The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ศูนย์โยธวาทิตในโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษา เพื่อโอกาสทางการศึกษาต่อ
และสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชนแบบยั่งยืน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by lbrdesign2, 2022-08-04 00:40:53

หลักการพัฒนาวงโยธวาทิตขั้นนำ

ศูนย์โยธวาทิตในโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษา เพื่อโอกาสทางการศึกษาต่อ
และสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชนแบบยั่งยืน

คำนำ

เอกสารท่ีทรงคุณค่าชุดนี้เกิดจากการประมวลประสบการณ์การถอดบทเรียนความสำเรจ็ และ/หรือท่ีต้อง
ทบทวน (Lesson Learned) รวมถึงผลสำรวจความต้องการจำเป็นของพื้นที่ของโครงการผลงานวิชาการ
เพื่อสังคม: การจัดตั้งศูนย์วิชาการโยธวาทิตในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อโอกาสทางการศึกษาต่อและสร้าง
ภูมิคุ้มกันแก่เยาวชนแบบยั่งยืน จ.สระบุรี ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558-2561 โดยได้รับการสนับสนุนจาก
โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ได้ใช้รูปแบบ (Model) CU MUSIC Edu.
Alumni ในการทดลองดำเนินการภายใต้กรอบกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ 1) พัฒนาทักษะความเป็นเลิศด้านดนตรี
2) ให้มุมมองที่ดีในการดำเนินชีวิต 3) สร้างหลักคิดสำนึกรักบ้านเกิด โดยมีนิสิตเก่าสาขาวิชาดนตรีศึกษา
ภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศกึ ษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั เป็นผูน้ ำกรอบแนวคิดและวธิ ี
วิทยาที่ออกแบบโดยโครงการไปขับเคล่ือนซ่ึงมีรายชื่อนิสิตเกา่ ฯ ประกอบไปด้วย 1) นายประพันธ์พงษ์ มณีวงศ์
CU MUSIC Edu รุ่น 32 2) นายพศุตม์ ดวงจันทร์ CU MUSIC Edu รุ่น 33 3) นายพิชวัตร ธนสมบัติไพศาล CU
MUSIC Edu รุ่น 33 4) นายธรรมศกั ด์ิ หริ ัญขจรโรจน์ CU MUSIC Edu รุน่ 34 5) นายพงศว์ สิ ิษฐ์ สริ วิ ารนิ ทร์ CU
MUSIC Edu รุ่น 35 เปน็ ผ้ดู ำเนนิ การ

อนึ่ง เอกสารสำคัญทั้ง 6 เล่มนี้ ที่ประกอบไปด้วยเอกสารผลงานวิชาการเพื่อสังคม เล่มที่ 1 หลักการ
พัฒนาวงโยธวาทิตขั้นนำ เล่มที่ 2 รวมโน้ตเพลงประเภทเพลงพิธีการ เล่มที่ 3 โน้ตเพลงประเภทพัฒนาทักษะ
เลม่ ท่ี 4 รวมโน้ตประเภทนง่ั บรรเลง เลม่ ท่ี 5 รวมโนต้ เพลงประเภทเดินแถว/แปรขบวน และเล่มที่ 6 รวมแนวคิด
ทฤษฎี และโน้ตเพลงประเภทเตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อระดบั อุดมศึกษา ทางโครงการหวังว่าจะเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งสำหรับสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาหรือจัดตั้งวงโยธวาทิตในโรงเรียน รวมถึงเป็นเอกสารคู่มือในการ
บริหารจัดการวงโยธวาทิตตั้งแต่ระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงเตรียมการในการส่งไม้ต่อสำหรับนักเรียน/
นกั ศกึ ษาใน จ.สระบุรที ส่ี นใจหรือมุ่งมัน่ ทจ่ี ะศกึ ษาต่อด้านดนตรใี นระดบั อุดมศึกษาตอ่ ไป

ระยะเวลากว่า 4 ปี เป็นเครื่องชี้ชัดความสำเร็จสำหรับการดำเนินการในสถานศึกษา 3 แห่ง
ระดับมัธยมศึกษา อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วหลายคนศึกษาต่อด้านดนตรี และที่
สำคัญหลายคนมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะกลับมาช่วยสถานศึกษาของตนในการพัฒนารุ่นน้องและโรงเรียน
อย่างตอ่ เน่ือง สามารถคลายปัญหาความเสี่ยงต่าง ๆ ท่ีอาจจะเกดิ ขึ้นกับเยาวชนลงไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

ยทุ ธนา ฉพั พรรณรัตน์
หวั หนา้ โครงการ

สารบญั หน้า

วงโยธวาทติ 1
ประวตั ิวงโยธวาทิต 2
วงโยธวาทิตในโรงเรียนมธั ยมศึกษา 4
ลักษณะการจดั วงในรูปแบบการเดนิ แถว 5
เครื่องดนตรที ใ่ี ช้ในวงโยธวาทติ (เดินแถว) 8
ตัวอย่างการจดั แถวแบบที่ 1 กลุ่มเคร่ืองทองเหลืองอยหู่ นา้ วง 16
ตัวอยา่ งการจัดแถวแบบท่ี 2 กลมุ่ เครือ่ งเปาลมไมอ้ ยู่หนา้ วง 17
ตัวอย่างการจัดแถวแบบที่ 3 กลุ่มเคร่ืองกระทบอยู่หน้าวง 18
ท่าทางการถอื เคร่อื งดนตรี 20
ทา่ ทางการเดนิ แถวในวงโยธวาทิต 25
การจัดวงกลางแจ้ง 31
32
แนวทางการฝึกซ้อมแบบฝึกหัด 33
สง่ิ ที่ตอ้ งคานงึ ก่อนการซอ้ ม 35
ขน้ั ตอนและวิธีการซ้อมแบบฝึกหัด 40
ตวั อยา่ งการซอ้ มแบบฝึกหดั 46
47
วงซิมโฟนิกแบนด์ (Symphonic band) 47
บทบาทหนา้ ทีข่ องวงซมิ โฟนกิ แบนด์
องคป์ ระกอบของเคร่ืองดนตรใี นวงซิมโฟนิกแบนด์

สารบญั (ต่อ) หนา้

รปู แบบการจดั วงนง่ั บรรเลง 57
แนะนาแบบฝกึ สาหรบั วงซิมโฟนิกแบนด์ 59
59
Sound Innovation for Book 1 59
Measures of Success 60
Accent on Achievement 61
Essential Element for band 62
ศิลปะแหง่ การฝกึ ซ้อมดนตรี (Art of Practicing) 69
วิธีการฝึกซ้อมบทเพลงพระราชนพิ นธ์ เราสู้ 72
วธิ กี ารฝึกซอ้ มบทเพลง Omens of Love 76
วธิ ีการฝกึ ซอ้ มบทเพลง Because of you 80
อ้างอิง 81
บรรณานุกรม

สารบญั ภาพ หน้า
8
ภาพฟลูต 8
ภาพปกิ โกโล 9
ภาพบแี ฟลตคลารเิ นต 9
ภาพอลั โตแซกโซโฟน 10
ภาพเทเนอร์แซกโซโฟน 10
ภาพบารโิ ทนแซกโซโฟน 11
ภาพเฟรนซฮอรน์ 11
ภาพมารช์ ช่ิง เมลโลโฟน 12
ภาพทรมั เปต 12
ภาพทรอมโบน 13
ภาพยโู ฟเนียม 13
ภาพทูบา 14
กลองใหญ่ 14
กลองสแนร์ 14
กลองเทเนอร์, กลองทอม 15
ฉาบ 15
มารช์ ชง่ิ เบล 16
ตัวอยา่ งการจดั แถวแบบท่ี 1 กลุ่มเครือ่ งทองเหลอื งอย่หู น้าวง

สารบัญภาพ (ตอ่ ) หน้า

ตวั อย่างการจัดแถวแบบท่ี 2 กลุม่ เคร่อื งเปาลมไมอ้ ยู่หน้าวง 17
ตัวอยา่ งการจดั แถวแบบที่ 3 กล่มุ เคร่อื งกระทบอยู่หนา้ วง 18
Flute (Set up) 20
Flute (Horn up) 20
Clarinet (Set Up) 20
Clarinet (Horn up) 20
Saxophone (Set up) 21
Saxophone (Horn up) 21
French horn (Set up) 21
French horn (Horn up) 21
Trumpet (Set up) 22
Trumpet (Horn up) 22
Mellophone (Set up) 22
Mellophone (Horn up) 22
Euphonium (Set up) 23
Euphonium (Horn up) 23
Trombone (Set up) 23
Trombone (Horn up) 23

สารบญั ภาพ (ตอ่ ) หน้า
24
Tuba (Set up)
Tuba (Horn up) 24
ทา่ ทางการเดินแถวในวงโยธวาทิต 25
การเดนิ เล้ยี ว ช่วงท่ี 1 26
การเดนิ เลี้ยว ชว่ งท่ี 2 26
การเดนิ เลยี้ ว ชว่ งท่ี 3 27
การเดินเลี้ยว ชว่ งที่ 4 27
การเดนิ กลบั แถวหรอื การกลับตวั (Turn March) จงั หวะที่ 1 27
การเดินกลับแถวหรือการกลับตัว (Turn March) จังหวะที่ 2 28
การเดินกลับแถวหรือการกลับตวั (Turn March) จังหวะที่ 3 28
การเดินกลบั แถวหรอื การกลับตัว (Turn March) จังหวะที่ 4 28
ภาพการเล้ยี ว ท่ีใช้จังหวะ 16 ก้าว 29-30
ภาพการจดั วงกลางแจ้ง 31
ภาพการฝกึ ซอ้ มวอรม์ ลมของโรงเรยี นแกง่ คอย 35
ภาพแบบฝกึ หัด Full Band Exercise Balance 40
ภาพแบบฝกึ หัด Full Band Exercise Major Scale 42
ภาพแบบฝึกหัด Triplet & Sixteen Note 44
ตัวอยา่ งที่ 1: รปู ภาพวง Tokyo Kosei Wind Orchestra 46

สารบัญภาพ (ตอ่ )

หนา้

ภาพปากเปา่ ของฟลตู ทีใ่ ชเ้ ป่าลมจากด้านข้าง 48

ภาพ ปากเปา่ ของรคี อร์ดเดอร์ทใี่ ช้ปากเปา่ ลมจากปลายทอ่ 48

ภาพฟลูต 49

ภาพปิกโกโล 49

ภาพลักษณะของปากเปา่ แบบล้ินเดยี ว 50

อแี ฟลตคลาริเนต 50

เบสคลารเิ นต 50

ภาพส่วนประกอบของปากเป่า (Mouth Piece) ในกลุ่มเคร่ืองดนตรีแบบล้นิ คู่ (Double Reed) 51

ภาพลกั ษณะลาโพงของโอโบ 52

ภาพลกั ษณะลาโพงของคลาริเนต 52

ภาพบาสซูน 52

ภาพลกั ษณะกาพวดของฮอรน์ 52

ภาพลักษณะกาพวดของทรัมเปต 52

ภาพระบบลกู สบู (Piston Valve) 53

ภาพระบบบังคับลิ้นหมุน (Rotary Valve) 53

ภาพลกั ษณะของสไลดท์ รอมโบน 53

ภาพลกั ษณะของกอ๊ กเคนสปลิ 54

ภาพลกั ษณะของไซโลโฟน 54

สารบัญภาพ (ตอ่ ) หนา้

ภาพลักษณะของมารมิ บ้า 55
ภาพลักษณะของระฆังราว 55
ภาพลกั ษณะของทิมปานี 55
ภาพลกั ษณะของ Tam tam 56
รปู แบบการจดั วงซิมโฟนกิ แบนด์ 57
รูปแบบการจัดวงออร์เคสตร้า 57
การจัดวงน่งั บรรเลง แบบ Huron Concert 58
Sound Innovation for Book 1 59
Measures of Success 59
Accent on Achievement 60
Essential Element for band 61
ตัวอย่าง Score เราสู้ 69
ตวั อยา่ ง Score Omen of love 72-74
ตัวอยา่ ง Score Because of you 76-79

วงโยธวาทิต
ความหมายของวงโยธวาทิต

โยธวาทิต ตามพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “วงดนตรีท่ีบรรเลงโดยทหารซึง่ มาจากคำว่า
โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคําว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตร”ี (สยามกลการ, 2535: ไม่ปรากฏเลข
หน้า) โยธวาทิต “เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน” (สุกรี เจริญสุข,
2539: 45)

ส่วนในรากศัพท์ภาษาองั กฤษใช้คําวา่ Military Band โดยคําว่า Military นั้นหมายถึงกองทัพสว่ นคําว่า
Band มาจากคำว่า Banda (ในภาษาอิตาเลยี น) ใช้เรียกวงดนตรปี ระเภทหน่งึ ทผ่ี สมวงโดยเครอ่ื งดนตรหี ลักๆ ดว้ ย
กนั 3 กลมุ่ คือ

1. กล่มุ เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
2. กลมุ่ เคร่ืองลมทองเหลอื ง (Brass Instruments)
3. กล่มุ เครอื่ งกระทบ (Percussion Instruments)
วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรสี ําหรบั ทหาร มจี ุดประสงคใ์ นการใช้งาน คือการรอ้ งเพลงเดนิ เทา้ เข้าสู่สนามรบ
ของทหาร บทบรรเลงส่วนใหญ่จะเปน็ เพลงมาร์ช (March) หรือใชป้ ระกอบการสวนสนามของทหารเพื่อปลกุ ใจใน
ยามสงครามหรือประกอบพิธีต่าง ๆ ของทหาร โดยเฉพาะมีผู้บรรเลงจํานวนมากโดยมีเครื่องดนตรีจําพวกแตร
ทรมั เปต็ (Trumpet) เปน็ เครอื่ งนาํ (สยามดนตรียามาฮ่า, 2535: ไมป่ รากฏเลขหนา้ ) “แตรทรัมเปต” ทีเ่ ปน็ เครอ่ื ง
ดนตรีนําขบวนนนั้ มีช่อื เรยี กแตกต่างกนั ขึน้ อย่กู ับชนกลมุ่ ใดเรยี ก เช่น แตรงอน, Alphorn, Buisine, Lituus, Slide
Trumpet หรอื ทรมั เป็ตทีใ่ ช้ในรัชกาลที่ 1 แหง่ กรุงรัตนโกสินทร์เรยี กว่า “แตรวิลันดา” (สุกรี เจริญสขุ 2539:25)
กลา่ วถงึ แตรวิลันดา ซึ่งเชื่อวา่ เปน็ แตรฝรัง่ ทชี่ าวฮอลันดานําเข้ามาเป็นชาติแรกในกรุงสยามจงึ เรียกว่าแตรวิลันดา
คาํ วา่ วิลนั ดาน้ันน่าจะหมายถงึ ฮอลันดา" เสยี งแตรท่ีเป่าจะเป็นสญั ญาณทใ่ี ช้ต่างกันตามโอกาส เชน่ สัญญาณท่ีให้
ทหารบุกโจมตี สัญญาณรวมพล สัญญาณแจ้งเหตุ หรอื ใชใ้ นกจิ กรรมต่างๆ เช่น เพลงเดนิ เพลงรุก เพลงรบ เพลง
ถอย เป็นต้น

1

ประวัตวิ งโยธวาทิตในประเทศไทย
สุกรี เจริญสุข (2538:214) กล่าวพอสรุปได้ว่าความเป็นมาของวงโยธวาทติ ในประเทศไทยนั้นสันนษิ ฐาน
ว่าเริ่มเขา้ มาในสมยั รัชกาลที่ 4 ในราวปี พ.ศ. 2395 แต่ลักษณะของวงไมเ่ หมือนกับในปจั จบุ ัน วงโยธวาทิตยุคแรก
มีลักษณะเป็นแตรวง หรือแกรวง (Brass Band) ความหมายตามขอ้ สันนิษฐานว่า จะเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยิน
เหมือนกับเครอ่ื งดนตรีอนื่ ๆ ที่คนไทยนิยมเรยี กกัน เช่น ได้ยินเสยี งว่า “ฉ่ิง” ก็เรยี กช่ือว่า “ฉ่งิ ” ได้ยินว่า “กรบั ” ก็
เรียกชื่อวา่ "กรบั " เปน็ ต้น ส่วนแตรนั้น บางทกี เ็ รยี กวา่ “แกร” บางทีก็เรียกวา่ “แตร” น่าจะไดย้ นิ เสียงเป่ากาํ พวด
ดัง "แพร แพร" ก่อนเพราะอาการที่ลิ้นสะบัดระรัวเสียงออกมาดัง "แพร แพร" แล้วกลายมาเป็น “แกร” หรือ
“แตร” ในภายหลัง
“ในสมยั รชั กาลที่ 4 การทหารของไทยได้รบั การฝกึ อย่างตา่ งชาติและไดใ้ หจ้ ดั ต้ังกองทหารเกณฑห์ ัดอยา่ ง
ฝรั่งผู้ที่ได้รับการฝึกส่วนมากเปน็ ชายฉกรรจ์ที่มีเชื้อสายของชาติเพื่อนบ้าน” (กองดุริยางค์ทหารบก, 2529: ไม่
ปรากฏเลขหน้า) จากจุดนี้เองทําให้เกิดแตรวงสมัยแรก ๆ ขึ้นในเมืองไทย เป็นดนตรีสําหรับบรรเลงประกอบ
กจิ กรรมของทหาร “ครฝู ึกทหารทเี่ ข้ามาช่วยฝึกให้นน้ั เปน็ นกั เปา่ แตรที่เคยประจาํ อยูใ่ นกองทัพองั กฤษ ณ ประเทศ
อนิ เดีย (เปน็ รชั สมยั ของสมเดจ็ พระนางเจ้าวิคตอเรยี พระบรมราชินีนาถแหง่ องั กฤษ) คอื รอ้ ยเอกอมิ เปย์ (Impay)
และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) ได้นําแตรเดี่ยวเข้ามาและสอนใหก้ ับทหารไทย” (สยามดนตรียามาฮ่า,
2535: ไม่ปรากฏเลขหน้า)
ยุคแรกคนไทยไม่ได้อย่ใู นกลุ่มทหารเกณฑห์ ดั อยา่ งฝรัง่ เพราะผู้ท่เี ขา้ มาฝกึ มักนบั ถือ ศาสนาคริสต์สามารถ
พดู ภาษาอังกฤษหรอื ฝรงั่ เศสได้เพราะมีความใกลช้ ดิ กบั ฝรง่ั เศสมากอ่ นทหารเกณฑห์ ัดอยา่ งฝรง่ั เม่อื ฝกึ เดินแถวหรอื
เมื่อจะเคารพธงตลอดจนแสดงความเคารพนายทหารผู้มียศสูงมักใช้แตรสัญญาณอย่างฝรั่งประกอบกับในสมัย
รัชกาลที่ 4 มีเรือรบของตา่ งชาติเข้ามาเจรญิ สัมพนั ธไมตรีกับประเทศไทยหลายครงั้ ทุกครั้งทเี่ รอื รบเข้ามาคนไทยก็
ได้เห็นทหารเรือของชาติเหลา่ น้นั บรรเลงแตรวงประจำ จึงเปน็ จุดเรม่ิ ต้นที่ประเทศไทยมี
ทหารแตรนำขบวนเสด็จ คือ “กรมทหารหน้า” เกิดขึ้นแต่เนื่องจากสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีเพลง
สําหรับบรรเลงคํานบั ประกอบพระเกียรตยิ ศ เมื่อทหารองั กฤษเขา้ มาสอนคนไทยใหเ้ ปา่ แตรจงึ ต่อเพลง “สรรเสรญิ
พระบารมอี ังกฤษ” คอื เพลง God Save the Queen เป็นเพลงบรรเลงถวายพระเกียรติยศ เพลง God Save the
Queen จึงเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงแรกของประเทศไทยมีการประพันธ์ เนื้อร้องเป็นภาษาไทยใช้ช่ือ
เพลงวา่ “จอมราชจงเจริญ” โดยพระศรีสุนทรโวหาร (นอ้ ย อาจารยางกูร) การประพันธ์เปน็ รปู แบบโคลงส่สี ุภาพ
เพลงจอมราชจงเจริญ ใช้มาจนเกดความเคยชินจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รชั กาลท่ี 5 ซึง่ เสดจ็ ครองราชย์สมบัติ (ประพันธ์ นิชโรจน์, 2537: 17)

2

ในปีพ.ศ. 2413 พระองค์เสด็จพระราชดําเนินทางชลมารคประพาสเกาะสิงคโปร์และเมืองปัตตาเวีย
(ปัจจุบนั คอื เมืองจารก์ ารต์ า ประเทศอนิ โดนีเซีย) เมอื่ เสด็จพระราชดําเนินถึงเกาะสงิ คโปร์ ทหารกองเกยี รตยิ ศก็ทาํ
เพลง God Save the Queen ถวายเป็นเพลงต้อนรับคนไทย ท่ีฟังไม่รู้สึกแปลกเพราะเคยชินมานานแต่ครั้งถึง
เมืองปัตตาเวีย ทหารกองเกียรติยศของฮอลนั ดาได้มาขอเพลงคำนับของไทยเพื่อรับเสด็จฯ จึงเปน็ เหตุใหค้ นไทย
เห็นความสำคัญของเพลงคำนับ คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงทแ่ี สดงถึงความเป็นเอกราชและชาติภูมิ
ของไทยเราโดยแท้ (กองดุรยิ างค์ทหารบก, 2529 : ไม่ปรากฏเลขหนา้

ในปีพ.ศ. 2414 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวจึงได้เปลีย่ นมาเป็นเพลงบุหลันลอย
เล่ือนทางฝรั่งมาระยะหนึ่ง แล้วจึงเปลี่ยนมาเปน็ เพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งประพันธ์ทํานองโดยฮูวิทแซน
(Huvitzen) เนื้อร้องโดย สมเด็จเจา้ ฟ้ากรมพระยานรศิ รานวุ ัดติวงศ์ ภายหลงั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยู่
หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ไขเนื้อร้องบางคำ เพลงบุหลันลอยเลื่อนจงึ ได้เปล่ียนชื่อเป็น “เพลงสรรเสรญิ เสอื ป่า” ใน
เวลาต่อมา (ประพันธ์ นชิ โรจน์, 2537: 17)

ดนตรี สีแสด (2537: 13) กล่าวถึงแตรวงในประเทศไทยวา่ เดิมมีแตรวงทหารเรือกับแตรวงทหารบก
เท่านั้น ส่วนของเอกชนไมม่ ี มีแต่วงปี่พาทย์กับวงมโหรี แตรวงทหารเรือเล่นเพลงฝรง่ั เก่งเป็นท่ีหนึ่งเพราะครูเป็
นฝร่ัง สว่ นแตรวงของทหารบกเล่นเพลงไทยเก่งเป็นท่ีหนง่ึ เพราะครูเป็นคนไทย โดยมีคํากล่าวตอนหน่ึงว่า “เม่ือ
ครั้งทพี่ ระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั เสด็จประพาสพักแรมทพ่ี ระราชวงั บางปะอนิ วงแตรทหารบกและ
วงแตรทหารเรือต้องตามเสด็จฯไปด้วย และวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ทรงสําราญพระราชหฤทยั ได้มี
รับสั่งให้วงแตรวงทหารบกกับวงแตรวงทหารเรอื บรรเลงเพลงไทยแข่งขนั ถ้าใครชนะจะใหร้ างวัล...พอถึงเพลงชงิ
รางวัลก็ให้วงแตรวงทหารบกเป่าก่อนซึ่งการบรรเลงเพลงไทย วงแตรวงทหารบกนับว่าเป็นหนึ่งเพราะว่ามีครู
เป็นคนไทย ถ้าบรรเลงเพลงฝรั่งวงแตรวงทหารเรือจะบรรเลงไดด้ เี ย่ยี มเพราะมีครูเปน็ ฝรัง่ ”

ทหารเรือนั้นมีทหารแตรประจําเรือรบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เหมือนกัน แต่ยังไม่พบหลักฐานปที ี่เรม่ิ
ต้นกอ่ นทีจ่ ะตัง้ เปน็ กรมทหารเรอื สมัยนน้ั เรยี กว่า “กรมทหารแตรมะรีน” โดยมีรอ้ ยเอกฟสุ โก (Captain M.Fusco,
Band Master Royal Siamese Nave) เป็นครูและผู้บังคบั บัญชากรมทหารแตรมะรนี มีหนา้ ทีส่ ําหรับบรรเลงใน
งานเกียรติยศและสําหรับลงประจําเรอื พระที่นงั่ เวลาพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั เสดจ็ ประพาสทางทะเลทงั้ ใน
อ่าวไทยและในต่างประเทศ เช่น เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวเสด็จฯประพาสยโุ รปเป็น

3

คร้ังแรก เม่ือพ.ศ.2440 ทางราชการได้จัดหน่วยดรุ ิยางค ์ภายใต้บงั คบั บัญชาของร้อยเอกฟุสโกลงประจาํ เรือพระท่ี
นงั่ มหาจักรี เดนิ ทางไปยุโรปดว้ ย (พูนพศิ อมาตยกลุ , 2537: 76)

วงโยธวาทิตในโรงเรยี นมธั ยมศกึ ษา
วงโยธวาทิตเข้ามามบี ทบาทในโรงเรียนมธั ยมศึกษาเปน็ เวลานานโดยมีหลักฐานวา่ พ.ศ. 2461 กองแตรวง
กรมเสือป่าพรานหลวงและมา้ หลวงได้จัดตั้งขึ้นเป็นกองแตรวง 2 หน่วยต่างกันเพื่อประกอบกิจกรรของเสือป่า
(วัฒน์ เกิดสว่างและคนอื่นๆ, 2536:30) เมื่อมีการแข่งขันกีฬานักเรียนส่วนใหญ่ใช้วงโยธวาทิตเดินแถวนำขบวน
นักกีฬาเพอ่ื ความครึกคร้นื เร้าใจแรงกระต้นุ เพอื่ ใหเ้ กดิ การรวมพลงั ในระยะแรกมักเรยี กทบั ศัพท์วา่ วง “พาเหรด”
ในปีพ.ศ. 2524 กรมพลศกึ ษารว่ มกบั ธนาคารทหารไทยจดั ใหม้ ีการประกวดวงดรุ ิยางคล์ กู เสอื (7-8 มกราคม 2524
ณ สนามศุภชลาศัย) โดยความเหน็ ชอบของศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสมมาติน อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และปตี อ่ มากรมพลศึกษาจงึ เปลยี่ นชอื่ เปน็ “การประกวดวงโยธวาทิต” (กรมพลศึกษา, 2534: ไมป่ รากฏเลขหน้า)
คําว่า “โยธวาทิต” จึงเป็นที่แพร่หลายอีกครั้งหน่ึงหลังจากที่ได้ใช้ศัพท์ดนตรีประเภทน้ีอย่างผิดๆมาเป็นเวลาช้
านาน จนกลา่ วได้วา่ คาํ เรียกช่อื ตามความเคยชิน เชน่ วงแตรวงหรือวงดุรยิ างค์ ซงึ่ ถ้าศึกษาด้านองค์ประกอบของ
เครือ่ งดนตรจี ะพบว่าวงแตรวงน้นั มเี ครอ่ื งดนตรี 2 ตระกูลคอื เครอื่ งลมทองเหลืองและเครอ่ื งประกอบจังหวะ ส่วน
วงดุริยางค์มีเครื่องดนตรีครบทัง้ 4 ประเภทคือเครือ่ งสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบ
จังหวะ ดังนั้นตามประวัติความเป็นมาของวงโยธวาทิตที่กล่าวมาแล้วจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าวงโยธวาทิต
เป็นศัพท์เฉพาะท่ีมีองค์ประกอบของเคร่ืองดนตรี 3 ประเภทคือเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเคร่ือง
ประกอบจังหวะ สว่ นประโยชนท์ ่ีได้รับนอกเหนอื จากการใช้งานในกิจกรรมตา่ งๆแล้ว วงโยธวาทิตยังช่วยพัฒนาเด็ก
และเยาวชนของชาติทางดา้ นร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปญั ญา ทั้งยงั ส่งเสรมิ การใชเ้ วลาว่างให้เปน็ ประโยชน์
สรา้ งความมรี ะเบียบ วินยั ความสามัคคี ความพรอ้ มเพรียงของหมคู่ ณะ เปน็ การแสดงซ่งึ ศลิ ปวัฒนธรรมอันดีงาม
เป็นการสร้างคา่ ของเยาวชนใหเ้ ป็นพลเมืองที่มคี ณุ ภาพและสามารถนําความรูค้ วามสามารถไปใช้ในชวี ติ ประจําวัน
ได้ในอนาคต

4

ลักษณะการจัดวงโยธวาทติ ในรูปแบบการเดนิ แถว
รปู แบบการจดั วงโยธวาทติ สาํ หรับการเดินแถว (Marching) โดยทั่วไปน้นั มีอยู่ 2 รปู แบบ
ดว้ ยกันคอื แบบอเมริกนั และแบบองั กฤษ
การจัดวงแบบอเมริกัน

การจัดวงแบบน้ีจะเรยี งลาํ ดบั ประเภทของเครื่องดนตรีดงั ต่อไปนี้
1. เครื่องกระทบ(Percussion) ไดแ้ ก่ กลองใหญ่ กลองเล็กและฉาบ
2. เครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ ฟลุต คลารเิ นตและแซกโซโฟน
3. เคร่อื งลมทองเหลอื ง (Brasswind) ไดแ้ ก่ ฮอรน์ ทรมั เปต็ ทรอมโบน ยโู ฟเนียม และ
ทบู า (ไพรัช มากกาญจนกุล, 2531:53)

รูปแบบการจดั วงข้ึนอยู่กบั จาํ นวนผ้เู ล่นในแตล่ ะเครือ่ งเปน็ หลกั รปู แบบการจดั วง
โยธวาทิตในการเดินแถวแบบอเมริกันสามารถเขียนได้ดงั หมายเหตุภาพประกอบการจัดวงโยธ
วาทิตข้างต้นเป็นการจัดวงจาํ นวน 50 คนและใชอ้ ักษรยอ่ ในการแทนเคร่ืองดนตรตี า่ งๆดงั นี้

5

Per = Percussion
Fl = Flute
Cla = Clarinet
Sax = Saxophone
Tp = Trumpet
Hrn = Horn
Tb = Trombone
Eup = Euphonium
Tu = Tuba

การจดั วงแบบอังกฤษ
การจัดวงแบบนี้กลุ่มเครื่องดนตรีจะเหมือนกับการจัดวงเเบบอเมริกันแต่ต่างกันที่การเรียง

ประเภทเคร่ืองดนตรีดงั ตอ่ ไปน้ี คอื
1. เครื่องลมทองเหลือง (Brasswind) ได้แก่ ทรอมโบน ยโู ฟเนียม ทรมั เป็ต ฮอรน์ ส่วนทู
บาจัดไวแ้ ถวหลังสดุ ของวง
2. เครือ่ งกระทบ (Percussion) ไดแ้ ก่ กลองใหญ่ กลองเล็กและฉาบ
3. เครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซกโซโฟน คลารเิ นต ฟลุต (ไพรชั มากกาญจนกุล,
2531:53) รปู แบบการจัดวงโยธวาทติ ในการเดินแถวแบบองั กฤษสามารถเขียนไดด้ งั นี้

6

หมายเหตุภาพประกอบการจัดวงโยธวาทิตข้างต้นเป็นการจัดวงจํานวน 50 คนและใช้อักษรย่อในการแทนเคร่ือง
ดนตรตี ่างๆดังน้ี
Per = Percussion
Fl = Flute
Cla = Clarinet
Sax = Saxophone
Tp = Trumpet
Hrn = Horn
Tb = Trombone
Eup = Euphonium
Tu = Tuba

7

เครอ่ื งดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทติ ( เดนิ แถว )

1. เครอ่ื งเปา่ ลมไม้ (Woodwind)
1.1.ฟลตู (Flute)
เป็นเคร่อื งดนตรีสากลประเภทเครื่องเปา่ ลมไม้ ซง่ึ แตกตา่ งจากเครอื่ งเปา่ ลมประเภทอืน่ ๆ โดยฟลูต
กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน อยู่ในระดับ
เสยี งสงู ในบทเพลงทเี่ รียบเรยี งสำหรับวงโยธวาทติ ฟลตู มักจะทำหนา้ ทบ่ี รรเลงทำนอง

ภาพฟลูต
1.2. ปิกโกโล (Piccolo)

เปน็ เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเปา่ ลมไม้ รปู รา่ งคล้ายฟลูทแต่ขนาดเล็กกว่า และมีเสียงสูง
กว่า 1 octave จงึ ทำให้มเี สยี งทส่ี ดใสและแหลมมาก ด้วยโทนเสยี งทแี่ หลมสงู ของปิกโกโลน้เี องทำให้
เราสามารถ ท่ีจะไดย้ ินเสยี งปกิ โกโลไดอ้ ย่างชัดเจน ถึงแมว้ า่ เคร่ืองดนตรชี ้นิ อ่ืนจะบรรเลงอยู่กต็ าม

ภาพปกิ โคโล

8

1.3. บแี ฟลตคลารเิ นต (Bb Clarinet)
เปน็ เครือ่ งลมไมล้ ิน้ เด่ียวท่ีมีช่วงเสยี งทกี่ ว้าง สามารถบรรเลงได้เสยี งตำ่ จนถึงเสยี งสูงมากได้ ใน

ช่วงเสียงตำมีน้ำเสียงทน่ี ุ่มและลึก ช่วงเสียงกลางที่นวลและกว้าง เสียงสูงที่สดใสและแหลม ทำให้
คลารเิ นตสามารถเปน็ เคร่ืองทบ่ี รรเลงไดท้ ั้งทำนองและเสยี งประสาน

ภาพบแี ฟลตคลารเิ นต
1.3. อลั โตแซกโซโฟน (Alto Saxophone)

เป็นเครื่องลมไม้ล้ินเดี่ยวท่ีตัวเครือ่ งทำมาจากวัสดุที่เป็นทองเหลอื ง จึงเปน็ เครื่องเป่าลมไม้ที่ให้
เสียงดังกงั วาล

อัลโตแซกโซโฟนสามารถบรรเลงได้ในช่วงเสียงกลางและสูง มักจะทำหน้าที่เสียงประสานและ
เปน็ ทำนองในบางครง้ั

ภาพอัลโตแซกโซโฟน

9

1.5. เทเนอร์แซกโซโฟน ( Tenor Saxophone )
เป็นเคร่อื งลมไมล้ น้ิ เดี่ยวที่ตัวเครือ่ งทำมาจากวสั ดทุ ี่เป็นทองเหลอื ง จึงเปน็ เครอื่ งเปา่ ลมไม้ทใี่ หเ้ สยี งดงั

กงั วานมีขนาดใหญ่กว่าอัลโตแซกโซโฟน
เทเนอร์แซกโซโฟนสามารถบรรเลงได้ในช่วงเสียงกลางและต่ำ ทำหน้าที่บรรเลงเสยี งประสานและ

ทำนองในชว่ งเสยี งต่ำให้กบั วง

ภาพเทเนอรแ์ ซกโซโฟน
1.6. บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone)

เป็นเครื่องลมไม้ล้ินเดี่ยวที่ตัวเครือ่ งทำมาจากวสั ดุทีเ่ ปน็ ทองเหลือง จึงเป็นเครือ่ งเป่าลมไม้ทีใ่ ห้
เสียงดังกังวานมขี นาดใหญ่กวา่ เทเนอร์แซกโซโฟน

บารโิ ทนแซกโซโฟนจดั อยู่ในประเภทเครอื่ งเป่า ลมไมเ้ สยี งต่ำ ทำหนา้ ทีเ่ บสใหก้ ับวงโยธวาทิต

ภาพบาริโทนแซกโซโฟน

10

2. เครือ่ งเปา่ ทองเหลือง ( Brass )
2.1. เฟรนชฮอร์น ( French Horn )
1.2.เฟรนชฮอรน์ (French Horn)
เฟรนชฮอร์น เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง มีกำพวดขนาด
คอ่ นขา้ งเลก็ ฮอร์นใหเ้ สยี งกวา้ ง มพี ลัง และดงั เป็นเครื่องเปา่ ทองเหลอื งท่มี เี สยี งอย่ใู นชว่ งเสยี งกลาง
และสูง จะใชใ้ นวงโยธวาทิต และวงน่ังดรุ ิยางคเ์ ครือ่ งลม ทำหน้าท่ีบรรเลงเสียงประสาน และทำนอง

ภาพเฟรนซฮ์ อรน์
2.2. มารช์ ชง่ิ เมลโลโฟน (Marching Mellophone)

เป็นเครื่องดนตรปี ระเภทเครื่องลมทองเหลืองเสียงสงู เสียงคล้ายกับเสียงขอเฟรนชฮอรน์ นิยม
นำมาผสมในวงโยธวาทิต บรรเลงแนวเสียงเดียวกันกับเฟรนชฮอร์น รูปร่างคล้ายกับทรัมเปต แต่
ขนาดใหญก่ วา่ ทำใหป้ ากลำโพงไมย่ น่ื ยาวมากเกนิ ไป ใหเ้ สียงที่นุ่มและกวา้ ง

ภาพมารช์ ชิ่ง เมลโลโฟน

11

2.3. ทรัมเปต (Trumpet)

เปน็ เครอ่ื งดนตรสี ากลในกลุ่มเคร่ืองลมทองเหลืองเสียงสงู เชน่ เดียวกับเฟรนชฮอรน์ กำเนดิ เสียง
โดยอาศัยลมจากการเปา่ ของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก ทรัมเปตมีวิวัฒนาการมา
ยาวนานตง้ั แตส่ มัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณทีใ่ ชใ้ นการลา่ สตั วห์ รอื ในทางทหาร ปจั จุบันเป็น
เครื่องดนตรีทไี่ ดร้ บั ความนยิ มในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรปู แบบ เชน่ วงแจ๊ซ วง
โยธวาทิต วงดนตรลี กู ทุ่ง จนถงึ วงซิมโฟนีออร์เครสตร้า โดยมกั จะทำหน้าท่ีบรรเลงทำนองหลักให้กับ
วง

ภาพทรัมเปต

2.4. ทรอมโบน (Trombone)

เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเปา่ ทองเหลืองเสียงต่ำ เปลี่ยนเสียงโดยการเล่อื นสไลด์เข้า-
ออก นยิ มจะใชใ้ นวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุง่ รวมทั้งวงซิมโฟนอี อร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะ
ทำหน้าบรรเลงเสยี งประสาน และทำนองในทอ่ นเพลงทีต่ อ้ งการความดงั หรอื อารมณเ์ พลงที่ฮึกเหมิ

ภาพทรอมโบน

12

2.5. ยโู ฟเนียม (Euphonium)
เครอื่ งดนตรปี ระเภทเครือ่ งเป่าทองเหลืองเสยี งต่ำ ลักษณะเสยี งของยูโฟเนียมจะนมุ่ นวล ทุ้มลึก

และมีความหนักแน่นมาก ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมี
ลกู สบู 3 – 4 ลกู สบู มีกำพวดเปน็ รูปถว้ ย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสยี ง ยูโฟเนยี มมชี ว่ งเสยี งท่ี
กว้าง จึงสามารถบรรเลงได้ท้ังทำนอง เสยี งประสาน และทำหน้าทีเ่ บสในบางเพลง

ภาพยโู ฟเนยี ม
1.1.ทูบา

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองที่มีระดับเสียงต่ำสุด เครื่องเป่าทองเหลืองที่มีระดับ
เสียงต่ำเชน่ เดยี วกบั ทูบามอี กี คือ ซซู าโฟน (Sousaphone) ท่อลมของทูบามลี ักษณะบานออกมาตรง
ปลายเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วยมีลูกสูบ 3 หรือ 4 สูบ ทูบาที่นำมาใช้มากจะอยู่ในระดับ
เสียงอีแฟล็ตและบแี ฟล็ต มีเนอ้ื เสียงท่ที มุ้ ลกึ ทำหน้าทบี่ รรเลงเป็นเสียงเบสใหก้ ับวง

ภาพทูบา

13

2. เครอ่ื งกระทบ ( Percussion )
2.1. กลองใหญ่ ( Bass Drum )
กลองใหญม่ หี ลายขนาด ซ่ึงในวงโยธวาทติ นยิ มใช้ขนาด 18,20,22,24,26, น้วิ

2.2.กลองสแนร์ ( Snare Drum )

3.3. กลองเทเนอร์ ,กลองทอม ( Quint Tom)

14

3.4.ฉาบ ( Cymbals )
3.5. มาร์ชช่งิ เบล ( Marchig Bell).

15

การจัดแถวสำหรับเดินขวนของวงโยธวาทติ

การจดั แถวสำหรบั เดินขบวนในวงโยธวาทิตส่วนใหญจ่ ะจดั ตามกลุ่มเครือ่ งดนตรเี ป็นหลกั โดยจะใช้เคร่ือง
ดนตรีประเภทเดยี วกนั อย่ใู นแถวเดยี วกนั เพื่อใหไ้ ด้คณุ ภาพเสยี งที่ดีและมเี อกภาพ ซึง่ จะแบง่ เป็นกล่มุ เครอื่ งเป่าลม
ไม้ ( Woodwind ) เคร่อื งลมเป่าลมทองเหลอื ง ( Brass ) และเครอ่ื งกระทบ ( Percussion )

รปู แบบของการจัดแถวทัว่ ไปจะไม่กำหนดตายตัว ทัง้ น้ขี น้ึ อยกู่ ับจำนวนของนักดนตรี จดุ ประสงค์ของการ
บรรเลง และความสวยงาม ซึ่งจะเห็นได้ว่าวงโยธวาทิตในประเทศไทยบางวงนั้นจะเอาเครื่องกระทบอยู่แถว
ด้านหน้าเพอื่ ภาพทส่ี วยงาม วงโยธวาทติ ในประเทศอังกฤษนยิ มใช้เคร่ืองเป่าทองเหลืองอยู่แถวหน้าเพ่ือให้ได้ยิน
ความชัดเจนของบทเพลง หรอื ใช้กลุ่มเครอ่ื งเป่าลมไม้อยแู่ ถวหนา้ เพื่อให้ไดย้ นิ เสยี งเครอ่ื งเป่าลมไมท้ ่ชี ัดเจนมากข้นึ
ก็ได้ ซง่ึ ทัง้ น้ีการจัดแถวควรคำนงึ ถึงความสมดลุ ของเสยี งเปน็ หลกั

ตัวอยา่ งการจัดแถวแบบที่ 1 กลมุ่ เครอ่ื งทองเหลอื งอย่หู น้าวง ( สำหรับนักดนตรี 45 คน)

16

Drum Major

Trombone Trombone Trombone Trombone Trombone
Trumpet Trumpet Trumpet
Trumpet Trumpet
Horn Horn Horn
Snare Drum Horn Horn Snare Drum Quint Tom
Bass Drum Bass Drum Cymbals
Snare Drum Snare Drum
Flute Flute Piccolo
Clarinet Bass Drum Bass Drum Clarinet Clarinet
Alto Sax. Tenor Sax. Baritone Sax.
Tuba Flute Flute Euphonium Tuba

Clarinet Clarinet

Alto Sax. Tenor Sax.

Euphonium Tuba

ตัวอย่างการจัดแถวแบบท่ี 2 กลุ่มเคร่อื งเปาลมไมอ้ ยู่หนา้ วง ( สำหรับนักดนตรี 45 คน)

17

Clarinet Clarinet Drum Major Clarinet Clarinet
Flute Flute Clarinet Flute Piccolo
Alto Sax. Alto Sax. Flute Tenor Sax. Baritone Sax.
Snare Drum Snare Drum Tenor Sax. Snare Drum Quint Tom
Bass Drum Bass Drum Bass Drum Cymbals
Trumpet Trumpet Snare Drum Trumpet Trumpet
Horn Horn Bass Drum Horn Horn
Trombone Trombone Trumpet Trombone Trombone
Tuba Euphonium Euphonium Tuba
Horn
Trombone

Tuba

ตัวอย่างการจัดแถวแบบท่ี 3 กลมุ่ เครื่องกระทบอยู่หนา้ วง (สำหรับนักดนตรี 45 คน)

18

Snare Drum Snare Drum Drum Major Snare Drum Quint Tom
Bass Drum Bass Drum Snare Drum Bass Drum Cymbals
Bass Drum Piccolo
Flute Flute Flute Clarinet
Clarinet Clarinet Flute Clarinet Baritone Sax.
Alto Sax Alto Sax. Clarinet Tenor Sax. Trumpet
Trumpet Trumpet Tenor Sax. Trumpet
Horn Horn Trumpet Horn Horn
Trombone Trombone Horn Trombone Trombone
Tuba Euphonium Trombone Euphonium
Tuba Tuba

.

19

ทา่ ทางการถือเครื่องดนตรี

ลกั ษณะทา่ ทางการถือเครื่องดนตรีมหี ลายรูปแบบ แต่สงิ่ สำคญั นัน้ คือการคอื ในแต่ละกล่มุ เครอื่ งดนตรีนั้น

ควรจะถือให้อยู่ในท่าทางเดียวกันเพื่อความพร้อมเพรียง สวยงาม และให้เกิดความพร้อมสำหรับการบรรเลง ซ่ึง

หลักๆแลว้ จะมี 2 ทา่ คือ ท่าเตรยี ม (Set Up) และทา่ เปา่ (Horn Up) แยกเปน็ เครื่องดนตรีดงั นี้

ทา่ ทางการถอื Flute

Set up Horn Up

ท่าทางการถือ Clarinet Horn Up
Set up

20

ท่าทางการถือ Saxophone Horn Up
Set up

ท่าทางการถือ French Horn Horn Up
Set up

21

ท่าทางการถือ Trumpet Horn Up
Set up

ทา่ ทางการถือ Mellophone Horn Up
Set up

22

ท่าทางการถือ Euphonium Horn Up
Set up

ท่าทางการถอื Trombone Horn Up
Set up

23

ทา่ ทางการถอื Tuba Horn Up
Set up

24

ท่าทางการเดินแถวในวงโยธวาทิต

ทา่ ทางการเดินแถวในวงโยธวาทิตปจั จุบนั มีหลายรปู แบบ แตแ่ นวคิดการออกแบบท่าเดนิ เพ่ือใช้ในการเดนิ
แถวของทุกๆวงนั้นคือ ท่าเดินของนักดนตรีทั้งวงจะต้องเหมือนกัน ระยะก้าวเท่ากัน และทำให้เสียงดนตรีที่
บรรเลงขณะทีเ่ ดนิ อยู่ ออกมามีคณุ ภาพเสยี งที่ดีท่ีสุดใหเ้ หมอื นกบั การนั่งหรือยืนบรรเลงอยู่กบั ท่ี

ในขณะที่ กำลังเดินบรรเลงนั้นนักดนตรีจะต้องควบคุมร่างกายส่วนบน (ตั้งแต่ช่วงเอวจนถึงหัว) ให้เกดิ
ความนง่ิ เพอ่ื ไมใ่ หส้ ง่ ผลกระทบต่อการเปา่ เสียงยาวและคุมรา่ งกายส่วนล่าง (ต้ังแตช่ ว่ งเอวลงมาถึงปลายเท้า) ให้
เดนิ ตรงจงั หวะเพื่อความพรอ้ มเพรยี งทัง้ นสี้ ว่ นสำคัญที่ต้องคำนึงถงึ ในการเดนิ คือการวางเท้าซ่ึงในขั้นเริ่มต้นของ
การฝึกซ้อมควรฝึกเดินจากจังหวะที่ช้าโดยแบ่งจะหวะก้าวหนึ่งก้าวเป็น 4 จังหวะ เพื่อปรับความสมดุลของ
ร่างกายและใหเ้ กดิ ความเคยชนิ ดังตวั อย่างในรปู ตอ่ ไปนี้

จังหวะที่ 1 กา้ วเทา้ โดยวางสน้ เทา้ ทพ่ี ืน้ เปิดปลายเท้า
จังหวะที่ 2 ทิ้งนำ้ หนกั ตวั ไปด้านหน้าแลว้ คอ่ ยๆปดิ ปลายเท้าลง
จังหวะท่ี 3 ปิดปลายเทา้ ลง ขาหลังเหยยี ดตึงเพอ่ื สง่ นำ้ หนกั ตวั ไปด้านหน้า
จังหวะที่ 4 เตะเทา้ หลงั ให้มาอยูช่ ดิ ดา้ งขา้ งของเท้าหน้า

12 34

25

การเดนิ เลี้ยว

การเล้ียวมหี ลายแบบเช่น การเลย้ี งแบบใบพดั การเล้ยี งฉาก การเล้ียงตดั (แบบรังผ้งึ ) ซึง่ มีความ
แตกต่างกัน และใช้งานพื้นที่ที่แตกต่างกันด้วย การเลี้ยวที่ได้รับความนิยมที่สดุ และใช้งานได้กับพื้นท่ีที่
หลากหลายคือการเลย้ี วแบบใบพดั

การเลยี้ วแบบใบพดั วธิ กี ารคอื เม่อื กำหนดทศิ ทางการเล้ียวโดยคฑากรแลว้ นกั ดนตรที อี่ ยู่มุมของ
การเลี้ยว (ถ้าหากเลี้ยวซ้าย จะใช้นักดนตรีด้านซ้ายเป็นมุม) จะเป็นหลัก และให้นักดนตรที ่ีอยู่มุมอีกดา้ น
หนง่ึ เดินพัด ใหโ้ ค้งไปยังทศิ ทางท่ีจะเลยี้ ว โดยระยะก้าวของนกั ดนตรีแตล่ ะคนจะไมเ่ ท่ากัน ซ่ึงคนที่อยู่มุม
ด้านนอกจะก้าวยาวกวา่ และจะกำหนดระยะก้าวออกเปน็ 4 ชว่ ง ช่วงละ 4 กา้ ว

ช่วงท่ี 1 ( มุม 0 องศา ) ช่วงท่ี 2 ( มุม 30 องศา )

26

ชว่ งท่ี 3 ( มมุ 60 องศา ) ช่วงท่ี 4 ( มมุ 90 องศา )

การเดินกลับแถวหรอื การกลับตัว ( Turn March )
การกลับแถวหรือการกลับตัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบอเมริกันและแบบอังกฤษ ซึ่ง
แตกตา่ งกนั ในวิธีการกลบั แถว และตำแหน่งทิศทางของนกั ดนตรี
การกลบั แถวแบบอเมรกิ นั เมอ่ื กลบั แถวแลว้ นักดนตรจี ะสลับตำแหนง่ กลา่ วคอื นกั ดนตรีที่อยู่ฝ่ัง
ซ้ายของแถวเมื่อกลับแถวจะกลายเป็นตำแหน่งด้านขวาของแถว ส่วนการกลับแถวแบบองั กฤษนกั ดนตรี
จะอยู่ในตำแหน่งเดิม
วธิ กี ารกลบั แถวแบบอเมรกิ ันบา่ งออกเป็น 4 จงั หวะ ดังน้ี

จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซา้ ยไปขา้ งหนา้

27

จังหวะท่ี 2 ก้าวเทา้ ขวาไปทางดา้ นขวาพรอ้ มกับบิดเทา้ ซ้ายให้หนั ไปด้านขวาดว้ ย

จังหวะท่ี 3 ก้าวเท้าซ้ายไปดา้ นหนา้ (ดา้ นขวาของแถว)

จังหวะท่ี 4 ก้าวเท้าขวาไปทางดา้ นขวา (ด้านหลงั ของแถว) พรอ้ มกับบดิ เทา้ ซา้ ยให้หนั ไปด้าน
ขวาดว้ ย

28

วธิ ีการเลย้ี วแบบองั กฤษ จะกำหนดใหแ้ บง่ ทศิ ทางการเดินออกเป็น 2 กลุ่ม โดย แถวที่ 1,2 (นับจากซ้าย
ไปขวา) เปน็ กลุ่มท่ี 1 ซึ่งจะต้องเดนิ ในรูปแบบคล้ายกบั การเลี้ยวใบพัดไปด้านขวา และแถวที่ 3,4,5 เป็นกลุ่มท่ี 2
เดินในรปู แบบคล้ายกับการเลีย้ วใบพัดไปดา้ นซ้ายตามรปู

การเลยี + วจะใช้ระยะก้าวทงั+ หมด 16 ก้าว

เม;ือเดนิ ถึงก้าวที; 8 แล้ว แถวจะอยูใ่ นแนวเดยี วกนั และทํามมุ กบั วง 90 องศา

29

เมือ; เดนิ ถงึ ก้าวท;ี 16 กจ็ ะเป็นแนวเดยี วกนั พอดี จะเหน็ ได้วา่ คนที;อยูแ่ ถวด้านซ้ายสดุ ในตอนก่อนกลบั
แถว พอหลงั กลบั แถวเสร็จแล้ว กจ็ ะกลบั เป็นคนทอ;ี ยแู่ ถวซ้ายสดุ เชน่ เดมิ

30

ภาพการจัดวงแบบกลางแจง้
โดย Wayne Markworth

ภาพการจัดวงแบบกลางแจ้ง แบบท2่ี

31

แนวทางการฝกึ ซอ้ มแบบฝกึ หัด (สำหรับการสอนรวมวง)

การฝึกแบบฝึกหัดมคี วามจำเป็นต่อการซ้อมเป็นอย่างมาก ในการซ้อมแต่ละครั้ง ผู้สอนควรแบ่งเวลาใน
การซอ้ มเพอ่ื ใชเ้ วลาใหเ้ หมาะสมกับเวลาท่ีผูส้ อนมอี ยู่ เพราะในแตล่ ะวนั มีเวลาในการซ้อมฝึกซ้อมไม่เท่ากันเสมอ
ไป เช่น ในหนึ่งวัน อาจจะมีเวลาซ้อมหลังเลิกเรียน เพียง 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น โดยจะต้องสอดคล้องกบั
เปา้ หมายทผี่ สู้ อนต้องการในแต่ละวัน โดยคำนงึ เรื่องดงั ตอ่ ไปนี้

1. การวางแผนการซ้อมในแตล่ ะวนั คือการกำหนดเวลาในการซอ้ ม ใหเ้ หมาะสมกบั เวลาท่มี อี ยู่ เช่น มีเวลา
2 ชม. หลังเลกิ เรยี น เราควรแบง่ ระยะเวลาให้ครอบคลมุ และ ได้ประโยชน์สูงสดุ

2. กำหนดเป้าหมายในแต่ละคร้ังของการซ้อม คือการวางเปา้ หมายให้ชัดเจน โดยที่คำนงึ ถึงเวลาและความ
เปน็ ไปได้ ใหต้ อ่ เนื่องกบั การซ้อมในระยะยาว ตวั อย่างเชน่ การเพม่ิ ความเร็วของจังหวะในแต่ละคร้ังของ
การซ้อม

3. การรบั มือและกำจัดอุปสรรค ในการซอ้ มแตล่ ะครัง้ ย่อมมอี ปุ สรรคที่แตกต่างกนั ออกไป ท้ังท่เี ราคาดเดาได้
และคาดเดาไม่ได้ อาศัยประสบการณ์ของผู้สอน และความเข้าใจในตัวผู้เรียน เพื่อแก้ไขปัญหา และ
อุปสรรคที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของเหตุการณ์นั้น ๆ เว้นแต่เป็นอุปสรรค
ทางด้านดนตรี ผ้สู อนสามารถปรบั ใช้ความเขา้ ใจทางดา้ นดนตรี ประยกุ ต์เขา้ กบั เครอื่ งดนตรี และนักเรยี น
ท่ีแตกต่างกนั ออกไปได้

4. สภาพแวดล้อม และสถานที่ของการฝึกซ้อม คือ การเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับการซ้อมในรูปแบบ
ต่าง ๆ เพื่อใหเ้ กิดการเรียนรู้สูงสุด ตัวอย่างเช่น การซ้อมแยกเครื่องเป็นกลุ่ม ๆ ควรจะแยกห้องใหเ้ ปน็
สัดส่วน ไม่เช่นนั้นหากรวมซ้อมอยู่ในห้องเดียวกันนอกจากจะฟังไม่ได้แล้ว สมาธิในการฝึกซ้อมจะลด
นอ้ ยลงอย่างเห็นได้ชัด หรอื การรวมวง ควรจะมีลักษณะหอ้ งทไี่ ม่กอ้ งและไมแ่ ห้จนเกินไป

5. การวางแผนระยะยาว ในสว่ นนจ้ี ะสอดคลอ้ งกบั ข้อ 1 แต่เปน็ การกำหนดตารางระยะยาวให้เห็นภาพของ
เป้าหมายในขอ้ 2 เชน่ การวางเปา้ หมายว่า ตอ้ งเล่นเพลงน้ีภายในเวลาตามที่กำหนด ระหวา่ งการฝกึ ซอ้ ม
ท่ีจะเล่นเพลงนี้ จะต้องใช้แบบฝึกหดั อะไรบา้ งถึงจะเหมาะสม และทำใหบ้ รรเลงเพลงน้ไี ด้

32

ส่ิงท่ีต้องคำนึงกอ่ นการซอ้ ม

ในการซ้อมแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องเตรียมตัวก่อนซ้อม ทั้งเรอ่ื งอปุ กรณ์ เครื่องดนตรี สถานที่ หรือ
อะไรกต็ ามทมี่ ีผลต่อการฝึกซอ้ มทง้ั หมด ให้เรยี บรอ้ ย หรอื แม้กระทั่งการนัดแนะกบั ผู้เรียนเองก็ตาม
1. อุปกรณ์ การเตรียมอปุ กรณ์ ในท่นี ี้ ประกอบไปดว้ ย

1.1 คียบ์ อรด์
คยี บ์ อรด์ ใชส้ ำหรบั เป็นเครอ่ื งกำหนดเสียง เป็นเครอ่ื งใช้จังหวะ หรอื แม้กระท่ังใช้ผู้เรียน

ฟังเสียงประสานจากคอร์ดที่ผูส้ อนกดให้ โดยต้องมีเครื่องขยายเสียงที่ใช้กบั คีย์บอร์ด ที่มี
ขนาดเหมาะสมกับขนาดวง เพื่อให้ได้ยินอย่างทั่วถึง และไม่แหลมหรือทุ้มจนเกินไป ซึ่งใน
ปัจจบุ นั มกี ารพฒั นาคีย์บอรด์ เพอื่ ใชส้ ำหรบั การฝกึ ซอ้ มโดยเฉพาะ แสดงให้เหน็ วา่ อุปกรณช์ ้ิน
นีก้ ับการฝกึ ซอ้ มเป็นสิง่ ทจ่ี ำเปน็ ต่อการใชร้ ว่ มกนั อย่างมาก
1.2 เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรถี ือเป็นปัจจัยหลักทีส่ ่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง ประสิทธิ์ภาพของเครื่องดนตรี
เป็นสงิ่ ท่เี ราควบคุมไดย้ าก เพราะมปี ัจจัยหลายอย่างในการจดั หาเครื่อง ซ่งึ กต็ ามแต่กำลังใน
การจัดซอื้ ของแตล่ ะโรงเรยี น ในระดบั เรม่ิ ตน้ อาจไมจ่ ำเป็นตอ้ งใชเ้ ครอ่ื งราคาแพงมากหรือ
รุ่นสงู มากนัก แต่ควรใหอ้ ย่ใู นมาตรฐาน หากแตม่ กี ำลังในการจดั ซื้อเครื่องทีเ่ ป็นรนุ่ สูง ๆ จะ
เป็นตวั ชว่ ยในการสรา้ งเสยี งท่ีดีได้งา่ ยขน้ึ เชน่ กัน นอกจากน้ี สภาพของเครอ่ื งดนตรกี ม็ ีผลต่อ
การฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้ผู้สอนต้องกำชับในเรือ่ งการดูแลรักษาเคร่ืองดนตรีของ
ตนเองให้กับผู้เรียน เช่น การเช็ดเครื่อง การหยอดน้ำมัน การล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
เพราะเร่อื งนี้ ไม่ว่าเครอ่ื งจะดแี คไ่ หนหากไมไ่ ดร้ บั การดแู ลอย่างถูกต้องและเอาใจใส่ จะสง่ ผล
กบั การเล่นอย่างมาก อีกท้งั ยังอาจทำให้เกดิ ความเสียหายกับเครอ่ื งดนตรไี ดอ้ กี ดว้ ย ซง่ึ แต่ละ
เครื่องนั้น มีราคาทีค่ ่อนขา้ งสูงมาก
1.3 โนต้ เพลง หรือการเตรยี มโนต้ เพลง

ในเรื่องนี้เป็นสิ่งท่ีเกิดขึ้นมากในชีวิตจริงของการซ้อมดนตรี เนื่องจากการเตรียมโน้ต
เป็นเรือ่ งที่ต้องรอบคอบและละเอยี ดอ่อน ในหลาย ๆ วง จึงมีตำแหนง่ ผู้ดแู ลโน้ตประจำวง
เพื่อจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะบทเพลงต่าง ๆ มักมีหลายเวอร์ชั่น และมีผู้เรียบเรียง
หลายคน ผูส้ อน ต้องทำการตรวจสอบให้ดีและถูกตอ้ ง ปญั หาทบ่ี ทเจอได้บอ่ ยคือ โน้ตไมค่ รบ

33

ทุกหนา้ โน้ตไมถ่ ูกคีย์ โน้ตคนละผเู้ รียบเรียงกัน โนต้ ผิด โน้ตตกหลน่ เปน็ ตน้ ซงึ่ ในส่วนนี้จะ
เปน็ ส่วนของผคู้ วบคมุ ดูแลจดั การโนต้ รับผิดชอบใหเ้ รียบร้อย นอกจากนีส้ ว่ นความผิดพลาด
ของผ้เู รยี น หรอื ผู้เลน่ กส็ ามารถพบเจอไดบ้ อ่ ยครั้ง คอื การทำโนต้ หาย การลืมเอาเพลงที่จะ
ซ้อมมา เป็นต้น ในส่วนนี้ ผู้สอนได้เพียงแต่กำชับผู้เรียนให้ดี เสียมากกว่า โดยในวงที่มี
ระเบยี บคอ่ นข้างดี ปัญหาเรอ่ื งนี้จะนอ้ ยลงไปตามความมีวินยั ของผเู้ รียน
1.4 การเตรยี มสถานที่

ในสว่ นนี้ ผสู้ อนกับผู้เรยี นต้องประสานงานกันให้ดี โดยมากสถานท่ีรวมวง มกั เปน็ ทีห่ ้อง
ซ้อมดนตรี หากมีการย้ายสถานที่ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของวง ลักษณะของห้อง
การสะทอ้ นของเสียง ปัจจัยเหล่านี้มีผลกับเสียงเปน็ อยา่ งมาก ต้องคัดเลือกใหด้ ี เช่นการรวม
วงในที่กลางแจ้ง ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้ดี เพราะส่วนมากในโรงเรียน มักมีการทำ
กิจกรรมหลากหลายในที่เดียวกนั ถ้ามีคนพลกุ พลา่ น จะมีส่วนในการลดทอนสมาธิของผู้เล่น
เปน็ อย่างมาก รวมถึง เกา้ อใี้ นการนัง่ ควรเหมาะสมกับการนั่งเปา่ มเิ ชน่ นั้น แทนทผี่ ูเ้ รียนจะ
สามารถคิดในเรื่องการเป่า ให้มีสมาธิ อาจต้องมปี ญั หาเกี่ยวกบั การนัง่ เกา้ ที่ไมไ่ ด้มาตรฐาน
หรอื ไมเ่ หมาะกบั การน่งั เป่า ในส่วนของแสตนทว่ี างโน้ตก็เช่นกนั ควรมลี ักษณะทใ่ี ชง้ านได้ ไม่
คอพับ หรอื ใช้งานไม่ได้
1.5 การนดั ซ้อม

การนัดหมายการซ้อม เป็นเรื่องท่ีปกติของการซ้อม แต่โดยมาก มักมีอุปสรรคต่าง ๆ
เกิดขึ้น ท้ังกบั ผสู้ อน หรือตวั ผ้เู รยี นเองก็ตาม ในการรวมวง เพ่อื พัฒนาทกั ษะ ผู้เรยี นควรเข้า
รวมวงให้ครบตามแผนที่ผู้สอนได้วางไว้ เพื่อความต่อเนื่องของการพัฒนา หรือเพื่อเสียงท่ี
ครบในการรวมวงเช่นกนั ทัง้ น้ี ปัญหาทพ่ี บไดบ้ ่อย ทง้ั การตดิ เรียนพเิ ศษ (กรณซี อ้ มหลังเลิก
เรียน) ธุระส่วนตัว เป็นต้น ในส่วนนี้ ผู้สอนควรนัดหมายและทำความเข้าใจในการให้
ความสำคญั กบั การวงรวมทุกครง้ั เพราะประโยชน์ทั้งหมดในการเข้ารวมวงเกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
ทั้งสิ้น ทั้งนี้หากรวมวงแล้วคนขาดมาก นอกจากการซ้อมได้ยากแล้ว ยังไม่เกิดประโยชน์
เทา่ ท่คี วร

34

ขนั้ ตอนและวิธใี นการฝึกซ้อมแบบฝึกหดั

ในการฝึกซ้อมแต่ละครั้ง มีวิธีการที่แตกต่างกันไป ในหัวข้อนี้ เราจะกล่าวถึงโดยทั่วไปของการซ้อมท่ี
เกี่ยวกับแบบฝึกหัดในแต่ละครั้งเป็นหลัก ว่าต้องมีขั้นตอนลำดับการอย่างไร และมีวิธีในการฝึกซ้อมแบบฝึกหัด
อยา่ งไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สงู สุด

1. การวอร์มอัพ
การวอรม์ เพอ่ื ใหร้ า่ งกายเขา้ ที่ โดยในกล่มุ เคร่อื งเป่าสามารถฝึกลม หรือวอรม์ เมา้ ท์พชี ได้ การฝกึ

ลมเป็นสิ่งสำคัญมากของกลุ่มเครื่องเป่า ในบางครั้ง ก็สามารถให้กลุ่มเครื่องตเี ข้ารวมฝึกลมได้ด้วย
เช่นกัน เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงการใช้ลมของเครื่องเป่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการเล่นเพลงให้
เข้าถงึ ประโยคเพลง นอกจากนน้ั ในกลุ่มเครอ่ื งตี กส็ ามารถยกไปวอรม์ ขอ้ มือใหเ้ ขา้ ที่ เพอื่ เตรยี มตวั ใน
การซ้อมตอ่ ไป

ภาพการฝกึ วอรม์ ลม ของโรงเรียนแกง่ คอย
2. การจูนเสยี ง

การจนู เสียง เป็นสง่ิ ท่สี ำคญั มาก ในปจั จุบัน อา้ งอิงจากข้อความของอาจารยช์ ชั วาล อรรถกจิ โกศล ได้
กล่าวไว้วา่ “ปัจจุบันนี้ ประเทศในยุโรปส่วนใหญเ่ กอื บท้ังหมดตั้งเสียงที่ A=442 ส่วนประเทศอังกฤษต้ัง
เสียงที่ A=440 ได้ยินว่าวงออเคสตร้าบางวงในประเทศเยอรมนีตั้งเสียงที่ A=443 ส่วน วง Berliner

35

Philharmoniker ตั้งเสียงที่ A=445 เข้าใจว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาวงออเคสตร้าส่วนใหญ่ตั้งเสียงท่ี
A=440

ส่วนนกั ดนตรที ่เี ล่นดนตรแี ชมเบอรห์ รอื นกั แสดงเดย่ี วตั้งเสยี งท่ี A=440 บ้าง A=442 บ้าง (เรอื่ งน้ีควร
ตอ้ งสอบถามผทู้ ีเ่ คยไปศึกษาท่ีสหรฐั อเมรกิ า)

ประเทศไทยแต่เดมิ ตั้งเสยี งที่ A=440 แต่ปัจจบุ ันนี้มีวงออเคสต้าบางวงตงั้ เสยี งท่ี A=442
อย่างไรก็ตาม ป๋าเหน็ วา่ ประเทศไทยควรตั้งเสียงท่ี A=442 ดว้ ยเหตุผลดงั ต่อไปน้ี

1. ในปัจจุบันนี้เครื่องดนตรีทุกประเภทผลิตมาเพื่อให้ตั้งเสียงที่ A=442 ไม่ใช่ที่ A=440
สำหรับฟลูต ฟลูตทผี่ ลิตมาเพอื่ ตัง้ เสยี งที่ A=440 น้นั ไม่มอี กี ต่อไปแล้ว ความจรงิ ไม่มีมานาน
แล้ว นอกจากนั้นมฟี ลูตบางยีห่ อ้ มีใหเ้ ลอื กซ้ือชนดิ ท่ตี ั้งเสียงที่ A=445 ดว้ ย แต่ไม่เป็นท่ีนิยม
มากนัก
ป๋าเคยซอ้ มและแสดงกบั ดร.เอริ นากางาวา ซงึ่ เปน็ นกั เปยี โนที่มชี อื่ เสียงคนหน่ึงของไทย

ตอนที่ซ้อมดว้ ยกนั ปา๋ ก็บอกกบั อ.เอริ ว่า “อยากให้ตง้ั เสยี งเปยี โนทใ่ี ชแ้ สดงที่ A=442”
ดร.เอริ “เปียโนเครื่อง (ที่ใชซ้ ้อมอยู)่ นี้ตั้งเสียงที่ A=442 แต่ตอนนี้อาจต่ำลงบ้างเพราะไม่ได้ตั้ง
เสยี งมานานพอสมควรแล้ว” และ ยังได้บอกอกี วา่ “ปจั จุบันน้ีเปียโนกม็ แี ตท่ ผี่ ลิตมาเพอื่ ต้งั เสยี งท่ี
A=442 เหมือนกัน” เข้าใจว่าเครื่องดนตรีที่ผลิตในยุคปัจจุบันผลิตมาเพื่อตั้งเสียงที่ A=442
เครื่องดนตรีที่ผลิตมาเพ่ือตั้งเสียงที่ A=440 ถ้ามีก็คงน้อยมาก และอาจยังคงมอี ยู่เฉพาะเครื่อง
ดนตรีบางอย่างเท่าน้ัน

2. ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ซึ่งอากาศที่ร้อนจะทำให้เครื่องดนตรีมีเสียงสูงขึ้น โดยเฉพาะ
เครื่องดนตรีที่ทำจากเงิน ทอง และทองเหลือง เนื่องจากวัสดุเหล่านี้หดตัวลง (ขนาดของ
เครื่องดนตรีจึงเล็กลงเล็กน้อย ทำให้เสียงสูงขึ้น) จึงทำให้ต้องดึงท่อลมออกมากจนเกินไป
เพื่อให้เครอื่ งดนตรยี าวขึ้นแลว้ ไดร้ ะดบั เสียงท่ตี ้องการ
แต่ในประเทศแถบยุโรปท่ีมอี ากาศหนาวเย็นเกือบทงั้ ปี เครอ่ื งดนตรที ีผ่ ลิตเพ่ือใหต้ ง้ั เสยี ง

ที่ A=442 ยังคงสามารถต้งั เสยี งได้ดีที่ A=440 เนอื่ งจากวสั ดทุ ่ีใชท้ ำเคร่อื งดนตรีเหล่านี้ขยายตัว
มากขึ้นเม่ือถกู อากาศเย็น (ขนาดของเคร่ืองดนตรีใหญ่จึงขนึ้ เลก็ น้อย ทำให้เสียงตำ่ ลง) กล่าวคือ
พวกเคร่อื งเป่าไมจ่ ำเป็นตอ้ งถงึ ท่อออกเพ่ือให้มีความยาวทอ่ เพม่ิ ขึน้ มากนกั

36

สำหรับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน ซึ่งในฤดูร้อนร้อนเกือบ 40 องศา (แม้แต่ในห้องแอร์ก็ยังมี
อุณหภมู ิท่ีสูงมากอยดู่ )ี จะมีปญั หามากในการตั้งเสยี งเคร่ืองดนตรีที่ผลิตมาเพือ่ ตงั้ เสียงท่ี A=442
ให้เปน็ A=440 กลา่ วคอื เครอื่ งเปา่ จะตอ้ งดึงทอ่ ลมออกมากกวา่ ปกติ

การดึงท่อให้ยาวขึน้ มากเกินไปย่อมทำให้ Scale เพี้ยนไป หมายความว่า เครือ่ งเป่าทุก
ชนิดถูกผลิตมาเพื่อให้ดึงท่อลมออกเล็กน้อยแล้วตั้งเสียงได้ A=442 ผู้ผลิตเครื่องเป่าจะไม่ผลิต
เครอื่ งเปา่ มาเพอื่ ใหต้ ้งั เสียงที่ A=442 โดยท่ไี มต่ อ้ งดงึ ทอ่ ออกเลย เนอ่ื งจากถ้าอากาศเยน็ นักดนตรี
จะไมส่ ามารถทำให้ทอ่ ส้ันลงได้มากกว่านั้นอกี แล้ว

ท่วี า่ Scale เพีย้ น นน้ั สำหรบั ฟลูตกค็ ือ ระยะหา่ งของรูบงั คบั เสยี ง (Tonehole) แต่ละรู
ได้ถูกกำหนดมาว่าจะต้องห่างจากรูเป่า (Embouchure hole) ประมาณเท่าใด ๆ แต่ถูกทำให้
เพ้ียนไปหากตอ้ งทำให้ความยาวทอ่ ลมยาวมากเกินไป”

3. การเลอื กใช้แบบฝึกหัดให้เหมาะสม
การเลือกแบบฝึกหัด มีหลายปัจจัยดว้ ยกนั ส่วนสำคัญของการเลือกอย่างหนึ่ง คือการ

เลือกใหส้ อดคล้องกบั เป้าหมายของการซ้อมเพลงในวนั นน้ั นอกจากน้ี แบบฝึกหัด อาจไมเ่ กี่ยวกบั
เพลง แต่เป็นเรื่องของการฝกึ เพื่อพัฒนาทักษะการเล่นของผู้เรียนทั้งในเร่ืองทักษะส่วนตัว และ
ทักษะการรวมวงหรอื การบรรเลงหม่ดู ้วยเชน่ กัน

3.1 การเลอื กแบบฝึกหดั เพ่อื พฒั นาทกั ษะ กลา่ วคือ ในสว่ นแรกของการซอ้ ม แบบฝกึ หดั
หลังจากการจูนเสยี ง ผู้สอนนิยมใช้แบบฝึกหัดบันไดเสียงท่ีเน้นการลากเสียงยาว และ
การจนู เสียงในบันไดเสียงนน้ั ๆ ท่ใี ช้ในเพลง เช่น ในเพลงใชบ้ ันไดเสียง D Major ผู้สอน
ควรนำบนั ไดเสยี ง D Major มาสร้างผสมกับแบบฝกึ หดั ทใ่ี ชบ้ ่อย ๆ เพ่อื ให้ผ้เู รยี น เข้าใจ
และมีความค้นุ ชินกับการเลน่ ในบนั ไดเสียงน้ี ส่งผลทำใหส้ ามารถเล่นเพลงทม่ี บี นั ไดเสียง
ที่ไม่คนุ้ ได้อย่างไม่ติดขัด
3.2 การนำเทคนิคจังหวะที่ไม่ปกติ หรือจังหวะที่เกิดขึ้นบ่อย ในเพลง มาใช้เป็น
แบบฝึกหัด เพอื่ ให้เกดิ ความคุ้นชนิ กบั จงั หวะที่ไมพ่ บบอ่ ย โดยสามารถปรับใช้กับการเลน่
บันไดเสียงด้วยได้เช่นกัน ในส่วนของจังหวะ ผู้สอนควรจะต้องใช้เครื่องให้จังหวะ
(Metronome) ให้เรม่ิ จากช้า ๆ ก่อนจากจึงปรบั ให้เร็วขึน้ ให้ใกล้เคยี งกบั จังหวะที่ต้อใช้
จรงิ ในเพลง หรือเรว็ กวา่ เพลงจรงิ ได้ เพื่อให้สามารถเล่นได้อยา่ งไมต่ ิดขัด

37

3.3 การใช้แบบฝึกหัด Chorale ในแบบฝึกหัดนี้ เป็นการเน้นการรวมเสียง ให้เข้า
ด้วยกันโดยมลี กั ษณะมาจากการร้องเพลงในโบสถ์สมยั ก่อน เป็นทน่ี ยิ มมากในการฝกึ การ
ฟงั ใชไ้ ดใ้ นทุกระดบั ความสามารถ เนือ่ งจากเปน็ แบบฝึกหดั ท่ไี มย่ าก มีลักษณะเป็นเพลง
ช้า โดยการฝึกแบบฝึกหัดน้ี จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งใจฟังผู้อืน่ ที่เล่นด้วยกันมากข้ึน
สงิ่ ทีส่ ำคัญของการซ้อมเพลง Chorale คือการรูห้ นา้ ที่ของแตล่ ะเครื่อง ว่าเคร่ืองใดเป็น
ทำนอง คอร์ด เสยี งประสาน หรือเครือ่ งใดควรเดน่ ในตอนไหน ซ่งึ โดยมาก ผสู้ อนจะตอ้ ง
แนะนำให้ผ้เู รียนว่าควรฟังแบบใด ทงั้ นีข้ ึน้ อยู่กับรสนิยมของผู้สอนดว้ ยเชน่ กนั
4. แนวทางการสรา้ งแบบฝึกหดั ดว้ ยตนเอง
การฝึกแบบฝกึ หดั มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำเอาหนังสือตำราแบบฝึกหดั
เล่มต่าง ๆ มาใช้ หรือการสร้างแบบฝึกหัดท่ีเหมาะสมกับสถานการณ์การที่เกิดขึ้นให้
สอดคล้องกับเพลงที่ต้องบรรเลงในช่วงนั้น เป็นสิ่งที่ผู้สอนสามารถเลือกปรับใช้ได้ โดยมี
แนวทางดังน้ี

4.1 หาจุดทตี่ อ้ งการแก้ไขจากการซ้อมของผ้เู รยี น เป็นการนำเอาปัญหาทเ่ี กดิ ข้ึนมา
คดิ วิเคราะห์ หาจุดออ่ นขุดแขง็ ของผเู้ รียน

4.2 ตงั้ เป้าหมายในการแก้ไข โดยส่วนนี้ เปน็ สว่ นทต่ี อ่ จากข้อ 4.1 หลงั จากผูส้ อนได้
พบปัญหาแลว้ ควรสรา้ งแบบฝึกหดั เพอื่ แก้ปัญหาทีเ่ กดิ ขึน้ แล้วตง้ั เปา้ หมายว่า
จากการซ้อมแบบฝึกหดั นี้ จะเห็นผลลพั ธด์ ้านใด และตรงตามทไ่ี ด้ตั้งเป้าหมาย
ไว้หรอื ใหม่

4.3 ขั้นทดลองใช้แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้น ในส่วนขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก
นอกจากผู้สอนต้องควบคุมการซ้อมแล้ว ยังต้องสังเกตอีกว่า จากการใช้
แบบฝึกหดั ที่ผสู้ อนสรา้ งขนึ้ เหมาะสมกบั ผู้เรยี นหรือไม่ โดยคำนงึ ถึงเร่ืองระดับ
ความสามารถ ยากง่ายเกินไปหรือไม่ ซับซ้อนเกินไป หรือง่ายเกินไปจนไม่
พัฒนาผู้เรยี นหรอื ไม่

4.4 ขั้นตอนสรุปและแก้ไข โดยหลังจากการทดลองใช้แบบฝึกหัดที่ได้สร้างขึ้นมา
ผ้สู อนควรนำผลจากการซอ้ มแบบฝกึ หัดดังกลา่ ว มาปรบั แกใ้ หต้ รงกบั เปา้ หมาย
มากขน้ึ หรือถา้ ไดต้ รงตามท่ตี ้องการ ควรจะซอ้ มแบบฝึกหัดนน้ั ซ้ำ ๆ โดยที่การ
ซอ้ มบ่อยคร้งั มากขนึ้ ย่อมสง่ ผลให้เหน็ ในระยะยาว ท้ังจากการท่ผี ู้เรยี นทำซำ้ ๆ

38

จะทำใหค้ ล่องแคลว่ มากข้ึน และเข้าใจในจดุ ประสงค์ของการซอ้ มแบบฝึกหัดนี้
อยา่ งแทจ้ ริง
4.5 การบันทึกแบบฝึกหัด โดยมากผู้สอนนิยมสอนโดนใช้การบอกต่อ สร้าง
แบบฝึกหัด จากนั้น เป็นการทำซ้ำ ๆ ซึ่งผูเ้ รยี นสว่ นมากสามารถจำได้อย่างไม่
ยากนัก เพราะแบบฝึกหัดส่วนมาก จะทำซ้ำบ่อย และวนไปมาตามบันไดเสียง
แต่สิ่งที่สำคัญและจะทำให้แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นมา ไม่คลาดเคลื่อน คือการ
บันทึกโน้ตแบบฝึกหัด ที่สร้างขึ้นมา และบอกถึงเป้าหมาย วิธีการซ้อม แนว
ทางการซ้อม ลงไปในโน้ต จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนได้เป็นอย่างมาก
เพราะส่วนมาก การบอกต่อ อาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อน หรือการไม่รู้ จาก
การทีไ่ ม่ได้รับสารนั้น ๆ จากผู้สอนโดยตรง เพราะเราปฏิเสธไม่ไดว้ ่า ผู้สอนไม่
สามารถ ควบคมุ กับซอ้ มย่อย ที่แบ่งเปน็ กลมุ่ เครื่องดนตรี หรอื การซอ้ มเดี่ยวได้
ทุกคน เพราะฉะนั้นการเก็บบันทึกโน้ตและบอกวิธีซ้อมลงไปในโนต้ ย่อมเปน็
ผลดกี บั ทั้งตัวผสู้ อนและตวั ผู้เรยี นดว้ ยเช่นกนั

5. การประเมนิ ผล หลังการซ้อม
ในการซ้อมแต่ละครัง้ ควรมีการวัดและประเมินผลของการฝึกซ้อม โดยมากใช้การวัด

จากคามถูกต้องของโน้ต คุณภาพเสียง จังหวะ เป็นเรือ่ งเบื้องตน้ ที่ผู้สอนสามารถฟงั ได้ไม่
ยาก ซึง่ แตล่ ะแบบฝกึ หดั มคี วามยากงา่ ยแตกตา่ งกันไป ขึน้ อยู่กบั เรอ่ื งทต่ี ้องการพัฒนา

ในสว่ นของผูจ้ ดั ทำ ได้เห็นวา่ ในแบบฝกึ หัดบางเรอ่ื ง ท่จี ำเปน็ ตอ้ งงใชเ้ วลาในการฝึกซอ้ ม
ควรมกี ารปล่อยผา่ นไดใ้ นบางคร้ัง แต่ตอ้ งกลบั มาทวนบ่อย ๆ เพือ่ เปน็ การทำซำ้ ให้ผเู้ รยี นฝึก
บ่อยขึ้น โดยจำเป็นต้องมีระยะเวลา ให้เวลากับแบบฝึกหัดมากขึ้น จากนั้น ค่อกลับมา
ประเมินผล จะเห็นได้ว่า มีพัฒนาการมากกว่าตอนแรกค่อนข้างชัดเจน อาจจะไม่เกี่ยวกับ
แบบฝกึ หัดดังกลา่ วโดยตรง แตเ่ กดิ จากความคลอ่ งแคล่วจากการซอ้ มที่มากข้ึน กล้ามเนื้อที่
สามารถจดจำการสรา้ งเสียงต่าง ๆ ได้แมน่ ยำมากขึ้

39

ตัวอย่างการซ้อมแบบฝึกหัด

จากวิธีการซ้อมรวมวงแบบฝึกหัดที่กล่าวถึงในเรื่องก่อนหน้านี้ ต่อไปเป็นการอธิบายถึงวิธีการนำ
แบบฝกึ หัดที่ได้รวบรวมมาในเล่มรวมโน้ตเพลงประเภทพัฒนาทักษะ มายกตัวอย่างอธบิ ายวิธีการฝกึ ซอ้ ม ให้เห็น
ภาพชัดเจนมากขน้ึ ดงั เช่นตวั อยา่ งแรก

1. Full Band Exercise Balance
ทอ่ นท่นี ำมา เปน็ ช่วงตน้ ของแบบฝึกหดั ห้องท่ี 1 ถึง หอ้ งที่ 8

ภาพแบบฝกึ หดั Full Band Exercise Balance
จากภาพ เป็นช่วงการบรรเลงของกลุ่มเครื่องลมไม้ โดยในท่อนนี้ มีลักษณะเป็นท่อน Chorale
เปน็ การฝกึ ควบคุมลมใหม้ ีความเรว็ ใกล้เคยี งกนั จะชว่ ยใหม้ ีลกั ษณะเสียงที่คล้ายกนั เป็นเรือ่ งแรกท่ตี อ้ งทำ
ความเขา้ ใจใหก้ ับผ้เู รียน
ในสว่ นของแนวเสียงตา่ ง ๆ ท่ีเกิดขน้ึ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลมุ่ ด้วยกนั คอื

1. ทำนอง ประกอบไปด้วย ฟลูต 1, ฟลูต 2, คลาริเนต 1, อัลโตแซกโซโฟน 1 ในกลุ่ม
ทำนองน้ี เปน็ กลุ่มเคร่อื งทเ่ี สยี งสูงที่สดุ มีความเด่นขอเสียงชดั เจน และไปตวั ขบั เคลือ่ นเพลงด้วย

40

ท่วงทำนองการเดินขึ้นลงของตัวทำนอง โดยลักษณะของทำนอง เห็นได้ชัดจากเครือ่ งหมายโยง
เสยี ง ทีบ่ ังคับประโยคเพลง ให้เดนิ ขน้ึ ลงไปพร้อมกัน

2. เสยี งประสาน ประกอบไปดว้ ย คลาริเนต 2, อัลโตแซกโซโฟน 2 ในกลมุ่ เสียงประสาน
นี้ ในหอ้ งท่ี 1 ถึงห้องท่ี 6 ยังไม่ชัดเจนมากนกั เพราะยังมีลักษณะเหมอื นแนวเบสอยู่ แต่ไปแยก
เป็นเสียงประสานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในห้องที่ 7 เป็นต้นไป กลุ่มนี้ มีหน้าที่ประคองทำนอง
ประสานเสียงให้ทำนองมีความไพเราะและมีเสียงท่ีไมแ่ หลมจนเกินไป แต่ต้องระวงั ไม่ใหด้ งั หรอื
เด่นกว่าทำนองมากนัก ในส่วนนี้ ผู้สอนหรือผู้ควบคุมวง มีหน้าที่บอกให้ผู้เรียนรับรู้หรอื การฟงั
เพราะวา่ การฟังจากในวง และหน้าวง (ที่ผู้สอนหรือผู้ควบคุมอย)ู่ มีความแตกต่างกนั ระดับหนึ่ง
โดยให้ยึดเสยี งจากที่ผูส้ อนไดย้ นิ เป็นหลัก เพราะด้วยลกั ษณะเครื่องท่แี ตกต่างกนั ตำแหน่งที่นั่งท่ี
แตกต่างกัน เหล่านี้ มีผลต่อการได้ยิน ความดังเบาของแต่ละเครื่องดนตรมี าก เป็นสิง่ ทีต่ ้องพึง
ระวงั และใส่ใจตลอดการฝกึ ซ้อม

3. กลุ่มเสียงต่ำ ที่ทำหน้าที่เป็นฐานของเสียง ประกอบไปด้วย เทนเนอร์แซกโซโฟน 1,
เทนเนอร์แซกโซโฟน 2 ในกลมุ่ นี้ ทำหน้าทเ่ี ปน็ ฐานเสียงของทอ่ นน้ี โดยสงั เกตไดจ้ ากการลากโนต้
ที่เน้นเสยี งยาวเปน็ หลกั หนา้ ทห่ี ลัก ๆ ของกลุ่มเคร่ืองน้ี คือการเป่าให้ผู้อน่ื สามารถกลนื เขา้ หาได้
ง่าย และไม่เพี้ยน ซึ่งจะเหน็ ได้ว่าเป็นเรื่องไม่ยากนัก เพราะโน้ตไม่ซับซ้อน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เสียงเพย้ี นเป็นปญั หาทพี่ บบ่อย เน่ืองจากการลากเสยี งยาว ต้องจูนเสยี งให้ตรงกันมาก นอกจาก
ผูเ้ รยี นจะมเี วลาจูนแล้ว ผ้สู อนกม็ ีเวลาในการฟงั วา่ เพี้ยนตรงไดง้ ่ายเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเรื่องของ
การจนู ท่ีไดฝ้ กึ ซ้อมไปก่อนหน้านี้ จะถูกพสิ ูจนใ์ นแบบฝึกหดั Chorale ทเ่ี กดิ ขึน้ ในทอ่ นลักษณะนี้

41


Click to View FlipBook Version