The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มคู่มือ In หลักสูตร 4 ปี (26.5.65)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Meany Wiriyakit, 2022-06-10 03:26:22

เล่มคู่มือ In หลักสูตร 4 ปี (26.5.65)

เล่มคู่มือ In หลักสูตร 4 ปี (26.5.65)

ภาคผนวก

( อาจแบง่ เปน็ ภาคผนวก ก เครือ่ งมือ..... ภาคผนวก ข ประวตั ผิ ู้วจิ ยั ...)

แนวทางการเขียนรายงานการวจิ ยั

การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการเสนอความรู้และเผยแพร่ผลงานของตนเองท่ีได้พัฒนาข้ึนให้ผู้อื่นได้
ทราบ และนาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ นอกจากน้ียังเป็นการแสดงถึงความรู้ความสามารถทางด้าน
วิชาการของผทู้ าวจิ ยั ด้วย

หลักการเขยี นรายงานการวจิ ัย
1. ยึดความถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่ิงที่เขียนออกมาต้องมาจากการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์
สังเคราะห์ และผลทเ่ี กดิ ข้นึ จากการวจิ ัยจริงๆ
2. เน้ือหาสาระในแต่ละส่วนต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกัน โดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก
ในการเรียบเรยี ง
3. หัวข้อยอ่ ยแตล่ ะสว่ นมีความเปน็ เอกภาพ ชดั เจน ไม่คลุมเครอื
4. เมื่อผู้อ่าน งานวิจัยได้อ่านรายงานจนจบ แล้ว “เห็น ภ าพ ” ตลอดแนวของการวิจัยและ
“ได้คาตอบ” ต่อประเด็นปญั หาการวจิ ัย สามารถ “ตดิ ตอ่ ” ในการนาผลการวจิ ยั ไปใชห้ รอื วจิ ยั ต่อได้
5. ในการเขียนรายงานการวิจัย ตอ้ งตระหนกั อยู่เสมอว่ากาลงั เขยี นรายงานการวจิ ัยให้ คนอื่นอ่าน ดังน้ัน
จึงตอ้ งมีความชดั เจน สอดคล้องตอ่ เน่ือง และสรา้ งความเข้าใจต่อผู้อ่าน
6. การเขียนรายงานการวจิ ยั มีขอ้ ควรคานึงถึง ๔ ประการ คอื

6.1 มคี วามตรง กลา่ วถึงปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการและผลการวจิ ัยได้ถกู ตอ้ ง
6.2 มีความชดั เจน สอื่ ความหมายได้ถกู ต้องชัดเจน
6.3 มีความสมบูรณ์ มขี อ้ มลู ครบถว้ น
6.4 มีความน่าเชอ่ื ถือ ขอ้ มูลถกู ต้องตามความเป็นจรงิ

รูปแบบของการเขียนรายงานการวจิ ัย
รูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยมีลักษณะเป็นการเขียนรายงานเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบ

ที่สาคญั 3 สว่ น ดังน้ี
1. สว่ นหนา้ (Preliminary Section) ประกอบด้วย
1.1 ปกหน้า
1.2 ปกใน
1.3 บทคัดย่อ
1.4 คานา
1.5 สารบญั
2. ส่วนเนื้อหา (The Body The Report) ประกอบดว้ ย 5 บท คือ
บทที่ 1 บทนา
- ความเปน็ มาและความสาคัญของปัญหา

- วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจยั
- สมมตฐิ านของการวิจัย
- ขอบเขตของการวจิ ัย
- นยิ ามศัพท์เฉพาะ
- ประโยชนท์ ีไ่ ด้รบั
บทที่ 2 แนวคดิ ทฤษฎี เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
- แนวคดิ หลักการ และทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้อง
- ผลงานวิจัยทเ่ี กย่ี วข้อง
บทท่ี 3 วิธดี าเนินการวจิ ัย
บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลู
บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ
- สรุป
- วัตถปุ ระสงค์ของการวิจยั
- วธิ ดี าเนินการวิจยั
- ผลการวิจยั
- อภปิ รายผล
- ข้อเสนอแนะ

- ขอ้ เสนอแนะในการนาไปใช้ประโยชน์
- ข้อเสนอแนะในการศกึ ษาค้นคว้าตอ่ ไป
3. สว่ นเอกสารอ้างอิง (Reference Section) ประกอบดว้ ย
3.1 บรรณานกุ รม
3.2 ภาคผนวก
แนวทางการเขยี นสว่ นหน้าของรายงานการวจิ ัย
ส่วนหน้า หมายถึง ส่วนท่ีอยู่ก่อนส่วนเนื้อหาของการวิจัย เป็นส่วนประกอบที่ทาให้รายงานการวิจัย
สมบูรณ์ และส่ือความหมายได้ดยี ่งิ ขึ้น ในสว่ นน้ปี ระกอบด้วย
1. ปกหน้า ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ช่ือผู้วิจัย และข้อความอ่ืน ๆ เช่น ระบุชื่อหน่วยงานที่เป็น
เจา้ ของผลงานวจิ ยั และอาจระบุปีทีท่ าวจิ ัยดว้ ย
2. ปกใน มขี อ้ ความเหมือนปกนอกทุกประการ เพยี งแต่ใช้กระดาษเหมอื นเนอ้ื ในตามปกติ
3. บทคดั ย่อ เปน็ บททผี่ ู้ทาวิจัยสรุปเรอ่ื งราวท้งั หมดเก่ียวกบั งานวจิ ัยท่ีไดด้ าเนนิ การไปแล้ว มากลา่ วสรุปไว้
สนั้ ๆ โดยมหี วั ข้อสาคญั ๆ คอื
3.1 ชอื่ รายงานการวิจัย
3.2 ชื่อผทู้ าวจิ ัย

3.3 ปีที่ทาวิจยั
3.4 สาระของบทคัดย่อ จะกล่าวถึงจุดประสงค์ของการวิจัย ขั้นตอนการดาเนินงานและผลที่ได้
จากการวจิ ยั โดยสรปุ
4. สารบญั โดยทัว่ ไปแบง่ ออกเปน็ 3 ส่วน คอื
4.1 สารบัญเนือ้ เรอ่ื ง
4.2 สารบัญตาราง
4.3 สารบัญภาพประกอบหรือแผนภมู ิ
ส่วนหน้า ของรายงานการวิจัยไม่นิยมบอกหน้าเป็นตัวเลข มักใช้ตัวอักษร เร่ิมจาก ก, ข, ค, ง,…จนหมด
สว่ นนี้ แล้วจึงไปข้ึนหน้า 1 ในส่วนเนอ้ื หา

แนวทางการเขียนส่วนเนื้อหาของรายงานการวิจยั
สว่ นเนอื้ หาจะประกอบดว้ ย 5 บท ไดแ้ ก่
บทท่ี 1 บทนา
บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ัยทเี่ กยี่ วข้อง
บทที่ 3 วธิ ีดาเนนิ การวิจยั
บทที่ 4 ผลการวิจยั
บทที่ 5 สรุปผลการวจิ ัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การเขียนสว่ นเน้ือหาในแต่ละบท ตัง้ แต่บทท่ี 1 ถึงบทที่ 5 มีรายละเอียดดงั ต่อไปนี้

บทที่ 1 บทนา
จุดเน้นของบทนี้ จะต้องช้ีให้เห็นสภาพของปัญหาการเรียนการสอน โดยแสดงข้อมูลยืนยันสภาพปัญหา
ระบุแนวคิดในการแก้ปัญ หา กาหนดจุดประสงค์ในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย และประโยชน์
ที่คาดวา่ จะไดร้ ับอยา่ งชัดเจน
แนวทางในการเขยี นบทนา มสี ่วนประกอบ 5 ขอ้ คอื

1. ความเปน็ มาและความสาคญั ของปญั หา
2. วัตถุประสงคข์ องการวจิ ัย
3. สมมตฐิ านของการวิจัย
4. ขอบเขตของการวิจยั
5. คาจากดั ความท่ีใช้ในการวิจยั
6. ประโยชน์ที่ไดร้ ับ
แนวทางการเขยี นส่วนประกอบในแต่ละขอ้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความเปน็ มาและความสาคญั ของปัญหา
กล่าวถึงสภาพการเรียนการสอนท่ีพึงปรารถนา หรือท่ีควรจะเป็นโดยอาจกล่าวถึงแผนการศึกษาชาติ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร นโยบายการจัดการศึกษาระดับกรม ตลอดจนจุดประสงค์รายวิชาท่ีตนรับผิดชอบ

กล่าวถึงสภาพปัญหาการเรียนการสอนท่ีประสบ หรือไม่เป็นไปตามท่ีปรารถนา โดยบรรยายถึงสภาพปัญหาจาก
การวิเคราะห์ ตามขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหา ถ้ามีตัวเลขประกอบให้นามาระบุไว้ด้วย สรุปแนวทางท่ีจะแก้ปัญหาท่ี
ประสบอยู่ หรือพฒั นาคุณภาพการศึกษา โดยข้อความทีเ่ ขยี นในสว่ นน้ีจะตอ้ งสอดคลอ้ งและต่อเน่ืองกันโดยตลอด

๒. วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ยั
กาหนดให้ชัดเจนว่า เพื่อศึกษาอะไร เขียนถึงส่ิงท่ีเราอยากได้คาตอบ การเขียนวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยตอ้ งเขียนใหส้ อดคล้องกับปัญหาวจิ ัย และนิยมเขยี นเปน็ ประโยคบอกเล่า
ตัวอยา่ ง

1) เพ่ือหาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์เร่ืองการเคลื่อนที่โดยการจัดการ
เรยี นรูแ้ บบสบื เสาะหาความรู้ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 3

2) เพ่อื พฒั นาเจตคติของนกั เรียนที่เรยี นโดยใช้บทเรยี นสาเรจ็ รปู
3) เพ่ือพัฒนาทักษะการทางานเป็นทีมของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
สมองเป็นฐาน
3. สมมติฐานของการวิจยั (อาจมีหรอื ไม่มีก็ได้)
สมมติฐานของการวิจัย เป็นคาตอบที่คาดหวังไว้ก่อนที่จะทาการวิจัย หรือสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการ
ทางสถิติ การตั้งสมมติฐานต้องตั้งบนรากฐานแนวคิดทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับปัญหานั้น กล่าวคือ
ผวู้ ิจัยจะต้องศึกษาแนวคิดทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ จึงจะสามารถต้ังสมมติฐานได้ใกล้เคียงกับ
ความเป็นจริง และการตง้ั สมมตฐิ านต้องสอดคลอ้ งสัมพนั ธ์กบั วตั ถุประสงคข์ องการวิจัย
4. ขอบเขตของการวจิ ัย
เป็นการบอกกรอบงานวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียนคร้ังนี้ว่า มีขอบเขตเพียงใด ครอบคลุมอะไรบ้าง ครอบคลุม
เนอ้ื หา กลมุ่ ที่ศกึ ษา ระยะเวลา
ตวั อย่าง
- ประชากร เปน็ นกั เรียนชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 ปีการศกึ ษา 2556
- ตัวแปร สรา้ งบทเรียนสาเร็จรูปวชิ า เรื่องเลขยกกาลงั
- ระยะเวลา ตัง้ แต่ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2556
5. นยิ ามศัพท์เฉพาะ
คาบางคาในรายงานการวิจัยท่ีต้องให้คาจากัดความหรือนิยาม เพ่ือทาความเข้าใจระหว่างผู้วิจัยกับผู้อ่าน
รายงานการวิจัย ซึ่งคาเหลา่ นนั้ จะเป็นคาที่มคี วามหมายแตกต่างไปจากความหมายท่ัวไป ความหมายของคาท่ีนิยาม
ใหน้ ิยามเป็นเชิงปฏบิ ัตกิ าร (Operational Definition) ไมใ่ ช่นยิ ามตามทฤษฎีหรือความหมายสากล
ตัวอย่าง
1) ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนทาได้จากแบบทดสอบวิชา ค 311
ทผ่ี วู้ จิ ยั สร้างข้นึ
2) เจตคติของนักเรียนท่ีเรียนโดยใช้บทเรียนสาเร็จรูป หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนที่มีต่อการ

เรยี นโดยใชบ้ ทเรียนสาเรจ็ รปู โดยได้จากการใชแ้ บบสอบวัดเจตคติซึ่งผวู้ จิ ัยสรา้ งข้นึ เอง
6. ประโยชนท์ ่ีไดร้ บั
ผู้วิจัยต้องตอบคาถามให้ได้ว่า เม่ือทาวิจัยเสร็จแล้วเราจะนาไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้อย่างไรบ้าง ซึ่งต้อง

สอดคล้องกบั ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา และใหก้ ล่าวถงึ ประโยชนท์ เี่ ป็นผลตามมาดว้ ย
ตวั อยา่ ง
1) เป็นแนวทางให้ในการจัดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพมาช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชา

คณติ ศาสตร์
2) เปน็ แนวทางในการปรับปรุงแกไ้ ขวธิ สี อน วิชาคณิตศาสตรใ์ นระดับมัธยมศึกษา
3) ไดเ้ ทคนคิ ในการสง่ เสรมิ การเรยี นแบบเนน้ ผู้เรยี นเปน็ สาคัญสาหรบั ครู

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ ง
บทนีเ้ ป็นการนาเสนอ เอกสารและงานวิจัยทเี่ กีย่ วขอ้ งกบั งานวิจยั ที่กาลงั ดาเนนิ การอยู่
จุดเน้นของบทนี้ คือ หลังจากได้นาเสนอแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยแล้ว ผู้เขียน
รายงานจะต้องสรุปกรอบความคิด หลักการ แนวทาง หรือรูปแบบของนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาการเรียนการ
สอน ทนี่ ามาใชใ้ นการแกป้ ัญหาหรอื ทดลอง
รายงานเนื้อหาของบทน้ีอาจแยกเปน็ ตอน ๆ เพื่อใหผ้ ูอ้ า่ นเหน็ ภาพรวมของบทที่ ๒ เช่น

ตอนท่ี 1 ความหมาย หรือมโนทัศน์ท่ีสาคัญเกี่ยวกับนวัตกรรมท่ีนามาใช้ในการแก้ปัญหา
การเรียนการสอน

ตอนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวขอ้ งกบั นวัตกรรมที่นามาใช้ในการแกป้ ญั หา
ตอนท่ี 3 ผลการวิจยั หรือบทความทเี่ ก่ยี วข้องกับนวัตกรรมทนี่ ามาใชใ้ นการแก้ปัญหา

ฯลฯ
แต่ละตอนจะต้องอธิบายกรอบความคิดโดยสรุปที่เป็นของผู้วิจัยเองเมื่อได้กาหนดเนื้อหาเป็นตอน ๆ
ดังกลา่ วข้างต้นแลว้ จงึ เขยี นรายละเอียดของเน้ือหาในแตล่ ะตอนตามลาดับ
ตวั อยา่ ง
งานวจิ ัยเรื่อง “การพัฒนาผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรใ์ น
ระดับชัน้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 1 ท่เี รยี นโดยชดุ การสอนนมิ ิคอรส์ ”
บทท่ี 2 อาจจัดทาเปน็ 4 ตอน คอื

ตอนที่ 1 ความหมายและลักษณะของชุดมินิคอร์ส
ตอนท่ี 2 พัฒนาการของชดุ มินิคอร์สและหลักการวดั และประเมินผลชดุ มินิคอรส์
ตอนที่ 3 การพฒั นาหลักสตู รวทิ ยาศาสตร์
ตอนที่ 4 เอกสารและงานวิจัยที่เกีย่ วขอ้ งกับชุดการสอนมนิ ิคอรส์
บทที่ 3 วิธดี าเนินการวิจยั
จุดเน้นของบทนี้ จะแสดงให้เห็นลาดับข้ันตอนของการสร้างและการพัฒนานวัตกรรมบอกขั้นตอนการ

พัฒนาเคร่ืองมือวัด ระบุเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง รูปแบบการทดลอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
และแนวทางการวิเคราะห์ขอ้ มูล ตลอดจนการเผยแพร่

ขั้นเผยแพร่
ข้ันน้ีจะเกิดข้ึนเม่ือครูผู้สอนม่ันใจว่า ผลการดาเนินงานนั้นได้ผลแน่นอนแล้วให้เขียนระบุว่า
การเผยแพร่โดยวธิ กี ารใดบ้าง มหี ลักฐานการเผยแพร่อะไรบา้ ง และผลการเผยแพรเ่ ปน็ อย่างไร
บทที่ 4 ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลู
จดุ เนน้ ของบทนี้ คอื การนาเสนอผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลเชิงปรมิ าณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
หลักในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมลู

1. ควรเสนอเรยี งลาดับตามวัตถุประสงค์ของการวจิ ัย หรอื ตามสมมตฐิ านของการวจิ ยั ทลี ะขอ้
2. ถ้าสามารถเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลรวมเป็นตารางเดียวกันได้ก็ควรจะรวมกันไว้และ
การแปลผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู ก็ควรแปลเฉพาะประเด็นที่สาคัญหรือข้อค้นพบท่ีเด่น ๆ แปลความเชิงสถิติเป็นหลัก
ไมค่ วรตีความหรือขยายความเพ่มิ เติมในบทนี้
3. ใช้เทคนิคในการแปลผลท่ีเรียกว่า “ข้อมูลพูดได้” เช่น ใช้แผนภูมิ แผนภาพต่าง ๆ ประกอบ
ในการแปลผล ไมจ่ าเป็นจะต้องเสนอตารางท่ีมีตัวเลขมาก ๆ
4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านง่ายและเหมาะสมกับผู้อ่าน พยายามแปลงภาษาทางสถิติให้เป็นภาษาเขียนที่
ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้งา่ ย ๆ
5. การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างตาราง ควรมีข้อความนาเพ่ือเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเน่ือง
ระหว่างสง่ิ ทเี่ สนอไปแลว้ กับสิง่ ที่จะเสนอต่อไปอยา่ งไร
6. การเขยี นหวั ตาราง ในการเขียนหวั ตารางจะต้องเขียนให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือบอกลาดบั ตารางเพ่ืองา่ ย
แก่การคน้ ควา้ จากสารบัญตาราง เชน่ ตาราง 1, ตาราง 2 เปน็ ตน้

บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผลและข้อเสนอแนะ
จุดเน้นของบทนี้ คือ การนาเสนอข้อสรุป หรือข้อค้นพบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
อภิปรายผลการวิจัยโดยอิงแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากบทที่ 2 รวมท้ังให้ข้อเสนอแนะโดยใช้ข้อค้นพบ
จากผลการวจิ ัยครัง้ น้ี บทน้ตี ้องมสี าระสาคัญครบถว้ นพรอ้ มทจี่ ะนาไปปรบั เปน็ รายงานการวิจัยฉบบั ยอ่ ได้
แนวทางการเขียนบทน้ี มดี งั นี้

1. สรปุ วัตถุประสงค์ของการวิจยั ในช่วงต้น พร้อมท้ังเล่าวธิ ีดาเนนิ การโดยย่อในช่วงกลางกอ่ นที่จะเขียน
สรุปผลการวจิ ยั อภปิ รายผลและขอ้ เสนอแนะ

2. การเขียนสรปุ ผลการวจิ ัย
2.1 ควรสรปุ ส้ัน ๆ กระชับ สอดคล้องและเรยี งลาดับตามวัตถุประสงค์ของการวจิ ยั
2.2 การสรปุ ผลการวิจัยเป็นการแปลความในระดบั การตคี วามดงั ตวั อยา่ ง

3. การเขยี นอภิปรายผลการวจิ ยั
3.1 เขียนเพื่อชี้แจงให้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักการทฤ ษฎี หรือ

ผลการวิจัยของผู้อื่นที่ทาไว้อย่างไร ถ้าขัดแย้งให้เสนอความคิดเห็นหรือเหตุผลหรือข้อจากัดที่ทาให้ผลที่ได้เป็น
เช่นนัน้ ในการอภปิ รายควรแยกประเด็นอภปิ รายไปทีละประเด็น

3.2 ในการอภิปรายผลการวิจัย ไม่จาเป็นต้องอภิปรายทุกรายการตามข้อสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยอาจ
ยกประเดน็ ทเ่ี ป็นที่นา่ สังเกต หรือโดดเด่น หรือประเดน็ ที่ปรากฏขอ้ สรปุ ไมเ่ ปน็ ไปตามสมมตฐิ านการวิจยั

4. การเขียนข้อเสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะในการทาวิจยั นิยมเขียนแยกเปน็ 2 สว่ น คอื
4.1 ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้ประโยชน์ เขียนให้สอดคล้องกับประโยชน์ที่ได้รับที่ระ บุไว้

ในบทท่ี 1
4.2 ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยคร้ังต่อไป เป็นข้อเสนอแนะเพ่ือทาวิจัยเพิ่มเติมว่า จากข้อค้นพบใน

งานวิจยั ดังกล่าวไดก้ ่อใหเ้ กดิ ประเด็น หรือแนวคดิ ทค่ี วรจะมีการดาเนินการในการวิจยั ในระยะต่อไปในหัวข้อใดบ้าง


Click to View FlipBook Version