รายงานการศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2566 กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เอกสารวิชาการเลขที่ 01/03/2566
สารบัญ หน้า สารบัญ (1) สารบัญตาราง (3) สารบัญตารางภาคผนวก (5) สารบัญภาพ (7) บทสรุปผู้บริหาร (8) บทที่1 บทนำ 1-1 1.1 หลักการและเหตุผล 1-1 1.2 วัตถุประสงค์ 1-1 1.3 ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน 1-2 1.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 1-2 1.5 นิยามศัพท์ 1-6 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป 2-1 2.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 2-1 2.2 การถือครองที่ดินของเกษตรกร 2-6 2.3 สถานภาพของครัวเรือนเกษตร 2-11 2.4 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ 2-23 บทที่3 ผลการดำเนินงาน 3-1 3.1 สภาพการผลิตและการกระจายผลผลิต 3-1 3.2 ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต 3-8 3.3 คุณภาพชีวิตของเกษตรกร 3-21 บทที่4 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 4-1 4.1 สรุปผล 4-1 4.2 ข้อเสนอแนะ 4-3
(2) สารบัญ (ต่อ) หน้า เอกสารอ้างอิง อ-1 ภาคผนวก ผ-1 ภาคผนวกก การกำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวนตัวอย่างสถานที่สำรวจข้อมูล ผ-2 ภาคผนวก ข คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ-18 ภาคผนวก ค กิจกรรมการประชุมเตรียมความพร้อมและการเก็บข้อมูล ภาคสนาม ผ-44
(3) สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 2-1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 2-5 ตารางที่ 2-2 การถือครองที่ดินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี 2566 2-9 ตารางที่ 2-3 การถือครองที่ดินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 และเฉลี่ยรวม ปี 2566 2-10 ตารางที่ 2-4 สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี2566 2-15 ตารางที่ 2-5 สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12และเฉลี่ยรวม ปี 2566 2-16 ตารางที่ 2-6 สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี2566 2-21 ตารางที่ 2-7 สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 และเฉลี่ยรวม ปี2566 2-22 ตารางที่ 2-8 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 2-26 ตารางที่ 3-1 ลักษณะพื้นที่ที่ทำการผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 3-6 ตารางที่ 3-2 การกระจายผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ ปี 2566 3-8 ตารางที่ 3-3 ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 3-8 ตารางที่ 3-4 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ปี 2566 3-21 ตารางที่ 3-5 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 ปี 2566 3-22 ตารางที่ 3-6 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ปี 2566 3-22
(4) สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตารางที่ 3-7 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ปี 2566 3-23 ตารางที่ 3-8 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ปี 2566 3-24 ตารางที่ 3-9 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ปี 2566 3-24 ตารางที่ 3-10 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 ปี 2566 3-25 ตารางที่ 3-11 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 ปี 2566 3-25 ตารางที่ 3-12 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 ปี 2566 3-26 ตารางที่ 3-13 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 ปี 2566 3-27 ตารางที่ 3-14 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 ปี 2566 3-27 ตารางที่ 3-15 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 ปี 2566 3-28 ตารางที่ 3-16 คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เฉลี่ยรวม ปี 2566 3-29 ตารางที่ 3-17 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี2566 3-32 ตารางที่ 3-18 การแนะนำและเผยแพร่โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 3-35 ตารางที่ 3-19 ปัญหาและอุปสรรคของโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 3-40 ตารางที่ 3-20 ข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี2566 3-41
(5) สารบัญตารางภาคผนวก หน้า ตารางภาคผนวกที่ก1 การกำหนดขนาดตัวอย่าง ผ-2 ตารางภาคผนวกที่ก2 จำนวนตัวอย่างจำแนกตามสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ผ-2 ตารางภาคผนวกที่ก3 สถานที่สำรวจข้อมูล ผ-3 ตารางภาคผนวกที่ข1 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ปี 2566 ผ-16 ตารางภาคผนวกที่ข2 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 ปี 2566 ผ-18 ตารางภาคผนวกที่ข3 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ปี 2566 ผ-20 ตารางภาคผนวกที่ข4 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ปี 2566 ผ-22 ตารางภาคผนวกที่ข5 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ปี 2566 ผ-24 ตารางภาคผนวกที่ข6 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ปี 2566 ผ-26 ตารางภาคผนวกที่ข7 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 ปี 2566 ผ-28 ตารางภาคผนวกที่ข8 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต8 ปี 2566 ผ-30 ตารางภาคผนวกที่ข9 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 ปี 2566 ผ-32 ตารางภาคผนวกที่ข10 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 ปี 2566 ผ-34
(6) สารบัญตารางภาคผนวก (ต่อ) หน้า ตารางภาคผนวกที่ข11 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 ปี 2566 ผ-36 ตารางภาคผนวกที่ข12 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 ปี 2566 ผ-38 ตารางภาคผนวกที่ข13 องค์ประกอบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เฉลี่ยรวม ปี 2566 ผ-40
(7) สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 จังหวัดปทุมธานี 3-9 ภาพที่ 2 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 จังหวัดสิงห์บุรี 3-10 ภาพที่ 3 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 จังหวัดชัยนาท 3-11 ภาพที่ 4 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 จังหวัดสระแก้ว 3-12 ภาพที่ 5 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา 3-13 ภาพที่ 6 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์ 3-14 ภาพที่ 7 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 จังหวัดอุบลราชธานี 3-15 ภาพที่ 8 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 จังหวัดพิษณุโลก 3-16 ภาพที่ 9 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 จังหวัดพิจิตร 3-17 ภาพที่ 10 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 จังหวัดราชบุรี 3-18 ภาพที่ 11 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 จังหวัดกาญจนบุรี 3-19 ภาพที่ 12 เกษตรกรที่นำพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช 3-20
บทสรุปผู้บริหาร รายงานการศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ และวิเคราะห์รายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่สำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 1-12 จำนวน 420 ราย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ด้าน คือ ด้านภาวะเศรษฐกิจและสังคม ด้านภาวะการผลิต ด้านคุณภาพชีวิตและทัศนคติของเกษตรกร มีรายละเอียด ดังนี้ ด้านภาวะเศรษฐกิจและสังคม พบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 55.00และเพศหญิง ร้อยละ 45.00 มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพทางสังคม เป็นเกษตรกรทั่วไป พื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.65 ไร่ต่อครัวเรือน เอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินมากที่สุด ร้อยละ 73.98 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด สถานภาพด้านการเงินมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 221,941.62 บาทต่อปี รายได้ในภาคการเกษตรร้อยละ 58.02 และนอกภาคการเกษตรร้อยละ 41.98 มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 121,964.29 บาทต่อปี หรือร้อยละ 54.95 ของรายได้ทั้งหมด ภาวะหนี้สิน มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 32.62 ของครัวเรือนทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.52 ต่อปีสำหรับ สถานภาพด้านแรงงาน ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.74 คนต่อครัวเรือน เป็นแรงงาน ภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.12 คนต่อครัวเรือน ร้อยละ 56.68 ของสมาชิกในครัวเรือนเกษตร หลังเข้าร่วม โครงการครัวเรือนเกษตรที่ไม่มีแรงงานคืนถิ่นจำนวน 376 ครัวเรือน ร้อยละ 89.52 ครัวเรือนเกษตร และมีแรงงานคืนถิ่น 44 ครัวเรือน ร้อยละ 10.48 ของครัวเรือนเกษตร โดยมีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 58 คน ด้านภาวะการผลิต พบว่า พื้นที่เข้าร่วมโครงการเป็นที่ลุ่มร้อยละ 76.19 และเป็นที่ดอน ร้อยละ 23.81 รูปแบบสระเก็บน้ำส่วนใหญ่เป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 95.24 และเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 21.90 มีปริมาณน้ำในสระเพียงพอต่อการผลิตตลอดทั้งปี ส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ก่อนเข้าร่วม โครงการเกษตรกรทั้งหมดใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกข้าวนาปีเพียงอย่างเดียว หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นเกษตรผสมผสาน ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงจากเดิม 2,755.90 บาทต่อไร่ เป็น 3,169.32 บาทต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้น 413.42 บาทต่อไร่ แต่ก็ทำให้มูลค่าผลผลิต และผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้ มูลค่าผลผลิตก่อนเข้าร่วมโครงการ 4,796.10 บาทต่อไร่ หลังเข้าร่วมโครงการ 9,282.20 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้น 4,486.10 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ก่อนเข้าร่วมโครงการ 2,040.20 บาทต่อไร่ หลังร่วมโครงการ 6,112.88 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้น 4,072.68 บาทต่อไร่ โดยอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) จาก 1.74 เพิ่มขึ้นเป็น 2.93 ทำให้มีความ คุ้มค่าทางการเงินมากขึ้น
(9) ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสานได้ เนื่องจากมีสระเก็บน้ำที่สามารถใช้ในการผลิตทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี ถึงแม้ว่าการทำเกษตร ผสมผสานทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ก็ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากการผลิตสินค้า เกษตรที่มีความหลากหลาย ทำให้มีทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตมากขึ้นตลอดทั้งปีลดความเสี่ยง จากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรได้ และช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยการบริโภคผลผลิต จากแปลงเกษตรผสมผสาน ด้านคุณภาพชีวิตและทัศนคติของเกษตรกร พบว่า (1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.26 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและ ด้านจิตวิญญาณ ค่าเฉลี่ย 3.45 เท่ากัน ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.47 (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการแนะนำและเผยแพร่โครงการร้อยละ 95.24และไม่แนะนำร้อยละ 4.76 เหตุผลส่วนใหญ่ที่ไม่แนะนำคือ ต้องการทดลองให้เกิดผลสำเร็จกับพื้นที่ของตนเองเสียก่อนร้อยละ 75.00 (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโครงการ โดยลักษณะปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ที่พบ คือ ปัจจัยการผลิตที่ได้รับสนับสนุนไม่เพียงพอร้อยละ 40.28 และ (4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ ของเกษตรกร ส่วนใหญ่ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ ร้อยละ 37.24 ข้อเสนอแนะ หน่วยงานภาครัฐควรแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ เกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม และเทคนิควิธีการที่เหมาะสมกับการทำ เกษตรผสมผสาน รวมถึงการจัดหาช่องทางการจำหน่ายผลผลิต การรวมกลุ่มของเกษตรกร และการเข้าถึง แหล่งเงินทุนเพื่อให้การดำเนินงานของโครงการมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล มนุษย์เป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป้าหมายของการพัฒนาประเทศ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี และมีความเป็นอยู่ที่มีสุขไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี การส่งเสริมสุขภาพที่ปราศจากโรคภัย มีสภาพจิตใจที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่มุ่งยกระดับ คุณภาพชีวิต ซึ่งการทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นหน้าที่สำคัญของภาครัฐ ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถและศักยภาพ ขจัดความยากจน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อนึ่งภาคการเกษตรไทยเป็นภาคการผลิตที่สำคัญที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการแยกครอบครัว ทำให้ขนาดเนื้อที่ถือครองทางการเกษตรต่อครัวเรือนลดลง อีกทั้งการเกษตรแบบดั้งเดิม โดยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ภาคการเกษตรส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตลดลง ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านเศรษฐกิจและสังคม บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคการเกษตร สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ มุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมมั่นคง ยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับครัวเรือนและชุมชนในท้องถิ่น โดยการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินงานด้านการจัดการ การใช้น้ำในพื้นที่แปลงเกษตร จัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม ให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชและมีรายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจะสะท้อน คุณภาพชีวิตด้านรายได้และความพึงพอใจของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ วางแผนการผลิต ดังนั้น กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตรจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนงานและโครงการต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์รายได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
1-2 1.3 ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน งบประมาณปี 2566 (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566) สถานที่ดำเนินงาน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 1.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 1.4.1 แผนการดำเนินงาน แผนการดำเนินงาน ระยะเวลา ปี 2565 ปี 2566 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1) กำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ 3) ประสานขอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ 4) รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ 5) จัดทำเครื่องมือ (กำหนดขนาดตัวอย่าง/ จัดทำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์/จัดทำ ตารางวิเคราะห์) 6) สำรวจและหรือรวบรวมข้อมูลของเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ 7) วิเคราะห์และป ระเมิน คุณ ภ าพชีวิต ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 8) จัดทำข้อมูลคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ 9) จัดทำ (ร่าง) รายงานการศึกษาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2566 10) ส่งมอบรายงานการศึกษาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2566
1-3 สภาพพื้นฐานทั่วไปของ เกษตรกร ความพึงพอใจ ความคิดเห็น ด้านคุณภาพชีวิตและปัญหา อุปสรรค ปริมาณผลผลิต ต้นทุนและ ผลตอบแทนการผลิตของ เกษตรกร ก่อนและหลังเข้าร่วม โครงการ 1. ระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหลังเข้าร่วม โครงการ 2. การเปลี่ยนแปลงผลผลิต และรายได้ของ เกษตรกรหลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 1.4.2 กรอบแนวคิดในการศึกษา 1.4.3 วิธีการดำเนินงาน 1) ศึกษาข้อมูลและจัดทำเครื่องมือ ศึกษาข้อมูล และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น รายละเอียดโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฏีใหม่แผนที่แสดงระดับคสามเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน จัดทำแผนและวางแผน การปฏิบัติงาน ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำเครื่องมือโดยสร้างแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์รวมทั้งจัดทำตารางประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคม ภาวะการผลิต คุณภาพชีวิตและทัศนคติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เกษตรกร โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) 2.2) ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการเก็บรวบรวม จากเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัยรายงาน บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูล ดังกล่าวมาอ้างอิงและประกอบการศึกษา 3) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2564 ในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 จำนวน 27,117 คน 3.2) กลุ่มตัวอย่าง คือ การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ใช้ ในการศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตและทัศนคติของเกษตรกร คำนวณจาก สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (ภาคผนวก ก) มีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 394 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถสำรวจได้จำนวน 420 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ตามสำนักงานพัฒนาที่ดิน
1-4 เขต 1-12 จำนวน สพข. ละ 35 ตัวอย่าง สำหรับการศึกษาภาวะการผลิต ใช้วิธีควบคุมตัวแปร โดยคัดเลือกเกษตรกรที่ทำการผลิตและได้รับผลผลิตแล้วในปี 2565 จากกลุ่มตัวอย่าง 4) การวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและสังเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด แล้วนำมาประมวลผลในสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) แสดงผล เป็นค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) อัตราส่วน (Ratio) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ได้แก่ การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม ภาวะการผลิต คุณภาพชีวิต และทัศนคติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้ 4.1) การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน สถานภาพ ทางการเงินของครัวเรือนเกษตร สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ของโครงการ 4.2) การวิเคราะห์ภาวะการผลิต ได้แก่ (1) สภาพพื้นที่ ขนาดพื้นที่ ลักษณะสระเก็บน้ำ สภาพการผลิตและ การกระจายผลผลิต โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ (2) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนการผลิต รายได้หรือมูลค่าผลผลิต ผลตอบแทนการผลิต โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ รายได้หรือมูลค่าผลผลิตทั้งหมด = ปริมาณผลผลิต X ราคาผลผลิต ผลตอบแทนการผลิตเหนือต้นทุนเงินสด = ผลต่างระหว่างรายได้หรือมูลค่า ผลผลิตที่ได้ทั้งหมดกับต้นทุนที่ เป็นเงินสดทั้งหมด (3) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ในการลงทุนว่าควรจะลงทุนในการผลิตหรือไม่ ได้แก่ อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C Ratio) หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของผลตอบแทนกับต้นทุนทั้งหมด ตลอดช่วงปีที่ทำการผลิต โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใด ๆ คือ B/C Ratio ที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถ้า B/C Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิต มากกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไป หรือถ้า B/C Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับ จากการผลิตเท่ากับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไปพอดี (กฤช, 2557) 4.3) การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตและทัศนคติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ (1) วิเคราะห์คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แนวคิด ตามทฤษฎีคุณภาพชีวิตของ Ferranc and Power (1992) มาประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดรูปแบบการประเมิน คุณภาพชีวิตของเกษตรกร จำนวน 5 ด้าน ได้แก่
1-5 - ด้านสุขภาพ คือ สถานภาพของร่างกายและความสามารถในหน้าที่ที่จะ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กิจวัตรประจำวัน การแสดงออกทางบทบาททางสังคม ได้แก่ การดูแลสุขภาพ ตนเอง การพักผ่อน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลาว่าง การมีกิจกรรมในครอบครัว และการเดินทาง - ด้านสังคมเศรษฐกิจ คือ สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของบุคคล เพราะบุคคลต้องอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องการที่อยู่อาศัย งานทำ และเงินเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ สภาพความเป็นอยู่ รายได้ การทำงาน เพื่อนร่วมงาน และที่อยู่อาศัย - ด้านจิตวิญญาณ หรือจิตใจ คือ สถานภาพของการรับรู้ การตอบสนอง ทางอารมณ์หรือทางวิญญาณต่อสิ่งเร้าที่มากระทบในชีวิต ได้แก่ ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตความสงบทาง จิตใจการบรรลุเป้าหมายชีวิตและความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ - ด้านครอบครัว คือ สภาพของสัมพันธภาพในครอบครัวของบุคคล ประกอบด้วยความสุขในครอบครัว ภาวะสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว ได้แก่ ความสุขในครอบครัว ความสัมพันธ์กับคู่สมรส บุตร และภาวะสุขภาพของครอบครัว - ด้านสิ่งแวดล้อม คือ การมีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์สะอาดเป็นระเบียบ ปราศจากมลภาวะในดิน น้ำ อากาศ และเสียง มีทรัพยากรที่จําเป็นแก่การดำรงชีวิตและการคมนาคม ที่สะดวก ป ระเมิ น ด้ วยแ บ บ ม าต ราส่ วน ป ระม าณ ค่ า (Rating Scale) ตัวเลือก 4 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) โดยกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ (ศุภรทิพย์นิลารักษ์, 2557) มากที่สุด ให้คะแนน 4 คะแนน มาก ให้คะแนน 3 คะแนน น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน การพิจารณาค่าระดับคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของ เกษตรกร โดยกำหนดช่วงคะแนนค่าเฉลี่ยในการแปลความหมายข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย 3.26 - 4.00 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด 2.51 - 3.25 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก 1.76 - 2.50 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย 1.00 - 1.75 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) วิเคราะห์ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประเมินด้วย แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีตัวเลือก 4 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) โดยกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้(กัญญ์พัสวีกล่อมธงเจริญ, 2560) มากที่สุด ให้คะแนน 4 คะแนน มาก ให้คะแนน 3 คะแนน น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
1-6 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน การพิจารณาค่าระดับคะแนนความพึงพอใจ โดยกำหนดช่วงคะแนน ค่าเฉลี่ยในการแปลความหมายข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย 3.26 - 4.00 ระดับพึงพอใจมากที่สุด 2.51 - 3.25 ระดับพึงพอใจมาก 1.76 - 2.50 ระดับพึงพอใจน้อย 1.00 - 1.75 ระดับพึงพอใจน้อยที่สุด (3) การวิเคราะห์ทัศนคติของเกษตรกรต่อการแนะนำและเผยแพร่โครงการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโครงการ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ 5) การเสนอรายงาน นำเสนอในรูปแบบของการบรรยายประกอบตาราง โดยใช้ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนรายงานการศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อนำเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 1.5 นิยามศัพท์ โครงการ หมายถึง โครงการ1 ตำบล1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคม ที่ตนอยู่ได้อย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถเผชิญ ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถ ใช้ศักยภาพส่วนบุคคลสร้างสรรค์พัฒนาตนเอง และสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เกษตรทฤษฎีใหม่ หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลายชนิด ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน (1) พื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 30% (2) พื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 30% (3) พื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ประมาณ 30% และ (4) พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง ประมาณ 10% เช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ยุ้งฉาง เป็นต้น โดยสามารถปรับสัดส่วนพื้นที่ และเพิ่มเติมกิจกรรมการผลิตได้ตามความ เหมาะสมของสภาพพื้นที่ (สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2563)
1-7 เกษตรผสมผสาน หมายถึง การผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป (ข้าว พืชอื่น ประมง และปศุสัตว์) เกษตรกร หมายถึง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่ ครัวเรือน/ ครัวเรือนเกษตร หมายถึง ครัวเรือนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ หมอดินอาสา หมายถึง เกษตรกรที่เป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ดูแลรักษาทรัพยากรของท้องถิ่น โดยปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาที่ดิน และเผยแพร่ความรู้ด้าน การพัฒนาที่ดินในชุมชน เป็นตัวอย่างให้กับ เกษตรกรข้างเคียงและสามารถให้คำแนะนำ เกษตรกรเคียงคู่ไปกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ของกรมพัฒนาที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) โฉนด/น.ส.4 หมายถึง หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รับรอง ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2479 (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2565) น.ส.3/น.ส.3ก. หมายถึง หนังสือรับรองการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และสามารถนำไปใช้ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การจำนอง ขายฝาก โอน เป็นต้น แต่ต้องรอ ประกาศภายใน 30 วัน สำหรับ น.ส.3และไม่ต้อง รอประกาศสำหรับ น.ส.3ก. (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร,2565) ส.ป.ก.4-01 หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์การทำประโยชน์เพื่อการเกษตร ตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน ที่ออกให้โดย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก) ซึ่งเกษตรกรมีสิทธิ์นำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ ค้ำป ระกันเงินกู้กับ ธน าคาร (ธ.ก.ส) ได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำไปขายหรือยกให้ผู้อื่น เว้นแต่จะตกทอดเป็ นมรดกให้ ลู ก-หลาน เพื่อทำการเกษตรเท่านั้น (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2565)
บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป การศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตร ทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร (เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตร (รายได้ ค่าใช้จ่าย การกู้ยืมเงิน) สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตรและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 57.14 และเพศหญิงร้อยละ 42.86 อายุเฉลี่ย 50 ปี อยู่ในช่วงอายุ 41 – 50 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.86 รองลงมาคือ 51 – 60 ปี ร้อยละ 34.29 31 – 40 ปี ร้อยละ 11.43 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 34.29 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 25.71 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 22.86 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 85.71 และเป็นหมอดินอาสา ร้อยละ 14.29 (ตารางที่ 2-1) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 37.14 และเพศหญิงร้อยละ 62.86 อายุเฉลี่ย 55 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 57.14 รองลงมาคือ 41 –50 ปี ร้อยละ 22.86 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.14 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 22.86 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 14.29 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 77.14 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 22.86 (ตารางที่ 2-1) 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 48.57 และเพศหญิงร้อยละ 51.43 อายุเฉลี่ย 51 ปี อยู่ในช่วงอายุ 41 – 50 ปีและช่วงอายุ 51 – 60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.86 เท่ากัน รองลงมาคือ 31 - 40 ปี ร้อยละ 8.57 และ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.71 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 34.29 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 31.43 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 22.85 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 77.14 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 22.86 (ตารางที่2-1)
2-2 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 51.43 และเพศหญิงร้อยละ 48.57 อายุเฉลี่ย 50 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 – 60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 45.71 รองลงมาคือ 31 – 40 ปี ร้อยละ 22.86 41 – 50 ปีร้อยละ 17.14 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตร วิชาชีพร้อยละ 37.14 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 25.71 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 20.00 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 94.29 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 5.71 (ตารางที่2-1) 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 51.43 และเพศหญิงร้อยละ 48.57 อายุเฉลี่ย 51 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 31.43 รองลงมาคือ 41 –50 ปีร้อยละ 28.57 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.00 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ร้อยละ 37.14 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 34.29 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 11.43 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 91.43 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 8.57 (ตารางที่2-1) 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 42.86 และเพศหญิงร้อยละ 57.14 อายุเฉลี่ย 52 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 34.29 รองลงมาคือ 41 –50 ปี ร้อยละ 31.43 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.00 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 31.43 รองลงมาคือ ระดับ ปริญญาตรีร้อยละ 20.00 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 17.14 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดไม่ได้เป็นหมอดินอาสา (ตารางที่ 2-1) 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 62.86 และเพศหญิงร้อยละ 37.14 อายุเฉลี่ย 53 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 48.57รองลงมาคือ 41 –50 ปีร้อยละ 25.71และ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.15 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ร้อยละ 31.43 รองลงมาคือระดับปริญญาตรีร้อยละ 25.72 ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 17.14 เท่ากัน เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 80.00 และเป็น หมอดินอาสาร้อยละ 20.00 (ตารางที่ 2-1) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 51.43 และเพศหญิงร้อยละ 48.57 อายุเฉลี่ย 51 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 48.57 รองลงมาคือ 41 –50 ปี ร้อยละ 31.43 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.43 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2-3 ร้อยละ 28.57 เท่ากัน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 25.71 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 8.58 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 85.71 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 14.29 (ตารางที่2-1) 9) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 57.14 และเพศหญิงร้อยละ 42.86 อายุเฉลี่ย 52 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.86 รองลงมาคือ 41 –50 ปี ร้อยละ 31.43 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 14.28 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 31.43 รองลงมาคือ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และปริญญาตรีร้อยละ25.71 เท่ากัน ระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงร้อยละ 11.43 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสา ร้อยละ 88.57 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 11.43 (ตารางที่ 2-1) 10) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 80.00 และเพศหญิงร้อยละ 20.00 อายุเฉลี่ย 53 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 34.29 รองลงมาคือ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.71 41 –50 ปี ร้อยละ 22.86 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 34.29 รองลงมาคือ ระดับ ปริญญาตรีร้อยละ 25.71 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 14.29 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 94.29 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 5.71 (ตารางที่2-1) 11) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 54.29 และเพศหญิงร้อยละ 45.71 อายุเฉลี่ย 53 ปี อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากที่สุด ร้อยละ 31.43 รองลงมาคือ 51 - 60 ปี ร้อยละ 28.57 41 –50 ปี ร้อยละ 25.71 เป็นต้น ส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ ระดับประถมศึกษาร้อยละ 22.86 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 14.29 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 80.00 และเป็นหมอดินอาสา ร้อยละ 20.00 (ตารางที่ 2-1) 12) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 65.71 และเพศหญิงร้อยละ 34.29 อายุเฉลี่ย 50 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ 41 - 50 ปี ร้อยละ 28.57 31 –40 ปี ร้อยละ 14.29 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ22.86ระดับประถมศึกษาร้อยละ 17.14 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 94.29 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 5.71 (ตารางที่ 2-1)
2-4 13) เฉลี่ยรวม เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 55.00 และเพศหญิงร้อยละ 45.00 อายุเฉลี่ย 52 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51 –60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 40.71 รองลงมาคือ 41 –50 ปี ร้อยละ 29.29 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.43 เป็นต้น ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 28.33 รองลงมาคือ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 25.48 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 24.05 เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นหมอดินอาสาร้อยละ 87.38 และเป็นหมอดินอาสาร้อยละ 12.62 (ตารางที่2-1)
2-5 ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) ตารางที่ 2-1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 หน่วย: ร้อยละ รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 เฉลี่ยรวม เพศ ชาย 57.14 37.14 48.57 51.43 51.43 42.86 62.86 51.43 57.14 80.00 54.29 65.71 55.00 หญิง 42.86 62.86 51.43 48.57 48.57 57.14 37.14 48.57 42.86 20.00 45.71 34.29 45.00 อายุเฉลี่ย (ปี) 50.37 54.54 50.83 49.74 51.49 51.51 52.74 50.80 52.37 53.06 52.91 50.40 51.73 ช่วงอายุ ไม่เกิน 20 ปี - - - - - - - 2.86 - - - - 0.24 21 – 30 ปี - - - 2.86 2.86 5.71 2.86 5.71 2.86 8.57 2.86 5.71 3.33 31 – 40 ปี 11.43 2.86 8.57 22.86 17.14 8.57 5.71 - 8.57 8.57 11.43 14.29 10.00 41 – 50 ปี 42.86 22.86 42.86 17.14 28.57 31.43 25.71 31.43 31.43 22.86 25.71 28.57 29.29 51 – 60 ปี 34.29 57.14 42.86 45.71 31.43 34.29 48.57 48.57 42.86 34.29 28.57 40.00 40.71 60 ปีขึ้นไป 11.42 17.14 5.71 11.43 20.00 20.00 17.15 11.43 14.28 25.71 31.43 11.43 16.43 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 25.71 40.00 31.43 25.71 34.29 31.43 17.14 28.57 31.43 34.29 22.86 17.14 28.33 มัธยมศึกษาตอนต้น 8.57 8.57 8.57 11.43 5.71 8.57 17.14 28.57 2.86 8.57 2.86 11.43 10.24 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 22.86 22.86 34.29 37.14 37.14 17.14 31.43 25.71 25.71 14.29 14.29 22.86 25.48 อนุปริญญา/ปวส. 5.71 2.86 2.86 2.86 8.57 8.57 8.57 8.57 11.43 11.43 5.71 5.71 6.90 ปริญญาตรี 34.29 14.29 22.85 20.00 11.43 20.00 25.72 8.58 25.71 25.71 40.00 40.00 24.05 สูงกว่าปริญญาตรี 2.86 11.42 - 2.86 2.86 14.29 - - 2.86 5.71 14.28 2.86 5.00 สถาพทางสังคม (หมอดินอาสา) เป็นหมอดินอาสา 14.29 22.86 22.86 5.71 8.57 - 20.00 14.29 11.43 5.71 20.00 5.71 12.62 ไม่เป็นหมอดินอาสา 85.71 77.14 77.14 94.29 91.43 100.00 80.00 85.71 88.57 94.29 80.00 94.29 87.38
2-6 2.2 การถือครองที่ดินของเกษตรกร 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.34 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 3.13 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 93.59 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.21 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 6.41 (ตารางที่ 2-2) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.89 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็น ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 2.82 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 72.43 รองลงมาคือ โฉนดเฉลี่ย 1.07 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 27.57 (ตารางที่ 2-2) 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.86 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 2.80 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 72.59 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.66 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 17.04 น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.23 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 5.93 และ น.ส.3 เฉลี่ย 0.17 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 4.44 (ตารางที่ 2-2) 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 4.16 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 3.13 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 75.26 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.63 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 15.12 และ น.ส.3 เฉลี่ย 0.40 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.62 (ตารางที่ 2-2) 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.91 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 2.49 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 63.50 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 1.14 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 29.20 น.ส.3ก. และ น.ส.3 เฉลี่ย 0.14 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 3.65 เท่ากัน (ตารางที่ 2-2) 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.29 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 2.69 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 81.74 รองลงมาคือ น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.37 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 11.30 และ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.23 ไร่ หรือร้อยละ 6.96 (ตารางที่ 2-2)
2-7 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.61 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 3.19 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 88.14 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.42 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 11.86 (ตารางที่ 2-3) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.46 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 2.66 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 76.86 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.49 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 14.05 และ น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.31 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.09 (ตารางที่ 2-3) 9) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 4.07 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองเป็นโฉนดเฉลี่ย 3.46 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 84.91 รองลงมาคือ น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.31 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 7.72 และ น.ส.3 เฉลี่ย 0.30 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 7.37 (ตารางที่2-3) 10) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.53 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 3.16 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 89.47 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.37 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 10.53 (ตารางที่ 2-3) 11) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.41 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญ ในที่ดินของตนเองเป็นโฉนดเฉลี่ย 1.93 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 56.49 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.93 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 27.20 และ น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.55 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 16.31 (ตารางที่ 2-3) 12) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.23 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญ ในที่ดินของตนเองเป็นโฉนดเฉลี่ย 2.69 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 83.19 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.29 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 8.85 และ น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.25 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 7.96 (ตารางที่ 2-3)
2-8 13) เฉลี่ยรวม เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3.65 ไร่ต่อครัวเรือน หนังสือสำคัญในที่ดิน ของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดเฉลี่ย 2.70 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 73.98 รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 0.68 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 18.71 น.ส.3ก. เฉลี่ย 0.18 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 5.00 และ น.ส.3 เฉลี่ย 0.09 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 2.31 (ตารางที่2-3)
2-9 ตารางที่ 2-2 การถือครองที่ดินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี 2566 รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน ขนาดพื้นที่ 3.34 - 3.89 - 3.86 - 4.16 - 3.91 - 3.29 - หนังสือสำคัญในที่ดินของตนเอง โฉนด 3.13 93.59 1.07 27.57 2.80 72.59 3.13 75.26 2.49 63.50 2.69 81.74 ส.ป.ก.4-01 0.21 6.41 2.82 72.43 0.66 17.04 0.63 15.12 1.14 29.20 0.23 6.96 น.ส.3ก. - - - - 0.23 5.93 - - 0.14 3.65 0.37 11.30 น.ส.3 - - - - 0.17 4.44 0.40 9.62 0.14 3.65 - - ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)
2-10 ตารางที่ 2-3 การถือครองที่ดินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 และเฉลี่ยรวม ปี 2566 รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เฉลี่ยรวม เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน ขนาดพื้นที่ 3.61 - 3.46 - 4.07 - 3.53 - 3.41 - 3.23 - 3.65 - หนังสือสำคัญในที่ดินของตนเอง โฉนด 3.19 88.14 2.66 76.86 3.46 84.91 3.16 89.47 1.93 56.49 2.69 83.19 2.70 73.98 ส.ป.ก.4-01 0.42 11.86 0.49 14.05 - - 0.37 10.53 0.93 27.20 0.29 8.85 0.68 18.71 น.ส.3ก. - - 0.31 9.09 0.31 7.72 - - 0.55 16.31 0.25 7.96 0.18 5.00 น.ส.3 - - - - 0.30 7.37 - - - - - - 0.09 2.31 ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)
2-11 2.3 สถานภาพของครัวเรือนเกษตร 2.3.1 สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตร 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 164,754.29 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 85,514.29 บาท หรือร้อยละ 51.90 และรายได้นอกภาคการเกษตร 79,240.00 บาท หรือร้อยละ 48.10 มีรายจ่ายเฉลี่ย 98,742.86 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 59.93 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตร มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 20.00 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 360,000.00 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 60.00 รองลงมาคือ สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มออมทรัพย์ร้อยละ 20.00 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.90 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-4) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 218,342.86 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 120,542.86 บาท หรือร้อยละ 55.21 และรายได้นอกภาคการเกษตร 97,800.00 บาท หรือร้อยละ 44.79 มีรายจ่ายเฉลี่ย 119,400.00 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 54.68 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 14.29 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 150,714.29 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 57.14 รองลงมาคือกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 28.57และมีการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบคือ ญาติพี่น้องร้อยละ 14.29อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ยร้อยละ 5.87 บาทต่อปี(ตารางที่2-4) 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 200,382.86 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 119,668.57 บาท หรือร้อยละ 59.72 และรายได้นอกภาคการเกษตร 80,714.29 บาท หรือร้อยละ 40.28 มีรายจ่ายเฉลี่ย 93,257.14 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 46.54 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 45.71ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 401,000.00 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 87.50 รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 12.50 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.84 บาทต่อปี(ตารางที่2-4)
2-12 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 168,980.00 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 69,017.14 บาท หรือร้อยละ 40.84 และรายได้นอกภาคการเกษตร 99,962.86 บาท หรือร้อยละ 59.16 มีรายจ่ายเฉลี่ย 93,085.71 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 55.09 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 40.00 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้ เฉลี่ย 120,571.43 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 64.29 รองลงมาคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 28.57 สหกรณ์การเกษตร และกลุ่มออมทรัพย์ร้อยละ 7.14 เท่ากัน และมีการกู้ยืมเงินจาก แหล่งเงินกู้นอกระบบคือ ญาติพี่น้องร้อยละ 7.14 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 5.25 บาทต่อปี (ตารางที่2-4) 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 210,756.57 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 108,528.00 บาท หรือร้อยละ 51.49 และรายได้นอกภาคการเกษตร 102,228.57 บาท หรือร้อยละ 48.51 มีรายจ่ายเฉลี่ย 152,914.29 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 72.55 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 34.29 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 256,250.00 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 75.00 รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 25.00 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.13 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-4) 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 191,651.43 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 95,537.14 บาท หรือร้อยละ 49.85 และรายได้นอกภาคการเกษตร 96,114.29 บาท หรือร้อยละ 50.15 มีรายจ่ายเฉลี่ย 93,154.29 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 48.61 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 25.71 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้ เฉลี่ย 545,000.00 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 66.67 รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 22.22 สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มออมทรัพย์ร้อยละ 11.11 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ยร้อยละ 6.78 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-4) 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 146,100.00 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 85,214.29 บาท หรือร้อยละ 58.33 และรายได้นอกภาคการเกษตร 60,885.71 บาท หรือร้อยละ 41.67 มีรายจ่ายเฉลี่ย 115,200.00 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้
2-13 ร้อยละ 78.85 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 31.43 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 256,363.64 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 54.55 รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 36.36 สหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 9.09 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.32 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-5) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 140,085.72 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 68,142.86 บาท หรือร้อยละ 48.64 และรายได้นอกภาคการเกษตร 71,942.86 บาท หรือร้อยละ 51.36 มีรายจ่ายเฉลี่ย 85,851.43 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 61.28 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 34.29 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้ เฉลี่ย 399,166.67 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 66.67 รองลงมาคือ สหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 16.67 กองทุนหมู่บ้าน และบริษัทสินเชื่อเอกชนร้อยละ 8.33 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ร้อยละ 7.92 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-5) 9) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 246,131.43 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 188,600.00 บาท หรือร้อยละ 76.63 และรายได้นอกภาคการเกษตร 57,531.43 บาท หรือร้อยละ 23.37 มีรายจ่ายเฉลี่ย 140,125.71 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 56.93 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 68.57 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 440,208.33 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 75.00 รองลงมาคือ กองทุนหมูบ้าน ร้อยละ 37.50 ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 8.33 และสหกรณ์การเกษตรร้อยละ 4.17 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ร้อยละ 6.41 บาทต่อปี(ตารางที่2-5) 10) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 405,605.72 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 292,942.86 บาท หรือร้อยละ 72.22 และรายได้นอกภาคการเกษตร 112,662.86 บาท หรือร้อยละ 27.78 มีรายจ่ายเฉลี่ย 141,360.00 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 34.85 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 51.43 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้ เฉลี่ย 631,111.11 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 77.78 รองลงมาคือ บริษัทสินเชื่อ
2-14 เอกชนร้อยละ 11.11 สหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน และธนาคารพานิชย์ร้อยละ 5.56 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.83 บาทต่อปี(ตารางที่2-5) 11) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 276,914.29 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 176,200.00 บาท หรือร้อยละ 63.63 และรายได้นอกภาคการเกษตร 100,714.29 บาท หรือร้อยละ 36.37 มีรายจ่ายเฉลี่ย 182,742.86 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 65.99 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 20.00 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 732,857.14 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบทั้งหมด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 71.43 รองลงมาคือ กลุ่มออมทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 14.29 เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.57 บาทต่อปี(ตารางที่2-5) 12) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 293,594.28 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 135,377.14 บาท หรือร้อยละ 46.11 และรายได้นอกภาคการเกษตร 158,217.14 บาท หรือร้อยละ 53.89 มีรายจ่ายเฉลี่ย 147,737.14 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 50.32 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 5.71 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 600,000.00 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบซึ่งกู้ยืม จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ร้อยละ 6.63 บาทต่อปี(ตารางที่ 2-5) 13) เฉลี่ยรวม ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เฉลี่ย 221,941.62 บาทต่อปี แบ่งเป็นรายได้ ในภาคการเกษตร 128,773.76 บาท หรือร้อยละ 58.02 และรายได้นอกภาคการเกษตร 93,167.86 บาท หรือร้อยละ 41.98 มีรายจ่ายเฉลี่ย 121,964.29 บาทต่อปี และมีอัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ร้อยละ 54.95 ด้านภาวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 32.62ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จำนวนเงินกู้เฉลี่ย 400,029.20 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบ ได้แก่ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 67.88 รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 24.09 สหกรณ์การเกษตรร้อยละ 5.84 ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 4.38 กลุ่มออมทรัพย์และบริษัทสินเชื่อเอกชน ร้อยละ 2.19 เท่ากัน และมีการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบคือ ญาติพี่น้องร้อยละ 1.46อัตราดอกเบี้ย เงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.52 บาทต่อปี (ตารางที่2-5)
2-15 ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) ตารางที่ 2-4 สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี 2566 รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ รายได้ของครัวเรือนเกษตร รายได้เฉลี่ยต่อปี 164,754.29 - 218,342.86 - 200,382.86 - 168,980.00 - 210,756.57 - 191,651.43 - ในภาคการเกษตร 85,514.29 51.90 120,542.86 55.21 119,668.57 59.72 69,017.14 40.84 108,528.00 51.49 95,537.14 49.85 นอกภาคการเกษตร 79,240.00 48.10 97,800.00 44.79 80,714.29 40.28 99,962.86 59.16 102,228.57 48.51 96,114.29 50.15 รายจ่ายของครัวเรือนเกษตร รายจ่ายเฉลี่ยต่อปี 98,742.86 - 119,400.00 - 93,257.14 - 93,085.71 - 152,914.29 - 93,154.29 - อัตราส่วนของรายจ่ายต่อรายได้ - 59.93 - 54.68 - 46.54 - 55.09 - 72.55 - 48.61 ภาวะหนี้สินและแหล่งเงินกู้ของครัวเรือนเกษตร ครัวเรือนที่ไม่มีการกู้ยืมเงิน - 80.00 - 85.71 - 54.29 - 60.00 - 65.71 - 74.29 ครัวเรือนที่มีการกู้ยืมเงิน - 20.00 - 14.29 - 45.71 - 40.00 - 34.29 - 25.71 จำนวนเงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 360,000.00 - 150,714.29 - 401,000.00 - 120,571.43 - 256,250.00 - 545,000.00 - แหล่งเงินกู้ของครัวเรือนเกษตร แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. - 60.00 - 57.14 - 87.50 - 28.57 - 75.00 - 66.67 สหกรณ์การเกษตร - 20.00 - - - - - 7.14 - - - 11.11 กองทุนหมู่บ้าน - - - 28.57 - 12.50 - 64.29 - 25.00 - 22.22 กลุ่มออมทรัพย์ - 20.00 - - - - - 7.14 - - - 11.11 แหล่งเงินกู้นอกระบบ ญาติพี่น้อง - - - 14.29 - - - 7.14 - - - - อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ย - 6.90 - 5.87 - 6.84 - 5.25 - 6.13 - 6.78
2-16 ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) ตารางที่ 2-5สถานภาพด้านการเงินของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 และเฉลี่ยรวม ปี 2566 รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เฉลี่ยรวม เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ บาท ร้อยละ รายได้ของครัวเรือนเกษตร รายได้เฉลี่ยต่อปี 146,100.00 - 140,085.72 - 246,131.43 - 405,605.72 - 276,914.29 - 293,594.28 - 221,941.62 - ในภาคการเกษตร 85,214.29 58.33 68,142.86 48.64 188,600.00 76.63 292,942.86 72.22 176,200.00 63.63 135,377.14 46.11 128,773.76 58.02 นอกภาคการเกษตร 60,885.71 41.67 71,942.86 51.36 57,531.43 23.37 112,662.86 27.78 100,714.29 36.37 158,217.14 53.89 93,167.86 41.98 รายจ่ายของครัวเรือนเกษตร รายจ่ายเฉลี่ยต่อปี 115,200.00 - 85,851.43 - 140,125.71 - 141,360.00 - 182,742.86 - 147,737.14 - 121,964.29 - อัตราส่วนของรายจ่ายต่อรายได้ - 78.85 - 61.28 - 56.93 - 34.85 - 65.99 - 50.32 - 54.95 ภาวะหนี้สินและแหล่งเงินกู้ของครัวเรือนเกษตร ครัวเรือนที่ไม่มีการกู้ยืมเงิน - 68.57 - 65.71 - 31.43 - 48.57 - 80.00 - 94.29 - 67.38 ครัวเรือนที่มีการกู้ยืมเงิน - 31.43 - 34.29 - 68.57 - 51.43 - 20.00 - 5.71 - 32.62 จำนวนเงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 256,363.64 - 399,166.67 - 440,208.33 - 631,111.11 - 732,857.14 - 600,000.00 - 400,029.20 - แหล่งเงินกู้ของครัวเรือนเกษตร แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. - 54.55 - 66.67 - 75.00 - 77.78 - 71.43 - 100.00 - 67.88 สหกรณ์การเกษตร - 9.09 - 16.67 - 4.17 - 5.56 - - - - - 5.84 กองทุนหมู่บ้าน - 36.36 - 8.33 - 37.50 - 5.56 - - - - - 24.09 กลุ่มออมทรัพย์ - - - - - - - - - 14.29 - - - 2.19 ธนาคารพาณิชย์ - 9.09 - - - 8.33 - 5.56 - 14.29 - - - 4.38 บริษัทสินเชื่อเอกชน - - - 8.33 - - - 11.11 - - - - - 2.19 แหล่งเงินกู้นอกระบบ ญาติพี่น้อง - - - - - - - - - - - - - 1.46 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ย - 6.32 - 7.92 - 6.41 - 6.83 - 6.57 - 6.63 - 6.52
2-17 2.3.2 สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตร 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.74 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.83 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 48.93 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 33 ครัวเรือน หรือร้อยละ 94.29 และมีแรงงานคืนถิ่น 2 ครัวเรือน หรือร้อยละ 5.71 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 3 คน (ตารางที่ 2-6) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.34 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.03 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 60.77 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 30 ครัวเรือน หรือร้อยละ 85.71 และมีแรงงานคืนถิ่น 5 ครัวเรือน หรือร้อยละ 14.29 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 7 คน (ตารางที่ 2-6) 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.11 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.37 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 57.66 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 30 ครัวเรือน หรือร้อยละ 85.71 และมีแรงงานคืนถิ่น 5 ครัวเรือน หรือร้อยละ 14.29 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 10 คน (ตารางที่ 2-6) 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.20 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.03 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 48.33 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 34 ครัวเรือน หรือร้อยละ 97.14 และมีแรงงานคืนถิ่น 1 ครัวเรือน หรือร้อยละ 2.86 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 1 คน (ตารางที่2-6)
2-18 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.89 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.40 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 61.70 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 32 ครัวเรือน หรือร้อยละ 91.43 และมีแรงงานคืนถิ่น 3 ครัวเรือน หรือร้อยละ 8.57 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 6 คน (ตารางที่ 2-6) 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.63 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.31 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 63.63 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 29 ครัวเรือน หรือร้อยละ 82.86 และมีแรงงานคืนถิ่น 6 ครัวเรือน หรือร้อยละ 17.14 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 7คน (ตารางที่2-6) 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.57 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.89 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 52.94 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 31 ครัวเรือน หรือร้อยละ 88.57 และมีแรงงานคืนถิ่น 4 ครัวเรือน หรือร้อยละ 11.43 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 4คน (ตารางที่2-7) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.71 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.14 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 57.68 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 32 ครัวเรือน หรือร้อยละ 91.43 และมีแรงงานคืนถิ่น 3 ครัวเรือน หรือร้อยละ 8.57 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 3 คน (ตารางที่2-7)
2-19 9) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.69 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.29 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 62.06 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร หลังเข้าร่วมโครงการครัวเรือน เกษตรไม่มีแรงงานคืนถิ่น (ตารางที่2-7) 10) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.11 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.06 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 50.12 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 29 ครัวเรือน หรือร้อยละ 82.86 และมีแรงงานคืนถิ่น 6 ครัวเรือน หรือร้อยละ 17.14 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 8คน (ตารางที่2-7) 11) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.17 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.09 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 65.93 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 29 ครัวเรือน หรือร้อยละ 82.86 และมีแรงงานคืนถิ่น 6 ครัวเรือน หรือร้อยละ 17.14 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 6คน (ตารางที่2-7) 12) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.71 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.00 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 53.91 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด(ตารางที่2-7) (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 32 ครัวเรือน หรือร้อยละ 91.43 และมีแรงงานคืนถิ่น 3 ครัวเรือน หรือร้อยละ 8.57 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 3คน (ตารางที่2-7)
2-20 13) เฉลี่ยรวม (1) ครัวเรือนเกษตรมีสมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน ประกอบด้วย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.74 คนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.12 คนต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 56.68 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด (2) สถานภาพแรงงานคืนถิ่นของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ครัวเรือนที่ไม่มี แรงงานคืนถิ่น 376 ครัวเรือน หรือร้อยละ 89.52 และมีแรงงานคืนถิ่น 44 ครัวเรือน หรือร้อยละ 10.48 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้มีแรงงานคืนถิ่นในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 58คน (ตารางที่2-7)
2-21 ตารางที่ 2-6 สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 ปี 2566 หน่วย: คน/ครัวเรือน รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ สมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเกษตร (คน) สมาชิกในครัวเรือน 3.74 - 3.34 - 4.11 - 4.20 - 3.89 - 3.63 - แรงงานภาคการเกษตร 1.83 48.93 2.03 60.77 2.37 57.66 2.03 48.33 2.40 61.70 2.31 63.64 ครัวเรือนเกษตรที่มีแรงงานคืนถิ่นหลังเข้าร่วมโครงการ (ครัวเรือน) ไม่มีแรงงานคืนถิ่น 33.00 94.29 30.00 85.71 30.00 85.71 34.00 97.14 32.00 91.43 29.00 82.86 มีแรงงานคืนถิ่น 2.00 5.71 5.00 14.29 5.00 14.29 1.00 2.86 3.00 8.57 6.00 17.14 แรงงานคืนถิ่นในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ (คน) 3.00 - 7.00 - 10.00 - 1.00 - 6.00 - 7.00 - ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-6 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 0
2-22 ตารางที่ 2-7 สถานภาพด้านแรงงานของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 และเฉลี่ยรวม ปี 2566 หน่วย: คน/ครัวเรือน รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เฉลี่ยรวม เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ สมาชิกและแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเกษตร (คน) สมาชิกในครัวเรือน 3.57 - 3.71 - 3.69 - 4.11 - 3.17 - 3.71 - 3.74 - แรงงานภาคการเกษตร 1.89 52.94 2.14 57.68 2.29 62.06 2.06 50.12 2.09 65.93 2.00 53.91 2.12 56.68 .ครัวเรือนเกษตรที่มีแรงงานคืนถิ่นหลังเข้าร่วมโครงการ (ครัวเรือน) ไม่มีแรงงานคืนถิ่น 31.00 88.57 32.00 91.43 35.00 100.00 29.00 82.86 29.00 82.86 32.00 91.43 376.00 89.52 มีแรงงานคืนถิ่น 4.00 11.43 3.00 8.57 - - 6.00 17.14 6.00 17.14 3.00 8.57 44.00 10.48 แรงงานคืนถิ่นในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ (คน) 4.00 - 3.00 - - - 8.00 - 6.00 - 3.00 - 58.00 - ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7-12 (2566) และ จากการคำนวณ (2566) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)
2-23 2.4 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 74.29 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 34.29 หมอดินอาสาร้อยละ 22.86 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเพื่อน้อมนำ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 82.86 ต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 71.43 น้ำไม่เพียงพอ ต่อการเกษตรร้อยละ 51.43 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 57.14 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 40.00 หมอดินอาสา และสื่อประชาสัมพันธ์ร้อยละ 37.14เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ ให้เหตุผลว่าเพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 82.86 ต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ ร้อยละ 74.29 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 71.43 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 48.57 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 42.86 หมอดินอาสา ร้อยละ 31.43 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 77.14 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 74.29 ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.00 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 68.57 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 37.14 เท่ากัน สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ร้อยละ 14.29 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 85.71 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 51.48 ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้น และหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการบางส่วนร้อยละ 42.86 เท่ากัน เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 57.14 ผู้นำท้องถิ่น และหมอดินอาสาร้อยละ 42.86 เท่ากัน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐร้อยละ 22.86 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 77.14 เพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2-24 ร้อยละ 74.29 ต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำและต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.43 เท่ากัน เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 48.57 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 42.86 เจ้าหน้าที่หน่วยงาน ภาครัฐร้อยละ 28.57 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 85.71 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 68.57 และทำตาม เพื่อนบ้านร้อยละ 65.71 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 71.43 สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ร้อยละ 45.71 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 42.86 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจ เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 91.43 ต้องการเพิ่มพื้นที่ กักเก็บน้ำ และน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 85.71 เท่ากัน ทำตามเพื่อนบ้านร้อยละ 45.71 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 54.29 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 45.71 หน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 31.43 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำและเพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 77.14 เท่ากัน ต้องการมีรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.71 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 62.86 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 9) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 65.71 ผู้นำท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 37.14 เท่ากัน เพื่อนบ้านร้อยละ 31.43 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 88.57 เพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 74.29 น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรร้อยละ 68.57 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 10) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูล ข่าวสารของโครงการจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐร้อยละ 34.29 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 28.57 สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ร้อยละ 11.43 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกร
2-25 ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 94.29 น้ำไม่เพียงพอ ต่อการเกษตรร้อยละ 77.14 เพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 25.71 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 11) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 62.86 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 28.57 หมอดินอาสา ร้อยละ 22.86 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 77.14 เพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 65.71 น้ำไม่เพียงพอ ต่อการเกษตรร้อยละ 54.29 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 12) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 94.29 หมอดินอาสาร้อยละ 48.57 เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐร้อยละ 45.71 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมดให้เหตุผล ว่าเพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.86 ต้องการเพิ่มพื้นที่ กักเก็บน้ำร้อยละ 77.14 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8) 13) เฉลี่ยรวม เกษตรกรทั้งหมดรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร ของโครงการจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 57.14 ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 39.29 เจ้าหน้าที่หน่วยงาน ภาครัฐร้อยละ 26.43 เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าต้องการ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำร้อยละ 80.48 เพื่อน้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 68.33 น้ำไม่เพียงพอ ต่อการเกษตรร้อยละ 65.71 เป็นต้น (ตารางที่ 2-8)
2-26 ตารางที่ 2-8 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2566 หน่วย: ร้อยละ รายการ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เฉลี่ยรวม เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 เขต 7 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 เขต 12 การรับรู้ข่าวสารและข้อมูลโครงการฯ ของเกษตรกร รู้จัก/เคยได้ยิน 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 ไม่รู้จัก/ไม่เคยได้ยิน - - - - - - - - - - - - - ช่องทางการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลโครงการ เพื่อนบ้าน 5.71 17.14 22.86 11.43 11.43 2.86 5.71 11.42 31.43 11.42 8.57 5.71 12.14 ผู้นำท้องถิ่น 34.29 40.00 48.57 68.57 42.86 42.86 42.86 54.29 37.14 8.57 28.57 22.86 39.29 หมอดินอาสา 22.86 37.14 31.43 5.71 42.86 11.43 28.57 17.14 8.57 2.86 22.86 48.57 23.33 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 74.29 57.14 42.86 37.14 57.14 48.57 71.43 45.71 65.71 28.57 62.86 94.29 57.14 สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ 14.29 37.14 20.00 14.29 14.29 22.86 45.71 17.14 14.29 11.43 20.00 17.14 20.71 เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 14.29 20.00 2.86 37.14 22.86 28.57 20.00 31.43 37.14 34.29 14.29 45.71 26.43 ญาติพี่น้อง - - - - - - - 5.71 - 2.86 - - 0.71 เหตุผลในการเข้าร่วมโครงการ น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร 51.43 71.43 74.29 51.43 77.14 68.57 91.43 62.86 68.57 77.14 54.29 40.00 65.71 ต้องการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ 71.43 74.29 77.14 85.71 71.43 85.71 85.71 77.14 88.57 94.29 77.14 77.14 80.48 น้อมนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 82.86 82.86 57.14 31.43 74.29 62.86 85.71 77.14 74.29 25.71 65.71 100.00 68.33 ทำตามเพื่อนบ้าน - - 5.71 5.71 5.71 65.71 45.71 2.86 14.29 - - - 2.86 ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้น 48.57 54.29 60.00 42.86 71.43 22.86 25.71 64.71 37.14 2.86 45.71 82.86 51.90 หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการบางส่วน 20.00 42.86 22.86 42.86 31.43 25.71 11.43 40.00 65.71 - 17.14 48.57 31.67 หน่วยงานภาครัฐชักชวนให้เข้าร่วมโครงการ 31.43 40.00 20.00 20.00 14.29 - - 17.14 20.00 2.86 11.43 8.57 18.57 ที่มา: จากการสำรวจ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 (2566) และ จากการคำนวณ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)
บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน การศึกษาภาวะการผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นที่ สภาพการผลิต การกระจายผลผลิต ต้นทุนและผลตอบแทน โดยทำการ วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ มีรายละเอียดการศึกษาดังนี้ 3.1 สภาพการผลิตและการกระจายผลผลิต 3.1.1 ลักษณะพื้นที่ที่ทำการผลิต 1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 91.43 และที่ดอนร้อยละ 8.57 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 48.57 2.5ไร่ ร้อยละ 22.86 5 ไร่ ร้อยละ 17.14และ 4 ไร่ ร้อยละ11.43สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 94.29 และแบบวงกลมร้อยละ 5.71 แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 77.14 รองลงมาคือ น้ำชลประทานร้อยละ 57.14 น้ำบาดาลร้อยละ 22.86 เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 80.00 มีปริมาณน้ำที่ใช้ ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 5.14 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 20.00 มีปริมาณน้ำ เพียงพอตลอดปีซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 80.00 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 11.50 เดือนต่อปี และเกษตรกรร้อยละ 20.00 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตร เพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1) 2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 80.00 และที่ดอนร้อยละ 20.00 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 48.57 5 ไร่ ร้อยละ 45.72 และ 2.5 ไร่ ร้อยละ 5.71 สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 97.14 และแบบวงกลมร้อยละ 2.86 แหล่งน้ำที่ใช้ ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 88.57 รองลงมาคือ แหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 40.00 สระน้ำในไร่นาร้อยละ 20.00 เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 88.57 มีปริมาณน้ำ ที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 5.19 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 11.43 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 82.86 มีปริมาณน้ำที่ใช้ ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 10.21 เดือนต่อปี และเกษตรกรร้อยละ 17.14 มีปริมาณน้ำ ที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1)
3-2 3) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 54.29 และที่ดอนร้อยละ 45.71 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 42.86 5 ไร่ ร้อยละ 37.14 4 ไร่ ร้อยละ 14.29และ 2.5 ไร่ ร้อยละ 5.71 สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 91.43 แบบวงกลมร้อยละ 5.71 และแบบตัวยูร้อยละ 2.86แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 85.71รองลงมาคือ น้ำบาดาล และสระน้ำในไร่นาร้อยละ 25.71 เท่ากัน แหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 20.00 เป็นต้น โดยก่อน เข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 91.43 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำ ได้เฉลี่ย 5.59 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 8.57 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วม โครงการเกษตรกรร้อยละ 88.57 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 11.13 เดือนต่อปีเกษตรกรร้อยละ 8.57 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม และร้อยละ 2.86 ปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรลดลง เนื่องจากสระเกิดความเสียหาย (ตารางที่ 3-1) 4) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 60.00 และที่ดอนร้อยละ 40.00 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 5 ไร่ ร้อยละ 51.43 3 ไร่ ร้อยละ 22.86 4 ไร่ ร้อยละ 17.14และ 2.5 ไร่ ร้อยละ 8.57 สระเก็บน้ำทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยม แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ ใช้น้ำฝนร้อยละ 80.00 รองลงมาคือ น้ำบาดาลร้อยละ 11.43 แหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 8.57 เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 65.71 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้ เฉลี่ย 6.74 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 34.29 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วม โครงการเกษตรกรร้อยละ 60.00 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้ตลอดทั้งปี และเกษตรกรร้อยละ 40.00 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1) 5) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 42.86 และที่ดอนร้อยละ 57.14 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ และ 5 ไร่ ร้อยละ 42.86 เท่ากัน 4 ไร่ ร้อยละ 8.57 และ 2.5 ไร่ ร้อยละ 5.71 สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 91.43 แบบวงกลมร้อยละ 5.71 และแบบตัวยูร้อยละ 2.86 แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 94.29รองลงมาคือ น้ำบาดาลร้อยละ 40.00สระน้ำในไร่นาร้อยละ 34.29 เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 85.71 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 5.47 เดือนต่อปีส่วนเกษตรกร ร้อยละ 14.29 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 85.71 มีปริมาณน้ำ ที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 11.80 เดือนต่อปีและเกษตรกรร้อยละ 14.29 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1)
3-3 6) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 77.14 และที่ดอนร้อยละ 22.86 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 62.86 4 ไร่ ร้อยละ 17.14 2.5 ไร่ ร้อยละ 11.43 และ 5 ไร่ ร้อยละ 8.57 สระเก็บน้ำทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยม แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ ใช้น้ำฝนร้อยละ 91.43 รองลงมาคือ น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 45.71 น้ำสาธารณะร้อยละ 20.00 เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 77.14 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 6.11 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 22.86 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 77.14 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำ ได้ตลอดทั้งปี และเกษตรกรร้อยละ 22.86 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1) 7) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 91.43 และที่ดอนร้อยละ 8.57 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 51.43 5 ไร่ ร้อยละ 25.71 4 ไร่ ร้อยละ 14.29 และ 2.5 ไร่ ร้อยละ 8.57 สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมร้อยละ 94.29 และแบบวงกลมร้อยละ 5.71 แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 88.57 รองลงมาคือแหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 51.43 แหล่งน้ำสาธารณะร้อยละ 40.00เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วม โครงการเกษตรกรร้อยละ 88.57 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 5.55 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 11.43 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรร้อยละ 88.57 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 10.71 เดือนต่อปี และเกษตรกรร้อยละ 11.43 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1) 8) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 สภาพพื้นที่ที่ทำการผลิตมีสภาพเป็นที่ลุ่มร้อยละ 82.86 และที่ดอนร้อยละ 17.14 โดยมีขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 3 ไร่ ร้อยละ 60.00 5 ไร่ ร้อยละ 22.86 2.5 ไร่ ร้อยละ 11.43 และ 4 ไร่ ร้อยละ 5.71 สระเก็บน้ำทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยม แหล่งน้ำที่ใช้ก่อนเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนร้อยละ 74.29 รองลงมาคือ แหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 60.00 น้ำชลประทาน และน้ำบาดาลร้อยละ 11.43 เท่ากัน เป็นต้น โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 68.57 มีปริมาณน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ สามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 5.96 เดือนต่อปี ส่วนเกษตรกรร้อยละ 31.43 มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรร้อยละ 74.29 มีปริมาณน้ำที่ใช้ ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำได้เฉลี่ย 11.85 เดือนต่อปี และเกษตรกรร้อยละ 25.71 มีปริมาณน้ำ ที่ใช้ในการเกษตรเพียงพอเท่าเดิม (ตารางที่ 3-1)