The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kew_k0712, 2024-03-07 22:25:29

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ SMART TAMB 2566

รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 42 ข้อเสนอแนะ สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เกษตรกรเป็น เพศชายร้อยละ 43.24 เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.76 มีอายุเฉลี่ย 55 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาร้อยละ 70.28 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 13.51 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 8.11 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ระดับปริญญาตรีร้อยละ 2.70 เท่ากัน ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพ ทางสังคมอื่น ได้แก่ หมอดินอาสาร้อยละ 13.51 ของเกษตรกรทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 10.81 เท่ากัน (ตารางที่ 35) ตารางที่35 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 43.24 หญิง 56.76 อายุเฉลี่ย (ปี) 55.00 ระดับการศึกษา จบการศึกษา ประถมศึกษา 70.28 มัธยมศึกษาตอนต้น 8.11 มัธยมศึกษาตอนปลาย 13.51 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2.70 ปริญญาตรี 2.70 สูงกว่าปริญญาตรี 2.70 สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 หมอดินอาสา 13.51 ผู้ใหญ่บ้าน 10.81 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 10.81 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 14.93 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ มากที่สุด คือ โฉนด 10.08 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 67.52 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน รองลงมาคือ น.ส.3 1.62 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 10.86 ส.ป.ก.4-01 1.47 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.86 ทั้งนี้ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ 1.76 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 11.76 (ตารางที่ 36)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 43 ตารางที่36 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 14.93 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด 10.08 67.52 น.ส.3 1.62 10.86 ส.ป.ก.4-01 1.47 9.86 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 1.76 11.76 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 67.57 และมีเกษตรกรที่ไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 32.43 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มี การกู้ยืมเงินมีวงเงินกู้เฉลี่ย 149,600.00 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 112,800.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 75.40 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน 20,800.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 13.90 และสหกรณ์การเกษตร 16,000.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 10.70 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ร้อยละ 6.60 บาทต่อปี (ตารางที่ 37) ตารางที่37 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 67.57 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 32.43 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 149,600.00 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. 112,800.00 75.40 กองทุนหมู่บ้าน 20,800.00 13.90 สหกรณ์การเกษตร 16,000.00 10.70 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 6.60 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 26,408.82 บาทต่อเดือน หรือ 316,905.84 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 15,342.88 บาท ต่อเดือน หรือ 184,114.56 บาทต่อปี หรือร้อยละ 58.10 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาค การเกษตร 11,065.94 บาทต่อเดือน หรือ 132,791.28 บาทต่อปีหรือร้อยละ 41.90 และเกษตรกร มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 13,040.85 บาทต่อเดือน หรือ 156,490.20 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 44 ในครัวเรือน 7,002.70 บาทต่อเดือน หรือ 84,032.40 บาทต่อปี หรือร้อยละ 53.70ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 6,038.15 บาทต่อเดือน หรือ 72,457.80 บาทต่อปีหรือร้อยละ 46.30 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 13,367.97 บาทต่อเดือน หรือ 160,415.64 บาทต่อปี (ตารางที่ 38) ตารางที่38 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 26,408.82 316,905.84 - ในภาคการเกษตร 15,342.88 184,114.56 58.10 นอกภาคการเกษตร 11,065.94 132,791.28 41.90 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 13,040.85 156,490.20 - ในครัวเรือน 7,002.70 84,032.40 53.70 ในภาคการเกษตร 6,038.15 72,457.80 46.30 เงินคงเหลือในครัวเรือน 13,367.97 160,415.64 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 78.38 รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินและเจ้าหน้าที่เทศบาล ร้อยละ 10.81 เท่ากัน หมอดินอาสาร้อยละ 8.11 และเพื่อนบ้านร้อยละ 2.70 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ได้แจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับ เกษตรกรผู้สนใจ (ตารางที่ 39) ตารางที่39 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ร้อยละ ผู้นำท้องถิ่น 78.38 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 10.81 เจ้าหน้าที่เทศบาล 10.81 หมอดินอาสา 8.11 เพื่อนบ้าน 2.70 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับการ สนับสนุนกิจกรรม คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 – 9 ได้รับการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง พัฒนา กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ) สนับสนุน เมล็ดพันธุ์ปอเทือง กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปรับพื้นที่นาแบบ ขุดคูยกร่อง) ซึ่งการได้รับกิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ (ตารางที่ 40)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 45 ตารางที่40 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง หมู่ที่ 1 - 9 พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีฯ หมู่ที่ 1 - 9 สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง หมู่ที่ 1 - 9 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ 1 - 9 จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ (ขุดคูยกร่อง) หมู่ที่ 4 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความพอเพียงของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 16.22 และ ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 83.78 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 41) ตารางที่41 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม - ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 16.22 ไม่มี 83.78 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 78.38 และระดับมาก ร้อยละ 21.62 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 86.49 และระดับมากร้อยละ 13.51 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 81.08 และระดับมากร้อยละ 18.92 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 81.98 และระดับมากร้อยละ 18.02 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 46 ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.78 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.81 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 3.82 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด (ตารางที่ 42) ตารางที่42 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 21.62 78.38 3.78 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 13.51 86.49 3.86 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 18.92 81.08 3.81 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 18.02 81.98 3.82 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 16.22 และไม่มีปัญหาร้อยละ 83.78 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ ศัตรูพืชหรือโรคพืช ร้อยละ 83.33 ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรร้อยละ 16.67 ทั้งนี้ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะร้อยละ 5.41 และไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ 94.59 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมร้อยละ 50.00 เท่ากัน ของเกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ (ตารางที่ 43) ตารางที่43 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 83.78 เกษตรกรที่มีปัญหา 16.22 ลักษณะปัญหา ศัตรูพืช/โรคพืช 83.33 น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร 16.67 เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 94.59 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 5.41 ข้อเสนอแนะ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 50.00 แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม 50.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 44)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 47 ตารางที่44 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ตำบล วังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง พืชผัก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนา ที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 9,946.36 บาทต่อไร่ โดยมี ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,433.26 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 7,513.10 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วน รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 4.09 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 4,204.38 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุน ทั้งหมดเฉลี่ย 1,979.59 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,224.79 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ ต่อต้นทุนทั้งหมด 2.12 และอ้อยโรงงานมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 18,000.00 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมด เฉลี่ย 6,000.00 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 12,000.00 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน ทั้งหมด 3.00 (ตารางที่ 45) ตารางที่45 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน 1. มูลค่าผลผลิต 9,946.36 4,204.38 18,000.00 2. ต้นทุนทั้งหมด 2,433.26 1,979.59 6,000.00 3. ผลตอบแทนสุทธิ 7,513.10 2,224.79 12,000.00 4. B/C Ratio 4.09 2.12 3.00 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 3.2.5 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) เข้าร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน/ตำบล เพื่อชี้แจงงบประมาณ และความ ต้องการกิจกรรมสนับสนุนของหมู่บ้าน (2) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มี ความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองและมีความสนใจในด้าน การเกษตร โดยเป็นเกษตรกรตัวแทนหมู่บ้านละ 10 ราย


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 48 (3) จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับรู้ ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ (4) สนับสนุนปัจจัยด้านการพัฒนาที่ดินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) ตัวแทนหมู่บ้านและผู้ที่สนใจในการใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรของตนเอง จำนวน 120 ราย (2) เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการไถกลบตอซังต้องมีความพร้อมในการ หว่านพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน (3) เกษตรกรที่มีความพร้อมสามารถให้เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผล การดำเนินงานได้ 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปอเทือง และไถกลบตอซัง 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ต้นทุนทำการเกษตรสูง และมีการเผาตอซังข้าวในพื้นที่ (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การเก็บตัวอย่างดิน การผลิตน้ำหมักชีวภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ด้วยการ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีลดการเผาตอซัง ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาแต้ม และ สำนักงานเกษตรอำเภอปราณบุรี 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหา ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของ การทำแผนระดับตำบล ข้อเสนอแนะ ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการประชุมในระดับพื้นที่ เพื่อให้ ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่มีความเข้าใจมากขึ้น 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย ร้อยละ 33.33 เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.67 มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 61.91 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 16.67 ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 9.52 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 7.14 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 2.38 และมีเกษตรกรที่ไม่รู้หนังสือร้อยละ 2.38 ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพ ทางสังคมอื่น ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 7.14 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 46)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 49 ตารางที่46 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 33.33 หญิง 66.67 อายุเฉลี่ย (ปี) 57.00 ระดับการศึกษา ไม่รู้หนังสือ 2.38 จบการศึกษา ประถมศึกษา 61.91 มัธยมศึกษาตอนต้น 9.52 มัธยมศึกษาตอนปลาย 16.67 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2.38 ปริญญาตรี 7.14 สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 7.14 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 8.06 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ มากที่สุด คือ โฉนด 5.62 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 69.83 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 และ น.ส.3 0.79 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.76 เท่ากัน น.ส.3ก. 0.07 ไร่ ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.89 ทั้งนี้ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ 0.79 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.76 (ตารางที่ 47) ตารางที่47 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 8.06 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด 5.62 69.83 ส.ป.ก.4-01 0.79 9.76 น.ส.3 0.79 9.76 น.ส.3ก. 0.07 0.89 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 0.79 9.76 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 50 (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 21.43 และไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 78.57 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มีการกู้ยืมเงิน มีวงเงินกู้เฉลี่ย 51,666.67 บาทต่อครัวเรือน โดยแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 46,555.56 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 90.11 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ กองทุนหมู่บ้าน 5,111.11 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.89 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.33 บาทต่อปี (ตารางที่ 48) ตารางที่48 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 21.43 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 78.57 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 51,666.67 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. 46,555.56 90.11 กองทุนหมู่บ้าน 5,111.11 9.89 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 6.33 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 18,610.50 บาทต่อเดือน หรือ 223,326.00 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 14,081.73 บาท ต่อเดือน หรือ 168,980.76 บาทต่อปีหรือร้อยละ 75.67 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาค การเกษตร 4,528.77 บาทต่อเดือน หรือ 54,345.24 บาทต่อปีหรือร้อยละ 24.33 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่าย ครัวเรือนรวม 12,819.68 บาทต่อเดือน หรือ 153,836.16 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 7,904.76 บาทต่อเดือน หรือ 94,857.12 บาทต่อปี หรือร้อยละ 61.66 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 4,914.92 บาทต่อเดือน หรือ 58,979.04 บาทต่อปีหรือร้อยละ 38.34 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 5,790.82 บาทต่อเดือน หรือ 69,489.84 บาทต่อปี (ตารางที่ 49) ตารางที่49 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 18,610.50 223,326.00 - ในภาคการเกษตร 14,081.73 168,980.76 75.67 นอกภาคการเกษตร 4,528.77 54,345.24 24.33 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 12,819.68 153,836.16 - ในครัวเรือน 7,904.76 94,857.12 61.66 ในภาคการเกษตร 4,914.92 58,979.04 38.34 เงินคงเหลือในครัวเรือน 5,790.82 69,489.84 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 51 (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 95.24 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร้อยละ 11.90 และเพื่อนบ้านร้อยละ 2.38 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินได้แจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการ ดังกล่าวผ่านทางผู้นำหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจ (ตารางที่ 50) ตารางที่50 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ร้อยละ ผู้นำท้องถิ่น 95.24 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 11.90 เพื่อนบ้าน 2.38 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับการ สนับสนุนกิจกรรม คือ เกษตรกรหมู่ที่ 1 ได้รับการส่งเสริมการไถกลบตอซัง เกษตรกรหมู่ที่ 1 – 12 ได้รับ การส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง และกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ สำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7 ได้รับการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ซึ่งการได้รับกิจกรรม ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ (ตารางที่ 51) ตารางที่51 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการไถกลบตอซัง หมู่ที่ 1 สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง หมู่ที่ 1 - 12 ส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หมู่ที่ 1 - 12 ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 7 การถ่ายทอดองค์ความรู้ หมู่ที่ 1 - 12 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 78.57 และ ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 21.43 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 52)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 52 ตารางที่52 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม - ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 78.57 ไม่มี 21.43 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากร้อยละ 61.90 และระดับมากที่สุด ร้อยละ 38.10 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.38 และระดับมากที่สุดร้อยละ 47.62 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากร้อยละ 57.14 และระดับมากที่สุดร้อยละ 42.86 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากร้อยละ 57.14 และระดับมากที่สุดร้อยละ 42.86 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด (ตารางที่ 53) ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.38 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.43 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.43 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 53) ตารางที่53 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 61.90 38.10 3.38 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 52.38 47.62 3.48 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 57.14 42.86 3.43 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 57.14 42.86 3.43 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 28.57 และไม่มีปัญหาร้อยละ 71.43 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 53 ร้อยละ50.00ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ ศัตรูพืชหรือโรคพืชร้อยละ 41.67 และราคาผลผลิตตกต่ำ ร้อยละ 8.33 ทั้งนี้เกษตรกรมีข้อเสนอแนะร้อยละ 28.57 และไม่มีข้อเสนอแนะร้อยละ 71.43 ของเกษตรกร ทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ ให้ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องร้อยละ 41.67 ของเกษตรกรที่มี ข้อเสนอแนะ รองลงมาคือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรร้อยละ 25.00 จัดสรรงบประมาณและปัจจัยการผลิต ให้เพียงพอร้อยละ 16.67 แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม และประกันราคาผลผลิตร้อยละ8.33เท่ากัน (ตารางที่54) ตารางที่54 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 71.43 เกษตรกรที่มีปัญหา 28.57 ลักษณะปัญหา น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร 50.00 ศัตรูพืช/โรคพืช 41.67 ราคาผลผลิตตกต่ำ 8.33 เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 71.43 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 28.57 ข้อเสนอแนะ ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 41.67 จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 25.00 จัดสรรงบประมาณ/ปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ 16.67 แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม 8.33 ประกันราคาผลผลิต 8.33 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 55) ตารางที่ 55 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการปลูกพืชหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 54 ข้าวนาปรัง มะม่วง สับปะรด มะพร้าว อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ขนุน กล้วย เผือก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 6,851.38 บาทต่อไร่ มีต้นทุน ทั้งหมดเฉลี่ย 4,047.83 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,803.55 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ ต่อต้นทุนทั้งหมด 1.69 มะม่วงมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 30,970.67 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 10,084.75 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 20,885.92 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.07 และ สับปะรดมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 7,822.35 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,328.57 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 5,493.78 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.36 (ตารางที่ 56) ตารางที่56 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ข้าว มะม่วง สับปะรด 1. มูลค่าผลผลิต 6,851.38 30,970.67 7,822.35 2. ต้นทุนทั้งหมด 4,047.83 10,084.75 2,328.57 3. ผลตอบแทนสุทธิ 2,803.55 20,885.92 5,493.78 4. B/C Ratio 1.69 3.07 3.36 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 3.2.6 ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค 1.1) ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) ประสานงานชี้แจงรายละเอียด (2) จัดทำแผนการดำเนินงาน (3) ร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน/ตำบล/หน่วยงานในพื้นที่ (4) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ (5) กำหนดวันเวลา/สถานที่ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (6) ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ (7) สนับสนุนกิจกรรม และติดตามผลการดำเนินงาน 1.2) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรให้ได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ดังนี้ (1) เป็นเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความสนใจ มีความต้องการและตั้งใจในการ เรียนรู้พร้อมรับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง (2) สามารถให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 1.3) งบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง การไถกลบตอซัง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิต และใช้สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร สาธิตการผลิต น้ำหมักชีวภาพ จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 55 1.4) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพดินในการจัดการดินอย่างถูกต้อง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากมีการปลูกพืชต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี ของกรมพัฒนาที่ดินในการนำไปใช้ในการผลิต และแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างถูกต้อง ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเผาตอซัง การอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งประโยชน์ของหญ้าแฝก (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ประโยชน์และความจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพดิน การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช การลดต้นทุน และการเพิ่มผลผลิต เข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตและ แก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการลดการเผาตอซัง ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อน และเพิ่ม อินทรียวัตถุในดิน สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีการลดการใช้ สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับ การอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น 1.5) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล สำนักงาน เกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัด 1.6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหา ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำแผน ระดับตำบล ไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนตำบลให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 2) เกษตรกร 2.1) ข้อมูลทั่วไป (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย ร้อยละ 48.47เป็นเพศหญิงร้อยละ 51.53 มีอายุเฉลี่ย 54 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 57.66 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 20.92 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 8.16 ระดับปริญญาตรีร้อยละ 5.61 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงร้อยละ 1.53 สูงกว่าระดับ ปริญญาตรีร้อยละ 1.02 และระดับอนุปริญญาร้อยละ 0.51 และมีเกษตรกรที่ไม่รู้หนังสือและอ่านออกเขียนได้ โดยไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 1.02 เท่ากัน ทั้งนี้ นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพ ทางสังคมอื่น ได้แก่ หมอดินอาสาและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 8.16 เท่ากัน ของเกษตรกรทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้านร้อยละ 7.14 ผู้นำกลุ่มร้อยละ 5.61 กรรมการหมู่บ้านร้อยละ 1.53 และกำนันร้อยละ 0.51 (ตารางที่ 57)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 56 ตารางที่57 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ร้อยละ เพศ ชาย 48.47 หญิง 51.53 อายุเฉลี่ย (ปี) 54.00 ระดับการศึกษา ไม่รู้หนังสือ 1.02 อ่านออกเขียนได้ (โดยไม่ได้เรียนหนังสือ) 1.02 จบการศึกษา ประถมศึกษา 57.66 มัธยมศึกษาตอนต้น 8.16 มัธยมศึกษาตอนปลาย 20.92 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2.55 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1.53 อนุปริญญา 0.51 ปริญญาตรี 5.61 สูงกว่าปริญญาตรี 1.02 สถานภาพทางสังคม เกษตรกร 100.00 หมอดินอาสา 8.16 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 8.16 ผู้ใหญ่บ้าน 7.14 ผู้นำกลุ่ม 5.61 กรรมการหมู่บ้าน 1.53 กำนัน 0.51 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (2) การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการถือครองที่ดิน 15.93 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ มากที่สุด คือ โฉนด 7.89 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 49.55 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน รองลงมาคือ ส.ป.ก.4-01 5.94 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 37.25 น.ส.3 0.65 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 4.10 และ น.ส.3ก. 0.02 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.10 ทั้งนี้ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ 1.43 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 9.00 (ตารางที่ 58)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 57 ตารางที่58 การถือครองที่ดินและหนังสือสำคัญในที่ดินของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ไร่/ครัวเรือน ร้อยละ การถือครองที่ดิน 15.93 100.00 หนังสือสำคัญในที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด 7.89 49.55 ส.ป.ก.4-01 5.94 37.25 น.ส.3 0.65 4.10 น.ส.3ก. 0.02 0.10 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 1.43 9.00 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (3) การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 48.47 และมีเกษตรกรที่ไม่มีการกู้ยืมเงินร้อยละ 51.53 ของเกษตรกรทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่มี การกู้ยืมเงินมีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 153,535.09 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกร กู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 78,463.16 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 51.10 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน รองลงมาคือ สหกรณ์การเกษตร 55,956.14 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 36.45 กองทุนหมู่บ้าน 12,326.32 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 8.02 โรงงานน้ำตาล 5,052.63 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 3.29 และสหกรณ์การยาง 1,421.05 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.93 และแหล่งเงินกู้นอกระบบทั้งหมด คือ เพื่อนบ้าน 315.79 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.21 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.35 บาทต่อปี(ตารางที่ 59) ตารางที่59 การกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ บาท/ครัวเรือน ร้อยละ มีการกู้ยืมเงิน 48.47 ไม่มีการกู้ยืมเงิน 51.53 วงเงินกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือน 153,535.09 รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้ในระบบ ธ.ก.ส. 78,463.16 51.10 สหกรณ์การเกษตร 55,956.14 36.45 กองทุนหมู่บ้าน 12,326.32 8.02 โรงงานน้ำตาล 5,052.63 3.29 สหกรณ์การยาง 1,421.05 0.93 แหล่งเงินกู้นอกระบบ เพื่อนบ้าน 315.79 0.21 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 6.35 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 58 (4) รายได้และค่าใช้จ่าย จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 33,881.70 บาทต่อเดือน หรือ 406,580.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 24,008.33 บาทต่อเดือน หรือ 288,099.96 บาทต่อปี หรือร้อยละ 70.86 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาค การเกษตร 9,873.37 บาทต่อเดือน หรือ 118,480.44 บาทต่อปีหรือร้อยละ 29.14 และเกษตรกร มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 17,317.85 บาทต่อเดือน หรือ 207,814.20 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน 9,259.35 บาทต่อเดือน หรือ 111,112.20 บาทต่อปี หรือร้อยละ 53.47 ของค่าใช้จ่าย ครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 8,058.50 บาทต่อเดือน หรือ 96,702.00 บาทต่อปี หรือร้อยละ 46.53 ทั้งนี้ เกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 16,563.85 บาทต่อเดือน หรือ 198,766.20 บาทต่อปี(ตารางที่ 60) ตารางที่60 รายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ บาท/เดือน บาท/ปี ร้อยละ รายได้ครัวเรือน 33,881.70 406,580.40 - ในภาคการเกษตร 24,008.33 288,099.96 70.86 นอกภาคการเกษตร 9,873.37 118,480.44 29.14 ค่าใช้จ่ายครัวเรือน 17,317.85 207,814.20 - ในครัวเรือน 9,259.35 111,112.20 53.47 ในภาคการเกษตร 8,058.50 96,702.00 46.53 เงินคงเหลือในครัวเรือน 16,563.85 198,766.20 - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 69.39 ของเกษตรกรทั้งหมด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร้อยละ 21.43 หมอดินอาสาร้อยละ 20.92 เจ้าหน้าที่เทศบาลร้อยละ 9.69 และเพื่อนบ้านร้อยละ 2.55 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินได้แจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำชุมชนหรือหน่วยงาน ในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจ (ตารางที่ 61) ตารางที่61 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ร้อยละ ผู้นำท้องถิ่น 69.39 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 21.43 หมอดินอาสา 20.92 เจ้าหน้าที่เทศบาล 9.69 เพื่อนบ้าน 2.55 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (6) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรได้รับการ สนับสนุนกิจกรรม คือ การส่งเสริมการไถกลบตอซัง สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ส่งเสริมการผลิตน้ำหมัก ชีวภาพ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส่งเสริมการผลิตและใช้สารอินทรีย์พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลาย


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 59 ของดิน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งการได้รับกิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสม ของพื้นที่ (ตารางที่ 62) ตารางที่62 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล กิจกรรม เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน 1. ส่งเสริมการไถกลบตอซัง ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลวังยาง อำเภอขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3. ส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4. ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ ส่งเสริมการผลิตและใช้สารอินทรีย์/ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลด การใช้สารเคมีทางการเกษตร ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อฟื้นฟูและป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 6. การถ่ายทอดองค์ความรู้ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (7) ความพอเพียงของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเก็บตัวอย่างดิน จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ และเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 43.88 และไม่มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 56.12 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 63)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 60 ตารางที่63 ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน การได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอด องค์ความรู้และการเก็บตัวอย่างดินของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ร้อยละ ความเพียงพอของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - เหมาะสม 100.00 เพียงพอ 100.00 ไม่เพียงพอ - - ไม่เหมาะสม - ได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ 100.00 เกษตรกรมีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ มี 43.88 ไม่มี 56.12 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (8) ความพึงพอใจต่อการสนับสนุนกิจกรรม จากการสำรวจพบว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 58.67 และระดับมากร้อยละ 41.33 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.71 และระดับมากร้อยละ 39.29 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ใน ระดับมากที่สุดร้อยละ 61.73 และระดับมากร้อยละ 38.27 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกร มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.37 และระดับมากร้อยละ 39.63 ของเกษตรกรในภาพรวม ทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.61 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 3.60 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด (ตารางที่ 64) ตารางที่64 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการสนับสนุนกิจกรรมภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย แปลผล น้อยที่สุด น้อย มาก มากที่สุด ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - - 41.33 58.67 3.59 มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม - - 39.29 60.71 3.61 มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน - - 38.27 61.73 3.62 มากที่สุด ภาพรวมการแปลผล - - 39.63 60.37 3.60 มากที่สุด ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (9) ปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรมีปัญหาร้อยละ 20.92 และไม่มีปัญหาร้อยละ 79.08 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งลักษณะปัญหาที่พบ คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำ การเกษตรร้อยละ 43.90 ของเกษตรกรที่มีปัญหา รองลงมาคือ ศัตรูพืชหรือโรคพืชร้อยละ 39.02


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 61 สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอร้อยละ 9.76 ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงและราคาผลผลิตตกต่ำ ร้อยละ 4.88 เท่ากัน และดินเสื่อมโทรมร้อยละ 2.44 ทั้งนี้ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะร้อยละ 15.31 และไม่มี ข้อเสนอแนะร้อยละ 84.69 ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ร้อยละ 36.67 ของเกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ รองลงมาคือ แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมร้อยละ 26.67 ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องร้อยละ 16.67 จัดสรรงบประมาณ/ปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ ร้อยละ 10.00 แนะนำการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.67 สนับสนุนระบบโซลาเซลล์ เพื่อการเกษตรและประกันราคาผลผลิตร้อยละ 3.33 เท่ากัน (ตารางที่ 65) ตารางที่65 ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ร้อยละ เกษตรกรที่ไม่มีปัญหา 79.08 เกษตรกรที่มีปัญหา 20.92 ลักษณะปัญหา น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร 43.90 ศัตรูพืช/โรคพืช 39.02 สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ 9.76 ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง 4.88 ราคาผลผลิตตกต่ำ 4.88 ดินเสื่อมโทรม 2.44 เกษตรกรที่ไม่มีข้อเสนอแนะ 84.69 เกษตรกรที่มีข้อเสนอแนะ 15.31 ข้อเสนอแนะ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 36.67 แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม 26.67 ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 16.67 จัดสรรงบประมาณ/ปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ 10.00 แนะนำการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง 6.67 สนับสนุนระบบโซลาเซลล์เพื่อการเกษตร 3.33 ประกันราคาผลผลิต 3.33 ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) (10) ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จากการสำรวจ พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 66)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 62 ตารางที่66 ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล รายการ ร้อยละ ความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรมกรมพัฒนาที่ดิน - สนใจเข้าร่วม 100.00 - ไม่สนใจเข้าร่วม - ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) 2.2) ภาวะการผลิต (1) ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มี การปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา มะพร้าว ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วง สับปะรด ขนุน กล้วย เผือก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น (2) ต้นทุนและผลตอบแทน ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เฉพาะพืชหลักที่เกษตรปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 7,989.27 บาทต่อไร่ มีต้นทุน ทั้งหมดเฉลี่ย 2,255.93 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 5,733.34 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.54 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 8,795.52 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 3,514.44 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 5,281.08 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 2.50 มันสำปะหลังมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 10,117.59 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,420.97 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 7,696.62 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 4.18 อ้อยโรงงาน มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 10,774.72 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 4,942.28 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 5,832.44 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 2.18 ยางพารามีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 9,450.41 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,998.14 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,452.27 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.15 ทุเรียนมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 128,125.18 บาทต่อไร่ มีต้นทุน ทั้งหมดเฉลี่ย 27,904.75 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 100,220.43 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ ต่อต้นทุนทั้งหมด 4.59 มังคุดมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 60,896.19 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 9,965.16 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 50,931.03 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 6.11 ลองกองมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 27,268.45 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย4,806.35 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 22,462.10 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 5.67 มะม่วงมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 30,970.67 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย10,084.75 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 20,885.92 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.07 และสับปะรดมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 7,822.35 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,328.57 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 5,493.78 บาทต่อไร่ โดยมีอัตราส่วน รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด 3.36 (ตารางที่ 67)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 63 ตารางที่67 ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา 1. มูลค่าผลผลิต 7,989.27 8,795.52 10,117.59 10,774.72 9,450.41 2. ต้นทุนทั้งหมด 2,255.93 3,514.44 2,420.97 4,942.28 2,998.14 3. ผลตอบแทนสุทธิ 5,733.34 5,281.08 7,696.62 5,832.44 6,452.27 4. B/C Ratio 3.54 2.50 4.18 2.18 3.15 ตารางที่ 67 (ต่อ) หน่วย: บาทต่อไร่ รายการ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วง สับปะรด 1. มูลค่าผลผลิต 128,125.18 60,896.19 27,268.45 30,970.67 7,822.35 2. ต้นทุนทั้งหมด 27,904.75 9,965.16 4,806.35 10,084.75 2,328.57 3. ผลตอบแทนสุทธิ 100,220.43 50,931.03 22,462.10 20,885.92 5,493.78 4. B/C Ratio 4.59 6.11 5.67 3.07 3.36 ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนหลังได้รับการสนับสนุนกิจกรรมไม่สามารถ ดำเนินการได้ เนื่องจากเกษตรกรพึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรม จึงไม่สามารถระบุได้ว่ารายได้สุทธิเพิ่มขึ้น หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินได้ทันที ระบุได้เพียงมีการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์ ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต เป็นต้น


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 64 บทที่ 4 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 4.1 สรุปผล 4.1.1 กิจกรรมส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ส่วนกลางดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ มีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ฐานข้อมูลที่จัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน และสร้างเครือข่ายเกษตรกร ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งมีการติดตามและประเมินผล ซึ่งดำเนินการ แล้วเสร็จภายใน 30 กันยายน 2566 (ตารางที่ 68) 4.1.2 กิจกรรมส่วนภูมิภาค 1) ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 1.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน คัดเลือกตำบลที่ได้ดำเนินการจัดทำ แผนการใช้ที่ดินไว้แล้ว เป็นตำบลเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และ ประสานงานสถานีพัฒนาที่ดิน เพื่อแจ้งพื้นที่เป้าหมายสำหรับการดำเนินงานขับเคลื่อนเป็น SMART TAMBON (2) สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น คัดเลือกกลุ่ม เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และชี้แจงรายละเอียดโครงการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบแนวทาง (3) ดำเนินการจัดซื้อปัจจัยการผลิตตามภารกิจกรมพัฒนาที่ดินที่บรรจุอยู่ในเล่มแผนการใช้ที่ดินตำบล เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ (4) จัดอบรมและสาธิตการปรับปรุงบำรุงดินด้วยเทคโนโลยีและ นวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน การฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และแจกจ่ายปัจจัยการผลิต ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และ (5) ติดผลการดำเนินงานในพื้นที่ โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก เกษตรกร ดังนี้ ผู้นำชุมชนและเกษตรกรจำนวน 160 ราย ที่มีความสนใจด้านการเกษตรและสามารถนำ ความรู้ที่ได้รับไปขยายผล ถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้มีความสนใจในการใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้ สารเคมีทางการเกษตร พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน และเป็น หมอดินอาสาในพื้นที่ มีงบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิตและใช้สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (หญ้าแฝก) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม คือ (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่มีการชะล้าง พังทลายของดินบริเวณแหล่งน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร และ (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการ สนับสนุนกิจกรรมพึ่งเริ่มจึงยังไม่สามารถระบุประโยชน์หลังการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวได้สำหรับความ พึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และได้มีการ ขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดสุพรรณบุรีและสำนักงานเกษตรอำเภอด่านช้าง ทั้งนี้ยังไม่พบปัญหาและไม่มีข้อเสนอแนะ (ตารางที่ 69)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 65 1.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 66.67 เป็นเพศหญิงร้อยละ 33.33 มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 43.15 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพทางสังคม นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม ผู้ใหญ่บ้าน หมอดินอาสา กำนัน และกรรมการหมู่บ้าน มีลักษณะการถือครองที่ดิน 28.25 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์มากที่สุด คือ ส.ป.ก.4-01 19.61 ไร่ต่อครัวเรือน หรือ ร้อยละ 69.40 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 64.71 ของเกษตรกรทั้งหมด มีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 130,025.25 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ที่เกษตรกร กู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 61,969.70 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 47.66 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.29 บาทต่อปี เกษตรกร มีรายได้ครัวเรือนรวม 411,922.80 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 305,464.68 บาทต่อปี หรือร้อยละ 74.16 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 106,458.12 บาทต่อปี หรือร้อยละ 25.84 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 239,990.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน 106,564.68 บาทต่อปี หรือร้อยละ 44.40 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาค การเกษตร 133,425.72 บาทต่อปีหรือร้อยละ 55.60 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 171,932.40 บาทต่อปี สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 92.16 (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (สาธิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ/สมุนไพรไล่แมลง) สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง การถ่ายทอดองค์ความรู้ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งเกษตรกร ทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มีการเก็บตัวอย่างดิน ไปวิเคราะห์ร้อยละ 23.53 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 70) (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับ มากที่สุดร้อยละ 54.90 และระดับมากร้อยละ 45.10 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการ สนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 50.98 และระดับมากร้อยละ 49.02 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 54.90 และระดับมากร้อยละ 45.10 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 53.59 และ ระดับมากร้อยละ 46.41 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.51 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มี ต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.54 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 70) (4) เกษตรกรมีปัญหา คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ศัตรูพืชหรือ โรคพืช ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง และดินเสื่อมโทรม ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แนะนำการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม และสนับสนุนระบบโซลาเซลล์ เพื่อการเกษตร โดยเกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 66 ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เกษตรผสมผสาน เป็นต้น 2) ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 2.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มี ความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองและมีความสนใจในด้าน การเกษตร โดยเป็นเกษตรกรตัวแทนหมู่บ้าน หมอดินอาสา กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน (2) จัดประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ (3) ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย ของดิน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกร ดังนี้เกษตรกรตัวแทนหมู่บ้าน หมอดินอาสา กำนัน และ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 60ราย ที่มีความสนใจในด้านการเกษตร มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ด้านการปรับปรุงบำรุงดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง และพร้อมในการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน มีงบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม คือ (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ยังมีการใช้สารเคมีในการทำ การเกษตร ขาดความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ และประโยชน์ของหญ้าแฝก และ (2) หลังเข้า ร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรังปรุงบำรุงดินมากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยี การพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบ ประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น สำหรับความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด และได้มีการขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ สำนักงานเทศบาลตำบล อ่างคีรีเกษตรอำเภอมะขาม และอำเภอมะขาม ทั้งนี้ปัญหาในการดำเนินงาน คือ ผู้นำและเกษตรกร ในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำแผนระดับตำบล ไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมา สนับสนุนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน คือ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ และ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนตำบลให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนให้เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา (ตารางที่ 69) 2.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 55.00เป็นเพศหญิงร้อยละ 45.00 มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 65.00 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพทางสังคม นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม และหมอดินอาสา มีลักษณะการถือครองที่ดิน 7.06 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือ สำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด คือ โฉนด เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 35.00 ของเกษตรกรทั้งหมด มีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 272,142.86 บาทต่อครัวเรือน มีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ สหกรณ์การเกษตร 244,642.86 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 89.90 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน และ แหล่งเงินกู้นอกระบบทั้งหมด คือ เพื่อนบ้าน 2,142.86 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.79 ของเกษตรกร ที่กู้ยืมเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 5.43 บาทต่อปี เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 765,567.24


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 67 บาทต่อปีซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 601,155.48 บาทต่อปี หรือร้อยละ 78.52 ของรายได้ ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 164,411.76 บาทต่อปีหรือร้อยละ 21.48 และเกษตรกร มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 293,178.72 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 153,650.04 บาทต่อปี หรือร้อยละ 52.41 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 139,528.68 บาทต่อปี หรือร้อยละ 47.59 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 472,388.52 บาทต่อปีสำหรับการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรทั้งหมด (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกัน การชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มีการเก็บ ตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 35.00 (ตารางที่ 70) (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 55.00 และระดับมากที่สุดร้อยละ 45.00 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุน กิจกรรมอยู่ในระดับมากร้อยละ 55.00และระดับมากที่สุดร้อยละ 45.00 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจ ที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 52.50 และระดับมากร้อยละ 47.50 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากร้อยละ 52.50 และระดับ มากที่สุดร้อยละ 47.50 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.53 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.48ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด (ตารางที่ 70) (4) เกษตรกรมีปัญหาคือสนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอศัตรูพืชหรือโรคพืช และราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดสรรงบประมาณและปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ โดยเกษตรกร ทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรม จากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มีการปลูกพืชหลายชนิด อาทิเช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง ยางพารา เป็นต้น 3) ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 3.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมี ขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีความสนใจด้าน การเกษตรและมีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง โดยเป็น เกษตรกรตัวแทนหมู่บ้านละ 3 ราย (2) จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และให้ เกษตรกรเข้าร่วมการเก็บตัวอย่างดินในแปลงของตนเอง เพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชก่อนและหลังเข้าร่วม โครงการ และ (3) ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รณรงค์และส่งเสริม การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกเกษตรกร ดังนี้เกษตรกรตัวแทนหมู่บ้านละ 3 ราย จำนวน 52 ราย ที่มีความสนใจด้าน การเกษตร มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินด้านการปรับปรุงบำรุงดินมาปรับใช้ในพื้นที่ ของตนเอง และพร้อมให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน มีงบประมาณดำเนินการ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 68 จำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม คือ (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรขาดความรู้ ความเข้าใจในการปรับปรุงบำรุงดิน ส่วนใหญ่เน้นใช้สารเคมีทำการเกษตร และขาดความรู้ความเข้าใจใน ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำหรือประโยชน์ของหญ้าแฝก และ (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกิดความตระหนักและให้ ความสำคัญกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น สำหรับความพึงพอใจต่อ แผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และได้มีการขับเคลื่อนแผนงาน ไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง และสำนักงานเกษตรอำเภอโพนพิสัย ทั้งนี้ ปัญหาในการดำเนินงาน คือ ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำแผนระดับ ตำบล ไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการ ดำเนินงาน คือ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนตำบลให้มากขึ้น และสร้าง ความเชื่อมั่นด้วยการจัดงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ (ตารางที่ 69) 3.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 34.62 เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.38 มีอายุเฉลี่ย 50 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพทางสังคม นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และหมอดินอาสา มีลักษณะการถือครองที่ดิน 19.56 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มี เอกสารสิทธิ์มากที่สุด คือ โฉนด 15.72 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 80.34 ของเกษตรกรที่มีลักษณะ การถือครองที่ดิน เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 53.85 ของเกษตรกรทั้งหมด มีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 162,857.14 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 155,000.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 95.18 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 7.00 บาทต่อปี เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 216,010.44 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 108,235.44 บาทต่อปี หรือร้อยละ 50.11 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 107,775.00 บาทต่อปี หรือร้อยละ 49.89 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่าย ครัวเรือนรวม 169,010.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 119,384.64 บาทต่อปี หรือร้อยละ 70.64 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 49,625.76 บาทต่อปี หรือร้อยละ 29.36 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 47,000.04 บาทต่อปี สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกษตรกร ทั้งหมดรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหมอดินอาสา (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกัน การชะล้างพังทลายของดิน โดยมีการนำไปปลูกบริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมด มีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำ หรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 80.77 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 70)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 69 (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับ มากที่สุดร้อยละ 92.31 และระดับมากร้อยละ 7.69 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 88.46 และระดับมากร้อยละ 11.54 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 92.31 และระดับมากร้อยละ 7.69 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 91.03 และ ระดับมากร้อยละ 8.97 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.92 อยู่ในระดับ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.88อยู่ในระดับมากที่สุดความพึงพอใจที่มีต่อ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.92 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.91 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 70) (4) เกษตรกรมีปัญหาคือ สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ ศัตรูพืชหรือโรคพืช และน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมด คือ แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม โดยเกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ ก่อนได้รับ การสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ยางพารา อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง กล้วย เป็นต้น 4) ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 4.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) ประสานงานชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงาน ที่ได้รับมอบหมาย (2) จัดทำแผนการดำเนินงาน กำหนดวันเวลาและสถานที่ และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการสนับสนุนกิจกรรมการสาธิตและฝึกอบรมเกษตรกร (3) ดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพ เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมจัดเตรียมเอกสารการฝึกอบรม (4) ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมสถานที่ดำเนินการ ฝึกอบรมเกษตรกร และ (5) ดำเนินการฝึกอบรมตามวันเวลาที่กำหนด และติดตามผลการดำเนินงาน โดยมี หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกร ดังนี้เป็นเกษตรกรที่มีปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์มีความต้องการ และตั้งใจเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำหมู่บ้าน หมอดินอาสา และเกษตรกร 9 หมู่บ้าน จำนวน 90 ราย ที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช มีงบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดหาเมล็ดพันธุ์ปอเทือง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ส่งเสริมการผลิตและใช้ สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และจัดทำระบบอนุรักษ์ ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (ปรับระดับพื้นที่นาแบบขุดคูยกร่อง) ประโยชน์ที่ เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม คือ (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับ การตรวจสอบคุณภาพดินในการจัดการดินอย่างถูกต้อง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่มีการปรับปรุง บำรุงดิน เนื่องจากมีการปลูกพืชต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน ในการนำไปใช้ในการผลิตและแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างถูกต้อง และ (2) หลังเข้าร่วม โครงการ เกษตรกรเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพดิน การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อการปลูกพืช การลดต้นทุน และการเพิ่มผลผลิต สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตและแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับความพึงพอใจต่อ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 70 แผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และได้มีการขับเคลื่อนแผนงาน ไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ เทศบาลตำบลวังยาง สำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง สำนักงานประมงอำเภอ คลองขลุง และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร ทั้งนี้ยังไม่พบปัญหา เนื่องจากเกษตรกร มีความสนใจค่อนข้างมาก แต่มีข้อเสนอแนะในการดำเนินการ คือ สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้ ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (ตารางที่ 69) 4.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 43.24 เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.76 มีอายุเฉลี่ย 55 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 70.28 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพทางสังคม นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ หมอดินอาสา ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีลักษณะการถือครองที่ดิน 14.93 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธิ์มากที่สุด คือ โฉนด 10.08 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 67.52 ของเกษตรกรที่มีลักษณะ การถือครองที่ดิน เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 67.57 ของเกษตรกรทั้งหมด มีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 149,600.00 บาทต่อครัวเรือน มีแหล่งเงินกู้ที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) 112,800.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 75.40 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน มีอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.60 บาทต่อปี เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 316,905.84 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 184,114.56 บาทต่อปี หรือร้อยละ 58.10 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 132,791.28 บาทต่อปีหรือร้อยละ 41.90 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายครัวเรือน รวม 156,490.20 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 84,032.40 บาทต่อปี หรือร้อยละ 53.70 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 72,457.80 บาทต่อปีหรือร้อยละ 46.30 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 160,415.64 บาทต่อปี สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดจาก ผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 78.38 ของเกษตรกรทั้งหมด (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพสูง พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร (สาธิตการผลิตน้ำหมัก ชีวภาพ) สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปรับพื้นที่นาแบบขุดคูยกร่อง) ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสม และเพียงพอ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 16.22 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 70) (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับ มากที่สุดร้อยละ 78.38 และระดับมากร้อยละ 21.62 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 86.49 และระดับมากร้อยละ 13.51 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 81.08 และระดับมาก ร้อยละ 18.92 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 81.98 และระดับมากร้อยละ 18.02 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.78 อยู่ในระดับ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มี ต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.81 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.82 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 70)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 71 (4) เกษตรกรมีปัญหา คือ ศัตรูพืชหรือโรคพืช และน้ำไม่เพียงพอต่อการทำ การเกษตร ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม โดยเกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ ก่อนได้รับ การสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่ปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง พืชผัก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น 5) ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ ดังนี้ (1) เข้าร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน/ตำบล เพื่อชี้แจงงบประมาณ และความ ต้องการกิจกรรมสนับสนุนของหมู่บ้าน (2) คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็น เกษตรกรที่มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองและมีความสนใจ ในด้านการเกษตร โดยเป็นเกษตรกรตัวแทนหมู่บ้านละ 10 ราย จำนวน 120 ราย (3) จัดประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับรู้ ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ และสาธิตการผลิต น้ำหมักชีวภาพ และ (4) สนับสนุนปัจจัยด้านการพัฒนาที่ดินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมี หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกร ดังนี้ เป็นตัวแทนหมู่บ้านและผู้ที่สนใจในการใช้เทคโนโลยี ด้านการพัฒนาที่ดิน เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรของตนเอง เกษตรกรที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรม ไถกลบตอซังและพร้อมหว่านพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และสามารถให้เจ้าหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานได้มีงบประมาณดำเนินการจำนวน 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุน กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สนับสนุน เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และไถกลบตอซัง ซึ่งประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม (1) ก่อนเข้า ร่วมโครงการ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ต้นทุนทำการเกษตรสูง และมีการเผา ตอซังข้าวในพื้นที่ และ (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การเก็บตัวอย่างดิน การผลิตน้ำหมักชีวภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยการลด การใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมี มีการลดการเผาตอซัง ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน สำหรับความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และได้มี การขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาแต้ม และสำนักงาน เกษตรอำเภอปราณบุรีทั้งนี้ ปัญหาในการดำเนินการ คือ ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึง ความสำคัญของการทำแผนระดับตำบล ซึ่งข้อเสนอแนะในการดำเนินการ คือ ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการประชุมในระดับพื้นที่ เพื่อให้ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่มีความเข้าใจมากขึ้น (ตารางที่ 69) 5.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 33.33 เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.67 มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 61.91 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพทางสังคม นอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพอื่น ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีลักษณะ การถือครองที่ดิน 8.06 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์มากที่สุด คือ โฉนด 5.62 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 69.83 ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 21.43 ของเกษตรกรทั้งหมด มีวงเงินกู้ยืมเฉลี่ย 51,666.67 บาทต่อครัวเรือน มีแหล่งเงินกู้ ที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 46,555.56 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 90.11 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.33 บาทต่อปี เกษตรกร


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 72 มีรายได้ครัวเรือนรวม 223,326.00 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 168,980.76 บาทต่อปี หรือร้อยละ 75.67 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 54,345.24 บาทต่อปี หรือ ร้อยละ 24.33 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 153,836.16 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน 94,857.12 บาทต่อปี หรือร้อยละ 61.66 ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่าย ในภาคการเกษตร 58,979.04 บาทต่อปีหรือร้อยละ 38.34 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 69,489.84 บาทต่อปี สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 95.24 ของเกษตรกรทั้งหมด (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการไถกลบตอซัง ส่งเสริม การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง และ การถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและ เพียงพอ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มี การเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 78.57 ของเกษตรกรทั้งหมด (ตารางที่ 70) (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 61.90 และระดับมากที่สุดร้อยละ 38.10 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุน กิจกรรมอยู่ในระดับมากร้อยละ 52.38 และระดับมากที่สุดร้อยละ 47.62 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจ ที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากร้อยละ 57.14 และระดับมากที่สุดร้อยละ 42.86 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากร้อยละ 57.14 และระดับ มากที่สุดร้อยละ 42.86 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.38 อยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.43 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.43 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 70) (4) เกษตรกรมีปัญหา คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรศัตรูพืชหรือโรคพืช และราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จัดหาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร จัดสรรงบประมาณ และปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม และ ประกันราคาผลผลิต โดยเกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มีการปลูกพืชหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มะม่วง สับปะรด มะพร้าว อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ขนุน กล้วย เผือก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น 6) ภาพรวมพื้นที่ระดับตำบล 6.1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งมีขั้นตอนในการจัดทำ เช่น ประสานงานชี้แจงรายละเอียด จัดทำแผนการดำเนินงาน ร่วมประชุมกับ ผู้นำชุมชน/ตำบล/หน่วยงานในพื้นที่ คัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ กำหนดวันเวลาและสถานที่ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุนกิจกรรม ติดตามผลการดำเนินงาน เป็นต้น โดยมี หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกร เช่น เป็นเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความสนใจ มีความต้องการและตั้งใจ ในการเรียนรู้พร้อมรับการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาที ่ดิน เพื ่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ ของตนเอง สามารถให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เป็นต้น มีงบประมาณ ดำเนินการตำบลละ 300,000 บาท ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรม ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุน


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 73 เมล็ดพันธุ์ปอเทือง การไถกลบตอซัง สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิตและใช้สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่ม เกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ จัดทำระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำ รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย ของดิน ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม เช่น (1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพดิน ในการจัดการดินอย่างถูกต้อง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากมีการปลูก พืชต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินในการนำไปใช้ในการผลิตและ แก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างถูกต้อง ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเผาตอซัง การอนุรักษ์ดิน และน้ำ รวมทั้งประโยชน์ของหญ้าแฝก เป็นต้น และ (2) หลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาที่ดิน ประโยชน์และความจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพดิน การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อการปลูกพืช การลดต้นทุน และการเพิ่มผลผลิต เข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตและแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการลดการเผาตอซัง ซึ่งช่วยลด ภาวะโลกร้อน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน สามารถนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมาปรับใช้ในพื้นที่ ของตนเอง มีการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร หันมาใช้สารอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เกิดความ ตระหนักและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมถึงทราบประโยชน์ของหญ้าแฝกมากขึ้น เป็นต้น โดยความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ/โครงการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และได้มี การขับเคลื่อนแผนงานไปยังหน่วยงานอื่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล สำนักงานเกษตร อำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาในการดำเนินงาน เช่น ผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการทำแผน ระดับตำบล ไม่มีความเชื่อมั่นในงบประมาณที่จะนำมาสนับสนุนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงาน เช่น สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืน ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนตำบลให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างความ เชื่อมั่นด้วยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น (ตารางที่ 69) 6.2) เกษตรกร (1) เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 48.47 เป็นเพศหญิงร้อยละ 51.53 มีอายุ เฉลี่ย 54 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 57.66 ของเกษตรกรทั้งหมด สถานภาพ ทางสังคมนอกจากทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเกษตรกรแล้วยังมีสถานภาพทางสังคมอื่น ได้แก่ หมอดินอาสา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม กรรมการหมู่บ้าน และกำนัน มีลักษณะการถือครองที่ดิน 15.93 ไร่ต่อครัวเรือน และมีหนังสือสำคัญในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์มากที่สุด คือ โฉนด 7.89 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 49.55ของเกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดิน เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินร้อยละ 48.47 มีวงเงินกู้ยืม เฉลี่ย 153,535.09 บาทต่อครัวเรือน โดยมีแหล่งเงินกู้ในระบบที่เกษตรกรกู้มากที่สุด คือ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 78,463.16 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 51.10 ของเกษตรกรที่กู้ยืมเงิน และแหล่งเงินกู้นอกระบบทั้งหมด คือ เพื่อนบ้าน 315.79 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.21 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.35 บาทต่อปี เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือนรวม 406,580.40 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นรายได้ในภาคการเกษตร 288,099.96 บาทต่อปี หรือร้อยละ 70.86 ของรายได้ครัวเรือนรวม และรายได้นอกภาคการเกษตร 118,480.44 บาทต่อปีหรือร้อยละ 29.14 และเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม 207,814.20 บาทต่อปี ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 111,112.20


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 74 บาทต่อปี หรือร้อยละ 53.47ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวม และค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตร 96,702.00 บาทต่อปี หรือร้อยละ 46.53 ซึ่งเกษตรกรมีเงินคงเหลือในครัวเรือน 198,766.20 บาทต่อปีสำหรับการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารมากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 69.39 ของเกษตรกรทั้งหมด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการแจ้งข้อมูลข่าวสารโครงการดังกล่าวผ่านทางผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้กับเกษตรกรผู้สนใจอีกทางหนึ่ง (2) เกษตรกรได้รับการสนับสนุนกิจกรรม คือ ส่งเสริมการไถกลบตอซัง สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิต และใช้สารอินทรีย์ พัฒนากลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร จัดทำระบบอนุรักษ์ ดินและน้ำ เพื่อฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งการได้รับ กิจกรรมขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมของพื้นที่ ทั้งนี้ เกษตรกรทั้งหมดมีความคิดเห็นว่ากิจกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดได้รับคำแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้ จากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ร้อยละ 43.88 (ตารางที่ 70) (3) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับ มากที่สุดร้อยละ 58.67 และระดับมากร้อยละ 41.33 ของเกษตรกรทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับจาก การสนับสนุนกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.71 และระดับมากร้อยละ 39.29 ของเกษตรกรทั้งหมด ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 61.73 และระดับมากร้อยละ 38.27 ของเกษตรกรทั้งหมด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.37 และ ระดับมากร้อยละ 39.63 ของเกษตรกรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการแปลผลระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.61 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มี ต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 3.60 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด (ตารางที่ 70) (4) เกษตรกรมีปัญหา คือ น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ศัตรูพืชหรือ โรคพืช สนับสนุนปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ราคาผลผลิตตกต่ำ และดินเสื่อมโทรม ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม ติดตามผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง จัดสรรงบประมาณ/ปัจจัยการผลิตให้เพียงพอ แนะนำการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนระบบโซลาเซลล์เพื่อการเกษตร และประกันราคาผลผลิต โดยเกษตรกรทั้งหมดมีความสนใจและ ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ ก่อนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรในพื้นที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา มะพร้าว ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วง สับปะรด ขนุน กล้วย เผือก เกษตรผสมผสาน เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนหลังได้รับการสนับสนุนกิจกรรม ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกษตรกรพึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรม จึงไม่สามารถระบุได้ว่า รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินได้ทันทีระบุได้เพียงลดการใช้สารเคมีหรือ ลดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต เป็นต้น


75รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ตารางที่68 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนกลาง รายการ ผลการดำเนินงาน ช่วงเวลาดำเนินการ 1) การจัดทำฐานข้อมูลและร่างแผนปฏิบัติการ ดำเนินการคัดเลือกตำบลเป้าหมาย กำหนดขั้นตอน ประชุมชี้แจง จัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ ติดตามการดำเนินงานพร้อมให้ข้อเสนอแนะ จัดประชุมพิจารณา ร่างแผน และตรวจสอบแผนปฏิบัติการ ดำเนินการแล้วเสร็จภายในกันยายน 2566 ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลที่จัดทำแผนการใช้ ที่ดินระดับตำบลให้เป็นปัจจุบัน ดำเนินการรวบรวมรายงานแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด และฐานข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้แล้ว พร้อมประสานหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบข้อมูลตรวจสอบความเป็นปัจจุบันของข้อมูล และตรวจสอบ ฐานข้อมูลร่วมกับโปรแกรม Agri-Map ของแต่ละตำบล โดยดำเนินการปรับปรุง แผนการใช้ที่ดินให้เป็นปัจจุบัน กุมภาพันธ์- มีนาคม 2566 3) สร้างเครือข่ายเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน ดำเนินการโดยใช้กลไกหมอดินอาสาของแต่ละสถานีพัฒนาที่ดินในการสร้าง เครือข่าย โดยใช้นวัตกรรมของสถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ การทำระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำ และสารเร่ง พด. กรกฎาคม - กันยายน 2566 4) ติดตามและประเมินผล - ดำเนินการติดตามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค และเกษตรกร - ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลแล้วเสร็จภายในกันยายน 2566 - ดำเนินการจัดทำร่างรายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความ ร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ปีงบประมาณ 2566 พฤษภาคม - กันยายน 2566 ที่มา: จากแบบติดตามของกลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการติดตามของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


76รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ตารางที่ 69 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนภูมิภาค (เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค) รายการ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (ร้อยละ) 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 2) ความพึงพอใจต่อแผนปฏิบัติการ (ระดับ) มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด 3) ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้(ร้อยละ) 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 4) กิจกรรมที่ดำเนินการ - ปุ๋ยอินทรีย์ - กลุ่มใช้สารอินทรีย์ฯ - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์ - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์ - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง - กลุ่มใช้สารอินทรีย์ฯ - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - ปรับพื้นที่นา - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง - น้ำหมักชีวภาพ - ไถกลบตอซัง - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - ถ่ายทอดองค์ความรู้ 5) ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ (หลังได้รับการสนับสนุนกิจกรรม) - ไม่สามารถระบุได้ เพราะพึ่ง เริ่มดำเนินการ - ความรู้ด้านการพัฒนา ที่ดิน/การปรับปรุงดิน - ลดการใช้สารเคมีทาง การเกษตร - เกิดความตระหนักและให้ ความสำคัญกับการอนุรักษ์ ดินและน้ำ - รับทราบประโยชน์ ของหญ้าแฝก - ความรู้ด้านการพัฒนา ที่ดิน/การปรับปรุงดิน - ลดการใช้สารเคมี ทางการเกษตร - เกิดความตระหนักและให้ ความสำคัญกับการอนุรักษ์ ดินและน้ำ - รับทราบประโยชน์ ของหญ้าแฝก - เข้าใจประโยชน์ของการ ตรวจสอบคุณภาพดิน - ความรู้ด้านการพัฒนา ที่ดิน/การปรับปรุงดิน - ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต - เข้าถึงนวัตกรรมและ เทคโนโลยี พด. - ความรู้ด้านการพัฒนา ที่ดิน - ลดต้นทุนการผลิต - งดเผาตอซัง (ลดภาวะโลกร้อน/เพิ่ม อินทรียวัตถุในดิน) 6) การขับเคลื่อนแผนสู่หน่วยงานอื่น - อบต. - สำนักงานเกษตรอำเภอ - สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด - สำนักงานเทศบาลตำบล - สำนักงานเกษตรอำเภอ - อำเภอมะขาม - อบต. -สำนักงานเกษตรอำเภอ - สำนักงานเทศบาลตำบล -สำนักงานเกษตรอำเภอ - สำนักงานประมงอำเภอ - กษ.จังหวัด - อบต. -สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่มา: จากแบบสอบถามของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1, 2, 5, 9 และ 10 กรมพัฒนาที่ดิน (2566) และ จากการสัมภาษณ์ของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


77รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) ตารางที่ 70 ผลการดำเนินงานกิจกรรมส่วนภูมิภาค (เกษตรกร) รายการ ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาพรวมพื้นที่ ระดับตำบล 1) กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน - ปุ๋ยอินทรีย์ - กลุ่มใช้สารอินทรีย์ฯ - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์ - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์ - หญ้าแฝก - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง - กลุ่มใช้สารอินทรีย์ฯ - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - ปรับพื้นที่นา - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง - น้ำหมักชีวภาพ - ไถกลบตอซัง - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - ถ่ายทอดองค์ความรู้ - ปุ๋ยอินทรีย์ - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง - น้ำหมักชีวภาพ - กลุ่มใช้สารอินทรีย์ฯ - ไถกลบตอซัง - เมล็ดพันธุ์ปอเทือง - หญ้าแฝก - ปรับพื้นที่นา - ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) ความเพียงพอของการสนับสนุนกิจกรรม (ร้อยละ) (1) เหมาะสม 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 - เพียงพอ 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 - ไม่เพียงพอ - - - - - - (2) ไม่เหมาะสม - - - - - - 3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ̅= 3.55 ระดับมากที่สุด ̅= 3.45 ระดับมากที่สุด ̅= 3.92 ระดับมากที่สุด ̅= 3.78 ระดับมากที่สุด ̅= 3.38 ระดับมากที่สุด ̅= 3.59 ระดับมากที่สุด 4) ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนกิจกรรม ̅= 3.51 ระดับมากที่สุด ̅= 3.45 ระดับมากที่สุด ̅= 3.88 ระดับมากที่สุด ̅= 3.86 ระดับมากที่สุด ̅= 3.48 ระดับมากที่สุด ̅= 3.61 ระดับมากที่สุด 5) ความพึงพอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ̅= 3.55 ระดับมากที่สุด ̅= 3.53 ระดับมากที่สุด ̅= 3.92 ระดับมากที่สุด ̅= 3.81 ระดับมากที่สุด ̅= 3.43 ระดับมากที่สุด ̅= 3.62 ระดับมากที่สุด 6) ภาพรวมความพึงพอใจ ̅= 3.54 ระดับมากที่สุด ̅= 3.48 ระดับมากที่สุด ̅= 3.91 ระดับมากที่สุด ̅= 3.82 ระดับมากที่สุด ̅= 3.43 ระดับมากที่สุด ̅= 3.60 ระดับมากที่สุด 7) ได้รับการแนะนำหรือถ่ายทอดองค์ความรู้(ร้อยละ) 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 ที่มา: จากการสัมภาษณ์ของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 78 4.2 ข้อเสนอแนะ 4.2.1 ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน 1) เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ซึ่งการศึกษาอาจเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตรหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกอบรมความรู้ ทางด้านการเกษตรผสานกับภูมิปัญญาหรือประสบการณ์ของเกษตรกรที่มีอยู่ และเพิ่มมาตรการจูงใจในการ หาความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรของตนเอง 2) เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมหรือสรรหา เกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทน เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพและระบบการผลิตทางการเกษตร โดยการถ่ายทอด เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการผลิตพืชใหม่ ๆ ส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล ส่งเสริมการนำแอปพลิเคชัน ด้านการเกษตรมาใช้ในภาคการเกษตรให้กับเกษตรกรผู้สูงอายุและถอดความรู้หรือภูมิปัญญาหรือ ประสบการณ์ของเกษตรกรผู้สูงอายุ เพื่อนำมาปรับใช้ในด้านการเกษตร 3) เกษตรกรบางส่วนไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน ควรแนะนำและให้ความรู้ถึงความสำคัญของการเก็บตัวอย่างดินอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ซึ่งผลวิเคราะห์ดิน เป็นปัจจัยที่บ่งชี้ถึงกำลังการผลิตของดินที่มีผลต่อการตัดสินใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การเพาะปลูกพืช การเลือกชนิดและพันธุ์พืช อัตราและชนิดของปุ๋ยเคมี ตลอดจนการจัดการดินด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมกับศักยภาพของดินอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการ ลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีและวัสดุปรับปรุงดินต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 4) เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งการถ่ายทอด องค์ความรู้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่เกษตรกรจะได้ทราบถึงนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดินและ ประโยชน์สามารถนำไปต่อยอด เผยแพร่หรือแนะนำให้เกษตรกรรายอื่นหรือผู้สนใจทราบด้วย ดังนั้น เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกิดผลและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กรมพัฒนาที่ดินควรมีการจัดทำแปลง สาธิตการใช้นวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนและส่งเสริมการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น การป้องกันและกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่ทำลายผลผลิต การจัดทำปุ๋ยหมัก การจัดทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็น การลดต้นทุนการผลิตและลดสารพิษตกค้างในพืชจากการใช้สารเคมีเป็นต้น 5) เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผลิตและใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ดังนั้น ภาครัฐควรแนะนำและร่วมวางแผนการผลิตและการตลาด เพื่อให้กลุ่มมีอำนาจในการต่อรองราคา และมีตลาดรองรับแน่นอน เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรมีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 6) เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมจาก กรมพัฒนาที่ดิน เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ เมล็ดพันธุ์ปอเทือง เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเกษตรกร พึ่งได้รับไป จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเมื่อมีการใช้นวัตกรรมแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิจากพืชเพิ่มขึ้นหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินได้ทันทีดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินควรมีการติดตามและประเมินผล เกษตรกรหลังจากได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมจากกรมพัฒนาที่ดินและต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 7) เกษตรกรไม่มีการจดบันทึกข้อมูลการผลิตตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ตลอดจนผลผลิตพืช รายได้ทางการเกษตร รายได้ในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 79 และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในการนำข้อมูลมาปรับปรุงวิธีการจัดการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริม แนะนำ และให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจดบันทึกข้อมูลการผลิตดังกล่าว 4.2.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ด้วยรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ลดพื้นที่ เกษตรเคมีลง การให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมี เป็นช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากขึ้น 2) ยกระดับการทำเกษตรแบบเดิมเป็นการทำเกษตรแบบปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพทดแทน เพื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่าผลผลิตและมีตลาดรองรับแน่นอน และพัฒนา ระบบการขายโดยเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคและผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว 3) ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคการเกษตรของไทย การเร่งให้ ภาคเกษตรมีการพัฒนาหรือปรับปรุงวิธีการผลิตรูปแบบเดิมไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งมีเทคโนโลยี ที่น่าสนใจและส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควร ยกระดับการทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture) ที่มุ่งเน้นการจัดการการผลิตด้วยนวัตกรรมและ เทคโนโลยีให้ความสำคัญกับแนวคิดการเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรสู่ยุคใหม่ เนื่องจากการทำเกษตรกรรม ในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวหรือแม้แต่การ แปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า 4) ส่งเสริมและขยายการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกันดูแลผลผลิตของ เกษตรกรเอง เป็นการสร้างความสามัคคีและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งส่งเสริมกระบวนการให้เกษตรกร ทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยการสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบปกติกับกลุ่ม ที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ร่วมกันพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิต การขายสินค้าเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร การระดมทุน ตลอดจนจัดหาเงินลงทุนให้เกษตรกรมากขึ้น 5) ภาครัฐควรร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงการปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้เกษตรกร ที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ก่อหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เพิ่มขึ้น 4.2.2 ข้อเสนอแนะครั้งต่อไป 1) ควรมีการติดตามและประเมินผลเกษตรกรหลังจากได้รับการสนับสนุนนวัตกรรม จากกรมพัฒนาที่ดิน โดยดำเนินการจัดเก็บข้อมูลก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อจำกัดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลดิน ข้อมูลพืช เป็นต้น เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้น 2) ควรมีการเก็บตัวอย่างดิน แล้วนำมาวิเคราะห์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ การใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมกับศักยภาพของดินอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะ ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการลดต้นทุน ในการซื้อสารเคมีและวัสดุปรับปรุงดินต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 4.2.3 ข้อจำกัดการดำเนินงาน การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนหลังได้รับการสนับสนุนกิจกรรมไม่สามารถ ดำเนินการได้ เนื่องจากเกษตรกรพึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรม จึงไม่สามารถระบุได้ว่ารายได้สุทธิเพิ่มขึ้นหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดินได้ทันที ระบุได้เพียงลดการใช้สารเคมีหรือลดค่าใช้จ่ายหรือ ลดต้นทุนในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต เป็นต้น


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 80 เอกสารอ้างอิง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน. 2565. แผนการใช้ที่ดินตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. กัญญ์พัสวีกล่อมธงเจริญ. 2560. คุณภาพชีวิตของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ศูนย์ประเมินผล. 2551. คู่มือวิทยากรการฝึกอบรมหลักสูตรการติดตามและประเมินผล. สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2565. คำนิยามข้อมูลสถิติการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2554. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. แหล่งที่มา: https://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/ระเบียบวิธีการวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.pdf. 30 พฤษภาคม 2566. สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี. 2564. แผนการใช้ที่ดิน ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. สถานีพัฒนาที่ดินประจวบคีรีขันธ์. 2564. แผนการใช้ที่ดินตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรีจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. สถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย. 2566. แผนการใช้ที่ดินตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 81 ภาคผนวก ภาคผนวกที่ 1 สถานที่สำรวจและประชากรเป้าหมาย ลำดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด ประชากร 1 ห้วยขมิ้น ด่านช้าง สุพรรณบุรี 160 ราย 2 อ่างคีรี มะขาม จันทบุรี 60 ราย 3 นาหนัง โพนพิสัย หนองคาย 52 ราย 4 วังยาง คลองขลุง กำแพงเพชร 90 ราย 5 หนองตาแต้ม ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 120 ราย รวม 482 ราย ที่มา: จากการสำรวจของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566) ภาคผนวกที่ 2 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดตัวอย่าง สูตรการคำนวณ วิธีการคำนวณ ขนาดตัวอย่าง Taro Yamane n = N/1+Ne^2 ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% n = 482/1+(482*0.05^2) n = 482/1+(482*0.0025) n = 482/1+1.205 n = 482/2.205 n = 218.59 219 ตัวอย่าง ที่มา: จากการคำนวณของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2566)


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 82 ภาคผนวกที่ 3 ประมวลภาพกิจกรรม ภาพที่ 2 การประชุมแนวทางการดำเนินงานติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 83 ภาพที่ 3 การดำเนินงานกิจกรรมส่วนกลาง


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 84 ภาพที่ 4 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 85 ภาพที่ 5 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี


รายงานการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการความร่วมมือพัฒนาตำบล (SMART TAMBON) 86 ภาพที่ 6 การดำเนินงานกิจกรรมตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย


Click to View FlipBook Version