The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Safety, 2022-04-28 03:38:31

กฎหมายอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมให้การทำงาน

กฎหมายด้านความปลอดภัย

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงาน
เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๔๖



ตรวจวัดแสงสว่าง ความร้อน เสียงดัง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หากมีค่าเกินมาตรฐาน ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคคล
เฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ

พ.ศ. ๒๕๕๑

แต่งตั้งบุคคลากรให้มีหน้ าที่รับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายพร้อมทำการอบรมให้มี
ความรู้และความเชี่ยวชาญ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรม
ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.๒๕๖๔

ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ผู้รับผิดชอบหน้าที่ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฎิบัติ
งานและต้องจัดให้มีการฝึกทบทวนกรณี เปลี่ยนงานหรือสถานที่ทำงาน
ผู้อนุญาต ใช้เวลาการฝึกภาคปฏิบัติและทฤษฎีไม่น้อยกว่า 7 ชม. ใน 1 วัน
ผู้ควบคุม ใช้เวลาการฝึกภาคปฏิบัติและทฤษฎีไม่น้อยกว่า 12 ชม. ใน 2 วัน
ผู้ช่วยเหลือ ใช้เวลาการฝึกภาคปฏิบัติและทฤษฎีไม่น้อยกว่า 18 ชม. ใน 3วัน
ผู้ปฎิบัติงาน ใช้เวลาการฝึกภาคปฏิบัติและทฤษฎีไม่น้อยกว่า 12 ชม. ใน 2วัน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรม
ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.๒๕๖๔ (ต่อ)

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติ ใช้เวลาในหารฝึกทฤษฎีไม่น้อยกว่า 24 ชม. ใน 4 วัน
การฝึกทบทวน ใช้เวลาฝึกภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 3 ชม.(ทุก 5 ปีนับตั้งแต่วันสุดท้ายของ
การอบอรมข้อ2-6ภายใน 30 วัน ก่อนครบกำหนด)
ต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ผ่านการอบรม
ต้องจัดทำรายงานผลการฝึกอบรม แจ้งอธิบดี ภายใน 30 วัน

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยันพ.ศ. ๒๕๖๔

ต้องจัดให้มีและดูแลให้ลูกจ้างใส่ PPE ที่เหมาะกับสภาพการทำงานกับนั่งร้านและค้ำยัน
ต้องจัดให้มีข้อบังคับ ขั้นตอนปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและ
ค้ำยัน (ร่วมทั้งอบรม ชี้แจงก่อนเริ่มงาน)
ต้องกำหนดเขตอันตรายบริเวณที่ติดตั้ง ใช้ เคลื่อนย้าย รื้อถอน นั่งร้านหรือค้ำยัน
ต้องติดป้ายเตือนอันตราย (เช่น ห้ามเข้า เขตอันตราย)
ต้องไม่ให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน กรณี พื้นลื่น ชำรุด นอกอาคาร
ทำงานนั่งร้านหลายชิ้นพร้อมกัน ต้องมีมาตราการป้องกันวัสดุล่วงล่น
ตรวจสอบนั่ งร้านทุกครั้งก่อนใช้งานและทำรายงานการตรวจทุกครั้ง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ

กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

ต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้อง
อบรมก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ต้องมีสำนำเอกไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ต้องจัดให้มี PPE ที่มีมาตราฐาน เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน
ต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันราย PPE และตรวจสอบ สภาพของอุปกรณ์ให้
มีความปลอดภัยก่อนใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสาร ให้พนักงานตรวจความ
ปลอดภัยตรวจสอบได้

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ
กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ราวกั้นหรือรั้วกันตกต้องมี ความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 110 เซนติเมตร
มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย
ลูกจ้างทำงานในที่สูง ต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือ วิธีการอื่นที่เหมาะสม
ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป ต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย ต้อง
จัดให้มีการใช้เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ตลอดระยะเวลา การทำงาน
มีปล่องหรือช่องเปิดต่าง ๆ ต้องจัดทำฝาปิด ราวกั้น รั้วกันตก พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย
ให้เห็นได้อย่ำงชัดเจน

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ
กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ไม่ให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงนอกอาคารหรือพื้นที่เปิดโล่ง ในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตกหรือ
ฟ้าคะนอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
กรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้ายได้เพื่อทำงานในที่สูง ต้องดูแลการรตั้งบันไดให้
ระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของช่วงบันได นับจากฐานถึงจุด
พาดมีอัตราส่วน 1/4
ต้องใช้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกิน 6 เมตร ขึ้นไปต้องดูแลให้มีโครงสร้างที่
มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งาน

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ
กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

กรณีที่ลูกจ้างต้องใช้ขำหยั่งหรือม้ายืนเพื่อทำงานในที่สูง ต้องดูแลให้ มีโครงสร้างที่มั่นคง
แข็งแรง และปลอดภัยต่อกำรใช้งาน
กรณีที่มีการลำเลียงวัสดุสิ่ งของขึ้นหรือลงจากที่สูง ต้องจัดให้มีราง ปล่อง เครื่องจักร หรือ
อุปกรณ์ ที่เหมาะสมในการลำเลียง
ต้องกำหนดเขตอันตรายในบริเวณที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพัง
ทลายของวัสดุสิ่ งของ และติดป้ายเตือนอันตราย พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแล
ต้องจัดทำขอบกันของตก

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ
กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ลูกจ้างทำงานบริเวณใกล้เคียงที่อาจมี การกระเด็น ตกหล่นของวัสดุสิ่ งของต้องจัดให้มี
มาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
บริเวณที่เก็บหรือกองวัสดุสิ่ งของ ต้องจัดเรียงวัสให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย
ลูกจ้างทำงานในท่อ ช่อง โพรง บ่อ หรือสถานที่ที่อาจเกิดการพังทลายได้ ต้องจัดทำผนังกั้น
ค้ำยัน
ลูกจ้างทำงานในบริเวณหรือสถานที่ใดที่อาจทำให้ได้รับอันตรายจากการพลัดตกลงไปใน
ภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ต้องจัดให้มีสิ่ งปิดกั้น ที่มั่นคงแข็งแรง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุ
กระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บ หรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ต้องไม่ให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ที่อาจพลัดตกลงไปได้ เว้นแต่ได้จัดให้
มีสิ่ งปิดกั้น จัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก หรือจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย
หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๖๔

ก่อนเริ่มงานก่อสร้างไม่น้อยกว่า 15 วัน ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลงานก่อสร้าง
ต้องดำเนินการให้พื้นที่ทำงานก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรองรับ น้ำหนักเครื่องจักร
อุปกรณ์ และวัสดุในงานก่อสร้างได้อย่างปลอดภัย
ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ก่อนการทำงานและ
ขณะทำงานทุกขั้นตอน
ต้องจัดให้มีการรักษาความสะอาดในบริเวณเขตก่อสร้าง และแยกของเหลือใช้หรือขยะทั้งที่เป็น
อันตรายและไม่เป็นอันตราย

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

กรณีลูกจ้างต้องทำงานก่อสร้างบนพื้นต่างระดับที่มีความสูง ตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป
ต้องจัดให้มีบันไดหรือทางลาดพร้อมทั้งติดตั้งราวกันตกตามมาตรฐาน
ไม่ให้ลูกจ้างทำงานก่อสร้างขณะที่เกิดภัยธรรมชาติหรือมีเหตุที่อาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย
เว้นเพื่อการช่วยเหลือ โดยต้องแจ้งให้ทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานก่อนเข้าทำงาน
และกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย
ต้องจัดให้มีแสงสว่างฉุกเฉิ นในเขตก่อสร้างให้เพียงพอ

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ต้องติดป้ายเตือนอันตราย สัญญาณแสงสีส้ม ณ ทางเข้า - ออกของ ยานพาหนะทุกแห่งและ
จัดให้มีผู้ให้สั ญญาณขณะที่มียานพาหนะเข้าออก
ต้องติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศั พท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความช่วยเหลือใน
ยามฉุกเฉิน ที่ใกล้ที่สุดไว้ ณ เขตก่อสร้างให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ต้องติดหรือตั้งป้ายสั ญลักษณ์ เตือนอันตรายและเครื่องหมายป้ายบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย
ที่เหมาะสมกับ ลักษณะงาน
การรับส่งลูกจ้างในระหว่างการทำงาน ต้องใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมและปลอดภัย

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

ต้องกำหนดบริเวณเขตก่อสร้าง โดยทำรั้วสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ที่มั่นคงแข็งแรงไว้ตลอดแนวเขต
ก่อสร้าง หรือกั้นเขตด้วยวัสดุที่เหมาะสม และมีป้าย “เขตก่อสร้าง” เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา
ทำงานและในเวลากลางคืน ต้องจัดให้มีสัญญาณไฟสีส้มตลอดเวลา และห้ามมิให้บุคคลซึ่งไม่
เกี่ยวข้องเข้าไป
กรณีที่มีทางร่วมหรือทางแยกในเขตก่อสร้าง ต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนหรือบังคับ และ
สัญญาณแสงสีส้ม เพื่อแสดงว่าข้างหน้าเป็นทางร่วมและต้องติดตั้ง กระจกนูน บริเวณทางขนส่งที่
เลี้ยวโค้งหรือหักมุม เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะที่กำลังสวนทางมามองเห็น ได้อย่ำงชัดเจน
ต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดเวลาทำงาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กำหนดงานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายที่
นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง

จัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ ยงในกลุ่มสารเคมีอันตราย

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการป้องกันความเสี่ ยงจาก
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๔

จัดให้มีการทำความสะอาดอาคารสถานประกอบกิจการ พื้น ผนัง ด้วยน้ำยาทำความสะอาด
จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีและเพียงพอ
จัดให้มีพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่ให้บริการอย่างน้อยหนึ่ งคนต่อสี่ ตารางเมตรหรือมีมาตรการเว้น
ระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่ งเมตร เว้นแต่จะมีมาตรการป้องกันรูปแบบอื่น
จัดให้มีการทำความสะอาด เครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะ อุปกรณ์และเครื่องจักรเกี่ยวกับ
กระบวนการผลิตและการประกอบกิจการที่มีการสัมผัสบ่อย หรือสัมผัสร่วมกัน

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการป้องกันความเสี่ ยงจากโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019สำหรับสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ต่อ)

จัดให้มีอ่างล้างมือพร้อมน้ำและสบู่อย่างเพียงพอ หรือแอลกอฮอล์เข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
เจ็ดสิ บวางไว้ในจุดที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกและเพียงพอ
ให้มีภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของ
มูลฝอย
จัดให้มีอุปกรณ์ทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาด สารฆ่าเชื้อ อย่างเพียงพอ
จัดให้มีการวัดอุณหภูมิของผู้ปฏิบัติงานและผู้มาใช้บริการ และมีการลงทะเบียนเข้าและ
ออกจากสถานประกอบกิจการ

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘

ข้อที่4 ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ ยงต่อการแพร่โรค ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งรวมกลุ่มกันของบุคคล
เพื่อลดความเสี่ ยงในการติดต่อสัมผัสกันที่สามารถแพร่โรคได้
หมายเหตุ : ข้อหารือกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานกองความ
ปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ที่ รง 0504/2529 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมการให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบ
ครองซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๓

ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามรายชื่อวัตถุอันตราย
ในแต่ละรายชื่อของวัตถุอันตรายปริมาณตั้งแต่หนึ่ งร้อยกิโลกรัมขึ้นไป ระหว่างเดือนมกราคาม
ถึงเดือนมิถุนายน หรือระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชื่อวัตถุ
อันตรายสูตรและอัตราส่วน ชื่อทางการค้า ชื่อสามัญหรือชื่อย่อ (ถ้ามี) เลขที่ใบรับแจ้งการดำเนิน
การเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ หรือเลขที่ใบอนุญาตและเลขที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน (ถ้ามี)
ปริมาณที่ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ปริมาณที่ขาย ใช้ หรือจำหน่ายจ่ายแจกชื่อ
หมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ การนำไปใช้ และวัตถุประสงค์การใช้ ให้พนักงานเจ้า
หน้าที่ทราบตามแบบ วอ./อก.๗ แบบ วอ./อก.๗.๑ และ แบบ วอ./อก.๗.๒


Click to View FlipBook Version