– รอยพระพุทธบาทโพรง
– ห้วยบ้านบึง – ร่องน้�้ำำคงคาลัย – แนวร่องน้�้ำำคงคาลัยเดิม – ห้วยควายเผือก
ต่อมาห้วงน้ �้ำ ำคงคาลัยตื้นเขิน (ปัจจุบันเหลือเพียงร่องน้ �้ำ ำลึก เป็นห้วย บ้านบึงและห้วยควายเผือก) ไม่สะดวกในการเดินทางมานมัสการ รอยพระพุทธบาท การมาแสวงบุญที่นี่จึงขาดช่วงไป นานไปเรื่องของ รอยพระพุทธบาทก็กลายเป็นการเล่าลือว่ามีรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานในบริเวณเนินเขาหลังศาลพ่อขุนด่าน แต่สอบถามร่องรอย ที่ตั้งที่แท้จริงก็ไม่มีผู้ใดชี้ชัดได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ชาวบ้านจากบ้านห้วยมะไฟ หมู่ ๔ ตำ�ำบล บ้านบึง อำ�ำเภอบ้านบึง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำ�ำเภอบ้านบึง ได้สำ�ำรวจ ในบริเวณเขาเขียวหลังศาลเจ้าพ่อขุนด่าน และได้พบร่องรอยบนพื้นหิน ที่เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาทเมืองบางปลาสร้อย รอยเดียวกับในสมัย อยุธยา จึงได้เริ่มมีโครงการอนุรักษ์รอยพระพุทธบาทนี้ และปรับปรุง ภูมิทัศน์รอบๆ รอยพระพุทธบาทต่อไป รอยพระพุทธบาทบางปลาสร้อย จึงเป็นตำ�ำนานเก่าแก่ที่ยืนยันความมีอยู่ ของบ้านบึง ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้เรียกชื่อว่า ‘บ้านบึง’ ดัง เช่นปัจจุบัน – ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๕๒ - ๕๓
ไม่เพียงชาวจีนเท่านั้นที่เริ่มเคลื่อนย้ายจากเมืองท่าริมทะเล เข้าไปยัง ดินแดนหลังเมืองท่าตอนใน ซึ่งยังเป็นป่าเป็นดง เพื่อบุกเบิกที่ทำำ� กินผืนใหม่ ด้วยพืชเศรษฐกิจที่กำ�ำลังมีค่าในยุคนั้นอย่างอ้อย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท้าวไชยอุปราช เมืองนครพนม ได้นําชาวลาวจํานวนกว่าสองพันคน เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองมหาวงศ์ เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวทุม บุตรท้าวไชยอุปราช เป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ (ปลัดลาว) เพื่อดูแลกลุ่มคนลาว ดังกล่าว กำ � ำเนิดบ้านบึง – ภาพมุมสูงเมืองชลบุรี บริเวณแยกเฉลิมไทย แสดงเส้นถนนเก่า สายเหลืองและสายเขียว เพื่อเดินทางมา อำ�ำเภอบ้านบึง บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๕๔ - ๕๕
ชาวลาวกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า ‘ลาวอาสาปากน้�้ำ ำ’ หรือ ‘ลาวปากน้�้ำ ำ’ ต่อมา ลาวพวกนี้ได้ขอไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อื่นแทน เนื่องจากเมืองปากน้�้ำ ำ มีภูมิประเทศแตกต่างจากบ้านเกิดที่พวกเขาจากมามาก อยู่กินไม่สะดวก ด้วยเคยอาศัยอยู่แต่พืนที่ดอน ไม่ชอบอยู่ในพื ้ นที่ลุ่ม ้ น้ำ�้ำ จึงกราบทูลขอย้าย มาอยู่ที่แดนป่าเมืองพระรถ ซึ่งพวกเขาได้เคยรู้จักดี เพราะเคยถูกมอบหมาย ให้มาตัดไม้แดงที่หนองไม้แดง เมืองบางปลาสร้อย เพื่อชักลากไปทำ� ำ ป้อมค่ายที่ปากน้�้ำ ำเจ้าพระยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ ออกไปตั้งบ้านเมืองอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา ต่อมา ทรงพิจารณาเห็นว่าสมควรจะตังให้เป็นเมืองได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ้ ให้ตั้งเป็นเมืองพนัสนิคมขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ (ภารดี มหาขันธ์, ๒๕๕๒, หน้า ๕๕) แล้วตั้งท้าวทุม เป็นที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน พระอินทรอาสา) เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคม ดูแลปกครองพี่น้องคนลาว ข้อความในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า “พวกลาวอาสาปากน้�้ำำ ตั้งขึ้น เมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลัง เมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้น ชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๒ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๐๔ หน้า ๑๗๐) – พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ – พระธาตุเมืองพระรถ โบราณสถาน บอกเล่า เรื่องราวเมืองเก่า ‘เมืองพระรถ’ สันนิษฐานว่า เป็นเมืองสมัยทวารวดี และเจริญสืบเนื่องมาจนถึง สมัยลพบุรี
บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๕๖ - ๕๗
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ มอบให้พระอินทอาษาเกลี้ยกล่อมคนลาวที่เมือง นครพนม เมืองปากห้วยหลวง เมืองมหาชัยกองแก้ว และเมืองต่างๆ เข้ามาอยู่เมืองพนัสนิคม ซึ่งมีคนลาวอพยพเข้ามา เนื่องจากเห็นว่าเจ้าเมือง ให้ความคุ้มครอง และช่วยเหลือญาติพี่น้องที่เข้ามาอยู่อาศัยเป็นอย่างดี มีการแยกย้ายกันไปเป็นกลุ่ม มีลูกหลานอยู่ตามตำ�ำบลต่างๆ อาทิ หมอนนาง นาเริก บ้านช้าง หนองปรือ หนองเหียง หัวถนน สระสี่เหลี่ยม ไร่หลักทอง กุฎโง้ง บ้านเซิด หน้าพระธาตุ เมื่อมีผู้คนเข้ามาอยู่กันมากขึ้น ป่าไม้เปลี่ยนกลายเป็นไร่และชุมชน คนก็มี ทังคนดีและคนร้าย อีกทั้ งเป็นดินแดนที่ไกลปืนเที่ยง ห่างไกลจาก ้อำำ� นาจรัฐ เกิดปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและเกษตราธิการ เดินทางมาปราบปราม ให้ท่านเจ้าพระยาเป็นผู้บัญชาการ และให้เมือง ชลบุรีเป็นศูนย์บัญชาการในการปราบโจรในภูมิภาคตะวันออก – เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) – เนื่องจากเรือขนส่ง ไม่สามารถจอดเทียบฝั่ง ศรีราชาได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ บริษัทศรีมหาราชา จึงสร้าง ทางรถไฟจากโรงเลื่อยศรีราชา ข้ามไปเกาะลอย หน้าเมือง ศรีราชา เพื่อขนส่งไม้ซุง ลงเรือส่งเข้าท่าเรือกรุงเทพฯ ทางรถไฟสายนี้ถูกรื้อออก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๕๘ - ๕๙
ระหว่างปฏิบัติราชกิจ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พบว่า ในพืนที่ป่าเขาแถบนั ้น้ เต็มไปด้วยไม้กระยาเลย ที่กำ�ำลังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ จึงได้ก่อตั้งบริษัททำ�ำป่าไม้ ชื่อ ‘บริษัท ศรีมหาราชาทุน จำ�ำกัด’ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รับสัมปทานทำ�ำไม้ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณว่าเท่ากับ อำ�ำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา และบางละมุง ในปัจจุบันรวมกัน โดยในระยะ แรกนัน มีบริษัทกิมเซ่งหลีร่วมลงทุน ต่อมาเปลี่ยนมีบริษัท บอร์เนียว ้จำำ� กัด มาร่วมลงทุนด้วย บริษัทศรีมหาราชาได้สร้างทางรถไฟเข้าไปในพื้นที่สัมปทาน เพื่อขนไม้ซุง ลำ�ำเลียงออกมายังโรงเลื่อย เส้นทางรถไฟผ่านไร่กล้วย หนองค้อ หุบบอน เขาคันทรง ระเวิง ไปจนถึงเขตอำำ� เภอปลวกแดง จังหวัดระยอง รวมความยาว ประมาณ ๗๓ กิโลเมตร โดยมีทังหมด ๗ สถานี ทางรถไฟสายนี ้ยังผ่านบริเวณ้ บึงกระโดน หนองซาก ในเขตอำ�ำเภอบ้านบึงปัจจุบันด้วย ดังปรากฏชื่อ ‘บ้านหัวกุญแจ’ เป็นประจักษ์ในปัจจุบัน – บริษัทศรีมหาราชา จำ�ำกัด ก่อตั้งโดย เจ้าพระยาสุรศักดิ์- มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ ๗ ท่านได้โอนกิจการ ทั้งหมดให้พระคลังข้างที่ กระทั่งสมัยหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สำ�ำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ได้ซื้อกิจการ โรงเลื่อยศรีราชามาบริหาร จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จึงได้ยุติ กิจการเกี่ยวกับการทำ�ำป่าไม้ ทั้งหมดลง – บ้านหัวกุญแจ ทางรถไฟของบริษัทศรีมหาราชา ไม่เพียงลำ�ำเลียงไม้ซุงออกจากป่าเท่านั้น แต่ยังเป็นการบุกเบิกป่ารกชัฏให้มีเส้นทางที่ผู้คนได้อาศัยเดินทางเข้ามายัง ถิ่นทุรกันดาร เพื่อบุกเบิกป่าดงแสวงหาที่ทำ�ำกินใหม่ๆ อีก มีผู้คนอพยพ มาไม่ขาดสายเพื่อมาแผ้วถางป่า ทำ�ำไร่อ้อย และเป็นคนงานทำ�ำป่าไม้ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๖๐ - ๖๑
พ.ศ. ๒๔๓๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๕ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองราชอาณาจักรที่เป็นหัวเมือง เล็กๆ แบบโบราณ ยุบรวมเข้าด้วยกัน ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ กระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว ดังมีบันทึกว่า “รวมหัวเมืองทางลำ�ำน้�้ำำ บางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี ๑ เมืองนครนายก ๑ เมืองพนมสารคาม ๑ เมืองฉะเชิงเทรา ๑ รวม ๔ หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล ๑ เรียกว่า มณฑลปราจีน” ตังที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อมามีการโอนหัวเมือง ้ ในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ว่าการมณฑลลงมาตั้งที่ เมืองฉะเชิงเทรา เพราะมีการขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก ๓ เมือง รวมเป็น ๗ เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่า มณฑลปราจีน อยู่ตามเดิม ในเวลานั้นชลบุรียังไม่ได้เป็นจังหวัด แต่มีเมืองสำ�ำคัญที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ก็คือ เมืองพนัสนิคม เมืองบางปลาสร้อย และเมืองบางละมุง ชื่อเมือง ชลบุรีมาปรากฏแทนที่เมืองบางปลาสร้อยในช่วงนี เนื่องจากเมืองได้ขยาย ้ เติบโตขึ้น ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ตามชื่อในทำ�ำเนียบศักดินาหัวเมือง ซึ่งออกนามว่า ‘ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร’ เมืองชลบุรีจึงเกิดซ้อนทับ ไปบนเมืองบางปลาสร้อยนั่นเอง กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทั้งเมืองพนัสนิคม บางปลาสร้อย และบางละมุง ๓ เมืองนี้ได้ถูกยุบรวมเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า ‘เมืองชลบุรี’ (ภารดี มหาขันธ์, ๒๕๕๒, หน้า ๙๐ - ๙๑) - สมัยนายสูญ สิงคาลวณิช เป็นนายกเทศมนตรี เมืองชลบุรีได้ริเริ่ม เปลี่ยนสะพานมาเป็นถนน โดยเริ่มจากสะพานชุมชน ท่าเรือพลี ใน พ.ศ..... - ภาพอดีตที่ว่าการ อำ�ำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
- วัดบึงบวรสถิตย์ หรือวัดบึงล่าง ซึ่งเมื่อก่อนเรียก วัดไร่บ ้านบึง - วัดบุญญฤทธยาราม (วัดบึงบน หรือวัดคงคาลัยเดิม)
ตำ� ำนานเรื่องเล่าขานของคนรุ่นก่อนๆ กล่าวว่า แต่เดิมมีชุมชนแรกที่เข้ามา ตั้งในบริเวณนี้คือ ชุมชนวัดคงคาลัย ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยคงคาลัยมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา และสืบเนื่องกับเรื่องราวของรอยพระพุทธบาทบางปลาสร้อย ส่วนหลักฐานเก่าสุดที่กรมศาสนาได้บันทึกไว้ว่ามีชื่อ ‘วัดบึงใน’ ซึ่งมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘วัดบุญญฤทธยาราม’ หรือวัดบึงบนในปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนอพยพเข้ามาบุกเบิกถางป่าดงเพื่อทำ� ำไร่อ้อย ชุมชนก็เกิดขึ้ น ตามมา การผสมผสานผู้คนต่างวัฒนธรรม ทั้งไทย ลาว และจีน เกิดขึ้นโดย ธรรมชาติ และเมื่อมีชุมชน ศาสนสถานซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจก็ถูกสร้างตามมา ผู้คนในบ้านบึงจึงมีทั้งคนไทยที่ขยับย้ายถิ่นฐานมาจากบางปลาสร้อย (เมืองชลบุรี) ชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งส่วนใหญ่มาจากเมืองโผวเล้ง จังหวัดกวนโจ้ว และชาวลาวจากบ้านเซิด ตำ� ำบลท่าศาลา อำ� ำเภอพนัสนิคม ซึ่งชาวลาวกลุ่ม นี้ เดิมอาศัยอยู่ที่คลองมหาสวัสดิ์ ปากน้�้ำำสมุทรปราการ และอพยพมาตั้ง รกรากที่เมืองพระรถ ซึ่งคือเมืองพนัสนิคมในปัจจุบัน ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ และอีกส่วนหนึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ มาตั้งรกราก อยู่บริเวณวัดสำ� ำนักบก ชุมชนหนองโคลน ชื่อ ‘บ้านบึง’ นั้น เชื่อกันว่าคือชุมชนดั้งเดิมบริเวณข้างลำ� ำมาบ ตั้งแต่ วัดบุญญฤทธยาราม (วัดบึงบน หรือวัดคงคาลัยเดิม) มาจนถึงวัดบึงล่าง หรือวัดไร่บ้านบึง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม ‘วัดบึงบวรสถิตย์’ ถือว่าเป็น แหล่งชุมชนมาตั้งแต่แรกเริ่ม ราวปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวกันว่าในครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งจากวัดคงคาลัย (วัดบึงบน) ชื่อพระอาจารย์เขียว ได้มาแผ้วถางที่บริเวณนี้ซึ่งเป็นป่าไผ่ไร่ ตั้งเป็นวัด ขึ้นมา ชาวบ้านโดยทั่วไปในครั้งนั้นเรียกวัดนี้ว่า ‘วัดไร่บ้านบึง’ ซึ่งภายหลัง เปลี่ยนเป็นวัดบึงบวรสถิตย์ หรือวัดบึงล่างในปัจจุบัน - พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๖๔ - ๖๕
เหตุที่เรียกชื่อว่า ‘บ้านบึง’ นั้น เนื่องจากแต่เดิมสภาพพื้นที่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองในปัจจุบันมีบึงใหญ่อยู่ ซึ่งปัจจุบันได้ตืนเขิน้ กลายสภาพเป็นที่ราบหมดแล้ว ประกอบกับที่ว่าการอำ�ำเภอตั้งอยู่ที่ตำ�ำบล บ้านบึง จึงใช้ชื่อตำ�ำบลเป็นชื่ออำ�ำเภอมาจนทุกวันนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) เป็นเจ้าเมืองชลบุรี ได้เสนอ ต่อข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีนว่า ตำ�ำบลบ้านบึง ตำ�ำบลมาบไผ่ ตำำ�บลหนองซ้ำ �้ำ ซาก ตำำ� บลคลองกิ่ว ในท้องที่อำำ� เภอบางปลาสร้อยขณะนัน ้ มีราษฎรเข้าไปตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพเป็นปึกแผ่นแน่นหนา และมี อาณาเขตติดต่อกับท้องที่ในเขตจังหวัดระยอง และอำ�ำเภอพนัสนิคม ซึ่งมักจะมีเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากการคมนาคม ในสมัยนั้นทุรกันดารไม่สะดวก แม้ว่าจะมีถนน ๒ สายแล้วก็ตาม เมื่อเกิดเหตุร้ายต่างๆ ขึ้น กว่าเจ้าหน้าที่จะมาระงับเหตุก็เป็นไปได้ยาก ไม่สะดวก กรมการอำ�ำเภอบางปลาสร้อยจะไปจัดการก็ไม่ทันท่วงที เพราะอยู่ห่างไกลกัน ส่วนกิ่งอำ�ำเภอท่าประชุม จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่การจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองก็ยังไม่ เรียบร้อย จึงขออนุญาตตั้งกิ่งอำ�ำเภอบ้านบึงขึ้นกับอำ�ำเภอบางปลาสร้อย เพื่อความสะดวกในการปกครองต่อไป - ที่ว่าการอำ�ำเภอบ้านบึง สมัยนั้นเป็นเรือนไม้ทรง ปั้นหยา มุขกลางมีบันไดขึ้น ทั้ง ๒ ด้าน ก่อสร้างเมื่อป ี พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นอำ�ำเภอ ที่สวยงาม ต่อมาสภาพ อาคารชำ�ำรุดทรุดโทรม ผุพังไปตามกาลเวลา จึงสร้างที่ว่าการอำ�ำเภอ หลังใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๑ มีการปรับปรุงเรื่อยมา จนเป็นภาพในปัจจุบัน
- ห้องแถวตลาดโอเจริญ อายุเกือบ ๑๐๐ ปี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ - ห้องแถววัดบึงบวรสถิตย์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นที่ดินของวัด ค่าเช่าราคา ๓ บาท ต่อปี ต่อมานายอำ� ำเภอ อยู่ สุรพลชัย ได้ตัดถนนหน้าอาคาร ห้องแถว เรียกว่า ถนนสุรพลชัย
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ หม่อมเจ้าธำ� ำรงสิริ ศรีธวัช ข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลปราจีน จึงได้ทําหนังสือถึงเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ขออนุญาต รวมบางตําบลในท้องที่บางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี ตั้งเป็นกิ่งอําเภอขึ้นที่ บ้านบึง และขอยุบกิ่งอาเภอท่าประชุม จังหวัดปราจีนบุรี แล้วโอนพนักงาน ํ ที่กิ่งอําเภอท่าประชุมไปทํางานที่กิ่งอําเภอบ้านบึงซึ่งตั้งขึ้นใหม่ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ยุบกิ่งอำ� ำเภอท่าประชุม จังหวัดปราจีนบุรี และรวมตำ� ำบลในท้องที่อำ� ำเภอ บางปลาสร้อย ประกอบด้วยตำำ� บลบ้านบึง ตำำ� บลมาบไผ่ ตำำ�บลหนองซ้ำ�้ำ ซาก ตำ� ำบลคลองกิ่ว ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำ� ำเภอ ที่ทำ� ำการอยู่ที่ตำ� ำบลบ้านบึง เรียกว่า ‘กิ่งอำ� ำเภอบ้านบึง’ ขึ้นกับอำ� ำเภอบางปลาสร้อย (อำ� ำเภอเมืองชลบุรี ในปัจจุบัน) และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ตั้งได้เมื่อวัน ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ...ชื่อ ‘บ้านบึง’ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ถือได้ว่า บ้านบึง เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ปีนี้... กล่าวได้ว่าการเกิดขึ้นและเติบโตของกิ่งอําเภอบ้านบึงนั้น เป็นผลมาจาก การผลักดันของคนในชุมชน อาทิ นายอํานาจ เนื่องจํานงค์ ได้ยกที่ดิน บริเวณใกล้เคียงตลาดให้เป็นสาธารณสมบัติ พร้อมทั้งได้ชักชวนให้บรรดา เจ้าของโรงหีบอ้อยร่วมบริจาคเงินเพื่อสร้างสถานีตารวจ และสร้างที่ว่าการ ํ กิ่งอําเภอ (ภารดี มหาขันธ์, ๒๕๕๒, หน้า ๑๐๗) นอกจากนั้นยังมีตระกูล เฮ้งตระกูล โดยคุณย่าผิน และคุณปู่โต๊ะเท้า เฮ้งตระกูล ซึ่งเป็นมารดา และบิดาของกำ� ำนันองุ่น เฮ้งตระกูล เป็นผู้นำ� ำชุมชนด้วย - ตลาดเก่า ๑๐๐ ปี หนองบอนแดง อำ� ำเภอ บ้านบึง จังหวัดชลบุรี สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ห้องแถวไม้ อายุร่วม ๑๐๐ ปี ก่อตั้งประมาณ ต้นสมัยรัชกาลที่ ๖ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๖๘ - ๖๙
- สำ� ำนักงานเทศบาลเมืองบ ้านบึง
บ้านบึงดำ� ำรงสถานะเป็นกิ่งอำ� ำเภอ ขึ้นกับอำ� ำเภอบางปลาสร้อย จนกระทั่ง เปลี่ยนมาเป็นอำ� ำเภอเมืองชลบุรี ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำ�ำเภอบ้านบึงขึ้นเป็นอำ�ำเภอบ้านบึง มีการจัดแบ่งเขต การปกครองขึ้นใหม่ โดยรับโอนเขตตำ� ำบลหนองอิรุณ ตำ� ำบลคลองพลู จากอำ� ำเภอพนัสนิคม รับโอนหมู่บ้านบางหมู่บ้านของตำ� ำบลหนองหงษ์ อำ� ำเภอพานทอง โดยนายอำ� ำนาจ เนื่องจำ� ำนงค์ คหบดีสมัยนั้นได้เป็น ผู้นำ� ำในการขอยกฐานะเป็นอำ� ำเภอ โดยเสนอต่อทางราชการว่า จะบริจาค ที่ดินของนางเทศ กาญจนพังคะ ซึ่งเป็นมารดาของนางพูนสุข เนื่องจำ� ำนงค์ และนางผิน เฮ้งตระกูล จำ� ำนวน ๓๒ ไร่ ให้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำ� ำเภอ และสถานที่ราชการต่างๆ พร้อมกับยินดีสร้างที่ว่าการอำ� ำเภอให้อีก ๑ หลัง โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการเลย กระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบ และประกาศยกฐานะเป็นอำำ� เภอในปีนันเอง ้ โดยมีเขตการปกครองรวม ๘ ตำ� ำบล ได้แก่ ตำ� ำบลบ้านบึง ตำ� ำบลหนองซ้�้ำำซาก ตำ�ำบลมาบไผ่ ตำ�ำบลคลองกิ่ว ตำ�ำบลหนองชาก ตำ�ำบลหนองบอน แดง ตำ� ำบลหนองอิรุณ และตำ� ำบลคลองพลู มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมีนายอำ� ำเภอบ้านบึงคนแรกคือ นายอำ� ำเภอทองสุข ชมวงษ์ ที่ว่าการอำ� ำเภอบ้านบึงสมัยนั้นเป็นไม้ทรงปั้นหยา มุขกลางมีขั้นบันไดขึ้ น ทั้ง ๒ ข้าง เริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๔๘๑ นั้นเอง อาคารที่ทำ� ำการ อำ� ำเภอหลังนี้ ได้ใช้ตลอดมาจนกระทั่งชำ� ำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พอปี พ.ศ. ๒๕๒๙ นายอารยะ วิวัฒน์วานิช ซึ่งขณะนั้นดำ� ำรงตำ� ำแหน่ง นายอำ� ำเภอบ้านบึง ได้เชิญชวนคหบดีและชาวอำ� ำเภอบ้านบึง ช่วยกัน บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างที่ว่าการอำ� ำเภอหลังใหม่ งานก่อสร้างเสร็จ เรียบร้อยในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๗๐ - ๗๑
– กล้องถ่ายหนัง : เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์โปรดการถ่ายภาพยนตร์ ไม่ว่าเสด็จประพาสที่ใด พระองค์ มักมีกล้องถ่ายภาพยนตร์ ติดพระวรกายไปด้วยเสมอ รวมทั้งเมื่อครั้งเสด็จประพาส บ้านบึงด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อบ้านบึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำ�ำเภอ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ เมื่อชุมชนบ้านบึงเติบโตขึ้น มีการขยายตัวของโรงงานน้ �้ำ ำตาลอ้อย หรือน้ �้ำ ำตาลแดงมากขึ้น ในยุคนั้นที่บ้านบึงมีโรงงานทำ�ำน้ �้ำ ำตาลกว่า ๒๐๐ แห่ง แต่เส้นทางเข้าสู่บ้านบึงก็ยังลำ�ำบาก เรียกได้ว่าทุรกันดาร แม้จะอยู่ไม่ไกลจากชลบุรีเท่าไรนัก เส้นทางเข้าบ้านบึงยังเป็นทางเกวียน อยู่ รถโดยสารสายแรกของชลบุรี ที่เริ่มในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ก็วิ่งจากชลบุรี ไปพนัสนิคม ที่เข้าบ้านบึงโดยตรงนั้นยังไม่มี แถมรถยังวิ่งได้ช้ามาก เนื่องจากผิวถนนไม่ดี เป็นเพียงแต่ขุดดินในท้องนามาถม เมื่อรถวิ่งผ่าน จึงเกิดร่องลึก ทําให้รถยนต์ต้องวิ่งไปตามร่องนั้น เวลาต้องข้าม ร่องน้ �้ำ ำลำ�ำห้วย ก็มีเพียงต้นตาลพาดข้ามเท่านั้น บารมี... ปกเกล้า – ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีน มีความเป็นมา ยาวนาน สถาบัน พระมหากษัตริย์ไทย มีส่วนสำ�ำคัญต่อสถานะ ของความสัมพันธ์นับตั้งแต่ สมัยโบราณมาจนถึงยุค รัตนโกสินทร์ ดังพระราชดำ�ำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ที่มีแก่ชาวจีนว่า “แม้ตัวข้าพเจ้าเอง ก็มีเลือดจีนปนอยู่ด้วย” บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๗๒ - ๗๓
แต่บรรดาโรงงานน้�้ำ ำตาลต่างๆ ทั้งในเขตบ้านบึงและพนัสนิคม จำ� ำเป็น ต้องใช้ถนนเส้นนี้เพื่อขนผลผลิตน้�้ำ ำตาลแดงของตนออกไปส่งที่เมือง ชลบุรี บ้านบึงมีรถยนต์ที่บรรทุกคนบรรทุกสินค้าได้ในระยะแรก จึงล้วน เป็นรถยนต์ของโรงงานน้�้ำ ำตาลทั้งสิ้น มีบันทึกว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) เจ้าเมืองชลบุรีในสมัยนัน้ ได้อนุญาตให้นายกิมเล้ง วิวัฒน์วาณิช กับพวก นํารถยนต์ฟอร์ด มาวิ่งรับ - ส่งคนโดยสารระหว่างชลบุรี - พนัสนิคม ถือเป็นรถโดยสาร สาธารณะสายแรกที่วิ่งระหว่างเมืองชลบุรี กับอำ� ำเภอรอบนอก ส่วนเส้นทางติดต่อจากบ้านบึงถึงตัวเมืองชลบุรีนั้น แต่เดิมมีขึ้นเพื่อขนส่ง สินค้าที่จำ� ำเป็น โดยเฉพาะน้�้ำ ำตาลแดง ซึ่งมีโรงงานน้�้ำ ำตาลในบ้านบึงอยู่ มากกว่า ๒๐๐ โรงหีบ โดยมีถนน ๒ สาย จาก ๒ ตระกูล คือ ถนนสายเขียว เป็นถนนของตระกูลวัฒนานุกิจ ร่วมกับตระกูลโอเจริญ ที่ทำ� ำการอยู่ที่ตรอกก๊วนในตัวเมืองชลบุรี มีขุนวัฒนานุกิจเป็นนายอากร เส้นทางเริ่มต้นที่ตลาดวัดกลาง ออกเขาน้อย - นาเขื่อน - นาป่า - เขาแรด - ห้วยยาง - มาบไผ่ - เกาะไม้แหลม วิ่งตรงไปหนองหงษ์ - หนองบอนแดง - หนองเขิน - หนองหูลิง - บึงกระโดน ส่วนอีกแยกหนึ่งตรงบ้านเกาะไม้แหลม แยกขวาออกไปทางบ้านเซิดน้อย เข้าสู่ตลาดบ้านบึงบริเวณบ้านซอย เซิดน้อยในปัจจุบัน – พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๗๑ ได้ชื่อว่าเป็น ข้าราชการที่เก่ง ซื่อตรง ไม่เกรงกลัวใคร และ หัวทันสมัย ท่านได้สร้าง ความเจริญให้กับจังหวัด ชลบุรีเป็นอันมาก อาทิ ริเริ่มสร้างโรงพยาบาล ชลบุรีให้เป็นโรงพยาบาล ประจำ� ำจังหวัด ริเริ่มให้มี การเดินรถโดยสารสาธารณะ จากเมืองชลบุรีไปยังอำ� ำเภอ ต่างๆ ถนนพระยาสัจจา ซึ่งเป็นถนนคู่ขนานระหว่าง ถนนสุขุมวิทกับถนน เลียบชายทะเลชลบุรี ตั้งชื่อตามราชทินนาม ของท่าน เพื่อรำ� ำลึกถึง พ่อเมืองผู้มีคุณูปการมากมาย ต่อจังหวัดชลบุรี
บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๗๔ - ๗๕
ถนนสายเหลือง เป็นถนนของตระกูลเนื่องจำ�ำนงค์และเฮ้งตระกูล ซึ่งเป็นทายาทของนายอากร ขุนประนนท์ มีถิ่นฐานอยู่ที่ตำ�ำบลหนองรี จากชลบุรีเริ่มต้นที่ท่าเกวียน มาออกทางหนองข้างคอก - หัวโกรก - หนองรี - เขาทุ่งนา ลัดเลาะมาตามชายเขาผ่านบ้านดงน้อย เข้าสู่ตลาดบ้านบึง ทางบริเวณหลังโรงเรียนบ้านบึงอุตสาหกรรมนุเคราะห์ในปัจจุบัน ซึ่งเดิม เป็นทางเกวียนมาก่อน แต่ถนนทั้ง ๒ สายก็เป็นของ ๔ ตระกูลที่ทำ�ำโรงงานน้ �้ำ ำตาลแดง ซึ่งใช้ ทั้งการขนส่งสินค้า และรับคนโดยสารด้วย จึงยังไม่ถือเป็นเส้นทางสัญจร สาธารณะสำ�ำหรับชาวบ้านบึงในการเดินทางไปยังตัวเมืองชลบุรี กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จประพาส ชายทะเลอ่าวสยาม จากหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ลงไปจนถึงภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทยในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาส พื้นที่เมืองชลบุรี ได้ทรงรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯ มายังกิ่งอำ�ำเภอบ้านบึง (ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ใช้คำ�ำว่า “ ” ) โดยเสด็จฯ เยี่ยมชมโรงหีบอ้อย ‘เฮ้งฮงหลี’ ที่บ้านนายอากรโต๊ะเท้า หรือโต๊ะเท้า แซ่เฮ้ง และนางผิน เฮ้งตระกูล (บ้านกำ�ำนันองุ่น เฮ้งตระกูล อดีตกำ�ำนันตำ�ำบลบ้านบึง) เพื่อ ทอดพระเนตรการทำ�ำน้ �้ำ ำตาลแดงโดยใช้ควายเทียมหีบ ครั้งนั้นพระองค์ ทรงได้ถ่ายทำ�ำเป็นภาพยนตร์เก็บไว้เป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๗๖ - ๗๗
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำ�ำเนินไปทรงเป็น ประธานในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดชลบุรี และเสด็จฯ ไป ทอดพระเนตรแผนผังเมืองใหม่ ณ ศาลากลางจังหวัดชลบุรี การเสด็จพระราชดำ�ำเนินมาถึงบ้านบึง ทำ�ำให้พระองค์ทรงเห็นความยาก ลำ�ำบากของประชาชนในการเดินทาง จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำ�ำนวน ๒,๐๐๐ บาท และสมทบกับเงินที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวาย ขณะเสด็จฯ มาโรงหีบอ้อย ‘เฮ้งฮงหลี’ จำ�ำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท รวม พระราชทานทรัพย์ให้พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) เจ้าเมืองชลบุรี จำ�ำนวน ๔๗,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มต้นในการดำ�ำเนินการ ก่อสร้างถนนสาย ชลบุรี - บ้านบึง ซึ่งใช้เวลาสร้างนานถึง ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๙)
สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือ ใช้แต่แรงงานคนที่พร้อมมารับจ้าง โดยคนที่มา รับจ้างจะต้องมีปุ้งกี๋ จอบ และเสียมมาเองเพื่อรับจ้างงานก่อสร้างถนน ถนนด้านข้างเป็นร่องน้ �้ำ ำเพราะขุดดินขึ้นมาถมถนน การขุดดินด้านข้างทาง ขึนมาเรียกว่า ‘หลุมหลา’ (กว้าง - ยาว - ลึก ๑ หลา = ๑ แรง) โดย ้นำำ� ดินมาถม เป็นแนวของถนน ระยะแรกหลังจากพระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) วางแนวเขตถนนเสร็จ จึงเริ่มสร้างนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ก่อนการยกฐานะเป็นอำำ� เภอบ้านบึงเพียงปีเดียว – ถนนสายเหลือง ไปอำ�ำเภอบ้านบึง เป็นของตระกูลเนื่องจำ�ำนงค์ และเฮ้งตระกูล – ถนนสายเขียว ไปอำ�ำเภอบ้านบึง เป็นของตระกูลวัฒนานุกิจ และโอเจริญ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๗๘ - ๗๙
ศรัทธาชาวจีน แห่งบ้านบึง – เหตุุการณ์์ไฟไหม้้ตลาด ครั้้งใหญ่่ในปีี พ.ศ.๒๕๐๑ บริิเวณตลาดอำเภอบ้้านบึึง มีีเพีียงศาลเจ้้า ๒ แห่่ง ที่่ไม่่ถููกไฟไหม้้ คืือ ศาลเจ้าเซียนซือไท้ และศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้ว (เจ้าพ่อเห้งเจียหรือเจ้าพ่อลิง) นับเป็นเหตุการณ์ ที่สร้างความสูญเสีย แก่พี่น้องชาวบ้านบึง อย่างใหญ่หลวงครั้งหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่สักการะกราบไหว้ของชาวจีนที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานและลัทธิความเชื่ออย่างชาวจีนนั้นก็คือศาลเจ้าต่างๆ ใน อำ�ำเภอบ้านบึง ศาลเจ้าแห่งแรกที่เป็นที่เคารพกราบไหว้คือ ศาลเจ้าเซียน ซือไท้ ได้จัดสร้างขึ้นที่บ้านนายโต๊ะเท้า แซ่เฮ้ง ซึ่งเป็นบิดาของกำ�ำนันองุ่น เฮ้งตระกูล ต่อมาเมื่อมีคนศรัทธาสักการะมากยิ่งขึ้นจึงได้ย้ายมาตั้งที่หน้า สระน้ำ �้ำในปัจจุบัน และได้ทำำ� การบูรณะด้วยเงินบริจาคหลายครัง จนมีความ้ สวยงามตามศิลปะจีนในทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าใหญ่น้อยอีก หลายแห่ง อาทิ ซากัวเอี๊ย ซำำ� ก่า ศาลเจ้ากวนอู ศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้ว เป็นต้น บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๘๐ - ๘๑
– องค์ไซกง – องค์ไซม่า
สิงโตคู่ผู้พิทักษ์ สิงโตหินคู่ ชาวบ้านเชื่อว่าองค์ไซกงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ป้องกันสิ่งอัปมงคล ที่จะเข้ามากล้ �้ำ ำกราย ถือเป็นเจ้าที่ผู้พิทักษ์ที่สำ�ำคัญซึ่งได้รับความเคารพ เชื่อถือมาตลอด ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างสิงโตขึ้น ๑ คู่ คือ องค์ไซม่า และองค์ไซกง องค์ไซกงอยู่ที่หน้าอำ�ำเภอ และองค์ไซม่าอยู่ที่สะพาน หน้าวัดบึงบวรสถิตย์ ได้ก่อสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยนายเต็กซิม แซ่ไหล คนทรงขององค์ไต่เสี่ยฮุกโจ้วได้นำ�ำช่างปั้นจากไหหลำ�ำมาปั้นสิงโต ซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ปั้นทำ�ำพิธีเบิกเนตร และถือเป็นของคู่บ้านคู่เมืองอำ�ำเภอ บ้านบึง เชื่อว่าเป็นสิงโตที่สวยที่สุดในประเทศ องค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมหยกขาว ทำ�ำจากหยกขาวจากประเทศเมียนมา ขนาดสูง ๑๘๙ เซนติเมตร ตั้งอยู่ กลางสระน้ �้ำ ำหน้าที่ว่าการอำ�ำเภอบ้านบึง สร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ – เจ้าแม่กวนอิม บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๘๒ - ๘๓
– โรงเจบ้วนฮกตั้ว เป็นโรงเจเก่าแก่ของอำ�ำเภอบ้านบึง สถานที่จัดงานประเพณีกินเจ เป็นประจำ�ำทุกปี – ที่ทำ�ำการกู้ภัยศีลธรรมสมาคม (เม่งซิมตั๊ว)
ประวัติการก่อตั้งศาลเจ้าโป๊ยเซียนโจวซือ และศีลธรรมสมาคม (เม่งซิมตั๊ว) การก่อตังองค์กรการกุศล (เม่งตั๊ว) ในประเทศไทย จากยุคสมัยที่แปรเปลี่ยน ้ และความศรัทธาแห่งสาธุชนเวลานี้ได้แผ่ขยายไปในส่วนของอำ�ำเภอ และจังหวัดต่างๆ รวมแล้วมีถึง ๔๖ เม่งตั๊ว (จากหนังสืออนุสรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ มี ๓๒ เม่งตั๊ว) เป็นที่ประจักษ์กันทั่วประเทศว่าเม่งตั๊ว เป็นองค์กรที่เข้มแข็งมากที่สุดองค์กรหนึ่ง ในด้านการสร้างสาธารณกุศล และสาธารณประโยชน์ต่างๆ ให้แก่สังคม ภาพรวมของการก่อตั้งเม่งตั๊ว เริ่มแรกส่วนมากจัดงานล้างป่าช้าขึ้นก่อน พอแล้วเสร็จจากงานการกุศล ก็สร้างศาลหรือเทวสถานบูชาองค์โป๊ยเซียน โจวซือเลย ชาวบ้านได้อาศัยบูชาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ งานล้างป่าช้าครั้งที่ ๑ เริ่มเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๒ คณะกรรมการล้างป่าช้า ครั้งที่ ๑ ได้อัญเชิญกระถางธูปทอง (กิมโล้ว) ขององค์โป๊ยเซียนโจวซือ จากศาลเจ้าเม่งเต็งเซี่ยงตั๊ว ศรีราชา ผู้บริหารงาน ครั้งนั้นมีเพียง ๑๓ ท่าน คือ ๑. เฮ้งฮงหลี (คุณพ่อโต๊ะเท้า) ๒. ตั้งเซี่ยมฮะ ๓. เลี่ยวหมังกี่ ๔. ชื่อเซี่ยงกี่ ๕. ลี้ เลี่ยงเฮง ๖. โต๋วก่วงง้วน ๗. เตียวเตียงกี่ ๘. อุนจู่ฮง ๙. ตั้งง่วนเตี๊ยว ๑๐. ตั้งจุ่นฮะ ๑๑. ล้อซังสุน ๑๒. เฮ้งกิมเตียง ๑๓. ล้อเง็กกี่ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๘๔ - ๘๕
สมัยนัน้ อำำ� เภอบ้านบึงยังเป็นป่าทั่วไป การสัญจรขาดพาหนะ ต้องเดินทาง ด้วยเท้าอย่างเดียว หากต้องการลำ� ำเลียงสินค้าก็ใช้เพียงเกวียน ไม่เช่นนั้น ก็ต้องหาบ ในตลาดบ้านบึงร้านค้ามีไม่มาก เป็นหลังคามุงจาก ขณะนั้น พอดีกับก้วงซุ่นเฮง (คุณพ่ออำ� ำนาจ เนื่องจำ� ำนงค์) กำ� ำลังบุกเบิกโรงหีบอ้อย ที่หนองชาก ซึ่งอยู่ห่างจากตลาดบ้านบึง ๕ กิโลเมตร ถึงแม้การคมนาคม ไม่สะดวก แต่คุณพ่ออำ� ำนาจ เนื่องจำ� ำนงค์ ก็ยังมาร่วมงานล้างป่าช้าครั้งนี้ โดยการนำ� ำของคุณพ่อโต๊ะเท้า ทุกคนร่วมมือร่วมใจมานะฝ่าฟันด้วยความ ยากลำ� ำบาก และในครั้งนั้นคุณพ่อโต๊ะเท้าได้บริจาคที่ดิน ๑๐ ไร่ ให้สร้าง ฮวงซุ้ยขนาดใหญ่ไว้บรรจุอัฐิไร้ญาติ จวบจนเดือนพฤษภาคม (เดือน ๔ จีน) งานล้างป่าช้า ครั้งที่ ๑ ก็ได้เสร็จสิ้นลง หลังเสร็จงานล้างป่าช้า ครังที่ ๑ กระถางธูปองค์โป๊ยเซียนโจวซือ ได้ตั ้งเป็น้ ที่บูชาชั่วคราวไว้ที่โรงหีบอ้อย ‘เฮ้งฮงหลี’ ซึ่งอยู่ห่างจากตลาดบ้านบึง ๒ กิโลเมตร ผู้คนไปเซ่นไหว้ไม่ขาดสาย แต่การเดินทางไม่สะดวก คุณพ่อ โต๊ะเท้ารู้ถึงปัญหานี้จึงได้เสนอยกที่ดินจำ� ำนวน ๑ ไร่ ในกลางตลาดบ้านบึง เพื่อสร้างเทวสถาน ‘กั๊กเยี่ยงไท้’ (เซียนซือไท้ปัจจุบัน) ได้ฤกษ์ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เดือน ๑๑ จีน ทำ� ำการก่อสร้าง ขณะนั้นเทวสถานเซียนซือไท้ นับได้ว่าเป็นตึกคอนกรีตหลังแรกของตลาดบ้านบึง มีความโอ่อ่า สง่างาม เป็นที่โจษขานของคนทั่วไป จวบปีต่อมาคุณพ่อโต๊ะเท้าได้จัดหาเทวรูป โป๊ยเซียนมาจากเมืองจีน เทวสถานเซียนซือไท้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้กำ� ำหนดวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ อัญเชิญเทวรูป องค์โป๊ยเซียนโจวซือขึ้นประดิษฐานพร้อมกระถางธูป เป็นอันเสร็จพิธี งานอันยิ่งใหญ่นี้
งานล้างป่าช้า ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๗ งานล้างป่าช้า ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๕ งานล้างป่าช้า ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๙๖ งานล้างป่าช้า ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๐๙ การล้างป่าช้ามีการจัดสืบเนื่องมาอีกหลายครั้ง ดังนี้ การล้างป่าช้า ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๑๙ การล้างป่าช้า ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๑ การล้างป่าช้า ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๘๖ - ๘๗
การตั้งสุสานในเขตอำ�ำเภอบ้านบึง วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ บ้านบึงได้ยกฐานะเป็นอำ�ำเภอบ้านบึง มีผลให้ในเขตชุมชนตลาดบ้านบึงได้มีการขยายตัวขึ้นมาก บ้านเรือน ปลูกสร้างกันหนาแน่น สิ่งปลูกสร้างได้สร้างถึงชายเขตป่าช้า (ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของเทศบาลเมืองบ้านบึง และสถานีอนามัยเก่า) ที่มีการฝังศพ เป็นภาพที่ไม่เจริญหูเจริญตา ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ปีกะโง่ว) คุณพ่อโต๊ะ เท้า แซ่เฮ้ง (เฮ้งฮงหลี) เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ ท่านจึงได้บริจาคที่ดิน ประมาณ ๒๐ ไร่ บนเขาพ่อขุนด่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งที่มีทัศนียภาพดีมาก มีขุนเขาโอบล้อมสมเป็นแดนสุขาวดี มีธรรมชาติเหมาะที่จะเป็นที่ฝังศพ สาธารณประโยชน์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุสาน ‘เม่งซิมซัวจึง’ ขึ้นเป็น สุสานแห่งแรกของอำ�ำเภอบ้านบึง และต่อมาได้มีการก่อสร้างสุสาน ของเอกชนและสมาคมมูลนิธิต่างๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง ทำ�ำให้อำ�ำเภอ บ้านบึงมีสุสานถึง ๔๙ แห่งในปัจจุบัน แนวเขาเขียวทางด้านอำ�ำเภอบ้านบึง ซินแสผู้มีภูมิความรู้ทางฮวงจุ้ย ถือว่าเป็นเขาธาตุทอง ซึ่งมีทำำ� เลในการทำำ� ที่ฝังศพ (ฮวงจุ้ย, แซกี) ที่เหมาะสม กับคนทุกนักษัตรปีเกิด โดยสภาพลักษณะของเขาเขียวนี้เป็นแนวยาว ต่อเนื่อง มียอดสูงสลับยอดระดับกลาง มีแมกไม้เป็นสีเขียวตลอดทั้งปี ซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
ประเพณีกินเจเป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วในจังหวัดชลบุรี ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ ในเทศกาลนี้ ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วในชลบุรี จะร่วมกันจัดงานตามศาลเจ้าต่างๆ เพื่อระลึกถึงบรรพชนและฝึกจิตใจ ให้บริสุทธิ์ จากการบำ�ำเพ็ญตนรักษาศีล ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ประเพณีกินเจเป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม ๙ วัน เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่�่ำำ ถึงขึ้น ๙ ค่�่ำำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี (รวมเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน) ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น ๑ ค่�่ำำเดือน ๑๑ ของไทย ดังนั้น เทศกาลกินเจ จึงอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี และกล่าวได้ว่า เป็นงานประเพณีที่สำ�ำคัญที่สุดสำ�ำหรับชาวบ้านบึง ประวัติของเทศกาลกินเจของชาวอำ�ำเภอบ้านบึงมีมายาวนาน และมีความ เป็นมาที่สัมพันธ์กับเทวสถานเซียนซือไท้ ที่ประดิษฐานองค์โป๊ยเซียนโจวซือ เทพเจ้าจีนซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านบึงเป็นอย่างมาก ประเพณีดีงาม กินเจ บ้านบึง บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๙๐ - ๙๑
ย้อนไปสมัยเมื่อจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) มาตั้ง โรงเลื่อยไม้ที่ศรีราชานั้น ได้ว่าจ้างกรรมกรทั้งไทยและจีนมาทำ�ำงานตัดไม้ ก่อสร้างโรงงาน สร้างทางรถไฟ ฯลฯ จำ�ำนวนมาก สมัยนั้นพื้นที่ศรีราชา ยังเป็นป่าทึบ มีไข้มาลาเรียชุกชุม ทำ�ำให้มีคนงานเจ็บป่วยล้มตายเป็น จำ�ำนวนมาก บริเวณที่ใช้เป็นป่าช้าก็คือที่ตั้งโรงเรียนศรีราชาจนถึงบ้านพัก นายอำ�ำเภอในปัจจุบัน ซึ่งเวลานั้นยังเป็นป่าชายเลนอยู่นอกเมือง โดยมี ศพถูกฝังไว้มากมายหลายร้อยศพ ต่อมาทางราชการได้สร้างที่ทำ�ำการอำ�ำเภอและสถานีตำ�ำรวจขึ้นในบริเวณ นั้น จนราวปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ทางราชการมีความประสงค์จะพัฒนาบริเวณ ป่าชายเลนที่เป็นป่าช้านั้นให้เป็นสนามบิน นายอำ�ำเภอในขณะนั้นคือ หลวงชลธารขารุรักษ์ จึงสั่งให้จัดการว่าจ้างสัปเหร่อมาขุดศพ ขุดอัฐิขึ้นมา ประกอบพิธีฌาปนกิจแล้วนำ�ำไปลอยอังคารในทะเล ทว่าหลังดำำ� เนินการขุดศพได้เพียง ๒ - ๓ วัน ก็มีการเล่าต่อกันมาว่าเกิดเรื่อง ประหลาดขึ้น คือที่ว่าการอำ�ำเภอและสถานีตำ�ำรวจซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง กับป่าช้า เกิดลมพัดเย็นยะเยือก เกิดเรื่องแปลกในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงร้องโหยหวน ข้าราชการอำำ�เภอ ตำำ� รวจ และลูกเมียต่างโดนหลอกหลอน เป็นประจำ�ำ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก – โรงเจ กิ้วอ๊วงฮุกโจ้ว บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๙๒ - ๙๓
– การอุทิศเครื่องกระดาษ เซ่นไหว้ (กิมซัว) ภูเขาเงิน ภูเขาทอง ให้กับบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ
หลวงชลธารขารุรักษ์ จึงสั่งให้หยุดการขุดศพ แล้วเชิญพ่อค้าประชาชน ทังชาวไทย ชาวจีน มาปรึกษาหารือกันว่าจะ ้ทำำ� อย่างไร ในที่สุดก็มีผู้แนะนำำ� นายโค้วอัวซิม และนายโค้วเซ่งจง ซึ่งเป็นชาวบ้านไซน้า อำ�ำเภอโผวเล้ง จังหวัดแต้จิ๋ว ในประเทศจีน ซึ่งอพยพมาหากินที่เมืองไทย ประกอบอาชีพ หาบเร่ ระหว่างศรีราชา - หนองมน แต่เมื่อครั้งยังอยู่ประเทศจีนได้เคย ร่วมกันจัดเก็บอัฐิและฌาปนกิจศพไม่มีญาติ จึงมีความรอบรู้จัดเจนทาง ด้านนี้ ทั้งยังได้อัญเชิญ ‘เฮียห้วย’ หรือเถ้าธูปจากศาลเจ้าโป๊ยเซียนโจวซือ จากประเทศจีนติดตัวมาด้วย หลวงชลธารขารุรักษ์ - นายอำ�ำเภอศรีราชา จึงให้คนไปเชิญนายโค้วอัวซิม และนายโค้วเซ่งจงมาปรึกษา ทั้งสองได้อัญเชิญเฮียห้วยมากราบไหว้ และเข้าทรงไม้เทวบัญชา แล้วทำ�ำพิธีฌาปนกิจศพไร้ญาติครั้งแรกเมื่อคืน วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ บริเวณซึ่งเป็นที่ตังศาลเจ้าพ่อสมุทร้ดำำ� ในตลาดศรีราชาปัจจุบัน การล้างป่าช้าเก็บศพไร้ญาติในครั้งแรกใช้เวลานานถึง ๖ เดือนเต็ม และ ได้สร้างฮวงซุ้ยขนาดใหญ่ประกอบพิธีฝังเมื่อเดือนธันวาคมในปีเดียวกัน จึงเป็นอันเสร็จพิธีการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น หลังเสร็จพิธี เตาธูปบูชาหรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘กิมโล้ว’ ได้ถูกอัญเชิญมา ฝากไว้ที่ห้องแถวไม้ในตลาดศรีราชา ต่อมาจึงได้สร้างศาจเจ้า ‘จิ๊วเยี่ยงไท้’ ขึ้นที่ถนนเจิมจอมพล คือศาลเจ้าสมุทรดำ�ำในปัจจุบัน เป็นที่ประดิษฐาน กิมโล้วขององค์โป๊ยเซียนโจวซือ (หนังสือ ๑๐๐ ปี ศรีราชา) – พิธีเชิญเจ้า ในเทศกาลกินเจ บ้านบึง ๑๐๐ ปี จากอดีตถึงปัจจุบัน • ๙๖ - ๙๗
ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๗๒ มีการจัดพิธีล้างป่าช้าขึ้นเป็นครั้งแรกของบ้านบึง จึงมีการอัญเชิญกระถางธูปทอง (กิมโล้ว) ขององค์โป๊ยเซียนโจวซือ มาจากศรีราชา เมื่อเสร็จพิธี กระถางธูปองค์โป๊ยเซียนโจวซือ ได้ตั้งเป็น ที่บูชาไว้ที่โรงหีบอ้อย ‘เฮ้งฮงหลี’ เป็นการชั่วคราว โรงหีบอ้อยเฮ้งฮงหลี อยู่ห่างจากตลาดบ้านบึง ๒ กิโลเมตร แต่มีผู้คนไปเซ่นไหว้ไม่ขาดสาย แม้การเดินทางไม่สะดวก ต่อมานายโต๊ะเท้า แซ่เฮ้ง หรือคุณพ่อโต๊ะเท้า เจ้าของโรงหีบอ้อย ‘เฮ้งฮงหลี’ ได้ยกที่ดินจำ�ำนวน ๑ ไร่ กลางตลาดบ้านบึง เพื่อสร้างเทวสถาน ‘กั๊กเยี่ยงไท้’ (ศาลเจ้าเซียนซือไท้) ซึ่งได้ฤกษ์ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เทวสถานเซียนซือไท้ นับว่าเป็นตึกคอนกรีตหลังแรกของบ้านบึง ที่มี ความโอ่อ่าสง่างาม และเป็นศาลเจ้าพุทธนิกายมหายานเก่าแก่แห่งแรก ในอำ�ำเภอบ้านบึง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ คุณพ่อโต๊ะเท้าได้อัญเชิญเทวรูป องค์โป๊ยเซียนโจวซือจากประเทศจีน ขึ้นประดิษฐานพร้อมกระถางธูป ที่ศาลเจ้าเซียนซือไท้แห่งนี้ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงเริ่มมีประเพณีกินเจเป็นครั้งแรกของบ้านบึง เมื่อมี การก่อตั้งโรงเจบ้วนฮกตั้วขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดงานประเพณีนี้ โดยการนำ�ำของนายโต๊ะเท้า แซ่เฮ้ง โดยเริ่มในปีกุน วันอังคารที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ สมัยก่อนที่จะมีโรงเจบ้วนฮกตั้วนั้น ชาวบ้านบึงจะไปร่วม ประเพณีการกินเจที่โรงเจเช็งฮกตั๊ว ในตัวจังหวัดชลบุรี ซึ่งการเดินทาง ในสมัยนั้นมีอุปสรรคมาก ไม่มีความสะดวก โดยเฉพาะสำ�ำหรับผู้สูงอายุ – ภายในโรงเจ – กิ้วอ ๊วงฮุกโจ้ว ดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙
– ขบวนพิธีอัญเชิญ ‘ฮุกโจ้ว’ จะเดินจากโรงเจบ้วนฮกตั้วประมาณ ๒ กิโลเมตร ไปยังบ้านของกำ�ำนันองุ่น เฮ้งตระกูล อดีตกำ�ำนันตำ�ำบลบ้านบึง ทายาทของนายอากรโต๊ะเท้า แซ่เฮ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีอัญเชิญ องค์ฮุกโจ้ว เพื่อมาประดิษฐาน ณ โรงเจบ้วนฮกตั้ว