The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุและกามโภคี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุและกามโภคี

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุและกามโภคี

Keywords: การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมด้วยหลักบุญกิริยาวัตถุและกามโภคี

การแก้ไขปญั หาระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยม
ดว้ ยหลักบุญกิริยาวัตถุและกามโภคี

Solving the Problems of Capitalism with the Principles
of Meritorious Action and Kam Phokhi

พระครโู สภณชยาภวิ ฒั น1์ และ พระมหามติ ร ฐติ ปญฺโญ2
Phrakru Sophonchayapiwat1 and Phramaha Mith Thitapunyo2

1,2 สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา
1,2 Program in Buddhist Studies

1,2 คณะพทุ ธศาสตร์
1,2 Faculty of Buddhism
1,2 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วิทยาเขตขอนแกน่
1,2 Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khon-Kaen Campus

บทคดั ยอ่
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ ต้องการนำ�เสนอแนวทางการแก้ปัญหาระบบ
เศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มตามหลกั ของพทุ ธศาสนาเถรวาท โดยศกึ ษาวเิ คราะหจ์ ากเอกสาร
ช้ันต้นและเอกสารช้ันรอง ซึ่งในบทความน้ีนำ�เสนอปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบ
ทุนนิยมประกอบด้วย 1) ระบบทุนนิยมทำ�ให้เกิดการกระจายปัจจัยการผลิตอย่างไม่
เทา่ เทยี มกนั ซง่ึ ผดิ ไปจากธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ 2) ระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มท�ำ ใหเ้ กดิ
การขดู รดี เงินตราจากชนชนั้ กรรมาชีพ และ 3) ระบบทนุ นิยมท�ำ ใหเ้ กดิ การขดู รดี ความ
เป็นมนุษย์จากแรงงานของกรรมกร จากปัญหาเหล่าน้ีผู้บทความได้เสนอแนวทางการ
แก้ไขปัญหาด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา 2 ประการ กล่าวคือ การเสนอให้ใช้หลัก
บญุ กริ ยิ าวตั ถวุ า่ ดว้ ยทานในการกระจายผลผลติ ออกไปสผู่ อู้ น่ื และหลกั กามโภคใี นการ
แกไ้ ขปญั หาการขดู รดี เงนิ ตรา และการกดขข่ี ดู รดี ความเปน็ มนษุ ย์ นอกจากนบ้ี ทความน้ี
ยงั เสนอวา่ หลกั ธรรมทางพทุ ธศาสนามคี วามส�ำ คญั ตอ่ การจดั การความเปน็ อยขู่ องสงั คม
บนฐานของระบบเศรษฐกจิ ได้เปน็ อยา่ งดี
คำ�ส�ำ คญั : ทนุ นิยม, ระบบเศรษฐกิจ, พทุ ธศาสนาเถรวาท, หลักธรรมทางพุทธศาสนา

รบั ตน้ ฉบบั 8 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 แกไ้ ขตามผทู้ รงคณุ วฒุ ิ 25 มนี าคม 2562 รบั ลงตพี มิ พ์ 27 มนี าคม 2562

การแกไ้ ขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทุนนิยม พระครูโสภณชยาภวิ ัฒน์ และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
ดว้ ยหลักบญุ กิรยิ าวตั ถแุ ละกามโภคี

Abstract
The objective of the study was to provide solutions to the capitalist
economic system according to the principles of Theravada Buddhism. It
was analyzed using the primary sources and secondary sources. This study
presented the issue of the capitalist economic system as follows 1) The cap-
italist system unequally distribute capital goods which were abnormal of the
human actually doing ; 2) the capitalist system racked over proletarians and,
3) The capitalist system racked over the humanity of labor. Therefore, the
author brings solutions as the principles of Buddhism which were the principle of
meritorious action dealing with equal charity and the principle of enjoying of
senses to solve the rack problem in human dignity. In addition, the study proved
that the principle of Buddhism is significant related to social living management
based on the economic system as well.

Keywords: Capitalism, Economic System, Theravada Buddhism, the Principle
of Buddhism

194 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

บทน�ำ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในยุโรปเมื่อมีการ

เปลี่ยนแปลงจากสังคมศักดินาไปสู่สังคมแบบทุนนิยมอันถือว่าทุนและเงินเป็นปัจจัย
ส�ำ คญั ในการเปลยี่ นแปลงไปสทู่ นุ นยิ มนน้ั ไพร่ ทาส ตา่ งกถ็ กู ปลดปลอ่ ยใหไ้ ดร้ บั อสิ ระ
แต่ก็ไม่ได้รับปัจจัยการผลิตท่ีจะมาสร้างผลผลิตในการยังชีพของตนเอง ดังนั้นการ
ถูกปลดปล่อยให้ชนชั้นไพร่ และทาสได้รับอิสระจากสังคมก่อนหน้าจึงไม่ใช่เหตุผล
สำ�คัญท่ีจะปลดแอกแห่งความทุกข์ยากนี้ไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นคือเหล่าขุนนาง
ตา่ งกไ็ ดร้ บั กรรมสทิ ธใ์ิ นปจั จยั การผลติ ทตี่ นไดเ้ กบ็ ไวใ้ นขณะทอี่ าศยั อยใู่ นสงั คมศกั ดนิ า
ส่วนไพร่และทาสก็เพียงแค่ได้รับอิสระแต่ก็ไม่ได้รับปัจจัยการผลิตใด ๆ ท่ีพอจะตั้งตัว
ขน้ึ ได้ ดงั นนั้ เมอ่ื เขา้ สสู่ งั คมทนุ นยิ มสง่ิ ทปี่ รากฏใหเ้ หน็ ไดช้ ดั กค็ อื การกดขข่ี ดู รดี ทางชนชน้ั
ซงึ่ การกดขข่ี ดู รดี ทวี่ า่ นไี้ มใ่ ชก่ ารกดขข่ี ดู รดี เฉพาะปจั จยั การผลติ เทา่ นน้ั แตม่ นั ยงั เปน็ การ
ชใ้ี หเ้ หน็ ถงึ การกดขขี่ ดู รดี ความเปน็ มนษุ ยด์ ว้ ย (ชลลดา นาคใหญ,่ 2557) และในสงั คม
ทนุ นยิ มกแ็ สดงใหเ้ หน็ วา่ ชนชน้ั ทถ่ี กู ขดู รดี คอื ชนชนั้ กรรมาชพี ซงึ่ กค็ อื ทาสในสงั คมศกั ดนิ า
กอ่ นหนา้ และชนชน้ั ทเ่ี ปน็ ผขู้ ดู รดี คอื ชนชนั้ นายทนุ ซงึ่ กค็ อื เหลา่ ขนุ นางของระบบศกั ดนิ า
น่ันเอง และน่ีก็คือตน้ กำ�เนดิ ของความไม่เท่าเทียมท่นี �ำ มาสปู่ ัญหาของระบบทุนนยิ ม

ปญั หาของระบบทนุ นยิ มทช่ี ดั เจนทสี่ ดุ เกดิ ขนึ้ เมอื่ มกี ารปฏวิ ตั วิ ทิ ยาศาสตรแ์ ละ
การปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรม กลา่ วคอื ในระบบทนุ นยิ มระยะแรกนน้ั สงิ่ ทสี่ �ำ คญั ทส่ี ดุ คอื ปจั จยั
การผลิตท่ีจะนำ�ไปสู่การผลิตสินค้าที่ได้กำ�ไรจำ�นวนมาก ซึ่งปัจจัยการผลิตก็ประกอบ
ไปด้วย ท่ีดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการ และในระบบทุนนิยมปัจจัยการผลิต
ท่ีสำ�คัญท่ีสุดคือ “แรงงาน” เพราะว่าอีก 3 ปัจจัยอื่นเป็นปัจจัยท่ีไม่อาจลดคุณค่า
เชิงราคาลงไปได้แต่ส่ิงที่จะลดลงได้คือ “ค่าจ้างแรงงาน” การลดค่าจ้างแรงงานน้ัน
เปน็ เร่ืองท่ีกระทำ�ไดง้ า่ ยเพราะแรงงานไมม่ ีสทิ ธิ์ตอ่ รองกบั นายทนุ วา่ ตนจะไดร้ บั ค่าจา้ ง
มากหรือนอ้ ยเพราะกรรมสทิ ธิข์ องค่าจ้างย่อมขน้ึ อยู่กับนายทุนอยู่แล้ว ดงั ค�ำ กลา่ วของ
จ.ี เอ. โคเฮน (G. A. Cohen) ไดก้ ลา่ วเอาไว้ว่า “ชนช้นั กรรมาชพี ตอ้ งขายก�ำ ลังแรงงาน
ของตนเพอ่ื ใหไ้ ดม้ าแคพ่ อปะทงั ชวี ติ ” (G. A. Cohen, 1978: 72) เมอ่ื ชนช้ันกรรมาชพี
ต้องขายแรงงานของตนให้กับชนชั้นผู้ปกครองที่ถือครองปัจจัยการผลิตอยู่จำ�นวนมาก
น้นั ก็ท�ำ ใหเ้ กิดมูลคา่ ส่วนเกนิ ข้นึ ในระบบของการจ้างงาน และชนชั้นผ้นู ายทนุ กจ็ ะเป็น

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 195

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยม พระครโู สภณชยาภวิ ฒั น์ และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
ด้วยหลกั บญุ กริ ยิ าวัตถุและกามโภคี

ผสู้ ะสมสว่ นเกนิ นไ้ี วต้ อ่ ไปเรอ่ื ย ๆ ในขณะทช่ี นชน้ั กรรมาชพี กลบั ยากจนและไมส่ ามารถ
สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นผู้ปกครองหรือเป็นชนช้ันนายทุนท่ีมีอำ�นาจถือครองปัจจัย
การผลิตได้ (Laycock, H., 1991: 121-131) จะเห็นได้ว่าการที่นายทุนจะมีความ
มง่ั คั่งได้จากผลผลติ นนั้ เขาตอ้ งพยายามสะสมมลู ค่าสว่ นเกนิ ให้ได้ ซ่งึ มูลคา่ ส่วนเกินนี้
เกดิ จากการทน่ี ายทนุ ลงทนุ หรอื จา้ งคา่ จา้ งกรรมกรในราคาทตี่ �ำ่ แตข่ ายสนิ คา้ ทกี่ รรมกร
นัน้ ผลิตใหม้ ากกวา่ ราคาคา่ จ้างค่อนขา้ งสงู ดังน้นั สง่ิ ท่ถี กู ลดทอนคุณคา่ ก็คอื “แรงงาน
ของกรรมกร” เราจึงเห็นได้ว่าแรงงานเป็นปัจจัยสำ�คัญของระบบทุนนิยม เมื่อแรงงาน
เป็นส่วนสำ�คัญของระบบทุนนิยมและในขณะเดียวกันเจ้าของแรงงานก็ไม่มีสิทธิ์
ตอ่ รองกบั คา่ จา้ งใด ๆ ผลทต่ี ามมาคอื เมอ่ื มกี ารปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรมโดยน�ำ เอาเทคโนโลยี
และความสะดวกสบายเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตนายทุนก็ไม่ต้องจำ�เป็นท่ีจะ
อาศัยแรงงานคนต่อไป แต่ทว่าในขณะเดียวกันแรงงานน้ันก็ยังต้องหาปัจจัยยังชีพเขา
จึงจำ�เป็นท่ีจะต้องถูกลดทอนคุณค่าลงเร่ือย ๆ แม้ค่าจ้างจากนายทุนจะถูกลงเพราะมี
เครอื่ งมอื ทท่ี นั สมยั มาทดแทนแรงงานกต็ าม เขากย็ งั ยอมรบั กบั คา่ จา้ งทม่ี เี พยี งเลก็ นอ้ ย
เหล่าน้ัน และถ้าย่ิงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมากเท่าใด
การกดข่ีขดู รดี และลดทอนคณุ คา่ ของแรงงานกจ็ ะถกู ลดทอนคณุ ค่าลงมากด้วยเชน่ กนั

เราจะเห็นว่าปัญหาในระบบทุนนิยมคือความโลภท่ีไม่รู้จักพอของนายทุน
ซึ่งสะสมมูลค่าส่วนเกินนี้ข้ึนไปเรื่อย ๆ ในท่ีน้ีปัญหาที่เราจะพิจารณาก็คือ 1) ต้นเหตุ
ของการนำ�ไปสู่ปัญหาในระบบทุนนิยม เพ่ือชี้ให้เห็นว่าอะไรคือพื้นฐานท่ีสำ�คัญที่สุด
ของปัญหานี้และการแก้ไขปัญหานี้หากมองผ่านมุมมองของพุทธศาสนาเถรวาท
เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาน้ีได้อย่างไร และ 2) ปัญหาภายในระบบทุนนิยมและ
ปรากฏการณต์ า่ ง ๆ ทเ่ี กิดขน้ึ ภายในระบบทนุ นยิ ม เชน่ การใชเ้ ทคโนโลยอี ตุ สาหกรรม
มากเกินไป การเน้นวตั ถุนยิ มและบริโภคนยิ ม ซ่งึ กจ็ ะมองวิธีการแก้ปัญหาผ่านแนวคิด
ของพุทธศาสนาเช่นกัน ในบทความนี้จึงจะเริ่มต้นอภิปรายและช้ีให้เห็นถึงท่ีมาของ
ปัญหาในระบบทุนนิยมและระบบทุนนิยมในโลกสมัยใหม่ และหลังจากน้ันก็จะนำ�
เสนอแนวคดิ ส�ำ หรบั การแกป้ ญั หาทนุ นยิ มตามทศั นะของพทุ ธศาสนาเถรวาท ซง่ึ ผเู้ ขยี น
จะได้นำ�เสนอและลำ�ดับเนื้อหาของบทความเพื่อช้ีให้เห็นความสำ�คัญของพุทธศาสนา
กบั การแกป้ ัญหาทนุ นิยมดังนี้
196 มนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

ความสำ�คญั ของปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ลักษณะทวั่ ไปของระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นยิ ม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจท่ีมุ่งถือเอาทุน (เงินตรา) เป็น

หลักในการดำ�เนินการทางเศรษฐกิจ และยังเป็นระบบที่สร้างชนช้ันทางสังคมให้เกิด
ข้ึนน่นั หมายความวา่ ปัญหาดังกล่าวนน้ี ำ�ไปสคู่ วามไมเ่ สมอภาคกันในสังคม ในแงข่ อง
การนำ�เสนอปัญหาเกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องความเสมอภาคน้ันมีนักปรัชญาคนส�ำ คัญ ๆ
ทเ่ี สนอเอาไวแ้ ละมอี ทิ ธพิ ลตอ่ การเปลย่ี นแปลงสงั คมไปสคู่ วามเสมอภาคและเทา่ เทยี ม
กัน ตลอดจนเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองสำ�หรับหลายประเทศที่นำ�ไปปฏิบัติในการ
ปกครอง ซง่ึ ปญั หานีด้ เู หมือน คารล์ มารก์ ซ์ (Karl Marx) จะเป็นผู้ทสี่ นใจความเสมอ
ภาคอีกคนหน่ึงในการวิพากษ์ระบบทุนนิยมและความไม่เสมอภาคในระบบน้ี ในการ
ศกึ ษาความคดิ ของคารล์ มารก์ ซน์ นั้ ซงึ่ เมอ่ื ท�ำ การวเิ คราะหค์ วามคดิ ยอ้ นขน้ึ ไปเปน็ ล�ำ ดบั
ก็จะพบว่า เค้าโครงความคิดของมาร์กซ์วางอยู่บนบรรทัดฐานของความเสมอภาค
แต่ถึงจะเป็นเช่นน้ันด้วยวิธีการอธิบายของมาร์กซ์ เขาไม่ได้ต้ังต้นด้วยการกล่าวว่า
ความเสมอภาคเป็นบรรทัดฐานของเขาอย่างไร แต่เขานำ�เสนอโดยการชี้ให้เห็น
ด้วยสภาพความเป็นจริงของสังคมร่วมสมัยภายใต้ระบบทุนนิยมว่าได้ส่งผลกระทบ
อันรุนแรงต่อวิถีการมีชีวิตของมนุษย์ท่ีมีความสัมพันธ์โดยธรรมชาติท่ีซึ่งพวกเขามี
ต่อโลกได้ถูกทำ�ลายไปอย่างไร มาร์กซ์ วิพากษ์ปัญหาท่ีเกิดข้ึนภายในระบบทุนนิยม
ด้วยการชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาความไม่เสมอภาคเกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ทางการ
ผลติ โดยแสดงออกผา่ นมโนทัศน์ทีส่ ำ�คญั คือ การเกิดกระบวนการกดข่ีขูดรดี และมลู คา่
ส่วนเกิน (ชลลดา นาคใหญ่, 2558: 82-83)

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) แสดงให้เห็นว่าผู้มีบทบาทส�ำคัญในการผลิตก็คือ
“นายทนุ ” กบั “กรรมกร” และสงิ่ ท่ีกอ่ ให้เกดิ มลู ค่ากค็ ือแรงงานของกรรมกรเปน็ ส�ำคญั
มาร์กซ์มีความกังวลเป็นพิเศษกับเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับแรงงาน
ของพวกเขาเอง (Calhoun, Craig J, 2002: 22) เพราะเห็นว่าในสงั คมนายทุนนอกจาก
กรรมกรจะถูกกดขีจ่ ากนายทนุ แลว้ ฐานะของกรรมกรก็ยงั ตกต�่ำลงมาอีกด้วย นน่ั ก็คือ
กรรมกรจะต้องขายแรงงานเพ่อื ใหไ้ ด้มาซึง่ “คา่ จ้าง” ท่ี “น้อยกวา่ มลู คา่ ของแรงงาน” ท่ี
ใช้ใน “การผลิต” ซ่ึงเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนได้แสวงหาก�ำไรจากสินค้าท่ี

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 197

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม พระครูโสภณชยาภิวฒั น์ และ พระมหามิตร ฐติ ปญโฺ ญ
ด้วยหลักบญุ กริ ิยาวัตถแุ ละกามโภคี

ผลิตข้ึนโดยมีต้นทุนในการผลิตท่ีต�่ำ แต่มีมูลค่าข้ึนมาเพราะแรงงานของกรรมกร
ในสภาวการณเ์ ชน่ นยี้ งิ่ การผลติ ในระบบนายทนุ พฒั นามากขนึ้ เทา่ ใด สง่ิ ทกี่ รรมกรผลติ
ข้ึนก็จะสร้างความม่ันคงให้กับนายทุนมากข้ึนเท่านั้น ในขณะเดียวกันกรรมกร
ผขู้ ายแรงงานกลบั ยากจนลงเรอ่ื ย ๆ จนกระทง่ั ในทสี่ ดุ กรรมกรกจ็ ะถกู ลดฐานะลงไปเปน็
เพยี งแคส่ งิ่ ผลติ อยา่ งหนงึ่ และเปน็ สงิ่ ผลติ ทม่ี มี ลู คา่ ตำ�่ ทส่ี ดุ ดว้ ย (เดน่ พงษ์ แสนค�ำ และ
อคั รยา สงั ขจนั ทร,์ 2562) ทง้ั นกี้ เ็ พราะวา่ นายทนุ เองสามารถขดู รดี แรงงานจากกรรมกร
โดยช�ำระค่าตอบแทนในอัตราท่ีต�่ำท่ีสุดเท่าท่ีกรรมกรจะสามารถคงชีพอยู่ได้ ดังน้ัน
ในขณะที่มูลค่าของส่ิงผลิตได้เพ่ิมขึ้นอย่างทวีคูณ มูลค่าของมนุษย์ก็ลดลงเป็นเงา
ตามไปด้วย (สุรยี ์ สวุ รรณปรีชา, 2520: 69)

นอกจากน้ีค�ำอธิบายของมาร์กซ์ยังปรากฏผ่านค�ำอธิบายของ เฮอร์นัน เดอ
โซโต (Hernando de Soto) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยที่อ้างว่าลักษณะส�ำคัญ
ของระบบทุนนิยมคือการปกป้องสถานะของสิทธิในทรัพย์สินในระบบทรัพย์สิน
ส่วนตัวอย่างเป็นทางการซึ่งมีการบันทึกการเป็นเจ้าของและการท�ำธุรกรรมไว้
อยา่ งชดั เจน ตามแนวคดิ ของโซโต นเ่ี ปน็ กระบวนการทที่ รพั ยส์ นิ ทางกายภาพไดร้ บั การ
แปลงใหเ้ ปน็ ทนุ ซ่งึ จะน�ำไปใชใ้ นรูปแบบอนื่ ๆ อกี มากมายและมปี ระสทิ ธภิ าพมากข้ึน
ในระบบตลาด (Crafts, Nicholas FR, 1978: 172) เม่อื การผลติ สนิ ค้าในระบบทุนนยิ ม
มคี วามตอ้ งการผลติ เพอื่ ขายในตลาด สง่ิ ทต่ี ามมากค็ อื ความตอ้ งการก�ำไร ซงึ่ ก�ำไรนเี้ อง
เกิดมาจากการขูดรีดแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพที่ต้องขายพลังแรงงานในราคาท่ีต่�ำ
ให้กับนายทุน ในความหมายของมาร์กซ์ก็คือแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตที่ถูกลดทอน
คุณค่าด้วยราคาซื้อในตลาดแรงงานท่ีต่�ำ ในขณะที่ผลผลิตที่ได้จากแรงงานถูกขายไป
ในราคาทสี่ งู โดยผลตา่ งนม้ี ารก์ ซเ์ รยี กวา่ มลู คา่ สว่ นเกนิ และยง่ิ แรงงานผลติ มากเทา่ ใด
การกดขข่ี ดู รดี กจ็ ะเพ่ิมขน้ึ มากเท่านน้ั

จึงเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวกลางความสัมพันธ์ทางสังคม
ในการผลิต (เช่นในหมู่คนงานหรือระหว่างแรงงานกับนายทุน) ผ่านสินค้าโภคภัณฑ์
รวมถงึ แรงงานทซ่ี อ้ื และขายในตลาด (Calhoun, Craig J, 2002: 22) นอกจากเรอ่ื งของ
แรงงานของกรรมกรแล้ว มาร์กซ์ยังอธิบายต่อไปว่านายทุนมีทางเลือก 2 อย่าง
ในการท�ำงานคือ อย่างแรกนายทุนจะเลือกใช้แรงงานกรรมกร และอย่างที่สองคือ
198 มนุษยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

การใชเ้ ครอ่ื งจกั ร แตส่ �ำหรบั กรรมกรแลว้ ยอ่ มไมม่ ที างเลอื ก เพราะเขาตอ้ งพงึ่ นายทนุ ใน
การขายแรงงานของตนเองอยู่แล้วเพื่อการยังชีพ แต่ในสังคมที่อุตสาหกรรม
มคี วามกา้ วหนา้ จะท�ำใหเ้ ทคโนโลยขี องเครอื่ งจกั รกจ็ ะพฒั นาไปดว้ ย แนน่ อนวา่ นายทนุ
จะต้องเลือกเครื่องจักรเพราะสามารถลดต้นทุนในการจ้างงานได้ และย่ิงเครื่องจักร
มอี ทิ ธิพลตอ่ การผลติ ของนายทนุ มากขึ้นเท่าใด ฐานะของกรรมกรก็จะตกต่�ำลงไปมาก
เท่าน้ัน กรรมกรจึงตกเป็นทาสของนายทุนและเคร่ืองจักรมากขึ้นเท่าน้ัน (เด่นพงษ์
แสนค�ำ, 2018) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจ
ท่ใี ห้ความส�ำคญั กับทรพั ย์สินสว่ นตวั นนั่ ก็คอื เงนิ ทนุ แต่ทรัพยส์ ินสว่ นตวั นี้ดูเหมือนจะ
ขัดแย้งกับค�ำอธิบายของทุนนิยมที่ว่าใครผลิตเท่าใดก็ได้เท่าน้ัน แต่ตรงกันข้าม
การใช้แรงงานของชนช้ันกรรมาชีพท่ีผลิตไปอย่างมากเขากลับไม่ได้รับความเป็นธรรม
ในคา่ ตอบแทนทผ่ี ลติ ได้ นอกจากนก้ี ารผลติ ในระบบทนุ นยิ มเปน็ ไปเพอ่ื ตลาดและก�ำไร
ซงึ่ ชน้ี �ำใหเ้ จา้ ของทนุ มงุ่ ไปหาก�ำไรผา่ นการลดทอนคณุ คา่ ของปจั จยั การผลติ โดยเฉพาะ
แรงงานเปน็ อยา่ งมาก ลกั ษณะเชน่ นขี้ องระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มจงึ น�ำไปสปู่ ญั หา
ทีต่ ามมาอย่างมากมาย

ปญั หาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ค�ำว่าปัญหาในที่นี้ผู้เขียนนิยามเอาไว้ว่าเป็นปัญหาในระดับพ้ืนฐาน ท่ีต้อง
ท�ำการวิเคราะหผ์ า่ นส่ิงที่ปรากฏใหเ้ หน็ ในเชงิ ประจกั ษ์แล้วน�ำไปสปู่ ญั หาทเ่ี ปน็ พนื้ ฐาน
จริง ๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่ิงที่เป็นปัญหาเชิงปรากฏการณ์ก็คือความไม่
เท่าเทียมกันทางสังคม อันเกิดจากการเก็บสะสมมูลค่าส่วนเกินท่ีได้จากการผลิต
ของระบบตลาด แตเ่ มอ่ื ท�ำการวเิ คราะหใ์ หล้ กึ ลงไปมากกวา่ นนั้ เรากจ็ ะพบวา่ ปญั หาของ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมคือปัญหาเชิงมนุษยธรรมที่ว่าด้วยการกดข่ีขูดรีดเงินตรา
และการกดข่ีขูดรีดความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะชนชั้นกรรมาชีพ เดิมทีเดียวน้ัน
การแลกเปล่ียนสินค้าในสังคมเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกันแต่รูปแบบน้ี
มีปัญหาเม่ือระบบเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ทุนนิยม รูปแบบของการแลกเปลี่ยนในระบบทุน
คือการซ้ือเพื่อขาย จุดเริ่มต้นและจุดส้ินสุดของการหมุนเวียนจะกลายเป็นเงินตรา
ในรูปแบบของ M---C---M1 ใจความส�ำคัญท่ีมาร์กซ์ช้ีให้เห็นปัญหาของระบบทุนนิยม

1C = Commodity (สนิ้ คา้ ทีซ่ ือ้ ขาย), M = Money (เงินตรา) 199
Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019

การแก้ไขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม พระครโู สภณชยาภิวัฒน์ และ พระมหามติ ร ฐิตปญโฺ ญ
ดว้ ยหลกั บญุ กิริยาวตั ถุและกามโภคี

ก็คือการหมุนเวียนในรูปแบบ M---C---M นั้นมีความชัดเจนมากขึ้นเม่ือตัวกลาง
ของระบบหมุนเวียนเป็นสินค้าท่ีเรียกว่า “พลังแรงงาน” ซ่ึงเป็นการที่แรงงานขายพลัง
แรงงานของตนเองให้ตลาดทุน สนิ ค้าชนดิ น้ีแตกต่างจากสินคา้ ชนิดอน่ื กล่าวคือ สินค้า
ท่ีเป็นพลังแรงงานน้ีสามารถสร้างมูลค่าใหม่ของตนเองข้ึนมาได้ มูลค่าความแตกต่าง
ท่ีเกิดข้ึนนี้มาร์กซ์เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” ท่ีเจ้าของทุนได้ใช้ประโยชน์ในการน�ำไป
ขยายทุนด้ังเดิมของตนเองให้มีมูลคา่ มากข้นึ (Marx, Karl, 1971: 190 – 191) กลาย
เป็นระบบหมุนเวยี นของทนุ รปู แบบใหม่คือ M---C---M/ (ชลลดา นาคใหญ่, 2558: 96)
กล่าวได้ว่าในตอนแรกจุดเร่ิมต้นคือเงินซ่ึงน�ำไปสู่จุดสิ้นสุดคือเงินที่เพ่ิมขึ้นหรือเรียกว่า
ก�ำไร ทว่าใจความส�ำคัญอยู่ในระหว่างทางการเปลี่ยนจากเงินไปเป็นก�ำไร เพราะใน
ระหว่างทางดังกล่าวเกิดกระบวนการผลิตและขูดรีดพลังแรงงานของกรรมกรเกิดข้ึน
ซงึ่ นเี่ องเปน็ กระบวนการท่บี ง่ ช้วี า่ เกดิ การขูดรีดพลังแรงงานของมนุษย์

จากกระบวนการหมนุ เวยี นเงนิ ในระบบทนุ นยิ ม M/ เกดิ ขนึ้ จาก M + ∆M ซงึ่ ∆M
ในที่น้เี กิดจาก M หรือก็คอื ทุนท่เี จา้ ของทนุ น�ำเข้าไปเปน็ ล�ำดับแรกบวกกบั ∆M ซ่งึ เปน็
มูลค่าที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Marx, Karl, 1971: 151) อันเป็นส่ิงท่ีมาร์กซ์เรียกว่ามูลค่า
ส่วนเกินท่ีเป็นลักษณะพิเศษของทุนที่เกิดจากการซ้ือขายพลังแรงงานซ่ึงท�ำให้เกิด
สว่ นต่างของมลู ค่าดังกล่าว ดงั นน้ั การแปลรูปจากทนุ M ผ่านสนิ ค้าในตลาดทนุ ซึ่งกค็ ือ
แรงงาน C ไปสู่ทุนท่มี มี ากกว่าเดิมคอื M/ ซง่ึ น�ำไปสู่กระบวนการทชี่ นช้ันปกครองทีเ่ ป็น
เจา้ ของทนุ สามารถเกบ็ เอาสว่ นเกนิ ∆M ไวค้ รอบครอง กระบวนการทเ่ี จา้ ของทนุ สามารถ
เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ส่วนต่างที่เกิดจากการประเมินมูลค่าของแรงงานไปเช่นนี้ คือ
ส่ิงท่ีมาร์กซ์วิพากษ์ว่ามันคือวิถีแห่งการกดขี่ขูดรีดท่ีเกิดข้ึนอย่างไม่เป็นธรรมภายใต้
ความสมั พนั ธท์ างการผลติ ของระบบทนุ นยิ ม กระบวนการกดขขี่ ดู รดี และมลู คา่ สว่ นเกนิ
เกิดขึ้นภายใต้วิถีการผลิตในระบบทุนนิยมเช่นน้ี น�ำไปสู่สิ่งที่มาร์กซ์ชี้ให้เห็นว่าน่ีคือ
ความไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นโดยเช่ือมโยงกับกระบวนการแลกเปลี่ยนท่ีไม่เท่ากันในการ
ก�ำหนดมูลค่าของพลังแรงงานซึ่งจะเห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถแลกเปลี่ยนแรงงาน
ของตนเองไดเ้ ทา่ กบั มลู คา่ ทเ่ี สยี ไป (ชลลดา นาคใหญ,่ 2558: 97) ซง่ึ ในทน่ี ป้ี ญั หาทเ่ี ปน็
รูปธรรมมากท่ีสุดก็คือค่าจ้างที่แรงงานไม่ได้รับการแลกเปล่ียนกลับมาเทียบเท่ากับ
มูลค่าท่ีเขาได้เสนอขายกับเจ้าของทุน นั่นเท่ากับโครงสร้างพ้ืนฐานในการแลกเปล่ียน
200 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ท่ีถูกก�ำหนดไว้จากการแลกเปลี่ยนแรงงานของตัวเองในพื้นที่
ส่วนกลางของสังคมไม่ได้อยู่บนฐานของการให้ค่าการแลกเปลี่ยนท่ีเท่ากันอีกต่อไป
การกดขขี่ ดู รดี ในระบบทนุ นยิ มเปน็ สง่ิ ทเี่ กดิ ขน้ึ ในสงั คมโลกตง้ั แตย่ คุ ปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรม
เรอื่ ยมาจนถงึ ปจั จบุ นั และยงั คงเปน็ ปญั หาทยี่ งั แกไ้ มไ่ ด้ แตข่ อ้ สงั เกตทส่ี �ำคญั ทส่ี ดุ กค็ อื
วา่ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทนี่ �ำไปสูป่ ัญหาพนื้ ฐานของระบบทนุ นยิ มนั้น สะทอ้ นใหเ้ ห็นถึง
พ้ืนฐานของความเป็นมนุษย์ซึ่งเร่ิมต้นข้ึนในฐานะของการเป็น “ผู้ผลิต” แต่ถูกระบบ
ทนุ นยิ มลดสถานะลงจนกลายเปน็ เพยี งแคส่ นิ คา้ ทใี่ ชใ้ นการซอื้ ขาย ส�ำหรบั มารก์ ซแ์ ลว้
ส่ิงท่ีเกิดข้ึนคือการท�ำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ เมื่อพวกเขาไม่สามารถใช้แรงงาน
ในการท�ำการผลิตเพ่ือตนเองได้อีกต่อไป รูปแบบความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยม
จึงเป็นการเผชิญหน้าระหว่างมนุษย์ที่ถูกท�ำให้ไม่เท่ากันและจะแสดงออกมา
อย่างชัดเจนในการเกิดความขัดแย้งทางชนชั้น ซ่ึงจะเป็นการพัฒนาไปสู่ระบบสังคม
ที่ดีกวา่ น่ันก็คอื ระบบสงั คมนยิ ม

ในระบบทุนนิยมนอกจากความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่ากัน การที่
ผู้ผลิตสินค้าถูกท�ำให้เกิดระยะห่างของความสัมพันธ์ระหว่างพลังการผลิตและผลผลิต
ของตนเอง มันยังน�ำไปสู่ข้อวิพากษ์อีกข้อหนึ่ง เม่ือเรามองมนุษย์ในฐานะของผู้ผลิต
ทเี่ สมอภาคกนั วา่ รปู แบบการผลติ แบบทนุ นยิ มไดท้ �ำใหม้ นษุ ยแ์ ปลกแยกไปจากผลผลติ
ทตี่ นเองไดส้ รา้ งขน้ึ เพราะผลผลติ ทเ่ี กดิ ขนึ้ ในระบบทนุ นยิ มไมไ่ ดเ้ ปน็ ของผผู้ ลติ ทแ่ี ทจ้ รงิ
ระบบโรงงานอุตสาหกรรมของทุนนิยมท�ำให้มนุษย์มีสภาพไม่ต่างอะไรจากเคร่ืองจักร
ทั้งท่ีในการผลิตมนุษย์มีอิสระในการเลือกที่จะผลิตอะไรก็ได้ตามศักยภาพของตนเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือในระบบทุนนิยม มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เท่ากันอีกต่อไปไม่ว่า
จะด้วยธรรมชาติภายในของตนเองหรือการเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันภายในสังคม
(ชลลดา นาคใหญ่, 2558: 111) ระบบทนุ นิยมท�ำให้เกดิ การกดขข่ี ูดรีดมนษุ ย์ทีส่ �ำคัญ
ในสองส่วนได้แก่ ส่วนแรกคือการขูดรีดเอาแรงงานส่วนเกินจากระบบการแลกเปล่ียน
ภายในความสัมพันธ์ทางการผลิต ในเม่ือสิ่งที่แรงงานขายไปคือพลังแรงงานที่อยู่ใน
สถานะของสนิ คา้ แตเ่ ขาไมไ่ ดข้ ายตวั เองเปน็ ทาส สงิ่ ทเี่ จา้ ของทนุ มสี ทิ ธใ์ิ ชส้ อยจงึ มเี พยี ง
พลังแรงงานท่ีแรงงานได้ขายไปโดยมีมูลค่าเทากับปัจจัยการด�ำรงชีวิตท่ีแรงงานจะใช้
เพ่ือความอยู่รอดของแต่ละวัน กล่าวอีกนัยหนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทุนและ

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 201

การแกไ้ ขปญั หาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม พระครูโสภณชยาภิวฒั น์ และ พระมหามติ ร ฐิตปญโฺ ญ
ด้วยหลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถแุ ละกามโภคี

แรงงานควรเป็นไปอย่างเสมอภาคกันในฐานะท่ีต่างฝ่ายต่างอยู่ในสถานะของเจ้าของ
สนิ ค้าซง่ึ ในทน่ี ก้ี ็คอื เงนิ ตราและพลังแรงงาน ซ่ึงทง้ั สองฝา่ ยต่างน�ำสงิ่ ที่อยู่ในกรรมสทิ ธิ์
ของตนออกมาแลกเปล่ียนซ่ึงกันและกัน ส่วนท่ีสองคือการขูดรีดความเป็นมนุษย์ที่
โดยธรรมชาตมิ นษุ ยม์ คี วามเสมอภาคกนั ในฐานะผผู้ ลติ ทนุ นยิ มไมเ่ พยี งแตท่ �ำใหม้ นษุ ย์
แปลกแยกไปจากธรรมชาตดิ งั้ เดมิ แตย่ งั ท�ำใหเ้ กดิ ความแตกตา่ งขนึ้ มาในความสมั พนั ธ์
ระหว่างมนุษย์ก่อให้เกิดการแบ่งแยกชนช้ันท่ีฝ่ายหน่ึงใช้ความได้เปรียบในการครอบ
ครองปัจจัยการผลิตมาขูดรีดอีกฝ่ายที่ไม่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเองท้ังท่ี
โดยธรรมชาติทุกคนเท่ากัน นอกจากน้ีการท่ีมนุษย์ถูกท�ำให้เป็นเสมือนเคร่ืองจักรภาย
ใตร้ ะบบการผลติ ของโรงงานยงั กดี กนั มนษุ ยอ์ อกจากความสมั พนั ธท์ างการผลติ ดงั้ เดมิ
ทม่ี นษุ ย์รวมกนั เป็นชมุ ชนทีถ่ ึงแมแ้ ตล่ ะคนต่างมคี วามสามารถไมเ่ หมอื นกนั แตม่ นษุ ย์
ก็ด�ำรงความสัมพันธ์กันอย่างเสมอภาคในการที่ต่างฝ่ายต่างน�ำผลผลิตของตนมา
แลกเปลี่ยนกันได้ด้วยความสัมพันธ์แบบแบ่งงานกันท�ำที่ทุกคนต่างมีฐานะเป็นผู้ผลิต
จากแรงงานท่ตี นมีเหมือนกนั (ชลลดา นาคใหญ,่ 2558: 112)

จะเห็นได้ว่าส�ำหรับมาร์กซ์แล้วปัญหาของระบบทุนนิยมเกิดข้ึนจากการสะสม
มลู คา่ สว่ นเกนิ ทนี่ ายทนุ ไดม้ าจากการหมนุ เวยี นการผลติ โดยมพี ลงั แรงงานเปน็ ตวั กลาง
ในการหมนุ เวยี น และผลติ ผลผลติ สว่ นเกนิ ใหก้ บั นายทนุ การผลติ สว่ นเกนิ นเี้ กดิ จากการ
ขูดรีดทุนในผลผลิตของแรงงานท่ีผลิตได้ และย่ิงแรงงานผลิตมากข้ึนเท่าใดการขูดรีด
ทุนก็ย่ิงทวีคูณย่ิงขึ้นมากเท่านั้น นอกจากนี้การขูดรีดทุนยังน�ำไปสู่การขูดรีดความเป็น
มนุษยเ์ พราะเกิดจากการละเมดิ ความเสมอภาคกนั ตามธรรมชาตขิ องมนุษย์ ท่นี ายทุน
พยายามขูดรีดผ่านกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้น การขูดรีดความเป็นมนุษย์เช่นน้ีถือเป็น
ปญั หาส�ำคญั ในเชงิ มนษุ ยธรรม เพราะมนั น�ำไปสกู่ ารไมร่ สู้ กึ มตี วั ตน รสู้ กึ ไรค้ า่ และไมม่ ี
คณุ คา่ ในตนเองของมนษุ ย์ ระบบทนุ นยิ มแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความไมเ่ สมอภาคอยา่ งชดั เจน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝืนธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ มาร์กซ์จึงเสนอแนะให้ระบบสังคม
เปลยี่ นแปลงไปสสู่ งั คมนยิ มเพอ่ื ปลดปลอ่ ยใหม้ นษุ ยไ์ ดร้ บั อสิ รภาพและความเปน็ มนษุ ย์
อย่างแท้จริง

202 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

นอกจากนี้ ในผลงานท่ีช่ือว่า “ประวัติศาสตร์และจิตส�ำนึกทางชนชั้น” ลูคักซ์
(Gyorgy Lukacs) นักทฤษฎีสังคมชาวฮังการี ได้ช้ีให้เห็นว่าลักษณะประการหนึ่ง
ที่ส�ำคัญของระบบทุนนิยมก็คือ มีกระบวนการชนิดหน่ึงเกิดข้ึนซ่ึงท�ำให้มนุษย์ในสังคม
ถกู แปรสภาพกลายเปน็ วตั ถุ ลคู กั ซก์ ลา่ วถงึ “จติ ส�ำนกึ ทเี่ ปน็ วตั ถ”ุ โดยสรปุ วา่ ทา่ มกลาง
สภาพของระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม มนษุ ยจ์ ะมีจิตส�ำนึกที่พรา่ มวั ความใฝฝ่ นั และ
ความต้องการต่าง ๆ ของเขาจะมีลักษณะท่ีถูกบิดเบือนจากส่ิงแวดล้อม ซ่ึงขัดกับ
ประโยชนท์ ่แี ทจ้ ริงของเขาอย่างมาก ในสงั คมทุนนยิ มเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะตกอยูภ่ าย
ใต้กฎเกณฑ์ของการแสวงหาวัตถุและก�ำไร ท่ามกลางสภาพเช่นน้ี ผู้คนในสังคมจะมี
ความสัมพันธ์กันโดยมีผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นตัวเช่ือม แต่ละฝ่ายแสวงหาผล
ประโยชนซ์ ง่ึ กนั และกนั ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งจะวดั ดว้ ยวตั ถแุ ละเงนิ ทองทงั้ สน้ิ ทา้ ยทส่ี ดุ มนษุ ย์
เองก็กลายสภาพเป็นวัตถุไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ
มนษุ ยอ์ กี แลว้ แตก่ ลายเปน็ ความสมั พนั ธแ์ บบวตั ถุ (ปรชี า เปย่ี มพงศส์ านต,์ 2558: 391)

ในระบบทนุ นยิ มสมัยใหม่ มนษุ ยไ์ มใ่ ชป่ จั เจกชนทส่ี ร้างสรรค์ หากแต่เป็นวตั ถุ
หรือส่วนประกอบอันหน่ึงของระบบขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่สนองความต้องการของระบบ
เศรษฐกิจ มนุษย์ก็เป็นเพียงช้ินส่วนท่ีต้องคอยรับใช้ระบบ ท�ำให้ระบบเคล่ือนไหวและ
พัฒนาไปได้ แต่ตัวของมนุษย์เองต้องอยู่ในสภาพทนทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง มนุษย์เป็น
แต่เพียงหน่วยเศรษฐกิจ เป็นวัตถุท่ีสามารถซ้ือขายกันได้ในตลาดตามกฎของ
อุปสงค-์ อปุ ทาน นอกจากนีร้ ะบบเศรษฐกิจใหมย่ งั เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ขอ้ บังคบั ต่าง ๆ
ตามหลักการของการจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ สภาพเช่นนี้ท�ำให้มนุษย์ท่ีอยู่ใน
องค์กรเหล่าน้ันอยู่ในสภาพท่ีเรียกว่าความแปลกแยก มนุษย์องค์กรต้องถูกแบ่งแยก
ออกจากกัน ในระบบความสัมพันธ์จะไม่มีความรู้สึก ขนบประเพณี หรือชีวิตจิตใจ
แต่อย่างใด มนุษย์ในองค์กรเศรษฐกิจสมัยใหม่มีแต่ความอ้างว้างเปล่าเปล่ียว
พิการทางจิตใจ ปราศจากความรักความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปัจเจกชนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์และข้อบังคับ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในระบบการท�ำงานสมัยใหม่
ของสงั คมอตุ สาหกรรม มนษุ ยจ์ ะท�ำงานในหนา้ ทเี่ ดยี ว ซำ�้ ๆ ซาก ๆ ตลอดชวี ติ จนมนษุ ยเ์ อง
มองไมเ่ หน็ วา่ เขาก�ำลงั ท�ำงานเพอ่ื อะไร การท�ำงานจงึ ไมไ่ ดใ้ หค้ วามสขุ และความหมาย
แกม่ นุษย์เลย (ปรีชา เปย่ี มพงศส์ านต์, 2558: 392) กลา่ วโดยสรุปแล้วมนุษยใ์ นระบบ

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 203

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยม พระครูโสภณชยาภวิ ัฒน์ และ พระมหามติ ร ฐิตปญโฺ ญ
ดว้ ยหลักบุญกริ ยิ าวัตถแุ ละกามโภคี

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมสมัยใหม่ต้องตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของการแปรสภาพเป็นวัตถุ
มนษุ ยไ์ มม่ พี ลงั ไมม่ อี �ำนาจทจี่ ะเขา้ ใจหรอื เปลย่ี นแปลงระบบทง้ั หมดทอ่ี ยรู่ อบตวั ไดเ้ ลย

ดงั นน้ั แลว้ จะเหน็ ไดว้ า่ ในระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มนน้ั เรม่ิ ตง้ั ตน้ จากแนวคดิ
แบบเสรีนิยม กล่าวคือทุกที่อยู่ในสังคมต่างมีเสรีภาพในหลาย ๆ ส่ิงหลาย ๆ อย่างที่
เท่ากัน แต่ทวา่ ดว้ ยค�ำอธบิ ายน้ีน�ำไปส่ปู ญั หาท่วี า่ มนษุ ย์ไมไ่ ด้มกี �ำลังทจ่ี ะกอบโกยเอา
สง่ิ ทม่ี อี ยใู่ นธรรมชาตมิ าเปน็ ของตนไดอ้ ยา่ งเทา่ กนั การมองวา่ ทกุ คนเปน็ เจา้ ของสง่ิ ตา่ ง ๆ
อยา่ งมเี สรภี าพภายใตข้ อบเขตของสงั คมจงึ น�ำไปสกู่ ารกระจายปจั จยั การผลติ ในสงั คม
การเมืองอย่างไม่เท่าเทียมกันหรือเรียกว่า มือใครยาวสาวได้สาวเอานั่นเอง แล้วอะไร
คอื ปัญหาทส่ี �ำคญั ท่สี ุดทีจ่ ะชี้ให้เห็นวา่ ทุนนยิ มเกดิ ปญั หาอย่างจรงิ จัง ค�ำตอบโดยสรปุ
ส�ำหรับผู้เขียนคือ 1) ระบบทุนนิยมท�ำให้เกิดการกระจายปัจจัยการผลิตอย่างไม่เท่า
เทยี มกนั ซงึ่ ผดิ ไปจากธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ 2) ระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มท�ำใหเ้ กดิ การ
ขูดรีดเงินตราจากชนชัน้ กรรมาชพี และ 3) ระบบทุนนิยมท�ำให้เกิดการขดู รดี ความเป็น
มนษุ ยจ์ ากแรงงานของกรรมกร โดยนยั ของความหมายนก้ี ารขดู รดี ความเปน็ มนษุ ยก์ ค็ อื
การแยกเอาความเป็นมนุษย์ออกจากตัวของแรงงานเอง และน�ำไปสู่การเกิดข้ึน
ของความแปลกแยกจากตัวเองในท่ีสุด กล่าวได้ว่าระบบทุนนิยมน้ันหากเราวิเคราะห์
ลงไปใหล้ กึ แลว้ ลว้ นแลว้ แตเ่ กดิ ปญั หาเชงิ มนษุ ยธรรมทง้ั สน้ิ นบั ตง้ั แตก่ ารขดู รดี เงนิ ตรา
การกดขแี่ รงงานและความเปน็ มนษุ ย์ ท�ำใหช้ นชนั้ กรรมาชพี ในระบบทนุ นยิ มตอ้ งตกอยู่
ในสภาวะทที่ นทกุ ข์ยาก อยา่ งไรก็ตามถึงแม้ว่าเราตอ้ งอย่ใู นโลกของทนุ นยิ มซึง่ ไมอ่ าจ
ปฏิเสธได้ แต่สิ่งที่ต้องกระท�ำต่อไปก็คือการแสวงหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหา
ของทุนนิยมให้ดียิ่งข้ึน ดูเหมือนว่าข้อถกเถียงซึ่งน�ำไปสู่การแก้ไขน้ันมีอยู่มาก แต่ทว่า
ขอ้ เสนอตามแนวของพทุ ธศาสนาเปน็ อกี ขอ้ เสนอหนง่ึ ทจี่ ะท�ำใหร้ ะบบทนุ นยิ มคลค่ี ลาย
ปัญหาออกไปได้ การเลือกใช้ข้อเสนอของพุทธศาสนาวางอยู่บนสมมติฐานท่ีว่า
พุทธศาสนามองการแก้ปัญหาชีวิตและปัญหาเชิงมนุษยธรรมเป็นหลัก ดังนั้นปัญหา
เชิงมนุษยธรรมในระบบทุนนิยมก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของปัญหาที่พุทธศาสนาจะมี
ขอ้ เสนอแนวทางทด่ี ีได้

204 มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

บุญกิรยิ าวัตถุและกามโภคที ี่มีต่อการแกไ้ ขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม
การกระจายผลผลติ อย่างเป็นธรรม: บุญกิรยิ าวัตถุ 3 วา่ ด้วยทาน
ค�ำสอนจ�ำนวนมากในพทุ ธศาสนา เชน่ สัมมาอาชีวะ มจิ ฉาวณชิ ชา กรรม และ

บญุ กริ ยิ าวตั ถุ (วธิ กี ารท�ำบญุ ) โดยเฉพาะทานและศลี สอนใหพ้ ทุ ธศาสนกิ ชนท�ำกจิ กรรม
ต่าง ๆ โดยยึดหลักศีลธรรม ไม่เบียดเบียนท�ำร้ายหรือเอาเปรียบผู้อ่ืน และค�ำสอน
อย่างเรื่องทิศ 6 และสังคหวัตถุก็สอนให้ท�ำหน้าที่อันเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่ืนและสังคม
ตามหลักพุทธธรรมการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงต้องยึดหลักศีลธรรมและ
การช่วยเหลอื สังคมเชน่ กนั (วัชระ งามจิตรเจริญ, 2552: 96) ผู้เขียนเห็นว่าขอ้ เสนอของ
พทุ ธศาสนาเกยี่ วกบั การชว่ ยเหลอื สงั คมและการเกอ้ื กลู กนั นส้ี ามารถน�ำไปสู่ “สงั คมนยิ ม
ตามแนวพระศาสนา” ดังท่ีท่านพุทธทาสภิกขุเสนอไว้ได้ การที่พุทธศาสนาน�ำเสนอ
แนวคิดแบบสังคมนิยมอันเป็นแนวคิดท่ีอยู่ตรงข้ามกับทุนนิยมน้ัน เสมือนน�ำเสนอ
แงค่ ดิ ในการแกไ้ ขปญั หาทเี่ กดิ ขนึ้ ในระบบทนุ นยิ ม ซงึ่ ปรากฎในค�ำสอนของพทุ ธศาสนา
หลายอยา่ งดงั ทยี่ กตวั อยา่ งไวข้ า้ งตน้ ดงั เชน่ หลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถุ ทวี่ า่ ดว้ ย ทาน ศลี และ
ภาวนา ถือเป็นหลักการเบ้ืองต้นที่จะท�ำให้ระบบทุนนิยมลดปัญหาเก่ียวกับความโลภ
ลงได้ บุญกริ ิยาวตั ถุ 3 คอื ทตี่ ้งั แหง่ การท�ำบญุ , เร่อื งทจ่ี ดั เปน็ การท�ำความด,ี หลักการ
ท�ำความด,ี ทางท�ำความดี ประกอบดว้ ย (พระพรหมคุณาภรณ์, 2555: 93) 1. ทานมยั
บญุ กริ ยิ าวัตถุ (ท�ำบญุ ดว้ ยการให้ปันสงิ่ ของ) 2. สีลมยั บุญกิริยาวตั ถุ (ท�ำบุญดว้ ยการ
รักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย) และ 3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ท�ำบุญ
ด้วยการเจรญิ ภาวนา คอื ฝกึ อบรมจิตใจ)

จากหลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถทุ ง้ั 3 นี้ ผเู้ ขยี นเหน็ วา่ หลกั ส�ำคญั ทจี่ ะแกป้ ญั หาทนุ นยิ ม
ไดอ้ ยา่ งตรงไปตรงมาในระดบั โลกยี ะกค็ อื การใหท้ าน โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ นนั้ การใหท้ าน
ถือเป็นการเกลี่ยผลประโยชน์และช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ดังที่สมเด็จพระมหาสมณ
เจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงกล่าวเอาไวว้ ่า “ทาน คอื การให้ ใหใ้ น ส่งิ ทีค่ วรให้
ให้แก่คนที่ควรให้ การบ�ำเพ็ญทานหากได้พิจารณาตามน้ี ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข
ถกู ตอ้ งตามหลกั พระพทุ ธศาสนา อนั นาํ มาซงึ่ ความสขุ แกผ่ ปู้ ฎบิ ตั อิ ยา่ สมำ่� เสมอ ไมเ่ ดอื ด
รอ้ น ในภายหลัง และสามารถชี้ชดั ไดว้ ่า ทานทแี่ ทจ้ รงิ น้นั จะตอ้ งให้เพอื่ อนุเคราะหแ์ ละ
บูชา ให้ในสิ่งที่ควรให้ และให้แก่คนที่ควรให้เท่านั้น” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 205

การแกไ้ ขปัญหาระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม พระครโู สภณชยาภิวฒั น์ และ พระมหามติ ร ฐิตปญฺโญ
ดว้ ยหลักบุญกริ ิยาวัตถแุ ละกามโภคี

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, 2538: 186) ในพทุ ธศาสนาเถรวาทกล่าวถึงการใหท้ านว่า
แบง่ ได้ 3 ชนดิ คอื (นารรี ัตน์ รกั วิจติ รกลุ , 2554: 15) 1) ทาสทาน ได้แกท่ านท่นี �ำของตน
กินแล้วใช้แล้ว หรือต�่ำกว่าท่ีตนเองกินตนเองใช้ ไปให้ทานกับผู้อ่ืน อานิสงส์ที่ได้รับ
จะได้ลาภท่ีเป็นของเก่าใช้แล้ว 2) สหายทาน ได้แก่ทานที่น�ำของที่เราชอบและอยู่ใน
ระดับเดียวกันกับที่ตนเองกิน ตนเองใช้ไปให้กับผู้อ่ืน อานิสงส์ท่ีได้รับคือจะได้ลาภ
ในระดบั เดยี วกนั กบั ทท่ี �ำทานนน้ั และ และ 3) สามที าน ไดแ้ กท่ านทน่ี �ำของทด่ี กี วา่ ตนเอง
กินใชไ้ ปท�ำอานสิ งสจ์ ะได้ลาภทเ่ี ป็นเลศิ กวา่ ทาสทาน และสหายทาน

ผู้เขียนเห็นว่าหากเรายึดหลักปฏิบัติว่าด้วยการให้ทานตามหลักพุทธศาสนา
เถรวาทก็จะเป็นส่วนส�ำคัญท่ีจะท�ำให้ปัญหาเรื่องการสะสมส่วนเกินในระบบทุนนิยม
อันเป็นปัญหาหลักลดลงไปได้ กล่าวคือการให้ทานน้ันพุทธศาสนาเสนอว่าเป็นการให้
เพื่อลดความตระหนี่ เป็นการให้เพ่ือแจกจ่ายและช่วยเหลือผู้อ่ืนที่ด้อยกว่าและ
ขาดแคลนกว่า เราจะเห็นว่าในระบบทุนนิยมนั้นเต็มไปด้วยผู้ท่ีขาดแคลน และผู้ที่
ขาดแคลนทวี่ า่ นน้ั ตา่ งกเ็ ปน็ ชนชน้ั กรรมาชพี ทข่ี าดแคลนจรงิ ๆ การขาดแคลนของชนชน้ั
กรรมาชีพน้ันก็เพราะว่าผลผลิตส่วนใหญ่ท่ีผลิตได้จากแรงงานของกรรมาชีพน้ันตกไป
อยู่ในมือของนายทุน ความทุกข์ยากท่ีเกิดข้ึนจึงตกอยู่กับชนช้ันกรรมาชีพ ด้วยเหตุน้ี
พทุ ธศาสนาจึงเสนอวา่ ควรมีการใหท้ าน ทานทว่ี า่ นสี้ �ำหรบั ทจี่ ะพฒั นาระบบทนุ นยิ มได้
อย่างจริงจังก็คือ ทาสทาน อันเป็นการแจกจ่ายให้ทานกับข้าทาสบริวาร ลูกจ้างและ
ผู้ท่ีมีสถานะต�่ำกว่าตนเอง ปัญหาของระบบทุนนิยมคือการขูดรีดแรงงานของชนชั้น
กรรมาชีพ ดังน้ันปัญหาท่ีต้องแก้คือกรรมาชีพจะต้องได้รับผลผลิตนั้นอย่างเป็นธรรม
ใหไ้ ด้ และการทกี่ รรมาชพี จะไดร้ บั ผลผลติ อยา่ งเปน็ ธรรมนนั้ นายทนุ หรอื นายจา้ งจะตอ้ ง
มีคติธรรมเร่ืองการให้ทานเป็นหลักซึ่งพุทธศาสนาเองก็เสนอหลักธรรมของการให้ทาน
จากหลักการใช้ชีวิตอันเป็นพื้นฐานของปัจเจกบุคคลอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าการให้ทานนี้
จะเปน็ การลว่ งละเมดิ สทิ ธใิ นทรพั ยส์ นิ ของเจา้ ของทรพั ยแ์ ตอ่ ยา่ งใด เพราะพทุ ธศาสนา
เถรวาทเห็นว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของของสิ่งท้ังปวง แต่ด้วยกฎกติของสังคมมนุษย์สิทธิ
ในทรพั ย์สนิ จึงเป็นข้อตกลงท่ที กุ คนยอมรบั รว่ มกัน ซ่งึ พทุ ธศาสนาก็ไมไ่ ดเ้ สนอให้มีการ
ลว่ งละเมดิ ในทรพั ยส์ นิ สว่ นตวั แตพ่ ทุ ธศาสนาเสนอวา่ จะตอ้ งอยอู่ ยา่ งพอมี พอกนิ และ
พอใช้อย่างพอดี หรือเรียกอีกอย่างว่าหลัก “มัชชิมาปฏิปทา” ถ้าหากทุกคนด�ำรงตน
206 มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

อยู่ในหลักที่ว่านี้ก็จะท�ำให้สังคมก้าวผ่านปัญหาของระบบทุนนิยมไปได้ แต่ทว่าใน
ความเปน็ จริงของสงั คมนัน้ ชนช้นั กรรมาชพี กลบั ใชก้ �ำลงั อยา่ งมากแต่ผลทไ่ี ด้ตอบแทน
ก็มีเพียงแค่น้อยนิด ส่วนชนช้ันนายทุนก็ออกแรงของตนเพียงน้อยนิดแต่กลับได้รับ
ผลประโยชน์ที่มากเหลือล้น ดังนั้นหลักทุนนิยมจึงเป็นหลักที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ
ของความเป็นมนุษย์เพราะโดยธรรมชาติส่ิงมีชีวิตตลอดจนมนุษย์ไม่มีการสะสม
สว่ นเกนิ ไว้ พทุ ธศาสนาจงึ เสนอวา่ หากเรามสี ว่ นเกนิ จากการผลติ ไดส้ งิ่ ทค่ี วรท�ำมากทส่ี ดุ
กค็ อื การใหท้ าน

อย่างไรก็ตามหากเรากล่าวถึงการเสียสละหรือใหท้ านเพื่อขจดั ปัญหาในระบบ
ทนุ นยิ มนนั้ ในพทุ ธศาสนาเรยี กวา่ “ทานวตั ถ”ุ หมายถงึ สง่ิ ของส�ำหรบั ใหส้ �ำหรบั เสยี สละ
ใหผ้ ู้อื่น มี 10 อย่าง ทานสตู ร ได้แก่ อาหาร, น้ำ� , เคร่อื งนุ่งหม่ , ยานพาหนะ, มาลัยและ
ดอกไม,้ ของหอม (ธปู เทยี น), เครอื่ งลบู ไล้ (สบเู่ ปน็ ตน้ ), ทน่ี อน, ทอี่ ยอู่ าศยั , และประทปี
(ไฟหรอื ไฟฟา้ ) การใหท้ านวตั ถุ 10 อยา่ งนม้ี ผี ลอานสิ งสม์ ากเพราะเปน็ สงิ่ ทใี่ หป้ ระโยชน์
อยา่ งเดยี ว ไมม่ โี ทษ ไมม่ พี ษิ ภยั แกผ่ รู้ บั การเลอื กของทจ่ี ะใหบ้ ณั ฑติ สรรเสรญิ ดว้ ยจติ ใจ
ท่ดี งี ามดังปรากฎในทานสูตรตอนหน่ึงว่า (อง.ฺ สตฺตก. (ไทย) 15/49/59-63)

...ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วย
คดิ วา่ ตายไปแลว้ จกั ไดเ้ สวยผลทานน้ี แตใ่ หท้ านดว้ ยคดิ วา่ ทานเปน็ การดี
เขาผนู้ นั้ ใหท้ านนน้ั แลว้ เมอ่ื ตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ ความเปน็ สหายแหง่ เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เขาสิน้ กรรม สน้ิ ฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญแ่ ล้ว ยงั เป็น
ผูก้ ลบั มา คอื มาสูค่ วามเป็นอย่างนี้ฯ

ดกู รสารบี ตุ ร บคุ คลบางคนในโลกน้ี ฯลฯ ไมไ่ ดใ้ หท้ านดว้ ยคดิ วา่
ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคย
ท�ำ มา เรากไ็ มค่ วรท�ำ ใหเ้ สยี ประเพณี เขาใหท้ าน คอื ขา้ ว ฯลฯ ยอ่ มเขา้
ถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขาส้ินกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญแ่ ล้วยังเป็นผ้กู ลับมา คอื มาสคู่ วามเปน็ อย่างนี้ ฯ

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 207

การแก้ไขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทุนนิยม พระครูโสภณชยาภวิ ฒั น์ และ พระมหามติ ร ฐิตปญโฺ ญ
ด้วยหลกั บุญกิรยิ าวัตถแุ ละกามโภคี

ดกู รสารบี ตุ ร บคุ คลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไมไ่ ดใ้ หท้ านดว้ ยคดิ วา่
บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยท�ำมา เราก็ไม่ควรท�ำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่าน้ี
ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่
หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาช้ันดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธ์ิ ส้ินยศหมดความเป็นใหญ่
แล้วยงั เปน็ ผู้กลบั มา คอื มาส่คู วามเป็นอยา่ งนีฯ้ ...

ดังน้ันจะเห็นได้ว่าในทัศนะของพุทธศาสนาค�ำสอนเรื่องการให้ทานจึงเป็น
ค�ำสอนที่ช้ีให้เห็นว่าการเสียสละนั้นน�ำไปสู่การเป็นผู้มีจิตใจดีงาม ซึ่งไม่เก่ียวข้องกับ
ผลประโยชน์ท่ีจะได้รับว่าการให้ทานน้ันเป็นเสมือนการสั่งสม หรือไม่ใช่การให้ทาน
ทท่ี �ำตามประเพณี และไมใ่ ชก่ ารใหท้ านทค่ี ดิ วา่ เปน็ การท�ำดี แตเ่ ปน็ เสมอื นการแจกจา่ ย
สิ่งที่เรามีอยู่ให้กับผู้อื่น ทัศนะตรงนี้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นค�ำสอนท่ีจะสามารถขจัดปัญหา
เร่ืองการสะสมส่วนเกินได้เป็นอย่างดี และเม่ือเป็นเช่นน้ีพุทธศาสนาจึงเป็นค�ำสอน
ที่สามารถที่จะปลดปล่อยมนุษย์ออกจากความทุกข์ยากในระบบทุนนิยมได้ไม่มาก
ก็น้อยแต่โดยหลักการแลว้ พทุ ธศาสนาเสนอหลักการให้ทานมาเพ่อื ให้เปน็ การเสียสละ
เอ้ือเฟ้อื ต่อผ้อู นื่

นอกจากน้ีการให้ทานตามทัศนะของพุทธศาสนายังถือว่าเป็นการกระจาย
ผลผลิตตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ด้วย ในทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าว่า พุทธศาสนาเสนอให้มีการกระจายผลผลิตอย่างเป็นธรรม
ซ่ึงสอดคล้องกับการปฏิเสธระบบทุนนิยมที่เป็นปัญหา กล่าวคือการกระจายผลผลิต
ในทัศนะของพุทธศาสนานั้นจะต้องสามารถตอบสนองความจ�ำเป็นต่อร่างกาย
เพ่ือบ�ำบัดความทุกขเวทนาของคนทุกคนได้ ทุกคนจะต้องมีสิทธิและเสรีภาพในการ
กระจายผลผลติ นีเ้ ทา่ เทยี มกนั อย่างถว้ นหนา้ ไมว่ ่าจะเปน็ ชนชัน้ วรรณะ ลทั ธคิ วามเช่อื
แบบใดกต็ าม มนษุ ยท์ กุ ชวี ติ ตอ้ งไดร้ บั การบ�ำบดั ทกุ ขท์ ง้ั หมด หากความทกุ ขห์ รอื ปญั หา
ทง้ั หลายทมี่ อี ยไู่ ดร้ บั การแกไ้ ขดว้ ยอ�ำนาจของตณั หาอปุ าทานแลว้ ความทกุ ขค์ วามเดอื ด
ร้อนก็จะเพ่ิมมากขึ้น ตรงกันข้ามหากแก้ไขด้วยพลังปัญญาตามหลักแห่งพุทธศาสนา
208 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

แล้วน้ัน ความเดือดร้อนหรือความทุกข์ก็จะหายไป (Payutto, Phra Prayudh, 1995:
72) ดังนั้นในมิตินี้จึงดูเหมือนว่าหลักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกระจายผลผลิตของ
พทุ ธศาสนามแี นวโนม้ แบบสงั คมนยิ มหรอื รฐั สวสั ดกิ าร เนน้ การเออ้ื เฟอ้ื เผอื่ แผใ่ หท้ กุ คน
สามารถด�ำรงชวี ิตอยู่ได้ ทุกข์บรรเทาเบาบางลง โดยไมอ่ ิงกับความสามารถในการผลิต
จะเห็นได้ว่าแนวคิดของพุทธศาสนาว่าด้วยการให้ทานนี้มีความเข้ากันได้กับแนวคิด
สังคมนิยมอันเป็นแนวคิดที่อยู่ตรงข้ามกับแนวคิดแบบทุนนิยม ถึงแม้ว่าการกระจาย
ผลผลิตตามทัศนะของพุทธศาสนาไม่ได้เสนอผ่านรัฐแบบสังคมนิยมตะวันตกก็ตาม
แต่พุทธศาสนาถือว่าเป็นธัมมิกสังคมนิยมตามที่ท่านพุทธทาสภิกขุเสนอไว2้ กล่าวคือ
เป็นสังคมนิยมแห่งความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น การให้ทานจึงเป็นพ้ืนฐาน
ของการขจัดปญั หาทุนนยิ มในเบื้องต้นได้เปน็ อยา่ งดี

หลกั ธรรมส�ำหรบั บรโิ ภคในครวั เรอื นกบั การแกป้ ญั หาทนุ นยิ ม: หลกั กามโภคี
ปัญหาส�ำคัญอีกอย่างหน่ึงในระบบทุนนิยมก็คือการเกิดความโลภในผลผลิต
และต้องการท่ีจะกักตุนผลผลิตน้ันไว้อยู่กับตนเอง เพ่ือที่จะน�ำไปสร้างก�ำไรต่อยอด
เพิ่มขึ้นไปเร่ือย ๆ แต่อย่างไรก็ตามล�ำพังแค่การให้ทานคงไม่สามารถที่จะเพียงพอ
ต่อการสร้างรากฐานมั่นคงให้กับกรรมาชีพได้ และนับวันยิ่งจะท�ำให้กรรมาชีพรู้สึกว่า
ตนเองต้องคอยรับการกระจายผลผลิตมาเร่ือย ๆ ดังน้ันสิ่งที่ควรท�ำต่อไปอีกข้ันก็คือ
การใช้หลักธรรมท่ีเป็นโลกียธรรมมาพัฒนาและส่งเสริมการบริโภคและการครองเรือน
ใหด้ ยี ง่ิ ขนึ้ ซงึ่ ในระบบทนุ นยิ มนป้ี ญั หากค็ อื การบรโิ ภคความสขุ ทางโลกยี วสิ ยั อยา่ งเลย่ี ง
ไมไ่ ด้ ซงึ่ กม็ กั จะเกดิ ปญั หาตามมา เชน่ การบรโิ ภคมากกวา่ ก�ำไรหรอื คา่ จา้ งทไ่ี ดจ้ ากการ
ใช้แรงงาน ซึ่งในแง่น้ีพุทธศาสนาได้เสนอหลักการบริโภคส�ำหรับคฤหัสถ์ไว้เรียกว่า
หลกั กามโภคี

2 ท่านพุทธทาสภิกขุ (2522: 395) ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ทุกอย่างเอาเกินไม่ได้ เอาดีเกินความจำ�เป็นไม่ได้พวก
เหลอื เฟอื ฟมุ่ เฟอื ยทง้ั หลายจงึ ไมม่ ี มนั กเ็ ลยรว่ งหลน่ ไปยงั ผอู้ นื่ กเ็ ปน็ สงั คมทไ่ี มข่ าดแคลน” ในแงน่ หี้ ากกลา่ วตาม
ทา่ นพทุ ธทาสภกิ ขยุ อ่ มหมายความไดว้ า่ การด�ำ เนนิ การทางเศรษฐกจิ ตามหลกั ของพทุ ธศาสนานน้ั จะไมค่ �ำ นงึ ถงึ
การเอาสว่ นเกนิ ไวแ้ สวงหาก�ำ ไร แตจ่ ะค�ำ นงึ ถงึ การสรา้ งประโยชนส์ ขุ แกส่ ว่ นรวมโดยกระจายสว่ นเกนิ นนั้ ออกไป
บรรเทาความขาดแคลนใหแ้ กผ่ คู้ นในสงั คม เหน็ แกป่ ระโยชนข์ องผคู้ นโดยไมเ่ อาเปรยี บเบยี ดเบยี นซง่ึ กนั และกนั

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 209

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนยิ ม พระครูโสภณชยาภวิ ฒั น์ และ พระมหามิตร ฐิตปญโฺ ญ
ด้วยหลกั บุญกริ ยิ าวัตถุและกามโภคี

หลกั กามโภคี หมายถงึ ผบู้ รโิ ภคกาม ผคู้ รองเรอื น คฤหสั ถท์ ยี่ งั ตอ้ งเกย่ี วขอ้ งกบั
การบริโภคกามหรือความสุขในทางโลกียวิสัยอย่างเล่ียงไม่ได้ เพราะยังต้องประกอบ
อาชีพด้วยการแสวงหาในเรื่องความสุขในทางผัสสะอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาได้
จดั แบง่ กลุม่ คนที่ยงั บริโภคกาม แต่มีเป้าหมายซง่ึ แตกตา่ งกันออกไป กลา่ วคือ พวกคน
เหล่าน้ีมีวิธีการแสวงหาโภคทรัพย์เพื่อน�ำมาตอบสนองความต้องการของตนเอง
ทางด้านผัสสะด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน มีอยู่ 10 จ�ำพวกตามท่ีปรากฏในพระไตรปิฎก
(ค�ำแหง วิสทุ ธางกูร, 2552: 38) มีดังนี้ (สํ.สฬ. (ไทย) 18/631-643/408-415)

กลมุ่ ที่ 1 แสวงหาไมช่ อบธรรม ประกอบดว้ ย 1. พวกหนง่ึ แสวงหาโภคทรพั ย์
โดยไมช่ อบธรรม โดยทารณุ ขม่ ข,ี่ ไดม้ าแลว้ ไมเ่ ลยี้ งตนใหอ้ มิ่ หน�ำเปน็ สขุ , ทงั้ ไมแ่ จกจา่ ย
แบ่งปันและไม่ใช้ท�ำกรรมดี 2. พวกหนงึ่ แสวงหาโภคทรพั ย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารณุ
ขม่ ขี่, ได้มาแล้วเลีย้ งตนให้อ่มิ หน�ำเปน็ สุข, แตไ่ ม่แจกจา่ ยแบ่งปนั และไม่ใช้ท�ำกรรมดี
และ 3. พวกหน่ึงแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้ว
เลีย้ งตนให้อ่ิมหน�ำเป็นสขุ ด้วย, แจกจ่ายแบง่ ปัน และใชท้ �ำกรรมดดี ว้ ย

กลุม่ ท่ี 2 แสวงหาชอบธรรมบา้ ง ไม่ชอบธรรมบา้ ง ประกอบด้วย 4. พวก
หนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้างไม่ชอบธรรมบ้าง ทารุณข่มข่ีบ้าง ไม่ทารุณ
ขม่ ขบ่ี า้ ง, ไดม้ าแลว้ ไมเ่ ลย้ี งตนใหอ้ มิ่ หน�ำเปน็ สขุ ไมแ่ จกจา่ ยแบง่ ปนั และไมใ่ ชท้ �ำกรรม
ดี 5. พวกหนง่ึ แสวงหาโภคทรพั ยโ์ ดยชอบธรรมบา้ ง ไมช่ อบธรรมบา้ ง ทารณุ ขม่ ขบ่ี า้ ง ไม่
ทารุณขม่ ขบ่ี ้าง, ไดม้ าแลว้ เล้ยี งตนใหอ้ ่ิมหน�ำเปน็ สุข, แตไ่ มแ่ จกจ่ายแบง่ ปนั และไม่ใช้
ท�ำกรรมดี และ 6. พวกหน่ึงแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง
โดยทารณุ ขม่ ขบ่ี า้ ง ไมท่ ารณุ ขม่ ขบี่ า้ ง, ไดม้ าแลว้ เลยี้ งตนใหอ้ มิ่ หน�ำเปน็ สขุ , ทงั้ แจกจา่ ย
แบง่ ปัน และใชท้ �ำกรรมดี

กลุม่ ท่ี 3 แสวงหาชอบธรรม ประกอบด้วย 7. พวกหน่งึ แสวงหาโภคทรพั ย์
โดยชอบธรรม ไมท่ ารณุ ขม่ ข,ี่ ไดม้ าแลว้ ไมเ่ ลยี้ งตนใหอ้ ม่ิ หน�ำเปน็ สขุ , ไมแ่ จกจา่ ยแบง่ เปน็
ไม่ใชท้ �ำความดี 8. พวกหนงึ่ แสวงหาโภคทรัพยโ์ ดยชอบธรรม ไมท่ ารณุ ข่มข่ี, ได้มาแล้ว
เลยี้ งตนใหอ้ มิ่ หน�ำเปน็ สขุ , แตไ่ มแ่ จกจา่ ยแบง่ ปนั และไมใ่ ชท้ �ำความดี และ 9. พวกหนง่ึ
แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไมท่ ารุณขม่ ข่ี, ไดม้ าแล้วก็เลยี้ งตนให้อิ่มหน�ำเป็นสขุ
ด้วย, ท้ังแจกจ่ายแบง่ ปนั และใช้ท�ำความดีด้วย; แต่เขายงั จิตยังสยบมัวเมา ยังหมกมนุ่
210 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

บริโภคโภคะเหล่าน้ันโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาท�ำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น
เป็นนายเหนอื โภคทรัพย์

พวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรม และใชอ้ ย่างร้เู ท่าทันเปน็ อสิ ระ คือ 10.
พวกหนง่ึ แสวงหาโภคทรพั ยโ์ ดยชอบธรรม ไมท่ ารณุ ขม่ ข,ี่ ไดม้ าแลว้ กเ็ ลยี้ งตนใหอ้ มิ่ หน�ำ
เปน็ สขุ , แจกจา่ ยแบง่ ปนั และใชท้ �ำความดดี ว้ ย; ไมส่ ยบมวั เมา ไมห่ มกมนุ่ บรโิ ภคโภคะ
เหล่านั้น โดยรู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาท�ำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือ
โภคทรัพย์

จากหลักกามโภคีทงั้ 4 พวกน้ี ผเู้ ขยี นจ�ำแนกไดเ้ ปน็ 2 สว่ น กลา่ วคือสว่ นแรก
เป็นส่วนท่ีแสดงถึงรากฐานปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และส่วนท่ีสองคือ
ส่วนที่เป็นการแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ส่วนแรกก็คือ กลุ่มท่ี 1
แสวงหาไมช่ อบธรรม และกลมุ่ ที่ 2 แสวงหาชอบธรรมบา้ ง ไมช่ อบธรรมบา้ ง ทง้ั สองกลมุ่ นี้
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นส่วนท่ีช้ีถึงปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เป็นอย่างดี
กลา่ วคือนายทนุ ในระบบเศรษฐกิจแบบทนุ นิยมมักจะแสวงหาทรพั ยแ์ บบไม่ชอบธรรม
หรืออาจมีชอบธรรมบ้านไม่ชอบธรรมบ้าง แต่ทว่าความไม่ชอบธรรมในการแสวงหา
ทรัพย์ในระบบทุนนิยมนั้นก็คือการสะสมมูลค่าส่วนเกินและการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน
จากพลังแรงงานของกรรมาชีพ สิ่งเหล่าน้ีเกิดขึ้นเพราะความต้องการสะสมทุนซึ่งเป็น
ลักษณะที่แสดงถึงความโลภของนายทุนท่ีจะกอบโกยเอาผลผลิตท่ีพลังแรงงานน้ัน
ผลติ ได้ ซง่ึ ปญั หาทชี่ ดั เจนทสี่ ดุ ในระบบทนุ นยิ มกค็ อื การทพี่ ลงั แรงงานลงแรงไปมากกวา่
คา่ จา้ งทไี่ ด้รบั นนั่ คือการแลกเปลี่ยนระหวา่ งเงนิ ตรากับผลผลติ จากแรงงานไม่มคี วาม
เทา่ เทยี มกนั กลา่ วไดว้ า่ การแสวงหาทรพั ยแ์ บบไมช่ อบธรรม หรอื แสวงหาชอบธรรมบา้ ง
ไม่ชอบธรรมบ้าง เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่มาร์กซ์ระบุไว้ในปัญหาของระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างตรงไปตรงมา กระน้ันก็ดีพุทธศาสนาได้เสนอแนะ
ความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมออกมาเพ่ือแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจท้ัง
2 ประการข้างต้นด้วยเช่นกันนั่นคือหลักกามโภคีในกลุ่มที่ 3 แสวงหาชอบธรรม และ
พวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรมและใช้อย่างรู้เท่าทันเป็นอิสระ ในสองพวกหลังนี้
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการแสวงหาทรัพย์อย่างชอบธรรมซ่ึงจะขจัดปัยหาเรื่องการ
ขูดรีดมู, ค่าส่วนเกินและสามารถท่ีจะขจัดปัญหาการกดข่ีแรงงานของมนุษย์ได้ด้วย

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 211

การแกไ้ ขปัญหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนยิ ม พระครูโสภณชยาภวิ ฒั น์ และ พระมหามิตร ฐติ ปญโฺ ญ
ด้วยหลักบุญกริ ิยาวตั ถแุ ละกามโภคี

อยา่ งไรก็ตามถงึ แมว้ า่ ในขอ้ ที่ 7. และ 8. ของหลกั กามโภคีจะระบวุ า่ พวกนี้ไม่แจกจ่าย
แบ่งเป็น ไม่ใช้ท�ำความดี แต่ผู้เขียนก็เห็นว่าการที่ทุกคนต่างแสวงหาอย่างชอบธรรม
โดยไม่กดขี่ขูดรีดซ่ึงกันและกันแล้ว ผลที่ตามมาก็จะท�ำให้เกิดสภาวะความเป็นสังคม
แห่งสันติสุขได้ กล่าวคือการไม่กดข่ีขูดรีดซ่ึงกันและกันภายใต้การแสวงหาทรัพย์
อยา่ งชอบธรรมน้ี เปน็ สง่ิ หนง่ึ ทจ่ี ะอ�ำนวยใหเ้ กดิ การกระจายปจั จยั การผลติ อยา่ งเปน็ ธรรม
เม่ือเป็นเช่นน้ีกรรมาชีพก็จะไม่ถูกกดข่ีขูดรีดอีกต่อไป ดังที่ในพระไตรปิฎกกล่าว
สรรเสริญผู้ท่ีไม่เบียดเบียนผู้อ่ืนและแสวงหาโภคทรัพย์อย่างเป็นธรรมและแจกจ่าย
อยา่ งเปน็ ธรรมไว้วา่

ผบู้ รโิ ภคกามทแี่ สวงหาโภคทรพั ยโ์ ดยชอบธรรม โดยความไมผ่ ลนุ
ผลนั ครนั้ แลว้ เลยี้ งตวั ใหเ้ ปน็ สขุ สบาย จ�ำแนกทาน ท�ำบญุ และไมล่ ะโมภ
ไมห่ ลง ไมพ่ วั พัน มปี รกติเหน็ โทษ มีปญั ญาเป็นเครอ่ื งสลัดออก บริโภค
โภคทรพั ย์น้ี ควรสรรเสริญโดย 4 สถาน ควรสรรเสริญโดย 4 สถานเป็น
ไฉน คอื สถานที่ 1 ควรสรรเสรญิ ดงั นวี้ า่ แสวงหาโภคทรพั ยโ์ ดยชอบธรรม
โดยความไมผ่ ลุนผลนั สถานที่ 2 ควรสรรเสริญดงั น้วี ่า เล้ยี งตัวใหเ้ ปน็ สขุ
สบาย สถานท่ี 3 ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จ�ำแนกทาน ท�ำบุญ สถานท่ี 4
ควรสรรเสรญิ ดงั นว้ี า่ เปน็ คนไมล่ ะโมภ ไมห่ ลง ไมพ่ วั พนั มปี รกตเิ หน็ โทษ
มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์ ดูกรนายคามณี บุคคล
ผู้บริโภคกามเช่นน้ี ควรสรรเสริญโดย 4 สถานเหล่าน้ีฯ (สํ.สฬ. (ไทย)
18/643/415)

ดังน้ันแล้วหลักกามโภคีในทางพุทธศาสนาจึงไม่ใช่การชี้ให้เห็นเพียงปัญหา
การบรโิ ภคในครวั เรอื นเทา่ นน้ั แตย่ งั สะทอ้ นปญั หาในระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มดว้ ย
พร้อมทั้งยังเสนอให้แก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ท่ีมุ่งเน้นไปที่การ
แก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างย่ิงพวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรม และใช้อย่างรู้เท่าทัน
เป็นอิสระ จะเป็นแนวทางปฏิบัติที่น�ำไปสู่การก้าวข้ามรากฐานปัญหาของระบบ
เศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กลา่ วคอื เปน็ ผหู้ าทรพั ยโ์ ดยไมเ่ บยี ดเบยี น ไมข่ ม่ เหง
212 มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

ไมก่ ดขที่ ารณุ ผอู้ น่ื และเมอื่ หาทรพั ยม์ าไดแ้ ลว้ กบ็ รหิ ารจดั การทรพั ยเ์ หลา่ นน้ั ใหม้ คี วาม
เป็นไปอย่างลงตวั ไม่ขาดตกบกพรอ่ งและยงั แจกจ่ายกระจายทรัพย์ไปยงั ผ้อู นื่ ดว้ ย

จากหลกั ธรรมทางพุทธศาสนาทเ่ี สนอไวเ้ บอื้ งตน้ 2 หลกั ธรรมนน้ั ผู้เขยี นเหน็ ว่า
จะสามารถเปน็ หลกั ธรรมพนื้ ฐานท่จี ะน�ำไปสู่การเปน็ หลักปฏบิ ตั ิ เพอื่ ทีจ่ ะให้สงั คมเกดิ
ความเป็นธรรมในทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการแก้ปัญหาในระบบ
ทนุ นยิ ม ซงึ่ หลกั ธรรมเหลา่ นผี้ เู้ ขยี นเชอื่ วา่ เปน็ หลกั ปฏบิ ตั พิ น้ื ฐานทแ่ี มแ้ ตพ่ ทุ ธศาสนกิ ชนเอง
หรือศาสนิกของศาสนาอื่น ๆ ต่างก็สามารถปฏิบัติได้ เพราะโดยพื้นฐานแล้วไม่มีใคร
เก็บสะสมกักตันส่วนเกินในการผลิตไว้ ดังน้ันผลผลิตเหล่าน้ีก็จะกระจายออกไป
อย่างทั่วถึงกันอันเป็นหลักพื้นฐานของพุทธศาสนาก็คือการให้ทาน หรือการบริจาค
ทรัพย์สินหรือผลผลิตท่ีตนมีอยู่และสะสมเพื่อความมั่งค่ัง ได้กระจายไปยังผู้อ่ืนท่ีไม่ได้
ครอบครองทรพั ยส์ นิ เชน่ เดยี วกบั ตน ขอ้ นจี้ ะขจดั ปญั หาในระบบทนุ นยิ มในแงท่ ว่ี า่ ปญั หา
ของการเก็บสะสมและขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน นอกจากน้ีแล้วหลักกามโภคีท่ีเป็นหลัก
พนื้ ฐานส�ำหรบั ครอบครวั ทกุ ครอบครวั นนั้ นอกจากจะชใ้ี หเ้ หน็ ภาพของปญั หาในระบบ
ทุนนิยมแล้วน้ัน ยังเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาไว้ด้วย กล่าวคือหลักกามโภคีมุ่ง
แกป้ ญั หาในระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มตรงทก่ี ารขจดั ปญั หาการขดู รดี มลู คา่ สว่ นเกนิ
และขจัดปัญหาการกดขี่ข่มเหง รังแกแรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะหากผู้เป็นนายทุนรู้จัก
ปฏิบัติตามหลักกามโภคีกลุ่มที่ 3 แสวงหาชอบธรรม ประกอบด้วย และ พวกพิเศษ :
แสวงหาชอบธรรม และใช้อย่างรู้เท่าทันเป็นอิสระ ก็จะท�ำให้ปัญหาการกดขี่ขูดรีด
คอ่ ย ๆ หายไป และจะน�ำมาสู่สกู ารกระจายผลผลิตอย่างเปน็ ธรรม

กลา่ วไดว้ า่ การน�ำหลกั ธรรมทางพทุ ธศาสนามาประยุกต์ใชก้ ับสงั คม การเมือง
และเศรษฐกจิ นน้ั ถอื วา่ เปน็ อกี ขอ้ เสนอหนงึ่ ทจ่ี ะน�ำไปสกู่ ารแกป้ ญั หาทคี่ อ่ นขา้ งชดั เจน
โดยเฉพาะกับสังคมไทยที่มักจะอ้างถึงหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนาว่าเป็นบ่อเกิด
แห่งวัฒนธรรม กระน้ันก็ดีศีลธรรมทางพุทธศาสนาบางข้ออาจใช้ไม่ได้ภายใต้กรอบ
ของสงั คมไทยสมยั ใหม่ แตก่ ารน�ำเอาหลกั ธรรมทางพทุ ธศาสนามาใชก้ บั การแกป้ ญั หา
ทางเศรษฐกิจถือว่ามีความเป็นไปได้กับสังคมสมัยใหม่เป็นอย่างย่ิง อย่างเช่นในงาน
วิจัยของ ค�ำแหง วิสุทธางกูร ท่ีอธิบายไว้ว่า คุณประโยชน์ของพุทธศาสนาส่งผล
ต่อเศรษฐกิจของครัวเรือน และมีส่วนส�ำคัญต่อการได้มาซ่ึงคุณภาพชีวิตที่ดี และ

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 213

การแก้ไขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นิยม พระครูโสภณชยาภิวัฒน์ และ พระมหามิตร ฐิตปญโฺ ญ
ดว้ ยหลักบุญกริ ยิ าวัตถุและกามโภคี

งานศึกษาดังกล่าวก็ใช้หลักกามโภคีสิบมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน เน่ืองจากเป็นหลัก
ธรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการน�ำมาพิจารณาเร่ือง
การแสวงหาทรพั ย์ การใชจ้ า่ ยทรพั ย์ และการแบง่ ปนั ทรพั ย์ (ค�ำแหง วสิ ทุ ธางกรู , 2554:
82) และยังเป็นไปตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุที่เสนอเอาไว้ว่า “ทุกอย่างจะ
เอาเกินไม่ได้ เอาดีเกินความจ�ำเป็นไม่ได้ พวกเหลือเฟือฟุ่มเฟือยทั้งหลายจึงไม่มี
มันก็เลยร่วงหล่นไปยังผู้อื่น ก็เป็นสังคมที่ไม่ขาดแคลน” (พุทธทาสภิกขุ, 2522: 22)
นั่นหมายความว่าพุทธศาสนาไม่เสนอให้เราเก็บสะสมส่วนเกินแต่จะมุ่งกระจาย
ส่วนเกินนั้นออกไปให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างมากท่ีสุด เพ่ือบรรเทาความ
ขาดแคลนให้กับผู้คนในสังคม ข้อเสนอของพุทธศาสนาจึงมุ่งไปท่ีกระบวนการที่จะ
ปลดปลอ่ ยใหผ้ ู้ทุกข์ยากในระบบทนุ นยิ มได้มีปจั จัยการผลิตและเลี้ยงชีพของตนเองได้
และเกดิ เป็นผลดตี ่อตนเองและสังคมส่วนรวมเปน็ หลัก

ขอ้ เสนอเชิงนโยบายกับการน�ำไปใชแ้ กป้ ญั หาทุนนิยม
จากหลกั ธรรมทง้ั สองประการขา้ งตน้ อนั ไดแ้ ก่ การใหท้ านและหลกั กามโภคนี นั้
ผเู้ ขยี นเหน็ วา่ เปน็ ประเดน็ ส�ำคญั ทเี่ ราจ�ำเปน็ จะตอ้ งน�ำเสนอใหเ้ กดิ ความเปน็ ไปไดใ้ นเชงิ
รูปธรรม หรือก็คือการน�ำเสนอเชิงนโยบายเพ่ือน�ำไปสู่การผลักดันและก่อให้เกิดการ
ในไปใช้ในที่สุด จากการทบทวนเอกสารซ่ึงเป็นงานวิจัยได้ช้ีให้เห็นว่าการน�ำเอาหลัก
บุญกิริยาวัตถุมาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น ผลที่เกิดขึ้นกับสังคม
การท�ำบุญให้ทานท�ำให้สังคมเกิดการช่วยเหลือ เกิดความสงบสุข เกิดการแบ่งปัน
อย่างเปน็ ธรรม หาไดเ้ ปน็ การแบง่ ปันโดยบีบบังคบั ไม่ เพราะผู้ให้ตอ้ งการใหด้ ว้ ยความ
บรสิ ทุ ธใ์ิ จ ซงึ่ อาจจะชว่ ยใหเ้ กดิ ความสามคั คขี น้ึ ภายในสงั คมดว้ ย (พระหนกู นั กตคโุ ณ,
2557: 163) การใหท้ านจงึ ไมเ่ พียงแต่การแจกจา่ ยผลผลติ แตม่ นั ยังกอ่ ใหเ้ กดิ ลกั ษณะ
ที่เรียกว่าความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย นอกจากน้ียังมีงานวิจัยท่ีชี้ให้เห็นว่าฐานะทาง
เศรษฐกจิ เชน่ ที่พกั อาศยั และรายได้ ไม่มคี วามสัมพนั ธ์กบั การบ�ำเพ็ญบุญตามหลัก
บุญกิริยาวัตถุ เพราะประโยชน์ท่ีเกิดจากการบ�ำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุก่อให้เกิดความสุข
กาย สขุ ใจ ในฐานะทเี่ ป็นผู้ (กนั ตภณ หนทู องแก้ว, 2556: 155-167) ดังนนั้ หากน�ำเอา
หลักการให้ทานมาใช้โดยเฉพาะกับชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนเมืองเพื่อกระจายรายได้
สู่ชุมชนท้องถ่ิน ผลท่ีเกิดขึ้นอาจจะไม่เพียงแต่ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้หากแต่
จะชว่ ยใหค้ วามสัมพนั ธ์ระหวา่ งมนุษยด์ ว้ ยกนั ในสังคมมีความเหนียวแนน่ มากยิง่ ขึน้

214 มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

สว่ นการน�ำเอาหลกั กามโภคมี าประยกุ ตใ์ ชน้ นั้ ในงานวจิ ยั ของค�ำแหง วสิ ทุ ธางกรู
ชี้ให้เห็นว่าหลักกามโภคีส่งเสริมเศรษฐกิจดังน้ี (1) ส่งเสริมการแสวงหาทรัพย์ (2)
สง่ เสรมิ การใชจ้ า่ ยทรพั ย์ และ (3) สง่ เสรมิ การแบง่ ปนั ทรพั ยต์ ามล�ำดบั จากการประเมนิ
ดังกล่าวพบว่าคุณประโยชนแห่งพุทธศาสนาท่ีส่งเสริมคุณภาพชีวิตท่ีดีโดยวัดคุณภาพ
ชวี ิตใน 5 ระดบั ดงั น้ี (1) ระดับดมี ากไดแกแสวงหาชอบธรรมกลา่ วคือใช้ท�ำกรรมดแี ละ
เปน็ นายเหนือโภคทรพั ย์ (2) ระดบั ดไี ดแกแสวงหาชอบธรรมใชท้ �ำกรรมดีแต่ยงั ไมเ ปน็
นายเหนือโภคทรัพย์ (3) ระดับทั่วไปไดแกแ สวงหาชอบธรรมใช้ท�ำกรรมดบี ้างไมด ีบา้ ง
และยังไมเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (4) ระดับไมดีไดแกแสวงหาชอบธรรมบ้างไมชอบ
ธรรมบ้างใช้ท�ำกรรมดีบ้างไมดีบ้างและยังไมเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (5) ระดับแย่
ไดแกแสวงหาไม่ชอบธรรมไม่ใช้ท�ำกรรมดีและไม่เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ตามล�ำดับ
(ค�ำแหง วิสทุ ธางกรู , 2560: 247-269) ดงั นน้ั แล้วหากน�ำเอาหลักกามโภคมี าประยุกต์
ใชก้ บั การสง่ เสรมิ เศรษฐกจิ กจ็ ะชว่ ยใหเ้ กดิ การแกไ้ ขปญั หาเรอ่ื งการขดู รดี มลู คา่ สว่ นเกนิ
และการกดขขี่ ม่ เหงแรงงานในระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม อนั จะน�ำไปสกู่ ารขจดั ปญั หา
ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมได้เป็นอย่างดี เพราะหลักธรรมข้อน้ีสอนให้ฝึก
แสวงหาทรัพยใ์ นรูปแบบตา่ ง ๆ ตลอดจนการใช้จา่ ยทรัพย์และรักษาทรพั ย์

บทสรปุ
จากที่กล่าวไปทั้งหมดนั้นผู้เขียนมุ่งเสนอแนะการน�ำเอาหลักธรรมทาง

พุทธศาสนาเถรวาทมาใช้ในการแก้ไขปัญหาท่ีเกิดข้ึนในระบบทุนนิยม โดยหลักธรรม
ท่ีเสนอในบทความน้ีมุ่งไปท่ีการแก้ปัญหาพ้ืนฐานของระบบทุนนิยม ค�ำถามคือระบบ
ทุนนิยมมีปัญหาอะไร ในแง่นี้ผู้เขียนได้เสนอเอาไว้ว่า เดิมทีเดียวนั้นสังคมไม่ได้อยู่ใน
ระบบทนุ นยิ มทกุ คนตา่ งแลกเปลย่ี นสนิ คา้ และผลผลติ กนั อยา่ งเปน็ ธรรมและเทา่ เทยี ม
กันปัญหาไม่ได้เกิดขึ้น แต่เม่ือสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคบริโภคนิยมและ
วัตถุนิยม โลกตกอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยระบบเศรษฐกิจแบบ
ทุนนิยมนี้มีจุดประสงค์ส�ำคัญคือการซ้ือเพ่ือขายและขายเพ่ือก�ำไร น่ันแสดงว่าการซ้ือ
ที่ว่าน้ีคือซ้ือพลังแรงงานจากกรรมาชีพแล้วขายผลผลิตจากพลังแรงงานน้ี แต่ทว่า
เมอ่ื พจิ ารณาระวา่ งราคาสนิ คา้ ทนี่ ายทนุ ขายไปอนั เกดิ จากพลงั แรงงาน กบั ราคาคา่ จา้ ง

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 215

การแกไ้ ขปญั หาระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นิยม พระครูโสภณชยาภวิ ัฒน์ และ พระมหามติ ร ฐติ ปญฺโญ
ดว้ ยหลักบุญกริ ยิ าวตั ถุและกามโภคี

ทก่ี รรมาชีพได้รบั นัน้ ไมม่ ีความเปน็ ธรรม กลา่ วคอื กรรมาชีพได้รบั ค่าตอบแทนนอ้ ยกว่า
พลงั แรงงานทเ่ี ขากระท�ำลงไป และสว่ นเกนิ ดงั กลา่ วไดจ้ ากการขายผลผลติ ทไ่ี ดจ้ ากพลงั
แรงงาน กล่าวได้ว่ากระบวนการขูดรีดส่วนเกินนี้น�ำไปสู่ปัญหาอีกอย่างหน่ึงท่ีเกิดข้ึน
ในระบบทนุ นยิ มคอื การกดขค่ี วามเปน็ มนษุ ย์ ซง่ึ เปน็ ปญั หาทชี่ นชน้ั นายทนุ กดขแี่ รงงาน
ผา่ นการขดู รดี มลู ค่าส่วนเกินที่วา่ น้ี

ด้วยเหตุนี้การน�ำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะปลดแอกความทุกข์
ยากให้กับกรรมาชีพในระบบทุนนิยมจึงมักน�ำเสนอแง่มุมของการแก้ปัญหาให้
ความทุกข์ยากหมดไป ในบทความน้ีได้น�ำเสนอทัศนะจากหลักธรรมทางพุทธศาสนา
เถรวาทใหเ้ ปน็ แนวทางในการแกป้ ญั หา ทงั้ นผ้ี เู้ ขยี นไดน้ �ำเสนอหลกั ธรรม 2 ประการ คอื
หลกั การใหท้ านตามหลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถสุ าม และหลกั กามโภคเี พอื่ แกไ้ ขปญั หาเศรษฐกจิ
ในครัวเรือน หลักการให้ทานนั้นเป็นการแก้ปัญหาการกระจายผลผลิตตามหลักความ
เมตตาของพระพุทธศาสนา ซึ่งหลักข้อนี้เองช้ีให้เห็นว่าหลักแนวคิดบางอย่างในทาง
พทุ ธศาสนาเปน็ สะพานเชอื่ มตอ่ ไปยงั การสรา้ งระบบเศรษฐกจิ ทอ่ี ยตู่ รงขา้ มกบั ทนุ นยิ ม
นั่นคือระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ในบทความน้ีไม่ได้เสนอว่าพุทธศาสนาเป็น
สังคมนิยมอย่างตรงไปตรงมา แต่เสนอว่าแนวคิดบางอย่างมีลักษณะที่จะน�ำไปสู่
สังคมนิยม ซึ่งเป็นสังคมนิยมตามแนวพระศาสนาตามท่ีพุทธทาสภิกขุนิยามเอาไว้
สว่ นหลกั กามโภคที เี่ สนอขน้ึ มานนั้ เปน็ การเสนอเพอ่ื มงุ่ แกไ้ ขปญั หาเรอ่ื งการขดู รดี มลู คา่
ส่วนเกินและการกดขี่ข่มเหงแรงงานในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อันจะน�ำไปสู่
การขจัดปัญหาที่เกิดข้ึนในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมได้เป็นอย่างดี ซ่ึงการแก้ไขปัญหา
ตามแนวทางของพุทธศาสนาเสนอขึ้นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา
ทุนนิยมในระดับรากฐานของปัญหาอันได้แก่ 1) ระบบทุนนิยมท�ำให้เกิดการกระจาย
ปจั จยั การผลติ อยา่ งไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ซงึ่ ผดิ ไปจากธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ 2) ระบบเศรษฐกจิ
แบบทุนนิยมท�ำให้เกิดการขูดรีดเงินตราจากชนช้ันกรรมาชีพ และ 3) ระบบทุนนิยม
ท�ำให้เกิดการขูดรีดความเป็นมนุษย์จากแรงงานของกรรมกร นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า
พุทธศาสนามีหลักคิดบางอย่างที่จะท�ำให้ระบบเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาในเชิง
มนุษยธรรมเช่นระบบทุนนิยมนี้เป็นไปในลักษณะท่ีหมดปัญหาและสามารถที่จะยก
คุณภาพชวี ิตของผคู้ นท่อี ยูภ่ ายใตร้ ะบบน้ขี ึ้นมาได้เป็นอยา่ งดี
216 มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562

Solving the Problems of Capitalism with the Principles Phrakru Sophonchayapiwat and Phramaha Mith Thitapunyo
of Meritorious Action and Kam Phokhi

เอกสารอ้างองิ
กนั ตภณ หนทู องแกว้ . (2556). การน�ำหลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถุ มาใชใ้ นวถิ ชี วี ติ ของประชาชน

อ�ำเภอเมือง จังหวดั นครศรีธรรมราช พ.ศ. 2556. สารอาศรมวฒั นธรรมวลยั
ลกั ษณ์ มหาวทิ ยาลัยวลัยลกั ษณ,์ 15(1), 155-167.
ค�ำแหง วิสุทธางกูร. (2552). คุณประโยชน์แห่งพุทธศาสนาต่อการส่งเสริมฐานะทาง
เศรษฐกิจของครัวเรือนในชนบทอีสาน: ศึกษากรณีอ�ำเภอเมือง จังหวัด
ขอนแกน่ . รายงานการวจิ ยั . คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร:์ มหาวทิ ยาลยั
ขอนแก่น.
__________. (2560). คณุ ประโยชนแ์ หง่ พทุ ธศาสนาตอ่ การสง่ เสรมิ ฐานะทางเศรษฐกจิ
ของครัวเรือนในชนบทอีสาน: ศึกษากรณีอ�ำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด
ขอนแก่น. มนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร,์ 34(1), 247-269
ชลลดา นาคใหญ่. (2557). แนวคิดความเสมอภาคในปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย:
จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
__________. (2558). ทุนนิยม: ปัญหาความไม่เสมอภาคและวิถีแห่งการกดขี่ขูดรีด.
วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย, 10(1).
เดน่ พงษ์ แสนค�ำ และอัครยา สังขจันทร.์ (2562). การใหเ้ หตผุ ลสนบั สนนุ แนวคิดเรื่อง
สังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,
15(1), 37-60.
นารรี ตั น์ รกั วจิ ติ รกลุ . (2554). พทุ ธศาสนก์ บั การด�ำเนนิ ชวี ติ , พมิ พค์ รง้ั ท่ี 6. มหาสารคาม:
อภิชาตการพิมพ์.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2558). เศรษฐศาสตร์การเมืองและทฤษฎีสังคมวิพากษ์,
พิมพ์คร้งั ที่ 2. ขอนแกน่ : คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัย
ขอนแกน่ .
พุทธทาสภิกขุ. (2522). ธรรมกับการเมือง: ค�ำบรรยายประจ�ำวันเสาร์ท่ีลานหินโค้ง
สวนโมกข์ ภาคอาสาฬหบชู า 2519. สุราษฎรธ์ าน:ี ธรรมทานมลู นธิ .ิ

Humanities & Social Sciences 36 (2) May - August 2019 217

การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกจิ แบบทุนนยิ ม พระครูโสภณชยาภิวฒั น์ และ พระมหามิตร ฐิตปญโฺ ญ
ดว้ ยหลกั บญุ กริ ยิ าวตั ถุและกามโภคี

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวล
ศัพท์ พิมพค์ รงั้ ท่ี 23. กรงุ เทพมหานคร: ส�ำนกั พมิ พ์ผลธิ รรม.

พระหนูกัน กตคุโณ. (2557). การศึกษาการสร้างบารมีตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3
ของชาวบ้านหนองแวงตอต้ัง ต�ำบลคึมชาด อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น.
วารสารวิชาการธรรมทรรศน,์ 14(3), 163-173.

มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎ กภาษาไทย ฉบบั มหาจุฬาลงกรณ
ราชวทิ ยาลยั . กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พม์ หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั .

วัชระ งามจิตรเจรญิ . (2552). แนวคิดในการใชพ้ ุทธธรรมเพื่อด�ำเนนิ การทางเศรษฐกิจ
ในสังคมทุนนิยม : กรณีศึกษา. รายงานการวิจัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา:
จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). สารานุกรมพระพุทธ
ศาสนา พิมพค์ รง้ั ที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพม์ หามกุฏราชวิทยาลยั .

สรุ ยี ์ สวุ รรณปรชี า. (2520). ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งทฤษฎคี วามรแู้ ละทฤษฎกี ารเมอื งของ
ปอบเปอร.์ วทิ ยานพิ นธอ์ กั ษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวชิ าปรชั ญา. บณั ฑิต
วทิ ยาลยั : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั .

Calhoun, Craig J. (2002). Classical Sociological Theory. Oxford: Wiley-Blackwell.
Crafts, Nicholas FR. (1978). “Enclosure and labor supply revisited”. Explorations

in Economic History . 15(2), 172.
G. A. Cohen. (1978). Karl Marx’s Theory of History: A Defense. Oxford: Oxford

University Press.
Laycock, H. (1991). Exploitation via labour power in Marx. The Journal of ethics.

3(2), 121-131.
Marx, Karl. (1971). Capital: A critical analysis of capitalist production volume I.

trans. Samuel Moore and Edward Aveling, Moscow: Progress Publisher.
Payutto, Phra Prayudh. (1995). Buddhadhamma: Natural laws and values for

life. USA: State University of New York Press.

218 มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 36 (2) พฤษภาคม - สงิ หาคม 2562


Click to View FlipBook Version