TPSO 10 รายงานผล การดำ เนินงาน ประจำ ปีงบประมาณ 2566 ANNUAL REPORT 2023 สำ นักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
ค ำน ำ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 (สสว.10) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการ รายงานผลการดำเนินงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ในปีงบประมาณ 2566 ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการดำเนินงานตามบทบาท ภารกิจของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน ด้านวิชาการให้แก่ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อาทิการรายงานสถานการณ์ทางสังคม การจัดการความรู้การบริการ ทางวิชาการ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอรูปแบบรายงานผลการดำเนินประจำปี 2566 ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ประกอบด้วย ข้อมูล แผนภาพ และอินโฟกราฟฟิก ซึ่งแต่ละส่วนมีสาระสำคัญพอสังเขปโดยเนื้อหารายงาน แบ่ งเป็ น 3 ส่วน คือ ส่วน ที่ 1 ข้อ มูลทั่ วไป ของสำนั กงาน ส่งเสริมแ ละสนั บ สนุ น วิชาการ 10 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 และส่วนที่ 3 คณะผู้จัดทำ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายด้านสังคม หน่วยงาน ทีม พม. (One Home) 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ให้ความร่วมมือ สนับสนุนด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ และผู้สนใจ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และ ประเทศชาติต่อไป สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สารบัญ เรื่อง หน้า ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 (สสว.10) 1.1 ความเป็นมา 1 1.2 อ านาจหน้าที่ 2 1.3 วิสัยทัศน์ 2 1.4 ยุทธศาสตร์ สสว. 2 1.5 โครงสร้าง อ านาจหน้าที่ สสว.10 3 1.6 อัตราก าลัง 5 1.7 ผลการเบิกจ่ายประจ าปีงบประมาณ 2566 5 1.8 สถานที่ติดต่อ 7 1.9 พื้นที่รับผิดชอบ 8 1.10 หน่วยงาน พม. ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน 11 1.11 อัตราก าลังบุคลากร หน่วยงาน พม. ภาคใต้ตอนบน 15 1.12 งบประมาณหน่วยงาน พม. ภาคใต้ตอนบน 16 ส่วนที่ 2 ผลการด าเนินงานตามบทบาทภารกิจของส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 2.1 งานศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและพัฒนางานวิชาการ (1) รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด 17 (2) การศึกษาสถานการณ์ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จากผลงานวิจัยและวิชาการ 28 (3) โครงการขับเคลื่อนงานวิจัย 3.1) โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2565 เรื่อง “การมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกับ 30 การท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน” 3.2) โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2566 เรื่อง “การศึกษารูปแบบแนวทาง 33 การให้ความช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมในสถานการณ์วิกฤต (Covid - 19 ) กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต” 3.3) จัดท าค าของบประมาณโครงการวิจัยประจ าปี 2567 เรื่อง “แนวทางการพัฒนา 34 ระบบการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน กรณีศึกษา การเสริมพลัง เด็กและเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเพื่อการพัฒนาชุมชน” 3.4) โครงการวิจัยและนวัตกรรมส าหรับเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน 35 ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2568 (4) โครงการเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจ าปี 2566 35
เรื่อง หน้า (5) โครงการจัดท าข้อเสนอเชิงนโยบาย : การส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพฤติกรรม 38 ที่เหมาะสมก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (6) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประจ าปี พ.ศ.2566 40 (7) โครงการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) 44 2.2 บริการด้านการพัฒนาสังคมในระดับพื้นที่ (1) โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร 49 (2) โครงการขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางสังคมกลุ่มจังหวัด 2.1) ศูนย์ข้อมูลด้านสังคม 52 2.2) ระบบเครือข่าย 54 (3) โครงการสนับสนุนการจัดท าแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 56 (4) การบริการทางวิชาการ 58 2.3 โครงการนิเทศติดตามงานด้านสังคม (1) การนิเทศติดตามโครงการส าคัญ 64 (2) การนิเทศติดตามเพื่อประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว 71 2.4 สนับสนุนงานตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (1) การตรวจราชการกรณีปกติ 75 (2) การตรวจบูรณาการ 76 2.5 โครงการจากแหล่งงบประมาณอื่น (1) โครงการฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (FAMILY CASE MANAGEMENT 78 : FCM ) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน” (2) โครงการเสริมสร้างศักยภาพคณะท างานศูนย์ช่วยเหลือสังคมต าบลเพื่อป้องกันปัญหา 81 การค้ามนุษย์ในระดับชุมชน (3) โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพเพื่อป้องกันช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ 85 ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 2.6 กิจกรรมจิตอาสาและเสริมสร้างองค์กรชุมชน 89 ส่วนที่ 3 ภาคผนวก คณะผู้จัดท า 94
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 Technical Promotion and Support Office 10 : (TPSO 10) ความเป็นมา สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ พ.ศ.2545 ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 103 ก หน้า 186-189 ฉบับลงวันที่ 9 ตุลาคม 2545 (เล่มที่ 1) มีฐานะ เทียบเท่ากอง หรือสำนัก เป็นส่วนราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เมื่อปีพ.ศ.2558 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2558 ให้ สสว. ทั้ง 12 แห่ง ไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี พ.ศ.2563 มีคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปลี่ยนชื่อ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 เป็น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชา 11 เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ซึ่งสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 รับผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 2 อำนาจหน้าที่ 1. พัฒนางานด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย 2. ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการ องค์ความรู้ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่หน่วยงานบริการทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ ในความรับผิดชอบของกระทรวง รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้ององค์กรภาคเอกชนและประชาชน 3. ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคม และผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 4. สนับสนุนการนิเทศงาน ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจ ของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมาย วิสัยทัศน์ “ศูนย์กลางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่” พันธกิจ พันธกิจที่ 1 บูรณาการงานพัฒนาสังคมเพื่อจัดวางยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการพัฒนาสังคมให้กับทุกภาคส่วน พันธกิจที่ 3 ศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้านการพัฒนาสังคม พันธกิจที่ 4 ติดตามและประเมินผลเชิงนโยบายและการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ พันธกิจที่ 5 พัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ สสว. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ พม.สู่การปฏิบัติ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาสังคม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างและพัฒนาความรู้และนวัตกรรมทางสังคม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการนิเทศและการติดตามประเมินผลเชิงวิชาการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนา สสว. ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ค่านิยมองค์กร สสว.10 “คุณธรรมนำงาน วิชาการสู่สังคม”
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 3 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 บทบาทและอำนาจหน้าที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป 1. งานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ งานอำนวยการ การบริหารงานงบประมาณ งานการเงินและ บัญชี งานพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะ การบริหารงานบุคคล 2. การดำเนินการด้านงานประชาสัมพันธ์ 3. ประสานการดำเนินงานระหว่างราชการ บริหารงานกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น 4. ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย กลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย 1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้การพัฒนาสังคม ส่งเสริมให้เกิด นวัตกรรม รูปแบบ แนวทางการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤติและเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ทันต่อ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต 2. จัดทำแผนแม่บทวิจัยการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในมิติพื้นที่ 3. ผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้แก่หน่วยงาน ในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน/ประชาชน และ ภาคีเครือข่ายในระดับประเทศและต่างประเทศ 4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนักวิจัย และเครือข่ายทางวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์เชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมายในมิติพื้นที่ 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิชาการไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับ บริบทพื้นที่ 6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย ด้านวิชาการ การดำเนินงานด้านการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 กลุ่มการวิจัย และการพัฒนาระบบเครือข่าย กลุ่มนโยบาย และยุทธศาสตร์ ฝ่ายบริหารทั่วไป
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 4 7. เป็นศูนย์กลางการให้บริการและถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แก่ หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชนและประชาชน 8. เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด 9. พัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 10. ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับ มอบหมาย กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ 1. กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมในภาพรวมระดับกลุ่มจังหวัด 2. ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ และบูรณาการ (Strategy Planning & Integration Network) เพื่อการจัดทำแผนทางสังคมให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 3. แปลงนโยบายยุทธศาสตร์จากส่วนกลางไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบ และเชื่อมโยงนโยบาย และยุทธศาสตร์ระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค 4. ศึกษาวิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคม และผลกระทบรวมทั้งข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ในระดับกลุ่มจังหวัด 5. วิเคราะห์ สังเคราะห์และบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด 6. สนับสนุนการนิเทศงานติดตามการประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการ ตามนโยบายและภารกิจ ของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดมาตรฐานการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ในระดับพื้นที่ 8. ให้คำปรึกษา วางระบบ และสร้างเครือข่ายให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์เพื่อให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและทันต่อเหตุการณ์ 9. สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด 10. ปฏิบัติงานร่วมหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือ ได้รับมอบหมาย
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 5 อัตรากำลัง สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 มีบุคลากรทั้งสิ้น 27 คน 1. ข้าราชการ จำนวน 13 อัตรา ประกอบด้วย - ตำแหน่ง อำนวยการสูง จำนวน 1 อัตรา - ตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 3 อัตรา - ตำแหน่ง ระดับชำนาญการ จำนวน 3 อัตรา - ตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการ จำนวน 4 อัตรา - ตำแหน่ง ระดับชำนาญงาน จำนวน 1 อัตรา - ตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงาน จำนวน 1 อัตรา 2. ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 อัตรา 3. พนักงานราชการ จำนวน 9 อัตรา 4. พนักงานจ้างเหมา จำนวน 4 อัตรา ผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2566 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 6
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 7 สถานที่ติดต่อ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เลขที่ 33 หมู่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี84100 โทร 0 7735 5022-3 โทรสาร 0 7735 5705 E-mail : [email protected]
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 8 พื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่โดยรวม 7 จังหวัด ขนาด 41,591.837 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,071,216 ไร่ จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีขนาด 12,891,000 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาด 9,942,502 ตารางกิโลเมตร และ จังหวัดชุมพร ขนาด 6,010,849 ตารางกิโลเมตร แยกขนาดรายจังหวัดได้ ดังนี้ ตาราง แสดงที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง , กรมการปกครอง , กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันตก ติดต่อทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก ติดต่อทะเลอ่าวไทย เป็นชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดชุมพร จนถึงอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศใต้ ติดต่ออำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง , อำเภอป่าพะยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จังหวัด พื้นที่ อันดับ ตารางกิโลเมตร ไร่ พื้นที่ นครศรีธรรมราช 9,942.502 6,214,064 2 กระบี่ 4,708.512 2,942,820 4 พังงา 4,170.895 2,606,811 5 ภูเก็ต 543.034 356,271 7 สุราษฎร์ธานี 13,079.610 8,060,000 1 ระนอง 3,298.045 2,141,250 6 ชุมพร 6,010.849 3,750,000 3 รวม 41,591.837 26,071,216
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 9 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศมีทะเลขนาบสองด้าน คือ ทิศตะวันออกทะเลอ่าวไทย และทิศตะวันตกทะเล อันดามัน แบ่งพื้นที่ได้ 2 เขต คือ 1. เขตเทือกเขา ม ี ลั ก ษ ณะ กา รวา งต ั วในแ นวเ หน ือ-ใต ้ ไ ด ้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาคเทือกเขา นครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 2. เขตที่ราบ มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่ง ตะวันตกเป็นแบบยุบตัว มีแม่น้ำสำคัญ มีลักษณะสายสั้นๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อยและไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำ ชุมพร แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากจั่น ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่าง ไทยกับพม่า ลักษณะของชายฝั่งทะเล - ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นหาดทรายกว้าง เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะการยกตัว ของพื้นที่ มีสันทราย และมีอ่าวขนาดใหญ่ เช่น อ่าวบ้านดอน อ่าวชุมพร อ่าวสวี เป็นต้น - ชายฝั่งด้านตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นฝั่งทะเลจมตัว มีชายหาดเว้าแหว่ง และเป็นหาดน้ำลึก มีป่าชายเลนขึ้นตามฝั่ง และมีชะวากทะเล คือ การยุบจมบริเวณปากแม่น้ำขนาดกว้าง อ่าวที่สำคัญของฝั่งทะเล ตะวันตก ได้แก่ อ่าวระนอง อ่าวพังงา อ่าวกระบี่ เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศของ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ 1. ฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือฝั่งตะวันออก (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากคาบสมุทรอินเดีย ลักษณะอากาศ จึงเป็นแบบร้อนชื้น มีฝนตกยาวนานระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมกราคมของทุกปี โดยฝนจะตกหนักในช่วง ที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนจะอยู่ ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส 2. ฝั่งทะเลอันดามัน หรือฝั่งตะวันตก (พังงา ภูเก็ต ระนอง) มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบ มรสุม เขตร้อน (Tropical Monsoon Climate) ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตก เกือบตลอดปี และอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 29.1 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและ ต่ำสุดตลอดปีเท่ากับ 39.1 และ 19.5 องศาเซลเซียสตามลำดับ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 10 เดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นและ ปริมาณน้ำฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมจากเส้นศูนย์สูตร ในช่วงเปลี่ยนฤดู ด้านการปกครอง กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี มีทั้งหมด 74 อำเภอ 533 ตำบล 4,349 หมู่บ้าน 571 องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วย 7 อบจ. 385 อบต. 4 เทศบาลนคร 15 เทศบาลเมือง 160 เทศบาลตำบล ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 1 - 1 12 48 1 - 2 26 50 1 1 3 54 130 1 - 2 13 36 1 1 2 9 6 1 - 2 10 18 1 2 3 36 97 - 50 100 150 องค์การบริหารส่วน… เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนต าบล … เทศบาลนคร เทศบาลต าบล องค์การบริหารส่วน… เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนต าบล … เทศบาลนคร เทศบาลต าบล องค์การบริหารส่วน… เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนต าบล … เทศบาลนคร เทศบาลต าบล องค์การบริหารส่วน… เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนต าบล … กระบี่ชุมพรนครศรีธรรมราชพังงาภูเก็ตระนองสุราษฎร์ธานี พื้นที่การปกครอง (หน่วย : แห่ง)
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 11 หน่วยงาน พม. ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน รวม 39 หน่วยงาน หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกระบี่ ศูนย์ราชการ หมู่ที่ 7 ถนนท่าเรือ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 [email protected] โทร 075-611044 โทรสาร 075-612586 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดกระบี่ ถนนท่าเรือ ตำบลไสไทยอำเภอเมือง จังหวัด กระบี่ 81000 [email protected] โทร 075-612324 โทรสาร 075-612323 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดกระบี่ 357 หมู่ที่ 7 ถนนท่าเรือ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 [email protected] โทร 075-623434 โทรสาร 075-611065 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดชุมพร อาคารศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 1 ถนนไตรรัตน์ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000 [email protected] โทร 077-511710 โทรสาร 077-502996 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดชุมพร 58/14 หมู่ที่ 11 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000 [email protected] โทร 077-598573-4 โทรสาร 077-598574 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดชุมพร 110/1 หมู่ที่ 10 ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 chumphon [email protected] โทร 077-630494 โทรสาร 077-558173 สำนักงานเคหะจังหวัดชุมพร 103/10 หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาลชุมพร 10 อำเภอบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000 โทร 077-631044 โทรสาร 077-658173 จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 12 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพังงา ศูนย์ราชการจังหวัดพังงา ชั้น 1 เลขที่ 10/10 หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 [email protected] โทร 076-430286 โทรสาร 076-414253 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดพังงา 56/122 หมู่ที่ 5 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82190 [email protected] โทร 076-486814 โทรสาร 076-486815 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดพังงา 118/5 หมู่ที่ 13 ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 82140 phangnga [email protected] โทร 076-410208 โทรสาร 076-453649 นิคมสร้างตนเองท้ายเหมือง จังหวัดพังงา หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา [email protected] โทร 076-453649 โทรสาร 076-453667 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดภูเก็ต 9/99 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ชั้น 2 ถนนเจ้าฟ้า ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000 [email protected] โทร 076-212762 โทรสาร 076-212761 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดภูเก็ต 3/96 หมู่ที่ 1 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต 83000 [email protected] โทร 076-213315 โทรสาร 076-214369 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดภูเก็ต 3/60 หมู่ที่ 1 ถนนศรีสุทัศน์ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000 chumphon [email protected] โทร 076-614243 โทรสาร 076-614243 ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุภูเก็ต 132 หมู่ที่ 2 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัด ภูเก็ต 8311 [email protected] โทร 076-529699 โทรสาร 076-529700 ส ำ น ั ก ง า น เ ค ห ะ ช ุ ม ชน จังหวัดภูเก็ต 66 หมู่ที่ 1 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 [email protected] โทร 076-617246 จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 13 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช (หลังใหม่) ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 [email protected] โทร 075-356165 โทรสาร 075-341026 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภายในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรม ราช) 193 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 [email protected] โทร 075-357990 โทรสาร 075-343892 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์ราชการนาสาร หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 nakhonsi [email protected] โทร 075-763294-5 โทรสาร 075-763295 สถานสงเคราะห์เด็กชาย บ้านศรีธรรมราช 193 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช 80000 [email protected] โทร 075-356166 โทรสาร 075-800447 สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ภ า ค ใ ต ้ จ ั ง ห วั ด นครศรีธรรมราช (บ้านสิชล) 42 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัด นครศรีธรรมราช 80120 [email protected] โทร 075-376226-7 โทรสาร 075-376226 ศูนย์พัฒนาศักยภาพและ อ า ช ี พ ค น พ ิ ก า ร นครศรีธรรมราช 180 หมู่ที่ 5 ถนนนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช 80160 [email protected] โทร 075-375255 โทรสาร 075-375254 สำนักงานเคหะชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 [email protected] โทร 075-451508-9 โทรสาร 075-451508 จังหวัดนครศรีธรรมราช
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 14 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดระนอง ศาลากลางจังหวัดระนอง เลขที่ 999 ชั้น 2 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัด ระนอง 85000 [email protected] โทร 077-800128 โทรสาร 077-800130 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดระนอง 990 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 [email protected] โทร 077-810347 โทรสาร 077-820346 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดระนอง 250/71 หมู่ที่ 2 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 [email protected] โทร 077-880635 โทรสาร 077-860437 นิคมสร้างตนเองปากจั่น จังหวัดระนอง 9 หมู่ที่ 10 ตำบล จปร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 85110 [email protected] โทร 077-800636 โทรสาร 077-891573 สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดระนอง 989 หมู่ที่ 3 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 [email protected] โทร 077-810375-6 โทรสาร 077-810376 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 39/7 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355080-1 โทรสาร 077-355080-1 สำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 10 33 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355022-3 โทรสาร 077-355705 บ้านพักเด็กและครอบครัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี 39/19 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355093 โทรสาร 077-355092 จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 15 หน่วยงาน ที่อยู่/E-mail หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด สุราษฎร์ธานี 3/87 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355013 โทรสาร 077-355013 นิคมสร้างตนเองขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355082 โทรสาร 077-355082 นิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 5 ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-280228 โทรสาร 077-280228 สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (บ้านศรีสุราษฎร์) 39 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-355540 โทรสาร 077-355541 สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 29 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-356020 โทรสาร 077-356022 สถานคุ้มครองและพัฒนา อาชีพภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ ธานี 39/20 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 [email protected] โทร 077-310746-7 สถานธนานุเคราะห์ 37 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 33/13 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 84100 โทร 077-355061 สำนักงานเคหะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี[email protected] โทร 077-335078-9, 077-310334-5 อัตรากำลังบุคลากร หน่วยงาน พม. ภาคใต้ตอนบน พื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัด ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ/ พนักงานกองทุน จ้างเหมา บริการ รวม นครศรีธรรมราช 36 19 82 45 182 กระบี่ 17 2 31 11 61 พังงา 17 1 40 12 70 ภูเก็ต 25 5 42 26 98 สุราษฎร์ธานี 54 14 90 43 201 ระนอง 17 4 56 27 104 ชุมพร 16 4 33 12 65 รวม 182 49 374 176 781 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 16 งบประมาณหน่วยงาน พม. ภาคใต้ตอนบน พื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 งบประมาณ/จังหวัด กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี รวม งบดำเนินงาน 5,062,038.17 10,960,870.41 15,644,564.02 3,725,000.77 6,148,033.70 11,435,579.65 19,502,468.98 72,478,555.7 งบอุดหนุน 25,495,259.31 23,376,025 20,240483 13,243,142.19 5,349,687.35 13,937,495 36,950,101 138,592,192.9 งบลงทุน 29,104 1,329,000 30,000 1,036,500 5,682,771.25 669,385.80 4,842,155 13,618,916.05 งบจังหวัด 449,050 - - 6,716,000 - - 3,049,300 10,214,350 งบกลุ่มจังหวัด - 1,576,560 - - - - 1,849,360 3,425,920 งบประมาณ อื่นๆ งบบุคลากร 3,556,424 4,458,153.66 3,274,620 3,403,322.67 6,681,050 4,734,614.30 15,036,067.1 41,144,251.73 รายจ่ายอื่น - 7,300 - 6,200 - - 125,000 138,500 กองทุน คุ้มครอง เด็ก 778,280 238,790 253,280 162,280 168,863.40 918,280 255,037 2,774,810.40 ต่อต้าน การค้า มนุษย์ - - - - 1,315,230 - - 1,315,230 ผู้สูงอายุ 5,836,300 2,023,025 4,481,623.85 1,000,440 1,129,043 2,164,484 524,040 17,158,955.85 ส่งเสริมการ จัด สวัสดิการ สังคม 1,029,615 1,047,640 1,039,990 1,362,360 1,148,220 - 1,004,900 6,632,725 ส่งเสริม และพัฒนา คุณภาพ ชีวิตคน พิการ 15,452,350 9,192,650 7,976,316 8,688,700 5,443,507 - 30,053,350 76,806,873 รวม 57,688,420.48 54,210,014.07 52,940,876.87 39,343,945.63 33,066,405. 7 33,859,838.75 113,191,779.08 384,301,280.58
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 17 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 2.1 งานศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและพัฒนางานวิชาการ เพื่อบริการงานวิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยการเพิ่ม ศักยภาพบุคลากรด้านข้อมูลสารสนเทศ และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม รวมทั้ง เป็นหน่วยเคลื่อนที่ทางวิชาการเชิงรุกแก่หน่วยงานบริการทุกกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครและภาคีเครือข่าย ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ ศูนย์บริการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย (1) รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้ม จัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัด พร้อมทั้งแจ้งเตือนประเด็น Hot Issue ไปยังกลไกในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่ การเฝ้าระวังภัยทางสังคมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัด งบประมาณ 20,000.- บาท กระบวนการดำเนินงาน 1. ชี้แจงวัตถุประสงค์และพิจารณาหารือแนวทางการขับเคลื่อนรายงานสถานการณ์ทางสังคม ระดับกลุ่มจังหวัด 2. จัดทำแผนปฏิบัติงานกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรื่อง การจัดทำรายงาน สถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด เพื่อกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินงานตามกระบวนงานการขับเคลื่อนงาน ของการจัดทำรายงานสถานการณ์ฯ 3. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูล ในการกำหนดประเด็นการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด 4. จัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม 2 ประเด็น ได้แก่ รายงานสถานการณ์สังคมระดับ กลุ่มจังหวัด และรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับพื้นที่ หรือประเด็นเร่งด่วน (Hot Issues) 5. นำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับพื้นที่ หรือประเด็นเร่งด่วน (Hot Issues) ของ สสว. แจ้งต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพื่อให้สำนักงานพัฒนาสังคมฯ เสนอต่อการประชุมคณะกรมการจังหวัดของแต่ละจังหวัด หรือคณะกรรมการ/อนุกรรมการในระดับจังหวัด อย่างน้อย 1 คณะเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ 6. นำรายงานประเด็นเร่งด่วน (Hot Issues)แจ้งเตือนไปยังกลไกในระดับพื้นที่ เช่น ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล/ภาคีเครือข่าย/ ทีม One Home
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 18 7. ดำเนินการวิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางสังคมระดับจังหวัด (พื้นที่) และกลุ่มจังหวัดเพื่อจัดทำรายงานคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นเนื้อหาของรายงาน สถานการณ์และแนวโน้มสถานการณ์สังคมกลุ่มจังหวัด 8. จัดทำรายงานสถานการณ์และแนวโน้มสถานการณ์สังคมระดับกลุ่มจังหวัดฉบับสมบูรณ์ 9. นำเสนอรายงานคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัด (พื้นที่) และกลุ่มจังหวัดในรูปแบบดิจิทัล (Dashboard)และส่งต่อให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดและสำนักงานคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) เพื่อใช้ประกอบ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 10. เผยแพร่รายงานการคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รูปแบบดิจิทัล อย่างน้อย 3 ช่องทาง เช่น Facebook/ LINE OA/ เว็ปไซต์หน่วยงาน/ Youtube/ฯลฯ 11. นำแบบประเมินความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเมิน โดยเกณฑ์ การประเมิน อย่างน้อยโดยถัวเฉลี่ยรวม สสว. 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 และให้ติดตามผลการนำรายงาน การคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมไปใช้ประโยชน์อย่างน้อยโดยถัวเฉลี่ยรวม สสว. 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60 12. ดำเนินการจัดประชุมแบบ On-site ร่วมกับ สสว.1-11 เพื่อถอดบทเรียน การจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด 2566 และหารือแนวทางการดำเนินงานของรายงาน สถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ในปี 2567 13. จัดทำรายงานสรุปผลการขับเคลื่อนงานตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของรายงาน สถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัดประจำปี 2566 ผลการดำเนินงาน การจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2566 (จังหวัดชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริม และสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยข้อมูลสถิติและผลการศึกษารวมทั้งวิเคราะห์ สถานการณ์ทางสังคมตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมาย เชิงประเด็น ซึ่งจะประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 พร้อมด้วยข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลด้านประชากร อาณาเขต ภูมิประเทศ สาธารณสุข เศรษฐกิจ รายได้ และการทำงาน การศึกษา ส่วนที่ 3 สถานการณ์กลุ่มเป้าหมายทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด เป็นข้อมูลกลุ่มเป้าหมายของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านเด็กและเยาวชน ด้านสตรี และครอบครัว ด้านคนพิการ ด้านผู้สูงอายุ และด้านกลุ่มคนเปราะบาง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 19 ส่วนที่ 4 สถานการณ์เชิงประเด็นทางสังคมและสถานการณ์เร่งด่วน ได้แก่ ครัวเรือน เปราะบางระดับพื้นที่ แนวโน้มสถานการณ์เชิงกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด ตามกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่ 6 บทสรุป รวมไปถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติระดับกลุ่มจังหวัด จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มเป้าหมาย ในภาพรวมกลุ่มจังหวัด พบว่า 1. กลุ่มเด็กและเยาวชน สถานการณ์ทั่วไปกลุ่มเด็กและเยาวชนพบว่า ในปี 2565 เด็กช่วงอายุ 0 – 5 ปี มีจำนวนลดลง จากปี 2564 สอดคล้องกับข้อมูลจำนวนราษฎรของประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ปี 2565 มีเด็กเกิดใหม่ จำนวน 502,107 คน ในขณะที่ปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ จำนวน 544,570 คน ซึ่งสถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่าประชากรไทยเริ่มลดลง และช่องระหว่างจำนวนการเกิดและตาย ของประเทศไทยในปี 2565 ยิ่งกว้างขึ้น อัตราการเกิดเท่ากับ 7.6 ต่อประชากร 1,000 คน ในขณะที่อัตราการตาย เท่ากับ 8.9 ต่อประชากร 1,000 คน แนวโน้มสถานการณ์เชิงประเด็นกลุ่มเด็ก พบว่า จำนวนเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ตั้งครรภ์ ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ในช่วงปี 2565 – 2566 ทุกจังหวัดมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดพังงา มีจำนวนเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ตั้งครรภ์มากที่สุด อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 2.0 รองลงมาคือ จังหวัดชุมพร อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 1.5 จังหวัดระนอง อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 0.8 จังหวัดภูเก็ต อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 0.8 จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 0.6 จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 0.6 และจังหวัดกระบี่ อยู่ที่อัตราการเพิ่ม 0.3 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลแม่วัยใสและแม่วัยใสเลี้ยงเดี่ยวที่ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของ กลุ่มเด็กแรกเกิดของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน ด้านพฤติกรรมเด็กและเยาวชน และความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน ในช่วงปี 2563 – 2566 มีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2563 เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 1,184 คน และถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 175 คน ปี 2564 เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 896 คน เด็กถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 141 คน ปี 2565 เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 700 คน เด็กถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 144 คน และ ปี 2566 เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 459 คน เด็กถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 92 คน สอดคล้องกับรายงานสถิติ ประจำปี 2565 ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ทั่วประเทศ ซึ่งจำนวนเด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดีในช่วง ปี 2563 – 2565 มีจำนวนลดลง แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 สถิติความรุนแรงที่ลดลงนั้น เนื่องจากมาตรการเคอร์ฟิวในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ทำให้การก่อเหตุรุนแรงในลักษณะปะทะกันลดลงแต่อาจจะไปเพิ่มขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 20 2. กลุ่มสตรีและครอบครัว จากข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ด้านสตรีและ ครอบครัว พบว่า ในปี 2563 - 2565 สัดส่วนประชากรเพศหญิงมีอัตราเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูล ด้านแรงงาน ในช่วงปี 2564 – 2565 แรงงานหญิงมีอัตราเพิ่มขึ้น และมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและมากกว่า แรงงานชายเช่นกัน ด้านความสัมพันธ์ทางครอบครัว พบว่า ในช่วงปี 2563 – 2565 มีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ทุกปี ซึ่งจากสถิติจากกรมการปกครองพบว่าภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีการจดทะเบียนหย่า มากกว่า 1.3 ล้านคู่ นับเฉพาะปี 2565 ที่ผ่านมากว่า 1.4 แสนคู่ ส่วนในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 มีสถิติ หย่าร้างแล้ว 24,901 คู่ โดยในปี 2565 พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน มีจังหวัดพังงาที่มีอัตราการหย่าร้าง สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 61 รองลงมา จังหวัดชุมพร คิดเป็นร้อยละ 49.8 จังหวัดกระบี่ คิดเป็นร้อยละ 49 จังหวัด นครศรีธรรมราช คิดเป็นร้อยละ 45.9 จังหวัดภูเก็ต คิดเป็นร้อยละ 45.7 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็น ร้อยละ 43.3 ยกเว้นจังหวัดระนองซึ่งมีอัตราการหย่าร้างลดลง ในปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 44.7 ซึ่งสัมพันธ์ กับจำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสอดคล้องกับข้อมูลด้านความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2564 – 2565 ของพบว่า สตรีถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและ ทางเพศ ทั้งนี้ จากข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุส่วนมากมาจาก ยาเสพติด สุรา หึงหวง สุรา+บันดาลโทสะ บันดาลโทสะ จากสาเหตุเหล่านี้อาจส่งผล ให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัว ซึ่งจากระบบฐานข้อมูล MSO-Logbook พบว่า ครัวเรือน เปราะบาง ประสบปัญหา ด้านรายได้มากที่สุด รองลงมา ปัญหาด้านความเป็นอยู่ และวัยแรงงานมากที่สุด 3. กลุ่มคนพิการ ผลการจัดเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 และ 11 จัดการประชุมเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการ สังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม แก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ผู้พิการได้รับการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม มีบทบาท มีอาชีพ ในสังคมมากขึ้น และได้รับการดูแลมากกว่าในอดีตสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ แต่จากข้อมูล คนพิการแยกตามช่วงอายุ พบว่า จำนวนคนพิการเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนพิการที่ เป็นผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญและสิ่งที่น่าห่วงใย อีกประการหนึ่ง สำหรับคนพิการที่สูงอายุ คือ การมีโรคประจำตัวทำให้เป็นผู้ป่วย ติดเตียง หรือมีโรคเรื้อรัง เป็นภาระแก่ลูกหลานในการดูแล รวมทั้ง ไม่สามารถเลือกอาชีพในการทำงานที่ถนัดหรือสนใจได้เนื่องจากปัญหาความพิการ สอดคล้องกับข้อมูล ของการเข้าถึงบริการของรัฐที่แสดงให้เห็นว่ายังคงมีจำนวนคนพิการที่เข้ารับบริการของรัฐด้านมิติความเป็นอยู่ ในปริมาณที่น้อย คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของจำนวนคนพิการทั้งหมดที่จดทะเบียนใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากสถิติจำนวนคนพิการที่จำแนกตามประเภทความพิการ จะพบว่า มีการจำแนก ประเภทความพิการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ.2550 ทั้ง 7 ประเภท
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 21 ความพิการและประเภทความพิการที่มีจำนวนสูงที่สุด ได้แก่ ความพิการทางด้านการเคลื่อนไหว การได้ยิน การมองเห็น จิตใจหรือพฤติกรรม สติปัญญา ออทิสติก และการเรียนรู้ ตามลำดับ ซึ่งมีองค์กรคนพิการ แต่ละประเภทจำนวน 67 แห่ง ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ซึ่งพร้อมที่จะทำงานบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน 4. กลุ่มผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ทั่วไปของกลุ่มผู้สูงอายุของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า ในปี 2565 ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2564 โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60 – 69 ปี รองลงมาคือ ช่วงอายุ 70 – 79 ปี และ 80 ปีขึ้นไปตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากร ในจังหวัดมากที่สุด คือ จังหวัดชุมพร ร้อยละ 19.5 รองลงมาคือ จังหวัดพังงา ร้อยละ 18.7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 16.8 จังหวัดระนอง ร้อยละ 16.4 จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 14.6 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 13.7 และ จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 13.2 โดยจังหวัดที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (ร้อยละ 20 ) คือ จังหวัดชุมพร สถานการณ์เชิงประเด็นกลุ่มผู้สูงอายุ จากสำนักงานสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. พบว่า สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย จากการสำรวจปี 2565 มีผู้สูงอายุจำนวน 12.69 ล้านคน ช่วงอายุ 60 – 69 ปี อยู่คนเดียว ร้อยละ 12 และ ร้อยละ 21.1 อยู่ลำพังกับคู่สมรส ทั้ง 2 กลุ่มมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความเปราะบางต่อปัญหาต่างๆ ทั้งพบปัญหาสุขภาพโรคไม่ติดต่อ ( NCDs) อย่างต่อเนื่อง มีรายได้น้อย ต้องอาศัยเบี้ยยังชีพ ขาดพื้นที่หรือโอกาสทำกิจกรรม มีอุปสรรคการเดินทาง รวมถึงที่อยู่อาศัยไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างสะดวก ปลอดภัย และสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน อยู่ลำพังคนเดียวมากที่สุด คือ จังหวัดชุมพร อยู่ที่ร้อยละ 9 รองลงมา คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 8.5 จังหวัดพังงา ร้อยละ 6.4 จังหวัดระนอง ร้อยละ 6.2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 6.1 จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 5.4 และจังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 2.5 ตามลำดับ หากพิจารณาแนวโน้มในช่วงปี 2563 – 2564 พบว่า จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวโน้มผู้สูงอายุอยู่ลำพังคนเดียวเพิ่มขึ้น สถานการณ์เชิงกลุ่มเป้าหมายที่น่าห่วงใย และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน ดังนี้ 1. ประเด็นสตรีถูกเลิกจ้างว่างงาน/ตกงาน ไม่มีอาชีพ/รายได้ถูกทำร้ายร่างกาย/จิตใจ 2. ประเด็นเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร/มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมตามวัย 3. ประเด็นผู้สูงอายุ มีปัญหาติดสังคม/ติดบ้านและติดเตียง ไม่สามารถดูแลตนเองได้/ ถูกทำร้ายร่างกาย ข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านเด็กและเยาวชน 1. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สภาเด็กและเยาวชนให้เป็นกลไกหลักในการประสานบูรณาการ ทุกภาคส่วนเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขและพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเด็กให้ครอบคลุมเด็กทุกประเภท ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน 3. เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง สามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 22 4. ส่งเสริมให้มีระบบสวัสดิการที่สามารถหนุนเสริมให้ครอบครัวเลี้ยงดูเด็กแต่ละช่วงวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ปฏิบัติตนด้านเด็ก และสร้างกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการ ที่มีความสอดคล้องต่อเนื่อง 6. พัฒนากลไกคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดให้มีศักยภาพ สามารถกำหนดกรอบทิศทาง การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและพัฒนาเด็กครอบคลุมทุกประเภททุกพื้นที่ ด้านสตรีและครอบครัว 1. ควรมีแผนบูรณาการพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งทุกมิติที่มีประสิทธิภาพ ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัดและนำสู่การปฏิบัติที่จริงจัง 2. ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างทักษะความรู้ 3. ส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นครอบครัวคุณภาพ ใช้การสื่อสารเชิงบวก มีเวลาในการทำกิจกรรม ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา 4. ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว ให้ความรู้ ในการลดและป้องกันความรุนแรงในครอบครัว การรณรงค์ส่งเสริมด้านอื่นๆเพื่อลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 5. ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและร่วมขับเคลื่อนนโยบาย ด้านการพัฒนาของท้องถิ่นผ่านแผนงาน/โครงการ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการส่งเสริมอาชีพรวมถึง การเป็นศูนย์รวม หรือศูนย์ประสานงานให้กับอาสาสมัคร คนและครอบครัวในระดับชุมชน 6. พัฒนาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถเป็นกลไกพัฒนาครอบครัว เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาในครอบครัวได้ด้วยชุมชนเอง รวมทั้งยกระดับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ระดับดีเด่นและดีมาก ให้มีกิจกรรมโรงเรียนครอบครัวและเป็นศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ด้านคนพิการ 1. สร้างคุณค่าให้กับคนพิการเพื่อความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการศึกษาและการเรียนรู้ให้แก่ คนพิการ โดยเฉพาะหลังจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และสร้างการรับรู้เรื่องแนวทางการอยู่ร่วมกัน ระหว่างคนในสังคมกับคนพิการ 2. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปเต็มพื้นที่เพื่อเป็นกลไก ในการสนับสนุนให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 3. ฝึกอาชีพให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการให้สอดคล้องกับกายภาพ ความต้องการ และความสามารถ โดยเน้นการฝึกอาชีพในระยะสั้น รวมถึงการเข้าสู่ตลาดแรงงานในโอกาสต่อไป 4. ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ความช่วยเหลือทั้งในระดับจังหวัด สู่ระดับพื้นที่และขณะเดียวกันรวบรวมปัญหา อุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอในพื้นที่ขับเคลื่อนเป็นวาระจังหวัด และนำข้อเสนอสู่ส่วนกลางเพื่อขับเคลื่อนนโยบายต่อไป
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 23 5. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อสร้างโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษา 6. ยกระดับและพัฒนาอาสาสมัคร องค์กรด้านคนพิการ ให้เป็นกลไกในการให้ความช่วยเหลือ คนพิการและพัฒนาศักยภาพในลักษณะผู้จัดการรายกรณี (CM) 7. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการที่อยู่ในข่ายต้องจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน ให้เน้นการจ้างงานคนพิการ ตาม ม.33 ลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตาม ม.34 เพื่อส่งเสริมให้คนพิการมีอาชีพ/รายได้ ด้านผู้สูงอายุ 1. จัดทำแผนบูรณาการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัยและพัฒนาระบบและกลไก ที่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่ายที่มีการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ที่เป็นระบบ Digital Platform ที่เป็นปัจจุบันและมีคุณภาพ ที่ประชาชนและหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างปลอดภัย (Digital Aging Data Center Development) 3. ผลักดันให้มีกฎหมายจ้างงานผู้สูงอายุในสถานประกอบการ เช่นเดียว กับการจ้างงาน คนพิการ หรือหาแนวทางส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชนพร้อมทั้งสนับสนุน และจัดบริการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุแบบครอบคลุมทุกมิติ 5. ปรับปรุงระเบียบการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบากให้เหมาะสมและ ควรถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแทน 6. กำหนดมาตรการในการวางแผนทางการเงินให้แก่คนทุกช่วงวัย 7. กำหนดสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้กับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และอาสาสมัครที่ดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติระดับกลุ่มจังหวัด ด้านเด็กและเยาวชน 1. จัดทำฐานข้อมูลเด็กให้ครอบคลุมเด็กทุกประเภทให้ถูกต้องและทันสมัย และจัดทำ แผนการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการให้ครอบคลุมทุกมิติ 2. ส่งเสริมความรู้เรื่องเพศวิถีและทักษะที่จำเป็นแก่เด็กอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนา ช่องทางการให้คำปรึกษาและบริการที่หลากหลาย ปลอดภัยและเป็นมิตรกับเด็ก 3. จัดทำทำเนียบครอบครัวที่มีความพร้อมในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และครอบครัวบุญธรรม 4. พัฒนาศักยภาพครอบครัวอุปถัมภ์และครอบครัวบุญธรรมให้สามารถเลี้ยงดูเด็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 24 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนครองคู่ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ชีวิต ครอบครัว การวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ การเลี้ยงดู และการสร้างครอบครัวคุณภาพ 6. สร้างความเข้มแข็งให้สภาเด็กและเยาวชนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข พัฒนา และเครือข่ายเฝ้าระวัง มีบทบาทในการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่และมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก 7. จัดทำทำเนียบเครือข่ายด้านการพัฒนาเด็กในระดับพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพ ให้มีองค์ความรู้และทักษะการทำงานด้านเด็กและเชื่อมโยงบูรณาการเครือข่ายให้มีกิจกรรมร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง 8. ควรส่งเสริมและสนับสนุน การสอนทักษะชีวิตและทักษะทางวิชาชีพให้เยาวชน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ด้านสตรีและครอบครัว 1. จัดทำแผนบูรณาการพัฒนาสถาบันครอบครัวในระดับจังหวัด/พื้นที่ 2. ส่งเสริมอาชีพให้แก่สตรีในพื้นที่ พร้อมฝึกทักษะฝีมือแรงงานให้แก่สตรี รวมไปถึง จัดกิจกรรมที่เป็นการเพิ่มรายได้เสริมให้แก่สตรี 3. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านครอบครัวให้สามารถเป็นกลไกในการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหา ในระดับชุมชนและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเร่งด่วน 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารการใช้เงิน ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และรวมไปถึงด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ด้านคนพิการ 1. จัดทำฐานข้อมูลผู้พิการให้ครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย ทุกมิติ สามารถนำมาใช้เป็นฐาน ในการจัดสวัสดิการได้อย่างทั่วถึง 2. จัดทำแผนบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทุกมิติและผลักดัน ให้นำแผนสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง 3. ส่งเสริมสนับสนุนการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และมีมาตรการในการยกย่องเชิดชูเกียรติ 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและบุคคลทั่วไปในพื้นที่ สาธารณะ 5. ส่งเสริมอาชีพ ฝึกอาชีพให้กับผู้ดูแลคนพิการเพื่อจะได้มีรายได้เสริมให้กับครอบครัว 6. สร้างคุณค่าให้กับคนพิการที่มีความสามารถให้เป็นบุคลากรที่ดีของสังคม 7. สร้างความเข้าใจให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อลดความขัดแย้ง การทำร้ายบูลลี่ (Bully) คนพิการ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 25 ด้านผู้สูงอายุ 1. มีคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุในระดับจังหวัด 2. จัดทำฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุและเครือข่ายด้านผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกมิติ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน 3. จัดทำแผนบูรณาการด้านผู้สูงอายุในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ 4. จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติ และมอบประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ บุคลากร ผู้นำหรือแกนนำ ชุมชน องค์กร และเครือข่ายที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้สูงอายุ ด้านกลุ่มคนเปราะบาง 1. จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเปราะบางให้ชัดเจนและจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างเป็นระบบครบถ้วนสมบูรณ์ 2.ส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มคนเปราะบาง โดยการสร้างความร่วมมือในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ การดำเนินงานภายใต้กิจกรรมรายงานสถานการณ์กลุ่มจังหวัด 1. ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 13 มกราคม 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 2. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาทักษะด้านการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม ระดับพื้นที่ และกำหนดประเด็นเร่งด่วน Hot Issues" ประจำปี 2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 3. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นและรูปแบบ (Template) รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 4. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นและรูปแบบ (Template) รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2 ผ่านระบบ การประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 7 เมษายน 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 1-11 5. ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดทำรูปแบบรายงานสถานการณ์ทางสังคม ร่วมกับ กองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ผ่านระบบการประชุมออนไลน์Zoom Meeting ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ร่วมกับกองมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 6. ร่วมประชุมขับเคลื่อนการวิเคราะห์และจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมประจำปี 2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 1-11 และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 26 ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน 1. ควรมีการกำหนดคำนิยามเฉพาะ ขอบเขต และช่วงเวลาในการเก็บหรือขอข้อมูลให้ชัดเจน 2. ควรจัดประชุมกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลเช่น พมจ. , ศก. , สธ. และหน่วยงาน ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจ กระบวนการประสานขอข้อมูลจาก พมจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รวดเร็ว/Updatข้อมูล และจัดส่งข้อมูล ที่สมบูรณ์ 3. จัดทำ Template ที่ชัดเจนและครอบคลุมในการขอรับการสนับสนุนข้อมูลร่วมกับ หน่วยงาน One Home ให้เข้าใจตรงกัน 4. สร้างมาตรฐานและกรอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่ชัดเจนร่วมกัน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 27
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 28 (2) การศึกษาสถานการณ์ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จากผลงานวิจัยและวิชาการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จากผลงานวิจัย/วิชาการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 ปี 2558 - 2564 จำนวน 4 เรื่อง 2. เพื่อให้ได้ข้อค้นพบจากผลงานทางวิชาการที่มีประเด็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ 3. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่สามารถนำผลงาน ไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดได้โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายด้านกลุ่มชาติพันธุ์ งบประมาณ จำนวน 10,000.- บาท กระบวนการดำเนินงาน 1. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือ เรื่องการเตรียมความพร้อม สำหรับการดำเนินงานสังเคราะห์ผลงานวิจัย ปี 2558 - 2564 ของสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 และร่วมหารือ เรื่องกรอบแนวทางการดำเนินงาน 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการศึกษาสถานการณ์ด้านสังคม และความมั่นคง ของมนุษย์จากผลงานวิจัย/วิชาการ (ผ่านระบบ Zoom meeting) 3. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากผลงานวิจัย/วิชาการ ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 4. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 ดำเนินการสังเคราะห์ผลงานวิจัย ตามประเด็นที่ได้รับมอบหมายตามกระบวนการการสังเคราะห์ผลงานวิจัย 5. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผลการศึกษาสถานการณ์ด้านสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จากผลงานวิจัย/วิชาการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 6. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 ปรับปรุงผลการศึกษาการศึกษาสถานการณ์ ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จากผลงานวิจัย/วิชาการ 7. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 รวบรวมผลการสังเคราะห์ที่ผ่านการปรับปรุง ข้อมูลจาก สสว. 1-11 เพื่อจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เสร็จเรียบร้อยและนำส่งในรูปแบบ E-Book แก่สำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2-11 ผลการดำเนินงาน จากการสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 1-11 สามารถสรุปผลดังนี้ 1. การศึกษาสถานการณ์ด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จากผลงานวิจัยและวิชาการ สังเคราะห์ผลงานวิจัย ปี พ.ศ.2558-2564 ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้ 1.1 การผูกทุนทางวัฒนธรรมแบบข้ามพื้นที่ในการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของ กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว๊ย : ภูเก็ต ปี พ.ศ.2559
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 29 1.2 นวัตกรรมการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสม เพื่อผู้ด้อยโอกาส ปี พ.ศ.2560 1.3 รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานแบบมีส่วนร่วม ปี พ.ศ.2561 1.4 กลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ในบริบทพหุวัฒนธรรมภาคใต้ ปี พ.ศ.2564 2. องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านกลุ่มชาติพันธุ์ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 สำหรับการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้ 2.1 การให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ต้องให้ความสำคัญกับทุนความเป็นเครือญาติซึ่งเป็นโครงข่ายสังคมที่ความเข้มแข็ง 2.2 การสร้างศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเอง ต้องเริ่มต้น จากสถาบันครอบครัว 2.3 การใช้กลยุทธ์การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์กระบวนการมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างให้ชุมชนมีการรวมตัวผ่านการขับเคลื่อนงาน หรือการหนุนเสริมจากภาครัฐภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม 2.4 การสวัสดิการสังคมของผู้สูงวัยในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เหมาะสม มุ่งเน้นด้านสุขภาวะ สร้างอาชีพ เสริมสร้างภูมิปัญญา 3. สภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ที่สอดคล้องกับการจัดสวัสดิการสังคม 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา, ด้านสุขภาพอนามัย, ด้านที่อยู่อาศัย, ด้านการมีงานทำและรายได้, ด้านความมั่นคงทางสังคม, ด้านบริการทางสังคม และด้านนันทนาการ 4. แนวทางส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย การส่งเสริมทางด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ ด้านวัฒนธรรม ด้านกฎหมาย ด้านบริการทางสังคม ด้านการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ด้านการสร้างเสริม ศักยภาพชุมชน ด้านทัศนคติ/ความเชื่อ ด้านระบบฐานข้อมูล และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับนโยบาย ในการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม นอกจากนี้ มีประเด็นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยการจัดการโดยใช้ชุมชนและพัฒนาระบบกลไกในการคุ้มครองดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ จะเป็นการสร้างศักยภาพของคนในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการสร้างเครือข่าย ร่วมกันในรูปแบบของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยกลยุทธ์ในการจัดสวัสดิการสังคม เชิงรุก ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ควรให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการสังคมตามประเพณีที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า บริการแบบใหม่ที่รัฐจัดหาให้ทั้งนี้ แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น จะต้องมีสวัสดิการสังคมในรูปแบบของพหุวิธี โดยรัฐจัดสรรบริการให้บนพื้นฐานของวิถีเดิมที่มีอยู่ ครอบครัว สร้างสรรค์และส่งเสริมซึ่งกันและกันบนฐานของชุมชนท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนพัฒนา
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 30 ปัญหา/อุปสรรค การสังเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็น การศึกษาวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 ในช่วงปี 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558-2564) เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในมุมมองเชิงกว้างของกลุ่มชาติพันธุ์จากแหล่งอื่น จึงควรขยาย ขอบเขตการศึกษางานวิจัยให้ครอบคลุมกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมในทุกมิติและครบถ้วนมากขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานด้านกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ควรทำงานในรูปแบบของการบูรณาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ในมิติการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ วัฒนธรรม กฎหมาย รวมถึงด้านบริการ ทางสังคม 2. ควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ที่ครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม เพื่อความต่อเนื่องในการส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์ 3. ควรมีหน่วยงานระดับนโยบาย ที่รับผิดชอบดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทย รวมถึงมีหน่วยงาน/ศูนย์ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติ ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนงาน หรือการนำนโยบาย สู่การปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนงานการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละกลุ่มเชิงลึก 4. รัฐควรส่งเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพ/เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์อย่างครบวงจร 5. ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มของประเทศไทย ที่มีความเป็นเอกภาพ และสามารถใช้เรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลดังกล่าวได้อย่างง่าย ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. นักวิจัยหรือนักวิชาการที่สนใจศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกลุ่มชาติพันธุ์ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนางานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ วางแนวทางการส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศไทย (3) โครงการขับเคลื่อนงานวิจัย 3.1) โครงการวิจัยปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เรื่อง “การมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกับ การท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกับการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน 2. เพื่อศึกษาประเภทของกิจกรรมอันพึ่งประสงค์ของผู้สูงอายุกับการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 31 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของผู้สูงอายุในการงานด้านการท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน งบประมาณ จำนวน 367,754.-บาท พื้นที่การศึกษาวิจัย 1. วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ่อแสน จังหวัดพังงา 2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ (บ้านหน้าทับ) จังหวัดนครศรีธรรมราช 3. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์บ้านบางเทาเชิงทะเล จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่มาท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน พื้นที่ละ 5 คน 3 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 15 คน กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน กลุ่มที่ 3 ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วม ทางสังคมกับการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน และผู้ดำเนินการด้านธุรกิจการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน กระบวนการดำเนินงาน 1. จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ และสร้างเครื่องมือการทำวิจัย 2. จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) จังหวัดพังงา 3. จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) จังหวัดนครศรีธรรมราช 4. จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) จังหวัดภูเก็ต 5. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่จังหวัดพังงา 6. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 7. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 8. จัดประชุมเพื่อคืนข้อมูลการวิจัย 9. จัดประชุมเพื่อเผยแพร่และขยายผล 7 จังหวัด ผลการดำเนินงาน โครงการวิจัยการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกับการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน เก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มาเที่ยวในชุมชน ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน และ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยวิธีการสนทนากลุ่มและ การสัมภาษณ์ จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ่อแสน จังหวัดพังงา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ (บ้านหน้าทับ) จังหวัดนครศรีธรรมราช และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์บ้านบางเทาเชิงทะเล จังหวัดภูเก็ต ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมทางสังคม ในกิจกรรมการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามามีส่วนร่วมโดยทำงานอยู่ที่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพเดิมและอาชีพดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มผู้สูงอายุที่มี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 32 การรวมกลุ่มขึ้นใหม่ โดยผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ในกระบวนการตัดสินใจ ในกระบวนการ ดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ทั้งในรูปแบบของผลประโยชน์ที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ การตรวจสอบ และ ประเมินผล ลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า โดยส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากเพื่อนชักชวน มองเห็นว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้มาพบเพื่อนในวัยเดียวกัน มีโอกาส เรียนรู้เพิ่มเติม และมองเห็นตัวเองมีคุณค่าที่ได้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นอื่นๆ พบปะผู้คนใหม่ๆ และมีรายได้เสริม จากกิจกรรมการท่องเที่ยว ประเภทของกิจกรรมอันพึงประสงค์ของผู้สูงอายุกับการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน พบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มาท่องเที่ยวในวิสาหกิจชุมชน มีความต้องการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวชุมชนเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่มีความน่าสนใจ รวมถึงอยากเรียนรู้วิถีชีวิต ของชุมชน กิจกรรมที่พึงประสงค์ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุต้องการร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน ผ่อนคลาย สามารถออกแบบกิจกรรมของตนเองได้บนฐานทรัพยากรที่มีของชุมชน และ ต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่หนักหรือใช้แรงมากจนเกินไป สถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในบริเวณใกล้ที่พักมีมาตรการ ความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการท่องเที่ยวร่วมกับครอบครัวและ กลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน มีเพื่อนคุยและคอยแนะนำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ ปัจจัยความสำเร็จของผู้สูงอายุในการทำงานด้านการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน ที่หนุนเสริม ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม และหนุนเสริมให้วิสาหกิจชุมชนขับเคลื่อนงานได้ พบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคล ความสามารถและบุคลิกลักษณะความเป็นผู้นำ ความต่อเนื่องของการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม ความเป็นเครือญาติ การหนุนเสริมจากครอบครัว 2) ปัจจัยด้านชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ฐานทรัพยากรของชุมชนมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นจากชุมชนอื่นๆ ทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม การบริหารจัดการกลุ่มมีโครงสร้างและการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงความถนัดและ ความสมัครใจเป็นสำคัญ กลุ่มมีการประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานภายนอก มีความต่อเนื่องของการช่วยเหลือและสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในรูปแบบของลักษณะพี่เลี้ยง และการหนุนเสริมองค์ความรู้ ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการขับเคลื่อนงาน ระยะเวลาในการโอนจัดสรรงบประมาณไม่ตรงตามห้วงปีงบประมาณ ส่งผลกระทบต่อ แผนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ประกอบด้วย 1. ข้อเสนอแนะการสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุกับการท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน ดังนี้ 1.1 ชุมชนร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำหลักสูตรภูมิปัญญา ผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพื่อนำหลักสูตรภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ไปใช้ในโรงเรียน โดยผู้สูงอายุเป็นผู้สื่อสารและถ่ายทอด
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 33 1.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งเสริมรายได้ตามอาชีพเดิมและตามความถนัด ของผู้สูงอายุ และการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมในชุมชน รวมถึงพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนทุกช่วงวัย 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ ควรกำหนดกิจกรรม การท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับฐานทรัพยากรในชุมชน เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ผ่อนคลาย สามารถร่วมทำ กับคนช่วงวัยเดียวกัน หรือสมาชิกในครอบครัว และสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ใกล้ที่พักซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้สูงอายุ 3. ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน หน่วยงาน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ควรมีการบูรณาการ การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และมีบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3.2) โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2566 เรื่อง “การศึกษารูปแบบแนวทางการให้ ความช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมในสถานการณ์วิกฤต (Covid - 19 ) กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมต่อการปรับตัวกับการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ของ กลุ่มเปราะบางจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ในจังหวัดภูเก็ต 2. เพื่อศึกษาการปรับตัวกับการดำเนินวิถีชีวิตใหม่พร้อมทั้งการได้รับความช่วยเหลือ จากหน่วยงานของรัฐและเอกชนอย่างไรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid - 19) ในจังหวัดภูเก็ต 3. เพื่อศึกษารูปแบบแนวทางที่เหมาะสมในการจัดบริการทางสังคมให้แก่กลุ่มเปราะบาง ในสถานการณ์วิกฤติ (Covid - 19) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล งบประมาณ จำนวน 330,000.- บาท กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าครัวเรือนเปราะบางในจังหวัดภูเก็ต จากฐานข้อมูล TPMAP
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 34 กระบวนการดำเนินงาน 1. อบรมสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2. ลงเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 3. ลงสัมภาษณ์เชิงลึก 4. จัดประชุม Focus Group โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2566 อยู่ระหว่างดำเนินการ 3.3) จัดทำคำของบประมาณโครงการวิจัยประจำปี 2567 เรื่อง “แนวทางการพัฒนา ระบบการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน กรณีศึกษา การเสริมพลังเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเลเพื่อการพัฒนาชุมชน” แนวทางการพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน ซึ่งมีจำนวน 7 กรณี ได้แก่ - แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการกลับเข้าระบบการศึกษา - พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง (Bullying) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก - แนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งต่อความรุนแรงข้ามรุ่นจากครอบครัวสู่เด็ก ศึกษาเฉพาะ ในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง - กระบวนการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า และป้องกันการฆ่าตัวตาย ของเด็กในสถานศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา - สัมพันธภาพในครอบครัวกับการคุ้มครองเด็กเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย (วัยผู้สูงอายุกับ วัยเด็กและเยาวชน) จังหวัดสิงห์บุรี - แนวทางการเสริมพลังเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเพื่อการพัฒนาชุมชน - การพัฒนากลไกและกระบวนการจัดการโดยบทบาทของชุมชนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ของการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน 2. เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน 3. เพื่อทดลองใช้แนวทางการพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน กรณีศึกษา การเสริมพลังเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเพื่อการพัฒนาชุมชน 4. จัดทำคู่มือการพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในภาวะเปราะบางในชุมชน งบประมาณ จำนวน 1,312,000.- บาท พื้นที่การศึกษาวิจัย 1. เด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จังหวัดภูเก็ต 2. เด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จังหวัดพังงา
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 35 กลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม ด้วยระเบียบวิธีวิจัย เชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มประชากร ประกอบด้วย เด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จำนวน 20 คน และพี่เลี้ยง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จำนวน 10 คน - โครงการวิจัยประจำปี 2568 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ดำเนินการ จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมสำหรับเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2568 โดยได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนา เครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี” งบประมาณ จำนวน 900,000 .- บาท วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค ของเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงาน เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย/แกนนำเด็กและเยาวชน ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน 3. เพื่อกำหนดรูปแบบการสร้างความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน (4) โครงการเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอความเห็น ในการพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคต ในอีก 5 ปีข้างหน้า 2. เพื่อจัดทำข้อเสนอความเห็นในการพัฒนาหลักประกัน บริการทางสังคมให้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า 3. เพื่อนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นทางวิชาการ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ งบประมาณ จำนวน 162,000.- บาท กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้แทนกรมต่างๆ ทีมหน่วยงาน พม. 14 จังหวัดภาคใต้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน หน่วยงานท้องถิ่น และอาสาสมัคร จำนวน 300 คน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) 2. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย ด้านเด็กและเยาวชน หน่วยงาน พม. ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 70 คน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 36 กระบวนการดำเนินงาน 1. การศึกษา ทำความเข้าใจประเด็นในการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัด โดยการซักซ้อม การจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 ร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ กำหนดประเด็นเวทีวิชาการร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 2. ประชุมหารือเตรียมการจัดประชุมเวทีวิชาการ และการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัด ภาคใต้ประจำปี 2566 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11 และคณะวิทยากร ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Google Meet) 3. เก็บรวบรวมข้อมูลสมัชชาสวัสดิการสังคมโดยใช้Google Form เพื่อสำรวจความคิดเห็น ประเด็นการประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัด ประจำปี2566 หัวข้อ “การพัฒนามาตรฐานหลักประกัน บริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ - เด็ก (อายุ 0-18 ปี) - เยาวชน (อายุ 18-25 ปี) - วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) - ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) - คนพิการ โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 ชุด/จังหวัด ดังนี้ - เครือข่าย จำนวน 25 ชุด - หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 15 ชุด - หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 ชุด 4. จัดเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ใน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย จัดประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) หรือรับชมถ่ายทอดสด ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายกิตติอินทรกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นประธานเปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 300 คน 5. นำเสนอผลการจัดประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมภาคใต้คืนข้อมูล เติมเต็ม แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นทางวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษาระดับภาค นำไปสู่มุมมอง ความเห็น ความร่วมมือ การเห็นประโยชน์ และข้อตกลงร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระดับพื้นที่ปฏิบัติการและระดับนโยบาย โดยมี นายอนันต์ ดนตรี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน เปิดการประชุม ในวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม แก้วสมุย 1 โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เวลา 08.00 - 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 70 คน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 37 6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางและการจัดทำข้อตกลงร่วมของภาคีเครือข่ายด้านเด็ก และเยาวชนภาคใต้ รวมทั้งการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับภาคใต้ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน 7. สรุปผลการจัดเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 จัดส่งสรุปผลการประชุมเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 ไปยัง สำนักงาน ก.ส.ค. และข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานระดับพื้นที่ กอง กรม และกระทรวง ผลการดำเนินงาน 1. จัดเวทีวิชาการและการจัดสมัชชาสวัสดิการสังคมจังหวัดภาคใต้ ประจำปี 2566 โดยนำข้อเสนอความเห็นในการพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า ไปใช้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานด้านสวัสดิการสังคม ในพื้นที่จังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือแต่ละกลุ่มเป้าหมาย อาทิ เด็กและเยาวชน วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2. ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้แก่ หน่วยงาน กอง กรม และกระทรวง ปัญหา/อุปสรรค 1. ระยะเวลาในการเข้ากลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นมีเวลาจำกัด ทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ครอบคลุมเท่าที่ควร 2. ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนเข้าร่วมการประชุมแต่ขาดการมีส่วนร่วม และไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ 3. ประเด็นในการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนามาตรฐาน หลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ใน 5 กลุ่มเป้าหมาย มีมากและคำถามซ้ำซ้อน ทำให้เกิดความสับสน 4. เครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมไม่ครอบคลุมทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้ข้อมูล ที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร 5. เครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมมาจากหลากหลายจังหวัด ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประชุม ไม่สามารถบ่งชี้ในระดับจังหวัดได้
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 38 ข้อเสนอแนะ ระยะเวลาในการเข้ากลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรมีระยะเวลาในการเข้ากลุ่มที่เหมาะสม (5) โครงการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย : การส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพฤติกรรม ที่เหมาะสมก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสรุปองค์ความรู้ บทเรียนจากการปฏิบัติงาน เอกสารวิชาการ รายงานการประชุม เวทีสมัชชา เวทีวิชาการ นำมาวิเคราะห์ เพื่อหาสภาพปัญหาสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขเร่งด่วน ที่เหมาะสม 2. เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 39 กระบวนการดำเนินงาน 1. ทบทวนศึกษาผลงานวิชาการ สถานการณ์ทางสังคม ประเด็นปัญหาทางสังคม จากเวทีสมัชชา เวทีวิชาการ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านสังคมในระดับพื้นที่และกลุ่มจังหวัด 2. ประชุมหารือการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงาน One Home พม. พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน และเครือข่าย 3. วิเคราะห์ และกำหนดประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ร่วมกับ หน่วยงาน One Home พม. พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน และเครือข่าย อย่างน้อย 1 ประเด็น 4. จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด ภาคใต้ตอนบน 5. ส่งสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายให้ สสว. ที่รับผิดชอบ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อเสนอฯ เป็นภาพรวมของประเทศ ผลการดำเนินงาน จา ก ร า ย ง า น สถ า นก า รณ์ ทา งสั งคม ข อ ง 7 จั ง ห ว ั ด ภ า คใต ้ ต อ นบ น ไ ด ้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และ จังหวัดภูเก็ต รายงานการประชุมขับเคลื่อนงานตามนโยบายกระทรวงของ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เวทีสมัชชาสวัสดิการสังคม และเวทีวิชาการภาคใต้ พบว่า ปัญหาสำคัญเร่งด่วนของเด็ก คือ ปัญหาด้านเด็ก มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้แก่ ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการใช้ความรุนแรง และยาเสพติด ซึ่งปัญหาดังกล่าวมาจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน NGO และภาคปะชาชน เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะพึงประสงค์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง “การส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพฤติการณ์ที่เหมาะสม ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ 21” เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ดังนี้ 1. ยกระดับนโยบายด้านการส่งเสริม และพัฒนาเด็กเป็นวาระแห่งชาติ 2. สร้างกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการ ที่มีความสอดคล้อง ต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับกระทรวง กรม จังหวัด และหน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ในทุกมิติ 3. สร้างรากฐานครอบครัวเพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะพึงประสงค์ ตั้งแต่การมีคู่ชีวิต การวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูเด็ก การสร้างครอบครัวคุณภาพ ผ่านกลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 4. เสริมสร้างทักษะชีวิต และกระบวนการทางความคิดเชิงบวกสำหรับเด็ก ส่งเสริมให้เด็ก ตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่พลเมือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 40 5. เปิดโอกาสให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ตั้งแต่กำหนด นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน จนสิ้นสุดทุกกระบวนงาน กิจกรรม 6. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ และกิจกรรมสำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนด เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานการพัฒนาท้องถิ่น 7. ส่งเสริมให้มีระบบสวัสดิการสนับสนุนครอบครัว เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแต่ละช่วงวัย และ เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างเด็ก/ครอบครัว และหน่วยงานให้บริการ 8. ยกระดับพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน ด้านเด็กในทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ให้มีความรู้ ทักษะอย่างมืออาชีพ มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในการปฏิบัติงานกับเด็กและครอบครัว 9. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเด็กให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน ครอบคลุมเด็กทุกคน ในทุกพื้นที่ ทุกมิติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร 10. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้มีทักษะการทำงาน ด้านเด็ก เพื่อเป็นกลไกระดับพื้นที่ในการชี้เป้า เฝ้าระวัง ป้องกัน ช่วยเหลือเบื้องต้น และส่งต่อได้อย่างมืออาชีพ (6)การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประจำปี พ.ศ.2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบ (Model) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการสังคมแก่คนทุกวัย ในชุมชนอย่างยั่งยืน 2. เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่อื่นนำรูปแบบ และกระบวนการทำงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานพัฒนาสังคม 4. เพื่อศึกษากระบวนการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กลุ่มเป้าหมาย 1. ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เครือข่ายวิชาการ หน่วยงานระดับ พม.ระดับกรม และจังหวัด 2. หัวหน้าหน่วย หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน พม.ตามเขตรับผิดชอบ ของ สสว. ประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการของกระทรวง พม. เช่น อปท. และ อพม. 3. บุคลากรสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 งบประมาณ จำนวน 25,000.- บาท กระบวนการดำเนินงาน เรื่องที่ 1 สวัสดิการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน เทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 1. ทบทวนเอกสาร และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกนายกเทศมนตรีเมืองปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 41 4. เผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบดิจิทัล ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง เรื่องที่ 2 กระบวนการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดระนอง 1. ทบทวนกระบวนการทำงานด้านการค้ามนุษย์ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดระนอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. ประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นจากคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดระนอง 4. เผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบดิจิทัลผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง ผลการดำเนินงาน เรื่องที่ 1 สวัสดิการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน เทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบ (Model) สวัสดิการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน คือ แนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมนั้นต้องใช้การสร้างการเข้าใจและการสนับสนุน จากผู้นำท้องถิ่น องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในชุมชนมีความสำคัญอย่างมากในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมการเข้าร่วม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ การสร้างพื้นที่สำหรับการเสวนา และการอภิปรายที่เปิดกว้าง การสนับสนุนการพัฒนาองค์กรที่เป็นมิตรกับ การเปลี่ยนแปลง และความหลากหลาย การเตรียมความพร้อม และการพัฒนาทักษะสำหรับสมาชิกในชุมชน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความยืดหยุ่นและ มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้นต้องใช้การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ ความร่วมมือจากคนในชุมชนเอง เพื่อสร้างสังคมที่มีความยั่งยืนและ เติบโตไปในทิศทางที่ดีในอนาคต เรื่องที่ 2 กระบวนการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดระนอง จังหวัดระนองมีการดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามหลักมาตรฐานสากล 5P ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย (Policy) การดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) การคุ้มครอง ช่วยเหลือ (Protection) การป้องกัน (Prevention) และ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 42 (Partnership) และใช้กลไกการส่งต่อระดับชาติ(National Referral Mechanism : NRM) เพื่อคุ้มครอง ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมีสถานรองรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่มีมาตรฐาน เพื่อการบำบัด ฟื้นฟู และให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย “บ้านระนอง” ก่อนส่งกลับคืนสู่สังคม ปัญหา/อุปสรรค 1. เนื่องจากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การแข่งขัน สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ทางสังคม ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบ จึงต้องมีการทบทวน ปรับเปลี่ยนวิธีการและเตรียมพร้อมรับมือให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2. อำนาจหน้าที่ หรือข้อจำกัดบางประการของเทศบาลส่งผลให้เทศบาลไม่สามารถดำเนินการ ได้อย่างทันท่วงทีหรือไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ เช่น การซ่อมบ้าน หรือการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ หากไม่มีนโยบายของผู้บริหารมาช่วยหนุนเสริม อปท. ต้องมีการเสนอเรื่องเข้าคณะกรรมการช่วยเหลือ ประชาชน ซึ่งมีหลายขั้นตอน ส่งผลให้การช่วยเหลือมีความล่าช้า 3. ความรู้ความเข้าใจของทีมปฏิบัติการศูนย์บูรณาการคัดแยกในการดูแลผู้เสียหายหรือ ผู้ที่เชื่อว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่รับเข้ามาอยู่ในศูนย์บูรณาการคัดแยก ยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน เช่น การเยียวยาด้านร่างกาย จิตใจ และการทำกิจกรรมในช่วง Reflection Period เป็นต้น
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 43 4. การสรรหาผู้รับเหมาทำอาหารให้กับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในสถานคุ้มครองค่อนข้างยาก เนื่องจากงบประมาณค่าอาหารค่อนข้างน้อย เพียงวันละ 57 บาท/วัน/คน 5. ผู้เสียหายไม่ตระหนักว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย ทำให้การดูแลภายในสถานคุ้มครอง มีความยากลำบาก 6. ผู้เสียหาย มีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน และไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 7. กรณีต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง หรือทำผิดกฎหมายการเข้าเมือง และไม่สามารถส่งกลับ ประเทศต้นทางได้มีจำนวนมาก อยู่ในสถานที่กักตัวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สถานที่จำกัด ทำให้ต้องอยู่อย่างแออัด และเกิดภาวะความเครียดอีกทั้งรัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการดูแลจำนวนมาก 8. การเรียกร้องค่าสินไหมไม่ได้กำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีค่าเสียหายที่ไม่เป็น ตัวเงิน เช่น ความเสียหาย จากการเสียชื่อเสียง บาดแผลทางจิตใจ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ 1. เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เทศบาลเมืองปากพูน มีแผนในการสำรวจเด็กในชุมชน ที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก และเขียนหนังสือไม่ได้ เพื่อร่วมกันวางแผนในการพัฒนาทักษะการอ่านออก เขียนได้ ของเด็กในชุมชน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและเหมาะสม 2. ปัญหายาเสพติดของคนในชุมชน นับว่าเป็นอีกปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงและ ส่งผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน เทศบาลเมืองปากพูนจึงมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมชุมชน โดยสร้างจิตสำนึกร่วมกันว่าเป็นปัญหาของทุกคน และทุกฝ่ายต้องมาร่วมมือกัน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในการดำเนินงาน และกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา ร่วมแรง ร่วมใจ แก้ไขปัญหาให้สำเร็จ โดยร่วมกันจัดทำ แผนงานของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยตรง โดยอ้อม และแผนการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้าน 3. ปัญหาผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุที่ต้องดูแลหลาน อาจจะเกิด จากหลากหลายสาเหตุ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ลูกต้องไปทำงานต่างจังหวัด พ่อแม่มีการหย่าร้าง/แยกทาง แล้วทิ้งหลานไว้ให้ดูแล ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และต้องร่วมกันเร่งหาทางแก้ไข ในอนาคต 4. ควรมีการนิยาม หรือกำหนดเกณฑ์การเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย จากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน 5. ควรมีการจัดทำคู่มือ และองค์ความรู้เฉพาะทางที่จำเป็นให้กับผู้ปฏิบัติงาน ศูนย์บูรณาการคัดแยกนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น กิจกรรม Reflection Period การเยียวยาร่างกาย และจิตใจ 6. ควรมีการอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีองค์ความรู้และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานตรวจแรงงานให้เป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปราม การค้ามนุษย์เป็นพนักงานตรวจแรงงาน เป็นต้น
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 44 7. ควรส่งเสริม และสนับสนุนให้แต่ละสถานคุ้มครองมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง โดยสร้างจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงาน หรือองค์กรอื่นนำไปประยุกต์ใช้ (7) โครงการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เจ้าภาพหลัก : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดทำ และพัฒนางานด้านวิชาการ รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคม ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทพื้นที่จังหวัด และกลุ่มจังหวัด 2. เพื่อยกระดับงานวิชาการของหน่วยงานให้สอดคล้องบริบทพื้นที่ สสว. 3. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนภาคีเครือข่าย ในทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาสร้างโอกาสเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง งบประมาณ จำนวน 400,000.- บาท กลุ่มเป้าหมาย 1. ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เครือข่ายวิชาการ หน่วยงานระดับ พม.ระดับกรม และจังหวัด 2. หัวหน้าหน่วย หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน พม. ตามเขตรับผิดชอบของ สสว. ประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการของกระทรวง พม. เช่น อปท. และ อพม. 3. บุคลากรสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 และกองมาตรฐานการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระบวนการดำเนินงาน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 11 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินกิจกรรมพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ดำเนินการ โดยนำองค์ความรู้จากงานวิชาการงานวิจัยด้านสังคมมาเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 11 พื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผล การส่งเสริม และสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม และสร้างความมั่นคงของประชาชน ในชุมชนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล โดยบูรณาการร่วมกับโครงการวิจัย เรื่อง การจัดการความรู้และการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์งานวิจัย และนวัตกรรม ในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงาน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 45 ในกระบวนการยุติธรรม งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ในส่วนการดำเนินการกิจกรรมพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ร่วมกับทีม พม. (One Home) จังหวัดระนอง ศูนย์พัฒนา การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และภาคีเครือข่าย ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) พื้นที่ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ประเด็น “การส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” โดยใช้กระบวนการ 3 รู้ ได้แก่ รู้ตัวตน เป็นการตระหนักร่วมกันของผู้สูงอายุ ว่าปัญหาประเด็นปัญหาที่มี ความสำคัญและเร่งด่วน คือ อาชีพและรายได้ รองลงมาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต รู้ชุมชน จากการวิเคราะห์ ตนเอง ชุมชน และทุนในพื้นที่ ภาคีเครือข่าย และทรัพยากรในชุมชน และรู้วิชาการ ด้านการส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุ เพื่อนำมาออกแบบการแก้ไขปัญหาตามหลักการ Design Thinking 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) เข้าใจ (Empathize) การเข้าใจปัญหา และหาสาเหตุของการไม่มีอาชีพ รายได้ เพื่อนำมาสู่การแก้ไขปัญหา 2) นิยาม (Define) เป็นการสรุปข้อมูลปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา ในการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตามความต้องการ ศักยภาพ และความเหมาะสม 3) สร้างสรรค์ (Ideate) การส่งเสริมการมีอาชีพให้กับ ผู้สูงอายุ 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกลุ่มในชุมชน และผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน โดยใช้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ประสานเชื่อมโยง และติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน 4) จำลอง (Prototype) ภายใต้รูปแบบ (Model) “การส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภายใต้ กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” ตามศักยภาพและความเหมาะสมของผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 จัดตั้งกลุ่มอาชีพข้าวเกรียบผักเหลียง และรูปแบบที่ 2 ประกอบอาชีพอิสระที่บ้าน หรือรับงานมาทำที่บ้าน 5) การทดสอบ (Test) ดำเนินการตามรูปแบบ (Model) การส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล โดยผู้สูงอายุเข้าร่วมกลุ่มในชุมชน รวบรวมสมาชิกที่สนใจ ให้ความรู้กับผู้สูงอายุในเรื่องการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ และการพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) รวมทั้งการพัฒนาต่อยอด สำหรับผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน ลงพื้นที่จัดบริการครอบครัวรายกรณี (FCM) วางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว พร้อมให้การช่วยเหลือ และติดตาม การสร้างอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การค้นหาตัวตน กลยุทธ์ที่ 2 การค้นหาเครือข่าย กลยุทธ์ที่ 3 การค้นหากิจกรรม อาชีพที่เหมาะสม ของผู้สูงอายุ กลยุทธ์ที่ 4 การค้นหาผู้นำ และกลยุทธ์ที่ 5 การค้นหาทีม ผลการดำเนินงาน ผลการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 1 – 11 เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม และสร้างความมั่นคงของประชาชนในชุมชนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 11 รูปแบบ (Model) สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มข้อมูลและสารสนเทศ จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ การเก็บข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ Smart Data (สสว.3) การจัดทำฐานข้อมูลครัวเรือน เปราะบางด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (สสว.6) และฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศจำแนกผู้สูงอายุ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 46 DED (Digest Elderly Data) (สสว.7) 2) กลุ่มกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแบบมีส่วนร่วม จำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาทางสังคมในพื้นที่รองรับผู้สูงอายุ (สสว.5) และการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อ ผู้สูงอายุในครอบครัว (สสว.8) และ 3) กลุ่มรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และชุมชน จำนวน 6 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการขยะในชุมชน (สสว.1) การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัย (สสว.2) รูปแบบ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุช่วงกลางวัน (Day Care Center) (สสว.4) เสียงสร้างสุข (สสว.9) การส่งเสริมอาชีพทางเลือก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (สสว.10) และนวัตกรรม น้องอ้อมปันสุข (สสว.11) ในส่วนผลการดำเนินงานผลการดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 นั้น ทำให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ รายได้เพิ่มขึ้น จากการเป็นวิสาหกิจ ชุมชนแปรรูปข้าวเกรียบผักเหลียงที่ได้รับมาตรฐานสินค้า OTOP สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกลุ่มในชุมชน และอาชีพอิสระ ได้แก่ ปลูกผัก เลี้ยงปลาดุก ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา รับงานร้อยพวงมาลัยที่บ้าน และ สมาชิกในครอบครัวได้งานทำ ผู้พิการได้ทำงานในสถานประกอบการ สำหรับผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน ส่งผลให้มีสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ดี ลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึก มีคุณค่าในตัวเอง ชุมชนเกิดพื้นที่ต้นแบบการส่งเสริมอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพชีวิต พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ประจำปี 2566 การส่งเสริมอาชีพทางเลือก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง และบูรณาการ ทำงานที่ครอบคลุมทุกมิติและพัฒนาสู่การบรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 - 2570 และสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 มีรูปแบบ (Model) การพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุตามศักยภาพ และความเหมาะสม 2 รูปแบบ คือ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบผักเหลียง และทำงานที่บ้าน