The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sumate962, 2019-09-15 12:20:43

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน

สตั ว์ในปา่ ชายเลน

สัตว์ในป่าชายเลนที่น่าสนใจบางชนิด

ปลาตีน เป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวไม่เกิน 120
มิลลิเมตร ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ตาต้ังอยู่บนหัวเพื่อใช้
มองในระดับผิวน้ำ� เมื่อน�้ำ ลด ปลาชนิดอน่ื จะว่ายออกไป
หรือติด ค้างตามแอ่งนำ้�เล็ก แต่ปลาตีน ก็ยังคงอยู่บน
ผิวเลนได้เมือ่ น้�ำ ลงต�ำ่ สุด ปลาตีนสามารถหายใจไดต้ ราบ
เท่าที่เหงือกยังเปียกอยู่ ครีบอกได้พัฒนาให้เคลื่อนไหว
บนโคลนได้ ปลาตนี บางชนดิ สามารถใชค้ รบี ปนี ปา่ ยรากไม้
ได้ นอกจากว่ายนำ้�แล้วยังเดินบนเลนได้อย่างรวดเร็ว
โดยการใชห้ างแกวง่ เรว็ ๆ การหลบผลู้ า่ กใ็ ชก้ ารขดุ รบู นเลน
เพอื่ หลบภยั ปลาตนี มหี ลายชนดิ มขี นาดสี และพฤตกิ รรม
ทต่ี ่างกัน ตัวทโี่ ตจะจับปกู า้ มดาบเปน็ อาหารเมอ่ื นำ้�ลด

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

51

สัตว์ในป่าชายเลน
ปเู สฉวน อาศยั อยใู่ นเปลอื กหอยฝาเดยี วโดยแบกไว้
บนหลงั พบในทะเลลกึ จนถงึ ชายหาด ในป่าชายเลนและ
ในทแี่ ห้ง เมอ่ื นำ้�ขึน้ จะคลานขนึ้ อาศัยบนต้นไม้ มรี ่างกาย
สว่ นทอ้ งออ่ นนมุ่ จงึ เขา้ อยใู่ นเปลอื กหอยฝาเดยี วเพอื่ ชว่ ย
ป้องกันส่วนนี้ ส่วนท้ายของลำ�ตัวมีลักษณะที่ยาวและ
บิดเพื่อให้พอดีกับเปลือกหอยที่อาศัย ขาท่ีใช้เดินสองคู่
เปลี่ยนมาใช้จับเปลือกหอย ขาคู่ที่จับยึดเปลือกหอยมี
ขนาดเลก็ และสลดั เปลอื กหอยได้ ตวั เมยี จะวางไขใ่ นทะเล
ลกู ปู เมอื่ เจรญิ ขน้ึ กห็ าเปลอื กหอยขนาดเลก็ ทต่ี ายแลว้ เขา้
อาศยั ปอ้ งกันภยั เมอื่ ขนาดใหญข่ ้ึน กเ็ ปล่ยี นเปลอื กหอย
ใหม่

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

52

สัตว์ในปา่ ชายเลน
ปแู สม มีรูปรา่ งเป็นส่ีเหลยี่ ม ตวั เล็กสีด�ำ เมอ่ื น้ำ�ลด
จะพบมากตามขอบที่น้ำ�ขังตามโคนและรากไม้ ชอบอยู่
ตามชายฝง่ั โขดหิน และในปา่ ชายเลน ชอบกนิ สาหร่าย
และสัตวไ์ มม่ ีกระดกู อาหารหลกั คอื ใบไม้ทผ่ี ุ ปทู ี่โตแล้ว
อาจจะขนเศษใบไม้ลงเก็บในรูเพ่ือเป็นอาหารและจะพบ
ว่ามันไต่ต้นไม้ขึ้นกินใบสดด้วยโดยจะพบเห็นได้ในเวลา
กลางคืน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

53

สัตว์ในปา่ ชายเลน

ปกู า้ มดาบ พบเห็นตามผิวดินเลนอยกู่ ันเป็นกลุ่มมี
สสี นั ตา่ งๆ สวยงามมาก กา้ มของตวั ผมู้ ขี นาดใหญข่ า้ งเดยี ว
ทำ�หน้าท่ีแกว่งขับไล่ตัวผู้อื่นไม่ให้เข้าใกล้รู เรียกความ
สนใจจากตัวเมีย และใช้หนีบในการต่อสู้ ส่วนก้ามข้าง
ท่ีเล็กใช้ในการเก็บสาร
อินทรีย์ตามผิวเลนเป็น
อาหาร ปูกา้ มดาบจะไม่
อยู่ไกลจากรูเม่ือมีศัตรูก็
สามารถท่ีจะว่ิงหนีลงรู
ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็
แม่หอบ พวกนี้จะสร้างจอมปลวกจากดินเลนรูป
กรวยกลมขนาดใหญภ่ ายใตร้ ม่ ไมป้ า่ ชายเลน มนั จะอาศยั
อยภู่ ายในอโุ มงคน์ ้ี หากปรากฏวา่ ทป่ี ากรทู างเขา้ ดนิ เลนยงั
เปียกอยู่แสดงว่ามีสัตว์
พวกน้ีอาศัยอยู่ รยางค์
เล็กๆ ที่อยู่ด้านล่าง
ของลำ�ตัวจะเคลื่อนไหว
อยู่ตลอดเวลาเพ่ือต้าน
กระแสน�ำ้

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

54

สัตว์ในป่าชายเลน
นกยาง ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ได้ปรับตัวเองให้หา
กินตามพ้ืนที่ชุ่มน้ำ�และตามเลนได้ นกยางหลายชนิด
เข้ามากินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามแอ่งน้ำ�
ในป่าชายเลนหลังนำ้�ลด จากลักษณะท่ีมีขายาวทำ�ให้
เดนิ ลงในน้�ำ ตนื้ ไดด้ ี ตีนท่ใี หญแ่ ละกว้างทำ�ให้ใช้หัวแม่ตนี
กดเดนิ ในเลนออ่ นโดยไมจ่ มได้ พวกนี้จบั เหยอ่ื โดยการใช้
ปากทย่ี าวและแหลมคม ตระกลู นกยางทพ่ี บในปา่ ชายเลน
เปน็ พวกท่มี ีขนาดเล็ก เช่น นกยางทะเล นกยางเปยี และ
นกยางกรอกพันธจ์ุ ีน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

55

ปจั จัยสง่ิ แวดลอ้ มของ
ปา่ ชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

56

ปจั จยั สงิ่ แวดล้อมของปา่ ชายเลน
ปัจจัยส่ิงแวดล้อมที่มีบทบาทสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต
ของพชื และสัตว์ในป่าชายเลน คอื
ภมู ปิ ระเทศชายฝง่ั : ปา่ ชายเลนโดยทวั่ ไปชอบขน้ึ อยบู่ รเิ วณ
ชายฝ่ังทะเลที่มีสภาพเป็นดินเลน และเป็นท่ีราบกว้าง มีน้ำ�
ทะเลท่วมถึงอย่างสม�ำ่ เสมอ
ภูมิอากาศ : ปัจจัยสภาวะแวดล้อมท่ีเก่ียวกับภูมิอากาศ
ทีส่ ำ�คัญ ได้แก่ แสง อุณหภมู ิ ฝนและลม ปา่ ชายเลนสว่ นใหญ่
จะขนึ้ อยูใ่ นเขตโซนรอ้ น เพราะมสี ภาพภูมอิ ากาศเหมาะสม
น้ำ�ขึ้นนำ้�ลง : นำ้�ขึ้นนำ้�ลงเป็นปัจจัยที่สำ�คัญในการ
กำ�หนดการแบ่งเขตการขึ้นอยู่ของพันธ์ุไม้ หรือสัตว์น้ำ�ในป่า
ชายเลน ผลตา่ งของน�ำ้ ขน้ึ น�้ำ ลงเปน็ ปจั จยั ส�ำ คญั ทมี่ อี ทิ ธพิ ลตอ่
การเปลย่ี นแปลงของลกั ษณะภายนอกของพนั ธไ์ุ ม้ โดยเฉพาะ
ระบบราก รากค�ำ้ จนุ และรากหายใจจะมขี นาดใหญแ่ ละสงู จาก
ผิวดินมากถ้าขึ้นอยู่ในพ้ืนที่ท่ีผลตา่ งของน้ำ�ขึน้ นำ�้ ลงกวา้ ง

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

57

ปัจจัยสง่ิ แวดลอ้ มของปา่ ชายเลน

คลื่นและกระแสนำ้� : คลื่นและกระแสนำ้�ช่วยพัดพาฝักของ
ไม้ป่าชายเลนไปสู่แหล่งต่างๆ นอกจากน้ีคล่ืนและกระแสนำ้�
นอกจากจะเปน็ ตวั การทส่ี �ำ คญั ทที่ �ำ ใหม้ กี ารตกตะกอนบรเิ วณ
ชายฝ่ัง ซ่งึ จะท�ำ ใหม้ พี ันธ์ไุ ม้ป่าชายเลนมาข้นึ อยูแ่ ล้ว ยังชว่ ย
พดั พาธาตอุ าหารจากปา่ ชายเลนออกไปสชู่ ายฝง่ั และทะเล ซงึ่
จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ สตั วน์ �้ำ และการเพาะเลย้ี งชายฝง่ั อยา่ งมาก
ความเคม็ ของน้�ำ : ความเค็มของนำ้� และความเคม็ ของน้�ำ
ในดิน มีความสำ�คัญต่อการกระจายของพันธุ์ไม้และสัตว์นำ้�
ในป่าชายเลน ท่ีความเค็มของนำ้�ต่างกันจะมีการขึ้นอยู่ของ
พันธไ์ุ ม้และชนิดของสตั วต์ า่ งกัน
ออกซิเจนละลาย : ปริมาณออกซิเจนละลายในนำ้�มีความ
สำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตของพืชและสัตว์นานาชนิด ปริมาณ
ออกซเิ จนละลายมากหรอื นอ้ ยเปน็ ตวั จ�ำ กดั ทงั้ ชนดิ การเจรญิ
เตบิ โตของพชื และชนดิ การเจรญิ เตบิ โต และการแพรก่ ระจาย

ของสัตว์นำ้� นอกจากน้ีการเกิด
ขบวนการย่อยสลายของเศษ
ใบไมห้ รืออนิ ทรียสาร จะเร็วหรอื
ชา้ ยงั ขน้ึ อยกู่ บั ปรมิ าณออกซเิ จน
ทล่ี ะลายในน้ำ�เป็นส�ำ คญั

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

58

ปจั จัยสิ่งแวดลอ้ มของป่าชายเลน

ดิน : ดินในป่าชายเลนเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของ
ตะกอนทไ่ี หลมากบั น�ำ้ จากแหลง่ ตา่ งๆ และการตกตะกอนของ
สารแขวนลอยในมวลน�ำ้ ตลอดจนการสลายตวั ของอนิ ทรยี สาร
ดินเป็นปัจจัยหน่ึงท่ีมีส่วนในการจำ�กัดการเจริญเติบโต และ
การกระจายของพันธุไ์ ม้ และสัตว์ในปา่ ชายเลน ตวั อย่างเชน่
ไม้โกงกางใบใหญ่ข้ึนได้ดีในดินเลนค่อนข้างลึก ไม้แสมทะเล
และไม้พังกาหัวสมุ สามารถข้ึนไดด้ ใี นพื้นที่ดนิ เลนปนทราย
ธาตุอาหาร : ธาตุอาหารที่
จำ�เป็นในการดำ�รงชีวิตของสิ่งมี
ชีวิตในป่าชายเลน มีแหล่งที่มา
จากภายนอกปา่ ชายเลนและจาก
ป่าชายเลนเอง คือมาจาก นำ้�ฝน
น้ำ�ท่ีไหลผ่านแผ่นดิน จากดิน
ตะกอน จากน้ำ�ทะเลและจากการผุสลายของอินทรียวัตถุ
ในป่าชายเลน จากส่ิงมีชีวิตท่ีผ่านขั้นตอนต่างๆ ในการ
ย่อยสลาย จากแพลงตอนพชื ไดอะตอม แบคทเี รยี สาหร่าย
ที่เกาะตามต้นไม้ รากไม้ และพืชชนิดอ่ืนๆ ในป่าชายเลน
ซากสตั ว์ ส่ิงขบั ถ่ายของสตั ว์ หรอื มาจากสารแขวนลอยในน้ำ�
ที่ไหลมาจากแหล่งนำ้�ลำ�ธาร ซากพืชและซากสัตว์ท่ีอยู่บนฝั่ง
หรอื ในทะเล ช้ินส่วนต่างๆ ของพชื ท่ลี มพัดพามา

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

59

ระบบนิเวศปา่ ชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

60

ระบบนิเวศปา่ ชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
สิง่ มีชวี ติ และสิง่ ไมม่ ีชีวิต
สิ่งไม่มีชีวิต ประกอบไปด้วยพวกธาตุอาหาร เกลือแร่
นำ้� พวกซากพืช ซากสัตว์ยังรวมไปถึงสภาพภูมิอากาศ เช่น
อณุ หภูมิ แสง ฝน ความชืน้ เป็นต้น
สงิ่ มชี ีวติ ประกอบด้วย ผผู้ ลติ ผบู้ รโิ ภค และผยู้ อ่ ยสลาย
ผู้ผลติ ในทน่ี ีห้ มายถึงส่ิงมีชีวิตที่สามารถสงั เคราะหแ์ สงเองได้
ได้แก่พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ในป่าชายเลน รวมไปถึง ไดอะตอม
แพลงตอนพชื และสาหร่าย
ผบู้ รโิ ภค คอื สง่ิ มชี วี ติ ทไี่ มส่ ามารถสรา้ งอาหารเองได้ ตอ้ ง
พ่ึงพาอาศัยพวกอื่น ได้แก่ พวกสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เช่น
แพลงตอนสตั ว์ ปู ไสเ้ ดอื นทะเล และสตั ว์ชนดิ อ่นื ๆ เชน่ ปลา
กงุ้ ปู รวมไปถงึ นก สตั วเ์ ลอื้ ยคลานและสตั วเ์ ลย้ี งลกู ดว้ ยนม ซงึ่
บางชนดิ เปน็ พวกกนิ อนิ ทรยี ส์ าร บางชนดิ เปน็ พวกกนิ พชื บาง
ชนิดเป็นพวกกินสัตว์และ
บางชนิดเป็นพวกกินท้ังพืช
และสัตว์ ส่วนประกอบของ
ส่ิงมีชีวิตท่ีสำ�คัญในระบบ
นิเวศปา่ ชายเลนอีกอย่างคือ

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

61

ระบบนิเวศป่าชายเลน
ผู้ย่อยสลาย ซึ่งหมายถึงพวกจุลินทรีย์ท้ังหลายที่ช่วยใน
การทำ�ลายหรือย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ให้เน่าเปื่อย
ผุพัง จนในที่สุดสลายตัวเป็นธาตุอาหารและปุ๋ยซ่ึงสะสมเป็น
แหลง่ อาหารในดนิ เพื่อประโยชนต์ อ่ ผผู้ ลติ ต่อไป ซง่ึ ไดแ้ ก่ รา
แบคทีเรีย ในป่าชายเลนผู้ย่อยสลายยังรวมถึง ปูและหอย
บางชนิดด้วย

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

62

ระบบนเิ วศปา่ ชายเลน

ส่ิงไม่มีชีวิตและส่ิงมีชีวิตในป่าชายเลนเหล่าน้ีจะมีความ
สัมพันธ์ระหว่างกันอย่างซับซ้อน ทั้งในแง่การหมุนเวียน
ของธาตุอาหารและการถา่ ยทอดพลงั งาน แต่สามารถอธบิ าย
ได้ง่ายๆ ได้ว่า เม่ือผู้ผลิตคือพันธุ์พืชเจริญเติบโตจากการ
สังเคราะห์แสง ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ก่ิงไม้และ
เศษไม้ จะรว่ งหลน่ ทับถมในน�ำ้ และดินและถกู ยอ่ ยสลายโดยผู้
ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ในที่สุดก็กลายเป็นแร่ธาตุ
อาหารของผ้บู รโิ ภคพวกกินอนิ ทรยี ส์ าร พวกกินอนิ ทรยี ์สารนี้
จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอัน
อุดมสมบูรณ์แก่สัตว์น้ำ�เล็กๆ และสัตว์เล็กๆเหล่าน้ีจะเจริญ
เติบโตข้ึนกลายเป็นอาหารของพวกสัตว์และกุ้ง ปู และปลา
ขนาดใหญ่ขึ้นไปเรอ่ื ยๆ ตามลำ�ดบั หรอื บางส่วนก็จะตายและ
ผสุ ลายตวั เปน็ ธาตอุ าหารสะสมอยใู่ นปา่ นนั่ เอง ความสมั พนั ธ์
ท่ีเกิดข้ึนนี้จะถูกปรับให้เป็นไปอย่างสมดุลภายในระบบถ้าไม่
ถูกรบกวนจากภายนอก

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

63

ปญั หาสาเหตุ
และผลกระทบ
จากการทำ�ลายปา่ ชายเลน

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

64

ปัญหาสาเหตแุ ละผลกระทบจากการท�ำ ลายปา่ ชายเลน
ปัญหา: พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเน่ืองเกิดจาก
สาเหตุหลายประการร่วมกัน ที่สำ�คัญคือ การขยายตัวของ
ประชากร ทำ�ใหม้ กี ารพฒั นากิจกรรมต่างๆ มากมาย ทส่ี �ำ คัญ
คือ การประมงและการเพาะเล้ียงสัตว์นำ้� โดยเฉพาะการ
ทำ�นากุ้ง การทำ�เหมืองแร่ การเกษตรกรรม การขยายตัว
ของแหล่งชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและ
สายสง่ ไฟฟา้ การอตุ สาหกรรมและโรงงานไฟฟา้ การขดุ ลอก
ร่องนำ้� การทำ�นาเกลือ การตัดไม้เกินกำ�ลังการผลิตของป่า
และกิจกรรมอ่นื

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

65

ปญั หาสาเหตุและผลกระทบจากการทำ�ลายปา่ ชายเลน
สาเหตุ: หลายกิจกรรมเกิดข้ึนในพ้ืนที่ป่าชายเลนเป็น
เพราะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ในพื้นท่ีป่าชายเลน ทำ�ให้ช่วย
ลดต้นทุนในการประกอบการ เพราะป่าชายเลนเป็นพื้นท่ี
ป่าสงวนมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับไม่รัดกุม ทำ�ให้มีผู้
บกุ รุกจ�ำ นวนมาก และการจับกมุ ท�ำ ไดไ้ ม่ท่วั ถึง สิง่ ที่เกิดขึน้ นี้
สืบเนื่องมาจากความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับป่าชายเลนยังไม่
เพียงพอและยังไม่ถูกต้องนักในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆ ทำ�ให้
ไมเ่ หน็ ความสำ�คัญของป่าชายเลน เป็นผลใหก้ ารใช้ประโยชน์
ปา่ ชายเลนเปน็ ไปอยา่ งไม่เหมาะสม

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

66

ปญั หาสาเหตแุ ละผลกระทบจากการท�ำ ลายป่าชายเลน

ผลกระทบ: การเปลยี่ นแปลงพนื้ ทปี่ า่ ชายเลนดงั กลา่ วท�ำ ให้
เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนหลายประการ เช่น
อณุ หภูมิน�้ำ สงู ข้ึน ปรมิ าณธาตอุ าหารลดลง ความเคม็ เพิ่มขนึ้
น้�ำ ขุ่นข้น มปี รมิ าณสารพษิ ในน�ำ้ เกดิ การพังทลายของดนิ มี
การเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืช
และสัตวน์ ้ำ� ทีส่ �ำ คัญคอื มีผลกระทบต่อความสมดลุ ของระบบ
นิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอ่ืนในบริเวณชายฝ่ังและ
ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจและ
ประชาชนและของประเทศโดยรวม และยากทจี่ ะฟนื้ ฟใู หก้ ลบั
เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงิน
ลงทนุ มหาศาล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

67

พ้นื ทสี่ งวนชวี มณฑล

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

68

พนื้ ท่ีสงวนชวี มณฑล

พน้ื ทสี่ งวนชวี มณฑล หมายถงึ พน้ื ทร่ี ะบบนเิ วศบนบก
และ/หรอื ชายฝงั่ ทะเล/ทะเล หรอื พน้ื ทที่ มี่ ที งั้ ระบบนเิ วศบนบก
และชายฝงั่ ทะเล/ทะเล ทไี่ ด้รับการยอมรบั ในระดับนานาชาติ
ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก
(UNESCO Man and the Biosphere – MAB Programme)
มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ การอนรุ กั ษแ์ ละใชป้ ระโยชนอ์ ยา่ งยงั่ ยนื ของ
ความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
มนษุ ยก์ ับส่ิงแวดลอ้ มโดยเฉพาะสงิ่ แวดล้อมทางชีวภาพ และ
การพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คม ตลอดจนการด�ำ รงรกั ษาคณุ คา่
ทางประเพณีและวัฒนธรรมท่ีเกย่ี วข้อง
มกี ารจดั สรรพน้ื ทส่ี งวนชวี มณฑลออกเปน็ 3 เขตพน้ื ที่ คอื
เขตพน้ื ทแี่ กนกลาง (core zone) เป็นพน้ื ท่ที ี่จัดตงั้ ข้นึ
ตามกฎหมายมขี นาดใหญเ่ พยี งพอทจี่ ะสนองวตั ถปุ ระสงคด์ า้ น
การอนรุ กั ษ์ ตอ้ งไมม่ กี จิ กรรมใดๆ ยกเวน้ เพอ่ื การวจิ ยั และการ
ตรวจสอบ
เขตพนื้ ทก่ี นั ชน (buffer zone) จะตอ้ งไดร้ บั การประกาศ
ชัดเจนและล้อมรอบเขตแกนกลาง เป็นพ้ืนท่ีที่อนุญาตให้มี
กจิ กรรมทไี่ มข่ ดั แยง้ กบั การอนรุ กั ษ์ในเขตแกนกลาง
เขตพื้นทรี่ อบนอก (transition zone) ใชใ้ นการดำ�เนนิ
กิจกรรมความร่วมมือทั่วไป ซ่ึงรวมทั้งเขตกสิกรรมของชุมชน
ด้วย

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

69

พืน้ ท่สี งวนชวี มณฑล

ประเทศไทยมพี น้ื ทีส่ งวนชีวมณฑลทง้ั สิน้ รวม 4 แห่ง คือ
1. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช อำ�เภอวังนำ้�เขียว
จงั หวัดนครราชสมี า
2. พ้ืนท่ีสงวนชีวมณฑลแม่สา-ห้วยคอกม้า จังหวัด
เชยี งใหม่
3. พ้ืนท่ีสงวนชีวมณฑลห้วยทาก อำ�เภองาว จังหวัด
ลำ�ปาง
4. พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ในความดูแลของ
ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (ระนอง) หรือศูนย์วิจัย
ปา่ ชายเลนเดมิ โดยเปน็ ปา่ ชายเลนแหง่ แรกของโลกทไ่ี ดร้ บั การ
ประกาศเป็นพ้นื ท่สี งวนชีวมณฑล

พืน้ ท่สี งวนชวี มณฑลป่าชายเลนระนอง
(Ranong Biosphere Reserve)

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลนระนอง จังหวัดระนอง
ครอบคลุมพื้นท่ีจากทิศใต้ของเมืองระนองถึงทิศเหนือของ
อ�ำ เภอกะเปอร์ ทศิ ตะวนั ออกจรดอทุ ยานแหง่ ชาตนิ �้ำ ตกหงาว
และทิศตะวันตกจรดทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ตำ�บล
หงาว และบางสว่ นของต�ำ บลปากนำ�้ ตำ�บลบางรน้ิ และต�ำ บล
ราชกรูด อำ�เภอเมือง จังหวัดระนอง มีพ้ืนท่ีรวมประมาณ
303.09 ตร.กม. หรอื 189,431 ไร่

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

70

พ้ืนที่สงวนชวี มณฑล

ขนาดและสภาพของพนื้ ท่ี
พื้นทสี่ ่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝ่ัง ในอดีตพื้นท่ีบางส่วนเคยเป็นป่าชายเลน
สัมปทาน ประทานบัตรเหมืองแร่ และมีการทำ�นากุ้งหลัง
ปา่ ชายเลน มเี นนิ เขาซง่ึ เปน็ ทงุ่ หญา้ และปา่ ดบิ ชน้ื กระจายอยู่
ทัว่ ไปทั้งในทดี่ อนและในปา่ ชายเลน
การแบง่ พนื้ ทอี่ าศยั ภมู ปิ ระเทศและความสมบรู ณข์ องปา่
กิจกรรมการเพาะเล้ียงสัตวน์ ้ำ� การมสี ่วนร่วมของชมุ ชน โดย
แบง่ ออกเป็น 3 เขต คือ
พนื้ ทแ่ี กนกลาง (core zone) มพี นื้ ท ี่ 40,762 ไร่ เปน็ ปา่
ทสี่ มบรู ณ์และไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ ลอ้ มรอบด้วยล�ำ คลอง
และทะเล จึงเหมาะเป็นแหล่งสงวนและอนุบาลสัตว์น้ำ�และ
ป้องกนั การพงั ทลายของชายฝงั่ อนั เนอื่ งมาจากความรนุ แรง
ของคลน่ื และลม
พนื้ ทกี่ นั ชน (buffer zone) มพี นื้ ท่ี 26,744 ไร่ จะอยนู่ อก
พื้นท่ีแกนกลาง ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน บางส่วนเป็นพื้นท่ี
นากุง้ และเกษตรกรรม รวมทัง้ ปา่ บก

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

71

พ้นื ทสี่ งวนชีวมณฑล
พนื้ ทเี่ ปลย่ี นสภาพ (transition zone) มพี น้ื ที่ 40,681 ไร่
เป็นพ้ืนที่ท่ีถูกเปลี่ยนเป็นถนน สวนยาง สวนปาล์ม สวน
มะพร้าว เหมอื งแรร่ ้าง และทอ่ี ยู่อาศัย


พื้นท่ีสงวนชีวมณฑลป่าชายเลนระนอง นับว่าเป็นพ้ืนที่
ปา่ ชายเลนทมี่ คี วามอดุ มสมบรู ณม์ ากทส่ี ดุ แหง่ หนงึ่ ในภมู ภิ าค
เอเชียและแปซิฟิก เป็นแหล่งท่ีมีความหลากหลายท้ังพืชและ
สตั ว์ สตั ว์ในปา่ ชายเลนทีพ่ บ ตวั อยา่ งเชน่ ลงิ แสม นกกินปลา
กาน้�ำ นาก งชู นิดตา่ งๆ กระรอก และตะกวด นอกจากนี้ ยัง
เป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยของสัตว์นำ้�โดยเฉพาะปูและหอยต่างๆ
หลายชนิด ซ่งึ ปทู ่ีพบมากที่สดุ ได้แก่ ปแู สม ปูก้ามดาบ และ
ปูทะเล ชนิดท่ีมคี วามสำ�คญั และพบมาก ได้แก่ ปลากะพงขาว
ปลากระบอก ปลานวลจนั ทร์ทะเล และปลาข้างลาย รวมทัง้
ยังมีกงุ้ ที่อาศัยปา่ ชายเลนเป็นแหลง่ อาหารและหลบภยั ชนิด
ทพ่ี บมาก และยงั มีความส�ำ คัญทางเศรษฐกิจ คอื กงุ้ กุลาดำ�
ก้งุ แชบ๊วย กุง้ ตะกราด และกุง้ กะปิ

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

72

พืน้ ท่สี งวนชวี มณฑล

บทบาทของพื้นท่สี งวนชีวมณฑล

1. บทบาทในการอนุรักษ์ เนื่องจากป่าชายเลนของ
จังหวัดระนองเป็นป่าท่ีเชื่อมต่อระหว่างบนบกกับทะเล และ
ด้วยลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ท่ีเอื้ออำ�นวยจึงทำ�ให้มี
ความหลากหลายทางชวี ภาพของสง่ิ มชี วี ติ ทงั้ พนั ธพ์ุ ชื และพนั ธ์ุ
สตั วค์ อ่ นข้างสงู การอนรุ ักษ์ปา่ ชายเลนไว้ไม่ให้ถกู ท�ำ ลายจาก
การขยายตวั ของชุมชนและความเจริญในทางวตั ถุ จงึ มีความ
จำ�เป็นยิ่ง
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีอาณาเขตเช่ือมต่อกับ
อทุ ยานแหง่ ชาตนิ ้�ำ ตกหงาว ต้งั อย่บู นไหลเ่ ขาที่ทอดตัวขนาน
กับชายฝง่ั ทะเลอนั ดามัน จึงเปน็ พ้ืนทต่ี ัวอย่างท่ีถูกจัดให้เป็น
พ้ืนที่สงวนรักษาสภาพแวดล้อมต้ังแต่ภูเขาลงไปจนถึงเขต
ชายฝงั่ ซงึ่ หายากยงิ่ นกั พน้ื ทแี่ หง่ นจ้ี งึ อ�ำ นวยประโยชนใ์ นการ
อนุรักษ์พืชพันธ์ุป่าชายเลน พ้ืนที่ป่าชายฝ่ัง หญ้าทะเล และ
แหล่งเกษตรกรรม ใหอ้ ำ�นวยผลผลิตอยา่ งย่ังยนื
2. บทบาทในการพัฒนา ในอดีต การใช้ประโยชน์
ทรพั ยากรธรรมชาตใิ นหลายพน้ื ที่ เพอื่ การบรโิ ภค การกอ่ สรา้ ง
เชอื้ เพลิง ยารกั ษาโรค เปน็ ตน้ แตเ่ ป็นไปอยา่ งฟุม่ เฟือยเกิน
ขดี จำ�กัดที่จะทดแทนได้เองตามธรรมชาติ

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

73

พน้ื ทส่ี งวนชีวมณฑล
ต่อมาจังหวัดระนอง ซ่ึงยังคงมีทรัพยากรป่าชายเลนที่
คอ่ นขา้ งสมบรู ณ์ ไดถ้ กู คดั เลอื กจากคณะกรรมการวจิ ยั แหง่ ชาติ
ให้เป็นพ้ืนที่ที่มีการทดลองวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ
จดั การระบบนเิ วศของปา่ ชายเลนอยา่ งยงั่ ยนื โดยความรว่ มมอื
ของชมุ ชนในพน้ื ท่ี รวมทงั้ โรงเรยี น สถานศกึ ษาตา่ งๆ ทอี่ ยใู่ กล้
เคยี งในรูปแบบของการพฒั นาป่าและการประมงควบคูก่ ันไป
3. บทบาทของแหล่งวิชาการในพ้ืนท่ี ป่าชายเลน
จงั หวดั ระนอง ไดร้ บั การสนบั สนนุ จากองคก์ ารระหวา่ งประเทศ
ตา่ งๆ มาเป็นเวลานาน มผี ลงานวจิ ัยที่ทรงคณุ คา่ ท�ำ ใหพ้ ้นื ที่
ดังกล่าว เป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ เป็นแหล่งศึกษา
และฝกึ อบรมนกั เรยี นนกั ศกึ ษาทกุ ระดบั เปน็ แหลง่ จดั ประชมุ
ปฏิบัติการตลอดจนฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาพื้นที่
ป่าชายเลนด้วย

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ รื่ อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

74

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2552. คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงพระชนมพรรษา 72 พรรษา.
สำ�นกั พิมพค์ ณะรัฐมนตรีและราชกิจจานเุ บกษา.
โครงการจดั การทรพั ยากรชายฝงั่ และพน้ื ทล่ี มุ่ นำ้�ภาคใต้ สมาพนั ธช์ าวประมงพนื้ บา้ นภาคใต.้ 2541.
ป่าชายเลนภาคใต้ สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข. สำ�นักพิมพ์เฟ่ืองฟ้า พร้ินติ้ง.
กรงุ เทพฯ. 123 หน้า.
จิรพันธ์ หมวดจันทร์. 2555. สถานการณ์การบุกรุกป่าชายเลนของประเทศไทย. สำ�นักอนุรักษ์
ทรพั ยากรป่าชายเลน. กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝง่ั . 68 หน้า.
นันทวัน บุณยะประภัศร, วิมล ศรีสุข, อรัญญา จุติวิบูลย์สุข, ประพิณศรา สอนเล็ก, วิไลวรรณ
ทองใบนอ้ ย, วงค์สถิต ฉวั่ สกลุ , Harry H. S. Fong, John M. Pezzuto, Jerry Kosmeder
และสนิท อักษรแก้ว. 2547. ผักพื้นบ้านในป่าชายเลน, น.177-185. ใน การจัดการ
สวนป่าชายเลนแบบผสมผสานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรและส่ิงแวดล้อมบริเวณชายฝ่ัง
ทะเลของประเทศไทย. สำ�นกั งานกองทุนสนับสนุนการวจิ ัย. กรุงเทพฯ.
นันทวัน บุณยะประภัศร, สริ ิมา สอนเลก็ , วรพรรณ เกอ้ื กลู เกยี รต์ ,ิ วิโรจน์ ธรี ะธนาธร และสนทิ
อกั ษรแกว้ . 2547. พชื สมนุ ไพรและพชื อาหารในปา่ ชายเลน, น. 186-195. ใน การจดั การ
สวนป่าชายเลนแบบผสมผสานเพ่ือการพัฒนาทรัพยากรและส่ิงแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลของ
ประเทศไทย. ส�ำ นกั งานกองทุนสนบั สนนุ การวิจัย. กรุงเทพฯ.
นพรตั น์ บ�ำ รุงรักษ.์ 2535. การปลูกปา่ ชายเลน. ส�ำ นักพมิ พ์ โอเดยี น สโตร.์ 72 หน้า.
วิจารณ์ มีผล. 2556. ความหลากหลายของชนิดพันธ์ุไม้ป่าชายเลนบริเวณพ้ืนที่สงวนชีวมณฑล
ระนอง. สำ�นกั อนุรกั ษท์ รพั ยากรปา่ ชายเลน. กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝัง่ .
สนทิ อักษรแก้ว. 2539. ระบบนเิ วศปา่ ชายเลนและแนวโนม้ นโยบายการปลกู และฟนื้ ฟูป่าชายเลน
ในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต,้ น. 25-40. ใน การสมั มนาและฝกึ อบรมเรอื่ งการปลกู
และฟ้ืนฟูป่าชายเลน ระหว่างวันที่ 15-20 กันยายน 2539 ณ จ.นครศรีธรรมราช.
สำ�นกั งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรงุ เทพฯ.
สนทิ อกั ษรแกว้ . 2541. ปา่ ชายเลน นเิ วศวทิ ยาและการจดั การ. ภาควชิ าวนวฒั นวทิ ยา คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์ 277 หนา้ .
สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน และรุ่งสุริยา บัวสาลี. 2554. ป่าชายเลน: นิเวศวิทยาและพรรณไม้.
กรมอทุ ยานแหง่ ชาติ สตั วป์ ่าและพนั ธุพ์ ืช. กรงุ เทพฯ.

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

75

หน่วยงานเจ้าของ : สว่ นสง่ เสรมิ และพฒั นาทรพั ยากรปา่ ชายเลน
สำ�นกั อนรุ กั ษท์ รัพยากรปา่ ชายเลน
กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝง่ั
คณะทป่ี รกึ ษา : สมศักดิ์ พริ ิยโยธา
ชากรี รอดไฝ
ไชยภมู ิ สทิ ธวิ งั
คณะผจู้ ัดทำ� : พูลศรี วนั ธงไชย
วรวฒุ ิ พิทักษส์ ันตกิ ลุ
นวพร สญุ าณเศรษฐกร
ปวีณา เช้อื ผู้ดี
จ�ำ นวนพิมพ์ : 2,000 เลม่
พิมพค์ ร้ังที่ 5 : มถิ ุนายน 2556
โรงพมิ พ ์ : บรษิ ัท พลอยมเี ดยี จ�ำ กดั
ISBN : 974-286-097-1
www.dmcr.go.th

คู่ มื อ ค ว า ม รู้ เ ร่ื อ ง ป่ า ช า ย เ ล น

76


Click to View FlipBook Version