The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้บทที่-2-เรียบร้อย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 123 เบญจวรรณ, 2024-01-31 11:27:12

แผนการจัดการเรียนรู้บทที่-2-เรียบร้อย

แผนการจัดการเรียนรู้บทที่-2-เรียบร้อย

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กฎหมายน่ารู้ เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เวลา 2 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.6/1 ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน 2. สาระสำคัญ การปฏิบัติตนตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายทะเบียนราษฎร ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอธิบายสาระสำคัญและประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้ โทษและกฎหมายทะเบียนราษฎรได้(K) 2. ผู้เรียนปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายทะเบียนราษฎรได้(P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และ กฎหมายทะเบียนราษฎร (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน เช่น -กฎหมายจราจร -กฎหมายทะเบียนราษฎร -กฎหมายยาเสพติดให้โทษ • ประโยชน์ของการปฏิบัติตนหรือเคารพกฎหมายดังกล่าว 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา


5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2) ทักษะการสร้างความรู้ 3) ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนทบทวนความรู้โดยการทำกิจกรรมนำก่อนเรียน ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บท มาตรฐานสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่พลเมืองดี เรื่องที่ 1 กฎหมายควรรู้ โดยการขีดเครื่องหมาย ใน หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตาม กฎหมายที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ เมื่อนักเรียนทุกคนทำเสร็จแล้ว ให้ร่วมกันเฉลยคำตอบให้ถูกต้อง โดยครูคอยสังเกตและช่วยตรวจสอบความถูกต้องในคำตอบของนักเรียน 2. นักเรียนตอบคำถามประจำเรื่องที่ 1 กฎหมายควรรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี จาก หนังสือเรียนโดยคำถามมีดังต่อไปนี้ • เราสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้ที่เคารพต่อกฎหมายได้อย่างไรบ้าง 3. ครูอธิบายเชื่อมโยงเนื้อหาของข่าวให้นักเรียนทราบว่า “การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิด กฎหมาย ซึ่งผู้กระทำผิดต้องรับโทษ ดังนั้นนักเรียนจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง และไม่พลาดไปกระทำการอันเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ขั้นสอน 1. ครูสุ่มตัวแทนนักเรียน 2-3 คน ตอบคำถามในประเด็น “กฎหมายใดที่นักเรียนคิดว่ามีความ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียนมากที่สุด เพราะอะไร” แล้วให้นักเรียนคนอื่นร่วมกันอภิปราย คำตอบของตัวแทนนักเรียนว่า เห็นด้วยกับคำตอบหรือไม่เห็นด้วยกับคำตอบ เพราะอะไร โดยครูคอย สังเกตการอภิปรายของนักเรียนและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 2. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นให้สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกัน สืบค้นข้อมูลความรู้จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 1 กฎหมายควรรู้ เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สแกนคิวอาร์โค้ด เรื่อง สัญญาณจราจร PowerPoint เรื่อง กฎหมายควร รู้ หรือแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ กลุ่มละ 1 เรื่อง ตามความสนใจ โดยหัวข้อที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้อง เลือกศึกษา มีดังนี้


1) กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก 2) กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร 3) กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 3. สมาชิกของแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่กลุ่มได้รับมอบหมาย เพื่อเป็น การส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีประเด็นดังนี้ 1) สาระสำคัญ 2) แนวทางการปฏิบัติ 3) ประโยชน์ของการปฏิบัติตน 4. สมาชิกแต่ละกลุ่มนำข้อมูลความรู้ที่สืบค้นมาอภิปรายร่วมกันในประเด็นสำคัญทีละประเด็น จนได้ ข้อสรุปร่วมกัน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาเขียนเป็นผังมโนทัศน์ลงในกระดาษฟลิปชาร์ท และตกแต่งให้ สวยงาม 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง และให้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและสรุปประเด็นสำคัญของกฎหมายแต่ละประเภทที่ได้ศึกษา ร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร และกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพ ติดให้โทษ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 2) แบบฝึกปฏิบัติทักษะรวบยอดวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ ของพลเมืองดี เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 3) PowerPoint เรื่อง กฎหมายน่ารู้ 4) ใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกับชีวิตประจำวัน 5) ข่าวเกี่ยวกับบุคคลกระทำผิดกฎหมาย 6) แบบบันทึกการปฏิบัติตน 7) กระดาษฟลิปชาร์ท 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต


9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายสาระสำคัญและ ประโยชน์ของการปฏิบัติตาม กฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพ ติดให้โทษและกฎหมายทะเบียน ราษฎรได้(K) แบบทดสอบก่อน เรียน ตรวจแบบทดสอบ ก่อนเรียน ประเมินตามสภาพจริง 2.ผู้เรียนปฏิบัติตามกฎหมาย จราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายทะเบียนราษฎรได้ (P) ใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับกับ ชีวิตประจำวัน ตรวจใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับกับ ชีวิตประจำวัน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการ ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และ กฎหมายทะเบียนราษฎร (A) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แบบบันทึกการปฏิบัติตน คำชี้แจง : ให้วางแผนปฏิบัติตนตามกฎหมายจำนวน 5 อย่าง และรายงานผลการปฏิบัติตามแบบบันทึกการ ปฏิบัติตน ชื่อกฎหมาย ที่นำไปปฏิบัติ ข้อปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อปฏิบัติตามกฎหมาย ผลของการปฏิบัติ สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติตนตามกฎหมาย


เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกับชีวิตประจำวัน คำชี้แจง : ให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวที่กำหนด แล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง ตอนที่ 1 กฎหมายจราจรกับการดำเนินชีวิต ข่าวที่ 1 1. ประเด็นสำคัญของข่าว 2. จากข้อสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่คนขับรถจักรยานยนต์กระทำผิดกฎหมายจราจรอย่างไร 3. การกระทำของบุคคลในข่าวมีผลกระทบต่อบุคคลและสังคมอย่างไร 4. นักเรียนได้ข้อคิดจากข่าวอย่างไร ซิ่งบิ๊กไบค์แหกโค้งดับคาที่ เมื่อ เวลา 07.30 น. วันที่ 11 ส.ค. 2562 รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางปู จ.สมุทรปราการ ได้รับแจ้งมี อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์เหกโค้งมีผู้เสียชีวิต บริเวณหน้าเมืองโบราณ ต.บางปู อ.เมืองสมุทรปราการ เมื่อ ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบศพนายพรพรหม (นามสมมติ) อายุ 24 ปี พนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท แห่งหนึ่ง นอนจมกองเลือดเสียชีวิตอยู่ที่ใต้ราวกั้นเกาะกลางถนนในสภาพขาซ้ายเกือบขาดและมีบาดแผลที่ศีรษะ ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร พบรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ยี่ห้อยามาฮ่าล้มอยู่ในสภาพพังยับเยิน เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า ผู้ตายน่าจะขี่รถมาด้วยความเร็วก่อนจะเสียหลักแหกโค้งไปชนกับราวกั้นเกาะกลางถนน จนเสียชีวิตคาที่ แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2562 ฉบับที่ 25,505 หน้าที่ 13 ใบงานที่ 2.1.1


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กฎหมายน่ารู้ เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและท้องถิ่น เวลา 2 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 2. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.6/1 ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน 2. สาระสำคัญ การบริหารงานของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่งผลดีต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นทุกคนจึงต้องปฏิบัติตนตามกฎหมายขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในท้องถิ่นนั้นๆ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอธิบายลักษณะสำคัญและประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้ (K) 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนตามกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.2 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน - เทศบัญญัติ - ข้อบัญญัติ อบต.อบจ. • ประโยชน์ของการปฏิบัติตนหรือเคารพกฎหมายดังกล่าว 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา


5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2) ทักษะการสร้างความรู้ 3) ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนดูคลิปวิดีโอหรือภาพแสดงผลงานของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาร ส่วนตำบล ในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ แล้วร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็น ต่อไปนี้ 1) ผลงานสำคัญในคลิปวิดีโอหรือภาพ คืออะไร 2) การกระทำในคลิปวิดีโอหรือภาพ มีผลดีต่อท้องถิ่นอย่างไรบ้าง 3) การกระทำในคลิปวิดีโอหรือภาพควรได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างไร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ 2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนทราบว่า “ผลงานในคลิปวิดีโอหรือภาพดังกล่าวเป็นไปตามบทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบต. ข้อบัญญัติ อบจ. ซึ่งประชาชนในแต่ละท้องถิ่นพึงปฏิบัติตามเพื่อการอยู่ร่วมกันใน ท้องถิ่นอย่างสงบสุข เกิดความเป็นระเบียบ และส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น” ขั้นสอน 1. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ตามความเหมาะสม แล้วให้สมาชิกแต่กลุ่มจับคู่กันเพื่อ แบ่งหน้าที่กันศึกษาความรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและท้องถิ่น โดยหัวข้อความรู้ที่ต้อง ศึกษา มีดังนี้ คู่ที่ 1 ศึกษาเกี่ยวกับ เทศบัญญัติ คู่ที่ 2 ศึกษาเกี่ยวกับ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คู่ที่ 3 ศึกษาเกี่ยวกับ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วย การเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 1 กฎหมายควรรู้ PowerPoint เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับชุมชนและท้องถิ่น หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยประเด็นที่นักเรียนแต่ละคู่ จะต้องศึกษา ได้แก่ ที่มาของกฎหมายนี้ การนำกฎหมายนี้ไปใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตาม กฎหมายนี้


3. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังร่วมกันอภิปรายและ ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์เพิ่มเติม ครูคอยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ นักเรียนอภิปรายร่วมกันและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับลักษณะและบทบัญญัติที่สำคัญของเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แนว ทางการปฏิบัติตนหรือการเคารพเทศบัญญัติและข้อบัญญัติดังกล่าว จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคน บันทึกข้อสรุปที่ได้ลงในสรุปสาระสำคัญ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันลงในหนังสือ เรียน เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 1 ศาสนากับการดำรงชีวิต เรื่องที่ 1 พระพุทธศาสนา 2) PowerPoint เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและท้องถิ่น 3) ใบงานที่ 2.1.2 เรื่อง กฎหมายท้องถิ่นที่ควรรู้ 4) วิดีโอแสดงผลงานของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ในท้องถิ่นที่ตน อาศัยอยู่ 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายลักษณะสำคัญ และประโยชน์ของการปฏิบัติตน ตามกฎหมายองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้(K) ใบงานที่ 2.1.2 เรื่อง กฎหมาย ท้องถิ่นที่ควรรู้ ตรวจใบงานที่ 2.1.2 เรื่อง กฎหมายท้องถิ่นที่ ควรรู้ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ตนตามกฎหมายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้ (P) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการ ปฏิบัติตนตามกฎหมายองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (A) แบบทดสอบหลัง เรียน ตรวจแบบทดสอบ หลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์


ใบงานที่ 2.1.2 เรื่อง กฎหมายท้องถิ่นที่ควรรู้ คำชี้แจง : ให้นักเรียนสืบค้นผลงานของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่นักเรียนมีภูมิลำเนา แล้วนำมาสรุปและตอบ คำถามที่กำหนด 1. ผลงานเด่นของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นคืออะไร 2. ผลงานดังกล่าวสอดคล้องกับเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ อบจ. และ อบต. อย่างไร 3. ประชาชนมีส่วนให้ความร่วมมืออย่างไรบ้าง 4. การที่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายมีผลดีหรือประโยชน์อย่างไร 5. นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่สอดคล้องกับกฎหมายของท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง และคาดว่าจะส่งผลดีอย่างไร


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล เวลา 1 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวชี้วัด ป.6/1 เปรียบเทียบบทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล 2. สาระสำคัญ รัฐบาลมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติของกฎหมายรักษาเอกราช พัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศ และพัฒนาคุณภาพประชาชนในชาติ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการและดำเนินกิจกรรมตามบทบัญญัติ ของกฎหมายของประเทศและกฎหมายส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นและประเทศ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอธิบายบทบาทหน้าที่องค์กรกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลได้อย่างถูกต้อง (K) 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทบาทหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.3 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • บทบาท หน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2) ทักษะการสร้างความรู้ 3) ทักษะการนำความรู้ไปใช้


2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนทำกิจกรรมนำก่อนเรียนในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย โดยให้นักเรียนดูภาพสถานการณ์แล้วตอบคำถาม 2. ครูสุ่มถามคำตอบจากการทำกิจกรรมนำก่อนเรียน 2-3 คน แล้วให้นักเรียนคนอื่นๆ ร่วมกันวิเคราะห์ คำตอบของตัวแทนแต่ละคนว่า นักเรียนจะตอบคำถามเหมือนตัวแทนแต่ละคนหรือไม่ เพราะอะไร 3. ครูอธิบายเชื่อมโยงคำตอบของนักเรียนเข้ากับเนื้อหาในบทเรียนเกี่ยวกับความสำคัญของการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมประชาธิปไตย ขั้นสอน 1. ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม 3-5 คนตามความสมัครใจ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุด แม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย PowerPoint เรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและรัฐบาล หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ต 2. ครูให้สมาชิกในกลุ่มออกมาแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์จำลอง “ฉันคือใคร” แล้วให้เพื่อนๆ นักเรียนในห้องช่วยกันทายว่า บุคคลในสถานการณ์นี้ใคร โดยสถานการณ์จำลองมีดังต่อไปนี้ • สถานการณ์จำลองที่ 1 แสดงเป็นนายกรัฐมนตรี • สถานการณ์จำลองที่ 2 แสดงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ • สถานการณ์จำลองที่ 3 แสดงเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3. เมื่อจบการแสดงของแต่ละชุด ให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามในประเด็นต่อไปนี้ 1) บุคคลที่มีบทบาทเป็นผู้นำในสถานการณ์ดังกล่าวคือใคร พร้อมอธิบายเหตุผล 2) บุคคลดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไร 3) ผลงานของบุคคลดังกล่าว นั้นคาดว่าจะมีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นหรือประเทศอย่างไร 4. นักเรียนฟังคำอธิบายความรู้ความเข้าใจว่ารัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างก็มี บทบาทหน้าที่ของตนโดยเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งล้วนมีผลงานที่แตกต่างกันแต่ก็มีประโยชน์ต่อ ประชาชน


ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของบทบาทหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดีเรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย 2) PowerPoint เรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล 3) ใบงานที่ 2.2.1 เรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล 4) สถานการณ์จำลอง “ฉันคือใคร” 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายบทบาทหน้าที่ องค์กรกครองส่วนท้องถิ่นและ รัฐบาลได้อย่างถูกต้อง (K) - ใบงานที่ 2.2.1 เรื่อง บทบาท หน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่นและรัฐบาล ตรวจใบงานที่ 2.2.1 เรื่อง บทบาท หน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่นและรัฐบาล ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลได้ อย่างเหมาะสม (P) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของ บทบาทหน้าที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและรัฐบาล (A) แบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ตรวจแบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


ใบงานที่ 2.2.1 เรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล คำชี้แจง : ให้นักเรียนนำข้อมูลที่สืบค้นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล มาตอบคำถามที่กำหนด บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล


1. จากข้อมูลทั้ง 2 ผลงานดังกล่าวแสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันระหว่างบทบาทหน้าที่ของ รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างไร 2. รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปฏิบัติงานที่สัมพันธ์กันอย่างไร 3. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลดีต่อประเทศชาติ อย่างไร


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 3. การให้ความร่วมมือในการทำงาน 4. การแสดงความคิดเห็น 5. การยอมรับความคิดเห็น รวม ลงชื่อ.................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ เวลา 2 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวชี้วัด ป.6/2 มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ 2. สาระสำคัญ กิจกรรมประชาธิปไตยมีความสำคัญในการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ การมีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยจึงเป็นการสร้างความมั่นคงต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอภิปรายบทบาทและความสำคัญของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยใน ท้องถิ่นและประเทศได้อย่างถูกต้อง (K) 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศได้อย่าง เหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและ ประเทศได้อย่างเหมาะสม (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.4 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • กิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนแต่ละคนเขียนประสบการณ์ที่เคยพบเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงถึงการส่งเสริมประชาธิปไตย ลงในกระดาษแผ่นเล็กที่ครูแจกให้ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ชอบกิจกรรมนั้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น 1) การใช้สิทธิเลือกตั้งหัวหน้าห้อง หัวหน้าคณะกีฬาสี 2) การใช้สิทธิเลือกตั้งประธานนักเรียน 3) การเขียนป้ายรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนส่วนท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร 4) การร่วมมือจัดทำแผ่นพับหรือโปสเตอร์เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ร่วมกิจกรรมปลูกป่า ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก 2. นักเรียนแต่ละคนเลือกกิจกรรมที่แสดงถึงการส่งเสริมประชาธิปไตยที่นักเรียนเขียนไว้ในขั้นที่ 1 ที่ ประทับใจหรือชอบมากที่สุด 1 กิจกรรม และเขียนแสดงเหตุผลที่ชอบกิจกรรมนั้น 3. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจกลุ่มละ 3-5 คน หรือตามความเหมาะสม จากนั้นสมาชิกแต่ละ คนผลัดกันเล่ากิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยที่ตนชอบมากที่สุดพร้อมบอกเหตุผลที่นักเรียนได้เขียน ไว้ในกระดาษแผ่นเล็ก 3. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมมือกันรวบรวมกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยที่สมาชิกในกลุ่มผลัดกันเล่า แล้ว ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลรวมความคิดของสมาชิกในกลุ่มหน้าชั้นเรียน ขั้นสอน 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสืบค้นข้อมูลความรู้ เรื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยใน ท้องถิ่นและประเทศ จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย PowerPoint เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ 2. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญจากข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ในท้องถิ่นและประเทศเพื่อพัฒนาความคิดรอบยอดของกลุ่มตนเอง 3. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 2.2.2 เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและ ประเทศ โดยการประเด็นสำคัญที่ได้สรุปร่วมกันภายในกลุ่มของตนเองมาใช้ตอบคำถามตามประเด็น ในใบงาน 4. ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยมีครูตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะ ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริม ประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ และผลที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ


8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย 2) PowerPoint เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ 3) ใบงานที่ 2.2.2 เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ 4) กระดาษแผ่นเล็ก 5) บัตรภาพที่แสดงถึงกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยและกิจกรรมที่ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอภิปรายบทบาทและ ความสำคัญของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ในท้องถิ่นและประเทศได้อย่าง ถูกต้อง (K) ใบงานที่ 2.2.2 เรื่อง กิจกรรม ส่งเสริม ประชาธิปไตยใน ท้องถิ่นและ ประเทศ ตรวจใบงานที่ 2.2.2 เรื่อง กิจกรรมส่งเสริม ประชาธิปไตยใน ท้องถิ่นและ ประเทศ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยใน ท้องถิ่นและประเทศได้อย่าง เหมาะสม (P) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น และประเทศได้อย่างเหมาะสม (A) แบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ตรวจแบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ คำชี้แจง : ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพแล้วเขียนบรรยายภาพให้ครอบคลุมเกี่ยวกับกิจกรรมแสดงถึงความเป็น ประชาธิปไตยและประโยชน์ของกิจกรรมประชาธิปไตย คำบรรยาย คำบรรยาย ใบงานที่ 2.2.2


คำบรรยาย คำบรรยาย


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 3. การให้ความร่วมมือในการทำงาน 4. การแสดงความคิดเห็น 5. การยอมรับความคิดเห็น รวม ลงชื่อ.................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เวลา 1 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวชี้วัด ป.6/3 อภิปรายบทบาท ความสำคัญในการใช้สิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 2. สาระสำคัญ การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เป็นกิจกรรมสำคัญในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอภิปรายบทบาทและความสำคัญในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง (K) 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่าง เหมาะสม (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.5 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • การมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย ระเบียบ กติกาการเลือกตั้ง • สอดส่องดูแลผู้มีพฤติกรรมการกระทำผิดการเลือกตั้ง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ • ตรวจสอบคุณสมบัติการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการรวบรวมข้อมูล


2) ทักษะการเปรียบเทียบ 3) ทักษะการวิเคราะห์ 4) ทักษะการใช้เหตุผล 5) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนศึกษาวิดีโอหรือภาพเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ แล้วร่วมกันตอบ คำถามจากวิดีโอหรือภาพ โดยมีประเด็นคำถาม ดังนี้ • การเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไร และประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งอย่างไร • ประชาชนควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปเลือกตั้ง • ถ้าประชาชนไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะเกิดผลเสียอย่างไร 2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า “ประชาชนทุกคนมีบทบาทและมีความสำคัญในการใช้สิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย” ขั้นสอน 1. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถกันภายในกลุ่ม แล้วให้แต่ละคน ในกลุ่มเลือกหมายเลขประจำตัว 1, 2, 3, และ4 และฟังคำอธิบายจากครูผู้สอนเกี่ยวกับความสำคัญ และวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเล่าเรื่องรอบวง ดังนี้ 1) มีการช่วยเหลือกัน 2) ทุกคนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง 3) สมาชิกทุกคนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 4) ทุกคนปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงสำหรับสมาชิกของกลุ่ม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตาม ระบอบประชาธิปไตย จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี บทที่ 2 เรื่อง กิจกรรมประชาธิปไตย PowerPoint เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอประชาธิปไตย หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 4. สมาชิกของแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปประเด็นความรู้ที่สำคัญที่สมาชิกได้สืบค้นมา จากนั้นร่วมกันทำใบ งานที่ 2.2.3 เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 5. ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนนำเสนอผลงาน 2-3 กลุ่ม แล้วให้กลุ่มอื่นที่มีผลงานแตกต่างกันนำเสนอ เพิ่มเติมโดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


6. นักเรียนได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ข้อ 5. เกี่ยวกับบทบาทสำคัญในการ ปกครองและการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และแบบทดสอบที่ 2 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตย และการเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.2 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 2 กิจกรรมประชาธิปไตย 2) PowerPoint เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 3) ใบงานที่ 2.2.3 เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 4) วิดีโอเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ 5) ภาพเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายสาระสำคัญและ ประโยชน์ของการปฏิบัติตาม กฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพ ติดให้โทษและกฎหมายทะเบียน ราษฎรได้(K) แบบทดสอบก่อน เรียน ตรวจแบบทดสอบ ก่อนเรียน ประเมินตามสภาพจริง 2.ผู้เรียนปฏิบัติตามกฎหมาย จราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายทะเบียนราษฎรได้ (P) ใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับกับ ชีวิตประจำวัน ตรวจใบงานที่ 2.1.1 เรื่อง กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับกับ ชีวิตประจำวัน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการ ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ และ กฎหมายทะเบียนราษฎร (A) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


เรื่อง บทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตาม ระบอบประชาธิปไตย แล้วร่วมกันสรุปการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของรัฐบาลกับ ประชาชน การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล ประชาชน ใบงานที่ 2.2.3


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ เวลา 2 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 4. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.2 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณี ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.6/5 ติดตามข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เลือกรับและใช้ข้อมูล ข่าวสารใน การเรียนรู้ได้เหมาะสม 2. สาระสำคัญ แหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ มีที่มาจากหลายทาง ถ้าเรารู้จักติดตามและรับ ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์จากสื่อต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของแหล่งข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง (K) 2. ผู้เรียนติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และเลือกรับและใช้ข้อมูล ข่าวสารในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และ เลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เช่น วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แหล่งข่าวต่างๆ สถานการณ์จริง • หลักการเลือกรับและใช้ข้อมูล ข่าวสารจากสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อที่ไร้พรมแดน 4.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา


5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข่าวและเหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่าน มา แล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่า ข่าวและเหตุการณ์เหล่านั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และ สรุปข้อคิดที่ได้จากข่าว 2. ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมกับนักเรียนว่า “ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนมีที่ แหล่งที่มาจากหลายช่องทาง ดังนั้นทุกคนจึงต้องรู้จักเลือกรับข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพราะจะมีผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต” ขั้นสอน 1. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แต่ละกลุ่มร่วมกับศึกษาความรู้จากหนังสือเรียนรายวิชา พื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ ของพลเมืองดี เรื่องที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ PowerPoint เรื่อง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ หรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยมีประเด็นให้ศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) แหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ - ลักษณะสำคัญของแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ - ข้อดีและข้อบกพร่องของแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ 2) หลักการเลือกรับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ 2. สมาชิกแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ศึกษาได้มาร่วมกันสรุปให้เป็นความคิดรวบยอดของกลุ่ม แล้วบันทึก ข้อมูลที่สรุปได้เป็นแผนผังความคิดลงในกระดาษฟลิปชาร์ท พร้อมออกแบบวิธีการนำเสนอข้อมูล ที่น่าสนใจ 3. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน กลุ่มที่เป็นผู้ฟังร่วมกันอภิปรายและเสนอแนะข้อมูล ที่แตกต่างเพิ่มเติม โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะที่ทำให้ข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์ มากขึ้น 4. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่มีประโยชน์ โดยการร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ ในประเด็นที่กำหนดในใบงาน ได้แก่ ลักษณะสำคัญของเหตุการณ์


แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบหรือเกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาอย่างไร 5. ตัวแทนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมานำเสนอผลการทำใบงานที่ 2.3.1 หน้าชั้นเรียน สมาชิกกลุ่มที่เป็นผู้ฟัง ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะ ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ และหลักการเลือก รับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ จากสื่อที่ไร้พรหมแดน 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ 2) PowerPoint เรื่อง แหล่งข้อมูลข่าวสาร ข่าวสาร และเหตุการณ์ 3) ใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่มีประโยชน์ 4) กระดาษฟลิปชาร์ท 6) กระดาษ A4 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของ แหล่งข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง (K) แบบทดสอบก่อน เรียน ตรวจแบบทดสอบ ก่อนเรียน ประเมินตามสภาพจริง 2.ผู้เรียนติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ใน ชีวิตประจำวัน และเลือกรับและใช้ ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้ อย่างเหมาะสม (P) ใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ที่มี ประโยชน์ ตรวจใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ที่มี ประโยชน์ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญในการ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสาร ในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม (A) แบบประมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


ใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่มีประโยชน์ คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาข่าว เรื่อง ธารน้ำแข็งละลาย แล้วตอบคำถามที่กำหนด 1. เหตุการณ์ในข่าวเกี่ยวกับเรื่องอะไร 2. ที่มาของแหล่งข้อมูลมาจากแหล่งใดบ้าง 3. เหตุการณ์นี้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะเหตุใด 4. เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างไร


ตัวอย่างข่าว เรื่อง ธารน้ำแข็งละลาย แหล่งข่าวที่ 1 ไอซ์แลนด์อาลัย ธารน้ำแข็ง “โอคโยคุลล์” อายุ 700 ปี ละลายหมดเซ่นโลกร้อน ประชาชนจำนวนมากรวมตัวกันเพื่อปักป้ายข้อความแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ แห่งแรกของประเทศ อันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน สำนักข่าว บีบีซี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ส.ค. 2562 ว่า ประชาชนจำนวนมากไปรวมตัวกันที่ประเทศไอซ์แลนด์เพื่อแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียธารน้ำแข็ง ‘โอค-โยคุลล์’ ซึ่งมีอายุถึง 700 แต่ถูกประกาศว่าตายจากสถานะความเป็นธารน้ำแข็งเมื่อปี 2557 และละลาย จนแทบไม่เหลือน้ำแข็งอีกในปีนี้ นายกรัฐมนตรี คาทริน ยาคอบส์ดอตตีร์ แห่งไอซ์แลนด์, รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม กูดมุนดูร์ อินกี กูดบรันด์ซอน และนางแมรี โรบินสัน อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์ เดินทางมาร่วมพิธีรำลึกครั้งนี้ด้วย โดยหลังจากพิธีเปิด ผู้คนจำนวนมากก็เดินทางขึ้นภูเขาไฟ ‘โอค’ อันเป็นที่ตั้งของธารน้ำแข็งโอคโยคุลล์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของกรุงเรคยาวิก เพื่อวางแผ่นป้ายส่งข้อความถึงชนรุ่นหลัง “โอคเป็นธารน้ำแข็งแห่งแรกของไอซ์แลนด์ที่สูญเสียสถานะความเป็นธารน้ำแข็ง” ป้ายดังกล่าวระบุว่า “อีก 200 ปีข้างหน้าธารน้ำแข็งหลักทั้งหมดก็คาดว่าจะประสบชะตากรรมเดียวกัน อนุสรณ์นี้มีเพื่อยอมรับว่า เรารู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และรู้ว่าจำเป็นต้องทำอะไร มีแต่พวกคุณเท่านั้นที่รู้ว่าเราทำหรือไม่” ทั้งนี้ นายออดดูร์ ซีกูร์ดสัน นักวิทยาธารน้ำแข็ง จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาไอซ์แลนด์ ซึ่งประกาศให้ โอคโยคุลล์เสียสถานะธารน้ำแข็งในปี 2557 เนื่องจากความหนาไม่พอที่จะเคลื่อนที่ได้แล้ว โดยนายซีกูร์ดสัน คอยถ่ายรูปธารน้ำแข็งในประเทศมาตลอด 50 ปีที่ผ่านมาและสังเกตเห็นในปี 2546 ว่า น้ำแข็งเริ่มละลาย ก่อนที่มันจะทับถมกันที่โอคโยคุลล์ “ในที่สุดผมก็คิดว่ามันน้อยเกินไปจนผมต้องขึ้นไปบนนั้นเพื่อดูด้วยตาตัวเอง ซึ่งผมได้ทำในปี 2557” นายซีกูร์ดสันกล่าวว่า“ธารน้ำแข็งไม่ขยับเลย มันหนาไม่พอที่จะมีชีวิต เราเรียกเรื่องแบบนี้ว่า น้ำแข็งที่ตายแล้ว” นายซีกูร์ดสันอธิบายอีกว่า เมื่อมีน้ำแข็งทับถมมากพอ แรงกดดันจะทำให้ธารน้ำแข็งทั้งผืนเคลื่อนที่ “นั่นคือ เส้นแบ่งระหว่างธารน้ำแข็งกับไม่ใช่ธารน้ำแข็ง มันต้องหนา 40-50 เมตร เพื่อให้ถึงขีดจำกัดของแรงดันนั้น” นายซีกูร์ดสัน ยอมรับด้วยว่า เขารู้สึกประหลาดใจเล็กน้อยที่ข่าวการตายของธารน้ำแข็ง โอคโยคุลล์ได้รับ ความสนใจเพียงน้อยนิดหลังจากประกาศเมื่อปี 2547 นักอุตุนิยมวิทยาผู้นี้ยังเคยจัดทำรายการธารน้ำแข็งใน ไอซ์แลนด์เมื่อปี 2543 พบว่ามีธารน้ำแข็งมากกว่า 300 แห่งอยู่ทั่วไอซ์แลนด์ แต่ในปี 2560 ธารน้ำแข็งขนาด เล็ก 56 แห่งละลายหายไปแล้ว แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/1640623 19 สิงหาคม 2562


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ เวลา 4 ชั่วโมง เรื่อง ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ เวลา 1 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 5. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.6/5 ติดตามข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เลือกรับและใช้ข้อมูล ข่าวสาร ในการเรียนรู้ได้เหมาะสม 2. สาระสำคัญ การเลือกรับข้อมูล ข่าวสาร หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลดีต่อการนำข้อมูล ข่าวสาร หรือเหตุการณ์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนอธิบายประโยชน์ที่ได้จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ได้(K) 2. ผู้เรียนเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้อย่าง เหมาะสม (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.2 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ 4.3 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. อาสาสมัครนักเรียน 2-3 คน ออกมาเล่าข่าวหรือเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นข่าวหรือเหตุการณ์ที่เชื่อถือได้และ เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ในชั้นเรียนทุกคน คนละ 1 เรื่อง โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและ แหล่งที่มาของข่าว หรือเหตุการณ์ 2. นักเรียนในชั้นเรียนร่วมกันอภิปรายเมื่อจบการเล่าข่าวหรือเหตุการณ์จากอาสาสมัครแต่ละคนว่า ข่าว หรือเหตุการณ์นี้มีประโยชน์ต่อนักเรียนหรือไม่ อย่างไร 3. เมื่อจบการเล่าข่าวหรือเหตุการณ์ และการอภิปรายแล้ว ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า“ใน การเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ถ้าเราเลือกรับข้อมูล ข่าวสารที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสม กับตัวเรา ก็จะทำให้เราสามารถนำข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้” ขั้นสอน 1. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นให้สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกัน ศึกษาความรู้เรื่อง ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ PowerPoint เรื่องประโยชน์ จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 2. สมาชิกในแต่ละกลุ่มนำข้อมูลความรู้ที่ศึกษาได้มาสนทนาร่วมกันและช่วยกันยกตัวอย่างประกอบ เพื่อขยายความเกี่ยวกับประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ แต่ละ ประเด็น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเขียนเป็นแผนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ ประโยชน์จาการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการต่างๆ 3. ครูสุ่มตัวแทน 3-4 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มอื่นๆ ที่มีประเด็นหรือข้อมูลที่ แตกต่างออกมานำเสนอข้อมูลส่วนที่แตกต่าง โดยมีครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและให้คำแนะนำ เพิ่มเติม ขั้นสรุป 1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ จากนั้น นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบที่ 3 ในหนังสือเรียน เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับเรื่อง รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 3 รู้เท่าทันข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์


2) PowerPoint เรื่อง หลักการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร 3) ใบงานที่ 2.3.3 เรื่อง ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต 9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนอธิบายประโยชน์ที่ได้จาก การติดตามข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ได้ (K) ใบงานที่ 2.3.3 เรื่อง ประโยชน์จาก การติดตามข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ตรวจใบงานที่ 2.3.3 เรื่อง ประโยชน์จากการ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2.ผู้เรียนเลือกรับและใช้ข้อมูล ข่าวสารให้เกิดประโยชน์ในการ เรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม (P) แบบประเมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประเมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นประโยชน์และ ความสำคัญของการเลือกรับและ ใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้ อย่างเหมาะสม (A) แบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ตรวจแบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


ใบงานที่ 2.3.3 เรื่อง ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับข่าว หรือเหตุการณ์ตามที่กำหนดคนละ 1 ประเด็น แล้ว ตอบ ตอบคำถามตามที่กำหนด 1. ข่าว หรือเหตุการณ์ที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใด 2. ข้อมูลในข่าว หรือเหตุการณ์มีเนื้อหาอย่างไร 3. ที่มาของข่าว หรือเหตุการณ์มาจากแหล่งใด 4. ข้อมูลในข่าว หรือเหตุการณ์เหตุการณ์นี้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะเหตุใด 5. การติดตามข่าว หรือเหตุการณ์นี้ มีประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติอย่างไรบ้าง ต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ


แบบประเมินการนำเสนอผลงาน กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. นำเสนอเนื้อหาในผลงานได้ถูกต้อง 2. การลำดับขั้นตอนของเนื้อเรื่อง 3. การนำเสนอมีความน่าสนใจ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม 5. การตรงต่อเวลา รวม ลงชื่อ............................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่ (ชื่อกลุ่ม).............................................................. สมาชิกในกลุ่ม 1..........................................................2.......................................................... 3..........................................................4.......................................................... คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 4 3 2 1 1. การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 3. การให้ความร่วมมือในการทำงาน 4. การแสดงความคิดเห็น 5. การยอมรับความคิดเห็น รวม ลงชื่อ.................................................................ผู้ประเมิน .................../................../.................. เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ให้ 4 คะแนน (ดีมาก) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ให้ 3 คะแนน (ดี) พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 2 คะแนน (ปานกลาง) พฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน (ปรับปรุง)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ส16101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง เวลา 6 ชั่วโมง เรื่อง เรียนรู้วัฒนธรรม เวลา 1 ชั่วโมง วันที่ ....................................................................... ผู้สอน นางสาวเบญจวรรณ เหล่าพิไล 6. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ป.6/2 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและดำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม 2. สาระสำคัญ วัฒนธรรมเป้นสิ่งที่มีคุณค่าและความสำคัญเป็น แบบแผนในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงควรช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมด้วยวิธีการที่เหมาะสม 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เชิงพฤติกรรม) 1. ผู้เรียนวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามกาลเวลาและวิธีการดำรงรักษาวัฒนธรรมได้ อย่างถูกต้อง (K) 2. ผู้เรียนเสนอแนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทยได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและการดำรงรักษาวัฒนธรรม (A) 4. สาระการเรียนรู้ 4.4 สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ความหมายและประเภทของวัฒนธรรม • การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาที่มีผลต่อตนเองและสังคมไทย • แนวทางการธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย 4.5 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น • พิจารณตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการวิเคราะห์


2) ทักษะการรวบรวมข้อมูล 3) ทักษะการเปรียบเทียบ 4) ทักษะการใช้เหตุผล 5) ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 2.ความสามารถในการสื่อสาร 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 4. รักความเป้นไทย 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามประจำเรื่องที่ 4 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง หน่วยเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของ พลเมืองดี ในหนังสือเรียน โดยมีประเด็นคำถามดังต่อไปนี้ • ประเพณีไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตหรือไม่ อย่างไร 2. นักเรียนร่วมกันร้องเพลงวัฒนธรรมนำไทย เพลงวัฒนธรรมไทย หรือเพลงเอกลักษณ์ไทย ตามคลิปวิดีโอ ที่ครูเลือกมาเป็นตัวอย่าง แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงที่ครูได้ เปิดให้ฟังตามประเด็นคำถามดังต่อไปนี้ • บทเพลงดังกล่าวมีเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับอะไรบ้าง • นักเรียนได้ข้อคิดจากบทเพลงดังกล่าวอย่างไรบ้าง • นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดที่สอดคล้องกับเป้าหมายของบทเพลง 3.ครูอธิบายเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรมให้นักเรียนเข้าใจว่า “วัฒนธรรมเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมีความ แตกต่างกัน และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นเราควรช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ คงอยู่คู่กับชาวไทยตลอดไป” ขั้นสอน 1. นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 6 คน จากนั้นสมาชิกแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 3 คู่ เพื่อร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง เรียนรู้วัฒธรรม จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 4 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม เรื่อง การ เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามการเวลา เรื่อง แนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย หรือ แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยกำหนดให้แต่ละคู่ค้นคว้าความรู้คู่ละ 1 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ คู่ที่ 1 ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของวัฒนธรรม คู่ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม คู่ที่ 3 แนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย


2. สมาชิกแต่ละคู่ของกลุ่มผลัดกันนำความรู้ที่ได้ศึกษามาอธิบายให้สมาชิกคู่อื่นๆ ในกลุ่มของตนเองฟัง โดยกำหนดให้เล่าตามลำดับจากคู่ที่ 1-3 และให้แต่ละคู่ผลัดกันซักถามข้อสงสัย และร่วมกันสรุป ความรู้ที่ได้เป็นแผนผังความคิด 3.ครูสุ่มตัวแทนกลุ่ม 2-3 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มที่มีผลงานแตกต่างจากกลุ่ม ที่เป็นตัวแทนออกไปนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม 4.สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลา กลุ่มละ 5 คำถาม พร้อมเฉลยคำตอบ จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่เตรียมไว้มาถามเพื่อนกลุ่มอื่น โดย ให้หมุนเวียนกันถามและตอบ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ถาม กลุ่มที่ 2 ตอบ กลุ่มที่ 4 ถาม กลุ่มที่ 5 ตอบ กลุ่มที่ 2 ถาม กลุ่มที่ 3 ตอบ กลุ่มที่ 5 ถาม กลุ่มที่ 1 ตอบ กลุ่มที่ 3 ถาม กลุ่มที่ 4 ตอบ 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มจะถามคำถามและตอบคำถามในจำนวนข้อที่เท่ากัน กลุ่มผู้ถามจะเป็นผู้เฉลย โดย ครูคอยตรวจสอบความถูกต้องและตัดสินคำตอบ กลุ่มที่ตอบคำถามถูกต้องมากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ ขั้นสรุป 1)นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลา และการธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม และเสนอแนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทยได้อย่าเหมาะสม 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชุดแม่บทมาตรฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6 หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี เรื่องที่ 4 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง 2) PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม 3) PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามการเวลา 4) PowerPoint เรื่อง แนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย 5) เพลงวัฒนธรรมนำไทย เพลงวัฒนธรรมไทย หรือเพลงเอกลักษณ์ไทย 6) ใบงานที่ 2.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลา 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1.อินเทอร์เน็ต


9. กระบวนการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล 1.ผู้เรียนวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตาม กาลเวลาและวิธีการดำรงรักษา วัฒนธรรมได้อย่างถูกต้อง (K) ใบงานที่ 2.4.1 เรื่อง การเปลี่ยน แปลงวัฒนธรรม ตามกาลเวลา ตรวจใบงานที่ 2.4.1 เรื่อง การ เปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมตาม กาลเวลา ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2.ผู้เรียนเสนอแนวทางการดำรง รักษาวัฒนธรรมไทยได้อย่าง เหมาะสม (P) แบบประเมินการ นำเสนอ ตรวจแบบประเมิน การนำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ 3.ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตาม กาลเวลาและการดำรงรักษา วัฒนธรรม (A) แบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล ตรวจแบบสังเกต พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์


ใบงานที่ 2.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลา คำชี้แจง : ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพที่กำหนด แล้วนำไปเป็นข้อมูลในการตอบคำถามที่กำหนด วัฒนธรรม ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 1. ด้านการแต่งกาย 2. ด้านดนตรี 1. ด้านที่พักอาศัย 2. ด้านการทำนา


1. ชุดทั้ง 2 ชุด แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในเรื่องใดและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร 2. การเปลี่ยนแปลงตามภาพดังกล่าวส่งผลต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ 3. นักเรียนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามภาพดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด 4. นักเรียนคิดว่าเราควรมีส่วนร่วมธำรงรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเหมาะสมได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง


Click to View FlipBook Version