The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by policykrabi, 2021-09-08 02:00:55

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2564

47

จนี จะรายงานผู้ป่วยรายแรกในวันที่ ๓๐ ธันวาคม 2562 ท้ังนี้ ได้มกี ารเก็บตวั อย่างจากท่อระบายน้ำในเมืองตู
ริน และเมืองมิลาน พบสารพันธุกรรมของเช้ือย้อนหลังไปได้ถึงวันท่ี ๑๘ ธันวาคม 2562 สนับสนุนข้อมูลที่ได้
จากการตรวจพบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างเลือด และในประเทศฝร่ังเศสได้พบผู้ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง
เม่ือวันท่ี๒๗ ธันวาคม 2562 เมื่อกลับไปตรวจสอบจากตัวอย่างท่ีเก็บไว้ พบเช้ือโควิด 19 ทั้งที่ประเทศ
ฝรั่งเศสมีรายงานโรคน้ีคร้ังแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม 2563 รวมทั้งในประเทศสเปน ทีมวิจัยของ
มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา พบหลักฐานพันธุกรรมของเช้ือโควิด 19 ในระบบบำบัดน้ำเสียของตัวเมืองต้ังแต่
เดอื นมกราคม 2563 กอ่ นท่ีจะมีผปู้ ่วยยืนยันรายแรกในประเทศถึง ๖ สปั ดาห์ และตัวอย่างย้อนหลังของน้ำใน
ระบบบำบัดน้ำเสยี พบร่องรอยของเชือ้ ต้ังแต่ ๑๒ มีนาคม 2562 เช่นเดียวกบั ประเทศสหรัฐอเมรกิ า งานวิจัย
ทต่ี ีพิมพ์ในวารสารด้านโรคตดิ เชอื้ ออกซ์ฟอร์ด อคาเดมิค พบว่ามีการระบาดของโควิด 19 ในรฐั ด้านตะวันตก
แถบแปซิฟิกก่อนตรวจพบผู้ป่วยยืนยันรายแรก (๑๙ มกราคม 2563) เป็นเวลา 1 เดือน โดยพบภูมิคุ้มกันใน
เลือดของกาชาดต้ังแต่ ๑๓ ธันวาคม 2562 ซึง่ การคน้ หาต้นตอของโรคทแี่ ท้จริงยังคงต้องมีการตรวจสอบต่อไป

2) ความล่าช้าในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด 19 โดยเฉพาะจำนวนผู้ติดเช้ืออย่างเป็น
ทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะข้อมูลการติดเช้ือท่ีถูกรายงานจากโรงพยาบาลศูนย์ สถานท่ีกักกัน
โรคมีการตรวจสอบและอาจห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เห็นได้จากเมื่อมีการรายงานโดยเปลี่ยนนิยาม
ผ้ปู ว่ ยมีจำนวนผปู้ ่วยรายงานเพม่ิ ขึ้นในวันเดียวแบบก้าวกระโดด ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ส่งผลต่อการ
ประเมินสถานการณ์ขององค์การอนามัยโลก เพราะระบบรายงานใช้นิยามที่ไม่ไวพอ ต่อการตรวจจับแนวโน้ม
การระบาด และผลกระทบต่อสาธารณสุขของโลก ทำให้องค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินด้าน
สาธารณสุขท่ีมีผลแพร่ระบาดระหว่างประเทศล่าช้า (Public Health Emergency of International
Concern: PHEIC) และเม่ือมีการประกาศฯ ทุกประเทศรับมือโดยการตรวจคัดกรองเชื้อต้ังแต่ช่องทางเข้าออก
(ท่าอากาศยานท่าเรือ พรมแดนทางบก) กำหนดมาตรการห้ามเดินทางระหว่างประเทศ ประกาศส่ังปิดเมือง
(lockdown) ให้คนทำงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดการเคลื่อนท่ี และให้ผู้ประกอบการเว้น
ระยะห่างทางสังคม(Physical/Social distancing) รวมท้ังการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมอื สวมหน้ากาก
อนามัย และรักษาระยะห่าง แต่เนื่องจากวัฒนธรรมและทัศนคติต่อการสวมหน้ากากอนามัยที่แตกต่างกัน
บางประเทศคนสวมหน้ากากอนามัยกลับถูกมองว่าเป็นผู้แพร่เช้ือ และกว่าที่องค์การอนามัยโลกจะสนับสนุน
การสวมหนา้ กากอนามยั อย่างชัดเจนในการปอ้ งกนั เชือ้ กม็ ีการระบาดในประชาชนจำนวนมากแล้วอยา่ งรวดเร็ว

3) บางประเทศให้มีการติดเชื้อเพ่ือให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดข้ึนหลังการติด
เชื้อซ่ึงพบในผู้ป่วยโควิด 19 ร้อยละ 95 จะมีปริมาณสูงเพียงพอที่จะยับยั้งเชื้อได้ประมาณ 8 วันหลังการติด
เชื้อหากรุนแรงมากระดับภูมิคุ้มกันจะสูงมาก และหากรุนแรงน้อยระดับภูมิคุ้มกันจะต่ำ ซ่ึงระดับภูมิคุ้มกันจะ
สูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน 3 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อ แล้วค่อยๆ ลดลงโดยจะคงอยู่ได้นาน 40 วัน จนถึง
7 เดือนซ่ึงไม่นานพอและอาจมีการติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้น โอกาสเกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยธรรมชาติเพื่อลดการแพร่
ระบาดจะเป็นไปไดน้ อ้ ย

4) การกลายพันธ์ุของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช้ือไวรัสโควิด 19 มีการกลายพันธุ์ค่อนข้าง
สูงในช่วงแรกของการระบาดท่ัวโลก เมื่อปี ๒๕๖๓ ได้มีการนำข้อมูลเชื้อที่พบในผู้ป่วยแต่ละประเทศร่วมกับ
ขอ้ มูลท่ไี ดจ้ ากการศึกษาวิจัย ทำใหส้ ามารถระบุลักษณะอันตรายและความรวดเรว็ ในการระบาดได้ ซง่ึ เชือ้ ไวรัส
โคโรนา 2019 มีสารพันธุกรรม ๔๖,๐๐๐ คู่เบส และมีมากกว่า ๕,๐๐๐ สายพันธ์ุโดยแบ่งสายพันธ์ุตามสาย
หลักของวิวัฒนาการได้เป็น Clade A, B, C โดย Clade A (2019 Clade A และ 2020 Clade A ) พบใน
ค้างคาวและตัวน่ิม คาดว่าเป็นเชื้อต้นกำเนิดของการระบาดครั้งนี้ แต่ไม่พบในประเทศไทย ส่วน Clade B
(2019 Clade B และ 2020 Clade B ) กลายพันธุ์จาก A (2 ตำแหน่ง) พบมากในเมืองอู่ฮั่นและมีการ
ระบาดอย่างรวดเรว็ นอกประเทศจนี และ Clade C (2020 Clade C) กลายพันธ์ุจาก B (๑ ตำแหน่ง) พบการ
ระบาดในยุโรปและสิงค์โปร์ ซงึ่ การกลายพนั ธ์ุน้ีทำให้เกิดอาการกับผู้ตดิ เชื้อในแต่ละทวีปที่แตกตา่ งกัน ทง้ั ความ

รายงานสถานการณ์ทางสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

48

รนุ แรงและอัตราการแพร่เช้อื เมื่อเดือนธันวาคม 2563 สหราชอาณาจักรได้พบเชอื้ ไวรสั โคโรนากลายพันธุ์ ใช้
รหัส VUI 2020 12/01 และมีการรายงานว่าพบการแพร่เชื้อท่ีเร็วข้ึนถึงร้อยละ 70 รัฐบาลได้ประกาศ
ยกระดับควบคุมโรคระบาดอย่างเขม้ ขน้ ท่ีสุดเปน็ ระดบั ที่ 4 (tier 4) ภายในพื้นทีก่ รุงลอนดอน รวมท้ังพ้ืนที่ด้าน
ตะวนั ออกเฉียงใตข้ องราชอาณาจักร ซ่งึ เป็นการปดิ เมอื งทม่ี ีประชากรถงึ 16 ล้านคน หรอื ประมาณร้อยละ 25
ของประเทศ (จากประชากรท้งั ประเทศ 66 ล้านคน) โดยวันที่ 19 ธนั วาคม 2563 เพียงวนั เดยี ว พบผตู้ ิดเช้ือ
สูงถึง 36,000 คนส่วนความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลว่าสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่ นอกจากน้ีในประเทศ
ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ก็พบเช้ือกลายพันธ์ุการผันแปรของรหัสพันธุกรรมแม้จะอยู่ในสายพันธุ์เดียวกัน
(assemblage/ clade) ส่งผลให้มีการติดเช้ือซ้ำซ้อนครั้งท่ี 2 แม้ว่าจะห่างจากคร้ังแรกเพียง 6 สัปดาห์
และทำให้มีอาการรุนแรงกวา่ ด้วย

5) ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจุบันมีวัคซีนที่ขึ้น
ทะเบยี นสำหรบั ใช้ในภาวะฉุกเฉนิ (ณ เดือนมกราคม 2564) 9 ชนิด เป็นของสาธารณรัฐประชาชนจีน 4 ชนิด
รัสเซีย 2 ชนิด สหรัฐอเมริกา 2 ชนิด และสหราชอาณาจักร 1 ชนิด โดยวัคซีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้แก่ 1) Ad5-nCoV ของบริษัท CanSino Biologics ใช้ adenovirus 5 เป็น viral vector ซ่ึงถ้าติดเชื้อ
adenovirus มาก่อนจะไม่ได้ผล 2) Inactivated vaccine Sinopharm Wuhan Institute of Biological
Products ข อ ง รั ฐ บ า ล จี น 3) Inactivated vaccine Sinopharm, Beijing Institute of Biological
Products ข อ ง รั ฐ บ า ล จี น 4) Inactivated vaccine ชื่ อ Corona Vac บ ริ ษั ท Sinovac Biotech
ซงึ่ ภาคเอกชนของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนลาวซื้อมาใช้อยา่ งไรก็ดีผลระยะยาวของ Inactivated
vaccine ยังไม่ทราบ จากหลักฐานพบว่า inactivated vaccine ของไวรัสท่ีชอบระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
measles, respiratory syncytial virus (RSV) ใช้แล้วมีอาการหนักข้ึน วัคซีนของประเทศรัสเซีย ได้แก่ 1)
Sputnik V ของ Gamaleya National Center of Epidemiology and Microbiology ร่วมกับ Russian
research institute ใช้ adenovirus 5 แ ล ะ 6 เป็ น vector แ ล ะ 2) EpiVacCironaเป็ น small viral
protein ของ Vector Institute BEKTOP (Russia) วัคซีนของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นชนิด mRNA
vaccine คือ 1) BNT162N2 ท่ีร่วมผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ของสหรัฐฯ และบริษัท ไบโอเอ็นเทค
(BionTech) ของเยอรมนีและ 2) mRNA-1273 ของบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนของสหราช
อาณาจักร คือ ChAdOx1nCoV-19พัฒนาขึ้นจาก Adenovirus ของลิงชิมแพนซี เป็นnonreplicateviral
vector ซึ่งประเทศไทยได้รว่ มผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (Siam Biosciences) และเมอ่ื วันที่ 31
ธันวาคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) เห็นชอบรับรองวัคซีน BNT ๑๖๒N๒ ของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทค
เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับ “การรับรองใช้ในกรณีฉุกเฉิน” นับตั้งแต่ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่อุบัติขึ้นในจีน
ซ่ึงสหรัฐอเมริกาได้เริ่มฉีดไปแล้วตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2563 รวม 2.8 ล้านคน จากประชากร 328 ล้านคน
โดยให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานแนวหน้า (Frontlines) ต่อมาเป็นแพทย์ท่ัวไป ผู้สูงวัยใน Nursing
homes โดยเฉพาะคนอายุมากกว่า 75 ปี เพ่ือลดอัตราตาย และประชาชน ตามลำดับ นอกจากนี้ในประเทศ
ต่าง ๆ ได้เร่ิมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้วเช่นกัน เช่น วัคซีน Corona Vac ประเทศจีน วัคซีน Sputnik V
ประเทศรสั เซีย และ วคั ซนี AstraZeneca-Oxford ในสหราชอาณาจักร ซึง่ จำกดั ไมใ่ ห้ฉดี ในกล่มุ เดก็ เปน็ ตน้

อย่างไรก็ตามการให้วัคซีนไมไ่ ด้ช่วยลดการแพร่ระบาด แต่สามารถลดความรุนแรงในผูต้ ดิ เชื้อได้เท่าน้ัน
ซึ่งกว่าแรงเหว่ียงของการระบาดที่ดำเนินอยู่จะชะลอลง หรือจนกว่าจะฉีดวัคซีนให้ประชากรมากพอต่อการ
สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ตอ้ งให้วคั ซีนถึงร้อยละ 70 - 80 ของประชากร แต่ดว้ ยข้อจำกัดการฉีด
วคั ซีนที่ไม่สามารถให้ในกลุ่มเด็กเพราะยังไม่มีการทดลองหรือสรุปผลการทดลองท่ีชัดเจน ย่อมทำให้ประชากร
กลุ่มเด็กไม่มีภูมิคุ้มกัน ประกอบกับการนำวัคซีนมาใช้ในคนจำนวนมากในทวีปต่าง ๆ ซึ่งมีความต่างกันของ
ประชากรอายุ เพศ และวัย ประสิทธิผลที่ได้จริงจะแตกต่างกัน ตลอดจนระยะเวลาที่จะป้องกันโรคได้ซ่ึงยังไม่
รวมถึงผลในการป้องกันเชื้อกลายพันธ์ุ ดว้ ยเหตนุ ี้การใช้วัคซีนเป็นมาตรการหลักจึงต้องใชเ้ วลาในการติดตามใน

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

49

การฉีดจริงอีกระยะหนึ่ง นอกจากน้ีการเมืองวัคซีน ทำให้การกระจายทั่วถึงทุกคนในโลกน้ันไม่ได้มีพร้อมกัน
ทีเดียว ประเทศผพู้ ฒั นาวัคซีนจะฉดี ใหป้ ระชาชนของตนเองก่อน สว่ นประเทศอืน่ ๆ ต้องรอเป็นลำดบั ถดั ไป

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกมาตรการยับยั้งการระบาดโดยการปิดเมือง ปิดประเทศ ส่งผลเสียหาย

ตอ่ เศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อรูปแบบชวี ิตผู้คนท่ีเคยใช้ชีวิต ซึ่งตอ้ งปรับเปลี่ยนมาก ธุรกจิ บางอยา่ งตอ้ งปิดตัว

ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปสงค์ (demand) อุปทาน (supply) เช่น อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างสูงจาก

การปิดประเทศหรือจำกัดการเดินทาง บางประเทศมีเงินช่วยเหลือประชาชนที่ไม่สามารถทำงานท่ีบ้านได้เพื่อ

รกั ษาธุรกจิ บางประเทศรัฐบาลใหเ้ งนิ ชว่ ยเหลอื เฉพาะผมู้ ีรายได้น้อยหรอื ไดร้ ับผลกระทบรุนแรงจากโรคระบาด

จากการคาดการณ์ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ระบุว่า

ท่ัวโลกมีคนตกงานอย่างต่ำ 81 ล้านคน และนักเศรษฐศาสตร์คาดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกกว่า

3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐและนอกจากน้ีการติดเชื้อกลับไปสู่สัตว์ เช่น การติดเชื้อในตัวมิงก์ของประเทศ

เดนมาร์ก จนนำไปสกู่ ารฆา่ มิงก์ทเ่ี ป็นสัตว์เศรษฐกิจหลายล้านตัว ยง่ิ เพิ่มผลกระทบทางเศรษฐกจิ เชน่ กัน

3) สถานการณโ์ รคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019 ในประเทศไทย

กรมควบคุมโรคได้เปดิ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center: EOC)
ตั้งแต่ 4 มกราคม ๒๕๖๓ เพื่อตอบโต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังจากท่ีประเทศจีน
ประกาศพบผู้ป่วยเมื่อวันท่ี ๓๐ ธันวาคม 2562 และเริ่มคัดกรองหาผู้ติดเช้ือที่ช่องทางเข้าออกประเทศ พบผู้
ติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๓ ภายในเวลา ๒
สัปดาห์หลังจากมีรายงานการระบาดในประเทศจีน การติดเช้อื ในชว่ งแรกของประเทศไทยน้ันเป็นผู้เดินทางมา
จากต่างประเทศ แล้วจึงค่อยๆ พบผู้ติดเช้ือชาวไทยในระยะเวลาต่อมา การระบาดในระลอกแรกน้ันอยู่ในช่วง
เดือนมีนาคมถึงเมษายน ๒๕๖๓ (รูปที่ ๑) สามารถควบคุมโรคได้ภายใน ๒ เดือน โดยผู้ติดเช้ือที่พบหลังจาก
เดนิ ทางเข้าสปู่ ระเทศไทย เป็นผู้ติดเช้ือที่ไดร้ ับการดูแลในสถานท่ีกกั กันของรัฐ (State Quarantine) และไมพ่ บ
การตดิ เชอ้ื ในประเทศเป็นเวลา นานกว่า ๑๐๐ วนั

ประเทศไทยเริ่มพบผู้ติดเช้ือท่ีไม่ได้อยู่ในสถานท่ีกักกัน โดยมีประวัติเดินทางมาจากจังหวัด
ท่าขี้เหล็กประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยรายแรกในวันท่ี 30
พฤศจิกายน 2563 ผู้ติดเช้ือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานสถานบันเทิง นอกจากนี้จากการเฝ้าระวังผู้ติด
เชื้อที่ลักลอบเดินทางเข้ามาจากช่องทางธรรมชาติและพบรายสุดท้ายเม่ือวันท่ี 8 ธันวาคม 2563 ซ่ึงต่อมา
ยังคงมีการพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากจังหวัดท่าข้ีเหล็กอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการพบที่สถานกักกันแห่งรัฐ
และการตรวจพบเชื้อที่สหภาพพมา่ แลว้ ถกู ส่งตัวกลบั มารกั ษาทโ่ี รงพยาบาลในประเทศไทย

การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย มีรูปแบบการระบาดแตกต่างจากการระบาดในระลอก
แรกเป็นการระบาดในกลุ่มคนไทย เช้ือสายพันธุ์ใหม่คือ สายพันธุ์G614 ซ่ึงเป็นสายพันธ์ุท่ีพบในสหภาพพม่า
เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ตรวจพบคนไทยติดเช้ือรายแรกและแพรเ่ ชื้อจากตลาดกลางกุง้ ซึ่งเป็นตลาดใหญข่ าย
อาหารทะเล จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว (สัญชาติเมียนมา) มีร่างกายแข็งแรง
ไมม่ ีอาการแสดง และพักอาศยั ในสภาพแออัด โดยมปี ระชาชนจากหลายจังหวดั ทเี่ ดินทางมายงั ตลาดกลางกุง้ จึง
ทำให้เกิดการระบาดเป็นหลายกลุ่มใหญ่และเร่ิมกระจายไปหลายจังหวัด เช่น นนทบุรี ระยองชลบุรี จันทบุรี
เป็นต้น โดยเกิดในกลุ่มคนไทยที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น รับประทานอาหาร เล่นพนัน สังสรรค์เทศกาลปีใหม่
และอีกส่วนหน่ึงเป็นผู้ติดเช้ือท่ีเป็นผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อยืนยันรายก่อนหน้าท้ั งท่ีสามารถระบุได้และระบุไม่ได้
ซึ่งทำใหก้ ารแพร่กระจายของเชือ้ เป็นไปอย่างรวดเรว็

ในวันที่ 27 ธันวาคม 2563 อธิบดีกรมควบคุมโรคให้ข้อมูลผลการคัดกรอง 10,411 ราย
พบผู้ติดเช้ือ 1,337 ราย ต่อมาตรวจพบการระบาดหลายจุด โดยเฉพาะในจังหวัดสมุทรสาครและภาค

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

50

ตะวันออก ข้อมูลถึง วันนท่ี 14 มกราคม 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม 11,262 ราย หายแล้ว 7,660 ราย
ยังรักษาอยู่ 3,558 ราย เสียชีวิต 69 ราย เป็นการติดเช้ือในประเทศ 9,050 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ
2,212 รายจังหวัดท่ีมีการติดเชื้อมากท่ีสุด ๑๐ อันดับแรก คือ สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร
จันทบุรีสมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานีและตราด ซึ่งข้อค้นพบสำคัญในการระบาดระลอกใหม่น้ี
คือ ผู้ปว่ ยรายแรกๆ และผู้ป่วยส่วนใหญ่ของจงั หวัดข้างเคียง เช่น กรงุ เทพมหานคร รวมถึงกลุ่มแรงงานตา่ งด้าว
โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัด จะมีอาการเพียงเล็กนอ้ ย (รอ้ ยละ 61.1) โดยผู้ป่วยในพื้นท่ีกรุงเทพฯ
ประมาณ 1 ใน 3 ไม่ใช่ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ แต่เป็นคนนอกพ้ืนที่ที่เข้ามารับการตรวจรักษาคนกลุ่ม
เสี่ยงที่ได้รับเชื้อจากการระบาดครั้งน้ีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานมีอายุระหว่าง 25 – 60 ปีเป็นกลุ่มท่ีมีการ
เคล่ือนย้ายสงู และมกี ารตดิ ต่อสมั ผสั กับผ้คู นเป็นจำนวนมาก

สำหรับสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้เดินทางที่เข้ามา
ประเทศไทยหลังจากท่ีนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับท่ี 12) ลงวันท่ี 30 มิถุนายน 2563 และ (ฉบับที่ 13) ลง
วนั ท่ี 31 กรกฎาคม 2563 ซึ่งได้อนุญาตให้บุคคล 11 ประเภทเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยต้องได้รับ
การกักกันตัวในสถานที่กักกันที่กำหนดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือมีผู้ติดตามด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขกำกับตลอดแผนการเดินทาง จากข้อมูลจำนวนผู้ติดเช้ือโควิด 19 ที่ตรวจพบได้ในสถานที่กักกัน
แห่งรัฐ ระหว่างวันที่ 4 เมษายน 2563 – 14 มกราคม 2564 มีจำนวน 206,546 คน ใน 94 ประเทศ
พบผู้ติดเชื้อ 1,629 ราย ใน 78 ประเทศ เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยเป็นชาวสัญชาติไทยมากท่ีสุด
รองลงมาคือ อินเดยี อเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ตามลำดับ

4) มาตรการทางสาธารณสุขในประเทศไทย

บุคลากรที่สำคัญในการควบคุมโรคในการระบาดระลอกแรก คือ อาสาสมัครสาธารณสุข
(อ.ส.ม.) ซ่ึง 1 คนดูแลบ้าน 10 – 15 หลังคาเรือน โดยครอบคลุมทุกหมู่บ้าน รวมทั้งส้ินประมาณ 1 ล้านคน
เศษซึ่งสามารถช่วยได้ถึงร้อยละ 90 ในงานควบคุมโรค นอกจากน้ียังมีโรงพยาบาลส่งเสรมิ สุขภาพระดับตำบล
ประมาณ 10,000 แห่ง มีบุคลากร 3 – 10 คน ครอบคลมุ ทุกอำเภอ ถือเป็นหน่วยงานสาธารณสขุ ทสี่ ำคัญใน
การควบคุมโรค ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของ อ.ส.ม. นอกจากนี้ประชาชนไทยให้ความร่วมมือกับ
รัฐบาลอย่างสูงท้ังในเร่ืองการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยล้างมือ สวมหน้าการอนามัย กินร้อนใช้อุปกรณ์
ส่วนบคุ คล เว้นระยะหา่ งระหว่างบุคคล ทำงานจากบ้าน หลีกเลี่ยงการเดินทาง และหลีกเล่ียงการอยู่ในทแี่ ออัด
ตลอดจนการตรวจเช็ค สังเกตอาการตนเอง และการใช้เทคโนโลยี เพื่อติดตามผู้สัมผัส รวมทั้งค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก
ซึ่งเป็นมาตรการทส่ี ำคญั ในการควบคมุ โรค เปน็ ที่ยอมรับของนานาชาติ ซง่ึ มาตรการเหลา่ นี้เป็นมาตรการสำคัญ
ที่ตอ้ งปฏิบัติอยา่ งตอ่ เนอื่ งจนกวา่ วคั ซนี จะแพรห่ ลาย และไดผ้ ลดที ัว่ โลก

เม่ือมีการระบาดระลอกใหม่ ศบค.ยังคงให้ปฏิบัติการตามแนวทางควบคุมโรคในระยะแรก
แตไ่ ดย้ กระดับการควบคุมโรคตามมาตรา ๙ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ (ฉบับท่ี ๑๗) ไดย้ กระดับการควบคุมสขุ อนามยั ส่วนบคุ คลและการกกั ตัวอยา่ งเคร่งครัด รวมทั้งยกระดับ
พ้ืนที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างย่ิง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี และ
สมุทรสาคร ซ่ึงบุคคลท่ีจะออกจากพื้นที่ต้องแสดงบัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ควบคู่กบั เอกสารรับรองความ
จำเป็นที่ต้องออกจากพ้ืนท่ีซ่ึงเจ้าหน้าท่ีออกให้ และให้ปราบปรามเข้มงวดผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการ
ระบาด โดยผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำท้ังปรับ
นอกจากนี้จังหวัดปลายทางของผู้เดินทางจากพื้นที่ควบคุมโรคสูงสุดมีมาตรการกักตัว และมาตรการ
สาธารณสุขอ่ืน ๆ ท่ีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดน้ัน ๆ เห็นชอบ เข้มงวดแตกต่างกันไปตามสถานการณ์
โรคของจังหวดั นนั้ ๆ ซงึ่ ผู้เดนิ ทางตอ้ งตรวจสอบทำความเขา้ ใจล่วงหนา้

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

51

ประเทศไทยวางแผนจะฉีดวัคซีนให้คนไทยร้อยละ ๕๐ โดยได้จองวัคซีนจากบริษัทแอสตร้า
เซนเนก้า (AstraZeneca) (เก็บที่ 2 – 8 องศาเซลเซียส) ทำสญั ญา 26 ล้านโดส สำหรับประชาชน ๑๓ ลา้ นคน
โดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ประเทศไทย (Siam Bioscience) จะร่วมการผลิต ซ่ึงมีกำลังการผลิตได้เดือนละ
๑๕-๒๐ ล้านโดส จงึ ไม่นา่ เปน็ กงั วลในการมวี ัคซนี ฉีดให้กบั ประชาชนไทยตามเป้าหมาย และคาดวา่ ปลายเดือน
พฤษภาคม ๒๕๖๔ นา่ จะฉีดให้กับคนไทยได้อีกรอ้ ยละ 20 โดยเจรจาร่วมกบั โคแวกซ์ (COVAX) และอีกรอ้ ยละ
10 ทำข้อตกลงกับบริษัทที่คิดว่ามีโอกาสผลิตวัคซีนสำเร็จ นอกจากน้ีบริษัทชิโนแวคไบโอเทค (Sinovac
Biotech) จะนำวัคซีน 2 ล้านโดสเข้ามาในไทย โดยแบ่งเป็น 2 แสนโดส ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564
จำนวน 8 แสนโดส ปลายเดือนมีนาคมและปลายเดือนเมษายน อีกจำนวน 1 ล้านโดส ซึ่งการใหว้ ัคซนี จะให้ใน
กลุ่มเส่ียงต่อการติดเชื้อเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ซ่ึงในประเทศไทยจะให้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีก่อน
ประมาณ 9 ล้านคน ต่อด้วยผู้ที่เส่ียงกับการติดโรค ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ท่ีเป็นด่านหน้า และผู้ที่
ทำงานกับผู้ป่วยโควิด 19 ส่วนการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เมื่อมีผู้ได้รับวัคซีน ร้อยละ 70 - 80 ข้ึนไป (ประมาณ
45 ล้านคน) ต้องอาศัยเวลาระยะหนง่ึ ในการจัดสรร สง่ั ซ้ือ รวมทั้งผลิตเอง ตลอดจนการกระจายและการฉีดดว้ ย

5) ปัญหาอุปสรรคในการควบคุมการระบาดของประเทศไทย

1) แรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยในการแพร่เช้ือท่ีสำคัญต่อการควบคุมการระบาดระลอกใหม่
จากการคัดกรองเชิงรุกพบผู้ป่วยจำนวนมาก และแรงงานบางส่วนซึ่งไม่ทราบจำนวนชัดเจน หลีกเลี่ยงการคัด
กรองทำให้ไม่สามารถประเมนิ สถานการณไ์ ด้สมบูรณ์ อกี ท้ังมีเร่ืองของเส้นแบ่งฐานะและการทำผิดต่อกฎหมาย
มารว่ มเป็นปัจจัยท่ีทำให้เกดิ การหลกี เลีย่ ง ยิ่งเมื่อมีการปิดตลาดกุ้ง แพปลา แตก่ ารติดเช้ือได้แพร่ไปแล้วกับคน
ท่ีเกี่ยวข้องกับธุรกิจขายอาหารทะเลในหลายจงั หวดั ต่าง ทำให้ ศบค. มีข้อจำกดั ในการตดิ ตามพาหะว่าไปสมั ผัส
กับผู้ใด มากน้อยแค่ไหน เส่ียงระดับใด พร้อมท้ังต้องนำตัวมาตรวจและให้อยู่ในสถานที่ควบคุมการตรวจและ
รกั ษาผู้ติดเช้ือของทางราชการ นอกจากนแ้ี รงงานตา่ งด้าวที่ผิดกฎหมายอาจเช่ือมโยงกับปัญหาการตรวจคนเข้า
เมืองและการเฝ้าระวังชายแดน โดยเฉพาะการหลบหนีเข้าเมืองผ่านช่องทางธรรมชาติ รวมท้ังหากมีความ
เข้มงวดในการตรวจสอบบ่อนพนันซ่ึงเป็นจุดแพร่เช้ือที่สำคัญ จะช่วยให้การควบคุมการระบาดระลอกน้ี
มีประสทิ ธิภาพยง่ิ ขึน้

2) ความรวดเร็วของการแพร่ระบาดของเชื้อ จากการติดตามผู้ติดเช้ือของการระบาดระลอก
ใหม่ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แต่ตรวจพบว่ามีปริมาณเช้ือในตัวอย่างสูง แสดงว่าผู้ติดเช้ือระลอก
ใหม่นี้จะสามารถแพร่เช้ือได้อย่างรวดเร็ว ดังน้ัน การตรวจหาเช้ือโดยวิธี RT-PCR และการตรวจเชิงรุก จึงต้อง
เพ่ิมความเร็วและความครอบคลุมให้มากข้ึน ประกอบกับแหล่งโรคเป็นแรงงานต่างด้าวซ่ึงมีจำนวนมาก
และอาจจะไม่สามารถตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รวมท้ังการสอบถามลำดับเหตุการณ์และเวลา (timeline)
ไดอ้ ยา่ งชัดเจน

3) สัมฤทธิผลของแอปพลิเคชันไทยชนะ ควรมีการสื่อสารท่ีชัดเจน เช่น กรณีที่มีคนเข้าใช้
พื้นท่ีครบจำนวนตามหลักการเว้นระยะห่าง ระบบควรมีการแจง้ เตือนท่ีชัดเจน เพื่อส่ังงดกิจกรรมหรือเล่ือนไป
ใชบ้ รกิ ารในรอบถัดไป ร่วมกบั ขาดความเข้มงวดในการกำกับดูแลของเจ้าของสถานทป่ี ระกอบการ ประกอบกับ
ผู้ใช้บริการละเลยไม่สแกนไทยชนะเม่ือเข้าใช้บริการ ซ่ึงเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งเม่ืออยู่ในสถานที่ท่ีมีคนรวมตัวกัน
จำนวนมาก และอาจทำใหล้ ดความน่าเช่ือถอื การใช้แอปพลิเคชนั ดังกล่าวดว้ ย

4) ความท้าทายของการประกาศล็อกดาวน์และแบ่งระดับพ้ืนท่ี ตามแนวทางการพยุง
เศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลพยายามปรับมาตรการ โดยคำนึงถึงด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ (การเงิน
การคลัง) ทำให้ไม่สามารถกดการระบาดผ่านการปิดประเทศ ซึ่งเชื่อว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้ปัญหา
คือการปฏิบัติให้ได้จริงตามมาตรการในแต่ละพ้ืนท่ี ดังนั้น การส่ือสารท่ีชัดเจนจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนา

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

52

ช่องทางให้เข้าถึงได้ง่าย และกระจายไปในกลุ่มท่ีอาจมีเช้ือในสถานท่ีกักกัน โดยอาศัยอำนาจในพ้ืนที่ผ่าน
คณะกรรมการโรคตดิ ต่อจงั หวัด

5) การอนุญาตให้บุคคล 11 ประเภทเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จากมาตรการควบคุม
การเดินทางเข้าประเทศสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติเพ่ือการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ท่ีอนุญาต
ให้บุคคล 11 ประเภทเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยต้องได้รับการกักกันตัวในสถานที่กักกันที่ราชการ
กำหนดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือมีผู้ติดตามด้านการแพทย์และสาธารณสุขกำกับตลอดแผนการ
เดนิ ทางซึ่งมาตรการกักกันตัวเป็นระยะเวลา 7 วนั 10 วนั และ 14 วัน จะสามารถแยกผู้ท่ีตดิ เชื้อได้ประมาณ
ร้อยละ 80 95 และ 99 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ายังมีโอกาสที่จะพบผู้ติดเช้ือโควิด 19 ออกสู่ชุมชนได้
แมว้ า่ จะไดร้ บั การกกั ตัวครบตามทก่ี ำหนดแลว้ กต็ าม

6) ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควดิ 19 ในประเทศไทย

อุตสาหกรรมการบินในประทศไทยได้รับผลกระทบต้ังแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๓ ส่งผลให้
ปริมาณเท่ียวบินทั้งในและต่างประเทศตลอดปี ๒๕๖๓ มีเพียง ๔๖๔,๙๔๔ เท่ียวบิน ลดลงจากปี ๒๕๖๒
๑,๐๔๒,๓๔๒ หรอื คดิ เป็นร้อยละ ๕๕ ซึง่ คล้ายคลึงกบั อุตสาหกรรมการบินทั่วโลก โดยสมาคมขนส่งทางอากาศ
ระหว่างประเทศ (IATA) คาดว่าธุรกิจการบินทั่วโลกจะกลับมาเป็นปกติเท่ากับช่วงเวลาก่อนได้รับผลกระทบ
ภายในปี ๒๕๖๖ – ๒๕๖๗ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) คาดว่าเม่ือมีการใช้วัคซีนใน
ประเทศไทยและทั่วโลกอย่างแพร่หลาย จะเป็นปัจจัยบวกท่ีสำคัญต่ออุตสาหกรรมการบินให้กลับมาฟ้ืนตัว ซ่ึง
กลุ่มที่จำเป็นต้องเดินทางอาจวางแผนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยในช่วยปลายปี 2564 การฟื้นตัวท่ีชัดเจนจะ
เห็นได้ในปี 2565 แต่คงไม่เติบโตเท่าปี 2562 เพราะความเช่ือมั่นของนักเดินทาง และการวางแผนการ
เดินทางทางอากาศจำเป็นต้องใชเ้ วลา การคาดการณ์การฟ้ืนตัวได้จริงน่าจะเกดิ ข้ึนได้ในปี 2566 เพราะเชื่อว่า
เทย่ี วบินระหวา่ งประเทศจะกลับมาเมอื่ วคั ซนี เห็นผลในเชงิ ปอ้ งกันการตดิ เชื้อ

เม่ือเกิดโรคระบาดที่สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คน (person to person transmission)
จึงต้องจำกัดการเดินทางของบุคคล และเว้นระยะห่างของบุคคลทางกายภาพ (physical distancing)
โดยเฉพาะจากพ้ืนที่ที่เป็นศูนย์กลางของการระบาด ทำให้มีการล็อกดาวน์ท้ังประเทศ เพ่ือควบคุมการระบาด
ระลอกแรกมีผลให้เศรษฐกิจหยุดนิ่ง สำหรับการระบาดระลอกใหม่ท่ีเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2563
ซึ่งจังหวัดสมุทรสาครเป็นศูนย์กลางการระบาด การล็อกดาวน์จังหวัด มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่
สมุทรสาครวันละ 3,000 – 4,000 ล้านบาท หากล็อกดาวน์ทุกจังหวัดจะเพ่ิมเป็นวันละ 6,800 ล้านบาท
ถ้าสถานการณ์ยืดเย้ือเป็นเดือนท่ัวประเทศ โดยทุก 1 เดือน จะกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมประมาณ 2-2.2
แสนล้านบาท/เดือนหรือกระทบต่อจีดีพี ร้อยละ 1.5 ผลกระทบสะสมต้ังแต่ปี 2563 ทำให้หนี้สินภาค
ครวั เรือนพุง่ สงู ขน้ึ ในปี 2563 มคี นว่างงาน 2.9 ลา้ นคน และคาดวา่ แรงงานใหม่เสย่ี งตกงาน ประมาณ 9 แสนคน

ประเทศไทยเป็นผ้สู ่งออกอาหารทะเลแปรรปู รายใหญอ่ ันดับ ๕ ของโลก มีมลู ค่ารวมกวา่ ๖.๖
แบ่งเป็นตลาดส่งออกถึง ร้อยละ ๘๙ โดยสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรม ซึ่งขับเคล่ือน
ด้วยแรงงานต่างด้าว พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนถกู ต้อง ๒.๓ แสนคน แต่คาดประมาณวา่ มีทั้งถูกและ
ผิดกฎหมายประมาณ ๔.๕ แสนคน การระบาดระลอกใหม่ท่ีส่งผลให้ปิดจังหวัด และกลายเป็นพื้นที่ควบคุม
สงู สุดอย่างเข้มงวดมีผลอย่างสูงต่ออุตสาหกรรมการส่งออกอาหารทะเลแปรรูปทั้งประเทศ โดยเฉพาะงานแกะ
กุ้งท่ีไม่สามารถใช้เคร่ืองจักร นอกจากนี้เม่ือมีการกักกัน และตรวจสอบเชิงรุกในคนต่างด้าวจำนวนมาก
ทำให้งบประมาณที่มีจำกัดต้องใช้ในการควบคุมการระบาด ไม่สามารถนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยได้
ซึ่งน่าจะมีผลต่อการฟ้ืนตัวในภาพรวม เพราะยังมีแรงงานต่างด้าวซ่ึงพำนักในที่ท่ีระบบสาธารณูปโภคพ้ืนฐาน
ไม่ได้มาตรฐานอีกมาก เช่นกรุงเทพมหานคร ๗.๒ แสนคน นครปฐม ๒.๑ แสนคน ปทุมธานีและนนทบุรี
จงั หวัดละ ๑.๖ แสนคนสมทุ รปราการ ๑.๕ แสนคน ชลบุรี ๑.๓ แสนคน สุราษฎรธ์ านี ๑.๐๔ แสนคน เชียงใหม่

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

53
๙.๖ หม่ืนคน ภูเก็ต ๕.๖ หม่ืนคน และท่ีกระจายในจังหวัดต่าง ๆ ท่ัวประเทศ โดยเฉพาะแรงงานพม่ามีความ
เส่ียงท่ีจะนำเชื้อกลับเข้ามาได้สม่ำเสมอ ตราบเท่าท่ีสถานการณ์การระบาดในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ยังไม่ดีข้ึน จึงมีความเส่ียงที่จะมีการะบาดในประเทศไทยได้อีกหลายระลอก และส่งผลกระทบกับฟ้ืนตัว
ทางเศรษฐกจิ ของประเทศ

7) สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเช้ือไวรัสโควดิ - 19 จังหวัดกระบี่
จากภาพแสดงข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชอ้ื โควิด-19 จังหวดั กระบ่ี
4.6 ข้อเสนอแนะ
จากข้อมูลสถานการณ์โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ท่ัวโลกและในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าก่อนที่
จะมีวัคซีนใช้อย่างแพรห่ ลาย และมีสัดสว่ นของประชากรท่ไี ด้รบั วัคซีนมากพอทำให้เกิดภูมิคุม้ กันหมู่นั้น ยงั ต้อง
ใช้ระยะเวลาสักระยะหน่ึงอาจนานกว่า 1 ปี แต่การเดินทางท่องเท่ียว หรือกิจกรรมที่จำต้องมีการเดินทางไม่
สามารถปิดหรือหยุดได้อย่างส้ินเชิง ประชาชนยังจำเป็นที่จะต้องเดินทางระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือข้าม
ประเทศ ดังน้ัน กลุ่มโรคติดต่อท่ัวไป กรมควบคุมโรค ในฐานะรับผิดชอบงานเวชศาสตร์การเดินทางและ
ท่องเที่ยว ซ่ึงมีบทบาทในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มผู้เดินทาง ได้เล็งเห็นความสำคัญและ
ความจำเป็นดงั กล่าว จงึ ไดจ้ ัดทำคำแนะนำการเตรียมความพรอ้ มเพ่อื การป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับผู้
เดินทางในประเทศไทยข้ึน โดยเน้นให้ผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศ และผู้ท่ีอยู่ในประเทศไทยซ่ึงมีความ
จำเป็นเดินทาง/ท่องเท่ียวภายในประเทศ ได้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดก่อนการเดินทาง ข้อควรระวังและ
หลีกเล่ียงความเสี่ยงท่ีอาจพบเจอ เพื่อให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้บรรลุวัตถุประสงค์ ปลอดโรคปลอดภัย
ในช่วงยกระดบั การควบคมุ การระบาดระลอกใหม่นี้

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

54

บทที่ ๕

การวิเคราะห์และจดั ลำดับความรุนแรงของสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั

(เปน็ การนำขอ้ มลู ในส่วนท่ี ๒ - ๔ มาวิเคราะหถ์ งึ สถานการณท์ างสงั คมในเขตพน้ื ทีจ่ งั หวัดทร่ี บั ผิดชอบ)

๕.๑ สถานการณ์เชิงกลุม่ เป้าหมายในพ้ืนที่จังหวดั

๑) กลมุ่ เดก็ และเยาวชน

ตารางที่ ๕.1 แสดงผลการจัดลำดบั ความรุนแรงของสถานการณท์ างสังคมจังหวัด (หน่วย:คน)
มจี ำนวนกลุ่มเด็กและเยาวชน ท้ังสน้ิ 181,236 คน

ลำดับที่ ประเดน็ สถานการณ์ จำนวนกลมุ่ เปา้ หมาย คิดเปน็ รอ้ ยละ
กลมุ่ เปา้ หมาย ตามประเดน็ ของประชากรเด็กท้ังหมด

ในเขตพนื้ ทจี่ ังหวดั

1 เด็กอยู่ในครอบครัวยากจน 2,232 1.23

2 เด็กทีต่ ั้งครรภก์ ่อนวัยอนั ควรและ 604 0.33
ไม่พร้อมในการเล้ียงดู

3 เด็กและเยาวชนที่มพี ฤติกรรม 336 0.19
ไมเ่ หมาะสม

2 ไม่มีสถานะทางทะเบยี นราษฎร์ 254 0.14

3 เดก็ และเยาวชนเป็นผตู้ ้องหา 170 0.09

4 ออกจากระบบการศกึ ษากลางคนั 95 0.05

5 เดก็ และเยาวชนเปน็ ผู้เสยี หาย 31 0.02

6 เดก็ และเยาวชนทถ่ี ูกทารุณกรรม 12 0.006
ทางรา่ งกายจติ ใจและทางเพศ

2) กลุม่ สตรี

ตารางที่ ๕.2 แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดกระบ่ี (หนว่ ย:คน)
มกี ลมุ่ สตรจี ำนวนทง้ั สน้ิ 237,242 คนจากประชากรทัง้ หมด

ลำดบั ท่ี ประเด็นสถานการณก์ ลุม่ เป้าหมาย จำนวนกลมุ่ เป้าหมาย คิดเปน็ ร้อยละ
ตามประเด็น ของประชากรสตรที ั้งหมด

ในเขตพนื้ ที่จงั หวดั

1 สตรที ี่เปน็ แมว่ ยั ร่นุ อายุต่ำกวา่ 20 ปี 2,876 1.21

2 สตรที ี่ถูกเลิกจา้ ง/ตกงาน 2,068 0.87

3 แม่เลยี้ งเดี่ยวฐานะยากจนทต่ี ้องเลี้ยงดู 487 0.21
บตุ รเพยี งลำพงั

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

55

3) กลุ่มครอบครัว

ตารางท่ี ๕.3 แสดงผลการจัดลำดับความรนุ แรงของสถานการณ์ทางสังคมครอบครัวจงั หวัดกระบ่ี
มจี ำนวนครอบครวั ทงั้ สิ้น 75,714 ครอบครวั
(หน่วย:คน)

ลำดบั ท่ี ประเดน็ สถานการณ์กลุม่ เปา้ หมาย จำนวนกลมุ่ เปา้ หมาย คดิ เป็นร้อยละ
ตามประเด็น ของจำนวนครอบครัว
ท้ังหมดในเขตพน้ื ท่ีจงั หวดั

1 ครอบครวั ยากจน 17,849 23.57

2 ครอบครัวหยา่ รา้ ง 854 1.13

4) กลุ่มผสู้ ูงอายุ

ตารางที่ ๕.4 แสดงผลการจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมจังหวดั กลมุ่ ผู้สูงอายุจังหวดั กระบ่ี
มจี ำนวนผสู้ งอายทุ ้ังสนิ้ 60,051 คน
(หนว่ ย:คน)

ลำดับท่ี ประเด็นสถานการณก์ ลมุ่ เป้าหมาย จำนวนกลุ่มเปา้ หมาย คิดเป็นรอ้ ยละ
ตามประเด็น ของจำนวนผู้สงู อายุ
ทงั้ หมดในเขตพ้ืนที่จงั หวัด

1 ผูส้ ูงอายทุ ีป่ ระสบปัญหาทางสังคม 5,483 9.13

2 ผู้สูงอายทุ ่มี ีที่อยู่อาศยั ไม่มั่นคง 1,235 2.06

3 ผู้สูงอายตุ ิดเตียง 494 0.82

รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔

56

บทท่ี ๖
ขอ้ เสนอแนะ

6.1 การขบั เคลื่อนนโยบายสังคมสู่การปฏบิ ตั ิในพื้นที่
การขับเคล่ือนนโยบายสังคมสู่การปฏิบัติในพ้ืนที่จากสถานการณ์ทางสังคมของจังหวัดชัยนาท พบว่า

กลุ่มเป้าหมายตามภารกิจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ทุกกลุ่มเป้าหมายยังคงประสบ
ปัญหาทางสังคม ทั้งทางเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการดูแลสมาชิก
ในครอบครัวจังหวัดชัยนาทได้ระดมสรรพก าลังในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม โดยอาศัยความร่วมแรง
ร่วมมือร่วมใจในหลายระดับ เช่น ปฏิบัติการ ONE HOME ความร่วมมือของภาคราชการ ภาคเอกชน รวมทั้ง
การบูรณาการแผนงานโครงการ บคุ ลากร และงบประมาณ ตลอดจนการถ่ายทอดเช่ือมโยงภารกิจ ในกลไกการ
ปฏิบตั ิงานลกั ษณะประชารฐั

นอกจากน้ี ยังมีภารกิจด้านสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการคณ ะอนุกรรมการ
และคณะทำงานด้านตา่ ง ๆ ตามประเด็นงานและกลุ่มเป้าหมาย เช่น

- คณะกรรมการส่งเสริมการจดั สวสั ดิการสังคมจงั หวัด
- คณะกรรมการคมุ้ ครองและพัฒนาอาชพี จังหวัดกระบ่ี
- คณะอนกุ รรมการสง่ เสรมิ และพัฒนาคุณภาพชวี ติ คนพกิ าร
- คณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบตั ิการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- คณะอนกุ รรมการสง่ เสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
- คณะอนกุ รรมการคุม้ ครองคนไร้ทพี่ ่ึงจังหวดั กระบี่
- คณะอนกุ รรมการควบคมุ การขอทานจังหวดั
ท้ังนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ยังมีกองทุนต่าง ๆ ท่ีสนับสนุนการดำเนิน
โครงการการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดงั นี้
1. กองทุนสง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนพกิ าร
2. กองทนุ สง่ เสริมการจดั สวัสดิการสงั คม
3. กองทุนผู้สูงอายุ
4. กองทนุ คมุ้ ครองเดก็
5. กองทุนเพ่อื ป้องกันและกราบปรามการค้ามนษุ ย์
อีกทั้งยังมีกิจกรรมเพื่อการรวบรวมข้อมูลด้านสังคมเพ่ือการส่งเสริมการพัฒนาสังคม เช่น การรณรงค์
เพ่ือสร้างความตระหนักและกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมในประเด็นต่าง ๆ
การจัดสมัชชาสวัสดกิ ารสังคม สมชั ชาผสู้ งู อายุ สมชั ชาสตรี สมชั ชาเด็ก เปน็ ต้น
ทุนทางสังคมที่สำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาสังคม คือ อาสาสมัครการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ซ่ึงเป็นกลุ่มผู้ท่ีมีพลังจิตอาสา โดยอาจเป็นอาสาสมัครท่ีปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในชุมชน
อย่แู ล้วและสนใจเขา้ มามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ยเ์ พ่ือท้องถิน่ ของตนเอง รว่ มกัน
ชี้เป้า – เฝ้าระวัง สำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและผู้รับบริการ การเฝ้าระวังการส่งเสริมและแก้ไข
ปญั หาด้านสังคมเบ้ืองต้น และการรายงานสถานการณ์ทางสังคมของชุมชน ช่วยกันเชอื่ มกลุ่มเดิม – เสรมิ สร้าง
กลุ่มใหม่ ท้ังด้านการประสานงาน การส่งต่อผู้รับบริหารและการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงาน

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวดั ประจำปี ๒๕๖๔

57
ตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องและ
ร่วมใจทำแผนชุมชน เปน็ ผู้ผลักดันหรือกระตุ้น ใหช้ ุมชนรว่ มมือ ร่วมใจกนั ระดมความคดิ เพื่อจัดทำแผนของชุมชน
6.2 ขอ้ เสนอแนะ

ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น เพ่ื อ ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ แ ก้ ไข ปั ญ ห า ท า ง สั งค ม แ ล ะ ก า ร พั ฒ น า ศั ก ย ภ า พ บุ ค ล า ก ร
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และการพัฒนาสังคมน้ัน ต้องอาศัยพลังเพ่ือให้แรงผลักดัน
ในการชว่ ยเหลือผูอ้ ่ืนตอ่ ไป ดังนน้ั จึงมขี ้อเสนอแนะ ดงั นี้

1. การเพ่ิมศักยภาพและสมรรถนะบุคลากรและระบบการบริการเพอ่ื การบรหิ ารการพฒั นาสงั คม
2. การมีข้อมูลที่ครบถ้วน ทันสมัย เพ่ือเป็นฐานในการวางนโยบายและการปฏิบัติในด้าน
กลมุ่ เป้าหมาย ประเด็นปญั หาพน้ื ท่ปี ระสบปญั หา
3. การวิจัยและพฒั นาเพ่อื สร้างองค์ความรเู้ พื่อการพฒั นาสังคม
4. การเพิ่มและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย เครือข่ายทางสังคม ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
แนวนโยบายองคค์ วามรู้และการปฏบิ ัตงิ าน ให้สามารถร่วมงานกนั ได้อยา่ งมเี อกภาพ
5. เสรมิ สรา้ งความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว กลุ่ม องคก์ ร
6. รณรงคใ์ หส้ าธารณชนตระหนักในการรบั ผิดชอบด้านสังคมร่วมกัน

******************************************

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัดประจำปี ๒๕๖๔

58

หน่วยงานท่สี นับสนุนข้อมลู ในสว่ นของขอ้ มูลทัว่ ไประดบั จังหวัด ดงั น้ี
1. ที่ทำการปกครองจงั หวดั กระบ่ี
2. สำนักงานสง่ เสรมิ การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกระบ่ี
3. สำนักงานป้องกนั และบรรเทาสาธารณภัยจงั หวดั กระบ่ี
4. ตำรวจภธู รจังหวดั กระบ่ี
5. สำนกั งานแรงงานจังหวัดกระบ่ี
6. สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวัดกระบ่ี
7. ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและตามอัธยาศัยจังหวดั กระบ่ี
8. สำนกั งานสถติ จิ งั หวดั กระบ่ี
9. สำนักงานพฒั นาชมุ ชนจงั หวดั กระบ่ี
10. สำนักงานสาธารณสขุ จงั หวัดกระบ่ี
11. สำนกั งานวฒั นธรรมจังหวัดกระบี่
12. สำนักงานทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อมจงั หวัดกระบ่ี
13. สำนักงานคมุ ประพฤตจิ ังหวัดกระบี่
14. สำนักงานพระพทุ ธศาสนาจงั หวดั กระบี่
15. บา้ นพักเดก็ และครอบครัวจงั หวดั กระบ่ี
16. ศูนยค์ ุ้มครองคนไร้ทพ่ี ่งึ จังหวัดกระบี่

รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔

59

คณะผ้จู ดั ทำ

ทปี่ รกึ ษา

นางพศิ สุดา คงทอง พฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษย์กระบ่ี

วเิ คราะหแ์ ละประมวลผล

นางสาววรรณิภา สระศรี นักพัฒนาสังคมชำนาญการ
นางสาวภัทรวดี อ้นเพช็ ร์ นกั พัฒนาสังคมปฏบิ ัติการ

เรียบเรียง/พิมพท์ าน นกั พัฒนาสงั คมปฏิบตั ิการ
นางสาวภัทรวดี อ้นเพช็ ร์ พนกั งานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลยั
นางสาวประกายภรณ์ เวชกุล

เรียบเรียง/ตรวจทาน นกั พัฒนาสงั คมชำนาญการ
นางสาววรรณิภา สระศรี

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจงั หวัดประจำปี ๒๕๖๔


Click to View FlipBook Version