รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 47 ได้แก่ อาชีพอิสระ อาทิ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำไม้กวาดดอกอ้อ เป็นต้น การถ่ายทอดภูมิปัญญา และรับงาน มาทำที่บ้าน รวมทั้งเป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำรูปแบบ (Model) การส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และนำสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นตามภาพ ดังนี้ ปัญหา/อุปสรรค 1. ด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรม จำเป็นต้องใช้การบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วนการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง รวมทั้ง การแสวงหาแหล่งงบประมาณจากการระดมทุน เงินบริจาค เพื่อซื้ออุปกรณ์ ของใช้ที่จำเป็น เช่น การระดมเงิน บริจาค เพื่อซื้อเครื่องอบลมร้อน 15,000 บาท การขอสนับสนุนงบประมาณในการซื้อเครื่องทำความเย็น จากหน่วยงานภาคเอกชน 2. ความร่วมมือของผู้สูงอายุในการร่วมกิจกรรมของส่งเสริมอาชีพ จำเป็นต้องแสดง ความตั้งใจและการเสริมพลังผู้สูงอายุโดยการทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ประสาน และหาแหล่งทรัพยากร ร่วมกับท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 3. การให้ความสำคัญและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำเป็นต้องสร้าง การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางเป้าหมาย การวางแผน การขับเคลื่อนงาน การคืนข้อมูล และการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีช่องทางติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และความสำเร็จ ร่วมกัน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 48 ข้อเสนอแนะ 1. ประยุกต์ใช้ตัวแบบ (Social Lab Model) และการทดลองตัวแบบ (Testing) พร้อมประเมินผลการจัดบริการตามตัวแบบ และนำเสนอผลการทดลองตัวแบบพัฒนาปรับปรุงตัวแบบ และเผยแพร่ผลการดำเนินงานในช่องทางที่หลากหลาย และกระจายไปทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้เป็น ที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดบริการในอนาคต และเป็นเครื่องมือในการทำงาน แก่หน่วยงานด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2. ประชาสัมพันธ์รูปแบบ (Model) การส่งเสริมอาชีพทางเลือก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ภายใต้กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลให้เป็นเครื่องมือในการทำงานแก่หน่วยงาน ด้านพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ 3. ทำหน้าที่พี่เลี้ยง (Mentoring) และโค้ช (Coaching) ให้กับหน่วยงาน ด้านพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อแก้ไขปัญหากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 4. ประชาสัมพันธ์รูปแบบ (Model) การส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภายใต้ กลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ให้เป็นเครื่องมือในการทำงานแก่หน่วยงาน ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในระดับจังหวัด
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 49 2.2 บริการด้านการพัฒนาสังคมในระดับพื้นที่ (1) โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร 1.1) กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและภาคีเครือข่าย “การอบรมการวิเคราะห์และ ใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใต้แฟลตฟอร์ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน (MSO- Logbook) เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่จังหวัด” วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูล ในแฟลตฟอร์ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน (ระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์) และสามารถนำข้อมูลกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนไปวิเคราะห์ เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง รายครัวเรือน หรือวางแผนระดับจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ จำนวน 24,940.- บาท กระบวนการดำเนินงาน 1. จัดทำแบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน 2. ประชุม สสว. 1-11 เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และภาคีเครือข่าย (ผ่านระบบออนไลน์) 3. จัดประชุมชี้แจง One Home พม. จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เกี่ยวกับแผนการจัดกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และภาคีเครือข่าย 4. กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ 5. ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามที่วางแผนไว้ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Google Meet) ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. 6. สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน ผลการดำเนินงาน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการข้อมูล และเลือกใช้ข้อมูล ในแฟลตฟอร์ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน (ระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์) สามารถนำข้อมูลกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนไปวิเคราะห์ เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง รายครัวเรือน หรือวางแผนระดับจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหา/อุปสรรค 1. ผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติโดยตรง หรือที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร 2. การอบรมแบบ Online ทำให้การจัดอบรมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก ความไม่เสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ผู้เข้าร่วมอบรมมีงานอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบทำให้ความใส่ใจ/สมาธิ ในการเข้าร่วมอบรม การซักถามปัญหาข้อสงสัยต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างๆ มีน้อย 3. การจัดประชุม Online อาจมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 50 ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดการอบรมแบบ Onsite มากกว่า Online 2. ผู้เข้าอบรมควรเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในเรื่องที่ตรงกับหลักสูตรการอบรม 3. ต้องเป็นหลักสูตรที่ทันกับยุคสมัย และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง 1.2) กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและภาคีเครือข่าย “การจัดบริการครอบครัว รายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี 2566” วัตถุประสงค์ : อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และบุคลากร ของหน่วยงาน พม. มีความรู้ ความเข้าใจ การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ สามารถวางแผนช่วยเหลือและพัฒนา ครัวเรือนเปราะบางให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างบูรณาการ ครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม พัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนให้สามารถดำรงชีวิตได้ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งบประมาณ จำนวน 350,190.- บาท กระบวนการดำเนินงาน 1. จัดประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจและวางแผนการดำเนินการฝึกอบรม “การจัดบริการ ครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ระดับครัวเรือน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Google Meet) ในวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุม ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ 2. การฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน ในระหว่างวันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และบุคลากรของ หน่วยงาน พม. ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี(Family Case Management : FCM) ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ในศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล สามารถช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาครอบคลุมในทุกมิติ แบบองค์รวม และสามารถพึ่งพาตนเองได้จังหวัดละ 1 กรณีศึกษา โดยคัดเลือกกรณีศึกษา จากครัวเรือน ที่มีความเปราะบาง ระดับ 3 คือ ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 100,000 บาท และมีบุคคลที่อยู่ ในภาวะพึ่งพิงมากกว่า 2 คน เป็นลำดับแรก ในระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2566 4. การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน “การจัดบริการครอบครัว รายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ณ ห้องประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ในระหว่างวันที่ 8 – 11 และ 16 – 18 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย 7 จังหวัด ๆ ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 140 คน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 51 ผลการดำเนินงาน 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และความเข้าใจในการจัดบริการครอบครัว รายกรณี ประเมินผลการวัดความรู้ โดยเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความรู้ก่อน และหลังการฝึกอบรม 2. มีชุดความรู้ที่ได้จากการอบรม (ชุดความรู้กระบวนการบริการครอบครัวรายกรณี และ ชุดความรู้ถอดบทเรียนผู้ปฏิบัติงาน) 3. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำกระบวนการจัดบริการครอบครัวรายกรณี ไปช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ผลกระทบ (Impact) 4. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 หรือหน่วยงานสังกัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นำชุดความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกระบวนการ บริการครอบครัวรายกรณี เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนกลุ่มเปราะบางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. ครัวเรือนเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ครอบครัวมั่นคงมีความสุขสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ปัญหา/อุปสรรค กระบวนการในการจัดทำโครงการขอรับเงินกองทุนฯ มีรายละเอียดยุ่งยาก และซับซ้อน ข้อเสนอแนะ 1. การสนับสนุนเงินกองทุน ควรให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการรวมทั้งสอดคล้องกับค่าครองชีพ และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2. ควรกำหนดรายการค่าใช้จ่ายให้มีความชัดเจน เพื่อให้องค์กรทราบว่ารายการใดที่กองทุน สามารถให้การสนับสนุนได้ และรายการใดที่องค์กรต้องสนับสนุนเพิ่มเติม 3. ควรมีตัวอย่าง หรือคู่มือในการจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงิน เพื่อให้องค์กรสามารถ จัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินได้อย่างถูกต้อง 4. ควรมีตัวอย่างหรือคู่มือในการจัดทำรายงานผลโครงการ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดทำ รายงานผลได้อย่างถูกต้อง 5. ควรมีการปรับลดระยะเวลาขั้นตอนการขอรับเงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ให้กระชับ เนื่องจากบางขั้นตอนมีการใช้ระยะเวลานาน ทำให้บางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ ได้กำหนดไว้ซึ่งส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของโครงการ 6. ควรขยายระยะเวลาในการส่งเอกสารใบสำคัญรับเงิน และเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ เนื่องจากการสรุปผลการดำเนินงานโครงการต้องใช้เวลาในการดำเนินงานพอสมควร 7. ควรมีเจ้าหน้าที่ของกองทุน เป็นผู้ติดตามสอบถาม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การจัดโครงการ และการจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินกับให้กับผู้ที่ขอเงินกองทุนฯ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเอกสารต่างๆ มีความถูกต้อง สมบูรณ์ ไม่เกิดความผิดพลาดที่จะต้องมาแก้ไขในภายหลัง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 52 (2) โครงการขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางสังคมกลุ่มจังหวัด 2.1) ศูนย์ข้อมูลด้านสังคม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด จากแหล่งข้อมูลในพื้นที่รับผิดชอบ ในเขตพื้นที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี 2. ปรับปรุงงานด้านข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เพื่อให้เป็นศูนย์ข้อมูลด้านสังคมในระดับกลุ่มจังหวัดที่ผู้ใช้งานทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติ ในจังหวัดต่างๆ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ 3. เพื่อให้มีข้อมูลในเชิงสถิติที่แสดงสถานการณ์ จำนวน และแนวโน้มของสภาพปัญหา สำหรับผู้บริหารในการกำหนดนโยบาย และสำหรับการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ในระดับพื้นที่จังหวัด กระบวนการดำเนินงาน 1. ดำเนินการโดยการศึกษา วิเคราะห์ความต้องการการใช้ ข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ ระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คัดเลือก และรวบรวมข้อมูล ทางสังคมในระดับพื้นที่ ประชุมรวบรวมความต้องการชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ระหว่างหน่วยงานภายใน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และจัดทำ (ร่าง) ชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 สสว.1-11 มีการจัดประชุมวิพากษ์(ร่าง) ชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ร่วมกับ One Home และภาคีเครือข่ายผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้รับเกียรติจาก นายอนันต์ ดนตรี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการประชุมวิพากษ์ และมีเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ 76 จังหวัด เข้าร่วมรับฟัง วิพากษ์ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โดยสามารถ สรุปผลการวิพากษ์ (ร่าง) ชุดข้อมูลทางสังคมระดับพื้นที่ ดังนี้ 1. ที่มา กรอบแนวคิด แนวทาง และผลที่คาดว่าจะได้รับ 2. (ร่าง) ชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ 3. การวิพากษ์ (ร่าง) ชุดข้อมูลด้านสังคมในระดับพื้นที่ 4. ข้อเสนอแนะต่อการวิพากษ์ (ร่าง) ชุดข้อมูลด้านสังคมในระดับพื้นที่ 2. เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ หัวข้อ “มาตรฐานการจัดกลุ่มชุดข้อมูล” ในวันที่ 27 เมษายน 2566 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีนายธนู ธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9 เป็นประธานในการประชุม และ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรพล ลีลาเกียรติสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นวิทยากร
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 53 บรรยายพิเศษ หัวข้อ “มาตรฐานการจัดกลุ่มชุดข้อมูล” โครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูล โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 2. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 3. จัดทำข้อมูลในระดับพื้นที่ภาคใต้ตอนบน Data set ชุดข้อมูลทางสังคม 4. ร่วมจัดทำชุดข้อมูลทางสังคมในระดับพื้นที่ รายจังหวัด เป็น Dashboard สสว.1-11 ปัญหา/อุปสรรค 1. ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ 2. ข้อมูลบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับบริบทพื้นที่เฉพาะซึ่งไม่ตรงกันทุกพื้นที่ทำให้ข้อมูล ไม่เป็นเอกภาพ 3. ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งภายใน และภายนอกกระทรวงได้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อมูลต้องตอบสนองความต้องการของพื้นที่ หน่วยงาน กรมกองต่างๆ ให้สามารถ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ 2. มีข้อมูลที่สนับสนุนการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม 3. ปรับปรุงรูปแบบ และหน้าตาของเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น 4. เจ้าของระบบต้องรู้จักระบบ และสามารถแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 54 2.2) ระบบเครือข่าย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรวบรวมข้อมูลเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด จากแหล่งข้อมูล ในพื้นที่รับผิดชอบ ในเขตพื้นที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และ สุราษฎร์ธานี 2. ปรับปรุงข้อมูลเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 10 เพื่อเป็นข้อมูลเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้ กระบวนการดำเนินงาน 1. มีการกำหนดรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม จำนวน 27 ฐานข้อมูล 2. ได้มีการประชุมชี้แจง One Home พม. จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเครือข่าย ด้านการพัฒนาสังคม 3. ได้ประสานงานหน่วยงานซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลผ่านช่องทาง โทรศัพท์ ไลน์ หรือ เป็นหนังสือราชการ 4. ได้จัดทำแบบฟอร์ม Google from และ Googlesheets ให้หน่วยงานแหล่งข้อมูลเครือข่าย เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ 5. ได้มีการติดตามการคีย์ข้อมูลของหน่วยงานแหล่งข้อมูลตามแบบ Google from และ Googlesheets 6. ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลปีงบประมาณละ 2 ครั้ง ผลการดำเนินงาน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ดำเนินการรวบรวม และปรับปรุงฐานข้อมูล เครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม ซึ่งประมวลผลข้อมูลเครือข่าย ด้านการพัฒนาสังคมในรูปแบบ Dashboard จำนวน 27 ฐานข้อมูล ประกอบด้วย 1. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 2. คลังปัญญาผู้สูงอายุ 3. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) 4. ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 5. องค์กรสวัสดิการชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 6. องค์การสาธารณประโยชน์ 7. ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (CSR) 8. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 9. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) 10. องค์กรคนพิการ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 55 11. สภาเด็กและเยาวชน 12. กองทุนสวัสดิการชุมชน 13. โครงการบ้านมั่นคง 14. โครงการบ้านพอเพียง 15. สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน 16. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 17. สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน 18. สถานแรกรับเด็กเอกชน 19. ศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็ก 20. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านเด็ก 21. ผู้ช่วยคนพิการ 22. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านคนพิการ 23. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงระดับตำบล (ศปก.ต) 24. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านสตรีและครอบครัว 25. โรงเรียนผู้สูงอายุ 26. ชมรมผู้สูงอายุ 27. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านผู้สูงอายุ โดยช่องทาง กา รเ ข ้า ถึง เว็บไซต์ ระบบเครือข่ าย ด ้าน สัง คม หรือ คลิ๊ ก https://datastudio.google.com/u/0/reporting/5af5b32b-8837-4745-9a7a-8743cd73fa96/page/JlwNC
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 56 ปัญหา/อุปสรรค 1. การประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลผ่านช่องทาง เช่น โทรศัพท์ ไลน์ หรือเป็นหนังสือราชการ ทำให้ได้รับการตอบกลับ และได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ 2. ประเภทข้อมูลที่กำหนดมีจำนวนมากเกินไป (3) โครงการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 3.1) โครงการประจำปีงบประมาณ 2566 “เสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีพ เพื่อการพัฒนา คนและสังคมอย่างมีคุณภาพ” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และสร้างช่องทางการประกอบอาชีพทางเลือกแก่กลุ่มคนเปราะบาง 2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ระบบออนไลน์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ 3. เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนเปราะบาง มีสภาพความเป็นอยู่ด้านที่อยู่อาศัย ที่เหมาะสมปลอดภัย งบประมาณ จำนวน 8,769,400.- บาท กระบวนการดำเนินงาน กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้อนุมัติโครงการภายใต้งบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 10 และ 11 ดำเนินโครงการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 5 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และจังหวัดสงขลา กรอบประเด็นการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ประเด็น การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาสู่การเป็นเมืองสีเขียว และสังคมคุณภาพ แผนงาน พัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ภายใต้ชื่อโครงการ : โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีพ เพื่อการพัฒนาคน และสังคมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีกิจกรรมการขับเคลื่อน 3 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมยกระดับศักยภาพ สร้างรายได้และทางเลือกอาชีพด้วยตลาดออนไลน์
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 57 2. กิจกรรมการส่งเสริม และพัฒนาทักษะอาชีพช่างชุมชน เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยครัวเรือนเปราะบาง 3. กิจกรรมเรียนรู้อาชีพทางเลือก เพื่อเสริมรายได้ครัวเรือนเปราะบาง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 58 ผลการดำเนินงาน 1. กลุ่มเปราะบาง ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด - ๑๙ ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ ยกระดับความสามารถในการประกอบอาชีพ 2. ครัวเรือนเปราะบางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มช่องทาง หรือทางเลือกในการประกอบอาชีพ 3. ครัวเรือนเปราะบาง ผู้สูงอายุ คนพิการ จำนวน ๑๐๐ ครัวเรือน ได้รับการปรับสภาพ ที่อยู่ให้เหมาะสม และปลอดภัย ปัญหาอุปสรรค 1.ค่าวัสดุก่อสร้างในการฝึกปฏิบัติมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นตามสภาพที่ต้องปรับปรุง 2. ไม่มีงบประมาณสนับสนุนค่าอาหารกลางให้กับผู้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติหลักสูตรช่างชุมชน 3. การจัดสรรงบประมาณ จากเดิมกำหนดไว้ ๒ งวด ถูกแบ่งออกเป็น ๓ งวด และได้รับการจัดสรรล่าช้า ข้อเสนอแนะ 1. ควรเพิ่มงบประมาณวัสดุฝึกปฏิบัติให้มีความเหมาะสมเพียงพอกับความต้องการ 2. ควรจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารในกิจกรรมฝึกภาคปฏิบัติ 3. การสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมล่าช้า และเร่งรัดโครงการ จนสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.2) จัดทำโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2567 มีการประชุม คณะอนุกรรมการ เพื่อจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน และบรรจุโครงการ เพื่อของบประมาณ 2567 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เสนอโครงการเสริมสร้างศักยภาพ ด้านอาชีพ เพื่อการพัฒนาคน และสังคมอย่างมีคุณภาพ งบประมาณ 6,230,700 บาท แต่เนื่องจากงบประมาณ ไม่เพียงพอจึงผลักดันต่อไปในงบประมาณ 2568 ต่อไป 3.3) จัดทำโครงการตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ของบประมาณ ประจำปี 2568 โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เสนอโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านอาชีพ เพื่อการพัฒนา คนและสังคมอย่างมีคุณภาพ งบประมาณ 6,230,700 บาท (4)การบริการทางวิชาการ วัตถุประสงค์ 1. ให้บริการทางวิชาการแก่ ชุมชน และสังคม ในรูปแบบต่างๆ ตามนโยบาย และ แผนการปฏิบัติงานที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ปฏิบัติตามภารกิจ 2. การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 3. ให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 59 กระบวนการดำเนินงาน 1) One Page สสว.10 หยิบมาบอก สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้กำหนดให้มีการนำเสนอองค์ความรู้ด้านต่างๆ “One page สสว.10 หยิบมาบอก” ให้สอดคล้องกับวันสำคัญในแต่ละเดือน โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้ดำเนินการจัดทำเป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 4 ครั้งดังนี้ เดือน Theme ประเด็นการนำเสนอ มกราคม เด็ก/วันเด็กแห่งชาติ ประเด็นการนำเสนอในแต่ ละรอบสัปดาห์ ประกอบด้วย 1. พรบ./กฎหมายที่ เกี่ยวข้อง 2. นโยบายกระทรวง/กรม 3. สถานการณ์ 4. เตือนภัย 5. เกร็ดน่ารู้ กุมภาพันธ์ เยาวชน/วันแห่งความรัก มีนาคม สตรี/วันสตรีสากล เมษายน ผู้สูงอายุ/วันสงกรานต์ พฤษภาคม ครอบครัว/แรงงาน มิถุนายน ค้ามนุษย์/วันต่อต้านการค้ามนุษย์ กรกฎาคม วัฒนธรรม/สังคม/อาสาสมัคร สิงหาคม พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว/ความกตัญญู กันยายน เกษียณ/การสร้างอาชีพ และรายได้ ตุลาคม คนไร้บ้าน/ผู้ด้อยโอกาส พฤศจิกายน ความรุนแรงต่อเด็ก/สตรี/และ ครอบครัว ธันวาคม คนพิการ/การเริ่มต้นปีใหม่
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 60 2) E-Library ห้องสมุดชีวิต สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้กำหนดให้มีการนำเสนอชุดองค์ความรู้ “ชุดองค์ความรู้ ห้องสมุดชีวิต E-Library” ให้สอดคล้องกับวันสำคัญในแต่ละเดือน โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้ดำเนินการจัดทำเป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 4 ครั้งดังนี้ เดือน Theme คำนิยาม มกราคม ปีใหม่ชีวิตใหม่...ชีวิตดีสร้างได้ด้วยมือเรา New Year New Me…Your Life is in Your Hand - การพัฒนาตัวเอง/การตั้งเป้าหมายที่ดีๆ ใน ชีวิต - การจัดการกับปัญหาอุปสรรคในชีวิต - การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มีเป้าหมาย - การรัก และดูแลตัวเอง/เห็นคุณค่าในตัวเอง - การวางแผนในชีวิต กุมภาพันธ์ สังคมแห่งความรัก และการแบ่งปัน Loving and Sharing Society -แนวความคิดเรื่องการแบ่งปัน ความรักและเอื้อ อาทร -การสร้างครอบครัวและสังคมที่อบอุ่น/เอื้ออาทร - ทักษะ/เทคนิค ในการบริหารจัดการ ความสัมพันธ์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และ สังคม - ตัวอย่างบุคคล/สังคมที่มีการแบ่งปัน - ความรักแบบไร้เงื่อนไข/รักโดยไม่มีข้อแม้ มีนาคม คุณภาพชีวิตของคนไทยในยุคไร้ พรมแดน Quality of life of Thai People in the Borderless Era - การเคลื่อนย้ายของคนไทยในต่างประเทศ - ปัญหาอุปสรรค และการถูกหลอกลวงของ คนไทยในต่างประเทศ - ตัวอย่างคนไทยในต่างประเทศ ทั้งสำเร็จ และ ล้มเหลว - การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง ไปต่างประเทศ และการป้องกันการถูกล่อลวง - การสมรสข้ามวัฒนธรรม/เชื้อชาติ/รูปแบบ การถูกหลอกลวง/การป้องกัน/การแก้ปัญหา - การปรับตัวของคนไปพลัดถิ่น หรือคน สองวัฒนธรรม - กฎหมาย/ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 61 เมษายน ครอบครัวดี...สังคมมีสุข Happy Family Happy Society - รูปแบบ และความหมายของครอบครัว - การรักษาครอบครัวให้แข็งแรง มีความสุข - การจัดการกับความขัดแย้งในครอบครัว การนอกใจ/ภาวะเศรษฐกิจ/การเลี้ยงลูก/ ความรุนแรงในครอบครัว - ครอบครัวคนข้ามเพศ/ครอบครัวแหว่งกลาง - ข้อกฎหมาย/เกร็ดน่ารู้สำหรับครอบครัว พฤษภาคม ความยากจนครัวเรือนไทย...จะหลุดพ้น ได้อย่างไร Breaking the Cycle of Poverty in Thai Family - มิติและความหมายของความยากจนของ ครัวเรือนไทย - สาเหตุความยากจน และการแก้ปัญหาให้ หลุดพ้นจากความยากจน - ตัวอย่างการแก้ปัญหาความยากจน ระดับครัวเรือน ทั้งไทย และต่างประเทศ - การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย - การพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน มิถุนายน หยุดการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ Stop Human Trafficking - รูปแบบ/ปัญหา/สถานการณ์ การค้ามนุษย์ - การป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์/ ค้าประเวณี - กระบวนการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์/ สิทธิ/สวัสดิการ กรกฎาคม Bully…ไม่มีใครอยากได้ยิน Stop Bullying Show Respect - ปัญหา และผลกระทบของการ Bully - ปัญหาการ Bully ในโรงเรียน - ปัญหา Cyber Bully - การแก้ปัญหาการ Bully ทั้งในและ ต่างประเทศ สิงหาคม เลี้ยงเดี่ยว...เลี้ยงดี/เลี้ยงเดี่ยวไหว ถ้าใจแข็งแรง Strong Single Parent - สถานการณ์และปัญหาของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว - แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตพ่อแม่เลี้ยง เดี่ยวทั้งใน และต่างประเทศ - ตัวอย่างพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ ในการเลี้ยงลูก -ทักษะและเทคนิคการเลี้ยงดูลูกสำหรับพ่อแม่เลี้ยง เดี่ยว - สิทธิ/สวัสดิการ ที่พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวควรรู้
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 62 กันยายน เกษียณ...แซ่บ Happy Retirement Ageing Gracefully - การเตรียมตัวก่อนเกษียณ ด้านสุขภาพ/ การเงิน/การใช้ชีวิต - ปัญหาที่พบของประชากรวัยเกษียณ - การจัดการภาวะหนี้/การออม/ภาวะ เศรษฐกิจ/การหย่าร้าง/ปัญหาครอบครัว - อาชีพทางเลือกหลังเกษียณ - สิทธิสวัสดิการ ตุลาคม บ้านสำหรับทุกคน Habitat for All - แนวความคิดเรื่องบ้านสำหรับทุกคน - ปัญหาคนไร้บ้าน - การเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ - บ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ/คนพิการ/ รายได้น้อย - สิ่งที่ควรรู้เมื่อคิดจะมีบ้าน พฤศจิกายน จิตใจที่ดีในร่างกายที่สมบูรณ์ Sound Mind in Sound Body - การดูแลสุขภาพกาย และใจให้สมบูรณ์ - การดูแลตนเองในยุคโควิด 19 - เทคนิคการดูแลตนเอง ด้านอาหาร การนอน การออกกำลังกาย และอื่นๆ - การจัดการกับภาวะจิตใจ/ความเครียด/ภาวะ ซึมเศร้า การดูแลสุขภาพจิต - แพทย์ทางเลือก/ธรรมชาติบำบัด/การพึ่งพา ตนเองทางสุขภาพ ธันวาคม เศรษฐกิจใหม่ วิถีใหม่ ทักษะใหม่ในโลก อนาคต New economy, New Normal, New skill in the Future World - การปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจ/อาชีพ/ทักษะ ใหม่ๆ ที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน และอนาคต - ทักษะดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่ - โลกเศรษฐกิจเสมือนจริง - ช่องทางการตลาด/เศรษฐกิจใหม่ในยุคหลังโค วิด โดยช่องทางการเข้าถึง เว็บไซต์ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 หรือ คลิ๊ก https://sites.google.com/view/tpso-10-elibrary/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 63 3) เว็ปไซต์ สำนักงานส่งเสริมและ สนับ สนุนว ิชาการ 10 มีเว็ปไซต์ โดยใช้ชื ่ อ ว่ า http://tpso-10.m-society.go.th/index.php/th/ เ ป ็ น อ ี ก ช ่ อ ง ท า ง ใ น ก า รเ ผ ย แ พ ร ่ บ ท ค ว า ม ข้อมูลทางวิชาการ เกร็ดความรู้ ประชาสัมพันธ์ข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 10 และประกาศต่างๆ ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงและเพิ่ม เติมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 มีสถิติผู้เข้าชมจำนวน 57,000 ยูสเซอร์ 4) Facebook สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 มีช่องทาง Facebook โดยใช้ชื่อ “สนง.ส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ สิบ สุราษฎร์ธานี” ในการประชาสัมพันธ์ข่าวกิจกรรมการปฏิบัติงาน ตามภารกิจของหน่วยงาน ข่าวสาร และสาระความรู้ต่างๆ ให้แก่ ประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนได้รับ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 64 5) Line Official Account (Line OA) Line OA เป็นอีกช่องทางที่สำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 10 ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้และ บทความทางวิชาการของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ให้แก่ บุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ทุกหน่วยงาน รวมถึงภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ได้รู้จักอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดประชุม แบบ Online และ Onsite โดยสามารถเพิ่มเพื่อน Line Official Account สสว.10 ง่ายๆ ผ่าน QR Code เพิ่มเพื่อน ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงข้อมูล หลังบ้าน เมนูบริการหน้าต่างห้องแชทให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น รวมถึง ได้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ประกาศต่างๆ สาระน่ารู้ และสิทธิ ประโยชน์ ให้แก่ผู้ใช้บริการผ่านการบรอดแคสต์ข้อความ ซึ่งรวบรวมสถิติ ข้อมูลการใช้งานได้ดังนี้ สถิติข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 ประเภทข้อมูล 1 ต.ค. 65 30 ก.ย. 66 รวม เพิ่มเพื่อน 478 887 +409 การเข้าถึงข้อมูล 418 770 352 บล็อค 48 85 37 บรอดแคสต์ข้อความ 85 ครั้ง โดยผู้ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าแชท ผ่านเมนูบริการหลัก (Rich Menu) ตามความต้องการ ซึ่งประกอบด้วย 1. แบบประเมิน & แบบตอบรับ 2. คำติชม+แนะนำ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ 3. ศูนย์ข้อมูลทางสังคม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน 4. บริการออนไลน์ สสว.10 5. บริการ พม. 6. บริการ สสว.10
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 65 2.3 โครงการนิเทศติดตามงานด้านสังคม (1) การนิเทศติดตามโครงการสำคัญ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสังคมระดับพื้นที่ที่มีความสอดคล้องและ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ตามนโยบายสำคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้หน่วยงาน พม. One Home มีแนวทางในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง การดำเนินงานด้านสังคมให้มีประสิทธิภาพตอนสนองนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. เพื่อนิเทศ และติดตามผลการปฏิบัติงานในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง รายครัวเรือน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และโครงการสำคัญอื่นๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กระบวนการดำเนินงาน 1. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแนวทางการนิเทศ และเตรียมความพร้อมสำหรับผู้นิเทศ ตามโครงการสำคัญของกระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมบงกชรัตน์ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2566 2. จัดประชุมนิเทศติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้กับหน่วยงาน One Home ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ในเดือนกรกฎาคม 2566 ดังนี้ - วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (บ้านศรีสุราษฎร์) จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 จังหวัดพังงา และจังหวัดกระบี่ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet - วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet - วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 จังหวัดชุมพร ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet 3. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนผลการนิเทศติดตามโครงการสำคัญตามนโยบาย กระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ณ โรงแรมซีบรีช จอมเทียน รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2566 ผลการดำเนินงาน 1. หน่วยงาน พม. One Home มีแนวทางการปฏิบัติงานด้านสังคมให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2. ทราบผลการปฏิบัติงานในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล และโครงการสำคัญอื่นๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 66 3. ทราบประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในดำเนินงานด้านสังคมระดับพื้นที่ และ นำผลการนิเทศงานมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางาน ปัญหาและอุปสรรค 1. กรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานนิเทศไม่ชัดเจน ช่วงเวลาการลงพื้นที่นิเทศงานล่าช้า ไม่สัมพันธ์กับการตรวจราชการของผู้ตรวจฯ จึงทำให้ประเด็นในการดำเนินงานช้ากว่าการออกไปนิเทศ 2. การนิเทศโดยการลงพื้นที่มีความสำคัญส่งผลให้ผู้รับนิเทศมีความเชื่อมั่น และมั่นใจ ในการแก้ไข ปัญหา และหาทางออกร่วมกัน ซึ่งมีอุปสรรค ด้านงบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นต้น 3. เจ้าหน้าที่ขาดองค์ความรู้พื้นฐานในประเด็นการนิเทศงาน หรือนโยบายเร่งด่วน ของกระทรวง พม. ข้อเสนอแนะ ด้านการดำเนินงาน 1. กำหนดกรอบแนวทางการนิเทศงาน พร้อมทั้งทำความเข้าใจประเด็น และ แนวทางการขับเคลื่อนงานกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ชัดเจน 2. นิเทศตามประเด็นการตรวจราชการของผู้ตรวจกระทรวง พม. และกำหนดให้ดำเนินการ นิเทศ ก่อนผู้ตรวจฯ ลงตรวจราชการในพื้นที่ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา หรือเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ก่อนรับการตรวจราชการ 3. ปรับปรุงแบบบันทึกการนิเทศงานด้านสังคมให้สอดคล้องกับโครงการสำคัญ หรือ นโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการนิเทศต่อไป 4. ให้มีการติดตามผลการใช้ประโยชน์จากการนิเทศ เช่น แบบติดตามประเมินผล การใช้ประโยชน์ หรือแบบประเมินความพึงพอใจ ด้านบุคลากร 1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานนิเทศ และโครงการที่ประเด็นการนิเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีองค์ความรู้พื้นฐานในการทำงานนิเทศ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. ประสานงานกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมนิเทศแจ้งให้ถึงทราบขั้นตอน และประเด็น การนิเทศเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อมูลพื้นฐานมาก่อน เพื่อให้สะท้อนปัญหาหรือให้แนวทางในการแก้ไขได้อย่างเต็มที่ ด้านงบประมาณ จัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนงานนิเทศให้สอดคล้องกับภารกิจ และระยะทาง ในการลงพื้นที่นิเทศแต่ละจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ด้านระบบการนิเทศติดตามโครงการสำคัญของกระทรวง 1. พัฒนาระบบนิเทศติดตามรูปแบบดิจิทัลให้ตรงประเด็นครบถ้วน และ ทันต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 67 2. แหล่งเรียนรู้ E-Learning ในระบบ ควรจัดทำสื่อให้ความรู้รูปแบบ VDO เพิ่มเติม เช่น การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล สิทธิสวัสดิการทางสังคม ข้อกฎหมายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น สำหรับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่สนใจศึกษาได้สะดวกเข้าใจง่าย ทั้งยังนำสื่อนี้ไปประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ ให้ความรู้เครือข่ายในที่ประชุมต่างๆ ของจังหวัดได้ 1.1) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้คลอบคลุม ในทุกมิติแบบองค์รวม และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัด (One Home) ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานผ่านแบบรายงานผล การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ดังนี้ จังหวัด A เป้าหมาย การ ดำเนินงาน ปีงบ ประมาณ 2565 B C D จำนวน ครัวเรือน เปราะบาง ในระบบ ครัวเรือน ที่วางแผน การดำเนิน งานแล้ว จำนวน ครัวเรือน ที่บันทึก การดำเนิน งานแล้ว การประเมินรอบ 12 เดือน (เม.ย.-ก.ย.66) ผลการ ดำเนินงาน 12 เดือน คิด เป็น ร้อย ละ ค่า คะแน นใน รอบ 12 เดือน ครัวเรือน เปราะบาง TPMAP 62 เป้าหมาย การ ดำเนินงาน ปีงบประม าณ 2566 ร้อยละ 20 ของ A ครัวเรือนระดับ 1 2 3 ที่รายงานว่า ดำเนินการแล้ว ในปีบประมาณ 2565 จำนวนที่ ต้องการทำเพิ่ม (B-C) คะแนน ที่ 1 คะแนน ที่ 2 คะแนน ที่ 3 คะแนน ที่ 4 คะแนน ที่ 5 4,104,450 ครัวเรือน ครัวเรือน 827,749 ครัวเรือน 572,976 ครัวเรือน 254,773 ครัวเรือน ร้อยละ 60 เม.ย.66 ร้อยละ 70 พ.ค.66 ร้อยละ 80 มิ.ย.66 ร้อยละ 90 ก.ค.66 ร้อยละ 100 ส.ค.-ก.ย.66 สุราษฎร์ธานี 114,634 17,196 22,927 17,860 5,067 24,334 24,053 23,949 13,757 16,049 18,342 20,635 22,927 22,927 100% 5 กระบี่ 48,009 7,202 9,602 8,117 1,485 9,795 9,774 9,749 5,762 6,722 7,682 8,642 9,602 9,602 100% 5 พังงา 24,537 3,681 4,908 2,704 2,204 5,776 4,973 4,945 2,945 3,436 3,927 4,418 4,908 4,908 100% 5 ภูเก็ต 16,930 2,540 3,386 3,104 282 3,394 3,358 3,330 2,032 2,371 2,709 3,048 3,386 3,386 100% 5 ชุมพร 52,250 7,838 10,450 4,769 5,681 10,563 10,441 10,323 6,270 7,315 8,360 9,405 10,450 10,450 100% 5 ระนอง 23,929 3,590 4,786 3,940 846 4,666 4,630 4,625 2,872 3,351 3,829 4,308 4,786 4,786 100% 5 นครศรีฯ 154,189 23,129 30,838 22,740 8,098 29,556 29,462 29,442 18,503 21,587 24,671 27,755 30,838 30,838 100% 5 434,478 65,176 86,897 63,234 23,663 88,084 86,691 86,363 52,141 60,831 69,520 78,211 86,897 86,897 100%
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 68 รายละเอียดตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเป้าหมายตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อมูล อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.00 น. ตำบล จำนวนครัวเรือน ในระบบ MSO-Logbook ( A ) การดำเนินงาน ในปี งบประมาณ 2566 เป้าหมายการ ดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร้อยละ 20 ครัวเรือนที่ วางแผนการ ดำเนินงานแล้ว (ส่วนที่ 3) จำนวนครัวเรือนที่ บันทึกการดำเนินงาน แล้ว (ส่วนที่ 4) ( B ) คงเหลือ ดำเนินการ ปี 2566 ( A - B ) คิดเป็น ร้อยละ หมายเหตุ ตะกุกเหนือ 696 640 696 696 0 100.00 ตะกุกใต้ 275 193 275 275 0 100.00 รวม 971 833 971 971 100.00% 100.00% ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีครัวเรือนเปราะบางจำนวน 114,634 ครัวเรือน ในพื้นที่ 19 อำเภอ 131 ตำบล โดยสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 10 ได้ร่วมกับทีม พม. (One Home) จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) แกนนำ และผู้นำชุมชน เพื่อลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเปราะบาง จัดเก็บ สมุดพกครอบครัว บันทึกข้อมูล MSO-logbook วางแผน และให้การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1.2) การขับเคลื่อนงานช่วยศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อบูรณาการการบริการสวัสดิการสังคมของทุกกรม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ณ จุดเดียว และเป็นองค์รวม 2. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน คน เงิน ในการจัดสวัสดิการสังคมของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม 4. เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางของทุกภาคส่วน การดำเนินงานภายใต้กิจกรรมศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 1. จัดประชุมคณะทำงานประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เขตพื้นที่ 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google meet ในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 2. ร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 19 ตุลาคม 2565
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 69 3. จัดประชุมคณะทำงานประเมินผลการดำเนินงาน ของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 3/2565 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 4. จัดประชุมคณะทำงานประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Google Meet ในวันที่8 ธันวาคม 2565 5. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "การขับเคลื่อนงานศูนย์ช่วยเหลือสังคม กลุ่มภาคใต้ตอนบน และการประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล" ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 6. เป็นวิทยากรให้ความรู้และทบทวนบทบาทหน้าที่แก่คณะกรรมการบริหารศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบลตะกุกใต้ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกใต้ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 7. ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน และการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล สสว.10 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 โดย นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม 8 ร่วมเป็นวิทยากรอบรมโครงการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้หัวข้อ "การยกระดับ ศพอส. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล" ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 9. ร่วมเป็นวิทยากรโครงการสร้างเสริมสวัสดิการสังคม ปี 2566 ในหัวข้อ "บทบาทและหน้าที่ ของหน่วยงานในการช่วยเหลือ คุ้มครอง เสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการจัดตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล"ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 16 มีนาคม 2566 10. เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ให้แก่คณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 ดังนี้ - วันที่ 29 มีนาคม 2566 ในเขตอำเภอวิภาวดีณ ห้องประชุมอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 4 เมษายน 2566 ในเขตอำเภอท่าชนะ ณ หอประชุมโรงเรียนท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่5 เมษายน 2566 ในเขตอำเภอไชยา ณ หอประชุมโรงเรียนกาญจนาภิเษก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอพนม ณ หอประชุมโรงเรียนพนมศึกษา อำเภอ พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 70 - วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอบ้านตาขุน ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบล บ้านเชี่ยวหลาน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอคีรีรัฐนิคม ณ ห้องประชุมโรงเรียนมัธยมบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอบ้านนาสาร ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่26 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอบ้านนาเดิม ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่31 พฤษภาคม 2566 ในเขตอำเภอเคียนซา ณ ห้องประชุมโรงเรียนเคียนซาพิทยาคม อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอพระแสง ณ ห้องประชุมโรงเรียนพระแสง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอพุนพิน ณ ห้องประชุมโรงเรียนพุนพินพิทยาคม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบล วัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอดอนสัก ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอชัยบุรี ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอชัยบุรี อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอเกาะพะงัน ณ ห้องประชุมโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอเกาะสมุย ณ ห้องประชุมเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ในเขตอำเภอเวียงสระ ณ ห้องประชุมโรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 11. ประชุมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนงาน และยกระดับศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบลให้กับคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จังหวัดกระบี่ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 12. ประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ในวันที่ 6 กันยายน 2566
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 71 ผลการดำเนินงาน 1. ประชาชนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมอย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง 2. มีศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหาสังคมของคนทุกช่วงวัย 3. เกิดการระดมทรัพยากร ความร่วมมือ และการบูรณาการงาน ด้านการจัดสวัสดิการสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน จากหน่วยงานทุกภาคส่วน 4. ประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหา/อุปสรรค 1. พื้นที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในการเชื่อมต่อ และบูรณาการงบประมาณที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น กองทุน หน่วยงานภาคีเครือข่าย 2. การประชุมคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลขาดความต่อเนื่อง และขาดแนวทาง ในการขับเคลื่อนงานภายใต้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 3. อาสาสมัครที่เป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล มีภารกิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน จึงเป็นเหตุให้การขับเคลื่อนงานภายใต้บทบาท ของอาสาสมัคร ขาดความต่อเนื่อง และประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะ 1. การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่คณะกรรมการ คณะทำงาน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อบริหารองค์กรการจัดกิจกรรมต่างๆ ในการให้บริการกลุ่มเปราะบาง และประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 2. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล กำหนดแนวทาง แผนการขับเคลื่อนกิจกรรมศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลที่ชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติ 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ควรจัดทำข้อมูลตามมิติ การให้บริหารแก่กลุ่มเปราะบางในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งส่งคืนข้อมูลดังกล่าวให้แก่พื้นที่ นำไปเป็นฐานข้อมูล ในการจัดทำแผนการให้บริการกลุ่มเปราะบาง และประชาชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือ สังคมตำบล 4. ควรมีการจัดประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลอย่างต่อเนื่อง ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะการจัดทำแผน ระยะการปฏิบัติงานตามแผน และระยะติดตามประเมินผลของ การให้บริการกลุ่มเปราะบาง หรือประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 5. ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลในทุกช่องทาง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ส่งผลให้เกิดการใช้บริการ และความร่วมมือของ ภาคีเครือข่าย
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 72 ผลการประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ดังนี้ (2) การนิเทศติดตาม เพื่อประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว วัตถุประสงค์ เพื่อนิเทศ และทบทวนการดำเนินงานของบ้านพักเด็กและครอบครัว เพื่อประเมินผล และ รับรองคุณภาพตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และ นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว ให้สามารถจัดบริการสวัสดิการ ที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป งบประมาณ จำนวน 24,740.- บาท กระบวนการดำเนินงาน 1. ลงพื้นที่ตรวจประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ระหว่างวันที่ 4 -24 สิงหาคม 2566 ดังนี้ - วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี - วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต - วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระนอง - วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชุมพร - วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช - วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกระบี่ และ เวลา 13.30 น. ณ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงา 1
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 73 2. รายงานผลการประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน 2.4 สนับสนุนงานตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อชี้แจง แนะนำ หรือทำความเข้าใจกับหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับ แนวทาง และการปฏิบัติงาน หรือจัดทำภารกิจตามนโยบายรัฐบาล และแผนต่างๆ ของชาติและของหน่วยงานรัฐ 2. เพื่อตรวจติดตามว่าหน่วยงานของรัฐได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ข้อระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ มติของคณะรัฐมนตรีและคำสั่งนายกรัฐมนตรี และเป็นไปตามความมุ่งหมาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ตามนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผน หรือ ยุทธศาสตร์ใดๆ ที่กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติหรือวาระแห่งชาติหรือไม่ 3. เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในการปฏิบัติหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานรัฐ 4. เพื่อรับฟังทุกข์ สุข ความคิดเห็น และความต้องการของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน 5. เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ในพื้นที่ กรอบการตรวจราชการ 1. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวง และเน้นความเชื่อมโยงสอดคล้อง ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) แผนปฏิบัติราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) นโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ นโยบายผู้บริหาร นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลภาครัฐ นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี แนวทางและประเด็นการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินภาคราชการ 2. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหน่วยงานภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง 3. การตรวจราชการในเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการบริหารจัดการหน่วยงาน/องค์กร 4. การติดตามการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 5. การมุ่งเน้นการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนด
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 74 6. แนวทางการพัฒนา ต่อยอดการดำเนินงานในปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงการพัฒนา นวัตกรรม การตรวจราชการกำหนดดำเนินงาน 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 Agenda Review การประชุมชี้แจงแผนการตรวจราชการ ประเด็น เครื่องมือ และ การรายงานผลการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายแก่หน่วยงานรับตรวจ เป็นการสื่อสาร นโยบายไปสู่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยระยะเวลา การตรวจราชการ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2566 รอบที่ 2 Progress Review การตรวจติดตามความก้าวหน้าของงานตามประเด็น การตรวจราชการประจำปี รวมถึงการรับฟังปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยผู้ตรวจราชการให้ข้อคิดเห็น แนวทางการแก้ไขต่อผู้บริหารในส่วนกลาง รวมถึงการเชิญที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการกระทรวง ภาคประชาชน ร่วมในการตรวจราชการ เพื่อเป็นการสื่อสารนโยบายสู่ประชาชน ผ่านทางที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการ ภาคประชาชน โดยระยะเวลาการตรวจราชการ ระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2566 ประเด็นการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 1. การเบิกจ่ายงบประมาณ และค่าใช้จ่ายภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต - โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน - โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองเด็กในระดับตำบล 4,000 ตำบล ใน 76จังหวัด - โครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - โครงการส่งเสริม และพัฒนาทักษะชีวิตเด็ก และเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 - โครงการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน - โครงการคุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิคนพิการ - โครงการป้องกัน และแก้ไขความรุนแรงในครอบครัว - โครงการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 3. การขับเคลื่อนงานด้านที่อยู่อาศัย - โครงการผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย - โครงการปรับสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุและคนพิการ 4. การส่งเสริมอาชีพ และรายได้ - โครงการพัฒนาทักษะอาชีพแก่ครัวเรือนเปราะบางสู่ความยั่งยืน - โครงการส่งเสริมศักยภาพ และพัฒนาอาชีพคนพิการ - โครงการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสังคมในนิคมสร้างตนเอง สร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจในนิคมสร้างตนเอง - โครงการพัฒนาเยาวชนเผ่าสู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ - โครงการสถานประกอบการ เพื่อคนไร้ที่พึ่ง 4 ภาค
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 75 -การสนับสนุนโครงการ เพื่อส่งเสริมชมรม องค์กรผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่าย - โครงการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 5. การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัคร และหุ้นส่วนทางสังคม - อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อพม. รวมทั้ง อาสาสมัคร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เชี่ยวชาญ ด้านผู้สูงอายุ และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ช่วยเหลือคนพิการ - สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ - โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 6. การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 7. ธรรมาภิบาลในหน่วยงาน 8. ระบบข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศ 9. การขับเคลื่อนศูนย์ฝึกอาชีพบูรณาการทุกช่วงวัย กระบวนการดำเนินงาน รอบที่ 1 Agenda Review โครงการประชุมชี้แจงกรอบแนวทางการตรวจราชการ ตามแผนการตรวจราชการ กระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ณ โรงแรม เค พาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 10-11 มีนาคม 2566 รอบที่ 2 Progress Review การตรวจติดตามความก้าวหน้าของงานตามประเด็น การตรวจราชการประจำปีและการเยี่ยมหน่วยงาน One Home การตรวจราชการกรณีปกติ - ร่วมลงพื้นที่ และประชุมตรวจราชการเขตตรวจราชการที่ 6 โดยมีนายอนันต์ ดนตรี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 ดังนี้ 1. ระหว่างวันที่ 16 - 17 พฤษภาคม 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดระนอง 2. วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต 3. ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ 4. ระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคม 2565 ณ ศาลากลางจังหวัดพังงา
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 76 - ร่วมลงพื้นที่ และประชุมตรวจราชการเขตตรวจราชการที่ 5 โดยมีนางสาวอุไร เล็กน้อย ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 ดังนี้ 1. ระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมศูนย์บริการคนพิการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 2 2. ระหว่างวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ชั้น 3 ศาลากลาง จังหวัดชุมพร 3. ระหว่างวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช การตรวจราชการแบบบูรณาการรอบที่ 1
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 77 - ร่วมการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบที่ 1 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 5 (นายนพพร บุญแก้ว) และ ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566 ดังนี้ 1. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดชุมพร 2. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. วันที่ 1 มีนาคม 2566 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช - ร่วมประชุมการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบที่ 1 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 6 (นางสาวปภัสมน อัมราลิขิต) และ ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ในเดือนมีนาคม 2566 ดังนี้ 1. วันที่ 14 มีนาคม 2566 ณ จังหวัดระนอง 2. วันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ จังหวัดพังงา 3. วันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ จังหวัดกระบี่ การตรวจราชการแบบบูรณาการรอบที่ 2 - ร่วมประชุมการตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบที่ 2 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 6 (นางสาวปภัสมน อัมราลิขิต) และ ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ในเดือนสิงหาคม 2566 ดังนี้ 1. วันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดระนอง 2. วันที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดพังงา 3. วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต 4. วันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดกระบี่
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 78 - ร่วมประชุมการตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบที่ 2 ของ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 5 (นายนพพร บุญแก้ว) และผู้ตรวจราชการ กระทรวง พม. ในเดือนสิงหาคม 2566 ดังนี้ 1. วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดชุมพร 2. วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.5 โครงการจากแหล่งงบประมาณอื่น (1) โครงการฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM ) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน” วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และบุคลากรของ หน่วยงาน พม. มีความรู้ ความเข้าใจ การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ สามารถวางแผนช่วยเหลือ และพัฒนาครัวเรือนเปราะบาง ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างบูรณาการครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง รายครัวเรือนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 79 2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งบประมาณ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี 2566 จำนวน 350,190.- บาท กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น 70 คน ประกอบด้วย 1. บุคลากรของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จังหวัดละ 3 คน โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้ปฏิบัติงาน สังคมสงเคราะห์ที่ขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพอย่างน้อย จังหวัดละ 1 คน 2. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่เป็นผู้ประสานงานหลัก หรือ เป็นคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลระดับ A จังหวัดละ 1 ตำบล ๆ ละ 5 คน 3. บุคลากรของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จำนวน 12 คน วิทยากร จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1. ผศ.โสภา อ่อนโอภาส นักวิชาการสังคมสงเคราะห์และนักศิลปะบำบัดอิสระ 2. อาจารย์ นัสรินทร์ แซสะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กระบวนการดำเนินงาน 1. จัดประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจ และวางแผนการดำเนินการฝึกอบรม “การจัดบริการ ครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ระดับครัวเรือน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Google Meet) ในวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุม ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ 2. การฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน ในระหว่างวันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และบุคลากรของ หน่วยงาน พม. ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม “การจัดบริการครอบครัวรายกรณี(Family Case Management : FCM) ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ในศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล สามารถช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาครอบคลุมในทุกมิติ แบบองค์รวม และสามารถพึ่งพาตนเองได้จังหวัดละ 1 กรณีศึกษา โดยคัดเลือกกรณีศึกษา จากครัวเรือน ที่มีความเปราะบาง ระดับ 3 คือ ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 100,000 บาท และมีบุคคล ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากกว่า 2 คน เป็นลำดับแรก ในระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2566 4. การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน “การจัดบริการครอบครัว รายกรณี (Family Case Management : FCM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 80 ณ ห้องประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ในระหว่างวันที่ 8 – 11 และ 16 – 18 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย 7 จังหวัดๆ ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 140 คน ผลการดำเนินงาน 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และความเข้าใจในการจัดบริการครอบครัว รายกรณี ประเมินผลการวัดความรู้ โดยเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม 2. มีชุดความรู้ที่ได้จากการอบรม (ชุดความรู้กระบวนการบริการครอบครัวรายกรณี และ ชุดความรู้ถอดบทเรียนผู้ปฏิบัติงาน) 3. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำกระบวนการจัดบริการครอบครัวรายกรณี ไปช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม และสามารถพึ่งพาตนเองได้ 4. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 หรือหน่วยงานสังกัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นำชุดความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกระบวนการ บริการครอบครัวรายกรณี เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนกลุ่มเปราะบางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. ครัวเรือนเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ครอบครัวมั่นคงมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ปัญหาอุปสรรค กระบวนการในการจัดทำโครงการขอรับเงินกองทุนฯ มีรายละเอียดยุ่งยากและซับซ้อน ข้อเสนอแนะ 1. การสนับสนุนเงินกองทุน ควรให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนิน กิจกรรมโครงการ รวมทั้งสอดคล้องกับค่าครองชีพ และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2. ควรกำหนดรายการค่าใช้จ่ายให้มีความชัดเจน เพื่อให้องค์กรทราบว่ารายการใดที่กองทุน สามารถให้การสนับสนุนได้ และรายการใดที่องค์กรต้องสนับสนุนเพิ่มเติม 3. ควรมีตัวอย่าง หรือคู่มือในการจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงิน เพื่อให้องค์กรสามารถ จัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินได้อย่างถูกต้อง 4. ควรมีตัวอย่าง หรือคู่มือในการจัดทำรายงานผลโครงการ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดทำ รายงานผลได้อย่างถูกต้อง 5. ควรมีการปรับลดระยะเวลาขั้นตอนการขอรับเงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ให้กระชับ เนื่องจากบางขั้นตอนมีการใช้ระยะเวลานาน ทำให้บางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของโครงการ 6. ควรขยายระยะเวลาในการส่งเอกสารใบสำคัญรับเงิน และเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ เนื่องจากการสรุปผลการดำเนินงานโครงการต้องใช้เวลาในการดำเนินงานพอสมควร 7. ควรมีเจ้าหน้าที่ของกองทุน เป็นผู้ติดตามสอบถาม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การจัดโครงการ และการจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินกับให้กับผู้ที่ขอเงินกองทุนฯ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 81 เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเอกสารต่างๆ มีความถูกต้อง สมบูรณ์ ไม่เกิดความผิดพลาดที่จะต้องมาแก้ไขในภายหลัง (2) โครงการเสริมสร้างศักยภาพคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อป้องกันปัญหา การค้ามนุษย์ในระดับชุมชน งบประมาณ 1,093,400.- บาท ประเภท / จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลในพื้นที่ 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนบน ทุกอำเภอๆละ 1 ศูนย์ๆละ 3 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 222 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด จำนวน 7 คน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลทุกจังหวัด จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต) จำนวน 120 คน ประกอบด้วย 1. ผู้แทนคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 105 คน - จังหวัดสุราษฎร์ธานี 19 ศูนย์ จำนวน 57 คน - จังหวัดภูเก็ต 3 ศูนย์ จำนวน 9 คน - จังหวัดระนอง 5 ศูนย์ จำนวน 15 คน - จังหวัดพังงา 8 ศูนย์ จำนวน 24 คน 2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด จำนวน 4คน 3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลทุกจังหวัด จำนวน 4 คน 4. วิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้สังเกตการณ์จำนวน 7 คน รุ่นที่ 2 (จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่) จำนวน 130 คน ประกอบด้วย
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 82 1. ผู้แทนคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 117 คน - จังหวัดชุมพร 8 ศูนย์ จำนวน 24 คน - จังหวัดกระบี่ 8 ศูนย์ จำนวน 24 คน - จังหวัดนครศรีธรรมราช 23 ศูนย์ จำนวน 69 คน 2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด จำนวน 3คน 3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลทุกจังหวัด จำนวน 3 คน 4. วิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 7 คน พื้นที่ดำเนินโครงการ : รุ่นที่ 1-2 โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แผนการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ การดำเนินงาน : 1. ประสานวิทยากร สถานที่จัดอบรม 2. ประสานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ภาคใต้ตอนบน เพื่อพิจารณาคัดเลือก และประสานคณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ รวมถึงมอบหมายเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์จังหวัด และเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลจังหวัด เข้าร่วมโครงการด้วย 3. ดำเนินการอบรม 4. ประเมินผลการอบรม 5. จัดรายงานสรุปผลการอบรม การประเมินผลโครงการ - ระหว่างดำเนินโครงการ แบบประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรม และการนำเสนอกลุ่ม - หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ ประสานการดำเนินงานเฝ้าระวังต่อยอดในพื้นที่ ผลการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุน - กิจกรรมที่ดำเนินการ (อธิบายรายละเอียดการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม ตั้งแต่ เริ่มดำเนินโครงการจนถึงสิ้นสุดการดำเนินงาน พร้อมภาพถ่าย หรือวีซีดี ประกอบการทำกิจกรรม) พิธีเปิดการอบรม : นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน เปิดการอบรมเสริมสร้างศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ในระดับชุมชน รุ่นที่ 1 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต) และรุ่นที่ 2 (จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่) โดยมี นางอุบล ทองสลับล้วน ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 กล่าวรายงาน
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 83 กิจกรรมการบรรยาย 1. เรื่อง “สถานการณ์การค้ามนุษย์ และนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์” 2. เรื่อง “รู้ไว้ไม่เสียท่า ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในอินเทอร์เน็ต” 3. เรื่อง “พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความหมาย และองค์ประกอบของการค้ามนุษย์” 4. เรื่อง “บทบาทศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด ช่องทางการแจ้งเหตุ และการประสานส่งต่อ” 5. เรื่อง “แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันการลักลอบเข้าเมืองในพื้นที่ชุมชน” 6. เรื่อง “บทบาทศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลกับการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์” 7. เรื่อง “สถานการณ์การค้ามนุษย์เชิงประเด็นพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน ข้อเสนอเชิงปฏิบัติการ และเชิงนโยบาย”
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 84 กิจกรรมกลุ่มระดมความคิดเห็น : กิจกรรมที่ 1 “ใช่หรือไม่..ใครคือผู้เสียหาย” กิจกรรมที่ 2 “บอกกล่าว..เล่าเรื่อง” กิจกรรมที่ 3 “ล้อมรั้วชุมชน” กิจกรรมการจัดทำแผน : จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ การสรุปผลและปิดการอบรม
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 85 ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ เชิงปริมาณ (อาทิเช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ , จำนวนชิ้นของผลงาน) - มีผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 จำนวน 89 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 97 ตน - ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความหมาย และองค์ประกอบของการค้ามนุษย์ สถานการณ์การค้ามนุษย์ แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ รวมถึงการแจ้งเหตุ และการประสานส่งต่อ ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน และหลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ - มีแผนเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เชิงคุณภาพ (อาทิเช่น ประโยชน์หรือความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ/การเปลี่ยนแปลง ของผู้ร่วมกิจกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น พฤติกรรม หรือทัศนะคติที่เปลี่ยนไป, เรื่อง หรือ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือ , ปัญหาในพื้นที่หรือชุมชนที่ลดลง เป็นต้น ) - ผู้ผ่านการอบรมตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์มากขึ้น - นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง - ประชาสัมพันธ์ในการประชุมต่างๆ ในชุมชน เช่น ประชุมหมู่บ้าน ประชุมอาสาสมัครชุมชน - บางพื้นที่มีการประสานข้อมูลข่าวสาร เพื่อเฝ้าระวัง และระงับเหตุ ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงาน : 1. ในวันจัดอบรมเป็นช่วงพายุ และช่วงสิ้นงบประมาณทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการพื้นที่เป้าหมาย บางพื้นที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมได้ จึงได้ดำเนินการประสานกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ใหม่ 2. วิทยากรติดภารกิจเร่งด่วน ไม่สามารถมาบรรยายให้ความรู้ได้ทันตามกำหนด จึงประสานหาวิทยากรแทน และทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา ภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการนี้: มี จำนวน 6 องค์กร ระบุ ชื่อหน่วยงาน/ องค์กร และความร่วมมือ 1. องค์การระหว่างประเทศ เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) โดยสนับสนุนวิทยากรและ ไม่รับค่าตอบแทนวิทยากร 2. ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยสนับสนุนวิทยากร 3. ตำรวจภูธรภาค 8 โดยสนับสนุนวิทยากร 4. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดยสนับสนุนวิทยากร 5. กองต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยสนับสนุนวิทยากร 6. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสนับสนุนวิทยากร งบประมาณ : 1,093,400.-บาท จากกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพียงอย่างเดียว
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 86 ความยั่งยืนของโครงการ ถ้ามีโปรดระบุและแสดงหลักฐาน (ยกตัวอย่างเช่น มีหน่วยงานหรือ ชุมชนในพื้นที่นำผลไปดำเนินการต่อ / เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เช่น เกิดแผนงานหรือระบบการเฝ้าระวัง, เกิดภาคีเครือข่ายในการทำงาน ฯลฯ) เกิดเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ เบื้องต้นได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือน สร้างความตระหนักรู้ เรื่องของกระบวนการค้ามนุษย์ การแจ้งเหตุในช่องทางต่างๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ผ่านหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน ระดับพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง และสอดแทรกข้อมูลข่าวผ่านการประชุม หรือจัดกิจกรรมของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตำบล รวมถึงเปิดช่องทางการประสานผ่านไลน์กลุ่ม เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ชุมชน และ ระดับจังหวัด (3) โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพ เพื่อป้องกันช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ประเภทโครงการ -การพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ - การฟื้นฟูเยียวยา และการคืนสู่สังคม - การพัฒนากลไกการบริหาร และการจัดการในด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ งบประมาณ จำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ659,900.- บาท ประเภท/จำนวนกลุ่มเป้าหมาย : ทีมสหวิชาชีพจากหน่วยงาน และองค์กรเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินด้านการป้องกัน ช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน (สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช) จังหวัดละ 10 คน รวม 70 คน/รุ่น จำนวน 2 รุ่น ประกอบด้วย - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด - บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด - ตำรวจภูธรจังหวัด - ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง - ตำรวจน้ำ - สำนักงานแรงงานจังหวัด - สำนักงานจัดหางานจังหวัด - สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด - ปกครองจังหวัด - องค์กรเอกชน พื้นที่ดำเนินโครงการ - รุ่นที่ 1 โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี - รุ่นที่ 2 โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 87 กระบวนการดำเนินงาน 1. ประสานวิทยากร สถานที่จัดอบรม 2. ประสานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภาคใต้ตอนบน เพื่อประสานทีมสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 3. ดำเนินการอบรม 4. ประเมินผลการอบรม 5. จัดรายงานสรุปผลการอบรม การประเมินผลโครงการ - ระหว่างดำเนินโครงการ แบบประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรม และการนำเสนอกลุ่ม - หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ ทีมสหวิชาชีพสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ตาม กลไกการส่งต่อระดับชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแนวทางเดียวกัน ผลการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุน พิธีเปิดการอบรม : นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายเพื่อป้องกันและช่วยเหลือคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ( 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน : จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ โดยมีนางอุบล ทองสลับล้วน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เป็นผู้กล่าวรายงาน . กิจกรรมการบรรยาย 1. เรื่อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ องค์ประกอบ และข้อบ่งชี้ ของการค้ามนุษย์ และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง” 2. เรื่อง “แนวทางมาตรฐานการปฏิบัติเพื่อคัดกรองผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้าน แรงงานและแรงงานบังคับ” 3. เรื่อง เรื่อง “ กลไกการส่งต่อระดับชาติเพื่อการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์” 4. เรื่อง “การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และฝึกปฏิบัติ” การบรรยายแบบมีส่วนร่วม โดยให้ ทีมสหวิชาชีพแต่ละจังหวัดแนะนำตัว บอกบทบาทภารกิจด้านการป้องกันและปราบปราบการค้ามนุษย์ ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ก่อนเข้าสู่การบรรยาย 5. เรื่อง “การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน”
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 88 6. เรื่อง “สถานการณ์การค้ามนุษย์เชิงประเด็นพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน ข้อเสนอเชิงปฏิบัติการและ เชิงนโยบาย” . กิจกรรมอภิปรายและร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่อง “การประเมินสถานการณ์การค้ามนุษย์และการช่วยเหลือ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน” . การประเมิน : ความรู้ก่อนละหลังการอบรมผ่าน Google from
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 89 ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ เชิงปริมาณ (อาทิเช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ , จำนวนชิ้นของผลงาน) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการป้องกัน ช่วยเหลือและคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน และหลังการอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วม โครงการมีคะแนนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการคัดแยก ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสังเกต และประเมินผล จากการทำกิจกรรมระหว่างการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ (อาทิเช่น ประโยชน์ หรือความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ / การเปลี่ยนแปลงของผู้ร่วมกิจกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น พฤติกรรม หรือทัศนะคติที่เปลี่ยนไป, เรื่อง หรือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือ, ปัญหาในพื้นที่หรือชุมชนที่ลดลง เป็นต้น ) - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ในการประสานงาน ปรึกษาหารือแนวทางปฏิบัติ ร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปฏิบัติงานในพื้นที่ภายหลังการเข้าร่วมโครงการ เป็นระบบ ขั้นตอนมากยิ่งขึ้น ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงาน - ผู้เข้าร่วมโครงการมาไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้จัดจึงประสานโรงแรม เพื่อขอปรับลดรายการอาหารและที่พัก - วิทยากรติดภารกิจสำคัญเร่งด่วน จึงไม่สามารถบรรยายได้ตามกำหนดการที่เสนอ โครงการขอสนับสนุนงบประมาณ ผู้จัดจึงประสานขออนุมัติเปลี่ยนแปลงกำหนดการไปยังกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการนี้มีจำนวน 4 องค์กร ระบุ ชื่อหน่วยงาน/องค์กร และความร่วมมือ 1. สำนักงานอัยการสูงสุด โดยสนับสนุนวิทยากร 2. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยสนับสนุนวิทยากร 3. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โดยสนับสนุนวิทยากร 4. กองต่อต้านการค้ามนุษย์โดยสนับสนุนวิทยากร 5. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยสนับสนุนวิทยากร งบประมาณที่ได้ในการดำเนินโครงการ 1,093,400.- บาท ใช้จากกองทุน เพื่อการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว ความยั่งยืนของโครงการ ถ้ามีโปรดระบุและแสดงหลักฐาน (ยกตัวอย่างเช่น มีหน่วยงานหรือ ชุมชนในพื้นที่นำผลไปดำเนินการต่อ / เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เช่น เกิดแผนงานหรือระบบการเฝ้าระวัง, เกิดภาคีเครือข่ายในการทำงาน ฯลฯ)
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 90 ทีมสหวิชาชีพในจังหวัดที่ผ่านการอบรมมีการนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติการ และมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ในการประสานงาน ปรึกษาหารือแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น 2.6 กิจกรรมจิตอาสาและเสริมสร้างองค์กรชุมชน ความหมายของ “จิตอาสา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของ “จิตอาสา” ดังนี้ “จิต” เป็นคำนาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก “อาสา” เป็นคำกริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทำ ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจ สมัครใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือ ความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้ ความหมายของ จิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งใน และต่างประเทศที่สมัครใจช่วยเหลือผู้อื่นยอมเสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญาในการทำงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ทำกิจกรรมจิตอาสา ประปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ 1. วันที่ 18 ตุลาคม 2565 ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาวัดพัฒนาราม อารามหลวง ณ วัดพัฒนาราม อารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 91 2. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 น. ร่วมประชุมแถลงแผนเตรียมการรับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรธิดา เสด็จแทนพระองค์ ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตพื้นที่ภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 3. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. จัดโครงการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม และ จิตอาสากิจกรรม “ร่วมใจ รักษ์สิ่งแวดล้อม” ณ บริเวณสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 4. วันที่ 28 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 เวลา 08.00 น. ร่วมปฏิบัติการจิตอาสา เฉพาะกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มารับเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรธิดา ณ หอประชุมวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 92 5. วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรธิดา (7 ธันวาคม 2565) โดยมอบเครื่องอุปโภคบริโภค เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว พบปะพูดคุย ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจครอบครัวนักเรียนที่ประสบเหตุอัคคีภัยในพื้นที่ ณ หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งเตาใหม่ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 6. วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น. กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ครบ 3 รอบ ณ วัดภูธรอุทิศสิทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 7. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. กิจกรรม สสว.10 จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันกำจัดวัชพืช บำรุงรักษา ตัดแต่งกิ่งไม้ และร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัว ณ บริเวณศูนย์เรียนรู้ สสว.10 ล้อพอเพียง
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 93 8. วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในวันคล้าย วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดป่าเขาพนมวัง ตำบลป่าร่อน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9. วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ครบ 100 ปีวันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม 2566) โดยร่วมกันทำความสะอาดบริเวณลานวัด ทำความสะอาดบริเวณศาลาการเปรียญ และ ทำความสะอาดห้องสุขา ณ วัดพุทธบูชา อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10. วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. จัดกิจกรรม สสว.10 จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566 โดยร่วมกันปลูกต้นไม้ กำจัดวัชพืช บำรุงรักษา และตัดแต่งกิ่งไม้ ณ บริเวณโดยรอบสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 94 11. วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาและจิตอาสา บริการประชาชน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการปลูกต้นไม้ และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ณ ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก หมู่ที่ 5 ตำบลมะลวน และกิจกรรมกวาดลานวัน ณ วัดห้วยกรวด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 95 ส่วนที่ 3 คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางอุบล ทองสลับล้วน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 คณะผู้เรียบเรียงและจัดทำ 1. นางประภาพรรณ เกตุแก้ว นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวพวงทิพย์ พูลสวัสดิ์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ 3. นางสาวศศิพร แม้นนนทรัตน์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ 4. นางสาวอารยา จันทร์เพชร นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ 5. นางสาวกมลฉัตร ฉิมแก้ว นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ 6. นายอภิรัตน์ กระวิทนร์ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ 7. นางสาวสุธีรา ตามภานนท์ พนักงานบริการ
"ประชาชนเข้าถึงโอกาส และการคุ้มครอง ทางสังคม มีความมั่นคงในชีวิต"