บทท่ี 1
ประวัตศิ าสตรก์ ารบรหิ ารจัดการนำ้
และการอยู่กับสายน้ำในสมัยโบราณ
สาระสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ เป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
การบริหารจัดการน้ำและการอยู่กับสายน้ำในสมัยโบราณ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนท่ีอยู่ริมแม่น้ำในการ
บรหิ ารจัดการนำ้ จากอดีตจนถึงปัจจบุ นั
ผลการเรยี นรทู้ ่คี าดหวัง
เพอ่ื ให้ผเู้ รียนมคี วามรู้ ความเขา้ ใจ ตระหนักเกย่ี วกับประวัตศิ าสตร์การบรหิ ารจัดการน้ำ การอยู่กับ
สายน้ำในสมัยโบราณ
ขอบขา่ ยเนอ้ื หา
เรอ่ื งท่ี 1 ความเป็นมาของประวตั ิศาสตร์ การบรหิ ารจัดการน้ำ
เรื่องที่ 2 การอยกู่ ับสายนำ้ ในสมยั โบราณ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 1 ภมู ิปญั ญาไทย : การอยูก่ ับสายนำ้
เร่ืองที่ 1 ความเปน็ มาของประวตั ิศาสตร์ การบรหิ ารจดั การน้ำ
ลำน้ำ สายนำ้ แหล่งนำ้ มคี วามหมายอยา่ งสำคญั ตอ่ การสรา้ งบา้ นแปงเมืองของบรรพชนในอดตี
ยาวนานทกุ ยุคสมัย “เมืองสุโขทยั โบราณ” เป็น แบบบา้ นเมือง หน่ึงที่มีความนา่ สนใจอย่างย่งิ ในเร่ืองการ
จดั การน้ำเพ่ือการดำรงชวี ิตอยูไ่ ดข้ องบา้ นเมือง
การเปน็ บา้ นเมืองของสุโขทยั โบราณ ดงั ท่เี ราได้เหน็ รอ่ งรอยความรงุ่ เรืองจากโบราณสถานและ
โบราณวัตถนุ ัน้ มลี กั ษณะโครงสรา้ งทางกายภาพการตง้ั ถิ่นฐาน ที่ไมไ่ ด้อย่บู นสองฝั่งแมน่ ้ำ เช่นหลายเมือง
ในทีล่ ุม่ ภาคกลาง พืน้ ท่ีราบลุ่มใกล้แม่นำ้ ยมเปน็ พื้นทรี่ ับน้ำจากทุกทศิ ทางท้ังจากเหนือลงใต้ และน้ำจากดา้ น
ตะวันตกซ่ึงเป็นพืน้ ทสี่ ูงลาดเอียงมาทางตะวนั ออก เมื่อหน้าน้ำหลากจะเกิดนำ้ ทว่ มและพดั พาทำลายบา้ นเมอื ง
ใหเ้ สียหายได้ พืน้ ทีเ่ ช่นน้จี ะเป็นพ้นื ทต่ี ้องห้ามสำหรบั การตัง้ ถิ่นฐานดังปรากฏเปน็ ตำนานที่เลา่ ถงึ เหตุการณ์
น้ำทว่ มทที่ ำให้เกดิ การพลดั พรากเสียหายใหค้ นรุน่ หลงั รบั รู้ เพราะฉะน้ันการตัง้ บา้ นเรอื น(ชมุ ชนหรือ
หมู่บา้ น)ของคนสุโขทยั โบราณจึงเกิดตามลำนำ้ เลก็ ๆและพื้นท่รี บั น้ำท่ีเป็นหนองบึง สว่ นของ เมือง เลอื กสรา้ ง
ในพ้ืนที่ “ลานตะพกั ลำนำ้ ” อย่างมีความหมายสำคัญ ส่งิ ทีต่ ามมากับการสรา้ งเมืองแบบแผนนคี้ ือการจดั ระบบ
ชลประทานให้สอดคล้องกบั ลักษณะภูมิประเทศธรรมชาติ
จารึกทีพ่ บบริเวณพื้นท่อี าณาจกั รสโุ ขทยั ในสมยั โบราณ ต่อมาในสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาเรยี กรวม ๆ ว่า
เมอื งบน หรือ เมืองเหนือ และชาวตา่ งชาตทิ ่ีเข้ามาค้าขายเรยี ก UPPER SIAM น้ัน มีหลกั ฐานทาง
ประวตั ิศาสตรท์ ส่ี ัมพันธก์ ับการบริหารกระแสนำ้ เพ่อื การทำนาในสมยั อดีตของกรงุ สโุ ขทัย ดงั น้ี
๑. ศิลาจารึกสุโขทัยหลกั ที่ 1 (พ่อขนุ รามคำแหง) ดา้ นที่ 3 บรรทดั ที่ 5 ใช้คำวา่ สรดี ภงส อา่ น
วา่ สะ-หรีด- พง เปน็ คำนาม แปลว่า เขื่อน หรอื อา่ งเก็บน้ำ ในภาษาอังกฤษคือ A DAM
๒. ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 3 ด้านที่ 2 บรรทดั ที่ 7 ใช้คำวา่ ฝาย เปน็ คำนามแปลวา่ เขื่อน
เพ่ือการทำนา ในภาษาอังกฤษคือ A DAM FOR IRRIGATION PURPOSE
๓. ศิลาจารกึ สโุ ขทัยหลักท่ี 8 ดา้ นท่ี 3 บรรทัดที่ 16 ใชค้ ำว่า พนงั เป็นคำนามแปลวา่ เขอ่ื น
ในภาษาอังกฤษคือ A DAM
ภมู ิปัญญาและวัฒนธรรมโบราณในการสรา้ งบา้ นแปงเมือง
ที่ตั้งของเมืองโบราณนั้น แน่นอนว่าต้องต้ังอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเพ่ือใช้ในการอุปโภคบริโภคของ
ชาวเมือง แต่ท้ังนี้ก็ข้ึนอยู่กับว่า แหล่งน้ำน้ันจะเป็น “แหล่งน้ำน่ิง” เช่น หนอง บึง ทะเลสาบ สระน้ำหรือ
ตระพัง กระทั่งอ่างเก็บน้ำทีส่ ร้างข้ึน หรือ “แหล่งน้ำไหล” ประเภทลำน้ำหรือแม่น้ำ แต่ละวัฒนธรรม น้ันก็
จะมีความนิยมต่างๆกันไปเช่น วัฒนธรรมเขมรหรือขอมนั้นไม่นิยมต้ังเมืองใกล้เคียงกับลำน้ำสายใหญ่ แต่จะ
นิยมขุดสระหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และก่อคันดินทำเป็นบาราย ข้ึนเพ่ือใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค
บริโภค แทนการพ่ึงพงิ จากลำน้ำ ในขณะท่ีผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดีนนั้ จะต้ังเมืองอยู่ใกล้เคียงลำน้ำสายใหญ่
แต่ไม่นิยมตั้งอยู่ริมลำน้ำสายใหญ่ จะต้ังเมืองห่างจากลำน้ำพอประมาณ ตรงบริเวณที่ดอนและมีลำน้ำสาขาท่ี
จะไหลลงแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน แล้วชักเอาน้ำท่ีไหลจากลำน้ำสาขาน้ันเข้ามาไหลวนในคูเมืองและภายในเมือง
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 2 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอย่กู บั สายน้ำ
เพ่ือให้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค โดยไม่ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหมือนวัฒนธรรมเขมร หรือหากจะมี
การขดุ กเ็ ปน็ เพยี งสระขนาดเลก็ เพื่อกกั เก็บน้ำไว้ใชอ้ ุปโภคภายในตวั เมือง เป็นต้น
ซึ่งในสมัยโบราณ การจะเลือกพ้ืนที่ต้ังเมืองอยู่ ณ บริเวณใดนั้น จะต้องมีการพิจารณาจุดแข็งทาง
ภูมิศาสตร์ของพ้ืนที่ โดยข้อพิจารณาประกอบด้วย สภาพความอุดมสมบูรณ์ของพ้ืนท่ี การเป็นชัยภูมิท่ีดี
ในทางทหาร และท่ีสำคัญ คือให้เมืองน้ันมีความปลอดภัยจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และไม่ขาดแคลนน้ำ
อุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ซ่ึงการเลือกหาพื้นที่ต้ังเมืองเพื่อให้ต้องตามคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นน้ัน จะต้อง
อาศัยภูมิความรู้ทางภูมิศาสตร์และความเข้าใจที่ละเอียดลึกซึ้งทางด้านความสัมพันธ์ในระบบสังคมซึ่งระ บบ
สังคมโบราณ จะยึดโยงกันเป็นระบบด้วยการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง “คน”กับ “ธรรมชาติและอำนาจเหนือ
ธรรมชาติ” เพราะการสร้างบา้ นเมืองนัน้ ถือเป็นสญั ลักษณ์แห่งความม่นั คงของมนษุ ย์ ทั้งด้านอำนาจการเมอื ง
การปกครอง การค้าขายแลกเปล่ียน และการทำมาหากิน หากจะมีการโยกย้ายไปสร้างเมืองใหม่ท่ีใดๆอีกก็
เป็นไปดว้ ยเหตุภยั สงคราม หรอื ภยั ธรรมชาตคิ รงั้ รนุ แรงจนเมืองพังทลายเสียหายมากเทา่ นน้ั
ภมู ปิ ัญญาการตง้ั ถนิ่ ฐานบ้านเรอื นโบราณ
แบบแผนของเมืองสุโขทัยโบราณน้ันไม่ได้มีขอบเขตความสัมพันธ์กันเป็นระบบเพียงแค่ที่กล่าว
มาแล้วข้างต้น หากยังยึดโยงโดยตรงกับระบบชุมชนโบราณมากมายหลายแห่งที่มีการตั้งถ่ินฐานบ้านเรือนใน
บริเวณพ้ืนที่มีภูมิวัฒนธรรมเดียวกัน และในที่น้ีคำว่า “บ้านเรือน”จะใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า ชุมชน
หมู่บ้าน ในยุคสมัยที่เมืองสุโขทัยโบราณดำรงอยู่ มีผู้คนได้ต้ังหลักแหล่งทำมาหากินอยู่รวมกันในลักษณะ
ชมุ ชนหรือหมู่บา้ นแต่ไม่เติบโตเป็นเมือง จากหลักฐานทางโบราณคดี พบวา่ มที ้ังอยู่กนั มาก่อนและบางแห่งเป็น
การขยายตัวทางสังคม และหลายแห่งยังดำรงสืบเน่ืองมาจนปัจจุบัน การตั้งถิน่ ฐานบ้านเรือนนอกเหนือเมือง
สุโขทัยโบราณเวลานั้น มักจะพบอยู่บริเวณลำน้ำเล็กๆและเป็นพื้นท่ีรับน้ำท่ีเป็น หนอง บึง และเลี้ยงชีพด้วย
การ เพาะปลูกเป็นหลัก
การต้ังถิ่นฐานของชุมชนโบราณบนพื้นที่รับน้ำเช่น ลำน้ำเล็กๆ หรือ หนองบึงธรรมชาติน้ันตาม
ฤดูกาลก่อใหเ้ กดิ พน้ื ท่ี 3 อยา่ งข้นึ คือ
1.พื้นท่ีลาดต่ำที่มีลำน้ำและน้ำไหลแผ่ ลงมาสู่หนองบึง พื้นท่ีเช่นนี้จะเป็นที่ตั้งแหล่งชุมชนทั้ง
บ้านเรือน เพราะเปน็ พนื้ ที่น้ำทว่ มไมถ่ ึงในยามปกติ
2.พื้นท่ีราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน แต่แห้งในฤดูแล้ง จนสามารถทำการเพาะปลูก โดยเฉพาะปลูก
ข้าวได้ ในสมัยโบราณการปลูกข้าวเพื่อเป็นอาหารหลักในชีวิตความเป็นอยู่ การปลูกข้าวมักทำกันตอนท้ายๆ
ของฤดูฝน เมื่อน้ำท่ีท่วมทุ่งค่อยๆลดถอยลงสู่หนองและบึง ชาวบ้านชาวเมืองจะสร้างทำนบและคันดินกักน้ำ
เบนน้ำ และชะลอนำ้ ไว้ในพน้ื ที่เพาะปลูก เพื่อปลูกข้าว หวา่ นข้าว ในชว่ งเวลาท่ีมรี ะดับน้ำ เมือ่ ข้าวเตบิ โตจนถึง
เวลาเก็บเก่ียวก็จะเป็นช่วงท่ีพื้นดินแห้งแล้ว พื้นท่ีลุ่มน้ำในฤดูฝนและแล้งในฤดูแล้งนี้ มีความหมายต่อคำว่า
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ของคนในสังคมชาวนาเป็นอย่างย่ิง พื้นที่น้ีในฤดูแล้งปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้
ไม้ล้มลุกนานาชนิด ท่ีสามารถเก็บตัดไปทำเชื้อเพลิงได้ มสี ัตว์นานาชนิดท่ีจับไปกินได้ หรือมีพืชผักธรรมชาติที่
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 3 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอยู่กบั สายนำ้
กนิ ได้ แต่ในยามชุ่มน้ำ มีน้ำขังก็เป็นท่ีวางไข่ของปลาและสัตว์นานาชนิด เพาะพันธ์ุกันอย่างมากมายในนาข้าว
พอน้ำลด ปลาก็ว่ายลงพื้นท่ีน้ำขังท่ลี ึกกว่า คือหนอง บึงและแมน่ ้ำลำคลองให้ผู้คนได้จับกินเป็นอาหาร อันเป็น
เวลาที่ข้าวเติบโตออกรวงใกล้เก็บเก่ียว หรือหลังการเก็บเก่ียวผู้คนในท้องถ่ินเดียวกันจะร่วมกันออกหาปลา
เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกจิ สังคมเพราะระคนไปด้วยความเบิกบาน ทำให้ชีวติ ชาวนา ชาวบ้านเป็นเร่อื งของการ
กนิ ข้าวและกินปลาเปน็ หลกั
3.พ้ืนท่ีน้ำขัง เป็นพ้ืนที่น้ำลึกของหนองและบึง ในบ้านเมืองโบราณแม้จะมีน้ำขังก็ไม่ขังแบบน่ิง
จนเน่า เพราะมีการผ่องถา่ ยลงสู่ลำนำ้ ใหญใ่ นฤดูฝนหน้าน้ำหลาก จะนิง่ กเ็ พยี งฤดแู ล้งหากสภาวะความนิ่งเช่นน้ี
ทำให้เกิดวัชพืชและสัตว์น้ำ สัตวค์ รง่ึ บก คร่ึงนำ้ หอย ปู ปลานานาชนดิ อีกท้ังนำ้ ทข่ี ังอยู่ผคู้ นก็จะนำไปอุปโภค
บริโภคร่วมกนั
ในแหล่งบ้านเรือน หนอง บึง จะเป็นตระพักรับน้ำที่มาจากลำน้ำ ลำห้วย ท่ีไหลลงจากท่ีสูงมา
ขัง ส่วนเกินจะถูกระบายออกเป็นลำน้ำสู่ที่ลุ่มต่ำลงต่อไป หนอง บึง ต่างๆจึงเป็นพ้ืนที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ
โดยน้ำไม่เน่าขังเพราะมีการเคล่ือนไหวเปลย่ี นแปลงตามฤดูกาล ที่เรยี กวา่ Season Lake นอกจากนั้น ยังมี
การมอบอำนาจความเปน็ เจ้าของแหลง่ ทรัพยากรสำคญั น้ีใหอ้ ย่ภู ายใต้การดแู ลของอำนาจเหนือธรรมชาติดว้ ย
ท่ีน่าสนใจคือผู้คนในชุมชนท้องถ่ินโบราณน้ัน ไม่นิยมใช้น้ำในหนอง บึงเพ่ือการเพาะปลูกข้าวและ
พชื ไร่ หากแต่จะรักษาให้เป็นแหลง่ อาหารเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกัน การเพาะปลูกทางการเกษตรจะอาศัย
การความรเู้ รื่องระบบเหมืองฝาย และมีความออ่ นน้อมต่อการเข้าไปอาศัยอยู่ในภูมปิ ระเทศธรรมชาตนิ ั้นๆ จึงมี
การจัดระบบชีวิต ระบบสังคมและระบบการผลิต เช่น การกำหนดพื้นที่ ชนิดพืช ฤดูกาล สำหรับเพาะปลูก
นั้น จะอยู่ภายใต้การเคล่ือนไหว เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ของมหาธาตุท้ัง 4 น้ำ ดิน ลม ไฟ รวมถึง
สภาพแวดลอ้ มอืน่ ๆ ยอมรบั การอยภู่ ายใตธ้ รรมชาติและสิง่ เหนอื ธรรมชาติ
กตกิ าการใชท้ รพั ยากรนำ้ และทรัพยากรธรรมชาตอิ ่นื ในบ้านเมอื งสุโขทัยโบราณ
การกล่าวถึง การสร้างกติกาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นกฎ ระเบียบ มาตรการท่ีสร้าง
สำนึกความรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของบ้านเมืองร่วมกันของคนในบ้านเมืองสุโขทัยโบราณ ในที่นี้เป็นการ
วิเคราะห์ จาก แบบการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในบ้านเมืองยุคนั้น โดยอาศัยหลักฐานทาง
โบราณคดีและตำนานที่ยังคงเล่าสืบต่อกันมา เป็นข้อมูลอธิบาย ระบบสังคมที่ว่าด้วยการจัดความสัมพันธ์
ระหวา่ งคนกบั คน คนกบั ธรรมชาติ และคนกบั สง่ิ เหนือธรรมชาติ ในบา้ นเมอื งขณะน้นั
พบวา่ ปรากฏการณ์ค่อนขา้ งสากลในภูมภิ าคเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ รวมทั้งอินเดียด้วย คือ การ
สร้างบ้านแปงเมืองแต่ละแห่งนั้น นอกจาก ลักษณะภูมิประเทศ และลำน้ำ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการ
กำหนดท่ีต้ังเมืองแล้ว ภูเขา ท่ีโดดเด่นมีรูปลักษณะพิเศษ มักถูกกำหนดให้เป็นที่สถิตของอำนาจเหนือ
ธรรมชาติอันศกั ดิส์ ิทธ์ิสูงสุดของบ้านเมือง ก็เปน็ องค์ประกอบที่สำคญั ยง่ิ อีกประการหนึ่งของบ้านเมืองนั้นเสมอ
องค์ประกอบทุกส่วนท้ัง คน แผ่นดิน สายน้ำ และส่ิงศักดิ์สิทธิ์ จะถูกผูกเป็นเรื่องเล่าหรือเป็นสร้างตำนาน ท่ี
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของระบบสังคม คือ ความสัมพันธ์ของ คนที่มีอำนาจกับคนท่ัวๆไป คนกับ
ธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของคนกับอำนาจเหนือธรรมชาติหรือสิ่งศักด์ิสิทธ์ิ น้ัน
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 4 ภูมปิ ัญญาไทย : การอย่กู ับสายนำ้
สะท้อนใหเ้ ห็นถงึ ภูมิปญั ญาโบราณในการเช่ือมโยงและเกาะเก่ียวคนในท้องถน่ิ (บ้านเมือง)เดียวกนั ท่ีต่างชุมชน
หรอื เผา่ พันธุ์ ใหอ้ ย่รู ่วมบ้านเมอื งเดยี วกันและรว่ มกนั รกั ษาบา้ นเมืองของตนใหม้ ่นั คงยาวนานได้
การสรา้ งบ้านแปงเมอื งโบราณแตล่ ะแห่งจะมีการกำหนดพน้ื ทีศ่ กั ดิส์ ิทธิ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ ให้
เป็นศนู ย์รวมของคนในบา้ นเมือง ผา่ นการประกอบพิธกี รรมร่วมกัน จนเกิดสำนึกความเปน็ คนบ้านและเมอื งใน
ท้องถ่ินเดียวกันข้ึนมา สำหรับบ้านเมืองสุโขทัยโบราณ ก็พบว่าศิลาจารึกเมืองสุโขทัยสมัยพุทธศตวรรษ ท่ี19
กล่าวถึง พระขพุงผี อันสถิตอยู่ ณ เขาหลวง ซ่ึงเป็นประธานเหนือเขาทั้งปวงในพื้นที่อาณาบริเวณบ้านเมือง
สุโขทัยขณะน้ัน เจ้าเมืองและเจ้านายผู้ครองแว่นแคว้นต้องทำพิธีบัตรพลีและตั้งอยู่ในศีลธรรม หากประพฤติ
ผิดก็จะบันดาลให้เส่ือมถอยเสื่อมศรทั ธา โดยหลักความเชอื่ ร่วมของบ้านเมือง คือ พระขพุงผี นั้นคือเจ้าของ
ทรัพยากรธรรมชาติทุกสิ่งบนเขาหลวง จึงมีฐานะเป็นผู้อนุญาตให้มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากร ส่วนมนุษย์เป็นผู้รับ
จงึ ตอ้ งแสดงให้ผมู้ ีอำนาจศกั ด์ิสทิ ธ์ิเห็นถึง ความเคารพ ความกตญั ญรู คู้ ุณและตอบแทนผู้ให้ โดยผา่ นพธิ ีกรรม
ที่จะต้องกระทำกันเป็นหมู่มากหรือพร้อมเพรียงกัน ในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ ดังท่ีศิลาจารึกหลักท่ี 1
กล่าวถึง งานฉลองหรืองานนักขัตฤกษ์กลางเมืองสุโขทัยว่า เมื่อผู้คนได้ไปกรานกฐินทางเขตอรัญญิกแล้วก็
พากันหลั่งไหลเข้ามายังเมือง เมืองมีส่ีประตู ประชาชนพากันเบียดเสียดเข้ามาจุดเทยี นเผาไฟไหว้พระกันกลาง
เมืองทำให้เมืองเมืองสุโขทัย ดังจะแตก.. โดยนัยยะของการเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมคือสร้างการรับรู้หมุด
หมายกติกาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนรวมน่ันเอง สารท่ีถูกส่ือกับอำนาจศักดิ์สิทธ์ิในพิธีกรรมนั้นมี
ลกั ษณะ เชน่ เปน็ การขอร้องออ้ นวอน ให้ช่วยดูแลทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตรใหอ้ ุดมสมบูรณ์
เป็นการขออนุญาตใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินส่วนรวม เป็นการขอขมา เมื่อมีการล่วงเกิน
ละเมิด กระทำผิดต่อส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ เพื่อตอบแทน หรือเพื่อแสดงความขอบคุณ และสุดท้ายอาจมีเรื่องการ
เส่ียงทายด้วย
แบบแผนกระบวนการทางสังคมน้ีสะท้อนให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น กฎระเบียบ กติกาท่ียึดถือ
ปฏิบัติจะยึดโยงเป็นหนึ่งเดียวกับ คติความเช่ือทางศาสนาและอำนาจเหนือธรรมชาติ จึงเป็น กติการะดับ
ความสำนึก ท่ีร่วมรับรู้และเรียนรู้ โดยผ่านการเข้าร่วมพิธีกรรมท่ีกระทำซ้ำตามวาระในรอบปี อาจจะปีละ
หลายๆครัง้ คอื กระบวนผลติ ซ้ำ จนเกิดเป็นประเพณี ดังทีไ่ ด้ยก เหตุการณ์งานนักขัตฤกษก์ ลางกรุงสุโขทัย ใน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวแล้วข้างต้น นับเป็นการจัดระเบียบสังคมท่ีลึกซึ้งและแยบยล นำมาซึ่งความสงบ
ปกติสขุ ไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีการสร้างตำนานเพื่อสร้างสำนึกทางศีลธรรมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากร ร่วมกัน
เช่น ตำนานบึงราชนก ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นตำนานท่ีกล่าวถึงการจับสัตว์ กินสัตว์ต้องห้ามในหนอง บึง มา
บริโภคอย่างละโมบ เปน็ การประพฤตชิ ั่วอย่างเหน็ แก่ตัว จึงทำใหอ้ ำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้เกิดภยั พิบัติ
ทำลายชีวิตคน และบ้านเมืองให้ล่มจมไป ทำให้คนรุ่นหลังได้รับการบอกเล่ากันสืบมา จนเกิดเป็นจารีต
ประเพณี พิธีกรรม และระบบสัญลักษณ์ ซ่ึงเป็นการกำกับพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรส่วนรวมของผู้คนใน
บา้ นเมืองท้องถิ่นเดียวกัน ให้ต้องเชื่อ ต้องฟัง และต้องปฏิบัติ เพ่ือความอยู่รอดของบ้านเมือง ในกรณีเมือง
เชียงใหม่ เพ่ือเป็นการรักษาปริมาณน้ำในห้วยแก้วให้มีมากอยู่เสมอ เพ่ือให้เพียงพอในการอุปโภคบริโภคของ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 5 ภมู ิปัญญาไทย : การอยูก่ บั สายนำ้
ชาวเมืองเชียงใหม่ถึงขนาดมีการต้ังกฎขึ้นโดยห้ามตัดต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่บนดอยสุเทพ ท้ังนี้เพื่อมุ่งรักษา
ความอุดมสมบรู ณข์ องผืนป่าอนั เปน็ แหล่งต้นน้ำทจี่ ะไหลเข้ามาหล่อเลย้ี งในตัวเมอื ง และยงั มีความเชอื่ กันอีกว่า
หากตอนดึกสงัด เม่ืออยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่แล้ว ไม่ได้ยินเสียงน้ำตกท่ีเชิงดอยสุเทพ ถือว่าบ้านเมืองจะ
วนิ าศล่มจม
เรอ่ื งที่ 2 การอย่กู ับสายนำ้ ในสมยั โบราณ
แบบแผนผังเมืองสุโขทัยโบราณ
ชุมชนแรกเร่มิ ของบ้านเมอื งสโุ ขทัยโบราณ พบทบ่ี ริเวณวัดพระพายหลวง เปน็ เมือง
ขนาดเล็ก ท่ีมีวัดพระพายหลวงเป็นศูนยก์ ลางตามคติพุทธศาสนามหายาน ลกั ษณะผังเมืองแห่งนเ้ี ปน็ รูป
สี่เหล่ียมจัตุรัส และมีการวางแผนผังเมือง (Planned town)มาก่อน ผังบริเวณรอบปราสาทกว้างขวาง
และมคี นู ้ำลอ้ มรอบขนาด 600x600 เมตร ขนาดความกวา้ งของคูนำ้ กว่า 20 เมตร เรยี กว่า ห้วยแม่โจน
เนื่องจากอยู่หา่ งจากลำนำ้ ใหญ่ มเี พยี งลำนำ้ แมร่ ำพัน ซงึ่ เป็นลำน้ำเล็กๆไหลผ่าน เหตุนจ้ี งึ มีการขดุ คูนำ้
ล้อมรอบเขตเมืองให้กว้างขวางพอทีจ่ ะทำหนา้ ที่กกั เกบ็ น้ำไว้ และในขณะเดยี วกนั ก็ทำหนา้ ที่ปอ้ งกนั การรุก
ลำ้ ของข้าศึกศตั รดู ว้ ย ซง่ึ พบร่องรอยของหลักฐานทีแ่ สดงถึงระบบ และโครงสรา้ งในการกกั เกบ็ น้ำและ
ระบายน้ำทส่ี มั พันธก์ บั คูเมืองแหง่ นี้อยา่ งชัดเจน นัน่ คือ มมุ คูเมืองทางดา้ นเหนือต่อกับด้านตะวนั ตกนนั้ มี
แนวคนั ดินตดั พุ่งไปทางตะวนั ตกเฉียงเหนือเป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร แนวคันดินน้ปี ัจจบุ นั เหลือสงู
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 6 ภูมิปญั ญาไทย : การอย่กู บั สายนำ้
ราว 1-2 เมตร มรี อยร่องน้ำอยทู่ างด้านใต้ แสดงใหเ้ ห็นวา่ ในเวลาฝนตกน้ำจะไหลลงมาจากภเู ขาและทสี่ งู
ทางทิศตะวนั ตกและตะวันตกเฉียงเหนือของตวั เมอื ง คันดินดงั กลา่ วจงึ ทำหนา้ ท่เี บนน้ำผา่ นมาตามร่องคู
เขา้ สคู่ เู มือง โดยใชท้ อ่ น้ำขนาดใหญท่ ่ที ำด้วยดินเผาแบบเผาแกร่งฝังผ่านคันดนิ ชักน้ำลงสู่คเู มือง และยัง
พบรอ่ งรอยวา่ หากนำ้ ล้นห้วยแมโ่ จน หรอื คูเมือง กจ็ ะถูกระบายออกลงส่ทู ล่ี ุม่ ต่ำทางด้านตะวันออกผ่าน
คนั ถนนทเ่ี รยี กว่า ถนนพระร่วงทีต่ ัดผา่ นไปทางเหนือ แสดงว่าด้านตะวนั ออกของเมืองน้ันเปน็ แหลง่ ท่ี
อยูอ่ าศัยและแหล่งทำการเพาะปลูก เพราะพบเนนิ ดนิ ท่ีมีเศษภาชนะดนิ เผาฝงั อยู่ ขณะเดียวกนั กม็ ีสระนำ้
และที่ลุ่มสลับด้วยคันดนิ ในการทดนำ้ และระบายนำ้ เพ่อื การเพาะปลูกดว้ ย
แบบแผนผังเมืองสุโขทัยโบราณ เป็นการขยายตัวของเมืองบริเวณวัดพระพายหลวง มา
สถาปนาเมืองบนพื้นท่ีใหม่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัยเดิม ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นท่ีลานตะพักลำ
น้ำ ( Terrace)ใกล้ที่ลาดเชิงเขาที่มีความลาดเอียงร้อยละ 0.15 มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศ
ตะวันตก การเปล่ียนแปลงตำแหน่งท่ีต้ังของเมืองครัง้ นี้ จากหลักฐานทางโบราณคดจี ำนวนมาก ทำให้เห็น
ถึงการ เปลีย่ นแปลงลัทธิทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรมด้วย การสร้างเมืองสโุ ขทยั (โบราณ)แห่งใหมน่ ม้ี ีขนาด
ใหญ่กวา่ เดมิ หลายเท่า ผังเมืองเปน็ รูปส่ีเหล่ียมผนื ผ้าขนาด 1,810 x 1,400 เมตร มกี ำแพงเมืองสลับกับคู
น้ำล้อมรอบ 3 ช้ัน เรียกว่า “ตรีบูร” ภายในเมืองมีลักษณะของการวางผังเมือง(Planned town)ไว้ก่อน
อย่างเห็นได้ชัด มีการกำหนดว่าบริเวณใดเป็นวัดสำคญั เพ่ือเป็นสัญลกั ษณ์การเป็นศนู ย์กลางจกั รวาลทำหนา้ ที่
ประกอบพิธีกรรมหลักของบ้านเมือง จัดอาณาบริเวณการสร้างวัดอื่นๆเพื่อทำหน้าท่ีต่างๆของเมือง หรือ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 7 ภูมปิ ญั ญาไทย : การอยู่กบั สายนำ้
บรเิ วณทเี่ ป็นเขตพระราชฐานรวมและที่อยู่อาศยั ของผคู้ นในเมือง และที่สำคัญมกี ารวางตำแหน่งการสร้างสระ
นำ้ เพ่อื การอปุ โภคบรโิ ภคของสาธารณะด้วย
ในบริเวณผังเมอื งรปู ส่เี หลี่ยมผืนผ้า มกี ารกำหนดศูนย์กลางของเมืองคือ วัดมหาธาตุ อนั มีพระสถูป
เจดีย์ท่ีบรรจุพระบรมธาตุเป็นหลักของเมืองท่ีมีบริเวณกว้างใหญ่ โดยมีกำแพงที่ก่อด้วยอิฐและคูน้ำล้อมรอบ
ซ่ึงพบว่าแทบทุกวัดทั้งในและนอกเมืองสุโขทัยโบราณนี้ล้วนมีการสร้างคูน้ำล้อมรอบวัดทั้งสิ้น คูน้ำเหล่าน้ีมี
ความสัมพันธก์ ับการชักนำ้ และระบายนำ้ ในเมืองอย่างเปน็ ระบบ ส่งิ ท่โี ดดเดน่ ในบริเวณผังเมอื งสุโขทัยโบราณ
อีกส่ิงหน่ึง คือ การสร้างวัดอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ ท่ีเรียกว่าตระพังโพยสี แม้จะมีแบบแผนการสร้างจาก
ขอม แต่ก็แสดงถึงวิสัยทัศน์และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้านภูมิประเทศธรรมชาติท่ีมีความจำเป็นในการกัก
เก็บน้ำเพ่ือการอุปโภคบริโภค และการสร้างวัดไว้กลางสระน้ำก็คือการทำให้น้ำในตระพังโพยสีเป็น “น้ำ
ศกั ดส์ิ ิทธิ์” เพอ่ื กันเป็นแหล่งน้ำสะอาดสำหรบั ด่ืมกินของผ้คู นในเมือง ตามความเชอ่ื ของเมอื งสุโขทัยโบราณ
“น้ำกิน” ต้องมาจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย จึงพบว่าเส้นทางน้ำในเมืองน้ันมาจาก เขาพระบาทน้อย กับเขา
ตะพานหินที่มี พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ หรือ พระอัฏฐารศ ประดิษฐานอยู่ที่วัดตระพานหิน พบ
ร่องรอยทางด้านหลังวัดแห่งน้ีเป็นแหล่งทางน้ำลงมาจากเขา เม่ือน้ำไหลลงมาได้ใช้ ทำนบตัวยู บีบน้ำ แล้ว
ขุดเป็นทางน้ำรองรับมุ่งตรงสู่เมือง ผ่านท่อน้ำบริเวณด้าน ประตูอ้อ ทางตะวันตกของเมืองแล้วระบายไปยัง
ตระพังเก็บนำ้ เพ่ือการบรโิ ภคต่อไป
ด้านตะวันออกภายในเมืองสุโขทัยโบราณพบหลกั ฐานว่าเป็นเขตพระราชฐานและแหล่งท่อี ยู่อาศัย
ซ่ึงมีสระน้ำและบ่อน้ำเล็กๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เมตรเป็นบ่อน้ำรูปทรงกลมกรุด้วยอิฐกระจายอยู่ใน
บริเวณน้ีจำนวนมาก แสดงถึงการกำหนดตำแหน่งท่ีอยู่อาศัยให้สัมพันธ์กับระบบการจัดการน้ำของเมือง
เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีระดับต่ำกว่าด้านอ่ืนจึงเกิดการไหลมารวมกันของน้ำทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ อกี ทั้ง
เป็นบริเวณทใี่ กลล้ ำน้ำแม่รำพันอีกด้วย ส่วนทางด้านตะวนั ตกพบเพียงสระน้ำส่เี หลีย่ มต้นื ๆกระจายอยทู่ ั่วไป
แสดงว่าเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้จากการรับน้ำฝนบนผิวดินเท่าน้ัน จึงไม่พบวา่ เป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยหนาแน่นดัง
บริเวณตะวนั ออกของเมือง
ส่วนบริเวณรอบๆ เช่น ทางด้านเหนือและด้านตะวันออกเป็นท่ีลุ่มลาดลงมาจากทิศตะวันตก
เฉียงเหนือ มีลำน้ำแม่รำพันและลำน้ำเล็กๆท่ีไหลจากที่สูง จึงเป็นท่ีอยู่อาศัยของชุมชนโบราณและพ้ืนที่
เพาะปลูกหรือเป็นพ้ืนท่ีนา ซึ่งพบร่องรอยของการทำฝาย และขุดลำเหมืองเพื่อชักน้ำเข้าไปยังพ้ืนท่ี
เพาะปลูก ทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของเมืองพ้ืนที่เป็นที่สูงลาดลงมาจากจากเชิงเขา เป็นบริเวณ
เรือกสวน มีป่าหมาก ป่าพร้าว และเป็นแหล่งวัดวาอารามกระจายอยู่จำนวนมาก มีทั้งวัดป่า หรือเขต
อรัญญิก และวัดพำนักของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ หรือพระสงฆ์คันถธุระ แต่ต่อมาภายหลังบ้านเมืองได้ขยายตัว
อีกระยะและพบการตั้งหลักแหล่งของชุมชนโบราณตามแนวเหนือ-ใต้ ใกล้บริเวณ ถนนพระร่วง และตาม
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 8 ภูมิปัญญาไทย : การอยูก่ ับสายนำ้
สายน้ำคลองขุด ซึ่งทำหน้าที่ระบายน้ำท่ีไหลบ่าจากเขาหลวงด้านใต้ของเมืองให้ไหลลงสู่แม่น้ำยมในที่อยู่ทาง
ตะวันออกของเมือง
เม่ือศึกษาเปรียบเทียบผังเมืองสุโขทัยโบราณกับผังเมืองโบราณแห่งอื่น ๆ พบความแตกต่าง
สำคัญๆหลายอย่าง เช่น เป็นเมืองท่ีมีกำแพงและคูน้ำล้อมขนาดใหญ่ถึงสามชั้น เรียกว่า “ตรีบูร”หากส่วนที่
ทำหน้าท่ีเป็นกำแพงเมืองและคูเมืองแท้จริงมีเพียงช้ันเดียวและคูเดียว ส่วนคูน้ำอีกสองชั้นเป็นการกักน้ำและ
ผนั น้ำท้ังส้ิน ต่างจากเมืองอื่นท่ีอาจมีกำแพง 3 ช้ัน แต่คูน้ำก็มีเพียง 2 ชั้นเท่านั้น ด้วยการจัดทำแผนผังเมือง
(Planned town)ไว้ก่อน ทำให้คูเมืองถูกสร้างขึ้นอย่างมีระบบแบบแผนและสัมพันธ์กับการวางระบบ
ชลประทานจากนอกเมืองสู่ภายในเมืองท้ังยังถูกออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่เป็นอยู่เดิม นอกจากจะ
พบระบบคิดเชิงยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการนำ้ แลว้ ยงั พบร่องรอยการใช้เทคโนโลยีและนวตั กรรมในการ
จัดการน้ำมากมายจากโครงสร้างผังเมืองนี้ เช่นร่องรอยของความรู้เร่ืองระดับน้ำและการใช้ระดับน้ำ
(gravity) วธิ กี ารระบายและผันน้ำเข้าออกตระพงั และคูน้ำตา่ งๆ การทำท่อดินเผาแบบเผาแกร่งเพือ่ ชักน้ำจาก
ทำนบลงสคู่ ูเมือง การวางท่อใตด้ ินส่งนำ้ ไปตามจดุ ต่างๆ รวมทัง้ การเกบ็ นำ้ ผิวดนิ ด้วยสระขนาดเลก็ จำนวนมาก
ในส่วนนอกเมืองก็มีแบบแผนการจัดการระบบชลประทานที่สัมพันธ์กับผังเมืองที่รองรับการ
ขยายตัวและเติบโตต่อเน่ือง ท้ังนี้เป็นไปตามภูมิลักษณะของพื้นท่ีอย่างชดั เจน ดังพบว่าทางด้านใต้ของเมอื งได้
เกิดโครงสร้างขนาดใหญ่ของการขยายตัวของเมืองควบคู่กับ การสรา้ งคันดินบังคับน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกัน
น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาหลวงเข้าท่วมบ้านเมือง และเพ่ือการชักน้ำระบายน้ำเข้าสู่ตัวเมืองท่ีเป็นวัดวา
อาราม และแหล่งท่อี ยูอ่ าศยั กันระดบั บา้ นเรอื นของชุมชนโบราณ
นอกจากน้ีโครงสร้างระบบเมืองสุโขทัยโบราณยังมีความสัมพันธ์กับการจัดการชลประทาน
การเกษตรและแหล่งพ้ืนที่ผลิตผลทางเศรษฐกิจเพ่ือเลี้ยงตัวเมืองอีกด้วย เช่นพบการก่อแนวคันดินใหญ่
เบี่ยงเบนเส้นทางน้ำและการทำฝายและขุดลำเหมืองเช่ือมท่อส่งน้ำเข้าที่นาในบริเวณที่ลุ่มนอกเมืองด้านทิศ
เหนือและตะวันออก ส่วนทางด้านใต้ เช่น บริเวณ โว้งบ่อ และไกลออกไปเรื่อยๆตามแนวเชิงเขาหลวงจะ
เป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยของชุมชนโบราณที่มีผลิตผลสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เช่น แร่ธาตุและของป่า ซ่ึง
ได้แก่ หนังสัตว์ กระดูกสัตว์ ไม้หอมและบรรดาสมุนไพรต่างๆรวมทั้งน้ำมันยาง การทำน้ำมันยางท่ีมีสืบมาถึง
ภายหลังนี่เอง ที่ทำให้พบเทวรูปหินสีเขียวแกะสลักเป็นรูปเทวสตรีที่เรียกว่า รูปแม่ย่า ในบริเวณเว้ิงเขา
ด้านทิศใต้ของเมืองตรงบริเวณ โซกพระแม่ยา่ นนั่ เอง
ระบบชลประทานเมืองสุโขทยั โบราณ 9 ภูมิปญั ญาไทย : การอยกู่ ับสายนำ้
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั
จากการศึกษาผังเมืองสุโขทัยโบราณพบว่าเป็นเมืองท่ีมีผังเมืองแตกต่างจากเมืองโบราณอ่ืนๆใน
ประเทศไทยอย่างมาก กระท่ังนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ กล่าวขานกันว่า เมืองสุโขทัยโบราณคือ
สังคมพลังน้ำ เพราะระบบการชลประทานท่ีใหญ่โตมากมายกว่าเมืองอื่นๆ และการวางผังเมืองก็มีความ
ซับซอ้ นสมั พนั ธ์กับโครงสร้างในการชกั ระบายนำ้ อย่างดีนนั่ เอง
โครงสรา้ งสำคญั ในระบบชลประทานเมอื งสโุ ขทยั โบราณ
1.การใช้แนวคันดนิ หรือทำนบบังคบั ทางน้ำ โครงสรา้ งแรกทีป่ รากฏร่องรอยชดั เจน คือ แนวคัน
ดิน ทำหน้าที่บังคับเส้นทางน้ำ ก้ันน้ำ ซ่ึงพบจำนวนมาก ในบริเวณพ้ืนท่ีลาดเอียงรอบนอกเมืองทุกด้าน
โดยเฉพาะบริเวณเชิงเขาดา้ นตะวันตกติดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนอื จากตำแหน่งและรูปลักษณะของแนว
คันดินทำให้เห็นถึงเส้นทางน้ำและระบบการชักระบายน้ำของในเมืองนี้ชัดเจนมาก ดังแนวคันดินต่างๆที่ยัง
ปรากฏอยู่ เช่น
1.1 แนวคันดินยาวบริเวณมมุ คูเมอื งเดมิ วดั พระพาย
1.2 แนวคันดินรูปหักศอก ดา้ นตะวันตกของวัดศรีชุม
1.3 แนวคนั ดินรูปตวั ยู หน้าเขาตะพานหนิ และเขาพระบาทนอ้ ย
1.4 ทำนบพระรว่ ง หรืออาจถูกสนั นิษฐานว่า คือ สรดี ภงค์ ตามศลิ าจารึกหลักท่ี1
1.5 แนวคันดินอ่ืนๆท่เี กิดจากการขยายตัวของเมอื ง
1.6 ถนนพระรว่ ง
2. ตรบี ูร กำแพงและคเู มอื งรองรบั ระบบการเกบ็ และระบายนำ้ ในเมืองสุโขทยั โบราณ กำแพงเมือง
สุโขทยั โบราณเป็นทงั้ โครงสร้างของเมืองและโครงสรา้ งหนึ่งในระบบชลประทานทำหน้าท่ีเปน็ ทางนำ้ จา่ ยนำ้
และเกบ็ นำ้ ดว้ ยลักษณะ ตรีบูร ของเมอื งน้ีคือเป็นกำแพงดินขนาดใหญ่ลอ้ มรอบถงึ สามชั้น และมคี นู ้ำ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 10 ภมู ิปัญญาไทย : การอยูก่ ับสายนำ้
ล้อมรอบระหวา่ งกำแพงดินแต่ละชน้ั อีก 3 ชั้นเช่นกัน โดยคนู ำ้ ช้ันที่ 3 นั้นอยูด่ า้ นในของกำแพงเมืองช้นั 3 ซึ่ง
ตามเมืองอนื่ ๆไม่มี กำแพงเมืองและประตเู มืองถูกออกแบบใหส้ ัมพันธ์กบั การชกั นำ้ และระบายน้ำอยา่ งเปน็
ระบบและมปี ระสทิ ธภิ าพ
หน้าท่ีของตรีบูรในระบบชลประทาน จะเป็นโครงสร้างการระบายน้ำและเก็บกักน้ำเพ่ือ
รองรับเส้นทางนำ้ ดงั นี้ น้ำที่มาจากคลองเสาหอ จะถูกชักเข้าคูเมืองด้านนอกหรือช้นั ท่ี 2 ตรงมุมกำแพง
เมืองด้านใต้ต่อกับด้านตะวันตก อันเป็นตำแหน่งที่มีระดับความสูงของพ้ืนดินสูงท่ีสุดของเมืองสุโขทัย น้ำจาก
คลองเสาหอจะไหลหล่อเล้ียงคูเมอื งด้านทิศใต้ และใช้วธิ ีการระบายตอ่ ผ่านท่อน้ำดินเผาเขา้ ทางน้ำส่งไปยัง คู
นำ้ รอบวัด หรือ สระน้ำต่างๆในเมอื ง น้ำส่วนเกินจะไหลผ่านคูเมืองไปทางตะวนั ออกและถูกระบายผ่านทอ่ ดิน
เผาลงสู่คลองแม่รำพัน ต่อไป ส่วนน้ำที่ชักมาตามร่องน้ำและแนวคันดิน จากภูเขาด้านตะวันตก ท้ัง 2
สายจะไหลมาบรรจบกันใกล้บริเวณ ด้านนอกของประตูอ้อ แล้วจะถูกทดด้วยท่อดินเผาแบบเผาแกร่ง ที่ฝัง
ผ่านกำแพงเมืองเข้าไปยังคูเมืองแต่ละช้ัน แล้วผันผ่านเข้ากำแพงชั้นในมายังคูเมืองช้ันที่ 3 ภายในกำแพง
เมืองอีกที ตรงบรเิ วณนี้พบ แนวรอ่ งนำ้ ตัดไปยังบรเิ วณกลางเมืองและถูกแยกเป็นสองทาง
เส้นทางน้ำสายแรกแยกเข้า ตระพังตระกวนวัดสระศรี ซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ น้ำท่ีเข้ามายัง
ตระพังน้จี ะถูกระบายตอ่ ไปยังตระพังทางตอนเหนือของบริเวณเมือง คือ ตระพังสอ ซ่ึงเป็นตระพังใหญ่อีกแห่ง
หน่ึง จากตระพังนี้ก็จะมีทางน้ำนำน้ำล้นไปออกคูน้ำชั้นในทางด้านตะวนั ออกเฉียงเหนือแล้วผันออกไปยังคูน้ำ
ชั้นนอก และไหลลงลำนำ้ แม่รำพนั ตอ่ ไป สว่ นอีกสายหนึ่ง เปน็ ทางน้ำมงุ่ ไปทางตะวนั ออกของเมืองนำน้ำไป
เข้า ตระพังเงิน คูน้ำและสระน้ำรอบวัดมหาธาตุและวัดใกล้เคียง แล้วถูกระบายตามทางน้ำผ่านคูน้ำรอบ
บริเวณเนินปราสาท และต่อไปยัง ตระพังทอง สระน้ำขนาดใหญ่ทางด้านตะวันออกของเมือง น้ำท่ีเหลือล้น
จากตระพังทองจะถูกระบายตามทางน้ำไปยังคูเมืองแล้วผันออกไปลงลำน้ำแม่รำพันทางด้านตะวันออก สระ
น้ำและคูน้ำรอบวัดบางแห่งอาจดูตัดขาดจากระบบส่งน้ำสองเส้นทางนี้แต่แท้จริงพบว่าใต้ดินมีการฝังท่อน้ำที่
ทำดว้ ยดินเผาแบบเผาแกร่ง เชื่อมกบั บรรดาทางนำ้ คูน้ำและสระใหญอ่ ยา่ งเปน็ ระบบ
3.ตระพังโพยสี สระน้ำใหญ่กักเก็บน้ำเล้ียงเมือง เป็นโครงสร้างการกักเก็บน้ำในระบบชลประทาน
ใหญ่ของเมืองตามเส้นทางน้ำดังท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขนาดและตำแหน่งท่ีตั้งของสระน้ำขนาดใหญ่
จำนวนมากมายทำให้ในบริเวณผังเมืองสุโขทัยโบราณมีความโดดเด่นแตกต่างจากเมืองอื่นชัดเจน ในศิลา
จารึกหลักท่ี 1 ได้กล่าวถึงการมี ตระพังโพยสี ก็คือ สระเก็บน้ำขนาดใหญ่ภายในบริเวณเมืองแห่งนี้ ท่ีถูก
กำหนดตำแหน่งการสร้าง อย่างสอดรับกับความลาดเอียงของพ้ืนท่ีและภูมิทัศน์ของเมือง ตระพังโพยสี
ประกอบด้วย ตระพังใหญ่ 4 แห่งคือ ตระพังเงินท่ีวัดตระพังเงิน ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ตระพัง
ตระกวนท่ีวัดสระศรี ตระพงสอทางด้านเหนือของเมือง และตระพังทอง ท่ีวัดตระพังทองอยู่ด้าน
ตะวันออกของเมือง นอกจากน้ียังมี ตระพังใหญ่นอกเมืองอีก 2 แห่งคือด้านตะวันตก เรียกว่า ตระพัง
ชา้ งเผือก และด้านตะวันออก ช่ือ ตระพังทองหลาง ตระพังทัง้ 6 แหง่ นม้ี ีศกั ยภาพควบคุมระบบการกักเกบ็ น้ำ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 11 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอยกู่ ับสายน้ำ
ในสว่ นอ่นื ๆให้มีความครอบคลุมพื้นทท่ี ้งั เมอื งอกี ด้วย สิง่ น้ีแสดงถงึ วสิ ัยทศั น์และความเข้าใจอยา่ งถ่องแท้ของผู้
วางผังเมืองหรอื ผู้สร้างเมือง ในดา้ นภูมิประเทศธรรมชาติท่ีมีความจำเป็นต้องกกั เก็บน้ำเพ่ือการอุปโภคบริโภค
ของผูค้ นในเมืองให้เพียงพอ ได้เปน็ อย่างดยี ่งิ
4.บ่อน้ำกรุอิฐรูปกลม เป็นโครงสร้างการกักเก็บน้ำอีกประเภทหน่ึงท่ีพบในบริเวณแหล่งท่ีอยู่อาศัย
หนาแน่นด้านตะวันออกของเมือง และในวัดเล็กๆด้านนอกเมือง ที่มีสระน้ำขนาดเล็กและบ่อน้ำรูปทรงกลมน้ี
กระจายอยู่จำนวนมาก บ่อน้ำน้ีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เมตรเป็นบ่อน้ำกรดุ ้วยอิฐ แต่ละบ่ออยู่ไม่ห่าง
กันนัก น้ำในบ่อเป็นน้ำที่รับจากน้ำฝนส่วนหน่ึงแต่หลักๆจะเป็นน้ำท่ีไหลซึมมาจากตระพังต่างๆ โดยเฉพาะ
ตระพังทอง หรือจากคูน้ำต่างๆด้วย โครงสร้างการเก็บน้ำขนาดเล็กน้ีแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจ เรื่องน้ำ
อย่างดีของ ผู้สร้างเมือง เน่ืองจากเมืองนี้ไม่มีน้ำใต้ดินใช้ จึงต้องกำหนดตำแหน่งท่ีอยู่อาศัยหนาแน่น ซ่ึงมี
รายละเอียดของการใชน้ ้ำมาก ให้สัมพันธก์ ับระบบการจดั การน้ำของเมือง ไว้ก่อน ดังนั้นจึงพบว่าบริเวณที่
ใช้น้ำบ่อเป็นพื้นที่ระดับต่ำกว่าด้านอ่ืนจึงเกดิ การไหลซึมมารวมกนั ของน้ำจากแหล่งเก็บน้ำต่างของเมือง ทำให้
เป็นบรเิ วณท่มี คี วามอดุ มสมบรู ณ์ มนี ำ้ ใช้ตลอดท้งั ปี
5.ท่อดินเผาแบบเผาแกร่งหรือท่อพระร่วงหรืออาจพบมี
เรียกว่า ท่อน้ำสังคโลก เป็นนวัตกรรมหนึ่งในระบบชลประทานของ
เมืองสุโขทัยโบราณ ทำหน้าท่ีเป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการชักน้ำ และ
ระบายน้ำไปยังจุดตา่ งๆ ทีส่ รา้ งความสะดวกและเพ่ิมประสิทธิภาพใน
การจัดการระบบชลประทานท้ังในและนอกเมือง ท่อน้ำดังกล่าวทำ
ด้วยดินเผาแบบเผาแกร่ง ขนาดของท่อน้ำน้ีมีความยาวประมาณ 1
เมตร เส้นผา่ ศนู ยก์ ลางประมาณ 35 เซนติเมตร
6.คลองขุด โครงสร้างการระบายและชักน้ำของระบบชลประทานในระยะการขยายและเติบโตของ
เมืองสุโขทัยโบราณ ท่ีปรากฏเด่นชัด คือ การขุด คลองยาง ตรงบริเวณนอกเมืองใกล้มุมเมืองทางด้าน
ตะวันออกต่อด้านใต้ เพื่อระบายน้ำที่เกินความต้องการไปลงแม่น้ำยมท่ีห่างออกไปทางด้านตะวันออก
ระยะทางราว 12 กิโลเมตร โดยไม่ปล่อยเข้าเมืองหรือระบายลงน้ำแม่รำพัน ผลท่ีตามมาคือมีการขยายเขต
บา้ นเมืองไปทางตะวนั ออกเฉยี งใต้ด้วย ซ่งึ พบหลกั ฐานของชมุ ชนโบราณระดบั บ้านเรอื นหรอื หมู่บ้านและวัด ตั้ง
เรียงรายเป็นระยะๆ
7.เหมือง ฝาย ระบบชลประทานเกษตร ของเมืองสุโขทัยโบราณ ขอบเขตของบ้านเมืองสุโขทัย
สมัยน้ันดังท่ีได้กล่าวแล้วว่า ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เขตเมืองเท่านั้นแต่ยังสัมพันธ์กับแหล่งการเกษตรและแหล่งที่
เป็นผลิตผลทางเศรษฐกิจด้วย จากลักษณะภูมิประเทศท่ีตั้งถ่ินฐานในบริเวณที่ดอนหา่ งจากลำน้ำสายหลัก มี
เพียง หนอง บึงและสายนำ้ เลก็ ๆไหลผ่านเท่าน้ัน จึงมคี วามจำเป็นทบ่ี ้านเมืองต้องมีระบบการจัดการน้ำที่มอี ยู่
ให้เพยี งพอกบั ความต้องการของบา้ นเรอื นทีอ่ ย่ใู นแหลง่ เพาะปลูก ด้วยการพัฒนาระบบชลประทานการเกษตร
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 12 ภูมปิ ัญญาไทย : การอยกู่ ับสายนำ้
ท่ีเหมาะสมกับการทำนาบนพ้ืนที่ดอนสลับท่ีลุ่มลาดเอียง เพ่ือปลูกข้าวเลี้ยงบ้านเมืองให้เพียงพอ ซ่ึงหมายถึง
ความมัน่ คงของบา้ นเมืองด้วย
ระบบชลประทานการเกษตรท่ีเกิดขึ้นในบ้านเมืองขณะนั้นคอื ระบบการชลประทานเหมืองฝาย
ซ่งึ ประกอบด้วย 1) สายน้ำ ลำน้ำที่ไหลผ่านบริเวณใกล้เคียงพ้ืนท่เี พาะปลกู 2) ฝาย คือ คันกั้นน้ำในลำธาร
หรือสายน้ำขนาดเล็ก ทำให้ระดับน้ำท่ีถูกฝายก้ันมีระดับสูงขึ้นและถูกชักเปลี่ยนทิศทางให้น้ำไหลเข้าไปตาม
คลองส่งน้ำและคูส่งน้ำที่ขุดไว้ เพอ่ื แจกจ่ายน้ำไปยังทน่ี าต่อไป 3) เหมือง คอื รอ่ งนำ้ หรือคลองสง่ นำ้ ท่ีขุดข้ึน
ในบริเวณเหนือฝายฝั่งที่มีระดับน้ำสูงเพื่อรับน้ำจากการทดน้ำบริเวณฝายเป็น การผันน้ำจากลำน้ำไปสู่พ้ืนที่
เพาะปลกู 4)คันนา เปน็ คนั ดนิ เต้ียสงู ประมาณ 1 ศอกเศษ ล้อมรอบพ้นื ที่ล่มุ เปน็ แปลงๆ
ชลประทานเหมืองฝายในสมัยน้ันที่ยงั ปรากฏร่องรอยชัดเจน มี 2 แห่ง ในลำนำ้ แมร่ ำพันที่ไหลผา่ นที่
ราบลุ่มนอกเมือง จดุ แรกอยหู่ ่างจากบริเวณตวั เมืองไปทางเหนอื ประมาณ 2 กิโลเมตร พบแผน่ หินชนวนท่ถี ูก
นำมาถมทับกันให้เป็นสันฝายกั้นลำน้ำแม่รำพันเพ่ือเบนและชักกระแสน้ำลงไปตามลำคลองหรือลำเหมือง
ปัจจุบันคือ คลองน้อย ลำเหมืองนี้เป็นแนวขนานไป 3 สาย อยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำแม่รำพัน เป็น
ระยะทางกว่า 7 กิโลเมตร ส่วนอีกฝายหน่ึงอยู่ทางด้านตะวันออกของวัดพระพายหลวง ตรงจุดน้ีมีร่องน้ำเป็น
ลำเหมอื งแยกออกจากลำนำ้ แม่รำพันไปทางตะวันออกและพบแนวคันดินรปู ส่ีเหลยี่ มผืนผา้ ขนาด 1,200x800
เมตรโอบลอ้ มทร่ี าบลุม่ มีการสนั นษิ ฐานว่า ฝายตรงนีเ้ ป็นฝายสำหรบั เขตนาหลวง
ระบบชลประทานเหมืองฝายเกดิ ข้ึนได้ด้วยการเรยี นรขู้ องบรรพบรุ ุษตอ่ ลกั ษณะภูมิประเทศ ทั้งความ
ลาดเอียง กระแสน้ำไหลเช่ียว การขึ้นลงของน้ำ การกัดเซาะของหินดิน ระดับการล้นเอ่อ และความต้องการ
ของผืนนาไร่สองฟากฝ่ัง แล้วนำข้อมูลและความรู้ท้ังหมดมาประมวลและจัดการเป็น องค์ความรู้ หรือ
ศิลปวิทยาการการควบคุมกระแสน้ำ ท่ีต้องมีระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและต้องอาศัยการจัด
องคก์ รเปน็ สำคญั จงึ จะเกิดความย่ังยนื และเปน็ ธรรม
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย ก1จิ 3กรรมท้ายบท ภูมปิ ัญญาไทย : การอย่กู บั สายน้ำ
1. ใหผ้ ูเ้ รยี นบอกความแตกต่างของพื้นที่ในการตั้งบ้านเรอื น ( ชุมชนหรือหม่บู ้านกับการต้ังเมือง ) ว่ามีการ
เลือกสร้างในพ้ืนท่ีแตกต่างกันอยา่ งไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. การต้งั ถ่นิ ฐานของชมุ ชนโบราณ บนพนื้ ท่ีริมนำ้ ตามฤดูกาล กอ่ ใหเ้ กิดพน้ื ที่ 3 อย่างนนั่ คืออะไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ชุมชนแรกเริม่ ของเมือสโุ ขทัยโบราณ พบบริเวณใด และมลี ักษณะอย่างไร
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 14 ภมู ิปัญญาไทย : การอยู่กบั สายน้ำ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. โครงสรา้ งสำคญั ในระบบชลประทานเมืองสุโขทยั โบราณ มลี กั ษณะอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 15 ภมู ิปญั ญาไทย : การอย่กู ับสายนำ้
บทท่ี 2
ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ นในการบริหารจัดการนำ้ และ
การอยูก่ ับสายน้ำ
สาระสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ เป็นการเรียนรู้ในเร่ืองของ
ภมู ิปญั ญาชาวบ้านในการบรหิ ารจัดการน้ำและการอยูก่ ับสายน้ำ สามารถนำมาประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ิตประจำวันได้
ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวัง
เพ่ือให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและนำความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำมาปรับใช้ใน
ชีวติ ประจำวันได้
ขอบขา่ ยเนอ้ื หา
เรอ่ื งท่ี 1 ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ นในการบรหิ ารจัดการนำ้ และการอยกู่ ับสายนำ้
กศเนร.อ่ือำงเภทอ่ี ศร1สี ำโรภงมู สปิ โุ ขัญทยัญาชาวบ้านในการบรหิ า1ร6จดั การน้ำและการอยู่กภับมู ปิ สญั าญยานไท้ำย : การอยกู่ ับสายน้ำ
ภูมปิ ัญญาชาวบ้านในการบริหารจัดการน้ำและการอยูก่ ับสายน้ำ ในแบบเรยี นเล่มนี้ เปน็ การ
ถอดองค์ความรู้จากเวทีแลกเปลย่ี นเรียนรกู้ ับชาวบ้าน ที่อยู่ริมลำน้ำสำคัญของสโุ ขทัย 3 สาย คือ แมน่ ้ำยม ลำ
น้ำแม่มอก และคลองแม่รำพัน ท่ีสะท้อนภาพการอยู่กับสายน้ำ ในอดีตที่ผ่านย้อนกลับไป 30-40 ปี จากปี
2555 ดังนี้
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 17 ภูมปิ ญั ญาไทย : การอยู่กับสายนำ้
สภาพของการอย่กู ับสายน้ำของชมุ ชน สมัยก่อน 30 ปีทผ่ี ่านมา
1.แม่น้ำยม แม่น้ำยมในอดีตจะกว้างมากถึงขนาดมีเรือมอญมาค้าขายสินค้า ส่วนในฤดูแล้ง ลำ
น้ำยมจะลดลงจนเห็นทรายทั้ง 2 ฝั่ง แต่ตรงส่วนกลางแม่น้ำก็ยังมีน้ำอยู่และสามารถข้ามฝั่งไปมาหากันได้ มี
การปลกู ผักไว้รบั ประทานเองไว้แบง่ ปันให้เพือ่ นบ้าน และไวข้ ายเมอื่ เหลอื จากที่รับประทาน ผักทปี่ ลกู ส่วนใหญ่
คอื ผกั กาด ผักบุ้ง มันแกว มันเทศ ถั่วงอก ส่วนในฤดูนำ้ หลาก จะใช้ลำน้ำยมในการขนย้ายท่อนซุง ล่องตาม
ลำน้ำลงไปทางใต้โดยผูกกันเป็นแพ เด็กในสมัยน้ันจะว่ายน้ำเป็นกันเกือบทุกคนโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ใน
สมัยก่อนจะมีพ่อค้าเร่ชาวมอญมาขายของ เรือมอญเหล่าน้ีจะมาจอดเทียบท่ากันตามริมแม่น้ำทีละหลาย ๆ
ลำสินค้าส่วนใหญ่ท่ีนำมาชายได้แก่ โอ่ง ไห กะปิ เกลือ ชาวบ้านก็จะซื้อเก็บไว้เพ่ือไว้กิน ไว้ใช้ในการ
อุปโภค-บริโภค ในสมัยก่อนจะใช้การคมนาคมโดยทางน้ำเปน็ ส่วนใหญ่ บริเวณที่มีชมุ ชนเช่นที่ทำการอำเภอจึง
รายล้อมไปด้วยเรือนแพทั้งสองฝ่ัง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยกันบนแพเน่ืองจากเป็นกลุ่มคนท่ีอพยพมา
จากถ่ินอื่น ล่องแพทวนน้ำข้ึนมาลุ่มน้ำไหนเหมาะแก่การอยู่อาศัยก็จะจอดแพพักอาศัยและต้ังถิ่นฐาน ชาวแพ
จะประกอบอาชีพเล้ียงปลาหรือหาปลาขาย ทำปลาร้า ปลาเกลือ ปลาย่าง ไว้แลกข้างกับคนบนบ้าน (คนจาก
ตำบลอื่นหรือคนที่อยู่บนบก ส่วนคนในแพจะเรียกว่าคนในน้ำ) แต่ในบางทีคนบนบ้านก็จะมีเรือนแพด้วยเพื่อ
ความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันและใช้น้ำในลำน้ำยมเพื่ออุปโภคและบริโภค วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยก่อน
จะใช้ลำน้ำยมท้ังในการกินและการใช้ คือจะทำบ่อทรายเพื่อกรองน้ำไว้สำหรับกินและใช้ในบ่อเดียวกัน ซ่ึงจะ
ทำกันในฤดูแล้ง
ในฤดูน้ำหลาก น้ำขึ้นเต็มตล่ิง คนท่ีอยู่แพ จะนำแพไปผูกแอบไว้ที่คุ้งน้ำบริเวณตลิ่งท่ีมีทรายมูล
เน่ืองจากบริเวณน้ีน้ำจะไม่เชี่ยวกราก ส่วนคนท่ีมีบ้านริมสองฝั่ง จะปลูกบ้านท่ีมใี ต้ถุนสูง ดงั น้ันเวลาน้ำล้นตลิ่ง
เข้าท่วมก็จะท่วมใต้ถุนบ้าน ข้าวของสำคัญก็เก็บข้ึนบนบ้าน ของกินของใช้ก็เตรียมกันไว้ล่วงหน้า ในสมัยก่อน
นำ้ จะล้นตล่งิ อยู่ 1-5 วนั จะมคี ลองเชื่อมกับแม่น้ำเพื่อน้ำนำไปสหู่ นองบงึ ของชุมชนกักเกบ็ น้ำไว้ใช้หนา้ แล้ง น้ำ
ที่ล้นตล่ิงจะไหลผ่านเรือกสวนไร่นา ในระดับไม่สูงมากเนื่องจากไม่มีถนนหรือส่ิงกีดขวางทางน้ำ จึงไม่เกิดน้ำ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 18 ภูมิปัญญาไทย : การอยู่กบั สายน้ำ
ท่วมขังหรือน้ำท่วมสูงจากส่ิงกีดขวาง แต่น้ำที่ท่วมล้นตล่ิงเข้าไปในเรือกสวนไร่นา จะไปเพ่ิมความชุ่มชื้นให้ผืน
ดนิ นำสัตว์น้ำ เช่น ปลา ไปสู่บ่อน้ำ คู คลอง หนอง บึง เป็นแหลง่ อาหารให้กับคนท่ีไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำ และยังมี
แหลง่ เก็บนำ้ ไว้ใชห้ นา้ แล้ง สรา้ งความชุ่มชื้นให้กับผนื ดินรอบบริเวณไม่ใหเ้ กิดความแหง้ แลง้ ในฤดูแลง้
การปรับตวั กับสภาพของสายน้ำ ทำอย่างไร
- แมน่ ้ำยม
น้ำท่ีล้นจากแม่น้ำมาจะกระจายไปทั่วเพราะในสมัยน้ันยังไม่มีถนนเลียบริมน้ำ น้ำจึงไม่ท่วมสูงอย่าง
มากก็แค่ตาตุ่มข้อเท้า บ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงไม่มีข้าวของเครื่องใช้อะไรมากมายอยู่ใต้ถุน
เหมือนรอคอยให้น้ำมาท่วมเพราะจะได้ไล่ข้ีปลวกบนดิน เหมือนน้ำมาทำความสะอาดใต้ถุนบ้านให้ และเม่ือ
น้ำมาก็จะพัดเอาตะกอนมาด้วยคนในสมัยน้ันจึงนิยมปล่อยน้ำท่วมเข้าไปในสวนเพ่ือเพ่ิมปุ๋ยให้กับสวนผลไม้
ผลไม้ท่ีปลูกส่วนใหญ่จะเป็น มะพร้าว ละมุด ขนุน กล้วย เพ่ือเอาไว้แลกกับข้าวสาร ซ่ึงจะมีคนอีกหมู่บ้านนำ
ข้าวสารมาแลกกับผลไม้ของชาวบ้านคลองน้ำหัก นอกจากนี้น้ำยังเป็นแหล่งอาหารกับคนในหมู่บ้านอีกด้วย
คือ เม่ือน้ำมาปลาก็จะมากับน้ำด้วย ลำน้ำจึงเต็มไปด้วยผู้คนและเครื่องมือหาปลานานาชนิด เพื่อนำปลาที่
ได้มาทำ ปลาย่าง ปลาเค็มและน้ำปลา ไว้รับประทานเอง ปลาก็จะมีมากมายหลายชนิด อาทิเช่น ปลาไส้ตัน
ปลาสรอ้ ย ปลากด ปลากล้วย ปลาทอง ในสมัยน้ันแทบทุกบา้ นจะมีไหน้ำปลาและจะต้มน้ำปลากินเอง นำ้ ที่
ท่วมก็จะท่วมไม่นาน ประมาณ 3-5 วันน้ำก็จะลดแล้วเพราะมีคลองสำหรับระบายน้ำมากมาย ส่วนในช่วง
หน้าแล้งก็ปลูกผักกิน หรือเก็บพืชน้ำกิน อาทิ เช่น ผักบุ้ง โสน สายบัว ในส่วนตำบลกงเป็นชุมชนท่ีอาศัยอยู่
บนแพเปน็ ส่วนใหญ่ ไม่วา่ น้ำจะมากหรือน้อยก็สามารถอาศัยอยูบ่ นแพไดโ้ ดยไม่ต้องซื้อของเก็บตุนไว้ในยามน้ำ
หลาก และในลำน้ำตลอดปีก็สามารถหาปลาได้
กรณีศึกษา ในพ้นื ท่ี 19 ภูมิปญั ญาไทย : การอยู่กบั สายนำ้
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั
ตำบลวงั ไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สโุ ขทัย เป็นตำบลที่ตงั้ อยูร่ มิ แมน่ ้ำยม หม่บู ้านทีจ่ ัดทำเวทีนช้ี ่ือว่า
บ้านคลองน้ำหัก เน่อื งจากลำน้ำคดเคย้ี วหักไปหกั มา มีทั้งตลิง่ งอก และตลิง่ เวา้ วถิ ีชีวติ ของผู้คนในสมยั ก่อน
จะใชล้ ำน้ำยมท้งั ในการกนิ และการใช้ คือจะทำบ่อทรายเพ่ือกรองน้ำไว้สำหรบั กนิ และใช้ในบอ่ เดยี วกนั
-ฤดูแล้ง
ในฤดแู ลง้ น้ำในลำน้ำยมจะลดจนเห็นหาดทรายทงั้ 2 ฝ่ัง แตต่ รงสว่ นกลางแมน่ ้ำกย็ ังมีน้ำอยู่และ
สามารถข้ามฝั่งไปมาหากนั ได้ ทำให้เกิดกิจกรรมหลาย ๆ อย่างบรเิ วณรมิ 2 ฝง่ั แม่น้ำ อาทิเชน่ การละเล่นลูก
ช่วงทใี่ ชห้ าดทรายเป็นที่เล่น การปลูกผักไวร้ ับประทานเองไวแ้ บ่งปันให้เพ่ือนบ้าน และไวข้ ายเม่อื เหลือจากท่ี
รับประทาน ผักทปี่ ลูกสว่ นใหญค่ ือ ผกั กาด ผกั บงุ้ มันแกว มนั เทศ ถ่วั งอก
-ฤดนู ำ้ หลาก
เมื่อยา่ งเข้าเดือนเก้า น้ำก็จะหลากมาจากทางเหนือ เหมือนเป็นส่งิ ทีเ่ ดก็ ๆ สมยั นัน้ รอคอย ผู้ร่วมเวที
เล่าด้วยความสนกุ สนานถงึ ฤดูกาลแหง่ การเลน่ นำ้ ซง่ึ เด็กในสมัยน้นั จะวา่ ยนำ้ เป็นกันเกือบทุกคนโดยเฉพาะ
เด็กผ้ชู าย ในสมัยก่อนจะมพี ่อคา้ เรช่ าวมอญมาขายของ เรอื มอญเหลา่ น้จี ะมาจอดเทียบท่ากนั ตามรมิ แมน่ ำ้ ท่ี
ละหลาย ๆ ลำสนิ คา้ สว่ นใหญ่ท่ีนำมาชายได้แก่ โอง่ ไห กะปิ เกลือ ชาวบ้านก็จะซื้อเก็บไว้เพ่ือไวใ้ ช้ นำ้ ที่
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 20 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอยกู่ ับสายนำ้
หลากมาในสมัยน้นั จะแรงมาก แรงถึงกบั ชาวแพท่อี าศัยอยู่บริเวณเหนือขึน้ ไปแพแตก ไม้ก็จะลอยเต็มลำนำ้ ไป
หมดโดยเฉพาะเมื่อมาถงึ บา้ นคลองน้ำหัก ดว้ ยสภาพลำน้ำคดเคยี้ วไปมา
การปรบั ตัวกบั สภาพของสายน้ำ ทำอย่างไร
น้ำทีล่ ้นจากแม่น้ำมาจะกระจายไปทวั่ เพราะในสมยั นั้นยังไม่มถี นนเลียบรมิ น้ำ น้ำจงึ ไม่ทว่ มสูงอย่าง
มากก็แคต่ าตุ่มข้อเท้า บ้านเรือนสว่ นใหญจ่ ะเป็นบ้านไม้ใต้ถุงสงู ไมม่ ีขา้ วของเคร่ืองใช้อะไรมากมายอยูใ่ ต้ถุน
เหมอื นรอคอยใหน้ ำ้ มาทว่ มเพราะจะไดไ้ ล่ขป้ี ลวกบนดนิ เหมอื นนำ้ มาทำความสะอาดใต้ถงุ บา้ นให้ และเม่ือน้ำ
มาก็จะพดั เอาตะกอนมาด้วยคนในสมัยนั้นจึงนิยมปล่อยน้ำทว่ มเข้าไปในสวนเพื่อเพ่ิมปุย๋ ใหก้ บั สวนผลไม้
ผลไม้ทปี่ ลกู ส่วนใหญจ่ ะเป็น มะพรา้ ว ละมดุ ขนนุ กลว้ ย เพอ่ื เอาไวแ้ ลกกับขา้ วสาร ซึ่งจะมคี นอีกหมู่บ้านนำ
ขา้ วสารมาแลกกบั ผลไม้ของชาวบา้ นคลองน้ำหัก นอกจากนี้น้ำยังใหแ้ หลง่ อาหารกับคนในหมบู่ า้ นน้อี ีกด้วย
คอื เม่ือน้ำมาปลากจ็ ะมากับน้ำดว้ ย ซ่ึงแต่เดมิ บา้ นคลองน้ำหักเปน็ แหล่งทม่ี ีปลาชกุ ชุมมากมาย ถึงขนาดเอามือ
ไปควา้ นใต้ซุงทีล่ อยน้ำมาก็ได้ปลามาเปน็ ปีบ ลำนำ้ จึงเตม็ ไปดว้ ยผคู้ นและเคร่ืองมือหาปลานานาชนดิ เพอื่ นำ
ปลาท่ีได้มาทำ ปลายา่ ง ปลาเคม็ และน้ำปลา ไวร้ บั ประทานเอง ปลาก็จะมมี ากมายหลายชนดิ อาทิเช่น ปลา
ไสต้ นั ปลาสร้อย ปลากรด ปลากล้วย ปลาทอง ในสมัยน้นั แทบทุกบา้ นจะมไี หน้ำปลาและจะต้มนำ้ ปลากิน
เอง นำ้ ที่ท่วมก็จะท่วมไมน่ าน ประมาณ 3-5 วันน้ำกจ็ ะลดแลว้ เพราะมคี ลองสำหรับระบายนำ้ มากมาย
ตำบลกงไกรลาศ หรอื เกาะกง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เปน็ ตำบลท่ีตั้งอยูร่ มิ แมน่ ้ำยม โดยมเี กาะอยู่
ตรงกลางแม่น้ำซ่งึ เกาะดังกล่าวแตเ่ ดิมเคยเป็นทีต่ ้งั ของท่ีวา่ การอำเภอเก่า สมัยท่ียังเป็นแขวงกงไกรลาศและ
นายอำเภอคนแรกคอื พระกงไกรลาศ สันนิฐานว่า วัดกงไกรลาศก็ตงั้ ช่อื ตามนายอำเภอคนแรก ในสมยั น้ันจะใช้
การคมนาคมโดยทางน้ำเป็นส่วนใหญบ่ ริเวณทวี่ า่ การอำเภอ จงึ รายล้อมไปดว้ ยเรือนแพทั้งสองฝ่งั แมน่ ้ำยมจะ
กว้างมากถงึ ขนาดมีเรือมอญมาคา้ ชายสินค้ากันโดยเทยี บทา่ ทฝี่ ง่ั ตรงกนั ข้ามกับท่วี ่าการอำเภอในสมยั นน้ั
ชาวบ้านส่วนใหญจ่ ะอยอู่ าศัยกนั บนแพเน่ืองจากเปน็ กลุ่มคนท่ีอพยพมาจากทางใต้(กรุงเทพ,สุพรรณบรุ ี
,สิงหบ์ ุรี) ล่องแพทวนนำ้ ข้นึ มาลมุ่ นำ้ ไหนเหมาะแก่การอยอู่ าศยั กจ็ ะรอดแพพกั อาศยั และตง้ั ถิ่นฐาน ภาษาทใ่ี ช้
สว่ นใหญจ่ งึ เปน็ ภาษาของภาคกลาง ไมใ่ ชภ่ าษาถนิ่ ของบ้านกงหรอื ภาษาถิน่ ของสโุ ขทัย ชาวแพจะประกอบ
อาชีพเลยี้ งปลาหรือหาปลาขาย ทำปลาร้า ปลาเกลือ ปลาย่าง ไว้แลกข้างกับคนบนบา้ น(คนจากตำบลอื่นหรือ
คนที่อยู่บนบก สว่ นคนในแพจะเรียกวา่ คนในนำ้ ) และใช้น้ำในลำน้ำยมเพ่ืออปุ โภคและบรโิ ภค
-ฤดแู ลง้
ในฤดูแลง้ น้ำในลำนำ้ ยมจะลดจนเหน็ หาดทรายทง้ั 2 ฝั่ง แตต่ รงส่วนกลางแม่นำ้ ก็ยังมีนำ้ อยู่และ
สามารถข้ามฝั่งไปมาหากันได้ บริเวณชายหาดจะใชป้ ลกู ผกั ปลกู ยาสบู และตากแหง้ ห่นั เพอื่ ไว้แลกข้าว ปลาจะ
หาไดต้ ลอดปี ลำนำ้ ยมบรเิ วณเกาะกงเปน็ แหล่งปลาชุกชุมถอื เปน็ แหลง่ ผลิตปลารา้ และน้ำปลาทีใ่ หญ่ที่สดุ ใน
จังหวัดสุโขทยั จนถงึ ปจั จุบันปลารา้ ของบา้ นกงมชี อื่ เสยี งมาก
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 21 ภูมปิ ัญญาไทย : การอยกู่ ับสายน้ำ
-ฤดนู ้ำหลาก
ฤดูน้ำหลาก ช่วงเดือน 9 – 11 น้ำขึน้ มาเร่ือย ๆ จะล้นแม่น้ำ ผู้คนทอี่ าศัยอยู่บนแพจะไม่มปี ญั หาและ
จะหาปลากินเปน็ อาหารเม่ือหาได้เยอะกจ็ ะขายเพื่อนำไปซื้อข้าวหรอื อาหารอ่นื ๆ เมื่อน้ำมามากย่อมสร้าง
ความเสียหายให้กบั แพ ชาวแพก็จะเข้าปา่ เพื่อหาไมไ้ ผต่ ามรมิ แม่นำ้ มาซอ่ มแซมแพทีต่ นอยอู่ าศัย แต่ชว่ งหลงั ๆ
ไมไ้ ผ่เร่ิมหายากข้นึ และมีราคาสงู ขึ้น จึงเร่ิมย้ายจากแพมาอยบู่ นบกบรเิ วณรมิ แม่นำ้ และใชเ้ รือเป็นพาหนะ เรอื
ทีใ่ ช้เป็นเรือมาตร(เรือขดุ ) ในสมัยนนั้ หลวงพ่อไกรลาศเจา้ อาวาสวัดกงไกรลาศ จะนำชาวบา้ นลงเรอื นำผ้าปา่
ไปทอดตามวดั ต่าง ๆ โดยเป็นผา้ ปา่ จากวดั กงไกรลาศ(วดั วิหารลอย : ไมว่ า่ น้ำจะทว่ มสูงขนาดไหนก็จะไมท่ ่วม
ในสว่ นของวิหาร ซง่ึ มีหลวงพอ่ โตประดิษฐานอยู่ จากคำบอกเลา่ เดิมหลวงพ่อโตองค์เดิมทำจากสำริดและนำ
ปูนมาโบกปดิ ไว้เพ่อื กันหาย โดยจะโบกปูนทับหลายชนั้ หลวงพ่อโตพบในปา่ บริเวณริมน้ำและสร้างเป็นวัดใน
บริเวณท่ีพบซึ่งเปน็ วัดวหิ ารลอยในปัจจุบนั ) และจะมีการแขง่ เรือบรเิ วณท่านำ้ หน้าวัด โดยเรอื ท่ใี ชแ้ ขง่ จะเปน็
เรือทช่ี าวบา้ นใชห้ าปลา ในสมยั น้ันทา่ น้ำบริเวณกงเกาะจะคกึ คักมากมีทา่ เรือโดยสาร เป็นแหล่งค้าขาย แหล่ง
ซอื้ ขายแลกเปลย่ี นสินค้าโดยเฉพาะข้าว
การปรบั ตัวกับสภาพของสายนำ้ ทำอยา่ งไร
เนื่องจากเปน็ ชมุ ชนที่อาศยั อยู่บนแพเปน็ สว่ นใหญ่ ไม่ว่าน้ำจะมากหรือน้อยก็สามารถอาศยั อยู่บนแพ
ได้และในลำนำ้ ตลอดปีกส็ ามารถหาปลาได้ ในช่วงหนา้ แล้งกป็ ลกู ผักกิน หรือเก็บพืชน้ำกิน อาทิเช่น ผักบุ้ง
โสน สายบัว
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 22 ภูมปิ ญั ญาไทย : การอยกู่ ับสายนำ้
2.ลำน้ำแม่มอก ในฤดูแล้ง น้ำในลำน้ำหัวฝายจะมีไม่มากเท่าฤดูน้ำหลากแต่น้ำไม่เคยแห้ง มีน้ำ
สำหรับใช้อุปโภค/บริโภคตลอดปี ลำนำ้ หัวฝายนมี้ ีฝายธรรมชาติเป็นชว่ ง ๆ ไดแ้ ก่ ฝายแม่บ่อทอง ฝายแม่ถัน
ฝายทุ่งเสลี่ยม โดยฝายธรรมชาติน้ีมีมาแต่ด้ังเดิมเป็นฝายน้ำล้น ชาวบ้านในสมัยก่อนช่วยกันสานไม้ไผ่เพ่ือกั้น
ลำน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ลักษณะคล้ายฝายแม้ว เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแม่มอกเกิดข้ึน ทำให้ชาวบ้านมีน้ำสำหรับ
อุปโภค/บริโภคมากข้ึน จนสามารถทำนาได้ 2-3 คร้ัง/ปี จากเดิมที่ทำแต่นาปีเพียงครั้งเดียว ทำให้มีปลาชุก
ชมุ มากกว่าเดิมและมีปลาหลากหลายชนิดเพ่ิมมากขึ้นเน่อื งจากหน่วยงานรัฐไดป้ ล่อยพันธุ์ปลาลงในอ่างเกบ็ น้ำ
แม่มอก ส่วนในฤดูน้ำหลากแต่เดิมน้ำจะหลากมาจากทางเหนือประมาณช่วงเดือนกันยายน น้ำมามากก็จะล้น
ลำน้ำท่วมเข้าไปในนาแต่ในสมัยน้ันน้ำจะท่วมไม่นานคือประมาณ 2-3 วันก็จะกลับสู่สภาพเดิม พันธ์ุข้าวส่วน
ใหญ่จะเป็นข้าวนาปี ข้าวฟางลอย เป็นต้นเมื่อน้ำมาส่ิงที่มากับน้ำคือปลา ชาวบ้านก็จะออกจับปลาด้วย
เคร่ืองมือหาปลานานาชนิด อาทิ สวิง ยอ แห ข่าย เพื่อนำมาทำปลาย่าง ปลาร้า และปลาเค็ม เพ่ือไว้
รับประทานกันเองในครัวเรือน
การปรบั ตัวกับสภาพของสายน้ำ ทำอย่างไร
- ลำน้ำแมม่ อก
เม่ือน้ำมาชาวบ้านจะย้ายสัตว์เล้ียงไปอยู่ในที่สูง และเก็บข้าวของให้พ้นจากน้ำ จัดเตรียมข้าวสาร
อาหารแห้ง ไฟฉาย เทียนไข อปุ กรณ์สำหรับนึ่งข้าวเพ่ือยา้ ยไปอยู่ที่วดั โดยสังเกตจากฝนท่ีตกติดต่อกันหลาย
วัน ทำให้น้ำเริ่มเพ่ิมระดับสูงข้ึนเร่ือย ๆ ชาวบ้านก็จะเตรียมตัวอพยพ ใช้วิหารของวัดเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อน้ำ
หลากชาวบ้านก็มีการทำนามากขน้ึ จาก 1 ครั้ง เป็นปีละ 3 ครั้ง มีปัญหาเรอื่ งการเปิด-ปิดประตูนำ้ บา้ งแตก่ ็ยงั มี
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 23 ภูมปิ ัญญาไทย : การอยกู่ บั สายนำ้
การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยผู้ใช้น้ำและผู้ที่อยู่ต้นน้ำแต่ก็ตกลงกันได้ด้วยดี ปลาเริ่มน้อยลง
เน่อื งจากมีชาวบ้านมาหากนิ กนั มากขนึ้
กรณีศกึ ษา ในพื้นที่
หมทู่ ี่ 7 บ้านหวั ฝาย อ.ท่งุ เสลย่ี ม จ.สโุ ขทัย ต้ังตามลักษณะของลำน้ำซึ่งเปน็ ตน้ นำ้ ลำน้ำนแ้ี ยกมา
จากเขาผีปันนำ้ ผา่ นตำบลต่าง ๆ ไดแ้ ก่ กลางดง ทงุ่ เสล่ียม บ้านใหม่ ไทยชนะศึก ลอ่ งใต้ไปสมทบกบั ลำนำ้
คลองด้วงลงลำน้ำยม ลักษณะลำนำ้ จะกวา้ งและมหี าดทราย นำ้ ใสมีน้ำตลอดปีไมแ่ ห้งขอด
-ฤดแู ล้ง
ในฤดแู ลง้ น้ำในลำนำ้ หัวฝายจะมีไม่มากเทา่ หนา้ น้ำหลากแต่น้ำไมเ่ คยแห้ง มนี ำ้ สำหรบั ใชอ้ ุปโภค/
บรโิ ภคตลอดปี ลำน้ำหวั ฝายนม้ี ฝี ายธรรมชาติเป็นชว่ ง ๆ ไดแ้ ก่ ฝายแม่บ่อทอง ฝายแม่ถนั ฝายทุง่ เสล่ยี ม
โดยฝายธรรมชาติน้ีมีมาแต่ดัง้ เดิมเปน็ ฝายนำ้ ล้น ชาวบ้านในสมัยกอ่ นชว่ ยกันสานไม้ไผ่เพ่ือก้นั ลำน้ำเพ่ือกักเกบ็
นำ้ ไว้ใช้ ลกั ษณะคล้ายฝายแม้ว
เมอ่ื มีอ่างเกบ็ น้ำแมม่ อกเกดิ ขึ้น ทำให้ชาวกลางดงมีน้ำสำหรับอุปโภค/บรโิ ภคมากขน้ึ จนสามารถทำ
นาได้ 2-3 ครั้ง/ปี จากเดมิ ท่ีทำแตน่ าปเี พียงครง้ั เดยี ว ทำใหม้ ปี ลาชกุ ชมุ มากกว่าเดิมและมปี ลาหลากหลาย
ชนิดเพิม่ มากข้นึ เน่ืองจากหน่วยงานรฐั ไดป้ ลอ่ ยพันธุป์ ลาลงในอ่างเกบ็ นำ้ แมม่ อก
-ฤดนู ำ้ หลาก
แตเ่ ดมิ น้ำจะหลากมาจากทางเหนือประมาณช่วงเดอื นกนั ยายน นำ้ เตม็ ลำน้ำหวั ฝายถา้ นำ้ มามากก็จะ
ล้นลำนำ้ ท่วมเขา้ ไปในนาแต่ในสมยั น้ันน้ำจะทว่ มไมน่ านคอื ประมาณ 2-3 วนั กจ็ ะกลับสู่สภาพเดิม เม่ือนำ้ มา
ส่งิ ท่ีมากับน้ำคือปลา ชาวบ้านก็จะออกจับปลาด้วยเครื่องมือหาปลานานาชนิด อาทิ สวิง ยอ หรอื ท่ีเรียก
เปน็ ภาษาทุ่งเสลย่ี มว่า จำ๋ แห ข่าย เพื่อนำมาทำปลาย่าง ปลาร้า และปลาเค็ม เพ่ือไวร้ ับประทานกนั เอง
ในครัวเรือน
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 24 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
การปรับตัวกับสภาพของสายน้ำ ทำอยา่ งไร
เม่ือน้ำมาชาวบา้ นจะย้ายสัตว์เลีย้ งไปอยู่ในทส่ี งู และเกบ็ ข้าวของในพน้ จากนำ้ จดั เตรยี มขา้ วสาร
อาหารแห้ง ไฟฉาย เทยี นไข อุปกรณส์ ำหรับน่ึงขา้ วเพื่อย้ายไปอยู่ทว่ี ัด โดยสังเกตจากฝนท่ีตกตดิ ต่อกนั หลาย
วัน ทำให้น้ำเริ่มเพิ่มระดบั สูงขึ้นเร่อื ย ๆ ชาวบา้ นก็จะเตรียมตวั อพยพ ใชว้ หิ ารของวดั เป็นทอี่ ยู่อาศัย
ตำบลบ้านไร่ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทยั เปน็ ตำบลท่มี ีแม่น้ำเพ่ือใชใ้ นการทำการอุปโภค-บริโภค คือแมน่ ำ้
ฝากระดาน(เป็นชื่อเรยี ก ลำนำ้ แม่มอกของชุมชนน้ี) ทมี่ าของลำน้ำฝากระดานสันนษิ ฐานวา่ นา่ จะมาจากลำนำ้
น้ีมีไม้ ท่อนซุง และไม้ท่ถี ูกเลื่อยเป็นฝากระดาน ไหลลอ่ งมาจากทางเหนือและมาทจี่ ุดนีม้ าก เพราะมีหมบู่ ้าน
แถวลำนำ้ ไหลผ่าน มชี ่ือบา้ นว่าบา้ นขอนซุง วถิ ีชีวติ ของคนในสมัยก่อนจะใช้ลำน้ำฝากระดานทงั้ ในการกนิ และ
การใช้ ลำน้ำมีขนาดกวา้ งประมาณ 10 เมตร ลกึ ประมาณ 3 เมตร ปากลำน้ำกว้างประมาณ 15 เมตร เลาะ
ตามหมูบ่ า้ น ไหลผ่านหมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 7 และหมู่ 11 ของตำบลบ้านไร่ ไหลไปลงคลองไอ้เบย้ี ไหลไปตามคลอง
ลำใน(หมู่ 4) คลองแม่สลา ไหลไปวงั ใหญ่(ลงคลองชดั ) น้ำใสสะอาด ใช้ในการเลย้ี งวัว เลี้ยงควาย ทำนา
ลกั ษณะดินเป็นดินเหนียว เป็นแหล่งรวบรวมปลาหลายชนิด เช่น ปลาตะเพยี น ปลาหมอ ปลากด ปลา
เนื้ออ่อน เป็นต้น โดยลำน้ำจะมีทำนบก้นั นำ้ เปน็ ช่วง ๆ โดยใชแ้ รงงานคนขุด (ขุดช่วงฤดูแลง้ )
-ฤดูแลง้
ในฤดูแล้ง น้ำในแม่นำ้ ฝากระดานยงั คงมนี ำ้ ตามประตนู ้ำไว้สำหรับบริโภค-อุปโภค และใชใ้ นการเล้ียง
ววั เล้ียงควาย ทำนาปลี ะ 1 ครัง้ มยี ้งุ ฉางเก็บขา้ ว คลองพม่าจะมาคูก่ ับลำน้ำแม่กระดาน หนองหลวง หนอง
สองหอ้ ง มีเรือมอญ ขนนำ้ ปลา กะปิ โอง่ ตโู้ บราณ เพื่อเอามาแลกเปล่ียน และซื้อขายกับชาวบา้ น ขา้ วสาร ทำ
ทำนบกน้ั นำ้ เป็นชว่ ง ๆ แยกเปน็ วงั
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 25 ภมู ิปญั ญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
-ฤดนู ้ำหลาก
เม่อื ยา่ งเข้าพรรษา ช่วงลอยกระทง ทว่ มประมาณ 2 เดือนข้าวของไม่เสียหายมากนัก เพราะน้ำเปน็
ลกั ษณะไหลผ่าน สามารถพายเรือไปทุ่งนาได้ ในสมัยกอ่ นจะมพี ่อค้าเร่ชาวมอญมาขายของ พนั ธข์ุ ้าวส่วนใหญ่
จะเป็นข้าวนาปี ข้าวฟางลอย เมือ่ ได้ผลผลติ แลว้ กใ็ สเ่ กวยี นไปขายท่ีท่ายายล้อม (หัวสะพาน ต.คลองตาล) และ
ซอื้ เครื่องครัว เครื่องนุ่มหม่ ยารักษาโรคจากตลาด สว่ นพนั ธุ์ข้าวไม่ต้องซื้อพนั ธุ์ข้าวแลกเปลยี่ นจากเพื่อนบา้ น
และยืมกนั ในหมบู่ า้ น
การปรับตัวกับสภาพของสายนำ้ ทำอยา่ งไร
เมอื่ ถึงฤดูนำ้ หลาก มีการทำนามากขน้ึ จาก 1 ครั้ง เป็นปีละ 3 คร้ัง มีปญั หาเร่ืองการเปิด-ปิดประตูนำ้
บ้างแต่ก็ยังมกี ารบริหารจดั การน้ำอย่างเปน็ ระบบ โดยผ้ใู ชน้ ำ้ และผทู้ ี่อยู่ตน้ นำ้ แต่กต็ กลงกนั ไดด้ ้วยดี ปลาเริม่
น้อยลงเนื่องจากมชี าวบ้านมาหากินกนั มากขึ้น
3. คลองแม่รำพัน แต่เดิมเป็นคลองลึกและกว้าง มีน้ำใช้ตลอดปี ในฤดูแล้งน้ำในคลองแม่รำพันจะ
แห้ง ชาวบ้านบริเวณริมน้ำจะทำบ่อทรายเพื่อจะนำน้ำไปใช้ และจะใช้ลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมของล้อ
เกวียน ส่วนฤดูน้ำหลาก น้ำจะไม่ท่วมคลองแม่รำพัน แต่ถ้าน้ำมามากก็จะล้นคลองเข้าไร่นาแต่ผลผลิตไม่
เสียหายน้ำผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ในสมัยน้ันจะทำนาปีละครง้ั น้ำมาในช่วงลอยกระทง ข้าวก็จะเร่ิมท้องแก่เม่ือ
นำ้ หลากมาก็จะผา่ นไปเม่ือนำ้ ผ่านไปกจ็ ะเกี่ยวข้าวไปพอดี
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 26 ภมู ปิ ญั ญาไทย : การอยกู่ ับสายน้ำ
การปรับตัวกบั สภาพของสายนำ้ ทำอยา่ งไร
- คลองแมร่ ำพัน
น้ำในคลองแม่รำพันส่วนใหญ่ จะใช้ในการเกษตรท้ังเลี้ยงสัตว์และทำนา เพราะคลองแม่รำพันจะไหล
ผ่านทุ่งนาเป็นส่วนใหญ่ สัตว์น้ำในคลองแม่รำพันจะมาจากไร่นา เมื่อน้ำท่วมและน้ำลดก็จะพา กุ้ง หอย ปู
ปลา มาอย่ใู นคลองโดยจะมีปลาซิว ปลาสรอ้ ยเป็นส่วนใหญ่ แต่บรเิ วณวัดบางขวางจะมีปลาค้าวเยอะมาก เมื่อ
น้ำมาปลาค้าวก็จะมากับน้ำ ชาวบ้านจะมีแหลง่ อาหารเพ่ิมจากปลาและพืชน้ำ ฤดูน้ำหลากชาวบา้ นส่วนใหญ่ก็
เตรียมขนข้าวของขึ้นท่ีสูง เพราะน้ำที่หลากมาไม่ท่วมหลายวัน จึงไม่ต้องเตรียมอาหารแห้งไว้ เพราะชาวบ้าน
สามารถออกไปซอื้ มาไวร้ ับประทานได้
กรณศี กึ ษา ในพน้ื ท่ี
ตำบลเมืองเก่า อ.เมอื ง จ.สุโขทยั คลองแมร่ ำพัน แต่เดิมเป็นคลองลกึ และกว้าง มีน้ำใช้ตลอดปี
ส่วนใหญ่จะใช้นำ้ ในการทำการเกษตรโดยจะใช้คกู่ บั สระตระพงั ทอง คนเมืองเก่าจะใชน้ ้ำกนิ จากสระตระพัง
ทอง-ตระพังเงนิ น้ำใช้จะใช้สระตระพงั ตะกวน (น้ำในสระมาจากโซกพระรว่ งผา่ นเขื่อนสรีดภงศ์ แล้วเขา้ คู
โบราณเขา้ มาอย่ใู นสระ) ในสมยั นั้นผู้คนในหมู่บ้านอนื่ ๆ จะนำเกวียนมาลากนำ้ ไปกนิ ไปใช้ โดยใช้ปี๊บมาใสน่ ำ้
คนเมอื งเกา่ จะใช้หาบมาหาบน้ำในสระเข้าไปใชใ้ นบา้ น ในสมยั น้นั นำ้ ในสระจะใสและสะอาดมาก นำ้ ไดถ้ ่ายเท
เพราะมีคนมาตกั ไปใชต้ ลอดเวลา เม่ือนำ้ ลน้ สระก็จะระบายจากสระตระพงั ลงคลองแมร่ ำพนั
-ฤดแู ล้ง
ในฤดแู ลง้ นำ้ ในคลองแม่รำพนั จะแห้ง ชาวบ้านบรเิ วณริมน้ำจะทำบอ่ ทรายเพื่อจะนำน้ำไปใช้ และ
จะใช้ลำน้ำเป็นเสน้ ทางคมนาคมของลอ้ เกวยี น
-ฤดูนำ้ หลาก
ในฤดนู ำ้ หลาก นำ้ จะไม่ทว่ มฝั่งเมืองเก่า จะล้นคลองเขา้ ไร่นาฝ่ังตรงกนั ขา้ ม แตผ่ ลผลิตไมเ่ สยี หายน้ำ
ผา่ นมาแล้วกผ็ า่ นไป ในสมยั น้ันจะทำนาปีละครง้ั น้ำมาในชว่ งลอยกระทง ขา้ วก็จะเรมิ่ ทอ้ งแกเ่ มื่อน้ำหลากมา
กจ็ ะผา่ นไปเมื่อนำ้ ผ่านไปก็จะเกย่ี วขา้ วไปพอดี
การปรับตวั กบั สภาพของสายน้ำ ทำอย่างไร
น้ำในคลองแม่รำพนั ส่วนใหญ่ จะใชใ้ นการเกษตรทัง้ เล้ียงสัตวแ์ ละทำนา เพราะคลองแม่รำพนั จะไหล
ผ่านทุง่ นาเป็นส่วนใหญ่ สัตวน์ ้ำในคลองแมร่ ำพนั จะมาจากไรน่ า เม่ือน้ำท่วมและลดนำ้ กจ็ ะพา กงุ้ หอย ปู
ปลา มาอยใู่ นคลองโดยจะมปี ลาซิว ปลาสร้อยเป็นสว่ นใหญ่ แตบ่ ริเวณวัดบางขวางจะมีปลาค้าวเยอะมาก เมื่อ
นำ้ มาปลาคา้ วกจ็ ะมากบั นำ้ ชาวบ้านจะมแี หล่งอาหารเพ่มิ จากปลาและพชื นำ้
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 27 ภมู ิปัญญาไทย : การอยู่กับสายนำ้
กจิ กรรมท้ายบท
1. ถ้าผูเ้ รยี นตง้ั ถิ่นฐานอยู่รมิ แมน่ ำ้ ยม ผเู้ รียนจะปรับตัวให้เขา้ กับสภาพของสายน้ำได้อยา่ งงไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. ใหผ้ ู้เรยี นอธบิ ายสภาพของสายนำ้ สมยั ก่อน 30 ปีท่ีผา่ นมา
- แมน่ ้ำยม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- ลำนำ้ แมม่ อก
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 28 ภมู ิปญั ญาไทย : การอยกู่ ับสายน้ำ
- คลองแม่รำพนั
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ผ้เู รียนจะมวี ิธบี ริหารจัดการกบั สายน้ำได้อย่างไร
- ฤดนู ำ้ หลาก
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- ฤดแู ล้ง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………….…..…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 29 ภมู ิปัญญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ
4. สภาพแม่นำ้ ยมในปจั จุบนั ผูเ้ รียนจะมวี ิธกี ารบรหิ ารจดั การอย่างไร ทีจ่ ะมีน้ำใชใ้ นการอปุ โภคตลอดทั้งปี ได้
อยา่ งไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………….…..…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ใหผ้ เู้ รียนยกตวั อย่างภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารจัดการแหล่งนำ้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 30 ภมู ปิ ญั ญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
บทท่ี 3
ศาสตรข์ องในหลวงกบั การจัดการนำ้
สาระสำคญั
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ เป็นการเรียนรู้เร่ืองศาสตร์อง
ในหลวงกบั การจัดการน้ำ
ผลการเรียนรทู้ ีค่ าดหวงั
เพอื่ ให้ผเู้ รียนมคี วามรู้ ความเข้าใจ ตระหนักเกี่ยวกับศาสตรข์ องในหลวงกับการจดั การน้ำ
ขอบข่ายเนื้อหา
เรือ่ งที่ 1 ศาสตรข์ องในหลวงกับการจดั การน้ำ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 31 ภูมิปัญญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
เรื่องท่ี 1 ศาสตร์ของในหลวงกบั การจดั การน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายในการศึกษาพัฒนาและการจัดการ
ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ราษฎรมีนำ้ กิน นำ้ ใช้และเพื่อการเพาะปลกู เพราะทรงตระหนักและรบั สั่งเสมอวา่ “นำ้ คือ
ชีวิต” ตลอดหลายปที ี่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั ได้ทรงคดิ คน้ และแสวงหาวิธตี ่างๆ ทเี่ หมาะสมเพื่อ
แก้ไขและบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่เก่ียวกับ “น้ำ” ท้ังการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเน่าเสีย ท่ีส่งผลกระทบ
ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละพ้ืนที่ โดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริต่างๆ ท่ัวภูมิภาคของประเทศ เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์
ทรัพยากรน้ำ รวมไปถึงการฟื้นฟูดินและป่าตามแนวพระราชดำริ เพ่ือเผยแพร่ให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้
และนำแบบอย่างไปปรับใช้ใหเ้ หมาะสมกับตนเอง
การท่ีประชาชนหรือในระดบั ชุมชนได้มีโอกาสนอ้ มนำแนวพระราชดำรเิ พือ่ จดั การทรพั ยากรน้ำไป
ใช้ จะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคงในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย
เพราะประเทศไทยมีชุมชนมากกว่า 6 หมื่นชุมชน การสนับสนุนให้ระดับชุมชนมีระบบบริหารจัดการน้ำที่ดี
และมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ำ และยังสามารถขยายผลแนวทางการ
จัดการทรัพยากรน้ำไปสู่ชุมชนอื่นๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายการทำงานท่ีมีกระบวนการคิด ไตร่ตรอง ตัดสินใจ
และลงมือทำร่วมกัน ภายใต้การบริหารจัดการของชุมชน และเพ่ือนบ้าน รวมท้ังประสานการพัฒนากับ
หน่วยงานต่างๆท่ีรับผิดชอบท้ังในระดับชุมชน และระดับประเทศ เพ่ือไปสู่แนวทางการพัฒนาการจัดการน้ำ
อยา่ งมน่ั คง สมดุล และยัง่ ยนื
แนวพระราชดำริในการจัดการทรพั ยากรนำ้
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม กิจกรรมการใช้น้ำส่วนใหญ่ของประเทศจึงเป็นเพ่ือการ
เกษตรกรรม ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน คนในแต่ละ
ภูมิภาคมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการจัดการทรัพยากรน้ำให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำเพราะขาดแหล่งสำรองน้ำ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่เอ้ืออำนวยให้
พฒั นาแหลง่ กกั เกบ็ น้ำ ภาคเหนือประสบปัญหาแหลง่ ตน้ น้ำ ปา่ ไม้ถกู ทำลาย เปน็ ผลให้เกดิ ดินถล่มและนำ้ ทว่ ม
ตามมา ภาคกลางเป็นที่ราบล่มเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง บางพ้ืนที่มีระดับตำ่ กว่าน้ำทะเลเป็นเหตุให้น้ำขังต่อเน่ือง
น้ำทะเลรุกเข้ามา ภาคใต้อยู่ในแนวมรสุมมักเกิดอุทกภัยอยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้ประเทศไทยยงั ประสบปัญหาน้ำ
เนา่ เสยี จากชมุ ชน การเกษตร อุตสาหกรรม
ทุกปัญหาขา้ งต้นน้ี ลว้ นอยู่ในความสนพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทรง
มุ่งมั่นท่ีจะพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่า ด้วยโครงการพัฒนาหรือจัดหาแหล่งน้ำ ใน
รูปแบบต่างๆมาโดยตลอด ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกพื้นที่ของแผ่นดินไทย พระองค์ได้ทรงใช้โอกาสน้ี
สำรวจและบันทึก ข้อมูลภูมิสังคม ทรงได้รับฟังและทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปของชนบทไทย ทรง
รวบรวมประมวลปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งเร่ืองการอนุรักษ์ดิน ป่า หรือน้ำ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 32 ภูมิปัญญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง “นำ้ ” ท่ีได้ทรงทอดพระเนตรและวิเคราะห์สภาพปัญหาแหล่งน้ำ ใน 3 มิติ คือ ภาพ
ทางอากาศ ภาพทางบกหรือท่ีตั้งทางภูมิศาสตร์ และภาพทางสังคม ซ่ึงกล่าวได้อีกนัยหน่ึงคือพระองค์ท่านได้
ทรงทำ “แผนท่ีทางสังคม” หรือท่ีเรียกว่า Social Mapping ของประเทศด้วยพระองค์เอง กล่าวกันว่าใน
หลวงทรงมีข้อมูลแหล่งน้ำมากท่ีสุดและดีที่สุดในประเทศไทย ราษฎรและรัฐบาลได้ทูลเกล้าถวายพระราช
สมญั ญาวา่ “พระบดิ าแหง่ การจัดการทรพั ยากรนำ้ ”
ในหลวงกับการพฒั นาแหลง่ นำ้
หลังจากได้เถลงิ ถวลั ย์ราชสมบตั แิ ล้วใน พ.ศ. 2495 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงาน
ชลประทานตา่ ง ๆ ทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างย่ิงในพื้นท่ีหา่ งไกลแรน้ แคน้ อยนู่ อกเขตการพฒั นาตามแผน
ปกติของทางราชการ ทรงทำหนา้ ทปี่ ระมุขของชาติอยา่ งมไิ ด้ทรงยอ่ ท้อหรือเหน่อื ยหนา่ ยพระราชหฤทยั ใน
การช่วยรฐั บาลส่งเสรมิ พฒั นาแหลง่ น้ำให้ราษฎรทย่ี ากจนขาดแคลนนำ้ ได้มนี ้ำใชส้ นองการยงั ชพี ขั้นพ้ืนฐาน
มนี ้ำใช้ทำการเกษตรได้อยา่ งพอมพี อกิน และใหก้ ารสนบั สนุนต่อไปจนถงึ ข้ึนมกี ินมีใช้
สำหรับจุดเริ่มต้นที่ทำให้พระองค์ทรงเห็นว่า “น้ำคือชีวิต” น้ันเกิดข้ึนที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ซึ่งเป็น
หมู่บ้านเล็กๆ ติดทะเล ใกล้เขาที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนเต่า ที่ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ชาวบา้ นท่ีบ้านเขาเต่ามอี าชีพประมงมาแต่คร้ังรุ่นปู่ย่าตายาย แต่ในสมัยน้ันชวี ิตความเป็นอยู่
ยากลำบากกว่าในปัจจุบันมาก ถนนหนทางก็ลำบาก เป็นดินเลน มีหลุมบ่อเต็มไปหมด ไม่มีน้ำสำหรับด่ืมกิน
ต้องไปหาบมาจาก “ตาน้ำ” ท่ีมีอยู่ในหมู่บ้าน และยังไม่มีน้ำสำหรับการปลูกพืชอีกด้วย อีกทั้งดินก็ไม่
เอ้ืออำนวยตอ่ การเพาะปลูกเลย
จนกระท่ังในปี พ.2496 พระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปบ้านเขาเต่า
ซง่ึ เปน็ โรงเรียนธรรมชาติแห่งแรกท่ีได้ทรงศึกษาปญั หาทง้ั เรอื่ ง “น้ำ” และ “ดิน” โดยทรงเริ่มแกไ้ ขปัญหาการ
ขาดแคลนน้ำจืดของชาวบ้านเป็นลำดับแรก โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 60,000 บาท แก่
กรมชลประทาน ก่อสร้างทำนบดินปิดก้ันน้ำทะเลไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล และปล่อยท้ิงไว้ให้ความเค็มเจือจาง ทำ
ใหเ้ กดิ เปน็ อ่างเกบ็ น้ำสำหรบั ชาวบา้ นไดใ้ ช้ในการอุปโภค บรโิ ภค เลยี้ งปลา รวมทั้งเพ่อื การเพาะปลูกพชื
จากจุดเร่ิมต้นท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเย่ียมเยียนประชาชนในถิ่น
ทุรกันดาร และได้รบั ร้ถู ึงความยากลำบากของประชาชน ในการแสวงหาการใช้ประโยชน์จากน้ำ กอปรกับทรง
ตระหนักอยู่เสมอว่า “น้ำ” มคี วามสำคญั ตอ่ การประกอบอาชพี และการดำรงชวี ิตของราษฎรในชนบท ทง้ั น้ำใช้
เพ่ืออุปโภค บริโภค และน้ำเพอื่ การเกษตร ดงั น้ัน จงึ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริตา่ งๆ จำนวนมาก เพื่อ
ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา “น้ำ” ซึ่งนบั วา่ มีประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ ตอ่ การพฒั นาคุณภาพชวี ติ และ
ความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสให้จัดตั้ง
โครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องที่ที่การพัฒนาของทางราชการยังกระจายไปไม่ถึง ด้วย
หลักการให้ประชาชนมีส่วนได้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและทำงานกันเป็นหมู่คณะ โครงการของพระองค์
เรยี กว่า “โครงการชลประทานอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ”
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 33 ภูมิปญั ญาไทย : การอยู่กับสายนำ้
ในหลวงกับการจดั การน้ำแลง้
เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมีปริมาณเพิ่มสูงข้ึนทุกปี เพราะการขยายตัวทางภาคเกษตรและ
ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการขาดจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างประหยัดของผู้ใช้น้ำ เพ่ือการอุปโภคบริโภค การใช้
นำ้ เพ่ือการเกษตร และการใชน้ ้ำเพื่อการอตุ สาหกรรม และกิจกรรมอ่ืนๆ ประกอบกับปญั หาไม่สามารถเก็บกัก
น้ำและรวมน้ำจากแหล่งธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากท่ีสุด ขาดการพัฒนาแหล่งน้ำ หรือการบริหารจัดการ
อย่างมีแบบแผน ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงฤดูกาล หรือการกระจายไม่สม่ำเสมอหรือภาวะฝนน้อย และการขาด
แคลนแหล่งเก็บกักน้ำผิวดิน เน่ืองจากภูมิประเทศไม่เอ้ืออำนวยต่อการจัดเก็บน้ำ ทำให้เกิดปัญหาการขาด
แคลนน้ำเพอื่ ใช้ประโยชน์อย่างมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือราษฎรท่ี
ประสบปัญหาการขาดแคลนนำ้ เพ่อื การอปุ โภค บรโิ ภค และการประกอบอาชีพ ดงั น้ี
1.ฝนหลวง
“...เรื่องฝนเทียมน้ีเร่ิมต้ังแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย เพราะว่าไปภาคอีสานตอนน้ัน
หนา้ แล้งเดือนพฤศจกิ ายน ที่ไปมีเมฆมาก อีสานก็แล้ง...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมเี มฆ อย่างนีท้ ำไม
จะดึงเมฆน่ีให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเร่ืองทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่าน
หนงั สอื ทำได.้ ..”
พระราชดำรสั ณ สวนจิตรลดา
19 มีนาคม 2529
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 34 ภมู ิปัญญาไทย : การอยู่กบั สายน้ำ
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการทีก่ ่อกำเนิดจากพระมหากรณุ าธคิ ณุ ที่ทรงห่วงใยในความ
ทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถ่ินทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพ่ืออุปโภคบริโภค และ
เกษตรกรรม อันเน่ืองมาจากภาวะแห้งแล้งซ่ึงมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคล่ือนของฤดูกาลตาม
ธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเร่ิมต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนท้ิงช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระ
ราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนนิ เยย่ี มพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทรงพบเห็นว่า
ภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงย่ิงขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และ
คลาดเคล่ือนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เปลยี่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซ่งึ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่
เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ท้ัง
ภาคพ้ืนดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อ
รวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ท่ีเป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า
น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ท่ีจะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเช่ือมั่นว่า ด้วย
ลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซ่ึงตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ใน
อิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซ่ึงเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูก
ประจำปขี องประเทศไทย จะสามารถดดั แปรสภาพอากาศ ให้เกิดเปน็ ฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ.2498 เปน็ ต้นมา ทรงศกึ ษาคน้ คว้า และ
วจิ ัยทางเอกสาร ท้ังดา้ นวิชาการอตุ นุ ิยมวิทยา และมีการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็น
ท่ียอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงม่ันพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
ผู้เช่ียวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัด
มา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้ง
แรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธ์ิ เทวกุล เป็น
ผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพ้ืนที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็น
พ้ืนท่ีทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (Dry ice หรือ Solid carbondioxide) ขนาดไม่
เกิน 1 ลูกบาศก์น้ิว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ท่ีลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองใน
ขณะน้ัน ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหลา่ นั้น มกี ารเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่น
รวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม
จากการตดิ ตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดนิ และได้รับรายงานยืนยันดว้ ยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลง
สู่พ้ืนที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด ด้วยพระอัจฉริยภาพในการทำฝนหลวง ประเทศไทยจึงสามารถ
กำหนดและบงั คบั เมฆให้เกดิ ฝนตกลงมาพ้นื ที่เป้าหมายไดส้ ำเร็จ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 35 ภมู ิปัญญาไทย : การอย่กู ับสายนำ้
นับจากความสำเร็จครงั้ นนั้ การออกปฏบิ ตั ิการแตล่ ะคร้งั จะดำเนินการเม่ือได้รับการรอ้ งเรียนจาก
กลุม่ เกษตรกร, สมาชกิ สภาผู้แทนราษฎร, ผ้วู า่ ราชการจงั หวดั หรือประสานงานโดยตรงกับคณะปฏิบัตกิ ารฝน
หลวง โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้
• จำนวนพนื้ ท่พี ชื ผลทางเกษตรกรรม จะตอ้ งไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่
• ไมก่ อ่ ใหเ้ กิดผลกระทบถงึ พชื ผลทางเกษตรกรรมในพ้ืนท่ใี กลเ้ คยี ง และไมต่ ้องการน้ำ
จดุ ประสานการปฏิบตั ิการฝนหลวง
• ภาคเหนือ สนามบนิ จ.แพร่, สนามบนิ จ.เชียงใหม่
• ภาคอสี าน สนามบนิ กองบิน 1 จ.นครราชสมี า, สนามบิน จ.ขอนแก่น
• ภาคกลาง สนามบินกองบนิ 2 จ.ลพบุรี, สนามบนิ กองบิน 4 จ.นครสวรรค์
• ภาคใตต้ อนบน สนามบนิ บอ่ ฝา้ ย อ.หัวหิน, สนามบินค่ายธนะรตั น์ อ.ปราณบรุ ี หรอื สนามบินกองบิน
53 จ.ประจวบครี ีขันธ์
2. สระเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่
เป็นแหล่งเก็บน้ำฝน ส่วนใหญ่มีการสร้างในท้องท่ีท่ีไม่มีลำน้ำธรรมชาติหรือสภาพภูมิประเทศไม่
เอื้ออำนวยให้ทำการก่อสร้างแหล่งน้ำประเภทอื่น ทฤษฎีใหม่ คือ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการบริหาร
จดั การท่ดี ินและน้ำ เพอื่ แก้ปัญหาน้ำแล้ง ซำ้ ซากของเกษตรกร ทรงมีพระราชดำรใิ นเรอ่ื งน้ีไว้ว่า
“...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดู สัก 1o ไร่ ในที่อย่าง
นั้น 3ไร่ จะเป็นบ่อน้ำคือเก็บน้ำฝนแลว้ ถ้าจะต้องบดุ ้วยพลาสตกิ ก็บุด้วยพลาสตกิ ทดลองดูแลว้ อกี 6 ไร่
ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบ หรืออะไรก็แล้วแต่ หมายความ
ว่า น้ำ 3o% ท่ีทำนา 6o% ก็เช่ือว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่เก็บเก่ียวข้าว ได้ไร่ละประมาณ 1-
2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างน้ันก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 1o-2o ถัง หรือมากกว่า..”
ทรงให้ทดลองเปน็ ครงั้ แรกท่ีวัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และที่อำเภอเขาวง จังหวัด
กาฬสนิ ธุ์ ซ่ึงประสบความสำเร็จอย่างมาก
หลกั การและแนวทางสำคญั ในการดำเนินงานเกษตรตามแนว “ทฤษฎใี หม่”
1.เปน็ ระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงทเ่ี กษตรกรสามารถเล้ียงตวั เองได้ในระดับประหยดั
2.ต้องมีพ้ืนทส่ี ว่ นหนึ่งทำนาข้าว เพราะข้าวเป็นปัจจยั หลกั ที่ทุกครวั เรอื นตอ้ งปลกู เพ่ือใหม้ ขี ้าวพอบรโิ ภคตลอด
ทั้งปี
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 36 ภูมิปญั ญาไทย : การอยู่กับสายนำ้
3.ตอ้ งมีน้ำสำรองไว้ใช้เพยี งพอตลอดปี เพือ่ การเพาะปลูกในระยะฝนทงิ้ ชว่ งหรอื ในฤดแู ลง้
4.ใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 ในการแบง่ พ้นื ท่ีออกเปน็ 4 สว่ น ไมว่ า่ จะมีพ้ืนทีถ่ ือครองมากหรือน้อย คอื
ขุดสระเก็บกักน้ำ พ้ืนท่ีประมาณร้อยละ 30 ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกัก
น้ำฝนในฤดูฝน และการใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนท้ิงช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำ
ตา่ งๆ
ปลกู ข้าว พ้ืนที่ประมาณร้อยละ 30 ให้ปลกู ข้าวในฤดฝู น เพ่อื ใช้เป็นอาหารประจำวนั สำหรับครวั เรือนให้
เพียงพอตลอดปี โดยไมต่ ้องซ้ือในราคาแพง เปน็ การลดค่าใช้จ่ายและสามารถพ่งึ ตนเองได้
ปลกู ผลไม้ ไมย้ นื ต้น พืชไร่ พืชผัก พ้นื ทปี่ ระมาณประมาณร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยนื ต้น พืชไร่ พืชผกั
พชื สมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกนั และหลากหลายในพ้ืนทเ่ี ดียวกัน เพื่อใชเ้ ปน็ อาหารประจำวนั หากเหลือ
จากการบริโภคสามารถนำไปขาย เพม่ิ รายได้
เป็นที่อยู่อาศัย และอ่ืนๆ พื้นท่ีประมาณร้อยละ 10 ให้เป็นท่ีอยู่อาศัย เล้ียงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน
โรงเรอื น และสิง่ กอ่ สร้างอนื่ ๆ รวมทงั้ คอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเกบ็ ผลิตผลการเกษตร ฯลฯ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 37 ภูมปิ ญั ญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ
3. ขุดลอกหนอง บึง
เป็นวิธีการขุดลอกดินในหนองบึงธรรมชาติที่ต้ืนเขินหรือถูกมนุษย์บุกรุกทำลาย เพ่ือเพ่ิมพ้ืนที่
รองรับน้ำฝนให้ได้ปริมาณมากขึ้น เมื่อมีฝนตกมากน้ำก็จะไหลลงไปในหนองน้ำบางส่วนก็จะไหลล้นไป และ
อีกส่วนหนึ่งเก็บกักไว้ในหนองและบึงซ่ึงสามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมได้ในฤดูแล้ง ทรงมี
พระราชดำริในเรอื่ งนไ้ี ว้ว่า:
“... ในท้องท่ีซ่ึงมีหนองและบึงน้ัน สามารถเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากไว้ได้ ทำให้มีน้ำใช้ในยาม
หน้าแล้ง เหมือนอ่างเก็บน้ำ เม่ือหนอง บึงอยู่ในสภาพตื้นเขินอาจใช้การไม่ได้ดังแต่ก่อนและพ้ืนท่ีหลาย
ส่วนถูกครอบครองไปโดยไม่เป็นธรรม ผลสุดท้าย ความทุกข์ยาก เน่ืองจากขาดแคลนน้ำของชุมชนก็
เกิดขึน้ …”
4.ฝายทดน้ำ
ในพ้ืนทีท่ ำกินทีอ่ ยู่ระดับสงู กว่าลำห้วย ทรงเลือกใชว้ ิธกี ารก่อสร้างอาคารปดิ ขวางทางน้ำไหล เพื่อทด
น้ำที่ไหลมาให้มีระดบั สูงข้ึนจนสามารถผันเข้าไปตามคลองหรือคูส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ส่วนน้ำที่เหลือจะ
ไหลข้ามสันฝายไปเอง การก่อสร้างฝายจะต้องกำหนดให้มีขนาดความสูงความยาวมากพอท่ีจะทดน้ำให้ไหล
เข้าคลองส่งน้ำและสามารถจะระบายน้ำในฤดูน้ำหลากให้ไหลข้ามสันฝายไปได้ทั้งหมด เพียงแค่น้ีก็สามารถ
แก้ไขปัญหานำ้ ลน้ ตลิง่ และปญั หาขาดน้ำในพ้นื ทเี่ พาะปลูกได้อย่างดี
5. ประตูระบายน้ำ
เป็นวิธีการปิดก้ันลำน้ำ ลำคลองที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำไหลในฤดูน้ำหลากเป็นจำนวนมาก โดยมี
วัตถุประสงค์เก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลากไว้ใช้ในฤดูแล้ง ขณะเดียวกันก็มีบานระบายเปิด -ปิดให้สามารถระบาย
น้ำส่วนเกินออกไป เช่น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ จังหวัดสกลนคร และ นครพนม หรือในพื้นท่ีติด
ทะเล ประตรู ะบายน้ำชว่ ยป้องกนั น้ำเค็มไม่ให้รกุ เข้าไปในพื้นท่เี พาะปลูกและเก็บกักน้ำจดื ไว้ใชเ้ พาะปลกู ในฤดู
แล้ง เช่น โครงการพัฒนาพ้ืนที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ
โครงการพัฒนาพื้นท่ีลุ่มน้ำบางนราอันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ จงั หวดั นราธิวาส
6.อ่างเกบ็ น้ำ
อ่างเกบ็ นำ้ คือบริเวณหรือแหล่งเก็บน้ำทไี่ หลมาตามร่องน้ำหรอื ลำนำ้ ธรรมชาติ โดยการสร้างเข่อื นปดิ กัน้
ระหวา่ งหบุ เขา หรอื เนนิ สูงเพ่ือเกบ็ กกั นำ้ รวมไวใ้ นระหวา่ งหุบเขาหรือเนนิ สูงนน้ั จนเกิดเป็นแหล่งเกบ็ น้ำท่ีมี
ขนาดตา่ งๆ กนั โดยเรยี กเขื่อนกั้นนำ้ นี้ว่า "เขื่อนเกบ็ กักน้ำ"
เข่อื นเกบ็ กักน้ำสำหรับงานอ่างเกบ็ นำ้ เพอ่ื การเกษตรสว่ นใหญม่ ขี นาดความสงู ไม่มากนัก จึงนยิ ม
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 38 ภมู ปิ ญั ญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
กอ่ สร้างดว้ ยการนำดนิ มาถมแล้วบดอัดใหแ้ น่นจนเปน็ ตวั เข่ือนตามทีต่ อ้ งการ โดยเรยี กเขื่อนเกบ็ กักน้ำลกั ษณะ
นวี้ ่า "เขื่อนดิน" ซึ่งในการเลือกที่สร้างเข่ือนดิน การสำรวจและออกแบบ ตลอดจนการก่อสรา้ ง ทุกข้ันตอน
จะตอ้ งมีการพิจารณาและดำเนินการให้ถูกตอ้ งตามหลักวชิ าการเสมอ ทง้ั น้เี พื่อให้ตวั เช่อื มมคี วามมนั่ คง
แข็งแรงและสามารถใชป้ ระโยชน์ไดน้ าน
นำ้ ในอ่างเก็บนำ้ ท่ีเข่ือนดนิ กักกน้ั ไวจ้ ะมีความลึกและมีปรมิ าณท่ีเก็บกักมากหรือน้อยตามขนาดความ
สูงของเขอื่ นทสี่ ร้างขึ้นในแตล่ ะแห่ง นำ้ ในอ่างเกบ็ น้ำนสี้ ามารถสง่ ออกไปตามทอ่ สง่ น้ำ เพ่ือใช้สำหรับทำนา
ปลกู พชื ไร่ ปลูกพชื ผัก เลี้ยงสตั ว์ และเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในหมู่บา้ นได้ตามทีต่ ้องการ สว่ นอา่ ง
เก็บนำ้ กส็ ามารถใชเ้ ปน็ แหล่งเพาะพนั ธปุ์ ลาและ กงุ้ นำ้ จดื ตลอดจนชว่ ยป้องกนั และบรรเทาน้ำท่วมแก่พ้ืนท่ี
เพาะปลูกตามบริเวณสองฝง่ั ลำน้ำที่อยู่ทา้ ยอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย นอกจากเขอ่ื นเกบ็ กักนำ้ แล้ว งานอา่ ง
เก็บนำ้ ทุกแห่งจะตอ้ งสรา้ งอาคารระบายน้ำลน้ สำหรับควบคุมระดบั น้ำในอ่างเกบ็ น้ำไม่ใหล้ น้ ข้ามสันเข่อื น และ
สรา้ งทอ่ ส่งน้ำจากอา่ งเกบ็ นำ้ ที่ตัวเขือ่ น เพื่อใช้ควบคมุ น้ำที่จะส่งออกไปให้กบั พื้นทเ่ี พาะปลกู ในบรเิ วณทา้ ย
อา่ งเก็บน้ำแตล่ ะแหง่ นั้น งานอา่ งเก็บน้ำเพือ่ การเกษตรส่วนใหญ่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนำ้ ใน
ทอ้ งท่ีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งสำหรบั ท้องที่ซึ่งลำธารและลำห้วยมนี ้ำไหลมาแต่เฉพาะในฤดฝู น
อา่ งเก็บน้ำจะเก็บน้ำที่ไหลมามากตอนชว่ งฤดูฝนนั้นไวเ้ ป็นแหลง่ น้ำต้นทนุ ทจี่ ะนำไปใช้ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ได้จน
ตลอดฤดูแลง้
7. อุโมงคผ์ นั น้ำ
เปน็ การบรหิ ารจัดการนำ้ จากพนื้ ทท่ี มี่ ปี ริมาณนำ้ มากไปยังพ้ืนที่ทีไ่ ม่มนี ำ้ โดยการผนั น้ำสว่ นที่เหลือจาก
การใชป้ ระโยชนใ์ นพ้นื ทเี่ ปา้ หมาย ผันไปสูพ่ ้นื ท่ที ี่ไมม่ ีแหล่งนำ้ สำรองสำหรับการเพาะปลกู โดยใชห้ ลักการ
แบ่งปันการใชน้ ้ำใหเ้ กิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น โครงการอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บนำ้ ห้วยไผ่ อำเภอดง
หลวง จงั หวัดมกุ ดาหาร ไปยังพื้นท่ีการเกษตรในเขตอำเภอเขาวง จงั หวดั กาฬสินธุ์ โดยอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มี
ความจุ 10.5 ล้านลูกบาศกเ์ มตร มีพน้ื ทช่ี ลประทาน 1,600 ไร่ ซ่งึ จะใชน้ ้ำประมาณ 3.2 ลา้ นลกู บาศก์
เมตร คงเหลือนำ้ ส่วนเกนิ ที่สามารถผนั ไปช่วยเหลอื พ้ืนที่การเกษตรใกลเ้ คียงในเขตอำเภอเขาวงได้
ในหลวงกบั การจดั การน้ำทว่ ม
พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวทรงศึกษาข้อมูลหลายด้านและมีพระบรมราชวินจิ ฉยั ลกั ษณะทาง
กายภาพของพนื้ ที่ทีเ่ กดิ ปัญหา มพี ระราชดำรเิ ลือกใชว้ ธิ ีการแก้ไขตา่ งๆ ให้เหมาะกับสภาพท้องทแ่ี ละ
ประสทิ ธิภาพของหน่วยงานท่ีเกีย่ วข้อง และรวมทง้ั ความคุ้มค่าดา้ นงบประมาณ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 39 ภมู ิปัญญาไทย : การอยูก่ บั สายนำ้
1.พระราชดำรกิ ่อสรา้ งเขื่อนอเนกประสงค์
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู ัว พระราชทานพระราชดำรใิ หห้ นว่ ยงานทีเ่ ก่ียวขอ้ งแกป้ ญั หาน้ำท่วม
พ้นื ท่ีเกษตรกรรมและชุมชนต่างๆ ด้วยการก่อสร้างเข่ือนเก็บกักน้ำ ในหลายท้องที่ดว้ ยกนั เข่ือน
อเนกประสงค์มีประโยชนท์ ัง้ เป็นอา่ งเก็บนำ้ และป้องกนั อุทกภยั เพอื่ กนั้ นำ้ จำนวนมากในฤดฝู นมิให้ไหลหลาก
ลงมาท่วมบริเวณทรี่ าบใต้เข่ือนอยา่ งรวดเร็วและรุนแรง ถือไดว้ ่าเป็นมาตรการสำคัญทีท่ รงใชใ้ นการป้องกนั
ปัญหานำ้ ท่วม อันเปน็ แนวทางการแก้ปัญหาในระยะยาว
2. พระราชดำริก่อสร้างทางผันนำ้
การกอ่ สรา้ งทางผันนำ้ หรือขดุ คลองสายใหมเ่ ช่อื มต่อกบั แม่นำ้ ทีม่ ปี ัญหาน้ำท่วมมีหลกั การอย่วู า่ จะ
ผนั น้ำในส่วนท่ไี หลลน้ ตลิ่งออกไปจากลำนำ้ โดยตรง ปลอ่ ยน้ำสว่ นใหญ่ทม่ี รี ะดับไม่ลน้ ตลง่ิ ให้ไหลอยู่ในลำน้ำ
เดมิ ตามปกติ วิธกี ารน้ีจะตอ้ งสรา้ งอาคารเพ่อื ควบคุมและบงั คับน้ำบริเวณปากทางใหเ้ ช่อื มกับลำนำ้ สาย
ใหญ่ เป็นการระบายนำ้ ท่ที ว่ มหรอื เกิดอทุ กภยั ออกจากพื้นท่ี ท้ังพื้นทเ่ี พาะปลกู พืน้ ท่ีอยู่อาศัยและแหลง่ ชมุ ชน
และกรณีตอ้ งการผนั นำ้ ทงั้ หมดให้ไหลไปตามทางนำ้ ที่ขุดใหม่ควรขุดลำนำ้ สายใหม่แยกออกจากลำน้ำสายเดิม
ตรงบริเวณทลี่ ำน้ำเป็นแนวโค้งและระดบั ท้องนำ้ ของคลองขุดใหม่จะต้องเสมอกับท้องลำน้ำเดมิ เปน็ อย่างนอ้ ย
3. พระราชดำรปิ รบั ปรุงลำน้ำทีม่ อี ยู่เดิม
โดยการขุดลอกลำน้ำในบรเิ วณที่ตน้ื เขิน ตกแต่งดินตามลาดตล่ิงท่ถี ูกกัดเซาะกำจัดวัชพชื หรอื ทำลายส่ิงกีด
ขวางทางนำ้ ไหลออกไปจนหมด และกรณีลำน้ำมแี นวโค้งมากเป็นระยะไกล อาจพจิ ารณาขุดคลองลัดเชอ่ื ม
บรเิ วณด้านเหนือโคง้ กบั ดา้ นทา้ ยโค้ง ซ่ึงจะทำใหน้ ้ำไหลผ่านไดเ้ รว็ ขน้ึ ตัวอยา่ งเช่น โครงการขุดคลองลดั
โพธิ์ จังหวดั สมทุ รปราการ ซง่ึ ทำให้ร่นระยะทางเดิมของน้ำได้ถงึ 17 กโิ ลเมตร ทำให้สามารถระบายน้ำลง
ทะเลได้เร็วข้นึ
4. พระราชดำริก่อสรา้ งคนั ดินกัน้ นำ้
เปน็ วิธีปอ้ งกนั นำ้ ท่วมแบบดั้งเดมิ คือ การสรา้ งคันดนิ ก้นั น้ำขนาดทเ่ี หมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่าง
จากขอบตลิ่งพอสมควร เพอื่ ป้องกนั มใิ ห้นำ้ จากแมน่ ้ำลำคลองล้นตลง่ิ ลงไปทว่ มพื้นท่ีหลงั คนั ก้นั น้ำอนั จะนำมาสู่
ปัญหาน้ำท่วมขังได้
5. พระราชดำรโิ ครงการแก้มลงิ
เปน็ การระบายนำ้ วธิ หี นง่ึ ที่พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ทรงนำมาใชแ้ กป้ ัญหาอทุ กภยั อยา่ งเป็น
ระบบทีค่ รอบคลุมพนื้ ท่ีกวา้ งขวาง แก้ปัญหาน้ำทว่ มอย่างมีประสิทธิผลยง่ั ยนื ในทุกพนื้ ที่ หลกั การคือ หาพน้ื ท่ี
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 40 ภมู ิปญั ญาไทย : การอยู่กับสายน้ำ
วา่ งหรือแหลง่ น้ำธรรมชาตทิ สี่ ามารถรองรบั และพกั น้ำในยามนำ้ หลาก แล้วจงึ ระบายนำ้ ลงทะเลยามทีน่ ำ้ ทะเล
ลด หรอื ระบายออกยามท่ีพ้ืนทใ่ี กลเ้ คยี งตอ้ งการใชน้ ้ำ
เชน่ เดียวกับลิงที่เกบ็ ตนุ กล้วยไว้ในกระพุ้งแกม้ ก่อนแลว้ คอ่ ยๆ ปลนิ้ ออกมาเคี้ยวกนิ ภายหลงั
ดังโครงการแก้มลิงเปน็ โครงการท่ีพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวพระราชทานพระบรมราชาธิบาย
เก่ียวกบั ระบบการบรหิ ารจดั การน้ำท่วมที่เกิดขึน้ อย่างสมำ่ เสมอในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ความ
วา่
“... ลงิ โดยทั่วไป ถา้ เราสง่ กลว้ ยให้ ลิงกจ็ ะรีบปอกเปลือกแลว้ เอาเขา้ ปากเคี้ยวๆ แลว้ เอาไปเกบ็
ท่แี กม้ จะกนิ กล้วยเขา้ ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มไดเ้ กอื บท้ังหวี โดยเอาไปเก็บไวท้ ่แี ก้มกอ่ น แล้วจะนำออกมา
เคี้ยวและกลนื กนิ เขา้ ไปภายหลงั ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรอื อาหารมาสะสมไวท้ ก่ี ระพุ้งแก้มก่อน
การกลืนนี้ จงึ เป็นพฤตกิ รรมตัวอยา่ งทจ่ี ะนำมาใชใ้ นการระบายน้ำทว่ มออกจากพ้ืนท่นี ำ้ ทว่ มขงั บรเิ วณทิศ
ตะวนั ออกและตะวันตกของแม่น้ำเจา้ พระยา ...”
6. พระราชดำรกิ ารหาความสัมพนั ธข์ องระดับนำ้ และปริมาณนำ้ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
“..ระดบั น้ำทางดา้ นตะวนั ออก (ของกรุงเทพฯ) คอื น้ำที่มาจากแมน่ ้ำป่าสกั สงู กวา่ ดา้ นท่ีมาจากแม่น้ำ
เจา้ พระยาประมาณ 20 เซนติเมตร ความร้นู ้ไี ม่เคยมใี ครเคยรู้...“
“...ทำใหเ้ จ้าหนา้ ที่ รวมท้งั กรมชลประทานเกิดความรูว้ ่านำ้ ทว่ มกรุงเทพฯ มาจากไหน และไปไหน...“
พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงชใ้ี หเ้ ห็นถงึ สาเหตุสำคัญของปญั หาน้ำทว่ มกรุงเทพฯ ว่าสืบเนือ่ งจากตั้งอยบู่ น
ทีล่ ุ่มปากแม่นำ้ เจา้ พระยา และอยู่สงู กว่าระดับนำ้ ทะเลปานกลางเพยี งเลก็ น้อย อกี ท้ังประเทศไทยยังมีท่ีตงั้ ใน
เขตมรสมุ ท่ีมีฝนตกชกุ หากมีฝนตกหนกั ติดต่อกันน้ำเหนือจะหลาก เมื่อประกอบกบั น้ำทะเลหนนุ ทำใหเ้ กดิ
ภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ ดังนนั้ จงึ ตอ้ งมีการศกึ ษาความสัมพนั ธ์ของน้ำทะเลหนุน และปรมิ าณนำ้ เหนือ
หลาก ผ่านเขตกรุงเทพมหานคร แลว้ นำผลการวเิ คราะห์ไปใช้สำหรบั การบรหิ ารจัดการปริมาณนำ้ เหนือท่ี
ไหลผา่ นเข่ือนเจา้ พระยาและเขื่อนปา่ สักชลสิทธ์ิ
“… ควรจะมีโครงการศึกษาพฤตกิ รรมการไหลของนำ้ ในแมน่ ำ้ เจ้าพระยา เพื่อควบคุมปรมิ าณน้ำเหนอื
หลากให้สอดคล้องกับสภาพน้ำทะเลหนุนในชว่ งฤดูฝนอยา่ งมีประสิทธิภาพ ...”
ในหลวงกับการจัดการน้ำเสยี
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวทรงสนพระราชหฤทยั เกย่ี วกับการแก้ไขปญั หานำ้ เสียทง้ั ในกรุงเทพฯ และ
ในเขตชมุ ชนเมืองของจังหวัดต่างๆ ซ่ึงนบั วนั จะทวีความรนุ แรงมากยิ่งขึน้ ทรงช้ีแนะวา่ น้ำเสียสามารถบำบัดได้
ดว้ ยวธิ ีการทางธรรมชาติ ทรงคิดคน้ วธิ กี ารทจ่ี ะสามารถบำบดั น้ำเสยี ไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและประหยดั
ค่าใช้จ่าย ทงั้ โดยวิธีการทางธรรมชาติ และการใชเ้ ทคโนโลยีง่ายๆ เพ่ือใหเ้ ป็นตน้ แบบสำหรบั การนำไปใช้ ใน
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 41 ภูมิปญั ญาไทย : การอยู่กบั สายน้ำ
การบำบัดน้ำเสยี ในพ้ืนที่ได้ ซึ่งหลักการสำคญั ของโครงการตามแนวพระราชดำริอาศยั วิธีการ 2 อยา่ ง คอื
วธิ กี ารทางชวี ภาพและวธิ ีการทางกลศาสตร์
1. น้ำดีไล่น้ำเสีย
เปน็ วธิ กี ารใช้นำ้ ท่มี คี ุณภาพดชี ว่ ยผลักดนั นำ้ เนา่ เสียออกไปและชว่ ยให้นำ้ เนา่ เสยี มีสภาพเจือจาง
ลง พระราชดำรนิ ี้ไดน้ ำมาแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองของกรุงเทพมหานคร โดยใชน้ ้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา
เจอื จางนำ้ เนา่ เสียและชกั พาสง่ิ สกปรกจากคลองตา่ งๆ ทำให้คลองสะอาดขึ้นได้เป็นอยา่ งดี
การจดั ระบบควบคมุ ระดับน้ำในคลองสายต่างๆ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงการจัดระบบระบายน้ำใน
กรุงเทพมหานครนนั้ สมควรวางระบบใหถ้ ูกต้องตามสภาพการณ์และลกั ษณะภมู ปิ ระเทศซึ่งควร
แบง่ เป็น 2 แผน ด้วยกันคอื แผนสำหรบั ใช้กบั ในฤดูฝนหรือฤดนู ำ้ มาก เพ่ือประโยชน์ในการป้องกันน้ำทว่ ม
และเพื่อบรรเทาอทุ กภัยเปน็ สำคัญ แผนการระบายน้ำในฤดูแล้งนั้นก็ต้องจดั อีกแบบหนึ่งแตกตา่ งกันไป เพ่ือ
การกำจัดหรือไล่น้ำเนา่ เสียออกจากคลองเปน็ หลัก ซ่งึ ทั้งสองระบบน้ีควรจะพิจารณาถึงวิธีการระบายนำ้ โดย
อาศัยแรงโนม้ ถว่ งของโลกให้มากทีส่ ุด ทัง้ นีเ้ พอื่ ประหยัดค่าใชจ้ า่ ยในการควบคุมระดบั น้ำตามลำคลองเหลา่ นี้
2. เครือ่ งกรองนำ้ ธรรมชาติ
เป็นการใชผ้ กั ตบชวาซง่ึ เป็นวชั พชื ที่ตอ้ งการกำจัดอยู่แล้ว มาทำหนา้ ทดี่ ูดซบั ความสกปรกรวมท้ัง
สารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยทรงใชห้ ลัก อธรรมปราบอธรรม
“... บึงมักกะสันน้ี ทำโครงการท่เี รียกว่าแบบคนจน โดยใชห้ ลักวา่ ผักตบชวาท่มี ีอยูท่ ่ัวไปนัน้ เปน็
พืชดูดความโสโครกออกมาแล้วก็ทำให้น้ำสะอาดขนึ้ ได้ เป็นเครือ่ งกรองธรรมชาติใช้พลงั งาน
แสงอาทติ ย์ และธรรมชาติของการเตบิ โตของพืช ...” และทรงเปรียบเทยี บบึงมักกะสนั เป็น
เสมือน ไต ของกรุงเทพมหานคร เป็นสถานท่ีกำจดั สง่ิ สกปรกในนำ้ เน่าเสยี ที่ไหลตามคลองสามเสนให้ผ่าน
การกรองโดยวธิ ธี รรมชาตใิ ห้เป็นนำ้ ทม่ี คี ุณภาพดีข้ึน แล้วระบายออกไปยงั คลองสามเสน และคลองแสนแสบ
“... ในกรงุ เทพฯ ต้องมพี ้นื ทหี่ ายใจ แตท่ นี่ ่ี เราถือเป็นไตกำจัดสง่ิ สกปรกและ
โรค สวนสาธารณะถอื ว่าเป็นปอด แตน่ เี่ หมือนไตฟอกเลอื ด ถ้าไตทำงานไมด่ เี ราตาย อยากใหเ้ ขา้ ใจ
หลักของความคดิ อันน้ี ...”
3. สระเตมิ อากาศชวี ภาพบำบัด
ทรงใชร้ ะบบการจัดการนำ้ เสยี โดยใช้เคร่ืองจักรกลเตมิ อากาศมาชว่ ยเพ่ิมออกซิเจนละลายนำ้ ซึ่งใช้
ออกซิเจนตามธรรมชาตจิ ากพืชน้ำและสาหรา่ ย แบ่งเปน็ 2 ชนิด คือ บอ่ บำบัดนำ้ เสียแบบสระเตมิ
อากาศ (Aeroted Lagoon) โดยไดน้ ำมาทดลองใช้ทบี่ งึ พระราม 9 ซง่ึ เปน็ บึงขนาดใหญ่อยู่ใจกลาง
กรงุ เทพมหานคร มีเน้ือทปี่ ระมาณ 13o ไร่ ดว้ ยการสูบนำ้ เสยี จากคลองลาดพรา้ วเขา้ ในบ่อเตมิ อากาศ ซง่ึ
จะมกี ารเติมอากาศดว้ ยเครื่องเตมิ อากาศตลอดเวลา เพ่ือให้แบคทเี รยี ทำการย่อยสลายอินทรียใ์ นน้ำเสียโดย
ปฏกิ ิรยิ าแบบการใหอ้ อกซเิ จนอย่างต่อเนอื่ ง จากน้ันจะไหลไปยังบ่อกึ่งไร้อากาศ เพื่อบำบัดสารอินทรยี ์ที่
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 42 ภูมิปัญญาไทย : การอย่กู บั สายนำ้
หลงเหลอื ในบอ่ นำ้ เม่ือน้ำใสแลว้ จะระบายนำ้ ทิ้งลงคลองลาดพร้าวตามเดิม ผลปรากฏว่าคุณภาพนำ้ ในคลอง
ดขี ึน้
4. การผสมผสานระหวา่ งพืชน้ำกบั ระบบเติมอากาศ
ใชธ้ รรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยี โดยการสร้างบ่อดักสารแขวนลอย ปลกู ตน้ กกอียิปต์ เพื่อใช้ดับ
กลิน่ และปลกู ผักตบชวา เพือ่ ดูดสิ่งสกปรกและโลหะหนกั ตอ่ จากนั้นใชก้ งั หนั น้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติม
อากาศให้กบั น้ำเสยี ตามความเหมาะสม ตลอดจนให้ตกตะกอนกอ่ นปล่อยลงแหลง่ น้ำ โดยนำมาทดลองที่
หนองสนม จังหวดั สกลนคร ซึง่ สามารถพสิ จู น์ไดว้ ่าคุณภาพนำ้ ในหนองสนมใสและสะอาดย่ิงข้ึน
5. หลักธรรมชาติ บำบดั ธรรมชาติ
การบำบดั นำ้ เสียด้วยระบบบอ่ บำบดั และพชื นำ้ ประกอบดว้ ย 4 ระบบ คอื ระบบบ่อบำบดั น้ำ
เสยี ระบบบ่อชวี ภาพ ระบบหญา้ กรอง และระบบบำบดั นำ้ เสยี โดยใชป้ ่าชายเลน
“... อย่างที่บอกว่าเอาน้ำเสียมาใช้ในการทำการเกษตรกรรม ทำได้แตท่ ี่ทท่ี ำนั้นตอ้ งมีที่
สกั 5,ooo ไร่ ขอใหผ้ เู้ ชี่ยวชาญต่างๆ มาช่วยรว่ มกนั ทำ ทำได้แน่ ...” และได้พระราชทานแนวทาง
หรือวธิ ีการว่า “... โครงการทีจ่ ะทำนีไ้ มย่ ากนัก คือว่าก็มาเอาสง่ิ ทีเ่ ปน็ พษิ ออกพวกโลหะหนักต่างๆ เอา
ออก ซ่ึงมีวิธที ำตอ่ จากนัน้ ก็มาฟอกใส่อากาศ บางที่ก็อาจไมต่ อ้ งใส่อากาศแลว้ กม็ าเฉลี่ยใส่ในบึง หรอื
เอาน้ำไปใสใ่ นทุง่ หญา้ ...” และเพิ่มเตมิ อีกว่า “... ทางใตอ้ อสเตรเลียมโี ครงการเอานำ้ เสียน้ไี ปใสใ่ น
คลอง แล้วใสท่ ่อไปใกล้ทะเล แล้วทำเป็นสระเปน็ บ่อใหญ่มาก เปน็ พน้ื ท่ตี ้ังเปน็ ร้อยไร่ หลายร้อยไร่ เขา
ก็ไปทำให้นำ้ นน้ั หายสกปรกแลว้ กเ็ ทลงทะเล ...”ดังเชน่ โครงการศกึ ษาวจิ ยั และพัฒนาส่งิ แวดล้อมแหลม
ผกั เบย้ี อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ อำเภอบา้ นแหลม จงั หวัดเพชรบุรี
6. การเตมิ อากาศโดยใช้ กังหันนำ้ ชัยพัฒนา
ต้นแบบเครื่องกลเตมิ อากาศที่ผวิ นำ้ หมนุ ชา้ แบบทุ่นลอย หรอื “กงั หันนำ้ ชัยพัฒนา” ซงึ่ มีใบพัดเคลื่อน
นำ้ และซองรบั น้ำไปสาดกระจายเปน็ ฝอยเพ่ือให้สมั ผสั กับอากาศไดอ้ ยา่ งทัว่ ถงึ เปน็ ผลให้ออกซิเจนในอากาศ
สามารถละลายเข้าไปในนำ้ ได้อย่างรวดเรว็ และในช่วงทนี่ ำ้ เสียถกู ยกขนึ้ มากระจายสัมผสั กับอากาศตกลงไป
ยังผิวนำ้ จะทำให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไปก่อให้เกดิ การถ่ายเทออกซิเจนอีกส่วนหนงึ่ ซง่ึ กังหนั น้ำชยั
พฒั นาแบบนี้จะใช้ประโยชนไ์ ด้ท้งั การเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสานและการทำให้เกดิ การไหลตาม
ทิศทางทกี่ ำหนด
“... การพัฒนาแหลง่ นำ้ น้นั ในหลกั ใหญ่กค็ อื การควบคุมน้ำใหไ้ ดด้ งั ประสงค์ทั้งปริมาณและ
คุณภาพกล่าวคอื เมอ่ื มปี ริมาณนำ้ มากเกินไป ก็ตอ้ งหาทางระบายออกใหท้ ันการไม่ปลอ่ ยใหเ้ กิดความ
เดือดรอ้ นเสียหายได้ และในขณะทีเ่ กดิ ภาวะขาดแคลนก็จะตอ้ งมีนำ้ กักเกบ็ ไว้ใช้อย่างเพยี งพอท้ังมี
คณุ ภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรม และการอปุ โภคบริโภค ปญั หาอย่ทู ่ีวา่ การพฒั นา
แหล่งนำ้ นั้นอาจจะมีผลกระทบกระเทือนตอ่ สิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถา้ ไมม่ กี ารควบคุมน้ำทด่ี ีพอแลว้ เมื่อเกิด
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 43 ภมู ิปัญญาไทย : การอยกู่ บั สายน้ำ
ภัยธรรมชาตขิ ึน้ ก็จะก่อให้เกิดความเดอื ดรอ้ นสูญเสียทง้ั ในด้านเศรษฐกิจและในชวี ิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชนท้ังส่งผลกระทบกระเทอื นแก่สิ่งแวดลอ้ มอย่างร้ายแรง ...”
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 44 ภมู ิปัญญาไทย : การอยู่กับสายนำ้
โครงการชลประทานอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริในพืน้ ที่จังหวัดสุโขทัย
พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ วั เสด็จพระราชดำเนินทรงเยย่ี มราษฎรจงั หวัดสุโขทยั รวม 7 คร้ัง
1. วันที่ 1 - 2 มีนาคม พ.ศ.2501
2. วนั ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2507
3. วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2509
4. วันที่ 26 ธนั วาคม พ.ศ.2515
5. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519
6. วันท่ี 16 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ.2521
7. วนั ที่ 12 ธนั วาคม พ.ศ.2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวและสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ
เสดจ็ พระราชดำเนนิ ทรงเยีย่ มราษฎรจังหวัดสุโขทัยครั้งแรก
เม่ือ วันท่ี 1 - 2 มีนาคม พ.ศ.2501
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 45 ภมู ปิ ัญญาไทย : การอยกู่ บั สายนำ้
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัว และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จเจ้าฟ้าจฬุ าภรณว์ ลยั ลักษณ์อัครราชกมุ ารี เสดจ็ พระราชดำเนิน
ทรงเยีย่ มราษฎรศนู ยส์ งเคราะหช์ าวเขา หมู่บา้ นท่าแพพัฒนา
อำเภอศรสี ชั นาลยั และราษฎร อำเภอทงุ่ เสลี่ยม เม่ือ วนั ท่ี 16 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ.2521
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ
เสดจ็ พระราชดำเนินทรงประกอบพิธเี บกิ พระเนตรพระพุทธรปู สุโขทยั
และทรงวางศลิ าฤกษ์หอพระพทุ ธรปู สโุ ขทัย อำเภอเมือง จงั หวดั สโุ ขทัย
เมอ่ื วนั ที่ 12 ธนั วาคม พ.ศ.2535
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทยั 46 ภูมปิ ัญญาไทย : การอยกู่ บั สายนำ้
พระราชดำรใิ นโครงการพฒั นาแหล่งนำ้ ขณะเยย่ี มราษฏรจงั หวดั สโุ ขทัย
เมอื่ วันท่ี 16 กุมภาพนั ธ์ 2521 พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ไดเ้ สด็จพระราชดำเนินเย่ียมราษฏรท่ี
บ้านท่าแพพัฒนา อำเภอศรีสัชนาลัย และราษฎร อำเภอทุ่งเสล่ียมจังหวัดสุโขทัย ได้ทรงมีพระราชดำริกับ
อธิบดีกรมชลประทานให้กรมชลประทานทำการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยท่าแพ ลุ่มน้ำแม่มอก เพื่อช่วยให้ราษฎรใน
เขตทอ้ งทด่ี งั กลา่ ว มนี ำ้ ใช้ในการเกษตรและเพ่อื การอุปโภค-บรโิ ภค ไดต้ ลอดปี
วัน ท่ี 23 กั น ย าย น 2537 พ ระบ าท ส ม เด็ จ พ ระเจ้ าอ ยู่ หั วท รงมี พ ระราช ก ระแ ส ผ่ าน
พลเอกเทียนชัย จั่นมกุ ดา รองสมุหราชองครกั ษ์ ให้กรมชลประทานพจิ ารณาวางโครงสร้างอ่างเกบ็ น้ำ ตามลำ
น้ำสาขาต่างๆของแม่น้ำยมบริเวณด้านเหนือ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เพื่อช่วยแก้ไขความเดือดร้อนเน่ืองจาก
ขาดแคลนน้ำใช้ทำการเพาะปลูกและอุปโภค - บริโภคของราษฎรในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งให้พิจารณา
ปรบั ปรุงหนองหิน หนองพุง และหนองนำ้ อ่ืนๆ ที่มีอยู่ในพนื้ ทใ่ี หส้ ามารถเก็บกักน้ำไว้ใหร้ าษฎรได้ใชป้ ระโยชน์
มากข้นึ
เม่ือวนั ที่ 12 ธันวาคม ปีพุทธศกั ราช 2535 พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัว เสดจ็ พระราชดำเนินทรงเป็น
องค์ประธานเบิกเนตรพระพุทธรูปสุโขทัย ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเก่ียวกับการพัฒนาแหล่งน้ำใน
จงั หวัดสุโขทยั แก่แมท่ ัพภาค ท่ี 3 และ ผู้วา่ ราชการจงั หวัดสุโขทยั ในขณะนัน้ ดังนี้
1. แม่น้ำยมในฤดฝู นมีนำ้ มาก ในฤดูแลง้ เกือบจะไม่มี ให้หาทางก้ันน้ำเป็นชว่ ง ๆ แล้วผนั เข้า
คลองธรรมชาติที่มอี ยู่เดิมทัง้ ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำยม แล้วมีการขุดคลองให้สามารถส่งนำ้ และนำไปกัก
เก็บไวต้ ามหนองบงึ ธรรมชาติตอ่ ไป
2. หาทางผนั น้ำจากแม่น้ำปิงจากจังหวดั กำแพงเพชร เข้ามาตามท่อทองแดงสมัยโบราณผ่าน
อำเภอบา้ นด่านลานหอย เขา้ มาใช้ในพืน้ ท่ีจงั หวัดสโุ ขทยั
3. บรเิ วณเขตตอ่ อำเภอเมืองสโุ ขทัย และอำเภอกงไกรลาศ จงั หวดั สโุ ขทัย มคี ลอง ขนาดใหญท่ ี่
ไหลมารวมกับแม่นำ้ ยม บรเิ วณท่ีมนี ้ำท่วมกว้างขวางยังไมไ่ ดร้ บั ประโยชนเ์ ตม็ ที่ ใหห้ าทาง กนั้ นำ้ ไวเ้ ปน็ อ่างเก็บ
น้ำขนาดใหญ่ไวใ้ ช้ในฤดูแล้ง
4. ใหพ้ จิ ารณาสร้างอา่ งเกบ็ น้ำในพ้นื ท่ีเหนือจังหวดั สโุ ขทัย และบริเวณตำบลแมม่ อก อำเภอ
เถนิ จังหวดั ลำปาง
5. เพม่ิ พ้นื ที่ป่าตน้ น้ำของแมน่ ำ้ ยม
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 47 ภูมิปัญญาไทย : การอยกู่ บั สายนำ้
จากพระราชดำริดงั กลา่ วข้างตน้ ราษฎรจังหวัดสโุ ขทยั จงึ ไดร้ ับประโยชนจ์ ากพระมหากรณุ าธคิ ุณ
ปรากฏเป็นโครงการชลประทานอันเนอ่ื งมาจากพระราชดำรใิ นพื้นที่จงั หวดั สุโขทัยดังนี้
• พ้นื ท่ีอำเภอศรีสัชนาลัย
1.อ่างเกบ็ นำ้ หว้ ยท่าแพ บา้ นปากคะยาง ต.บา้ นแกง่
2.ฝายทา่ แพพฒั นา บา้ นปากคะยาง ต.บา้ นแกง่
3.อา่ งเกบ็ นำ้ ห้วยแมส่ งู ต.ปา่ งิ้ว
4.ฝายห้วยแม่สงู ต.ปา่ ง้วิ
5.อา่ งเก็บนำ้ ห้วยทรวง บ้านปากทรวง ต.บ้านตกึ
6.ปรบั ปรุงหนองหนิ บ้านหาดเสี้ยว ต.หาดเสย้ี ว
7.ฝายชะลอน้ำ (check dam)แบ่งพื้นท่ี 4 ตำบล จำนวน 84 แห่งดังนี้
ลำหว้ ยในพ้ืนท่อี งคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลบา้ นแกง่ จำนวน 21 แหง่
ลำห้วยในพื้นท่ีองคก์ ารบริหารส่วนตำบลแม่สิน จำนวน 21 แห่ง
ลำห้วยในพ้นื ท่อี งค์การบรหิ ารส่วนตำบลแม่สำ จำนวน 21 แหง่
ลำห้วยในพน้ื ที่องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลบา้ นตกึ จำนวน 21 แหง่
• พน้ื ท่อี ำเภอทงุ่ เสลี่ยม
1.อา่ งเก็บน้ำแม่มอก ต.เวียงมอก อ.เถนิ จงั หวัดลำปาง
2.ฝายบึงบอน ต.กลางดง
3.ฝายทา่ ไม้แดง ต.ไทยชนะศึก
4.ฝายชยั มงคล ต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์
• พืน้ ทอี่ ำเภอสวรรคโลก
1.ขุดลอกหนองแมร่ ะวงิ ต.ป่ากมุ เกาะ
2.ประตูระบายน้ำบา้ นหาดสะพานจนั ทร์ ต.ป่ากุมเกาะ
• พน้ื ที่อำเภอศรีนคร
1.ขดุ ลอกบึงสวย ต.นครเดฐิ
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทัย 48 ภูมิปญั ญาไทย : การอย่กู บั สายนำ้
• พ้นื ทอี่ ำเภอศรสี ำโรง
1.ขุดลอกหนองกระสา ต.ทบั ผึง้
2.ปรับปรุงหนองอ้ายงว่ั ต.เกาะตาเล้ยี ง
3.อ่างเก็บน้ำห้วยไคร้ บ้านโซกเปือย ต.นาขนุ ไกร
• พืน้ ทอ่ี ำเภอบ้านด่านลานหอย
1.อ่างเกบ็ น้ำห้วยแม่กองค่าย ต.ตลิ่งชนั
2.อา่ งเกบ็ น้ำหว้ ยแมร่ ำพัน บ้านวังหาด ต.ตลงิ่ ชนั
• พื้นที่อำเภอเมืองสุโขทยั
1.ขดุ ลอกหนองตระคร้อ ต.ยางซ้าย
2.ขุดลอกหนองหว้ ยหนัง
3.ประตูระบายน้ำบา้ นยางซ้าย
4.ขุดลอกหนองลำนัง ต.ปากพระ
5.ปรับปรงุ หนองตะเข้
6.ปรับปรุงหนองหว้ ยสมั คันใหญ่
7.ขดุ ลอกบึงใหญ่ ต.บ้านสวน
• พนื้ ท่อี ำเภอครี ีมาศ
1.ขุดลอกหนองล้ี ต.บ้านปอ้ ม
• พืน้ ที่อำเภอกงไกรลาศ
1.ฝายบ้านกง ต.กง
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สุโขทัย 49 ภมู ปิ ญั ญาไทย : การอยกู่ บั สายนำ้
กิจกรรมทา้ ยบท
1. การพฒั นาแหล่งน้ำอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ เริม่ ข้ึนเมื่อใด มีวัตถปุ ระสงค์ใดในการพฒั นาแหลง่ นำ้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. พระราชดำรขิ องในหลวงกับการจดั การภยั แลง้ มีกี่วธิ ี จงอธิบายมาอย่างละเอียด
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กศน.อำเภอศรสี ำโรง สโุ ขทยั 50 ภมู ิปญั ญาไทย : การอยูก่ บั สายน้ำ