The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kew_k0712, 2024-03-07 22:25:29

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

กลุ่ม ลุ่ เศรษฐกิจที่ดิ ที่ ดิ นทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ ช้ ดิ ที่ ดิ น กรมพัฒ พั นาที่ดิ ที่ ดิ น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานการติดตามและประเมิน มิ ผลสัม สั ฤทธิ์ โครงการความร่ว ร่ มมือ มื พัฒ พั นาตำ บล (SMART TAMBON) ปีง ปี บประมาณ 2566 เอกสารวิชาการเลขที่ 05/03/2566 กันยายน 2566


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปีงบประมาณ 2566 กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เอกสารวิชาการเลขที่ 05/03/2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กันยายน 2566


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 1 สารบัญ หน้า สารบัญ 1 สารบัญตาราง 2 สารบัญภาพ 6 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 7 บทที่ 1 บทนำ 9 1.1 หลักการและเหตุผล 9 1.2 วัตถุประสงค์ 9 1.3 ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน 9 1.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 10 1.5 นิยามศัพท์ 14 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป 16 2.1 กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยส่วนกลาง 16 2.2 กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยส่วนภูมิภาค 17 บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน 18 3.1 กิจกรรมส่วนกลาง 18 3.2 กิจกรรมส่วนภูมิภาค 20 บทที่ 4 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 64 4.1 สรุปผล 64 4.2 ข้อเสนอแนะ 78 เอกสารอ้างอิง 80 ภาคผนวก 81 ภาคผนวกที่ 1 สถานที่สำรวจข้อมูลและประชากรเป้าหมาย 81 ภาคผนวกที่ 2 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 81 ภาคผนวกที่ 3 ประมวลภาพกิจกรรม 82


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 2 สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 แผนการดำเนินงานของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร 10 ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 21 ตารางที่ 3 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 22 ตารางที่ 4 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 23 ตารางที่ 5 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 23 ตารางที่ 6 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 24 ตารางที่ 7 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 24 ตารางที่ 8 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 24 ตารางที่ 9 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 25 ตารางที่ 10 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 26 ตารางที่ 11 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 26 ตารางที่ 12 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 27 ตารางที่ 13 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 28 ตารางที่ 14 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 29 ตารางที่ 15 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 29 ตารางที่ 16 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 30 ตารางที่ 17 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 31


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 3 สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตารางที่ 18 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 31 ตารางที่ 19 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 31 ตารางที่ 20 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 32 ตารางที่ 21 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 33 ตารางที่ 22 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 33 ตารางที่ 23 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 34 ตารางที่ 24 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 35 ตารางที่ 25 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 36 ตารางที่ 26 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 37 ตารางที่ 27 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 37 ตารางที่ 28 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 38 ตารางที่ 29 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 38 ตารางที่ 30 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 38 ตารางที่ 31 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 39 ตารางที่ 32 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 39 ตารางที่ 33 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 40


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 4 สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตารางที่ 34 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 40 ตารางที่ 35 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 42 ตารางที่ 36 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 43 ตารางที่ 37 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 43 ตารางที่ 38 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 44 ตารางที่ 39 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 44 ตารางที่ 40 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 45 ตารางที่ 41 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 45 ตารางที่ 42 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 46 ตารางที่ 43 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 46 ตารางที่ 44 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 47 ตารางที่ 45 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 47 ตารางที่ 46 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 49 ตารางที่ 47 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 49 ตารางที่ 48 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 50 ตารางที่ 49 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 50


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 5 สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตารางที่ 50 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 51 ตารางที่ 51 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 51 ตารางที่ 52 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 52 ตารางที่ 53 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 52 ตารางที่ 54 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 53 ตารางที่ 55 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 53 ตารางที่ 56 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 54 ตารางที่ 57 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 56 ตารางที่ 58 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ ระดับตำบล 57 ตารางที่ 59 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 57 ตารางที่ 60 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 58 ตารางที่ 61 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 58 ตารางที่ 62 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 59 ตารางที่ 63 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ ระดับตำบล 60 ตารางที่ 64 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 60 ตารางที่ 65 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 61 ตารางที่ 66 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรภาพรวม พื้นที่ระดับตำบล 62 ตารางที่ 67 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 63 ตารางที่ 68 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนกลาง 75 ตารางที่ 69 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนภูมิภาค (เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค) 76 ตารางที่ 70 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนภูมิภาค (เกษตรกร) 77


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 6 สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 ขอบเขตการติดตามและประเมินผล 11 ภาพที่ 2 การประชุมแนวทางการดำเนินงานติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ 82 ภาพที่ 3 การดำเนินงานกิจกรรมส่วนกลาง 83 ภาพที่ 4 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 84 ภาพที่ 5 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 85 ภาพที่ 6 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 86 ภาพที่ 7 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 87 ภาพที่ 8 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 88 ภาพที่ 9 การลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกร 89


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 7 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) มีตำบลเป้าหมายจำนวน 5 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี3) ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย4) ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และ 5) ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการสำรวจ จัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลตามกิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ สำหรับเป็นข้อมูลสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายหรือพัฒนาการเกษตร โดยดำเนินการ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามกิจกรรมจากเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค และเกษตรกร ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สรุปภาพรวมดังนี้ 1. ผลการดำเนินงาน 1.1 กิจกรรมส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ส่วนกลางดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ มีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ฐานข้อมูลที่จัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน และสร้างเครือข่ายเกษตรกร ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งมีการติดตามและประเมินผล ซึ่งดำเนินการ แล้วเสร็จภายใน 30 กันยายน 2566 1.2 กิจกรรมส่วนภูมิภาค (ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล) 1.2.1 เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการแล้วเสร็จ โดยดำเนินการ คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีการจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกร และดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ การปรับปรุงดินด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน การเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ ธาตุอาหาร เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ เช่น เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุง บำรุงดินมากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีการใช้สารเคมี ทางการเกษตรลดลง หันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินมากขึ้น เกิดความตระหนักและให้ ความสำคัญกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ สำหรับระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อแผนปฏิบัติการอยู่ใน ระดับมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงาน ปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาที่พบ เช่น ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของ การจัดทำแผนระดับตำบล ไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนตำบลให้มากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น 1.2.2เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการไถกลบตอซัง การส่งเสริมการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก) การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง การพัฒนา กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 8 การสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 58.67 และระดับมากร้อยละ 41.33 มีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.71 และระดับมาก ร้อยละ 39.29 มีค่าเฉลี่ย 3.61 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ใน ระดับมากที่สุดร้อยละ 61.73 และระดับมากร้อยละ 38.27 มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และ ในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.37 และระดับมากร้อยละ 39.63 มีค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ข้อเสนอแนะ 2.1 ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน: ส่งเสริมความรู้หรือเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และให้ทันต่อยุคสมัยผสานกับภูมิปัญญาหรือประสบการณ์ของเกษตรกรที่มีอยู่ ให้ความสำคัญ กับการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการเพาะปลูกพืช การเลือกชนิดและพันธุ์พืช อัตราและชนิดของปุ๋ยเคมี ตลอดจนการจัดการดินด้านอื่น ๆส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีและวัสดุปรับปรุงดิน ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อให้มี อำนาจในการต่อรองราคาและมีตลาดรองรับที่แน่นอน ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น และ ควรมีการติดตามและประเมินผลหลังจากได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบผล การดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค พร้อมส่งเสริมให้มีการจดบันทึกข้อมูลการผลิตตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ตลอดจนผลผลิตพืช รายได้ทางการเกษตร รายได้ในครัวเรือน เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรในการนำข้อมูลมาปรับปรุงวิธีการจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ 2.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ส่งเสริมให้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ลดพื้นที่ เกษตรเคมีลง โดยให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากขึ้น พร้อมยกระดับการทำ เกษตรแบบเดิมเป็นเกษตรแบบปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพทดแทน เพื่อลด ต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิต และมีตลาดรองรับ พร้อมพัฒนาระบบการขายโดยเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพื่อเข้าถึง ผู้บริโภคและผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยกระดับการทำเกษตรสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการจัดการการผลิต ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับแนวคิดการเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรสู่ยุคใหม่ เนื่องจาก การทำเกษตรในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิต การเก็บเกี่ยว หรือแม้แต่การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกันดูแลผลผลิตและร่วมกันพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น เป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชนและสร้าง เครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิต การขายสินค้าเกษตร การแปรรูป สินค้าเกษตร การระดมทุน ตลอดจนจัดหาเงินลงทุนให้เกษตรกรมากขึ้น 2.3 ข้อเสนอแนะครั้งต่อไป: ควรมีการติดตามและประเมินผลเกษตรกรหลังจากได้รับ การสนับสนุนนวัตกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้ข้อจำกัดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้น 2.4 ข้อจำกัดการดำเนินงาน: การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนหลังได้รับ การสนับสนุนกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกษตรกรพึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรม จึงไม่สามารถ ระบุได้ว่ารายได้สุทธิเพิ่มขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินได้ทันที ระบุได้เพียงลดการใช้ สารเคมีหรือลดค่าใช้จ่าย หรือลดต้นทุนในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต เป็นต้น


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 9 บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล แผนการใช้ที่ดินเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินของรัฐ และเป็นกรอบ ในการใช้ที่ดินของประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 72 อนุมาตรา 1 ได้กำหนดให้จัดทำแผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำแผนการใช้ที่ดินตำบลขึ้น และเพื่อให้การขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินไปสู่การปฏิบัติ การบรูณาการความร่วมมือเพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่แบบองค์รวมผ่านกลไกนวัตกรรมเชิงปริมาณ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมพัฒนาที่ดิน โดยกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน และสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดได้ดำเนินโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ขึ้น เพื่อต่อยอดแผนการใช้ที่ดินตำบลให้มีความละเอียดแม่นยำ มีประสิทธิภาพครบตาม บริบทของพื้นที่ยิ่งขึ้น และเป็นช่องทางในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ การวางแผนการผลิต การเตรียมดิน การจัดการอินทรียวัตถุ การจัดการธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำในดิน การควบคุมศัตรูพืช ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนการอนุรักษ์ดินและน้ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยีตามความสนใจของเกษตรกร เป้าหมาย เพื่อสร้างตัวอย่างการจัดการเกษตรที่ดี (Best Practice) สำหรับตำบลตามสภาพแวดล้อมการผลิต ที่แตกต่างกัน และเป็นแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลระดับตำบลสำหรับการพัฒนาตำบลต่อไปในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้ทราบผลจากการดำเนินงานโครงการ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่าง ๆ และ นำมาเป็นแนวทางสนับสนุนในการจัดทำแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายหรือแผนพัฒนาการเกษตร รวมทั้งการบริหารจัดการ และปรับปรุงโครงการ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตรจึงจำเป็นต้องติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปีงบประมาณ 2566 ต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 1.3 ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน 1.3.1 ระยะเวลา: ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566) 1.3.2 สถานที่ดำเนินงาน: พื้นที่เป้าหมายภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ปี 2566 จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 3) ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 4) ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 5) ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 10 1.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 1.4.1 แผนการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลา ภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ปี 2566 (ตารางที่ 1) ตารางที่1 แผนการดำเนินงานของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร ลำดับ ขั้นตอนการดำเนินงาน ปี 2565 ปี 2566 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1 กำหนดแนวทางและจัดทำโครงการ 1.1 ประชุมหารือกำหนดแนวทาง 1.2 จัดทำโครงการติดตามและ ประเมินผลสัมฤทธิ์ 1.3 ขออนุมัติโครงการติดตามและ ประเมินผลสัมฤทธิ์ 2 ศึกษา จัดทำเครื่องมือ และประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.1 ออกแบบสอบถาม/แบบ สัมภาษณ์สำหรับส่วนกลาง/ ส่วนภูมิภาค/เกษตรกร 2.2 จัดทำหนังสือขอรายชื่อ ผู้รับผิดชอบโครงการจาก สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2.3 จัดทำหนังสือส่งแบบติดตาม การดำเนินกิจกรรมของ เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง 2.4 จัดทำตารางประมวลผล 2.5 ประสานงานเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง เกี่ยวกับการติดตาม 2.6 ประสานงานเจ้าหน้าที่ส่วน ภูมิภาคเกี่ยวกับแนวทาง การติดตาม 3 เก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 ประสานงานเพื่อติดตามการ ดำเนินกิจกรรมส่วนกลาง 3.2 ส่งแบบสอบถามให้เจ้าหน้าที่ ส่วนภูมิภาค (สพด.) 3.3 วางแผนการลงพื้นที่สัมภาษณ์ 3.4 ลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกร 4 วิเคราะห์ข้อมูล 4.1 บันทึกข้อมูลตารางประมวลผล 4.2 ตรวจสอบและประมวลผลข้อมูล 5 จัดทำและส่งมอบรายงาน 5.1 กำหนดรูปแบบรายงาน 5.2 จัดทำรายงาน 5.3 จัดส่งรายงานให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ที่มา: กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 11 1.4.2 กรอบการติดตามและประเมินผล ซึ่งการติดตามกิจกรรมเป็นการติดตามการดำเนินงาน ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ซึ่งประกอบไปด้วย (ภาพที่ 1) 1) การจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ 1.1) คัดเลือกตำบลเป้าหมาย 1.2) กำหนดขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน 1.3) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสม 1.4) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 1.5) ติดตามการดำเนินงาน/ให้ข้อเสนอแนะ 1.6) จัดประชุมพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ 1.7) สพด.ส่งแผนปฏิบัติการให้ กนผ. เพื่อตรวจสอบ 1.8) กนผ.ส่งแผนปฏิบัติการที่ตรวจสอบแล้วให้ สพด. ดำเนินการ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน 3) สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน 4) กิจกรรมที่จัดสรรงบประมาณให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการ เช่น การปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น ภาพที่ 1 ขอบเขตการติดตามและประเมินผล ขอบเขตการตรวจติดตามและประเมินผล เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง 1. การจัดท าฐานข้อมูลและร่าง แผนปฏิบัติการ 2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ ฐานข้อมูลแผนการใช้ที่ดินระดับ ต าบลให้เป็นปัจจุบัน 3. สร้างเครือข่ายเกษตรกรใน การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการพัฒนาที่ดิน เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1. การจัดท าแผน/ โครงการและ งบประมาณ 2. การขับเคลื่อนแผน 3. ความพึงพอใจ เกษตรกร 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม 3. ข้อมูลภาวะการผลิต 4. การสนับสนุนกิจกรรม และความพึงพอใจ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 12 1.4.3 วิธีการดำเนินงาน 1) ศึกษาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของโครงการและจัดทำเครื่องมือ โดยการศึกษาข้อมูล เบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ข้อมูลพื้นที่ดำเนินการ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งออกแบบเครื่องมือ เป็นต้น 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ สามารถ จัดประเภทข้อมูลได้2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) ดังนี้ 2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสอบถาม หรือสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) หรือแบบสัมภาษณ์ (Interview) (1) รวบรวมข้อมูลจากแบบติดตามและแบบสอบถามการดำเนินงานกิจกรรม ที่จัดส่งให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายหรือ มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ปี 2566 ด้วยการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) (2) รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายภายใต้ โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ปี 2566 จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวนประชากรเป้าหมาย 482 ราย มีวิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากประชากรที่ใช้ในการศึกษา ด้วยวิธีการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ซึ่งมีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 219 ราย (ภาคผนวกที่ 1 และภาคผนวกที่ 2) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ตามกิจกรรม ซึ่งการดำเนินการได้มีการทดสอบแบบสัมภาษณ์ในพื้นที่และมีการดำเนินการแก้ไข แบบสัมภาษณ์ให้ตรงกับกิจกรรมของพื้นที่เป้าหมาย 2.2) ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการเก็บรวบรวมจาก เอกสารหรืองานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น (1) รายละเอียดโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) (2) แผนการใช้ที่ดินระดับตำบล 3) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมจะนำมาตรวจเอกสาร เพื่อแก้ไขความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วนำมาประมวลผลในสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel จากนั้น จึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) แสดงผลเป็นค่าร้อยละ และ หรือค่าเฉลี่ย ได้แก่ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ดังนี้ 3.1) ส่วนที่ 1 รวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง โดยการตรวจสอบ รวบรวม และจัดทำข้อมูลกิจกรรมการดำเนินงานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) แล้วนำมาสรุปประเมินผลกิจกรรมตามแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 13 (1) การจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ (1.1) คัดเลือกตำบลเป้าหมาย (1.2) กำหนดขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน (1.3) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสม (1.4) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (1.5) ติดตามการดำเนินงาน/ให้ข้อเสนอแนะ (1.6) จัดประชุมพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ (1.7) สพด.ส่งแผนปฏิบัติการให้ กนผ. เพื่อตรวจสอบ (1.8) กนผ.ส่งแผนปฏิบัติการที่ตรวจสอบแล้วให้ สพด. ดำเนินการ (2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน (3) สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน 3.2) ส่วนที่ 2 รวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือ ได้รับมอบหมายภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TOMBON) ปี 2566 โดยการตรวจสอบ รวบรวม และจัดทำข้อมูลกิจกรรม แล้วนำมาสรุปประเมินผลตามแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย (1) การจัดทำแผน/โครงการ และงบประมาณ (2) การขับเคลื่อนแผน (3) ความพึงพอใจ 3.3) ส่วนที่ 3 รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ โดยการตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวม ซึ่งจะนำมาตรวจเอกสาร เพื่อแก้ไข ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วนำมาประมวลผลในสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) แสดงผลเป็นค่าร้อยละ และหรือค่าเฉลี่ย เช่น ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลภาวะการผลิต กิจกรรมที่ได้รับ การสนับสนุน สำหรับการวิเคราะห์ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เป็นการวิเคราะห์ ความพึงพอใจของเกษตรกร โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีตัวเลือก 4 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย () ̅̅̅ กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้(กัญญ์พัสวีกล่อมธงเจริญ, 2560) มากที่สุด ให้คะแนน 4 คะแนน มาก ให้คะแนน 3 คะแนน น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน การพิจารณาค่าระดับคะแนนความพึงพอใจ โดยกำหนดช่วงคะแนนค่าเฉลี่ย ในการแปลความหมายข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย 3.26 – 4.00 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด 2.51 – 3.25 ระดับความพึงพอใจมาก 1.76 – 2.50 ระดับความพึงพอใจน้อย 1.00 – 1.75 ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 14 4) การเสนอรายงาน โดยนำเสนอในรูปแบบของการบรรยายประกอบตาราง ซึ่งใช้ผล การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียน รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปีงบประมาณ 2566 เพื่อนำเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 1.4.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) เชิงปริมาณ: รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือ พัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 2) เชิงคุณภาพ: ข้อมูลเป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบัน 1.4.5 งบประมาณ การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 150,000 บาท 1.4.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ผลการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ที่ได้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการจัดทำแนวทาง การดำเนินงานตามนโยบายหรือพัฒนาการเกษตร 1.5 นิยามศัพท์ โครงการ หมายถึง โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการ ความร่วมมือพัฒ น าต ำบล (SMART TAMBON) ปี 2566 พื้นที่เป้าหมาย 5 ตำบล หมายถึง 1) ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 3) ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 4) ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 5) ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือ พัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปี 2566 ได้แก่ กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบาย และแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือ พัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปี 2566 ได้แก่ สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี สถานีพัฒนาที่ดิน จันทบุรี สถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย สถานีพัฒนา ที่ดินกำแพงเพชร และสถานีพัฒนาที่ดินประจวบคีรีขันธ์


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 15 รวมพื้นที่ระดับตำบล หมายถึง ภาพรวม 5 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี2) ตำบลอ่างคีรี อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี3) ตำบลนาหนัง อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 4) ตำบลวังยาง อำเภอ คลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และ 5) ตำบล หนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกร หมายถึง เกษตรกรที่อยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนา ตำบล (SMART TAMBON) ปี 2566 เกษตรผสมผสาน หมายถึง การผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เช่น ข้าว พืช ประมง ปศุสัตว์ โฉนด หมายถึง หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รับรองถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (ศูนย์ สารสนเทศการเกษตร, 2565) น.ส.3/น.ส.3ก. หมายถึง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินและสามารถ นำไปใช้ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การจำนอง ขายฝาก โอน เป็นต้น แต่ต้องรอประกาศภายใน 30 วัน สำหรับ น.ส.3 และไม่ต้องรอประกาศสำหรับ น.ส.3ก. (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2565) ส.ป.ก.4-01 หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์การทำประโยชน์เพื่อการเกษตร ตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดินที่ออกให้โดยสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเกษตรกร มีสิทธิ์นำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับ ธนาคารเพื ่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำไปขายหรือยกให้ผู้อื่น เว้นแต ่จะตกทอดเป็นมรดกให้ลูก-หลาน เพื ่อทำ การเกษตรเท่านั้น (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร, 2565) มีเอกสารสิทธิ์ หมายถึง มีเอกสารแสดงสิทธิ์การทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หมายถึง ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดินที่เข้า ทำเปล่า กนผ. หมายถึง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน สพด. หมายถึง สถานีพัฒนาที่ดิน อปท. หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบล ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง งาน บริการหรือกิจกรรมที่เกิดจากการทำงานที่ ได้ผลผลิต (Outputs) ต ามเป้ าหม าย และเกิด ผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 16 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไป 2.1 กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยส่วนกลาง 2.1.1 จัดทำฐานข้อมูลและแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินระดับ ตำบล 1) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินคัดเลือกตำบลที่ได้ดำเนินการจัดทำแผนการใช้ ที่ดินไว้แล้วเป็นตำบลเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และประสานงาน สถานีพัฒนาที่ดินเพื่อแจ้งพื้นที่เป้าหมายสำหรับการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป็น SMART TAMBON 2) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินกำหนดขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้รูปแบบที่เหมาะสม) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา และแนวทาง การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดิน เพื่อเสริมสร้างทักษะ ด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ (ใช้รูปแบบที่เหมาะสม) 5) ติดตามการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการ (Implement plan draft) ภายใต้แผนการใช้ที่ดินระดับตำบลเพื่อพัฒนาทรัพยากรดินและที่ดินของตำบล 6) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต และ สถานีพัฒนาที่ดินดำเนินการจัดประชุมกับผู้แทนหน่วยงาน และเกษตรกร เพื่อพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ (Implement plan draft) และจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับสมบูรณ์ 7) ส่งแผนปฏิบัติการ (Implement plan) ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมมายัง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเนื้อหา 8) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินส่งแผนปฏิบัติการกลับไปยังสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต และสถานีพัฒนาที่ดินเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเสนอโครงการ/กิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณมายังกองแผนงาน รวมทั้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น งบประมาณจังหวัด งบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 2.1.2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลที่จัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน ดำเนินงานควบคู่กับฐานข้อมูล Agri-Map และ TP Map ระบบบริหารจัดการข้อมูล การพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map Analytics Platform) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนและ ตรวจสอบร่างแผนปฏิบัติการที่สถานีพัฒนาที่ดินจัดทำขึ้น โดยใช้กลไกคณะทำงานวิชาการของกองนโยบาย และแผนการใช้ที่ดิน ดังนี้ 1) วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยอ้างอิงจาก ฐานข้อมูลใน Agri-Map เพื่อเชื่อมโยงสู่ SMART TAMBON ในมิติของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 17 2) วิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมจาก TP Map ระบบบริหารจัดการ ข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) เพื่อใช้เชื่อมโยงกับข้อมูล เชิงพื้นที่ ให้เกิดการบริหารจัดการอย่างตรงประเด็นตามบริบทของพื้นที่ 2.1.3 สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดินสู่การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้วยการฝึกอบรมหรือการศึกษา ดูงานให้กับเกษตรกรและหน่วยงานในตำบลเป้าหมายตามแผนการดำเนิน โดยมีเจ้าหน้าที่จากกองนโยบาย และแผนการใช้ที่ดิน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรหรือร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ 2.1.4 ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร เจ้าหน้าที่ หน่วยงานในพื้นที่ กำหนดประเด็นการติดตามและประเมินผล เช่น ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย ผลการ ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประเมินทัศนคติและความพึงพอใจ (ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต ที่ได้รับ เป็นต้น และระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ของการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่สนับสนุนข้อมูลแผนปฏิบัติการ เป็นต้น) 2.2 กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยส่วนภูมิภาค 2.2.1 การปรับปรุงบำรุงดินด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน 1) ส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน 2) ส่งเสริมการไถกลบตอซัง 3) ส่งเสริมการผลิตและการใช้สารอินทรีย์ 4) ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร 5) จัดหาปูนโดโลไมท์ 2.2.2 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 18 บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน 3.1 กิจกรรมส่วนกลาง 3.1.1 การจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ 1) คัดเลือกตำบลเป้าหมาย 1.1) การดำเนินการ (1) ดำเนินการตรวจสอบเนื้อหา องค์ประกอบ ความครบถ้วนของรายงาน แผนการใช้ที่ดินระดับตำบลที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว และแจ้งกองแผนงาน (2) ตรวจสอบแผนงาน/โครงการที่กำหนดในรายงานให้มีความเหมาะสมกับ สภาพพื้นที่และแผนการใช้ที่ดินที่จัดทำขึ้น 1.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: (1) กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (2) สถานีพัฒนาที่ดิน 2) กำหนดขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน 2.1) การดำเนินการ (1) ขออนุมัติหลักการและงบประมาณโครงการบริหารจัดการทรัพยากรดิน ระดับตำบล กิจกรรมความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) (2) ประสานงานสถานีพัฒนาที่ดินให้ส่งรายชื่อผู้ประสานงาน (3) รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องและกำหนดกรอบการดำเนินงานให้มี ความสอดคล้อง 2.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน 3) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสม ในการจัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ การติดตามการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะ 3.1) การดำเนินการ (1) ทำหนังสือเชิญเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 5 จังหวัด เข้ารับฟังการประชุมชี้แจงและ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ผ่านระบบ ZOOM MEETING (2) นำเสนอรูปแบบของร่างรายงานแผนปฏิบัติการพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ (ดำเนินการพร้อมกันทั้ง 3 กิจกรรม ซึ่งได้มีการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการผ่านไลน์กลุ่ม SMART TAMBON) (3) พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการเบื้องต้น 3.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 19 4) จัดประชุมพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ 4.1) การดำเนินการ (1)กำหนดเกณฑ์การพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการ โดยให้ต่อยอดจากแผนการใช้ ที่ดินระดับตำบลที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว (2) เจ้าหน้าที่กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ร่วมประชุมหารือกับ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมพิจารณาร่างแผนของแต่ละสถานีพัฒนาที่ดิน 4.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน 5) สถานีพัฒนาที่ดินส่งแผนปฏิบัติการให้กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน เพื่อตรวจสอบ 5.1) การดำเนินการ (1) สถานีพัฒนาที่ดิน ส่งร่างแผนปฏิบัติการมาให้กลุ่มนโยบายและ วางแผนการใช้ที่ดิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน (2) หากพบว่ามีข้อควรดำเนินการแก้ไข จะประสานงานผู้รับผิดชอบแต่ละ สถานีพัฒนาที่ดินเพื่อดำเนินการแก้ไข 5.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน 6) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินส่งแผนปฏิบัติการที่ตรวจสอบแล้วให้สถานีพัฒนาที่ดิน ดำเนินการ 6.1) การดำเนินการ เนื่องจากพบว่าเล่มรายงานต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม จึงส่งกลับไปให้แก้ไขอีกครั้งและส่งกลับมาให้กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดินอีกครั้ง ทั้งนี้หากพบว่า รูปเล่มมีเนื้อหาและองค์ประกอบครบถ้วน จะดำเนินการจัดส่งให้แต่ละสถานีพัฒนาที่ดินใช้ดำเนินงานในช่วง สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน 2566 6.2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน 3.1.2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน 1) การดำเนินการ 1.1) รวบรวมรายงานแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลจำนวน 5 ตำบล ในพื้นที่ เป้าหมาย 5 จังหวัด 1.2) รวบรวมฐานข้อมูลที่ได้จัดเก็บรวบรวมไว้แล้ว และทำการประสานงานกับ หน่วยงานเจ้าของข้อมูลเพื่อตรวจสอบความเป็นปัจจุบันของข้อมูล 1.3) ตรวจสอบฐานข้อมูลร่วมกับโปรแกรม Agri-Map ของแต่ละตำบล 1.4) ดำเนินการปรับปรุงแผนการใช้ที่ดินให้เป็นปัจจุบัน 2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 20 3.1.3 สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน 1) การดำเนินการโดยใช้กลไกหมอดินอาสาแต่ละสถานีพัฒนาที่ดินในการสร้าง เครือข่าย โดยใช้นวัตกรรมของสถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ การทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และ สารเร่ง พด. 2) ผู้ดำเนินการ/ร่วมดำเนินการ: (1) กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (2) สถานีพัฒนาที่ดิน 3.2 กิจกรรมส่วนภูมิภาค 3.2.1 ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินคัดเลือกตำบลที่ได้ดำเนินการจัดทำ แผนการใช้ที่ดินไว้แล้ว ซึ่งเป็นตำบลเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และประสานงานสถานีพัฒนาที่ดิน เพื่อแจ้งพื้นที่เป้าหมายสำหรับการดำเนินงานขับเคลื่อนเป็น SMART TAMBON (2) สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และชี้แจงรายละเอียดโครงการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ แนวทางปฏิบัติ (3) ดำเนินการจัดซื้อปัจจัยการผลิตตามภารกิจกรมพัฒนาที่ดินที่บรรจุอยู่ในเล่ม แผนการใช้ที่ดินตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ (4) จัดอบรมและสาธิตการปรับปรุงบำรุงดินด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของกรมพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และแจกจ่ายปัจจัยการผลิต ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (5) ติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) ผู้นำชุมชนและเกษตรกรที่มีความสนใจด้านการเกษตรและสามารถ นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลหรือถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้จำนวน 160 ราย (2) เกษตรกรที่มีความสนใจในการใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี ทางการเกษตรและพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (3) หมอดินอาสาในพื้นที่ 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิตและใช้สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (หญ้าแฝก) 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่มีการชะล้างพังทลายของดินบริเวณแหล่งน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 21 (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการสนับสนุนกิจกรรมพึ่งเริ่มจึงยังไม่ สามารถระบุประโยชน์หลังการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวได้แต่ยังต้องติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดสุพรรณบุรีและสำนักงานเกษตรอำเภอด่านช้าง 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ยังไม่พบปัญหาและไม่มีข้อเสนอแนะ 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เกษตรกรเป็น เพศชายร้อยละ 66.67 เป็นเพศหญิงร้อยละ 33.33 มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาร้อยละ 43.15 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 29.41 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับปริญญาตรีร้อยละ 5.88 เท่ากัน ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงร้อยละ 3.92 และมีเกษตรกรที่ไม่รู้หนังสือร้อยละ 1.96 และอ่านออกเขียนได้ โดยไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 3.92 ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพ ทางสังคมอื่น ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและผู้นำกลุ่มร้อยละ 15.69 เท่ากัน ของเกษตรกรทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 13.73 หมอดินอาสาร้อยละ 7.84 กำนันและกรรมการหมู่บ้านร้อยละ 1.96 เท่ากัน (ตารางที่ 2) ตารางที่2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 66.67 หญิง 33.33 อายุเฉลี่ย (ปี) 52.00 ระดับการศึกษา ไม่รู้หนังสือ 1.96 อ่านออกเขียนได้ (โดยไม่ได้เรียนหนังสือ) 3.92 จบการศึกษา ประถมศึกษา 43.15 มัธยมศึกษาตอนต้น 5.88 มัธยมศึกษาตอนปลาย 29.41 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 5.88 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 3.92 ปริญญาตรี 5.88


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 22 ตารางที่ 2 (ต่อ) รายการ ร้อยละ สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 15.69 ผู้นำกลุ่ม 15.69 ผู้ใหญ่บ้าน 13.73 หมอดินอาสา 7.84 กำนัน 1.96 กรรมการหมู่บ้าน 1.96 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 28.25 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ มากที่สุด คือ ส.ป.ก.4-01 19.61 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 69.40ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน รองลงมาคือ โฉนด 4.84 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 17.14 น.ส.3 0.22 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.76 ทั้งนี้ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ 3.58 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 12.70 (ตารางที่ 3) ตารางที่3 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 28.25 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 19.61 69.40 โฉนด 4.84 17.14 น.ส.3 0.22 0.76 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 3.58 12.70 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 64.71 และมีเกษตรกรที่ไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 35.29 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มี การกู้ยืมเงินมีวงเงินกู้เฉลี่ย 130,025.25 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 61,969.70 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 47.66 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ สหกรณ์การเกษตร 45,176.77 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 34.74 โรงงานน้ำตาล 14,545.45 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 11.19 และกองทุนหมู่บ้าน 8,333.33 บาท ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 6.41 และมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.29 บาทต่อปี(ตารางที่ 4)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 23 ตารางที่4 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 64.71 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 35.29 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 130,025.25 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. 61,969.70 47.66 สหกรณ์การเกษตร 45,176.77 34.74 โรงงานน้ำตาล 14,545.45 11.19 กองทุนหมู่บ้าน 8,333.33 6.41 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 6.29 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 34,326.90 บาทต่อเดือน หรือ 411,922.80 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 25,455.39 บาทต่อเดือน หรือ 305,464.68 บาทต่อปี หรือร้อยละ 74.16 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 8,871.51 บาทต่อเดือน หรือ 106,458.12 บาทต่อปี หรือร้อยละ 25.84และเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 19,999.20 บาทต่อเดือน หรือ 239,990.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 8,880.39 บาทต่อเดือน หรือ 106,564.68 บาทต่อปี หรือร้อยละ 44.40 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 11,118.81 บาทต่อเดือน หรือ 133,425.72 บาทต่อปีหรือร้อยละ 55.60 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือ ในครัวเรือน 14,327.70 บาทต่อเดือน หรือ 171,932.40 บาทต่อปี(ตารางที่ 5) ตารางที่5 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 34,326.90 411,922.80 - ในภาคการเกษตร 25,455.39 305,464.68 74.16 นอกภาคการเกษตร 8,871.51 106,458.12 25.84 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 19,999.20 239,990.40 - ในครัวเรือน 8,880.39 106,564.68 44.40 ในภาคการเกษตร 11,118.81 133,425.72 55.60 เงินคงเหลือในครัวเรือน 14,327.70 171,932.40 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 92.16 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร้อยละ 45.10 เพื่อนบ้านและหมอดินอาสาร้อยละ 3.92 เท่ากัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินได้แจ้งข้อมูล ข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกร ผู้สนใจ (ตารางที่ 6)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 24 ตารางที่6 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ร้อยละ ผู้นำท้องถิ่น 92.16 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 45.10 เพื่อนบ้าน 3.92 หมอดินอาสา 3.92 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับการ สนับสนุนกิจกรรม คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 – 16 ได้รับการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การพัฒนา กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (สาธิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ/สมุนไพรไล่แมลง) การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่ สาธารณะประโยชน์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการได้รับกิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและ ความเหมาะสมของพื้นที่ (ตารางที่ 7) ตารางที่7 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 1 - 16 พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีฯ หมู่ที่ 1 - 16 สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง หมู่ที่ 1 - 16 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ 1 - 16 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความพอเพียงของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 23.53 และไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 76.47 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 8) ตารางที่8 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม -


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 25 ตารางที่8 (ต่อ) รายการ ร้อยละ ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 23.53 ไม่มี 76.47 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 54.90และระดับมากร้อยละ 45.10 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 50.98 และ ระดับมากร้อยละ 49.02 ของเกษตรกรทั้งหมด และความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ใน ระดับมากที่สุดร้อยละ 54.90 และระดับมากร้อยละ 45.10 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 53.59และระดับมากร้อยละ 46.41ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความ พึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการ สนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.51 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 3.54 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด (ตารางที่ 9) ตารางที่9 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 45.10 54.90 3.55 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 49.02 50.98 3.51 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 45.10 54.90 3.55 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 46.41 53.59 3.54 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 25.49 และไม่มีปัญหาร้อยละ 74.51 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำ การเกษตรร้อยละ 69.23 ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ ศัตรูพืชหรือโรคพืชร้อยละ 23.08 ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงร้อยละ 15.38 และดินเสื่อมโทรมร้อยละ 7.69 ทั้งนี้ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ ร้อยละ 21.57และไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ 78.43ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อ การเกษตรร้อยละ 63.64 ของเกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ รองลงมาคือ แนะนำการปรับปรุงบำรุงดิน อย่างต่อเนื่องและแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมร้อยละ 18.18 เท่ากัน และสนับสนุนระบบโซลาเซลล์ เพื่อการเกษตรร้อยละ 9.09 (ตารางที่ 10)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 26 ตารางที่10 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 74.51 เกษตรกรที่มีปัญหา 25.49 ลักษณะปัญหา น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร 69.23 ศัตรูพืช/โรคพืช 23.08 ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง 15.38 ดินเสื่อมโทรม 7.69 เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 78.43 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 21.57 ข้อเสนอแนะ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 63.64 แนะนำการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง 18.18 แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม 18.18 สนับสนุนระบบโซลาเซลล์เพื่อการเกษตร 9.09 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 11) ตารางที่11 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีมีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เกษตรผสมผสาน เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 7,407.44 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 3,111.11 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,296.33 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วน รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 2.38 มันสำปะหลังมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 9,965.04 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมด เฉลี่ย 2,205.66 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 7,759.38 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน ทั้งหมด 4.52 และอ้อยโรงงานมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 10,481.82 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 27 4,923.78 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 5,558.04 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 2.13 (ตารางที่ 12) ตารางที่12 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน 1. มูลค่าผลผลิต 7,407.44 9,965.04 10,481.82 2. ต้นทุนทั้งหมด 3,111.11 2,205.66 4,923.78 3. ผลตอบแทนสุทธิ 4,296.33 7,759.38 5,558.04 4. B/C Ratio 2.38 4.52 2.13 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 3.2.2 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มี ความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง และมีความสนใจในด้าน การเกษตร โดยเป็นเกษตรกรตัวแทนหมู่บ้าน หมอดินอาสา กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน (2) จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับรู้ (3) ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ (3.1) ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (3.2) รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) เกษตรกรตัวแทนหมู่บ้าน หมอดินอาสา กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 60 ราย ที่มีความสนใจในด้านการเกษตร (2) เกษตรกรที ่มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที ่ดินด้าน การปรับปรุงบำรุงดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง (3) เกษตรกรที่มีความพร้อมในการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงาน 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ยังมี การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร และขาดความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งประโยชน์ ของหญ้าแฝก


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 28 (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรังปรุง บำรุงดิน สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ สำนักงานเทศบาลตำบลอ่างคีรีเกษตรอำเภอมะขาม และอำเภอมะขาม 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ (1) ปัญหา ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำ แผนระดับตำบล และไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ (2) ข้อเสนอแนะ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการแผนตำบลให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ ต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย ร้อยละ 55.00 เป็นเพศหญิงร้อยละ 45.00 มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65.00 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 15.00 ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 10.00 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 7.50และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 2.50 ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ กรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 5.88 ของเกษตรกรทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม และหมอดินอาสาร้อยละ 2.94 เท่ากัน (ตารางที่ 13) ตารางที่13 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 55.00 หญิง 45.00 อายุเฉลี่ย (ปี) 57.00 ระดับการศึกษา จบการศึกษา ประถมศึกษา 65.00 มัธยมศึกษาตอนต้น 10.00 มัธยมศึกษาตอนปลาย 15.00 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2.50 ปริญญาตรี 7.50


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 29 ตารางที่13 (ต่อ) รายการ ร้อยละ สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 กรรมการหมู่บ้าน 5.88 ผู้ใหญ่บ้าน 2.94 ผู้นำกลุ่ม 2.94 หมอดินอาสา 2.94 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 7.06 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ ทั้งหมด คือ โฉนด (ตารางที่ 14) ตารางที่14 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 7.06 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด 7.06 100.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 35.00 และไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 65.00 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มีการกู้ยืมเงิน มีวงเงินกู้เฉลี่ย 272,142.86 บาทต่อครัวเรือน โดยแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ สหกรณ์การเกษตร 244,642.86 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 89.90 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน 19,285.71 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 7.09 สหกรณ์การยาง 6,071.43 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 2.22 และแหล่งเงินกู้นอกระบบทั้งหมด คือ เพื่อนบ้าน 2,142.86 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.79 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 5.43 บาทต่อปี (ตารางที่ 15) ตารางที่15 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 35.00 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 65.00 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 272,142.86 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ สหกรณ์การเกษตร 244,642.86 89.90


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 30 ตารางที่15 (ต่อ) รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ แหล่งเงินกู้ในระบบ (ต่อ) กองทุนหมู่บ้าน 19,285.71 7.09 สหกรณ์การยาง 6,071.43 2.22 แหล่งเงินกู้นอกระบบ เพื่อนบ้าน 2,142.86 0.79 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 5.43 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 63,797.27 บาทต่อเดือน หรือ 765,567.24 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 50,096.29 บาท ต่อเดือน หรือ 601,155.48 บาทต่อปี หรือร้อยละ 78.52 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาค การเกษตร 13,700.98 บาทต่อเดือน หรือ 164,411.76 บาทต่อปีหรือร้อยละ 21.48 และเกษตรกร มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 24,431.56 บาทต่อเดือน หรือ 293,178.72 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน 12,804.17 บาทต่อเดือน หรือ 153,650.04 บาทต่อปี หรือร้อยละ 52.41 ของค่าใช้จ่าย ครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 11,627.39 บาทต่อเดือน หรือ 139,528.68 บาทต่อปีหรือ ร้อยละ 47.59 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 39,365.71 บาทต่อเดือน หรือ 472,388.52 บาทต่อปี(ตารางที่ 16) ตารางที่16 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 63,797.27 765,567.24 - ในภาคการเกษตร 50,096.29 601,155.48 78.52 นอกภาคการเกษตร 13,700.98 164,411.76 21.48 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 24,431.56 293,178.72 - ในครัวเรือน 12,804.17 153,650.04 52.41 ในภาคการเกษตร 11,627.39 139,528.68 47.59 เงินคงเหลือในครัวเรือน 39,365.71 472,388.52 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่เทศบาล ร้อยละ 37.50 หมอดินอาสาร้อยละ 25.00 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 20.00 และเพื่อนบ้าน ร้อยละ 2.50 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินได้แจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำ หรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจ (ตารางที่ 17)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 31 ตารางที่17 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ร้อยละ ผู้นำท้องถิ่น 50.00 เจ้าหน้าที่เทศบาล 37.50 หมอดินอาสา 25.00 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 20.00 เพื่อนบ้าน 2.50 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับการ สนับสนุนกิจกรรม คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 – 8 ได้รับการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กิจกรรมการถ่ายทอด องค์ความรู้รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการได้รับกิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ (ตารางที่ 18) ตารางที่18 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 1 - 8 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ 1 - 8 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความพอเพียงของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 35.00 และ ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 65.00 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 19) ตารางที่19 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม -


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 32 ตารางที่ 19 (ต่อ) รายการ ร้อยละ ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 35.00 ไม่มี 65.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากร้อยละ 55.00 และระดับมากที่สุด ร้อยละ 45.00 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 55.00 และระดับมากที่สุดร้อยละ 45.00 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 52.50 และระดับมากร้อยละ 47.50 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากร้อยละ 52.50 และระดับมากที่สุดร้อยละ 47.50 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด (ตารางที่ 20) ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.45อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการ สนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.53 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.48 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 20) ตารางที่20 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 55.00 45.00 3.45 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 55.00 45.00 3.45 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 47.50 52.50 3.53 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 52.50 47.50 3.48 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 7.50 และไม่มีปัญหาร้อยละ 92.50 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ไม่เพียงพอร้อยละ 33.34 ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ ศัตรูพืชหรือโรคพืชและราคาผลผลิตตกต่ำ ร้อยละ 33.33 เท่ากัน ทั้งนี้เกษตรกรมีข้อเสนอแนะร้อยละ 2.50 และไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ 97.50 ของเกษตรกรทั้งหมดซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมดคือ จัดสรรงบประมาณและปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ(ตารางที่21)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 33 ตารางที่21 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 92.50 เกษตรกรที่มีปัญหา 7.50 ลักษณะปัญหา สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ 33.34 ศัตรูพืช/โรคพืช 33.33 ราคาผลผลิตตกต่ำ 33.33 เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 97.50 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 2.50 ข้อเสนอแนะ จัดสรรงบประมาณ/ปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ 100.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 22) ตารางที่22 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลอ่างคีรีอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีมีการปลูกพืชหลายชนิด อาทิเช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง ยางพารา เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ทุเรียนมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 130,067.05 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 28,523.86 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 101,543.19 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วน รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 4.56 มังคุดมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 60,896.19 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 9,965.16 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 50,931.03 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด6.11 และลองกองมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 27,268.45 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 4,806.35 บาทต่อไร่ ผลตอบแทน สุทธิเฉลี่ย 22,462.10 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 5.67 (ตารางที่ 23)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 34 ตารางที่23 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ทุเรียน มังคุด ลองกอง 1. มูลค่าผลผลิต 130,067.05 60,896.19 27,268.45 2. ต้นทุนทั้งหมด 28,523.86 9,965.16 4,806.35 3. ผลตอบแทนสุทธิ 101,543.19 50,931.03 22,462.10 4. B/C Ratio 4.56 6.11 5.67 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 3.2.3 ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีความสนใจด้าน การเกษตรและมีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง โดยเป็น เกษตรกรตัวแทนหมู่บ้านละ 3 ราย (2) จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับรู้ และ ให้เกษตรกรเข้าร่วมการเก็บตัวอย่างดินในแปลงของตนเองมา เพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชก่อนและ หลังเข้าร่วมโครงการ (3) ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รณรงค์ และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) เกษตรกรผู้เป็นตัวแทนหมู่บ้านละ 3 ราย จำนวน 52 ราย ที่มีความสนใจ ด้านการเกษตร (2) เกษตรกรที่มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินด้านการ ปรับปรุงบำรุงดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง (3) เกษตรกรที่มีความพร้อมในการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงาน 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งรณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการ อนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับปรุง บำรุงดิน ส่วนใหญ่เน้นใช้สารเคมีทำการเกษตร และขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ หรือประโยชน์ของหญ้าแฝก (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุง บำรุงดิน สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง ลดการใช้สารเคมี


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 35 ทางการเกษตรหันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับ การอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง และสำนักงาน เกษตรอำเภอโพนพิสัย 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหา ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำแผน ระดับตำบล และไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ แผนตำบลให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการ แก้ปัญหาในพื้นที่ 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เกษตรกรเป็น เพศชายร้อยละ 34.62 เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.38 มีอายุเฉลี่ย 50 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 30.76 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 7.69 ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี และสูงกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 3.85 เท่ากัน ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 7.69 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและหมอดินอาสาร้อยละ 3.85 เท่ากัน ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 24) ตารางที่24 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 34.62 หญิง 65.38 อายุเฉลี่ย (ปี) 50.00 ระดับการศึกษา จบการศึกษา ประถมศึกษา 50.00 มัธยมศึกษาตอนต้น 7.69 มัธยมศึกษาตอนปลาย 30.76 อนุปริญญา 3.85 ปริญญาตรี 3.85 สูงกว่าปริญญาตรี 3.85


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 36 ตารางที่24 (ต่อ) รายการ ร้อยละ สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 ผู้ใหญ่บ้าน 7.69 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3.85 หมอดินอาสา 3.85 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 19.56 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ มากที่สุด คือ โฉนด 15.72 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 80.34 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 2.92 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 14.94 และ น.ส.3 0.92 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 4.72 (ตารางที่ 25) ตารางที่25 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 19.56 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด 15.72 80.34 ส.ป.ก.4-01 2.92 14.94 น.ส.3 0.92 4.72 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 53.85 และมีเกษตรกรที่ไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 46.15 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มี การกู้ยืมเงินมีวงเงินกู้เฉลี่ย 162,857.14 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 155,000.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 95.18 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน 4,285.71 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 2.63 และสหกรณ์การยาง 3,571.43 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 2.19 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 7.00 บาทต่อปี(ตารางที่ 26)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 37 ตารางที่26 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 53.85 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 46.15 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 162,857.14 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. 155,000.00 95.18 กองทุนหมู่บ้าน 4,285.71 2.63 สหกรณ์การยาง 3,571.43 2.19 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 7.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 18,000.87 บาทต่อเดือน หรือ 216,010.44 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 9,019.62 บาท ต่อเดือน หรือ 108,235.44 บาทต่อปี หรือร้อยละ 50.11 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาค การเกษตร 8,981.25 บาทต่อเดือน หรือ 107,775.00 บาทต่อปี หรือร้อยละ 49.89 และ เกษตรกร มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 14,084.20 บาทต่อเดือน หรือ 169,010.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน 9,948.72 บาทต่อเดือน หรือ 119,384.64 บาทต่อปี หรือร้อยละ 70.64 ของค่าใช้จ่าย ครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 4,135.48 บาทต่อเดือน หรือ 49,625.76 บาทต่อปี หรือร้อยละ 29.36 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 3,916.67 บาทต่อเดือน หรือ 47,000.04 บาท ต่อปี (ตารางที่ 27) ตารางที่27 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 18,000.87 216,010.44 - ในภาคการเกษตร 9,019.62 108,235.44 50.11 นอกภาคการเกษตร 8,981.25 107,775.00 49.89 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 14,084.20 169,010.40 - ในครัวเรือน 9,948.72 119,384.64 70.64 ในภาคการเกษตร 4,135.48 49,625.76 29.36 เงินคงเหลือในครัวเรือน 3,916.67 47,000.04 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดรับรู้ข้อมูล ข่าวสารจากหมอดินอาสา รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินร้อยละ 7.69 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ได้แจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับ เกษตรกรผู้สนใจ (ตารางที่ 28)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 38 ตารางที่28 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ร้อยละ หมอดินอาสา 100.00 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 7.69 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับ การสนับสนุนกิจกรรม คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 - 17 ได้รับการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์กิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกัน การชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการได้รับกิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ (ตารางที่ 29) ตารางที่29 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 1 - 17 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ 1 - 17 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความพอเพียงของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 80.77 และไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 19.23 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 30) ตารางที่30 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม - ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 80.77 ไม่มี 19.23 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 39 (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 92.31 และระดับมาก ร้อยละ 7.69 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.46และระดับมากร้อยละ 11.54ของเกษตรกรทั้งหมดความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 92.31 และระดับมากร้อยละ 7.69 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวม เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 91.03 และระดับมากร้อยละ 8.97 ของเกษตรกร ในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.92 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.88 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.92 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 3.91 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด (ตารางที่ 31) ตารางที่31 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 7.69 92.31 3.92 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 11.54 88.46 3.88 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 7.69 92.31 3.92 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 8.97 91.03 3.91 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 26.92 และไม่มีปัญหาร้อยละ 73.08 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ไม่เพียงพอร้อยละ 42.86 ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ ศัตรูพืชหรือโรคพืชและน้ำไม่เพียงพอ ต่อการทำการเกษตรร้อยละ 28.57 เท่ากัน ของเกษตรกรที่มีปัญหา ทั้งนี้ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ ร้อยละ 15.38 และไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ 84.62 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมด คือ แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม (ตารางที่ 32) ตารางที่32 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 73.08 เกษตรกรที่มีปัญหา 26.92 ลักษณะปัญหา สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ 42.86 ศัตรูพืช/โรคพืช 28.57 น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร 28.57


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 40 ตารางที่32 (ต่อ) รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 84.62 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 15.38 ข้อเสนอแนะ แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม 100.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 33) ตารางที่33 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ยางพารา อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง กล้วย เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 4,371.31 บาทต่อไร่ โดยมี ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 1,663.12 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,708.19 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ ต่อต้นทุนทั้งหมด2.63 ยางพารามีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 3,182.22 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,277.78 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 904.44 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 1.40 และ อ้อยโรงงานมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 10,500.00 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 7,000.00 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,500.00 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 1.50 (ตารางที่ 34) ตารางที่34 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ข้าว ยางพารา อ้อยโรงงาน 1. มูลค่าผลผลิต 4,371.31 3,182.22 10,500.00 2. ต้นทุนทั้งหมด 1,663.12 2,277.78 7,000.00 3. ผลตอบแทนสุทธิ 2,708.19 904.44 3,500.00 4. B/C Ratio 2.63 1.40 1.50 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 41 3.2.4 ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) ประสานงานชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงาน ที่ได้รับมอบหมาย (2) จัดทำแผนการดำเนินงาน กำหนดวันเวลา สถานที่ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสนับสนุนกิจกรรมการสาธิตและฝึกอบรมเกษตรกร (3) ดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพ เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมจัดเตรียมเอกสารการฝึกอบรม (4) ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมสถานที่ดำเนินการฝึกอบรม เกษตรกร (5) ดำเนินการฝึกอบรมตามวันเวลาที่กำหนด และติดตามผลการดำเนินงาน 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) เกษตรกรที่มีปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ (2) เกษตรกรที่มีความต้องการและตั้งใจเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อการผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำหมู่บ้าน หมอดินอาสา และเกษตรกร 9 หมู่บ้าน จำนวน 90 ราย (3) เกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้จัดหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ส่งเสริมการผลิตและใช้ สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และจัดทำระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (ปรับระดับพื้นที่นาแบบขุดคูยกร่อง) 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ คุณภาพดินในการจัดการดินอย่างถูกต้อง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากมีการปลูกพืชต่อเนื่อง และขาดความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินในการ นำไปใช้ในการผลิตและแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างถูกต้อง (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการ ตรวจสอบคุณภาพดินมากขึ้น เข้าใจถึงการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช การลดต้นทุน และการเพิ่ม ผลผลิต ทั้งยังสามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตและ แก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ เทศบาลตำบลวังยาง สำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง สำนักงานประมงอำเภอคลองขลุง และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหา ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ยังไม่พบปัญหา


Click to View FlipBook Version