The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sumate962, 2019-09-15 12:20:43

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

คมู่ ือความรูเ้ รือ่ ง

ปา่ ชายเลน

สว่ นสง่ เสรมิ และพฒั นาทรัพยากรปา่ ชายเลน
สำ�นักอนุรกั ษท์ รัพยากรปา่ ชายเลน
กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝ่ัง



คำ�น�ำ

ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาลต่อมนุษย์
ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศถูกบุกรุกทำ�ลาย และถูกเปล่ียน
สภาพไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เป็นจำ�นวนมาก พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ
ทรงสนพระทยั และหว่ งใยทรพั ยากรปา่ ชายเลนของชาตเิ ปน็ อยา่ งยงิ่
โดยทรงขอไม่ให้ทำ�ลายป่าชายเลนเพ่ือให้คนไทยมีอาหารทะเลรับ
ประทานอย่างเพียงพอ รัฐบาลและกรมทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝ่ังโดยสำ�นักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน มีหน้าท่ีรับผิดชอบ
ในการฟ้ืนฟูทรัพยากรป่าชายเลนให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์
โดยสง่ิ ส�ำ คญั กค็ อื จะตอ้ งไดร้ บั ความรว่ มมอื จากประชาชนทกุ หมเู่ หลา่
ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ด้านป่าชายเลนแก่ประชาชนผู้มีส่วนร่วม
เป็นเร่ืองสำ�คัญ จึงได้จัดทำ�หนังสือคู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน
เล่มนี้ข้ึนเพ่ือให้ประชาชน และผู้สนใจได้นำ�ไปศึกษาด้วยตนเอง
โดยคณะผู้จัดทำ�หนังสือเล่มน้ีได้รวบรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ
ป่าชายเลนอย่างกว้างๆ แต่โดยความเป็นจริงแล้วข้อมูลเกี่ยวกับ
ด้านป่าชายเลนนั้นมีรายละเอียดอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถ
จะบรรจุอยู่ในหนังสือเล่มน้ีได้ หากผู้อ่านท่านใดต้องการข้อมูล
เพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ www.dmcr.go.th หรือติดต่อโดยตรงท่ี
ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน สำ�นักอนุรักษ์
ทรพั ยากรปา่ ชายเลน และหากหนงั สอื เลม่ นมี้ ขี อ้ ผดิ พลาดประการใด
คณะผ้จู ัดทำ�ขออภยั มา ณ โอกาสนี้

คณะผูจ้ ดั ทำ�

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

3



สารบัญ

คำ�นำ� 3
เรอื่ งของป่าชายเลน 6
ความส�ำ คัญและประโยชนข์ องป่าชายเลน 8
สถานการณป์ ่าชายเลน 18
• การกระจายพนื้ ทีป่ า่ ชายเลนของโลก 19
• ปา่ ชายเลนในภูมภิ าคอาเซยี น 21
• การกระจายของพ้นื ทป่ี ่าชายเลนในประเทศไทย 22
• สถานการณ์ป่าชายเลนของประเทศไทยในปจั จบุ นั 25
พืชในป่าชายเลน 28
สตั ว์ในป่าชายเลน 46
ปจั จยั สิง่ แวดลอ้ มของป่าชายเลน 56
ระบบนิเวศป่าชายเลน 60
ปัญหาสาเหตุและผลกระทบจากการท�ำ ลายป่าชายเลน 64
พนื้ ท่ีสงวนชีวมณฑล 68
• พืน้ ท่สี งวนชีวมณฑลระนอง 70
บรรณานุกรม 75

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

5

เรื่องของปา่ ชายเลน

เร่อื งของป่าชายเลน

ปา่ ชายเลนคืออะไร

ป่าชายเลน (mangrove forest หรือ intertidal forest)
เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ ระหว่างผืนแผ่นดินกับ
พื้นนำ้�ทะเลในเขตร้อน (Tropical) และก่ึงร้อน (Subtropical)
ของโลกประกอบด้วยสังคมพืชและสัตว์หลากชนิด ดำ�รงชีวิต
ร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลนน้ำ�กร่อย และ
มีน้ำ�ทะเลท่วมถึงอย่างสมำ่�เสมอ ดังนั้นป่าชายเลนจะพบได้
ในบริเวณท่ีเป็นชายฝ่ังทะเล ปากแม่นำ้� อ่าว ทะเลสาบ
และรอบเกาะแกง่ ตา่ งๆ ในพนื้ ทชี่ ายฝง่ั ทะเล เราสามารถเรยี ก
ป่าชายเลนวา่ “ปา่ โกงกาง” ไดอ้ ีกชอื่ หนง่ึ ตามพันธไ์ุ มส้ ำ�คญั
และพบเป็นจำ�นวนมาก นั่นคอื ไม้โกงกาง

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

7

ความสำ�คัญ
และประโยชน์
ของปา่ ชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

8

ความสำ�คญั และประโยชนข์ องป่าชายเลน
ปา่ ชายเลน เปน็ ระบบนเิ วศทม่ี คี วามเฉพาะตวั และมคี วาม
หลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญย่ิงของ
ชายฝง่ั ทะเล นับเป็นทรัพยากรท่มี ีคณุ ค่ามหาศาลท้ังทางด้าน
เศรษฐกิจและสง่ิ แวดล้อมของประเทศ
➠ ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงานและแหล่งวัตถุดิบ
ไมใ้ ช้สอย, กอ่ สร้างในครัวเรอื น
• ไม้จากป่าชายเลน โดยเฉพาะไม้โกงกางสามารถ
นำ�มาเผาถ่านซึ่งให้ถ่านท่ีมีคุณภาพดี เพราะให้ความร้อนสูง
มอดชา้ และไมแ่ ตกสะเกด็ ถา่ นไมโ้ กงกางทมี่ ชี อ่ื เสยี ง คอื ถา่ น
ไม้โกงกางบ้านยี่สาร จ.สมุทรสงคราม นอกจากน้ียังมีการใช้
ประโยชน์ไม้ป่าชายเลนในรูปของไม้ฟืนเพ่ือการหุงต้มในชีวิต
ประจ�ำ วนั ของประชาชนทอ่ี าศยั บรเิ วณปา่ ชายเลนและใกลเ้ คยี ง
อีกท้ังไม้จากป่าชายเลนหลายชนิดสามารถใช้ประโยชน์
ในงานก่อสร้างและใช้สอยด้วย เช่น ทำ�เสาเข็ม ไม้ค้ำ�ยัน
ไม้กอ่ สร้าง เฟอร์นเิ จอร์ และอุปกรณ์การประมง เปน็ ต้น

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

9

ความสำ�คญั และประโยชนข์ องปา่ ชายเลน

• เปลือกของไม้ป่าชายเลนบางชนิดสามารถนำ�มา
สกดั ไดส้ ารชอ่ื ว่า แทนนิน ใช้ในการยอ้ มแห อวน ท�ำ นำ้�หมึก
ท�ำ สี ทำ�กาว และฟอกหนงั เป็นต้น
➠ ปา่ ชายเลนเปน็ แหลง่ พชื ผักและพชื สมุนไพร
• พชื ป่าชายเลน (Mangrove plants) ในท่ีนหี้ มายถึง
พชื หรอื พันธุไ์ ม้ชนดิ ตา่ งๆ ทอ่ี ยใู่ นปา่ ชายเลน และมชี ่ือเรียก
ตามแต่ละท้องถิ่น เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้นซึ่งเติบโตจาก
ปัจจัยธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมที่เป็นอยู่ กระจายพันธ์ุด้วย
สภาวะธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล ชาวบ้านในท้องถิ่นบริเวณ
ชายฝงั่ ตา่ งกม็ ปี ระสบการณแ์ ละเรยี นรใู้ นการน�ำ ไปใชป้ ระโยชน์
ดา้ นตา่ งๆ ทง้ั อาหารและพชื สมนุ ไพร ไมว่ า่ จะเปน็ สว่ นของใบ
ดอก ผล หน่อ หวั เหง้า ราก และล�ำ ตน้ ซ่งึ จุดเดน่ ทน่ี ่าสนใจ
ของพืชป่าชายเลน คือ เป็นทรัพยากรในท้องถ่ินท่ีหาได้ง่าย
ข้ึนเองตามธรรมชาติและมีอายุยืนยาว สามารถให้ผลผลิตได้
ทกุ ฤดกู าล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

10

ความส�ำ คัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

• พืชในป่าชายเลนท่ีสามารถนำ�มาใช้เป็นผักพ้ืน
บา้ นไดน้ ัน้ มีอย่หู ลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผัก
เบี้ยทะเล ถั่วขาว จาก ถอบแถบน้ำ� ปรงหนู ลำ�พู ลำ�แพน
สาหรา่ ยสาย เป็นต้น
• พืชในป่าชายเลนหลายชนิดมีสรรพคุณทางยา
ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้
รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรค
ท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน ขลู่
ใช้ต้มด่ืมบรรเทาโรคเก่ียวกับทางเดินปัสสาวะ แก้อาการ
ปวดเมอ่ื ย เปน็ ต้น

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

11

ความสำ�คญั และประโยชนข์ องปา่ ชายเลน
➠ ปา่ ชายเลนเปน็ แหลง่ อนบุ าลสตั วน์ �ำ้ วยั ออ่ น เปน็
แหลง่ อาหาร ทอ่ี ยอู่ าศยั หลบภยั สบื พนั ธแ์ุ ละเจรญิ เตบิ โต
ของสตั ว์น้ำ�นานาชนิด
• ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาล
สัตว์น�ำ้ วัยออ่ น โดยเฉพาะปู ก้งุ หอย ซ่ึงเป็นสตั ว์เศรษฐกิจ
ที่สำ�คัญ รวมท้ังสัตว์นำ้�ชนิดอ่ืนๆ ท่ีเป็นส่วนหน่ึงของห่วงโซ่
อาหาร โดยเฉพาะปลาหลายชนดิ ทีเ่ รานิยมบรโิ ภค ปลาทะเล
หลายชนิดวางไข่ในพ้ืนที่ป่าชายเลนและอาศัยเจริญเติบโตใน
ระยะแรก เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วจึงออกสู่ทะเล และ
หลายชนิดท่ีแม้จะวางไข่ในทะเลแต่ตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายสู่
ป่าชายเลนเพื่ออาศัยหลบซ่อนศัตรู และหาอาหาร สัตว์น้ำ�
ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลากะพงขาว ปลา
นวลจันทรท์ ะเล ปลากระบอก ปลาเก๋า กงุ้ กุลาดำ� ก้งุ แชบ๊วย
หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง ปแู สม ปูมา้ และปูทะเล
เปน็ ตน้

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

12

ความส�ำ คัญและประโยชน์ของปา่ ชายเลน

• นอกจากน้ี ป่าชายเลนยังถือเป็นแหล่งอาหารท่ี
ส�ำ คญั ของสตั วน์ �ำ้ เพราะมี อนิ ทรยี วตั ถทุ ไี่ ดจ้ ากการยอ่ ยสลาย
ของซากพืช (กง่ิ ก้าน ดอก และผล) หรอื เศษใบไม้ที่รว่ งหลน่
ซง่ึ อนิ ทรยี วตั ถทุ ไ่ี ดจ้ ากการยอ่ ยสลายมปี รมิ าณโปรตนี สงู เชน่
กรดอะมิโน ก็จะเป็นอาหารคืนสู่ระบบนเิ วศป่าชายเลนตอ่ ไป
➠ ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
ชายฝงั่ และใกล้เคียง โดยเฉพาะหญ้าทะเลและปะการงั
• ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุ
อาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ�ทะเลชายฝ่ังซึ่งจะส่งผล
ถึงความอุดมสมบูรณข์ องทรัพยากรประมง

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

13

ความสำ�คญั และประโยชน์ของปา่ ชายเลน

➠ ป่าชายเลนช่วยปอ้ งกนั ดนิ พงั ทลายชายฝง่ั
• รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วย
ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแลว ยังช่วยบรรเทาความเร็วจาก
กระแสน้ำ�ลง ทำ�ให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับนำ้�ทับถมเกิด
เป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไป
ในทะเลเกดิ เป็นหาดเลน อันเหมาะสมแกการเกิดของพนั ธุไ ม
ปาชายเลนต่อไป

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

14

ความส�ำ คัญและประโยชนข์ องป่าชายเลน

➠ ปาชายเลนเป็นพ้ืนท่ีส�ำ หรบั ดูดซบั สิ่งปฏกิ ูลต่างๆ
• รากของตน้ ไมใ้ นปา่ ชายเลนทง่ี อกออกมาเหนอื พน้ื
ดนิ จะท�ำ หนา้ ทค่ี ลา้ ยตะแกรงธรรมชาตคิ อยดกั กรองสง่ิ ปฏกิ ลู
ตา่ งๆ และสารพษิ ตา่ งๆ จากบนบกไมใ หล้ งสทู ะเล โลหะหนกั
หลายชนดิ เมอื่ ถกู พดั พามาตาม กระแสน�้ำ กจ็ ะตกตะกอนลงที่
บรเิ วณดนิ เลนในปา่ ชายเลน นอกจากนนั้ ขยะและคราบน�ำ้ มนั
ต่างๆ กจ็ ะถกู ดกั กรองไวใ นปา่ ชายเลนเชน่ กนั

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

15

ความส�ำ คัญและประโยชนข์ องป่าชายเลน
➠ ปาชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของ
ประชาชนทีอ่ าศัยบริเวณชายฝ่ังจากภัยธรรมชาติ
• ปาชายเลนเป็นฉากกำ�บังภัยธรรมชาติ ทำ�หน้าที่
เหมอื นปราการ ชว่ ยบรรเทาความรนุ แรงของคลน่ื และลมใหล้ ด
นอ้ ยลงกอ่ นจะขนึ้ ฝงั่ เพอ่ื มใิ หส้ รา้ งความเสยี หายอยา่ งรนุ แรง
แก่ทอ่ี ยู่อาศัยและพื้นท่ีทำ�กินของชาวบา้ นในบรเิ วณใกลเ้ คียง
➠ ปาชายเลนเปน็ สถานทพี่ กั ผอ่ นหยอ่ นใจและแหลง่
ศึกษาธรรมชาติ
• ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะ
พิเศษเฉพาะตวั เพราะเปน็ แหล่งทอ่ี ุดมไปดว้ ยพรรณไมน านา
ทม่ี ี ใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อกี ทงั้ ยงั เปน็ แหลง่ ทมี่ ที ง้ั
สตั วน์ ำ้�และสตั วบ์ กโดยเฉพาะนกชนดิ ตา่ งๆ อาศยั อย่รู ่วมกนั
หลากหลายชนดิ ท�ำ ใหป้ า ชายเลนเปน็ สถานทท่ี เี่ หมาะส�ำ หรบั
การพกั ผอ่ นหยอ่ นใจ ศกึ ษาหาความรู และพฒั นาไปสกู่ ารเปน็
แหล่งท่องเท่ยี วเชิงอนรุ ักษต์ อ่ ไป

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

16

ความสำ�คัญและประโยชน์ของป่าชายเลน

➠ ปาชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนได
ออกไซด์ใ นบรรยากาศ
• ป่าชายถือว่าเป็นแหล่งท่ีมีการสะสมของคาร์บอน
หนาแนน่ มคี วามสามารถในการดดู ซบั กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์
(CO2) สูงกว่าป่าประเภทอ่ืน ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการ
สังเคราะหแสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของเน้ือไม้
และเพม่ิ ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

17

สถานการณ์
ป่าชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

18

สถานการณ์ป่าชายเลน

ที่มา : http://www.newsking.us/news-4405242-Photo:-distribution-of-the-world-39s-mangrove.html

การกระจายพ้นื ที่ป่าชายเลนของโลก

พนื้ ทป่ี า่ ชายเลนของโลก มที ง้ั หมดประมาณ 95,193,750
ลา้ นไร่ กระจายอยใู่ นเขตรอ้ นและเขตกึ่งร้อน ได้แก่
ตารางท่ี 1 แสดงพืน้ ที่ป่าชายเลนของโลก จำ�แนกตาม
รายทวปี

ล�ำ ดับ ทวปี เนื้อที่ (ล้านไร่)

1. เอเชยี และโอเชียเนีย 48,937,500
2. อเมริกา 26,506,250
3. อัพริกา 19,750,000
รวม 95,193,750

ท่มี า : FAO. 2007. The world’s mangroves 1980-2005. FAO Forestry Paper 153. Rome.

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

19

สถานการณป์ า่ ชายเลน
• จากตาราง พบว่า ทวีปเอเชียและโอเชียเนียมีพื้นท่ี
ป่าชายเลนมากท่ีสุด รองลงมาไดแ้ ก่ทวีปอเมริกา(เหนือ กลาง
และใต)้ และทวปี อัฟริกามีพื้นทป่ี า่ ชายเลนนอ้ ยท่สี ุด
• ประเทศท่ีมีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดในโลก คือ
ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือ ประเทศออสเตรเลีย และ
ประเทศบราซลิ ตามล�ำ ดับ

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

20

สถานการณป์ ่าชายเลน

ปา่ ชายเลนในภมู ภิ าคอาเซียน

พนื้ ทป่ี า่ ชายเลนในภมู ภิ าคอาเซยี น มที งั้ หมดประมาณ
31,021,504.31 ไร่ คิดเป็นรอ้ ยละ 29.1 ของโลก โดยประเทศ
อินโดนีเซียมีพื้นท่ีป่าชายเลนมากท่ีสุด คิดเป็นร้อยละ 22
ของโลก

พน้ื ที่ป่าชายเลนของประเทศอาเซียน

ลำ�ดับ ประเทศ ปี ค.ศ. พื้นที่ (ไร)่
1. 19,456,181.25
2. อนิ โดนีเซยี 2010 3,158,662.50
3. มาเลเซีย 2010
4. พมา่ 2010 3,091,150
5. ฟลิ ิปปินส์ 2010 1,644,606.25
6. เวยี ดนาม 2000
7. ไทย 2009 1,562,500
8. กัมพชู า 1997 1,525,060.56
9. บรูไน 2000
10. สิงคโปร ์ 1990 455,218.75
ลาว - 125,000
รวม 3,125
-

31,021,504.31

ที่มา : 1. FAO, 2003. Status and trends in mangrove area extent worldwide. By Wilkie, M.L. and
Fortuna, S. Forest Resources Assessment Working Paper No. 63. Forest Resources
Division. FAO, Rome. (Unpublished)
2. Global Ecology and Biogeography, (Global Ecol. Biogeogr.) (2011) 20, 154-159
3. Aizpuru et al., 2000
4. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง่ั , 2552 (ค.ศ. 2009)

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

21

สถานการณ์ป่าชายเลน

การกระจายของพื้นทีป่ า่ ชายเลนในประเทศไทย

ป่าชายเลนในประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ
1,525,060.56 ล้านไร่ กระจายอยู่บริเวณชายฝ่ังทะเล
ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 24 จังหวัด
โดยจังหวดั ท่มี พี น้ื ที่ป่าชายเลนมากทส่ี ดุ คอื จงั หวัดพงั งา

ท่ีมา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง่ั , 2552

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

22

สถานการณ์ป่าชายเลน

ตารางที่ 2 แสดงพนื้ ทปี่ า่ ชายเลนในประเทศไทย จ�ำ แนก

ตามรายจงั หวัด

จงั หวดั พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2552
สมทุ รปราการ 9,163.91 12,524.17
กรุงเทพมหานคร 2,537.28 3,351.79
สมุทรสาคร 14,908.92 25,257.22
สมุทรสงคราม 14,112.42 14,272.75
เพชรบุรี 6,550.71 18,568.75
ประจวบคีรขี นั ธ์ 2,705.92 1,708.58
รวมภาคกลาง 49,979.16 75,683.26
ตราด 57,503.64 61,974.19
จนั ทบุรี 73,711.93 75,428.91
ระยอง 8,709.45 11,283.57
ชลบรุ ี 4,510.31 5,554.41
ฉะเชิงเทรา 7,812.01 7,309.34
รวมภาคตะวันออก 152,247.34 161,550.42

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

23

สถานการณ์ป่าชายเลน

จังหวดั พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2552

ชมุ พร 40,535.39 32,240.11

สุราษฏรธ์ านี 32,510.28 46,574.20

นครศรีธรรมราช 66,098.51 73,549.60

พทั ลุง 2,041.03 399.98

สงขลา 6,395.08 7,991.95

ปตั ตานี 23,228.84 21,993.68

นราธวิ าส 113.06 184.49

รวมภาคใตฝ้ ่งั อา่ วไทย 170,922.19 182,934.01

ระนอง 158,342.90 154,448.34

พังงา 271,627.74 275,316.68

ภเู กต็ 10,593.06 12,327.42

กระบี่ 224,217.06 218,185.74

ตรงั 204,642.34 220,975.74

สตลู 215,602.75 223,638.95

รวมภาคใตฝ้ ่งั อันดามัน 1,085,025.85 1,104,892.87

รวมท้งั ปะเทศ 1,458,174.53 1,525,060.56

ท่มี า : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ , 2552

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

24

สถานการณ์ปา่ ชายเลน

สถานการณป์ ่าชายเลนของประเทศไทย

ปจั จบุ นั พน้ื ทป่ี า่ ชายเลนถกู บกุ รกุ และใชพ้ น้ื ทที่ �ำ ประโยชน์
อ่ืนๆ เพิ่มมากขึ้นทำ�ให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผล
กระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันพื้นท่ี
ป่าชายเลนมีสภาพความสมบูรณ์ของป่าแตกต่างกันในแต่ละ
ท้องทด่ี ังน้ี

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

25

สถานการณป์ ่าชายเลน
ภาคใต้ฝ่ังตะวันตก : เป็นส่วนท่ียังมีสภาพป่าชายเลน
ท่ีสมบูรณ์กว่าในภาคอ่ืนๆ โดยเฉพาะท้องท่ีจังหวัดระนอง
ส่วนใหญ่เป็นป่าท่ียังมีความสมบูรณ์มากท่ีสุด โดยอำ�เภอ
กะเปอร์ จังหวัดระนอง ถือว่าเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุด
ของประเทศไทย ทม่ี คี วามสมบรู ณร์ องลงมาคอื ปา่ ชายเลนใน
ท้องท่จี ังหวัดพงั งา กระบ่ี ตรัง และสตลู ส�ำ หรบั จงั หวัดภูเกต็
ถอื วา่ มคี วามสมบรู ณ์น้อยกว่าจังหวดั อื่นๆ ในภาคน้ี
ภาคใต้ฝ่ังตะวันออก : ในแถบน้ีอดีตเคยมีสภาพป่า
อุดมสมบูรณ์ แตพ่ ื้นท่ีปา่ ถูกเปล่ียนแปลงเป็นการใชป้ ระโยชน์
เพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝ่ัง ในปัจจุบันได้มีการปลูกฟื้นฟู
ขึ้ น ใ น ห ล า ย พ้ื น ท่ี ทำ � ใ ห้
ป่าชายเลนบริเวณนี้มีความ
อุดมสมบูรณ์มากข้ึน เช่น
พ้นื ทอ่ี ่าวบ้านดอน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

26

สถานการณป์ า่ ชายเลน

ภาคตะวันออก : สภาพป่าชายเลนในปัจจุบันมีสภาพ
เสื่อมโทรมเน่ืองจากการทำ�ไม้และมีการเปล่ียนแปลงพ้ืนท่ี
เพ่ือการเพาะเล้ียงสัตว์นำ้�ชายฝ่ัง ทำ�ให้พื้นที่ป่าชายเลน
โดยเฉพาะ จังหวัดจันทบุรีถูกเปลี่ยนเป็นพื้นท่ีนากุ้งเกือบ
ทั้งหมด
ภาคกลาง : พ้ืนท่ีบริเวณท้องที่อ่าวไทย ในอดีตเคยมี
พื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ แต่ต่อมาได้ถูกเปล่ียนเป็น
พนื้ ทเ่ี พอื่ การเพาะเลยี้ งชายฝงั่ และท�ำ นาเกลอื เปน็ จ�ำ นวนมาก
สภาพปา่ ชายเลนทเ่ี หลอื อยู่ สว่ นใหญเ่ ปน็ หยอ่ มเลก็ หยอ่ มนอ้ ย
และมสี ภาพเสอื่ มโทรม

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

27

พชื ในป่าชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

28

พชื ในปา่ ชายเลน

ปาชายเลนเป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณริมชายฝ่ังทะเล
ที่มีกระแสนำ้�ข้ึนลงอยู่เสมอและนำ้�มีความเค็มสูง และใน
บางพ้ืนที่ยังมีลมพัดแรงและแสงแดดจัด พันธุไมที่ข้ึนอยู่ใน
ป่าประเภทนี้จึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตภายใต้สภาวะแวดล้อมที่
แตกต่างไปจากสังคมพืชชนิดอ่ืน ดังน้ันพันธุพืชจำ�เป็นต้องมี
การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการของระบบ
ราก ลำ�ตน้ ใบ ดอก และผล ทั้งลกั ษณะภายในและภายนอก
ใหเ้ หมาะสมกบั สภาพพนื้ ที่

การปรบั ตวั ของพนั ธุไม้ปา ชายเลน

การปรบั ตวั ทเ่ี หน็ ไดช ดั ในสงั คมพชื บรเิ วณปา่ ชายเลน คอื
การมรี ากค�ำ้ จนุ และรากหายใจ เนอ่ื งจากดนิ ปา่ ชายเลนเปน็ ดนิ
เลนออ่ น และใต้ผวิ ดินลงไปมอี ากาศไมเพียงพอ ใบของไมปา
ชายเลนมีลักษณะพิเศษ คือ มีต่อม
ขับเกลอื ใบอวบน�ำ้ แผน่ ใบเปน็ มัน
และมีปากใบ ท่ีผิวใบด้านล่างมีผล
งอกขณะที่ยังอยู่บนต้น ซ่ึงผลเหล่านี้
หลังจากท่ีหลุดจากต้นแม่ลงมา
สพู น้ื ดินแลว จะทำ�ใหส้ ามารถเจรญิ
เตบิ โตทางความสงู ได้อยา่ งรวดเร็ว

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

29

พชื ในปา่ ชายเลน

พันธุไมปาชายเลนท่ีส�ำ คญั บางชนดิ ในประเทศไทย

โกงกางใบใหญ่
Rhizophora mucronata Poir.

วงศ์ RHIZOPHORACEAE
โกงกางใบใหญ่เป็นไมขนาดใหญ่ ขึ้นไดดีในบริเวณ
ดินเลนอ่อนและลึก ริมชายฝ่ังทะเลท่ีนำ้�ทะเลท่วมถึง
สม่�ำ เสมอ และเป็นเวลานาน โกงกางใบใหญ่มรี ากค�ำ้ ยนั
รอบโคนตน้ ใบ เปน็ ใบเดยี่ ว รปู รกี วา้ งหรอื รปู รี ปลายใบมี
ต่งิ แหลมเล็กและแขง็ ด้านทอ้ งใบมจี ุดสีด�ำ เล็กๆ กระจาย
อยู่ท่ัวไป หูใบสีเขียวอมเหลือง ก้านช่อดอกยาวเกิดที่
งา่ มใบ ชอ่ ละ 2 –12 ดอก ผลรูปไข ยาว งอกเปน็ ฝกั ตงั้ แต่
อยูบ่ นตน้ สีน�้ำ ตาลถงึ เขยี ว ผิวฝักหยาบ มีต่มุ ทัว่ ทัง้ ฝัก

ประโยชน์ ลำ�ตน้ ใชก้ ่อสรา้ ง เผาถ่าน สีจากเปลอื ก
ใช้ยอ้ ม แห อวน เชอื ก

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

30

พชื ในปา่ ชายเลน

โกงกางใบเล็ก
Rhizophora apiculata Bl.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
โกงกางใบเล็กเป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ มักข้ึนไดดี
บรเิ วณท่เี ป็นดินเลนอ่อน ไมล ึกมากนัก มีน้�ำ ทะเลทว่ มถงึ
สม่ำ�เสมอ โกงกางใบเล็กมีรากค้ำ�ยันรอบโคนต้นเหมือน
โกงกางใบใหญ่ ใบเปน็ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลบั ทิศทาง
รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรีคล้ายใบโกงกางใบใหญ่แต่มี
ขนาดเล็กกว่าและมีสีเข้มกว่า หูใบมีสีแดง ก้านช่อดอก
ส้ันเกิดที่ง่ามใบ ชอ่ ละ 2 ดอก ผลงอกตง้ั แตย่ งั อยบู่ นต้น
เรยี กวา่ ฝก ฝกั แก่ ผิวเรยี บสเี ขียว ขนาดเล็กกว่าโกงกาง
ใบใหญ่ เมือ่ แกเต็มทฝี่ กั จะหลุดเองได



ประโยชน์ ล�ำ ตน้ ใชก้ ่อสร้าง และเผาถ่าน ฝกั ท�ำ ไวน์
เปลือกสกดั แทนนิน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

31

พืชในป่าชายเลน
ถ่วั ดำ�

Bruguiera parviflora Wight & Arn.ex Griff.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE

ไมย้ นื ตน้ ขนาดเลก็ ขน้ึ ในพนื้ ทดี่ า้ นในของปา่ ชายเลน
ท่ีนำ้�ท่วมถึงอย่างสม่ำ�เสมอ มักขึ้นปะปนกับไมโปรงแดง
ทดี่ นิ เลนคอ่ นขา้ งแขง็ มรี ากพพู อนบรเิ วณโคนตน้ ใบเดยี่ ว
รูปรี แผ่นใบสีเหลืองอมเขียว ผิวใบเกลี้ยงท้ังสองด้าน
ดอกเป็นชอ่ กระจุกท่งี า่ มใบ สเี ขียวอมเหลือง ชอ่ ละ 3 – 7
ดอก ผล รปู ทรงกระบอก ฝกั เรยี วตรงงอกต้ังแต่อยบู่ นต้น
ฝกั อ่อนสีเขยี วและเปลี่ยนเป็นสนี �้ำ ตาลอมเขยี วเมอื่ แก่

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

32

พชื ในปา่ ชายเลน
ถว่ั ขาว
Bruguiera cylindrica (L.) Blume.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ข้ึนในพ้ืนท่ีดินเลนตื้น เหนียว
และแข็ง ตามริมชายฝั่ง หรือพ้ืนท่ีที่ถูกเปิดโล่งไม่เหมาะ
กับพันธ์ุไม้ป่าชายเลนชนิดอื่น มีรากหายใจรูปคล้ายเข่า
ใบเป็นพมุ่ สีเขยี วออ่ นถึงเขียวเขม้ ใบเดยี่ วรูปรี ผิวใบดา้ น
บนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ผิวใบเกล้ียงท้ังสองด้าน
ดอกเปน็ ชอ่ กระจุกทงี่ า่ มใบ สีเขยี วอ่อน ชอ่ ละ 3 ดอก ผล
เปน็ แบบฝกั ทงี่ อกตงั้ แตอ่ ยบู่ นตน้ สเี ขยี ว รปู ทรงกระบอก
เรยี วโคง้ ผลอ่อนสเี ขยี ว และเปน็ สนี ำ�้ ตาลอมเขยี วเม่อื แก่

ประโยชน์ ล�ำ ตน้ ใชท้ �ำ ฟนื ท�ำ เสาเขม็ เผาถา่ น เครอื่ ง
มอื จับปลา ทำ�หลักเล้ยี งหอยแมลงภู่

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

33

พชื ในปา่ ชายเลน
พงั กาหัวสมุ ดอกแดง

Bruguiera cylindrica (L.) Blume.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE

ไมย้ นื ตน้ ขนาดใหญ่ เรอื นยอดเปน็ พมุ่ กลมทบึ พบใน
บริเวณท่ีน้ำ�ท่วมถึง อย่างสม�ำ่ เสมอ และดินค่อนขา้ งแข็ง
และเหนยี ว มลี �ำ ตน้ สงู ใหญส่ นี �้ำ ตาลด�ำ ถงึ ด�ำ มรี ากหายใจ
คลา้ ยเขา่ โคนตน้ มพี พู อนสงู และมชี อ่ งอากาศขนาดใหญ่
อยทู่ ว่ั ไป ใบเปน็ ใบเดย่ี ว ใบรปู รหี รอื รปู ไขแ่ กมรี ผวิ ใบเรยี บ
หนา คลา้ ยแผน่ หนงั หใู บแหลมยาว สแี ดงเรอ่ื ๆ ออกดอก
สแี ดงตามงา่ มใบ ดอกบานลกั ษณะคลา้ ยสมุ่ ผลเปน็ ฝกั รปู
กระสวยงอกตง้ั แต่อยู่บนตน้ สีเขยี วแกมม่วง เมื่อแกจ่ ดั สี
มว่ งด�ำ


ประโยชน์ เปลอื กใหน้ �ำ้ ฝาด และสยี อ้ มผา้ อวนหนงั
ฝกั ใช้รับประทานได้

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

34

พืชในปา่ ชายเลน
โปรงขาว
Ceriops decandra Ding Hou.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดเลก็ ก่ึงไม้พุม่ มกั พบตามพืน้ ท่ีปา่ ชาย
เลนที่เป็นท่ีดอนแห้ง มีรากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น
โคนต้นมีพูพอนเลก็ นอ้ ย เรือนยอดกลม แนน่ ทบึ ใบเป็น
ใบเดย่ี ว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกทีป่ ลายกิง่
ใบรูปไขก่ ลบั หรอื รปู รแี กมรปู ไขก่ ลับถึงรปู ขอบขนานแกม
รปู รี ดอกออกเปน็ ชอ่ ตามง่ามใบ มดี อกจำ�นวนมากสีขาว
กา้ นชอ่ ดอกสน้ั ไม่มกี ้านดอกย่อย ผลเป็นแบบงอกต้ังแต่
อยบู่ นต้น ฝกั รปู ทรงกระบอกเรยี วสเี ขยี ว ฝกั ชีข้ น้ึ ไมเ่ ป็น
ระเบียบ


ประโยชน์ เปลือกต้มรับประทานกับน้ำ�แก้ท้องร่วง
แก้อาเจียน แก้บิด หรือใช้ชะล้างบาดแผล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

35

พชื ในปา่ ชายเลน
โปรงแดง

Ceriops tagal (Perr.) C. B. Rob.
วงศ์ RHIZOPHORACEAE

ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ข้ึนอยู่ด้านใน
ของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่นำ้�ที่นำ้�ท่วมถึงอย่าง
สมำ่�เสมอ และดนิ มีการระบายน้ำ�ดี ชอบข้ึนปะปนกับไม้
ถ่ัวดำ�หรือข้ึนเป็นป่าโปรงแดงล้วน ลำ�ต้นกลม สีเหลือง
อ่อน มีรากหายใจรูปคล้ายเข่าและรากค้ำ�จุนขนาดเล็ก
โคนมพี พู อนเลก็ นอ้ ย ใบเปน็ ใบเดย่ี ว ใบรปู ไขก่ ลบั ขอบใบ
มักเป็นคล่ืน อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก่ิง ดอกออก
เป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ สีขาว ก้านช่อดอกเรียวยาว
ผลเป็นฝกั รูปทรงกระบอกเรียว ผวิ ขรขุ ระ สีเขียว เมือ่ แก่
จะเปล่ียนเปน็ สนี ้ำ�ตาล

ประโยชน์ ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน เผาถ่าน ที่อยู่อาศัย
เครือ่ งมอื ประมง เปลือกใช้ตม้ กบั นำ้�ไวช้ ะล้างบาดแผล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

36

พชื ในปา่ ชายเลน

ตะบูนด�ำ
Xylocarpus moluccensis Roem.

วงศ์ MELIACEAE
ไม้ยนื ตน้ ขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรอื นยอดเป็นพุ่มกลม
โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย ข้ึนกระจายในบริเวณที่เป็น
ดนิ เลนคอ่ นขา้ งแขง็ น�ำ้ ทว่ ม
ถึงเล็กน้อย ต้นสีดำ�แดง
ถงึ ด�ำ เปลอื กขรุขระ ตน้ แก่
เปลอื กลอกเปน็ แถบแคบๆ
มรี ากหายใจรปู คลา้ ยกรวย
คว่ำ� กลมหรือแบน ใบสี
เขียวเข้มและเปล่ียนเป็น
สี ส้ ม อ ม เ ห ลื อ ง ทั้ ง ต้ น
ก่อนร่วง ดอกออกตาม
ง่ามใบ เป็นช่อแยกแขนง
ประกอบด้วยดอกจำ�นวน
มาก ออกดอกพร้อมๆ กับ
แตกใบใหม่ ผลค่อนข้าง
กลมมรี ่องเล็กน้อย สีเขยี ว
ประโยชน์ เนอื้ ไมม้ สี แี ละลวดลายสวยงาม ใชต้ กแตง่
ทำ�เฟอรน์ เิ จอร์ และกอ่ สร้างได้

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

37

พืชในปา่ ชายเลน

ตะบนู ขาว
Xylocarpus granatum Koen.

วงศ์ MELIACEAE
ตะบนู ขาว ไมย้ นื ตน้ ขนาดเลก็ ถงึ ขนาดกลาง มพี พู อน
แผ่ออกคดเค้ียวต่อเนื่องกับรากหายใจท่ีแบนคล้ายแผ่น
กระดาน มักข้ึนปะปนกับพันธ์ุไม้ป่าชายเลนหลายชนิด
ข้ึนได้ดีในนำ้�กร่อย พบบ้าง
เล็กน้อยในบริเวณนำ้�จืด
ตะบนู ขาวมเี ปลอื กเรยี บบาง
คลา้ ยตน้ ฝรง่ั หรอื ตน้ ตะแบก
ใบเป็นใบประกอบขนนก
ปลายใบคู่ ใบย่อยมีลักษณะ
คล้ายใบพาย ปลายมน
ดอกออกเป็นช่อท่ีง่ามใบ
มีกลิ่นหอม ผลมีขนาดเล็ก
ถึงใหญ่ ลักษณะกลม แบ่ง
เปน็ 4 พู เท่าๆ กัน ผลแก่
สนี �้ำ ตาลแดงคลา้ ยผลทบั ทมิ
แต่ละผลมี 7–17 เมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้ตะบนู มสี แี ละลวดลายสวยงาม ใช้
ตกแตง่ หรอื ท�ำ เฟอร์นิเจอร์ได้ดี

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

38

พชื ในป่าชายเลน
แสมขาว
Avicennia alba Bl.
วงศ์ ACANTHACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ไม่มีพูพอน จัดเป็นไม้
เบิกนำ� ที่ข้ึนได้ดใี นท่ดี ินเลนอ่อน ที่ระบายน้ำ�ดี สว่ นมาก
จะอยูใ่ นปา่ เลนด้านนอกสุด ส่วนที่ตดิ กบั ทะเล เป็นไมท้ ่ี
ช่วยให้มีการตกตะกอน มีรากหายใจรูปคล้ายดินสอ
หนาแน่นบรเิ วณโคนต้น ใบเป็นใบเดยี่ ว เรียงตรงขา้ มกัน
แผน่ ใบรปู หอกแกมรี ใบดา้ นบนสเี ขยี วเขม้ เปน็ มนั ทอ้ งใบ
สเี ทาออ่ นถงึ ขาว และมขี นยาวน่มุ ใบเม่อื แห้งจะเปน็ สีดำ�
ดอกออกเปน็ ชอ่ ทป่ี ลายกง่ิ หรอื งา่ มใบใกลป้ ลายกง่ิ เปน็ ชอ่
เชงิ ลด ดอกขนาดเลก็ ผลรปู คลา้ ยพรกิ แบน เปลอื กออ่ นนมุ่
สีเหลืองอมเขียว มีขนยาวนุ่มสีเขียวอ่อนปกคลุม ผลแก่
เปลอื กแตกด้านข้างตามยาวผล

ประโยชน์ สว่ นมากน�ำ มาใชเ้ ปน็ เชอื้ เพลงิ แกน่ จะมรี ส
เคม็ เฝอ่ื นใชค้ กู่ บั แกน่ แสมสารเปน็ ยาขบั เลอื ดเสยี ของสตรี

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

39

พืชในป่าชายเลน

แสมทะเล
Avicennia marina (Forsk.) Vierh.

วงศ์ ACANTHACEAE
แสมทะเล ขึ้นได้ดีในท่ีโล่งติดชายฝัง่ ทะเล หรือพ้ืนท่ี
ดินเลนงอกใหม่ทีด่ นิ คอ่ นข้างเปน็ ทราย เปน็ ไม้ขนาดเลก็
สงู ประมาณ 5-8 เมตร มีลกั ษณะเปน็ พุ่ม ส่วนใหญ่มสี อง
ลำ�ต้นหรือมากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง เปลือก
เรยี บเปน็ มนั สขี าวอมเทาหรอื ขาวอมชมพู ตน้ ทม่ี อี ายมุ าก
เปลอื กจะหลดุ ออกเปน็ เกลด็ บางๆ คลา้ ยแผน่ กระดาษ ผวิ
ของเปลอื กใหมจ่ ะมสี เี ขยี ว ใบ เปน็ ใบเดย่ี ว ปลายใบมนถงึ
แหลมเลก็ นอ้ ย ฐานใบรปู ลมิ่
ขอบใบเรียบม้วนเข้าหากัน
ทางด้านท้องใบ ใบด้านบน
สเี ขียวเข้มเป็นมัน ดา้ นท้อง
ใบขาวอมเทา หรอื ขาวนวล
ดอกออกเป็นช่อท่ีปลายกิ่ง
แตล่ ะชอ่ มี 8-14 ดอก ดอก
สสี ม้ อมเหลืองถึงเหลือง ผล
รปู ไขก่ วา้ งเบย้ี วถงึ เกอื บกลม
แบนด้านข้าง เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลืองมีขนนุ่ม
ปลายผลไม่มีจะงอย แตล่ ะผลมี 1 เมลด็

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

40

พืชในปา่ ชายเลน

ล�ำ พู
Sonneratia caseolaris (L.) Engl.

วงศ์ LYTHRACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ถงึ ใหญ่ กง่ิ หอ้ ยยอ้ ยลง จะขนึ้
ได้ต้ังแต่นำ้�กร่อยถึงนำ้�จืด
มักขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณขอบ
ป่าชายเลนริมน้ำ� เป็นที่อยู่
อาศัยท่ีสำ�คัญของห่ิงห้อย
มีรากหายใจใหญ่และยาว
เรียวแหลมไปทางปลายราก
ใบเปน็ ใบเดยี่ ว เรยี งตรงขา้ ม
ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม สีเขียวอ่อน ก้านใบเป็น
สีชมพูมองเห็นแต่ไกล ดอก ออกเด่ียวๆ ที่ปลายก่ิง
โคนกลีบเล้ียงด้านในสีออกแดง กลีบดอกสีแดงเข้ม
เกสรตัวผู้โคนก้านสีแดงปลายสีขาว ผลมีเน้ือและมีเมล็ด
ขนาดเลก็ จำ�นวนมากฝงั อยู่ในเนื้อผล ผลกลมสเี ขียวอ่อน
ผลสกุ มกี ลิน่ หอมและน่มิ
ประโยชน์ ชาวบา้ นมกั นำ�รากหายใจของลำ�พไู ปท�ำ
เป็นจุกไม้ก๊อกปิดขวด และใช้ในอาชีพการประมงโดยทำ�
เปน็ ทุน่ ลอย

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

41

พชื ในปา่ ชายเลน

ลำ�พทู ะเล
Sonneratia alba J. Smith.

วงศ์ LYTHRACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพันธ์ุไม้เบิกนำ� ชนิดหนึ่ง
ของปา่ ชายเลน ขนึ้ ไดด้ ีในท่ีนำ�้ ทว่ มถงึ ทุกวัน นำ้�ค่อนขา้ ง
เคม็ และดนิ เปน็ ดนิ ปนทราย คอ่ นขา้ งลกึ มกั จะขนึ้ ปะปน
กบั ไมแ้ สมด�ำ หรอื ไมแ้ สมขาว
มกั พบมากบรเิ วณชายคลอง
หรือชายฝั่งทะเลที่มีดินเลน
งอกใหม่ มรี ากหายใจตงั้ ตรง
รูปกรวยคว่ำ� เหนือผิวดิน
ใบ เปน็ ใบเดย่ี วเรยี งตรงขา้ ม
แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปไข่
ใบสีเขียวมีนวล ดอกออก
เดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุก
ท่ีปลายกิ่ง ผลมีเนื้อ และมี
เมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ด
ฝังอยใู่ นเน้อื ผล ผลแข็งรูปกลม
สเี ขยี ว
ประโยชน์ รากหายใจของลำ�พูทะเลช่วยในการดัก
ส่ิงปฏกิ ลู

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

42

พืชในป่าชายเลน
ตาตุ่มทะเล
Excoecaria agallocha L.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ไม้ยืนต้นผลัดใบ ยางของไม้ตาตุ่มทะเลมีพิษ หาก
เขา้ ตาอาจท�ำ ใหต้ าบอดได้ หากถกู ผวิ หนงั ท�ำ ใหเ้ กดิ อาการ
ผื่นคัน พบทั่วไปตามริมแม่นำ้�ที่เป็นท่ีสูง ดินเหนียวปน
ทรายค่อนข้างแข็ง มีรากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน
ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่แกมรีถึงรูปไข่กลับ ขอบใบ
หยักเป็นคล่ืน สีเขียวเป็นมันและจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ
เมอ่ื ใบใกลร้ ว่ ง ดอกขนาดเลก็ มาก ออกเปน็ ชอ่ เชงิ ลดตาม
ง่ามใบ ผลแหง้ แตก รปู เกือบกลม สีเขียวถึงน้ำ�ตาลเข้ม
ประโยชน์ เนื้อไม้
น�ำ มาเผา และควนั ทเ่ี กดิ จาก
การเผาไม้ตาตุ่มใช้รักษา
พวกท่เี ป็นโรคเรอื้ นได้ดี

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

43

พชื ในป่าชายเลน

เหงือกปลาหมอดอกมว่ ง
Acanthus ilicifolius L.
วงศ์ ACANTHACEAE
เหงือกปลาหมอดอกม่วงเป็นไม้พื้นล่างของป่า
ชายเลน เปน็ ไมพ้ มุ่ ล�ำ ตน้ เลอื้ ย ไมม่ เี นอ้ื ไม้ เมอ่ื ล�ำ ตน้ แกจ่ ะ
แตกกิ่งออกไป สามารถข้นึ ได้ดใี นทีด่ ินเลนแทบทุกสภาพ
ทน่ี �ำ้ ทะเลทว่ มถงึ มใี บเดย่ี วเรยี งตรงขา้ มสลบั ตง้ั ฉาก มกั มี
หนามทโี่ คนกา้ นใบ1คู่ใบเกลยี้ งแผน่ ใบรปู ใบหอกปลายใบ
กลมหรือเป็นต่ิงหนาม ขอบใบหยักมีหนามที่ปลายหยัก
ออกดอกที่ปลายก่ิงเป็นช่อ
เชงิ ลด ดอกสีนำ้�เงินอ่อนหรอื
ม่วงอ่อน ผลแห้งแตก รูปไข่
สีเขียวถึงนำ้�ตาลอ่อน ผิวเป็น
มัน
ประโยชน์ ตน้ ราก ใชต้ ม้
อาบแก้พิษไข้ แก้โรคผิวหนัง
ทุกชนิด ต้นสดตำ�ละเอียด
เอาพอกปิดหัวฝี ใช้เหงือก
ปลาหมอ กบั ชะเอมเทศท�ำ ผง
ละลายน้ำ�ผึ้งเป็นลูกกลอน
รบั ประทานแก้ปวดหลงั

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

44

พชื ในป่าชายเลน

เหงือกปลาหมอดอกขาว
Acanthus ebracteatus Vahl.

วงศ์ ACANTHACEAE
เหงอื กปลาหมอดอกขาว
เป็นไม้พ้ืนล่างของป่าชายเลน
เปน็ ไมพ้ ุ่มลำ�ตน้ อวบ มหี นาม
ค ล้ า ย กั บ เ ห งื อ ก ป ล า ห ม อ
ดอกม่วงมาก ขึ้นในบริเวณ
น้ำ�กร่อย-จืด จะไม่พบเหงือก
ปลาหมอดอกขาวในเขต
นำ้�เค็มจัด ใบเป็นใบเดี่ยว
ขอบหยกั เวา้ เลก็ นอ้ ย มหี นาม
ไม่มากนัก ดอกสีขาว มีใบ
ประดับย่อยในระยะแรกแต่
จะรว่ งหลน่ เรว็ ซงึ่ เปน็ ลกั ษณะ
ทแี่ ตกตา่ งจากเหงอื กปลาหมอดอกมว่ ง ผลสนั้ กวา่ เหงอื ก
ปลาหมอดอกมว่ ง
ประโยชน์ ท้ังต้นรากต้มอาบแก้พิษไข้ ผื่นคันโรค
ผวิ หนังทกุ ชนิด ถา้ ใชร้ ับประทานแกพ้ ษิ ฝีดาษ ตัดเอาราก
ต้นสด ตำ�ให้ละเอียด เอาพอกปิดหัวฝี หรือแผลเร้ือรัง
ถอนพษิ ไดด้ ี

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

45

สตั ว์ในปา่ ชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

46

สัตว์ในป่าชายเลน
สัตวท์ ี่อาศยั อยใู่ นป่าชายเลนนอกจาก สตั ว์นำ�้ เช่น กงุ้
หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอ่ืนๆ เช่น นก สัตว์ท่ีเลี้ยงลูก
ดว้ ยนม สัตวเ์ ล้ือยคลาน และแมลงแลว้ ในปา่ ชายเลนยังพบ
ตวั แทนของสตั วเ์ กือบทุกตระกลู ต้งั แตส่ ตั ว์ท่มี ีขนาดเลก็ เชน่
โปรโตซวั หนอนตวั กลม หนอนตวั แบน และพวกไสเ้ ดอื นทะเล
สัตวพ์ วกนี้จะมีหลายชนดิ และด�ำ รงชวี ิตหลายแบบ กล่าวคือ
บางชนิดสามารถเคลื่อนท่ีได้และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร
บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่และกรองอาหารจากน้ำ�และ
บางชนิดก็ฝังตัวอยู่กับที่มีหนวดหรือรยางค์ออกกวาดอินทรีย์
สารเป็นอาหาร

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

47

สัตว์ในป่าชายเลน

ปลาที่พบในปา่ ชายเลน

ปลาท่ีอาศัยอยู่ในป่าชายเลนมีหลายชนิดปลาท่ีมีความ
สำ�คัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล
และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุม จะแตกต่างตาม
ฤดูกาลวางไข่ กระแสน้ำ�และระดับความเข้มข้นของน้ำ�ทะเล
อณุ หภมู ิ ชนดิ และจ�ำ นวนของสตั วก์ นิ ปลา ปลาในปา่ ชายเลน
สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ ปลาท่ีอาศัยอยู่
เปน็ ประจ�ำ ปลาทอี่ าศยั อยชู่ วั่ คราว ปลาทมี่ ากบั กระแสน�ำ้ และ
ปลาท่ีพบในบางฤดกู าล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

48

สัตว์ในป่าชายเลน

กงุ้ ที่พบในป่าชายเลน

กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่
อาศัยอยู่ในน้ำ�กร่อยมี 15 ชนิด
กุ้งที่สำ�คัญและมีค่าทางเศรษฐกิจ
สูง คือ กุ้งกุลาดำ� และกุ้งแชบ๊วย
นอกจากนี้ยังมีกุ้งบางชนิดท่ีว่าย
นำ้ � จ า ก บ ริ เ ว ณ นำ้ � จื ด ไ ป ว า ง ไ ข่
บริเวณนำ้�กร่อย ท่ีสำ�คัญ ได้แก่
กงุ้ กา้ มกราม และกงุ้ น�ำ้ จดื เปน็ ตน้

หอยทพี่ บในป่าชายเลน

พวกหอยที่ส�ำ คญั ได้แก่ หอย
สองฝา เชน่ หอยนางรม หอยแครง
และหอยจอบ ซ่ึงอาจจะฝังตัวใน
ดินหรือเกาะตามต้น ราก ก่ิงและ
ใบของไม้ป่าชายเลน นอกจากน้ี
ยังมีหอยเจาะซึ่งพบมากตามซาก
ต้นไม้ท่ีหักพังด้วย หอยฝาเดียว
ไดแ้ ก่ หอยขน้ี ก

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

49

สตั ว์ในปา่ ชายเลน

ปูที่พบบริเวณป่าชายเลน

ปทู ่พี บในป่าชายเลนมอี ยูป่ ระมาณ 30 ชนดิ ทรี่ ูจ้ ักกันดี
คือปูแสมและปูก้ามดาบ ซ่ึง
ปูทัง้ 2 ชนิด นีม้ สี สี นั ตา่ งๆ
สวยงาม สำ�หรับปูที่นิยมรับ
ประทาน เป็นอาหารและมี
คุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปู
ทะเล

สัตว์ชนดิ อืน่ ท่พี บในปา่ ชายเลน

ในบริเวณป่าชายเลน
นอกจากสัตว์น้ำ�ชนิดต่างๆ
แลว้ ยงั พบสตั วท์ เี่ ลยี้ งลกู ดว้ ย
นม เช่น ค้างคาว ลิงลม
ลงิ แสม หนบู า้ น นาก เสอื ปลา
แมวปา่ หมูปา่ และเก้ง สตั ว์
เหล่านี้ จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลนเป็นบางเวลา เพื่อหา
อาหาร นอกจากนี้ยงั มนี กหลายชนดิ งูชนิดตา่ งๆ ตะกวด เตา่
จระเข้ และลิงแสม

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

50


Click to View FlipBook Version