The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Safety, 2022-04-28 03:38:31

กฎหมายอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมให้การทำงาน

กฎหมายด้านความปลอดภัย

กฎหมายด้านควาปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่ งผลการตรวจแก่พนั กงาน
ตรวจแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๗

ต้องตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อม (แสง เสียง ฝุ่น สารเคมี)
โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ปีละ 1 ครั้ง
ส่งผลการตรวจสุขภาพ ให้หน่วยงานราชการภายใน 30 วัน (จผส.1) ปีละ 1 ครั้ง
ส่งผลการตรวจสุขภาพ ให้พนักงานรับทราบ ภายใน 7 วัน ปีละ 1 ครั้ง
จัดทำสมุดสุขภาพประจำตัวพนั กงาน

กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.๒๕๖๒

ผู้ที่จะเข้าไปทำงานในที่อับอากาศต้องผ่านการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด
จัดให้มีหนั งสื อขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศทุกครั้งก่อนเข้าทำงาน
จัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลและประเมินสภาพอากาศว่ามีอันตรายหรือไม่ทั้งก่อนให้ลูกจ้าง
เข้าไปทำงานและระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ
จัดทำป้าย "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" ให้มีขนาดมองเห็นชัดเจน บริเวณหน้า
ทางเข้า – ออกของที่อับอากาศทุกแห่ง

กฎกระทรวงกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ.๒๕๔๗

ไม่อนุญาตให้พนักงานยก แบก หาม เกินอัตราน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด
(1) ยี่สิบกิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่สิบห้าแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี
(2) ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่สิบห้าแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี
(3) ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง
(4) ห้าสิบกิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙

ต้องอบรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หรือเปลี่ยนตำแหน่งงานใหม่ครบถ้วน
แจกคู่มือหรือระเบียบด้านความปลอดภัยให้กับพนั กงานใหม่
แต่งตั้งจป.หัวหน้างานภายใน 180 วัน เมื่อมีหัวหน้างานใหม่
แต่งตั้งจป.บริหารภายใน 180 วัน เมื่อมีพนักงานระดับบริหารใหม่
แต่งคณะกรรมการความปลอดภัยใหม่ภายใน 30 วัน (ถ้าเปลี่ยนแปลง) และส่งสำเนารายชื่อ
คณะกรรมการให้หน่วยงานราชการภายใน 15 วัน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ (ต่อ)

คณะกรรมการความปลอดภัย มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
คณะกรรมการความปลอดภัย มีการสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน อย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง
ต้องสอบสวนและวิเคราะห์หาสาเหตุ เมื่อพนักงานเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง
ส่งรายงานการประสบอันตรายให้หน่วยงานราชการภายใน 15 วัน
ต้องส่งรายงานจป.ว ทุก 3 เดือนตามแผนงานกำหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง

มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
(1) แต่งตั้งลูกจ้างระดับปฏิบัติการซึ่งไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้าง

จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินห้าคน เป็นคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้ง
(2) ปิดประกาศรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งโดยเปิดเผย ภายในสามวัน นับแต่วันที่

แต่งตั้ง

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๙



ทำการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยด้วยหลักสูตรที่กระทรวงแรงงานกำหนดและ
อบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
การจัดอบรมผู้จัดอบรมต้องดำเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งกำหนดการอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนการจัด
อบรม
(2) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตร
(3) จัดให้ห้องอบรมหนึ่ งห้องมีผู้เข้ารับการอบรมไม่เกินหกสิบคนต่อวิทยากรหนึ่ งคน
(4) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๙ (ต่อ)




(5) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม
(6) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการอบรม

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้
พ.ศ.๒๕๕๖

มาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ได้แก่
(1) มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Fire Protection
Association : NFPA)
(2) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards
Institute : ANSI)
(3) มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย (Australia Standards : AS)
(4) มาตรฐานประเทศอังกฤษ (British Standard : BS)
(5) มาตรฐาน องค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้ นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

เครื่องจักร
(1) บริเวณที่มีการติดตั้ง ซ่อมแซมหรือตรวจสอบเครื่องจักรต้องมีการติดป้ายแสดงข้อความหรือ

สั ญลักษณ์ ให้ชัดเจน
(2) ทางเดินเข้า - ออก พื้นที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.
(3) มีการจัดทำรั้ว คอกกั้นหรือเส้นแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งเครื่องจักร
เครื่องปั๊ ม
(1) มีการ์ดปกคลุมบริเวณที่อาจเป็นอันตราย

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้ นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

รถยก
(1) มีป้ายบอกพิกัดยกที่ตัวรถ ให้ผู้ขับขี่เห็นได้ชัดเจน
(2) มีการตรวจสอบรถยกทุกครั้งก่อนใช้งาน
(3) มีสัญลักษณ์แสงและเสียง
(4) กำหนดเส้นทางและตีเส้นทางการเดินรถในอาคาร
(5) มีกระจกนูนติดบริเวณทางแยก
(6) ผู้ขับขี่รถยกต้องผ่านการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้ นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ปั้ นจั่น
(1) มีการตรวจสอบ ปีละ 1 ครั้ง
(2) จัดทำเส้นแสดงเขตอันตราย ขณะมีการใช้ปั้ นจั่น
(3) มีคู่มือการใช้สัญญาณมือติดอยู่ที่หน้างาน
(4) มี WI ติดอยู่ที่หน้างาน
(5) ผู้บังคับปั้ นจั่นและผู้ให้สัญญาณผ่านการอบรมตามกฎหมายกำหนด

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้ นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

หม้อน้ำ
(1) มี WI ติดที่หน้างาน
(2) มีผู้ควบคุมหม้อน้ำที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด
(3) ตรวจสอบ ปีละ 1 ครั้ง

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบ
และอุปกรณ์ของปั้ นจั่น

ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยกําหนดต้ังแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 3 ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้ นจั่นปีละหนึ่ งครั้ง
ขนาดพิกัดยกมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบ ส่วนประกอบและ
อุปกรณ์ของปั้ นจั่นทุก ๆ 6 เดือน
ขนาดพิกัดยกมากกว่า 50 ตันขึ้นไป ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบ และอุปกรณ์
ของปั้ นจั่นทุก ๆ 3 เดือน

ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของ
ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๒

จัดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ ยงตามกฎหมายกำหนด ปีละ 1 ครั้ง
จัดให้มีการบันทึกผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ ยงลงในสมุดสุขภาพประจำตัว

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓

สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องจัดทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
ซึ่งประกอบด้วย
(1) นโยบายด้านความปลอดภัยฯ
(2) โครงสร้างการบริหารด้านความปลอดภัยฯ
(3) แผนงานด้านความปลอดภัยฯ
(4) การประเมินผลและทบทวนการจัดการด้านความปลอดภัยฯ
(5) การดําเนินการปรับปรุงด้านความปลอดภัยฯ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การ
ได้ยินในสถานประกอบกิจการ

จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ในบริเวณที่ลูกจ้างได้รับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน
8 ชม. ตั้งแต่ 85 dB(A) ขั้นไป
มีนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
มีการแจ้งผลการตรวจวัดระดับเสี ยงให้ลูกจ้างทราบ
มีการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน ปีละ 1 ครั้ง
กรณีลูกจ้างมีผลการทดสอบผิดปกติ มีการทดสอบซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วัน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การ
ได้ยินในสถานประกอบกิจการ (ต่อ)

กรณีพบว่าลูกจ้างมีการสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่ งตั้งแต่ 15 เดซิเบลขึ้นไป
ในความถี่ช่วงใดช่วงหนึ่ ง ให้นายจ้างจัดให้มี PPE หรือมีการเปลี่ยนงานหรือหมุนเวียนสลับ
หน้ าที่ลูกจ้าง
มีการติดแผนผังระดับเสี ยงในแต่ละพื้นที่
มีการประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ปีละ 1 ครั้ง

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยฯ และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๔

ติดสัญลักษณ์เตือนอันตราย และเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย ให้เหมาะสมกับลักษณะ
และสภาพการทำงาน
ติดประกาศข้อความแสดงสิ ทธิและหน้ าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่ได้มาตรฐาน
ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการทํางานจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่
อุปกรณ์ นั้ น
ลูกจ้างมีหน้ าที่สวมใส่ อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่ วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้และดูแล
ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยฯ และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๔ (ต่อ)

จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่าง
ปลอดภัยก่อนการเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร
หรืออุปกรณ์
แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้ นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้าง
ทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร
หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จัดให้มีการอบรมผู้บริหารตามหลักสูตรกำหนด 12 ชม.
จัดให้มีการอบรมหัวหน้างานตามหลักสูตรกำหนด 12 ชม.
จัดให้มีการอบรมพนักงานใหม่ตามหลักสูตรกำหนด 6 ชม.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้
บังคับปั้ นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้ นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้ นจั่นและการอบรมทบทวน

การทำงานเกี่ยวกับปั้ นจั่น พ.ศ.๒๕๕๔

หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้ นจั่น
- ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง
- ภาคปฏิบัติ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้ นจั่น
- ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง
- ภาคปฏิบัติง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้ นจั่น ระยะเวลาการฝึกอบรม
ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔

ให้นายจ้างมีหน้ าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีการทำงานและ
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
ให้ลูกจ้างมีหน้ าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนิ นการและส่ งเสริมความปลอดภัยฯ
หากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ให้นายจ้างตรวจวัดสิ่ งแวดล้อม หากใช้บริการของหน่วยงานภายนอก ต้องเป็นหน่วยงานที่ได้
ขึ้ นทะเบียนกับสำนั กความปลอดภัยแรงงาน

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔ (ต่อ)

ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หน่วยงานหรือคณะบุคคล ตามวิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
กรณีที่ลูกจ้างทำงานในสภาพที่มีจุดเสี่ ยงอาจได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ ให้นายจ้าง
แจ้งให้ลูกจ้างรับทราบอันตรายก่อนเริ่มงานพร้อมแจกคู่มือปฏิบัติงานให้กับลูกจ้าง
ให้นายจ้าง ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ
ให้นายจ้างติดประกาศสั ญลักษณ์ เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย
ลูกจ้างมีหน้ าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานกำหนด

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔ (ต่อ)

ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่ อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่ วนบุคคล
ลูกจ้างมีหน้ าที่สวมใส่ อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่ วนบุคคลและดูแลอุปกรณ์ ให้สามารถใช้
งานได้
ในกรณีลูกจ้างไม่สวมใส่ PPE ให้นายจ้างสั่งหยุดการทำงานจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่ PPE
ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินอันตราย, ศึ กษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มี
ผลต่อลูกจ้าง , จัดทำแผนงาน

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔ (ต่อ)

ในกรณี สถานประกอบการใดเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน
ให้ดำเนิ นการดังนี้
- กรณีเสียชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจสอบความปลอดภัยทันที และทำหนังสือ

แจ้งภายใน 7 วัน
- กรณีกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดผลิตหรือพนักงานประสบอันตรายอันเนื่อง มาจาก

ไฟไหม้การระเบิดฯ ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจสอบความปลอดภัยทันทีและทำหนังสือ
แจ้งภายใน 7 วัน
- กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ว่าด้วยเงินทดแทนให้นายจ้างส่งเอกสารต่อพนักงาน
ตรวจสอบความปลอดภัยภายใน 7 วัน

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับ
การป้องกันและระงับอัคคีภัยพ.ศ. ๒๕๕๕

ให้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง และระบบอื่นๆให้ครบถ้วน และพร้อมใช้งาน
(ยกเว้น pump น้ำดับเพลิงอยู่ระหว่างดำเนินการ)
ให้ทำการอบรมพนักงานให้ได้ 40% ของแต่ละแผนก
ให้ทำการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖

จัดทำรายชื่อสารเคมีอันตราย ทุกเดือนมกราคมของทุกปี
มีฉลากภาษาไทยติดที่ภาชนะบรรจุ
มีป้ายห้าม ป้ายปฎิบัติ ป้ายเตือน ณ จุดที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
มีป้าย "ห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ประกอบอาหารหรือเก็บอาหาร"
มีระบบระบายอากาศที่ดี
มีอ่างล้างตาฉุกเฉิ นบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
มี PPE ตามลักษณะการทำงาน
มีทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 2 ทาง ปิดทางเข้าออกทุกครั้งเมื่อไม่ปฎิบัติงาน

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ต่อ)

มีป้าย "สถานที่เก็บรักษาสารเคมี ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต"
มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิงติดบริเวณทางเข้า - ออก
จัดทำบัญชีรายชื่อ ปริมาณสารเคมีอันตรายทุกชนิดที่จัดเก็บในสถานที่จัดเก็บอย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง (สอ.1)
มีการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศบริเวณสถานที่จัดเก็บและจุดที่
ลูกจ้างทำงาน
จัดให้มีการประเมินความเสี่ ยงต่อสุขภาพของลูกจ้าง
จัดให้มีแผนฉุกเฉินและมีการฝึกซ้อม ปีละ 1 ครั้ง

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘

จัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะ
ที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
จัดให้มีการเก็บรักษาแผนผังวงจรไฟฟ้า ซึ่งได้รับการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้า
จัดให้มีแผ่นป้ายหรือตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตรายจากไฟฟ้า ที่มองเห็นได้
ชัดเจน
จัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบำรุ งรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าโดยบุคคล
ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ปีละ 1 ครั้ง

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘ (ต่อ)

จัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคำบรรยายติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงานสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเรื่อง
(1) วิธีการปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า
(2) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
จัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตซ์เชื่อมวงจรหรือมีระบบป้องกัน มิให้เกิดการสับสวิตซ์
เชื่อมวงจรตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานปฏิบัติงานกับไฟฟ้า

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรม
ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าสํ าหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้ อยกว่าสามชั่วโมง

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๐

ต้องมีการตรวจสอบอาคารจากผู้ตรวจประเมินภายนอก ปีละ 3 ครั้ง

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙

ต้องตรวจวัดความร้อน แสงสว่าง และเสียง ปีละ 1 ครั้ง
มาตรฐานการตรวจวัดความร้อน
- งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานเบาต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ

เวตบัลบ์โกลบ 34 องศาเซลเซียส
- งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานปานกลางต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย

อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 32 องศาเซลเซียส
- งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานหนักต้องมีมาตรฐานระดับความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย

อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 30 องศาเซลเซียส

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙ (ต่อ)

มาตรฐานการตรวจวัดเสี ยง
- เสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชม. ต้องไม่เกิน 85 dB(A)
ต้องปรับปรุงแก้ไข ถ้าผลการตรวจวัดเกินมาตรฐานกำหนด (ถ้ามี)
ต้องจัดอุปกรณ์ป้องกัน (PPE) ให้กับพนักงานครบถ้วน และได้มาตรฐาน
ต้องส่งรายงานผลการตรวจวัดและการวิเคราะห์ให้หน่วยงานราชการ ปีละ 1 ครั้ง
ต้องมีป้ายเตือนอันตรายที่ชัดเจนให้พนักงานรับทราบ (ค่าเกินมาตรฐาน)

ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๐

ต้องประกาศปริมาณจัดเก็บสารเคมี สารไวไฟไว้ที่หน้างาน
มีการจัดเก็บสารเคมีอย่างเหมาะสม และปลอดภัย
มีการกำหนดผู้รับผิดชอบพื้นที่จัดเก็บสารเคมี
มีการสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เป็นประจำ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยฯ
สำหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑

จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง
ทำรั้วสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ที่มั่นคง แข็งแรงไว้ตลอดแนวเขตก่อสร้าง หรือกั้นเขตด้วยวัสดุที่เหมาะสม
ตามลักษณะงาน และจัดทำป้าย “เขตก่อสร้าง” แสดงให้เห็นได้ชัดเจน
การติดตั้งและการใช้ระบบไฟฟ้าในเขตก่อสร้าง จัดให้มีแผนผัง วงจรไฟฟ้าซึ่งมีวิศวกรลงนามรับรอง
มิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่มีการกักเก็บวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิด และจัดทำป้าย
“อันตราย” “ห้ามสูบบุหรี่” “ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ” หรือ “ห้ามพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟ”
ติดตั้งเครื่องดับเพลิงทุกจุดสูงจากระดับพื้นอาคาร หรือสถานที่ก่อสร้างไม่เกิน 1.40 เมตร

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
พ.ศ.๒๕๔๕

จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยกโดยวิศวกร ปีละ 1 ครั้ง
จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานทุกวัน

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการ
โรงงานที่เกี่ยวกับการผลิต การเก็บ การบรรจุ การใช้ และการขนส่งก๊าซ พ.ศ. ๒๕๔๘

ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานสำหรับการเก็บ เคลื่อนย้ายเกี่ยวกับแก๊ส
ต้องมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น แก๊สรั่ว ปีละ 1 ครั้ง

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานพ.ศ. ๒๕๕๒

ต้องติดตั้งอุปกรณ์ และระบบดับเพลิงให้ครบถ้วนเหมาะสม
ต้องทำการทดสอบ ตรวจสอบด้วยวิธีการ ความถี่ตามที่กฎหมายกำหนด
การติดตั้ง pump น้ำดับเพลิง

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.๒๕๓๕

จัดให้มีพื้นที่สำหรับเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่
จัดให้มีเครื่องหมายในเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่

พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.๒๕๔๒

จัดให้มีเครื่องดับเพลิง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และยานพาหนะสำหรับ
ป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัย
จัดให้มีสั ญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
จัดให้มีการอบรมและดำเนินการฝึกอบรม และข้อปฏิบัติของอาสาดับเพลิง

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มน้ำที่ใช้
ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. ๒๕๕๑

หลักสูตรผู้ควบคุมประจําหม้อน้ําหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ประกอบด้วย
หัวข้อระยะเวลาในการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนคนงานควบคุมก๊าซ
คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑




การขึ้ นทะเบียนคนงานควบคุมแก๊สฯ

- แบบคําขอขึ้นทะเบียน/ต่ออายุทะเบียน เป็นคนงานควบคุมก๊าซคนงานส่งก๊าซ

หรือคนงานบรรจุก๊าซประจําโรงงาน ให้ใช้ตามแบบ สภ.1-17

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดชนิดและประเภทของสารเคมี

ต้องจัดทำป้ายชี้บ่งและประกาศให้ชัดเจนเกี่ยวกับชนิ ดและประเภทของสารเคมี

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๕๔

ให้จัดหาอุปกรณ์ PPE ให้กับพนักงานโดยมีมาตรฐานรับรองตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มอก.,
ISO, ANSI, JIS, OSHA,NFPA เป็นต้น

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสาร
เกี่ยวกับปั้ นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๓

ให้รูปภาพการใช้สัญญาณมือในการปั้ นจั่น (มาตรฐานตามกม.กำหนด) ไว้ที่หน้างาน
เพื่อให้ลูกจ้างมองเห็นได้ชัดเจน

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของ
วัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕



ทำการสื่ อสารความเป็นอันตรายในรู ปแบบของฉลากและเอกสารข้อมูลอันตราย

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดแบบแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรงหรือ
การประสบอันตรายจากการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔

ใช้แบบ สปร.5 กรณีเกิดอุบัติภัยร้ายแรงและส่งรายงานตาม
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่

การปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕



ต้องจัดหาเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด เช่น สายรัดยางห้ามเลือด,
กรรไกร, ถ้วยตวงยา, สำลี, แอลกอฮอล์ เป็นต้น

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (๒๕๕๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒






ต้องจัดทำห้องน้ำ ห้องส้วมให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และมีความเพียงพอต่อจำนวนลูกจ้าง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘



ทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงานและทำการรับรองระบบโดยวิศกร ปีละ 1 ครั้ง
ใช้อุปกรณ์ วัสดุและส่วนประกอบของระบบไฟฟ้า ตามกฎหมายกำหนด
จัดอุปกรณ์ PPE ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น ถุงมือหนัง ถุงมือยาง แขนเสื้อยาง หมวกนิรภัย
รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้นหรือรองเท้า พื้นยางหุ้มส้น ให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
สวมใส่ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน


Click to View FlipBook Version