The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by policykrabi, 2021-09-08 02:00:55

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

คำนำ

สังคมไทยในปัจจุบนั เปลย่ี นแปลงไปอยา่ งรวดเร็ว ด้วยความเจรญิ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กระแสโลกาภวิ ตั น์
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาประเทศ
ที่เปล่ียนไปเป็นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี จนเกิดผลกระทบต่อสภาพสังคม วิถีชีวิต
และความเป็นอยู่ในสังคมไทย เช่น การอพยพเข้าสู่เมืองเพ่ือหางานทำ การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง
และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ความยากจน ยาเสพติด การใช้ความรุนแรง
ในสงั คม การค้ามนุษย์ ซึ่งนบั วันจะทวคี วามรุนแรงและมคี วามซับซอ้ นเพิ่มขน้ึ เพ่ือใหส้ งั คมรู้เท่าทันสถานการณ์
ปัญหา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีนโยบายให้จังหวัดจัดต้ังศูนย์เฝ้าระวัง
และเตือนภัยทางสังคมจังหวัด โดยการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางสังคม
เพื่อป้องกันผลกระทบกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
ในระดับจังหวัด ด้วยการนำข้อมูลสถานการณ์ทางสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับใช้และพัฒนา
ดา้ นการสื่อสาร ใหก้ บั หน่วยงานทเ่ี กี่ยวข้อง เพอื่ ขับเคลื่อนการดำเนนิ งานในการเฝา้ ระวังสถานการณ์ทางสงั คม

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลด้าน
ประชากรผู้ประสบปัญหาทางสังคม สถิติการให้ความช่วยเหลือ ภายในจังหวัด รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลด้านสังคมท่ีเป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์ ซ่ึงได้จัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม นำข้อมูล
มาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง นำไปสู่การใช้ข้อมูล
ขับเคล่ือนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางสังคมภายในจังหวัดกระบี่ สร้างความเข้มแข็ง
และพัฒนาศูนยเ์ ฝ้าระวงั และเตือนภัยทางสังคมในระดบั จังหวัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เกดิ ขึ้น
ภายในจังหวัดกระบี่

สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดกระบ่ี ขอขอบคุณส่วนราชการจังหวัด
เครือข่ายภาคประชาสังคม อาสาสมัครต่าง ๆ ตลอดจนผู้เก่ียวข้องทุกท่าน ท่ีให้ความร่วมมือในการจัดทำ
รายงานสถานการณ์ทางสังคม และหวังว่าทุกภาคส่วนจะนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างสังคมท่ีสงบสุข อยู่ดี
กนิ ดี มงั่ คัง่ และยงั่ ยนื ของพ่นี ้องประชาชนจังหวัดกระบ่ี ตอ่ ไป

จดั ทำโดย
สำนกั งานพัฒนาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์จังหวัดกระบ่ี

6 กนั ยายน 2564

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

สารบัญ

บทท่ี ๑ บทนำ ..........................................................................................................................................1
๑.๑ หลักการและเหตผุ ล............................................................................................................................. 1
๑.๒ วัตถุประสงค์........................................................................................................................................ 1
๑.๓ วธิ ีการดำเนินงาน................................................................................................................................. 2
๑.๔ ประโยชน์ที่คาดวา่ จะได้รับ .................................................................................................................. 2

บทที่ ๒ ข้อมูลพื้นฐานในพน้ื ท่จี งั หวดั กระบ่ี...............................................................................................3
2.1 ข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ................................................................................................................... 3
๒.2 ด้านประชากร กลุ่มประชากรเฉพาะของจงั หวัด .................................................................................. 8
๒.3 ดา้ นศาสนาประเพณี วัฒนธรรม ........................................................................................................11
๒.4 ด้านสาธารณสขุ .................................................................................................................................14
๒.5 ดา้ นการศกึ ษา ...................................................................................................................................18
๒.6 ดา้ นแรงงาน.......................................................................................................................................20
๒.7 ดา้ นทอ่ี ย่อู าศยั ...................................................................................................................................22
๒.8 ดา้ นเศรษฐกจิ และรายได้ ...................................................................................................................22
๒.9 ดา้ นภาคีเครือข่าย..............................................................................................................................25
2.10 ด้านคุณภาพชวี ิตของคนกระบ่ี จาํ แนกตามตัวช้วี ดั ข้อมูล จปฐ. .......................................................25

บทที่ 3 สถานการณ์กลุ่มเปา้ หมายทางสงั คมระดบั จังหวดั .....................................................................27
๓.๑ กลุ่มเดก็ และเยาวชน..........................................................................................................................27
๓.2 กลมุ่ สตรี............................................................................................................................................27
๓.๓ กลมุ่ ครอบครวั ...................................................................................................................................28
๓.4 กลุ่มผ้สู ูงอายุ......................................................................................................................................28
๓.5 กลุ่มคนพกิ าร.....................................................................................................................................29
๓.6 กลมุ่ ผดู้ ้อยโอกาส...............................................................................................................................30

บทท่ี 4 สถานการณ์เชิงประเด็นทางสงั คมในระดบั จังหวัด .....................................................................35
๔.๑ สถานการณ์การค้ามนุษย์...................................................................................................................35
๔.๒ ความรุนแรงในครอบครัว...................................................................................................................38
4.3 การดำเนินการศนู ย์บริการคนพิการจังหวดั กระบี่...............................................................................43
4.4 การให้บรกิ ารของศนู ยช์ ่วยเหลอื สังคมสายดว่ น ๑๓๐๐ .....................................................................45

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

4.5 สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา่ 2019 (Covid-19)................................................45
4.6 ข้อเสนอแนะ......................................................................................................................................53
บทที่ 5 การวเิ คราะหแ์ ละจัดลำดบั ความรนุ แรงของสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัด .................................54
๕.๑ สถานการณ์เชงิ กลุม่ เปา้ หมายในพน้ื ทจ่ี งั หวัด.....................................................................................54
บทท่ี 6 ขอ้ เสนอแนะ .............................................................................................................................56
6.1 การขับเคลอ่ื นนโยบายสังคมส่กู ารปฏบิ ตั ิในพ้นื ท่ี ...............................................................................56
6.2 ขอ้ เสนอแนะ......................................................................................................................................57

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

1

บทท่ี ๑

บทนำ

๑.๑ หลักการและเหตผุ ล
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี พ.ศ. ๒๕๔๖

มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการบูรณาการ โดยกำหนดว่า “ในกรณีท่ีภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วน
ราชการหรือเป็นภารกิจทีใ่ กล้เคยี งหรือตอ่ เนื่องกนั ใหส้ ว่ นราชการที่เกยี่ วข้องนั้นกำหนดแนวทางปฏิบัติราชการ
เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธ์ิต่อภารกิจของรัฐ” (มาตรา 10
วรรค 1) ในทางปฏิบัติแม้ว่าจะมีความพยายามในการบริหารแบบบูรณาการในภารกิจที่มีความสำคัญ
หลายเรื่อง แต่ยังเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนในการปฏิบตั ิในหลายๆ ภารกิจ เป็นผลใหเ้ ป็นการสนิ้ เปลอื งทรัพยากร
เป็นอย่างมาก การป ฏิรูป งบป ระมาณ ประเทศจาก “ระบ บงานงบประมาณ เชิงยุทธศาสตร์”
สู่ “ระบบงบประมาณเชิงพ้ืนที่”(Area-Based Budgeting : ABB) ซ่ึงเป็นแนวคิดของการทำงบประมาณ
แบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) โดยมีการฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ มีกระบวนการทำแผนพัฒนา
จากล่างข้ึนบนต้ังแต่แผนชุมชนจนถึงแผนจังหวัด และให้หน่วยงานทั้งภูมิภาคและท้องถ่ินร่วมกันกลั่นกรอง
ทำให้งบประมาณสามารถใช้ให้ตรงกับปัญหาความต้องการของคนในพ้ืนท่ีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเพ่ิมประสิทธิภาพประสิทธิผลการใช้งบประมาณแผ่นดิน การมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการบริหารจัดการตนเอง การสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาล การควบคุมพฤติกรรมนักการเมือง
โดยประชาชนในพ้นื ท่แี ละการบรู ณาการการทำงานของหน่วย Function และหนว่ ย Area ท่ีอยูใ่ นพื้นท่ีร่วมกัน
ซง่ึ ตามแผนปฏริ ปู กำหนดใหเ้ ร่ิมตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๘

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบ่ีในฐานะหน่วยงานด้านสังคมท่ีสำคัญ
ในการขับเคลื่อนงานด้านสังคม พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน สตรีคนพิการ
ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสังคมจากหน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน
และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิศรีรวมทั้งผลักดันให้เกิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพ่ือมุ่งสู่สังคมคุณภาพบนพ้ืนฐานความรบั ผิดชอบรว่ มกันของสำนักงาน
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่จึงได้จัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดกระบ่ี
ประจำปีพ.ศ.256๔ ขึ้น เพ่ือรวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลด้านสังคมในจังหวัดประกอบด้วยสถิติ
การให้บริการท่ีเป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์ ครอบคลุมทั้งข้อมูลเชิงกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลเชิงประเด็น
ข้อมูลจากระบบสารสนเทศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ข้อมูลด้านสังคม
จากหน่วยงานแวดล้อมกระบวนงาน ข้อมูลท่ีบ่งช้ีถึงสถานการณ์ ทางสังคมตัวชี้วัดที่เป็นสากล
รวมทั้งสถานการณ์ทางสังคมอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอแนะในการป้องกัน แก้ไขปัญหาท้ังในเชิงนโยบาย
และปฏบิ ัติอยา่ งมปี ระสิทธภิ าพและประสิทธผิ ล

๑.๒ วัตถปุ ระสงค์
๑.๒.๑ เพอื่ รวบรวม วเิ คราะห์ และจดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสงั คมทเ่ี กดิ ข้ึนในเขตพื้นที่จงั หวัดกระบ่ี
๑.๒.๒ เพื่อคาดการณแ์ นวโนม้ สถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบในเขตพืน้ ท่ีรับผิดชอบของจงั หวดั กระบี่
๑.๒.๓ เพ่ือเสนอแนะแนวทางในการแกไ้ ขปัญหาทางสงั คมในพืน้ ท่ีจังหวดั กระบี่

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

2
๑.๓ วธิ ีการดำเนินงาน

๑) ประชุมช้ีแจงแนวทางและกำหนดรูปแบบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับ
จังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

๒) สำนกั งานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ จดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับจังหวดั
๓) นำเสนอรายงานให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑-๑๑ เพ่ือนำข้อมูลไปจัดทำรายงาน
สถานการณท์ างสงั คมระบบกล่มุ จงั หวัดและขับเคล่ือนโครงการระดบั จงั หวดั กลุ่มจังหวดั
๔) ประชุมถอดบทเรยี นการจัดทำรายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔
๕) เผยแพร่และประชาสัมพันธก์ ารนำไปใชป้ ระโยชนผ์ ่านชอ่ งทางต่าง ๆ
๑.๔ ประโยชน์ท่ีคาดวา่ จะได้รับ
๑) มีข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัดท่ีครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถใช้ประโยชน์
ในการป้องกันและแกไ้ ขปญั หาทางสงั คม
๒) หน่วยงานระดับท้องถ่ินและระดับจังหวัดสามารถนำข้อมูลในพื้นท่ีไปใช้ในการกำหนดนโยบาย
แผนงานโครงการในการคมุ้ ครองป้องกนั และแก้ไขปัญหาทางสังคมในระดับพื้นท่ีและหน่วยงานระดับกระทรวง
สามารถนำข้อมูลในภาพรวมไปใช้ประโยชน์วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาทางสังคมที่สำคัญและกำหนดนโย บาย
แผนงานในการป้องกนั และแก้ไขปญั หาสงั คมภาพรวมต่อไป

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

3

บทท่ี ๒

ขอ้ มลู พน้ื ฐานในพืน้ ท่ีจังหวัดกระบ่ี

2.1 ขอ้ มูลพ้นื ฐานทางกายภาพ

1) ประวตั คิ วามเป็นมา
จังหวัดกระบี่ ต้ังขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ได้ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะข้ึนเป็นเมืองปกาสัย และทรงพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่”
เม่ือได้ประกาศตั้งข้ึนเป็นเมืองแล้ว โปรดเกล้าฯให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบ่ีใหญ่ (บ้านตลาดเก่า)
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ ออกจากการปกครองของเมือง
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และในปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้ย้ายทีต่ ้ังเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ
อยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึก เรือใหญ่สามารถเข้าเทียบท่าได้สะดวก เป็นท่ีตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
น้ีเดิมประชาชนชาวกระบ่ีมีอาชีพทำการเกษตรทั่วไป ทำประมง และค้าขาย และในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้มีการ
บุกเบิกปลูกปาล์มน้ำมันด้วย สภาพภูมิประเทศและภมู ิอากาศที่เหมาะสมทำให้มีการขยายการปลูกปาล์มน้ำมัน
อย่างต่อเน่ืองและเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดในปัจจุบัน ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๘ จังหวัดกระบี่เข้าสู่
ยุคการเปลี่ยนแปลงจากเดิมท่ีเป็นเมืองเล็ก ๆ สงบเงียบอยู่กับธรรมชาติและทำการเกษตร เริ่มมีนักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติเดนิ ทางเข้ามาเยอื นเพ่อื ชมแหล่งทอ่ งเทยี่ วทางทะเลท่ีสวยงามและอุดมสมบูรณ์ นักธรุ กิจในจังหวัด
เล็งเห็นศักยภาพของการท่องเที่ยวดังกล่าว จึงเริ่มประกอบการท่องเท่ียว เช่น โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้าน
ขายของท่ีระลึกเป็นต้นขณะเดียวกันภาครัฐได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่ิงอํานวยความสะดวกควบคู่กันไป
เพื่อรองรับการท่องเท่ียวเช่น ท่าอากาศยาน ท่าเทียบเรือ ถนน เม่ือการท่องเท่ียวของจังหวัดกระบี่สามารถ
รองรับและให้บริการนักท่องเท่ียวได้ท้ังการบริการ สิ่งอํานวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้
นักทอ่ งเทีย่ วได้รับความสะดวกสบาย เกิดความประทับใจ จึงเดินทางเข้ามาท่องเทยี่ วจำนวนมากและมีแนวโน้ม
สูงข้ึนทุกปี จนเป็นจังหวัดท่ีสามารถสร้างรายได้ทางการท่องเท่ียวเข้าสู่ประเทศได้สูงเป็นลำดับท่ี ๕ รองจาก
กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน ในภาคเกษตรกรรมการปลูกปาล์มน้ำมัน
ที่เป็นพชื เศรษฐกิจหลักก็ขยายพ้นื ท่ีปลูกมากเป็นลำดับต้นของประเทศและมีผลผลิตที่มปี ริมาณและคณุ ภาพสูง
ที่สุดของประเทศ ส่งผลให้เกิดภาคอุตสาหกรรมตามมา คือ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันโดยมีโรงงานสกัดน้ำมัน
ปาล์มดิบและลานเทซึ่งดำเนินกิจการในแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมมี
การบูรณาการความร่วมมือในการผลิตและอุตสาหกรรมทเี่ น้นคุณภาพครบวงจรต้ังแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
บนพื้นฐานขององค์ความรู้และนวัตกรรมส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดมีคุณภาพ กลายเป็น
“เมืองแห่งปาล์มน้ำมัน” ของประเทศ จังหวัดกระบ่ีในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่บน ๒ ฐาน
คือ การเกษตร ควบคู่กับการท่องเทย่ี ว

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

4
๒) ที่ตง้ั และอาณาเขต

จังหวัดกระบเี่ ป็นจังหวดั ขนาดเล็กท่ีมากดว้ ยทรัพยากรทอ่ งเท่ียวทางธรรมชาติ และมรดกทาง
วัฒนธรรมอันเก่าแก่ การผสมผสานการดำรงชีวิตของผู้คนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา และความเชื่อท่ีแตกต่าง
อย่างกลมกลืนต้ังอยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ติดกับทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตาม
ทางหลวงแผ่นดินประมาณ ๘๑๔ กิโลเมตร มีพ้ืนที่ ท้ังหมด ๔,๗๐๘.๕๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
๒,๙๔๒,๘๒๐ ไรม่ ีอาณาเขตตดิ ต่อกับจงั หวัดใกลเ้ คียง ดงั นี้

ทศิ เหนอื จดจงั หวดั พงั งา และจงั หวดั สรุ าษฎร์ธานี
ทศิ ใต้ จดจังหวดั ตรงั และทะเลอนั ดามนั
ทศิ ตะวันออก จดจงั หวดั นครศรีธรรมราช และจงั หวดั ตรัง
ทศิ ตะวันตก จดจังหวัดพังงา และทะเลอันดามนั

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

5

ตารางที่ ๒.๑ แสดงท่ตี งั้ และอาณาเขตพ้นื ท่จี ังหวดั กระบี่ จำนวนประชากร ความหนาแนน่
จงั หวดั พนื้ ท่ี (คน) ของประชากร
(ตร.กม./คน)
ตารางกโิ ลเมตร ไร่ 477,770
101.251
กระบ่ี ๔,๗๐๘.๕๑๒ ๒,๙๔๒,๘๒๐

ท่มี า : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยข้อมูล ณ 2564

3) ลกั ษณะภูมิประเทศ

จังหวัดกระบี่ มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนท่ีมีลักษณะเป็นภูเขาโดด ๆ เตี้ยๆ
มีเขาหินปูน มีบ่อน้ำร้อน และแอ่งน้ำท่ีเกิดจากการยุบตัวของผืนดิน สลับกับพ้ืนที่แบบลูกคล่ืนลอนลาด
และท่ีราบเชิงเขาบริเวณทางตอนบนของพื้นท่ี ตอนกลางของพ้ืนที่มีแนวภูเขาท่ีสำคัญทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้
ได้แก่ ภูเขาพนมเบญจา นอกจากนี้บริเวณด้านตะวันตกของพ้ืนท่ีมีลักษณะเป็นท่ีราบแคบ ๆ ตามชายฝั่งทะเล
มีความยาวประมาณ 160 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นชายฝ่ังทะเลจมตัวจึงทำให้ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่ง
สูงชันต่างกัน บางบริเวณมีภูเขาติดกับชายฝั่งทะเล เช่น เขากาโรส นอกจากน้ีกระบี่ยังประกอบด้วยหมู่เกาะ
น้อยใหญ่ ประมาณ 154 เกาะ โดยเป็นเกาะท่ีมีประชากรอาศัยอยู่เพียง 13 เกาะ เกาะท่ีสำคัญ ได้แก่
เกาะศรบี อยา เกาะลันตา และเกาะพพี ี ซง่ึ เปน็ สถานทที่ ่องเท่ยี วทสี่ วยงามติดอันดับของโลก

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

6

4) ลักษณะภูมอิ ากาศ
จงั หวัดกระบ่ี มีภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

และลมมรสุมตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ทำให้มฝี นตกชุกตลอดปี และมเี พียง ๒ ฤดู
ฤดูร้อน เริม่ ต้ังแตเ่ ดือนมกราคมจนถึงเดือนเมษายน
ฤดฝู น เร่ิมตง้ั แตเ่ ดอื นพฤษภาคมจนถงึ เดอื นธนั วาคม
จากการที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน อุณหภูมิในแต่ละฤดูกาล จึงไม่แตกต่าง

กันมากนกั คือ อยู่ระหว่าง ๑๗.๙ – ๓๙.๑ องศาเซลเซียส

5) การคมนาคม
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี

– ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร – ระนอง – พังงา – กระบ่ี รวมระยะทางประมาณ ๙๔๖ กิโลเมตร
หรือใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงจังหวัดชุมพรต่อด้วยทางหลวงหมายเลขแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ผ่านอำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร เข้าอำเภอ ไชยา อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากน้ัน
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๓๕ ผ่านอำเภออ่าวลึก และใช้ทางหลวงหมายเลข ๔ อีกคร้ังเข้าสู่จังหวัดกระบี่
รวมระยะทาง ๘๑๔ กิโลเมตร ถ้าเดินทางจากภูเก็ต ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ต่อด้วยทางหลวง
แผ่นดิน หมายเลข ๔ ผ่านตำบล โคกกลอย อำเภอตะก่ัวทุ่ง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เข้าอำเภออ่าวลึก
จงั หวัดกระบ่ีรวมระยะทางประมาณ ๑๘๕ กโิ ลเมตร

ทางน้ำ จังหวัดกระบี่ มีท่าเรือขนส่งสินค้า/ท่าเทียบเรือการท่องเที่ยว รวมจำนวน ๒๒ แห่ง
ทา่ เรอื น้ำลกึ ๔ แหง่ แบง่ เปน็ ท่าเทยี บเรอื เพื่อการขนสง่ สนิ คา้ ๓ แห่งได้แก่

๑. ท่าเทยี บเรือขนส่งสินคา้ น้ำลึกกระบ่ี ปากคลองจหิ ลาด ตำบลไสไทย อ.เมือง
๒. ท่าเรอื ขนส่งสนิ คา้ บริษัทเจียรวานชิ ย์ ตำบลหนองทะเล อ.เมอื ง
๓. ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าบริษัทเซาเทิร์นพอร์ท จำกัด ตำบลหนองทะเล อ.เมือง และมีท่า
เทียบเรือเพ่ือการท่องเทย่ี ว 1 แหง่ ได้แก่ ทา่ เทยี บเรอื โดยสารท่องเท่ยี วปากคลองจหิ ลาด ตำบลไสไทย อำเภอเมือง
ทางอากาศ จังหวัดกระบ่ีมีสนามบินนานาชาติ ๑ แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดกระบี่
สังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ต้ังอยู่ในเขต อำเภอเหนือคลอง ห่างจากตัวเมืองไปทาง
ทิศตะวันออก เป็นระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ท่าอากาศยานกระบ่ีมีบทบาทสำคัญที่สามารถรองรับ
กิจการการขนส่งทางอากาศของจังหวัดกระบ่ี เพ่ือให้เส้นทางสู่จังหวัดกระบี่ มีความสะดวกสบายและเป็นการ
ส่งเสรมิ และการพฒั นาการทอ่ งเทยี่ วของจงั หวัดกระบอ่ี ีกด้วย

6) คำขวญั จังหวดั กระบี่
“กระบี่ เมืองนา่ อยู่ ผูค้ นนา่ รกั ”

7) คําขวญั การท่องเทยี่ วจังหวดั กระบี่
แหลง่ ถา่ นหนิ ถ่ินหอยเก่า เขาตระหง่าน
ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลกู ปาล์ม
งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอนั ดามนั
สวรรคเ์ กาะพพี ี

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

7

8) วสิ ัยทัศนจ์ งั หวัดกระบ่ี
เมืองทอ่ งเท่ยี วคณุ ภาพระดบั นานาชาตเิ กษตรอุตสาหกรรมยัง่ ยืน
สังคมนา่ อยู่มกี ารปรบั ตัวเท่าทันต่อบริบทการเปลีย่ นแปลง

10) ยุทธศาสตรจ์ ังหวดั กระบ่ี
1. พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเท่ียวสีเขียว (Green Tourism) และเพิ่มศักยภาพ

ให้ไดม้ าตรฐานในระดบั สากล
2. ยกระดับขีดความสามารถในการผลิตด้านการเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร อย่างครบ

วงจร ควบคู่กับการพฒั นาอตุ สาหกรรมสะอาดและพลงั งานทางเลอื ก
3. เสรมิ สรา้ งคุณภาพชีวิตประชาชนส่สู งั คมน่าอยู่ และปรับตัวรองรับกระแสการเปลย่ี นแปลง
4. อนุรักษแ์ ละฟนื้ ฟูทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อมอย่างยง่ั ยืน

11) ขอ้ มูลการปกครอง เทศบาล เทศบาล (หนว่ ย:แห่ง)
ตารางที่ ๒.๒ แสดงจำนวนเขตการปกครองพ้ืนทีจ่ ังหวดั กระบ่ี เมือง ตำบล อบต.

จังหวดั อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน อบจ.

กระบ่ี ๘ ๕๓ ๓๘๙ ๑ ๑ ๑2 ๔๘

ทีม่ า : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ 2564

จากตารางที่ 2.2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพื้นท่ีจังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย ๘ อำเภอ
๕๓ ตำบล ๓๘๙ หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 62 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
๑ แหง่ เทศบาลเมอื ง ๑ แหง่ เทศบาลตำบล 12 แหง่ และองค์การบริหารสว่ นตำบล ๔๘ แหง่

ตารางที่ 2.3 แสดงพ้นื ที่จำแนกตามเขตการปกครองรายอำเภอ

อำเภอ พ้นื ที่ (ตร.กม.) หา่ งจากจังหวัด เทศบาล
(กม.) ตำบล หมู่บา้ น เมอื ง ตำบล อบต.

เมอื งกระบี่ ๖๔๘.๕๕๒ - ๑๐ ๕๙ ๑ 1 7

อา่ วลึก ๗๗๒.๙๘๙ ๔๗ ๙ ๕๒ - ๒ ๙

ปลายพระยา ๔๓๓.๓๖๗ ๗๕ ๔ ๓๕ - ๑ ๔

คลองทอ่ ม ๑,๐๔๒.๕๓๑ ๔๒ ๗ ๖๘ - 4 5

เกาะลันตา ๓๓๙.๘๔๓ ๑๐๙ ๕ ๓๖ - 1 ๕

ลำทับ ๓๒๐.๗๐๘ ๖๗ ๔ ๒๘ - ๑ ๔

เหนือคลอง ๓๖๒.๐๐ ๑๗ ๘ ๕๗ - ๑ ๘

เขาพนม ๗๘๘.๕๒๒ ๓๙ ๖ ๕๔ - ๑ ๖

รวม ๔,๗๐๘.๕๑๒ - ๕๓ ๓๘๙ ๑ 12 48

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

8

๒.2 ดา้ นประชากร กลมุ่ ประชากรเฉพาะของจงั หวัด

1) ขอ้ มูลประชากรจงั หวดั กระบ่ี

ตารางที่ ๒.4 แสดงจำนวนประชากรแยกตามชว่ งอายุ จำแนกตามเพศและจงั หวดั (หน่วย : คน)
อายุ ๖๐ ปขี นึ้ ไป
อายุ ๐-๑๗ ปี อายุ ๑๘ – ๒๕ ปี อายุ ๒๖ – ๕๙ ปี

จังหวดั ชาย หญงิ รวม ชาย หญงิ รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม

กระบ่ี 65,346 61,842 127,188 27,422 26,626 54,048 117,084 119,399 236,483 27,390 32,661 60,051

ที่มา: ระบบสถติ ทิ างทะเบยี นกรมการปกครองขอ้ มูล ณ 2563

จากตารางที่ 2.4 ประชากรส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในระหว่าง ๒๖ – ๕๙ ปี จำนวน 236,483 คน
เป็นเพศชาย 117,084 คน เพศหญิง 119,399 คน อายุอยู่ระหว่าง ๐-๑๗ ปี จำนวน 127,188 คน
เป็นเพศชาย 65,346 คน เพศหญิง 61,842 คน อายุอยู่ระหว่าง ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน 60,051 คน เป็นเพศชาย
27,390 คน เพศหญิง 32,661 คน และอายุอยู่ระหว่าง ๑๘ – ๒๕ ปี น้อยท่ีสุด จำนวน 54,048 คน
เป็นเพศชาย 27,422 เพศหญิง 26,626 คน ตามลำดบั ดงั ตาราง

แผนภมู ทิ ่ี 2.1 แสดงจำนวนประชากรในเขตพืน้ ที่จังหวดั กระบ่ี

ปรี ามดิ ประชากร

-150000 -100000 -50000 0 50000 100000 150000

ผ้หู ญิง ผ้ชู าย

จากแผนภูมิท่ี 2.1 ขอ้ มูลประชากรในเขตพืน้ ที่จังหวดั กระบ่ี มีจำนวนประชากรท้ังส้ิน 477,770 คน
แบง่ เปน็ ประชากรเพศชาย จำนวน 237,242 คน ประชากรเพศหญิง จำนวน 240,528 คน

ตารางท่ี 2.5 แสดงจำนวนประชากร จำแนกวยั เด็ก วัยแรงงาน และวัยผูส้ งู อายุ

ช่วงวยั ชาย หญิง รวม คิดเปน็ ร้อยละ
22.14
วัยเด็ก (0-14 ป)ี 54,357 51,411 105,768 65.30
12.56
วัยแรงงาน (15-59 ปี) 155,495 156,456 311,951

วยั ผ้สู งู อายุ (60 ปขี ้นึ ไป) 27,390 32,661 60,051

รวม 237,242 240,528 477,770 100

ที่มา :ท่ที ำการปกครองจงั หวัดกระบณ่ี วันท่ี 8 กุมภาพันธ์ 2564

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

9
จากตารางท่ี 2.5 แสดงจำนวนประชากรแบ่งตามช่วงวัย วัยเด็ก อายุระหว่าง 0-14 ปี มีจำนวนท้ังส้ิน
105,768 คน เป็นเพศชาย 54,357 คนเพศหญิง 51,411 คน คิดเป็นร้อยละ 22.14 ของจำนวน
ประชากรท้ังหมด วัยแรงงาน อายุระหว่าง 15-59 ปีมีจำนวนทั้งสิน้ 311,951 คน เป็นเพศชาย 155,495 คน
เพศหญิง 156,456 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 65.30 ของจำนวนประชากรท้ังหมดวัยผู้สูงอายุ อายุต้ังแต่ 60 ปีขึ้นไป
มีจำนวนท้ังส้ิน 60,051 คน เป็นเพศชาย 27,390 คน เพศหญิง 32,661 คน คิดเป็นร้อยละ 12.56
ของจำนวนประชากรท้ังหมด
ตารางที่ 2.6 แสดงจำนวนประชากรแฝง จังหวัดกระบี่ ประจำปี พ.ศ.2561 และ พ.ศ.2562

จากตารางที่ 2.6 แสดงจำนวนประชากรแฝงท้ังหมด 60,764 คน แบ่งเป็นประชากรแฝงกลางวัน
6,303 คน และประชากรแฝงกลางคนื 54,461 คน
แผนภมู ทิ ่ี 2.2 แสดงจำนวนประชากรจงั หวดั กระบี่ ในระดบั อำเภอ

จากแผนภูมิท่ี 2.2 อำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมืองกระบ่ี 123,729 คน
จำนวนครัวเรอื น 62,552 หลัง รองลงมาคืออำเภอคลองท่อม 77,950 คน จำนวนครัวเรอื น 27,316 หลัง
อำเภอเหนอื คลอง 63,893 คนจำนวนครวั เรอื น 22,082 หลงั อำเภออ่าวลึก56,607 คน จำนวนครัวเรอื น
20,129 หลังอำเภอเขาพนม 55,818 คน จำนวนครัวเรือน 20,150 หลัง อำเภอปลายพระยา 38,712
คน จำนวนครัวเรือน 13,239 หลัง อำเภอเกาะลันตา 35,506 คน จำนวนครัวเรือน 14,527 หลัง
และอำเภอลำทับ 24,524 คนจำนวนครวั เรือน 9,515 หลงั

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

10

2) ข้อมลู ประชากรเฉพาะกล่มุ (ชาติพันธ์)
ตารางท่ี ๒.5 แสดงข้อมลู ชนเผ่าพื้นเมืองในจงั หวดั กระบี่

ชนเผา่ พ้นื เมอื งในจังหวัดกระบี่ ประชากร

Lat Long ช่ือชนเผา่ หมูบ่ ้าน ตำบล อำเภอ ครัวเรือน รวม ชาย หญงิ

7.4556 99.1083 อรู กั ลาโวย้ บ้านสงั กา เกาะลัน เกาะลนั 85 350 165 185
อู้ ตาใหญ่ ตา

7.6307 99.0343 อรู กั ลาโว้ย บา้ นคลอง เกาะลนั เกาะลนั Na Na Na Na
ดาว ตาใหญ่ ตา

7.6337 99.0327 อรู ักลาโวย้ บา้ นในไร่ ศาลาดา่ น เกาะลนั Na* Na Na Na
ตา

7.6456 99.035 อูรักลาโวย้ บ้านโตะ๊ ศาลาดา่ น เกาะลัน 34 179 84 95
บาหลิว ตา

7.5118 99.0826 อูรักลาโว้ย บ้าน เกาะลนั เกาะลนั 114 222 198 420

หวั แหลม ตา ตา

7.8065 98.9764 อรู กั ลาโว้ย เกาะจำ เกาะศรี เหนอื 48 308 95 213
บอยา คลอง

7.8037 98.9711 อรู กั ลาโว้ย เกาะมตู ู เกาะศรี เหนอื 23 103 53 50
7.8438 98.961 อรู กั ลาโวย้ กลาโหม บอยา คลอง 10 37 19 18

เกาะศรี เหนือ
บอยา คลอง

7.8153 98.9659 อรู ักลาโว้ย ตงิ ไหล เกาะศรี เหนือ 6 36 19 17
บอยา คลอง

7.7444 98.7761 อูรกั ลาโว้ย แหลมตง อา่ วนาง เมอื ง 47 182 87 95
กระบี่

Na* = รวมศาลาดา่ นหมู่ 1

ท่มี า : มูลนิธิชนเผ่าพ้นื เมืองเพ่อื การศึกษา นครนิ ทร์ ดา่ รงภคสกุล ณ เดือน ตลุ าคม 2562

ชาวพ้ืนเมืองอูรักลาโว้ยซ่ึงเป็นชนเผ่าท่ีดำรงชีพด้วยการประมงชายฝ่ังแบบพ้ืนบ้านในแถบทะเลอันดามัน
มีประวัตศิ าสตร์บอกเล่าผ่านบันทึกของนกั ประวัตศิ าสตรต์ ะวันตก และนิทานประจำถิ่นระบุว่า ชาวอูรักลาโว้ย
มีถิ่นฐานอยู่แถบเกาะมะละกา เกาะลังกาวี อูรักลาโว้ยมีความผูกพันอยู่กับทะเล มีเรือเป็นเสมือนเพ่ือนรู้ใจ
เรือจึงมีความสำคัญกับชาวอูรักลาโว้ยในอดีตซ่ึงเปรียบเสมือนได้กับเป็นบ้านหลังแรกท่ีอยู่อาศัยตั้งแต่
ยคุ ดัง้ เดิมทพี่ วกเขานำเรือท่องไปตามหม่เู กาะตา่ ง ๆ

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

11

ชาวอูรักลาโว้ยมีวิถีชีวิตออกเรือประมงไปตามช่วงเวลามรสุม ประกอบกับไม่นิยมอยู่ร่วมกับกลุ่มคน
ท่ีมีวัฒนธรรมแตกต่าง จากเดิมชาวอูรักลาโว้ยบนเกาะลันตาท่ีได้รับการสำมะโนประชากรเป็นคนไทยในช่วงปี
พ.ศ.2500 ไดม้ ีการเคลอ่ื นย้ายกระจายตวั ชมุ ชนออกไปยังเกาะต่าง ๆ ในแถบทะเลอันดามันดังนี้

เกาะลันตา จังหวัดกระบี่มีลักษณะทางกายภาพของเกาะลันตาเป็นภูเขาตามแนวยาวอยู่กลางเกาะ
ทำให้พื้นทเี่ กาะแบง่ อกเป็นสองส่วนตามธรรมชาติ ด้านตะวนั ออกเรียกวา่ “หนา้ เกาะ” มีลักษณะเป็นเวง้ิ ชาวฝ่ัง
ที่เป็นหาดเลนตลอดแนวภูเขาและสามารถบังลมคลื่นมรสุมได้ จึงเป็นที่ปักหลักต้ังถ่ินฐานของชาวอูรักลาโว้ย
ต้ังแต่อดีตมาและเป็นที่ต้ังบ้านเรือนเป็นชุมชนต้ังแต่บ้านทุ่งหยีเพ็ง มาจนถึงบ้านสังกาอู้ชาวอูรักลาโว้ยถือเป็น
กลุ่มคนแรกเร่ิมที่บุกเบิกเกาะลันตา ทำให้เป็นแหล่งตั้งชุมชนเริ่มแรก ต่อมาผู้ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในช่วงหลัง
มบี ทบาททางประวัติศาสตร์ การเมอื ง และการปกครอง รวมถึงเศรษฐกจิ ในปจั จบุ ัน

ชุมชนชาวอูรักลาโว้ยบนเกาะศรีบอยาอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีชุมชนของชาวอูรักลาโว้ย
ตง้ั ถน่ิ ฐานอยู่ 5 ชุมชน

ชุมชนชาวอูรักลาโว้ยบนเกาะพีพีอำเภอเมืองกระบ่ี จังหวัดกระบี่ มีชุมชนของชาวอูรักลาโว้ย
ตงั้ ถนิ่ ฐานอยู่ 1 ชมุ ชน บนเกาะพีพตี ำบลอา่ วนาง คือ บ้านแหลมตง

๒.3 ดา้ นศาสนาประเพณี วฒั นธรรม

๑) ขอ้ มลู ด้านศาสนา
ประชากรในจังหวัดกระบี่ นับถือศาสนาพุทธ ๖1.66 % ศาสนาอิสลาม ๓8.06 %

ศาสนาคริสต์ ๐.21 % ศาสนาซิกข์ ๐.๐5 % ศาสนาอ่ืน ๆ ๐.๐2 % โดยมีวัด ๘๒ แห่ง ท่ีพักสงฆ์ ๔๕ แห่ง
มสั ยิด ๑๘๗ แหง่ โบสถ์คริสตจักร ๒ แหง่ ศนู ย์อบรมจรยิ ธรรมฯ ๑๑๖ แห่ง และศูนยพ์ ระพทุ ธศาสนาฯ ๖ แหง่

ตารางที่ ๒.6 แสดงจำนวนศาสนสถานและศนู ย์เรียนรู้ทางศาสนา

จำนวนศาสนสถานและศนู ย์เรยี นร้ทู างศาสนา

อำเภอ ท่ีพัก ศนู ยอ์ บรม ศูนยฯ์ พระพุทธ
สงฆ์ จริยธรรมฯ ศาสนาฯ
วดั มัสยิด โบสถ์คริสต์

เมอื งกระบี่ ๑๘ ๕๑ ๕ ๒ ๓๗ ๓

อ่าวลึก ๑๓ ๒๘ ๗ - ๒๔ -

ปลายพระยา ๑๕ - ๕ - - -

คลองท่อม ๙ ๓๕ ๑๐ - ๑๖ ๑

เกาะลนั ตา ๑ ๔๐ ๒ - ๓๑ -

ลำทับ ๒-๗ - - -

เหนือคลอง ๙ ๓๑ ๗ - ๗ ๒

เขาพนม ๑๕ ๒ ๒ - ๑ -

รวม ๘๒ ๑๘๗ ๔๕ ๒ ๑๑๖ ๖

ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดกระบี/่ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกระบ่ี /สำนกั งานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบ่ี

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

12

2). ข้อมลู ประเพณี และวัฒนธรรม

ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ดัดแปลงมาจาก
ลิเกสิบสองภาษาเร่ิมต้นจะเล่นเร่ืองราวของแขกแดงว่า
มาจากเมืองลักกะตา (กัตกัลตา) มาค้าขายบนฝั่งทะเล
ตะวันตก แล้วมาได้ภรรยาเป็นคนพ้ืนเมืองช่ือ “ยายี”
หรือ “ยาหยี”และพากลับบ้านเมือง จากน้ันจะแสดง
เรื่องอื่นต่อไป ลิเกป่าเป็นการแสดงท่ีประสานวัฒนธรรม
หลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ดนตรีจะใช้รำมะนา
ทับ โหม่ง กลองฉิ่ง บทกลอนจะมีการประสมทำนอง
มโนราห์กับเพลงบุรันยาวา “ลิเกป่า” เรียกอีกชื่อว่า “ลิเกแขกแดง” เป็นการละเล่นพ้ืนบ้านประเภทหนึ่งของ
ภาคใต้ท่ีแพร่หลายในพื้นท่ีของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตก (อันดามัน) เช่น ตรัง พังงา กระบ่ี เป็นต้น
การแสดงประเภทนี้เริ่มมีมาสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่กล่าวกันว่าเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๔๔
ตรงกับสมัยพระยาอิศราธิชัยเป็นเจ้าเมืองกระบ่ี ได้ส่งเสริมให้มีการละเล่นลิเกป่ากันอย่างกว้างขวางในงาน
เทศกาลและงานอื่น ๆโดยทัว่ ไปจากนั้นจงึ แพร่หลายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง แหลง่ ท่ีมีคณะลิเกป่าในจังหวัดกระบ่ี
ในปัจจุบันอยู่ในอำเภอเหนือคลองและอำเภอเขาพนม ปัจจุบันลิเกป่าในจังหวัดกระบ่ีที่มีชื่อเสียง
คือ คณะรวมมิตรบนั เทงิ ศลิ ปข์ องนายตรึก ปลอดฤทธ์ิ ซง่ึ ไดร้ บั รางวลั ผมู้ ีผลงานดเี ดน่ ทางวัฒนธรรม

หนังตะลุง แสดงให้เห็นการผสมผสานกับวัฒนธรรม
อินเดีย เป็นศิลปะการเล่นเงา (Shadow Play) ท่ีสืบต่อกันมา
ช้านาน เป็นการเลา่ เร่อื งผสมผสานกับเงาของรูปหนังตะลุงผ่าน
ผ้าขาวบางประกอบดนตรี ในปัจจุบันยังมีการเล่นหนังตะลุงอยู่
ตามงานเทศกาลตา่ ง ๆ ในจังหวดั กระบ่มี ีศิลปินหนังตะลุงหลาย
คณ ะ โดยคณ ะที่มีชื่อเสียง คือ ครูเคล้า โรจนเมธากุล
ครูศิลปะการแสดงหนังตะลุง เจ้าของรางวัลครูสอนดี และ
ศลิ ปนิ แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงหนงั ตะลุง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ในพ้ืนท่อี ำเภอเหนือคลอง โดยปจั จุบนั ได้
จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงและมโนราห์ เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ เป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและสามารถนำวิชาความรู้การแสดงหนังตะลุงไปสร้างรายได้
เปน็ อาชพี อีกด้วย

มโนราห์ การแสดงมโนราห์เป็นศิลปะการแสดง
พื้นเมืองอย่างหน่ึงของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละคร
ชาตรีบทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ
สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มคี วามหมายทัง้ บทรอ้ งและ
ท่ารำ ซ่ึงเป็นกิจกรรมความบันเทิงทางวัฒนธรรมท่ีเก่าแก่
ที่สร้างความสัมพันธ์ทางความคิดและจิตวิญญาณต่อผู้ชมได้
อย่างดีเป็นเคร่ืองแสดงปฏิกิริยาต่อความต้องการของสังคม
แสดงให้เห็นปัญหาในสังคม มโนราห์จึงมีบทบาทในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์สังคม ในจังหวัดกระบี่มีการจัด
แสดงมโนราห์จะจัดให้มีในงานเทศกาล งานแก้บน รำโรงครู (ไหว้ครู) เป็นต้น มโนราห์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

13

กระบ่ี คือ นางแขม เครือวัลย์ ศิลปินผู้ประพันธ์ขับกลอนและรำมโนราห์ สอนเยาวชนรำมโนราห์ อนุรักษ์
วัฒนธรรมพ้ืนบ้าน ในพื้นท่ีอำเภอเหนือคลอง โดยมีการถ่ายทอดความรู้ให้เยาวชนที่สนใจ เพื่อเป็นการสบื ทอด
ประเพณีวฒั นธรรมของชาวใต้

รองเง็งและเพลงตันหยง ได้รับอิทธิพลจากมลายู
ซึ่งดัดแปลงมาจากโปรตุเกสอีกทอดหนึ่งเดิมเพลงรองเง็งนิยมแสดง
ในบ้านขุนนาง ภายหลังชาวบ้านนำมาเล่นและพัฒนาดัดแปลงมา
เป็นเน้ือรอ้ งภาษาไทย เรียกว่าเพลงตันหยง

ประเพณีลอยเรือชาวเล ประเพณีลอยเรือเป็น
ประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบรุ ษุ ดั้งเดิมของชาวอูรักลาโว้ย
ท่ีอาศัยอยู่ในจังหวัดกระบ่ีและจังหวัดใกล้เคียง เม่ือถึงเวลาท่ี
กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพ่ีน้องท่ีแยกย้ายถิ่นไปทำมา
หากินในแถบทะเลและหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพา
กันเดินทางกลับมายังถ่ินฐาน เพ่ือประกอบพิธีน้ีจัดตรงกับ
วันเพ็ญเดือน ๖ และวันเพ็ญเดือน ๑๑ ของทุกปีในจังหวัด
กระบี่ประเพณีจัดข้ึนทุกปีท่ีชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ย ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา เป็นประเพณีที่สืบทอด
กันมาตั้งแต่คร้ังบรรพบรุ ุษอนั เกี่ยวเน่ืองกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถชี ีวิตทุกอยา่ งของชาวเลอูรักลาโว้ย
เพื่อการสะเดาะเคราะห์ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม โดยใช้เรือปาจ๊ักลอยทะเลออกไป ซ่ึงนับเป็นงาน
ประเพณีเก่าแก่ของชาวเลที่หาดูได้ยาก โดยกลุ่มชาวเลในบริเวณเกาะลันตาและเกาะใกล้เคียงจะมาชุมนุมกัน
ทำพิธีลอยเรือเพ่ือสะเดาะเคราะห์ ณ ชายหาดใกล้ๆ กับบ้านศาลาด่าน ในพิธีจะมีการร้องรำทำเพลง มีการร่ายรำ
รอบลาเรือด้วยจงั หวะและทำนองเพลงรองเง็ง ผู้ทีผ่ ่านพธิ ีลอยเรอื ถือว่าเป็นผู้ท่ีผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว
ทำใหช้ วี ติ ต่อไปข้างหนา้ จะประสบแต่ความสขุ และโชคดใี นการทำมาหากิน

งานประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณี
ของคนภาคใต้ ได้รับอิทธิพลด้านความเช่ือจากศาสนา
พราหมณ์โดยมีการผสมผสานกับความเชือ่ ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งเข้ามาในภายหลัง มีจุดมุ่งหมายเพ่ือเป็นการอุทิศส่วนกุศล
ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับที่ได้รับการ
ปล่อยตัวมาจากนรกท่ีในทุกวันแรม 1 คำ่ เดือน 10 เพ่ือมายัง
โลกมนษุ ยโ์ ดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพีน่ ้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดง
ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากน้ันก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ช่วงระยะเวลาใน
การประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีข้ึนในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำ เดือนสิบของทุกปี
ส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน สำหรับในจังหวัดกระบี่จัดให้มีประเพณีแห่จาดเดือนสิบเป็นประจำทุกปี
โดยจะมีการ "แห่หมบั " ท่ีประดบั ประดาดว้ ยขนมลา ขนมพอง และขนมอนื่ ๆ ตามความเช่อื แต่โบราณ เพ่อื เซ่น
ไหวบ้ รรพบุรษุ ทีล่ ่วงลับไปแล้ว

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

14

เทศกาลถือศลี กินเจ เป็นพิธีท่ีมีการบำเพ็ญศีลสมาทาน
กินเจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ เป็นการละเว้นการทำบาป
ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รักษาศีลทำจิตใจให้บริสุทธิ์ งดการเท่ียวเตร่
ไม่ดื่มของมึนเมา ผู้ศรัทธาท่ีกินเจจะสวมเส้ือผ้าสีขาวและสวด
มนต์ทำสมาธิภาวนาแผ่เมตตาจิต ขอพรให้ตนเองและครอบครัว
เป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าความชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บให้
ออกไปจากตัวผู้ที่ถือศีลและเกิดความสามัคคีในหมู่ผู้ท่ีศรัทธาที่เข้าร่วมพิธีถือศีลกินเจ ต่างก็ย้ิมแย้มเป็นมิต ร
มีไมตรีต่อกัน มีการบริจาคทรัพย์สำหรับเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัว เพ่ือให้มีอาหารเพียงพอ
มีอาสาสมัครมาช่วยงานทำงานครัวเป็นจำนวนมาก ระยะเวลาการจัดงานของการถือศีลกินเจตรงกับวันขึ้น ๑
ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย ช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคมทุกปี) ในจังหวัด
กระบ่ีโรงศาลเจ้าทุกโรงจะกำหนดการกินเจพร้อมกัน ซ่ึงการประกอบพิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณโรงศาล
เจ้าของแต่ละแห่งและมีการจัดกิจกรรมพิเศษ คือ การจัดขบวนแห่พระของทุกศาลเจ้าในจังหวัดกระบี่
ประมาณ 40 ศาลเจา้ ไดแ้ หข่ บวนมาร่วมทำพิธเี สริมดวงเมืองกระบพี่ ร้อมกัน ณ ศาลหลกั เมืองกระบ่ี

งานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ จัดโดยสำนักงาน
คณะกรรมการจัดงานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ เป็นงาน
ประเพ ณี ท างศาสน าของชาวมุสลิมในจังหวัดกระบ่ี
มีวัตถุประสงค์เพ่ือร่วมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของ
ศาสดามูฮัมหมัด เชิดชูคำสอน และจริยวัตรอันดีงามของ
ศ าส ด า แ ห่ งศ าส น าอิ ส ล าม แ ล ะ เป็ น ก าร ส่ งเส ริ ม
ความสัมพันธ์ระหว่างพ่ีน้องมุสลิม ระหว่างพี่น้องต่างศาสนา
ให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีเมาลิดดินนบี
การบรรยายธรรมและบรรยายพิเศษจากบุคคลที่มีชื่อเสียง กิจกรรมเยาวชนโดยสมาคมโรงเรียนเอกชนสอน
ศาสนาอิสลามจังหวัดกระบ่ีกิจกรรมเยาวชนภาคฟัรดูอีน (สิ่งท่ีเยาวชนมุสลิมจำเป็นต้องรู้ต้องปฏิบัติ)
การแสดงผลงานทางวชิ าการ การทดสอบความสามารถของเยาวชน และการจำหน่ายผลผลิตและอาหารฮาลาล
ซง่ึ จัดขึน้ เป็นประจำทุกปีในชว่ งเดอื นมกราคม ถึงกมุ ภาพันธข์ องทกุ ปี ณ มสั ยิดกลางประจำจังหวดั กระบี่

๒.4 ดา้ นสาธารณสุข
1) สถานบรกิ ารสาธารณสขุ
จังหวัดกระบี่มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ จำนวน 94 แห่ง คือโรงพยาบาล จำนวน 9

แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 72 แห่งศูนย์สุขภาพชุมชนในโรงพยาบาลจำนวน 8 แห่ง
ศูนย์แพทย์ชุมชน จำนวน 2 แห่ง และหน่วยควบคุมโรคจำนวน 4 แห่ง และมีสถานบริการสาธารณสุข
ภาคเอกชน คอื สถานพยาบาลรับผูป้ ่วยค้างคนื จำนวน 1 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 1 แหง่

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

15
ตารางท่ี ๒.7 แสดงสถานบริการสาธารณสขุ ของรฐั และเอกชน จําแนกรายอําเภอจังหวัดกระบี่ (หนว่ ย:แห่ง)

ที่มา : HDC Report กระทรวงสาธารณสุข ณ เมษายน ๒๕๖๔

2) บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสขุ
จังหวัดกระบี่ มีบุคลากรทางการแพทย์ 1 คนต่อประชากร 4,279 คน ซึ่งมีสัดส่วน

ต่อประชากรสูงกว่าระดบั ประเทศ เช่นเดยี วกับ ทันตแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลวิชาชีพ
ตารางท่ี ๒.8 แสดงจำนวนและสดั ส่วนบุคลากรสาธารณสุขภาครฐั จังหวดั กระบี่

ทมี่ า : ฐานข้อมูลสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ข้อมลู ณ 2564

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

16
3) อัตราป่วยดว้ ยโรคท่ีต้องเฝา้ ระวงั ทางระบาดวิทยา
ตารางที่ ๒.9 แสดงจำนวนและอตั ราปว่ ยดว้ ยโรคทีต่ ้องเฝ้าระวังทางระบาดวทิ ยา จาํ แนกตามสาเหตกุ ารปว่ ย

10 อันดบั แรกจังหวัดกระบ่ี ต่อประชากร 100,000 คน เปรยี บเทียบ พ.ศ. 2557 - 2562 (5ด.)
(หน่วย:คน)

ทมี่ า : สำนกั งานสาธารณสขุ จงั หวดั กระบ่ีขอ้ มลู ณ 2564

จากตารางท่ี 2.9 คนกระบี่เจ็บป่วยด้วยโรคระบาดที่มากท่ีสุด ๕ อันดับแรกมาโดยตลอด
คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยในปี ๒๕๖1 มีคนเจ็บป่วยในอัตรา 6,515 คนต่อประชากรแสนคน
รองลงมาคือ โรคปอดบวม 2,078 คนต่อประชากรแสนคน โรคไข้เลือดออก 962 คนต่อประชากรแสนคน
โรคไข้หวัดใหญ่ 680 คนต่อประชากรแสนคนและโรคตาแดง ๖27 คนต่อประชากรแสนคนรองลงมา
คอื โรคสกุ ใส อาหารเป็นพิษ มอื เทา้ ปาก โรคตดิ ตอ่ ทางเพศสัมพนั ธ์ และโรคเลปโตสไปโรซิส ตามลำดบั

4) สาเหตุการป่วยและตายด้วยโรคไมต่ ดิ ตอ่ เรอื้ รัง
แผนภูมทิ ี่ 2.3 แสดงสาเหตกุ ารป่วยและตายด้วยโรคไม่ตดิ ต่อเรื้อรัง

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

17
ตารางที่ 2.10 แสดงปว่ ยดว้ ยโรคไมต่ ดิ ต่อเรอ้ื รัง เปรียบเทียบปี พ.ศ. 2557- 2562(8ด.) จังหวดั กระบ่ี

ท่ีมา : สำนักงานสาธารณสขุ จงั หวดั กระบ่ขี อ้ มลู ณ 2564

สำหรับการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ คนในจังหวัดกระบ่ีป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพ่ิมขึ้นสูงกว่า
โรคมะเร็ง โดยในปี พ.ศ.๒๕๖1 คนในจังหวัดกระบ่ีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในอัตรา 1,173.5 คนต่อ
ประชากรแสนคน รองลงมาคือ โรคมะเร็ง ๑,031.5 คนต่อประชากรแสนคน โรคเบาหวาน 693.3 คนต่อ
ประชากรแสนคน โรคหลอดเลือดสมอง 336.7 คน ต่อประชากรแสนคน และโรคหัวใจขาดเลือด ๓14.7
คนต่อประชากรแสนคน

5) อัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรอ้ื รงั เปรยี บเทยี บ ปี 2557 – 2562 (8ด.) จังหวดั กระบ่ี
แผนภมู ทิ ่ี 2.4 แสดงอัตราตายด้วยโรคไมต่ ิดต่อเร้ือรัง เปรียบเทยี บ ปี 2557 – 2562 (8ด.) จังหวดั กระบี่

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

18
ตารางท่ี 2.11 แสดงอัตราตายดว้ ยโรคไมต่ ิดต่อเร้อื รัง เปรียบเทียบ ปี 2557 – 2562 (8ด.) จงั หวดั กระบ่ี

ท่มี า : สำนักงานสาธารณสุขจังหวดั กระบี่ ขอ้ มลู ณ 2564

สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อท่ีเป็นสาเหตุการตายของคนกระบ่ี อันดับแรกยังคงเป็น
โรคมะเร็งโดยมีอัตราคนตาย ๖4.5 คนต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง ๓4.7 คนต่อ
ประชากรแสนคนโรคหัวใจขาดเลือด 24.7 คนต่อประชากรแสนคน โรคเบาหวาน 9.6 คนต่อประชากรแสนคน
และโรคความดนั โลหติ สูง 6.6 คนต่อประชากรแสนคน

๒.5 ดา้ นการศึกษา

ตารางท่ี ๒.12 จำนวนนักเรยี นนกั ศึกษาในระบบ และนอกระบบ จำแนกตามระดบั ช้ันปี พ.ศ. ๒๕๖๓
(หนว่ ย:คน)

จังหวดั อนุบาล ประถม ม.ตน้ ระดับการศกึ ษา (คน) ป.ตรี รวม
ม.ปลาย ปวช. ปวส.

กระบี่ 26,110 56,832 25,318 12,967 3,361 1,553 936 127,077

ท่มี า :สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร ขอ้ มลู ณ 2563

จากตารางที่ 2.12 แสดงจำนวนนักเรียนนักศึกษาในระบบ และนอกระบบ จำแนกตามระดับช้ันปี

การศึกษา 2563 พบว่า มีจำนวนนักเรียน/นักศึกษา ในเขตพื้นท่ีจังหวัดกระบี่ ทั้งส้ิน 127 ,077 คน
ระดับประถมศึกษา มีจำนวนมากที่สุด คือ 56,832 คน รองลงมา เป็นระดับบอนุบาล จำนวน 26,110 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 25,318คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 12,967 คน
ระดับปวช. 3,361 คน ระดบั ปวส. 1,553 คน และระดบั ปริญญาตรี 936 คน ตามลำดบั

ตารางท่ี 2.13 สถานศกึ ษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสงั กดั รายจังหวัด ปกี ารศึกษา 2563
(หน่วย:จำนวน:แห่ง)

รายการสถานศกึ ษา (แห่ง)

ในระบบ นอกระบบ รวม

สพฐ. เอกชน อาชวี ศึกษา อดุ มศกึ ษา ทอ้ งถิ่น สำนักพทุ ธ ฯ กศน.

๒๒6 ๔7 ๕ ๑ ๑2 ๑ ๘ 300

ท่มี า : ศนู ย์เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสือ่ สาร สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขอ้ มลู ณ เมษายน 2564

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

19

จากตารางท่ี 2.13 แสดงจำนวนสถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสังกัด รายจังหวัด
ปกี ารศึกษา 2563 พบว่า มีจำนวนสถานศึกษาในเขตพื้นทีจ่ ังหวัดกระบ่ี ทั้งส้ิน 300 แห่งสถานศกึ ษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน (สพฐ.) มีจำนวนมากที่สุด คือ๒๒6 แห่ง รองลงมา
เป็นสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๔7 แห่ง สังกัดกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น จำนวน 12 แห่ง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามตาม
อธั ยาศัย (กศน.) จำนวน 8 แห่ง สำนกั งานคณะกรรมการอาชวี ศึกษา จำนวน 5 แห่ง สำนกั งานคณะกรรมการ
อดุ มศึกษา จำนวน 1 แห่ง สังกดั สำนกั พทุ ธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 1 แหง่ ตามลำดับ

ตารางที่ 2.14 คะแนนเฉล่ียการทดสอบ O-Net ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ. 25๖1 – 256๓

จงั หวดั ปกี ารศกึ ษา 2563
2561 2562

ระดบั ประเทศ 35.02 32.34 33.79

กระบี่ 32.34 29.47 31.59

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ (สศช.)ขอ้ มลู ณ เมษายน 2564

จากตารางที่ 2.14 แสดงจำนวนคะแนนเฉล่ียการทดสอบ O-Net ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปี พ.ศ. 25๖1 – 256๓ ในเขตพื้นที่จังหวัดกระบ่ี พบว่า มีคะแนนเฉล่ียการทดสอบ O-Net จำนวนมากท่ีสุด
ในระดับบประเทศและในระดับจังหวัด คือ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35.02 และ 32.34 คะแนน
ตามลำดับ รองลงมา เป็นปีการศึกษา 2563 จำนวน 33.79 และ 31.59 คะแนน และปีการศึกษา 2562
จำนวน 32.34 และ 29.47 คะแนน ตามลำดับ

แผนภมู ทิ ่ี 2.5 แสดงคะแนนเฉลีย่ การทดสอบ O-Net ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖3

คะแนนเฉล่ยี การทดสอบ O-Net ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย

50 44.84 42.38
45
40 38.96
34.09 34.28 34.73
35
28.53 27.47 30.71
30 27.84 26.92 26.43 23.22
25.74 20.94
25
ภาษาองั กฤษ คณิตศาสตร์
20

15

10

5

0 วิทยาศาสตร์ สงั คมศกึ ษา ศาสนา และ
ภาษาไทย วฒั นธรรม

2561 2562 2563

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

20

กราฟแสดงคะแนนเฉล่ียการทดสอบ O-Net ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (%)
ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๓ รายปี

40

35 35.02 3321.34 33.79
30 29.47

25

ร้อยละ 20

15

10

5 ปี 2562 ปี 2563 ระดับประเทศ
จังหวดั กระบี่
0

ปี 2561

ตารางท่ี 2.15 คา่ เฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) ของเด็กนกั เรียนไทยช้ันประถมศึกษาปที ี่ 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 25๖๓

จงั หวดั คา่ เฉล่ยี เชาวนป์ ัญญา (IQ)

ระดบั ประเทศ ๙๘.๒3

กระบ่ี 95.61

ท่มี า :กรมสขุ ภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขข้อมูล ณ กรกฎาคม 2559

จากข้อมูลตารางท่ี 2.1 5 แสดงจำนวนค่าเฉล่ียเชาวน์ปัญ ญา (IQ) ของเด็กนักเรียนไทย
ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 25๖๓ พบว่า มีจำนวนค่าเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) ในระดับประเทศ
98.23 คะแนน และในระดับจังหวดั กระบ่ี 95.61 คะแนน

๒.6 ด้านแรงงาน

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) ส่งผลต่อสภาวการณ์ด้านแรงงานทำให้แรงงาน
ถูกเลิกจ้าง ท้ังด้านแรงงานภาคการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเท่ียวต่างชาติและ
การท่องเที่ยวในประเทศ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมท่ีได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตงั้ แต่ก่อนโรคโควิด 19
(COVID-19) ระบาดและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แรงงานจาก
การจา้ งงานในภาคบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใชก่ ารทอ่ งเที่ยวได้รบั ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพรร่ ะบาด เช่น
การปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดที่มีคนแออัดแนวทางการใช้ SocialDistancing และ
Lock Down ซ่ึงทำให้หลายธุรกิจในสาขาบริการถูกขอให้หยุดกิจการช่ัวคราวรวมไปถึงแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะ
ไดร้ บั ผลกระทบอยา่ งรนุ แรง เนอ่ื งจากขาดรายไดท้ ่ีม่นั คงและไม่ไดร้ ับการคุ้มครองทางสังคม

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

21

ตารางท่ี 2.16 แสดงสภาวการณม์ งี านทำของประชากรในจงั หวัดกระบี่ไตรมาส ไตรมาส 2 (เมษายน – มิถนุ ายน 2564)

(หน่วย:คน)

กำลังแรงงานในปัจจุบนั กำลงั แรงงานท่รี อ ผไู้ มอ่ ยใู่ นกำลังแรงงาน
ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน ฤดูกาล
จังหวัด ทำงาน เรยี นหนงั สอื อื่นๆ
บา้ น

กระบี่ 207,985 7,660 ๐ ๓4,508 22,296 ๒5,804

ท่ีมา : สำนกั งานสถติ ิแหง่ ชาติ ข้อมูล ณ 2564

จากตารางท่ี 2.16 แสดงจำนวนสภาวการณ์มีงานทำของประชากรในเขตพ้ืนที่จังหวัดกระบ่ี
ไตรมาส 2(เมษายน – มิถุนายน 2564) พบว่า ผู้ท่ีอยู่ในกำลังแรงงานในปัจจุบัน รวม 215,646 คน
แบ่งเป็น ผู้มีงานทำ 207,985 คน และผู้ว่างงาน 7,660 คน กำลังแรงงานท่ีรอฤดูกาล 0 คน ผู้ที่ไม่อยู่ใน
กำลังแรงงาน รวม 82,608 คน แบ่งเป็น ทำงานบ้าน 34,508 คน เรียนหนังสือ 22,296 คน และอื่น ๆ
๒5,804 คน โดยอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือ อาชีพด้านเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 53.5
รองลงมา อาชีพด้านการค้าและบริการ คิดเป็นร้อยละ 36.20 และน้อยที่สุด คือ อาชีพด้านการผลิต คิดเป็น
ร้อยละ 10.22 ตามลำดับ

แผนภมู ิที่ 2.6 แสดงอัตราการมีงานทำและการว่างงานของจังหวดั กระบี่

แผนภูมิท่ี 2.6 จะเห็นได้ว่าอัตราการมีงานทำค่อนข้างลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ
69.73 และมีอัตราการว่างงานจำนวนเพมิ่ ขึน้ จากไตรมาส 4 ปี 2563 อยูท่ ี่ร้อยละ 3.55

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

22

ตารางที่ 2.17 จำนวนคนต่างด้าวทไ่ี ด้รบั อนญุ าตทำงานคงเหลือพ.ศ.255๙ - 2564 ของจังหวดั กระบ่ี
(หน่วย: คน)

จังหวดั 255๙ 2560 2561 256๒ 256๓ 2564

กระบี่ 15,725 20,132 16,993 14,188 11,208 13,439

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขอ้ มูล ณ 2564

จากตารางที่ 2.17 แสดงจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ ในเขตพื้นที่จังหวัดกระบ่ี
พบว่า มีจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือมากที่สุด คือ จำนวน 20,132 คน ในพ.ศ. 255๙
รองลงมา จำนวน 16,993 คน ในพ.ศ. 2561 จำนวน 15,725 คน พ.ศ. 2559 จำนวน 14,188 คน
พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 จำนวน 13,439 คนและจำนวน 11,208 คน ในพ.ศ. 2563 ตามลำดับ
โดยจังหวัดกระบ่ีมีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จำนวน 12,016 คน เป็นสัญชาติเมียนมามากสุด จำนวน
12,016 คน สญั ชาติลาว 1,058 คน และสญั ชาติกัมพชู านอ้ ยทีส่ ุด จำนวน 313 ราย

๒.7 ด้านท่อี ยอู่ าศัย
ตารางที่ ๒.๑8 แสดงจำนวนชุมชนผมู้ ีรายไดน้ อ้ ยของจังหวัดกระบพี่ .ศ. 2560(หนว่ ย:แห่ง:คน)

จงั หวดั จำนวน ชุมชนแออดั ชมุ ชนเมือง ชมุ ชนชานเมอื ง จำนวน จำนวน จำนวน
ชมุ ชน ชมุ ชน ครวั เรอื น ชุมชน ครวั เรอื น ชุมชน ครัวเรือน บ้าน ครัวเรือน ประชากร

กระบ่ี 2 ๑ 30 1 24 0 0 42 54 216

ที่มา : กองยุทธศาสตรแ์ ละสารสนเทศทอ่ี ยอู่ าศัย ฝ่ายวชิ าการพัฒนาท่อี ยอู่ าศยั การเคหะแหง่ ชาติ ขอ้ มลู ณ 2560

จากตารางท่ี 2.14 แสดงจำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อยในพ้ืนที่จังหวัดกระบี่ พบว่า จำนวนชุมชน
2 แห่ง ดังน้ี คือ ชมุ ชนแออัด 1 ชุมชน 30 ครัวเรือน ชมุ ชนเมือง 1 ชุมชน 24 ครัวเรือน และชุมชนชานเมือง
0 ชมุ ชน 0 ครวั เรอื น มจี ำนวนบา้ น 42 หลังคาเรอื น มจี ำนวนครัวเรือน 54 ครัวเรอื น และมีจำนวนประชากร
216 คน

๒.8 ดา้ นเศรษฐกจิ และรายได้

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดกระบี่ ปี 2563 และแนวโน้ม ปี 2564“เศรษฐกิจจังหวัด
กระบ่ี ปี 2563 คาดว่ามีแนวโน้มหดตัวร้อยละ -40.8 เม่ือเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากการ
แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซ่ึงส่งผลกระทบในทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการท่ีเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ
การท่องเท่ียว ผลจากมาตรการจำกดั การเดนิ ทางเข้าออกระหว่างประเทศ เพ่ือปอ้ งกัน การแพรร่ ะบาดของโรค
COVID-19 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอการเดินทางเข้ามาในจังหวัดขณะท่ีนักทอ่ งเที่ยวไทยมีสัญญาณ
ปรับตัวดีข้ึนตอนปลายปี เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
ภายในประเทศของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามประชาชนยังคงระมัดระวังและชะลอการเดินทาง เนื่องจากยังคง
กังวลต่อการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ภาคบริการในปี 2563 ยังคงหดตัวสูง การบริโภค
ภาคเอกชนหดตัวตามกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ลดลงโดยเฉพาะกำลังซ้ือในกลุ่มภาคบริการ การลงทุน
ภาคเอกชนหดตัวจากผู้ประกอบการยังไม่มีแผนการลงทุนเพิ่ม เน่ืองจากต้องการรักษาสภาพคล่อง หลังได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 สำหรับการจ้างงานยังคงหดตัวตามการจ้างงาน
ในภาคบรกิ าร เป็นสำคญั สำหรับเศรษฐกจิ ใน ปี 2564 คาดว่ายงั คงหดตัวอยทู่ ่ีรอ้ ยละ 10.2 โดยมปี ัจจัยเสีย่ ง
จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รอบ 2 ในหลายประเทศ อาจจะมีมาตรการห้ามเดินทางเข้าออก
ระหวา่ งประเทศ ซึง่ จะส่งผลกระทบในทกุ ภาคธรุ กจิ โดยเฉพาะธรุ กจิ การท่องเทยี่ ว”

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

23

1) ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ตารางท่ี ๒.19 แสดงการขยายตัวของผลติ ภณั ฑ์มวลรวมจังหวัด

จังหวัด ปี ๒๕๖๑ อัตราการขยายตัว GPP (ร้อยละ)

ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓
-40.8
กระบ่ี ๒.๗ 4.6

ท่ีมา : สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากข้อมูลแสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกระบ่ี พบว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์
มวลรวมสูงสุดอยทู่ ่ีร้อยละ 4.6 ในปี พ.ศ.2561 รองลงมา อยูท่ ี่ร้อยละ 2.7 ในปี พ.ศ.2562 และผลิตภัณฑ์
มวลรวมต่ำทสี่ ุด อยทู่ ่รี ้อยละ -40.8 ในปี พ.ศ.2563

ตารางท่ี ๒.20 แสดงผลติ ภณั ฑ์จงั หวดั ต่อหวั (GPP per capita) ปี พ.ศ. ๒๕๖2

จงั หวดั บาทตอ่ ปี

กระบ่ี 203,719

ทม่ี า: ผลติ ภัณฑภ์ าคและจงั หวัด แบบปรมิ าณลูกโซ่ ฉบบั พ.ศ. 2562 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากข้อมูลแสดงผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita)ในเขตพ้ืนท่ีจังหวัดกระบี่ในปี พ.ศ.2562
พบว่า ผลติ ภัณฑ์จงั หวดั ต่อหัว อย่ทู ี่ 203,719 บาทตอ่ ปี

ตารางที่ ๒.21 แสดงรายไดโ้ ดยเฉลี่ยต่อเดอื นต่อครัวเรอื นของจังหวัด พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๒
(หน่วย:บาท)

จังหวดั ๒๕๕๘ ๒๕๖๐ ๒๕๖๒

กระบ่ี 31,011.50 34,052.87 28,521.69

ทม่ี า: สำนกั งานสถิตแิ ห่งชาติ

จากข้อมูลแสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของจังหวัดกระบ่ี ปี พ.ศ.๒๕๕๘–๒๕๖๒
มีรายได้โดยเฉล่ียต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงท่ีสุด คือ ปี 2560 เฉล่ีย 34,052.87 บาท รองลงมา ปี 2558
เฉล่ยี 31,011.50 บาท และปี 2562 เฉลยี่ 28,521.69 บาทตามลำดับ

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

24

ตารางที่ ๒.22 แสดงหนส้ี ินเฉล่ยี ต่อครวั เรอื น จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมพ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒

(หนว่ ย:บาท)

จังหวดั วัตถุประสงค์ของการกยู้ ืม ๒๕๕๘ ๒๕๖๐ ๒๕๖๒

หนส้ี นิ ทง้ั ส้ิน 373,325.20 289,237.36 216,585.68

เพอ่ื ใชจ้ ่ายในครัวเรือน 166,529.60 158,934.51 104,561.32

เพื่อใชท้ ำธุรกิจที่ไม่ใช่ 85,333.60 70,105.53 20,928.67
การเกษตร

กระบี่ เพอื่ ใชท้ ำการเกษตร 25,180.80 19,111.74 41,809.52

เพื่อใช้ในการศึกษา 6,812.50 5,312.58 2,889.09

เพือ่ ใชซ้ อ้ื /เชา่ ซื้อบา้ นและ 89,468.60 35,759.23 46,163.51
ท่ดี ิน

อน่ื ๆ - 13.79 233.57

ทม่ี า : สำนักงานสถติ ิแหง่ ชาติ

หมายเหตุ : หน้อี ืน่ ๆ ได้แก่ หน้ีจากการค้ำประกนั บุคคลอื่น หนีค้ ่าปรบั หรอื จา่ ยชดเชยคา่ เสยี หายเป็นต้น

แผนภูมิท่ี ๒.7 แสดงหน้ีสินเฉล่ยี ตอ่ ครวั เรือน จำแนกตามวตั ถุประสงค์ของการกู้ยืม พ.ศ. ๒๕๖2

233.57 วัตถุประสงคข์ องการกูย้ มื

46,163.51 เพ่ือใช้จา่ ยในครัวเรอื น
เพ่ือใชท้ ําธรุ กิจท่ไี มใ่ ชก่ ารเกษตร
2,889.09 104,561.32 เพื่อใช้ทําการเกษตร
เพื่อใชใ้ นการศึกษา
41,809.52 เพื่อใช้ซ้ือ/เช่าชื้อบ้านและท่ดี นิ
อืน่ ๆ
20,928.67

จากแผนภูมิที่ 2.6 แสดงหนี้สินเฉล่ียต่อครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมของจังหวัด
กระบี่ พ.ศ.2558 - 2562 พบว่า ในปี 2558 มีหน้ีสินเฉลี่ยต่อครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม
สูงท่ีสุด โดยวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม 3 อันดับแรก คือ 1. เพ่ือใช้จ่ายในครัวเรือน 2. เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่
การเกษตร และ 3. เพอื่ ใช้ทำการเกษตร

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

25

๒.9 ด้านภาคเี ครอื ข่าย จังหวัด
ตารางท่ี ๒.23 แสดงจำนวนองค์กรภาคเี ครือข่าย

องคก์ ร

องค์กรสาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ. สง่ เสริมการจัดสวสั ดิการสังคม 24 องค์กร

องค์กรสวัสดิการชมุ ชน ตาม พ.ร.บ. สง่ เสรมิ การจัดสวัสดกิ ารสังคม 36 องคก์ ร

กองทนุ สวัสดกิ ารสงั คม 1 แห่ง

สภาเด็กและเยาวชน 344 คน

สภาองค์กรคนพิการ 12 องค์กร

ศูนยบ์ ริการคนพิการทวั่ ไป 18 แห่ง

ศนู ยพ์ ัฒนาคุณภาพชีวติ และส่งเสริมอาชีพของผสู้ งู อายุ (ศพอส.) 16 ศูนย์

ศนู ยพ์ ัฒนาครอบครวั ในชุมชน (ศพค.) 58 แห่ง

อาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์ (อพม.) 1,080 คน

โครงการบา้ นม่นั คง (พอช.) 2 ตำบล

ขอ้ มลู คลังปญั ญาผู้สงู อายุ 52 ตน

ที่มา : สำนักงานพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์จงั หวดั กระบี่ ข้อมลู ณ วนั ที่25 มถิ นุ ายน 2564

จากตารางท่ี ๒.๑๑ แสดงจำนวนองค์กรภาคีเครือข่ายในเขตพื้นท่ีรับผิดชอบสำนักงานพัฒนาสังคม
และความมน่ั คงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย องค์กรสาธารณประโยชน์ มีจำนวน 24 องค์กร องค์กร
สวัสดิการชุมชนมีจำนวน 36 องค์กร กองทุนสวัสดิการสังคม มีจำนวน 1 แห่งสภาเด็กและเยาวชน มีจำนวน
344 คน สภาองค์กรคนพิการ มีจำนวน 12 องค์กร ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
(ศพอส.) มีจำนวน 16 ศูนย์ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) มีจำนวน 58 แห่ง และอาสาสมัครพัฒนา
สงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ (อพม.) จำนวนท้งั สิน้ 1,080 คนตามตารางข้างต้น

2.10 ดา้ นคุณภาพชีวิตของคนกระบ่ี จาํ แนกตามตวั ช้วี ดั ข้อมูล จปฐ.
เครื่องช้ีวัด จปฐ. ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (ปี2560 - 2564)

มี 5 หมวด 31 ตัวช้ีวัด หมวดท่ี 1 สุขภาพ (คนไทยมีสุขภาพอนามัยดี) มี 7 ตัวช้ีวัด หมวดที่ 2
สภาพแวดล้อมมี 7 ตัวช้ีวดั หมวดที่ 3 การศกึ ษา มี 5 ตวั ชว้ี ดั หมวดท่ี 4 การมีงานทำและรายได้ มี 4 ตวั ช้วี ัด
และหมวดที่ 5 ค่านยิ มมี 8 ตวั ชว้ี ัด

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

26

ตารางท่ี 2.24 แสดงจำนวนคนกระบี่มคี ุณภาพชวี ิตดี 10 อนั ดับแรก

ทม่ี า : สํานักงานพฒั นาชุมชนจังหวัดกระบี่

ตารางที่ 2.25 ปัญหาคณุ ภาพชีวติ ของคนกระบ่ี 10 อนั ดับแรก ทค่ี วรได้รับการแกไ้ ข

ทมี่ า : สำนกั งานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบ่ี

จากตารางที่ 2.25 คนในครัวเรือนของจังหวัดกระบี่ มีระดับความสุขเฉล่ียท่ี 8.02 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนโดยอำเภอเมืองกระบ่ีประชาชนมีระดับความสุขเฉล่ียสูงที่สุด 8.37 คะแนน
รองลงมาคืออำเภอปลายพระยา 27 อ่าวลึกลำทับอำเภอเกาะลันตาอำเภอเขาพนม ตามลำดับ ส่วนอำเภอ
เหนอื คลอง ประชาชนมรี ะดบั ความสขุ เฉลีย่ น้อยทส่ี ดุ

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

27

สว่ นท่ี ๓
สถานการณก์ ลมุ่ เปา้ หมายทางสงั คมระดับจงั หวดั

๓.๑ กลุ่มเดก็ และเยาวชน(ต้ังแตอ่ ายตุ ่ำกว่า 1 ปี-25 ปี)

ตารางท่ี ๓.๑ แสดงสถานการณเ์ ด็กและเยาวชนจังหวดั กระบ่ี

(หนว่ ย:คน)

จำนวน เพศหญิง เพศชาย เดก็ ที่ได้รบั เงิน ไม่มีสถานะทาง ออกจากระบบ เด็กและ เดก็ และ เดก็ อยใู่ น เด็กและ เด็กและเยาวชน เด็กท่ี
181,236 อดุ หนุนเพือ่ การ ทะเบยี นราษฎร์ การศกึ ษา เยาวชนเปน็ เยาวชนเปน็ ครอบครัว เยาวชนที่มี ที่ถูกทารุณกรรม ตั้งครรภ์ก่อน
เลีย้ งดเู ด็กแรกเกดิ กลางคนั ผูเ้ สียหาย ผตู้ ้องหา ยากจน พฤตกิ รรม วยั อันควร
ไมเ่ หมาะสม ทางร่างกาย และไม่พรอ้ ม
จิตใจและทาง ในการเลย้ี งดู

เพศ 604

114,488 92,768 26,105 254 95 31 170 2,232 336 12

ทม่ี า : สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษยจ์ งั หวัดกระบ่ี ข้อมลู ณ วนั ที่ 28 มถิ นุ ายน 2564

จากตารางที่ 3.1 แสดงสถานการณ์เด็กและเยาวชนจังหวัดกระบ่ี จำนวน 181,236 คน

ประกอบด้วย เพศหญิง 114,488 คน เพศชาย 92,768 คน โดยมีเด็กที่ไดร้ ับเงินอุดหนุนเพื่อการเลย้ี งดูเด็ก

แรกเกิดจำนวน 26,105 คน เด็กและเยาวชนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ จำนวน 254 คน

เด็กและเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษากลางคัน จำนวน 95 คน เด็กและเยาวชนเป็นผู้เสียหาย จำนวน 31 คน

เด็กและเยาวชนเป็นผู้ต้องหา จำนวน 170 คน เด็กอยู่ในครอบครัวยากจน จำนวน 2,232 คน

เด็กและเยาวชนท่ีมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 336 คน เด็กและเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจและ

ทางเพศ 12 คน และเดก็ ทีต่ ้ังครรภ์กอ่ นวยั อนั ควรและไม่พร้อมในการเลย้ี งดู 604 คน

1) ดา้ นพฒั นาการและการเรยี นรขู้ องเดก็

เด็กกระบี่มีพัฒนาการและการเรียนรู้สมวัยแต่ต้องพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น
ในปี ๒๕๖2 จังหวัดกระบี่มีสัดส่วนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีการพัฒนาสมวัยเพ่ิมขึ้นเป็นร้อยละ 97.47 ของเด็ก
ทั้งหมด จากร้อยละ 96.48 ในปี ๒๕61 เป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ จึงควรเร่งพัฒนาการเล้ียงเด็กท้ังด้าน
โภชนาการร่างกาย และการเรยี นรู้ ให้มพี ัฒนาการสมวัยรอ้ ยละ ๑๐๐ เชน่ เดยี วกับในปี ๒๕๕๘

ตารางที่ ๓.2 แสดงพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในจงั หวัดกระบ่ี

๓.2 กลมุ่ สตรี

ตารางท่ี 3.2 แสดงสถานการณ์กลุ่มสตรจี ังหวดั กระบี่(หน่วย:คน)

(๑) (๒) (3)
สตรที ่เี ปน็ แม่วยั รุน่ อายตุ ำ่ กว่า 20 ปี สตรีท่ถี ูกเลกิ จา้ ง/ตกงาน แม่เลีย้ งเดย่ี วฐานะยากจนทต่ี อ้ ง

2,876 2,068 เลีย้ งดบู ุตรเพียงลำพัง

487

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

28

หมายเหตุ (๑) สตรีที่เป็นแม่วัยรนุ่ อายุต่ำกว่า 20 ปี ทีม่ าจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์
จังหวัดกระบี่ ขอ้ มลู ณ วนั ที่28 มิถุนายน 2564

(๒) สตรที ีถ่ ูกเลกิ จ้าง/ตกงาน ท่มี าจาก สำนกั งานสถติ ิจงั หวดั กระบ่ี ข้อมูล ณ วนั ที่ 19 มิถนุ ายน 2564
(3) แมเ่ ล้ยี งเด่ยี วฐานะยากจนท่ตี ้องเลีย้ งดูบตุ รเพยี งลำพงั ท่มี าจากสำนกั งานพฒั นาสงั คมและความมน่ั คง

ของมนุษยจ์ ังหวัดกระบี่ ขอ้ มูล ณ วันที่ 28 มถิ ุนายน 2564
จากตารางที่ 3.2 แสดงสถานการณ์กลุ่มสตรีจังหวัดกระบ่ี มีสตรีท่ีเป็นแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี
จำนวน 2,876 คน และสตรที ถ่ี กู เลกิ จา้ ง/ตกงาน จำนวน 2,068 คน

๓.๓ กลมุ่ ครอบครัว (หนว่ ย:ครอบครวั )
ตารางท่ี 3.3 แสดงสถานการณก์ ลุ่มครอบครัวจังหวัดกระบี่
(๕)
จำนวน (๑) (๒) (๓) (๔) ครอบครัวยากจน
ครอบครวั หยา่ รา้ ง
ครอบครัวเด่ียว ครอบครัวขยาย ครอบครัวทมี่ กี ารสมรส 17,849
854
75,714 11,730 8,677 2,196

หมายเหตุ (๑) ครอบครัวเด่ียว ที่มาจาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ข้อมูล ณ วันท่ี 28
มถิ ุนายน 2564

(๒) ครอบครวั ขยายที่มาจาก สำนักงานพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์ ข้อมูล ณ วนั ท่ี 28
มิถุนายน 2564

(๓) ครอบครัวท่ีมีการสมรส ท่ีมาจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อมูล ณ
วันท่ี 28 มิถนุ ายน 2564

(๔) ครอบครวั หยา่ ร้างท่ีมาจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ ขอ้ มูล ณ วนั ท่ี 28
มถิ ุนายน 2564

(๕) ครอบครัวยากจน ที่มาจากข้อมูลครัวเรือนยากจน TPMAP จังหวัดกระบี่ ข้อมูล ณ วันที่
28 มิถนุ ายน 2564

จากตารางที่ 3.3 แสดงสถานการณ์กลุ่มครอบครัวจังหวัดกระบี่จังหวัดกระบี่มีครอบครัว
ท้ังสิ้น 75,714 ครอบครัว เป็นครอบครัวเด่ียว 11,730 ครอบครัว ครอบครัวขยาย 8,677 ครอบครัว
ครอบครัวที่มีการสมรส 2,196 ครอบครัว ครอบครัวหย่าร้าง 854 ครอบครัว และมีครอบครัวยากจน
17,849 ครอบครัว

๓.4 กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ปีขน้ึ ไป)

ตารางท่ี 3.4 แสดงสถานการณ์ผู้สงู อายุ จังหวดั กระบี่ (หน่วย:คน)

จำนวน (๑) (๒) (๓) (๔)
ผ้สู งู อายทุ ีไ่ ด้รับ ผสู้ ูงอายตุ ดิ เตยี ง ผ้สู งู อายทุ ปี่ ระสบปัญหา ผ้สู ูงอายทุ ี่มที ่ีอยู่อาศยั

เบี้ยยงั ชีพ ทางสงั คม ไม่ม่นั คง

60,051 43,309 494 5,483 1,235

หมายเหตุ (๑) ผู้สูงอายทุ ่ีได้รบั เบี้ยยังชพี ทมี่ าจากสำนักงานทอ้ งถ่ินจงั หวดั กระบี่ ข้อมูล ณ วนั ที่ 14 มนี าคม 2564
(๒) ผู้สงู อายุติดเตียง ทมี่ าจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ข้อมลู ณ วันท่ี 28
มิถุนายน 2564

รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

29

(๓) ผสู้ ูงอายุทป่ี ระสบปัญหาทางสังคมที่มา จากสำนักงานพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย์
ขอ้ มูล ณ วันท่ี 28 มถิ ุนายน 2564

(๔) ผสู้ งู อายทุ ่ีอยูอ่ าศยั ไม่มัน่ คงทมี่ า จากสำนักงานพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์ ข้อมูล ณ
วันท่ี 28 มิถุนายน 2564

จากตารางที่ 3.๔ แสดงสถานการณ์กลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดกระบ่ีผู้สูงอายุจังหวัดกระบ่ี มีจำนวน
60,051 คน มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 43,309 คน ผู้สงู อายุติดเตียง จำนวน 494 คน ผู้สงู อายุที่
ประสบปญั หาทางสังคม 5,483 คน และผู้สงู อายุที่มที ี่อยอู่ าศยั ไม่มั่นคง จำนวน 1,235 คน

๓.5 กลุ่มคนพิการ

ตารางท่ี 3.5 แสดงสถานการณค์ นพิการ จำแนกตามจังหวัด(หนว่ ย:คน)

จำนวน คนพิการท่มี บี ัตรประจำตัวคนพกิ าร คนพิการท่ไี ด้รับเบ้ียยังชพี

10,436 10,436 10,436

ทีม่ า: จากสำนกั งานพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์ ขอ้ มลู ณ วันท่ี 28 มิถนุ ายน 2564

จากตารางที่ 3.5 แสดงสถานการณ์กลุ่มคนพิการจังหวัดกระบี่ มีจำนวนคนพิการท้ังหมด 10,436 คน

เพศชาย 5,876 คน เพศหญิง 4,560 คน มบี ัตรประจำตัวคนพกิ ารและได้รับเบีย้ ยังชพี จำนวน 10,436 คน

จำแนกตามลักษณะความพกิ ารได้ดังนี้

1. ทางการเห็น จำนวน 695 คน

2. ทางการเคล่ือนไหวหรือทางรา่ งกาย จำนวน 5,224 คน

3. ทางสติปญั ญา จำนวน 741 คน

4. ทางออทสิ ตกิ จำนวน 62 คน

5. ทางการได้ยินหรอื สื่อความหมาย จำนวน 1,618 คน

6. ทางจติ ใจหรอื พฤตกิ รรม จำนวน 667 คน

7. ทางการเรยี นรู้ จำนวน 86 คน

8. พกิ ารซำ้ ซอ้ น จำนวน 1,294 คน

9. ไม่ระบุ จำนวน 49 คน

จำแนกตามสาเหตคุ วามพกิ ารไดด้ ังน้ี

1. พันธกุ รรม จำนวน 144 คน

2. โรคติดเช้ือ จำนวน 272 คน

3. อบุ ัติเหตุ จำนวน 1,477 คน

4. โรคอืน่ ๆ จำนวน 1,934 คน

5. ภาวะเจ็บป่วย จำนวน 2,773 คน

6. ไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 12 คน

7. มากกว่า 1 สาเหตุ จำนวน 1,294 คน

8. ไม่ระบุ จำนวน 2,530 คน

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

30

๓.6 กลุม่ ผู้ด้อยโอกาส

1) การดำเนนิ งานการคุ้มครองคนไรท้ พ่ี ึง่ ในจังหวัดกระบ่ี ประจำปี 2563 - ปัจจบุ นั

ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึง พ.ศ.๒๕๕๗ กำหนดให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พ่ึง

มีอำนาจหน้าท่ีในการดำเนินมาตรการเชิงรุกในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบเพ่ือป้องกันไม่ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือ

บุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากเข้าสู่วิถีการเป็นคนไร้ที่พึ่ง และให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามท่ีสถานคุ้มครอง

คนไรท้ ี่พ่งึ มอบหมายหรือตามทีศ่ ูนย์คุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึงเหน็ สมควร

2) สถิตกิ ารใหค้ วามคมุ้ ครองบุคคลเร่รอ่ นไร้ทพี่ ่ึงของศูนยค์ ุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึงจังหวัดกระบี่

๑. จำแนกตามปีงบประมาณ

- ปงี บประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน ๙๑ ราย

- ปงี บประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ - ปจั จุบนั จำนวน ๑๐๓ ราย

๒. จำแนกตามประเภท

- ผูร้ บั บริการภายนอก จำนวน ๑๘๔ ราย

- ผูร้ ับบรกิ ารภายใน (เขา้ พกั ศคพ.กระบ่ี) จำนวน ๑๐ ราย

3. จำแนกตามเพศ

- เพศชาย จำนวน ๘๙ ราย

- เพศหญงิ จำนวน ๑๐๕ ราย

4. จำแนกตามชว่ งอายุ

- อายุท่ีต่ำกวา่ ๑๘ ปี จำนวน ๕ ราย

- ช่วงอายุ ๑๘ ปี – ๒๕ ปี จำนวน ๑๕ ราย

- ช่วงอายุ ๒๖ ปี - ๕๙ ปี จำนวน ๑๓๗ ราย

- ชว่ งอายุ ๖๐ ปขี นึ้ ไป จำนวน ๓๗ ราย

5. จำแนกตามชอ่ งทางให้บริการ

- มาดว้ ยตนเอง (Walk In) จำนวน ๑๑ ราย

- แจง้ จากหน่วยงานในสงั กัดพม. จำนวน ๒๔ ราย

- แจง้ จากช่องทางอื่น ๆ (โรงพยาบาล/ตำรวจ/ภาคีเครือข่าย/สายดว่ น๑๓๐๐/สื่อออนไลน์)

จำนวน ๑๕๙ ราย

6. จำแนกตามปัญหาและการให้ความชว่ ยเหลือ

- ปญั หาทพ่ี บ

๑) ปญั หาเรร่ อ่ น/ไม่มที ่ีอยู่อาศัย จำนวน ๓๙ ราย

๒) ปัญหารายไดไ้ มเ่ พียงพอ จำนวน ๖๓ ราย

๓) ปัญหาการวา่ งงาน จำนวน ๓๐ ราย

๔) ปญั หาต้องการกลบั ภมู ลิ ำเนา จำนวน ๒๑ ราย

๕) ปญั หาคนจติ เวชส้ินสดุ การรกั ษา จำนวน ๒๗ ราย

6) ปัญหาอ่ืน ๆ (เมาสุรา/ความรนุ แรงในครอบครวั /ไม่ขอรบั บริการ) จำนวน ๑๔ ราย

- การใหค้ วามช่วยเหลอื

๑) สง่ กลับภมู ลิ ำเนา จำนวน ๔๐ ราย

๒) ใหค้ ำปรกึ ษาโดยนกั สังคมสงเคราะห์ จำนวน ๕๐ ราย

๓) มอบเงินสงเคราะหค์ รอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไรท้ ี่พึง่ จำนวน ๕๖ ราย

๔) ส่งสถานคมุ้ ครองตามกฎหมายค้มุ ครองเฉพาะ จำนวน ๑๓ ราย

๕) ใหก้ ารชว่ ยเหลืออนื่ ๆ (เยี่ยมบา้ น/ติดตามหาญาติ/ไม่รบั การชว่ ยเหลือ) จำนวน ๓๕ ราย

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

31

สถติ กิ ารให้บริการคนไรท้ ่พี ่ึงในจงั หวัดกระบ่ี 2561 2562 2563

จำนวนกล่มุ เป้าหมายท่ีได้รับการคุ้มครอง 45 53 91
39 43 84
ผู้ใช้บริการ ภายนอก 6 10 7
ภายใน

ดว้ ยตนเอง 349
4 11 15
หน่วยงานในสังกัด พม.

ส่งผ่านหน่วยงาน/ช่องทางอ่ืน ๆ 38 38 67
- โรงพยาบาล
- ตำรวจ 3 9 10
- ศูนย์ดำรงธรรม
ชอ่ งทางการรบั เรือ่ ง - สายดว่ น 1300 11 5 5
- สอื่ ออนไลน์
- ภาคเี ครอื ข่าย 3 4 10

525

2 1 14

14 17 23

เพศ ชาย 28 30 40
หญิง 17 23 51

ตำ่ กวา่ 18 ปี 25
425
18 – 25 29 34 60
อายุ 26 – 59 12 15 21

60 ปขี ึน้ ไป

เรร่ อ่ น/ไมม่ ที ่อี ยูอ่ าศยั 17 27 16

รายไดไ้ ม่เพยี งพอ - - 28

ประเดน็ ปญั หา วา่ งงาน/ตกงาน/ไม่มีงานทำ - - 11
ตอ้ งการกลบั ภมู ิลำเนา - - 14

ผูป้ ว่ ยจติ เวชสน้ิ สดุ การรักษา 14 15 11

อ่ืน ๆ(ตามหาญาติ/ความรุนแรง/เมาสุรา/ไม่มีสถานะ 14 11 11

ทางทะเบียนราษฎร์)

สง่ กลับครอบครัว/ชุมชน 20 14 23

การให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาโดยนักสังคมสงเคราะห์ 8 7 27
และประสานสง่ ต่อ เงนิ สงเคราะหค์ รอบครัวฯ
ประสานสง่ ต่อสถานคุม้ ครองตามกฎหมายเฉพาะ 2 5 20

15 18 7

ปฏิเสธการชว่ ยเหลอื - 9 14

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

32

สถิตกิ ารใหบ้ ริการคนไรท้ พี่ งึ่ ในจงั หวดั กระบี่
ระหวา่ งปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๓

27

87 8 8 10 11 10
2 5 5
5 3 123 6 6 34 54 7
3 2 3 34 1 2 4

1

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

2561 2562 2563

จากสถิติผู้ใช้บริการตั้งแต่ปี 2561 – 2563 มีคนไร้ท่ีพึ่งได้รับบริการจำนวนรวม ๑๘๙ ราย
เฉลี่ยปีละ 63 ราย โดยมีผรู้ ับบรกิ ารจำนวนมากท่ีสดุ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 จำนวน 27 ราย แยกเป็น
คนไร้ที่พึ่งเพศชาย จำนวน ๙๘ ราย คนไร้ท่ีพ่ึงเพศหญิง 91 ราย หรือสัดส่วน 51 : 49 ช่วงอายุที่พบมาก
ที่สุดคือ อายุระหว่าง 26 – 59 ปี จำนวน 123 ราย รองลงมาคืออายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 48 ราย
สภาพปัญหาที่เข้ารับบริการพบมากที่สุด คือ ไม่มีท่ีอยู่อาศัย ใช้ชีวิตเร่ร่อนอาศัยหลับนอนในพ้ืนท่ีสาธารณะ
การดำเนินการให้ความช่วยเหลือและประสานส่งต่อ ระหว่างปี 2561 – 2563 ศูนย์คุ้มครอง
คนไร้ที่พ่ึงจังหวัดกระบ่ี ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือคนไร้ท่ีพ่ึงกลับคืนสู่ครอบครัว/ชุมชนมากกว่า
การส่งเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึงหรือหน่วยงานตามกฎหมายเฉพาะ จะเห็นได้จากดำเนินการช่วยเหลือ
ส่งกลับครอบครัวและส่งกลับภูมิลำเนา จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.15 ซึ่งมากกว่าการส่งเข้ารับการ
คุ้มครองสวัสดิภาพ ภายในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและหน่วยงานตามกฎหมายเฉพาะ จำนวน 40 ราย
คิดเป็นร้อยละ 21.16 จากการดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไร้ท่ีพึ่งพบว่า คนไร้ท่ีพึ่งที่พบในพื้นที่ปฏิเสธ
การช่วยเหลือ จำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.16 ซ่ึงตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ท่ีพึ่ง พ.ศ.
2557 คนไรท้ ี่พ่งึ สามารถปฏิเสธการชว่ ยเหลอื ได้ เพราะตอ้ งยึดหลักความสมัครใจและยินยอมใหก้ ารช่วยเหลือ
จึงไมส่ ามารถบงั คบั ใหเ้ ขา้ รบั การคุ้มครองได้

3) การดำเนินงานการจัดระเบยี บคนไร้ที่พงึ่ และคนขอทานงบประมาณ ๒๕๖๓

ศูนย์คุ้มครองคนไร้ท่ีพึ่งจังหวัดกระบี่ ได้จัดทำแผนการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน
โดยการลงพ้ืนท่ีตลาด งานเทศกาลประจำปีในพื้นท่ีจังหวดั กระบี่ เพื่อให้การคุ้มครองและฟ้ืนฟูคุณภาพชีวิตแก่
คนไร้ที่พ่ึง คนขอทาน ตามกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ส ร้างความรู้ความเข้าใจ
พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึง พ.ศ.๒๕๕๗ พระราชบัญญัตคิ วบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๕๕๙ ให้กับภาคี
เครือขา่ ย ประชาชน ชมุ ชน ท้องถิน่ และหน่วยงานภาครฐั มสี ว่ นรว่ มในการแก้ไขปัญหาคนไร้ท่ีพง่ึ และคนขอทาน

- ปงี บประมาณ ๒๕๖๓ศูนย์คุ้มครองคนไรท้ ่ีพึง่ จงั หวดั กระบ่ี ได้ดำเนินการจดั ระเบียบคนไรท้ ่ี
พึ่ง และคนขอทาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓บูรณาการร่วมกับคณะทำงาน One Home ของ พม.(สำนักงาน
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่/บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกระบ่ี) และภาคี
เครือข่ายทุกส่วน (อปท./สภ./ตม./อพม./เทศกิจ) โดยการลงพื้นท่ีตลาด งานเทศกาลประจำปีในพื้นที่จังหวัด
กระบ่ีต้ังแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๒ – กันยายน ๒๕๖๓ จำนวน ๒๔ คร้ัง(๒ คร้ังต่อเดือน)ไม่พบคนไร้ที่พ่ึง

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

33

แต่พบผู้กระทำการขอทาน จำนวน ๑ ราย เป็นขอทานคนไทย เมื่อวันท่ี ๒ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ งานเมาว์ลิด
กลางจงั หวดั กระบ่ี ครง้ั ท่ี ๓๙ มสั ยดิ กลางจงั หวดั กระบ่ี ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จงั หวดั กระบ่ี

- ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ปัจจุบันศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พ่ึงจังหวัดกระบ่ี ได้ดำเนินการจัด

ระเบยี บคนไรท้ พี่ ึ่ง และคนขอทาน ตามแผนฯปรากฏวา่ ไมพ่ บคนไรท้ พ่ี ่งึ และผกู้ ระทำการขอทาน

4) การดำเนนิ งานการชว่ ยเหลือเงนิ สงเคราะหผ์ มู้ รี ายไดน้ อ้ ยและผ้ไู ร้ทพ่ี ่ึงประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ - ปจั จุบัน

ศนู ย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดกระบ่ี มีภารกิจให้บริการสังคม การสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือ
ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ คนไร้ท่ีพึ่ง และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้การช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัว
ผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พ่ึง แก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม คร้ังละไม่เกิน 3,000 บาท ตามระเบียบกรมพัฒนา
สงั คมและสวสั ดกิ าร ว่าด้วยการสงเคราะหค์ รอบครัวผมู้ ีรายได้น้อยและผู้ไร้ท่ีพ่ึง พ.ศ.๒๕๕๒โดยมหี ลักเกณฑ์ ดังน้ี

๑)ครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย และที่ประสบความ
เดือดร้อน เพราะสาเหตุหัวหน้าครอบครัว ตาย ทอดท้ิง สาบสูญ ต้องโทษจำคุก เจ็บป่วยร้ายแรง พิการ จนไม่
สามารถประกอบอาชีพได้ ประสบภาวะยากลำบากในการดำรงชวี ิต และไม่สามารถดแู ลครอบครัวไดด้ ว้ ยเหตุอื่นใด

๒) ผู้ไร้ที่พึ่ง หมายถึง บุคคลผู้ปราศจากทรัพย์ส่ิงของหรือรายได้สำหรับยังชีพ และไม่มีผู้ให้
พงึ่ พาอาศัย

๓) การช่วยเหลือด้านการเงินหรือสิ่งของเป็นวงเงินในการช่วยเหลือไม่เกินคร้ังละ ๓,๐๐๐
บาทต่อครอบครวั และชว่ ยเหลือติดต่อกนั ไมเ่ กนิ ๓ ครั้งต่อครอบครัวตอ่ ปีงบประมาณ

- ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พ่ึงจังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้
ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่จังหวัดกระบ่ี จำนวน ๗๑๖ ราย เป็นเงินจำนวน ๒,๐๘๕,๐๐๐บาท
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบ้ืองต้น สนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น สามารถ
พ่ึงพาตนเองได้ และอัตราความเสยี่ งการเข้าส่วู งจรคนไรท้ พี่ ่งึ คนขอทาน ตอ่ ไปในอนาคต

- ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-ปัจจุบัน ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดกระบ่ี ได้รับงบประมาณ
เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ท่ีพ่ึง ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔จำนวน
๑,๘๐๐,๐๐๐บาท เบิกจ่ายแล้ว ๑,๖๖๙,๐๐๐บาท คงเหลือ ๑๓๑,๐๐๐บาท ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทาง
สงั คมในพ้นื ทจี่ ังหวัดกระบี่ ไปแลว้ จำนวน ๕๗๖ ราย(ขอ้ มูล ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔)

ตารางที่ 3.7 แสดงสถานการณก์ ลมุ่ ผดู้ ้อยโอกาส จังหวดั กระบี่

ปงี บประมาณ คนไร้ที่พงึ่ คนขอทาน (หนว่ ย:คน)
ผูแ้ สดงความสามารถ
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
ชาย หญงิ รวม

๒๕๖๒ 30 23 53 - - - 1 6 7

๒๕๖๓ 40 51 91 - 1 1 4 15 19

๒๕๖๔ 22 17 37 - - - - - -

ทีม่ า : ศูนย์ค้มุ ครองคนไร้ท่ีพงึ่ จงั หวัดกระบี่ ณ เดอื นมีนาคม 2564

รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

34

ตารางท่ี 3.8 แสดงสถติ ิการให้ความชว่ ยเหลอื จำแนกตามปีงบประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๓

ปีงบประมาณ การให้ความช่วยเหลือ (จำนวนราย)

๒๕๖๑ 47

๒๕๖๒ 53

๒๕๖๓ 92

ทม่ี า : ศนู ยค์ ุม้ ครองคนไรท้ ่พี งึ่ จงั หวัดกระบี่ ณ เดอื นมีนาคม 2564

จากตารางท่ี 3.8 แสดงสถิติการให้ความช่วยเหลือ (ศูนย์คุ้มครองคนไร้ท่ีพ่ึงได้รับแจ้งจากหน่วยงาน
เครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน ๑๓๐๐ ประชาชนท่ัวและคนไร้ที่พ่ึงคนเร่ร่อน และที่ขอรับบริการด้วย
ตนเองประจำปงี บประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๓)

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

35

บทท่ี ๔
สถานการณ์เชิงประเดน็ ทางสังคมในระดับจงั หวดั

๔.๑ สถานการณ์การค้ามนุษย์
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติท่ีมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศถูกยกระดับให้

เป็นปัญหาระหว่างประเทศ ท่ีทกุ ประเทศให้ความสำคัญ และรณรงค์เพ่ือแก้ปัญหามากข้ึนซ่ึงประเทศไทยถูกใช้
ใน 3 สถานะ คือ ประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ การแก้ไขปัญหา
การค้ามนุษย์ จึงกลายเป็นวาระแห่งชาติของไทย โดยรัฐบาลมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนากรอบกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง
รวมท้ังเพิ่มประสิทธิภาพของทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อขจัดการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ และปกป้อง
คุม้ ครองศกั ด์ศิ รคี วามเปน็ มนุษย์ตามหลักสิทธมิ นุษยชน

จังหวัดกระบ่ี เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มแรงงานต่างชาติที่หล่ังไหลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเร่ือย ๆ เน่ืองจากความ
ต้องการของตลาดแรงงาน ประกอบกับจังหวัดกระบ่ี มีการทำเกษตรกรรมทำสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา
โรงงาน และมีสถานท่ที ่องเทีย่ วต่าง ๆ มากมาย เปน็ แหล่งเศรษฐกจิ ซ่ึงสามารถสร้างรายได้ให้กบั จังหวดั รวมท้ัง
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาจังหวัด อาทิ การคมนาคม การท่องเที่ยว เทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ เพ่ือรองรับเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนทำให้สังคมมีการแข่งขันในด้านการดำเนินชีวิต จากการร่วมบูรณาการตรวจสอบของ
หน่วยงานที่เก่ียวข้องภายในจังหวัด ผลการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่เข้าข่ายผู้ตกเป็นเหยื่อจาก
การค้ามนุษย์ แต่มีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ฐานเป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและ
อยู่อาศัยในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เม่ือเปรียบเทียบสถิติที่น่าจับตามองคืออาจก่อให้เกิดการ
เข้าไม่ถึงการบริการของรัฐ เช่น บริการด้านการศึกษา สาธารณสุข ด้านสวัสดิการ เป็นต้น ซ่ึงล้วนเป็นปัจจัย
ท่ีทำให้เกิดช่องว่างของรายได้และก่อให้เกิดความเหล่ือมล้ำทางสังคมมากขึ้น ผลท่ีตามมาก็คือการเข้าสู่ขบว น
การคา้ มนุษย์ได้ ซง่ึ จังหวัดกระบีม่ ี 2 สถานะ คือ ทางผ่านและปลายทาง

- สถานะทางผ่าน คอื มกี ลมุ่ แรงงานต่างด้าวผ่านทางเพอื่ ไปจังหวัดอ่ืน
- สถานะปลายทาง คือ กลุ่มแรงงานที่เข้ามารับจ้างต่าง ๆ เช่น ก่อสร้าง ทำสวนยางพารา
ทำสวนปาล์มแรงงานภาคประมง และ สถานประกอบการในแหลง่ ท่องเที่ยว
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ ปี พ.ศ.2562 จังหวัดกระบี่มีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับ

อนุญาตทำงานคงเหลือในปี พ.ศ.2562 จำนวน 14,090 คน คิดเป็นร้อยละ 4.32 จำนวนคดีแยกตาม

ประเภทความผิดฐานการค้ามนุษย์ ในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.๒๕๖๑ ไม่มีคดีมีจำนวนคดี ปี พ.ศ.2562

มีจำนวนคดี 8 คดี แยกเป็น คดีท่ีเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี 4 คดี และการผลิตหรือ

เผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก 4 คดีผลจากการวิเคราะห์ระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ จากระบบฐานข้อมูลของ

ประเทศไทยด้านการดำเนินคดีและการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (E-AHT) ซ่ึงผลการจัดระดับ

จังหวดั กระบ่ีเปน็ พนื้ ทท่ี ี่มคี วามเส่ยี งเล็กนอ้ ย

รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

36

1) สถิติทเ่ี กี่ยวข้องกบั การค้ามนุษยใ์ นจังหวดั กระบ่ี

ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวนคดีทเี่ ก่ยี วข้องกับการค้ามนุษย์

จงั หวัด ปี หนว่ ยงานท่ี เลขคดอี าญา วันทรี่ ้อง จำนวน จำนวน ศาลมีคำ
รับผดิ ชอบ ท่ี ทกุ ข/์ ผูต้ ้องหา ผู้เสียหาย พิพากษา
กล่าวโทษ (คน)
(คน)

2561 - - - 00 0

123/2562 24 เม.ย. 62 1 1 ยังไม่มผี ล

สภ.ปลายพระยา 130/2562 1 พ.ค.62 2 1 มผี ล

กระบี่ 2562 199/2562 23 เม.ย.62 1 1 ยงั ไม่มผี ล

สภ.เมืองกระบี่ 1722/2562 5 พ.ย. 62 1 1 มีผล
1735/2562 7 พ.ย. 62 1 1 ยงั ไม่มีผล

2563 - - - 00 0

ท่ีมา : ขอ้ มูลจากระบบ E-AHT ณ เดือนกมุ ภาพนั ธ์ 2564

จากตารางท่ี 4.1 ในปี 2561 ไม่มีคดีความผิดที่เก่ียวกับการค้ามนุษย์ ปี 2562 มีความผิด
ท่ีเก่ียวข้องกับการค้ามนุษย์ จำนวน 5 คดี อยู่ในความรับผิดชอบของ สภ.ปลายประยา และ สภ.เมืองกระบี่
ซึง่ ทั้ง 5 คดี อัยการมคี ำสง่ั ฟ้องผตู้ อ้ งหา คดีอย่รู ะหวา่ งศาลมคี ำพิพากษา

ตารางท่ี 4.2 แสดงอายุ และรูปแบบการกระทำความผิดคดีค้ามนษุ ย์
ปีทีร่ อ้ งทุกข์กล่าวโทษ 2562

ผู้ใหญ่ จำนวนคดี จำนวนผกู้ ระทำผดิ จำนวนผูเ้ สียหาย
เด็ก 5 6 5
ไม่ทราบผู้กระทำผดิ 0 0 0
0 0 0

รปู แบบการแสวงหาประโยชน์ 5 6 5
จากการค้าประเวณี

รวม 5 6 5

ท่มี า : ข้อมลู จากระบบ E-AHT ณ เดือนกมุ ภาพนั ธ์ 2564

จากตารางที่ 4.2 จะเห็นได้ว่ากลุ่มอายุของผู้กระทำผิดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่ทั้ง 5 คดี และทุกคดี
จะมีรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบของการค้าประเวณี

2) ปัจจยั ทส่ี ่งผลตอ่ การค้ามนุษย์ของจงั หวัดกระบ่ี

การค้ามนุษย์ เป็นหนึ่งในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติท่ีมีผลกระทบต่อความม่ันคงของ
ประเทศ และเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่มีสาเหตุเก่ียวพันกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะความเจริญ
ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีความเจริญกว่ากลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่ กัมพูชา
สปป.ลาว พม่า ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวจากกลุ่มประเทศเพ่ือนบ้านเหล่านี้ต่างหล่ังไหลเข้ามาหางานทำใน

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

37

ประเทศไทย ทำให้ขบวนการค้ามนุษย์ซ่ึงแฝงตัวมากับแรงงานต่างด้าวดังกล่าว กระทำการกดข่ี บังคับ ล่อลวง
โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวท่ีเป็นหญิงและเด็ก ซ่ึงถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็นเหย่ือของการค้ามนุษย์และ
การละเมดิ สทิ ธมิ นษุ ยชนอยา่ งรุนแรง

ปัจจัยหลักท่ีส่งผลต่อการค้ามนุษย์ของจังหวัด คือ ความจำเป็นของการใช้แรงงานภายใน
จังหวัดอันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน การขยายตัวของ
ภาคอุตสาหกรรมตลอดจนการเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้จังหวัดมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และเกิดความต้องการแรงงานราคาถูกเพ่ิมมากข้ึน ในขณะท่ีอัตราการแขง่ ขันกับตลาดโลกสูงขึ้น การลดต้นทุน
ในการผลิต การจ้างแรงงานราคาถูก จึงเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการ ในขณะท่ีแรงงานไทยมีการศึกษา
สงู ข้ึนและมคี า่ นิยมที่ไมท่ ำงาน บางประเภทท่ีเส่ยี งอนั ตราย งานหนกั งานสกปรก หรืองานท่ตี ้องใช้ความอดทน
สูง แตไ่ ด้ค่าจ้าง จงึ เป็นปัจจัยดงึ ดูดสำคัญ ให้มกี ารเคลือ่ นยา้ ยผคู้ นจากประเทศเพ่ือนบ้านเขา้ มาภายในประเทศ
และเข้ามาภายในจังหวัด ซ่ึงเก่ียวโยงไปถึงการถูกหลอกลวงบังคับ ขู่เข็ญ เอารัดเอาเปรียบจากขบวนการค้า
มนษุ ย์ โดยเฉพาะการจา้ งงาน

3) ผลการขับเคลื่อนแผนป้องกันและปราบปรามการคา้ มนษุ ย์จงั หวัดกระบ่ี ประจำปี 2564
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดกระบ่ี
1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

จังหวดั กระบี่ คร้ังท่ี 1/2563 จำนวน 1 ครัง้ เพอ่ื รวบรวมจัดทำแผนปฏบิ ัตกิ ารป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ของหน่วยงานที่เก่ียวข้อง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่าย
ในพืน้ ทจ่ี งั หวัด เพอ่ื การดำเนนิ งานดา้ นการคา้ มนษุ ย์ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2563

2) จัดประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด
กระบี่คร้ังที่ 1/2563จำนวน 1 คร้งั เพ่อื พิจารณาแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์จังหวัด
ประจำปี 2563 โดยจะได้นำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ไปดำเนินการขับเคลื่อนงาน
ดา้ นการคา้ มนุษย์ในจังหวดั โดยการบรู ณาการร่วมกบั หน่วยงานที่เกยี่ วขอ้ ง ต่อไป

3) บูรณาการตรวจสถานประกอบการร่วมกับสำนักงานแรงงานและหนว่ ยงานท่ีเกยี่ วขอ้ ง
4) บูรณาการตรวจคุ้มครองแรงงานประมง ในทะเลอ่าวไทย ร่วมกับศูนย์ป้องกันแล ะ
ปราบปรามประมงทะเลกระบ่ี และหนว่ ยงานท่ีเก่ยี วขอ้ ง
- สำนกั งานสวสั ดิการและคมุ้ ครองแรงงานจงั หวัดกระบ่ี
1) ตรวจสถานประกอบกิจการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับแรงงานขัดหนี้และ
การคา้ มนษุ ยด์ า้ นแรงงานจำนวน 20 แหง่ แรงงานทั้งหมด 1,330 คน งบประมาณทัง้ ส้นิ 21,536 บาท
2) บรู ณาการตรวจคุ้มครองแรงงานในเรอื ประมงทะเลในพน้ื ท่ี 22จังหวัดตดิ ทะเลจำนวน 49
ครงั้ แรงงานทั้งหมด 458 คน งบประมาณทั้งสนิ้ 147,120 บาท
3) ประชุมคณะทำงาน ศูนย์บรหิ ารจัดการแรงงานประมงจังหวดั จำนวน 1 คร้งั งบประมาณ
ทง้ั สนิ้ 3,000 บาท
4) บูรณาการตรวจสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำในพื้นท่ี 22 จังหวัดติดทะเลจำนวน
3 แหง่ แรงงานท้งั หมด 125 คน
- สำนกั งานจัดหางานจังหวดั กระบี่
1) โครงการเครือข่ายชุมชนร่วมรณรงค์ป้องกันการหลอกลวง และลักลอบไปทำงาน
ตา่ งประเทศ จำนวน 164 คน งบประมาณทัง้ สิ้น 6,000 บาท

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

38

2) โครงการเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันการหลอกลวงคนหางาน ให้แก่ประชาชนท่ัวไป
และผ้ทู ่ีสนใจไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 5,860 คน งบประมาณทงั้ สิ้น 14,900 บาท

3) โครงการศูนย์ประสานแรงงานประมง 1.แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในกิจการ
ประมงทะเลจำนวน 83 คน 2.แรงงานต่างด้าว นายจ้าง/สถานประกอบการ หรือประชาชนท่ัวไป
ท่เี ข้ารบั การประชมุ อบรม จำนวน 54 คน 3.แรงงานต่างดา้ ว นายจา้ ง/สถานประกอบการหรอื ประชาชนท่ัวไป
ท่ีเข้ารบั บรกิ ารคำปรึกษา แนะนำ หรอื เอกสารเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ จำนวน 1,305 คนงบประมาณท้ังส้ิน
1,128,900 บาท

4) โครงการจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวท่ียื่นขอใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาต
ทำงาน และจัดทำทะเบยี น จำนวน 2,788 คน งบประมาณท้ังส้ิน 30,000 บาท

4) การขับเคล่อื นแผนป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษยจ์ งั หวดั กระบ่ี ประจำปี 2564
- ประชมุ คณะอนกุ รรมการศูนยป์ ฏิบัตกิ ารป้องกนั และปราบปรามการคา้ มนุษย์ 2 คร้งั
- ประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั ิการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2564
- จดั ทำรายงานสถานการณก์ ารคา้ มนุษย์ ประจำปี 2563
- จดั โครงการเสรมิ สรา้ งและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพ่ือเป็นผูเ้ ฝ้าระวงั ทางสงั คมด้านการต่อต้านการคา้ มนุษย์
- บูรณาการรว่ มตรวจสถานประกอบการ จำนวน 5 ครัง้
- บูรณาการร่วมตรวจเรอื ประมง จำนวน 4 ครั้ง
- ชว่ ยเหลือสงเคราะห์ผตู้ กทกุ ข์ไดย้ ากกลบั ภมู ลิ ำเนา จำนวน 7 ครงั้ รวม 8 ราย
- คดั แยกผู้เสยี หายจากการค้ามนุษยร์ ว่ มกบั ทีมสหวิชาชีพ 1 คร้งั

๔.๒ ความรนุ แรงในครอบครัว
ปัญหาท่ีถูกหยิบยกข้ึนมาเป็นวาระสำคัญท้ังระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ได้มีการ

จดั ทำมาตรการและกลไกท้ังระดับสากล คือได้มีการตราอนุสัญญาวา่ ดว้ ยการขจัดการเลือกปฏบิ ัติต่อสตรีในทุก
รูปแบบ และอนุสัญญาวา่ ดว้ ยการคา้ หญิงและเดก็ ส่วนในระดับประเทศไดม้ พี ระราชบัญญัตคิ ุม้ ครองผูถ้ กู กระทำ
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ท่ีมีเจตนารมณ์ท่ีจะคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน
ครอบครัว และในขณะเดียวกันมุ่งที่จะแก้ไข ฟ้ืนฟูผู้กระทำด้วยความรุนแรง เพ่ือให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรร
รม ปอ้ งกันการกระทำความรุนแรงซำ้ และสร้างความสัมพนั ธ์อันดีต่อครอบครัว สถานการณค์ วามรนุ แรงที่เกิด
ขึน้ กบั เดก็ สตรี และครอบครัว มแี นวโนม้ สูงข้นึ อย่างต่อเนอื่ ง

จากข้อมูลในระบบฐานข้อมูลความรุนแรงตอ่ เดก็ และสตรแี ละความรนุ แรงในครอบครัว ภายใต้เวบ็ ไซต์
www.violience.in.th ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ในช่วงปี 2562 – 2564 จากสถิติ
ผู้เข้ารับบริการท่ีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดกระบ่ี มีสถานการณ์ด้าน
ความรุนแรงในครอบครัว รวม 103 ราย พบว่า สถิติการกระทำความรุนแรงในครอบครัวมีแนวโน้มลดลง
จากปี พ.ศ.2562 จำนวน 33 ราย ปี พ.ศ.2563 จำนวน 27 ราย และปี พ.ศ.2564 จำนวน 25 ราย
ซ่งึ สาเหตุความรุนแรงในครอบครวั ส่วนใหญเ่ ป็นการทำร้ายร่างกาย เกิดจากการใช้ยาเสพติด หงึ หวง เศรษฐกิจ
และทรัพยส์ ิน

จากผลการวิจัยเรื่องการกระทำความรุนแรงต่อเด็กพบเด็กถูกกระทำความรุนแรงท้ังทางกาย วาจา
เพศ จากเพ่ือนด้วยกัน จากครอบครัว และครูอาจารย์ ท่ีน่าเป็นห่วง คือ พ่อแม่ไม่รู้ว่าการใช้ถ้อยคำดุด่า

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

39

ใช้ถ้อยคำรุนแรงหรือไม่เหมาะสม หรือเปรียบเทียบกับคนอ่ืนว่าดีกว่า ส่ิงเหล่านี้เป็นความรุนแรงที่ฝังใจเด็ก
มากกว่าการตี และเม่ือเกดิ ปัญหาเดก็ เลือกปรกึ ษาเพื่อนมากกว่าครอบครวั

สาเหตขุ องการใชค้ วามรนุ แรงดงั กล่าว อาจเปน็ รปู ธรรมหน่ึงของการแสดงออกที่เหน็ ได้ชดั ในสังคมไทย
ซึง่ Murray A. Staus (๑๙๙๗) ได้ศึกษาต่างวัฒนธรรมเร่ือง การทะเลาะวิวาทระหว่างสามภี รรยา พบสาเหตุท่ี
เป็นปัจจัยรุนแรงนำไปส่กู ารทะเลาะวิวาท ๔ ประการ คือ การบ่มเพาะความอึดอัดไม่พอใจระหว่างสามภี รรยา
เป็นเวลานาน กิจกรรมของครอบครัวและความสนใจของสามีภรรยาท่ีแตกต่างกัน หรือเวลาการทำงาน
เฉพาะกิจของตน ขาดความเอาใจใส่ต่อกัน และความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะในสังคมไทย
มกี ารส่ังสมแนวคิดเรอ่ื งอำนาจและการแบง่ ช่วงช้ันทางอำนาจ แสดงใหเ้ หน็ ถึงการใช้อำนาจของผู้ทมี่ ีสถานภาพ
ท่ีเหนอื กว่าสามารถทำการควบคุมและสร้างอทิ ธิพลภายใตร้ ะบบความสมั พันธ์ในครอบครวั

1) การขบั เคลอ่ื นงานด้านการป้องกันการกระทำความรนุ แรงในครอบครัวจังหวดั กระบีป่ ระจำปี 2564
- ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดกระบี่ จากตารางเห็นได้ว่า ผลการ

ไดร้ ับการช่วยเหลอื มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถติ ิในปีพ.ศ.2564 ได้ดำเนินการชว่ ยเหลือ แบ่งออกเป็น ไกลเ่ กล่ีย/
บันทึกข้อตกลงจำนวน 16 ราย คุ้มครองสวัสดิภาพ 4 ราย ส่งต่อบ้านพักเด็กฯ 3 ราย และให้การช่วยเหลือ
ตามภารกจิ กระทรวงฯ 2 ราย

- กิจกรรมเดินรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัวโครงการมหัศจรรย์วันวาเลนไทน์
Krabilove 2021

- โครงการรณรงคย์ ตุ ิความรุนแรงตอ่ เดก็ สตรี และบุคคลในครอบครัว จังหวดั กระบ่ี ประจำปี
2564 ภายใตแ้ นวคดิ “ไมย่ อมรับไมน่ ่ิงเฉย ไม่กระทำความรนุ แรงตอ่ เด็ก สตรี และบคุ คลในครอบครัว”

ตารางที่ 4.3 แสดงการเปรยี บเทยี บเหตกุ ารณค์ วามรุนแรงในครอบครัวจงั หวดั กระบ่ี ปี 2552 – 2564

อันดบั พ้นื เหตุการณค์ วามรุนแรงในครอบครัว

16

14

12

10

8

6

4

2

0 ลาทับ
1
เมอื งกระบี่ เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง อ่าวลกึ เกาะลันตา
1
2562 15 4 4 3 3 2 1
3
2563 12 4 1 3 2 1 0

2564 8 5 2 1 1 5 0

จากตารางท่ี 4.3 แสดงให้เห็นได้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดกระบ่ีมีแนวโน้มลดลง
และพ้นื ทเ่ี หตุการณ์ที่เกิดความรุนแรงมากท่ีสดุ คอื พนื้ ท่อี ำเภอเมืองกระบี่ และนอ้ ยที่สุดคอื พืน้ ที่ อำเภอเกาะลันตา

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

40
ตารางท่ี 4.4 แสดงการเปรยี บเทยี บประเภทความรนุ แรงในครอบครัวจังหวดั กระบี่ ปี 2552 – 2564

ประเภทความรุนแรง

18 ด้านจิตใจ ดา้ นเพศ ด้านชีวติ
16 13 1 0
14
12 3 2 1
10
6 0 2
8
6
4
2
0

ด้านรา่ งกาย
2562 19

2563 18

2564 17

จากตารางท่ี 4.4 แสดงให้เห็นว่าประเภทความรนุ แรงในครอบครัวจงั หวดั กระบ่ี ส่วนใหญจ่ ะเปน็
ด้านร่างกาย รองลงมา คือ ดา้ นจติ ใจ ด้านชวี ิต และดา้ นเพศ

ตารางที่ 4.5 แสดงปัจจยั ปัญหาที่สง่ ผลตอ่ ความรุนแรงในครอบครวั

ปัญหาทพี่ บความรุนแรงในครอบครวั

16 หงึ หวง/นอกใจ/ชู้สาว/ บันดาลโทสะ ปญั หาด้านสขุ ภาพ/
หยา่ ร้าง สุขภาพจติ
14 12 4 2
9
12 5 6 1

10 4 4

8

6

4

2

0

ปญั หายาเสพตดิ /สุรา/
การพนนั

2562 15
2563 9
2564 11

สาเหตุที่เป็นปัจจัยรุนแรงนำไปสู่การทะเลาะวิวาท ๔ ประการ คือ โดยปัจจัยท่ีเป็นสาเหตุมากท่ีสุด
คือ เกิดจากปัญหายาเสพติด/สุรา/การพนัน รองลงมาคือเกิดจากการหึงหวง/นอกใจ/ชู้สาว/หย่าร้าง
จากบันดาลโทสะ และนอ้ ยท่ีสุดคอื จากสาเหตดุ ้านสุขภาพ/สขุ ภาพจิต

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

41

ตารางท่ี 4.6 แสดงช่วงอายทุ ี่ไดร้ บั ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว

ชว่ งอายุ

16 อายุ 6 - 12 ปี อายุ 13 - 18 ปี อายุ 19 - 35 ปี อายุ 36 - 59 ปี อายุ 60 ปีขึ้นไป
1 2 11 16 2
14
4 3 10 4 3
12
0 1 11 10 3
10

8

6

4

2

0

อายุ 0 - 5 ปี
2562 1
2563 0
2564 0

จากตารางท่ี 4.6 แสดงให้เห็นไดว้ ่า ปญั หาความรนุ แรงส่วนใหญ่เกิดกับ กลมุ่ ชว่ งอายุ 36-59 ปี
มากที่สุด รองลงมา คือ ช่วงอายุ 19-35 ปี และนอ้ ยทีส่ ุด คอื ช่วงอายุ 0-5 ปี ตามตารางข้างตน้ ซึ่งสถานท่ี
เกดิ เหตสุ ว่ นใหญ่เกดิ ขนึ้ ภายในบ้านตนเอง

ตารางที่ 4.7 แสดงสถานท่ีเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัว

สถานท่เี กิดเหตุ

35 อ่นื ๆ
2
30
3
25
5
20

15

10

5

0

บ้านตนเอง
2562 31
2563 21
2564 20

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

42
ตารางที่ 4.8 แสดงผลการให้การช่วยเหลือจากปัญหาความรนุ แรงในครอบครวั จงั หวัดกระบี่ ปี 2552 – 2564

ผลการให้การช่วยเหลือ

20 สงเคราะห์ ใหก้ าร
18 ครอบครวั ชว่ ยเหลือตาม
16 ภารกิจของ
14 2
12 0 กระทรวง
10 0 0
8
6 1
4
2 2
0

ไกล่เกล่ยี / ให้คาปรึกษา คมุ้ ครองสวสั ดิ ส่งตอ่ บ้านพกั สง่ โรงพยาบาล

บันทึกขอ้ ตกลง ภาพ เด็กฯ

2562 19 3 6 2 1

2563 10 0 9 5 0

2564 16 0 4 3 0

ตารางที่ 4.9 แสดงแหล่งทีม่ าของการรับแจ้งเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว

แหลง่ ท่ีมา

14 1300/ส่อื บ้านพกั เด็กฯ ศนู ยด์ ารงธรรม อ่ืนๆ/อปท./ โรงพยาบาล อยั การฯ ศาลเยาวชน
12 รท. และครอบครวั
10 6 5 5 2 0 1
5 6 1 1 0 1
8 10 2 1 2 0 0
6 0
4 4
2 0
0

Walk In

2562 13
2563 9
2564 8

- ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดกระบี่ จากตารางเห็นได้ว่า ผลการได้รับการ
ช่วยเหลือมีแนวโน้มเพ่ิมข้ึน จากสถิติในปี 2564 ได้ดำเนินการช่วยเหลือ แบ่งออกเป็น ไกล่เกลี่ย/บันทึก
ข้อตกลงจำนวน 16 ราย คุ้มครองสวัสดิภาพ 4 ราย ส่งต่อบ้านพักเด็กฯ 3 ราย และให้การช่วยเหลือตาม
ภารกิจกระทรวงฯ 2 รายโดยแหล่งที่มาการรับแจ้งการช่วยเหลือ ส่วนใหญ่มากจากการรับแจ้งผ่านศูนย์
ช่วยเหลือสงั คม สายดว่ น 1300 รองลงมาคอื จากการ Walk In การรับแจ้งจากบ้านพกั เดก็ และอน่ื ๆ

- กจิ กรรมเดินรณรงคย์ ุติความรุนแรงในครอบครัวโครงการมหัศจรรย์วนั วาเลนไทน์ Krabilove 2021
- โครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว จังหวัดกระบ่ี ประจำปี 2564

ภายใต้แนวคดิ “ไมย่ อมรบั ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรนุ แรงตอ่ เด็ก สตรี และบุคคลในครอบครวั ”

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

43

4.3 การดำเนนิ การศูนย์บริการคนพกิ ารจังหวดั กระบี่

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไข

เพ่ิมเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ มาตรา ๒๐/๓ และมาตรา ๒๐/๔ กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ

เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ราชการส่วนท้องถ่ินอาจจัดต้ังศูนย์บริการ

คนพิการได้โดยการใชง้ บประมาณของตนเอง โดยใหศ้ นู ย์บรกิ ารคนพกิ ารมอี ำนาจหนา้ ท่ดี งั ต่อไปนี้

1) สำรวจ ตดิ ตามสภาพปญั หาคนพกิ าร และจดั ทำระบบข้อมลู การใหบ้ รกิ ารในพื้นที่รบั ผิดชอบ

2) ให้บรกิ ารขอ้ มูลขา่ วสารเกยี่ วกับสทิ ธิประโยชนค์ นพกิ าร

๓) เรียกรอ้ งแทนคนพกิ าร

๔) ให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขัน้ พื้นฐาน

๕) ให้ความช่วยเหลือคนพิการให้ได้รบั เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพเิ ศษเฉพาะบุคคล

๖) ประสาน คัดกรอง ส่งต่อและให้ความช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะพิการให้ได้รับการ

ดูแลรักษาพยาบาลทเ่ี หมาะสม

๗) ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าท่ีรับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือคน

พิการตามประเภทความพกิ าร

๘) ตดิ ตามและประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับการได้รบั สิทธิประโยชน์ และการดำรงชวี ติ ของคนพกิ าร

9) หน้าที่อ่ืนตามที่กำหนดตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอ่ืน หรือตามท่ีคณะกรรมการ หรือ

สำนักงานสง่ เสรมิ และพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการกำหนด

สถานการณ์คนพิการจังหวัดกระบ่ี มีจำนวนคนพิการท้ังหมด 10,436 คน เพศชาย 5,876 คน

เพศหญงิ 4,560 คน มีบตั รประจำตัวคนพิการและได้รับเบี้ยยังชพี จำนวน 10,436 คน

จำแนกตามลักษณะความพิการได้ดังน้ี

1. ทางการเหน็ จำนวน 695 คน

2. ทางการเคล่ือนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 5,224 คน

3. ทางสตปิ ญั ญา จำนวน 741 คน

4. ทางออทิสตกิ จำนวน 62 คน

5. ทางการได้ยินหรอื สอื่ ความหมาย จำนวน 1,618 คน

6. ทางจิตใจหรอื พฤตกิ รรม จำนวน 667 คน

7. ทางการเรียนรู้ จำนวน 86 คน

8. พิการซำ้ ซ้อน จำนวน 1,294 คน

9. ไม่ระบุ จำนวน 49 คน

จำแนกตามสาเหตคุ วามพกิ ารไดด้ งั นี้

1. พนั ธุกรรม จำนวน 144 คน

2. โรคตดิ เชื้อ จำนวน 272 คน

3. อบุ ตั ิเหตุ จำนวน 1,477 คน

4. โรคอื่น ๆ จำนวน 1,934 คน

5. ภาวะเจบ็ ปว่ ย จำนวน 2,773 คน

6. ไมท่ ราบสาเหตุ จำนวน 12 คน

7. มากกว่า 1 สาเหตุ จำนวน 1,294 คน

8. ไมร่ ะบุ จำนวน 2,530 คน

รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

44

1) รายงานผลการดำเนนิ งานศูนยบ์ ริการคนพิการจงั หวัดกระบี่ ประจำปี 2564
ตารางท่ี 4.10 แสดงจำนวนผใู้ ช้บริการตามประเภทการให้บรกิ าร

ประเภทการใหบ้ รกิ าร จำนวนผ้ใู ช้บรกิ าร (ราย)

ติดตอ่ ดว้ ยตนเอง 2,396
ผ่านทางโทรศัพท์ 1,690
สอ่ื ออนไลน์
0
รวม 4,086

จากตารางที่ 4.10 แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้รับบริการจากการติดต่อด้วยตนเอง
รองลงมา คอื ผ่านทางโทรศพั ท์

ตารางท่ี 4.11 แสดงประเภทผ้เู ขา้ รบั บริการ จำนวนผู้ท่ีเขา้ รับบรกิ าร
ประเภทผูเ้ ข้ารับบริการ
2,131
คนพิการ 1,096
ผู้ดแู ลคนพิการ 774
หนว่ ยงาน
เครือข่าย 85
4,086
รวม

จากตาราง 4.11 แสดงให้เห็นวา่ ผ้เู ขา้ รับบริการสว่ นใหญ่ จะเปน็ คนพกิ ารเขา้ มารับบริการด้วยตนเอง
รองลงมา คือ ผดู้ ูแลคนพกิ าร และหนว่ ยงาน นอ้ ยทส่ี ุดคอื เข้ามารบั บริการโดยเครือข่ายคนพิการ

ตารางที่ 4.12 แสดงประเด็นการติดต่อขอรบั บรกิ าร จำนวนผใู้ ชบ้ รกิ าร (ราย)
ประเดน็ การขอรบั บริการ
336
สอบถามการก้ยู ืมเงินทนุ ประกอบอาชีพคนพิการ
1,351
ด้านงานทะเบียนคนพิการ 262
ปรบั สมุดเงินกู้ 292
ลงพ้นื ที่ชว่ ยเหลือเงนิ สงเคราะหค์ นพิการ 5
ขอรบั บรกิ ารกายอุปกรณ์
202
สอบถามสิทธิและสวัสดกิ ารคนพกิ าร 41
สอบถามการปรบั สภาพแวดล้อมที่อยอู่ าศยั สำหรับคนพิการ 35
การขอเงินสงเคราะห์ 382
ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง/กรณีขอความช่วยเหลอื 289
ยน่ื คำรอ้ งขอกยู้ ืมเงินคนพิการ/ผู้ดแู ลคนพิการ 870
ขอรบั การสนับสนุนผชู้ ่วยเหลอื คนพิการ 21
งานการปฏิบัตติ ามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ 4,086

รวม

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

45

จากตาราง 4.12 แสดงให้ประเด็นการติดต่อการขอรับบริการ ซ่ึงส่วนใหญ่จะเข้ารับบริการด้านงาน
ทะเบียนคนพิการ เช่น การทำบัตรประจำตัวคนพิการ การรับคำร้องขอทำบัตรใหม่ บัตรชำรุด/สูญหาย
และน้อยทีส่ ดุ คอื การเขา้ รับบริการในการขอรบั บริการกายอุปกรณ์

ตารางที่ 4.13 แสดงการไดร้ บั การชว่ ยเหลอื จากมาตรการเยียวยา โควดิ -19

มาตรการเยยี วยาโควดิ -19 จำนวนผ้ไู ด้รบั การเยยี วยา (ราย)

การพักชำระหน้ี 19

การกูย้ ืมเงนิ กรณีฉกุ เฉนิ 10,000 บาท 289

เงนิ เยียวยา 1,000 บาท 23

รวม 331

จากตารางท่ี 4.13 แสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือคนพิการตามมาตรการเยียวยา โควิด-19 รวม 331 ราย

4.4 การให้บริการของศนู ย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน ๑๓๐๐

4.5 สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)
วันที่ 30 ธันวาคม 2562 สำนักงานสาธารณสุขเมืองอู่ฮ่ัน มณฑลหูเป่ย์ ได้ออกประกาศเป็นทางการ

พบโรคปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของไวรัสระบาดแห่งศตวรรษ ต่อมาวันท่ี 11 มีนาคม
2563 องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เป็นโรคระบาดใหญ่
ทั่วโลก (CORONAVIRUS PANDEMIC) ซ่ึง ยุโรป (อิตาลี ฝรัง่ เศส อังกฤษ สเปน เป็นต้น) สหรัฐอเมริกา ลาติน
อเมริกา (บราซิล) รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ ได้ทยอยเป็นศูนย์กลางการระบาดและเป็นพ้ืนที่ระบาดต่อเนื่อง
หรือระลอกใหม่ ซึ่งพบว่าการเกิดวิกฤติกลายพันธุ์ของเช้ือโควิด 19 เป็นสาเหตุของการแพร่กระจายท่ีรวดเร็ว
มากขึ้นนอกจากนี้สภาพของอากาศที่หนาวเย็นในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยังเป็นปัจจัยสำคัญท่ีเอ้ือต่อการ
ระบาดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าถือเป็น
ศูนย์กลางการระบาดแห่งหนึ่งของโลก การระบาดในเริ่มเม่ือกลางเดือนสิงหาคม 2563 (10 – 20 สิงหาคม

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

46

2563) จากการท่ีมีคนเดินทางจากพ้ืนท่ีระบาด เมืองสิตตะเว และรัฐยะไข่เข้าสู่กรุงย่างกุ้ง ประมาณ 5,000 คน
โดยท่ีติดตามสืบสวนและประเมินความเสี่ยงได้น้อยกวา่ ร้อยละ 50 ซงึ่ การระบาดระลอกนี้ในพม่าสายพันธุ์ของ
เช้ือแตกต่างจากคร้ังแรก กล่าวคือ คร้ังแรกเป็น D614 แต่คร้งั นี้เป็น G614 ปัจจัยสำคญั ท่ีทำให้มีการระบาด
เพราะตดิ ตามได้นอ้ ยและมกี ารปดิ บังความจรงิ

จากข้อมูล ณ วันท่ี 24 สิงหาคม 2564 (ที่มา : worldometer) ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยสะสมท้ังส้ิน
213 ลา้ นคน เสียชีวิตสะสม4.44 ล้านคน ซ่ึงปัจจุบันในประเทศไทยมผี ู้ป่วยสะสม 1,083,951 คน เสียชีวิต
สะสม 9,788 คน

1) มาตรการทางสาธารณสุขทใี่ ช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

การตอบโต้การระบาดของโรคโควิด 19 ของประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน แต่ท่ีสำคัญ
คือเน้นการป้องกันตนเอง โดยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ กินร้อนและใช้อุปกรณ์ส่วนตัว ใช้ชีวิตวิถี
ใหม่ (New Normal) โดยการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) รักษาระยะห่างทางสังคม ร่วมกับ
มาตรการของรัฐท่ีทำให้ลดการเคล่ือนท่ีของคน ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนการปิดเมือง หรือ
ปิดประเทศ เป็นต้น ทั้งน้ี การติดตามสืบสวนเม่ือมีผู้ป่วยและการเฝ้าระวังเชิงรุกมีความเข้มข้นและเข้มงวด
ทแ่ี ตกต่างกันขึ้นอยกู่ ับนโยบายของแต่ละประเทศว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด รวมไปถึง
ความพรอ้ มของระบบสาธารณสขุ ทร่ี องรับผปู้ ว่ ย

จากการทบทวนมาตรการทางสาธารณสุขพบว่า อย่างน้อย ๑๘๖ ประเทศมีมาตรการลดการ
เคลื่อนท่ีของประชาชน เพ่ือชะลอการระบาดและลดความล้มเหลวของระบบสาธารณสุข โดย ๘๖ ประเทศ
มกี ารปิดเมืองซ่ึงล้วนสง่ ผลต่อภาวะเศรษฐกิจของโลก ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) คาดว่าเศรษฐกิจของโลก
จะตกต่ำที่สุดนบั จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ และผคู้ นหลายล้านคนจะตกงานและยากจนลง การปดิ เมืองในระยะ
ยาวในทุกประเทศไม่สามารถทำได้ ในการทบทวนครั้งนี้ได้เลือก 9 ประเทศที่มีรายได้สูง (high income
countries) ในภูมิภาคที่เร่ิมกำหนดมาตรการทางสาธารณสุขในการควบคุมโควิด 19 อย่างรวดเร็ว ได้แก่
๕ ประเทศในเขตเอเชียแปซิฟิก (เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง ประเทศญ่ีปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และสิงค์โปร์)
และ ๔ ประเทศในทวีปยุโรป (เยอรมัน นอร์เวย์ สเปน และสหราชอาณาจักร) ซึ่งต่างมีมาตรการทาง
สาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ซึ่งล้วนคำนึงถึงสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศ การ
ตอบสนองของประชาชนต่อการระบาดพ้ืนฐานของระบบสาธารณสุข โดยสเปนและสหราชอาณาจักรได้รับ
ผลกระทบอย่างมาก ตั้งแต่เกิดการระบาดรวมไปถึงประเทศท่ีมีประสบการณ์ในการควบคุมการระบาดของ
MERS - CoVและ SARS

2) ปัญหาอุปสรรคในการควบคมุ การระบาดของโลก

1) ยังไม่สามารถยืนยันแหล่งโรคในการระบาดครั้งนี้ได้กล่าวคือ ผู้เช่ียวชาญจีนได้ทบทวน
บนั ทึกทางการแพทยแ์ ละตัวอย่างของผู้ป่วยท่ีเข้ารับการรักษาด้วยโรคปอดบวม ต้ังแต่พฤศจิกายน ถึงธันวาคม
2562 เชื่อว่าผู้ป่วยอย่างน้อย ๖๐ รายท่ีป่วยเพราะได้รับเชื้อโควิด 19 ราวเดือนเศษ (นับจาก 17
พฤศจิกายน 2562) ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศการติดเช้ือรายแรกของโลก อนึ่งจากการทบทวน
ผู้ป่วย 41 รายแรกสุดของเมืองอูฮ่ ่ัน พบว่ามถี ึง ๑๓ รายท่ีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดสดอู่ฮ่ันหัวหนานไห่เซียน
และผลการตรวจตัวอย่างพบว่าไม่มีสัตว์ตัวใดติดเชื้อ ดังนั้นตลาดสดอาจไม่ใช่ต้นตอของการระบาด แต่เป็นท่ีท่ี
พบผู้ป่วยดัชนี และมีการกระจายเพราะเป็นท่ีมี Super Spreader นอกจากนี้ในประเทศอิตาลีที่มีการยืนยัน
ผู้ป่วยรายแรกที่จังหวัดแบร์กาโม โน แคว้นลอมบาร์ดี ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 21
กุมภาพันธ์ 2563 แต่กลับพบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างเลือดชาวอิตาลี 27 คน ในเดือนกันยายน 2562 และอีก
๒๗ คนในเดือนตุลาคม 2562 แสดงว่ามีการแพร่กระจายของเช้ือก่อนหน้าการระบาดในอิตาลี รวมท้ังก่อนที่

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔


Click to View FlipBook Version