The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศิลปวัฒนวิจักษ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by artsandculturensru, 2023-08-07 22:46:01

ศิลปวัฒนวิจักษ์

ศิลปวัฒนวิจักษ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖

ช่ื่อหนังสือ ศิลปวัฒนวิจักษ์ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม กองบรรณาธิการ รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์ รองผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร รองผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชุณษิตา นาคภพ รองผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เพียงพิศ ชะโกทอง ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม จัดพิมพ์และสงวนสิทธิ์โดย สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๓๙๘ หมู่ ๙ ถนนสวรรค์วิถีตำ�บลนครสวรรค์ตก อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์๖๐๐๐๐ พิมพ์ที่ หจก. วิสุทธิ์การพิมพ์๑๙๖๙ ๑


คำ�นำ� สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการ ขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นในการพัฒนา ท้องถิ่น โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำ�คัญ คือ ส่งเสริมการค้นคว้า รวบรวมองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลป วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สาธารณชน ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ที่มุ่งเน้นให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบในรูปแบบ ของเอกสารทางวิชาการ และได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเยาวชนและประชาชน ผู้สนใจ ทั้งในท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ หนังสือ “ศิลปวัฒนวิจักษ์” เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่รวบรวม ค้นคว้า และเรียบเรียงข้อมูลทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยบุคลากรจาก หลากหลายหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ทั้งบุคลากรสายสนับสนุนและบุคลากรสายวิชา เพื่อเผยแพร่ องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษางานด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับทั้งความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ นำ�ความรู้จากหนังสือเล่มนี้ ไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านสำ�หรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และ ความร่วมมือในการดำ�เนินงานด้านการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการสืบสานงานด้านศิลปะและ วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๒


สารบัญ ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่นสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ เพียงพิศ ชะโกทอง พลิกโฉมศิลปวัฒนธรรมสู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ศิลป์ยุคใหม่ รพีพัฒน์มั่นพรม มอญในนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๙ สุธาสินีรอดนิ่ม พิมพ์อุมา ธัญธนกุล ของกิน...(นครสวรรค์) อันเนื่องมาจาก “ข้าว” ปริญญา จั่นเจริญ “ระบำ ภูษานาฏราชชนนี” : แนวคิดการแสดงและการเรียบเรียงดนตรี วรรณวลีคำ�พันธ์ เรียงร้อย ถ้อยเพลงจีน - ไทย สานอดีตสู่ความร่วมสมัยด้วยดนตรี ชัชชญา กัญจา ๔ ๑๖ ๓๑ ๔๔ ๕๓ ๗๑ ๓


ผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาในปัจจุบันมุ่งเน้นทางการตลาดมากกว่าจิตวิญญาณ ทำ�ให้งานขาดเสน่ห์ ของความเป็นชุมชนชนบท วัฒนธรรมประเพณีและธรรมชาติซึ่งคนเมืองใหญ่มีความต้องการและโหยหาอดีต อยากไปสัมผัส จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันมีความคล้ายคลึง และรูปแบบที่เหมือนกัน ถ้าผลิตภัณฑ์ สามารถดึง “เรื่องราว” และบริบทที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ ก็จะแก้ปัญหาความซํ้าซากและ การลอกเลียนแบบกันไปได้มาก เพราะไม่มีชุมชนใดหรือท้องถิ่นใดที่มีความเหมือนกันในทุกด้าน แต่ละที่ ย่อมมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นทำ�ให้ท้องถิ่นสามารถสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับชุมชน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม (พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์(องค์การมหาชน), ๒๕๖๑) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ประกอบด้วย ๑๕ สาขา คือ ๑) งานฝีมือและหัตถกรรม ๒) ดนตรี๓) ศิลปะการแสดง ๔) ทัศนศิลป์๕) ภาพยนตร์๖) การแพร่ภาพและกระจายเสียง ๗) การพิมพ์ ๘) ซอฟต์แวร์๙)การโฆษณา ๑๐)การออกแบบ ๑๑)การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม ๑๒) แฟชั่น ๑๓)อาหารไทย ๑๔) การแพทย์แผนไทย ๑๕) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่ น สรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ เพียงพิศ ชะโกทอง ภาพที่ ๑ การจำ�แนกกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ๔


ภาพที่ ๒ หวีงาช้าง ชุมชนจันเสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มนํ้าเจ้าพระยา บริเวณเมืองโบราณนี้ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำ�นวนมาก หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันถึง ประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชน สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่น นำ�ไปสู่ความร่วมไม้ ร่วมมือของคนในชุมชนในการช่วยกันเก็บรักษาสิ่งของ และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้คนทั่วไปได้ทราบ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ ออกแบบจากเรื่ องราวทางประวัติศาสตร์, ความเชื่ อ, ความศรัทธา, เรื่ องเล่า, ศิลปกรรม, วัฒนธรรม และประเพณี จาก ๒ ชุมชน หลักฐานทางโบราณวัตถุที่ ค้นพบของชุมชนจันเสน ๕


ในดินแดนไทย พบหลักฐานหวีที่เก่าที่สุดในขณะนี้ เป็นหวีทำ�มาจากงาช้างที่นำ�เข้ามาจากอินเดีย พบที่เมืองโบราณจันเสน อำ�เภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒ เมื่อตรวจสอบอายุของหวี ปรากฎว่ามีอายุถึง ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว สภาพของหวีนั้นชำ�รุดแตกหักตรงบริเวณซี่และด้านบนมีการทำ�ภาพสลัก อยู่ทั้ง ๒ ด้าน ลวดลายที่ทำ�นั้น มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า ลวดลายนั้นเปรียบเทียบได้กับศิลปะอินเดียภาคใต้ แบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๘) ส่วนลวดลายนั้นแบ่งเป็น ๒ ด้าน ด้านหนึ่งเป็นรูปหงส์ อีกด้าน จะแบ่งเป็นลาย ๒ แถว ด้านบนเป็นสัญลักษณ์มงคล ๘ อย่างตามคติอินเดีย โดยเรียงลำ�ดับจากซ้ายมาขวา ดังนี้ พระอาทิตย์ (หรือพระจันทร์) หม้อปูรณฆฏะ รวงผึ้ง ศรีวัตสะ ฉัตร สังข์ แส้จามร และพระจันทร์ (หรือพระอาทิตย์) และมีลายรูปม้าอยู่ด้านล่าง (รุ่งโรจน์ธรรมรุ่งเรือง.๒๕๕๖) ภาพที่ ๓ หวีงาช้าง ๖


จากลวดลายที่เกิดจากโบราณวัตถุที่เกิดในสมัยทวาราวดี นำ�มาลวดลายที่แสดงถึงความมงคล นำ�มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนัง และของที่ระลึกในสร้างรายได้ให้กับชุมชน ที่มาของลวดลายนำ�มาออกแบบ เป็นลวดลายที่เกิดขึ้นในสมัย พ.ศ. ๕๔๓ - ๗๙๓ อยู่บนหวี มีการ ตกแต่งด้วยลายสลักอย่างงดงาม เป็นหงส์ซึ่งมีขนเป็นลายคล้ายดอกไม้ทำ�อย่างวิจิตร เป็นแบบอมราวดี นักวิชาการสันนิษฐานว่า ผู้ที่ใช้ลายนี้ก็จะเกิดความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง หรืออาจจะใช้ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา ขุดพบที่ตำ�บลตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ ภาพที่ ๔ กระเป๋าหนังใส่เอกสาร ๗


ลวดลายนี้เกิดขึ้นระยะที่ ๕ (พ.ศ. ๑๑๙๓ - ๑๓๑๘) อยู่บนเครื่องปั้นดินเผา เดิมเป็นไหตบแต่ง ลวดลายที่ประทับลงไป ลวดลายที่มาใช้ออกแบบ กระเป๋าสตางค์เป็นนักรบกำ�ลังวิ่ง ลวดลายเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับทางด้านศาสนา หรือทางโลก พบที่ จันเสน และลพบุรีเท่านั้น ที่ค้นพบที่จันเสนจะมี ความเก่าแก่มากกว่าลพบุรี ลวดลายนี้เกิดขึ้นระยะที่ ๕ (พ.ศ. ๑๑๙๓ - ๑๓๑๘) อยู่บนเครื่องปั้นดินเผา เดิมเป็นไหตบแต่ง ลวดลายที่ประทับลงไป ลวดลายที่มาใช้ออกแบบ พวงกุญแจเป็นรูปสิงโต เป็นเครื่องหมายของความ รุ่งเรืองและความมียศถาบรรดาศักดิ์ยังมีอำ�นาจขจัด ปีศาจและสิ่งชั่วร้ายทั้งช่วยให้มีฐานะและชื่อเสียง สิงโตช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายที่เข้ามาสู่ภายในบ้าน ช่วยคุ้มครองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากการรบกวน ของภูตผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำ�และคนพาล และจะ ช่วยหนุนส่งวาสนาให้รุ่งเรืองขึ้นด้วย ลวดลายมีความ เป็นสิริมงคลต่อตนเอง หรืออาจจะใช้ประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาเกี่ยวข้องกับทางด้านศาสนา ภาพที่ ๕ กระเป๋าหนังใส่เงิน ภาพที่ ๖ พวงกุญแจหนัง ๘


เพื่อให้ลวดลายศิลปะโบราณที่ถูกขุดพบขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ ไม่เกิดการสูญหาย ได้นำ�ต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยพัฒนาคลี่คลายลวดลาย สร้างสรรค์ผลงาน ลงบนกระเป๋าหนัง ที่มีความทนทานอยู่นานจนถึง ๑๐-๑๕ ปีการใช้สีหนังโทนอิฐเป็นสีเครื่องปั้นดินเผาที่ถูก ค้นพบให้สอดคล้องกับภาชนะดินเผาซึ่งส่วนมากแข็งแกร่ง และมีสีดำ� บางชิ้นมีสีสด และเป็นมัน (สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีนํ้าตาล) ชุมชนเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน ในเขต อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ชุมชนเกาะหงษ์มีความเก่าแก่ มากกว่า ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยา มีเรื่องเล่าชื่อเกาะหงส์ ๒ เรื่องเล่าดังนี้ ภาพที่ ๗ เสาหินรูปหงส์สัญลักษณ์ของชุมชน เรื่องเล่าเรื่องแรก มีเสาหงส์ตั้งอยู่บริเวณ ริมแม่นํ้า ชาวบ้านสมัยก่อนใช้การเดินทางสัญจร ทางเรือ เมื่อมาถึงบริเวณวัดได้เห็นเสาหงส์ที่เป็นหิน ลอยไปบนอากาศ มีความตกใจก็มีเสียงออกมาว่า เหาะหงส์เมื่อลอยเรือผ่านมาถึงบริเวณวัดจึงเรียกว่า วัดเหาะหงส์จึงเพี้ยนมาเป็นวัดเกาะหงษ์ เช่นเดียวกับ ปากนํ้าโผล่ เป็นปากนํ้าโพ เรื่องเล่าเรื่องที่สอง ทำ�ไมชื่อว่าวัดเกาะหงส์ เพราะว่าภูมิประเทศมีเกาะกลางนํ้า มีต้นภู่ระหงษ์ อยู่ที่หลังเกาะ อีกตำ�นานหนึ่ง จึงชื่อว่าวัดเกาะหงษ์ เพราะมีต้นภู่ระหงษ์ เนื่องจากวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนในชุมชน จึงเรียกชุมชนแถวนี้ว่าชุมชน เกาะหงส์ ๙


ภาพที่ ๘ โค้งนํ้าเมื่อล่องเรือขึ้นมาจากกรุงเทพ สถานที่ สําคัญ วัดเกาะหงษ์เป็นวัดเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปีตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยา ตั้งในปีพ.ศ. ๒๓๓๖ ยังคงเหลือ สถาปัตยกรรมที่สำ�คัญคือวิหาร (โบสถ์เก่า) ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนปลาย -รัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายใน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุมหลายองค์เขียนต่อเนื่องกันไปแบบงานจิตรกรรมสมัยอยุธยา ลักษณะ ฝีมือช่างหลวง มีหน้าบรรณ ปั้นลวดลายของปูนปั้นโบราณ ยักษ์เล็กพระ อีกด้านหนึ่งก็เป็นเป็นหน้าบรรณ เรื่องราวของนารายทรงครุฑ หรือนารายทรงสุบรรณ ฝีมีการปั้นคนโบราณ โดยจะใช้แกะเป็นไม้ก่อน แล้วจึง ทำ�เป็นโครงร่าง แกะสลักไม้แล้วเอาปูนไปเผาเป็นปูนปั้น แล้วก็ยกขึ้นไปติดที่จั่ว ดังนั้น โบราณสถานที่นี้ถือว่า เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่สำ�คัญ ในหนังสือได้บันทึกว่าโบสก์หลังนี้สร้างเมื่อ ค.ศ. 1155 แต่ถ้าเปรียบเป็น พ.ศ. ไปตรงกับ พ.ศ. 2336 สร้างหลังเสียกรุงศรีอยุธยาโบสก์หลังนี้ดังนั้นเราจะเห็นว่ารูปทรงต่างๆของโบสถ์ หลังนี้เป็นรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะว่ามีเรื่องราวรามเกียรติ์มาเกี่ยวข้องด้วย ทรงโบสถ์ก็เป็นอยุธยา เป็นโบสถ์เสากลม อีกด้านหนึ่งทางประตูเข้าทิศตะวันตกก็จะเป็น ด้านประตูทางเข้ารอยพระพุทธบาท ๔ รอย ๑๐


ปั้นติดผนังโบสถ์นับว่าเป็นโบสก์ที่ไม่มีโบสถ์ที่ไหนทำ�เรื่องของปั้นพระพุทธบาท ๔ รอย ทว่าที่นี้เป็นหลังแรก ของนครสวรรค์ ส่วนมากการปั้นพระบาท ๔ รอยติดผนังโบสถ์ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าที่ไหนมีรอยพระบาท ที่นั่นพระพุทธองค์หรือศาสนาพุทธ ได้เสด็จลงมาสอนศาสนาแล้ว ดังนั้นจะเข้าโบสถ์หลังนี้ต้องเข้าด้านตะวันตก ปิดทองรอยพระบาทแล้วจึงเข้ามาไหว้พระจึงเห็นว่ารอบ ๆ โบสถ์จะมีโบราณสถานที่สำ�คัญเช่น เจดีย์การปั้น แบบโบราณที่หน้าบรรณ แล้วก็ภาพเขียนสีที่โบสถ์คือ ดาวเพดาน เป็นสีฝุ่นแบบโบราณ แล้วจะรู้ได้ว่าโบสถ์ หลังนี้เป็นสมัยอยุธยาตอนต้นหรือตอนปลายให้สังเกตจากสีที่ใช้กัน ถ้าเราเจอสีที่รูปวาดเพียง ๓ สีเป็นอยุธยา ตอนต้น ถ้ามันมากกว่า ๓ สีมันคืออยุธยาตอนปลาย โบสถ์หลังนี้เป็นอยุธยาตอนปลาย มันประมาน ๗ สี ที่เขียนฝาผนัง ดูอีกอย่างก็คือ รูอิฐ ถ้ากว้างประมาน ๑ คืบ ยาว ๑ ศอก อิฐอยุธยาตอนปลาย ในโบสก์หลังนี้ ก็ปูพื้นให้อิฐอยุธยา อิฐดินเผา โบสก์หลังนี้ได้บูรณะในปี๒๕๔๘ จากเรื่องเล่าของชุมชน และลวดลายจิตรกรรมบนเพดาน นำ�แนวคิดมาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับ สถานการณ์covid ๑๙ เป็นผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยทำ�มาจากผ้าโดยให้ชุมชนเป็นผู้ผลิตสร้างรายได้ให้กับ ชุมชน แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนได้เป็นอย่างดี ภาพที่ ๙ หน้ากากผ้าลายหงส์ ๑๑


กล้วยของในชุมชน จะปลูกกล้วยเป็นฤดูพอ ๖ เดือนตกเครือ ๘ เดือนจะตัดเรียกการปลูกกล้วยนี้ว่า “การปลูกปี” ปีก็คือช่วงพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์เป็นช่วง ปลูกกล้วย มีนาเป็นช่วงปลูก พอเสร็จเรียบร้อยก็มีเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน จะรอนํ้า เสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องให้ตกเครือภายใน ๖ เดือน ๖ เดือนแล้วจะตกเครือเสร็จเรียบร้อยอีก ๔๕ วันก็จะตัดกล้วยได้เมื่อก่อนนํ้าจะท่วมทำ�ให้กล้วยโดน แช่นํ้า เนื่องจากพื้นที่ชุมชนจะมีนํ้าล้อมรอบเป็นแม่นํ้าเจ้าพระยา ปลูกกันมาเป็นร้อยปี นอกจากนั้นกล้วยยังสามารถนำ�มาทำ�แกงหยวกใช้นํ้าพริกแกงเผ็ด ปลาย่าง ปลาย่างแล้วเอามาตำ� ตำ�ๆแล้วเอานํ้าพริกไปผัดกับกะทิให้มันหอม ต้มหยวกให้มันยุ่ยต้มหยวกเสร็จนำ�มาแกง แกงเสร็จเรียบร้อย พอสุก นำ�ใบชะพลูที่เราหั่นฝอยไว้ชะอมที่เราหั่นใส่ลงไปในแกงรสชาดกินเหมือนประเภทแกงคั่วหอย หอยขม การปลูกกล้วย ส่วนใหญ่เมื่อก่อนนี้การดำ�รงอยู่ของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ถ้าเดินทางไปนครสวรรค์ไปตลาดปากนา้ํ โพ ต้องไปทางเรือ มีเรือโดยสาร มาจากทางท่าซุดโกรกพระ ส่วนมากจะขายของผลไม้พืชผลที่จะไปขายที่ตลาด ปากนํ้าโพก็จะรอเรือ เรือมารับ ถ้าไปเช้ามืดจะจุดจะเทียนไว้ที่หัวสะพาน สะพานไม้ เรือโดยสารมาเห็น ตะเกียงมีไฟก็จะหยุด รับไป การเดินทาง ไม่มีทางรถอย่างนี้ภูมิศาสตร์ของตำ�บลตะเคียนเลื่อน เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ถึงฤดูนํ้ามาเนี่ย นํ้าท่วมประมาณเดือน ๑๐ ส่วนนํ้าท่วมจะเกิน ๕๐% นํ้าท่วม ผ่านตามสนองลำ�คลอง ช่วงนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ว่างก็จะไปเล่นเรือซ้อมเรือที่นี่การทำ�มาหากิน บ้านเกาะหงษ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทอเสื่อหวาย เสื่อคอมเสื่อยาว เสื่อเล็ก ก็ออกขายทั่วไป เป็นเสื่อหวาย โดยใช้ปอ หวายโดย หวายใช้โขม หวายนํ้า มาใช้ เป็นวัสดุ เนื่องจากปัจจุบันวัสดุหายาก ไปอยู่เขตป่าสงวนหวงห้าม จึงไม่ได้ทำ�กันมีบางพื้นที่ ยังหลงเหลือ อยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ทำ�เป็นอาชีพ พื้นเพเมื่อก่อนเนี้ย จะทอเสื่อไว้กันเกือบทุกบ้าน ที่นี่ยังมีภูมิปัญญา ช่างฝีมือ ช่างเฟอร์นิเจอร์ช่างไม้เครื่องเรือน ช่างต่อเรือ บ้านที่อยู่ริมแม่นํ้า ผู้คนจะมากหน่อยก็จะไม่ไปทำ�ไร่ ทำ�สวน ก็จะประกอบอาชีพทำ�เครื่องไม้เครื่องเรือน ช่างฝีมือส่วนใหญ่ ที่บ้านเเกาะหงษ์เดิมเลยรุ่นปู่รุ่นคุณพ่อ ก็จะเป็นช่างทำ�เรือ ฟันเรือทำ�เรือจากกำ�แพง ลองมาขายคนอยุธยามาซื้อ ซื้อเรือนี่ไปใช้เรือหมูที่นี่ไปใช้ดั้งเดิม ที่มาของการขุดเรือยาว ทำ�เรือ นอกจากภูมิปัญญาทำ�เรือขุดเรือ ทอเสื่อหวาย ช่วงปัจจุบันนี้ อาชีพช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ก็ยังมีอยู่ มีอยู่หลายๆแห่งหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ หมู่บ้าน ก็ยังรับทำ�เฟอร์นิเจอร์เครื่องไม้ เครื่องมืออยู่ อาชีพหลักของชาวบ้านปัจจุบัน อาชีพทำ�กล้วยไข่ ผลไม้ก็มีเป็น กระท้อนมะม่วง ขนุนมะนาว ส้ม บางส่วนมีมังคุด ที่นี่มีที่มากสุดก็จะเป็นกล้วยไข่ กล้วยไข่ผักชีข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแป้ง กล้วยไข่ที่นี่ จะขึ้นชื่อ มากด้วยความสวย ความสวยดินดีนํ้าดีสมบูรณ์ลูกจะสวย ประกอบอาชีพกันมาทุกหมู่บ้าน พื้นที่ กล้วยไข่จะมีมากกว่าพืชผลชนิดอื่น การทำ�มาหากินความเป็นอยู่ วิถีชีวิตชุมชน ๑๒


จากวิถีชีวิตชุมชนของคนในชุมชนเป็นช่างฝีมือ และมีการปลูกหวายนํ้าแต่ได้เกิดการสูญหาย ไม่มีคนในชุมชนปลูก จึงนำ วัสดุหวายมาออกแบบเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนกลับมาปลูกและ อนุรักษ์หวายนํ้าอีกครั้ง จึงทำ ต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ชุมชนเห็นคุณค่าว่าสามารถนำ ไปขายเสริมสร้าง รายได้อีกทางหนึ่ง แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน การออกแบบกระเป๋าให้ต้องคำ นึงถึงรูปแบบ สีสันสวยงาม น่าใช้ ตรงตามรสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม ภาพที่ ๑๐ กระเป๋าสตางค์จากวัสดุหวายนํ้า ภาพที่ ๑๑ กระเป๋าถือจากวัสดุหวายนํ้า ภาพที่ ๑๒ กระเป๋าถือจากวัสดุหวายนํ้า ๑๓


ผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งชนิดที่เกิดจากวิถีชุมชน เนื่องจากชุมชนมีอาชีพปลูกกล้วยและนำ�ผลผลิตมาขาย แต่ประโยชน์ของต้นกล้วยมีหลากหลายสามารถนำ�มาใช้ให้เกิดคุณค่าทุกส่วนของต้นกล้วย จึงนำ�มาทำ�เป็น กระดาษใยกล้วย และเชือกจากต้นกล้วย นำ�มาทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายประเภท จากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเรื่องราวของท้องถิ่น ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้บริโภคต้องการซื้อ และยังให้เห็นความเป็นมาของชุมชน ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมา มีคุณค่า ไม่เกิดการลอกเลียนแบบ เพราะแต่ละชุมชนมีเอกลักษณ์ของตนเอง ทำ�ให้เห็นจิตวิญาณของชุมชน ที่สามารถสืบสานภูมิปัญญา และพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับชีวิตประจำ�วัน จะทำ�ให้ประวัติศาสตร์วิถีชุมชนท้องถิ่น ภูมิปัญญา และประเพณีวัฒนธรรมไม่สูญสิ้นไป ภาพที่ ๑๓ สมุดจากกระดาษเยื่อกล้วย ๑๔


เอกสารอ้างอิง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. (๒๕๒๗). นครสวรรค์ ; รัฐกึ่งกลาง. นครสวรรค์: วิทยาลัยครูนครสวรรค์ รุ่งโรจน์ธรรมรุ่งเรือง. (๒๕๕๖). มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. กรุงเทพ : มิวเซียมเพรส สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (๒๕๖๕). ความเป็นมา. สืบค้น ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖, จาก https://www.cea.or.th/th/ ๑๕


พลิกโฉมศิลปวัฒนธรรม สู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ศิลป์ ยุคใหม่ รพีพัฒน์มั่นพรม การสร้างสรรค์งานพาณิชย์ศิลป์เพื่อต่อยอดศิลปวัฒนธรรม จำ�เป็นต้องอาศัยแนวคิดในการออกแบบ และการประยุกต์ให้เข้ากับกลุ่มผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้าง คุณค่าและตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภค เกิดแรงดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้เกิดความต้องการในการ ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญา การทำ�งานด้านออกแบบที่เกิดการ ระดมความคิด และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทุกภาคส่วนและไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือกระบวนการผลิต ที่จะนำ�ไปสู่ความสูญสิ้นอัตลักษณ์หรือคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม จะช่วยให้ชุมชนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นมองภาพรวมของเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน มีกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การทำ�งานด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ออกแบบควรศึกษาความเป็นมา รูปแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม การเก็บข้อมูลทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติซึ่งมีความจำ�เป็นอย่างยิ่ง จะทำ�ให้เกิดประสบการณ์จากทักษะจากการเห็น การลงมือทํา เกิดความจดจำ�รูปร่าง รูปทรงที่เกิดขึ้น คือ สุนทรียภาพ เมื่อเกิดการชอบ ความงาม ในภูมิปัญญาท้องถิ่น ก็จะทำ�ให้เกิดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงาน (อรัญ วานิชกร, ๒๕๕๙) ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือความรู้ แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิปัญญา นักออกแบบควรมีการลงพื้นที่และมีส่วนร่วม กับชุมชนและคลุกคลีฝังตัวในระดับที่สามารถทำ�ได้เช่น การสังเกตการณ์วัสดุท้องถิ่น การปฏิบัติการของช่าง การศึกษาความเป็นมาวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องว่าเพราะอะไรช่างถึงได้ทำ�รูปแบบชิ้นงานแบบนี้ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ศึกษา (พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์, ๒๕๖๒ : ๑๘๓) ความคิดทางการสร้างสรรค์ การออกแบบและพัฒนา เพื่อค้นหาความแตกต่างของท้องถิ่นนิยมหรือ “ท้องถิ่นภิวัตน์” จึงเป็นเรื่องท้าทายเพื่อนำ�เสนอสินค้าและงานบริการกับตลาดที่นักออกแบบไม่เคยสัมผัส มาก่อน ซึ่งนอกจากสาระสำ�คัญสำ�หรับนักออกแบบจะต้องตอบสนองในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยและ สุนทรียแล้ว โจทย์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ก็มีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อการพัฒนาสินค้าและงานบริการ ด้วยการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อนำ�เสนอความคิด แนวคิดใหม่ ๆ และเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างมากต่อ การค้นหาโอกาส (Opportunity) (สุชาติเถาทอง, ๒๕๖๒ : ๑๗) รวมทั้งความสามารถในการเชื่อมโยงเรื่องราว การบูรณาการศาสตร์ต่างๆเข้ามาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการพลิกโฉม ทางศิลปวัฒนธรรม บทนำ� ๑๖


ที่จะนำ�ไปสู่แนวคิดในการสร้างสรรค์เป็นผลงานเชิงพาณิชย์ศิลป์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี บทความนี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานจากการนำ�เรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเรื่องราวตัวละครจากวรรณกรรมที่สะท้อนถึง ศิลปะแบบจีนและแบบไทย ที่ถ่ายทอดสู่การสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา “ถุงหอมสมุนไพร” ในมุมมอง ของนักออกแบบยุคใหม่ ที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์และของประเทศไทย เพื่อพลิกโฉมศิลปวัฒนธรรมสู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ศิลป์ยุคใหม่ได้อย่างลงตัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยลักษณะของภูมิประเทศแล้วเหมาะแก่การทำ�การเกษตรกรรม อาชีพส่วนใหญ่ ของประชากรจึงเป็นเกษตรกรรม นอกจากนี้นครสวรรค์ยังเป็นชุมทางทางนํ้า ใช้เป็นเส้นทางการคมนาคม ในอดีต ทำ�ให้เกิดอาชีพรองจากเกษตรกรรม คือ พาณิชยกรรม ทำ�การค้าขายกันตามริมแม่นํ้าสายสำ�คัญ คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าปิง และแม่นํ้าน่าน จากความอุดมสมบูรณ์จึงมีประชาชนหลายเชื้อชาติพากัน อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำ�มาหากินตั้งแต่อดีต เช่น ชาวจีน ชาวมอญ ชาวอินเดีย และชาวไทยจากภาคอีสาน การเข้ามารวมตัวกันทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมประเพณี ผสมผสาน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของกันและกัน จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดที่น่าสนใจ ได้แก่ (๑) เอกลักษณ์ด้านหัตถกรรมงานช่างฝีมือ งานหัตถกรรมที่โดดเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ งานเครื่องปั้นดินเผา ชุมชนบ้านมอญ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ งานแกะสลักงาช้าง และการหล่อพระพุทธรูป ที่อำ�เภอ พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีปราชญ์ชุมชน ช่างท้องถิ่น ในอีกหลาย ๆ แขนงภูมิปัญญา ที่ฝังตัวอยู่ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ บางชุมชนสามารถยกระดับต้นเข้าสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ เช่น ด้านการทอผ้า และอีกหลายๆชุมชนได้รับการผลักดันเข้าสู่การจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มโอทอป ที่ใช้ความรู้ความสามารถด้านหัตถกรรมงานช่างฝีมือ สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาเพื่อเลี้ยงชีพของตน ครอบครัว และกระจายรายได้สู่ชุมชน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ๑๗


(๒) เอกลักษณ์ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เต้นกำ�รำ�เคียวเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสระทะเล ตำ�บลสระทะเล อำ�เภอพยุหะคีรี เป็นการละเล่นพื้นบ้านเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีหลวงศรีบุรีขวัญเป็นผู้ประดิษฐ์เนื้อร้องเล่นกัน ในบ้านสระทะเลและตำ�บลใกล้เคียง เช่น ตำ�บลม่วงหัก ตำ�บลเขาทอง เป็นต้น เต้นกำ�รำ�เคียวจะเล่นเวลา หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เมื่อชาวนารู้สึกเหน็ดเหนื่อยก็จะช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการตั้งวง เล่นเต้นกำ�รำ�เคียว โดยใช้ลานนาข้าวเป็นที่แสดงและบางพวกก็ถือเป็นเรื่องรื่นเริงเฉลิมฉลองความเป็นอิสระ อีกส่วนหนึ่งด้วย ลิเกนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีคณะลิเกมากที่สุดจังหวัดหนึ่ง มีประมาณ ๒๐๐ คณะ มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ โดยอยู่ที่อำ�เภอเมืองนครสวรรค์และอำ�เภอพยุหะคีรี งานประเพณีไทยทรงดํา ประชากรบางส่วนตำ�บลฆะมัง อำ�เภอชุมแสง อพยพมาจากจังหวัด ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม เรียกว่า ลาวโซ่ง ทางตำ�บลฆะมัง จัดให้มีงานประเพณีไทยทรงดำ�ขึ้นในช่วง เดือนเมษายนของทุกปี (๓) เอกลักษณ์ด้านประเพณีท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ มีชาวไทยหลายเชื้อสาย ทั้งเชื้อสายจีน มอญ พวน และชาวไทยทรงดำ� (ลาวโซ่ง) อาศัยอยู่ในถิ่นต่าง ๆ การดำ�รงชีวิตอยู่ในสังคมได้ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาแต่ บรรพบุรุษ และคนในสังคมได้ปฏิบัติร่วมกันมา ดังนั้น ประเพณีท้องถิ่นจึงมีความหลากหลาย บางประเพณี ก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เช่น ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพ หรืองานตรุษจีนปากนํ้าโพ ประเพณี จับข้อมือสาววันสงกรานต์ประเพณีกํ่าฟ้า ประเพณีการแข่งเรือ เป็นต้น (๔) เอกลักษณ์ด้านภาษาท้องถิ่น เอกลักษณ์ภาษาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์นั้น เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และจะมีประชากรหลากหลายเชื้อสายปะปนกันอยู่กับพื้นที่ แต่ประชากรส่วนใหญ่ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมาย อำ�เภอบรรพตพิสัย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอำ�เภอ ที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ รวมอยู่ แต่อาจจะมีสำ�เนียงของผู้ที่อพยพ เช่น ลาว จีน ณวน มอญ ฯลฯ ภาษาถิ่นที่ใช้โดดเด่นอยู่ในขณะนี้ เท่าที่สำ�รวจจะเป็นภาษาถิ่นของอีสานบ้าง จีนบ้างปะปนกันไป ๑๘


เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สู่แนวคิดในการสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดศิลปะและ วัฒนธรรม พิจารณาจากความเป็นอัตลักษณ์ที่ประชาชนทั่วไปจากภายนอกรู้จักเราในภาพลักษณ์ของ ความเป็นตัวแทนชุมชนชาวจีน จากประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพ ในเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียง และมีสืบสานงานประเพณีมายาวนานถึง ๑๐๗ ปี ในปี ๒๕๖๖ โดยนำ�เอกลักษณ์ด้านประเพณีท้องถิ่น “งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ” มาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อพลิกโฉมศิลป วัฒนธรรมสู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ศิลป์ งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพ ในสมัยเริ่มแรกนั้นมีวัตถุประสงค์ในการที่จะนำ�องค์เจ้าพ่อ เจ้าแม่แห่ไปในเส้นทางต่าง ๆ ในเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการะขอพรให้ปัดเป่าทุกข์ภัย เพื่อให้เป็นสิริมงคล แก่เมือง และชาวเมืองปากนํ้าโพ แต่สมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดงานและชาวตลาดปากนํ้าโพ เห็นว่า งานแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพนี้อยู่ในช่วงของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นบรรยากาศของการเฉลิมฉลอง ดังนั้น จึงต้องการให้มีการจัดขบวนการแสดงต่าง ๆ ในขบวนแห่มากขึ้น และต่อมาจึงได้เกิดการผสมผสาน ทั้งพิธีกรรมความเชื่อขององค์เจ้าพ่อเจ้าแม่และขบวนการแสดงต่าง ๆ เกิดเป็นความรู้สึกที่มีเพื่อทั้งความเป็น สิริมงคล และเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของชาวปากนํ้าโพอีกด้วย ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนา้ํ โพ เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้นเป็นประจำ�ทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อความเป็นสิริมงคล การแห่เจ้านี้เริ่มทำ�ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวนครสวรรค์ โดยในพิธีแห่จะมี ๒ รอบ คือรอบกลางคืนในวันชิวซา (วันที่ ๓ เดือน ๑ ตามปฏิทินของจีน) สำ�หรับรอบกลางวัน ในวันชิวสี่ (วันที่ ๔ เดือน ๑ ตามปฏิทินของจีน) ในขบวนแห่รอบเมืองประกอบไปด้วย ขบวนแห่มังกรทอง ซึ่งชาวจีนถือว่า เป็นเทพเจ้าที่บันดาลคุณประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์ จึงถือได้ว่าเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่และ มีการสืบทอดกันมายาวนานเพื่อแสดงความกตัญญู โดยมีการเชิดชูและนำ�เจ้าพ่อเจ้าแม่ในศาลเจ้าออกมา ร่วมขบวนแห่ไปตามถนนต่าง ๆ ในตัวเมืองนครสวรรค์ งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ จัดอยู่ในประเภทที่ ๓ คือ ลักษณะ ของมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเพณีถือเป็นแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และ เทศกาล โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๒๒) เอกลักษณ์ที่จดจำ�และสร้างสีสันให้กับงานตรุษจีนปากนํ้าโพ นั่นคือ ขบวนแห่มังกรทอง การเชิดสิงโต และขบวนนักสู้แห่งเขาเหลียงซัน เอ็งกอ-พะบู๊ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงวัฒนธรรม ๑๙


ขบวนแห่มังกรทอง มังกรทอง ของชาวจีนเป็นตัวแทนขององค์จักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมีอำ�นาจ ดังนั้น จึงถือเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล ถ้าได้พบเห็น หรือเยี่ยมกราย ผ่านบ้านใคร ถือได้ว่าเสมือนได้รับพรจากมังกร คนจีนเชื่อกันว่า ฝูชีบรรพบุรุษของชาวฮั่นในตำ�นานเป็นลูก ของมังกร คนจีนจึงถือว่าตนเป็นลูกหลานของมังกร ถ้ามองอีกแง่หนึ่งตามตำ�นานมังกรเป็นผู้ให้นา้ํแก่โลกมนุษย์ ซึ่งนา้ํ เป็นปัจจัยสำ�คัญในการที่จะทำ�ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์จึงอาจถือได้ว่ามังกรเป็นผู้ที่นำ�ความอุดมสมบูรณ์ มาให้ก็ได้การจัดแห่มังกรทองจะทำ�ได้ต่อเมื่อท้องถิ่นนั้นมีแม่นํ้ามีภูเขา และเป็นเมืองใหญ่เท่านั้น ปัจจุบัน ขบวนแห่งมังกรทอง ได้จำ�ลองแบบออกมาเป็นหัวมังกรที่มีความงดงามมาก มังกรทอง เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพมีลีลาการเชิดที่เข้มแข็งสง่างาม ด้วยลำ�ตัวที่ยาว ๕๒ เมตร และผู้เล่น ๑๘๐ คน ทำ�ให้ ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงพลังแห่งอำ�นาจแห่งพญามังกรได้อย่างประทับใจไม่รู้ลืม ลีลาการเชิดมังกรทองนี้ เป็นลีลาเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่มีการเชิดมังกรในประเทศจีนและญี่ปุ่น และถือได้ว่าเป็นต้นตำ�รับการเชิด มังกรในประเทศไทย ซึ่งมีการแสดงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเอเซีย การเชิดสิงโต ความพิเศษของตรุษจีนนครสวรรค์อีกอย่างหนึ่งนั้นคือได้มีการรวบรวมการแสดงเชิดสิงโต ๕ ชาติพันธุ์ หรือ ๕ ภาษา หนึ่งในนั้นเป็นการรื้อฟื้นการเชิดสิงโตฮกเกี้ยน ที่หายไปนานกลับมาให้ชาวไทยและชาวปากนา้ํ โพ ได้ร่วมชม และร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่มี การรวบรวม การเชิดสิงโตไว้มากที่สุดถึง ๕ ชาติพันธุ์ประกอบด้วย เสือไหหลำ� สิงโตทองฮากกา สิงโตปักกิ่ง สิงโตกวางตุ้ง หรือ สิงโตกว๋องสิว และสิงโตฮกเกี้ยน ภาพ ๑ : บรรยากาศการแห่มังกรทอง ในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ ปีที่ ๑๐๗ ที่มา : https://www.facebook.com/paknamphochinesenewyear. ๒๐


เอ็งกอ - พะบู๊ เอ็งกอ เป็นผู้กล้าแห่งเหลียงซันโป๋ ๑๐๘ คน มีเรื่องราวตำ�นานที่เล่าขานกันมานานของชาวจีน เกิดในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง รัชกาลซ่งฮุยจงฮ่องเต้(ค.ศ. ๑๑๐๐-๑๑๒๕) เป็นเรื่องราวของชุมโจรเหลียงซันโป๋ มณฑลซานตง ในเมืองนี้มีเขาเหลียงซันเป็นเขาที่มีหน้าผาเป็นภูมิประเทศที่ง่ายต่อการตั้งรับและยากต่อ การบุกโจมตีเวลากล่าวถึงเอ็งกอ จึงเรียกกันติดปากว่าผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซัน โจรเหลียนซันโป๋ ๑๐๘ คนมีอาชีพและฐานะทางสังคมต่างกัน มีทั้งชาวนา ชาวประมง คนรากรถ พ่อค้า นายพราน นายช่าง หมอสัตวแพทย์ครูนักบวชเศรษฐีข้าราชการชั้นผู้น้อย ทหารและเชื้อพระวงศ์โจรเหล่านี้ รักใคร่สามัคคีกันดุจพี่น้อง สร้างพลังที่จะต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดในสังคมยุคนั้น เรียกว่าเป็นโจรคุณธรรม ปล้นคนโกงชาติโกงแผ่นดินเอารัดเอาเปรียบประชาชน ได้ทรัพย์สินมาก็แบ่งให้คนยากจน เวลาออกทำ�การ โจรทั้ง ๑๐๘ คนจะเขียนหน้าต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของใครของมัน นี่คือความพิเศษที่โดดเด่นของเอ็งกอ ในงานเทศกาลประเพณีแห่เจ้าของชาวตลาดปากนํ้าโพ ได้นำ�เอาเรื่องราวของเอ็งกอมาแสดงเรียกว่า เอ็งกอ-พะบู๊ คือ มีการแสดงถึงการต่อสู้รบด้วยวิธีที่แต่ละคนถนัด การแสดงเอ็งกอถือเป็นจุดเด่นคณะหนึ่ง ในขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่เฉลิมฉลอง เทศกาลตรุษจีนของชาวปากนา้ํ โพมีการพัฒนาและรักษาการแสดงจากอดีต สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจะหาชมได้เฉพาะในงานเทศกาลประเพณีแห่เจ้าของชาวปากนํ้าโพเท่านั้น ภาพ ๒ : บรรยากาศการเชิดสิงโตในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ ปีที่ ๑๐๗ ที่มา : https://www.facebook.com/paknamphochinesenewyear. ภาพ ๓ : ลักษณะการเขียนหน้า ของเอ็งกอ - พะบู๊ในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ ปีที่ ๑๐๗ ที่มา : https://www.facebook.com/paknamphochinesenewyear. ๒๑


นอกจากเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์แล้ว กลุ่มผู้ผลิตยังต้องการขยายฐานลูกค้า ไปยังผู้ที่ชื่นชอบความเป็นไทย จึงมีแนวคิดในการสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของไทย โดยเทียบเคียงจากแนวคิดเดิมที่นำ�เอกลักษณ์ความเป็นจีนของชาวปากนํ้าโพ เมืองนครสวรรค์ นั่นคือ นำ�ตัวละครที่อยู่ในวรรณกรรมไทยเรื่อง รามเกียรติ์อันเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในชุดวรรณคดี๔ หน้า ประกอบด้วย หนุมาน ทศกัณฐ์ พระราม และนางสีดา มาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ในรูปแบบประยุกต์ ศิลป์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ หนุมาน หนุมาน เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำ�กาย เมื่อสำ�แดงฤทธิ์จะมี ๔ หน้า ๘ มือ หาวเป็นดาวเป็นเดือน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำ�กายอื่น ๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และหาวเป็นดาวเป็นเดือน เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ทำ�ลายอุทยานของทศกัณฐ์ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำ�นอกเหนือคำ�สั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพ เพื่อนาย ภาพ ๔ : หนุมาน ในวรรณกรรม เรื่อง รามเกียรติ์ ที่มา : https://www.siammongkol.wordpress.com/2017/07/18/hanuman ๒๒


ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์เป็นบุตรคนโตของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เจ้ากรุงลงกา และเป็นหลานของท้าวมาลีวราช เดิมเป็นยักษ์ชื่อ “นนทก” กลับชาติมาเกิด ซึ่งนนทกมีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเทวดาทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น ก็มักจะลูบหัวนนทกจนหัวล้าน นนทกจึงเกิดความแค้น เลยไปขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วทำ�ร้าย พวกเทวดาที่มาลูบหัวตน นนทกได้เข่นฆ่าเหล่าเทวดาตายนับไม่ถ้วน ทำ�ให้พระอิศวรสั่งให้พระนารายณ์ให้มา ช่วยปราบนนทก พระนารายณ์จัดการกับนนทก โดยการจำ�แลงองค์เป็นนางเทพอัปสรดักอยู่ตรงทางที่นนทก เดินผ่านเป็นประจำ� ฝ่ายยักษ์นนทกเมื่อได้เห็นนางจำ�แลงจึงเกิดความหลงและเข้าไปเกี้ยวพาราสีนางจำ�แลง แสร้งทำ�ยินดี โดยยื่นข้อเสนอว่าให้นนทกร่ายรำ�ตามนางทุกท่าแล้วจะยินดีผูกมิตรด้วย และแล้วยักษ์นนทก ก็ทำ�ตามนาง โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นเล่ห์กล จนกระทั่งถึงท่านาคาม้วนหางนิ้วเพชรของนนทกชี้ไปที่ขาของตัวเอง ขานนทกก็หักลงทันใด นนทกล้มลง ทันใดนั้น นางแปลงกลายเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้ก่อนตาย นนทกอ้างว่าพระนารายณ์มีหลายมือตนสู้ไม่ได้พระนารายณ์จึงให้คำ�สัตย์ว่า ให้นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบเศียร สิบพักตร์ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้มีอาวุธนานาชนิดครบทุกมือ ส่วนพระนารายณ์จะไปเกิดเป็นมนุษย์ มีสองมือและตามไปฆ่านนทกให้ได้ ทศกัณฐ์เป็นยักษ์รูปงาม มี ๑๐ หน้า ๒๐ กร ปากแสยะ ตาโพลง มีกายเป็นสีเขียว ภาพ ๕ : ทศกัณฐ์ในวรรณกรรม เรื่อง รามเกียรติ์ ที่มา : https://www.teen.mthai.com/variety/173115.html. ๒๓


พระราม พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมา ถือกำ�เนิดเป็นพระราชโอรสของท้าวทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อจะปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชา ๓ พระองค์ คือ พระลักษณ์ พระพรต และพระสัตรุด พระรามอภิเษกสมรสกับนางสีดา ตัวละครพระราม มีช่วงเวลาที่โดดเด่นมากที่สุด คือ การลักพาตัวนางสีดาโดยจอมอสูรอย่างทศกัณฑ์ ตามด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดของพระรามและพระลักษมณ์ เพื่อการชิงนางสีดากลับมา และสังหาร ทศกัณฑ์ที่ชั่วร้าย เรื่องราวชีวิตทั้งหมดของพระราม นางสีดา และบุคคลต่างในรามายณะ เปรียบเทียบได้กับ หน้าที่ สิทธิ และความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงการดำ�เนินชีวิตด้วยธรรมะ โดยมีตัวละครฝ่ายพระรามเป็นแบบอย่าง พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ มี๔ กรได้อาวุธประจำ�พระองค์คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธวิเศษ ที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร ภาพ ๖ : พระราม ในวรรณกรรม เรื่อง รามเกียรติ์ ที่มา : https://www.sites.google.com/site/charactersinliteratuerrr/ramkeiyrti/phraram นางสีดา นางสีดา คือ พระลักษมีเป็นมเหสีเอกของพระนารายณ์อวตารลงมา เพื่อเป็นคู่ครองของพระราม เมื่อนางสีดาเจริญถึงวัยอันควรแล้ว ท้าวชนกพระบิดาคิดจะจัดพิธีสยุมพรให้นางสีดาพระธิดา จึงได้ป่าวประกาศ หาผู้ที่จะสามารถยกธนูโมลีหนักพันแรงคนยกได้ ถ้าผู้ใดทำ�ได้จะยกนางสีดาให้อภิเษก ในครานั้นมีเจ้าชาย หนุ่มสองพระองค์นามว่าพระรามและพระลักษมณ์อยู่ร่วมด้วย พระรามจึงมีพระดำ�ริจะลองยกธนูโมลีนั้นดู แต่ทันใดนั้นเอง พระรามได้จ้องมองผ่านม่านพบกับนางสีดาที่นั่งอยู่อีกฝั่ง ด้วยบุพเพสันนิวาสทำ�ให้ทั้งสอง มีใจรักภักดีต่อกันทันทีธนูโมลีนั้นมีเพียงพระรามและพระลักษมณ์ที่ยกได้แต่พระลักษมณ์ทราบดีว่าพระราม และนางสีดามีใจต่อกันจึงแสร้งทำ�เป็นยกธนูไม่ขึ้น ในที่สุดพระรามและนางสีดาก็ได้อภิเษกกันอย่างถูกต้อง ตามประเพณี ๒๔


พาณิชย์ศิลป์เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เพื่อสนับสนุนการค้าและการบริการเพื่อให้ ประสบผลสำ�เร็จตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์การออกแบบ โฆษณา การออกแบบบรรจุภัณฑ์การออกแบบฉลากสินค้า และการออกแบบจัดแสดงสินค้า บรรจุภัณฑ์ เป็นหนึ่งในงานพาณิชย์ศิลป์ที่เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขาย ทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้เปรียบเสมือนกุญแจดอกสุดท้ายที่จะไขผ่านประตูแห่งการ ตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์สามารถทำ�หน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย เพราะบรรจุภัณฑ์ เป็นงานพิมพ์๓ มิติและมีด้านทั้งหมดถึง ๖ ด้าน ที่จะสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ดีกว่าแผ่นโฆษณาที่มีเพียง ๒ มิติหรือด้านเดียว การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่ นในเชิงพาณิชย์ศิลป์ พระรามและนางสีดาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแม้ว่าจะอัตคัดขัดสนบ้าง จนกระทั่งวันหนึ่ง นางสำ�มนักขายักม่ายน้องสาวทศกัณฐ์มาเห็นรูปโฉมพระรามก็หลงรัก เกี้ยวพาขอพระองค์เป็นสวามี แต่พระรามปฏิเสธเพราะมีนางสีดาอยู่แล้ว นางสำ�มนักขาโกรธจึงด่าทอทุบตีนางสีดา พระลักษมณ์โมโห จับนางสำ�มนักขาตัดหูตัดจมูกแล้วปล่อยไป นางสำ�มนักขาแค้นเคืองไปฟ้องพี่ชายของตน พร้อมกับพรรณนา ความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟังจนทศกัณฐ์อยากได้ในตัวของนางสีดา ทศกัณฐ์สั่งให้มารีศแปลงเป็น กวางทองไปล่อหลอกพระรามพระลักษมณ์ออกจากอาศรมแล้วตนเองก็ไปลักพาตัวนางสีดามาอยู่ที่สวนขวัญ นางสีดามีรักมั่นคงต่อพระรามจึงไม่ยอมเป็นชายาของทศกัณฐ์ ทำ�ให้เกิดสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ ปะทุขึ้น จนคำ�ทำ�นายในวัยเด็กที่เป็นภัยมาสู้เหล่ายักษ์เป็นจริงขึ้นมา ภาพ ๗ : นางสีดา ในวรรณกรรม เรื่อง รามเกียรติ์ ที่มา : https://www.sites.google.com/site/charactersinliteratuerrr/ramkeiyrti/nang-si-da ๒๕


ในยุคปัจจุบัน การเชื่อมโยงศิลปวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในเชิงพาณิชย์ศิลป์ เป็นสิ่งจำ�เป็น เนื่องจากสินค้าที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ต้องเข้าถึงความ ทันสมัยแม้จะอยู่ภายใต้กลิ่นอายของวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงนำ�ไปสู่การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ถุงหอมสมุนไพร แบรนด์ หัตถชา ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเนินศาลา ตำ�บลเนินศาลา อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในภูมิปัญญาเครื่องหอมไทย ที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน โดยการปรับรูปแบบ พลิกโฉมให้เกิดความรู้สึกว้าวในผลิตภัณฑ์ใหม่จากการประยุกต์ลวดลายของเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์นั่นคือ ถุงหอมสมุนไพรในคอลเล็คชั่น “ตรุษจีนปากนํ้าโพ” และเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของประเทศไทย นั่นคือ ถุงหอมสมุนไพร ในคอลเล็คชั่น “วรรณคดี๔ หน้า” ถุงหอมสมุนไพร “ตรุษจีนปากน้ำ โพ” การสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร จากแนวคิด ตรุษจีนปากนํ้าโพ ซึ่งประกอบด้วย ภาพวาดลายเส้นการ์ตูน (Vector) ที่สื่อถึง ๓ เอกลักษณ์ของเทศกาลตรุษจีน ได้แก่ ขบวนแห่มังกรทอง การเชิดสิงโต และเอ็งกอ-พะบู๊ บรรยากาศงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ ในรูปแบบประยุกต์ศิลป์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร มีทั้งสิ้น ๓ กลิ่น และ แต่ละกลิ่น นำ�เสนอผ่านตัวละคร ได้แก่ กลิ่น Fleshing - มังกร : ให้ความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีส่วนผสมของเกล็ดสะระแหน่ ใบเตย พิมพเสน ใบมะกรูด เป็นต้น กลิ่น Relax - เชิดสิงโต : ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสบาย มีส่วนผสมของใบมะกรูด ดอกกุหลาบ ใบเตย เป็นต้น กลิ่น Sleep - เอ็งกอ พะบู๊: ให้ความรู้สึกผ่อนคลายอยากพักผ่อน มีส่วนผสมของดอกกุหลาบ ใบเตย ดอกหอมหมื่นลี้เป็นต้น ภาพ ๘ : ถุงหอมสมุนไพร “ตรุษจีนปากนํ้าโพ” ๒๖


รูปแบบบรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร ออกแบบเพียง ๑ รูปแบบ ที่สามารถนำ�เสนอผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทั้ง ๓ กลิ่นได้ โดยการเจาะช่องหน้าต่างใสด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เห็นหน้าตาของสินค้าด้านใน แนวความคิด ในการออกแบบลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์จากเอกลักษณ์ของเทศกาลตรุษจีนปากนํ้าโพ ทั้งรูปแบบและสีสัน ที่สะท้อนความเป็นจีนได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งได้แสดงรายละเอียดที่จำ�เป็นเกี่ยวกับ ข้อมูลทางการตลาดลงบนบรรจุภัณฑ์อย่างครบถ้วน ถุงหอมสมุนไพร “วรรณคดี ๔ หน้า” การสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร จากแนวคิด วรรณคดี ๔ หน้า ซึ่งประกอบด้วย ภาพวาดลายเส้นการ์ตูน (Vector) ภาพส่วนศีรษะของ หนุมาน ทศกัณฐ์ พระราม และ นางสีดา ในรูปแบบประยุกต์ศิลป์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์รูปแบบผลิตภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร มีทั้งสิ้น ๔ กลิ่น และแต่ละกลิ่น นำ�เสนอผ่านตัวละคร ได้แก่ กลิ่นมะกรูด - ทศกัณฐ์: มีส่วนผสมของผิวมะกรูด ใบมะกรูด ใบเตย เป็นต้น กลิ่นเลมอน - หนุมาน : มีส่วนผสมของผิวมะกรูดใบเตย ใบมะนาว การบูร พิมเสน เมนทอล เป็นต้น กลิ่นสมุนไพรไทย - พระราม : มีส่วนผสมของกานพลูผิวส้มโอ ลูกผักชีลูกกระวาน เป็นต้น กลิ่นกุหลาบ - นางสีดา : มีส่วนผสมของดอกกุหลาบ ดอกมะลิดอกหอมหมื่นลี้เป็นต้น ภาพ ๙ : บรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร “ตรุษจีนปากนํ้าโพ” ภาพ ๑๐ : ถุงหอมสมุนไพร “วรรณคดี๔ หน้า” ๒๗


ความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หากไม่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ เป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน ย่อมเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก วิสาหกิจชุมชนบ้านเนินศาลา จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งชุมชนตัวอย่างที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยการมีส่วนร่วม เริ่มจากการต่อยอดธุรกิจนวดสปาจากครอบครัว ในนามโรงเรียนนวดสปาไทยสวรรค์นคร ในอำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีแนวคิดริ่เริ่มอยากต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ประคบและถุงหอมสมุนไพร จึงได้รวมตัว และจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเนินศาลา มีการบริหารจัดการด้านพื้นที่การเพาะปลูกของวัตถุดิบต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก มีฝ่ายผลิต ฝ่ายแปรรูป ฝ่ายการตลาด ที่ชัดเจน ร่วมขับเคลื่อนชุมชนบนฐานการมีส่วนร่วม ที่มุ่งมั่นเป้าหมายไปยังจุดเดียวกัน การพลิกโฉมศิลปวัฒนธรรมสู่งานสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ศิลป์ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างสถาบัน การศึกษา ในนามของนักออกแบบและพัฒนา ผสานความร่วมมือกับชุมชนที่มีความต้องการนำ�เสนอ เรื่องราวศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ นั่นคือ ตรุษจีนนครสวรรค์ โดยนำ�เอกลักษณ์ที่เป็นที่จดจำ� ได้แก่ มังกรทอง สิงโต และ เอ็งกอ-พะบู๊นำ�เสนอผ่านการสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพรกลิ่นต่าง ๆ ที่ทางชุมชนสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบของตน จึงเกิดเป็นการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ตลอดจนได้รับ การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างดี ความมีส่วนร่วมของท้องถิ่ นในการพลิกโฉมศิลปวัฒนธรรม รูปแบบบรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร ออกแบบทั้งสิ้น ๔ รูปแบบ ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ แนวความคิดในการออกแบบลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์จากเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย ของทั้ง รูปแบบและสีสันที่สะท้อนเรื่องราววรรณคดี ๔ หน้า พร้อมทั้งได้แสดงรายละเอียดที่จำ�เป็นเกี่ยวกับข้อมูล ทางการตลาดลงบนบรรจุภัณฑ์อย่างครบถ้วน ภาพ ๑๑ : บรรจุภัณฑ์ถุงหอมสมุนไพร “วรรณคดี๔ หน้า” ๒๘


ด้วยความต้องการนำ�เสนอความงดงามของศิลปะและวัฒนธรรมนั้น มีเรื่องราวในอีกหลายมุมมอง ตลอดจนการพัฒนาบนฐานความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ การพลิกโฉมศิลปวัฒนธรรมสู่งานสร้างสรรค์ เชิงพาณิชย์ศิลป์จึงเพิ่มเติมไปยังการนำ�ศิลปะและวัฒนธรรมของไทย โดยหยิบยกเรื่องราววรรณกรรม ที่ทุกคนรู้จัก มาถ่ายทอดผ่านตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์นั่นคือ หนุมาน ทศกัณฐ์พระราม และนางสีดา ในคอลเล็คชั่น ชุดวรรณคดี ๔ หน้า มาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ ในรูปแบบประยุกต์ศิลป์เพื่อต่อยอด เชิงพาณิชย์ และในอนาคตชุมชนได้วางรากฐานและมุมมองในด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมที่สามารถ ต่อยอดทางความคิดได้ด้วยตนเอง นั่นคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ภาพ ๑๒ : ความมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพลิกโฉมศิลปวัฒนธรรม ๒๙


เอกสารอ้างอิง เจริญ ตันมหาพราน. (๒๕๖๐).ประวัติของเอ็งกอ พะบู๊นครสวรรค์ เอ็งกอ. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.facebook.com/Charoen1948. นิรนาม. (๒๕๕๖). ตรุษจีนปากนํ้าโพ. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.guru.sanook.com. นิรนาม. (ม.ป.ป). ตรุษจีนนครสวรรค์ สืบสานงานประเพณี แห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากนํ้าโพ.สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.facebook.com/paknamphochinesenewyear. นันหรินทร์พูลจรัส. (ม.ป.ป.). ตัวละครในวรรณคดี : พระราม. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.sites.google.com/site/charactersinliteratuerrr/ramkeiyrti/phraram นันหรินทร์พูลจรัส. (ม.ป.ป.). ตัวละครในวรรณคดี : นางสีดา. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.sites.google.com/site/charactersinliteratuerrr/ramkeiyrti/nang-si-da. พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์. (๒๕๖๒). ออกแบบผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน. กำ�แพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำ�แพงเพชร. ยุวดี. (๒๕๖๒). ประวัติทศกัณฐ์ คือใคร ทำ ไมถึงมีสิบหน้า ยี่สิบกร. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.teen.mthai.com/variety/173115.html. สยามมงคล. (๒๕๖๐). หนุมาน ตำ นานทหารเอกวานรขุนศึกผู้ไม่เคยแพ้ใคร. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖. จาก https://www.siammongkol.wordpress.com/2017/07/18/hanuman. อรัญ วานิชกร. (๒๕๕๙). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Roderick Hindery (1978). Comparative Ethics in Hindu and Buddhist Traditions. Motilal Banarsidass. pp. 95–124. ISBN 978-81-208-0866-9. William H. Brackney (2013). Human Rights and the World’s Major Religions, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 238–239. ISBN 978-1-4408-2812-6. ๓๐


๓๑ บทนำ� ชาวมอญเป็นชาติพันธุ์เก่าแก่ที่มีความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในดินแดนไทยและพม่า มาแต่ครั้งโบราณ ดังปรากฏข้อสันนิษฐานว่าชาวมอญอาจเป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยา อีกทั้งยังปรากฏหลักฐานว่าชาวมอญเคยปกครองเมืองหงสาวดี (พะโค) มะริด ทวาย ตะนาวศรี ในประเทศพม่า๑ ปัจจุบันชาวมอญกลายเป็นชนชาติที่ไร้แผ่นดินแทบไม่มีผู้รู้จัก เนื่องจากอาณาจักรมอญ ถูกทำ�ลายจากสงครามสมัยพระเจ้าอลองพญายกทัพปราบเมืองหงสาวดี และได้หัวเมืองมอญไว้ในอำ�นาจ ย่างเด็ดขาดใน พ.ศ. ๒๓๐๐๒ นับแต่นั้นมาชาวมอญไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้อีกจนถึงปัจจุบัน๓ จากการศึกษา เอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยช่วง พ.ศ. ๒๑๒๗๔ พบว่าชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย๕ ถึงต้นรัตนโกสินทร์๖ โดยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย ดังปรากฏพระบรม ราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญไปตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในพื้นที่ทางราชการจัดไว้ให้ เช่น เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ๗ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชุมชนมอญ ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีทั้งชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานจากรัฐกำ�หนดให้ เพื่อป้องกันทัพพม่าในเส้นทาง เดินทัพ และเป็นกองสอดแนมในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ อีกทั้งชาวมอญเหล่านี้ได้รับการจัดฐานะ ในระบบไพร่เช่นเดียวกับคนไทย๘ ในพื้นที่นครสวรรค์ มีการตั้งถิ่นฐานของชาวมอญในหลายพื้นที่ เช่น บ้านแก่ง บ้านเขาทอง บ้านบาง มะฝ่อรวมถึงบ้านโคกหม้อ และพื้นที่บ้านหนองนมวัวในนครสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ ชาวมอญในชุมชน บ้านแก่ง พบว่าชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครสวรรค์โดยมีปัจจัยสำ�คัญ ๒ ประการ คือ มอญในนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๙ สุธาสินีรอดนิ่ม พิมพ์อุมา ธัญธนกุล ๑สุภรณ์โอเจริญ, มอญในเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๖. ๒อ้างแล้ว, หน้า ๒๕. ๓อ้างแล้ว, หน้า ๒๘ - ๘๘. ๔อ้างแล้ว, หน้า ๘๔.๕ กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา,พันจันทนุมาศกับพระจักรพรรดิพงศ์, (กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๐๗), หน้า ๔๐๑. ๖การอพยพเข้ามาของคนมอญมีทั้งหมดสี่ครั้งที่สำ�คัญ ครั้งที่หนึ่งสมัยสมเด็จพระนเรศวร ครั้งที่สองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ครั้งที่สามในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และครั้งที่สี่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. สุภรณ์ โอเจริญ, ชาวมอญใน ประเทศไทย, หน้า ๔๓ - ๔๔. ๗อ้างแล้ว,หน้า ๗๙. ๘อ้างแล้ว,หน้า ๔๘.


๓๒ ๑. กลุ่มที่อพยพจากปัญหาภัยสงคราม เช่น มอญบ้านเขาทอง และมอญบ้านแก่ง๙ ๒. กลุ่มที่อพยพจากการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เช่น กลุ่มชาวมอญบ้านบางมะฝ่อในนครสวรรค์๑๐ เป็นต้น จากการศึกษางานเขียนของประวัติความเป็นมาของชาวมอญ พบว่าชาวมอญเหล่านี้สามารถบอกเล่า เรื่องราวของตนเองได้แต่ก็มีลักษณะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์โดยผู้นำ�ชุมชนและการจดจำ�จากคำ�บอกเล่า ต่อ ๆ กันมา สร้างสำ�นึกร่วมทางวัฒนธรรม๑๑ เห็นได้จากประเพณีการสร้างเสาหงส์๑๒ เช่น ชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรีได้สืบสานกันมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการแห่หางหงส์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ สามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ความเชื่อในด้านศาสนาของกลุ่มของชาวมอญในพื้นที่ บ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งอาจเป็นผลมาจากนโยบายชาตินิยม ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ต้องการให้เกิดชนกลุ่มน้อยจึงสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทย๑๓ ทำ�ให้ ชาวมอญเกิดการปรับตัวสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมาในด้านวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ รวมถึงเมื่อ ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำ�ให้ทุนนิยมขยายตัวอย่างกว้างขวางจนไปทำ�ลาย วัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน ทั้งด้านคติความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ กระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับประชาชน) โดยกำ�หนดเรื่องการให้สิทธิ์และอำ�นาจแก่ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบำ�รุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน๑๔ นโยบายดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวคิดทางด้านวัฒนธรรมชุมชน และการสร้างชุมชนเข้มแข็งอันเกิดจากเอกลักษณ์และคุณค่าของตนเอง๑๕ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลต่อ ชาวมอญในนครสวรรค์ เห็นได้จากการปรับตัวในด้านประเพณีวัฒนธรรม อาทิ เรื่องประเพณีวัฒนธรรม ในการดำ�รงเอกลักษณ์ความเป็นชาวมอญ เช่น การแต่งกายในพื้นที่บ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง และบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์ที่สตรีนิยมสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าถุง เกล้ามวยผม คล้องผ้าสไบ ในเทศกาลสงกรานต์และกิจกรรมสำ�คัญของชุมชน ส่วนการแต่งการบุรุษ สวมเสื้อ คอกลมแขนยาวหรือสั้นตามโอกาส นุ่งลอยชายพาดผ้าขาวม้า และความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษ ที่บ้านเขาทองนอกจากนี้อาหารที่สำ�คัญ คือ ข้าวแช่ และขนมจีนที่บ้านบางมะฝ่อ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีการ ๙เป้า เลี้ยงสุข อายุ๖๐ ปี, ที่อยู่ ๔๓ หมู่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์(๖ สิงหาคม ๒๕๕๙), สัมภาษณ์. ๑๐บุญเหลือ น้อยเอี่ยม อายุ ๕๓ ปี, ที่อยู่ ๕๑/๓ หมู่ ๔ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์(๖ สิงหาคม ๒๕๕๙), สัมภาษณ์.๑๑ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์, ชุมชนศึกษา, (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๑๒๘. ๑๒วิเศษ แสงกาญจนวนิช และณรงค์ครองแก้ว, ย้อนรอยรามัญ, (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗), หน้า ๙๙. ๑๓๗๖ “ปีผ่านไป ชาตินิยม ที่ยังหลงเหลือจากนโยบาย จอมพลป”. ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://news.mthai.com/web- master-talk/405976.html, สืบค้นวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๐. ๑๔ยงยุทธ ชูแว่น, ครึ่งศตวรรษแห่งการค้นหาและเส้นทางสู่อนาคต ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย, ๒๕๕๑), หน้า ๑๙๐. ๑๕ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์, ชุมชนศึกษา, หน้า ๑๒๘.


๓๓ สืบทอดมาจากกลุ่มชาวมอญเกาะเกร็ดและชาวมอญพระประแดง ฯลฯ ได้มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน พื้นที่ทั้ง ๓ ชุมชน ทำ�ให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมมีการอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่กับสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ครั้งนี้มุ่งนำ�เสนอเรื่องราวชาวมอญผ่านมุมมองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมโยงกับ นโยบายรัฐในการสร้างสำ�นึกในชุมชนท้องถิ่น โดยกำ�หนดพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยบ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ บ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ และบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพราะชุมชนดังกล่าวยังคงปรากฏลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมชัดเจน ในปัจจุบัน เช่น ประเพณีสงกรานต์ที่บ้านเขาทองและบ้านบางมะฝ่อ ที่ผู้คนในชุมชนสืบทอดการละเล่น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปัจจุบันของทั้ง ๒ ชุมชน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นับเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็ง ให้ชุมชนอีกทางหนึ่ง จากสถานการณ์ข้างต้นจึงเกิดคำ�ถามว่าปัจจัยใดที่ทำ�ให้ชาวมอญเกิดองค์ความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ชุมชนรวมถึงวัฒนธรรม และชาวมอญสามารถสร้างความรู้สึกร่วมทางวัฒนธรรม มอญในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มอญ มีอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน เป็นชนชาติที่มีอารยธรรมสูงในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้๑๖ ปัจจุบันชนชาติมอญไม่มีประเทศเป็นของตนเอง หากแต่ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ทั้งในด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ดนตรีรวมถึงความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดมา ของกลุ่มชาวมอญจนถึงปัจจุบัน ที่ตั้งของอาณาจักรมอญ สามารถแยกออกเป็น ๒ พื้นที่ คือ มอญในดินแดนไทยและมอญในดินแดน พม่า จากหลักฐานที่พบสะท้อนให้เห็นว่าอาณาจักรมอญในอดีตไม่ได้แยกออกจากกัน มีพื้นที่ซ้อนทับไปตาม ศูนย์กลางของอำ�นาจ บางครั้งขยายใหญ่เป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมเมืองเล็กเมืองน้อย เมื่อเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งตนเป็นอิสระ หรือเปลี่ยนแปลงตนเองเข้าหาขั้วอำ�นาจอื่น ชุมชนชาวมอญจะหันไปยอมรับอำ�นาจใหม่ ตามความสามารถของผู้นำ�อาณาจักร ตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง๑๗ หลักฐานมอญในยุคทวารวดี พงศาวดารของพม่าและไทย ยืนยันว่าอารยธรรมมอญรุ่งเรืองในพม่า ตอนล่าง ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๔ หลักฐานทางโบราณคดีส่วนใหญ่ในประเทศไทย ทำ�ให้นักวิชาการส่วนใหญ่ สันนิษฐานว่าอารยธรรมของชาวมอญยุคแรกเริ่มอยู่ที่ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา แต่มีความเป็นไปได้ว่าทั้งลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยาและทางพม่าตอนล่างเป็นแหล่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองควบคู่กันมา ๑๘ ๑๖สุภรณ์โอเจริญ, มอญในเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑.๑๗ประวัติศาสตร์มอญ. [ออนไลน์], ที่มา: http://www.baanjomyut.com/library/mon_history.html. สืบค้นวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙.๑๘ประวัติศาสตร์มอญ - อาณาจักรทวารวดี (มอญโบราณ) [ออนไลน์] ที่มา: http://www.monstudies.com, สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙.


๓๔ หลักฐานมอญในยุคหริภุญชัย เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมอญในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าปิง ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๓ นับเป็นการขยายตัวของวัฒนธรรมจากเมืองละโว้ขึ้นมาทางภาคเหนือ เมืองหริภุญชัย จึงเป็นเมืองเหนือสุดที่รับวัฒนธรรมละโว้ เมืองหริภุญชัยเแต่เดิมเป็นศูนย์กลางการค้าของป่า ทำ�หน้าที่รับ สินค้าจากแหล่งต่าง ๆ ตามเขตหุบเขาตอนบนแล้วส่งผ่านลงสู่เมืองตอนล่างส่วนเมืองสุโขทัยซึ่งครอบครอง ดินแดนที่เคยเป็นของชาวมอญในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา และดินแดนบริเวณเหนือแม่นํ้า ซึ่งพ่อขุนรามคำ�แหง ได้ดัดแปลงตัวอักษรจากทั้ง ๒ ชาติเป็นภาษาทางการซึ่งประชากรในอาณาจักรสุโขทัยที่พูดภาษามอญและ เขมรสามารถใช้ร่วมกัน จะเห็นได้ว่าชาวมอญเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำ�คัญเรื่องวัฒนธรรมเริ่มต้นของชุมชน ชาวไทย หลักฐานชาวมอญในลุ่มแม่นํ้าอิรวดี - ทวาย ชาวมอญในดินแดนพม่ามีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ค่อนไปทาง ตะวันออกของแม่นํ้าอิรวดีและมีอาณาเขตแผ่ลงไปถึงทวาย ชนชาติมอญมีวัฒนธรรมในระดับสูง เป็นผู้ริเริ่ม การปลูกข้าวและถั่วในดินแดนพม่าปัจจุบัน และเป็นผู้คิดทำ�การชลประทานขึ้น๑๙ ขณะที่อาณาจักรทวารวดี กำ�ลังเจริญรุ่งเรือง ได้มีเมืองสำ�คัญอยู่ในเขตพม่าตอนล่างแล้ว ได้แก่ เมืองสะเทิม หรือสุธรรมวดี เมืองเมาะ ตะมะและเมืองพะโค หรือหงสาวดีเมืองทั้ง ๓ นี้อาจก่อรูปขึ้นและมีความเจริญควบคู่กับอาณาจักรทวารวดี ศูนย์กลางความเจริญในระยะแรกว่ามีหลายแห่งด้วยกัน คือ สะเทิม ทะละ และพะโค ซึ่งต่างเป็นอิสระไม่ขึ้น ต่อกัน๒๐ หลักฐานมอญในอาณาจักรสะเทิม ตามตำ�นานหลักฐานมอญในอาณาจักรสะเทิม ระบุว่าอารยธรรม ของมอญเริ่มมาตั้งแต่ ๒๔๑ ปี ก่อนพุทธกาลและเมื่อศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชาวมอญ ได้ตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกของแม่นา้ํอิรวดีในบริเวณพม่าตอนล่าง มีลักษณะของการตั้งรัฐอิสระที่ไม่ขึ้นตรง ต่อกัน บางครั้งมีอาณาเขตที่ทับซ้อนไม่มีเส้นแบ่งเขตชัดเจนแน่นอน๒๑ มีการเคลื่อนตัวไปมาของประชากร อยู่เสมอ เป็นไปตามสถานการณ์ทางการเมืองหรือสังคมในช่วงนั้น ๆ เช่น ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เมืองหริภุญชัยเกิดอหิวาตกโรคระบาดต้องอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดี แต่หลังจากโรคร้ายสงบลง ก็อพยพกลับมาดังเดิม๒๒ หลักฐานมอญในอาณาจักรเมาะตะมะ อาณาจักรพุกามของพม่าถูกกองทัพมองโกล ของจักรพรรดิ กุบไลข่านทำ�ลายใน พ.ศ. ๑๘๒๐ ชาวมอญทางใต้ได้ก่อกบฏ พ่อค้าชาวมอญเชื้อสายไทยใหญ่ชื่อมะกะโท ยึดเมืองเมาะตะมะได้ในปีพ.ศ. ๑๘๒๔ ตั้งตนเป็นปฐมกษัตริย์อาณาจักรเมาะตะมะ พระนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่ว ๑๙ประวัติศาสตร์มอญ - อาณาจักรทวารวดี (มอญโบราณ) [ออนไลน์] ที่มา : http://www.monstudies.com, สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙.๒๐สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, ไทยรบพม่า (พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๕), หน้า ๑๖๗ - ๑๗๒.๒๑ประวัติศาสตร์มอญ [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/mon history.html. สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙.๒๒“________”. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/mon history.html. สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙.


๓๕ ๒๓สุภรณ์โอเจริญ, มอญในเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๕๗ - ๑๖๐.๒๔สุภรณ์โอเจริญ, มอญในเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๓.๒๕เกิด ต่วนชะเอม อายุ ๘๗ ปี, ที่อยู่ ๑๒๖ หมู่ ๒ ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์.๒๖จำ�นอง ป้อมเสมา อายุ ๓๘ ปี, ที่อยู่ ๑๙๒/๒ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์, (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์. ทรงสร้างประมวลกฎหมายใหม่ที่ดัดแปลงมาจากกฎหมายพระมนูเรียกว่า พระธรรมศาสตร์ฉบับพระเจ้าฟ้ารั่ว ซึ่งแปลจากคัมภีร์ภาษาฮินดูเป็นภาษามอญ และปรับปรุงให้เข้ากับหลักพุทธศาสนา และกลายเป็นรากฐาน กฎหมายทั้งของพม่าและไทย๒๓ หลักฐานมอญในอาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรมอญทั้งหมดสามารถรวมเป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรก ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราช ในปีพ.ศ. ๑๙๓๖ - ๑๙๖๔ อาณาจักรหงสาวดีในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๑๙๖๖ - ๒๐๘๒ เป็นยุคแห่งความสงบและรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและการค้าขาย เป็นยุคทองของชาวมอญเปิดโอกาส ให้ชาวมอญสามารถทะนุบำ�รุงอาณาจักรในเรื่องกิจการในพุทธศาสนา ได้แก่ การบูรณะองค์พระเจดีย์ ชเวดากอง การศึกษาประวัติความเป็ นมาของมอญในนครสวรรค์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชาวมอญมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา - ต้นรัตนโกสินทร์ โดยชาวมอญในชุมชนเหล่านั้นได้บอกเล่าเรื่องราวถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนปัจจุบันชุมชนบ้านแก่ง ตำ�บล บ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ บ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ และบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้นำ�เอาความเชื่อและเอกลักษณ์ของชาวมอญเข้ามาสร้าง มูลค่าให้กับชุมชน ชุมชนมอญในนครสวรรค์มีที่มาเช่นเดียวกับชุมชนชาวมอญอื่น ๆ หลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งมี ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศรามัน๒๔ (ปัจจุบัน คือ ประเทศพม่า) และอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ด้วยปัญหาการเมือง ปัจจัยในการอพยพเกิดจากปัญหาด้านสังคมรวมถึงด้านเศรษฐกิจทำ�ให้ชาวมอญ ต้องอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย โดยเริ่มทำ�ไร่ ทำ�นาเพื่อเลี้ยงชีพ๒๕ ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานบ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์เป็นหมู่บ้าน ที่มีประวัติระยะเวลายาวนานประมาณ ๒๐๐ ปี เริ่มจากชุมชนชาวมอญอพยพมาจากเกาะเกร็ด โดยมา ทางเรือรวมกัน ๔ ครอบครัว ระหว่างหยุดพักเหนื่อยบางคนก็หุงข้าว บางคนก็ลงไปหาผัก หาปลาในบึง จึงบังเอิญพบแหล่งดินเหนียว ด้วยความชำ�นาญในการทำ�เครื่องปั้นดินเผาอยู่แล้วจึงลองนำ�ดินบริเวณนี้มาปั้น เป็นภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เมื่อเห็นว่าดินบริเวณนี้มีคุณสมบัติเหมาะสม จึงได้ชวนกันรกรากกันอยู่ที่บริเวณนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้คือ หมู่ที่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ครอบครัวชาวมอญ ที่อพยพมามีทั้งหมด ๔ ตระกูลด้วยกัน คือ ๑. ตระกูลช่างปั้น ๒. ตระกูลเลี้ยงสุข ๓. ตระกูลแก้วสุทธิ และ ๔. ตระกูลเรืองบุญ๒๖ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านการค้า เช่น การทำ�หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา


๓๖ ที่ได้มีการส่งออกสู่ตลาดภาครัฐเข้ามาดูแลและให้การสนับสนุนในการผลิต บ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์สมัยก่อนมีภูเขาที่เป็นทองเหลืองอร่าม ทั้งลูก อยู่ที่บริเวณวัดโตเขาทอง ตามตำ�นานเล่าว่ามีเทวดาดูแลรักษาอยู่ ต่อมาเทวดาแปลงกายเป็นขอทาน มาขอนํ้าชาวบ้านดื่ม ชาวบ้านเห็นก็รังเกียจ ไม่ใช้ขันนํ้าให้ดื่ม ใช้กะลาตักนํ้าให้ดื่มแทน เทวดาจึงโกรธ สาปแช่งไว้ต่อไปจะไม่มีภูเขาทองอีก ภูเขาทองจึงกลายเป็นภูเขาธรรมดา ตั้งแต่นั้นชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ ว่า “เขาทอง” และได้ตั้งเป็นตำ�บลเขาทองในเวลาต่อไป สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีภูเขา ได้แก่ เขากลางนา สระแก้ว เขาวิหาร มีพื้นที่ประมาณ ๔๔,๕๓๐ ไร่ พื้นที่บ้านเขาทองเหมาะแก่การดำ�รงชีวิตจากภัยธรรมชาติ เช่น นํ้าท่วม พื้นที่บริเวณเนินเขาเหมาะแก่การเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำ�ให้ชาวมอญสามารถคงอยู่และ ได้ฟื้นฟูเอกลักษณ์ประเพณีการนับถือผีบรรพบุรุษ การละเล่นสะบ้า ตลอดจนประเพณีสงกรานต์ขึ้นมา ให้ลูกหลานได้สืบต่อรุ่นต่อรุ่น บางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์จากคำ�บอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่า เดิมชาวบ้านปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา มีวัดเป็นศูนย์กลางชื่อวัดจันทะป่าฝ้าย มีที่มาจาก สองสามีภรรยาที่สร้างวัดจึงนำ�มาตั้งเป็นชื่อวัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดบางมะฝ่อเพราะมีต้นมะฝ่อขึ้นมากมาย บริเวณริมนา ้ํ จนปัจจุบันตำ�บลบางมะฝ่อเป็นตำ�บลหนึ่งของอำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นตำ�บลที่ ได้รับการสนับสนุนให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวของอำ�เภอพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบรูณ์การตั้งบ้านเรือน ของราษฎรขนานตามแนวแม่นํ้าเจ้าพระยา มีหนองนํ้าที่สำ�คัญ คือ หนองอ้างตูบ๒๗ พื้นที่บางมะฝ่อเหมาะแก่ การเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ชาวมอญในพื้นที่ได้มีการอนุรักษ์ประเพณีที่สำ�คัญและยิ่งใหญ่ คือ ประเพณีสงกรานต์บ้านบางฝ่อ โดยจัดขึ้นทุกปีถือเป็นประเพณีที่สำ�คัญของชาวมอญและชาวไทยปัจจุบัน เป็นอย่างมาก๒๘ ปัจจัยที่เอื้อต่อการเลือกตั้งถิ่นฐานล้วนมีปัจจัยและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพ ภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม การค้า ตลอดจนภาครัฐเป็นผู้กำ�หนดความแตกต่าง ของปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน มีผลต่อความเป็นมาของชุมชนที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีการอพยพ เข้ามาต่างช่วงเวลาและต่างสภาพแวดล้อมย่อมมีผลต่อการสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนที่แตกต่างกันออกไป เอกลักษณ์ของชุมชนชาวมอญ ลักษณะเด่นหรือเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปตามสภาพชุมชน ในพื้นที่ต่าง ๆ ตามความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำ�นวยต่อการ ใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ตลอดจนช่วงเวลาในการที่ภาครัฐเข้ามาฟื้นฟูในเรื่อง ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ทำ�ให้ชุมชนทั้ง ๓ ชุมชนเกิดเอกลักษณ์ของชุมชนที่แต่งต่างกันขึ้นมา ๒๗ข้อมูลตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ นครสวรรค์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon/600203. สืบค้นวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๐.๒๘บุญเหลือ น้อยเอี่ยม อายุ ๕๓ ปี, ที่อยู่ ๕๑/๓ หมู่ ๔ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์, (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์


๓๗ เช่น เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง จุดเด่นของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา บ้านแก่ง คือ หน้าร้านขายผลิตภัณฑ์ ของกลุ่ม อยู่ติดถนนทางหลวงจึงทำ�ให้ผู้ที่สัญจรไปมาสามารถมองเห็นและแวะเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้ อีกทั้งสินค้าภายในร้านค้ายังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และทางกลุ่มยังได้ความสำ�คัญในการต้อนรับผู้ที่มา เยี่ยมชมสินค้าภายในร้านเป็นอย่างดี คอยแนะนำ�ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดเหมาะสำ�หรับงานใดบ้าง รวมทั้งกลุ่ม ยังจัดให้มีการออกร้านตามงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง เวลาเดียวกันยังผลิตตาม ใบสั่งซื้อของลูกค้าทั้งรูปแบบและลวดลายผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ ความเปลี่ ยนแปลงของชุมชนมอญในนครสวรรค์ ชุมชนชาวมอญในพื้นที่บ้านแก่ บ้านเขาทอง และบ้านบางมะฝ่อ ได้เริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องการให้สิทธิแก่ชุมชนทำ�ให้ชุมชนชาวมอญ มีความโดดเด่นเพิ่มมากขึ้น และภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนทำ�ให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยทาง เศรษฐกิจที่มีต่อการสร้างประเพณีวัฒนธรรม เศรษฐกิจของชาวมอญในประเทศไทยมีลักษณะเป็นเศรษฐกิจ ที่เลี้ยงตนได้ เศรษฐกิจส่วนใหญ่หมุนเวียนอยู่ในระดับท้องถิ่นภายในชุมชนของตนเอง อาชีพชาวมอญ ส่วนใหญ่คล้ายกับคนไทย คือ การทำ�นาทำ�ไร่ ทำ�อุตสาหกรรมและหัตถกรรมต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น ได้แก่การค้า การทำ�อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น หลังจากที่ภาครัฐเข้ามาดูแลทางด้านความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจของคนในชุมชนทำ�ให้ชุมชนเกิดการ ฟื้นตัวและเป็นเอกลักษณ์ที่สำ�คัญของชุมชนชาวมอญขึ้นมา พื้นที่บ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง นครสวรรค์บ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรีและบ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ เป็นชุมชนที่มีประเพณีวัฒนธรรมที่ภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนทำ�ให้เกิดเป็นแหล่งการท่องเที่ยวที่สำ�คัญ ทุกปี คือ ประเพณีสงกรานต์ ที่จัดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ถือว่าเป็นประเพณีสำ�คัญของชาวมอญที่มีมา ตั้งแต่อดีต มีการทำ�ข้าวแช่ที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบกับการนุ่งผ้าแบบชาวมอญที่ยังอนุรักษ์อยู่จนถึงปัจจุบัน ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างประเพณี คือ ภาครัฐเข้ามาดูแลฟื้นฟูท้องถิ่น ตลอดจนสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่หาได้ภายในชุมชนทำ�ให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยทางสังคมที่มีต่อการสร้างประเพณีวัฒนธรรม การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ย่อมมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้ เราเรียกว่า วัฒนธรรม ดังนั้นวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคน วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้าง ระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยี ต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ


๓๘ วัฒนธรรม คือ ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ ไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำ�เร็จในด้านศิลปกรรม หรือมารยาททางสังคมเท่านั้น กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้นเมื่อมีความแตกต่างระหว่าง ชนแต่ละกลุ่มก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตและส่วนรวม วัฒนธรรม เป็นที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วมที่มนุษย์ได้เรียนรู้ มาจากคนสมัยก่อนสืบต่อกันมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็นหรือการกระทำ�ของมนุษย์ ในส่วนร่วมที่ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบประเพณี ชุมชนในพื้นที่ทั้ง ๓ พื้นที่ในนครสวรรค์เป็นสังคมขนาดกลางที่ชาวมอญต้องการสร้างสรรค์ประเพณี ขึ้นมา เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของภาครัฐ คนในชุมชนสามารถอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ได้และต้องมี ความสามัคคี รักใคร่เหมือนพี่น้องกันจึงทำ�ให้รักษาประเพณีวัฒนธรรมไว้คงอยู่คู่ชุมชนไว้ได้ เช่น การนับถือ ผีบรรพบุรุษ คนในชุมชนเกิดความเชื่อ เกิดความเลื่อมใสและศรัทธาในการนับถือบรรพบุรุษ มีการอนุรักษ์ ประเพณีเพื่อให้ลูกหลานได้สืบสานต่อไป บทบาทด้านการเมือง ชาวมอญที่เข้ามาอยู่ในนครสวรรค์ได้รับสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกันกับคนไทย นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกัน รูปร่างหน้าตา วัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตคล้ายกันกับคนไทย มีการผสม กลมกลืน และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คนไทยให้สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพและชายชาวมอญ ทุกคนต้องรับราชการทหาร มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับคนไทย๒๙ บทบาทด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจชาวมอญในนครสวรรค์ตั้งแต่แรกตั้งถิ่นฐาน ในช่วงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น คล้าย ๆ กับชาวไทย คือ เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตผลหมุนเวียนกันอยู่ ภายในชุมชนของตนมีการค้าขายกันระหว่างชุมชน เป็นการรับซื้อผลผลิตของเพื่อนบ้านไปขายต่อยังชุมชน ที่ห่างออกไป อาชีพของชาวมอญส่วนใหญ่คล้ายกับคนไทยทั่วไป คือ ทำ�นา ทำ�สวน นาเกลือ และงาน หัตถกรรมท้องถิ่น เช่น เย็บจากมุงหลังคา ตัดฟืน เผาถ่าน ทำ�จักสาน ทอเสื่อ ทอผ้า อาชีพที่ขึ้นชื่ออย่างของ ชาวมอญ ได้แก่ ทำ�เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง และทำ�อิฐมอญ๓๐ บทบาทด้านศาสนา ไทยรับพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาจากอินเดียโดยผ่านทางมอญ รวมทั้ง วัฒนธรรมประเพณีที่ส่งผ่านกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การค้าขาย และการสมรสระหว่างกัน เป็นต้น โดยเฉพาะด้านศาสนา มีพิธีกรรมในวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องและผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา วิถีชีวิต เช่น ชาวมอญ บ้านเขาทองที่มีการนับถือผีบรรพบุรุษสืบสานกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำ�ให้ชาวมอญ ที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทย ได้รับการยอมรับให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ มีการสมรสระหว่างกัน ทั้งในหมู่ราษฎรทั่วไปและกับพระบรมวงศานุวงศ์๓๑ ๒๙พรทิพย์ พินิจสุวรรณ อายุ ๓๕ ปี, ที่อยู่ ๔๓/๑ หมู่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์.๓๐เป้า เลี้ยงสุข อายุ๕๙ ปี, (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์.๓๑ประวัติศาสตร์มอญ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/mon_history.html. สืบค้นวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙.


๓๙ การรับรู้ประวัติศาสตร์ของชาวมอญ ตั้งแต่อดีตชาวมอญถือได้ว่าเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่น่าจดจำ�ในด้านชาติพันธุ์ชาวมอญ การไร้แผ่นดินไม่มีแผ่นดินเป็นของตนเอง ทำ�ให้ชาวมอญต้องอพยพ เข้ามาสู่ไทย ทำ�ให้การรับรู้ประวัติศาสตร์ของชาวมอญมีการบันทึกและเล่าสืบต่อกันมา ทำ�ให้ปัจจุบัน ชาวมอญในพื้นที่นครสวรรค์มีการนำ�วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ เข้ามาเผยแพร่ในไทยทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน เช่น การนับถือผีบรรพบุรุษ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชนบ้านเขาทองที่จะต้องมีการจัดขึ้นเป็นประจำ�หนึ่งครั้งต่อสองปี๓๒ มีการบูชากาทำ�เซ่นไหว้ให้แก่ผีบรรพบุรุษ เพื่อให้ผีบรรพบุรุษคอยดูแลปกป้องคนในชุมชนให้อยู่อย่างสงบ ร่มเย็นตามความเชื่อของคนภายในชุมชนบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์๓๓ ตลอดจน ประเพณีสงกรานต์เอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย อาหาร เป็นต้น ที่มีการสืบสานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ สรุป มอญ เป็นชนชาติที่มีอารยธรรมสูงในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีประเทศเป็นของตนเอง แต่ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งในด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม รวมถึง ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น วัฒนธรรมของชาวมอญในพื้นที่ลุ่มแม่นา้ํอิรวดีและกลุ่มแม่นา้ํ เจ้าพระยา ดังปรากฏร่องรอยทางโบราณสถาน โบราณวัตถุอักษร และมีศิลปะที่มีเอกลักษณ์โดนเด่น การที่ชาวมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของไทยเนื่องด้วยภัยสงครามจากพม่า และพื้นที่ ของมอญและไทยติดต่อกัน สภาพภูมิอากาศคล้ายกัน ความอุดมสมบูรณ์ของไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่เหมือนกัน นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกันจึงสามารถปรับตัวได้ง่ายเมื่อเข้ามาอยู่ ในไทย ชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยมีบทบาทสำ�คัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยและสังคมไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์เช่น การเกณฑ์แรงงานไพร่ กองกำ�ลังสอดแนม นอกจากนี้ประเพณีและ วัฒนธรรมมอญยังถ่ายทอดสู่สังคมไทยทั้งในราชสำ�นักและชาวบ้าน ตลอดจนชาวมอญได้อพยพเข้ามาถิ่นฐาน ในนครสวรรค์ด้วยเหตุปัจจัยหลายด้านตามสภาพภูมิอากาศ ชุมชนชาวมอญนครสวรรค์ ประกอบด้วยพื้นที่บ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ บ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ และบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัด นครสวรรค์ท้องถิ่นได้รับความสนใจจากภาครัฐเข้ามาสนับสนุนและเห็นความสำ�คัญระหว่างคนและทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชนชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจึงทำ�ให้คนในชุมชนสามารถ ปรับตัว มีการจัดประเพณีที่ยังสืบสานกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสงกรานต์การทำ�ข่าวแช่ การละเล่น ลูกสะบ้า เป็นต้น ปัจจุบันชุมชนได้ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชนในสังคมไทยให้คนรุ่นหลัง ได้สืบต่อไป ๓๒เกิด ต่วนชะเอม อายุ๘๗ ปี, (๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์.๓๓ไข่ต่วนชะเอม อายุ๘๒ ปี, (๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙) สัมภาษณ์.


๔๐ ลักษณะเด่นหรือเอกลักษณ์ได้แตกต่างกันออกไปตามสภาพชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ตามความอุดม สมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงที่ตั้งตามภูมิศาสตร์และการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดผล ประโยชน์สูงสุด ตลอดจนช่วงเวลาในการที่ภาครัฐเข้ามาฟื้นฟูในเรื่องประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ทำ�ให้ชุมชนทั้ง ๓ ชุมชนเกิดเอกลักษณ์ของชุมชนที่แต่งต่างกันขึ้นมา เช่น เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง ชุมชมบ้านแก่งตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ มีการทำ�ครื่องปั้น ดินเผามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายมีการปั้นเพื่อส่งออก ปัจจุบันชาวมอญได้มีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ทันกับความต้องการของตลาด จุดเด่นของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง คือ หน้าร้านขาย ผลิตภัณฑ์อยู่ติดถนนทางหลวงจึงทำ�ให้ผู้ที่สัญจรไปมาสามารถมองเห็นและแวะเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ได้ อีกทั้ง สินค้าภายในร้านค้ายังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และให้ความสำ�คัญในการต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมชมสินค้า ภายในร้านเป็นอย่างดี คอยแนะนำ�ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดเหมาะสำ�หรับงานใดบ้าง รวมทั้งมีการออกร้าน ตามงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง เวลาเดียวกันยังผลิตตามใบสั่งซื้อของลูกค้า ทั้งรูปแบบและลวดลายผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ได้มีการคิดค้นรูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ เพื่อนำ�เสนออยู่เสมอ งานเครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่งทำ�ด้วยมือทุกขั้นตอน เหมาะสำ�หรับเป็นของใช้ในบ้าน และของฝากที่ระลึกอีกด้วย ประเพณีสงกรานต์บ้านบางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ ชาวมอญได้มีการจัดงานประเพณี งานบุญข้าวแช่ และถนนข้าวแช่ของชาวบางมะฝ่อ เป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีการสืบสานและปฏิบัติมาเป็นประเพณีต่อเนื่องมาร่วม ๑๐๐ ปีซึ่งข้าวแช่นั้นเป็นอาหารไทยที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ทั้งในด้านรสชาติและความประณีตในการปรุงแต่งให้มีความสวยงาม น่ารับประทาน นับเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีให้เป็นที่รับรู้และเรียนรู้แก่คนรุ่นหลัง และเผยแพร่ให้นักท่องเที่ยว ได้รับรู้ถึงประเพณีงานบุญข้าวแช่ของชาวมอญ ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในงานประเพณีข้าวแช่บางมะฝ่อ พิธีทำ�บุญตักบาตร ขบวนแห่ข้าวแช่ การจัดนิทรรศการ การสาธิตวิธีการทำ�ข้าวแช่ พิธีถวายข้าวแช่แด่ พระสงฆ์ การจัดเลี้ยงและรับประทานข้าวแช่และกิจกรรมรดนํ้าขอพรจากผู้สูงอายุเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ความเชื่อการนับถือผีบรรพบุรุษ บ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี ชาวมอญมีลักษณะ ความเชื่อเรื่องผีชาวมอญที่นับถือและให้ความสำ�คัญนั้นไม่ต่างจากผีในสังคมเกษตรดั้งเดิม คือ มีทั้งผีระดับ หมู่บ้านและผีระดับเครือญาติ หรือผีบรรพบุรุษ ซึ่งสืบทอดทางฝ่ายชาย ถ้าบุตรคนโตเป็นหญิงบุตรชาย คนรองถัดไปเป็นผู้รับแทนหรือไม่ก็ย้ายผีไปอยู่บ้านที่มีลูกชาย เมื่อถึงเวลาทำ�พิธีไหว้ผีบรรพบุรุษทุกคนใน ตระกูลต้องมารวมกันที่บ้านต้นผีผีของคนไทยเชื้อสายมอญเป็นผีบรรพบุรุษ ผีบรรพบุรุษของแต่ละตระกูลจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลสมาชิกในตระกูลตนเอง ปกป้องคุ้มครอง ภัยอันตรายให้แก่ลูกหลาน ให้ความช่วยเหลือเมื่อคนในตระกูลเดือดร้อน ส่งผลให้สังคมโดยรวมสามารถ อยู่ได้อย่างมีความสุข มีการจัดพิธีกรรมรำ�ผีมอญเพื่อสืบทอดความรักความสามัคคี ความเป็นญาติพี่น้อง ปีละครั้งหรือสองสามปีครั้ง


๔๑ การทำ�เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ ประเพณีสงกรานต์บ้าน บางมะฝ่อ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ และความเชื่อการนับถือผีบรรพบุรุษบ้านเขาทอง ตำ�บลเขาทอง จังหวัดนครสวรรค์ถือได้ว่าเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่สำ�คัญของชาวมอญ เป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน ทำ�ให้ชุมชนเกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้น ทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชุมชนมอญ ในนครสวรรค์เริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องการให้สิทธิแก่ชุมชน ทำ�ให้ชุมชนชาวมอญมีความโดดเด่นเพิ่มมากขึ้น และภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุน ทำ�ให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมดังที่กล่าวมา ณ ข้างต้น


๔๒ เอกสารอ้างอิง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร จวน เครือวิชฌยาจารย์, วิถีชีวิตชาวมอญ, กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์, ๒๕๓๗. ประเพณีมอญที่สำ�คัญ, กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๘. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, พันจันทนุมาศกับพระจักรพรรดิพงศ์, (กรุงเทพฯ : คลัง วิทยา, ๒๕๐๗), พระวรภักดิ์พิบูลย์, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, (พระนคร : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๒), ยงยุทธ ชูแว่น, ครึ่งศตวรรษแห่งการค้นหาและเส้นทางสู่อนาคต ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย, กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๕๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐, (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ). _________. (สำ�นักงานกฎหมายสำ�นักงานเลขานุการวุฒิสภา). วิเศษ แสงกาญจนวนิช และณรงค์ครองแก้ว, ย้อนรอยรามัญ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗. สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, ไทยรบพม่าพระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, นิกายพระนคร : โรงพิมพ์สามมิตร, ๒๔๗๕. วิจัย ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์, ชุมชนศึกษา, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, สัญลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรมเลี้ยงผี“งานปี” บ้านเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัด นครสวรรค์, ๒๕๔๔. สุภรณ์โอเจริญ, มอญในเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑). องค์บรรจุน, ข้างสำ�รับมอญ, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. องค์ บรรจุน, ต้นธาร วิถีมอญ, กรุงเทพฯ : แพรวสำ�นักพิมพ์, ๒๕๕๒. ________. หญิงมอญ อำ�นาจ และราชสำ�นัก, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๐. ออนไลน์ ข้อมูลตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ นครสวรรค์ [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.thaitambon. com/tambon/600203, สืบค้นวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๐. เทศบาลตำ�บลตำ�บลบ้านบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http:// www.bangmaplor.go.th/link_opt.php. สืบค้นวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙. เทศบาลตำ�บลบ้านเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.kha othong.go.th/html/new-menu-2-view.asp?action=2&id=2. สืบค้นวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙.


๔๓ ประวัติศาสตร์มอญ-อาณาจักรทวารวดีมอญโบราณ. [ออนไลน์],แหล่งที่มา:http://www.monstudies.com, สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. ประวัติศาสตร์มอญ [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/mon_history.html. สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. _________. ที่มา :http://www.ramanrak.com/?page_id=85 สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. ประเพณีสงกรานต์บ้านบางมะฝ่อ [ออนไลน์], ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/272504. ศรีแพร อุนะพำ�นัก, ทายาทผู้สืบทอดการทำ�ข้าวแช่. พระถังซำ�จั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง [ออนไลน์], ที่มา : http:// www.monstudies.com, สืบค้นวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. มอญหริภุญชัยประวัติศาสตร์มอญ [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/ mon_history.html. สืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชนฯเล่มที่ ๑๖ เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึกและอ่านจารึกจารึกที่พบในประเทศไทย [ออนไลน์] ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?ook=16&chap=4& page=chap4.htmสืบค้นวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. สนั่น เมืองวงษ์, ประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์สุโขทัย, สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://phatcharareng.blogspot.com/2013/08/blog-post.html. สืบค้นวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐. ๗๖ ปีผ่านไป ชาตินิยม ที่ยังหลงเหลือจากนโยบาย จอมพล ป. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://news. mthai.com/webmaster-talk/405976.html, สืบค้นวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๐. สัมภาษณ์ เกิด ต่วนชะเอม (๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙). อายุ ๘๗ ปี, ที่อยู่ ๑๒๖ หมู่ ๒ ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ไข่ ต่วนชะเอม (๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙). อายุ ๘๒ ปี, ที่อยู่ ๑๒๖ หมู่ ๒ ตำ�บลเขาทอง อำ�เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำ�นอง ป้อมเสมา (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙). อายุ ๓๘ ปี, ที่อยู่ ๑๓๙/๒ หมู่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง นครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์ บุญเหลือ น้อยเอี่ยม (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙). อายุ๕๓ ปี, ที่อยู่ ๕๑/๓ หมู่ ๔ ตำ�บลบางมะฝ่อ อำ�เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์(๖ สิงหาคม ๒๕๕๙). เป้า เลี้ยงสุข (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙). อายุ๖๐ ปี, ที่อยู่ ๔๓ หมู่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พรทิพย์ พินิจสุวรรณ (๖ สิงหาคม ๒๕๕๙). อายุ ๓๕ ปี, ที่อยู่ ๔๓/๑ หมู่ ๑ ตำ�บลบ้านแก่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์


สำ�หรับคนไทย วิถีชีวิตมีความผูกพันกับ “ข้าว” มาตั้งแต่อดีตโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากประเพณี ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวอย่างชัดเจน อาทิ พิธีทำ�ขวัญข้าว พิธีแรกนาขวัญ ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีที่พระมหากษัตริย์ในฐานะพระประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เนื่องด้วยการเกษตรกรรมที่มีความสำ�คัญต่อแผ่นดินไทย โดยได้รับการสืบทอดมาแต่เก่าก่อนสมัยแผ่นดินสยาม ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งของภูมิประเทศ ประเทศไทยถือเป็นแผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยแร่ธาตุ ดิน นํ้า และอากาศที่มีความเหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมทางเกษตรกรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยังชีพหรือแสวงหาผลประโยชน์จากผลผลิตทางทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ข้าวจึงถูกได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทสำ�คัญและเป็นเกษตรกรรมหลักที่ใช้ในการดำ�รงเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว และเป็นตัวกำ�หนดรูปแบบขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมได้อีกด้วย “ข้าว” เป็นธัญพืชทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความสำ�คัญและถือเป็นอาหารหลัก ทางด้านปัจจัยการบริโภคของมนุษย์ข้าวจึงเป็นอาหารหลักมาอย่างช้านานของกลุ่มแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งส่วนใหญ่ข้าวจะเป็นจุดเริ่มต้นหรือบ่อเกิดที่สำ�คัญทางด้านระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พิธีกรรม และเป็นพื้นฐานของการดำ�รงชีวิต โดยแบ่งลักษณะข้าวออกเป็น ๒ ชนิด ตามคุณลักษณะของเมล็ด กล่าวคือ ข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีเนื้อเมล็ดใส เมื่อทำ�การหุงเมล็ดจะมีลักษณะร่วนและไม่ติดกัน ใช้รับประทานเป็น อาหารหลักประจำ�ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย และข้าวเหนียว เป็นข้าวที่มี เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อทำ�การหุงหรือนึ่งแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกัน ใช้รับประทานกันเป็นประจำ�ใน ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนเหนือ และอาจมีการนำ�ไปใช้ทำ�ขนมประเภทต่าง ๆ ในแถบภาคกลางและ ภาคใต้ นอกจากนี้เรามักจะได้พบเห็นและได้ยินชื่อเรียกข้าวไปตามคุณลักษณะพื้นฐานของแต่ละวัฒนธรรม หรือพิธีกรรม เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวสุก ข้าวจี่ ข้าวตอก ข้าวต้มลูกโยน ข้าวตู ข้าวแตน ข้าวเบือ ข้าวปุ้น (หรือขนมจีน) ข้าวพอง ข้าวหลาม หรือข้าวเม่า เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะ การนำ�ข้าวไปแปรรูปเพื่อใช้ทำ�เป็นอาหารทั้งคาว - หวานได้อีกเป็นจำ�นวนมากมาย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่น วิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชนมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว ในบทความนี้อาจมิได้ กล่าวถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าว การเพาะปลูกหรือการทำ�นาอย่างลึกซึ้ง แต่จะขอมุ่งประเด็นถึงการนำ�ข้าว ไปใช้ในการแปรรูปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้คิดกระบวนการแปรรูปข้าว นำ�ไปต่อยอดเป็นเมนูอาหารอีกหลากหลายรายการ ของกิน...(นครสวรรค์) อันเนื่ องมาจาก “ข้าว” ปริญญา จั่นเจริญ นักวิชาการศึกษา หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์: สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๔๔


ความข้างต้นคือคํา “เกริ่นนำ�” หลังปกซีดีเสียงจากโครงการบันทึกเสียง “บทเพลงแห่งลุ่มนํ้าเจ้าพระยา” ซึ่งจัดทำ�ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2545 (ซึ่งตรงกับวาระครบ 80 ปีแห่งการสถาปนาสถาบันราชภัฏนครสวรรค์) ภายใต้ภารกิจ ของสำ�นักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ (ชื่อเดิม) ในการดำ�เนินงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การอนุรักษ์ การเผยแพร่ การประยุกต์ ตลอดจนการสร้างฐานข้อมูลและเครือข่ายทางวัฒนธรรม โดยมีผู้ช่วย ศาสตราจารย์สุชาติแสงทอง ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้อำ�นวยการสำ�นักศิลปวัฒนธรรมในเวลานั้น ผลผลิตจากโครงการ บันทึกเสียงนี้นับเป็นหมุดหมายชิ้นสำ�คัญในการริเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลบทเพลงอันเป็นองค์ความรู้ของครูดนตรี ในจังหวัดนครสวรรค์โดยสุชาติแสงทอง ได้กล่าวถึงแนวคิดอันเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ว่า ...คือจริง ๆ ก็มองถึงบทบาทหน้าที่ของการทำ�งานของสำ�นักศิลปวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่สำ�คัญ ก็คือเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ภายในพื้นที่ทางกายภาพ แล้วก็ค้นหา พื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มันเกิดขึ้นบนพื้นที่ทางกายภาพ ตอนนั้นคำ�ว่าต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาเนี่ยมันก็ ยังไม่ได้เกิดขึ้น เราก็คิดว่าการค้นหาข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมในทุก ๆ ด้านของเมืองนครสวรรค์ หรือความเป็นลุ่มนํ้าเจ้าพระยา ตอบโจทย์เนี้ย มันน่าจะเป็นภารกิจหลักสำ�คัญในการที่จะทำ� ประเด็นก็อยู่ที่ว่าตอนนั้นศักยภาพของสำ�นักศิลปวัฒนธรรมอาจจะมีไม่ได้เยอะ เรื่องงบประมาณ เรื่องอะไรต่าง ๆ เราก็จะพยายามค้นหางานศิลปวัฒนธรรมบางอย่างที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ฉะนั้น ในตอนนั้นเนี่ยก็จะมีหลายเรื่องที่จะเก็บ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนา้ํ โพ การละเล่นต่าง ๆ ของเมืองนครสวรรค์ รวมถึงการรวบรวมบทเพลงลุ่มนํ้าเจ้าพระยา อันนี้ก็เป็น ประเด็นหนึ่งของการเก็บ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูล คราวนี้บทเพลงลุ่มนํ้า เจ้าพระยาเนี่ยเราก็ตั้งโจทย์ไปว่า เอ๊... เราไม่ได้ใช้ชื่อว่าการเก็บบทเพลงของอาจารย์คนนี้ๆ คนนั้น เพื่อจะเป็นธีมใหญ่ว่าบทเพลงแห่งภูมิภาคเนี้ยมันมีความยิ่งใหญ่ มีศิลปิน มีบทเพลงที่มากมาย ครั้งนั้นก็เลยโฟกัสไปที่เมืองเราเนี้ยนครสวรรค์ว่า เอ๊.. ถามอาจารย์วิพักตร์ว่าเพลงต่าง ๆ ที่มัน ถูกแสดงถึงความเป็นเมือง เป็นบ้าน เป็นเมืองของเราเนี่ยมีอะไรบ้าง ท่านก็มีเพลงที่น่าสนใจอยู่ หลายเพลงนะครับไม่ว่าจะเป็นเพลงโหมโรง สี่แคว มันสะท้อนถึงความเป็นนครสวรรค์เนาะ เพลงเจ้าพระยา เถา ก็สะท้อนความเป็นเมืองนครสวรรค์... (สุชาติ แสงทอง, สัมภาษณ์ 18 มกราคม 2565) จากคำ�สัมภาษณ์ แสดงให้เห็นบทบาทหน้าที่ของสำ�นักศิลปวัฒนธรรมบนฐานคิดของการเก็บรวบรวม ศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความเป็นเมืองนครสวรรค์เพื่อนำ�ไปสู่การศึกษาต่อยอดในภายหลัง ทั้งนี้ ในฐานะ ประธานดำ�เนินงานสุชาติแสงทอง ยังได้กล่าวถึงกระบวนการศึกษาและเก็บข้อมูลต่อไปอีกว่า ...ฉะนั้น เพลงสองเพลงเนี่ย ก็เกิดจากครูดนตรีที่อยู่ในเมืองนครสวรรค์แล้วก็ศึกษาประวัติอาจารย์ ทั้งสองท่าน ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สงัด ทองสุข หรือว่าอาจารย์มานพ หวังสุข ก็มีประวัติที่น่าสนใจ ก็คือว่าเป็นสายครูดนตรีที่เชื่อมโยงกับสายใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้น ...อันเนี้ยก็เลยเกิดว่า เอ๊... จังหวัดนครสวรรค์ มีการนำ�ข้าวมาแปรรูปเป็นอาหารคาวและขนมพื้นบ้านที่ทำ�กินกันมาช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น จากมุขปาฐะการเล่าขานของคุณยายสุวรรณ ก้อนจันทร์เทศ เล่าว่า มีชนกลุ่ม ชาติพันธุ์มอญ จำ�นวน ๑๕ ครอบครัว อพยพจากตำ�บลหนองหลวง อำ�เภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่บ้านท่าเสลี่ยง หมู่ที่ ๓ ตำ�บลคณฑี อำ�เภอเมืองกำ�แพงเพชร จังหวัดกำ�แพงเพชร หนึ่งในนั้นมีครอบครัวของคุณยายสุวรรณ ก้อนจันทร์เทศ อยู่ด้วย ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๓๔๓ หมู่ที่ ๓ ตำ�บลคณฑี อำ�เภอเมืองกำ�แพงเพชร จังหวัดกำ�แพงเพชร เมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานก็มีการนำ� วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่มีติดตัวไปด้วย จึงเกิดการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรมของชาวมอญไปยังต่างถิ่น หนึ่งในนั้นคือวัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเมนูขนมข้าวโปง นั่นเอง ขนมข้าวโปง มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เมื่อไปอยู่ในพื้นที่แห่งใหม่ก็ได้นำ�วิถีชีวิตไปเผยแพร่ ยังสถานที่นั้น ๆ ด้วย จนเป็นที่รู้จักและนิยมทำ�ขนมชนิดนี้รับประทานกันในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน คำ�ว่า “โปง” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า น. เรียกลักษณะ แห่งสิ่งของที่ข้างในเป็นโพรงโป่งออก. ตรงกับลักษณะของข้าวโปงที่ถูกปั้นเป็นลูกทรงกลมหรือทรงรีห่อหุ้ม ด้วยไส้ถั่วและงา ตัวขนมอาจมีสีและวิธีการทำ�ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนท้องถิ่น โดยมีส่วนผสมหลัก ๆ ทำ�มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น แป้งข้าวเหนียว สามารถใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวดำ� ส่วนที่เป็นไส้ขนมทำ�มาจากถั่วลิสง งาขาว งาดำ�ที่คั่วสุก นำ�ไปตำ�ให้ละเอียดพอประมาณผสมนํ้าตาลปีบ ทำ�ให้ได้รสชาติที่หวานหอม ซึ่งขั้นตอนวิธีการทำ�ในแต่ละพื้นถิ่นมีสูตรวิธีการทำ�ที่แตกต่างกัน ถือเป็นขนม หารับประทานได้ยาก เพราะคนยุคใหม่ไม่ค่อยมีใครสืบทอดภูมิปัญญาไว้มากนัก จึงได้สูญหายไปพร้อมกับ อายุขัยของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก แต่ก็มีในบางพื้นถิ่นที่มีการอนุรักษ์สืบสานไว้ได้นั้น ปัจจุบัน มีการปรับปรุงและพัฒนา ทั้งวิธีการทำ�และปรับปรุงสูตรขนมให้เหมาะกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยจะมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำ�ขนมข้าวโปงแบบโบราณ ดังนี้ ส่วนผสมประกอบด้วย - ข้าวเหนียว (แป้งข้าวเหนียวก็มีใช้) - ถั่วลิสง - งาดำ� งาขาว - นํ้าตาลปี๊บ - เกลือป่น - นํ้าเปล่า ๔๕


ขั้ นตอนการทำ� ขอจำ�แนกออกเป็น ๓ ขั้นตอนดังนี้ ๑. การทำ�แป้ง ๒. การทำ�ไส้ ๓. การปั้นลูกขนมข้าวโปง ๑. วิธีการทำ�แป้ ง ๑) นำ�ข้าวเหนียวมาซาวนํ้า แล้วแช่นํ้าไว้ประมาณ ๑ คืน ๒) นำ�ข้าวเหนียว ที่แช่แล้วมาใส่ซึ้งนึ่ง ประมาณ ๒๐ - ๓๐ นาที ๓) นำ�ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วใส่ครกไม้ขนาดใหญ่ รีบตำ�ให้ละเอียดเพื่อปั้นเป็นลูกข้าวโปง ๔) รีบปั้นลูกขนมข้าวโปงในขณะที่ข้าวเหนียวร้อน ๆ เพราะถ้าข้าวเหนียวไม่ร้อนจะจับก้อนแข็ง ปั้นไม่ได้ ภาพวิธีการทำ�แป้ ง ๑) นำ�ข้าวเหนียวใหม่มาทำ�การซาวนํ้า แล้วแช่นํ้าไว้๑ คืน จากนั้นถึงวันรุ่งขึ้นนำ�ไปนึ่งให้สุก ๔๖


๒) นำ�ข้าวเหนียว ที่นึ่งสุกแล้วไปใส่ครกไม้ที่มีขนาดใหญ่และรีบตำ�ให้ข้าวเหนียวละเอียดมาก ๓) เมื่อตำ�ข้าวเหนียวละเอียดได้ที่แล้ว ก็นำ�ใส่ภาชนะเพื่อเตรียมนำ�ไปปั้นใส่ไส้งาต่อไป ๔๗


๒. วิธีการทำ�ไส้ขนม ๑) คั่วถั่วลิสงให้สุก จากนั้นก็นำ�ไปตำ�ให้แหลกละเอียดพอประมาณ ๒) คั่วงาให้สุก จากนั้นก็นำ�ไปตำ�ให้ละเอียด ๓) นำ�ถั่ว งา ที่คั่วแล้วลงตำ�รวมกับนํ้าตาลปีบเพื่อให้ทุกอย่างผสมเข้ากันได้ดี ภาพวิธีการทำ�ไส้ขนมข้าวโปง ๑) นำ�งาคั่ว จากนั้นก็นำ�ไปตำ�ให้พอแหลก (ก่อนคั่วงาควรล้างสิ่งสกปรกออก) ๒) คั่วถั่วลิสงให้สุก จากนั้นก็นำ�ไปตำ�ให้ละเอียด ๓) สามารถทำ�ไส้ได้สองแบบ คือ ทำ�ด้วยถั่วลิสงคั่ว หรือทำ�ด้วยงาคั่ว หากต้องการทำ�ด้วยสิ่งใด ให้นำ�สิ่งนั้นผสมตาลปีบนวดให้เข้ากันก็จะได้ไส้ขนมข้าวโปง ๔๘


Click to View FlipBook Version