1
จ่ายยมื
วิชา ศาสตร์ของพระราชาสู่การพฒั นาอย่างยง่ั ยืน
สำหรับนกั เรียนนายสิบทหารบก
หลักสูตรศกึ ษา ณ รร.นส.ทบ. 1 ปี
หมายเลข ชกท.111
กองการศึกษา โรงเรียนนายสบิ ทหารบก
ค่ายโยธินศกึ ษามหามงกุฎ
พ.ศ. 2564
2
คำนำ
โรงเรียนนายสิบทการบก เป็นสถาบันการศึกษาของกองทัพบก มีหน้าที่ให้การศึกษาแก่นักเรียนนายสิบ
ทหารบก เพอ่ื ผลติ กำลงั พลนายทหารชน้ั ประทวนของกองทัพบกท่ีมคี ุณภาพมาตรฐาน มสี รรถนะและขีดความสามารถ
ตามความต้องการของกองทัพบก
โรงเรยี นนายสบิ ทหารบก ไดด้ ำเนนิ การจัดทำคู่มือการสอนหลักสูตรนักเรียนนายสบิ ทหารบก เพ่ือใช้เป็น
เอกสารประกอบการจัดการศึกษาหลักสูตรนักเรียนนายสิบทหารบก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว โรงเรียนนายสิบ
ทหารบกได้ทำการรวบรวมรายละเอียดเนื้อหาวิชาจากตำรา คู่มือการฝึก และเอกสารอื่น ๆ
ที่เกยี่ วขอ้ งมาปรับปรงุ พัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เหมาสะสมสอดคลอ้ งกับหลกั สูตรนักเรียนนายสิบทหารบก เพื่อให้การ
จัดการฝกึ ศกึ ษาหลกั สตู รนกั เรยี นนายสิบทหารบกเป็นไปดว้ ยความเรียบร้อย มคี ณุ ภาพมาตรฐาน
โรงเรียนายสิบหทารบก หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการสอนหลักสูตรนักเรียนนายสิบทหารบก
จะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายสิบทหารบก ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายและ
ตอบสนองนโยบายการศึกษาของกองทัพบกต่อไป
พลตรี
( โฆสิตพงษ์ นิลเอก )
ผบู้ ัญชาการโรงเรยี นนายสบิ ทหารบก
3
สารบญั
บทท่ี หนา้
บทที่ 1 ความหมายและท่ีมาศาสตร์ของพระราชา
1. ความเป็นมาทหารกับศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาประเทศ 2
2. คำจำกดั ความเกี่ยวกบั ศาสตร์ของพระราชาทีส่ ำคญั 3
3. หนา้ ที่ทหารและวิสัยทัศน์กองทัพบก 4
4. พนั ธกจิ กองทัพบก 4
5. วสิ ัยทัศน์กองทพั บก 4
6. ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) 5
7. นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) 6
8. ศาสตร์ของพระราชา 13 ด้าน และวิธกี ารแหง่ ศาสตร์ของพระราชา 7
9. หลกั การทรงงาน 23 หลักการ ของรชั กาลท่ี 9 15
10. พระราชประวตั ิของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัว รชั กาลที่ 9 18
คำถามทา้ ยบท 23
บทท่ี 2 หลักการ เข้าใจ เข้าถงึ พัฒนา
1. แนวความคิด เขา้ ใจ 25
2. แนวความคิด เข้าถงึ 26
3. แนวความคดิ พัฒนา 28
คำถามท้ายบท 31
บทท่ี 3 ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
1. การประยกุ ต์ปลูกฝังใชเ้ ศรษฐกจิ พอเพียงในโรงเรียน 35
2. การทำบัญชีครัวเรือน 40
คำถามท้ายบท 50
บทที่ 4 เกษตรทฤษฎใี หม่
1. ความหมายและความสำคัญของเกษตรทฤษฎใี หม่ 51
2. โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำรเิ พ่ือปวงชนชาวไทยท่ีสำคัญ 57
3. การศึกษาเรยี นรูจ้ ากพระราชนิพนธใ์ นพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ร.9 เร่ืองพระมหาชนก 59
4. โคก หนอง นา แห่ง นำ้ ใจและความหวัง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10 65
คำถามท้ายบท 69
บทที่ 5 การศกึ ษาเรียนรู้จากภาพยนตรเ์ ทิดพระเกยี รติ “เร่ืองของขวัญจากก้อนดนิ ”
การศึกษาเรยี นร้จู ากภาพยนตรเ์ ทดิ พระเกียรติ “เร่ืองของขวัญจากกอ้ นดนิ ” 70
คำถามทา้ ยบท 71
-1-
บทที่ 1
ความหมายและท่มี าศาสตร์ของพระราชา
ศาสตร์ คือ ความรู้ที่เป็นระบบเชื่อถือได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ศาสตร์ของพระราชา หมายถึง
ความรู้และภูมิปัญญาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นทั้งวิทยาศาสตร์
ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และอื่นๆ ในทุกมิติซึ่งแต่ละคน
ก็อาจจะได้เคยเรียนรู้ศาสตร์ของพระราชาในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป แต่หากได้นำมาปฏิบัติก็ล้วนแล้วจะเป็น
ประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ท้ังสิ้น ดังนั้นศาสตร์พระราชาแห่งราชาจึงไม่ใช่ศาสตร์ท่ีนิ่งและตายตวั
หากแต่เป็นปรัชญาและทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และปรับปรุงไปตามสภาพแวดล้อม สภาพบุคคล และ
สถานการณ์ มีความทันสมัยเหนอื กาลเวลา และส่งผลถึงมนษุ ย์ชาติท้ังปวงให้สามารถดำรงชวี ิตได้อย่างมัน่ คง สันติสุข
และยั่งยืนเพื่อเป็นแบบปฏิบัติ และตัวอย่างที่ดีและศาสตร์แห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ศาสตร์แห่งการครองตนเพื่อเป็น
แบบปฏิบัติและตัวอย่างที่ดีตลอดจนศาสตร์แห่งการอยู่รวมกันในสังคมอย่างสงบสุข เป็นที่ทราบกันดีว่าตลอด
การครองราชย์ 70 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราช
กรณียกิจมากมาย เฉพาะโครงการในพระราชดำริมีมากกว่า 4,000 โครงการ ในสาขาวิชาการต่าง ๆ ซึ่งช่วยพัฒนา
คุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยูท่ ี่ดีขึน้ อันเป็นคุณูปการยิง่ ใหญ่แก่ประชาชนและประเทศชาติ สิ่งที่พระองค์
ทรงสอน ทรงทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แนวคิด ทฤษฎี พระราชดำริ หลักการทรงงาน โครงการ
อนั เนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ หรือแม้แต่พระราชกรณียกจิ ของพระองคถ์ ือเปน็ ศาสตรพ์ ระราชา ท้งั สิ้น
ความสำคญั ศาสตร์ของพระราชา
ศาสตร์ของพระราชา คือ องค์ความรู้ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และผ่านศูนย์การศึกษา
การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริศาสตร์ของพระราชาครอบคลุมเรื่อง น้ำ ป่าไม้ ดิน การเกษตร การส่งเสริม
อาชีพสาธารณสุข สวัสดิการสังคม การศึกษาการคมนาคม การสื่อสารสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นวัตกรรม และเศรษฐกจิ พอเพยี ง อาจกลา่ วไดว้ ่าศาสตร์ของพระราชาเปน็ องค์ความรู้ทีช่ ว่ ยเกื้อหนุนชีวิตความเป็นอยู่
ในทุกด้านของพสกนิกรของพระองค์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาและการบริหารประเทศแบบยั่งยืน ศาสตร์ของ
พระราชาเป็นองค์ความรู้ที่ได้สะสมและพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง 70 ปี
ศาสตร์ของพระราชาเป็นศาสตร์ที่ทันสมัยมีศูนย์กลางการเรียนรู้และการแก้ปัญหาอยู่ที่การ “พัฒนาคน” และ
การพัฒนาประเทศแบบยง่ั ยนื บนพ้นื ฐานของความพอเพยี ง
“เป้าหมายในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
คอื การพฒั นาท่ยี งั่ ยนื เพื่อปรบั ปรงุ ชวี ติ ความเป็นอยขู่ องคนโดยไมท่ ำลายสิ่งแวดล้อมให้คนมีความสุข โดยตอ้ งคำนึงถึง
เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ และภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม แม้ว่าวิธีการพัฒนา
มีหลากหลาย แต่ที่สำคัญคือนักพัฒนาจะต้องมีความรัก ความห่วงใย ความรับผิดชอบและการเคารพในเพื่อนมนุษย์
-2-
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเกี่ยวข้องกับมนุษยชาติ และเป็นเรื่องของจิตใจ” ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัสของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในหนังสือพระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวง
ประชาศาสตร์ของพระราชาเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากความรักและความห่วงใยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยทุกคนทรงใช้หลักการทรงงาน ทรงมีความเพียร และ
ทรงอุทิศพระองค์ตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาของพสกนิกรของพระองค์ ทรงมุ่งเน้นให้ผลการดำเนินงาน
สู่ประชาชนโดยตรงในเบื้องแรก เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้านั่นก็คือเพื่อความ
“พออยู่ พอกิน” และขณะเดียวกันก็ทรงปูพื้นฐานไว้สำหรับ “กินดี อยู่ดี” ต่อไปในอนาคตแนวคิดและทฤษฎีที่ได้
พระราชทานพระราชดำริเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนายึดถือ หลักความเรียบง่ายไม่ยุง่ ยากสลับซับซ้อน ทำได้รวดเร็ว
สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์ได้จริง อีกทั้งมุ่งไปสู่วิถีการพัฒนาแบบยั่งยืนสำหรับในที่น้ี ขอนำเสนอศาสตร์
พระราชาผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แนวคิดทฤษฎีใหม่ หลักการทรงงาน รวมถึงยุทธศาสตร์
พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อให้ทุกท่านได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภมู พิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระมหากษตั ริย์ผู้เปน็ ท่ีรักยงิ่ ของปวงชนชาวไทย
ความเป็นมาทหารกับศาสตรข์ องพระราชาในการพัฒนาประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีกระแสพระราชดำรัส
เมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ.2523 ความว่า “หน้าที่สำคัญของทหารดูกันอย่างผิวเผินก็คือการรบ หรือการทำสงครามต่อสู้
กับศัตรูของชาติ แตถ่ ้าจะดูใหช้ ัดตามความเปน็ จริงแลว้ จะเห็นว่าหน้าท่ีรบเปน็ เพยี งส่วนหนง่ึ เท่าน้ันเพราะการป้องกัน
รักษาอธิปไตย และความม่นั คงปลอดภยั ของประเทศน้ัน นอกจากจะมกี ำลังรบที่เข้มแขง็ พร้อมมลู แล้วยังจำเป็นต้องมี
การพัฒนาให้บ้านเมืองเกิดความเจริญมั่นคงขึ้นทุกๆ ด้าน ตลอดเวลาดว้ ยทหารจึงต้องรับภาระสำคัญอีกประการหนงึ่
ควบคู่ไปกับการรบ ได้แก่ การพัฒนาซึ่งหมายถึงการพัฒนาทั้งด้านกิจการทหารโดยตรงและด้านอื่นๆ ทั้งหมดเท่าท่ี
ทหารสามารถจะร่วมมือช่วยเหลือ หรือสนับสนุนได้เมื่อความสำคัญและจำเป็นมีอยู่ดังน้ีจึงต้องมีหน้าที่เพิ่มขึ้น และ
จะต้องสำนึกถึงหน้าที่ของตนทั้งนั้นโดยตระหนัก” จะเห็นได้ว่าแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน ส่วนใหญ่ชี้ว่าการ
ป้องกันประเทศ หรือการรักษาความมั่นคงของชาติที่จริงแล้ว คือการทำให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นปรกติ
สุข ซึ่งก็หมายถึงตอ้ งมีความเข้มแข็งจากภายในให้ได้ ซึ่งการพฒั นาตามแนวพระราชดำริ คือ การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ
ถึงความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาตินั้นเอง กองทัพบกได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่อัน สำคัญท่ี
จะต้องสนองพระราชปณิธานของสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั ฯ ในการน้อมนำศาสตร์ของพระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มาปฏบิ ตั ใิ หเ้ กดิ ผลเปน็ รปู ธรรมทั้งในสว่ นของกำลังพล และครอบครัวให้มีความรูค้ วามเขา้ ใจอย่างถ่องแท้ เพอ่ื นำไปใช้
ในการดำรงชีวิต และสามารถนำศาสตรข์ องพระราชาไปช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชวี ติ และความเป็นอยู่ที่ดีข้ึน
ตลอดจนนำไปพัฒนาสังคม และประเทศแบบยั่งยืนบนพื้นฐานของความพอเพียงต่อไป ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบัน
บทบาทของทหารยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเนื่องจากยังคงมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอีก
จำนวนมาก ตลอดจนปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การที่นำศาสตร์ของพระราชาไปเป็นแนวทางพัฒนา จึง
มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ท่ีกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมี
ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใน
ระยะเวลา 20 ปี เพ่อื ความสขุ ของคนไทยทุกคน คณะกรรมการยุทธศาสตร์กองทัพบก จึงไดพ้ ิจารณาจัดทำคู่มือทหาร
-3-
กับศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นการสืบสานศาสตร์ของพระราชา และให้หน่วยมีเอกสารคู่มือ
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกำลังพลนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดี และ
สามารถนำองค์ความรู้ไปฝึกอบรมหรือ ถ่ายทอดความรู้ศาสตร์ของพระราชาให้กับประชาชน เพื่อใช้เป็นหลักคิดและ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป โดยการจัดทำ
หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์ของพระราชาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนขึ้นมาเพื่อใช้ในกองทัพบกในครั้งน้ี
คณะทำงานของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ได้รวบรวมจากเอกสารตำราจำนวนหลายเล่มและนำมาเรียบเรียงให้อ่าน
เข้าใจง่ายๆ สามารถนำไปปฏิบัติ ได้จริง และได้ผ่านการประชุมพิจารณา และการสัมมนาจากผู้แทนหน่วยต่างๆ ใน
กองทัพบกหลายครั้งประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำคู่มือทหารกับศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาประเทศหน่วย
ทหารและกำลังพลของกองทัพบกมีเอกสารตำราหรือคูม่ ือในการศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาอย่างถูกต้องเป็น
มาตรฐานเดียวกันทั้งกองทัพบก ศึกษาได้ง่ายสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง หน่วยสามารถนำไปใช้เป็นหลักสูตร
เกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาให้กับกำลังพลทุกระดับทั้ง นายทหาร นายสิบ พลทหาร รวมทั้งครอบครัวกำลังพล
และมวลชนของหน่วยหรือประชาชนทั่วไปได้ หน่วยสามารถใช้เป็นคู่มือเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมให้กับชุดวิทยากร
หรือชุดปฏิบัติการของหน่วยในการลงพื้นที่ไปช่วยเหลือประชาชนหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนใน
พ้นื ทร่ี ับผดิ ชอบของหน่วยได้ อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
คำจำกัดความเกีย่ วกับศาสตร์ของพระราชาทส่ี ำคญั
ศาสตร์ของพระราชา หมายถึง บรรดาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานผ่านวิธีการต่างๆ ด้วยความมุ่งหมายที่จะพัฒนาป้องกัน
หรือแก้ไขปัญหาเพือ่ ประโยชน์สุขแกเ่ หล่าพสกนิกร และส่งผลถึงมนุษย์ชาติทัง้ ปวงให้สามารถดำรงชวี ิตได้อย่างม่นั คง
สนั ติสุข และย่งั ยนื
ศาสตร์ของพระราชา คอื องค์ความรู้ท่วี า่ ด้วยการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร
ศาสตร์ของพระราชา คอื องคค์ วามรเู้ กีย่ วกบั พระราชาหรอื พระมหากษัตริย์
เศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักดำเนินชีวิตทางสายกลาง โดยยึดหลักของความพอประมาณ
ความมีเหตุผลการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และกำกับไว้ด้วยตัวคุณธรรมและความรู้ โดยเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาหากัน
ทั้งเศรษฐกจิ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอ้ ม
เศรษฐกิจพอเพยี ง หมายถึง เศรษฐกจิ ที่สามารถอมุ้ ชูตัวเองได้ อยู่บนพนื้ ฐานวฒั นธรรมพอเพยี ง
พอเพียง หมายถึง พอมพี อกิน ซง่ึ พอเพยี งน้ีอาจจะมีมากอาจจะมีของหรูกไ็ ด้ แตต่ ้องไม่ไปเบยี ดเบยี น
คนอ่ืน
-4-
หนา้ ทท่ี หารและวสิ ัยทัศนก์ องทพั บก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 52
“รัฐต้องพิทักษ์รักษาไวซ้ ึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขต และเขตที่ประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เพอ่ื ประโยชนแ์ ห่งการนรี้ ฐั ต้องจดั ให้มที หารการทตู และการขา่ วกรองท่ีมีประสิทธิภาพ กำลังทหารใหใ้ ชเ้ พ่ือประโยชน์
ในการพัฒนาประเทศด้วย” กองทัพบกเป็นสถาบันหลักของชาติในการพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตย ความมั่นคง
แห่งรัฐ สถาบันพระมหากษตั ริย์ ผลประโยชน์ของชาติ การพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน ตามที่กำหนด
ไว้ในรฐั ธรรมนญู ในสถานการณ์โลกปัจจบุ ันมกี ารเปล่ยี นแปลงไปอย่างมากมายหลายมิติ ปญั หาภยั คกุ คามรปู แบบใหม่
มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านความมั่นคงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่กองทัพบก
จำเป็นต้องรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศเสริมสร้างความมั่นคงร่วมกันทุกภาคส่วนให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด นอกจากนี้แล้วกำลังพลทุกนายของกองทัพบกยังต้องตะหนักถึงความเป็นทหารของชาติพร้อมปฏิบัติหน้าที่
ในการพิทกั ษ์รกั ษาปกปอ้ ง และธำรงไวซ้ งึ่ สถาบนั หลักของชาติ
พันธกิจของกองทพั บก
การเตรียมกำลังจัดเตรียมและเสริมสร้างกำลังทั้งปวงในส่วนของกองทัพบกและช่วยเหลือสนับสนุน
การจัดเตรียมกำลังทางบกของส่วนราชการอื่นให้มีความพร้อมตั้งแต่ยามปกติ เพื่อให้มีความเพียงพอ และพร้อมที่
จะเผชิญภัยคุกคามทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศรวมทั้งมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจทางทหา ร
และภารกิจท่ีมใิ ชส่ งครามอยา่ งมีประสิทธิภาพด้วย การพฒั นาการเสริมสรา้ งกำลังตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ
กระทรวงกลาโหม และแผนการพัฒนาการเสริมสร้างกำลังกองทัพทั้งในด้านโครงสร้างกำลังความพร้อมรบ
ความตอ่ เนื่อง และความทันสมยั การกำลงั ใช้กำลังที่ได้จัดเตรียมไว้หรือทร่ี ะดมสรรพกำลัง เพ่ือป้องกันราชอาณาจักร
จากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การคุ้มครองรักษาผลประโยชน์
ของชาติ การรักษาความมั่นคงภายในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การช่วยพัฒนาประเทศตลอดจน
การสนบั สนุนรฐั บาลและประชาชนในการแก้ไขปญั หาสำคญั ของชาติในรปู แบบตา่ งๆ
วสิ ัยทศั น์กองทพั บก
วิสัยทัศน์กองทัพบก พ.ศ.2580 เป็นเป้าหมายระยะยาว (20 ปี) สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติระยะ
20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ ทบ. กำหนดไว้ว่า “เป็นกองทัพบกที่มีศักยภาพทันสมัยเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน
และเป็นหนึ่งในกองทัพบกชั้นนำของภูมิภาค” ศักยภาพ : องค์ประกอบที่สื่อถึงการมีศักยภาพประกอบด้วย
ด้านกำลังพล กำลังพลมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่มีขวัญและกำลังใจที่ดีมีอุดมการณ์และจิตวิญญาณ
ความเป็นทหารอาชีพรวมทั้งมีความเป็นผู้นำตลอดจนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านยุทโธปกรณ์
มีจำนวนเพียงพอ มีประสิทธิภาพและทันสมัยมีโครงสร้างการจัดหน่วยที่กะทัดรัด เหมาะสม มีความคล่องตัว
และเป็นกำลังเอนกประสงค์ในการปฏิบัติ ภารกิจการป้องกันประเทศและการเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบอื่นๆ
-5-
ตลอดจนสามารถดำรงความต่อเนื่องในการรบได้ดว้ ยระบบการสง่ กำลังบำรุง ระบบกำลังสำรอง และการพัฒนากำลัง
ประชาชนทีม่ ีประสิทธภิ าพและเชอื่ ถอื ได้
ทันสมัย : ความทันสมัยของ ทบ. ประกอบด้วยกำลังพลที่มีองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
เรียนรู้เพิ่มเติมต่อเนื่อง มีความคิดก้าวหน้า มีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
และการมีทักษะ ด้านภาษา รวมทั้งการมียุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีทางทหาร การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การสื่อสารและไซเบอร์ที่ตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจของ ทบ. ความเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน ทบ. จะต้อง
เสริมสร้างขีดความสามารถและปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศและการเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบอื่นๆ ให้เป็นไป
ตามความคาดหวังของประชาชน การดำเนินงานบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือและไดร้ ับความ
ไว้วางใจทั้งในระดับบุคคล และส่วนราชการด้วยการใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ในการบริหารและ
ปฏิบัติราชการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้
หลักความคุ้มค่า และหลักคุณธรรมอันจะนำไปสู่การมีภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานเป็นหนึ่งในกองทัพบกชั้นนำ
ของภูมิภาค : โดย ทบ. จะต้องมีศักยภาพหรือขีดความสามารถ และความทันสมัยในเชิงเทียบกับ ทบ. ในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งด้านประมาณและคุณภาพรวมทั้งการแสดงบทบาทนำผ่านทางการเข้าร่วมกิจกรรม
ความร่วมมือด้านความมั่นคงในเวทีสากลทั้งเชงิ ทวภิ าคี และพหภุ าคี โดยเฉพาะในประชาคมอาเซียน
ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กำหนดใหร้ ัฐพึงจัดให้มยี ุทธศาสตรช์ าติ เปน็ เป้าหมาย
การพัฒนาประเทศอย่างย่ังยืน ตามหลักธรรมมาภิบาลเพื่อให้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้อง
และบูรณาการกัน ซึ่งคณะกรรมการยทุ ธศาสตรช์ าติได้จัดทำและมกี ารรับฟังความคิดเหน็ ของประชาชนและหน่วยงาน
ของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางแล้ว และเมื่อ 8 ตุลาคม 2561 ได้มีพระราชโองการประกาศ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ.2561 – 2580) ดังนั้นจึงเป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งจะต้องน ำไปสู่การปฏิบัติ
เพ่ือใหป้ ระเทศไทยบรรลุวสิ ัยทัศน์ “ประเทศไทยมคี วามมั่นคง มงั่ คั่ง ยง่ั ยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายในระยะเวลา 20 ปี เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน โดยมีเป้าหมาย
การพัฒนาประเทศระยะยาว คือ “ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคม
เป็นธรรมฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติพัฒนาคนในทุกมิติ
และในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโต
บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม
เน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ในรูปแบบ “ประชารัฐ” ประกอบดว้ ย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ยทุ ธศาสตร์ชาติดา้ นความมัน่ คง
- เป้าหมาย ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข จัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศ
ใหม้ ีความมน่ั คง ปลอดภัย เอกราชอธิปไตย มีความสงบเรียบรอ้ ยทุกระดับตงั้ แต่ ระดบั ชาติ สังคม ชมุ ชน
- มุ่งเน้น การพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมรับมือ
ภยั คกุ คามและภัยพิบัตไิ ดท้ ุกรูปแบบควบค่กู ับการป้องกัน และแกไ้ ขปัญหาดา้ นความมนั่ คงท่ีมีอย่ใู นปจั จบุ นั
-6-
2. ยุทธศาสตรช์ าติด้านการสรา้ งความสามารถในการแข่งขัน
- เปา้ หมาย ยกระดบั ศักยภาพของประเทศในหลากหลายมติ ิบนพ้นื ฐานแนวคดิ 3 ประการ ไดแ้ ก่
2.1 “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี
วถิ ีชีวติ และจุดเดน่ ทางทรพั ยากรธรรมชาตทิ ี่หลากหลายแลว้ นำมาประยกุ ต์ผสมผสานกบั เทคโนโลยี และนวัตกรรม
2.2 “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติ
ตา่ งๆ และการปรบั สภาพแวดล้อมใหเ้ ออ้ื ตอ่ การพฒั นาอตุ สาหกรรม และบริการอนาคต
2.3 “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการพัฒนาคนรุ่นใหม่
รวมถงึ ปรับรปู แบบธรุ กจิ ขยายโอกาสทางการค้า และการลงทนุ ในเวทีโลก
3. ยุทธศาตร์ชาติดา้ นการพัฒนาและเสรมิ สร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
- เป้าหมาย การพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ
เป็นพลเมืองดีของชาติมีทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น การสื่อสาร ภาษาอังกฤษ และภาษาที่ 3 มีนิสัยรัก
การเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยา่ งต่อเนอ่ื งตลอดชีวิตสกู่ ารเป็นคนไทยท่ีมที กั ษะสูง
4. ยทุ ธศาสตรช์ าติด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสงั คม
- เป้าหมาย การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน
ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน และกระจายอำนาจความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการ
แผน่ ดนิ ในระดับท้องถิน่ การเสรมิ สร้างความเข้มแข็งของชมุ ชนในการจดั การตนเอง
5. ยุทธศาสตรช์ าติด้านการสร้างการเตบิ โตบนคณุ ภาพชีวติ ที่เปน็ มติ รกบั สงิ่ แวดล้อม
- เป้าหมาย การพัฒนาที่ไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ โดยเป็น
การดำเนนิ การบนพ้นื ฐานการเติบโตร่วมกัน
6. ยทุ ธศาสตร์ชาติดา้ นการปรับสมดลุ และพัฒนาระบบรหิ ารจดั การภาครฐั
- เป้าหมาย ปรับเปลี่ยนภาครัฐโดยยึดหลักให้เป็นภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน
และประโยชน์สว่ นรวมปรบั วฒั นธรรมการทำงานใหม้ ่งุ ผลสมั ฤทธ์ิ และผลประโยชนส์ ว่ นรวมมคี วามทันสมัย และพร้อม
ที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยม
ความซื่อสตั ย์สุจริตปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตอยา่ งสิน้ เชงิ
นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0)
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจหลายครั้ง โดยเริ่มจาก
“Thailand 1.0” ที่เน้นภาคเกษตรกรรมไปสู่ “Thailand 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา จากนั้นได้ก้าวสู่ “Thailand
3.0” ที่เนน้ อตุ สาหกรรมท่มี คี วามซับซ้อนมากข้นึ ปัจจบุ ันรฐั บาลได้ประกาศใชร้ ปู แบบเศรษฐกิจ “Thailand 4.0” เป็น
ทิศทางในการพัฒนาประเทศให้เปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นประเท ศที่มีรายได้สูงในอนาคต
ภายใต้ “Thailand 3.0” ทำใหป้ ระเทศไทยมีเศรษฐกจิ ทีเ่ ติบโตเพ่ิมขน้ึ แตย่ ังเผชญิ กับ กับดกั ประเทศรายได้ปานกลาง
-7-
กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และกับดักความไม่สมดุลในการพัฒนาประเทศซึ่ง “ Thailand 4.0”
เป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่จะนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักดังกล่าวพร้อมกับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่
ประเทศโลกที่หนึ่งที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี – ยุทธศาสตร์
การขับเคลือ่ น “ThaiIand 4.0” มยี ุทธศาสตรท์ ี่สำคัญ 2 ประการ คอื
1. การสร้างความ เข้มแข็งจากภายใน
2. การเชื่อมโยงกับประชาคมโลกซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ด้าน กำหนดให้มีการดำเนิน
การแบง่ เป็น 5 วาระ ประกอบดว้ ย
2.1 การเตรียมคนไทย 4.0 ใหพ้ ร้อมกา้ วสู่โลกทห่ี นงึ่
2.2 การพัฒนาคลัสเตอรเ์ ทคโนโลยี และอตุ สาหกรรมเป้าหมาย
2.3 การบม่ เพาะผู้ประกอบการและพฒั นาเครือขา่ ยวสิ าหกจิ ทขี่ ับเคล่อื นดว้ ยนวัตกรรม
2.4 การเสรมิ สรา้ งความเขม้ แขง็ ของเศรษฐกิจภายในประเทศผา่ น ๑๘ กล่มุ จงั หวดั
และ 76 จังหวัด
2.5 การบูรณาการอาเซยี่ น เชือ่ มประเทศไทยสปู่ ระชาคมโลก
สรุปการพัฒนาประเทศภายใต้รูปแบบเศรษฐกจิ “ThaiIand 4.0” เป็นการวางรากฐานในการพัฒนา
ประเทศด้านเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจะสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ
ภายในประเทศ และภมู ภิ าคอย่างมน่ั คง
ศาสตร์ของพระราชา 13 ดา้ น และวธิ ีการแห่งศาสตรข์ องพระราชา
คือ องคค์ วามรู้ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่
ปวงชนชาวไทยผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4,000 กว่าโครงการ และผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่งทั่วประเทศ ศาสตร์ของพระราชาครอบคลุมเรื่อง น้ำ ป่าไม้ ดิน การเกษตร
การส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดกิ ารสงั คม การศึกษา การคมนาคม การสอื่ สาร สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ นวัตกรรม และเศรษฐกิจพอเพียง รวม 13 ด้าน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยเกื้อหนุนชีวิตความเป็นอยู่
ทุกด้านของพสกนิกรของพระองค์ และเป็นแนวทางในการพัฒนา และการบริหารประเทศแบบยั่งยืน ศาสตร์ของ
พระราชาเปน็ ศาสตรท์ ่ีทนั สมัย มศี ูนยก์ ลางการเรียนรู้ และการแกไ้ ขปัญหาอยู่ทกี่ ารพฒั นาคน และการพฒั นาประเทศ
แบบยั่งยืนบนพื้นฐานของความพอเพียง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ช่วยให้คนไทยมีพออยู่พอกินจนถึงกินดีอยู่ดี นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทยที่รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์เท่านั้น นานาประเทศ
ยังได้แซ่ซ้องสดุดีพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ โดยเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2549
นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้นได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความส ำเร็จสูงสุด
ด้านการพัฒนามนุษย์ แก่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และได้กล่าวสดุดี
พระองค์วา่ หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ของพระองคม์ ีความหมายอย่างย่ิงต่อชมุ ชนทุกหนแห่งในยุคโลกาภิวัตน์
โดยศาสตร์ของพระราชา 13 ดา้ น ได้แก่
1. ดา้ นทรัพยากรน้ำ
-8-
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเห็นความสำคัญของน้ำว่า
“น้ำคือชีวติ ” ทรงมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ.2524 ตอนหนึ่งว่า “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภคน้ำ
ใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า
ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้” ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พระองค์มีวิธีคิดอย่างองค์รวมทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดข้ึน
อย่างเชื่อมโยง ทรงศึกษา ค้นคว้า และหาแนวทางปฏิบัติอยา่ งเป็นระบบ ทรงคิดค้นวิธีการแกไ้ ขปัญหาการขาดแคลน
น้ำในรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินจนปรากฏเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กระจายในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเป็นจำนวนมากรวมทั้งการจัดการน้ำในบรรยากาศ โดยการทำฝนหลวง
ทรงใช้เวลาศึกษาทดลองถึง 14 ปี ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
พระองค์ทรงคิดหาทางจัดทำโครงการรองรับการแก้ไขปัญหาเป็นเวลาหลายปีซึ่งโครงการนี้ คือ สร้างอ่างเก็บน้ำ
9 แห่ง แห่งหนึ่งคือ ที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเกบ็ น้ำเหมาะสมพอเพียงสำหรบั
การบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงในที่ราบลุ่มของประเทศไทยทั้งสองโครงการ ได้แก่ โครงการ
เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ิอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 พระองค์ ได้มีพระราชดำริ
ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมอย่างจริงจัง และเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ
และอุทกภัย ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีไดอ้ นุมัติให้เปิดโครงการฯ เมื่อ ๓ พฤษภาคม 2537 โดยจะต้องดำเนินงานให้แลว้
เสร็จในปี 2542 เพือ่ ให้ทนั ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ใน 5 ธนั วาคม 2542 โดยออกแบบก่อสร้าง
มีขนาดความจุของอ่างเกบ็ นำ้ 960 ลา้ นลูกบาศกเ์ มตร เปน็ แหล่งน้ำเพ่ือการเกษตรสำหรบั พ้ืนทชี่ ลประทานใหม่ในเขต
ลพบุรี และสระบุรี จำนวน 174,500 ไร่ สามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวดั ลพบุรี สระบรุ ี อยุธยา ปทุมธานี
นนทบุรี และกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างมาก ซึ่งช่วยลดความเสียหายด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย
ไดอ้ ย่างมหาศาล เขอ่ื นป่าสกั ชลสิทธิ์ชว่ ยในการใช้น้ำเพ่ือการอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรมให้มีเสถียรภาพมากข้ึน
ซึ่งเป็นความต้องการรองลงมาจากการใช้น้ำเพื่อการเกษตร อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และแหล่งประมงน้ำจดื
ขนาดใหญ่มีปลาหลากหลายประมาณ 130 ชนิดพนั ธุ์ ปจั จัยสู่ความสำเร็จในการก่อสรา้ งเข่ือนฯ เกิดจากความร่วมมือ
จากหลายภาคส่วนมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับภูมิสังคมเหมาะสม
กับสภาพท้องถิ่น และธรรมชาติ มีประสิทธิภาพสูงสุดนำไปสู่ประโยชน์สุขร่วมกัน โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ.2536 พระองค์ได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานก่อสร้าง
เขื่อนคลองท่าด่าน บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำทางการเกษตร
อุปโภค บริโภค แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว และบรรเทาอุทกภัย ที่มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นครนายกเป็นประจำทุกปี โดย
ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2547 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เขื่อนขุนด่านปราการชลอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ เป็นเข่อื นบดอดั คอนกรีตท่ใี หญ่ที่สุดในประเทศไทยมคี วามสูง 93 เมตร ยาว 2,594 เมตร สามารถเก็บกัก
น้ำได้ 224 ลา้ นลกู บาศก์เมตร มีพน้ื ทร่ี บั ประโยชน์ทางการเกษตร รวมทั้งส้นิ 186,000 ไร่ โครงการฝนหลวงด้วยทรง
มองเหน็ ปญั หาความทกุ ขย์ ากของประชาชนจากภัยแล้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ตง้ั แต่ปี พ.ศ.2498 จงึ ทรงหาทาง
ที่จะทำให้ก้อนเมฆบนท้องฟ้าที่ถูกพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้ง ไปรวมตัวตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น จึงได้ทรงศึกษาและ
ทดลองเรื่อยมาจนมีการปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้า เมื่อ 19 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ สนามบินหนองตะกู
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนหลวง 6 ขั้นตอน คือ ขั้นการก่อกวน ขั้นเลี้ยง
-9-
ให้อ้วน ขั้นโจมตี ขั้นการเพิ่มปริมาณน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้น ขั้นการโจมตีเมฆเย็นด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดค์ และขั้นการ
โจมตีเมฆเย็นแบบซุปเปอร์แซนด์วิช โครงการฝนหลวงได้ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงภาวะฝนแล้ง
และช่วยเรื่องการอปุ โภค บริโภค ตลอดจนการแกไ้ ขปญั หาไฟปา่ และหมอกควันอีกดว้ ย นับวา่ เทคโนโลยีฝนหลวงเป็น
ผลงานอันยอดเยยี่ มด้านการดดั แปรสภาพอากาศเป็นทีย่ อมรบั กันท่ัวโลก
2. ดา้ นทรพั ยากรปา่ ไม้
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานปรัชญาเกี่ยวกับ
การพัฒนาป่าไม้ เมื่อ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน
แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง” พระองค์ท่านมีแนวพระราชดำริใน
ดา้ นการพัฒนาทรัพยากรปา่ ไม้ ดังน้ี
ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก เป็นพระราชดำรัสที่สะท้อนให้เห็นความเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งถึงวิถีแห่ง
ธรรมชาติ “ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมนั้น ความจริงไม่ต้องทำอะไร เพราะตอจะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม้
สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้ตามพื้นที่ก็มีต้นไม้เล็กหรือเมล็ดก็จะงอกงามขึ้นมาอีก อย่าให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายอีก
ปา่ กจ็ ะกลับคนื สภาพได”้
ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง มีพระราชดำรสั ตอนหนึ่งวา่ “แต่ป่าไม้ที่จะปลูกนั้นสมควรท่จี ะ
ปลูกแบบปา่ สำหรับใช้ไม้หน่ึง ปา่ สำหรับใช้ผลหน่ึง ปา่ สำหรบั ใชเ้ ป็นฟนื อย่างหน่ึง อันนีแ้ ยกออกไปเป็นกวา้ งๆ ใหญ่ๆ
การท่จี ะปลกู ตน้ ไม้สำหรับไดป้ ระโยชน์ ดังนี้ ในการวเิ คราะหข์ องกรมป่าไมร้ ู้สึกจะไม่ใชป่ ่าไม้ แต่ว่าใน ความหมายของ
การช่วยเพื่อต้นน้ำลำธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้เป็นป่าที่ถูกต้อง เพราะทำหน้าที่เป็นป่า คือ เป็นต้นไม้ และทำหน้าท่ี
เป็นทรัพยากรในดา้ นสำหรบั เปน็ ผลทีม่ าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้”
ฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นแนวคดิ หน่งึ ที่เกดิ จากพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านที่ได้ทรง คิดค้น
ขึ้นเพื่อเป็นวิธีการในการสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าด้วยวิธีง่ายๆ ประหยัด และได้ผลดี การสร้างฝายเล็กๆ ให้
สอดคล้องกบั สภาพธรรมชาติ โดยใชว้ ัสดุธรรมชาติหาได้งา่ ยในถ้องถิ่น ไดแ้ ก่ ฝา่ ยต้นนำ้ ลำธาร สำหรบั ก้ันกระแสน้ำไว้
ให้ไหลช้าลง และฝายดักตะกอนดิน และทราย
โครงการศูนยศ์ กึ ษาการพัฒนาห้วยฮอ่ งไคร้ อนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ เมอ่ื 3 กุมภาพนั ธุ์ พ.ศ.2527
พระองค์ท่านเสด็จไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานแนว
ทางการดำเนินงานเพิ่มเติมความว่า “ทำการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก
เป็นตน้ ทาง และปลายทางใหเ้ ป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ท่จี ะก่อใหเ้ กิด ประโยชน์ต่อราษฎรอย่าง
แท้จริงผสมกับการศึกษาด้านสหกรณ์ เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และด้านเกษตร อุตสาหกรรม รวมทั้ง ด้านตลาดอีกด้วย
เพื่อให้ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษา
กิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์และนำไปใช้ปฏิบตั ิอย่างไดผ้ ลต่อไป” ปัจจบุ ัน การดำเนินงานของศูนย์ศกึ ษาการพฒั นาห้วย
ฮ่องไคร้ นับได้ว่าเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จของการจัดการต้นน้ำที่ยั่งยืนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมี จำนวน 266 เรื่อง
แบ่งเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน 38 เรื่อง, เกษตรกรรม 101 เรื่อง, ปศุสัตว์ 87 เรื่อง, ประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
31 เรอื่ ง, ป่าไม้ 33 เรือ่ ง, แหล่งน้ำ 11 เรอ่ื ง, และเร่อื งอ่นื ๆ 15 เร่ือง
-10-
3. ดา้ นทรพั ยากรดนิ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเน้นเรื่องความสมดุล
ของธรรมชาติ ทรงเห็นว่าธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างพึ่งพิงกันและเชื่อมโยงกันด้วยวิถีธรรมชาติ
อย่างเปน็ วฏั จักร หากส่งิ ใดเกิดผลกระทบก็จะส่งผลต่อเน่ืองอย่างเป็นวงจร และสดุ ทา้ ยจะสง่ ผลต่อมนุษย์ พระองค์จึง
ทรงศึกษา และมีแนวพระราชดำริในการบำรุงรักษาและฟื้นฟูดินด้วยกระบวนการและวิธีทางธรรมชาติ การใช้หลัก
ธรรมชาติชว่ ยสร้างและรักษาสมดุลของระบบนิเวศและชว่ ย “สร้างดนิ ให้มีชวี ิต” พระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเรื่อง
ดินมีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิศาสตร์และสภาพพื้นผวิ ของดิน ในทุกสภาพภูมิศาสตร์และชนิดของดิน ทรงใช้
กลวิธีทางธรรมชาติเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา หนึ่งในแนวทางพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน คือการใช้
หญ้าแฝก หญ้าแฝกทำหน้าที่เป็นเสมือนกำแพงที่มีชีวิตป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และช่วยเก็บความชุ่มช้ืน
ไว้ในดิน ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่ายๆ ประหยัดและที่สำคัญ คือ เกษตรกรสามารถทำได้เอง โดยแนว
พระราชดำรใิ นการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย ได้แก่
- ดินทราย ต้องเพมิ่ ความชุ่มช้ืนและเพิ่มอนิ ทรียวตั ถทุ จ่ี ะทำหน้าที่เสมอื นกนั ชนให้แก่ดนิ มากขน้ึ
- หนิ กรวด ทราย และแห้งแลง้ ต้องยึดดนิ และช่วยให้ช้ืน
- ดินดาน ดนิ แขง็ และดินลกู รงั ต้องสร้างของดี ซ้อนบนของเลว
- ดินถูกชะล้าง ต้องช่วยเหลือด้วยกำแพงที่มีชีวิต คือการปลูกหญ้าแฝก เพื่อกั้นดินและการกระจาย
การไหลของน้ำ
- ดินเปรี้ยวหรือดินพรุ ต้องทำให้ดินโกรธ โดยแกล้งดินเนื่องจากดินมีสภาพเป็นกรดมากแล้วใช้น้ำ
ชำระล้างดิน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาหว้ ยทรายอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เดิมสภาพ พื้นที่มี
ปัญหาดินถูกชะล้าง พระองค์ท่านได้นำหญ้าแฝกมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน ในรูปแบบต่างๆ จนประสบ
ความสำเร็จ ในการเปน็ ตน้ แบบของการพฒั นาแบบผสมผสานทเ่ี กษตรกร สามารถเขา้ ไปศกึ ษาได้
4. ด้านการเกษตร
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการเกษตรที่สำคัญ คือการที่ทรงเน้นเรื่องการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
และวิจัยทรงยึดหลักการและเทคโนโลยีเรียบง่ายไม่สลับซับซ้อน ราคาถูก ไม่ยึดติดตำรา เกษตรกรสามารถ ทำได้เอง
และอาจประหยัดค่าใช้จา่ ยในการทำโดยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ และอาศัยพง่ึ พิงธรรมชาติการดำเนินการต้องค่อย
เป็นค่อยไป ตามลำดับขั้นตอน และตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาทัง้ หมด
ต้องชี้แจงให้ราษฎร ซึ่งเน้นผู้ได้รับผลประโยชน์มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เมื่อป่าดี น้ ำดี ดินดี การทำมาหากินก็จะดี
พระองค์มีพระราชประสงค์หลัก คือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านเกษตรเป็นอันดับแรก
เช่น ข้าว พืชผัก และผลไม้ ทรงเน้นความจำเป็นที่จะลดค่าใช้จ่าย ในการทำมาหากินของเกษตรกรให้มากที่สุด
โดยอาศยั พงึ พงิ ธรรมชาตเิ ป็นปจั จัยสำคัญ เช่น การใช้ วัว ควาย แทนเคร่ืองจกั ร การปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะพืช
ตระกูลถั่วเพื่อ ลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย และการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพงและมีผลกระทบต่อสภาพ
-11-
และคุณภาพของดินในระยะยาว พระองค์ได้สร้างต้นแบบการพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
วจิ ัยหาพันธุ์พืช และพนั ธุส์ ัตว์ตา่ งๆ ทีเ่ หมาะสมกับสภาพพื้นทน่ี นั้ ๆ เพือ่ ให้เกษตรกรได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ ไดแ้ ก่
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ตำบลเขาหินซ้อน
อำเภอพนมสารคาม จังหวดั ฉะเชิงเทรา มีภารกิจหลกั ในด้านการปรบั ปรุงพ้นื ฟูทรัพยากรธรรมชาติ
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลกะลุวงเหนือ
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส มีภารกิจหลักในด้านการศึกษา วิจัย และการพัฒนาสภาพของดินที่มีปัญหา และใช้
ประโยชนไ์ มไ่ ดใ้ หน้ ำกลบั มาใช้ประโยชน์ทางดา้ นเกษตรกรรมไดอ้ ีก
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่างคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามไชย
อำเภอทา่ ใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีภารกิจหลกั ในดา้ นพฒั นาอาชีพการประมง และการเกษตร
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีภารกิจหลัก คือ การพัฒนาระบบชลประทานพัฒนาระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจ
การทดสอบพนั ธขุ์ า้ วไร่ การศึกษาระบบนิเวศนว์ ิทยาของป่า เปน็ ต้น
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บริเวณพื้นที่ป่าขุนแม่กวง
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจหลัก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาทดลอง และแสวงหารูปแบบใน
การพฒั นาพื้นทบ่ี ริเวณป่าตน้ น้ำ
- ศนู ย์ศกึ ษาการพัฒนาห้วยทราย อนั เนื่องมาจากพระราชดำริ ต้ังอยทู่ ่ีตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี มีภารกิจหลัก เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้เอนกประสงค์ และรูปแบบการ พัฒนา
เกษตรกรรมทเ่ี หมาะสม และระบบป่าเปยี ก เป็นต้น
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาทั้ง 6 แห่ง มีภารกิจในการศึกษาวิจัยและพัฒนาหลายด้าน เช่น ด้านพืช
ด้านการประมง ดา้ นดนิ และดา้ นเกษตรทฤษฎีใหมซ่ ึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ ประชาชน และสงั คมเปน็ อย่างยง่ิ
5. ด้านการสง่ เสริมอาชีพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรมีพระราชดำริว่าเกษตรกรไม่
ควรพึ่งพาพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากความไม่แน่นอนของธรรมชาติ และความแปรปรวนของตลาด
เกษตรกรควรมีรายได้เสริมจากทั้งในและนอกภาคการเกษตรพระองค์มีรับสั่งให้ใช้ “วิธีการสหกรณ์” เพื่อให้เกิด
การรวมกลุ่มของราษฎรบนพื้นฐานแห่งการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำงานสหกรณ์นั้นทุกคน
ต้องรู้จัก สามัคคี และความซื่อสัตย์สุจริตโดยโครงการส่งเสริมอาชีพที่สำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
และสังคม ได้แก่
สหกรณ์การเกษตร พระองค์ทรงส่งเสริมการดำเนินการของสหกรณ์ในภาพรวมทำให้ประสบความสำเร็จ
สหกรณ์ช่วยให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นมีทุนประกอบอาชีพคุณภาพชีวิตดีขึ้น ในปี พ.ศ.2514 พระองค์ พระราชทาน
โฉนดที่ดินบรเิ วณหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบรุ ี รวมพื้นที่ 12,079 ไร่ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดสรรท่ีดินให้
เกษตรเพอ่ื ทำการเกษตร และดำเนินกิจการในรูปแบบสหกรณ์การเกษตร
หบุ กะพง
-12-
สหกรณ์โคนม เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ.2515 เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธเี ปิด “โรงนมผงหนองโพ”
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีในปีต่อมา ได้พัฒนาเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรีจัดเป็นสหกรณ์ประเภท
การเกษตร เมื่อสหกรณ์เข้มแข็งดีแล้วพระองค์ให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพของพระองค์
ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ ตั้งแต่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2518 และทรงรับไว้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งกิจการได้
ประสบความสำเร็จ และได้ชว่ ยแกไ้ ขปัญหาความเดือดรอ้ นของเกษตรกรผูเ้ ล้ยี งโคนมได้อยา่ งแทจ้ รงิ
ธนาคาร โค - กระบือ เมื่อ พ.ศ.2522 พระองค์ทรงทราบปัญหาราษฎรที่ยากจนต้องเช่า โค –
กระบือ ไว้ใช้แรงงานในราคาแพงพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งธนาคาร โค – กระบือ ขึ้นเพื่อ
รวบรวมพันธ์ุ โค – กระบอื ให้ผลิตลูกและขยายพันธุท์ ี่มีคณุ ภาพดสี ำหรับให้เกษตรกรใชง้ านต่อไป โดยให้ชุมชนมีส่วน
ร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยให้กรมปศุสัตว์รับผิดชอบการดำเนินการจนถึงปี พ.ศ.2559 มีเกษตรกร
ได้รับ โค – กระบือ เป็นกรรมสทิ ธแ์ิ ล้ว 49,580 ราย
6. ด้านสาธารณสุข
โครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำรดิ า้ นสาธารณสขุ ทพ่ี ระองค์ทรงชว่ ยเหลอื ประชาชนที่สำคัญ ได้แก่
- โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยให้แพทย์หลวงตามเสด็จไป
เพือ่ ตรวจรักษาราษฎรในท้องถน่ิ ทุรกันดาร และในปี พ.ศ.2512 ทรงพระราชทานชอ่ื วา่ “หนว่ ยแพทย์ พระราชทาน”
- โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ โดยคัดเลือกคนในหมู่บ้านมารับการฝึกอบรม
การรักษาพยาบาลเบอ้ื งต้นเพอื่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมหมบู่ า้ น และไดเ้ รมิ่ ปฏิบัติหน้าทไี่ ดต้ ้งั แต่ปี พ.ศ. 2517
- โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางน้ำพระราชทาน (เรือเวชพาหน์) พระองค์ทรงพระราชทาน
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สภากาชาดจัดสร้างเรือเพื่อใช้เป็นหน่วยเคลื่อนที่รักษาพยาบาลประชาชน ตามลำน้ำ
ต่างๆ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2498 ในพื้นที่ 19 จังหวัด นับว่าเป็นเรือบรรเทาทุกข์ และรักษาพยาบาล
ทางน้ำลำแรกและลำเดียวในโลกที่ยังคงใหบ้ รกิ ารประชาชนอยู่จนถงึ ทุกวันนี้
- โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยคลอดฉุกเฉิน เป็นโครงการพระราชด ำริ
สำหรับตำรวจจราจรใหช้ ่วยเหลอื ประชาชนบนท้องถนนในสภาพท่กี ารจราจรตดิ ขดั
- โครงการจัดตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย เพื่อบำบัดรักษาและศึกษาค้นคว้าเรื่องโรคเรื้อน
โดยพระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างอาคารสถาบัน เพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ท ำงานเก่ียวกับ
โรคเรื้อน และเสด็จเปิดอาคารสถาบันในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2503 การดำเนินงานได้ขยายออกไปสามารถรักษา
ผปู้ ่วยท่เี ป็นโรคเร้ือนจนหายจากโรคได้หมดเกือบทั้งประเทศไม่เปน็ ปัญหาสาธารณสขุ อีกต่อไป
7. ดา้ นสวสั ดิการสงั คม
โครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดำรดิ ้านสวสั ดิการสงั คมเกิดขนึ้ จากเหตุมหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก
เมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ.2505 มีประชาชนเสยี ชีวิตและได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงก่อตั้งมลู นิธิ
ราชประชานุเคราะห์หมายความว่า “ราษฎรกับพระราชาให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” เมื่อ 23 สิงหาคม
พ.ศ.2506 การดำเนนิ งานของมูลนธิ ิมีการแบง่ งานออกเปน็ 2 ดา้ นได้แก่
1. ด้านการบรรเทาทกุ ข์ของประชาชน โดยใหเ้ ชือ่ มโยงกับการดำเนนิ งานของกระทรวงมหาดไทย
-13-
2. ด้านการศึกษา โดยให้เชื่อมโยงกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีโรงเรียนที่มูลนิธิดูแล จำนวน 62
โรงเรียนท่วั ประเทศ
8. ด้านการศกึ ษา
พระองค์ทรงเป็นครูและเป็นนักการศึกษาที่เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาหลายรูปแบบ
รูปแบบหนึ่งทีท่ รงเล็งเห็นวา่ สามารถแกป้ ัญหาการเข้าถงึ การศึกษาของประชาชนในถิน่ ทุรกนั ดาร ห่างไกลความเจรญิ
ขาดแคลนครูและอุปกรณ์การเรียนการสอน คือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งจะช่วยให้การเรียนการสอน
มีมาตรฐานเดียวกัน เป็นการลดช่องว่างทางการศึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยผู้เรียนเอง
พระองค์พระราชทานหลักการเรียนการสอนของโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมว่าจะต้องสอนง่าย ฟังง่าย
เรียนง่ายใช้เทคโนโลยีธรรมดาไม่ซับซ้อนประหยัดแต่ได้ผล และที่สำคัญ คือ ครูทุกคนต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู
มีความรักให้ลูกศิษย์เสมือนเป็นลูกของตนเองเป็น “ครูตู้” ครูพระราชทานผ่านสัญญาณจากฟ้าพระองค์
มีพระบรมราโชบายส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกประเภททั้งการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนนอกระบบ
โรงเรียนการศึกษาพิเศษการศึกษาสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาวิชาการ และวิจัยรวมทั้ง
พระราชทานทุนการศกึ ษาใหก้ บั นักเรยี นพระราชกรณยี กิจทางการศึกษาแสดงถงึ พระปรชี าสามารถ พระบรมราโชบาย
อนั ล้ำลกึ ในการให้ความสำคัญกบั การพฒั นาคน
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้เริ่มต้นเมือ 7 มีนาคม พ.ศ.2538 กระทรวงศึกษาธิการรับสนอง
พระราชดำริไปดำเนินการ โดยให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นแม่ข่ายถ่ายทอดการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกล
ผ่านดาวเทียมตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศปัจจุบันมีโรงเรียนร่วมโครงการ
มากกวา่ 24,000 โรงเรยี น
9. ดา้ นการคมนาคม
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นพระองค์มีพระราชด ำริให้เปิด
เส้นทางคมนาคมไปสู่ชนบทที่อยู่ห่างไกลในพื้นท่ี ที่ประชาชนมีความยากลำบากในการเดินทางสัญจรไปมา และการ
ลำเลียงขนส่งสินค้าการเกษตร โดยทำให้ทางสัญจรมีผิวการจราจรที่ดีสะดวกต่อการเดินทาง การพัฒนาเส้นทาง
การคมนาคมนับเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำความเจริญไปสู่ชนบทนอกจากนั้น พระองค์ยังมีแนวพระราชดำริเกี่ยวกับ
การแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น โครงการวงแหวนรัชดาภิเษก โครงข่ายจตุรทิศ
ตะวันตก - ตะวันออก และเหนือ - ใต้ โครงการสะพานพระราม ๘ และเส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
เปน็ ต้น
10. ด้านการสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระราชหฤทัย
ในเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารในหลายรูปแบบ ตั้งแต่สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสาร เครื่องรับ – ส่ง
วิทยุคมนาคม คอมพิวเตอร์ การสื่อสารทางไกลผ่านดาวเทียม และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายในทุกรูปแบบของ
การสื่อสารพระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าทดลอง และสื่อสารด้วยพระองค์เองอย่างจริงจัง และด้วยความเชี่ยวชาญ
-14-
ทรงเคร่งครัดปฏิบัติตามกฎระเบียบของการติดต่อสื่อสาร และจะทรงทักท้วงตักเตือนผู้ที่ไม่เคารพกฎระเบียบ
พระองค์มีพระราชดำริให้ศึกษาค้นคว้าวิชาการด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ลึกซึ้ง และกว้างขวาง
จุดประสงค์หลักในการใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารของพระองค์ในล ำดับแรกก็เพื่อทรงช่วยเหลือประชาชนในกรณี
ฉกุ เฉิน และต่อมากไ็ ดท้ รงแนะนำใหน้ ำเอาเทคโนโลยกี ารติดต่อสือ่ สารมาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
11. ด้านส่ิงแวดลอ้ ม และการเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ
ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น พระองค์ทรงเน้นงานการอนุรักษ์และพื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ในเรอ่ื งของปัญหาน้ำเนา่ เสยี ซึง่ มแี นวพระราชดำรใิ นด้านตา่ งๆ ดงั น้ี
แนวพระราชดำริ “นำ้ ดไี ลน่ ้ำเสีย” เมือ่ 4 เมษายน พ.ศ.2528 พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรน้ำเน่า
เสียตามคลองต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดการระบบควบคุมระดับน้ำใน
คลองสายต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น ๒ แผน คือ แผนใช้สำหรับในฤดูฝน และฤดูแล้ง ซึ่งในการระบายน้ำโดยอาศัย
แรงโน้มถว่ งของโลกให้มากทสี่ ุด เพือ่ ความประหยัดคา่ ใช้จา่ ยในการควบคุมระดับน้ำตามลำคลอง
แนวพระราชดำริ “การบำบัดน้ำเสียบึงมะกะสัน” โดยใช้รูปแบบเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ ให้มี
การทดลองใช้ผักตบชวามาดูดซับความโสโครกรวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
แกป่ ระชาชนท่อี าศัยรมิ บงึ ในปรมิ าณ และสัดส่วนที่เหมาะสมกบั พ้นื ท่บี ึง
แนวพระราชดำริ “การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ”
ในพ้นื ทห่ี นองหาน เขตเทศบาลเมอื งสกลนคร
แนวพระราชดำริ “กังหันชัยพฒั นา” ทรงให้ดำเนินการวิจัยและพฒั นากังหันน้ำชัยพัฒนาเพื่อใช้เป็น
อุปกรณ์การเตมิ อากาศใหก้ ับน้ำเน่าเสียให้มสี ภาพดขี ้นึ
แนวพระราชดำริ “การกำจัดขยะชุมชนด้วยการทำปุ๋ยหมัก” เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายที่ใช้หลักการ
ธรรมชาตชิ ่วยธรรมชาติ
โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชด ำริ
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรม ทรงทำโครงการเพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบ
ในเรื่องการกำจดั ขยะ และบำบัดน้ำเสียโดยวธิ กี ารธรรมชาตชิ ่วยธรรมชาติ
12. ด้านนวตั กรรม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับการถวาย
พระราชสมัญญาจากองค์กรการประดิษฐ์นานาชาติว่าทรงเป็นพระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก และก ำหนดให้
วันที่ 2 กุมภาพันธุ์ ของทุกปีเป็น “วนั นักประดิษฐโ์ ลก” ซ่งึ เปน็ วนั ที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหนั ชัยพัฒนา โดยเร่ิม
ต้งั แตป่ ี พ.ศ. 2551 เปน็ ตน้ มา สำหรบั โครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำรดิ า้ นนวตั กรรมที่สำคัญ ได้แก่
โครงการกังหนั น้ำชัยพฒั นาทรงเริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นเครอ่ื งกลเติมอากาศท่ีเป็น
กังหันน้ำแบบทุ่นลอย ซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำที่ส่วนลอยให้ตกลงบนผิวน้ำตามเดิม
น้ำจะถกู สาดกระจายสมั ผสั อากาศทำใหอ้ อกซเิ จนละลายในน้ำ นำ้ เสียจงึ มีคณุ ภาพดขี น้ึ
-15-
โครงการแกล้งดิน ทรงแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียก
สลับกัน เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด และการใช้น้ำชะล้างดินจนถึง
การเลอื กใชพ้ ชื ท่ีจะเพาะปลกู ในบริเวณน้นั ซงึ่ นวัตกรรมนยี้ งั ไมม่ ีทใ่ี ดในโลกใช้วธิ ีการดำเนินงานในลกั ษณะดงั กลา่ ว
13. ดา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานมานานกว่า 40 ปี แล้วเป็นแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย
และเป็นแนวพระราชดำรทิ ี่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาทคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมี
เหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่สำคัญจะต้องมี
สติปัญญาและความเพียร ซ่ึงจะนำไปสคู่ วามสุขในการดำเนินชีวติ อย่างแทจ้ รงิ เศรษฐกจิ พอเพียง เปน็ ปรัชญาชี้ถึงแนว
ทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้ง ใน
การพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะ การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก
ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน สำนักงาน
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กล่าวถงึ ประโยชนป์ รชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี 6 ดา้ น ได้แก่
1. สามารถขจดั ความยากจน และลดความเสีย่ งด้านเศรษฐกิจ
2. ทำให้ชมุ ชนเขม้ แข็งสามารถรบั มือกับวัตถตุ ่างๆ ได้ โดยมุ่งเน้นเสรมิ ใน 4 ด้าน คือ สงั คม เศรษฐกิจ
วฒั นธรรม และสิง่ แวดลอ้ ม
3. สำหรับภาคธุรกิจ เอกชน เศรษฐกิจพอเพียงชว่ ยใหส้ ามารถประกอบธรุ กิจได้อย่างย่ังยืนในระยะยาว
4. เกดิ หลกั ธรรมาภิบาล ซ่งึ ช่วยใหม้ กี ารปกครองทเี่ ขม้ แข็ง
5. สามารถกำหนดนโยบายสาธารณะไดอ้ ยา่ งชัดเจนและมีเปา้ หมาย
6. เกิดการปรบั เปลยี่ นค่านิยมและความศรทั ธาของคน ซ่ึงเอ้ือตอ่ การพัฒนาคน
หลกั การทรงงาน 23 หลักการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพิตร
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่นอกจากจะทรงด้วยทศพิธราชธรรมแล้ว ทรงยังเป็นพระราชาที่เป็น
แบบอย่างในการดำเนินชีวิต และการทำงานแก่พสกนิกรของพระองค์ และนานาประเทศอีกด้วยผู้คนต่างประจักษ์
ถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ และมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ซึ่งแนวคิดหรือ
หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความน่าสนใจที่สมควรนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตการทำงานเป็นอย่างยิ่ง
หากท่านใดต้องการปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ท่านสามารถนำหลักการทรงงานของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกดิ
ประโยชนไ์ ด้ ดงั นี้
-16-
1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูล
เบอื้ งต้น ทง้ั เอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าท่ี นักวชิ าการ และราษฎรในพ้ืนทใี่ ห้ได้รายละเอยี ดท่ีถูกต้อง เพื่อนำ
ข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชนไ์ ด้จรงิ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเปา้ หมาย
2. ระเบิดจากภายใน จะทำการใดๆ ต้องเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ต้องสร้างความเข้มแข็ง
จากภายในให้เกิดความเข้าใจ และอยากทำไม่ใช่การสั่งให้ทำ คนไม่เข้าใจก็อาจจะไม่ทำก็เป็นได้ ในการทำงานนั้น
อาจจะตอ้ งคยุ หรอื ประชมุ กบั ลูกนอ้ ง เพอ่ื นรว่ มงาน หรือคนในทีมเสียกอ่ น เพอื่ ใหท้ ราบถงึ เป้าหมายและวิธกี ารต่อไป
3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้นควรมองใน
สิ่งทคี่ นมักจะมองขา้ มแลว้ เรม่ิ แก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ เสยี ก่อน เมื่อสำเรจ็ แล้วจงึ ค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเร่ือยๆ ทีละจุด
เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยมองไปที่เป้าหมายใหญ่ของงานแต่ละชิ้น แล้วเริ่มลงมือทำจากจุด
เล็กๆ ก่อนค่อยๆ ทำค่อยๆ แก้ไปทีละจุดงานแต่ละชิ้นก็จะลุล่วงไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ “ถ้าปวดหัวคิดอะไร
ไม่ออกก็ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปัญหาท่ีทำใหเ้ ราปวดหวั ให้ได้เสียก่อนเพ่ือจะให้
อยใู่ นสภาพท่ดี ีได…้ ”
4. ทำตามลำดับข้ัน เร่ิมต้นจากการลงมือทำในส่ิงท่จี ำเป็นก่อน เมือ่ สำเรจ็ แลว้ ก็เร่ิมลงมือส่ิงท่ีจำเป็น
ลำดับต่อไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ถ้าทำตามหลักนี้ได้งานทุกสิ่งก็จะสำเร็จได้โดยง่ายในหลวงรัชกาลที่ 9
ทรงเรม่ิ ต้นจากสิ่งท่จี ำเปน็ ทสี่ ดุ ของประชาชนเสียกอ่ น ไดแ้ ก่ สขุ ภาพสาธารณสขุ จากน้นั จงึ เป็นเรื่องสาธารณปู โภค
ขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำเพ่ือการเกษตร การอปุ โภคบรโิ ภค เน้นการปรับใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำ
ตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนใช้วิธีการและ
อปุ กรณท์ ีป่ ระหยัด แต่ถกู ต้องตามหลักวชิ า เมื่อได้พื้นฐานท่มี ั่นคงพร้อมพอสมควรสามารถปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง
เสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกจิ ข้นั ที่สงู ขึ้นโดยลำดับต่อไป…” พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลท่ี 9 เม่ือวันท่ี
18 กรกฎาคม 2517
5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณน้ัน
ว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอคนตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มี
ความแตกต่างกัน “การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมศิ าสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ในสังคม
วิทยา คือนิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้เราต้องแนะนำ เข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ
แล้วก็อธบิ ายให้เขาเข้าใจหลกั การของการพฒั นาน้ีกจ็ ะเกิดประโยชนอ์ ยา่ งยิง่ ”
6. ทำงานแบบองค์รวม ใช้วิธีคิดเพื่อการทำงาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิด
อย่างเป็นระบบครบวงจรทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกันมองสิ่งที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงหลักการ
ทรงงานในหลวงรชั กาลที่ 9
-17-
7. ไม่ติดตำรา เมื่อเราจะทำการใดนั้นควรทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ
ไม่ใช่การยึดติดอยู่กับแค่ในตำราวิชาการเพราะบางที่ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดติดทฤษฎีมาก
จนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้เลยส่ิงทเี่ ราทำบางครั้งต้องโอบอ้อมต่อสภาพธรรมชาติ สง่ิ แวดลอ้ ม สังคม และจิตวทิ ยาด้วย
8. รูจ้ ักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุดในการพฒั นาและชว่ ยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลท่ี 9
ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัดราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์
ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุงโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก ดังพระราชดำรัส
ตอนหน่งึ วา่ “…ใหป้ ลกู ปา่ โดยไมต่ อ้ งปลกู โดยปล่อยให้ข้นึ เองตามธรรมชาติจะได้ประหยัดงบประมาณ…”
9. ทำให้งา่ ย ทรงคิดคน้ ดัดแปลง ปรับปรงุ และแกไ้ ขงาน การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริไป
ได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวช
โดยรวม “ทำใหง้ า่ ย”
10. การมีส่วนร่วม ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้สาธารณชนประชาชนหรือเจ้าหนา้ ที่
ทุกระดับได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น
แมก้ ระท่งั ความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่ืนอย่างฉลาดน้ันแท้จริง คอื การระดมสตปิ ัญญาละประสบการณ์อันหลากหลาย
มาอำนวยการปฏิบัตบิ ริหารงานใหป้ ระสบผลสำเรจ็ ทส่ี มบูรณ์น่นั เอง”
11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ดังพระราชดำรัสตอนหน่ึงว่า “…ใครต่อใครบอกวา่ ขอให้เสียสละสว่ นตัวเพือ่ ส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบื่ออาจรำคาญด้วย
ซ้ำว่าใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมอาจมานึกในใจว่าให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร
ขอให้คดิ วา่ คนที่ให้เป็นเพ่ือส่วนรวมนนั้ มิได้ใหส้ ว่ นรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพือ่ ตัวเองสามารถท่ีจะมีส่วนรวมที่จะ
อาศัยได…้ ”
12. บริการท่จี ดุ เดียว ทรงมพี ระราชดำริมากว่า 20 ปี แล้วให้บริหารศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่ง
ทั่วประเทศโดยใช้หลักการ “การบริการรวมที่จุดเดียว : One Stop Service” โดยทรงเน้นเรื่องรู้รักสามัคคีและ
การร่วมมอื รว่ มแรงรว่ มใจกันด้วยการปรับลดชอ่ งวา่ งระหว่างหน่วยงานท่ีเก่ียวขอ้ งหลกั การทรงงาน ในหลวงรัชกาลท่ี 9
13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติ
และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการ
แก้ไขธรรมชาติจะตอ้ งใชธ้ รรมชาตเิ ข้าชว่ ยเหลือเราด้วย
14. ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริงในเรื่องธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็น
หลักการแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่ปกติ เช่น การบำบัดน้ำเน่าเสีย
โดยให้ผักตบชวา ซ่งึ มีตามธรรมชาตใิ หด้ ดู ซมึ สงิ่ สกปรกปนเป้อื นในน้ำ
-18-
15. ปลูกป่าในใจคน การจะทำการใดสำเร็จต้องปลูกจิตสำนึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า
เห็นประโยชน์กับสิ่งที่จะทำ “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากัน
ปลูกต้นไมล้ งบนแผน่ ดินและจะรกั ษาต้นไมด้ ้วยตนเอง”
16. ขาดทุนคือกำไร หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีต่อพสกนิกรไทย
“การให”้ และ “การเสยี สละ” เป็นการกระทำอนั มีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมสี ขุ ของราษฎร
17. การพึ่งพาตนเอง การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบ้ืองตน้ ด้วยการแกไ้ ข
ปัญหาเฉพาะหนา้ เพื่อใหม้ คี วามแข็งแรงพอที่จะดำรงชวี ิตไดต้ ่อไป แล้วขน้ั ตอ่ ไปก็ คอื การพัฒนาใหป้ ระชาชนสามารถ
อยใู่ นสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สดุ
18. พออยู่ พอกิน ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่ พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับ
ขยายใหม้ ขี ดี สมรรถนะท่ีก้าวหนา้ ตอ่ ไป
19. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรัสชี้แนะแนว
ทางการดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับบุคคลองค์กร
และชมุ ชน
20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำ
ประโยชน์ให้แกส่ ว่ นรวมได้มากกวา่ ผูท้ มี่ คี วามรมู้ าก แต่ไม่มคี วามสุจริต ไมม่ ีความบรสิ ุทธใิ์ จ
21. ทำงานอย่างมคี วามสขุ ทำงานตอ้ งมีความสขุ ด้วย ถา้ เราทำอยา่ งไมม่ คี วามสุขเราจะแพ้ แต่ถ้าเรา
มีความสุขเราจะชนะสนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้วหรือจะทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจาก
การได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นก็สามารถทำได้ “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากการมีความสุขร่วมกันใน
การทำประโยชนใ์ ห้กับผู้อน่ื ”
22. ความเพียร การเริ่มต้นทำงานหรือทำสิ่งใดนั้นอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศัยความอดทน
และความมุ่งมั่นดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้ำต่อไป
เพราะถ้าไมเ่ พยี รว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลา และไม่ไดพ้ บกับเทวดาทชี่ ่วยเหลือมิให้จมนำ้
23. รู้ รัก สามัคคี รู้ คือ รู้ปัญหา และรู้วิธีแก้ปัญหานั้น รัก คือ เมื่อเรารู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว
เราตอ้ งมคี วามรักทจี่ ะลงมือทำลงมือแก้ไขปัญหาน้ัน สามคั คี คอื การแก้ไขปญั หาต่างๆ ไมส่ ามารถลงมอื ทำคนเดียวได้
ต้องอาศัยความรว่ มมอื รว่ มใจกัน
พระราชประวัตขิ องพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว รชั กาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวภมู ิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
-19-
ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และหม่อม
สังวาลย์ ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์
ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐแมสซาชูเซตส์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระชนมายุได้
5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร พระนามของพระองค์มีความหมายดังนี้
ภูมิ หมายถึง แผ่นดิน และ พล หมายถึง พลัง รวมกันแล้วภูมิพล จึงหมายความว่า พลังแห่งแผ่นดิน ส่วน อดุลย
หมายถึง ไม่อาจเทียบได้ และ เดช หมายถึง อำนาจ รวมกนั แล้ว อดุลยเดช จึงหมายความว่า อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้
ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศกึ ษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรยี นเมียร์มองต์ (MERRIMENT)
เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE
CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช
พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอครองราชย์ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่ง
พระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรง
ศกึ ษาต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
แมพ้ ระองค์จะทรงโปรดวิชาวศิ วกรรมศาสตร์ แต่เพ่ือประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษาวิชาการ
ปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา
และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วยใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น
สมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวภมู ิพลอดุลยเดช ไดท้ รงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานทีส่ ถานเอกอัครราชทตู ไทย ณ กรงุ ปารสี ได้ทรง
พบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร
เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง
ทรงบาดเจ็บที่พระพักตร์ พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์โปรดฯ ให้
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิดพระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชชนก
หม้นั สมเดจ็ พระราชชนนี สมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวภมู ิพลอดลุ ยเดชทรงไดร้ บั การอภิบาลอย่างดยี ่งิ จากสมเดจ็ พระราชชนนี
จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็น
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุทรง
เจริญด้วยพระเกียรติคุณ บุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน
เป็นท่ีแซซ่ อ้ งสรรเสรญิ ทกุ ทิศานุทิศในเวลาตอ่ มาตราบจนปจั จุบนั
พระราชพิธีราชาภเิ ษกสมรส
-20-
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินกลับ
ประเทศไทย โปรดเกลา้ ฯให้ตง้ั การพระราชพธิ ีถวายพระเพลงิ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั อานันทมหิดล
ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับ
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า
พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนา
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล
หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรก คือ พระราชทาน “ถนนสาย
ห้วยมงคล” ให้แก่ “ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วยมงคล”
จะอยู่ห่างอำเภอหัวหิน เพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทางชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก
ถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริเพื่อบำบัดทุ กข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร
อกี จำนวนมากกวา่ 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภเิ ษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธี
บรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธย
ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบ ดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี
ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อทรงรกั ษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494
ประทับ ณ พระตำหนกั จิตรลดารโหฐาน และพระที่น่ังอัมพรสถานทั้งสองพระองคม์ ีพระราชธดิ า และพระราชโอรส 4
พระองค์ดงั น้ี
1. สมเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟา้ อุบลรัตนราชกัญญา สริ วิ ฒั นาพรรณวดี ประสตู เิ มอื่ 5 เมษายน 2494
ณ โรงพยาบาลมองซวั น่ี โลซานน์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชริ าลงกรณ์ฯ ประสูติเม่ือ 28 กรกฎาคม 2495 ณ พระทน่ี ัง่ อัมพร
สถาน ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร
เมอื่ 28 กรกฎาคม 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดลุ นโสภาคย์ ประสูติเม่อื 2 เมษายน
2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร
รัฐสีมาคณุ ากรปิยชาติ สยามบรมราชกมุ ารี เมอื่ วันที่ 5 ธันวาคม 2520
-21-
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฎาคม 2500
ณ พระทนี่ ง่ั อัมพรสถาน
ทรงพระผนวช
เม่ือวันที่ 22 ตลุ าคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ไดท้ รงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดา
รามทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างน้ี
สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิพระบรมราชินี ทรงปฏิบัตพิ ระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลนี้ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศ
สมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสถาปนา
สมเด็จพระราชชนนี เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า
กัลยาณิวัฒนา เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบ
พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใหม่
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วย
พระกตัญญูกตเวทิตาธรรมอันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนา คือ “พระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดีจุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร
ไอศรู ยสนั ตติวงศวิสทุ ธ์ วรตุ มขัตติยศักตอรรคอุดม จกั รีบรมราชวงศนวิ ฐิ ทศพธิ ราชธรรมอุกฤษฎนบิ ณุ อดุลยกฤษฎาภิ
นิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์
สรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ
นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรฐั ทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม
บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัย
บุญการ สกลไพศาลมหารษั ฎาธิบดี พระอฐั มรามาธิบดินทรสยามินทราธริ าช บรมนาถบพติ ร”
พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา
ออสเตรเลยี และเอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนนิ ไปทรงเยยี่ มราษฎรในภูมภิ าคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหา
ของราษฎรในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจนลำเค็ญและด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทาง แก้ปัญหา
ตลอดมาตราบจนปจั จุบนั อาจกล่าวไดว้ า่ ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดนิ ไทยทีร่ อยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจดั ทุกข์
ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิ การและพระปรีชาสามารถ
ปราดเปรื่องพร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญ
พัฒนาของประเทศชาตติ ลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชนส์ ขุ ส่วนพระองคเ์ ลย พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน
การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์
-22-
สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร
อุทกภัยและปัญหานำ้ เนา่ เสียในปัจจุบัน ได้ทรงรเิ ริ่มโครงการการชว่ ยสงเคราะห์ และอนรุ ักษช์ า้ งของไทยอกี ด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ใน
ยามทรงพระประชวรกม็ ิได้ทรงหยุดยงั้ พระราชดำริเพื่อขจัดความทุกขผ์ ดงุ สุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกลา้ พระเสโท
หลั่งชุ่มพระพักตร์ และพระวรกายหยาดตกต้องผืนปฐพีประดุจน้ำทิพย์มนต์ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความ
อุดมสมบรู ณ์นับแตเ่ สดจ็ เถลงิ ถวัลยราชตราบจนปจั จุบนั แมใ้ นยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกจิ ต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2539
เป็นต้นมาก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง
ใช้ผืนแผ่นดนิ ให้เกิดประโยชน์สูงสดุ ประกอบอาชีพอยู่กนิ ตามอตั ภาพซง่ึ ราษฎรไดย้ ึดถือปฏบิ ัติเป็นผลดีอยู่ในปจั จบุ นั
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์
พระราชภารกิจอันหนักเพ่ือประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งใน
หมู่ชาวไทยและชาวโลกจึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมากทุกสาขา
วิชาการ ทั้งยงั มีพระอจั ฉริยภาพด้านดนตรอี ย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธเ์ พลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน
รวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทย และต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพ
จนสถาบันดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬา
ชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระ
ปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้วยังทรงสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและวรรณกรรมอันทรงคณุ ค่าไว้เป็นทรพั ย์สินทางปัญญา
ของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระและพระราชนิพนธ์ เรื่องชาดก
พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยะอุตสาหะอดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกร
ทง้ั ปวง
ปวงชนชาวไทยตา่ งมีความจงรกั ภกั ดเี ป็นท่ยี ่งิ ดงั ปรากฏว่าในวาระสำคัญ เช่น ศภุ วาระเถลงิ ถวัลยราช
ครบ 25 ปี พระราชพิธีรชั ดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม
2530 พระราชพิธีรชั มังคลาภิเษก ทรงดำรงสริ ิราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริยท์ ุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531
มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 รัฐบาลและประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ
และถวายพระพรชัยมงคลด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างสม
พระเกยี รติทกุ วาระ
สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับรักษาพระอาการประชวรอยู่ท่ี
โรงพยาบาลศิริราช มาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2557 ประชาชนชาวไทยจำนวนมากต่างก็เดินทางไป
ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อร่วมลงนามถวายพระพรให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร และยังพร้อมใจกัน
สวมเสื้อสีชมพูซึ่งเป็นสีเสริมดวงพระราชสมภพของพระองค์อีกด้วย ในช่วงระยะหลังๆ พระอาการประชวร
-23-
ของพระองค์เริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ก่อนท่ีพระองค์จะเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 นับเป็นความสูญเสีย
ครั้งใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย ทางรฐั บาลได้ประกาศให้ประชาชนไวท้ กุ ข์ถวายความอาลัยเปน็ เวลา 1 ปี รว่ มถวาย
สักการะพระบรมศพ สำหรับตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา สำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาต ให้ประชาชน
เข้าถวายสักการะพระบรมศพ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2559 จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังมีมติประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของ
ทกุ ปเี ป็นวันคลา้ ยวนั สวรรคต และวันหยุดราชการเพอื่ ใหป้ ระชาชนน้อมรำลกึ ถึงพระมหากรุณาธคิ ณุ
พระราชพธิ ถี วายพระเพลิงพระบรมศพ
มีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยเวลา 07.00 น. จะมีพระราชพิธีเชิญพระบรมศพมายัง
ท้องสนามหลวงซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระเมรุมาศ ประชาชนชาวไทยเข้าร่วมถวายดอกไม้จันทน์ได้ตั้งแต่เวลา
09.00 น. ณ พระเมรุมาศจริง และเมรุมาศจำลอง 85 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ในเขต
กรุงเทพมหานคร 113 แห่ง และวัดในเขตต่างๆ 50 เขต เวลา 22.00 น. จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
คำถามทบทวนท้ายบท
ความหมายของศาสตร์พระราชา
1. ศาสตร์คอื อะไร?
2. จงอธบิ ายความสำคัญของศาสตร์พระราชามาโดยสังเขป?
3. การพฒั นาท่สี ำคัญท่สี ุดได้แกก่ ารพฒั นาสงิ่ ใด?
4. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ทรงมเี ปา้ หมายพฒั นาอะไร?
5. หลกั การทรงงาน 23 ขอ้ คำว่า “One Stop Service” หมายความวา่ อย่างไร?
6. พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงเสร็จพระราชสมภพท่ีโรงพยาบาลอะไรประเทศ
ไหน?
7. พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดวชิ าอะไรก่อนการเรียนการปกครอง?
8. ถนนสายแรกท่ไี ด้พระราชทานใน จ.ประจวบครี ีขันธ์ช่ือว่าถนนอะไร?
9. พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเมอื่ ข้นึ
ครองราชย์วา่ อยา่ งไร?
10. พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพ2อย่าง ให้แก่ราษฎร
ไทยไดพ้ ึ่งตนเองวา่ อยา่ งไร?
-----------------------------------------------------------
-24-
บทท่ี 2
หลักการเขา้ ใจ เข้าถึง พัฒนา
เขา้ ใจ เข้าถึง พัฒนา : วธิ กี ารแห่งศาสตรพ์ ระราชาเพอื่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน
อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักด์วิ รวชิ ญ์ผู้อำนวยการศนู ย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบนั บณั ฑติ พฒั น-
บริหารศาสตร์สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้เป็นวิธกี ารทรงงานมาตลอดรัชสมัยอย่างไรกต็ าม คำว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เริ่มติดหู
คนไทยในครั้งแรกที่พรุแฆแฆ และหลายคนกเ็ ข้าใจผดิ ไปเสียอีกว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้ได้เฉพาะการ พัฒนาใน
สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย พื้นที่พรุแฆแฆ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีเนื้อที่ประมาณ
11,000 ไร่ เป็นพื้นที่พรุเสื่อมโทรม มีน้ำท่วมขังเกือบตลอดทั้งปี ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถูกปล่อยรกร้างมานาน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนิน ได้ทรงศึกษาแผนที่ศึกษาสภาพภูมิศาสตร์
หลังจากนั้นได้ทรงสนทนากับ วาเด็ง ปูเต๊ะ ซึ่งได้ตอบคำถามถวายพระองค์ได้ให้ข้อมูลของพระองค์ โดยที่ทรงศึกษา
จนเขา้ ใจ อย่างถ่องแท้ ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร จนไดร้ ับการยอมรบั และมผี ้ถู วายท่ีดิน เพือ่ เขา้ ร่วมโครงการพระราชดำริ
เรยี กว่าทรงงานอยา่ ง เขา้ ถงึ นำมาสกู่ ารพัฒนา ท่ไี ดผ้ ลในทา้ ยที่สดุ
พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช
ได้เขียนไว้ในบทความ “พระมหากษัตริย์นักคิดนักปฏิบัติเพื่อความสุขของประชาชน” ความว่า “ครั้งหน่ึง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า “ฉันครองราชย์สองปีแรก ฉันไม่มีผลงาน เพราะฉันยังไม่รู้ว่า
-25-
ราษฎรต้องการอะไร” เป็นที่ประจักษ์ว่าทรงมองการเป็นพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องของงานเป็นพระราชภาระ
ที่จะสนองความต้องการของราษฎร เพื่อราษฎรจะได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและการที่จะทรงงานให้ได้
ผลตรงเป้าหมายได้นั้นต้องทราบว่าประชาชนต้องการอะไร” การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดชน้ันทรงยึดวิธีการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาตลอดรัชสมัย ดงั ที่ ดร.สุเมธ ตนั ตเิ วชกุล อดีตเลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและอดีตเลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เขียนไว้บทความ “ประสบการณ์สนองพระราชดำริเรียนรู้
หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ความว่า“พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่อง
การพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” นั่นคือต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนใน ชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา
ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน
หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวทรงใช้หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นั่น คือก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจ
เสียก่อน เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหาทั้งทางด้านกายภาพด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม
เปน็ ต้น และระหว่างการดำเนินการน้ันจะต้องทำใหผ้ ู้ทเ่ี ราจะไปทำงานกับเขาหรือทำงาน ใหเ้ ขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย
เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียวโดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึ้นตามท่ี เรามุ่งหวังไว้ “เข้าถึง”
ก็ เช่นกัน เมอ่ื รู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้วกต็ ้องเขา้ ถึง เพือ่ ใหน้ ำไปสกู่ ารปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแลว้ จะต้องทำอย่างไร
ก็ตามใหเ้ ขาอยากเข้าถงึ เราด้วย ดงั น้นั จะเห็นว่าเปน็ การสอ่ื สารสองทางทัง้ ไปและกลับ ถา้ สามารถทำสองประการแรก
ได้สำเร็จ เรื่อง “การพัฒนา” จะลงเอยได้อย่างดี เพราะเมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว
การพัฒนาจะเป็นการตกลงร่วมกันทัง้ สองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ”หลกั การทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนานั้น ทรงใช้กับ
ทั้งคน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม มีความลุ่มลึกและมีโครงการพระราชดำริหรืองานอื่นที่ทรงทำเป็น
ตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้เขียนสรุปวิธีการแห่งศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ลงในแผนภาพศาสตร์
พระราชาดงั น้ี
แนวคิดของหลักการ “เข้าใจ” เขา้ ใจ (Understanding) นั้นประกอบด้วยองคป์ ระกอบย่อย 4 องคป์ ระกอบ คอื
1. การใช้ขอ้ มูลที่มีอยู่ (Existing data)
2. การใช้ขอ้ มูลเชิงประจกั ษ์ (Empirical data)
3. การวิเคราะหแ์ ละวจิ ัย (Analytics and Research) และ
4. การทดลองจนไดผ้ ลจริง (Experiment till actionable results)
4.1 การใชข้ อ้ มูลทม่ี ีอยู่แล้ว (Existing data) ทรงสนใจคน้ ควา้ หาขอ้ มลู จากอินเทอร์เน็ต และทรง
รับฟังข่าวสารจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะแผนที่ทรงตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ทุกครั้งท่ี
เสด็จทอดพระเนตรสภาพพื้นที่จริง เมื่อเสด็จประทับบนเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งก็ทรงทอดพระเนตรและต รวจสอบ
หากไม่ถูกต้องจะทรงส่งข้อมูลให้หน่วยราชการ เช่น กรมแผนที่ทหารไปดำเนินการแก้ไขในทางวิทยาการข้อมูล
(Data Science) นั้นการทำความสะอาดข้อมลู (Data cleaning) มีความจำเป็นอย่างย่งิ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงทำเช่นนั้นมาโดยตลอด เช่น ทรงสอบถามความถูกต้องของแผนที่กับพระสหายแห่งสายบุรี
เมื่อเสด็จพรุแฆแฆ ที่ปัตตานี เป็นต้น บรรดานักสถิติต่างทราบกันดีว่าเมื่อใส่ข้อมูลที่ไม่สะอาดเข้าไป วิเคราะห์ดีใช้
แบบจำลองดีอย่างไรก็ได้แบบจำลองขยะออกมา เช่น (Garbage-in, Garbage out (GIGO) model) อันแสดงให้เห็น
-26-
ว่าทรงใช้หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ได้อย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกันกับที่มีความรู้ทางสถิติศาสตร์อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เป็น
เพียงผูใ้ ช้หากแตเ่ ปน็ ผู้ใช้ขอ้ มลู ท่มี ีอยู่อย่างผู้มีความรู้ ระมัดระวงั รอบคอบเป็นอยา่ งย่งิ ซ่ึงแม้แตน่ กั วิทยาการข้อมูลที่มี
อาชีพดังกล่าวโดยตรงยังรู้สึกเบื่อหน่ายและตอ้ งใช้เวลามากเป็นพิเศษในการทำความสะอาดข้อมูลดงั กล่าว การที่ทรง
แก้ไขความถูกต้องของข้อมูลท่ีมีอยู่แล้ว เช่นการแก้ไขแผนที่นั้นสะท้อนให้เห็นถึงพระนิสัยในการทรงงานอยา่ งมีวิริยะ
และมีความเข้าใจในวิชาการเปน็ อยา่ งยิง่
4.2 การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเอาพระทัยใสใ่ นการใชข้ ้อมลู เชงิ ประจกั ษ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะระบบสถิตทิ างการ (Official statistics) และการ
สำมะโนประชากร (Census) และสถิติศาสตร์ศกึ ษา (Statistical Education) ทรงมีความรู้ความเข้าใจอยา่ งลุ่มลึกถึง
ความสำคัญของการใช้สถิตใิ นการพัฒนา ทรงรับเป็นพระราชภาระในการแก้ไขปัญหาและวางระบบดังกล่าว โดยทรง
ตดิ ตอ่ กับ Rockefeller foundations โดยมีพระราชปรารภขอความช่วยเหลือจาก Dr.David Rockefeller ใหช้ ่วยส่ง
Dr.Stacy May ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติมาช่วยประเทศไทยในราชการสถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ และจัดตั้งคณะสถิติ
ประยุกต์ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบรหิ ารศาสตร์ ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร อธิการบดีสถาบันบณั ฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์ท่านแรกได้บันทึกไว้ว่า “เวลานั้นประเทศไทยกำลังตื่นตัวที่จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข้ึน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานดำริแก่ประธานกรรมการบริหารสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ
ม.ล.เดช สนิทวงศ์ (ม.ล.เดช) ท่านก็บอกผมว่าในหลวง มีพระราชดำริ ในการพัฒนานั้นต้องใช้ข้อมูล ใช้สถิติมาก
และถ้ามีการตั้งสถาบันขึ้นมาสอนวิชาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เน้นการให้วิชาในการสร้างคนเตรียมไว้เพื่อจะ
ส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการเมืองเป็นไปได้ดีเร็วขึ้น” พระราชดำริเรื่องการประยุกต์ใช้สถิติศาสตร์
ในการวิเคราะห์/ประเมินโครงการเพื่อการพฒั นาสงั คมเศรษฐกิจและประเทศชาตินั้นคงฝังแน่นในพระราชหฤทัยดงั ท่ี
ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ครั้งแรก เมื่อวัน
พฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2513 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ความว่า “เดิมทีเดียวข้าพเจ้าตั้งข้อคิด
เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศไว้ว่า ในการทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ จะต้องอาศัยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นหลัก
และจะตอ้ งใช้นักสถิติทีม่ คี วามรู้ความสามารถชัน้ สูงเปน็ ผู้ปฏิบัติ”
4.3 การวิเคราะห์และวิจัย (Analytics and Research) โครงการพระราชดำริกว่าสี่พันโครงการ
นั้นอาศัยการวิเคราะห์และการวิจัย สร้างองค์ความรู้ที่มั่นใจว่าได้ผลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง โครงการพระราชดำริ
โครงการหนึ่งที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยมากที่สุดโครงการหน่ึ งคือโครงการหลวง (Royal Project)
โดยเฉพาะการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชเมืองหนาวและการเลี้ยงสัตว์จากเมืองหนาวเช่นปลาเทราท์ มีการจัดตั้งสถานี
วจิ ัยโครงการหลวง และสถานีเกษตรหลวงมากมาย การคน้ ควา้ วจิ ยั ดังกล่าว รวมไปถึงการแปรรปู ผลติ ภณั ฑ์ การบรรจุ
หีบห่อ เทคโนโลยหี ลังการเกบ็ เกีย่ ว ไปจนถึงการวิจยั ตลาด ผลสำเรจ็ จากการวิจยั ทำใหโ้ ครงการหลวงมีความก้าวหน้า
มากทำให้แก้ปัญหาการปลูกฝิ่นและการทำไร่เลื่อนลอยบนพื้นที่สูง ทำให้คนไทยได้บริโภคสินค้าคุณภาพสูง
และทดแทนการนำเขา้ ไดม้ หาศาล
4.4 การทดลองจนได้ผลจริง (Experiment till actionable results) พระตำหนักจิตรลดา-
รโหฐาน แตกต่างจากพระราชวังของพระมหากษัตริย์อื่นๆ ทั่วโลก สวนจิตรลดาเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงพระมหากรุณาโปรดเกลา้ ให้ตง้ั ขึน้ มีทง้ั การเล้ียง โคนม ทำนา
-27-
ปลูกต้นยางนา ปลูกป่า ทดลองทำโรงสี ทดลองทำนมผงอัดเม็ด ผลิตถ่านชีวภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้
ทรงทดลองจนกว่าจะทรงมั่นพระทัยว่าได้ผลดีจริง นำไปใช้งานได้จริง จึงทรงเผยแพร่ต่อไป ความใส่พระทัยใน
การทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ นั้นแสดงให้เห็นเด่นชัดตลอดพระชนม์ชีพ บางโครงการทดลองใช้
เวลาทดลองยาวนานสิบสามถึงสิบส่ีปี เพื่อให้มั่นใจว่าทำแล้วได้ผลจริง เช่น การทำฝนหลวงหรือฝนเทียม ก่อนที่จะ
นำไปสรา้ งตน้ แบบหรือขยายผลให้ความรู้แก่ประชาชนท่ีจะทำต่อเองได้ ทรงตอ้ งมัน่ ใจผลของ การทดลองว่าได้ผลจริง
กอ่ นเผยแพร่หรอื ถา่ ยทอดเทคโนโลยีใหป้ ระชาชน
แนวคิดของหลักการ “เข้าถงึ ” เข้าถึง (Connecting) น้ันประกอบดว้ ยองค์ประกอบยอ่ ย 3 องคป์ ระกอบ คือ
1. ระเบิดมาจากข้างใน (Inside-out blasting)
2. เข้าใจกลุ่มเปา้ หมาย (Understand target)
3. สรา้ งปัญญา (Educate)
1. ระเบิดจากข้างใน (Inside-out blasting)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงต้องการให้การพัฒนาเป็น การระเบิดจากข้างใน
หมายความว่าให้ประชาชนหรอื ชุมชนท่เี ข้าไปพัฒนาหรือทำงาน เกดิ การปรับตวั ทจ่ี ะพฒั นาตนเอง เกิดความตอ้ งการท่ี
จะพัฒนาตนเองเสียก่อน ไม่ใช่สิ่งที่ทางราชการเข้าไปบังคับให้ประชาชนหรือชุมชนทำ ซึ่งจะไม่ยั่งยืน จึงทรงเน้น
การพัฒนาคนให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน แล้วจึงเข้าไปพัฒนาเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการเข้าถึงก่อน
จ ะพั ฒ น า ไม่ ใช ่น ำ การ พั ฒน าเ ข้า ไป โด ยที ่ป ระช าช นย ังไ ม่ ตร ะหน ั กหร ือเ ห็ น ความส ำคั ญ ของการ พัฒ น าหรือ
การเปลี่ยนแปลง หลักการในข้อนี้ตรงกับหลักวิชาการสมัยใหม่ว่าด้วยการนำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
(change management) ดังที่ John P.Kotter ได้นำเสนอว่าในการเปลี่ยนแปลงต้องทำให้คนตระหนักถึงความ
จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Establishing a Sense of Urgency) ต้องสื่อสารวิสัยทัศน์ (Communicate
the vision) เพอ่ื ใหค้ นไดเ้ หน็ ทศิ ทางท่ีชดั เจนทีจ่ ะเปลยี่ นแปลง
2. เขา้ ใจกลุ่มเป้าหมาย (Understand target)
“ฉนั ครองราชย์สองปีแรก ฉนั ไมม่ ผี ลงาน เพราะฉนั ยงั ไม่รู้ว่าราษฎรต้องการอะไร” พระราชปรารภนี้
สะท้อนให้เห็นวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาในการเข้าถึงแล้วจึงพัฒนาได้เป็นอย่างยิ่ง ทรงให้ความสำคัญกับการทำ
ความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคือประชาชน ว่าประชาชนต้องการอะไร ก่อนที่จะทรงงาน ภาพที่คนไทยทุกคนได้
พบเห็นจนเจนตา คือ ภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวภูมพิ ลอดุลยเดช โปรดที่จะประทับกับพื้นดินเพื่อพูดคุยกับ
ชาวบา้ นในทอ้ งถ่ินทุรกันดาร เพอื่ ที่จะทรงเข้าใจความเดือดร้อน ปัญหา ความทุกขย์ ากของชาวบ้าน เพื่อหาทางแก้ไข
ต่อไป ทรงมีพระเมตตาอยา่ งสูงต่อประชาชนในการที่จะเข้าใจปญั หาของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อประชาชนจะถวาย
ฎีกาเพื่อขอพระราชทานพระเมตตาในการปัดเป่าความทุกข์ร้อนต่างๆ ในหลายครั้งทางราชการเองกลับขัดขวางทั้งน้ี
ทรงพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนของพระองค์ในแต่ละท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งมากที่สุด สมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไดพ้ ระราชทานสัมภาษณ์นักข่าวหญงิ
ในปี 2523 เอาไว้ว่า “ชาวบ้านภาคใต้นี่ฉลาดรู้ด้วยว่าจะถวายฎีกานี่ต้องทำอย่างไร เอาซ่อนไว้ใต้ดอกไม้แล้วเอา
ดอกไม้นั้นมาให้บอกว่านั่นข้างล่างน่ะฎีกาอยู่ข้างล่างรู้จักด้วยนะ ซ่อนไว้ ไม่เช่นนั้นฎีกานี่ตำรวจเขาจะตรวจค้ นก่อน
อย่างที่ทุ่งใหญ่นครศรีธรรมราช ถ้าตามไปดูจะเห็นเขามีเวรยามกันแล้วก็พยักหน้า หัวหน้าเขาล่ะ อุตส่าห์ซ่อนแทรก
-28-
เข้าไปไว้ในดอกไม้ พับเสียจนนิดเดียว” “หนหนึ่ง ข้ำขำ เสี่ยงตุ๊บๆ ตั๊บๆ หันไปมองว่าอะไรกัน ที่แท้เห็นสิรินธร
กบั จุฬาภรณไ์ ปแย่งฎีกาจากตำรวจ โดยมากเปน็ ตำรวจราชสำนัก เขาไม่อยากใหย้ ุ่งการเมือง คอื ประชาชนเห็นเราใกล้
เข้ามาก็คงจะชักออกมาจากชายพกหรือตะกร้า ตำรวจก็แย่งมาเสีย สององค์นี่ก็วิ่งไปแย่งจากมือตำรวจ เสร็จแล้วแม่
เล็กบอก เล็กได้มาแล้ว ก็บอกเขา โธ่คุณ ถ้าเผื่อปิดนี่บ้านเมืองเราจะไปไม่ไหวนะ ราษฎรไม่รู้จะออกทางไหน เราก็มี
หน้าที่เอามาแล้วเอาไปให้แก่รัฐบาลเท่านั้น อย่าไปปิดๆ นี่ประชาชนไม่รู้จะไประบายทางไหนแย่เลย บ้านเมืองไม่
ปลอดภัย”
3. สร้างปญั ญา (Educate)
การสร้างปัญญาสังคมเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการเข้าถึงประชาชน หากประชาชนยังขาดความเข้าใจ
ก็ต้องสร้างปัญญาสังคมให้ประชาชนเข้าใจ ครูแห่งแผ่นดิน เลือกจะใช้วิธีที่ง่ายที่สุดในการสื่อสารกับประชาชน
เพอื่ สรา้ งปัญญา ทรงเลอื กใชว้ ิธกี ารพูดที่จะสร้างปัญญาให้เหมาะสมกับผู้ฟังในคราวหน่ึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน “โคพันธุ์และสกุ ร” แก่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ นักวิชาการของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ตามเสดจ็ ฯ ไปด้วย พระองคโ์ ปรดฯ ให้นกั วิชาการเกษตรแนะนำชาวไทยภูเขา ซงึ่ การบรรยายน้ันใช้ศัพท์
วิชาการยากที่ชาวเขาฟังอย่างไรก็คงไม่เข้าใจ พระองค์ทรงปล่อยให้นักวิชาการพูดอธิบายประมาณครึ่งชั่วโมง ทรง
สังเกตเห็นชาวเขานั่งฟังทำตาปริบๆ จึงทรงถามว่า “จบแล้วหรือยัง” นักวิชาการกราบทูลว่า “จบแล้วพระพุทธเจ้า
ข้า” จึงมีพระราชดำรสั ว่า “ถ้าอยา่ งน้นั ฉันพูดบา้ งนะ” “ฟงั ใหด้ ีๆ นะ จะเลย้ี งหมใู ห้มนั อว้ น โตเร็วๆ ต้องให้มันกินให้
อิ่ม” แล้วทรงหันกลับมารับสั่งกับนักวิชาการว่า “จบแล้ว” ทำเอาผู้ตามเสด็จฯ อมยิ้มไปตามๆ กัน ครูของแผ่นดิน
พระองค์นี้ทรงมีความเมตตาในการสอนถ่ายทอดความรู้ไปจนถึงระดับนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาดังท่ีทรง
พระกรุณาสอนนกั เรยี นโรงเรียนวังไกลกังวลด้วยพระองค์เอง การทท่ี รงสอนน้ันไม่ได้เพียงสอนดว้ ยการพูดใหฟ้ ังเท่าน้ัน
แตท่ รงสร้างแรงบันดาลใจ พลตำรวจเอก วสษิ ฐ เดชกญุ ชร ได้เขยี นไว้ในหนังสือ “รอยพระยุคลบาท บันทึกความทรง
จำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร” เรื่องกาแฟต้นเดียวเอาไว้ว่า ในวันที่ 3 ธันวาคม 2517 เมื่อพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ หลังจากทรงเยี่ยมราษฎรชาวเขาเผ่าม้ง ที่บ้าน
ขุนกลาง อ.จอมทองและชาวเขาเผ่ากะเหรีย่ งท่ีบ้านอังกาน้อยและบ้านท่าฝ่ัง ม.จ. ภีศเดช รัชนี ผอู้ ำนวยการโครงการ
หลวงกราบบังคมเชิญทลู เสด็จให้ทรงพระดำเนนิ ต่อไปอีกประมาณ 1 กโิ ลเมตร เพอ่ื ทอดพระเนตรไร่กาแฟของราษฎร
ชาวกะเหรย่ี งรวมระยะทางที่ทรงพระดำเนินมาทั้งหมดในบ่ายวนั น้ัน 6 กิโลเมตร เม่อื ไปถึงปรากฏว่า ไร่กาแฟน้ันมีต้น
กาแฟให้ทอดพระเนตรเพียงต้นเดียว พล.ต.อ.วสิษฐ โกรธจนแทบระงับโทสะไว้ไม่ได้และระบายความรู้สึกนี้กับเพื่อน
ร่วมงานความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าฯ “ตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่าผมโกรธ
ทา่ นภศี เดช ผมกก็ ราบบังคมทลู ตามความเป็นจริงว่าเปน็ เช่นนัน้ พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามต่อไปว่า ผมทราบหรือเปล่าว่า
เมื่อก่อนนี้กะเหรี่ยงที่ดอยอินทนนท์ ประกอบอาชีพอะไรผมก็กราบบังคมทูลว่า ทราบเกล้าฯ ว่ากะเหรี่ยงปลูกฝ่ิน
“พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อไปด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา (ไม่ได้ดุผม) ว่าแต่ก่อนเขาปลูกฝิ่นเราไปพูดจา
ชี้แจงชกั ชวนใหเ้ ขาลองมาปลกู กาแฟแทนกะเหรยี่ งไม่เคยปลูกกาแฟมากอ่ นเลย ที่กาแฟไมต่ ายเสียหมด แต่ยงั เหลืออยู่
1 ตน้ นัน้ ตอ้ งถอื ว่าเป็นความก้าวหนา้ สำหรับกะเหรย่ี ง จงึ ต้องไปทอดพระเนตร จะได้แนะนำเขาตอ่ ไปไดว้ า่ ทำอยา่ งไร
กาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่า 1 ต้น” ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าทรงเข้าใจจิตวิทยาในการสอน ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
ผู้ปลูกปัญญาสังคมกาแฟตน้ แรกต้นนัน้ ท่ีทรงพระดำเนินหลายกิโลเมตร ทรงสอนโดยสรา้ งแรงบันดาลใจ ได้ทำให้การ
-29-
ปลูกฝิ่นและการทำไร่เลื่อนลอยลดลงไปอย่างน่ามหัศจรรย์ในการที่ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ผู้นำการพัฒนานั้น กลับ
ทรงถ่อมพระองค์ในการที่จะเรยี นรู้จากนักเรียน ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัครพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เมือง จ.สกลนคร วันที่ 22
พฤศจิกายน 2528” เราเป็นนักเรียน เราไม่ใช่เปน็ ผู้เช่ียวชาญ…ถ้าหากว่าในด้านไหนก็ตาม เวลาไปปฏิบัติให้ถือว่าเรา
เป็นนักเรียน ชาวบ้านเป็นครู หรือ “ธรรมชาติเป็นครู” การที่ท่านทั้งหลายจะออกไปก็จะไปในหลายๆ ด้านก็ต้อง
เขา้ ใจวา่ เราอาจจะเอาความรูไ้ ปให้เขา แต่ก็ต้องนับถอื ความรขู้ องเขาดว้ ย จึงจะมคี วามสำเรจ็ …”
แนวคดิ ของหลักการพฒั นา
แนวพระราชดำรใิ นการพฒั นาน้ันเมอื่ ทรงเขา้ ใจ เข้าถึง แลว้ จึงพฒั นานั้นทรงมหี ลักการสำคญั คือ
1. เรมิ่ ตน้ ด้วยตนเอง (Self-initiated)
2. พง่ึ พาตนเองได้ (Self-reliance)
3. ตน้ แบบเผยแพร่ความรู้ (Prototype and role model)
1. เรมิ่ ตน้ ด้วยตนเอง (Self-initiated)
ประเทศไทยมีปญั หาดา้ นทรัพยากรป่าไม้อย่างรุนแรง ทรงเขา้ ใจปัญหาดังกล่าวเปน็ อย่างดี เม่ือคราว
เสด็จพระราชดำเนินไปหน่วยงานต้นน้ำพัฒนาทุ่งจือ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2514 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสกับ
เจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารับเสด็จฯความว่า“ควรจะปลูกต้นไม้ในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบน
แผ่นดนิ และรักษาตน้ ไม้ด้วยตนเอง” แนวพระราชดำริในการพัฒนาทรงเน้นการพัฒนาท่ีเกดิ จากประชาชนต้องการจะ
พัฒนาตลอดรัชสมัยในการทรงงานในบางครัง้ ประชาชนก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับโครงการพระราชดำริเช่นกันไมเ่ คย
ทรงฝืนบังคับประชาชนให้ร่วมมือแต่อย่างใดด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน กลับทรงเริ่มต้นโครงการพระราชดำริใหม่
อย่างสมำ่ เสมอจนมโี ครงการพระราชดำริกว่าสี่พนั โครงการ ทรงเคยมรี ับสง่ั กับนายปราโมทย์ ไมก้ ลดั ว่า “พระราชดำริ
เป็นแนวคิดของฉัน ไม่ได้เป็นพระบรมราชโองการ หรอื คำส่ังนะ” ซ่งึ สะท้อนความเป็นประชาธิปไตยและความต้องการ
ให้ทกุ คนมีสว่ นร่วมในการพฒั นาอย่างเตม็ ที่ ดงั ที่ทรงเนน้ เสมอวา่ การพฒั นานั้นตอ้ งระเบดิ จากข้างในกอ่ น
2. พึ่งพาตนเองได้ (Self-reliance)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้นว่าการพัฒนาต้องทำให้ประชาชน
พึ่งพาตนเองได้ทรงโปรดให้ประชาชนทำอะไรได้ด้วยตนเอง ไมต่ อ้ งรอความชว่ ยเหลือจากรัฐ พระราชดำรัสเก่ียวกับใน
พิธพี ระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแกน่ เมอื่ วนั ที่ 20 ธนั วาคม 2516 ไดเ้ นน้ เรอื่ งของการพ่ึงพาตนเอง
เอาไว้ว่าการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้
ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนโดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้
พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดย
ลำดับ อีกตอนหนง่ึ ของพระราชดำรัสที่รับส่ังกบั นิสติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เม่อื วนั ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ว่า
ในการสร้างความเจริญก้าวหน้านี้ ควรอย่างยิ่งที่จะค่อยสร้างค่อยเสริมทีละเล็กละน้อยให้เป็นลำดับ ให้เป็นการทำไป
พิจารณาไป และปรับปรุงไปไม่ทำด้วยอาการเร่งรีบตามความกระหายที่จะสร้างของใหม่เพื่อความแปลกใหม่
เพราะความจริงสิ่งที่ใหมแ่ ท้ๆ นั้นไม่มี สิ่งใหม่ทั้งปวงย่อมสืบเนื่องมาจากส่ิงเก่าและต่อไปยอ่ มจะต้องกลายเป็นส่ิงเก่า
ทรงโปรดความเรยี บง่ายและพ่งึ พาตนเองได้ ดงั ทีไ่ ด้พระราชทานพระราชดำริ “การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ปล่อยให้
-30-
ธรรมชาตชิ ว่ ยในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรอื แม้กระทั่ง “การปลูกปา่ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง” ไดแ้ ก่ ปลูกไม้เศรษฐกิจ
ไม้ผลและไม้ฟืน นอกจากได้ประโยชน์ตามประเภทของการปลูกแล้วยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ พื้นดินด้วย
พระองค์จึงทรงเข้าใจธรรมชาติและมนุษย์ที่อยู่อย่างเกื้อกูลกัน ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน
แนวพระราชดำริในเรื่องการพึ่งพาตนเองได้ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เร่งร้อนจะพัฒนาโดยการยัดเยียด
เทคโนโลยีต่างๆ หรือเงินเข้าไปในการพัฒนาก็สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในเรื่องของการปลูกป่าดังพระราชดำรัส
เกี่ยวกับการปลุกป่าในหลายโอกาสดังนี้ “ทิ้งป่านั้นไว้ 5 ปี ตรงนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่า
สมบรู ณ์ โดยไม่ตอ้ งปลูกสักต้นเดยี ว คอื ว่าการปลูกป่านั้น สำคญั อย่ทู ่ปี ลอ่ ยให้เขาขน้ึ เอง…” “ถา้ เลือกได้ที่ท่ีเหมาะสม
แล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้น
เดียว” “ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียงแตค่ ุ้มครองใหข้ ึ้นเองได้เท่านั้น” “ในสภาพป่าเต็งรังป่าเสื่อมโทรมไม่ต้อง
ทำอะไร เพราะตอไมก้ จ็ ะแตกกง่ิ ออกมาอีกถงึ แม้ต้นไมส้ วย แต่ก็เป็นตน้ ไม้ใหญไ่ ด้”
3. ตน้ แบบเผยแพรค่ วามรู้ (Prototype and role model)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ทรงโปรดการสร้างต้นแบบการเผยแพร่ความรู้
โดยทรงตั้งศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่างๆ เช่น ที่ห้วยทราย เขาหินซ้อน ภูพาน ห้วยฮ่องไคร้
อา่ วคุ้งกระเบน และ พกิ ุลทอง โครงการชั่งหัวมัน หรือแมแ้ ตพ่ ระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่เปดิ โอกาสให้เกษตรกรได้
ศึกษา เรยี นรู้ ดูงาน สำหรับเกษตรทฤษฎีใหมส่ ง่ สร้างต้นแบบแหง่ การเรียนรู้ใหป้ ระชาชนได้ศึกษาที่วดั มงคลชัยพัฒนา
จังหวัดสระบุรี ทรงโปรดที่จะเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาที่สุดเพื่อตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น บริเวณ
หว้ ยทรายน้ัน มกี ารบกุ รกุ ตัดไม้ทำลายป่า ทำการเกษตรแบบผดิ วธิ ีจนดนิ เสื่อมโทรม แห้งแล้ง เปน็ ดินดาน เพราะหน้า
ดินพังทลายไปหมดสิ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2526 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นท่ี
ห้วยทรายมีพระราชดำรัสด้วยน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยว่า “หากปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด” ทรงใช้
ความอุตสาหะพยายามในการพัฒนาห้วยทราย ซึ่งมีแต่ดินดานแข็ง ในชั้นแรกต้องเจาะดินดาน เพื่อปลูกแฝ กให้หญ้า
แฝกหยง่ั รากลกึ ทลายดนิ ดานออกใหโ้ ปร่งเพื่อใหร้ ากพืชอื่นๆ สามารถชอนไชไปเตบิ โตได้ เนือ่ งจากพ้นื ที่แห้งแล้งและมี
การกดั เซาะของหน้าดินมาก ต้องมกี ารสร้างฝายชะลอน้ำและหลุมกักเก็บน้ำเล็กๆ ไวใ้ นพ้ืนทีเ่ พิ่มความชุ่มชื้น ในขณะ
ที่ที่ตั้งของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นพื้นที่ป่าพรุ ดินพรุ ซึ่งเปรี้ยวจัดมากจนไม่สามารถ จะปลูกพืช
ใดๆ ได้เลย ก็ทรงใช้การแกล้งดินในการแก้ปัญหาจนเป็นพื้นที่การเกษตรได้ การที่ทรงเลือกใช้พื้นที่ที่มีปัญหาและ
ความยากลำบากในการพฒั นานน้ั กเ็ พื่อเปน็ ต้นแบบใหป้ ระชาชนได้เหน็ และทำตาม ซ่งึ หากแมพ้ ื้นท่ีทีม่ ปี ัญหามากท่ีสุด
ก็ยังพัฒนาให้ดีได้ ประชาชนเองก็น่าจะทำตามได้เป็นการเรียนรู้จากตัวแบบ (Role model) ที่เป็นแรงบันดาลใจ
การพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ เขา้ ใจ เข้าถงึ พัฒนา จึงเป็นวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพ่ือการพัฒนาที่ย่ังยืน
และเป็นการปกครองแผน่ ดนิ โดยธรรมเพอื่ ประโยชนส์ ุขแหง่ มหาชนชาวสยามอย่างแท้จริง
เขา้ ใจ เข้าถงึ พฒั นา
หลกั การพฒั นาตามแนวพระราชดำริ คือ เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา เป็นบนั ได 3 ขนั้ สู่ความสำเรจ็
1. การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในขอ้ มูลพืน้ ฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน
ค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรขู้ องโครงการพระราชดำรทิ ว่ั ประเทศ
-31-
2. การเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความ
มั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา
มากท่สี ดุ
3. การพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบ
หลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้
คำแนะนำในชุมชน และติดตามสนับสนุนประเมินผล บันไดทั้ง 3 ขั้นนี้ มุ่งไปสู่การพัฒนาให้ชมุ ชนมีความเป็นเจ้าของ
และนำไปสู่ความยงั่ ยืนในท่ีสดุ
คำถามทบทวนทา้ ยบท
หลกั การเข้าใจ เข้าถงึ พฒั นา
1. เขา้ ใจ เข้าถึง พัฒนา วธิ กี ารแหง่ ศาสตร์พระราชาเพื่อการพฒั นาที่ยัง้ ยืนเกดิ ขึ้นคร้งั แรกทไี่ หน?
2. แนวคิดของหลักการ “เข้าใจ” ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
3. แนวคดิ ของหลักการ “เขา้ ถึง” ประกอบด้วยอะไรบา้ ง?
4. แนวคิดของหลักการ “พฒั นา” ประกอบด้วยอะไรบา้ ง?
5. จงอธิบาย “การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง” มาโดยสังเขป?
6. พรแุ ฆแฆ เกี่ยวข้องกบั หลักการเขา้ ใจ เข้าถึง พฒั นา อย่างไรจงอธบิ ายให้เข้าใจพอสงั เขป?
7. พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั รชั กาลที่ 9 การครองราชยใ์ น 2 ปแี รก พระองคท์ รงทำอะไร?
8. พระสหายแห่งสายบุรคี ือใคร?
9. ทางสายกลาง (The middle path) ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
10. ใหร้ บั รกู้ ารศกึ ษานำหลัก การเขา้ ใจ เข้าถึง พัฒนา มาใช้กบั การศึกษาได้อย่างไร
----------------------------------------------------------------
-32-
บทท่ี 3
ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม “3 ห่วง
2 เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน”บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม” ระบบเศรษฐกิจ
พอเพียงมุ่งเน้น ให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด
ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือ
ผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง
ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง
สร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น
การบรโิ ภคเกินตวั ความบันเทงิ หลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตวั ตามแฟชั่น การพนนั หรือเสี่ยงโชค
เป็นต้นจนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิ ดเป็นวัฏจักร
ที่บุคคลหนึ่งไมส่ ามารถหลดุ ออกมาได้ ถ้าไม่เปล่ียนแนวทางในการดำรงชวี ิต
บทสรุป ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง 3 หว่ ง
-33-
ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดที ่ีไม่น้อยเกินไปและไมม่ ากเกินไป โดยไม่เบยี ดเบียน
ตนเองและผ้อู ่นื เช่น การผลิตและการบรโิ ภคท่ีอยใู่ นระดบั พอประมาณ
ห่วง 2. ความมเี หตุผล หมายถงึ การตดั สินใจเกีย่ วกบั ระดับของความพอเพียงน้ันจะตอ้ งเปน็ ไปอยา่ ง
มเี หตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยท่เี กยี่ วข้อง ตลอดจนคำนงึ ถึงผลท่ีคาดวา่ จะเกิดขึ้นจากการกระทำนน้ั ๆ อยา่ ง
รอบคอบ
ห่วง 3. การมีภูมคิ ุม้ กนั ท่ดี ีในตวั หมายถงึ การเตรียมตัวให้พรอ้ มรับผลกระทบ และการเปลย่ี นแปลง
ดา้ นตา่ งๆ ทีจ่ ะเกิดขึ้นโดยคำนงึ ถงึ ความเปน็ ไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ท่ีคาดว่าจะเกิดขึน้ ในอนาคตทั้งใกลแ้ ละไกล
ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงือ่ นไข
1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังใน
ข้ันปฏบิ ัติ
2. เงอ่ื นไข คณุ ธรรม ทจี่ ะต้องเสรมิ สร้างประกอบด้วย มคี วามตระหนักในคุณธรรม มคี วามชอื่ สัตย์
สจุ ริต และมคี วามอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปญั ญาในการดำเนินชวี ิต
เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร
3 ห่วง 2 เงือ่ นไข สมดลุ 4 มิติ
3 ห่วง ความพอประมาณ มเี หตผุ ล มีภูมิคมุ้ กัน
2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้
(เงื่อนไขความรู้ 3 ร รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง)
(เง่ือนไขคณุ ธรรม ซ่อื สัตยส์ ุจริต อดทน เพยี ร มีสต)ิ
สมดุล 4 มิติ เศรษฐกจิ สงิ่ แวดลอ้ ม สังคม วัฒนธรรม (กจิ ล้อม สงั วฒั นธรรม)
หลักความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลักจิตใจ ประหยัด
ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญารอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวังสังคม ประกอบอาชีพสุจริต ทรัพยากร เลิกแก่งแย่ง
ผลประโยชน์เทคโนโลยี ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและ
แบ่งปัน เศรษฐกิจ ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุขเป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเองได้ระดับหน่ึง
อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจ
พอเพยี ง เรม่ิ จากระดับ ตัวเอง ครอบครัว องคก์ ร ชุมชน สงั คม ประเทศชาติ 3 หว่ ง 2เงอื่ นไข สมดลุ 4 มิติ (ด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม) ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน
สงั คม ประเทศชาติ
หลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับหลกั ธรรม สัปปุริสธรรม 7
1. (ความพอประมาณ) มตั ตัญญตุ า เป็นผูร้ จู้ ักประมาณ อัตตญั ญตุ า เป็นผู้รจู้ กั ตน
2. (ความมีเหตผุ ล) ธมั มญั ญุตา เปน็ ผ้รู ูจ้ ักเหตุ อตั ถัญญุตา เป็นผ้รู จู้ กั ผล
3. (การมีภูมิคุ้มกันท่ีดใี นตัว) กาลัญญุตา เปน็ ผ้รู ้จู กั กาล ปรสิ ญั ญุตา เป็นผู้รจู้ ักบริษทั ชมุ ชน
-34-
ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อัญเชิญมา
ครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบบั ที่ 11 ตรงกบั หลักเศรษฐกิจพอเพยี ง การสร้างภมู คิ ุ้มกัน ขอ้ ใดเรยี งลำดับ หลกั การสร้างภมู คิ ุม้ กันกบั เกษตรทฤษฎี
ใหม่ 3 ช้นั จัดการตน – รวมกลุ่ม – เครอื ข่าย หลักสมดุลของปรชั ญาเศรษฐกจิ ข้อใดสำคัญทีส่ ุดในวิสัยทัศน์ของรัฐบาล
ยิ่งลักษณ์ ชนิ วตั ร เศรษฐกจิ ตาม ROAD MAP พัฒนาคณุ ภาพผเู้ รยี น ของ สพฐ. ควรจดั ให้มีการสอน ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงในสถานศึกษาสำหรับชั้นใดโดยเฉพาะ ม.1-3 “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด
รวมถึงการพัฒนา และบริหารประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางคำนึงถึง ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล การสรา้ งภูมคิ ้มุ กันที่ดีในตัว ตลอดจนใชค้ วามรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการ
ตัดสินใจ และการกระทำ
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิง
ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของ
การพฒั นา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยกุ ต์ใช้กับการปฏบิ ัติตนได้ในทุกระดับ โดยเนน้
การปฏิบตั บิ นทางสายกลาง และการพฒั นาอยา่ งเปน็ ข้ันตอน
3. คำนิยาม ความพอเพยี งจะตอ้ งประกอบดว้ ย 3 คุณลักษณะ พรอ้ มๆ กัน ดังน้ี
3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อ่นื เช่น การผลิตและการบรโิ ภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตผุ ล หมายถงึ การตดั สนิ ใจเก่ยี วกับระดบั ของความพอเพยี งนน้ั จะต้องเปน็ ไปอย่าง
มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่าง
รอบคอบ
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
ดา้ นต่าง ๆ ท่จี ะเกดิ ข้ึน โดยคำนึงถึงความเป็นไปไดข้ องสถานการณ์ตา่ งๆ ท่คี าดวา่ จะเกิดข้นึ ในอนาคตทงั้ ใกลแ้ ละไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัย
ท้ังความรู้ และคณุ ธรรมเปน็ พืน้ ฐาน
4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังใน
ข้นั ปฏิบตั ิ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความ
ซอื่ สัตยส์ ุจรติ และมคี วามอดทน มีความเพยี รใชส้ ตปิ ญั ญาในการดำเนนิ ชีวิต
-35-
5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
คือ การพัฒนาที่สมดลุ และยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้
และเทคโนโลยี
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9)
ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 30 ปี คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วน
ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงกลา่ วไว้ ดังนี้
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเอง
ในครวั เรือน แบ่งให้เพื่อนบา้ นบ้างเหลอื จงึ ขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ
รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า
และน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งาน
ทกุ ครั้ง
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผูอ้ ื่น เพราะเราจะหลงติดกับ
วตั ถชุ ีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวนั นี้ เศรษฐีวันหน้า”
4. เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ใน
ครัวเรอื น รวมท้งั ค่าเสื้อผา้ เครอื่ งใชบ้ างอย่างทช่ี ำรุด เป็นต้น
5. ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆวันที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย การปฏิบัติ
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
5.1 ยึดหลกั พออยู่ พอกิน พอใช้
5.2 ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้อง
ไม่ฟุง้ เฟอ้ ตอ้ งประหยดั ไปในทางที่ถูกต้อง”
5.3 ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิด
มาจากการประพฤติชอบ และการหาเล้ยี งชีพชอบเปน็ สำคัญ”
5.4 ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์กันและแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กัน
อยา่ งรนุ แรง “ความสขุ ความเจริญอันแทจ้ ริง หมายถงึ ความสขุ ความเจริญ ที่บคุ คลแสวงหามาไดด้ ้วยความเป็นธรรม
ท้ังในเจตนาและการกระทำ ไมใ่ ชไ่ ด้มาด้วยความบงั เอิญหรอื ดว้ ยการแกง่ แย่งเบียดบังจากผู้อ่ืน”
5.5 ม่งุ เนน้ หาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
5.6 ทำมาหากนิ ก่อนทำมาค้าขาย
5.7 ภูมปิ ญั ญาชาวบา้ นและท่ดี ินทำกนิ คอื ทุนทางสังคม
5.8 ต้งั สติที่มั่นคง ร่างกายท่แี ข็งแรงปญั ญาทีเ่ ฉียบแหลม
-36-
ขอ้ เสนอแนะ
เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะ
ปฏิบัติในเรื่องความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน
และพอใช้ โดยยึดหลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง
ถงึ เวลาแลว้ ท่ีพวกเราทกุ คนควรร่วมมอื รว่ มใจ กนั ปฏบิ ตั ิตามแนวพระราชดำริเศรษฐกจิ พอเพียงของ
ในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิตสามารถนำไปพัฒนาตนพัฒนาประเทศชาติให้
เจริญกา้ วหน้าเป็นบุคคลทมี่ ีคุณภาพเปน็ คนดขี องสงั คม
การประยุกตป์ ลกู ฝังใช้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้
เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเขา้ ใจและตระหนกั ถึงคณุ ค่าของการอยู่
ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อ
การประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ
หรือกระทำการใดๆ จนกระทัง่ เกิดเปน็ ภูมคิ ุ้มกนั ทดี่ ีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพน้ื ฐานของความมี
เหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึก
ปฏบิ ัติเช่นนี้ จนตนสามารถทำตนให้เป็นพึง่ ของตนเองได้ และเป็นท่ีพึ่งของผอู้ ืน่ ไดใ้ นทส่ี ดุ
เศรษฐกจิ พน้ื ฐาน ประกอบดว้ ยลกั ษณะสำคัญ คือ
1. เป็นเศรษฐกจิ ของคนท้ังมวล
2. มีชุมชนทีเ่ ข้มแข็งเปน็ พ้ืนฐานของเศรษฐกิจ
3. มคี วามเปน็ บรู ณการเข้มแข็งไปพร้อมๆกนั หมด ทงั้ เร่ืองเศรษฐกจิ สงั คม สิง่ แวดล้อม
และวัฒนธรรม
4. เติบโตบนพนื้ ฐานท่ีเข้มแข็งของเราเอง เชน่ ด้านเกษตร หตั ถกรรม อุตสาหกรรม สมนุ ไพร อาหาร
การทอ่ งเที่ยว เปน็ ต้น
5. มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่างๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้
อยา่ งตอ่ เนือ่ ง
การพฒั นาประเทศตามแนวเศรษฐกจิ พอเพียง
การพัฒนาประเทศมิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ
ทางภูมิศาสตร์ สงั คมวิทยา วฒั นธรรมชมุ ชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเขา้ ใจในการเปลี่ยนแปลง
ของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือ
วิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชน
อาจจะไดร้ ับ ไมใ่ หก้ ระแสเหลา่ นนั้ มาทำลายเอกลักษณแ์ ละวัฒนธรรมชมุ ชนจนตอ้ งล่มสลายไป
-37-
จากแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นแนวทางท่ใี ห้ประชาชนดำเนนิ ตามวถิ ีแหง่ การดำรงชีพท่ีสมบูรณ์ศานตสิ ขุ โดยมีธรรมะเป็นเครื่อง
กำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง
5 ประการ คือ
1. ความพอดีด้านจิตใจ: เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึง
ผลประโยชนส์ ว่ นรวม
2. ความพอดีด้านสังคม: มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึก
กำลัง และทีส่ ำคญั มกี ระบวนการเรียนรทู้ เ่ี กิดจากฐานรากท่ีมน่ั คงและแข็งแรง
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ
เพื่อใหเ้ กิดความยั่งยนื สูงสุด ใช้ทรัพยากรท่ีมอี ยู่ในประเทศ เพื่อพฒั นาประเทศให้ม่นั คงเป็นขัน้ เปน็ ตอนไป
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี: รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร
พฒั นาเทคโนโลยจี ากภูมปิ ัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเปน็ ประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ: เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตาม
อัตภาพและฐานะของตนเอง จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนใน
ชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุล
ทางดา้ นต่างๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขัน้ เป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสอู่ กี ระดับหนง่ึ โดยสร้างความพร้อม
ทางด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ “ก้าวกระโดด” ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่างๆ มาเป็นตัวกระตุ้นเพียง
เพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการ
แข่งขันดังกล่าวได้ กจ็ ะเกดิ ปัญหาตามมา ดังท่ีประเทศไทยได้ประสบปญั หาเศรษฐกจิ เมื่อปี 2540
ด้านเศรษฐกจิ ลดรายจา่ ย เพมิ่ รายได้ ใชช้ ีวติ อยา่ งพอควร คดิ และวางแผนอย่างรอบคอบ
มีภูมคิ มุ้ กันไม่เสี่ยงเกนิ ไป การเผ่อื ทางเลือกสำรอง
ด้านจิตใจ
มจี ิตใจเขม้ แข็ง พงึ่ ตนเองได้ มจี ติ สำนึกท่ดี ี เอือ้ อาทร ประนีประนอม
ดา้ นสังคม นกึ ถึงผลประโยชน์สว่ นรวมเป็นหลัก
ดา้ นทรพั ยากร
ธรรมชาติและ ชว่ ยเหลือเก้ือกลู กัน รรู้ ักสามัคคี สรา้ งความเขม้ แข็งให้ครอบครวั และชุมชน
สง่ิ แวดล้อม
รจู้ ักใชแ้ ละจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบเลือกใช้ทรพั ยากรทมี่ ีอย่อู ย่างคุ้มค่าและ
เกิดประโยชนอ์ ยา่ งสูงสุดฟน้ื ฟูทรัพยากรเพ่ือใหเ้ กิดความย่ังยนื สูงสดุ
-38-
ดา้ นเทคโนโลยี รู้จกั ใชเ้ ทคโนโลยที เ่ี หมาะสม สอดคล้องกบั ความต้องการและสภาพแวดล้อม
(ภมู ิสงั คม) พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมปิ ญั ญาชาวบ้านเองก่อนกอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชน์
กบั คนหมู่มาก
พอประมาณ : รายจา่ ยสมดุลกบั รายรับ
มีเหตุมผี ล : ใช้จ่ายอยา่ งมีเหตุผล มคี วามจำเปน็ ไม่ใช้ส่ิงของเกินฐานะ ใชข้ องอยา่ งคุม้ คา่ ประหยัด
มีภูมิคมุ้ กนั : มเี งนิ ออม แบ่งปันผู้อื่น ทำบญุ
ความรูค้ ู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหม่ันเพียร ใชส้ ตปิ ัญญาในการตดั สนิ ใจและดำเนนิ การ
ต่างๆ เพื่อใหเ้ ทา่ ทันต่อการเปล่ียนแปลง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐ์กิพอเพียง ระดบั ชุมชน
หลกั ปฏิบตั ิ ตัวอยา่ งกิจกรรม
1. รู้จักการใช้จา่ ยของตนเอง - บนั ทกึ บัญชรี ายรับและรายจา่ ย
- ใช้จา่ ยอยา่ งมีเหตุมผี ล - วิเคราะหบ์ ัญชีรายรับและรายจ่าย
- อยา่ งพอประมาณ - แลกเปลีย่ นประสบการณ์
- ประหยดั เทา่ ทจ่ี ำเป็น - รบั เปลีย่ นพฤติกรรมการบรโิ ภคเพื่อลด
รายจา่ ยท่ฟี ุ่มเฟือย
2. รู้จกั ออมเงนิ มกี ลไกลลดความเส่ียง
– ระบบสวสั ดกิ าร - ออมวันละหน่ึงบาท
– ระบบออมเงิน - สัปดาหก์ ารออม
– ระบบสหกรณ์ - จดั ตัง้ กล่มุ /สหกรณ์ออมทรัพย์
– ระบบประกันต่างๆ
-39-
3. รู้จักประหยดั - ปลกู ผกั สวนครัวรัว้ กนิ ได้
- ใชแ้ ละกินอยา่ งมีเหตผุ ลไมฟ่ มุ่ เฟือย - เล้ียงปลา เล้ียงไก่ ไว้กิน ไว้ขาย
- ใชพ้ ลังงานเท่าที่จำเปน็ - ใชส้ นิ คา้ ที่ประหยัดพลงั งาน
- ใชท้ รพั ยากรอย่างคุม้ ค่า - รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใชใ้ หม่
- นำของเหลอื ใช้ มาทำให้เกดิ ประโยชน์
4. พงึ่ ตนเองได้ทางเศรษฐกจิ โดยผลิต หรือ
สรา้ งรายไดท้ ี่ เน้นการผลติ เพ่ือพงึ่ ตนเอง ใหพ้ อเพยี งกับการบรโิ ภค และ
- สอดคล้องกับความต้องการ การผลิตที่หลากหลาย เชน่
- สอดคลอ้ งกบั ภูมิสงั คม - ปลูกพืชผกั ผสมผสาน
- สอดคล้องกับภูมิปญั ญาท้องถิ่น - ปลูกพืชสมุนไพรไทย
- สอดคลอ้ งกบั ทรพั ยากรท้องถนิ่ - ผลิตสินคา้ จากภูมิปญั ญาท้องถนิ่
- จัดอบรมพัฒนาอาชพี ในชุมชน
5. รู้จักชว่ ยเหลอื สงั คมหรอื ชุมชน
- ปลูกจติ สำนกึ สาธารณะ พฒั นาความรู้คคู ณุ ธรรม ผา่ นกจิ กรรม
- ปลูกฝงั ความสามคั คี รวมกลมุ่ ต่างๆ
- ปลกู ฝังความเสียสละ - จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข
- เผยแพรอ่ งค์ความรเู้ ศรษฐกิจ - จดั กจิ กรรมชว่ ยเหลอื ผู้ดอ้ ยโอกาส
- จัดค่ายพฒั นาเยาวชน
- จัดต้ังศนู ยเ์ รยี นรู้ภายในชุมชน
หลกั ปฏิบัติ ตัวอย่างกิจกรรม
6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาความรู้เก่ียวกบั ดิน นำ้ ป่า เพ่อื ฟืน้ ฟู รักษา
- ปลกู จติ สำนึกรกั ษ์สิ่งแวดลอ้ ม - โครงการชีววถิ ี
- ฟน้ื ฟูแหลง่ เสือ่ มโทรมในท้องถนิ่ - จดั อบรมการอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรรมชาติ
- ฟ้ืนฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรใน - จดั ทำฝายแมว้
ท้องถ่ิน
- ฟืน้ ฟดู แู ลสถานทท่ี ่องเทย่ี วใน
หลักปฏิบัติ กจิ กรรมเศรษฐกิจพอเพียง
(ดา้ นวฒั นธรรม)
ตัวอยา่ งกจิ กรรม
-40-
7. สืบสานวฒั นธรรมไทย - ปลูกฝังมารยาทไทย
- สรา้ งจิตสำนึกรกั ษ์ไทยรักบา้ นเกิด - ส่งเสริมอาหารประจำท้องถน่ิ
- ฟืน้ ฟูและอนุรกั ษ์อาหารประจำ - ส่งเสรมิ การใช้ภาษาประจำทอ้ งถ่นิ
ท้องถน่ิ - ทำนบุ ำรุงโบราณวตั ถุและโบราณสถาน
- ฟน้ื ฟแู ละอนรุ กั ษด์ นตรีไทยและเพลง
ไทย
- ฟน้ื ฟูและอนรุ กั ษว์ ัตถโุ บราและ
โบราณสถาน
8. สง่ เสริมพระพทุ ธศาสนา - ให้ความสำคญั กบั การรกั ษาศลี หรือสวดมนต์เป็น
- ปลกู จติ สำนกึ ความรักชาติ ประจำ
- ตระหนกั ถงึ คุณค่าของ - สง่ เสรมิ การฝึกอบรมสมาธิภาวนา
พระพทุ ธศาสนา - ร่วมกันทะนบุ ำรุงศาสนา
- จงรกั ภกั ดีตอ่ พระมหากษัตรยิ ์ - พฒั นาภมู ิปัญญาทอ้ งถ่นิ
- รณรงคก์ ารใช้สินค้าไทย
สรปุ ข้อสงั เกตเก่ียวกบั การประยกุ ต์ใช้เศรษฐกิจพอเพยี ง
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้านและหลายรปู แบบ ไม่มีสูตรสำเร็จแต่
ละคนจะต้องพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้เรา “ฉุกคิด” ว่ามีทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน มั่นคง และสมดุลใน
ระยะยาว
ตวั อยา่ งความพอเพยี งในองคก์ รเอกชน แพรนด้านจวิ เวอรี่
เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เขา้ ใจได้
งา่ ยๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาใหด้ ดู ว้ ยเพ่อื ความเข้าใจท่แี จ่มแจ้งขนึ้ ซึ่ง 3 ห่วง 2 เง่ือนไข นนั้ แท้จริง
แลว้ เป็นบทสรุปของเศรษฐกจิ พอเพียงนัน่ เอง คือสรปุ ใหเ้ ขา้ ใจได้ง่ายๆ ดงั ต่อไปน้ี
หว่ ง คอื ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไป
โดยตอ้ งไม่เบียดเบียนตนเอง หรอื ผู้อื่นให้เดอื ดร้อน
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป
อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ
อยา่ งรอบคอบ
-41-
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลย่ี นแปลงดา้ นการต่างๆ ทจ่ี ะเกิดข้นึ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ทคี่ าดวา่ จะเกิดขึ้นในอนาคต
ท้ังใกล้ และไกล 2 เง่ือนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพยี ง ไดแ้ ก่เงอื่ นไขท่ี
1. เง่ือนไขความรู้ คือ มคี วามรอบรู้เก่ียวกับ วิชาการตา่ ง ๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ
ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ
คุณธรรมประกอบด้วย มคี วามตระหนกั ในคุณธรรม มีความซื่อสตั ยส์ จุ รติ และมีความอดทน มคี วามเพยี ร ใช้สตปิ ญั ญา
ในการดำเนินชวี ิตเง่ือนไขที่
2. เง่ือนไขคุณธรรม คอื มคี วามตระหนักในคุณธรรม มีความซือ่ สัตย์สุจริตและมคี วามอดทน มีความ
เพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตนั่นคือสรปุ รวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้
กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้แล้วคงกระจ่างกันสักทีเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ดงั ท่ไี ด้กลา่ วไปแล้วนน้ั
การทำบญั ชีครวั เรอื น
วัตถปุ ระสงค์ในการจัดทำบัญชคี รวั เรือน
วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำบัญชีครวั เรือน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังการจัดทำบัญชี
ครัวเรือนเพื่อการออม การทำบัญชี คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับและรายจา่ ย หรือบันทึกรายการทรัพยส์ ิน
ได้แก่ ข้าวของเงินทอง บัญชีครัวเรือน คือการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน และรวมถึงการบันทึกข้อมูลด้าน
ทรพั ย์สินต่างๆ สว่ นการออม คอื ประหยัด เกบ็ หอมรอบรบิ เช่น ออมทรพั ย์ ขอ้ มลู ทไี่ ดจ้ ากการทำบัญชีจะทำให้ทราบ
ว่ามีจำนวนรายรับ - รายจ่ายจากที่ไหน เท่าใดในแต่ละวัน เดือน และปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า มีรายจ่ายเกินรับ
เท่าใด รายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นมากน้อยเพียงใด เช่น ซื้ออาหาร ดอกเบี้ย ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน
การศึกษา เป็นต้น เมื่อนำมาบวกลบกันแล้ว ขาดดุล - เกินดุลไปเท่าใด บัญชีครัวเรือนก็จะเป็นประโยชน์ต่อการ
วางแผนรายไดร้ ายจา่ ยทงั้ ในปจั จุบนั และอนาคตในทางเศรษฐศาสตร์ เงินหรอื รายรับที่ไดม้ านน้ั บุคคลควรมีการจัดการ
ออกเป็น3ส่วน ส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่าย ส่วนหนึ่งไว้ใชเ้ พือ่ การลงทุน และอีกส่วนไว้ใช้เพื่อการออมในอนาคต หากครัวเรือน
ใดที่สมาชิกหาเงินมาได้แล้ว มีการบันทึกการใช้จ่ายทั้งหมดก็จะทำให้เห็นภาพว่าต้องจัดสรรเงินอย่างไรจึงจะถือ ว่า
พอประมาณขออ้างอิงตามหลักเศรษฐศาสตร์อีกครั้งว่า “ของฟรีไม่มีในโลก”ดังนั้น ทุกอย่างจึงมีค่าใช้จ่าย
จึงต้องนำมาคำนวณเป็นรายจ่ายและรายรับ แม้กระทั่งการออมแบบผ่อนรายเดือน อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์
มีการบังคับให้ออมเพื่อดูแลสุขภาพตนเองในยามสูงอายุ (Medisave) เป็นการออมที่รัฐบังคับประชาชน ดังนั้น
รัฐจะไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อสุขภาพ หากแต่ละคนได้วางแผนในอนาคตเรื่องการออมไว้ ซึ่ง จะทำให้ชีวิตในยามสูงอายุ
มีเงินพอที่จะจับจ่ายรักษาตนประเทศชาติก็ เช่นกัน หากผู้นำรัฐบาลมีการระดมการออม สร้างค่านิยมการอดออม
เพื่อให้กระแสเงินสะพัดภายในประเทศ ประเทศก็ไม่ต้องมีหนี้สาธารณะมาก และท้ายที่สุดก็ไม่ตกเป็นภาระภาษี
แก่ราษฎรมากนักหนี้ในสงั คมไทยเริ่มเปลย่ี นแปลงคุณค่า ความหมาย ความสำคัญ ภมู ปิ ญั ญา เง่ือนไข ปจั จัยแบบแผน
พฤติกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์วัฒนธรรมไปจากเดิม เมื่อสังคมไทยเริ่มรับวัฒนธรรมหนี้สมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้น
เนอ่ื งจากวัฒนธรรมหน้ีสมยั ใหม่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในนยิ ามของการพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างพอเพียง สมดุล และเป็น
ธรรมตามแบบพน้ื ฐาน หากแต่ถูกนำมาใช้ เพอ่ื การค้ากำไร แสวงหาผลประโยชน์ท่กี ดขเี่ อารดั เอาเปรียบให้ดีท่ีสุดเท่าที่
-42-
จะทำได้ ทั้งหนี้บุญคุณและหนี้สิน และเชื่อมโยงภาวะหนี้เหล่านั้นสู่การถือครองสิทธิที่ผูกขาดอำนาจต่างๆ
ทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างไม่เป็นธรรม โดยนำเข้าภูมิปัญญา เงื่อนไข ปัจจัย แบบแผนพฤติกรรม ระเบียบกฎเกณฑ์ กฎหมาย ระบบและ
กลไกวัฒนธรรมหนสี้ มัยใหม่เขา้ มาใช้ ซึง่ มคี วามสลับซบั ซ้อนแตกต่างจากวัฒนธรรมหนี้แบบพืน้ บา้ น จนยากท่ีชาวบ้าน
จะเรียนรู้ เข้าใจ และรู้เท่าทันได้ ทำให้สังคมเกิดการพึ่งพาอาศัยกันและกันในลักษณะที่ไม่พอดี ไม่พอเพียง ไม่สมดุล
และไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เป็นปัญหาสังคมขึ้นเป็นระยะๆ การทำบัญชีครัวเรือนหรือการ
จดบัญชีจะทำให้เราทราบว่า มีรายได้มากน้อยแค่ไหนสามารถลดค่าใช้จ่ายรายการใดออกไปได้บ้างน่าจะทำให้สร้าง
ความสมดุลระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมแก่ฐานะทางการเงินเฉพาะตัวได้ดีพอสมควร ผลพวงของการทำ
บัญชีครัวเรือนยังปลูกฝังให้เกิดการเก็บออม เรียนรู้ที่จะใช้จ่ายอย่างประหยัด และการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนก็จะ
เกดิ ข้ึนตลอดไป
จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทย
หลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความ
พอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตามคน
ไทยยังมีทางออกซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึง
หลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงิน
อันเปน็ ปจั จยั สำคญั ในการดำเนนิ ชวี ติ
การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายใน
ครอบครวั ชมุ ชน รวมถงึ ประเทศ ข้อมลู ทไี่ ด้จากการบันทึกจะเป็นตวั บ่งช้ีอดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง
สามารถนำข้อมลู อดตี มาบอกปัจจบุ นั และอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและ
กจิ กรรมตา่ งๆ ในชีวิตในครอบครวั
บญั ชีครวั เรือน มไิ ดห้ มายถงึ การทำบัญชหี รือบันทกึ รายรบั รายจา่ ยประจำวนั เทา่ นั้น แตอ่ าจหมายถึง
การบนั ทึกขอ้ มูลดา้ นอืน่ ๆ ในชีวติ ในครอบครวั เปน็ ตน้ ของเราได้ด้วย เชน่ บัญชที รัพยส์ นิ พันธ์พุ ืช พันธ์ุไม้ ในบ้านเรา
ในชุมชนเราบัญชีความรู้ความคิดของเรา บัญชีผู้ทรงคุณ ผู้รู้ในชุมชนเรา บัญชีเด็กและเยาชนของเราบัญชี
ภูมิปัญญาด้านต่างๆ ของเรา เป็นต้น หมายความว่า สิ่งหรือเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของเรา เราจดบันทึกได้ทุกเรื่อง
หากประชาชนทุกคนจดบันทึกจะมีประโยชน์ตอ่ ตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ครอบครัว
เรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ และประเทศเรียนรู้การเรียนรู้เป็นที่มาของปัญญา ปัญญาเป็นที่มาของความเจริญทั้งกาย
สังคม ใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์จะเห็นว่า การทำบัญชี หรือการจดบันทึกนี้สำคัญยิ่งใหญ่มาก บุคคลสำคัญ
ในประเทศหลายท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการจดบันทึก เช่น ท่านพุทธทาส ในหลวง และสมเด็จพระเทพ ล้วนเป็น
นักบันทึกทั้งสิ้นการบันทึก คือ การเขียน เม่ือมีการเขียนย่อมมีการคิด เมื่อมีการคิดย่อมก่อปัญญาแก้ไขปัญหาได้โดย
ใช้เหตุผลวิเคราะห์พิจารณาได้ถูกต้อง นั่นคือ ทางเจริญของมนุษย์การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือการ
บันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำกันนั่นเป็นเรื่องการบันทึกรา ยรับรายจ่าย
-43-
ประจำวันประจำเดือนว่า มีรายรับจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน
สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า ตนเองและครอบครัวทีรายรับเท่าใด รายจ่ายเท่าใด คงเหลือเท่าใด
หรือ เงินไม่พอใช้เท่าใด คือ รายจ่ายมากกว่ารายรบั และสำรวจว่ารายการใดจา่ ยน้อยจ่ายมากจำเปน็ น้อยจำเป็นมาก
จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น
ส่วนรายจา่ ยท่ีไมจ่ ำเป็นให้ ลด ละ เลกิ เชน่ ซอื้ บุหรี่ ซอื้ เหลา้ เล่นการพนัน เป็นต้น เม่ือนำรายรับ รายจา่ ย มาบวกลบ
กนั แล้วขาดดุลเกินดุลไปเทา่ ใด เมอ่ื เห็นตวั เลข จะทำใหเ้ ราคิดไดว้ ่าสิง่ ไมจ่ ำเปน็ นั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่
เลิกได้ไหมถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ หากเราวางแผนการรับการจ่ายเงิน
ของตนเองได้เท่ากับว่ารู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเองให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรัก
ตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องรายรับรายจ่าย
ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมพอดีสอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็นเอกภาพและดุลยภาพ
อยู่เสมอการทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวาง
แผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย
ดงั นนั้ การทำบัญชชี ีครวั เรอื นมคี วามสำคัญดังนี้
1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หน้ีสนิ และเงินคงเหลอื ในแตล่ ะวัน
รายรับ หรือ รายได้ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ
หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการใหผ้ ู้อืน่ ใช้สินทรพั ย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จาก
ค่าจ้างแรงงานเงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือ จากเงินให้กู้ยืม รายได้จากการขายสินค้า
หรือบริการ เป็นตน้
รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย คือ คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบ
แทนกลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน
ค่าหนังสอื ตำรา เป็นตน้ หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับส่งิ ตอบแทนคอื สินค้าหรือบริการก็ได้ เช่น เงนิ บรจิ าคเพ่ือ การกุศล
เงินทำบญุ ทอดกฐนิ ทอดผา้ ป่า เป็นตน้
หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่
ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่ หนี้สินเป็นเงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงิน
ภายนอก เชน่ การกู้ยืมเงินจากเพ่ือนบ้าน การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ การซือ้ สินคา้ หรือบริการเป็นเงินเช่ือ การซ้ือ
สนิ ทรพั ยเ์ ป็นเงินผอ่ นชำระ หรอื การเชา่ ซ้อื เปน็ ตน้
เงินคงเหลือ คือ เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏ
รายรับมากกว่ารายจ่ายจะทำให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หากหลังจากนำรายรับลบด้วย
รายจา่ ยแล้วปรากฏว่ารายจา่ ยมากกวา่ รายรบั จะทำให้เงินคงเหลือติดลบหรือทางบัญชีเรียกวา่ ขาดทุน นั่นเอง
-44-
2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผน
การใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตดั
ออกเพอื่ ให้การใชจ้ า่ ยเงินภายในครอบครวั มีพอใช้และเหลือเกบ็ เพื่อการออมทรัพยส์ ำหรับใช้จา่ ยส่ิงท่ีจำเป็นในอนาคต
บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อ คือ การพอประมาณ
ถ้ารู้รายรับรายจ่ายก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่มีเหตุผลรู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็
เก็บออมนั่นคอื ภูมคิ ุ้มกนั ท่ีเอาไว้คมุ้ กันตัวเราและครอบครวั บญั ชีครวั เรือนสามารถจัดไดห้ มด จงึ นบั ว่ามีประโยชน์มาก
ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก
และส่งผลใหไ้ ม่อยากบันทึกผูจ้ ดั ทำเข้าใจผิดในรายการบญั ชีไม่เข้าใจรายการท่ีเปน็ รายรบั จึงไม่ไดบ้ นั ทกึ บญั ชี เช่น ลูก
ส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้น
มิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้
สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการ
ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วย
ดอกเบยี้ ดว้ ย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำใหค้ รอบครัววางแผนการใชจ้ ่ายเงนิ ผดิ พลาด สว่ นข้อผดิ พลาดอีกประการหน่ึง
คือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึก
รายการบญั ชี หรือบนั ทึกรายการซ้ำๆ กนั หลายรายการปัญหาดังกล่าวแกไ้ ขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงิน
คงเหลอื ในบญั ชกี ับยอดเงินฝากธนาคารท่คี รอบครวั มีอยู่จริงหรอื ยอดเงินท่เี ก็บไว้สำหรบั ใชจ้ ่ายจริง หากพบว่ายอดเงิน
คงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอด
แล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากัน อาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหายการวางแผน
การใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับ
น้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้
ครอบครวั มีภาระหนีส้ ินจำนวนมาทงั้ เงินต้นและดอกเบี้ยซ่ึงจะเพิ่มจำนวนมากขนึ้ ตามระยะเวลาท่ียาวนานในการกู้ยืม
เงนิ เป็นปัญหาทีแ่ ก้ไขได้ยากสำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงนิ หรือปัญหารายรับไม่เพียงพอ
กบั รายจ่ายนนั้ มีแนวทางดงั นี้
1. การตัดรายจา่ ยที่ไม่จำเป็นออก เพอื่ ลดภาระการจา่ ยเงินออกจากครอบครวั เช่น รายจ่ายเก่ียวกับ
การพนนั ส่ิงเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุม่ เฟือย เป็นต้น เปน็ การสร้างนิสยั มิใหใ้ ชจ้ า่ ยฟมุ่ เฟือย
2. การลดรายจ่ายที่จำเปน็ ลง เพ่อื สรา้ งนสิ ัยการประหยดั อดออม การใช้ทรพั ยากรที่มีอยู่จำกัดอย่าง
คุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดี
อีกด้วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับ
รถจกั รยานยนต์ หรือรถยนต์ เปน็ ต้น
3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
การขายอาหารหลังเลกิ งาน การปลูกผัก หรือเลีย้ งสตั ว์ไวข้ าย เป็นต้น
-45-
4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม
การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอเหมาะสม
กับเศรษฐกิจปัจจบุ ัน
การทำบัญชีครัวเรอื นจะทำใหเ้ ราทราบว่าในแตล่ ะเดือน ครอบครวั มรี ายรบั -รายจ่ายอะไรบ้าง คนเรา
ส่วนมากมักจะหลงลมื (ไมส่ นใจทจี่ ะจดจำ) เวลาใชจ้ า่ ยเงินออกไปหรือรับเงนิ เข้ามา พอเวลาผา่ นไป 2-3 วนั ก็ลืมแล้ว
ดังนั้น บัญชีครัวเรือนจะช่วยเตือนความจำให้เรารู้ถึงการใชจ้ ่ายเงิน เพื่อนำมาเป็นข้อมลู ในการวางแผนการใช้จา่ ยเงนิ
ของครอบครวั เพ่อื แก้ไขปญั หาหน้ีสนิ ให้ครอบครัวมคี วามเป็นอย่ทู ี่ดีขน้ึ ได้
1. เพ่ือจดบนั ทึกรายการการดำเนนิ กจิ การเรยี งลำดับก่อนหลงั
2. งา่ ยต่อการตรวจสอบ
3. เปน็ การควบคมุ รักษาทรพั ย์สินของกิจการ
4. ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนนิ กิจการ
5. สามารถปรบั ปรุงแก้ไขทัน
6. ทำให้ทราบฐานะของกิจการ
7. เป็นประโยชนใ์ นการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนไดท้ ุกเวลา
เรมิ่ การทำบัญชีครัวเรือน
การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการหาสมุดมาสักเล่มหนึ่งอาจเป็นสมุดที่เด็กๆ ใช้แล้วเหลือ
หน้ากระดาษว่างๆ ก็นำมาทำเป็นบัญชีครัวเรือนได้ปากกาหรือดินสอสำหรับเขียนลงในสมุดบัญชีครัวเรือน สำหรับ
ชาวบ้านหรือคนที่อ่าน-เขียนหนังสือไม่ค่อยคล่องก็อาจใช้ให้ลูกๆ ช่วยเขียนให้ การทำบัญชีครัวเรือนในแต่ละวันใช้
เวลาไม่นาน ประมาณ 5-10 นาที ก็เสร็จแล้ว เวลาที่เสียไปแค่ 5-10 นาที ต่อวันแต่ประโยชน์ที่ไดร้ บั จากการทำบัญชี
ครัวเรือนนั้นมีค่ามากมายมหาศาลนักในการช่วยวางแผนการเงินของครอบครัวและสามารถประยุกต์ไปจนถึง
การนำไปใช้แกไ้ ขปัญหาหนี้สินได้ ขอให้ยอมสละเวลาในแต่ละวนั เพื่อความเป็นอยขู่ องครอบครัวที่ดขี ึ้น บัญชคี รัวเรือน
สามารถจัดทำได้หลายรูปแบบแต่อย่างน้อยต้องมีการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายปกติเป็นตาราง 5 ช่อง
ประกอบด้วย ช่องแรกวันเดือนปี เพื่อบันทึกวันที่เกิดรายการนั้น ช่องที่สองรายการเพื่อบันทึกเหตุการณ์ ช่องที่สาม
รายรบั เพือ่ บันทึกจำนวนเงินที่ไดร้ ับช่องท่ีส่ีรายจ่าย เพือ่ บนั ทกึ จำนวนเงินท่ีจ่ายออกไป และช่องสุดท้ายยอดคงเหลือ
เปน็ ช่องสรุปยอดเงนิ คงเหลือในแต่ละวัน
การจดั ทำบัญชคี รวั เรือน มีขน้ั ตอนดังต่อไปนี้
1. แยกประเภทของรายได้ และค่าใช้จ่าย แต่ละประเภทออกมา อาจใช้สมุดบัญชีที่มีขายตามร้าน
ทัว่ ไป หรอื หาสมุดมาตเี สน้ แบ่งออกเปน็ แถวในแนวตงั้ และแนวนอน เพื่อจดรายการ
2. กำหนดรหสั ประเภทของรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เพ่ือใชส้ รปุ ประเภทของค่าใชจ้ า่ ย
3. เริ่มจากยอดเงินสดยกมา หรือ เงินทนุ ตงั้ ต้นแล้ว บวกดว้ ยรายได้ หกั ด้วยค่าใชจ้ า่ ย และแสดงยอด
คงเหลือไว้
4. นำรายการที่เป็นบัญชีประเภทเดียวกัน รวมยอดเข้าด้วยกันแล้วแยกไปสรุปไว้ต่างหาก โดยสรุป
ยอดตามแตต่ ้องการ เช่น เปน็ รายวัน รายสปั ดาห์ รายปกั ษ์ หรือรายเดือน เปน็ ต้น
-46-
หลกั การบันทกึ ทางบญั ชี
หลักการบันทึกบัญชีครัวเรือนคืออาจจะเริ่มจากการมองรวมภาพใหญ่ก่อนว่าในเดือนหนึ่งๆ หรือ
ปีหน่งึ ๆ มีรายการอะไร ดังน้ี
1. รายการค่าใช้จ่ายใหญ่ๆ อะไรบ้าง ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น หรือเงินค่าเรียนหนังสือบุตร หรือเงินค่า
วัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น ค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์พืช และมีรายการย่อยๆ ที่เกิดประจำวันอะไรบ้าง เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ
ค่าไฟฟา้ (คา่ สาธารณปู โภค) คา่ น้ำมัน เงินทำบุญทอดกฐนิ ทอดผา้ ปา่ เป็นต้น
2. หนี้สินก็เป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่เป็นภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต ได้แก่ ค่าดอกเบ้ีย
เงินที่ไปกู้และต้องใช้คืนรายเดือนหลายปี จากการกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน จากกองทุน หรือธนาคารตา่ งๆ หรือการซ้ือ
ของดว้ ยเงนิ เช่อื การดว้ ยเครดิต หรอื ด้วยเงนิ ผอ่ นชำระหรอื การเช่าซือ้ การจำนำ จำนอง ขายฝาก เป็นต้น
3. เงินคงเหลือ คือ เงินหรือทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว ถ้ารายรับ
มากกว่ารายจ่าย จะเกิดเงินคงเหลือหรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า “กำไร” แต่หากหลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว
พบว่ารายจา่ ยมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือตดิ ลบหรอื ทางบัญชีเรยี กวา่ “ขาดทนุ ” น่นั เอง
วนั /เดอื น/ปี รายการ รายรับ รายจา่ ย คงเหลอื
30/6/2553 ยอดยกมา 8,000
31/7/2553 ได้รับเงินเดอื น
รับเงินจากรบั จา้ งทำอาหารขาย
ค่าอาหาร 30,000 600
จา่ ยเงนิ ลูกไปโรงเรียน (80x22 วัน) 1,760
จา่ ยคา่ ดอกเบ้ยี เงินต้นและเงนิ ก้บู างสว่ น 18,000
คา่ น้ำมันรถและทางด่วน (120x22 วัน) 2,640
คา่ อาหาร 2,500
จ่ายคา่ นำ้ 220
จา่ ยค่าไฟฟ้า 1,600
ซ้อื ของใชใ้ นบ้าน 500
34,000 27,820 6,180
ตารางท่ี 3.6 ตัวอยา่ ง บญั ชี รายรบั -รายจา่ ยภายในครวั เรอื น เดือนกรกฎาคม 2553
ตวั อยา่ งแบบฟอรม์ บันทกึ รายรับรายจ่ายครวั เรือน
ครวั เรอื นที่ ….... ชือ่ ครวั เรือน …………………….หมูท่ ี…่ ... บา้ น ............ ตำบล ....…..............................…..
อำเภอ ……........….จังหวดั ……………….บนั ทกึ ในเดือน ...........................พ.ศ………..............................……
รายรบั จำนวนเงิน
1. ขายผลิตจากการทำนา ทำไร่ฯ
2. ขายสัตว์เลย้ี ง เชน่ หมู วัว เป็ด ไกฯ่