The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคารเบื้องต้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tonkidmon, 2021-01-21 21:53:32

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคารเบื้องต้น

Keywords: ติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร

บทที่ ๒
ความร้เู กีย่ วกับชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร

๒.๑ เครื่องหมายสีและสัญลักษณ์ความปลอดภยั
การปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพภายในองค์กรหรือสถาน

ประกอบกิจการต่างๆ บุคลากรในหน่วยงานควรมีความรู้ความเข้าใจ
เก่ียวกับสัญลักษณ์เคร่ืองหมายความปลอดภัย (safety sign) ซึ่งหมายถึง
เครื่องหมายท่ีต้องการใช้สื่อความหมาย โดยใช้รูปภาพ สี หรือคําข้อความ
ท่ีเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่อาจได้รับอันตรายในสถานที่ทํางาน โดยข้อความ
ภายในป้ายอาจจะสื่อความหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ อันตราย
ต่อสุขภาพ ระบุสถานที่ตั้งของอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ หรือการให้
คําแนะนําในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน การเรียนรู้ที่จะนําไปสู่ความเข้าใจและ
ปฏิบัติตามสัญลักษณ์เครื่องหมายความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดจะช่วยลด
ความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติภัยต่างๆ ท่ีอาจเกิดข้ึนได้ และก่อให้เกิด
ประโยชนส์ ูงสดุ ต่อสถานประกอบการ

การใช้สีถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เพ่ือสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานเกิด
ความระมัดระวังในการทํางาน โดยใช้ทาตามวัสดุ อุปกรณ์ ท่อ เคร่ืองจักร
พ้ืนที่ทํางาน หรือเครื่องหมายต่างๆ สีท่ีเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
กําหนดให้ใช้สีตามตารางท่ี ๒.๑ รูปแบบของเครื่องหมายเพ่ือความ
ปลอดภัยและสีที่ใช้เพ่ือความปลอดภัย โดยจะแบ่งเป็น ๔ ประเภท ใช้สี
แดง สีเหลือง สีฟ้า และสีเขียว เพ่ือใช้แสดงความหมายที่แตกต่างกัน
นอกจากนน้ั ใช้สัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย (โดยไม่นับแถบ
ขวางสําหรับเครื่องหมายห้าม) ในกรณีไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสม
สําหรบั สือ่ ความหมายตามที่ตอ้ งการให้ใช้เคร่อื งหมายทว่ั ไป

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความร๗ู้)

ตารางท่ี ๒.๑ สีท่ใี ช้เพอ่ื ความปลอดภัย

สีเพ่ือความ สีตัด ความหมาย ตัวอยา่ งการใชง้ าน

ปลอดภยั

สีแดง สขี าว - เครือ่ งหมายหยดุ

- เครื่องหมายอุปกรณ์

- หยุด หยุดฉุกเฉนิ

- เคร่อื งหมายห้าม

- ระบบดับเพลิง

สีเหลือง สีดํา - ชบ้ี ง่ ว่ามอี นั ตราย

- ระวงั (เช่น ไฟ , วัตถุระเบิด)

- มีอนั ตราย - ช้ีบ่งถงึ เขตอนั ตราย

- เครือ่ งหมายเตอื น

สีฟา้ สีขาว - บังคบั ใหต้ ้องสวมเครื่อง

- บงั คับให้ตอ้ ง ปอ้ งกนั สว่ นบุคคล

ปฏบิ ตั ิ - เคร่อื งหมายบงั คับ

สเี ขยี ว สขี าว - ทางหนี

- แสดงภาวะ - ทางออกฉกุ เฉิน

ปลอดภยั - หนว่ ยปฐมพยาบาล

- หน่วยกู้ภัย

- แสดงภาวะปลอดภยั

๒.๒ การปฐมพยาบาล
๒.๒.๑ การปฐมพยาบาลผูถ้ ูกงูกัด
การปฏิบตั งิ านของชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร เชน่ การปัก

เสาไฟฟ้า อาจมีความเส่ียงท่ีจะถูกงูกัดหลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาล
ทันทีก่อนท่จี ะนําส่งโรงพยาบาล โดยการปฐมพยาบาลผทู้ ีถ่ กู งกู ัด ไดแ้ ก่

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความร๘ู้)

(๑) ใชเ้ ชอื ก ผา้ หรือสายยางรดั แขนหรอื ขา ระหว่างแผล
ทถ่ี กู งกู ดั กบั หวั ใจ (เหนือรอยเขี้ยว ๒-๔ น้ิว) เพ่ือป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึม
เข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดํา ควร
คลายเชือกทุกๆ ๑๕ นาที โดยคลายนานคร้ังละ ๓๐-๖๐ วินาที จนกว่าจะ
ถึงสถานพยาบาล

รูปที่ ๒.๑ ใช้ผา้ รัดระหวา่ งเหนือรอยแผลกับหวั ใจ
(๒) เคล่อื นไหวแขนหรือขาในสว่ นทีถ่ กู งกู ดั ให้นอ้ ยทีส่ ดุ

ควรจัดตําแหน่งของส่วนท่ีถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ํากว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า
หรือมือส่วนท่ีถูกงูกัดลงตํ่า) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้
ผ้ปู ่วยเดนิ ให้นงั่ รถหรือแคร่หาม ทั้งนเี้ พ่ือป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู

(๓) ควรดูให้รู้แนว่ า่ เปน็ งอู ะไร แตถ่ า้ ไม่แนใ่ จ ควรบอก
ให้คนอ่ืนท่ีอยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนําไปยังสถานพยาบาลด้วย
(อย่าตีให้เละจนจําลักษณะไมไ่ ด้)

(๔) อย่าให้ผปู้ ว่ ยดื่มแอลกอฮอล์ ยาดองเหลา้ หรือกินยา
กระตุน้ ประสาท รวมทง้ั ชา กาแฟ

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความร๙ู้)

รปู ที่ ๒.๒ อยา่ ให้ผู้ปว่ ยดื่มแอลกอฮอล์
(๕) อย่าใชไ้ ฟหรือเหลก็ ร้อนจท้ี แี่ ผลงกู ดั และอย่าใช้มีด

กรดี แผลเปน็ อันขาด เพราะอาจทําใหเ้ ลอื ดออกมาก

รูปที่ ๒.๓ อย่าทําให้รอยแผลฉกี ขาดมากข้นึ ดว้ ยวัตถุมีคม

คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๐ู้)

(๖) หากผปู้ ่วยหยดุ หายใจ จากงทู ีม่ พี ษิ ต่อประสาทให้ทํา
การเปา่ ปากช่วยหายใจไปตลอดทางจนกว่าจะถึงสถานพยาบาลท่ีใกล้บ้าน
ทส่ี ดุ

(๗) บาดแผลท่ถี ูกงูกัดใหใ้ ช้ยาฆา่ เช้อื เช็ดทําความสะอาด
บาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผลให้กินพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพรินเพราะ
อาจทําใหเ้ ลอื ดออกงา่ ยขึ้น

๒.๒.๒ การเกิดอนั ตรายจากไฟฟ้า
ไฟฟ้าดูด คือการท่ีบุคคลมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย

ไฟฟ้าดูดเกิดได้ท้ังกับบุคคลหรือส่ิงมีชีวิตอื่น เมื่อร่างกายมีกระแสไฟฟ้า
ไหลผ่านจะมีอาการต่าง ๆ ตามปริมาณกระแสไฟฟ้าท่ีไหล เส้นทางที่
กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ระยะเวลาท่ีถูกไฟฟ้าดูด และความถ่ีของ
กระแสไฟฟา้ ที่ไหลผ่านดว้ ย

รปู ท่ี ๒.๔ ตัวอยา่ งผู้ถูกไฟฟ้าดดู

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๑ู้)

หากมีกระแสไหลผ่านร่างกายมากแต่ถ้าอุปกรณ์ป้องกันมีความสามารถใน
การตัดได้รวดเร็วก็ไม่มีอันตราย ผลกระทบของกระแสไฟฟ้าต่อร่างกาย
ของแต่ละบุคคลอาจเปล่ียนแปลงไปได้ไม่เหมือนกัน แต่สามารถกําหนด
เป็นค่าเฉลี่ยได้ การพิจารณาหาขนาดกระแสที่ไหลผ่านร่างกายโดย
พิจารณาความต้านทานร่างกายมนุษย์ประมาณ ๕๐๐ โอห์ม ปกติความ
ต้านทานมนษุ ยใ์ นสภาพแหง้ มคี า่ สูงถึง ๑๐๐๐ โอห์ม เป็นอย่างน้อย ขนาด
กระแสท่ผี ่านร่างกายมนุษย์และอาการที่เกิดขึน้ แสดงดงั ตารางท่ี ๒.๒

ตารางท่ี ๒.๒ ผลของกระแสไฟฟ้ากระแสสลบั ทม่ี ผี ลต่อรา่ งกาย

จาํ นวนกระแสไฟฟา้ อาการหรอื อนั ตรายท่ีเกดิ ขึ้นเเกร่ ่างกาย

(mA)

๐.๕ ไมร่ ้สู ึก

๑-๓ กล้ามเนอ้ื กระตุกเล็กน้อย ไม่ถงึ ขัน้ อนั ตราย
แต่กอ็ าจดิ้นไม่ยอมหลุด

๘ กลา้ มเนื้อกระตุกรนุ เเรง เปน็ เหตุใหล้ ม้ ฟาด
หรือตกจากทสี่ งู

๑๐ กล้ามเนือ้ กระตกุ รุนเเรงย่ิงขนึ้ และอาจ
ไดร้ ับบาดแผล ไหม้ พองด้วย

๓๐ ระบบหายใจขดั ข้อง อาจทาํ ให้เสยี ชวี ิต
เนือ่ งจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

๗๕ หวั ใจทํางานขัดข้อง

กระแสไฟฟ้าสูงมากกว่าน้ี ทําใหเ้ กดิ แผลไหมแ้ ละหวั ใจหยุดเต้น

ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๑ร๒ู้)

๒.๒.๓ การปฐมพยาบาลผไู้ ดร้ ับอนั ตรายจากไฟฟ้า
การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง

ดงั นี้
(๑) ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์ คัทเอาท์ เต้าเสียบ

ออก
(๒) หากตดั กระแสไฟฟา้ ไม่ได้ ใหใ้ ชไ้ มแ้ หง้ หรือวสั ดุท่ี

เปน็ ฉนวนไฟฟา้ เขย่ี สิง่ ที่มีกระแสไฟฟา้ ออกไปใหพ้ น้
(๓) ให้ใชผ้ ้าหรอื เชือกแหง้ คล้องแขน ขา หรอื ลําตัว ผู้ถูก

ไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งท่ีมีกระแสไฟฟ้า หากผู้ถูกไฟฟ้าดูดสลบ
หมดสติให้ทําการปฐมพยาบาลใหฟ้ น้ื ตอ่ ไป

รปู ท่ี ๒.๕ การช่วยเหลอื ผถู้ ูกไฟฟ้าดูด หรือ ชอ๊ ก ด้วยผา้ แหง้
(๔) หากหัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหูฟงั ทีอ่ กหรือจับชีพจร)

ให้ใช้วิธี "นวดหัวใจภายนอก" โดยเอามือวางตําแหน่งส้นมือตรงกลาง
หนา้ อกเหนอื ลิ้นป่ี ประมาณ ๒ เซนติเมตร กดตรงหัวใจให้ยุบลงไป ๓ – ๔
เซนติเมตร เป็นจังหวะๆ เท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ (ผู้ใหญ่วินาทีละ ๑
ครัง้ เด็กเล็กวินาทีละ ๒ ครัง้ ) นวด ๑๐ – ๑๕ คร้งั เอาหแู นบฟงั คร้ังหนงึ่

(๕) หากไม่หายใจ (ตรวจโดยดูการขยายของซ่ีโครงและ
หน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย ดังนี้คือการ
เป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย แหงนคอและเชยคางข้ึน ใช้หัวแม่มือง้าง

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๓ู้)

ปลายคางผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆ ให้ล้วงออก
ให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามากๆ ผู้ช่วยเหลืออ้าปากแล้วประกบกับ
ปากผู้ปว่ ยให้สนทิ และเป่าลมเข้าไปอย่างแรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก แล้ว
ปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีก ทําเช่นนี้เป็นจังหวะๆ
เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผู้ใหญ่นาทีละ ๑๒ – ๑๕ ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ
๒๐ – ๓๐ ครั้ง) ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเป่าเข้าทางจมูกแทน
ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยดุ เต้นและไมห่ ายใจดว้ ย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก
ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก ๒ ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ
๑๕ ครั้ง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน ก็ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก
เป็นทํานองเดียวกัน โดยเป่าปาก ๑ คร้ัง นวดหัวใจ ๕ ครั้ง การปฐม
พยาบาลน้ีต้องรีบทําทันที หากช้าเกินกว่า ๔ – ๖ นาที โอกาสที่จะฟื้นมี
น้อย ขณะพาส่งแพทย์ก็ควรทําการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา การ
ช่วยหายใจในผปู้ ว่ ยทห่ี ยดุ หายใจด้วยการผายปอด จะต้องระวังไม่ให้ล้ินไป
อดุ หลอดลมด้วย

รปู ท่ี ๒.๖ การปฐมพยาบาลผไู้ ดร้ ับอันตรายจากไฟฟ้า

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๔ู้)

๒.๓ เครือ่ งมอื ในงานติดต้งั ไฟฟ้าภายนอกอาคาร
๒.๓.๑ เครือ่ งมือในงานขุดหลมุ ปักเสาไฟฟ้า
เครื่องมือสําหรับการขุดหลุมและการปักเสาแบ่งเป็น ๒

ชนิด คือ เครื่องมือขุดหลุมโดยใช้แรงงานคน และเคร่ืองมือขุดหลุมโดยใช้
เคร่อื งผ่อนแรง

ตารางที่ ๒.๓ เครอื่ งมือขดุ หลมุ ปกั เสาโดยใช้แรงงานคน

ชนดิ ชือ่ ลักษณะการใชง้ าน

เสยี มขุด ใชส้ ําหรบั ขดุ หลมุ เปน็ ชอ่ ง

ลึกลงในดิน สาํ หรบั ปักเสา

พลวั่ หนีบ ใช้นํามูลดินขึ้นมาจากกน้
ช้อนตักดิน หลุม ในกรณหี ลมุ ลึกกวา่
พลว่ั ช้อนดนิ ๑ เมตร
อเี ต้อ
ใช้ตักมลู ดินที่อยกู่ น้ หลมุ
ออกมาท้ิงนอกหลุม

เหมาะสําหรับตักมูลดนิ ผิว
หนา้ ดินหรือในระดบั ความ
ลึกไมม่ าก
ใชใ้ นงานขุดเจาะพน้ื แขง็
เชน่ พ้นื หนิ หรอื คอนกรีต
โดยจะใชอ้ เี ตอ้ เปิดผวิ เม่ือ
ถงึ หนา้ ดินจงึ ใช้เสยี มขุด

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๑ร๕ู้)

ตารางท่ี ๒.๓ เครื่องมอื ขดุ หลมุ โดยใช้แรงงานคน (ต่อ)

ชนดิ ชื่อ ลกั ษณะการใชง้ าน
ชะแลง ใช้ในงานขุดเจาะพื้นแข็ง
ในพ้ืนท่ีแคบ และยังใช้งัด
แผ่นหิน แผ่นคอนกรีตเพ่ือ
ยกออกจากผิวดินก่อนการ
ขดุ หลมุ
ขอบิดเสา ใชพ้ ลกิ เสาไฟฟา้ ใหเ้ ปล่ียน
ตําแหน่งหรอื กลบั ด้าน

ไม้ยนั เสา เปน็ เครือ่ งมือทใี่ ชย้ นั เสาให้
เสาลงหลมุ

ไมย้ ันเสา ใช้ยันเสาใหอ้ ยู่กับท่ี ก่อนท่ี

ปลายแหลม เสาจะลงหลุม

ไม้คํา้ เสา ใช้คํ้าเสาพกั ไวก้ อ่ นจะยนั
เสาลงหลุม

ไม้กระดานรอง ใชร้ องโคนเสาขณะกาํ ลัง
โคนเสา นาํ เสาลงหลมุ ปอ้ งกนั ไม่

ให้โคนเสาชนปากหลุม

คูม่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๖ู้)

ตารางที่ ๒.๔ เครอื่ งมอื ขุดหลมุ ปักเสาโดยใชเ้ ครอื่ งผอ่ นแรง

ชนดิ ชือ่ ลกั ษณะการใชง้ าน
สว่านขดุ หลุม ใช้แรงเคร่ืองยนต์ในการ
หมุนด้ามสว่าน ส่วนหัว
สวา่ นกเ็ จาะลกึ ลงไปในดิน

รถขดุ หลุม รถบรรทุกติดตั้งสว่านที่ตัว
รถ ใช้ระบบไฮดรอลิกส์
และเครื่องจักรกลในการ
หมุน

รถยก ใช้เคล่ือนย้ายหรือยกเสา
ไฮดรอลกิ ส์ แบบคอนกรีตอัดแรงที่มี
นาํ้ หนักมาก

เคร่อื งกระทุ้ง ช่วยทําใหโ้ คนเสาไฟฟา้ ตดิ
ดนิ แน่นกับพ้ืนดนิ ไม่เกดิ การ
สัน่ คลอน

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๑ร๗ู้)

๒.๓.๒ เคร่อื งมือในงานพาดสาย และตอ่ สายไฟฟ้า
วัตถุประสงค์ของเคร่ืองมือในการดึงสายไฟฟ้า คือ จะ

ชว่ ยให้ดึงสายได้ระยะพอดี ไมต่ งึ หรอื หยอ่ นจนเกินไป
ตารางท่ี ๒.๕ เครอื่ งมือในงานพาดสาย และตอ่ สายไฟฟ้า

ชนิด ช่ือ ลักษณะการใชง้ าน
คัมอะลอง ใช้จับยึดสายไฟฟ้า โดยมี
(Come Along) ปากหนีบใชจ้ ับสายไฟฟา้
ใหแ้ นน่ และห่วงสําหรบั ใช้
ค ล้ อ ง กั บ ค อ ฟ ฟิ ง ฮ อ ย ท์
เวลาดงึ สาย
คอฟฟิงฮอยท์ ใช้สาํ หรบั ดงึ สายไฟฟา้ ให้
(Coffing Hoist) ตงึ ในงานพาดสายไฟฟ้า
ชว่ ยผอ่ นแรงเวลาดงึ สาย

คมี ตดั สายไฟฟ้า ใชต้ ัดสายไฟฟา้ ขนาดใหญ่

คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๑ร๘ู้)

ตารางท่ี ๒.๕ เครื่องมอื ในงานพาดสาย และตอ่ สายไฟฟ้า (ตอ่ )

ชนดิ ชือ่ ลกั ษณะการใชง้ าน

คีมบีบต่อสาย ใช้สําหรับบีบหรือยํ้าหลอด
ตอ่ สายไฟฟ้า หรอื ยาํ้ หาง
ปลาเขา้ กบั สายไฟฟา้

คมี ตอ่ สายแบบ ใช้งานเช่นเดียวกับคีมบีบ
ไฮดรอลกิ ส์ ต่อสาย เปน็ เครอ่ื งมอื ชว่ ย

ผอ่ นแรง

รอกเด่ยี ว รอกชนิดน้ีไม่ได้ช่วยผ่อน
รอกโซ่ แ ร ง แ ค่ อํ า น ว ย ค ว า ม
สะดวกในการนําสิ่งของข้ึน
หรือลงจากท่ีสงู เทา่ น้ัน

เป็นเคร่ืองมือสําหรับการ
ยกเสาลงหลุม หรือรองรับ
น้ําหนักสายไฟฟ้าระหว่าง
การพาดสาย

เชอื ก ใช้สําหรับดึงวัสดุ-อุปกรณ์
เ ค ร่ื อ ง มื อ ข้ึ น แ ล ะ ล ง ใ น
แนวด่ิงโดยใช้งานร่วมกับ
รอก และยังใช้ปลดรอก
จากหัวเสาลงสู่เบ้ืองล่าง
เมื่อใชง้ านเสรจ็

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๑ร๙ู้)

ตารางที่ ๒.๕ เครอ่ื งมอื ในงานพาดสาย และต่อสายไฟฟา้ (ต่อ)

ชนิด ชอ่ื ลกั ษณะการใช้งาน
เล่ือยตดั เหล็ก ใช้ตัดไม้ สายยึดโยง และ
ตดั สว่ นทเี่ ป็นโลหะทุกชนิด

รถยนต์ ใช้ยกของที่มีนํ้าหนักมาก
ไฮดรอลิกส์ และใชด้ ึงสายไฟฟ้าจํานวน
หลายๆเส้นทําให้สะดวก
รวดเร็วและใช้เวลาในการ
ปฏิบัติงานน้อยลง ซึ่งที่
ร ถ ย น ต์ น้ี ไ ด้ มี ก า ร ติ ด ตั้ ง
อุปกรณ์ท่ีเรียกว่า วินซ์
เ พ่ื อ เ พื่ อ ช่ ว ย ใ น ก า ร ดึ ง
สายไฟฟา้ ได้รวดเร็วข้นึ

๒.๓.๓ เครื่องมอื ประจาํ ตวั สาํ หรับปนี เสาไฟฟา้
เป็นเคร่ืองมือท่ีช่วยอํานวยความสะดวกในการปีนเสา

ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบน
เสาไฟฟ้า

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๐ู้)

ตารางที่ ๒.๖ เคร่ืองมอื ประจําตวั สาํ หรบั ปีนเสาไฟฟา้

ชนิด ชอื่ ลกั ษณะการใชง้ าน

ถุงมือยาง ใช้สวมขณะปฏิบัติงานที่
ต้องสัมผัสกับสายไฟฟ้า
เมื่อไม่มีการดับไฟ เช่น
การตอ่ ตอ่ สายไฟฟา้

ถุงมือหนัง จ ะ ใ ช้ ส ว ม ป ฏิ บั ติ ง า น ดึ ง
สายไฟฟ้า การยึดโยงสลิง
หรือป้องกันความคมของ
เหลี่ยมเสาไฟฟา้

ชุดเข็มขดั นิรภัย ใช้ยึดร้ังลําตัวให้ติดกับเสา
ข ณ ะ ป ฏิ บั ติ ง า น บ น เ ส า
ไฟฟ้า ประกอบด้วย
- ส่วนเขม็ ขดั
- สายกันตกใช้คล้องกับ
เสาไฟฟ้าเพื่อรับน้ําหนัก
ผู้ปฏิบัติงาน ก่อนใช้งาน
ควรตรวจสอบว่ามีรอยสึก
ถึงแถบสีแดงหรือไม่ ถ้าถึง
แถบสีแดงแสดงว่าสายกัน
ตกเส่ือมสภาพให้เปลี่ยน
ใหม่ ห้ามใช้เด็ดขาด

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๒ร๑ู้)

ตารางท่ี ๒.๖ เครอ่ื งมอื ประจาํ ตัวสาํ หรับปีนเสาไฟฟ้า (ตอ่ )

ชนดิ ช่ือ ลกั ษณะการใชง้ าน
หมวกนิรภยั ใ ช้ ส ว ม บ น ศี ร ษ ะ เ พื่ อ
ป้องกันอุบัติเหตุท่ีบริเวณ
ศีรษะในขณะปฏิบัติงาน
อันเนื่องมาจากเครื่องมือ
และอุปกรณ์ต่างๆ หล่นลง
มาถูกศีรษะ
รองเทา้ นริ ภัย มีความแข็งแรง ปลอดภัย
แ ล ะ ต้ อ ง มี ค ว า ม เ ป็ น
ฉนวนไฟฟ้า เพ่ือใช้ป้องกัน
การถูกไฟฟ้าดูด บริเวณ
ส่วนหัวของรองเท้าจะเป็น
โลหะใช้ป้องกันเคร่ืองมือ
และอุปกรณ์หลน่ ทบั
เหลก็ ปนี เสา ใช้ในการเหยียบปีนเสาไฟ
ทําจากเหล็กกลมเช่ือมติด
กับเหล็กแผ่น ใช้เชือก
ผูกมัดให้กระชับกับเท้า
เหล็กปีนเสาคอนกรีตควร
มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป็ น โ บ ล ต์ ท่ี มี
เ ก ลี ย ว ต ล อ ด ค ว า ม ย า ว
ขนาด ๑/๒ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว
ความยาวที่สอดเข้ารูเสา
ประมาณ ๔ นิ้ว

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๒ร๒ู้)

๒.๓.๔ เครื่องมือปฏิบัตงิ านซ่อมบาํ รุงระบบไฟฟา้

ตารางท่ี ๒.๗ เคร่ืองมือปฏบิ ตั ิงานซ่อมบาํ รงุ ระบบไฟฟ้า

ชนดิ ชื่อ ลกั ษณะการใช้งาน

ไม้ชกั ฟวิ ส์ ใช้ปลดหรือสับจ่ายไฟฟ้า
สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง และ
ส วิ ต ซ์ ตั ด ต อ น แ ร ง ตํ่ า

สําหรบั งานบํารงุ รกั ษา

บันไดสไลด์ ใช้ปีนเพื่อซ่อมแซมและ

บํารุงรักษาระบบไฟฟ้า

๒.๓.๕ เครอื่ งมือช่างทั่วไป
เครื่องมือช่างไฟฟ้าส่วนใหญ่ด้ามจับจะเป็นฉนวน เพ่ือ

ป้องกนั ไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายทาํ อนั ตรายแกผ่ ู้ปฏิบตั ิงาน

ตารางท่ี ๒.๘ เครอ่ื งมือใช้ปฏิบัตงิ านทางไฟฟ้าทั่วไป

ชนิด ชอ่ื ลักษณะการใช้งาน
คมี ปากจิ้งจก เป็นคีมที่ช่างไฟฟ้านิยมใช้
ทํางานได้หลายแบบ ท้ัง
จับชิ้นงาน ดัดสายและตัด
สายไฟฟ้า

คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๓ู้)

ตารางที่ ๒.๘ เครื่องมอื ใชป้ ฏิบตั งิ านทางไฟฟา้ ท่ัวไป (ตอ่ )

ชนิด ชอ่ื ลักษณะการใช้งาน
คมี ปากแหลม ใชจ้ บั หรอื บบี ชนิ้ งาน
ขนาดเล็ก

คีมตัดสาย ใ ช้ ตั ด ส า ย ไ ฟ ฟ้ า คี ม ที่
เหมาะกับงานไฟฟ้าควรมี
คีมยํ้าหางปลา ด้ามจับที่มีฉนวนหุ้มอย่าง
คีมลอ็ ค สมบรู ณ์

ใช้หนีบย้ําขวั้ ต่อสายไฟฟ้า
หรือปลายสายเข้ากับหาง
ปลา มหี ลายขนาด

เปน็ เครื่องมือท่ีจับชนิ้ งาน
ใหแ้ นน่ ไม่ควรนาํ มาคลาย
น็อตหวั หกเหลยี่ มเพ่อื
เคล่อื นยา้ ยเครื่องจักรหรือ
มอเตอร์ออกจากแทน่

ไขควงปากแบน ใช้ไขหรือหมุนหัวสกรูท่ี
เปน็ รอ่ งทางเดียว ท่ีเรยี ก
ว่าหวั แบน

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๔ู้)

ตารางที่ ๒.๘ เครือ่ งมอื ใชป้ ฏบิ ตั ิงานทางไฟฟา้ ทัว่ ไป (ต่อ)

ชนิด ชอ่ื ลักษณะการใช้งาน

ไขควงปากแฉก ใช้ไขหรือหมุนหัวสกรูท่ี
เปน็ รอ่ งกากบาท ทเี่ รียก
ว่าหัวแฉก

ค้อนหงอน ด้ามทําด้วยไม้หรือเหล็ก
หุ้มฉนวน ใชต้ ีตะปทู ั่วไป

คอ้ นปอนด์ ใช้สําหรับทุบหิน คอนกรีต
มดี ปอกสาย ตา่ งๆ

ตัวมีดจะเปน็ เหลก็ อย่างดี
ด้ามมีดมียางหมุ้ เพ่ือป้อง
กันอันตรายจากไฟฟ้า

ประแจเล่อื น ใชข้ นั แปน้ เกลยี ว หรือสลัก
และ เกลียวของอุปกรณต์ ดิ ตัง้
ประแจแหวน ภายนอก
ขา้ งปากตาย

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๕ู้)

๒.๓.๖ เครื่องมือวดั และทดสอบ
ใช้ในการตรวจสอบความชํารุดเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ไปจนถงึ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังจากทาํ การตดิ ตง้ั เสร็จเรยี บรอ้ ยแลว้

ตารางท่ี ๒.๙ เคร่ืองมือวัดและทดสอบทางไฟฟา้

ชนิด ชอ่ื ลกั ษณะการใชง้ าน

แคล้มป์ออน ใชส้ าํ หรบั วัดค่ากระแส
มิเตอร์ ไฟฟ้าสงู ๆ
(Clamp-on
Meter)

มัลตมิ ิเตอร์ ใชว้ ัดแรงดันไฟฟ้า ความ
ต้านทาน และตรวจสอบ
ความตอ่ เนือ่ งทางไฟฟา้

เมกเกอร์ ใช้สาํ หรบั ทดสอบความ
(Insulation เปน็ ฉนวนของสายไฟฟา้
Tester)

เครือ่ งทดสอบ ใชส้ ําหรับทดสอบความ

หลักดิน ต้านทานของดนิ

(Earth Tester)

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๒ร๖ู้)

๒.๓.๗ ความปลอดภัยในการใชเ้ ครอ่ื งมือ
(๑) ใช้เครอื่ งมือใหถ้ ูกตอ้ งกบั งานทที่ ํา และใช้ด้วยความ

ปลอดภัยต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เคร่ืองมือน้ันดี การใช้เครื่องมือไม่
ถูกต้องจะทาํ ให้งานท่ีทาํ ไม่เรียบรอ้ ยและผดิ พลาดได้ง่าย รวมถึงเป็นสาเหตุ
ท่ีก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้เคร่ืองมือได้ การใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพ
ในการทํางานจะทําให้งานสําเร็จและเรียบร้อย นอกจากจะใช้เครื่องมือให้
ถูกชนิดแล้วยังต้องใช้ให้ถูกขนาดด้วย เช่น ไม่ควรใช้ประแจปากตายผิด
ขนาดกบั นอ็ ต

(๒) ศึกษาวิธีใช้เคร่อื งมอื อย่างถูกต้อง เคร่อื งมอื ทกุ ชิ้น
ควรจะมีการศึกษาเพื่อให้ทราบวิธีการใช้อย่างปลอดภัย อย่าฝืนด้วยแรง
หรือใช้เคร่ืองมือเกินกําลัง การใช้เคร่ืองมือไม่ถูกต้อง เช่น ใช้คีมแทน
ประแจปากตายไปขันน็อต ใช้ไขควงแทนสิ่วเอาไปเจาะไม้ (อนุโลมให้ใช้
ปลายไขควงแบนเล็กขดี แนวบนวสั ดุอ่อนๆได้)

(๓) เก็บเคร่ืองมือไวใ้ หอ้ ย่ใู นสภาพดเี สมอ การตรวจสอบ
เคร่ืองมือเป็นระยะจะช่วยให้เคร่ืองมืออยู่ในสภาพที่ดี หมั่นตรวจดู
เครื่องมือก่อนใช้งานถ้าสภาพของเคร่ืองมือไม่ดีพอหรือชํารุด ห้ามใช้
เคร่ืองมือน้ันอย่างเด็ดขาด เคร่ืองมือที่ชํารุดนอกจากจะเป็นอันตรายแล้ว
ยังอาจทําให้ผลงานท่ีทําบกพร่องได้ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเครื่องมือ
ชํารุดมีอันตรายจะต้องจัดการเปลี่ยนหรือซ่อมทันที เช่น เคร่ืองมือไฟฟ้า
ควรตรวจสอบฉนวนไฟฟ้าใหอ้ ยสู่ ภาพดีเสมอ

(๔) เครื่องมือสําหรบั ตดั ชิ้นงานจะต้องคมและสะอาดอยู่
เสมอ เครื่องมือท่ีไม่คมจะทําให้การทํางานไม่เรียบร้อยและอาจจะเกิด
อันตรายได้เพราะต้องออกแรงมากจนไม่สามารถจะควบคุมการทํางานให้
การใช้เครื่องมือให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยํา ส่ิงสกปรกหรือคราบ
น้ํามันที่ติดอยู่กับเครื่องมืออาจทําให้ลื่นและเกิดอันตรายได้ เช่น อุปกรณ์
เครื่องหนังต่างๆ เม่ือเป้ือนโคลนหรือข้ึนรา ควรนําไปตากแดดให้แห้งก่อน
นํามาทําความสะอาด

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๗ู้)

(๕) จดั เกบ็ เครือ่ งมือไว้ในทปี่ ลอดภยั และเปน็ ประเภท
เดียวกันจัดเรียงตามขนาดของเคร่ืองมือ เครื่องมือที่ดีถ้าไม่เก็บไว้ท่ี
ปลอดภัยแล้วอาจจะเป็นอันตรายได้โดยง่าย บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุเกิดจาก
การวางเครอ่ื งมือไวบ้ นบนั ได ชัน้ วางของ หรอื นง่ั ร้าน เคร่ืองมืออาจจะหล่น
ลงมาได้ เคร่ืองมือแต่ละอย่างควรระบุตําแหน่งท่ีจะเก็บไว้ในกล่องเก็บ
ห้ามนําเครื่องมือใส่กระเป๋าเส้ือหรือกางเกง ยกเว้นกระเป๋าที่ออกแบบ
สาํ หรับใส่เคร่ืองมอื น้นั ๆ โดยเฉพาะ และควรทําความสะอาดเคร่ืองมือก่อน
เกบ็ เข้าภาชนะด้วย

(๖) อย่าวางสว่ นท่ีเป็นคมของเครอ่ื งมอื ไวก้ ับขอบโต๊ะ
ทํางาน เพราะการปัดทําความสะอาด อาจทําให้เคร่ืองมือน้ันตกลงมาถูก
ขา หรือเท้าทําให้บาดเจ็บได้ เม่ือต้องการจะเคล่ือนย้ายเครื่องมือท่ีแหลม
คม ให้เอาส่วนท่ีแหลมหรือคมปักหัวลงข้างล่างหรือหันออกนอกตัวจะทํา
ให้การเคลื่อนย้ายเครื่องมือเป็นไปด้วยความปลอดภัย และต้องแน่ใจ
เสียก่อนว่าสถานทว่ี างเครื่องมือนนั้ จะต้องมีความปลอดภัยเสมอ

(๗) เครอ่ื งมอื ไฟฟ้า อยา่ พยายามใชเ้ คร่ืองมอื ไฟฟา้ โดย
ไม่รู้หลักการทํางานของเครื่องมือ วิธีใช้และข้อแนะนําในด้านความ
ปลอดภัยของเครื่องมือ ก่อนจะใช้งานควรสอบถามหรือขอคําแนะนําจาก
ผ้รู ้หู รือหัวหน้างานของเสยี กอ่ น

(๘) ระบบการตอ่ ลงดิน เครื่องมอื ไฟฟา้ ทุกชนิดจะต้องมี
การต่อลงดิน (grounding) เสมอ (ยกเว้นเคร่ืองมือไฟฟ้านั้นเป็นแบบ
ฉนวนห้มุ ๒ ช้นั ) และควรใชเ้ ซอร์กติ เบรกเกอรแ์ บบตรวจจับไฟร่ัวก็จะช่วย
เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึน้ เช่น การใช้สว่านไฟฟ้าควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน
ไฟรวั่ จงจําไว้เสมอวา่ การไม่ต่อลงดินของเครื่องมือไฟฟ้าจะทําให้ถูกไฟฟ้า
ดดู ได้

(๙) พึงระลึกไว้เสมอว่า การป้องกันอุบัติเหตุเป็นหน้าท่ี
ของผู้ปฏิบตั ิงานเอง เป็นอนั ดบั แรก

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๒ร๘ู้)

๒.๔ วสั ดุและอุปกรณ์ในงานตดิ ตง้ั ไฟฟา้ นอกอาคาร
๒.๔.๑ สายไฟฟ้า
(๑) สายไฟฟา้ ระบบแรงสูง
สายไฟฟ้าท่ีใช้กับระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า

นิยมใช้สายอะลูมิเนียม มีข้อดีกว่าสายทองแดงหลายประการคือ ราคาถูก
น้ําหนักเบา ซ่ึงส่งผลต่อต้นทุนด้านโครงสร้างท่ีต่ําลงด้วย ใช้กับระบบ
แรงดนั สงู กวา่ ๑,๐๐๐ โวลท์

ตารางท่ี ๒.๑๐ สายไฟฟา้ ระบบไฟฟา้ แรงสูง

ชนิด ชอ่ื ลกั ษณะการใชง้ าน

สายอลมู เิ นยี มลว้ น ทําจากอลมู ิเนยี มบรสิ ุทธ์ิ
: AAC ร้อยละ ๙๙.๕ เป็นสาย
(All Aluminium ตัวนําตีเกลียวแบบเปลือย
conductors) สายชนิดน้ีรับแรงดึงได้ตํ่า

ไม่สามารถขงึ สายทม่ี รี ะยะ

ห่างระหว่างช่วงเสามากได้

สายอลมู ิเนียม ทําจากอลูมิเนียมผสม โดย
ผสม : AAAC เป็นอลูมิเนียมร้อยละ ๙๙
(All Aluminium แมกนีเซียม ร้อยละ ๐.๕
Alloy
conductors) และซิลิกอน ร้อยละ ๐.๕
รับแรงดึงได้สูงกว่าสาย

อลูมิเนียมล้วน แต่มีความ

ต้านทานมากกว่า จึงใช้ใน

ท่ีจําเป็น เช่น บริเว ณ

ชายทะเล

คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๒ร๙ู้)

ตารางที่ ๒.๑๐ สายไฟฟา้ แรงสงู (ตอ่ )

ชนิด ชอื่ ลกั ษณะการใช้งาน

สายอลมู ิเนียม สายชนิดน้ีประกอบไปด้วย
แกนเหล็ก : ACSR ส า ย อ ลู มิ เ นี ย ม รี ด แ ข็ ง
( Aluminium
conductors มากกว่า ๗ เส้น โดยมีสาย
steel แ ก น เ ห ล็ ก อ ยู่ ต ร ง ก ล า ง
reinforced) สายเหล็กท่ีใส่ไว้จะช่วยรับ

แรงดึงได้สูงมากกว่า AAC

ประมาณ ๒ เท่า จึงนิยม

ใ ช้ กั บ เ ส า ส่ ง โ ค ร ง เ ห ล็ ก

พิกดั แรงดนั ไฟฟา้ สูง

สายเคเบิลอากาศ เปน็ สายอลูมิเนียมตีเกลียว
แรงสงู : SAC
(Space Aerial เปลือยหุ้มด้วยฉนวนหนา
Cable) จะใช้งานคู่กับ สเปเซอร์
(Spacer) ทําหน้าที่ไม่ให้

ส า ย พั น ห รื อ ติ ด กั น แ ล ะ

ไ ม่ ใ ห้ ส า ย ก ร ะ ท บ กั น

เนือ่ งจากแรงลม

(๒) สายไฟฟา้ ระบบแรงตํ่า
นยิ มเปน็ สายทองแดง หรืออลมู ิเนยี มหุ้มฉนวน

พีวีซี (PVC) ใช้กับแรงดันไฟฟ้าขนาดไม่เกิน ๗๕๐ โวลท์ แรงดันไฟฟ้า
ฉนวนน้ันมีหน้าที่เพื่อป้องกันการลัดวงจร การเกิดไฟฟ้าร่ัว หรือป้องกัน
ไฟฟา้ ดดู สายไฟฟา้ ทีน่ ยิ มใช้ มดี ังตอ่ ไปน้ี

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๐ู้)

ตารางที่ ๒.๑๑ สายไฟฟ้าระบบแรงตาํ่

ชนดิ ชอื่ ลกั ษณะการใชง้ าน
สาย VAF-GRD ภายในประกอบด้วยสาย
ทองแดง จํานวน ๓ เส้น
หุม้ ด้วยฉนวน PVC เหมาะ
สําหรับงานเดนิ สายไฟฟ้า
ด้วยเข็มขดั รัดสาย
สาย VFF ภายในจะประกอบด้วย
สายทองแดงฝอยจํานวน
ส อ ง แ ก น หุ ้ ม ด ้ ว ย ฉ น ว น
พวี ซี ี เหมาะสําหรับงานที่
ตอ้ งเคลอ่ื นย้ายบอ่ ย ๆ
สาย VSF ภายในประกอบด้วยสาย
ทองแดงฝอยหุ้มด้วยฉนวน
พีวีซชี ้ันเดียว เปน็ สายชนิด
อ่อนตัวได้ นิยมใช้ในวงจร
ตู้ควบคุมไฟฟ้า
สาย THW ลักษณะการติดตั้ง เดิน
ลอยต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน
เ ดิ น ใ น ช่ อ ง ร้ อ ย ส า ย ใ น
สถานท่ีแห้ง เดินรอ้ ยท่อฝัง
ดินได้แต่ต้องป้องกันไม่ให้
นํา้ เข้าภายในท่อ

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๑ู้)

ตารางท่ี ๒.๑๑ สายไฟฟา้ ระบบแรงต่ํา (ต่อ)

ชนดิ ชื่อ ลกั ษณะการใชง้ าน
สาย VCT ภายในประกอบด้วยสาย
ทองแดงฝอยมีจํานวน ๒
แกน หรือมากกว่าหุ้มด้วย
ฉนวน ๒ ช้ันและอ่อนตัว
ได้ ใช้เดินจากตู้ควบคุมไป
ยังเครื่องจักรที่ใหญ่และ
เคล่ือนท่ีได้
สาย NYY ภายในประกอบด้วยสาย
ทองแดงจํานวนสองแกน
หรือมากกว่า หุ้มด้วย
ฉ น ว น ๓ ช้ั น เ ห ม า ะ
สําหรับการเดินสายใต้ดิน
โดยตรงหรือใชง้ านทวั่ ไป

๒.๔.๒ เสาไฟฟา้
เสาไฟฟ้าทําหน้าที่รับน้ําหนักของอุปกรณ์ต่างๆ รับแรง

ดึงของสายไฟฟ้า และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า โคมไฟ
สาธารณะ เคร่อื งวัดหน่วยไฟฟา้ เปน็ ตน้

(๑) เสาไม้ (Wood Pole)
เสาไฟฟ้าชนิดไมเ้ ปน็ เสาไม้เตง็ ซึ่งมีคุณสมบตั ิ

คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี หรือเสาไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยาง ปัจจุบัน
การไฟฟ้าได้ยกเลิกการใช้เสาไม้ เพราะมีอายุการใช้งานที่จํากัด หายาก
และมีราคาแพง

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๒ู้)

รปู ที่ ๒.๗ เสาไฟฟา้ ชนดิ ไม้
(๒) เสาคอนกรตี (Concrete Pole)
เสาชนดิ นีท้ าํ จากคอนกรีตเสรมิ เหล็ก มอี ายุการ

ใช้งานยาวนาน แข็งแรงทนทานต่อแรงกดและแรงดึงได้ดี ปฏิบัติงานได้
สะดวก ติดต้ังอุปกรณ์ต่างๆได้ง่าย และมีสายกราวด์ในตัว ใช้เป็นเสาส่ง
แรงดันสูงต้ังแต่ ๑๑๕ กิโลโวลท์ ลงมา มีความยาว ๘ ,๙ ,๑๐ ,๑๒ ,๑๔
เมตร

รปู ท่ี ๒.๘ เสาไฟฟา้ ชนดิ คอนกรตี
(๓) เสาโครงเหลก็ (Steel Tower)
เสาโครงเหลก็ เป็นเสาทผี่ ลิตโดยใช้เหล็กฉากชุบ

สังกะสีแล้วประกอบขึ้นเป็นเสาโครงเหล็ก มีความสูงและรับแรงดึงของ
สายไฟฟ้าได้มากกว่าเสาทุกชนิด แต่การใช้งานเสาชนิดน้ีก็ต้องมีการ
ตรวจสอบรอยตอ่ เพ่อื ปอ้ งกันเรื่องสนิมใชเ้ ปน็ เสาสง่ แรงดนั สูงต้งั แต่ขนาด

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๓ู้)

แรงดันไฟฟา้ ๑๑๕ กโิ ลโวลท์ ข้ึนไป

รูปท่ี ๒.๙ เสาไฟฟ้าชนิดโครงเหลก็

๒.๔.๓ คอนสาย (Cross arm)
คอนสายใชป้ ระกอบกับเสาไฟฟา้ เพื่อทําหน้าที่รองรับลูก

ถ้วยและสายไฟฟ้า หรือรองรับอุปกรณ์อ่ืนๆ เช่น ล่อฟ้า ฟิวส์แรงต่ํา ฟิวส์
แรงสูง เปน็ ต้น คอนสายทนี่ ิยมใชท้ าํ จากคอนกรตี อดั แรง คอนสายที่ใช้มีทั้ง
คอนเด่ยี วและคอนคู่ มีขนาดดังต่อไปนี้

(๑) ขนาด ๑๐๐×๑๐๐×๑๕๐๐ มิลลเิ มตร ใช้ติดต้ังฟิวส์
แรงตํา่ หรือสายเคเบิลอากาศ

(๒) ขนาด ๑๐๐×๑๐๐×๒๕๐๐ มิลลิเมตร ใช้เป็นคอน
พาดสายระบบแรงสูง ขนาด ๑๑-๑๒ กโิ ลโวลท์

(๓) ขนาด ๑๒๐×๑๒๐×๒๐๐๐ มิลลิเมตร ใช้ประกอบ
คอนคูส่ าํ หรบั ตดิ ลูกถว้ ยแขวนระบบแรงสงู ๑๑ ,๒๒ และ ๓๓ กโิ ลโวลท์

(๔) ขนาด ๑๒๐×๑๒๐×๒๕๐๐ มิลลิเมตร ใช้สําหรับ
ประกอบคอนคูเ่ พื่อตดิ ตงั้ ลกู ถ้วยแขวนบริเวณทางโค้ง

(๕) ขนาด ๑๒๐×๑๒๐×๒๕๐๐ มิลลิเมตร ใช้พาดสาย
ระบบแรงสงู ๑๑ ,๒๒ และ ๓๓ กโิ ลโวลท์

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๔ู้)

รูปท่ี ๒.๑๐ คอนสาย
๒.๔.๔ ลูกถ้วยไฟฟ้า (Insulator)
มีหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงตามเสา

ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทอี่ ยู่ข้างเคียง ซ่ึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตท่ีอยู่
ในบรเิ วณนน้ั ๆ วัสดุท่ีใช้ในการทําลูกถ้วยได้แก่ กระเบ้ืองเคลือบ หรือแบบ
แกว้ หลอมละลายเป็นต้น ผิวของลูกถ้วยจะทําให้เป็นมันเรียบป้องกันไม่ให้
ไอนํ้าหรือละอองน้าํ เกาะผิว ลกู ถ้วยแบง่ ชนิดไดด้ งั ต่อไปน้ี

(๑) ลูกถ้วยกา้ นตรง ( Pin type Insulators )
นําไปใช้กับระดับแรงดันไม่เกิน ๕๐ กิโลโวลท์

และขนาดสายไฟไม่เกิน ๒๔๐ ตร.มม. โดยด้านบนของลูกถ้วยจะทําเป็น
รอ่ งรองรบั สายไฟ ด้านลา่ งของลูกถว้ ยจะวางยึดอยู่กับก้านเหล็กและยึดติด
กับแขนของเสาสง่ ในแนวต้งั

รปู ท่ี ๒.๑๑ ลกู ถ้วยกา้ นตรง

คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๕ู้)

(๒) ลกู ถว้ ยติดเสา ( Post type Insulators )
พฒั นามาจากลูกถ้วยก้านตรง โดยมีจํานวนครีบ

มากกว่า เหมาะสําหรับการเดินสายผ่านช่องทางที่แคบมีสิ่งกีดขวาง
สามารถยึดได้ทั้งแนวตั้งและแนวระนาบ ใช้รองรับสายและจับยึดสายส่ง
แรงสงู

รูปท่ี ๒.๑๒ โครงสร้างของลูกถ้วยติดเสา
(๓) ลกู ถ้วยแขวน ( Suspension type Insulators )
นาํ ไปใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้าสูง ขนาดมากกว่า

๓๓ กิโลโวลท์ ขึ้นไปหรือสายไฟมขี นาดเกนิ ๒๔๐ ตร.มม.ขึ้นไป การติดต้ัง
สามารถนาํ ลูกถว้ ยแขวนมาต่ออนกุ รมกันตามจํานวนท่ีเหมาะสมกับแรงดัน
ใชร้ บั แรงดึงสายไฟฟ้าได้ดี

รูปท่ี ๒.๑๓ ลูกถว้ ยแขวน

คูม่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๖ู้)

(๔) ลกู ถว้ ยยึดโยง (Strain type Insulators)
ใช้ยึดโยงเสาเพ่ือเพ่ิมความแข็งแรง ในการปัก

เสาเดนิ สายไฟในทางโคง้ เปลยี่ นจากแนวเดิมหรอื เสาต้นสุดทา้ ย โดยใช้ลูก
ถ้วยคัน่ สายยึดโยง เพื่อป้องกนั กระแสร่วั ไหลจากเสาผ่านสายยดึ โยง

รปู ที่ ๒.๑๔ ลูกถว้ ยยดึ โยง
(๕) ลกู ถ้วยลกู รอก ( Spool type Insulators )
การเดินสายไฟแรงต่ําจะใช้ลูกถ้วยลูกรอกเป็น

ตัวยึดสายและป้องกันกระแสไฟฟ้าร่ัวลงโครง การใช้งานจะติดตั้ง
ร่วมกบั แรก็ ( rack )

รูปที่ ๒.๑๕ ลกู ถว้ ยลกู รอก

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๓ร๗ู้)

(๖) ลกู ถว้ ยรองรับอุปกรณ์ (Apparatus type
Insulators)

เปน็ ลกู ถ้วยที่ออกแบบมาสําหรับรองรับอุปกรณ์
ไฟฟา้ เชน่ ทอ่ บัส เพาเวอร์ฟิวส์ บุชชิ่งหมอ้ แปลง เปน็ ต้น

ก. ลูกถว้ ยเป็นส่วนประกอบของฟิวส์

ข. ลกู ถ้วยเป็นสว่ นประกอบของหมอ้ แปลง
รูปที่ ๒.๑๖ ลูกถ้วยรองรบั อุปกรณ์

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๘ู้)

๒.๔.๕ อปุ กรณ์สาํ หรับยึดโยงเสาไฟฟา้
การยึดโยงมีหน้าท่ีเสริมความแข็งแรงให้กับเสาไฟฟ้า

และรบั แรงดึงของสายทีม่ ตี ่อเสาไฟฟ้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น เสาต้นแรกใน
การพาดสายถงึ เสาต้นสดุ ทา้ ย (Dead End) เสาต้นทางโค้ง เสาต้นทางแยก
เปน็ ตน้
ตารางที่ ๒.๑๒ อุปกรณส์ าํ หรับยึดโยงเสาไฟฟา้

ชนิด ชื่อ ลักษณะการใชง้ าน

สลงิ เป็นอุปกรณ์ท่ียึดโยงรับ
(Guy wire) แรงดึง ไม่ยืด และไม่เป็น

สนิม สําหรับใช้ดึงเส า
ไฟฟ้า เส าส่งสัญญาณ
ผ ลิ ต จ า ก ล ว ด เ ห ล็ ก ชุ บ
สังกะสอี ย่างดี การนําไปใช้
จะต้องคํานึงถึงขนาดแรง
ดึงของสายดว้ ย

สมอบก ใช้กับพ้ืนท่ีท่ัวไปซึ่งเป็นดิน
(Anchor) เป็นท่ีลุ่ม หรือเป็นทราย
แบบใบพดั ร่วน สามารถใช้เครื่อง
เ จ า ะ ส ม อ บ ก ล ง ดิ น ไ ด้
สะดวก ทําหน้าที่ยึดโยง
เสาไฟฟ้าและรับแรงดึง
ของสายไฟฟา้

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๓ร๙ู้)

ตารางที่ ๒.๑๒ อปุ กรณ์สาํ หรบั ยดึ โยงเสาไฟฟ้า (ตอ่ )

ชนดิ ชือ่ ลกั ษณะการใช้งาน
กา้ นสมอบก ใช้จับสายยึดโยงเข้ากับทุ่น
(Rod Anchor) สมอบก

สลักห่วง แบบหวั งอใชจ้ ับยึดสายยึด
๔๕ องศา โยงเขา้ กบั เสาไฟฟา้
และ สําหรบั สายยึดโยงทาํ มุม
มากกวา่ ๔๕ องศากับเสา หรือแบบ
๔๕ องศา หัวตรง ใช้กรณีเกนิ กว่า
๔๕ องศา
แผน่ ห่วงยดึ โยง
(Guy ใ ช้ ใ น ก า ร ดึ ง ส า ย ยึ ด โ ย ง
Attachment) ด้านหน่ึงจะมีรูไว้ยึดกับ
สลักเกลียวใช้ยึดติดกับหัว
กายการ์ด เสาไฟฟ้า อีกด้านหนึ่งเป็น
(Guy Guard) หว่ งสาํ หรับผกู สายยึดโยง
ทีม่ ีขนาดมมุ ๓๐ องศา

เป็นอุปกรณ์ที่ติดไว้กับสาย
ก า ย ช่ ว ง ติ ด กั บ พื้ น ดิ น
เพื่อให้เป็นที่สังเกตเห็นได้
ชัดเจน และท่ีตัวกายการ์ด
จะทาสีดําขาวหรือสีแดง
ขาว ส่วนมากจะพบบ่อย
ในทีช่ มุ ชนหรอื ทางสญั จร

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๐ู้)

ตารางที่ ๒.๑๒ อุปกรณส์ าํ หรับยดึ โยงเสาไฟฟา้ (ตอ่ )

ชนิด ช่อื ลกั ษณะการใชง้ าน

ยูแคลมป์ ใช้รัดสายยึดโยง มีอยู่ ๒

(U-Clamp) แบบ คือ แบบสลักเดี่ยว

(Clamp Single U-Bolt)

และแบบ สลักคู่(Clamp

Single Eye Bolt)

หว่ งโค้งสาย ใช้รองรับการโค้งของสาย
(Guy ยึดโยง โดยการสอดเข้ากับ
Thimble) สมอบก

แหวนส่เี หลี่ยม ใชส้ ําหรับรองรับหัวนอ็ ต
แบน ของสลักเกลยี วแบบตา่ งๆ
(square
washer)

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๑ู้)

ตารางที่ ๒.๑๒ อุปกรณ์สาํ หรับยดึ โยงเสาไฟฟา้ (ตอ่ )

ชนดิ ชือ่ ลกั ษณะการใช้งาน

พรีฟอรม์ ใช้รัดสายไฟฟ้า ในการยึด

(Preformed) สายไฟกบั ลกู ถ้วย เพอื่ รบั

แรงดึง หรือใช้เป็นตัวจับ

ยึดสายยึดโยง

ลวดอลูมิเนียม ใช้ผูกสายไฟฟ้ากับลูกถ้วย

กลม ลูกรอก ใช้รัดสายไฟฟ้าติด

(Tie wire) กบั ลูกถ้วยก้านตรง

๒.๕ การขดุ หลุมปักเสาไฟฟ้า
๒.๕.๑ การขุดหลมุ เสา
การดําเนินการขุดหลุมปักเสาไฟฟ้า จะต้องมีการสํารวจ

พื้นที่และสภาพแวดล้อม เพ่ือใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดแบบการก่อสร้าง
ให้สอดคล้องกับสภาพพ้ืนท่ีจริง โดยจะต้องอนุรักษ์ธรรมชาติให้มากที่สุด
ดงั นั้นผู้ปฏบิ ตั งิ านควรมีความรู้ในการตัดแต่งต้นไม้ไม่ทําให้ต้นไม้โทรมตาย
ภายหลังการตัด รวมถึงการปักเสาต้องไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งปลูกสร้าง
ข้างเคียง วิธีการขุดหลุมปักเสาไฟฟ้า สามารถแบ่งตามวิธีการปฏิบัติได้ ๓
ลักษณะ คือ

(๑) ใชแ้ รงงานคน
การขดุ ดว้ ยวธิ ีธรรมดาโดยใช้ จอบ เสียม ชะแลง

พล่ัวหนีบ เป็นต้น หรือขุดโดยใช้สว่านมือหมุนให้คมของสว่านปักลงไปใน
ดนิ เพอื่ ขุดเอาดนิ ออก

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๒ู้)

ก. การขุดดว้ ยวิธีธรรมดา ข. การขุดโดยใชส้ ว่านมือหมนุ
รูปที่ ๒.๑๗ การขดุ หลุมปักเสาไฟฟา้ ดว้ ยแรงงานคน

(๒) ใช้รถขุดหลุม และสว่านขนาดใหญ่ วิธีน้ีสามารถขุด
หลุมได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจํากัดในเรื่องบริเวณที่จะขุด รถต้องสามารถ
เข้าถึงได้

รูปที่ ๒.๑๘ การขุดหลุมปกั เสาไฟฟา้ ดว้ ยรถขดุ หลมุ
(๓) การใชร้ ะเบิดขุดหลมุ ในบริเวณท่เี ป็นดินแข็ง หรอื

หนิ ไม่สามารถใช้แรงงานคนขดุ ได้
๒.๕.๒ ฐานเสาไฟฟา้
ฐานเสาไฟฟ้าแบ่งตามชนิดของฐานเสาได้ ๓ ชนิด

ดังตอ่ ไปนี้

คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๔ร๓ู้)

(๑) เทคอนกรีตยดึ โคนเสา
พ้ืนดินบรเิ วณปักเสามีความต้านทานสงู เช่น ดิน

เหนียว หรือบริเวณภูเขา หินแข็ง บริเวณปักเสาสามารถรับนํ้าหนักเสา
อุปกรณ์ และแรงดึงของสายได้ เมื่อปักเสาได้ระดับความลึกท่ีกําหนด การ
เทคอนกรีตทโี่ คนเสาตอ้ งท้งิ ไวอ้ ยา่ งนอ้ ย ๗ วัน จงึ จะปลดไม้คาํ้ ยันออกได้

ตารางที่ ๒.๑๓ ขนาดของหลมุ ตามมาตรฐาน

ขนาดเสา (เมตร) ความกวา้ งของหลมุ ความลกึ (เมตร)
๖ ๒๒×๒๘ เซนติเมตร ๑.๒๐
๘ ๓๐×๓๐ เซนติเมตร ๑.๓๐
๑๐ ๓๒×๓๕ เซนตเิ มตร ๑.๗๕
๑๒ ๓๕×๔๐ เซนติเมตร ๑.๗๕
๑๔ ๓๘×๔๒ เซนติเมตร ๒.๐๐

ตารางที่ ๒.๑๔ ระยะความลกึ ของการปักเสา

ขนาดเสา ระยะปักเสาลงไปในดนิ ระดบั แรงดนั

(เมตร) ดนิ ออ่ น ดนิ แข็ง ดนิ แข็ง หินแข็ง (โวลท์)

ปานกลาง

๘ ๑.๕๐ ๑.๓๐ ๑.๑๐ ๑.๐๐ ๒๒๐/๓๘๐

๙ ๑.๕๐ ๑.๓๐ ๑.๑๐ ๑.๐๐ ๒๒๐/๓๘๐

๑๐ ๑.๗๐ ๑.๕๐ ๑.๓๐ ๑.๐๐ ๒๒๐/๓๘๐

๑๒ ๒.๐๐ ๑.๘๐ ๑.๖๐ ๑.๒๐ ๑๑-๒๒ kV

๑๔ ๒.๓๐ ๒.๐๐ ๑.๗๐ ๑.๗๐ ๑๑-๒๒ kV

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๔ู้)

(๒) การต่อเสาด้วยตอม่อ
กรณีที่ต้องปักเสาไฟฟ้าในบริเวณท่ีพ้ืนดินอ่อน

เช่น ในท้องรอ่ ง รมิ คลอง เปน็ ต้น

รูปที่ ๒.๑๙ การต่อเสาดว้ ยตอมอ่
(๓) การทาํ ฐานเสา
การทําฐานเสาแบ่งออกเป็น ฐานเสาเด่ียว

สําหรับแขวนหม้อแปลง และฐานเสาคู่ สําหรับนัง่ รา้ นหมอ้ แปลง

รปู ที่ ๒.๒๐ การทาํ ฐานเสา

ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๔ร๕ู้)

๒.๕.๓ การยกวัสดสุ ง่ิ ของด้วยคนสองคน
การปฏิบัติงานโดยทั่วไปมักจะมีการยกและเคลื่อนย้าย

วัสดุอยู่เป็นประจํา การยกสิ่งของท่ีไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เช่น
การปวดหลังและกระดกู หกั ได้ การยกสิ่งของท่ถี ูกวธิ มี ีดังตอ่ ไปน้ี

(๑) ในการยกของท่ีต้องใช้กําลังคนหลายคน ควรเลือก
คนทมี่ ขี นาดความสูงไลเ่ ลีย่ กนั

(๒) ยืนชิดวัสดุส่ิงของและการวางเท้าที่ถูกต้องโดยเท้า
หน่ึงจะตอ้ งวางใหล้ า้ํ หน้าอีกเทา้ หนึ่ง

(๓) จับส่ิงของให้มั่นคง โดยใชฝ้ า่ มอื จับ
(๔) ยนื ข้นึ โดยใชก้ าํ ลังจากกลา้ มเนือ้ ขา
(๕) หลงั อยูใ่ นแนวตรงหรอื เปน็ ไปตามธรรมชาติ

ก. ยนื ชดิ ส่ิงของและวางเทา้ ที่ถกู ต้อง ข. จับสง่ิ ของใหม้ ัน่ คง

ค. ยนื ขึน้ โดยใชก้ าํ ลังจากกล้ามเน้อื ขา ง. หลงั อยู่ในแนวตรง
รูปท่ี ๒.๒๑ การยกสิง่ ของที่ถูกวธิ ี

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๖ู้)

๒.๕.๔ เคลอ่ื นย้ายเสาไฟฟา้
การเคล่ือนย้ายเสา เพื่อจะเข้าถึงจุดที่จะปักเสาจะใช้

กําลังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เน่ืองจากเสาไฟฟ้ามีนํ้าหนักมาก จําเป็นต้องใช้
เทคนิค และวิธีในการเคลอื่ นย้ายใหเ้ หมาะสม

(๑) การเคลอื่ นยา้ ยดว้ ยคานงดั
การใช้หลักคานงัด คนหน่ึงคนกับชะแลงยาว

๑.๕ เมตร สามารถงัดยกเสาคอนกรีต ๘.๕ เมตรได้ ถ้าเป็นเสาคอนกรีต
๑๒ เมตร ให้เพ่ิมคนและชะแลงเปน็ ๒ จุด

(๒) การเคลื่อนย้ายเสาด้วยรอก
รอกเป็นอุปกรณ์ผ่อนแรง สามารถยกเสา

คอนกรตี ๑๒ เมตร ดว้ ยแรงดึงจากคนประมาณ ๑๕ คน ได้
(๓) การเคลือ่ นยา้ ยเสาโดยใชไ้ ม้หนนุ
การใช้หมอนรองหนุนจุดศูนย์ถ่วงเสา ทําให้เกิด

การลอยตัว และสามารถหมนุ ย้ายเสาไปในทศิ ทางทต่ี ้องการได้
(๔) การเคล่อื นย้ายเสาดว้ ยการลาก
เมือ่ พนื้ ที่มคี วามฝืดมาก ให้ใช้ท่อเหล็กกลม ๒-๓

ท่อน สอดไว้ใต้เสาแล้วใช้เชือกลากเสาไฟฟ้าได้ การลําเลียงเสาเข้าพื้นที่
แคบมีทางเลย้ี วหกั ฉาก หรือมมุ อาคาร ซ่ึงเสาท่ีมีความยาวไม่สามารถเล้ียว
ผ่านได้ ใหย้ กปลายเสาด้านหนา้ ใหเ้ ชดิ ขนึ้ แล้วล้มไปตามทิศทางทีจ่ ะเลยี้ ว

(๕) การเคลอื่ นย้ายดว้ ยรถบรรทุก
การใช้รถบรรทุกเป็นวิธีท่ีสะดวกท่ีสุดสามารถ

เคลอื่ นยา้ ยเสาได้อยา่ งรวดเร็ว และได้ปริมาณมาก แต่มีข้อจํากัดสําหรับใน
บางพ้นื ทีท่ ี่รถเข้าไม่ถงึ จดุ ปักเสา

ข้อควรระวัง ในการเคลื่อนย้ายเสาไฟฟ้า เสาไฟฟ้าที่มีความยาว
เกิน ๑๔ เมตรควรจับยึดเสา ๒ จุด และเสาไฟฟ้าที่มีความยาวเกิน ๒๐
เมตร ห้ามหนนุ ไมต้ รงกึ่งกลางเสา เพราะอาจทาํ ให้เสาหกั ได้ง่าย

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๔ร๗ู้)

๒.๕.๕ การปักเสาไฟฟ้า
(๑) การปักเสาไฟฟา้ โดยแรงงานคน
เครื่องมือที่ใช้ในการปักเสาไฟฟ้า ประกอบด้วย

ไมค้ ้ําเสาไฟฟา้ ไม้ยนั เสาไฟฟา้ ไม้ยนั เสาปลายแหลม ทําไดโ้ ดยการขุดหลุม
ให้ได้ระยะตามมาตรฐาน แล้วเคล่ือนย้ายโคนเสาไฟฟ้าไปวางไว้ปากหลุม
แลว้ ใช้แรงงานคนยกปลายเสาไฟฟ้าข้ึนวางบนไม้ค้ําเสาไฟฟ้า จากนั้นใช้ไม้
ยนั เสาไฟฟ้าดนั เสาไฟฟ้าใหส้ งู ขึ้นเรอื่ ยๆเพ่อื ส่งเสาไฟฟ้าลงหลุม จากนั้นจัด
เสาไฟฟ้าให้ตรงบิดหน้าเสาให้ได้ทิศทางที่ต้องการ แล้วก็ตอกอัดดินหลุม
เสาโดยใชไ้ ม้หรือเหลก็ กระทุง้ ดิน ใชด้ นิ เดิมถมอดั หลุมเสาใหเ้ ต็ม

ก. การใชแ้ รงงานคนยกเสาไฟฟา้ วางบนไมค้ าํ้ เสาไฟฟา้

ข. การใช้ไมย้ นั เสาไฟฟ้า ดันเสาไฟฟ้าใหส้ งู ขึ้นเพื่อสง่ เสาลงหลุม
รปู ท่ี ๒.๒๒ การปกั เสาดว้ ยแรงงานคน

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๘ู้)

(๒) การปักเสาโดยใช้รถปักเสาไฟฟ้าสามารถปักเสาได้
อย่างรวดเรว็ และประหยัดค่าจา้ งแรงงานเพราะรถจะมีเครนสําหรับการยก
และเมือ่ ปกั เสาไฟฟ้าเสรจ็ ก็ต้องอาศัยแรงงานคนในการกลบดินฝงั เสาไฟฟ้า

รปู ท่ี ๒.๒๓ การใช้รถปกั เสาไฟฟา้
๒.๖ การยดึ โยงเสาไฟฟ้า

การยึดโยงเสาไฟฟ้าน้ันใช้สําหรับช่วยรับแรงท่ีมากระทํากับเสา
ไฟฟ้า เช่น แรงท่ีเกิดจากแรงดึงของสายไฟฟ้า แรงทีเ่ กิดจากพายุ เปน็ ตน้
สําหรับวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้ประกอบไปด้วย สายยึดโยง (Guy wire) อุปกรณ์
ในการจับยึดสายยึดโยง ลูกถ้วยฉนวน (Strain insulator) อุปกรณ์ที่ใช้
ครอบสาย (Guy guard) และสมอบก (Anchor) แสดงลักษณะการยึดโยง
ดังรูปที่ ๒.๒๔

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๔ร๙ู้)

อปุ กรณจ์ บั ยดึ
สายยดึ โยง
ลกู ถ้วยยดึ โยง

กา้ นสมอบก

อปุ กรณ์จบั ยดึ

รปู ท่ี ๒.๒๔ ลักษณะการยดึ โยง

๒.๖.๑ สมอบก
เป็นอปุ กรณ์ทฝี่ ังอยูก่ ับดิน ทําหน้าทีร่ ับแรงดึงของสายยดึ

โยง สามารถแบง่ ออกไดเ้ ป็น ๓ ชนิด
(๑) สมอบกแบบใบพดั
ใช้กับพื้นที่ทั่วไปซึ่งเป็นดินอ่อน สามารถใช้

เคร่อื งเจาะสมอบกลงดินได้สะดวก
(๒) สมอบกแบบทอ่ นซงุ
ใชก้ บั พ้นื ทท่ี ั่วไปซงึ่ ไม่มอี ปุ สรรคในการขดุ เปดิ

หน้าดิน
(๓) สมอบกแบบเสาตอม่อ
ใช้กบั พนื้ ที่ท่เี ปน็ ทีล่ มุ่ หรอื ในนํ้า

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๕ร๐ู้)

ก. สมอบกแบบใบพัด ข. สมอบกแบบท่อนซุง

ค. สมอบกแบบเสาตอม่อ
รูปท่ี ๒.๒๕ ชนดิ ของสมอบก

คูม่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๕ร๑ู้)

๒.๖.๒ รูปแบบของการยดึ โยง
(๑) สายยึดโยงเสาไฟฟา้ แบบสมอบก (Anchor guy)

รูปท่ี ๒.๒๖ สายยึดโยงเสาไฟฟา้ แบบสมอบก
ส่วนมากจะทําการยึดโยงท่ีเสาไฟฟ้าต้นแรกและต้นสุดท้าย

(Dead End) เพราะเป็นต้นท่ีรับแรงดึงมากท่ีสุด แต่ถ้าในไลน์ยาวหรือ
ระยะทางในการพาดสายยาวมาก จะทําการยึดโยงไว้เป็นช่วงๆ เพื่อ
ป้องกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่นรถชนเสา หรือเสาล้ม สายท่ีพาดไว้จะได้
ไมเ่ สยี หายท้งั หมด

(๒) สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบยดึ เสาไฟฟ้า (Span guy )
สายยึดโยงแบบนี้จะยึดจากส่วนบนเสาต้นแรก

ไปยังส่วนล่างของเสาอีกต้นถัดไป ใช้สําหรับในกรณีบริเวณที่พ้ืนท่ีมีความ
ต่างระดับกัน และสําหรับการพาดสายข้ามทางรถไฟ เพ่ือให้มีความ
ปลอดภัยมากยงิ่ ขนึ้

ค่มู ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๒ู้)

รูปท่ี ๒.๒๗ สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบยึดเสาไฟฟ้า
(๓) สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบบนทางเท้า (Side walk

guy)
สายยึดโยงแบบนี้จะยึดจากส่วนบนของเสา

ไฟฟ้าไปยังเท้าแขน (Arm กลางลําเสา) แล้วต่อไปยังสมอบกซ่ึงฝังอยู่ใน
พ้ืนดิน การยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบนี้ใช้ยึดโยงเสาไฟฟ้าบนทางเท้า หรือใช้
แทนการยึดโยงเสาไฟฟา้ แบบสมอบกในกรณีมีพื้นท่ีจาํ กัด

รูปท่ี ๒.๒๘ สายยดึ โยงเสาไฟฟ้าแบบบนทางเท้า

ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๓ู้)

(๔) สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบตอไม้ (Stub Guy)
สายยึดโยงแบบน้ีจะยึดจากส่วนบนของเสา

ไฟฟ้าไปยังเสาตอไม้ยาว ๒.๕-๔ เมตร โดยเสาไม้จะต้องถูกยึดโยงเข้ากับ
สมอบกอกี ตอ่ หนึ่ง สายยดึ โยงแบบน้ใี ชใ้ นกรณีมสี ถานที่จาํ กัด

รูปที่ ๒.๒๙ สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบตอไม้
(๕) สายยึดโยงเสาไฟฟ้าแบบปอ้ งกันพายุ (Storm Guy)

รูปท่ี ๒.๓๐ สายยดึ โยงเสาไฟฟ้าแบบป้องกนั พายุ

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๔ู้)

ใช้สําหรับยึดโยงเสาเพ่ือป้องกันพายุในท่ีโล่งแจ้ง โดยจะติดตั้งสายยึดโยง
ให้กับเสาข้างละหน่ึงชุด ทุกระยะประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ เมตร โดยจะใช้
สายยดึ โยงแบบสมอบกในการยดึ โยง

๒.๗ หม้อแปลงไฟฟา้
หม้อแปลงไฟฟ้าเรียกว่า ทรานส์ฟอร์เมอร์ (Transformer) จะ

อาศัยการส่งผ่านพลังงานระหว่างขดลวดปฐมภูมิ (Primary winding) กับ
ขดทุติยภูมิ (Secondary winding) โดยที่ความถี่ไม่เปล่ียนแปลง หรือเป็น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเช่ือมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าท่ีมีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน
โดยจะทําหน้าทเ่ี พ่ิมหรือลดแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะกับการส่ง การจ่าย และ
การใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วยการพันขดลวดตัวนํารอบแกนเหล็กแผ่นบาง ท่ี
อัดซ้อนกันหลายแผ่น เรียกว่า แกนเหล็กลามิเนท (Laminated Steel)
เพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy Current loss)
หม้อแปลงขนาดเล็กจะใช้อากาศช่วยในการระบายความร้อน แต่ถ้าเป็น
ขนาดใหญ่ อาจใชน้ ้ํามันหรอื พดั ลมเปน็ ตัวกลางช่วยระบายความร้อน

ก. หมอ้ แปลงขนาดเล็ก ข. หมอ้ แปลงกาํ ลงั
รูปท่ี ๒.๓๑ หมอ้ แปลงไฟฟ้า

คู่มอื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๕ู้)

ก. แบบขนาดเล็ก ข. แบบปรับคา่ ได้ ค. แบบขนาดใหญ่
รูปท่ี ๒.๓๒ สัญลักษณห์ ม้อแปลงไฟฟ้าแบบต่างๆ

หมอ้ แปลงไฟฟ้านั้นจะบอกพิกัดขนาดกําลังไฟฟ้าปรากฎในหน่วย
VA (Volt-Ampare) หม้อแปลงไฟฟ้ามีส่วนประกอบสําคัญอยู่ ๓ ส่วน คือ
แกนเหล็ก (Core) ขดลวดตัวนํา (Winding) และ ฉนวน(Insulation)
อาจจะมีส่วนประกอบย่อยอ่ืนๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพิกัดของหม้อแปลง
เช่น หม้อแปลงท่ีใช้ในระบบจําหน่ายไฟฟ้า มีถังบรรจุหม้อแปลง นํ้ามัน
หม้อแปลง ครีบระบายความร้อน ข้ัวแรงดันด้านสูง ขั้วแรงดันด้านต่ํา
และอ่ืนๆ เปน็ ต้น

หลักการทํางานเม่ือขดลวด Primary (N1) ได้รับแรงดันไฟฟ้า V1
และขดลวด Secondary (N2) อยใู่ นสภาพเปิดวงจร จะทําให้เกดิ ค่ากระแส
ปริมาณหน่ึงไหลในขดลวด (N1) เรียกว่า กระแสกระตุ้น iφ (Exciting
Current) และจะมีผลทําให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนํา (Induced
Voltage) ข้ึน

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๖ู้)


Click to View FlipBook Version