The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคารเบื้องต้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tonkidmon, 2021-01-21 21:53:32

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคารเบื้องต้น

Keywords: ติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร

รูปท่ี ๒.๓๓ หลักการทาํ งานของหม้อแปลงไฟฟ้า

ความสัมพันธ์ของแรงดันไฟฟ้าเหน่ียวนําในรูป อัตราส่วนแรงดันไฟฟ้า
(Voltage ratio) หรอื (Turns ratio) ดงั นี้

E1 = N1 = I2 = a
E2 N2 I1

ตัวอยา่ งที่ ๒.๑ จงคํานวณหา I2

110 V 220 V
5 A I2=? A

วิธีทํา E1 = I2
E2 I1

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๗ู้)

110V = I2
220V 5A

I2 = 110V × 5A = 2.5A
220V

ตัวอยา่ งที่ ๒.๒ จงคาํ นวณหาคา่ แรงดนั ไฟฟ้าและกระแสไฟฟา้

12 KV 110 V 100 A
110 V 100 A

วิธีทํา จากรูปขดลวดด้าน Secondary มีจํานวน 2 ชุด ต่ออนุกรมกัน
ดังนน้ั คา่ กระแสไฟฟ้ามีค่าเท่ากัน คือ 100A และมีแรงดันตกคร่อม ขดละ
110V ดงั น้ัน แรงดันไฟฟา้ รวมคือ 220V (110V+110V)
ดังนน้ั แรงดัน และ กระแส ท่เี อาท์พทุ (Secondary) มคี า่ 220V 100A

๒.๗.๑ การตดิ ต้ังหม้อแปลงไฟฟา้ ในระบบจําหนา่ ย
(๑) แบบตดิ ตงั้ แขวนบนเสาไฟฟา้
จะเป็นหม้อแปลงขนาดเล็กมีลักษณะเป็นถัง

กลม สว่ นใหญจ่ ะเปน็ หมอ้ แปลงระบบ ๑ เฟส พกิ ดั ตง้ั แต่ ๑๐-๑๖๐ เควเี อ
ใชต้ ิดตั้งเพอ่ื จ่ายโหลดไมม่ ากนกั เช่นในชุมชนขนาดเล็ก

ค่มู ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๘ู้)

รูปท่ี ๒.๓๔ หมอ้ แปลงไฟฟ้าแบบตดิ ต้งั บนเสา
(๒) แบบติดตั้งบนนั่งร้านคอนกรตี
จะเป็นหม้อแปลงที่ใช้จ่ายระบบไฟฟ้า ๓ เฟส

ขนาดตั้งแต่ ๕๐-๒๕๐ เควีเอ มีนํ้าหนักไม่เกิน ๓,๐๐๐ กิโลกรัม จะใช้จ่าย
โหลดให้กบั ชุมชนขนาดใหญ่ หรอื โรงงานขนาดกลาง

รปู ท่ี ๒.๓๕ การติดตงั้ หม้อแปลงแบบนง่ั ร้านคอนกรีต

ค่มู ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๕ร๙ู้)

(๓) แบบตั้งพืน้
ใช้สําหรับหม้อแปลงหม้อแปลง ๓ เฟส ขนาด

ตั้งแต่ ๓๑๕-๒,๐๐๐ เควีเอ เป็นหม้อแปลงขนาดใหญ่มากใช้จ่ายโหลดให้
โรงงานอตุ สาหกรรม หรอื ชุมชนขนาดใหญ่

รูปที่ ๒.๓๖ การตดิ ต้งั หม้อแปลงแบบตั้งพนื้

คมู่ อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๐ู้)

๒.๗.๒ โครงสร้างหมอ้ แปลงแบบติดต้งั บนน่งั ร้านคอนกรีต

สายกราวดเ์ หนือศรษี ะ

ฟิวส์แรงสูง
ล่อฟ้าแรงสงู

บุชชงิ่

แท่งกราวด์

รปู ที่ ๒.๓๗ การตดิ ตงั้ หมอ้ แปลงนั่งรา้ น 22kV-230/400V 250kVA

ค่มู อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๖ร๑ู้)

๒.๗.๓ ข้อแนะนาํ ในการกาํ หนดตาํ แหน่งตดิ ต้งั หมอ้ แปลงไฟฟ้า
(๑) ออกแบบติดตั้งหม้อแปลงในตําแหน่งใกล้ศูนย์กลาง

โหลดมากท่ีสุด เพื่อให้สามารถบริการจ่ายกระแสให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่าง
ท่ัวถงึ และลดปัญหาแรงดันไฟฟา้ ตกทปี่ ลายสายด้วย

(๒) บริเวณที่ติดตั้งหม้อแปลง ต้องสะดวกต่อการ
ปฏบิ ัติงานและบํารุงรกั ษา

(๓) สภาพพ้นื ดนิ สามารถทํากราวด์ไดส้ ะดวก
(๔) การติดตั้งในที่ชุมชน ส่วนท่ีมีไฟฟ้าของหม้อแปลง
สําหรับระบบแรงดัน ๑๑-๓๓ กิโลโวลท์ ต้องห่างจากตัวอาคารหรือ
สิ่งกอ่ สร้างไม่นอ้ ยกว่า ๒.๕๐ เมตร
(๕) การติดตั้งหม้อแปลงบนเสา ถ้าอยู่ใกล้ที่ยานพาหนะ
ผา่ นได้ต้องตดิ ตง้ั ให้สูงกว่าพน้ื ดินไมน่ อ้ ยกวา่ ๔.๐๐ เมตร
(๖) การติดตั้งหม้อแปลงแขวนบนเสาเดี่ยวแนวทาง
สัญจร ควรเลือกติดต้ังแขวนหม้อแปลงไว้กับด้านหลังเสาตรงข้ามกับ
ทศิ ทางยานพาหนะวง่ิ ผ่าน

๒.๘ การต่อลงดนิ
การต่อลงดินมีจุดประสงค์หลักอยู่ ๒ ประการคือ เพื่อให้ระบบ

ไฟฟ้าทํางานได้อย่างมีเสถียรภาพและเช่ือถือได้และเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้
ท่ีเกี่ยวข้องมีความปลอดภัยจากไฟฟ้าร่ัว ตามมาตรฐานการติดต้ัง
กําหนดให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าท่ีต้องการต่อลงดินต้องเดินสายดินไปต่อลงท่ีแผง
เมนสวิตช์ และต่อสายดินเหนือสวิตซ์ตัดตอนเน่ืองจากต้องการให้เครื่อง
ป้องกันกระแสเกินของบริภัณฑ์นั้นปลดวงจรกรณีท่ีบริภัณฑ์ไฟฟ้ามีไฟรั่ว
การต่อลงดนิ ที่ถกู ตอ้ งเปน็ ไปตามรูปที่ ๒.๓๘

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๖ร๒ู้)

รูปท่ี ๒.๓๘ การตอ่ สายดนิ ท่ถี ูกต้อง

รปู ที่ ๒.๓๙ สัญลักษณจ์ ดุ ต่อสายดิน
มาตรฐานการตดิ ตงั้ ทางไฟฟา้ กําหนดให้บรภิ ณั ฑ์ตา่ ง ๆ ตอ้ งตอ่

ลงดนิ ไดแ้ ก่
(๑) เครื่องห่อหุ้มท่ีเป็นโลหะของสายไฟฟ้า แผงเมน

สวิตช์ โครงและรางปนั้ จั่นที่ใชไ้ ฟฟ้า โครงของตู้ลฟิ ต์ และลวดสลิงยกของที่
ใช้ไฟฟ้า

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๓ู้)

(๒) ส่ิงกั้นท่ีเป็นโลหะ ร้ัวโลหะ รวมทั้งเครื่องห่อหุ้มของ
อุปกรณไ์ ฟฟา้ ในระบบแรงสงู

(๓) อุปกรณ์ไฟฟ้าท่ียึดติดกับที่และท่ีต่ออยู่กับสายไฟฟ้า
ที่เดินถาวรส่วนทีเ่ ป็นโลหะเปดิ โล่งซึง่ ปกตไิ มม่ ไี ฟฟ้า แต่อาจมีไฟฟ้ารั่วถึงได้
ตอ้ งต่อลงดนิ

๒.๘.๑ เคร่อื งใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องมีสายดนิ
เคร่ืองใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์ติดต้ังทางไฟฟ้าที่มีโครง

หรอื เปลอื กหมุ้ เปน็ โลหะซึ่งบุคคลมโี อกาสสมั ผัสได้ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น
เตารีดไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เตา
ไมโครเวฟ กระทะไฟฟ้า กระตกิ น้าํ รอ้ น เครื่องทําน้ําร้อนหรือนํ้าอุ่น เครื่อง
ปิ้งขนมปัง เป็นต้น เราเรียกเคร่ืองใช้ไฟฟ้าเหล่าน้ีว่าเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภท ๑

๒.๘.๒ เครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ ประเภททีไ่ ม่ต้องมสี ายดนิ
เคร่ืองใช้ไฟฟ้าประเภท ๒ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ พัดลม ซ่ึง

มีสัญลักษณ์ หรือมีเครื่องหมาย (ควรใช้ไขควงลองไฟทดสอบ
ถ้ามีสัญลักษณ์ประเภท ๒ แต่ยังมีไฟร่ัวก็แสดงว่าผู้ผลิตน้ันผลิตไม่ได้
มาตรฐาน และจาํ เปน็ ต้องมีสายดิน)

เครอ่ื งใช้ไฟฟ้าท่ีใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน ๕๐ โวลต์ โดย
ต่อจากหม้อแปลงชนิดพิเศษท่ีได้ออกแบบไว้เพ่ือความปลอดภัย มี
สัญลักษณ์ เชน่ เคร่อื งโกนหนวด โทรศพั ท์ เปน็ ต้น

๒.๘.๓ วธิ ีติดตัง้ ระบบสายดนิ ทถี่ กู ต้อง
(๑) จุดตอ่ ลงดนิ ของระบบไฟฟ้า (จดุ ตอ่ ลงดนิ ของสาย

เส้นศูนย์หรือนิวทรอล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้
เมนสวติ ช์

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๖ร๔ู้)

(๒) ภายในอาคารหลังเดยี วกนั น้ัน ไม่ควรจะมีจุดที่ตอ่ ลง
ดินมากกวา่ ๑ จดุ

(๓) สายดนิ และสายเส้นศนู ย์ (N) ต่อรว่ มกนั ไดเ้ พยี งแห่ง
เดียวท่ีจุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในท่ีอื่นๆอีก สําหรับ
แผงสวิตช์ยอ่ ยจะตอ้ งมีขั้วสายดนิ แยกจากขัว้ ตอ่ สายศนู ย์ หา้ มตอ่ ถึงกันโดย
มฉี นวนค่ันระหว่างขว้ั ต่อสายเส้นศนู ย์กบั ตวั ตูซ้ ่ึงต่อกบั ขวั้ ตอ่ สายดิน

(๔) ตู้เมนสวิตช์สาํ หรับหอ้ งชดุ ของอาคารชดุ และตู้แผง
สวติ ช์ประจาํ ชั้นของอาคารชดุ ใหถ้ ือว่าเปน็ แผงสวติ ชย์ อ่ ย หา้ มต่อสายเส้น
ศนู ยแ์ ละสายดินร่วมกัน

(๕) ไมค่ วรตอ่ โครงโลหะของเครื่องใชไ้ ฟฟา้ ให้ลงดนิ โดย
ตรง แต่ถา้ ได้ดําเนนิ การไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตย์อย่าง
ถูกตอ้ งแล้วเดนิ สายดินจากเมนสวติ ชม์ าตอ่ ร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดมิ

(๖) การตดิ ตั้งเครอ่ื งตัดไฟรัว่ สามารถเสรมิ การปอ้ งกัน
ให้สมบูรณ์แบบย่ิงขึ้น เช่นกรณีที่มักจะมีนํ้าท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด
เป็นตน้ และจุดตอ่ ลงดินตอ้ งอยูด่ ้านไฟเขา้ ของเครือ่ งตดั ไฟร่วั เสมอ

(๗) ถ้าตเู้ มนสวติ ชไ์ ม่มีขว้ั ต่อสายดิน และข้ัวตอ่ สายเส้น
ศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟร่ัวจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่าน้ันจะ
ใชต้ ัวเดยี วป้องกันทง้ั ระบบไมไ่ ด้

(๘) วงจรสายดนิ ทถี่ ูกต้องในสภาวะท่ีปกตินัน้ จะต้องไม่มี
กระแสไฟฟา้ ไหล

(๙) ถ้าเดินสายไฟฟ้าในทอ่ โลหะจะตอ้ งเดนิ สายดินในทอ่
โลหะนน้ั ดว้ ย

(๑๐) สายตอ่ หลักดนิ จะตอ้ งเปน็ สายตวั นําทองแดงชนิด
ตัวนําเด่ียวหรือตัวนําตีเกลียวหุ้มฉนวนและต้องเป็นตัวนําเส้นเดียวยาว
ตลอดโดยไม่มีการตัดตอ่ ขนาดของสายดนิ ทตี่ อ่ จากแผงเมนสวิตซ์พิจารณา
จากขนาดของสายตัวนําประธาน และตอ้ งมีขนาดไม่เล็กกวา่ ๑๐ ตร.มม.

ค่มู ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๕ู้)

(๑๑) หลกั ดนิ ตอ้ งมขี นาดเส้นผา่ นศนู ยก์ ลางไม่น้อยกว่า
๕/๘ นิว้ ยาวไม่นอ้ ยกว่า ๒.๔๐ เมตร

(๑๒) สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะถูกเดินร่วมไปกับสาย
วงจรโดยปลายข้างหนึ่งจะถูกต่ออยู่ท่ีบัสบาร์สายดินในเมนสวิตซ์หรือแผง
จ่ายไฟย่อยส่วนปลายอีกข้างหน่ึงจะต่อเข้ากับโครงโลหะของโหลด ขนาด
ของสายดินอุปกรณ์ไฟฟ้าจะพิจารณาจากขนาดของเครื่องป้องกันกระแส
เกินท่ปี ้องกันวงจร และมีขนาดไมน่ ้อยกวา่ ๑.๕ ตร.มม.

(๑๓) ยอมใหใ้ ช้อาคารทีเ่ ป็นโครงโลหะและมกี ารตอ่ ลง
ดินอย่างถูกตอ้ ง โดยมคี า่ ความตา้ นทานของการต่อลงดนิ ไม่เกนิ ๕ โอห์ม

๒.๙ การข้นึ ปฏบิ ัติงานบนเสาไฟฟ้า
(๑) การเตรียมตวั กอ่ นข้นึ เสา
ก่อนขนึ้ เสาผ้ปู ฏบิ ตั ิงานจะตอ้ งปฏิบตั ิดังน้ี
(๑.๑) ตรวจและทดสอบความพร้อมต่อการใช้

งานและความสมบูรณ์ของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ได้แก่ หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย รองเท้า ถุงมือ เหล็กปีนเสา ก่อนใช้งาน

หัวเขม็ ขดั ชอ่ งใส่เครอ่ื งมอื ห่วง D-Ring

สายกันตก

ตะขอสายกนั ตก

รูปท่ี ๒.๔๐ สว่ นประกอบของเข็มขัดนริ ภัย

ค่มู ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๖ร๖ู้)

- ตรวจสอบส่วนท่ีเป็นโลหะ เช่น หัวเข็มขัด
และห่วง D-Ring หากมีรอยร้าวหรือสภาพไม่สมบูรณ์อย่านําไปใช้งาน
ตรวจสอบสายรัดคางของหมวกนิรภัยว่ามีหรือไม่ ชํารุดหรือไม่ ถ้าไม่มีหรือ
ชาํ รุดใหจ้ ัดหาเปลีย่ นใหม่

- ตรวจดูสายกนั ตกด้านท่เี สียดสีกบั เสาไฟฟา้ ว่า
มีรอยสึกถงึ แถบสีแดง (Red Safety Center Plies) หรือไม่ ถ้าหากสึกถงึ
แถบสีแดงแสดงวา่ เสือ่ มสภาพให้เปลย่ี นใหม่ หา้ มใชเ้ ดด็ ขาด

- ตรวจดูวา่ ชอ่ งใสเ่ ครอ่ื งมือและห่วงกลมสาํ หรบั
หอ้ ยเคร่ืองมือมสี ภาพสมบรู ณ์ดหี รอื ไม่ กอ่ นใส่เคร่ืองมือตา่ งๆ

- ตรวจดตู ะขอของสายกันตก (Snap Hook) ว่า
ล้ินล็อค (Keeper) แนบสนิทกับปากตะขอ และเมื่อกดลงแล้วดีดคืนกลับ
ถึงปากตะขอหรอื ไม่ ถา้ ไมส่ มบรู ณ์อยา่ นําไปใช้งาน

- ใส่ล้ินล็อคกับห่วง D-Ring โดยควรให้ลิ้นล็อค
หันออกด้านนอกท้ังสองด้าน เพ่ือให้มองเห็นล้ินล็อค ดีดกลับได้สุดหรือไม่
และควรใชส้ ายกนั ตกเพียงด้านเดยี วตลอด

(๑.๒) ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน
เช่น สภาพของเสาไฟฟา้ บนเสาไฟฟ้าไมม่ ีส่ิงกีดขวางใดๆท่ีเป็นอุปสรรคต่อ
การปฏบิ ัตงิ าน เปน็ ต้น

(๑.๓) การแตง่ กายตอ้ งสวมเขม็ ขัดนิรภัยใหอ้ ยู่
ท่ีสะโพกใหใ้ ส่ตะขอของสายกนั ตกโดยเก่ยี วกับห่วง D-ring

คมู่ อื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๗ู้)

รูปที่ ๒.๔๑ การแตง่ กายในการปฏิบตั ิงาน
(๒) การข้นึ เสา
ข้ันตอนท่ี ๑ ยืนท่ีเสาด้านท่ีไม่มีร่อง โดยใช้

ปลายเทา้ ห่างระยะประมาณคร่ึงฟตุ จากเสาไฟฟา้

ก. ขั้นตอนท่ี ๑ ข. ข้นั ตอนท่ี ๒

รปู ท่ี ๒.๔๒ การเตรียมตัวยนื ก่อนขนึ้ เสา

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๘ู้)

ขั้นตอนที่ ๒ ใช้มือโอบเสาด้านตรงข้ามกับ
ตาํ แหน่งที่ยืน ยกเท้าข้างถนัด พร้อมแบะเท้าเพื่อข้างเท้าด้านที่มีขาขึ้นเสา
(Climber Bolt) ให้ขนานกับหนา้ เสาท่ยี ืน แล้วสอดขาขึ้นเสาเข้าไปท่ีรูแรก
ของเสาจนสุด Bolt เทา้ อกี ขา้ งทําหน้าท่รี ับน้ําหนักของร่างกายไว้ ส่วนมือ
ทั้งสองข้างจบั หลงั เสาไว้ให้แน่น

ขั้นตอนที่ ๓ ให้เปล่ียนถา่ ยน้ําหนักของร่างกาย
จากเท้าข้าวซ้ายมาท่ีเท้าข้างขวา พร้อมกับเกร็งเท้าด้านดันเพื่อยกตัวให้
สูงขึ้น พร้อมรูดมือข้างเดียวกับเสาซ่ึงโอบเสาอยู่ขึ้นให้สุดมือในตําแหน่งที่
สามารถจับประคองได้อย่างม่ันคง มือท้ังสองข้างทําหน้าท่ีจับเสาและ
ประคองตัวเองใหข้ นานกับเสาเพื่อไม่ให้ร่างกายเอียงไปข้างหนึ่งข้างใดมาก
เกินไป (มือจับเสาใหแ้ นน่ การขึ้นเสาให้ขนึ้ ดา้ นหน้าด้านเดยี ว) ใช้เท้าขวาท่ี
สอดขาข้ึนเสาท่ีรูแรกออกแรงดันตัวเพื่อไต่เสาโดยใช้มือท่ีโอบเพื่อการ
ประคอง ไต่สลับเท้าไปจนถึงตําแหน่งท่ีจะยืนบนเสาเพื่อปฏิบัติงาน โดย
ตลอดทุกขณะของการข้ึนเสาลําตัวของผู้ข้ึนเสาจะต้องขนานกับเสา
ตลอดเวลา

รูปที่ ๒.๔๓ ขน้ั ตอนท่ี ๓

คู่มือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๖ร๙ู้)

ข้ันตอนที่ ๔ เมอ่ื ถึงตําแหน่งท่ีจะปฏบิ ัติงานได้
อย่างสะดวก ให้ดึงเท้าด้านล่างออกจากรูเสาแล้วยกเท้าไปที่ด้านข้างของ
เสาที่ทํามุมกับตําแหน่งเดิน ๙๐ องศาแล้วจึงสอด Bolt ของขาข้ึนเสา
เข้าไปที่รขู องเสาดา้ นขา้ ง ปลด Snap Hook สายรัดกันตกด้านสายท่ีคล้อง
กับ D-Ring ของเข็มขัดนิรภัยท่ีเอวด้านซ้าย แล้วจับปลายสายไปโอบเสา
ไฟฟ้า เมื่อจับมั่นคงแล้วใช้มือขวาโอบมาหยิบจับปลายสายที่อยู่ที่มือซ้าย
พรอ้ มดงึ เขา้ มาเพือ่ คล้องกบั เข็มขดั นิรภัยทดี่ า้ นขวา

รปู ท่ี ๒.๔๔ ข้นั ตอนท่ี ๔
ข้ันตอนที่ ๕ เม่ือคล้องสายรัดกันตกสมบูรณ์

แล้วยืนให้ม่ันคงใช้มือท้ังสองท่ีโอบเสาจับสายรัดกันตกค่อยๆรูดเข้าหา
ลําตัว พร้อมเอนตัวออกจากเสาให้สายรัดกันตก รับน้ําหนักตัว จากนั้นก็
ปฏบิ ัติภาระกจิ ท่ีไดร้ ับมอบหมายต่อไป

โดยอาจยืนในตําแหน่งตามที่กล่าวมา (เท้าแบะ
ทํามุม ๙๐ องศา) หรือย้ายขาไปสอดท่ีรูเสาในตําแหน่งตรงข้ามกัน (มุม
๑๘๐ องศา) ข้ึนอยู่กับการพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะหน้างานที่
ปฏิบัติโดยยดึ ความปลอดภัยและความคลอ่ งตวั ในการปฏบิ ัตงิ าน

คูม่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๗ร๐ู้)

รปู ท่ี ๒.๔๕ ขั้นตอนที่ ๕

ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๗ร๑ู้)

บนั ทกึ
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

คมู่ ือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๗ร๒ู้)

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

ค่มู อื เตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟ้าภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๗ร๓ู้)

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๗ร๔ู้)

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................

คมู่ ือเตรยี มทดสอบมาตรฐานฝีมอื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาชา่ งไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดับ ๑ (ภาคความ๗ร๕ู้)

บรรณานกุ รม

โสภณ เสอื พนั ธ์, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
กรุงเทพ :สํานักพมิ พ์เอมพันธ์, 2548

อุทัย สุมามาลย์ และคณะ, การตดิ ตัง้ ไฟฟ้านอกอาคาร.
กรงุ เทพ :สํานกั พิมพ์ศูนย์สง่ เสรมิ วิชาการ, 2557

อนสุ รณ์ โคกกลาง, การตดิ ตง้ั ไฟฟ้านอกอาคาร.
กรงุ เทพ :สํานักพิมพศ์ นู ย์สง่ เสรมิ อาชีวะ, 2557

ณฐั ธีร์ ธรี ธนาวโิ รจน,์ การตดิ ต้ังไฟฟา้ นอกอาคาร.
กรุงเทพ :สาํ นกั พิมพ์เอมพนั ธ์, 2556

การไฟฟ้านครหลวง,เอกสารประกอบการอบรมการขน้ึ ปฏบิ ัตงิ านบนเสา

เอกสารอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์(ออนไลน์)
http://www.psjenergysave.com
http://www.oocities.org
http://www.terierman.com
http://www.maketkaset.com
http://Telepart.net
http://elearning.nsro.ac.th
http://www.tpr.co.th
http://www.pnbmart.com
http://www.kcr-e.com
http://jorpor9.files.wordpress.com
http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2007/11/D59838
95/D5983895.html
http://www.unior-thailand.com
http://www.innnews.co.th

คู่มอื เตรยี มทดสอบมาตรฐานฝมี อื แรงงานแหง่ ชาติ สาขาช่างไฟฟา้ ภายนอกอาคาร ระดบั ๑ (ภาคความ๗ร๖ู้)


Click to View FlipBook Version