

นักสังคมสงเคราะห์ สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาให้มีความเป็นอยู่ท่ีดีข้ึน
พิทกั สิทธ์ใิ ห้เขา้ ถงึ สวสั ดกิ ารไดอ้ ย่างเท่าเทยี ม

ครูในโรงเรียน มีส่วนช่วยให้ผู้พิการทางสายตาเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม และช่วยให้เขา
สามารถเป็นส่วนหน่งึ ของสังคม จงึ เป็นการสร้างความม่นั ใจใหก้ บั ผู้พิการทางสายตา

94

วชิ า สค.362 นโยบายและสวัสดกิ ารการศกึ ษาสาํ หรบั เด็กพิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทัย หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2563

ศรุตา เขยี วผิว 6208680279

ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ย ท่ี ส น ใ จ คื อ ก ลุ่ ม เ ด็ ก เ ร่ ร่ อ น เ ห ตุ ผ ล ท่ี เ ลื อ ก เ ด็ ก เ ร่ ร่ อ น
เพราะเด็กเร่ร่อนคือกลุ่มเด็กเปราะ บางมีร่างกายท่ีสมบูรณ์ แต่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ อารมณ์
ความรู้สึกและเสียความสามารถในการเข้าสังคม เด็กกลุ่มน้ีถูกละเลยสิทธิท่ีตนเองพึงมีตาม “อนุ
สัญญาฯ ท้งั หมด 54 ขอ้ ประกอบไปดว้ ยสาระสําคญั เรอ่ื งสิทธขิ องเดก็ 4 ดา้ น ได้แก่ สิทธทิ จ่ี ะมีชวี ิต
รอด สิทธิท่ีจะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม และต้ังอยู่บน
หลักการไม่เลือกปฏิบัติ และถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นท่ีต้ัง” (ยูนิเซฟ,2532) เด็กกลุ่มน้ีส่วนใหญ่
ไม่ได้รับการศึกษา ซ่ึงเป็นสิทธิข้ันพ้ืนฐานท่ีได้รับการรับรองตามกฎหมาย การเข้ารับบริการทาง
สาธารณสุข อีกท้ังยังเสี่ยงต่อการกระทําผิดและถูกใช้เป็นเคร่ืองมือในการกระทําผิด เช่น ก่อ
อาชญากรรม ถูกชักจูงไปกระทําสิ่งผิดกฎหมาย การเข้าไปเก่ียวข้องกับสารเสพติด และอีกสาเหตุท่ี
เลือกเด็กเร่ร่อน เพราะเด็กเร่ร่อนมีลักษณะคล้ายเด็กถูกทอดท้ิงท่ีดิฉันเคยมีประสบการณ์เห็น เช่น
ในข่าวทางโทรทัศน์และในชีวิตจริง เด็กเหล่าน้ันถูกทอดท้ิงจากครอบครัวท่ีแตกแยก อีกท้ังการ
ทอดท้ิงทางอารมณ์ เช่น การละเลยการแสดงความรัก ความสนใจ การดูแลเอาใจใส่ท่ีคนท่ัวไปมักให้
ความสนใจน้อย แต่การถูกทอดท้ิงทางอารมณ์คือสิ่งท่ีสําคัญท่ีสามารถทําให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ
และมมุ มองเชงิ ลบท่มี ตี ่อโลกให้กับเด็กเปน็ อย่างมาก ทําใหเ้ ดก็ ต้องออกมาใช้ชวี ิตในโลกตัวคนเดียว

เด็กเร่ร่อนจัดอยู่ในกลุ่ม Disturbed คือ กลุ่มเด็กท่ีมีลักษณะทางกายภาพปกติ แต่บกพร่อง
ด้านการปรับตัว กลุ่มเด็กท่ีได้รับผลกระทบจากภาวะทางอารมณ์ท่ีมีผลจากสังคม หรือภาวะทาง
สังคมท่ีผลมาจากอารมณ์ อาจเกิดจากพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ส่งผลต่อการปรับตัวให้เข้า
กับสังคมไมไ่ ด้ เดก็ เรร่ ่อนถูกแบ่งเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่

1.เด็กท่ีเร่ร่อนตามวิถีของครอบครัว เด็กกลุ่มน้ี “อพยพเคล่ือนท่ีตามครอบครัวไปตามแหล่ง
งานใหม่ ได้แก่ งานในไร่อ้อย งานกรีดยางในสวน จนถึงงานตามแหล่งก่อสร้างและงานขอทานและ
พักตามข้างทางในเมืองใหญ่” (วัลลภ ตังคณานุรักษ์, 2535) หากเด็กอยู่ในระบบการศึกษาเด็กต้อง
ย้ายโรงเรียนตามครอบครัวบ่อย ทําให้ยากต่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคมในโรงเรียนของพื้นท่ีน้ัน ๆ
การเข้าเรยี นกลางเทอมอาจส่งผลใหก้ ารศึกษาขาดประสิทธภิ าพ

2.เด็กเร่ร่อนท่ีหลุดออกมาจากครอบครัว เด็กกลุ่มน้ีเป็นเด็กท่ีได้รับแรงผลักอย่างรุนแรงจาก
ครอบครัว ต้ังแต่ความยากจน ความลําบากในครอบครัว การถูกทารุณกรรมเป็นประจํา การถูก
บังคับใช้งานอย่างหนัก ทําให้ทนรับสภาพเหล่าน้ีไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านมาเร่ร่อนเพื่อความอยู่รอด
ของตัว (วัลลภ ตังคณานุรักษ์, 2535) เด็กเหล่าน้ีส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา อาศัยอยู่ตามชานชาลา
รถไฟ ศาลาทพ่ี ักผโู้ ดยสาร ใต้สะพาน

จากข้อมูลสถิติปี 2561-2563 สํานักนโยบายและแผนการศึกษาข้ันพื้ นฐาน สํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พบว่ามีจํานวนเด็กเร่ร่อนท่ีอยู่ระบบการศึกษาทุกระดับช้ัน รวม
287,287 และ 213 ตามลําดับ ซ่ึงเป็นสัดส่วนท่ีน้อยมากเม่ือเทียบกับจํานวนเด็กเร่ร่อนท้ังหมดท่ีมี
ประมาณ 50,000 คน

สํ า ห รั บ ส า เ ห ตุ ท่ี พ บ ม า ก ท่ี สุ ด ท่ี ทํ า ใ ห้ เ ด็ ก แ ย ก ตั ว อ อ ก ม า คื อ ปั ญ ห า ค ร อ บ ค รั ว
โดยเด็กเร่ร่อนบางคนมีบ้านอยู่อาศัยแต่ไม่อยากอยู่ เน่ืองจากสภาพครอบครัวไม่อบอุ่น เกิดปัญหา

95

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรับเดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารยผ์ สู้ อน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

ความแตกแยก เช่น พ่อแม่หย่าร้างกันหรือต่างฝ่ายต่างมีคู่ครองใหม่ ทําให้เด็กไม่สามารถปรับตัวเข้า
กับ พ่อหรือแม่ใหม่ได้ เกิดความคับข้องใจมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนเกิน พ่อแม่ทะเลาะวิวาท และ
การถูกทารุณกรรม จะเห็นได้ว่าสาเหตุของปัญหาไม่ใช่ตัวเด็ก แต่ส่งผลโดยตรงกับความรู้สึก
อารมณ์ และการปรับตัวของเด็กให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ ทําให้เด็กแยกตัวออกไปอยู่นอกบ้าน
รองลงมา คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทําให้เกิดการว่างงาน โดยเฉพาะอย่างย่ิงในครอบครัว
ท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจต่ําท้ังยังมีบุตรหลายคน ทําให้ไม่สามารถรับมือกับภาระค่าใช้จ่ายได้
และไม่สามารถส่งเด็กเข้ารับการศึกษาได้ จําให้เด็กต้องออกมาเร่ร่อนข้างนอกเพื่อหางานทําเพ่ือความ
อยู่รอด และจากตัวเด็กเองท่ีติดเพื่อน ชอบใช้ชีวิตอิสระ มีความสุข สนุกับเพื่อนมากกว่ากรใช้ชีวิตใน
ครอบครัว
สถานการณ์ปัญหา

ปัญหาจํานวนเด็กเร่ร่อนกับการให้ความช่วยเหลือ จํานวนของเด็กเร่ร่อนมีแนวโน้มเพิ่มข้ึน
ทุกปี สิ่งท่ีเป็นปัญหาในการให้ความช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนคือเด็กเหล่าน้ีไม่ไว้ใจและให้ความร่วมมือจาก
เจ้าหน้าท่ี บางกลุ่มไม่ยอมเข้าไปอยู่ในศูนย์ช่วยเหลือ มูลนิธิหรือบ้านพักเด็กเร่ร่อน เน่ืองจากพวกเขา
ชอบชีวิตท่ีเป็นอิสระ มีความยืดหยุ่นของกฎระเบียบมากกว่า และบ้านพักและองค์กรท่ีทําหน้าท่ี
ช่วยเหลือเด็กเหล่าน้ีได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในการดําเนินการไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการ

ปัญหาอาชญากรรม เม่ือเด็กออกมาจากบ้าน ทําให้พวกเขาต้องด้ินรนหางานทําเพ่ือเล้ียง
ปากท้องตนเองเพื่ อความอยู่รอด เช่น งานรับจ้าง การขอทาน งานขายบริการทางเพศ ก่อ
อาชญากรรม และทํางานท่ีเก่ียวข้องกับยาเสพติด เด็กบางกลุ่มถูกบังคับใช้แรงงานโดยนายทุน และ
ถูกกลุ่มค้ามนุษย์บังคับให้ขายบริการทางเพศ บ้างติดเช้ือ HIV จากผู้ใช้บริการ และการต้ังครรรภ์ไม่
พรอ้ ม

การรับผิดชอบหน้าท่ีหลายทาง กลุ่มเด็กเร่ร่อนท่ีอาศัยอยู่กับครอบครัวตามแหล่งก่อสร้าง ใต้
สะพาน เด็กเหล่าน้ีมีท้ังเด็กท่ีได้รับการศึกษาและไม่ได้ระบการศึกษา จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ
วันท่ี 8 มิถุนายน 2562 หัวข้อข่าวเด็กเร่ร่อน ได้ลงข้อความสัมภาษณ์ เด็กเร่ร่อนคนหน่ึงในวันหยุด
และหลังเลิกเรียน ต้องช่วยครอบครัวขายพวงมาลัยเล้ียงชีพ ตามข่าวยังบรรยายถึงสายตาท่ีแสดง
ถึงความเหน่ือยล้าของเด็กท่ีต้องรับผิดชอบหน้าท่ีมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน แทนท่ีจะได้เล่นเหมือน
เด็กในวัยเดียวกัน การแบกรับบทบาทหน้าท่ีสองทางน้ี ส่งผลต่อการปรับตัวและอารมณ์ของเด็ก ท้ัง
การรับผิดชอบการบ้านท่ีได้รับจากโรงเรียนและการจัดการกับความเหน่ือยจากการช่วยเหลือ
ครอบครัว

การตีตราและการเลือกปฏิบัติ “หากเราพู ดถึงเด็กเร่ร่อนเรามักคุ้นชินกับภาพของเด็กท่ีหนี
ออกจากบ้านด้วยปัญหาความรุนแรในครอบครัว สวมใส่เสื้อผ้ามอมแมม ดมกาว ฟนั เหลือง ผมแดง
ผิวขรุขระ ยังชีพด้วยการขอทอน” (มติชน,2562) เม่ือเด็กเร่ร่อนไปของานทําท่ีไหนมักไม่มีคนรับเข้า
ทํางาน ด้วยภาพลักษณ์ทําให้ถูกเลือกปฏิบัติแตกต่างจากเด็กท่ัวไป ทําให้เกิดปัญหาการตีตราและ
การเลือกปฏิบัติเด็กเร่ร่อน หากเด็กได้รับการศึกษาในโรงเรียน จึงถูกเพ่ือนร่วมช้ันตีตราและเลือก
ปฏิบัติว่าเป็นเด็กเร่ร่อน ไม่น่าคบหา เน้ือตัวสกปรก น่ารังเกียจ ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก เด็ก
เร่ร่อนท่ียอมรับและปรับตัวไม่ได้จึงต้องออกจากการศึกษา การตีตราและการถูกเลือกปฏิบัติเหล่าน้ี

96

วิชา สค.362 นโยบายและสวสั ดกิ ารการศกึ ษาสําหรบั เดก็ พิเศษ Section 810001
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.ป่ นิ หทยั หนูนวล คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ภาคการเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563

ส่งผลต่อความรู้สึกทําให้เด็กรู้สึกว่าตนนั้นไร้คุณค่า ไม่มีใครต้องการ รู้สึกไม่ไว้ใจคนในสังคม กลัว ย่ิง
ทาํ ให้เด็กไม่สามารถปรับตัวใหอ้ ยใู่ นสังคมได้
สวัสดกิ าร การบริการ

1. สวัสดกิ ารการศึกษาให้กับเดก็ เร่รอ่ นให้ศึกษาจนจบการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน
2. สวัสดิการการส่งเสรมิ การสร้างอาชีพให้แก่เด็กเร่รอ่ นได้มอี าชีพในการเล้ยี งชีพตนเอง
3. สวัสดกิ ารการใหบ้ ริการสาธารณสุข การรักษาทางการแพทย์

การจดั สวสั ดิการ การบริการและบทบาทผ้เู กย่ี วขอ้ งกบั การทํางาน
การปอ้ งกนั

การแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนควรเร่ิมจากครอบครัว ซ่ึงเป็นสถาบันท่ีสําคัญท่ีสุดของเด็ก คนใน
ครอบครัวควรให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เด็ก ไม่ให้เด็กรู้สึกแปลกแยกแตกต่างไม่เป็นท่ีต้องการของ
คนในครอบครัว อีกท้ังการให้บริการวางแผนครอบครัว เช่น การให้บริการการคลุมกําเนิดแก่
ครอบครัวท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่พร้อมกับการมีบุตรหรือไม่มีเวลาดูแลให้ความรักแก่เด็กได้
เนอ่ื งจากตอ้ งทาํ งานตลอดวัน เช่น คนงานในแหล่งกอ่ สรา้ ง เพ่ือลดจํานวนเด็กทถ่ี ูกทอดทง้ิ และควร
ปลูกฝังค่านิยมท่ีดีในครอบครัว เช่น ให้ความรัก ความเคารพให้แก่คนในครอบครัว ไม่ใช้ความรุนแรง
เม่ือเกิดความไม่เข้าใจกันควรพู ดคุยด้วยเหตุผล หลีกเล่ียงพฤติกรรมท่ีส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง
เชน่ การเล่นการพนนั การดม่ื สุรา หรือความสัมพันธ์เชงิ ชูส้ าวกบั ผ้อู ่นื
การแกไ้ ข

สําหรับเด็กเร่ร่อนนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้เร่ิมเข้าไปสร้างความไว้ใจให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
รสู้ ึกวา่ นักสังคมสงเคราะหจ์ ะเขา้ วา่ ชว่ ยแก้ไข ส่งเสรมิ พัฒนา ใหค้ วามช่วยเหลอื ใหพ้ วกเขามีคณุ ภาพ
ชีวิตท่ีดีย่ิงข้ึนกว่าเดิม ไม่ควรเข้าไปบังคับกดดันเพราะจะย่ิงทําให้เด็กไม่ไว้ใจและปิดกันความช่วยเหลือ
เม่ือเด็กรู้สึกไว้ใจจึงเร่ิมถามข้อมูลเก่ียวกับเด็ก เช่น ช่ือ ท่ีอยู่ ครอบครัว สาเหตุท่ีเร่ร่อน และ
ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพ่ือเขา้ ชว่ ยเหลือในดา้ นต่าง ๆ ต่อไป ดังน้ี

นักจิตวิทยา และ จิตแพทย์ เข้าพู ดคุย ดูแลสุขภาพจิตเด็กท่ีบาดแผลทางจิตใจ หลีกหนี
สังคม ปิดก้ันตัวเองจากโลกภายนอก เช่น บาดแผลจากการถูกทารุณกรรม บาดแผลจากการถูก
บังคับขายแรงงาน การถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศ ให้เด็กเหล่าน้ันมีสภาพจิตใจท่ีดีข้ึนและ
กลบั มาใชช้ วี ติ อย่างปกตไิ ด้

ตํารวจ ทําหน้าท่ีคอยสอดส่องดูแล เม่ือพบเด็กเร่ร่อนให้สอบถามท่ีมาท่ีไป หากเป็นเด็กพลัด
หลงให้ช่วยตามหาครอบครัวหรือญาติให้มารับ หากเป็นเด็กเร่ร่อนต้องแจ้งข้อมูลไปยังผู้ท่ีเก่ียวข้อง
เพ่ือให้มารบั เด็กไปดแู ลและให้ความชว่ ยเหลือด้านตา่ ง ๆ ต่อไป

มูลนิธิ บ้านพักเด็ก สถานสงเคราะห์หน่วยงานท่ีคอยรับเด็กเร่ร่อนเข้าไปอยู่ด้วย ให้ความ
ช่วยเหลือเด็กให้ได้ปัจจัยพ้ืนฐาน เช่น อาหาร ท่ีอยู่อาศัย เคร่ืองนุ่มห่ม ท้ังยังเปิดโอกาสให้เด็กได้รับ
การศึกษา เพ่ือทาํ ใหช้ ีวติ ความเป็นอยู่ของเดก็ ดีข้นึ ทง้ั ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์

97


Click to View FlipBook Version