The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ถอดหลักสูตร-TCP -2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by saranthorn.3, 2021-08-10 03:44:07

ถอดหลักสูตร-TCP -2563

ถอดหลักสูตร-TCP -2563

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สตู รสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

คำนำ

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พุทธศักราช 25๖๓ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่ได้พัฒนาให้สอดคล้อง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนสอดคล้องกับแนวนโยบายและ
ความต้องการการจดั การศกึ ษาของชาติ

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามตามคำสั่ง
กระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองใหใ้ ชม้ าตรฐานการเรยี นรู้และตัวชวี้ ัดกลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาจีน) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้จัดทำหลักสูตร
สถานศึกษาโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พุทธศักราช 256๓ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕60) และมีการปรบั ปรงุ สาระ
การเรียนรู้ มาตรฐานตัวช้ีวัดให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยปรับโครงสร้างเวลา
เรียนหลักสูตรตามความพร้อมและจุดเน้นของสถานศึกษาและจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ บูรณาการใน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ถงึ ชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ ๖

ในการดำเนนิ การจัดทำหลกั สูตร คณะกรรมการจัดทำหลกั สูตรห้องเรียนความเปน็ เลิศทางด้าน
ภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ได้ศึกษาเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้สำรวจความต้องการของนักเรยี น
ผู้ปกครอง ชุมชน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นแนวทางในการจัดทำ
ดังนั้นคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese
Program : TCP) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรสถานศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) พุทธศักราช 256๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕60)
นี้จะเกิดประโยชน์ต่อบุคคลที่ต้องการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
เกดิ ประสิทธผิ ล

คณะกรรมการจดั ทำหลักสตู ร

โรงเรยี นองค์การบริหารส่วนจงั หวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

สารบัญ

สารบัญ ……….....................................................................................................................
คำนำ .................................................................................................................................
บทที่ 1 บทนำ ............................................................................................................

ความเปน็ มาและความสำคัญ...............................................................................
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ .........................................................................
ขอบเขตของการศึกษา............................................................................ .............
กรอบแนวคดิ การดำเนินการ................................................................................
นยิ ามเฉพาะศัพท.์ ................................................................................................
ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะไดร้ บั ...................................................................................
บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกยี่ วข้อง.......................................................................
การดำเนินการถอดบทเรยี น…………………………….................................................
ขอ้ พึงระวังในการถอดบทเรยี น……………………………………………………..……………..
พระราชบัญญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเตมิ พ.ศ.2553)..........
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542
แกไ้ ขเพมิ่ เติม (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ.2553.....................................................................
หลักสตู รและองค์ประกอบของหลักสูตร...............................................................
ความสำคัญของหลกั สตู ร......................................................................................
องค์ประกอบของหลกั สตู ร………………………………….............................................
โครงสร้างหลกั สตู ร……………………………………......................................................
รปู แบบหลกั สูตร………………………………...............................................................
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี………………………............................................................
หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551……………………………
ขอ้ มูลพ้นื ฐานโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจงั หวัดเชียงราย………….…………………
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนองคก์ ารบริหารส่วนจงั หวัดเชยี งราย…………………..
การจดั การเรยี นรู้..................................................................................................
รูปแบบการจดั การเรยี นรู้……………………………………………………………………………

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

สารบญั (ต่อ)

บทท่ี 3 วิธดี ำเนนิ งาน..................................................................................................
สภาพปัจจุบนั และปญั หาของการจัดการศึกษาตามหลกั สูตร ห้องเรยี นความ
เปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented Chinese Program : TCP)………..………
การวางแผนการดำเนนิ งาน.................................................................................
การปฏบิ ัตติ ามแผนที่วางไว้................................................................................

บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล ...................................................................................
สภาพปจั จุบันและปัญหาของการจัดการศกึ ษาตามหลกั สตู ร หอ้ งเรียนความ
เป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP)....................
ผลการจดั การเรียนการสอนตามหลกั สตู รสถานศึกษา........................................

ผลสัมฤทธด์ิ า้ นผูเ้ รียน….......................................................................................

คณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์....................................................................................

ปญั หาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้……………………………………………………………

การพัฒนาคุณภาพผู้เรยี นและขอ้ เสนอแนะ…………………………………………………
บทท่ี 5 สรปุ อภปิ ราย และข้อเสนอแนะ .....................................................................

ผลการศึกษาสภาพปัจจบุ นั และปัญหาของการจดั การศึกษาตามหลกั สตู ร
หอ้ งเรียนความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program :
TCP)...................................................................................................................
ผลการจดั การศกึ ษาหลักสูตร ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจนี
(Talented Chinese Program : TCP) ปีการศึกษา 2563 กรณโี รงเรยี น
องคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั เชียงราย...................................................................
แนวทางการพัฒนา ปรบั ปรุงการจัดการศึกษาหลักสตู ร…...................................
บรรณานุกรม ……………………………………………………………………………………………………..
ภาคผนวก …..……………………………………………………..……………………………………………
ภาคผนวก ก โครงการสง่ เสรมิ และพฒั นาให้ผูเ้ รียนไดร้ บั การพฒั นาคุณภาพ…..
ภาคผนวก ข ผรู้ ว่ มถอดบทเรยี น.........................................................................

โรงเรียนองค์การบริหารสว่ นจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคญั

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษา
และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อันเนื่องมาจากนโยบายกระจายอำนาจการจัดการศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดไว้ในกฎหมายสำคัญหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างย่ิง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ
ที่จะจัดการศึกษาและเข้าไปมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ยังมีบทบาทในกรณีมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุน
การจดั การศึกษาของรฐั ในด้านต่าง ๆ เชน่ ดา้ นงบประมาณและทรพั ยส์ ิน ดา้ นวิชากร เช่น การพัฒนา
หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน การระดมผู้รู้ในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียน
การสอน นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมเป็นกรรมการสถานศึกษา กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา กรรมการ
ที่ปรึกษาหรือกรรมการอื่น ๆ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 3)
พุทธศักราช 2553 กำหนดให้การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการ
กระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดถึงให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ จัดการศึกษาระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม
ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น ของตนเอง อีกทั้งให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
การประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและได้มาตรฐาน
การศกึ ษา

ต่อมาได้มีการประกาศใช้แผนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองสว่ นท้องถิน่ พุทธศักราช
2542 นอกจากน้ี พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ ได้แก่ เทศบาล
เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีอำนาจ
หน้าที่ในการจัดการศึกษา และให้มีการถ่ายโอนภารกิจการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
พร้อมทั้งได้กำหนดให้สร้างความพร้อมเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจ บุคลากร งบประมาณและ
ทรัพย์สิน รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานของรัฐ
ที่ถ่ายโอนภารกิจให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้คำแนะนำและปรึกษาทางเทคนิค วิชาการ
และการดำเนินงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสม และดำเนินการฝึกอบรมต่าง ๆ
รวมทั้งกฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ รัฐยังได้กำหนดนโยบายไว้อย่างชัดเจนว่าให้
เตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี 2558 มีองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถ่ินจำนวนมากถึง 7,850 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย องค์การบริหารสว่ นจังหวัด 76 แห่งเทศบาล
2,469 แห่ง (เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 192 แห่ง เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง)องค์การ
บริหารส่วนตำบล 5,303 แห่ง กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง และเมืองพัทยา 1 แห่ง (กลุ่มงานกฎหมาย

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสูตรสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

และระเบียบท้องถิ่น 2 กองกฎหมายและระเบียบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2563)
ซง่ึ ในปัจจุบนั มอี งค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินที่มีอำนาจหน้าท่ีจัดการศึกษาในระบบอยู่แลว้ ตามกฎหมาย
เฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัด
การศกึ ษาทม่ี โี รงเรียนในสังกดั 1,481 แหง่ แยกเปน็ สงั กัดเทศบาล 658 โรงเรยี น องค์การบริหารส่วน
ตำบล 52 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด 326 โรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา 10 โรงเรียน และ
สังกัดกรุงเทพมหานคร 435 โรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จัดการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน ยกเว้นกรุงเทพมหานครที่
จัดการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา และเทศบาล นครนครปฐมที่จัดการศึกษาถึงระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อย่างไรก็ตามในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้จัดการศึกษาในระบบ
โดยตรงก็ได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น จัดศูนย์
พัฒนา เด็กเล็ก จัดฝึกอบรมวิชาชีพ และจัดแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเข้าไป
มีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ และจะมีการจัดการศึกษาใน
ระบบต่อไปเมื่อผา่ นการประเมินความพรอ้ มและความสมัครใจของสถานศึกษาในทอ้ งถน่ิ ของตนเอง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในท้องถิ่นของ
ตนเอง ในหมวด (6) การจัดการศึกษาองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงรายซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการศึกษา
และการสาธารณสุข กลยทุ ธ์ 3.1 สง่ เสริมและพฒั นาการศึกษาท้ังในระบบ นอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัยให้ได้มาตรฐานการศึกษา จัดตั้งโรงเรียนขึ้นสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปีปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 1 โรงเรียน (กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2561 – 2564 หน้า 3) โดยโรงเรียนองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงรายเปน็ โรงเรียนในสงั กัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ซึ่งได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2549 เริ่มแรกมีนักเรียน 126 คน มี 2 โปรแกรม
หลักสูตร คือ โปรแกรมหลักสูตรวิทย์ - คณิต และหลักสูตรกีฬา ในปีการศึกษาแรก ๆ และมีแนวคิด
ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ตลอดถึงนำแนวทาง Thinking
school จากประเทศนิวซีแลนด์ มาเป็นรูปแบบกระบวนการสอนคิดเป็นฐาน โดยปรับวิธีเรียนและ
เปลี่ยนวิธีสอน เปลี่ยนบทบาทจากการต้องท่อง เนื้อหาวิชามาเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ
Active Learning ผ่านกระบวนการ Thinking School ให้ความรักความสนใจในชีวิตของนักเรียน
แตล่ ะคน จัดประสบการณก์ ารเรียนรูอ้ นั หลากหลายและเหมาะสมกบั ผเู้ รียนรายบคุ คลรว่ มเรยี นรู้แบบ
มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในสถานการณ์จริง รู้ศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคนและส่งเสริม
ให้นกั เรียนไดน้ ำศักยภาพน้ันมาใช้อย่างเตม็ ที่ เน้นการประเมนิ ผู้เรียนตามสภาพจริง นกั เรยี นทไ่ี ด้รับการ
ส่งเสริมศักยภาพตามความถนัดของตนจะมีความสุขที่จะเรียนรู้ ครูมีความสุขและสนุกในการจัดการ
เรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยใช้ทักษะและเครื่องมือการสอนคิดได้เหมาะสมกับนักเรียน รวมท้ัง
เปลี่ยนทัศนคติใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ สามารถคิดในระดับสูงได้ คือ คิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์
(รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR 2562 หน้า 33)

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

จากการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550 : 43)
พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการศึกษาหลายประการ
เชน่ ผบู้ ริหารองคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ิน ขาดความรู้ความเขา้ ใจในการศึกษา หรอื ไมเ่ หน็ ความสำคัญ
ด้านการศึกษา ขาดความต่อเนื่องทางการเมืองเนื่องจากผู้บริหารมีวาระในการดำรงตำแหน่งครู
ขาดขวัญกำลังใจและความก้าวหน้าทางวิชาชีพเมื่อเปรียบเทียบกับสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตน ยังต้องพ่ึงพิง
งบประมาณจากส่วนกลาง ทำให้ไม่มีความคล่องตัวในการบริหาร และที่สำคัญผู้บริหารสถานศึกษา
ขาดความรู้ความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง ส่งผลให้คุณภาพ
ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งไม่เปน็ ท่ียอมรับจากชมุ ชนและผู้ปกครอง
ในการส่งบุตรหลานเพอ่ื เข้าเรียนสถานศกึ ษาในสงั กัด เป็นตน้

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ระดับจังหวัด
มีโรงเรียนหรือสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ในระดับอนุบาล 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
เปน็ แหลง่ การเรียนรู้ทสี่ ำคัญยิ่งในการพัฒนาผู้เรยี นและผลิตกำลังคนในจังหวัดเชียงรายให้มีศักยภาพ
ที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี
กับนานาประเทศได้ ดังนั้น การมี “โรงเรียนคุณภาพ” ในสังกัดถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ
ในการเป็นกลไกให้เกิดการพฒั นาการจดั การศึกษาให้มคี ุณภาพ มคี วามเป็นเลศิ และมีความเสมอภาค
ในการให้บริการทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันในมาตรฐานวิชาการ มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย
ในทางปฏิบัติ การจัดการศึกษาเพื่อสู่ความเป็นเลิศ จึงเป็นเป้าหมายในการพัฒนาสถานศึกษาให้มี
ศักยภาพ และความพร้อมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่าง
เป็นรูปธรรม ความสำเร็จของ “โรงเรียนคุณภาพ” ของสถานศึกษาในสังกัดจะส่งผลให้บรรลุตาม
มาตรา 54 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติไว้ว่า “รัฐต้อง
ดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศกึ ษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคบั
อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย...” นอกจากนี้ยังจะชว่ ยขจัดปัญหาวิกฤตทางการศึกษาต่าง ๆ ได้
อาทิเช่น คุณภาพสถานศึกษา ที่แตกต่างกัน คุณภาพผู้เรียนที่จะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
และ ความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการบริการทางการศึกษา การบริหารจัดการศึกษาที่ทำให้โรงเรียน
มีอำนาจหน้าทีร่ ับผดิ ชอบความเป็นอิสระและความคล่องตวั สามารถบริหารตนเองได้อย่างมีคณุ ภาพ
จากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแกนนำที่สำคัญในการเป็น
ผู้นำให้คณะกรรมการสถานศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครองและชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร
ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มี การพัฒนาหลักการและกระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ให้เป็นกลไก ในการปฏิรูปการศึกษา และแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น นิวซีแลนด์ สาธารณรฐั
เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และได้พบว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นนั้นต้อง
ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารโรงเรียน โดยมุ่งปรับระบบโครงสร้างการบริหารโรงเรียนใหม่

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ให้มีการกระจายอำนาจการบรหิ ารและจัดการศกึ ษาไปยังโรงเรียนมากข้ึน และให้โรงเรียนบริหารแบบ
มสี ่วนรว่ มมากข้นึ

จึงเป็นความมุ่งมั่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยการนำของผู้บริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษาที่จะขับเคลื่อนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับและคุณภาพของทรัพยากร
มนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง และสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และดูแลการบริการ
สาธารณะทั้งปวงที่มีอยู่ในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล และจังหวัดของตนเอง เดิมทีให้ความสนใจ
ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเสียเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก
ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคนมากยิ่งขึ้น อันเกิดจากวิกฤตการศึกษาสังคม เศรษฐกิจ
และการเมืองของประเทศ ตลอดถึง ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องมีการเตรียมคน
ให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และเตรียมคนเข้าสู่การแข่งขันในเวทีนานาชาติด้วย
กระบวนการทางการศกึ ษา

ในสภาพความเปน็ จรงิ ปรากฏวา่ มีปญั หาอีกมากทเ่ี กดิ จากการบรหิ ารจัดการศึกษาไม่เป็นไป
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ส่งผลให้การบริหารจัดการศึกษาเกิดปัญหาและอุปสรร คไม่บรรลุ
ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ หรือสำเร็จอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังเช่น ชุมชนอยากมีโอกาสในการ
มีส่วนร่วม แต่โรงเรียนขาดวิสัยทัศน์หรือยึดติดระบบราชการ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
2547 : 61) หรือผลการประเมินของสำนักงานรบั รองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
รอบแรก พ.ศ. 2544-2548 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา 6,389 คน จาก 32,000 คน ไม่ได้มาตรฐาน
และโดยภาพรวมมาตรฐานจากการประเมินที่ไม่ได้รับรองมากที่สุด คือ มาตรฐานผู้เรียนด้านการคิด
วิเคราะห์ การใฝ่รู้ใฝ่เรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นเกิดขึ้นจากการบริหาร
วิชาการหรือการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (2551 : 15) แสดงให้เห็นถึงปัญหาการขาดการบริหารจัดการศึกษาไม่เป็นไปตาม
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่บริหารจัดการเชิงกระจายอำนาจและการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่มีผลการประเมินรอบแรก
และรอบที่สอง อยู่ในระดับปรับปรุงและระดับพอใช้ นอกจากนั้นรายงานการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า
ความล้มเหลวของ การปฏิรูปการศึกษาหรือการจัดการศึกษานั้นเกิดจากผู้บริหารสถานศึกษา
ซึ่งการจัดการศึกษาในโรงเรียนจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรที่สำคัญที่สุด
คอื สถานศึกษา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาในสงั กัด ให้เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานการศกึ ษา จึงมีความสำคัญและจำเปน็
ในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก
และเยาวชนในจังหวัดเชยี งราย โดยมหี ลักการบริหารท่ีสำคญั คือ “ให้โอกาส เพิ่มคณุ ภาพ เพ่อื อนาคต
ที่ดีกว่า” การจัดจัดการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้จัดหลักสูตรไว้ 3

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศึกษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

หลักสูตรดังนี้ หลักสูตร English Program หลักสูตรปกติและหลักสูตรกีฬา ภายใต้ปรัชญาการศึกษา
“วชิ าการเดน่ เปน็ เลิศภาษา นำกีฬาสู่สากล พฒั นาความเป็นมนษุ ยใ์ ห้สมบรู ณ์”

ดังนั้น โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญใน
การพัฒนาหลักหลักสูตรสถานศึกษาอยู่สม่ำเสมอ เริ่มจาก 2 โปรแกรมหลักสูตร เป็น 6 ถึง 9
โปรแกรมหลักสูตร และปกี ารศกึ ษา 2559-2563 ไดย้ กรา่ งพฒั นาหลักสูตรสถานศึกษาขึ้น จำนวน 14
โปรแกรมหลกั สตู ร เพ่อื พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล ตลอดถงึ หลกั สูตรสถานศึกษาท่ีควรต้อง
ปรับเปลี่ยนและพัฒนาใหท้ นั กับยคุ ของโลก เพ่ือสง่ เสรมิ ศักยภาพผู้เรยี นรายบคุ คลของโรงเรียน ตลอด
ถึงเสนอแนะแนวทางการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (แผนปฏิบัติการประจำปีโรงเรียนองค์การบริหารส่วน
จังหวดั เชียงราย, 2560 : 89)

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายโดยผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญใน
การจดั การศกึ ษา กำหนดกรอบแนวคิดในการจดั การศึกษา คอื การให้ความรกั กอ่ นใหค้ วามรู้ สร้างคน
ดีก่อนคนเก่ง 1 โรงเรียน 3 หลักสูตร 14 โปรแกรมรายวิชา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจนี
(Talented Chinese Program : TCP) เป็นหนึ่งในหลักสูตรปกติที่เปิดขึ้นเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่
ผู้ปกครอง หรือสถานศึกษาอื่น ๆ เห็นว่าเป็นนักเรียนที่ไม่พร้อมที่จะเรียน ให้มีโอกาสมาเข้าเรียนใน
สถานศึกษา การจัดการศึกษาของหลักสูตรสถานศึกษามีเป้าหมายสำคัญเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จใน
การพัฒนาตนเองของผู้เรียนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตอันใกล้ อันจะ
ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตประชากรในจังหวัดเชียงราย ท้องถิ่น ชุมชน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยัง
ประโยชนถ์ งึ ส่วนรวม บา้ นเมือง ประชาชนและประเทศชาติไดอ้ ยา่ งยง่ั ยนื

จากการที่โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนความเป็น
เลิศทางด้านภาษาจนี (Talented Chinese Program : TCP) ในปีการศึกษา 2563 แล้วอาจมีปญั หา
และอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยหลายประการ โรงเรียนองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงรายโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายจึงได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ห้องเรียน
ความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ขึ้น โดยมุ่งหวังว่าผลการ
ดำเนินการครั้งนี้จะเป็นข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้อง ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ให้มีประสิทธิภาพ
มากยงิ่ ขนึ้

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสูตรสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

วัตถปุ ระสงคข์ องการดำเนินการ
1. เพอ่ื ศกึ ษาสภาพปัจจบุ นั และปัญหาของการจัดการศกึ ษาตาหลักสตู ร หอ้ งเรยี นความเปน็

เลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented Chinese Program : TCP) กรณโี รงเรยี นองค์การบรหิ ารส่วน
จงั หวดั เชียงราย

2. เพ่อื รายงานผลการจัดการศึกษาหลักสูตร ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน
(Talented Chinese Program : TCP) ประจำปีการศึกษา 2563 กรณโี รงเรยี นองค์การบริหารส่วน
จังหวดั เชยี งราย

3. เพ่อื หาแนวทางการพฒั นา ปรับปรุง การจัดการศึกษาหลักสตู ร หอ้ งเรียนความเป็นเลิศ
ทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ให้มีประสทิ ธิภาพ ประสทิ ธิผล กรณี
โรงเรยี นองค์การบริหารสว่ นจงั หวัดเชยี งรายใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพตอ่ ไป
ขอบเขตของการดำเนินการ

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การดำเนนิ การคร้งั นี้ ผดู้ ำเนินการรวมรวมเนื้อหาดังนี้
1) ผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน
(Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั เชียงราย
2) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียน
ความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรียนองค์การบริหาร
สว่ นจงั หวดั เชียงราย
2. ประชากร
1) ประชากร ได้แก่

1. ผูบ้ ริหารสถานศกึ ษา จำนวน 5 คน
2. นักเรียนที่กำลังศึกษาห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของ
โรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวัดเชยี งรายจำนวน 50 คน
3. ครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้ในห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียน
องคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั เชียงรายจำนวน 5 คน
4. ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาในห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน
(Talented Chinese Program : TCP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ของโรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั เชียงรายจำนวน 50 คน
3. ตวั แปร
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ จัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้าน
ภาษาจนี (Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรยี นองค์การบริหารสว่ นจังหวดั เชยี งราย

โรงเรยี นองค์การบริหารส่วนจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สูตรสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

3.2 ตวั แปรตาม ไดแ้ ก่
1) ผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน

(Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรยี นองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวดั เชยี งราย
2) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจดั การเรียนรูห้ ลักสตู รสถานศึกษา ห้องเรียน

ความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรียนองค์การบริหาร
ส่วนจงั หวดั เชยี งราย

กรอบแนวคดิ ในการดำเนินการ

พระราชบญั ญัติการศึกษาแหง่ ชาติ รูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา
พุทธศักราช 2542 ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน
(Talented Chinese Program : TCP) ข อ ง
หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ โรงเรยี นองคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวัดเชยี งราย
พ้ืนฐานพุทธศักราช 2551
- ผลการจดั การเรยี นรู้
แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร - ปัญหา อปุ สรรคในการจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาของสถานศกึ ษา - ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบายการบริหารจัดการ
หลกั สตู รสถานศกึ ษา
รูปแบบการจดั การเรียนรู้โรงเรยี น
องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวัดเชียงราย
หอ้ งเรียนความเป็นเลศิ ทางดา้ น
ภาษาจีน

การดำเนินการถอดบทเรยี น
โปรแกรมหอ้ งเรียนความเปน็ เลิศ
ทางด้านภาษาจีน

นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ
1. การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสถานการณ์ สภาพการณ์ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้

ผเู้ รียนได้มีประสบการณ์ อนั ก่อใหเ้ กิดการเรียนรู้ได้ง่าย ซงึ่ จะสง่ ผลใหผ้ ูเ้ รยี นมคี วามเจรญิ งอกงามและ
พฒั นาการท้งั ทางกาย และทางสมอง อารมณ์ และสงั คม

2. หลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese
Program : TCP) หมายถึง การจัดรายละเอียดองคป์ ระกอบของหลักสตู ร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศึกษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล เพื่อพัฒนาหลักสูตร
โปรแกรมห้องเรียนความเป็นเลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented Chinese Program : TCP)

3. แนวทางการบริหารจดั การหลักสูตร หมายถงึ การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง
พัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด พัฒนาหลักสูตร การส่งเสริมสนับสนุน
และการกำกบั ดแู ลคุณภาพการใชห้ ลกั สูตร

4. รูปแบบห้องเรียนความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจีน หมายถึง แนวการจดั ประสบการณ์ ทมี่ ี
การจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการพัฒนาการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการ
จดั การเรียนรู้ เพือ่ ให้ผูเ้ รยี นเกิดผลการเรียนรู้ตามจดุ ประสงค์หรอื จดุ มงุ่ หมายตามทหี่ ลักสูตรกำหนดไว้
ให้กับนักเรียนห้องเรียนห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา
2563 โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดเชยี งราย

5. การถอดบทเรียน หมายถึง กระบวนการทบทวน สรุปเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
ประมวลผลลัพธ์เชื่อมโยงหลายมิติทั้งภายในและภายนอก สะท้อนสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่าง
แสวงหาบทเรียนที่ดีที่สุด หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดวิธีคิดค่านิยมใหม่ ๆ นำไปสู่การ
สรา้ งสรรคป์ ฏบิ ตั กิ ารใหม่ ๆ ท่ดี ขี ึน้ ในครัง้ ต่อไป ก่อใหเ้ กดิ ผลต่อพฤติกรรม การถอดบทเรียนหลักสูตร
โรงเรียนองค์การบรหิ ารบริหารส่วนจังหวัดเชยี งราย คอื โปรแกรมห้องเรยี นท่ีเปดิ สอน

ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รบั
1. ผลการดำเนินการ สามารถนำไปเป็นข้อมูลการบริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบสภาพปัญหา และผลการจัดการศึกษาตาม
หลกั สตู รห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) และใช้เปน็
ข้อมลู พ้นื ฐานในการพฒั นาการบริหารงานวชิ าการของผบู้ ริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิง่ ขนึ้

2. การถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้โปรแกรมห้องเรียนของโรงเรียนองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเชียงราย จะช่วยสะท้อนภาพรวมการสร้างการเรียนรู้ของสถานศึกษาที่มีอยู่ให้เห็นอย่างเป็น
ระบบและเผยแพร่ในวงกว้างให้สถานศึกษาที่สนใจ และผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ได้รับรู้และ
เขา้ ใจถงึ ศกั ยภาพของสถานศกึ ษาในการสรา้ งการเรียนรู้ เพอื่ พฒั นาผู้เรยี นใหส้ ำเรจ็ ตามความสามารถ
และอจั ฉรยิ ะภาพรายบุคคล

3. ทำให้สถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ได้รับรู้และเข้าใจถึงปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผล
ต่อกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สามารถนำไปเป็นแนวทางการส่งเสริมการ
เรยี นรขู้ องผเู้ รียนไดอ้ ยา่ งสอดคลอ้ งกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรยี น

4. แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโปรแกรมห้องเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
สามารถนำไปเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษาและพัฒนาการส่งเสริมการเรยี นรู้ของผู้เรียน ทำให้
เกิดความสำเร็จในการเรียน สู่โรงเรียนเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างเป็นอิสระ เพื่อพัฒนานักเรียนที่มี
ความสามารถพิเศษเฉพาะ

โรงเรยี นองค์การบริหารสว่ นจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

บทท่ี2

เอกสารและงานวจิ ยั ท่เี กยี่ วข้อง

รายงานผลการดำเนินการหลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน
(Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มี
วัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อรายงานผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรปกติ ห้องเรียนความเป็นเลิศ
ทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เชียงราย 2) เพื่อรายงานปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรปกติ
ห้องเรียนความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented Chinese Program : TCP) ของโรงเรียน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ผู้ดำเนินการได้ศึกษาแนวคิด หลักการ และงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
เอกสารทเ่ี กยี่ วข้องดงั น้ี

1. การดำเนินการถอดบทเรียน
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติพุทธศักราช 2542 (แก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2553)
3. การจัดการศึกษาตามพระราชบญั ญตั กิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพ่ิมเตมิ

พ.ศ.2553)
4. ความหมายหลกั สูตรและส่วนประกอบของหลกั สตู ร
5. หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐานพทุ ธศักราช 2551 (ฉบบั ปรับปรงุ 2560)
6. ขอ้ มูลโรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดเชยี งราย
7. แนวทางการบรหิ ารจดั การหลกั สูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา
8. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดเชยี งราย
9. การจัดการเรียนรู้
10. โครงสรา้ งเวลาเรียนห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจีน
11. โครงสรา้ งเวลาเรยี นรายชน้ั ปีห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจีน

1. การดำเนินการถอดบทเรยี น
การดำเนินการถอดบทเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในการถอดบทเรียน ผลที่ได้จาก

การดำเนินกิจกรรมนี้จะทำให้ทีมงานถอดบทเรียน และผู้ร่วมถอดบทเรียนเกิดการเรียนรู้
จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน และได้แนวคิดใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการ
ปฏิบัตงิ านตอ่ ไปการดำเนนิ การถอดบทเรียนมขี น้ั ตอนดงั น้ี

ขั้นที่ 1 การถอดบทเรียน ทีมงานถอดบทเรียนควรแจ้งกำหนดการ ระยะเวลา และสถานที่จะ
ดำเนนิ การถอดบทเรยี นให้กลุ่มเป้าหมายให้ทราบล่วงหนา้ เพือ่ ใหก้ ลุ่มเป้าหมายได้เตรียมความพร้อม
และเข้ารว่ มการถอดบทเรยี นครบทุกคน การถอดบทเรยี นมขี น้ั ตอนท่สี ำคัญ 5 ขัน้ ตอน ดงั น้ี

(ศุภวัลย์ พลายนอ้ ย, 2556:74)

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศึกษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

1. การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน
2. การกำหนดกตกิ าในการถอดบทเรียน
3. การจัดกิจกรรมอนุ่ เครือ่ ง
4. การเข้าสปู่ ระเด็นสำคญั ของการถอดบทเรยี น
5. การสรปุ ผลการถอดบทเรยี น
ซึง่ สามารถอธิบายรายละเอยี ดขนั้ ตอนในการถอดบทเรยี นไดด้ ังนี้

1. การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียนการสร้างบรรยากาศให้ผู้ร่วม
ถอดบทเรียนเกิดความผ่อนคลายและมีความเป็นกันเองเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้น
การถอดบทเรียน ผู้อำนวยกระบวนการต้องดำเนินการสร้างบรรยากาศดังกล่าวให้เกิดขึ้นเมื่อทีมงาน
ถอดบทเรียนและผ้เู ข้าร่วมถอดบทเรียนอยพู่ ร้อมหนา้ การเรม่ิ ตน้ สรา้ งบรรยากาศในการถอดบทเรียน
ควรใช้เกมหรือเพลงประกอบท่าทางในการละลายพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนและที มงาน
ถอดบทเรียน เพื่อให้ทุกคนเกิดความสนุกสนานและได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมขั้นตอนต่อไป ผู้อำนวย
กระบวนการต้องอธิบายให้ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนทราบว่าทุกคนที่เข้าร่วมถอดบทเรียนมีความเสมอ
ภาคกัน หมายความว่าต่อไปนี้จะไม่มีใครเป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหาร เป็นลูกน้อง เป็นนายก อบต.
หรือเป็นชาวบ้าน แต่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทั้งหมดหากผู้อำนวยกระบวนการสามารถทำให้ผู้ร่วม
ถอดบทเรียนทุกคนกลับไปเป็นเดก็ ได้จะเป็นเรือ่ งที่ดี เพราะจะทำให้เกิดบรรยากาศมีความเป็นอิสระ
มากขึ้นและลดบรรยากาศที่เป็นทางการ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ในการตั้งคำถามแปลก ๆ เกิดขึ้นในระหว่างการถอดบทเรียน นอกจากนี้การเรียกเฉพาะช่ือของผูร้ ว่ ม
ถอดบทเรียนจะช่วยให้บรรยากาศที่ผ่อนคลายมากกว่าการเรียกตำแหน่งของผู้ร่วมถอดบทเรียน อีก
ท้ังเปน็ การกระตนุ้ ให้ผู้ร่วมถอดบทเรยี นมสี ่วนรว่ มในกจิ กรรมมากขน้ึ

2. การกำหนดกติกาในการถอดบทเรยี น มเี ป้าหมายเพื่อให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนเข้าใจ
ในหน้าที่ของตนเอง สร้างบรรยากาศที่ดีในการถอดบทเรียน และทำให้การถอดบทเรียนเกิดความ
ราบรน่ื วธิ กี ารกำหนดกติกาในการถอดบทเรียน ผอู้ ำนวยกระบวนการควรใหผ้ ู้ร่วมถอดบทเรียนมีส่วน
ร่วมในการกำหนดกติกาเพื่อให้ทุกคนเกิดความสบายใจในระหว่างการถอดบทเรียนประเด็นสำคัญท่ี
ควรกำหนดในกตกิ าการถอดบทเรยี น ไดแ้ ก่

2.1 เป้าหมายการถอดบทเรียน เพื่อให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนเกิดการเรียนรู้
จากการปฏิบตั กิ ิจกรรมทีผ่ า่ นมา

2.2 วิธีการถอดบทเรียน ใช้การระดมความคิดของผู้ร่วมถอดบทเรียน
เน้นการแลกเปล่ยี นความคดิ เห็น ไมเ่ น้นการโตเ้ ถยี งหรือการทะเลาะวิวาท

2.3 หน้าที่ของผู้ร่วมถอดบทเรียน ทุกคนต้องให้ข้อเสนอแนะที่เป็น
ประโยชน์ในการปฏิบัติงานทุกคนต้องยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและเสนอแนะแนวทางการ
ปรับปรงุ วธิ ีการปฏิบัตงิ านใหด้ ขี น้ึ

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

2.4 ข้อพึงระวังในการถอดบทเรยี น ต้องไม่มีการตำหนิบุคคลใดๆที่เข้าร่วมถอดบทเรียนและ
ไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียนเมื่อผู้ร่วมถอดบทเรียนได้ร่วมกันกำหนด
กติกาเรียบร้อย ผู้อำนวยกระบวนการควรบันทึกกติกาดังกล่าวลงในกระดาษฟลิปชาร์ตและติดไว้บน
ผนังห้องให้ผูร้ ว่ มถอดบทเรยี นมองเห็นท่ัวทุกคน

3. การจัดกิจกรรมอุ่นเครื่องผู้อำนวยกระบวนการต้องชี้แจงให้ผู้ร่วมถอดบทเรียน
เกิดความเข้าใจในวัตถปุ ระสงค์ และวิธีการดำเนินกจิ กรรม เพือ่ ใหผ้ รู้ ่วมถอดบทเรยี นได้ทบทวนความ
ทรงจำจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาวิธีการจัดกิจกรรมอุ่นเครื่อง ผู้อำนวยกระบวนการควร
เตรียมการเขียนวัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินกจิ กรรมอย่างเปน็ ขัน้ ตอนลงในกระดาษฟลิปชาร์ตไว้
ลว่ งหนา้ และนำมาใชป้ ระกอบการชแี้ จงให้ผู้รว่ มถอดบทเรียนไดเ้ กิดความเข้าใจ ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์
ท่ตี ้องการจากการถอดบทเรียน

4. เขา้ สู่ประเดน็ สำคญั ของการถอดบทเรียนในการเร่ิมตน้ การถอดบทเรยี น ผอู้ ำนวย
กระบวนการต้องอธิบายขั้นตอนการสกัดความรู้จากผู้ร่วมถอดบทเรียน และเป้าหมายของ
การถอดบทเรียนคือรายงานผลการปฏิบัติงานและบทเรียนจากการปฏบิ ัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรยี น
และกระตนุ้ ให้ผรู้ ่วมถอดบทเรยี นได้ร่วมถอดบทเรียนตามลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

4.1 การเลา่ ประสบการณ์จากวธิ กี ารปฏบิ ัตงิ านของผรู้ ว่ มถอดบทเรียน
4.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนด
ในแผนปฏบิ ตั งิ านกับวธิ ีการปฏิบัติงานจรงิ
4.3 การวิเคราะห์ผลการปฏบิ ตั งิ านทท่ี ำไดเ้ ปน็ อย่างดีของผ้รู ่วมถอดบทเรยี น
4.4 การใหข้ ้อเสนอแนะวิธีการปฏิบัติงานต่อไปใหด้ ีขน้ึ ของผู้ร่วมถอดบทเรียน
4.5 การวิเคราะห์อุปสรรคทีเ่ กดิ ขึ้นระหวา่ งการปฏิบตั งิ านผู้รว่ มถอดบทเรยี น
4.6 การให้ข้อเสนอแนะวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
ของผูร้ ่วมถอดบทเรียน
4.7 ขอ้ เสนอแนะในส่ิงท่คี วรทำเพมิ่ เตมิ ในการปฏบิ ัตงิ านท่ีผา่ นมาของผ้รู ่วม
ถอดบทเรยี น
4.8 การประเมินความพึงพอใจผลการปฏิบตั ิงานทีผ่ า่ นมาของผ้รู ว่ มถอดบทเรียน
หน้าที่ของผู้จดบันทึกในระหว่างการถอดบทเรียนทั้ง 8 ขั้นตอน ผู้จดบันทึกต้องดำเนินการจดบันทึก
รายละเอียดข้อมูลทั้งหมดของผู้ร่วมถอดบทเรียน บันทึกเสียงการถอดบทเรียนทุกขั้นตอนและสังเกต
บรรยากาศในระหว่างการถอดบทเรียนพร้อมจดบันทกึ ไว้ประกอบการจัดทำรายงานการถอดบทเรียน
วธิ ีการดำเนนิ งานในขัน้ ตอนการถอดบทเรียน มีรายละเอยี ดดงั น้ี

1. การเล่าประสบการณจ์ ากวิธีการปฏบิ ัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน
ผู้อำนวยกระบวนการเริ่มเปิดประเด็นให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนเล่าประสบการณ์จากวิธีการปฏิบัติงาน
ซึ่งควรใช้วิธีการแสวงหาอาสาสมัครที่จะเริ่มต้นเล่าประสบการณ์เป็นคนแรก ถ้าไม่มีใครสมัครใจ
ผู้อำนวยกระบวนการรีบดำเนินการปรับแผนโดยการต้องระบุชื่อผู้ร่วมถอดบทเรียนซึ่งอาจจะใช้ชื่อ
ที่เริ่มต้นด้วยพยัญชนะ ก เป็นผู้เล่าประสบการณ์เป็นคนแรก หรืออาจจะเลือกผู้ที่มีอายุมาก

โรงเรียนองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

เป็นผู้เริ่มต้นเล่าประสบการณ์ เป็นต้นระหว่างการเล่าประสบการณ์ของผู้ร่วมถอดบทเรียน ผู้อำนวย
กระบวนการควรเปิดโอกาสให้ผู้เล่าประสบการณ์มีความอิสระในการเล่าประสบการณ์ หากมี
ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา สามารถสอดแทรกประเด็นดังกล่าวได้ใน
ระหว่างการเล่าประสบการณ์หากผู้เล่าประสบการณ์ในลำดับต่อมากล่าวว่า ประสบการณ์ในการ
ปฏิบัติงานของตนเองเหมือนกับประสบการณ์ของคนก่อนหน้านี้ ผู้อำนวยกระบวนการต้องตั้งคำถาม
ทันทีว่าประสบการณ์ที่เหมือนกันมีเรื่องอะไรบ้าง การตั้งคำถามดังกล่าวทำให้ผู้ร่วมถอดบทเรียน
ไดม้ ีโอกาสเล่าประสบการณ์ของตนเอง ซ่ึงสอดคล้องกบั กตกิ าที่กำหนดไวใ้ นข้ันต้น

2. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนด
ในแผนปฏิบัติงานกับวิธีการปฏิบัติงานจริงก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนนี้ ผู้อำนวยกระบวนการ
ต้องเขียนขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานลงในกระดาษฟลิปชาร์ตไว้ล่วงหน้าผู้ อำนวย
กระบวนการสรุปขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ร่วมถอดบทเรียนจากการเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมา
ลงในกระดาษฟลิปชาร์ตติดไว้บนกระดานด้านหน้า เพื่อให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนสามารถมองเห็น
ได้ทุกคนผู้อำนวยกระบวนการนำกระดาษฟลิปชาร์ตซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน
ตามแผนปฏิบัติงานนำมาติดใกล้กับกระดาษ ฟลิปชาร์ตที่สรุปขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ร่วม
ถอดบทเรยี น เพอ่ื ให้ผู้รว่ มถอดบทเรยี นได้ศึกษารายละเอยี ดขน้ั ตอนการดำเนินงานท้ัง 2 ส่วนผู้อำนวย
กระบวนการเปิดประเด็นการสนทนาให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง
ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ร่วมถอดบทเรยี น
ผูอ้ ำนวยกระบวนการควรสรา้ งบรรยากาศท่ีดีให้ผู้รว่ มถอดบทเรียนแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับข้ันตอน
การดำเนนิ งานอยา่ งอิสระ

3. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่ทำได้เป็นอย่างดีของผู้ร่วม
ถอดบทเรียน ผู้อำนวยกระบวนการนำข้อมูลขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ร่วมถอดบทเรียนที่เขียน
ในกระดาษฟลิปชาร์ตมานำเสนออีกครั้ง เพื่อให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนได้วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
ทที่ ำไดด้ ี และค้นหาสาเหตหุ รอื ปจั จยั ทีท่ ำให้การปฏบิ ตั ิงานประสบผลสำเรจ็ ผู้อำนวยกระบวนการสรุป
ประเดน็ จากการวิเคราะหผ์ ลการปฏบิ ัติงานทีท่ ำได้ดีและสาเหตุที่ทำให้การปฏบิ ัติงานประสบผลสำเร็จ
ลงในกระดาษฟลปิ ชาร์ต

4. การให้ข้อเสนอแนะวิธีการปฏิบัติงานต่อไปให้ดีขึ้นของผู้ร่วม
ถอดบทเรียน ผ้อู ำนวยกระบวนการนำข้อมูลสรปุ ประเด็นจากการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่ทำได้ดี
และสาเหตุที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จที่เขียนลงในกระดาษฟลิปชาร์ตให้ผู้ร่วมถอด
บทเรียนได้ศึกษาและค้นหาวิธีการปฏิบัติงานต่อไปให้ดีขึ้นกว่าเดิมผลลัพธ์ที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ
ต้องได้ข้อเสนอแนะหรือข้อสรุปแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งสามารถนำไปใช้ ประโยชน์กำหนดแนวทาง
การปฏบิ ัติงานท่เี ปน็ ประโยชน์ในอนาคต

5. การวเิ คราะห์อปุ สรรคทเี่ กิดข้ึนระหว่างการปฏิบตั ิงานผูร้ ่วมถอดบทเรียน
ผู้อำนวยกระบวนการนำข้อมูลขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ร่วมถอดบทเรียนที่เขียนไว้ ในกระดาษ
ฟลิปชาร์ตมานำเสนออีกครั้ง เพื่อให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนได้วิเคราะห์อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่าง

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจงั หวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

การปฏิบัติงานและค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้การปฏิบัติงานไม่บรรลุเป้าหมายผู้อำนวย
กระบวนการสรปุ ประเด็นจากการวิเคราะหอ์ ุปสรรคที่เกดิ ขึน้ ระหว่างการปฏบิ ัติงานและค้นหาสาเหตุ
หรือปจั จยั ที่ทำให้การปฏิบัตงิ านไมบ่ รรลุเปา้ หมายลงในกระดาษฟลปิ ชาร์ต

6. การให้ข้อเสนอแนะวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอด
บทเรียนผู้อำนวยกระบวนนำข้อมูลสรุปประเด็นจากการวิเคราะห์อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการ
ปฏิบัติงานและค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้การปฏิบัติงานไม่บรรลุเป้าหมายที่เขียน
ในกระดาษฟลิปชาร์ตให้ผ้รู ่วมถอดบทเรียนได้ศึกษาและค้นหาวธิ ีการป้องกันไมใ่ ห้เกิดอุปสรรคในการ
ปฏิบัติงานผลลัพธ์ที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ ต้องได้ข้อเสนอแนะหรือข้อสรุปแบบเฉพาะเจาะจง
ซง่ึ สามารถนำไปใชป้ ระโยชน์กำหนดแนวทางการปอ้ งกันไม่ใหเ้ กิดอุปสรรคในการปฏิบัตงิ านในอนาคต

7. ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ควรทำเพิ่มเติมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของผู้ร่วม
ถอดบทเรียนผู้อำนวยกระบวนการเริ่มเปิดประเด็นและกระตุ้นให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนให้ข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ถ้าไม่มีข้อเสนอแนะใดๆจากผู้ร่วมถอดบทเรียนก็สามารถ
ขา้ มข้ันตอนนี้ได้

8. การประเมินความพึงพอใจผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของผู้ร่วมถอด
บทเรียนการถอดบทเรียนในขั้นตอนสุดท้าย ผู้อำนวยกระบวนการต้องจัดเตรียมบัตรคำเพื่อให้ผู้ร่วม
ถอดบทเรียนทุกคนได้ประเมินความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ผ่ านมาการกำหนดค่าคะแนน
ความพึงพอใจ ค่าคะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุดมีเท่ากับ 1 และค่าคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด
มีค่าเท่ากบั 10 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ข้อพึงระวงั ในการถอดบทเรียน
ก่อนการถอดบทเรียน ผู้อำนวยกระบวนการควรจัดแบ่งเวลาการถอดบทเรียน
ในแต่ละขั้นตอนให้ความเหมาะสมในระหว่างการถอดบทเรียน ผู้อำนวยกระบวนการต้องหมั่นสังเกต
พฤติกรรมของผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนตลอดเวลา หากบรรยากาศในการถอดบทเรียนเริ่มเกิดความ
ตึงเครียด ให้ยุติการถอดบทเรียนทันที ซึ่งระยะเวลาในการผ่อนคลายของผู้ร่วมถอดบทเรียนควรอยู่
ระหว่าง 10-15 นาที ควรจัดอาหารว่างและเครื่องดื่มให้แก่ผู้ร่วมถอดบทเรียนและทีมงานถอด
บทเรยี น
ข้ันที่ 2 การบันทึกบทเรียน
การบันทึกบทเรียนเป็นภาระหน้าทีโ่ ดยตรงของผูจ้ ดบันทึก ในขั้นตอนนี้ผู้จดบันทกึ ตอ้ งมีการ
ปฏบิ ตั งิ านรวม 3 ขน้ั คือ การเตรียมตัวกอ่ นการบนั ทกึ การบนั ทกึ ขอ้ มูลการถอดบทเรียนและการสรุป
รายงานการถอดบทเรียน โดยมรี ายละเอยี ดดังน้ี
1. การเตรียมตัวก่อนการบันทึกบทเรียน ผู้จดบันทึกควรเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ
ถอดบทเรียนใน 4 ประเด็น คือ ศึกษารายละเอียดโครงการ ศึกษารายละเอียดการถอดบทเรียน
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการบันทึกการถอดบทเรียน และเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ
ซึ่งมีรายละเอียดดงั น้ี

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศึกษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

1.1 การศึกษารายละเอียดโครงการในการศึกษารายละเอียดโครงการ ผู้จดบันทึก
ควรนำรายละเอียดโครงการมาศึกษาใหเ้ กดิ ความเข้าใจ และดำเนนิ การจดบนั ทึกรายละเอียดโครงการ
ให้แล้วเสร็จ จะทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนรายงาน
การถอดบทเรยี น

1.2 การศึกษารายละเอียดการถอดบทเรียนข้อมูลที่ใช้จะเกี่ยวข้องกับการศึกษา
กรอบแนวคิดการถอดบทเรียน ขั้นตอนการถอดบทเรียน และประเด็นคำถามในการถอดบทเรียน
มีรายละเอียดดังน้ี การศึกษากรอบแนวคิดการถอดบทเรียน ผู้จดบันทึกควรนำกรอบแนวคิด
การ ถอดบทเรียนมาศึกษาให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของการถอดบทเรียนทั้งหมด วัตถุประสงค์
ของการถอดบทเรียน และสามารถนำหัวข้อและประเด็นที่ปรากฏในกรอบแนวคิดการถอดบทเรียน
เขียนบรรยายเป็นเนื้อเรื่องในเชิงพรรณนา และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนรายงาน
การถอดบทเรียนการศึกษาขั้นตอนการถอดบทเรียน ผู้จดบันทึกควรนำขั้นตอนการถอดบทเรียน
มาศกึ ษาให้เกดิ ความเขา้ ใจในแตล่ ะข้ันตอนมีวธิ ีการดำเนินงานอย่างไรบ้าง เพอ่ื วางแผนการจดบันทึก
ข้อมูลสำคัญที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการศึกษาประเด็นคำถามในการถอดบทเรียน จากประเด็น
คำถามซึ่งทีมงานถอดบทเรียนกำหนดไว้ ผู้จดบันทึกสามารถนำข้อมูลประเด็นคำถามดังกล่าวไปใช้
ประโยชนใ์ นการจัดทำแบบฟอรม์ บนั ทึกบทเรยี น

1.3 การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการบันทึกการถอดบทเรียนอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
ในการบันทึกการถอดบทเรียน ได้แก่ แบบฟอร์มบันทึกบทเรียน เครื่องบันทึกเสียง แถบบันทึกเสียง
แบตเตอร่ี และสมดุ บนั ทกึ

1) การจัดทำแบบฟอร์มบันทึกบทเรียนผู้จดบันทึกสามารถนำข้อมูล
ประเดน็ คำถามใช้ในการจดั ทำแบบฟอร์มบันทึกบทเรยี น ซึง่ จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้จดบันทึก
ในระหว่างการถอดบทเรียน
แบบฟอร์มบันทึกบทเรียน มีรายละเอียดดังน้ี

แบบบันทกึ บทเรียนในโครงการ….........................................................................
หน่วยงานรับผดิ ชอบ............................................................................... ..............
วันเดือนปีท่ถี อดบทเรียน.......................................................................................
รายชอ่ื ผูร้ ่วมถอดบทเรียน......................................................................................
รายชือ่ ทีมงานถอดบทเรียน...................................................................................
รายชื่อผอู้ ำนวยกระบวนการ..................................................................................
วตั ถุประสงค์ของการถอดบทเรยี น.........................................................
รายละเอยี ดของโครงการ.....................................................................................
วธิ ีปฏิบตั งิ านของผู้รว่ มถอดบทเรียน.............................................................
วิธีปฏบิ ัติงานที่กำหนดในแผนปฏบิ ัตงิ านของโครงการ................................................
เปรยี บเทียบความแตกต่างของวธิ ปี ฏบิ ตั งิ านของผ้รู ่วมถอดบทเรียนกบั วธิ ี
ปฏบิ ตั ิงานท่กี ำหนดในแผนปฏบิ ัตงิ านของโครงการ.....................................

โรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

สง่ิ ที่ทำได้ดีจากการปฏบิ ัติงานของผรู้ ่วมถอดบทเรียน..........................................
สาเหตุที่ทำไดด้ .ี ..............................................................................................
ข้อเสนอแนะวธิ ีปฏบิ ัตงิ านต่อไปให้ดขี น้ึ .......................................................
อุปสรรคในการปฏิบตั งิ าน...................................................................
สาเหตุของการเกดิ อปุ สรรคในการปฏบิ ัติงาน..........................................
ข้อเสนอแนะวิธีปอ้ งกนั ไมใ่ ห้เกิดอุปสรรคในการปฏบิ ัตงิ าน......................
ข้อเสนอแนะสิ่งท่คี วรกระทำเพิ่มเติมในการปฏบิ ตั ิงานท่ผี า่ นมา.................................

วิธกี ารปฏิบัติงานทีจ่ ะทำให้คะแนนความพงึ พอใจเพิ่มข้ึนในการปฏิบัตงิ านต่อไป
2) การจัดเตรียมเครื่องบันทึกเสียงและอุปกรณ์ผู้จดบันทึกควรจัดหาเครื่อง
บันทึกเสียงที่มีคุณภาพดี ใช้งานสะดวก ผู้จดบันทึกควรทดลองใช้งานเครื่องบันทึกเสียงก่อนวันที่
จะดำเนินการถอดบทเรียน เพื่อทดสอบคุณภาพของเครื่องบันทึกเสียงว่าสามารถใช้งานได้จริงและ
ได้ทดลองใชง้ านจรงิ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการใชเ้ คร่ืองบันทึกเสยี งเครื่องบันทึกเสยี งท่ีต้องใช้แถบ
บันทึกเสียง ผู้จดบันทึกควรจัดเตรียมแถบบันทึกเสียงให้มีปริมาณเพียงพอกับระยะเวลาที่ต้อง
บันทึกเสียงระหว่างการถอดบทเรียน ส่วนเครื่องบันทึกเสียงที่ไม่ต้องใช้แถบบันทึกเสียง ได้แก่
เครือ่ งMP3 หรือ MP4 ผจู้ ดบนั ทึกตอ้ งคัดลอกหรอื ลบไฟลข์ ้อมูลในเคร่ืองบันทกึ เสียงเพื่อให้มีพ้ืนที่ว่าง
ในการบันทึกเสียงเพียงพอกับระยะเวลาที่ต้องบันทึกเสียงในกรณีที่เครื่องบันทึกเสียงไม่สามารถ
ใช้ไฟฟ้าและต้องใช้เฉพาะแบตเตอรี่เท่านั้น ผู้จดบันทึกควรจัดเตรียมแบตเตอรี่สำรองให้เพียงพอ
กบั ระยะเวลา ทตี่ ้องบนั ทึกเสยี งในระหวา่ งการถอดบทเรียน
3) การจัดเตรียมสมุดบันทึกสมุดบันทึกเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการปฏิบัติงาน
ของผู้จดบันทึก การจดั เตรียมสมุดบันทึกท่ีดีควรมีจำนวนหน้าเพียงพอต่อการจดบันทึกข้อมูลระหว่าง
การถอดบทเรียนการเตรียมสมุดบันทึกไว้พร้อมใช้งานทำให้การปฏิบัติงานของผู้จดบันทึก
มีความคลอ่ งตวั เม่ือจดบันทกึ ขอ้ มลู เสรจ็ แล้วสามารถนำไปเกบ็ ไวไ้ ดเ้ ป็นระเบยี บและเกิดความสะดวก
ในการค้นหา
1.4 การเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจในการเตรียมความพร้อม
ทางร่างกาย ผู้จดบันทึกควรออกกำลังกายให้ร่างกายเกิดความกระฉับกระเฉง สมองเกิดวามตื่นตัว
และควรบรหิ ารมอื ให้มคี วามพรอ้ มในการจดบนั ทึก
นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดและควรนอน
หลับพักผ่อนในช่วงกลางคืนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนที่จะดำเนินการถอดบทเรียน
ในวันรุ่งขึ้นส่วนการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ ควรฝึกสมาธิให้มีความมั่นคง ทำจิตใจให้เบิกบาน
มองโลกในแง่ดีและเห็นคุณค่าของการจดบันทึกข้อมูลจากการถอดบทเรียน ซึ่งมีผลทำให้ทีมงาน
ถอดบทเรียน ผู้ร่วมถอดบทเรียน และผู้สนใจเกิดได้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้
หลังจากเสรจ็ สิน้ การถอดบทเรียน

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

2. การบันทึกข้อมูลการถอดบทเรียน สิ่งที่ต้องดำเนินการ เมื่อเริ่มต้นการถอดบทเรียน
ผู้จดบันทึกควรเปิดเครื่องบันทึกเสียงและดำเนินการบันทึกเสียงตั้งแต่การสร้างบรรยากาศในการ
ถอดบทเรียน การกำหนดกติกาในการถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมอุ่นเครื่อง และการถอดบทเรียน
ขอ้ มูลที่ต้องจดบนั ทึกระหวา่ งการถอดบทเรียน มดี ังนี้

2.1 ข้อมูลขั้นตอนและวิธีการจัดกิจกรรมถอดบทเรียน โดยเริ่มต้นจากการสร้าง
บรรยากาศในการถอดบทเรียน การกำหนดกติกาในการถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมอุ่นเครื่อง
และการถอดบทเรียนซงึ่ เปน็ กิจกรรมสดุ ทา้ ย

2.2 ข้อมูลจากการเล่าเรื่อง การวิเคราะห์ และการอภิปรายของผู้ร่วมถอดบทเรียน
ในขั้นตอนการถอดบทเรียน ซึ่งผู้จดบันทึกควรนำแบบฟอร์มการถอดบทเรียนมาใช้ประโยชน์ในการ
จดบนั ทกึ ขอ้ มูลตามประเดน็ ทก่ี ำหนดไว้

2.3 ข้อมูลบรรยากาศระหว่างการถอดบทเรียน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศ
ในการถอดบทเรียน การกำหนดกติกาในการถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมอุ่นเครื่องและ
การถอดบทเรียนเมื่อสิ้นสุดการถอดบทเรียน ผู้จดบันทึกต้องตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของ
ข้อมลู อีกครัง้

3. การสรุปรายงานการถอดบทเรียนเมื่อเสร็จสิ้นการถอดบทเรยี น ผู้จดบันทึกจะต้องอ่าน
รายงานการถอดบทเรียนให้ผู้ร่วมถอดบทเรียนและทีมงานถอดบทเรียนได้รับทราบข้อมูลที่ได้
จดบันทึกทั้งหมด หากมีข้อมูลในขั้นตอนใดที่ไม่ชัดเจนหรือไม่สมบูรณ์ ผู้จดบันทึกสามารถเพิ่มเติม
รายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวตามข้อเสนอแนะของผู้ร่วมถอดบทเรียนและทีมงานถอดบทเรียน
เพอื่ ใหข้ อ้ มลู มคี วามสมบรู ณ์
2. พระราชบญั ญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบบั ท่ี 3 พ.ศ.2553)

1. หมวด 1 บทท่ัวไป ความมุ่งหมายและหลักการ
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไป
เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มจี ริยธรรมและวฒั นธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยรู่ ว่ มกับผอู้ น่ื ได้อย่างมีความสุข
2. การจดั การศกึ ษา ใหย้ ดึ หลกั ดงั นี้

1) เปน็ การศกึ ษาตลอดชีวติ สำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมสี ว่ นร่วมในการจดั การศกึ ษา
3) การพฒั นาสาระและกระบวนการเรียนรใู้ ห้เปน็ ไปอย่างตอ่ เน่อื ง
3. สำหรับเรอื่ งการจดั ระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ใหย้ ึดหลกั ดังน้ี
1) มเี อกภาพด้านนโยบายและมคี วามหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถน่ิ
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
ทุก ระดับและประเภท

โรงเรยี นองคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร
ทางการศึกษาอยา่ งต่อเนือ่ ง

5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจดั การศกึ ษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถน่ิ เอกชนองคก์ ร เอกชนองคก์ รวชิ าชพี สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบนั สงั คม
4. หมวด 2 สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ที างการศกึ ษา
1) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า
สบิ สองปี ท่รี ฐั ตอ้ งจัดใหอ้ ย่างท่ัวถงึ และมีคุณภาพโดยไม่เกบ็ คา่ ใช้จา่ ย
2) บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ หรือมีร่างกายพิการ หรือมีความ
ต้องการเป็นพเิ ศษ หรือผ้ดู อ้ ยโอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รบั การศกึ ษาข้นั พืน้ ฐานเป็นพิเศษ
3) บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับ
การศึกษาท้งั ภาคบงั คบั และนอกเหนอื จากภาคบังคบั ตามความพรอ้ มของครอบครัว
4) บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่สนับสนุนหรือ
จัดการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน มสี ิทธิไดร้ บั สทิ ธิประโยชนต์ ามควรแกก่ รณีดังนี้
- การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้
การศกึ ษาแก่บุตรหรือผซู้ ึ่งอยใู่ นความดแู ล รวมท้งั เงินอดุ หนุนสำหรับการจดั การศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน
- การลดหย่อนหรอื ยกเวน้ ภาษีสำหรับคา่ ใช้จ่ายการศึกษา
5. หมวด 3 ระบบการศึกษา
1) การจดั การศกึ ษามสี ามรปู แบบ คือ
- การศกึ ษาในระบบ - การศกึ ษานอกระบบ - การศกึ ษาตามอัธยาศยั
สถานศกึ ษาจัดได้ทงั้ สามรูปแบบ และใหม้ ีการเทียบโอนผลการเรียนทผ่ี เู้ รียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบ
เดียวกันหรือตา่ งรูปแบบได้ ไมว่ า่ จะเป็นผลการเรยี นจากสถานศกึ ษาเดยี วกันหรือไม่ก็ตาม
2) การศึกษาในระบบมสี องระดบั คือ
- การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจดั ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศกึ ษา
- ระดบั อดุ มศกึ ษาแบ่งเปน็ 2 คือ ระดับต่ำกวา่ ปริญญาและระดบั ปรญิ ญา
3) ใหม้ กี ารศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีทีเ่ จ็ด จนอายยุ า่ งเข้าปีที่สบิ หกหรือ
เมือ่ สอบไดช้ ั้นปที ่ีเกา้ ของการศกึ ษาภาคบงั คับ
4) สำหรับเรอ่ื งสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวยั และการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน ให้จดั ใน
1) สถานพัฒนาเดก็ ปฐมวยั
2) โรงเรยี น ได้แก่ โรงเรียนของรฐั เอกชน และโรงเรียนที่สงั กดั สถาบันศาสนา
3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน
ศาสนาสถานประกอบการโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบนั สงั คมอนื่ เป็นผู้จดั

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

6. หมวด 4 แนวการจัดการศกึ ษา
- การจดั การศึกษาต้องยึดหลกั ว่าผู้เรียนมคี วามสำคัญทส่ี ดุ ผู้เรยี นทกุ คน สามารถเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองได้ ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและ
เตม็ ตามศกั ยภาพ
- การจดั การศึกษาทัง้ สามรปู แบบในหมวด 3 ต้องเน้นทัง้ ความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการ
เรียนรู้ ในเรอ่ื งสาระความรู้
7. หมวด 5 การบรหิ ารและการจัดการศกึ ษา
สว่ นท่ี 1 การบรหิ ารและการจัดการศึกษาของรฐั

- แบง่ เป็นสามระดบั คอื ระดับชาติ ระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา และระดบั สถานศึกษา
เพื่อเปน็ การกระจายอำนาจลงไปสู่ทอ้ งถนิ่ และสถานศึกษาให้มากทีส่ ดุ

1.1 ระดับชาติ ให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแล
การศึกษาทุกระดับและทุกประเภทรวมทั้ง การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดนโยบายแผน
และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
การจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระทรวง มีองค์กรหลักที่เป็นคณะ บุคคลในรูปสภา
หรือคณะกรรมการสี่องค์กร คือ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการ
การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน
คณะกรรมการการอดุ มศกึ ษา คณะกรรมการการศาสนาและวฒั นธรรม

1.2 ระดับเขตพืน้ ที่การศกึ ษา การบริหารและการจัดการศึกษาขนั้ พ้ืนฐานและการอุดมศึกษา
ระดบั ต่ำกวา่ ปรญิ ญาให้ยึดเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษาโดยคำนึงถึงปรมิ าณสถานศกึ ษาและจำนวนประชากรเปน็ หลกั

1.3 ระดับสถานศึกษา ให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับ
ต่ำกว่าปริญญา มีคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการ
ของสถานศึกษาและจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทน
ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า
ของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
ของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกระจายอำนาจ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหาร
งานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาฯ เขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศกึ ษาในเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาโดยตรง

8. หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
- ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกัน

คณุ ภาพภายใน ระบบการประกันคณุ ภาพภายนอก
- หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน

ซึ่งเปน็ ส่วนหนึง่ ของการบรหิ าร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องและเปิดเผย
ต่อสาธารณชน

โรงเรยี นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

- ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งคร้ัง
ทุก ห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมนิ คณุ ภาพการศกึ ษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชน

9. หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษา
- ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ตามมาตรา 53 ทำให้เกิด พรบ. สภาครูและบุคลากร

ทางการศึกษา 2546
- ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามมาตรา 54 ทำให้เกิด

พรบ. ระเบยี บข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา
- ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอ่ืน

ท้ังของรฐั และเอกชน ตอ้ งมใี บอนญุ าตประกอบวิชาชพี
ทั้งนี้ ยกเว้น ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในศูนย์การเรียน วิทยากรพิเศษ

และผูบ้ ริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพ้ืนที่การศึกษา
10. หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทนุ เพอื่ การศึกษา
- ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน

ท้ังจากรฐั องคก์ ร ปกครองสว่ นท้องถิ่น บคุ คล ครอบครวั ชุมชน องค์กรชมุ ชน เอกชน องค์กรเอกชน
องคก์ รวชิ าชีพ สถาบนั ศาสนา สถานประกอบการ สถาบนั สังคมอนื่ และต่างประเทศมาใชจ้ ัดการศึกษา

- สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา
ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอ่ืน
รวมทั้งหารายได้จากบริการของสถานศึกษาที่ไม่ขัดกับภารกิจหลักอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษา
ของรัฐได้มา ทั้งจากผู้อุทิศให้หรือซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ให้เป็นกรรมสิทธิ์
ของสถานศึกษา บรรดารายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสถานศึกษาของรัฐดังกล่าว ไม่เป็นรายได้
ทีต่ ้องส่งกระทรวงการคลงั

11. หมวด 9 เทคโนโลยีเพอ่ื การศึกษา
- รัฐจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการ

ส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการส่ือสารในรูปอื่นเพื่อประโยชน์สำหรับ
การศึกษา การทะนบุ ำรงุ ศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรมตามความจำเปน็

- รฐั สง่ เสรมิ สนบั สนุนให้มกี ารศึกษาและพัฒนา การผลติ และพฒั นาแบบเรยี น ตำรา
สอื่ สงิ่ พมิ พ์อน่ื วัสดอุ ปุ กรณแ์ ละเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอ่นื โดยจัดใหม้ ีเงินสนับสนนุ และเปิดให้มีการ
แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา

- ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้
ผู้เรยี นได้พัฒนาขีดความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยเี พ่ือการศึกษาในโอกาสแรกท่ีทำได้ อันจะนำไปสู่
การแสวงหาความร้ไู ดด้ ว้ ยตนเองอยา่ งต่อเน่อื งตลอดชวี ิต

- ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงิน
อุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี

โรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศึกษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

สารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน
รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยี ให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่
พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการศึกษา การพัฒนาและการใช้ รวมทั้ง
การประเมนิ คณุ ภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศกึ ษา
3. การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
2553)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือว่าเป็นความพยายามที่จะทำการปฏิรูป
การศึกษาครง้ั สำคัญ ซง่ึ ดำเนินการจดั ทำข้ึนดว้ ยความรว่ มมือจากหลายฝ่าย ไม่วา่ จะเป็นฝา่ ยการเมือง
ฝ่ายข้าราชการ ครู อาจารย์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ
มีการศึกษาปัญหา ประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีการระดมผู้รู้
นักปราชญม์ าชว่ ยกันคดิ ชว่ ยกันสร้างเปา้ หมายของการศึกษาไทย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขหรือ
แก้ปัญหาทางการศึกษา และถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา อาจสรุปหลักการ
สำคญั ได้ 7 ดา้ น ดงั นี้

1. ด้านความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ปรากฏตามนัย มาตรา 10 วรรค
1 คือ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มาตรา 8 (1)
การจดั การศกึ ษาใหย้ ึดหลกั ว่าเปน็ การศึกษาตลอดชีวติ สำหรับประชาชน

2. ด้านมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ปรากฏตาม มาตรา 9 (3) กำหนดมาตรฐานการศึกษา
และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา และ มาตรา 47 ให้มีระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบ
ประกนั คุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก

3. ดา้ นระบบบรหิ ารและการสนบั สนนุ ทางการศกึ ษา ปรากฏตาม มาตรา 9 การจัดระบบ
โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (1) มีเอกภาพด้านนโยบายและหลากหลาย
ในการปฏิบัติ (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้จัดการศึกษา (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน
ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบนั สังคมอื่น ๆ

มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน ใหม้ ีความเป็นอิสระ โดยมกี ารกำกับ
ติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
การประเมนิ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดยี วกบั การศกึ ษาของรฐั

4. ด้านครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ปรากฏตาม มาตรา 9 (4) มีหลักการ
ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนอื่ ง

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สูตรสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บคุ ลากรทางการศกึ ษาให้มีคุณภาพ และมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเปน็ วชิ าชีพชน้ั สูง โดยการกำกับ
และประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา
ให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการ
อย่างต่อเนื่อง รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร
ทางการศึกษาอย่างเพยี งพอ
5. ด้านหลักสูตร ปรากฏตาม มาตรา 8 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่าง
ต่อเนื่อง มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับ การศึกษาข้ัน
พื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
ตลอดจนเพ่อื การศกึ ษาต่อ ใหส้ ถานศกึ ษาข้ันพน้ื ฐานมีหน้าทจ่ี ัดทำสาระของหลักสูตรตามวตั ถปุ ระสงค์

ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถ่ิน
คณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงคเ์ พ่ือเป็นสมาชิกทด่ี ีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา 28 หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการ
ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของบคุ คลใหเ้ หมาะสมแก่วยั และศกั ยภาพ

สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล
ทัง้ ดา้ นความรู้ ความคดิ ความสามารถ ความดีงาม และความรับผดิ ชอบตอ่ สังคม

สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
แล้ว ยงั มคี วามมุง่ หมายเฉพาะที่จะพัฒนาวชิ าการ วชิ าชีพช้นั สูง และด้านการค้นควา้ วจิ ยั เพื่อพัฒนา
องค์ความรแู้ ละพัฒนาทางสังคม

มาตรา 24 (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด
โดยคำนึงถงึ ความแตกตา่ งระหว่างบุคคล

6. ด้านกระบวนการเรียนรู้ ปรากฏตาม มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียน
ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการ
จดั การศึกษาต้องสง่ เสริมให้ผ้เู รยี นสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศกั ยภาพ

มาตรา 24 การจดั กระบวนการเรยี นรู้ ให้สถานศกึ ษาและหน่วยงานทีเ่ กี่ยวขอ้ งดำเนนิ การ
ดังนี้ (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ
สถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้
อย่างต่อเนื่อง (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล
กัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (5) ส่งเสริม
สนับสนนุ ใหค้ รูสามารถจดั บรรยากาศ สภาพแวดล้อมสอ่ื การเรยี น และอำนวยความสะดวกเพ่ือให้เกิด
การเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ทงั้ น้ีครูและผู้เรียนอาจเรยี นรู้ไปพร้อมกัน จากสอ่ื การเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา
ผปู้ กครอง และบคุ คลในชุมชนทกุ ฝ่าย เพือ่ รว่ มกันพัฒนาผูเ้ รยี นตามศกั ยภาพ

มาตรา 25 รัฐต้องเร่งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทกุ รปู แบบ ไดแ้ ก่ ห้องสมุดประชาชน พพิ ธิ ภณั ฑ์ หอศิลป์ สวนสตั ว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้
อืน่ อย่างพอเพียงและมีประสทิ ธภิ าพ

มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไป
ในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรปู แบบการศึกษา

มาตรา 8 (1) และ (3) การจัดการศึกษายึดหลักดังนี้ (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับ
ประชาชน (3) การพฒั นาสาระและกระบวนการเรียนร้ใู ห้เป็นไปอยา่ งต่อเน่ือง

7. ด้านทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ปรากฏตาม มาตรา 9 (5) การจัดระบบ
โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้
ในการจดั การศกึ ษา

มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน
ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศ มาใช้ในการ
จัดการศึกษา

มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา ในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุด
ต่อความม่นั คงย่ังยนื ของประเทศ โดยจัดสรรเป็นเงนิ งบประมาณเพื่อการศึกษา

จากหลักการสำคัญดังกล่าวข้างต้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ คือ

1. ด้านหลักสูตร กล่าวถึงการปฏิรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหา
สาระ ทั้งที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความเป็นมนุษย์ และให้มีการบูรณาการเนื้อหา
หลากหลายที่มปี ระโยชนต์ อ่ การดำรงชวี ติ ไดแ้ ก่

1.1 เนอ้ื หาเก่ยี วกับตนเองและความสัมพนั ธร์ ะหว่างตนเองกับสังคม
1.2 เนื้อหาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอ้ ม
1.3 เนอ้ื หาเก่ียวกบั ศาสนา ศิลปะ วฒั นธรรม ภมู ิปัญญาไทย
1.4 เน้อื หาความรแู้ ละทักษะด้านคณติ ศาสตรแ์ ละภาษา เนน้ การใชภ้ าษาไทยอยา่ งถกู ต้อง
1.5 เนอ้ื หาความร้แู ละทกั ษะในการประกอบอาชพี และการดำรงชีวติ อยา่ งมีความสุข
2. ด้านกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ
เรยี นรแู้ ละพัฒนาตนเองได้ โดยถอื ว่าผเู้ รียนมีความสำคัญทส่ี ุด กระบวนการจดั การศึกษาต้องส่งเสริม

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต ดังข้อมูลที่ระบุไว้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาที่สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2543) ได้สรุปถึงลักษณะกระบวนการ
จัดการเรียนรใู้ นสาระของพระราชบัญญตั ิการศึกษาแหง่ ชาติ ไว้ดังน้ี

2.1 มีการจดั เนื้อหาท่ีสอดคลอ้ งกับความสนใจ ความถนัดของผ้เู รยี น
2.2 ให้มกี ารเรียนรู้จากประสบการณแ์ ละฝึกนสิ ัยรักการอ่าน
2.3 จัดใหม้ กี ารฝึกทักษะกระบวนการและการจดั การ
2.4 มกี ารผสมผสานเนื้อหาสาระด้านตา่ งๆ อยา่ งสมดลุ ปลูกฝงั คณุ ธรรม
2.5 จดั การส่งเสรมิ บรรยากาศการเรยี นเพือ่ ใหเ้ กดิ การเรยี นรู้และรอบรู้
2.6 จดั ให้มีการเรยี นร้ไู ด้ทุกเวลา ทกุ สถานท่ี และใหช้ มุ ชนมีสว่ นรว่ มในการจัดการเรยี นรู้ดว้ ย
3. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียน
เป็นสำคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียนหลายๆ วิธี ได้แก่
การสังเกตพฤติกรรมการเรยี นและการรว่ มกิจกรรม การใชแ้ ฟม้ สะสมงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์
ควบค่ไู ปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมโี อกาสแสดงผลการเรียนรู้ได้หลายแบบ ไม่เพียงแต่
ความสามารถทางผลสัมฤทธิ์การเรยี นซง่ึ วัดไดโ้ ดยแบบทดสอบเท่านั้น การวัดและการประเมินผลการ
เรียนรู้แบบนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอันเกิดจากผลการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
ไดช้ ัดเจนมากขึ้น
4. ความหมายของหลกั สตู รและส่วนประกอบของหลกั สูตร
ความหมายของหลักสตู ร
ความหมายของหลักสูตร (Curriculum) และการพัฒนาหลักสูตร (Developmental
Curriculum) คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มา
จากภาษาลาตินว่า “currere” หมายถึง“running course” หรือ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาได้นำ
ศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of course or learning experience”
(Armstrong, 1989 : 2) เป็นการเปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่า
ความยากของวชิ า หรือประสบการณก์ ารเรยี นรู้ต่าง ๆ ท่กี ำหนดไวใ้ นหลกั สูตรเพอ่ื ความสำเรจ็

ในแวดวงนักศึกษาผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้มากมาย โดยไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็น
พ้องกับความหมายใดเพียงความหมายเดียว เพราะหลักสูตรเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาแต่
อาจแบ่งกลุ่มความหมายของหลักสูตรได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มความหมายที่เน้นถึงเนื้อหาสาระท่ี
จะต้องเรียนรู้ 2) กลมุ่ ความหมายทเี่ น้นความหมายสำคัญของจุดหมายที่ตอ้ งการให้เกิดกับผู้เรยี น และ
3) กลมุ่ ความหมายท่เี นน้ กระบวนการที่จะพฒั นาผเู้ รยี น

กาญจนา คุณารกั ษ์ (2535 : 1-4) ได้รวบรวมความหมายหลักสตู รไว้ดังนี้
1. หลักสูตร คือ รายวิชาหรอื รายการเน้อื หาท่สี อนโรงเรยี น
2. หลักสูตร คอื ประสบการณ์ที่จดั ใหแ้ ก่ผู้เรยี น
3. หลกั สตู ร คือ กิจกรรมการเรียนการสอนและวสั ดุอุปกรณ์

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารสว่ นจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

4. หลักสูตร คือ สิ่งที่โรงเรียน ผู้ปกครอง คาดหมายหรือมุ่งหวังจะให้ผู้เรียนได้รับหรือ
มคี ณุ สมบัตใิ นสิ่งนน้ั ๆ

5. หลักสตู ร คือ พาหนะท่จี ะนำผเู้ รียนไปสคู่ วามสำเรจ็ ตามเป้าหมายของการศกึ ษา
6. หลักสตู ร คอื สิ่งแวดลอ้ มตา่ ง ๆ ทางการเรยี น และสง่ิ แวดล้อมในโรงเรียน
7. หลกั สตู ร คือ กระบวนการปฏิสมั พนั ธร์ ะหวา่ งครู นกั เรียน และส่ิงแวดล้อมการเรยี น
8. หลักสตู ร คอื แผนหรอื แนวทาง หรอื ข้อกำหนดในการจัดการศกึ ษาของโรงเรียน
9. หลักสูตร คือ เอกสาร หนังสือหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตรใด ๆ เช่น
แผนการสอน คมู่ ือครู แบบเรียน เปน็ ต้น
10.หลักสูตร คอื วชิ าความรสู้ าขาหนง่ึ ท่ีวา่ ด้วยทฤษฎี หลักการ และแนวปฏิบัติในการพัฒนา
หลกั สตู ร
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537 : 12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ มวลประสอบการณ์ทั้งปวงท่จี ัดให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตราฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทยและ
มาตรฐานทีช่ ุมชนท้องถน่ิ ตอ้ งการ
สงดั อทุ รานันท์ (2538 : 6) กลา่ ว หลกั สูตร หมายถงึ ลักษณะใดลักษณะหนึง่ ตอ่ ไปน้ี
1. หลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระ
ที่จดั เรียงลำดบั ความยากง่าย หรือเป็นข้นั ตอนอยา่ งดแี ลว้
2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหนา้ เพื่อมุ่งหวงั จะให้เด็ก
ไดเ้ ปลย่ี นแปลงพฤตกิ รรมในทางทตี่ ้องการ
3.หลักสูตร เปน็ ส่งิ ท่ีสงั คมสร้างขึน้ สำหรับให้ประสบการณท์ างการศกึ ษาแก่เด็กในโรงเรยี น
4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรยี น ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนอง
ตอ่ การแนะแนวของโรงเรยี น
ใจทิพย์ เชอื้ รตั นพงษ์ (2539 : 9) ใหค้ วามหมายหลกั สตู รวา่ คอื SOPEA ประกอบดว้ ย
S คอื Subject matter ได้แก่ เน้ือหาทีใ่ ชใ้ นการเรยี นการสอน
O คือ Object ไก้แก่ วัตถุประสงค์
P คอื plans ได้แก่ แผนสำหรับจัดโอกาสการเรยี นรู้หรอื ประสอบการณ์แกน่ กั เรียนทค่ี าดหวงั
E คือ learner’s experience ได้แก่ ประสบการณท์ ั้งปวงของผูเ้ รยี นมาจัดโดยโรงเรยี น
A คอื education activities ไดแ้ ก่ กจิ กรรมทาวการศกึ ษาที่จัดใหก้ ับผ้เู รยี น
ชมพันธุ์ กุญชน ณ อยุธยา (2540 :3-5) ได้อธิบายความหมายของ “หลักสูตร” ว่ามีความ
แตกต่างกันไปตั้งแต่ความหมายที่แคบสุดจนจนถึงกว้างสุด แต่จำแนกความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้
ใหน้ ยิ ามความหมายของหลกั สตู ร ออกเป็น 2 ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรยี น นักการศึกษาที่มีความคิดเห็นว่าหลักสูตร
หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียนนั้น มองหลักสูตรในลักษณะที่เป็นเอกสาร หรือโครงการ
การศึกษาที่สถาบันการศึกษาได้วางแผนไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้
หลักสูตรตามความหมายนี้หมายถึงรวมถึง แผนการเรียนหรือรายวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดใหเ้ รียนรวมทง้ั

โรงเรียนองค์การบริหารสว่ นจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศึกษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

เนื้อหาวิชาของรายวิชาต่าง ๆ กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผน
ความคิดเห็นของนักศึกษากลุ่มนี้ไม่รวมถึงการนำหลักสูตรไปใช้หรือการเรียนการสอนที่ปฏิบัติจริง
แต่ทัง้ แผนประสบการณ์การเรยี นกับการสอนทปี่ ฏิบัตจิ รงิ มคี วามสัมพนั ธก์ นั อย่างใกล้ชิด

2. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่สถาบันการศึกษาจัดให้ซึ่งหมาย
รวมถึงประสบการณ์การเรียนและการนำหลักสูตรไปใช้ด้วย แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของทั้ง
ทาบาและ ไทเลอร์ที่เห็นว่า หลักสูตรประกอบด้วยจุดมุ่งหมายประสอบการณ์ทางการศึกษาหรือ
เนื้อหาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาหรือจัดการเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมนิ ผล

ธำรง บัวศรี (2542 : 7) กล่าวว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดง
จุดมุ่งหมายการจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมและมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้
ผเู้ รียนมพี ัฒนาการในด้านตา่ ง ๆ ตามจุดหมายท่ไี ด้กำหนดไว้

มาเรียม นิลพันธุ์ (2543 : 6) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง เอกสารข้อกำหนดเกี่ยวกับมวล
ประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องการ ทั้งนี้ นักการศึกษาและนักพัฒนา
หลักสูตรประเทศ ไดใ้ ห้ความหมายและคำจำกดั ความของหลักสตู รไว้ โดยสรปุ ดงั นี้

คาสเวลและแคมเบล (Caswell and Cambell 1935 : 66) ได้ให้จำกัดความว่าหลักสูตร
เป็นส่งิ ท่ีประกอบดว้ ยประสบการณ์ทัง้ มวลของเด็ก ภายใตก้ ารแนะแนวของครู

ไทเลอร์ (Tyler. 1949 : 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมี
โรงเรยี นเปน็ ผวู้ างแผนและกำกบั เพ่ือให้บรรลถุ ึงจุดหมายของการศกึ ษา

ทาบา (Taba. 1962 : 11) ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่าหลักสูตรเป็นแผนการ
เก่ยี วกับการเรยี นรู้

กดู๊ (Good. 1973 : 157) ได้ใหค้ วามหมายของหลกั สูตรไว้ 3 ประการ ดังน้ี คอื
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับ
ประกาศนยี บตั รในสาขาวชิ าหนึ่ง
2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรอื สิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรยี น
จดั ให้แก่เดก็ เพอ่ื ใหส้ ำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้
การแนะนำของโรงเรียนและสถานศกึ ษา
โอลิวา (Oliva. 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยาม
โดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรอื สภาพแวดล้อม และวธิ ีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดงั น้ี
1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าทีที่จะทำให้ผู้เรียน
ควรจะเป็นอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็น
วิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอด
มรดกทางวัฒนธรรม หลกั สูตร คือ การพฒั นาทักษะการคดิ ผู้เรยี น เปน็ ตน้

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารส่วนจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

2.การให้นิยามโดยยึดบรบิ ทหรอื สภาพแวดลอ้ ม (Contexts) นิยามของหลักสตู ร ในลกั ษณะ
นี้จึงเปน็ การอธิบายถึงลกั ษณะทัว่ ไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแตว่ า่ เนือ้ หาสาระของหลักสตู รนั้นมลี กั ษณะ
เปน็ อย่างไร เชน่ หลกั สตู รท่ยี ดึ เนื้อหาวิชา หรอื หลกั สตู รทย่ี ดึ ผู้เรียนเป็นศนู ย์กลาง หรอื หลักสูตรทเ่ี น้น
การปฏิรปู สังคม เปน็ ตน้

3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรอื ยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิง
วิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น
หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร
คอื การเรียนรเู้ ป็นรายบคุ คล หลกั สูตร คือ โครงการหรอื แผนการจัดการเรียนการสอน เปน็ ต้น

โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการ
ท่ีจัดประสบการณ์ท้ังหมดให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรยี น และในทางปฏิบัติหลักสูตร
ประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง ๆ ทเ่ี ขยี นเปน็ ลายลกั ษณ์อักษร และมขี อบเขตกวา้ งหลายหลาย
เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit)
เป็นรายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการ
ทางการศึกษาดังกลา่ วนอ้ี าจจัดขนึ้ ไดท้ งั้ ในและนอกชนั้ เรยี นหรือโรงเรยี นกไ็ ด้

จากที่กล่าวมาแล้วสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึงมวลประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ
ที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกหอ้ งเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรอื แผน เพื่อเป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนการสอนให้ผ้เู รียน ไดพ้ ัฒนาและมคี ณุ ลกั ษณะตามความมุ่งหมายท่ีไดก้ ำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสตู รมีความสำคญั ต่อการจัดการศกึ ษาทุกระบบ เนื่องจากขอ้ กำหนดต่าง ๆ ของหลักสตู ร
จะเป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาของแตล่ ะกลมุ่ เป้าหมาย ซงึ่ ทำให้เปน็ แนวทางนำไปสู่การกำหนด
เป้าหมายของการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งยังเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนในการ
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้ผูเ้ รียนบรรลเุ ป้าหมายท้ังในด้านความรใู้ นเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการ
เรยี นรแู้ ละการคิด ทกั ษะทางสังคมและที่สำคญั คือคุณภาพทางด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอัน
พงึ ประสงค์ นอกจากน้ี นักการศึกษาหลายทา่ นได้แสดงทศั นะและความคิดเห็นท่เี กย่ี วกับความสำคัญ
ของหลักสตู รวา่ หลกั สตู รมีความสำคญั อย่างไรต่อการจัดการศึกษา ซ่งึ สว่ นใหญ่เห็นตรงกันว่าหลักสูตร
มีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียน
ในแต่ละวัยแต่ละระดับการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะมี
ผลกระทบต่อผู้เรียนว่าควรเรียนรู้สาระการเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงใด จาการศึกษา
เอกสารพบว่ามผี ทู้ ีก่ ล่าวถึงความสำคญั ของหลักสตู รไวโ้ ดยสรปุ ดงั น้ี

สนั ต์ ธรรมบำรงุ (2527 : 152) สรุปความสำคญั ของหลักสตู รไว้ 9 ประการ คือ
1. หลักสูตร เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะ
กำหนดจุดมงุ่ หมาย เนือ้ หาสาระ การจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่
ความมุง่ หมายตามแผนการศกึ ษาชาติ

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารส่วนจังหวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

3. หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เปน็ บัญญตั ขิ องรฐั บาล หรือเปน็ ธรรมนูญในการจัด
การศึกษา เพ่อื ให้บุคคลท่เี ก่ียวขอ้ งกับการศึกษาปฏิบัติตาม

4. หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษา
ระดับตา่ ง ๆ และยังเปน็ เกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึง่ ในการจัดสรรงบประมาณ บคุ ลากร อาคาร สถานท่ี
วสั ดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศกึ ษาของรฐั แก่สถานศึกษาอกี ดว้ ย

5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและ
ควบคมุ ดแู ลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจดั การศึกษาของรัฐบาลดว้ ย

6. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
ตามจุดมุง่ หมายของการศกึ ษา

7. หลกั สูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้วา่ จะเปน็ ไปในรปู ใด
8. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติท่ี
ได้ผล
9. หลักสตู รจะเปน็ สิง่ ทีบ่ ง่ ชี้ถงึ ความเจริญของประเทศ เพราะการศกึ ษาเป็นเคร่ืองมือในการ
พฒั นาคน ประเทศใดจดั การศกึ ษาโดยมหี ลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสทิ ธิภาพทนั ตอ่ เหตุการณ์
และการเปล่ียนแปลงยอ่ มไดก้ ำลงั ที่มีประสิทธิภาพสูง
พงษ์ศกั ดิ์ ภูกาบขาว (2540 : 18-19) กล่าวถงึ ความสำคญั ของหลกั สตู รไวดังน้ี
1. หลกั สตู รย่อมเปน็ แนวทางในการปฏบิ ัตงิ านของครู
2. หลักสูตรย่อมเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
ตามจดุ มุ่งหมายของการศึกษา
3. หลักสูตรย่อมกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่าเด็กควรได้รับสิ่งใดบ้าง
ท่ีเปน็ ประโยชนแ์ กเ่ ด็กโยตรงและแกส่ งั คม
4. หลักสูตรย่อมกำหนดว่า เนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคม
อย่างราบรืน่ เปน็ พลเมืองดขี องประเทศชาตแิ ละบำเพญ็ ประโยชนแ์ กส่ ังคม
5. หลกั สูตรย่อมกำหนดวิธกี ารดำเนนิ ชวี ิตของเด็กใหเ้ ปน็ ไปดว้ ยความราบรน่ื และผาสขุ
6. หลักสูตรย่อมกำหนดแนวทางความรู้ ความสามรถ ความประพฤติ ทักษะและเจตคติ
ในอันท่ีจะอยู่ร่วมกันในสงั คม และบำเพญ็ ประโยชนต์ ่อชมุ ชนและประเทศ
จากทีก่ ลา่ วมาแล้วสรปุ ได้ว่า หลักสตู รเปน็ ส่งิ สำคัญในการจดั การศกึ ษา 3 ระดับ คือ
1. ระดับประเทศ เป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยภาพและเป็น
ตัวบ่งช้ีใหเ้ หน็ แนวโน้มสังคมกับการจัดการศกึ ษาในอนาคต
2.ระดับสถานศึกษา ซึ่งนับได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจและจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอน
ในสถานศกึ ษานั้น ๆ

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สตู รสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

3.ระดับหอ้ งเรียนซึ่งมีความสำคญั ต่อการนำไปสู่การปฏบิ ัติ เพ่อื จดั การเรยี นรู้ที่เกิดกับผู้เรียน
โดยตรง โดยมีรายละเอียดและเอกสารประกอบที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร เรื่องใด เพื่ออะไร
องค์ประกอบของหลักสูตร

องค์ประกอบของหลักสูตร นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์
และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการปรับปรุงการเรียน
การสอนหรอื การพัฒนาหลักสตู รได้

องคป์ ระกอบของหลักสตู ร โดยท่ัวไปมี 4 องคป์ ระกอบ
1. ความมุ่งหมาย (objectives) คือ เป็นเสมือนการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา
การจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในลักษณะต่าง ๆที่พึงประสงค์อันก่อให้เกิด
ประโยชน์ในสังคมนั้นการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรต้องคำนึงถึงข้อมูลพ้ื นฐานของสังคม
เพื่อประโยชน์ ในการแก้ปัญหา และสนองความต้องการของสังคมและผู้เรียน และต้องสอดคล้อง
สัมพันธ์กับนโยบายการจัดการศึกษาของชาติด้วย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด
องค์ประกอบของหลักสูตรสว่ นนี้ เปน็ 2 ลักษณะ คือ “หลักการของหลักสูตร” หมายถึง แนวทางหรือ
ทิศทางในการจัดการศึกษาซง่ึ ผทู้ ี่เก่ียวข้องทุกฝา่ ยในการจัดการศึกษาระดบั นั้น ๆ จะไดย้ ดึ ถือเป็นแนว
ปฏิบัติ “จุดหมายของหลักสูตร” หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆหรือคุณสมบัติต่าง ๆที่ต้องการให้เกิดข้ึน
แก่ผู้เรียน เมื่อผา่ นกระบวนการต่าง ๆ ตามทีก่ ำหนดไวใ้ นหลักสูตรนั้นแล้ว
2. เนื้อหาวิชา (Content) เป็นสาระสำคัญทีก่ ำหนดไว้ในหลักสูตรใหช้ ัดเจน โดยมุ่งให้ผู้เรยี น
ได้มีประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระที่ได้กำหนดไว้
ต้องสมบูรณ์ ต้องผนวกความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม แนวคิด และทัศนคติเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียน
ไดพ้ ฒั นาทัง้ ในด้านความรู้ ความทศั นคติ และพฤตกิ รรมตา่ ง ๆ อันพึงประสงค์
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง
เพราะเป็นกจิ กรรมท่จี ะแปลงหลักสูตรไปสู่การปฏบิ ัติกิจกรรมนั้นมหี ลายลักษณะ แตก่ ิจกรรมท่ีสำคัญ
ที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนการสอน หรือ อาจกล่าวได้ว่า “การสอนเป็นหัวใจของการนำหลักสูตรไป
ใช้” ดังนั้น ครูผู้สอนจึงเป็นผูท้ ีม่ ีบทบาทสำคัญในฐานะเปน็ ผู้จัดการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการทีจ่ ะนำ
ผ้เู รียนไปสคู่ วามมงุ่ หมายของหลักสตู ร ประกอบด้วย

3.1 วิธีการจัดการเรยี นรู้ การกำหนดวธิ ีการจดั การเรยี นรู้หลักสตู รจะเนน้ แบบยดึ ครู
เป็นสำคัญหรือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษา หรือแนวความคิด ความเชื่อ
ในการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ และขึ้นอยู่กับจุดหมายของหลักสูตรนั้นเป็นสำคัญ สำหรับวิธีการ
จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรในปัจจุบันเน้นแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือเน้น “การสอนคนมากกว่า
การสอนหนังสือ” โดยมแี นวทางการจดั การเรยี นรู้ เชน่ กระบวนการเรียนหรอื วธิ ีการเรียนสำคัญพอๆ
กับเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและครูเป็นผู้กำกับการแสดงชี้แนะแนวทาง ผู้เรียนค้นหาความรู้
สรปุ และ ตัดสนิ ใจเอง สอนปฏบิ ัตคิ วบค่ไู ปกับทฤษฎี เป็นตน้

โรงเรยี นองค์การบริหารสว่ นจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

3.2 วัสดุประกอบหลกั สตู ร หมายถึง วัสดุ เอกสาร รวมทงั้ ส่อื การเรียนการสอน
ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ครูใช้หลักสูตรได้โดยง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งออกเป็น
2 ประเภท คอื

3.2.1 วัสดุประกอบหลักสูตรสำหรับครู เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู คู่มือ
การใช้หลกั สตู ร คูม่ ือการประเมนิ ผล คูม่ อื การแนะแนว คมู่ ือการจัดกจิ กรรมเสริมหลกั สูตร เป็นตน้

3.2.2 วสั ดปุ ระกอบหลักสูตรสำหรับนักเรียน เช่น หนังสือเรยี น หนังสือแบบฝึกหัด
บตั รงาน หนังสอื อา่ นเพิม่ เติม แบบคัดลายมอื เปน็ ต้น

3.3 การประเมินผล (evaluation) เป็นองค์ประกอบที่ชี้ให้เห็นว่าการนำหลักสูตร
แปลงไปสู่การปฏิบัตินั้น บรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่ หลักสูตรเกิดสัมฤทธิผลมากน้อยเพียงใด
ขอ้ มูลจาการประเมินผลน้ีจะเปน็ แนวทางไปสู่การปรับปรงุ และพัฒนาหลักสตู รต่อไป
ธำรง บัวศรี (2538 : 7-8) ที่กลา่ วเน้นว่า หลักสูตรประกอบด้วย 1) จดุ มุง่ หมายของหลักสูตร
2) จุดประสงค์ของการเรียนการสอน 3) เนื้อหาสาระและประสบการณ์ 4) วัสดุอุปกรณ์และสื่อการ
เรยี นการสอน 5) ประเมนิ ผล
จากแนวคดิ ต่าง ๆทีก่ ลา่ วมาท้ังหมด สรปุ ไดว้ ่าองคป์ ระกอบสำคัญของหลักสตู ร คือ
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากเรียนจบ
หลักสตู รไปแลว้
2. โครงสร้างเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทักษะและความสามารถที่ต้องการ
ใหม้ รี วมทง้ั ประสบการณท์ ่ตี ้องการใหไ้ ดร้ บั
3. อัตราเวลาเรียน เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ครบกระบวนการและ
มีประสทิ ธภิ าพ
4. กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อ ทั้งนี้เพื่อให้แนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัด
กจิ กรรมการเรยี นการสอน
5. การวัดและการประเมินผล เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของ
หลักสูตรกอ่ นและหลังการนำไปใช้
องค์ประกอบหลักสูตรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และส่งผลถึงลักษณะ โครงสร้าง รูปแบบของ
หลกั สตู รว่าจะเปน็ อย่างไร โดยมอี งค์ประกอบท่สี ำคญั ของ หลกั สูตร คือ ความมุ่งหมาย (objectives)
เนื้อหาวิชา (Content) การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) การประเมินผล
(evaluation)

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

การพฒั นาหลกั สูตรแบบครบวงจร
การพัฒนาหลักสูตรมีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีความเป็นระบบและเป็นวงจรที่มี

ความสมั พนั ธก์ นั ระบบการพฒั นาหลกั สตู รแบบครบวงจรประกอบด้วย ระบบการร่างหลกั สตู ร ระบบ
การใชห้ ลักสตู รและระบบการประเมนิ หลกั สตู ร โดยแตล่ ะระบบมีรายละเอยี ดดังน้ี
ระบบการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย การศกึ ษาสง่ิ กาหนดหลักสูตร การกาหนด รูปแบบหลักสูตร
การตรวจสอบคุณภาพหลกั สูตร และการปรบั ปรุงหลักสูตร
ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย การขออนุมัติใช้หลักสูตร การประชาสัมพันธ์ หลักสูตร
การวางแผนการใช้หลกั สตู ร การกาหนดงบประมาณ / ทรพั ยากร และการบรหิ าร นิเทศ กากับ ดูแล
ระบบการประเมินหลักสูตร ประกอบด้วย การวางแผนการประเมิน การเก็บรวบรวม ข้อมูล การ
วิเคราะหข์ อ้ มลู และการรายงานผลการประเมิน

ระบบการพฒั นาหลกั สตู รทงั้ 3 ระบบที่ดีจะต้องมีความสัมพนั ธเ์ ชื่อมโยงซึ่งกนั และกัน เพอ่ื ให้
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรมีประสิทธิภาพสูงสุด
สอดคล้องกบั กลุ่มเปา้ หมายหรือผูใ้ ช้หลักสตู ร ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งระบบทงั้ สาม ดงั แผนภาพ

แผนภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการพัฒนาหลักสูตร ระบบการใช้หลักสูตร และระบบ
การประเมินหลักสูตรตามแนวคิดการพฒั นาหลักสตู รแบบครบวงจร
ข้ันตอนการพฒั นาหลกั สตู ร

ทาบา (Hilda Taba. 1962) ได้กาหนดข้ันตอนการพฒั นาหลักสตู รไว้ 8 ขั้นตอนดังนี้
1. การวินจิ ฉัยความต้องการจาเป็นของการพัฒนาหลกั สตู ร (Diagnosing Needs)
2. การกาหนดวัตถุประสงค์ของหลกั สูตร (Formulating Specifics Objectives)
3. การคัดเลือกเนือ้ หาสาระ (Selecting content)
4. การจัดลาดับเน้ือหาสาระ (Organizing Content)
5. การคดั เลือกประสบการณก์ ารเรยี นรู้ (Selecting Learning Experiences)

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

6. การจัดลาดับประสบการณ์การเรียนรู้ (Organizing Learning Experiences)

7. การกาหนดแนวทางการวดั และประเมินผล (Evaluating)

8. การตรวจสอบความสมดลุ และลาดบั (Checking for Balance and Sequence)

โครงสร้างหลกั สตู ร

โครงสร้างของหลักสูตร หมายถึง การกำหนดรูปแบบของการจัดเนื้อหาสาระ การกำหนด

ขอบเขตหรือจำนวนความมากนอ้ ยของสาระ รวมทงั้ เวลาเรยี น เพ่อื ให้บรรลุเปา้ หมายของหลกั สูตร

การกำหนดโครงสรา้ งเวลาเรียนพน้ื ฐาน และเพิม่ เตมิ สถานศกึ ษาสามารถดำเนินการ ดงั น้ี

- ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตาม

ความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียน

ตอ้ งมคี ุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชวี้ ดั ท่กี ำหนด

- ระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดและ

สอดคล้องกบั เกณฑก์ ารจบหลกั สตู ร

สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชา

เพ่ิมเตมิ หรือกิจกรรมพัฒนาผ้เู รียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษา

และเกณฑ์การจบหลักสูตร เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลา

สำหรบั สาระการเรียนรูพ้ น้ื ฐานในกลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทยและกลุม่ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์

กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียนทก่ี ำหนดไว้ในช้นั ประถมศึกษาปีที่ 1 ถงึ ชนั้ มัธยมศึกษาปที ี่ 3 ปลี ะ 120

ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 360 ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว

กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและ

สาธารณประโยชนใ์ หส้ ถานศึกษาจดั สรรเวลาใหผ้ ู้เรยี นไดป้ ฏบิ ัติกิจกรรม ดงั น้ี

ระดบั ประถมศกึ ษา (ป.1-6) รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง

ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

รปู แบบหลักสตู ร

หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือแนวความคิดหรือ

ปรัชญาในการจัดการศึกษาแตกต่างกันจดุ เน้นของความมุ่งหมายแตกต่างกัน เป็นต้น จากหลักเกณฑ์

ความแตกตา่ งของหลักสูตรดังกลา่ วข้างต้น อาจจำแนกรูปแบบของหลกั สตู รได้ 8 รูปแบบ ดังนี้

3.1 หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา เป็นหลักสูตรแบบดั้งเดิมหรือหลักสูตรเก่า

ที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้ต่าง ๆ จะจัดไว้

เพอ่ื ถา่ ยทอดอย่างมรี ะเบียบตามท่ีผู้รู้ในแตล่ ะวิชาได้กำหนดไว้

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

3.2 หลักสตู รแบบสัมพนั ธ์วชิ า เปน็ หลกั สูตรที่มีพ้ืนฐานมาจากหลักสูตรแบบรายวชิ าเนือ่ งจาก
เมื่อนำหลักสูตรรายวิชาไปใชก้ ารเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวิชาแตกแยกกันมากขึ้น ผู้เรียนนำความรู้
ไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงนำเนื้อหาวิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึง และ มีส่วน
เกยี่ วขอ้ งสมั พนั ธก์ นั จัดไวด้ ้วยกัน

3.3 หลักสูตรแบบหมวดวิชา หรือสหสัมพันธ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้จุดมุ่งหมาย
จะผสมผสานเน้อื หาวชิ าท่ีมีลักษณะใกล้เคยี งกัน หรือสาขาเดยี วกนั ให้มคี วามสมั พนั ธ์ระหวา่ งวชิ ามาก
ขึ้น ในลักษณะหมวดวิชา เช่น หมวดวิชาสังคมศึกษา ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
หน้าท่ีพลเมือง ศลี ธรรม เป็นต้น

3.4 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่อง
ของหลักสูตรแบบรายวิชา ที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน หลักสูตรนี้จึงยึดเอา
กิจกรรม ความสนใจและประสบการณ์แวดล้อมมาเป็นแนวทางในการจัดลำดับประสบการณ์การ
เรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยยึดปรัชญาพิพัฒนาการเป็นแนวทาง
ด้านการวัดผลให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนมากกว่าปริมาณความรู้ความจำ โดยมีข้อดี คือ
สนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเปน็ การเรียนอยา่ งมีความหมาย เป็นตน้

3.5 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หลักสูตรนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดปรัชญาพิพัฒนา
การนิยม ของ จอห์น ดิวอี้ ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะทำให้
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก เช่น การมีส่วนร่วม
ในวัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่แวดล้อมอยู่โดยพยายามให้เนื้อหามีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตเพื่อให้
ผเู้ รยี นนำความรูไ้ ปประยุกตใ์ ชใ้ นชีวติ จรงิ เป็นตน้

3.6 หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรแบบน้ีมีลักษณะผสมผสานเนื้อหาวิชาเพื่อที่จะตอบสนอง
ความต้องการและความสนใจของผู้เรยี น ส่งเสริมการเรียนที่มคี วามสัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของ
ผู้เรียนของผู้เรียน หลักสูตรประกอบด้วยส่ิงทีผ่ ู้เรียนต้องเรียนเป็นความรู้หนึ่ง และส่วนทีใ่ ช้เลือกส่วน
หนงึ่ หลกั สำคัญอยทู่ ่ีการจัดการเวลาเรยี น และการจัดเนอื้ หาใหส้ อดคล้องกบั ความต้องการของผู้เรียน
และขณะเดียวกนั เนน้ การเรียนรู้ทางวิชาการอย่างมรี ะบบ โดยมขี อ้ ดี คอื มกี ารผสมผสานทางด้านการ
เรียนรู้และเนื้อหาวิชา มีความเกี่ยวพันกับชีวิตและความสนใจของผู้เรียน สนองความสนใจและความ
ถนดั ของแตล่ ะบุคคล เปดิ โอกาสให้ผเู้ รียนศึกษาคน้ ควา้ หาความรเู้ พ่มิ เตมิ ด้วยตนเอง

3.7 หลักสูตรแบบเอกัตภาพ หลักสูตรแบบนี้จัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรไปตามความ
เหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล การจัดหลักสูตรแบบนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของ
ครูผู้สอนที่จะวิเคราะห์ความต้องการ ระดับสติปริญญา และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
จัดการเรียนการสอนอยู่ในรูปของการจัดชุดการเรียนใหผ้ ู้เรียนได้ศึกษาและพัฒนาความสามารถของ
ตนไปตามลำดับ มี ข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถได้เรียนได้ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้คำแนะนำปรึกษา
ผเู้ รียนยึดแนวการสอนที่จัดทำไว้ โดยไม่ต้องพบผู้สอนเป็นประจำ ผเู้ รียนที่มีความสามารถสูงสามารถ
พัฒนาตนเองได้เต็มความสามารถ แต่มีข้อจำกัดที่ว่าความสัมพันธ์ในการรวมกลุ่มมีน้อย ผู้เรียน

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลิศทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ท่ีขาดความรับผิดชอบและไม่มีความซื่อสัตย์อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ การแก้ปัญหาต่างๆ กระทำได้น้อย
และควรจะมาจากความคิดเห็นของกลุ่มมากกว่าคนเดยี ว

3.8 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาโดย
พยายามรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยจะคัดเลือกตัดตอนมาจากหลายๆ
สาขา แล้วมาจัดเป็นกลุ่มหมวดหมู่เพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนิน
ชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิขาต่าง ๆ จะเน้นที่ตัวเด็กและปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนสอน มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ การวัดผลจะเน้นพัฒนาการทุกด้าน
โดยเฉพาะด้านความสามารถในการแก้ปัญหามีข้อดี คือ ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ต่อเนื่อง
มีประโยชนโ์ ดยตรงต่อการดำรงชวี ิตเป็นหลกั สูตรทีม่ ีการผสมผสานกนั อยา่ งดี

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า การกำหนดรูปแบบของหลักสูตรเป็นการพิจารณาเลือกและ
จัดเนื้อหาวิชาของวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร โดยหลักสูตรแต่ละ
รูปแบบจะมจี ดุ มุ่งหมายโครงสรา้ งหลักสตู รทแี่ ตกต่างกนั ออกไป เน่ืองจากการสรา้ งหลกั สูตรแต่ละครั้ง
ต่างยุคตา่ งสมัย จึงตอ้ งคำนึงถึงพ้นื ฐานทีต่ า่ งกันด้วย
ลกั ษณะของหลกั สูตรทีด่ ี

หลักสูตรที่ดีย่อมส่งผลดีต่อการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน กล่าวคือ
หลักสูตรที่ดีจะเป็นแนวทางให้ผู้บริหารโรงเรียนนำไปปฏิบัติได้ดี มีประสิทธิภาพทางด้านครูสามารถ
นำไปใชใ้ นการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลดีตอ่ ผู้เรยี น หลกั สูตรที่ดีควรมีลักษณะดังน้ี คอื

1. หลักสูตรควรมีความคล้องตัว และสามารถปรับปรุงและยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับ
สภาพการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

2. หลักสูตรควรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุตามความมุ่งหมาย
ทก่ี ำหนดไว้

3. หลักสตู รควรได้รบั การจัดทำหรือพัฒนาจากคณะบุคคลหลายฝ่าย
4. หลกั สูตรจะต้องจัดไดต้ รงตามความมุ่งหมายของการศึกษาแหง่ ชาติ
5. หลักสูตรควรจะมีกิจกรรมกระบวนการและเนื้อหาสาระของเรื่องที่สอนบริบูรณ์เพียง
พอทจ่ี ะชว่ ยให้ผู้เรียนคดิ เปน็ ทำเป็น แก้ปญั หาเป็น และพฒั นาการเรยี นผเู้ รยี นในทุกๆดา้ น
6. หลักสตู รควรบอกแนวทางดา้ นสอ่ื การสอนการใชส้ ่อื การวดั และประเมนิ ผลไวอ้ ยา่ งชัดเจน
7. หลักสูตรควรจะมลี กั ษณะทส่ี นองความตอ้ งการและความสนใจ ทง้ั ของนกั เรยี นและสงั คม
8. หลกั สตู รควรสง่ เสริมความเจริญงอกงามในตวั ผเู้ รยี นทุกด้าน รวมทง้ั สง่ เสรมิ ความคิดริเร่ิม
สรา้ งสรรค์
9. หลกั สตู รควรช้แี นะแนวทางกระบวนการเรียนรู้ เพอ่ื ให้ผเู้ รยี นไดเ้ พิ่มพนู ความรู้ ทักษะและ
เจตคติได้ดว้ ยตนเอง จากสอื่ ตา่ งๆที่อย่รู อบตวั
10. หลกั สูตรควรจดั ทำมาจากการศกึ ษาขอ้ มลู พน้ื ฐานดา้ นต่างๆอย่างรอบคอบ
11. เป็นหลักสูตรทย่ี ึดผเู้ รยี นเป็นสำคญั เนื้อหาและกจิ กรรมต้องเหมาะสมกบั ธรรมชาติ

โรงเรยี นองค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั เชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

12. เนอื้ หาและประสบการณต์ ้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิตของผเู้ รยี น ประสบการณ์
ต้องเป็นสง่ิ ท่ีใกลต้ ัว และสามารถนำไปใช้ในชวี ติ ประจำวนั

สรปุ หลกั สตู ร หมายถึง มวลประสบการณ์ความรู้ต่างๆท่ีจัดใหผ้ ู้เรียนท้งั ในและนอกห้องเรียน
ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรือแผน ซึ่งประกอบด้วย ความมุ่งหมายของการสอน เพื่อเป็น
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามความมุ่งหมาย
ที่ได้กำหนดไว้ หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการศึกษา ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาของ
ประเทศ หรือกล่าวอกี ในหน่ึงได้วา่ หลกั สูตรเป็นหัวใจของการจดั การเรยี นการสอน ที่กำหนดแนวทาง
ว่าจะสอนใคร เรอ่ื งใด เพื่ออะไร
5. หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบบั ปรบั ปรงุ 2560)

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม

วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนของชาติให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ

ประเทศ โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล

สอดคลอ้ งกบั ประเทศไทย 4.0 และโลกในศตวรรษท่ี 21

กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้ดำเนินการ

ทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 โดยนำข้อมูลจากแผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

2560 – 2579 มาใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมชัดเจน ยิ่งข้ึน

ในระยะสั้นเห็นควรปรับปรุงหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระ

ภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนา

ประเทศ และเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล

เป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน สามารถนาไปใช้

ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบูรณาการกับความรู้ทางด้าน

วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

ที่นำไปสู่การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การใช้

ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ความร้ทู างดา้ นวทิ ยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีและการสื่อสารในการ

แก้ปญั หาท่ีพบใน ชวี ิตจรงิ ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ รวมทงั้ ใช้ความรู้ ความสามารถ ทกั ษะ กระบวนการ

และเครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเข้าใจสภาพที่เป็นอยู่และการ

เปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การจัดการและปรับใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่าง

สรา้ งสรรค์

โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลกั สูตรสถานศึกษา หอ้ งเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

การปรับปรุงหลักสูตร ยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา
ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ แต่มุ่งเน้นการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความ
ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการตา่ ง ๆ คำนึงถึงการส่งเสริมให้
ผู้เรียน มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อม
ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพ เมื่อจบการศึกษา หรือสามารถศึกษาต่อในระดับ
ท่สี งู ขึ้น สามารถแข่งขนั และอยู่รว่ มกบั ประชาคมโลกได้

กรอบในการปรับปรุง คือ ให้มีองค์ความรู้ที่เปน็ สากลเทียบเท่านานาชาติ ปรับมาตรฐานการ
เรียนรู้และตัวชี้วัดให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน สอดคล้องและเชือ่ มโยงกันภายในกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ และระหว่างกลุม่ สาระการเรียนรู้ ตลอดจนเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยี เขา้ ดว้ ยกนั จดั เรียงลำดบั ความยากงา่ ยของเน้ือหาในแตล่ ะระดบั ชนั้ ตามพฒั นาการแต่
ละช่วงวยั ใหม้ คี วามเชื่อมโยงความร้แู ละกระบวนการเรยี นรู้ โดยให้เรยี นรูผ้ ่านการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้
ผเู้ รียนพัฒนาความคดิ

กระทรวงศึกษาธิการ (2551: 3) ได้ระบุหลักการ และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษา
ขน้ั พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 ดังน้ี

1. หลักการ
หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน มหี ลกั การที่สำคญั ดังน้ี
1.1 เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรบานการเรียนรู้

เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของ
ความเป็นควบค่คู วามเปน็ สากล

1.2 เป็นการศึกษาเพือ่ ปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศกึ ษาอย่างสมำ่ เสมอภาค
และมคี ุณภาพ

1.3 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพและความต้องการของท้องถน่ิ

1.4 เปน็ หลกั สตู รทม่ี ีโครงสร้างยดื หย่นุ ท้งั ด้านสาระ เวลา และการจดั การการเรียนรู้
1.5 เป็นหลกั สูตรทเี่ นน้ ผ้เู รียนเป็นสำคญั
1.6 เปน็ หลักสูตรท่จี ัดการศึกษาสำหรบั การศกึ ษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศยั
ครอบคลุมทุกกล่มุ เป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนร้แู ละประสบการณ์

โรงเรียนองค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

2. จดุ มุ่งหมาย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มี
ความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมาย
เพอื่ ใหเ้ กดิ กับผู้เรยี น เมือ่ จบการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน ดงั นี้
2.1มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม
หลักธรรมของพระพทุ ธศาสนา หรอื ศาสนาท่ีตนนับถอื ยึดหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้
เทคโนโลยีและมีทกั ษะชวี ติ
2.3 มสี ขุ ภาพกายและสุขภาพจติ ท่ีดี มีสุขนสิ ยั และรกั การออกกำลังกาย
2.4 มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุข
2.5 มีจิตสำนกึ ในการอนุรกั ษว์ ฒั นธรรมและภูมปิ ัญญาไทย การอนุรกั ษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะท่ีม่งุ ทำประโยชน์และสร้างสิ่งท่ดี ีงามในสังคม และอยรู่ ่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

3. สมรรถนะสำคญั ของผู้เรียน
หลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน มุ่งใหผ้ ู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคญั 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพฒั นาตนเองและสงั คม รวมทัง้ การเจรจาตอ่ รอง
เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและ
ความถกู ตอ้ ง ตลอดจนการเลอื กใช้วิธีการสื่อสาร ท่มี ีประสทิ ธิภาพโดยคำนึงถงึ ผลกระทบท่ีมีต่อตนเอง
และสงั คม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้
หรอื สารสนเทศเพื่อการตดั สินใจเกีย่ วกบั ตนเองและสังคมไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปลีย่ นแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มา
ใช้ในการป้องกนั และแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจทีม่ ีประสิทธภิ าพโดยคำนึงถึงผลกระทบทีเ่ กดิ ขนึ้
ตอ่ ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และ

โรงเรียนองค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจีน (Talented
Chinese Program : TCP)

การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสมั พันธอ์ ันดีระหวา่ งบุคคล การจัดการปัญหาและความ

ขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม

และการรู้จกั หลกี เลยี่ งพฤตกิ รรมไมพ่ งึ ประสงค์ทสี่ ง่ ผลกระทบตอ่ ตนเองและผู้อนื่
5. ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี เปน็ ความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยดี า้ นต่างๆ

และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร
การทำงาน การแกป้ ญั หาอย่างสร้างสรรค์ ถูกตอ้ ง เหมาะสม และมีคุณธรรม

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เพ่อื ใหส้ ามารถอย่รู ่วมกบั ผู้อนื่ ในสงั คมได้อยา่ งมีความสขุ ในฐานะเปน็ พลเมืองไทยและพลโลก ดงั นี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซอื่ สตั ยส์ ุจริต
3. มีวนิ ัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อยา่ งพอเพยี ง
6. มุ่งม่นั ในการทำงาน
7. รกั ความเปน็ ไทย
8. มจี ิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตาม

บริบทและจุดเน้นของตนเอง
5. มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา

หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน จึงกำหนดใหผ้ ู้เรียนเรยี นรู้ 8 กล่มุ สาระการเรยี นรู้ ดังน้ี
1. ภาษาไทย
2. คณติ ศาสตร์
3. วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
4. สงั คมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม
5. สุขศกึ ษาและพลศึกษา
6. ศลิ ปะ
7. การงานอาชีพ
8. ภาษาตา่ งประเทศ

โรงเรียนองค์การบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศึกษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

6. ขอ้ มูลพ้นื ฐานโรงเรียนองค์การบรหิ ารสว่ นจังหวดั เชียงราย
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ถือกำเนิดจากนโยบาย ในการจัดการศึกษา

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนและประชาชนในจังหวัดเชียงราย ตามที่
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และ
ผา่ นการประเมนิ ความพรอ้ ม จากสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาเชียงรายเขตหนง่ึ กระทรวงศกึ ษาธิการ
ให้องค์การบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงราย สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ (โรงเรียนองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเชียงราย, 2554:3)

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นจากนโยบายในการจัดการศึกษา

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ตามที่

นางรัตนา จงสุทธนามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายในขณะนั้น แถลงไว้ต่อสภา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และผ่านการประเมินความพร้อมจากสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาเชียงรายเขต 1 กระทรวงศึกษาธิการให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สามารถ

จดั การศึกษาขน้ั พืน้ ฐานได้

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 มีครูจำนวน 12 คน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 126 คน
มีผู้บริหารสถานศึกษาคือ นายศราวุธ สุตะวงค์ โดยใช้อาคารศูนย์ส่งเสริมสาธิตและจำหน่ายสินค้า
พื้นเมือง (ข้างโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย) เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2550 ได้ย้าย
สถานที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ในบริเวณศูนย์บูรณาการการเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
(สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดสอนในระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จัดการเรียน
การสอน 3 โปรแกรมหลกั สูตร คือโปรแกรมวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และโปรแกรมกฬี า – ภาษา
ปัจจุบนั โรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดเชยี งรายได้ดำเนินการจดั การศึกษาตามแนวทางดงั นี้

วสิ ัยทศั น์
“โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มุ่งพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ
ใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานการศกึ ษากำหนด รู้เท่าทนั การเปลี่ยนแปลงของโลก ใชเ้ ทคโนโลยีเปน็ ส่ือสาร
ภาษาต่างประเทศได้ มีจติ สาธารณะ บนวิถีชีวิตท้องถิ่นล้านนา และกา้ วสคู่ วามเป็นสากลโลก”
พันธกจิ

1. จดั การศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน ระดบั ประถมศกึ ษา – มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 6
2. พฒั นาผเู้ รียนอยา่ งเตม็ ตามศักยภาพเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
3. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ใช้
เทคโนโลยเี ป็น และสามารถส่อื สารภาษาตา่ งประเทศได้
4. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักรู้ความเป็นท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม
ประเพณี วฒั นธรรม และกา้ วสกู่ ารแข่งขันบนเวทีโลกหรอื ความเปน็ สากล

โรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

5. พัฒนาผู้เรียนเพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทาง ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น อาทิ
ภาษาตา่ งประเทศ วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ เทคโนโลยี และกีฬาอาชีพ เป็นต้น

ยทุ ธศาสตร์การพฒั นา 5 ยทุ ธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ท่ี 1. การพัฒนาผเู้ รยี นส่มู าตรฐานการศึกษา และความเป็นสากล
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2. การพัฒนาครูสู่ครูมืออาชพี
ยุทธศาสตรท์ ี่ 3. การพัฒนาการบริหารจดั การศึกษา
ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นทีย่ อมรับและสูม่ าตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ท่ี 5. การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรพั ยากรมนุษย์

อตั ลักษณ์
“วิชาการเด่น เปน็ เลศิ ภาษา นำกฬี าสูส่ ากล พัฒนาความเปน็ มนษุ ยใ์ ห้สมบรู ณ์”

เอกลกั ษณ์
ให้ความรักกอ่ นให้ความรู้
สรา้ งคนดกี ่อนคนเก่ง
ใหโ้ อกาส เพ่ิมคณุ ภาพ เพือ่ อนาคตทดี่ กี วา่
1 โรงเรียน 3 หลักสตู ร 3 ช่วงช้ัน 13 โปรแกรมรายวิชา

แนวทางการจัดการศกึ ษา
1. ให้ความรกั กอ่ นใหค้ วามรู้
2. สรา้ งคนดกี ่อนคนเกง่
3. ใหโ้ อกาส เพม่ิ คณุ ภาพ เพื่ออนาคตทด่ี กี ว่า
4. สรา้ งคน สร้างชุมชน สรา้ งชาติ

7. แนวทางการบริหารจดั การหลักสตู รสถานศึกษาของสถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำส่ังใหใ้ ช้หลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พทุ ธศักราช

2551 ในโรงเรยี นต้นแบบและโรงเรยี นท่ีมีความพรอ้ มการใช้หลกั สตู ร ในปกี ารศึกษา 2552 และ
ใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ใช้แนวคิดหลักสูตร
อิงมาตรฐาน (Standard-based Curriculum) กล่าวคือ เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยในมาตรฐานการเรียนรู้ได้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และ
ปฏบิ ัติได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน เพ่อื ใหท้ กุ ภาคส่วนท่เี ก่ียวข้องในการจัดการศึกษาได้ยึดเป็น
แนวทางในการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานกา รเรียนรู้
ดังกล่าว ด้วยการดำเนินการบริหารจัดการอิงมาตรฐาน (Standard-based Administration)
การจดั การเรยี นรูท้ ี่มมี าตรฐานเปน็ เป้าหมาย (Standard-based Instruction) การวัดและประเมินผล
ท่ีสะทอ้ นมาตรฐาน (Standard-based Assessment) เพือ่ ให้กระบวนการนำหลักสตู รไปสู่การปฏิบัติ
เปน็ ไปอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐานจงึ ไดจ้ ดั ทำเอกสารประกอบ
หลักสูตรเพื่ออธิบายขยายความให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งระดับชาติ ท้องถิ่น และสถานศึกษา มีความ
เข้าใจท่ชี ัดเจน ตรงกัน รวมทัง้ ร่วมกันรบั ผดิ ชอบและทำงานรว่ มกนั อยา่ งเปน็ ระบบ

โรงเรียนองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสตู รสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

การบริหารจัดการหลักสูตร (Curriculum Administration) เป็นการบริหารงานที่มี
ขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายมิติ เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย และต้องอาศัยองค์ประกอบ
ปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ มากมาย เปรียบเสมือนการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับ
การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลใน
เอกสารฉบบั นี้จะเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญในเรื่องของการพฒั นาหลกั สูตร การสง่ เสริมสนบั สนุน และ
การกำกับ ดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรโดยนำเสนอให้เห็นภาพตลอดแนวตั้งแต่ระดับชาติ ระดับ
ท้องถิ่น และสถานศึกษา และจะเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับการดำเนินการในสถานศึกษาซึ่งถือเป็น
หน่วยงานสำคัญที่สุดในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติเอกสารฉบับนี้จะช่วยให้ ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเห็นแนวทางในการดำเนินงานในการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการส่งเสริม และดูแลด้านคุณภาพการจัดการศึกษาให้
บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของหลักสตู ร
การบริหารจัดการหลกั สูตรระดบั สถานศึกษา

สถานศึกษามภี ารกิจหลักในการจดั การศกึ ษา ใหผ้ ูเ้ รยี นได้รับการพัฒนาอย่างเตม็ ตาม
ศักยภาพ สถานศกึ ษาจงึ มีบทบาทสำคญั ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และดำเนินการนำหลกั สูตร
สู่การปฏิบัติในการจัดการเรยี นหารสอนในช้ันเรยี นอย่างมปี ระสิทธิภาพ โดยต้องสรา้ งความม่ันใจต่อ
พ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชนว่า ผู้เรียนจะมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด และเกิด
สมรรถนะสำคัญ ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เพื่อให้บรรลุ
เจตนารมณ์ ดังกล่าว สถานศกึ ษาจะตอ้ งออกแบบหลกั สูตรให้ครอบคลุมส่วนท่เี ป็นหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุถึงคุณภาพ
ตามมาตรฐาน อันเปน็ ความคาดหวังท่กี ำหนดไว้ร่วมกันในการพัฒนาเยาชนทุกคนในชาติ นอกจากนน้ั
หลักสูตรสถานศึกษายังต้องสอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการของชุมชน และท้องถ่ิน
เพอื่ พฒั นาใหผ้ ู้เรียนเป็นสมาชิกทีด่ ขี องชุมชน สามารถอยูใ่ นสงั คมแวดลอ้ มไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ และเกดิ
ความรักความผูกพันในบ้านเกิดเมืองนอน มีบทบาทในการร่วมพัฒนาชุมชนในการจัดการศึกษาให้
บรรลมุ รรคผลดังกล่าว นอกจากสถานศึกษาจะต้องพฒั นาหลักสูตร
ทคี่ รอบคลมุ ส่วนสำคัญดังกล่าวแลว้ ยงั ตอ้ งมกี ารบรหิ ารจดั การหลกั สตู รทีม่ ีประสิทธภิ าพ สถานศกึ ษา
ต้องมีการเตรียมวางแผนเพอื่ ใชห้ ลักสตู รใหม่ ผ้บู รหิ ารสถานศกึ ษาและคณะกรรมการสถานศึกษาจะ
ต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรใหม่ และเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร พิจารณาถึง
งบประมาณและอาคารสถานที่ว่าพอเพียงหรือไม่ การเตรียมบุคลากรเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรจะ
ดำเนินการโดยวิธีใด การวางแผนงานเพื่อใช้หลักสูตรอย่างละเอียดรอบคอบและมีขั้นตอน จะทำให้
การใช้หลกั สตู รประสบความสำเรจ็ ตามเป้าหมาย โรงเรียนควรมกี ารส่งเสรมิ สนับสนุนการนำหลักสตู ร
ไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะสม เนื่องจากสถานศึกษาแต่ละแห่งมีบริบทต่างกัน ความพร้อมต่างกัน
อีกทั้งมีความแตกต่างกันในด้านงบประมาณ ทรัพยากร สถานที่ และบุคลากร รวมทั้งผู้เรียนใน
สถานศึกษาแต่ละสถานศึกษาก็มาจากพื้นเพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมที่ต่างกัน มีความรู้
ความสามารถตลอดจนความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวางแผนในการบริหารจัดการหลักสูตร
จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวด้วยนอกจากนั้น สถานศึกษาจะต้องมี
การติดตาม ดูแลคุณภาพการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและครบ
โรงเรียนองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลักสูตรสถานศึกษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

วงจร และนำผลจากการติดตาม กำกับดูแลคุณภาพนั้นมาพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการ
เรียนร้ใู ห้มีคุณภาพและประสทิ ธภิ าพย่ิงขึ้น

แผนภาพ การบรหิ ารจดั การหลกั สตู รสถานศกึ ษา

การจดั ทำหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ

อาทิ ฝ่ายบริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยทั่วไปนั้นมีการดำเนินการใน 2 ส่วน คือ
1) การดำเนินการระดับสถานศึกษา: ดำเนินการโดยองค์คณะบุคคล ในระดับสถานศึกษา ได้แก่
คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ เพื่อพิจารณาจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบการวัดประเมินผลการเรียน
รวมท้ังพจิ ารณาเกย่ี วกับเอกสารบันทกึ และรายงานผลการเรยี น ซ่งึ ตอ้ งใช้ร่วมกนั ในสถานศกึ ษาน้ัน ๆ
2) การดำเนินการระดับชั้นเรียน: ดำเนินการโดยครูผู้สอนแต่ละคน ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
และจัดการเรียนการสอน เพ่ือใหส้ อดคล้อง เหมาะสมกับกบั ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ซ่ึงอาจมีความแตกต่าง
กัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ครูผู้สอนรายวิชาเดียวกัน ระดับชั้นเดียวกันอาจพิจารณาออกแบบ
หน่วยการเรียนรู้ที่แตกต่างกันได้ เพราะผู้เรียนที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบนั้นอาจมีความต้องการและ
ความสามารถแตกต่างกัน ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ หรืองานที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ สื่อการ
สอน หรือวธิ ีการวดั ประเมินผลอาจต้องปรบั ใหเ้ หมาะสมกบั ผ้เู รยี นแต่ละกลุ่ม

โรงเรียนองคก์ ารบริหารส่วนจงั หวดั เชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ขน้ั ตอนการจดั ทำหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยทั่วไปนั้นดำเนินการโดยคณะกรรมการ หรือ

คณะทำงานซ่ึงมีข้ันตอนการดำเนินการโดยสงั เขป ดงั น้ี
1. แต่งตั้งคณะกรรมการ/ คณะทำงาน: คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของ
สถานศึกษา ประกอบด้วย ผบู้ รหิ ารสถานศึกษา และครผู สู้ อน
2. วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ: มีแหล่งข้อมูลสำคัญมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา อาทิ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กรอบ
หลักสูตรระดับท้องถิ่น ข้อมูลจากการวิเคราะห์ สภาพ ปัญหา จุดเน้น ความต้องการของชุมชน และ
ของสถานศึกษาแตล่ ะแหง่ ตลอดจนความต้องการของผู้เรยี น
3. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา: พิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
(เวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) คำอธิบายรายวิชา และเกณฑ์การจบ
หลักสูตร พร้อมกันนี้สถานศึกษาจะต้องจัดทำเอกสารระเบียบการวัดผลประเมินผล เพื่อใช้ควบคู่กับ
หลักสตู รสถานศกึ ษา
4. คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ: นำเสนอร่างเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา
และระเบียบการวัดประเมินผล ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หากมี
ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ก็นำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพิจารณาปรับปรุงร่างหลักสูตร
สถานศกึ ษาให้มีความเหมาะสม ชัดเจนย่งิ ข้นึ กอ่ นการอนุมัติใช้หลักสูตร เมือ่ ได้รบั ความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว ให้จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่งเรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดย
ผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
5. ใช้หลกั สตู รสถานศกึ ษา: ครผู ู้สอนนำหลักสตู รสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวชิ าและ
ออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้เพือ่ พัฒนาผเู้ รยี นให้มคี ุณภาพตามเป้าหมาย
6. วิจัยและ ติดตามผลการใช้หลกั สตู ร: ดำเนินการตดิ ตามผลการใชห้ ลักสูตรอย่างต่อเนื่องเป็น
ระยะ ๆ เพือ่ นำผลจากการตดิ ตามมาใช้เป็นข้อมูลพจิ ารณาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพ และมีความ
เหมาะสมยงิ่ ข้ึน
องค์ประกอบสำคญั ของหลักสตู รสถานศึกษา

เอกสารหลักสูตรสถานศึกษาเป็นเอกสารสำคัญที่ครูจะใช้สำหรับการจัดทำหน่วยการ
เรียนรจู้ ัดการเรยี นการสอน และการประเมินผลเพ่ือพัฒนาผู้เรยี น ดังนนั้ เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา
ควรมีข้อมูลที่ชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่
1) ส่วนนำ : ข้อมูลในส่วนนี้ช่วยให้ครูผู้สอนทราบถึงเป้าหมายโดยรวมของสถานศึกษาในการพัฒนา
ผู้เรียน เช่น วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร
แกนกลาง เป็นตน้
2) โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา: เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาทีจ่ ัดสอนในแต่ละ
ป/ี ภาคเรยี น ซึ่งประกอบดว้ ยรายวิชาพืน้ ฐาน รายวชิ าเพ่ิมเตมิ กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี นพร้อมทั้งจำนวน
เวลาเรยี น หรือหน่วยกิตของรายวชิ าเหลา่ นัน้
โรงเรียนองค์การบรหิ ารสว่ นจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

3) คำอธิบายรายวชิ า: สว่ นน้เี ป็นรายละเอยี ดท่ีชว่ ยให้ทราบวา่ ผูเ้ รียนจะเรยี นรู้อะไรจากรายวิชานั้น ๆ
ในคำอธิบายรายวิชาจะประกอบด้วยรหัสวิชา ชื่อรายวิชา ประเภทรายวิชา (พื้นฐาน/เพิ่มเติม) กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ ระดับชั้นที่สอน พร้อมทั้งคำอธิบายให้ทราบว่าเมื่อเรียนรายวิชานั้นแล้วผู้เรียนจะมี
ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะหรือเจตคติอะไร ซึ่งอาจระบุให้ทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ หรือ
ประสบการณ์สำคญั ท่ผี ้เู รียนจะได้รับดว้ ยก็ได้
4) เกณฑ์การวัดประเมินผลและจบหลักสูตร: เป็นส่วนที่สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะจบ
การศึกษาในแต่ละระดับ โดยพัฒนาเกณฑ์ดงั กล่าวใหส้ อดคล้องสมั พันธก์ ับเกณฑ์การจบหลักสูตรตาม
หลกั สตู รแกนกลาง
การจดั รายวชิ า
ระดับประถมศกึ ษา
รายวิชาพืน้ ฐาน : การจดั รายวิชาพื้นฐานในระดบั ประถมศกึ ษาใหพ้ ิจารณาดำเนินการดงั นี้
- ให้สถานศึกษาจัดรายวิชาพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มละ 1 รายวิชาตอ่ ปยี กเวน้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กำหนดเป็นรายวิชา สังคมศึกษา และรายวิชา
ประวัติศาสตร์ โดยรายวชิ าประวตั ศิ าสตรใ์ ห้จัดการเรยี นการสอน 40 ชั่วโมงตอ่ ปี
- สถานศกึ ษาสามารถปรบั เวลาเรียนพื้นฐานของแตล่ ะกลุ่มสาระการเรยี นรู้ ได้ตามความเหมาะสมกับ
จุดเน้นของสถานศึกษา ทั้งนี้ เมื่อรวมเวลาเรียนของรายวิชาพื้นฐานทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว
ต้องมีเวลาเรียนรวม 840 ชั่วโมงต่อปีรายวิชาเพิ่มเติม: สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม
ตามความต้องการ โดยจัดเป็นรายปี ตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด และมีการกำหนดผลการ
เรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ เมื่อรวมเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนา
ผูเ้ รยี นแลว้ ไมเ่ กนิ 1,000 ชัว่ โมงต่อปี
ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้
รายวิชาพืน้ ฐาน : การจัดรายวิชาพนื้ ฐานในระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้นใหพ้ จิ ารณาดำเนินการดงั นี้
- สถานศึกษาสามารถจัดรายวิชาพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม ในแต่ละ
กล่มุ สาระการเรยี นรอู้ าจจดั ไดม้ ากกวา่ 1 รายวิชาในแตล่ ะภาค/ปี
- สถานศึกษาสามารถจัดรายวิชาพื้นฐานใน 1 ภาคเรียน ให้เรียนครบ/ ไม่ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ได้ แต่เมื่อจบหนึ่งปีการศึกษา สถานศึกษาต้องจัดให้เรียนรายวิชาพื้นฐานครบทั้ง 8 กลุ่มสาระ
การเรยี นรู้
- กำหนดให้ 1 รายวิชามีค่าน้ำหนัก ไม่น้อยกว่า 0.5 หน่วยกิต ( 1 หน่วยกิต คิดเป็น 40 ชั่วโมง/ภาค
เรียน) และเมื่อรวมจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว
ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศกั ราช 2551
- สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้จัดสาระประวัติศาสตร์เป็น
รายวชิ าเฉพาะ ภาคเรียนละ 1 รายวชิ า (0.5 หน่วยกิต) ทุกภาคเรียน รวม 6 รายวิชา (3.0 หน่วยกิต)
รายวิชาเพิ่มเติม: สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามความต้องการ โดยจัดเป็นรายภาค

โรงเรียนองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวัดเชยี งราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสตู รสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเปน็ เลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด และมีการกำหนดผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ เมื่อรวมเวลา
เรียนรายวิชาพืน้ ฐาน รายวชิ าเพ่ิมเติมและกจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี นแล้ว ไมเ่ กิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี
ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย
รายวิชาพื้นฐาน : การจัดรายวชิ าพืน้ ฐานในระดับมธั ยมศึกษาตอนปลายใหพ้ ิจารณา ดำเนินการดงั นี้
- สถานศึกษาสามารถจัดรายวิชาพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม ในแต่ละ
กลุ่มสาระการเรียนรู้อาจจัดได้มากกว่า 1 รายวิชา โดยภายใน 3 ปี ต้องครบทุกตัวชี้วัดที่กำหนดใน
กลุม่ สาระการเรียนรนู้ ้นั ๆ
- กำหนดให้ 1 รายวิชามีค่าน้ำหนัก ไม่น้อยกว่า 0.5 หน่วยกิต ( 1 หน่วยกิต คิดเป็น 40 ชั่วโมง/ภาค
เรียน) และเมื่อรวมจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว
ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
- สำหรับกลุ่มสาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ใหจ้ ัดรายวชิ าประวัติศาสตร์ให้ครบ
2 หน่วยกิต ภายใน 3 ปีรายวิชาเพิ่มเติม : สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมได้ตามความ
ตอ้ งการโดยจัดเป็นรายภาค และมีการกำหนดผลการเรยี นรู้ของรายวิชานน้ั ๆ ทงั้ น้เี ม่ือรวมเวลาเรียน
ของรายวิชาเพม่ิ เตมิ ทั้งหมดแลว้ สอดคล้องกับโครงสรา้ งเวลาเรยี นที่กำหนดไว้ในหลกั สูตรแกนกลาง
การศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551

8. หลกั สูตรสถานศกึ ษาโรงเรยี นองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดเชยี งราย
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ทันต่อการ

เปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษท่ี 21 เป็น 3 หลักสตู รคอื
1. หลักสูตร(พิเศษ)ภาษาอังกฤษ ( English Program: EP) เป็นหลักสูตร

ที่จัดกระบวนการเรียนการสอน โดยครูต่างชาติเจา้ ของภาษา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนในระดับปฐมวยั และ
ประถมศึกษา มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นประชากร
ในประชาคมอาเซียน สามารถนำไปใชใ้ นชีวิตประจำวนั และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงข้ึน
ภายใต้หลักการตน้ ทุนตำ่ ๆคณุ ภาพสงู

2. หลักสูตรปกติ ประกอบดว้ ยหอ้ งเรยี น ได้แก่
1. ห้องเรยี น (พเิ ศษ) เตรียมแพทย์-วิศวะ (Genius Science-Math : GSM)

เป็นห้องเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้รับการเรียนรู้
จากการปฏิบัติจริง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยด้านแพทยศาสตร์
และวิศวกรรมศาสตร์ได้

2. หอ้ งเรียน (พเิ ศษ) วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Talented Science-Math :
TSM) เป็นห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนเข้าเรียนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อเตรียม
ความพรอ้ มใหผ้ เู้ รียนท่ีมีความประสงค์เรยี นตอ่ ระดับมหาวทิ ยาลยั ดา้ นวิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ ในขนั้ สูงตอ่ ไป

โรงเรยี นองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนนิ การหลักสูตรสถานศกึ ษา ห้องเรยี นความเป็นเลศิ ทางดา้ นภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

3. หอ้ งเรียน (พิเศษ) เตรียมความพร้อมสู่ส่เี หล่าทัพ ( Pre – Cadet : PCD )
เป็นห้องเรียนที่เน้นผู้เรียนที่มีความต้องการ ใฝ่ฝันอยากมีวิชาชีพรับราชการ อาทิ ตำรวจ ทหาร
นักบิน หรือวิชาชีพทีต่ ้องมีระเบียบวินัย มีความรับผดิ ชอบสูง สามารถเป็นผูน้ ำองค์กรต่าง ๆ ได้อย่าง
มคี ณุ ภาพ

4. หอ้ งเรียน (พเิ ศษ) ความเป็นเลิศทางด้านภาษาองั กฤษ (Talented English
Program: TEP) เป็นห้องเรียนที่เน้นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้สามารถเลือกเรียนต่อ และ
ทำงานอย่างหลากหลาย โดยมีความถนัดโดดเด่นด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษและเรียนจาก
ประสบการณ์จรงิ ในตา่ งประเทศได้ตามความถนดั อย่างมีคุณภาพ

5. ห้องเรียน (พเิ ศษ) ความเปน็ เลศิ ทางด้านภาษาจนี (Talented Chinese
Program: TCP) เป็นห้องเรียนท่ีเน้นภาษาจีน เพื่อเตรียมผู้เรียนใหส้ ามารถเลือกเรียนต่อ และทำงาน
อยา่ งหลากหลาย โดยมีความถนัดโดดเดน่ ด้านการส่ือสารภาษาจีนและแลกเปลีย่ นตา่ งประเทศได้ตาม
ความถนดั อย่างมีคณุ ภาพ

6. ห้องเรียนทว่ั ไป (Talented General : TGP) เปน็ หอ้ งเรยี นที่เน้นใหผ้ เู้ รียน
ได้รับความรู้และเติมเต็มในส่วนที่นักเรียนสนใจ เพื่อเตรียมผู้เรียนสำหรับการเรียนต่อหลากหลาย
สาขาตามความถนัดและศักยภาพ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นพบอัจฉริยภาพของตนเองและส่งเสริม
สนับสนุนใหพ้ ฒั นาไดเ้ ตม็ ศกั ยภาพ

7. หอ้ งเรยี นผนู้ ำแหง่ การพัฒนา (Citizen Empowerment Program : CEP)
เปน็ ห้องเรียนท่เี นน้ ให้ผู้เรียนได้รับโอกาสและพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ โรงเรียนให้ความรัก
ความสำคัญกบั ผูเ้ รียน สร้างทางเลือกท่ีหลากหลายกระตุ้นและสร้างแรงบนั ดาลใจให้กับผู้เรียน ก้าวสู่
เป้าหมายของชวี ติ อยา่ งมีความสุข ให้ได้เรยี นและจดั การศึกษาสร้างผนู้ ำแห่งการพัฒนาในอนาคต

8. ห้องเรียนความเป็นเลิศดา้ นธรุ กจิ คา้ ปลกี ( Retail Management Program

: RMP) เป็นห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ

มีความรู้ มีรายได้ระหว่างเรียน และเข้าใจในชีวิตมีทางเลือกในอนาคต สามารถทำงานในเครือ CP

หรอื เรียนตอ่ ปริญญาตรี ปรญิ ญาโท พรอ้ มทุนเรยี นฟรตี ามเง่อื นไขทก่ี ำหนด

9. หอ้ งเรยี นความเป็นเลิศด้านดนตรี ศลิ ปะ และการแสดง ( Performing Arts

Program: PAP) เป็นห้องเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศในด้านดนตรี ศิลปะ และการแสดง

สามารถปฏิบัติได้จริง กล้าแสดงออก และนำความสามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน ภายใต้หลักคิด

ไดค้ วามรู้ ไดเ้ กรด ไดง้ าน

10. หอ้ งเรียนเตรียมคุรทุ ายาท ( Pre – Educator Program : PEP )

เป็นห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนที่มีความสนใจ และรักที่จะประกอบอาชีพครูซึ่งจะได้รับการปลูกฝัง

“จิตวิญญาณความเป็นครู” ตั้งแต่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดการเรียนการสอนเน้น

ทางด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมผู้เรียนที่มีความประสงค์เข้าเรียนในสาขาการศึกษา

โรงเรียนองคก์ ารบริหารส่วนจงั หวัดเชียงราย

รายงานผลการดำเนินการหลกั สูตรสถานศกึ ษา หอ้ งเรยี นความเป็นเลิศทางด้านภาษาจนี (Talented
Chinese Program : TCP)

ในวิชาเอกที่นักเรียนสนใจ เรียนรู้จริง ฝึกประสบการณ์จริง มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีกิจกรรม โครงการ
ทีผ่ ูเ้ รียนมสี ่วนร่วมเปน็ การสานฝนั ให้เป็นจริงและก้าวสู่ “ครูมอื อาชพี ”ในอนาคตต่อไป

11. หอ้ งเรยี นเตรยี มพาณชิ ย์นาวี (Merchant Marine Program : MMP )
ห้องเรียนเตรียมพาณิชย์นาวี เป็นห้องเรียนที่ส่งเสริมและเตรียมความพร้อมของผู้เรียนในด้านทักษะ
การเดินเรือทางทะเล โดยแยกเป็น 2 สาขาคือ สาขานายประจำเรือ และสาขาพนักงานประจำเรือ
พาณชิ ย์/เรอื สำราญ

12. หอ้ งเรียนการจดั การครัวและศลิ ปะการประกอบอาหาร ( Smart Chef
Program: SCP) เป็นหลักสตู รทีม่ ุ่งหวงั ให้ผเู้ รยี น มีความรพู้ ื้นฐานตามแบบผเู้ รียนในระดบั มัธยมศึกษา
และมีความรู้ด้านการประกอบอาหารมีทักษะในการประกอบอาหาร และบริการ อีกทั้งยังมีการฝึก
ประสบการณ์จริงกับสถานประกอบการและผู้ประกอบการในจังหวดั เพื่อเปน็ การศกึ ษาเรียนรู้จากผู้มี
ความรดู้ ้านอาหารอยา่ งจรงิ จัง

3. หลักสูตรอัจฉริยภาพทางด้านกีฬา (Excellent Sport: E – Sport) ประกอบด้วย
ห้องเรียน ได้แก่

1. ห้องเรียนอัจฉริยภาพทางด้านกีฬา (Excellent Sport : E – Sport)
เป็นห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นอัจฉริยภาพด้านกีฬา พัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศ
ด้านกีฬาต้นแบบ 4 ประเภท คือ ฟุตบอล แฮนด์บอล กรีฑา และวอลเล่ย์บอล เพื่อพัฒนาให้เป็น
นักกีฬาระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ (ทีมชาติ) และก้าวไปสู่การเป็นนักกฬี าอาชีพมีรายได้
ระดบั สูง โดยมโี คช้ หรอื ผูฝ้ ึกสอนระดบั ประเทศ

(วิชัย วงษ์ใหญ่ 2552 : 1 ) ได้กล่าวไว้ว่าแนวคิดหลักการบริหารหลกั สตู รควรมีการทำความ
เข้าใจและใหค้ วามสำคัญกับการบรหิ ารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกตอ้ งถือเป็นเครื่องมอื
ที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยมีหลักและแนวคิดที่สำคัญ 9
ประการ ดังนี้

1. การวางแผนงานหลักสูตร ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ทุกโรงเรียนจะมีทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรเก่า หลักสำคัญในการบริหารหลักสูตร
คือจะต้องทำให้ผู้เรียนสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนหลักสูตร
ให้น้อยและสั้นที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องจัดระบบให้ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน
และตระเตรยี มทุกอย่างใหพ้ ร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

2. การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารหลักสูตร
ระบบข้อมูลโรงเรียนประกอบดว้ ยข้อมูลตา่ งๆ ดงั นี้

1. หลกั สตู ร - ระบบการสรา้ งหลักสตู ร การบริหารหลกั สูตร และการประเมินผล
2. การบริหารจัดการ - มขี ้อมูลดา้ นผูเ้ รยี น ผูส้ อน วา่ มคี วามพร้อมหรือไม่เพียงใด
3. ระบบขอ้ มูล - ครอู าจารย์ นกั เรยี น บุคลากร ผ้รู ู้ในชมุ ชน อาชพี ในพ้ืนที่

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจงั หวดั เชียงราย


Click to View FlipBook Version