The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS 32210
โดย
1.นายนวพล วารีบริสุทธิกุล ม.5/4 เลขที่ 3
2.น.ส.ธนาภรณ์ สีสถาน ม.5/4 เลขที่ 21
3.น.ส.พีรญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขที่ 22
4.น.ส.ปุษาบุล จันทร์เกตุ ม.5/4 เลขที่ 23
5.น.ส.พิชญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขที่ 24
6. น.ส.ธัญพิมล พรหมภัทรา ม.5/4 เลขที่ 26

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 2546apec, 2021-03-22 11:04:50

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS 32210
โดย
1.นายนวพล วารีบริสุทธิกุล ม.5/4 เลขที่ 3
2.น.ส.ธนาภรณ์ สีสถาน ม.5/4 เลขที่ 21
3.น.ส.พีรญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขที่ 22
4.น.ส.ปุษาบุล จันทร์เกตุ ม.5/4 เลขที่ 23
5.น.ส.พิชญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขที่ 24
6. น.ส.ธัญพิมล พรหมภัทรา ม.5/4 เลขที่ 26

การศึกษาคน้ ควา้ ด้วยตนเอง (Independent Study : IS)

เร่ือง การศึกษาปัจจัยท่ีส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษาของนักเรียน
ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ 5 หอ้ ง 4 โรงเรียนวดั นวลนรดศิ กรงุ เทพมหานคร

นายนวพล วารีบริสุทธิกุล ม.5/4 เลขท่ี 3
นางสาวธนาภรณ์ สีสถาน ม.5/4 เลขท่ี 21
นางสาวพีรญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขที่ 22
นางสาวปุษาบุล จันทร์เกตุ ม.5/4 เลขที่ 23
นางสาวพิชญา จันทร์เขียว ม.5/4 เลขท่ี 24
นางสาวธัญพิมล พรหมภัทรา ม.5/4 เลขที่ 26

เสนอ
คุณครูอรวรรณ บุญเพ็ง

ครูที่ปรึกษา

โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1



การศกึ ษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)
เร่ือง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน

ชั้นมธั ยมศึกษาปที ่ี 5 หอ้ ง 4 โรงเรยี นวัดนวลนรดศิ กรุงเทพมหานคร

นายนวพล วารบี รสิ ทุ ธิกุล ม.5/4 เลขท่ี 3

นางสาวธนาภรณ์ สสี ถาน ม.5/4 เลขท่ี 21

นางสาวพรี ญา จนั ทร์เขียว ม.5/4 เลขท่ี 22

นางสาวปุษาบลุ จนั ทรเ์ กตุ ม.5/4 เลขที่ 23

นางสาวพิชญา จันทรเ์ ขียว ม.5/4 เลขท่ี 24

นางสาวธัญพิมล พรหมภัทรา ม.5/4 เลขที่ 26

เสนอ
คณุ ครูอรวรรณ บุญเพง็

ครูทปี่ รึกษา

โรงเรยี นวดั นวลนรดิศ
สำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษามธั ยมศึกษา เขต 1



บทคัดย่อ

เรื่อง : การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4

โรงเรยี นวัดนวลนรดิศ กรงุ เทพมหานคร

ชื่อนักเรียน : 1. นายนวพล วารบี รสิ ทุ ธกิ ลุ

2. นางสาวธนาภรณ์ สสี ถาน

3. นางสาวพรี ญา จนั ทรเ์ ขียว

4. นางสาวปษุ าบลุ จันทรเ์ กตุ

5. นางสาวพชิ ญา จันทรเ์ ขียว

6. นางสาวธญั พิมล พรหมภัทรา

ช่ือครูท่ีปรึกษา : คณุ ครอู รวรรณ บุญเพ็ง

โรงเรียน : โรงเรียนวัดนวลนรดศิ

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่องนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ห้อง 4 แผนการเรยี น วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพวิ เตอร์ โรงเรยี นวดั นวลนรดิศ กรงุ เทพมหานคร
2) เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4
แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
และนำไปปรับปรุงตอ่ ไป และ 3) เพอ่ื พฒั นาแนวทาง ในการจดั การเรียน การสอนของผ้เู รยี นชน้ั มธั ยมศึกษา
ปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
กรุงเทพมหานคร อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิ
ทางการศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก ( X̅ = 3.66) คิดเป็นร้อยละ 73.19 เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อพบวา่ ทุกข้อจะอยใู่ นระดับปานกลาง ถงึ มาก

โดยเมื่อเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ในด้านที่ 3 ปัจจัยด้านครอบครัว ( ̅X = 3.98) คิดเป็นร้อยละ
79.63 ด้านที่ 4 การปรับตัวในการเข้าศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ( ̅X = 3.90) คิดเป็นร้อยละ 77.96
เมื่อพิจารณาทั้ง 2 ด้านแล้วพบว่าทั้ง 2 ด้านอยู่ในระดับพอใจมาก ตามลำดับ และในด้านท่ี 1
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ( X̅ = 3.37) คิดเป็นร้อยละ 67.41 และด้านที่ 2 เรื่อง ทัศนคติและนิสัยในการเรียน
( ̅X = 3.39) คิดเปน็ รอ้ ยละ 67.78 เมอ่ื พจิ ารณาทัง้ 2 ดา้ นแลว้ พบวา่ ทงั้ 2 ดา้ นอย่ใู นระดบั พอใจปานกลาง



กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่องนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความชว่ ยเหลืออย่างสูงยิ่งจากบุคคลต่อไปนี้ คุณครูอรวรรณ บุญเพ็ง
ครูที่ปรึกษา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร ครูผู้ให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และครูผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ การเขียนรายงาน
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และครูผู้ที่พิจารณาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยวางรากฐานการจัด
ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใหก้ ับนักเรยี น และผ้อู ำนวยการโรงเรยี นวัดนวลนรดิศ ทีไ่ ดใ้ หก้ ารสนับสนุน
และสง่ เสริมการทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และขอขอบพระคณุ ทกุ ท่านมา ณ โอกาสนี้

คุณค่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานเล่มนี้ คณะผู้จัดทำขอน้อมรำลึกและบูชาพระคุณแก่
บุพการีของคณะผู้จัดทำ รวมทั้งบูรพาจารย์ทุกท่านที่อยู่เบื้องหลังในการวางรากฐานการศึกษาให้กับ
คณะผู้จัดทำต้งั แต่อดีตถงึ ปัจจุบัน

ค หนา้

สารบัญ ข

เรือ่ ง ง
บทคดั ยอ่ จ
กิตตกิ รรมประกาศ ฉ
สารบัญ ช
สารบัญ (ตอ่ ) ซ
สารบญั ภาพ
สารบัญตาราง 1
สารบญั แผนภมู ิ 2
สารบญั แผนภมู ิ (ตอ่ ) 2
บทท่ี 1 บทนำ 2
1.1 ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา 3
1.2 วัตถุประสงค์
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 5
1.4 ขอบเขตของการศึกษา 8
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 15
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยทเี่ กย่ี วข้อง 18
2.1 ทฤษฎีความหมายของสติปัญญา 21
2.2 ทฤษฎีความหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 25
2.3 ทฤษฎีความหมายของทักษะ 29
2.4 ทฤษฎีความหมายของศตวรรษที่ 21 37
2.5 ทฤษฎีความหมายของกระทรวงศึกษาธิการ 49
2.6 ทฤษฎีความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
2.7 ทฤษฎีความหมายของยุคโลกาภิวัตน์ 54
2.8 ทฤษฎีความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.9 ทฤษฎีความหมายของผู้เรียน หรือ นักเรียน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์
คณติ ศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเรยี นวัดนวลนรดิศ กรงุ เทพมหานคร
2.10 งานวิจัยที่เก่ียวข้อง

ง หนา้

สารบัญ (ต่อ) 57
57
เรื่อง 57
บทท่ี 3 วธิ ดี ำเนนิ การทดลอง 57
3.1 ระเบียบวิธีท่ีใช้ในการศึกษา 60
3.2 ประชากรท่ีใช้ในการศึกษา 61
3.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 61
3.4 วิธีการดำเนนิ งาน 61
3.5 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล 62
3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.8 สถิติท่ีใช้ในการศึกษา 68
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 68
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 69
บทท่ี 5 สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 70
5.1 สรุปผลผลการศึกษา
5.2 การอภิปรายผล 73
5.3 ข้อเสนอแนะ 77
บรรณานุกรม 88
ภาคผนวก
ก แบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
ข ผลสรุปรวมการตอบแบบสอบถาม
ประวัติผู้สร้างสรรค์ผลงาน

จ หน้า
21
สารบัญภาพ 26
31
ภาพที่ 2.1 แนวคดิ สำคัญในศตวรรษที่ 21 34
ภาพท่ี 2.2 ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต้ังแต่ยุคโบราณ 36
ภาพที่ 2.3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลาต่าง ๆ
ภาพที่ 2.4 ภาพแบบจำลองห้องเรียนในอนาคต (Future Classroom)
ภาพท่ี 2.5 แบบจำลอง (Model) ห้องเรียนในอนาคตจากการวิจัย



สารบัญตาราง

ตารางท่ี 2.1 การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน กับ หลังเรียน หนา้
ตารางท่ี 2.2 การสรุประดับผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชารายภาค 44
ตารางท่ี 2.3 การวัดและประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 45
ตารางท่ี 2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 46
ตารางที่ 2.5 การวัดและประเมินผลดา้ นคณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์/สมรรถนะสำคญั ของผเู้ รยี น 46
ตารางท่ี 2.6 โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ 47
50
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ปกี ารศึกษา 2563 – 2564 หอ้ งเรียนท่ี 4 ชนั้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 4
ตารางท่ี 2.7 (ต่อ) โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ 51

โรงเรียนวดั นวลนรดิศ ปีการศึกษา 2563 – 2564 หอ้ งเรียนที่ 4 ช้ันมัธยมศกึ ษาปที ี่ 4 52
ตารางที่ 2.8 โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์
53
โรงเรียนวดั นวลนรดิศ ปกี ารศึกษา 2563 – 2564 หอ้ งเรยี นที่ 4 ชนั้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 5
ตารางท่ี 2.9 (ต่อ) โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ 53

โรงเรยี นวดั นวลนรดศิ ปกี ารศึกษา 2563 – 2564 ห้องเรียนท่ี 4 ชั้นมธั ยมศึกษาปที ่ี 5 54
ตารางท่ี 2.10 โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์
58
โรงเรยี นวัดนวลนรดิศ ปกี ารศึกษา 2563 – 2564 ห้องเรียนท่ี 4 ชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 6 59
ตารางที่ 2.11 (ต่อ) โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ 60
62
โรงเรยี นวดั นวลนรดศิ ปีการศึกษา 2563 – 2564 ห้องเรยี นที่ 4 ช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ 6 63
ตารางที่ 3.1 แผนปฏิบัติงานและระยะเวลาดำเนินการ 64
ตารางท่ี 3.2 (ต่อ) แผนปฏิบัติงานและระยะเวลาดำเนินการ
ตารางท่ี 3.3 การพิจารณาค่าเฉล่ีย จะใช้เกณฑ์
ตารางที่ 4.1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางท่ี 4.2 ค่าเฉลี่ย ร้อยละ MAX MIN ระดับเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนที่ตอบแบบสอบถาม
ตารางท่ี 4.3 ค่าเฉล่ีย ร้อยละ MAX MIN ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อปัจจัยท่ีมี

ผลกระทบตอ่ การเรียน



สารบัญแผนภูมิ

หน้า

แผนภูมิที่ ข.1 เพศของนักเรียนผ้ตู อบแบบสอบถาม 78

แผนภมู ทิ ่ี ข.2 อายขุ องนกั เรยี นผู้ตอบแบบสอบถาม 78

แผนภมู ิท่ี ข.3 เกรดเฉล่ีย ม.4 เทอม 1ของนกั เรียนผู้ตอบแบบสอบถาม 79

แผนภูมิท่ี ข.4 เกรดเฉลย่ี ม.4 เทอม 2 ของผู้เรยี นผู้ตอบแบบสอบถาม 79

แผนภมู ทิ ี่ ข.5 ความคิดเห็นของผู้เรียนวา่ “เมอ่ื นักเรียน ทราบว่า ตนมผี ลการเรยี น 80

อ่อนด้อยกวา่ เพ่ือนจะพยายามตง้ั ใจเรยี นใหม้ ากข้ึน”

แผนภูมทิ ่ี ข.6 ความคดิ เห็นของผู้เรยี นว่า “มีความตง้ั ใจและเอาใจใส่ในการเรียนร้”ู 80

แผนภูมทิ ี่ ข.7 ความคิดเหน็ ของผู้เรยี นวา่ “การวางแผนการเรียน มกี ารอา่ นหนงั สือก่อนเรยี น 81

ในแตล่ ะคร้ัง”

แผนภูมิที่ ข.8 ความคิดเหน็ ของผู้เรียนวา่ “ความรับผิดชอบในการเรยี น มีการทำการบา้ นหรือ 81

งานท่ไี ด้รับมอบหมายสง่ ตรงต่อเวลา”

แผนภมู ทิ ี่ ข.9 ความคดิ เหน็ ของผู้เรียนวา่ “นกั เรยี นใช้เวลาวา่ งใหเ้ ป็นประโยชน์โดยอา่ นหนงั สอื 82

หรือทบทวนบทเรยี น”

แผนภูมิท่ี ข.10 ความคิดเหน็ ของผเู้ รียนว่า “มีการขอคำปรึกษาหลังเรยี นหากไม่เข้าใจในเน้ือหา 82

ท่เี รียนกับครผู ู้สอนหรือเพือ่ นภายในห้องเรยี น”

แผนภูมิที่ ข.11 ความคิดเห็นของผู้เรยี นวา่ “นักเรยี นรู้สึกสนกุ และมคี วามสขุ ในการเรียนวิชาตา่ ง ๆ” 83

แผนภมู ิท่ี ข.12 ความคดิ เหน็ ของผเู้ รยี นวา่ “นักเรยี นรสู้ กึ ชอบเม่ือครผู ู้สอน มีการซกั ถามในช้ันเรยี น” 83

แผนภูมิที่ ข.13 ความคดิ เห็นของผเู้ รยี นว่า “นักเรยี นจะไม่ขาดเรยี นถา้ ไม่มีความจำเปน็ หรอื 84

เจ็บป่วย”

แผนภมู ทิ ี่ ข.14 ความคิดเห็นของผู้เรียนว่า “ครอบครัว ผู้ปกครองสนับสนุนด้านการเงินอย่างสม่ำ- 84

เสมอทำให้นกั เรียนมีกำลงั ใจและต้งั ใจในการเรยี น”

แผนภมู ทิ ี่ ข.15 ความคดิ เหน็ ของผเู้ รยี นวา่ “ครอบครวั ผปู้ กครอง สนับสนุนดา้ นการเงินแก่นักเรยี น 85

จึงทำให้นกั เรียนมีเวลากับการเรียนอย่างเต็มท”่ี

แผนภมู ิที่ ข.16 ความคิดเหน็ ของผเู้ รียนว่า “ครผู ู้สอนมีทกั ษะในการสอนให้นักเรยี นเกิดกระบวน 85

การเรยี นรูอ้ ยา่ งดี

แผนภมู ิท่ี ข.17 ความคดิ เหน็ ของผู้เรยี นวา่ “มีการจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนท่ีหลากหลายทำ 86

ให้เข้าใจเน้ือหาวิชาอยา่ งชัดเจน”



สารบัญแผนภูมิ (ต่อ)

หนา้

แผนภูมิที่ ข.18 ความคดิ เห็นของผู้เรยี นว่า “เพอ่ื น ๆ ในห้องมีความเอ้อื เฟื้อเผอื่ แผ่ ซึง่ กนั และกัน 86
และใหค้ ำปรึกษาปญั หาตา่ ง ๆ” 87

แผนภูมทิ ่ี ข.19 ความคิดเห็นของผเู้ รียนว่า “นกั เรียนสามารถทำงานรว่ มกบั ผอู้ ืน่ ๆ ได้ ทำใหง้ าน 87
ทไ่ี ด้รบั รบั มอบมาย สำเรจ็ ลลุ ว่ งตามกำหนดและมกี ารเสรมิ การเรียนรู้ด้วยการแลก
เปล่ยี นเรียนรซู้ ึ่งกนั และกัน”

แผนภมู ทิ ี่ ข.20 ข้อเสนอแนะของผตู้ อบแบบสอบถาม

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเปน็ มา และความสำคญั ของปัญหา

การศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาเยาวชนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความคิด
บุคลิกภาพและช่วยให้เยาวชนมีความสำเร็จในชีวิต ทุกประเทศจึงหาทางส่งเสริมการศึกษาให้มีคุณภาพ
มีมาตรฐานความเป็นเลิศ ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มีจุดมุ่งหมายในการจั ด
การศกึ ษา ดังทม่ี าตรา 6 กลา่ วไว้ว่า “การจดั การศึกษาตอ้ งเป็นไปเพ่อื พฒั นาคนไทยให้เปน็ มนษุ ย์ที่ สมบูรณ์
ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จากสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”
แห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) จึงได้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนา
คุณภาพคนในสังคมไทยให้มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทันให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย
สติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่าง
มั่นคง แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ
พร้อมทั้ง มีสมรรถนะ ทักษะ และความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนา
ประเทศแบบยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549) ซึ่งแนวทาง
ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษ
ท่ี 21 โดยมงุ่ สง่ เสริมใหผ้ ้เู รียนมคี ุณธรรม รักความเปน็ ไทย มที กั ษะการคิด วิเคราะห์ คดิ สรา้ งสรรค์ มีทักษะ
ด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โลกได้อย่างสันติ
(กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2551)

ระบบการศึกษาในประเทศไทยในแต่ละโรงเรียนก็จะมีหลักสูตร หรือแผนการเรียนที่แตกแตกต่าง
กนั ไป แต่ล้วนแลว้ จะสอดคล้องกบั พระราชบญั ญตั ิการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี ยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อผลิตกำลังคนระดับ ฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญในทักษะวิชาชีพ
มีคุณธรรม วนิ ัย เจตคติ บุคลกิ ภาพ และเป็นผูม้ ีปัญญาท่ีเหมาะสม สามารถนำไปใชใ้ นการประกอบอาชีพได้
ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับ ภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชุมชน ระดับ
ท้องถิ่นและระดับชาติ โดยเปิดโอกาสให้ผูเ้ รียนเลือกระบบ และวิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ
ความสนใจและโอกาสของตน ส่งเสริมการประสานความ ร่วมมือในการจัดการศึกษาและพัฒนา หลักสูตร
ร่วมกนั ระหว่างสถาบนั หน่วยงาน และองคก์ รตา่ ง ๆ ทั้งใน ระดับชาติ ท้องถนิ่ และชมุ ชนจากปญั หาดงั กล่าว
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งที่เริ่มใช้ แผนการเรียน วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการจัดการเรียนการสอน ที่ผ่านมา

2

โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ได้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ในปีการศึกษา 256 2 พบว่าผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียน แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ มีผู้สัมฤทธิ์ทางการ
เรียนที่ลดลง

ดังนั้นรายงานการศึกษาการค้นคว้าด้วยตัวเองฉบับเองเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิ
ทางการศึกษาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อ
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เพื่อที่โรงเรียนจะได้นำผลการศึกษามาใช้ เป็นแนวทางใน
การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไป
ตามจดุ ม่งุ หมาย ของหลักสูตรของโรงเรยี น

1.2 วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4
แผนการเรียน วทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพวิ เตอร์ โรงเรียนวดั นวลนรดิศ กรงุ เทพมหานคร

2. เพอ่ื ให้ทราบถึงปัจจัยทีส่ ่งผลต่อผลสัมฤทธท์ิ างการศึกษาของผ้เู รียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 5 หอ้ ง 4
แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
และนำไปปรับปรงุ ต่อไป

3. เพื่อพัฒนาแนวทาง ในการจัดการเรียน การสอนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4
แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
อย่างมปี ระสิทธิภาพ

1.3 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะไดร้ ับจากการวจิ ัย

1. ได้แนวทางในการศึกษาปจั จยั ทส่ี ่งผลต่อผลสัมฤทธทิ์ างการศกึ ษา สง่ ผลให้การศึกษาดีขนึ้
2. ได้ทราบถงึ ปัจจัยและปัญหาท่สี ง่ ผลตอ่ ผลสัมฤทธ์ิ ทางการศกึ ษา
3. ไดท้ ราบถึงปจั จัยท่ีสง่ ผลต่อผลสัมฤทธิท์ างการศึกษาและนำผลการวจิ ัยไปหาแนวทางการพัฒนา
ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของผ้เู รยี นให้มีประสทิ ธภิ าพมากย่ิงขน้ึ

1.4 ขอบเขตของการศกึ ษา

1. ประชากรทใ่ี ช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพวิ เตอร์ โรงเรยี นวดั นวลนรดศิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน

3

2. เนอ้ื หาทใ่ี ชใ้ นการศึกษาในครงั้ น้ี
เนื้อหาที่ใช้ในการศกึ ษาเป็นเนื้อหาทีถ่ ูกเลือกจากปัญหาทีพ่ บในโรงเรียน คือ การศึกษาปัจจยั ที่

ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
กรุงเทพมหานคร

3. ระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการภายใน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง

วันท่ี 31 มีนาคม 2564

1.5 นิยามศพั ท์เฉพาะ

สติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการดึงจริยธรรมของตัวเอง มาใช้ในการควบคุมตนเอง
สร้างความมีระเบียบวินัย สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม คงความซื่อสัตย์ มีความรู้ผิดรู้ถูก
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ โดยความสามารถนี้จำเป็นที่จะต้องการมี
การศึกษาวจิ ัยให้ชัดเจน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ
การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจกั รไทย บญั ญตั ิใหก้ ระทำได้ โดยอาศยั อำนาจตามบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมาย

สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ
และคณุ ลักษณะอนื่ ๆ ทที่ ำใหบ้ ุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกวา่ เพื่อนร่วมงานอน่ื ๆ ในองคก์ ร

ทักษะ หมายถึง พฤติกรรมความคล่องแคล่ง ชำนิชำนาญ ในการแสดงออกซึ่งกระบวนการใด
กระบวนการหนึ่ง หรอื หลายกระบวนการและเป็นการกระทำอยา่ งมีจุดหมายชดั เจนท่ีแน่นอนชดั เจน

ศตวรรษที่ 21 หมายถึง โลกของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เครื่องจักรและหุ่นยนต์ ถูกนำเข้ามาใช้
งานทดแทนแรงงานคน เพราะฉะนั้นเราควรมีทักษะบางอย่างที่เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้
เช่น ทักษะการคิดแบบผู้เชี่ยวชาญและการสื่อสารที่ซับซ้อน ซึ่งจะมีโอกาสมากกว่าคนอื่น เพราะทักษะขั้น
สูงเหล่าน้เี ครื่องจักรไม่สามารถทำแทนได้

กระทรวงศึกษาธิการ หมายถึง หน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่
ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา
ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมใน
การศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและ
แสดงออกในทางท่เี หมาะสม

4

เทคโนโลยี หมายถงึ สิ่งท่ีมนษุ ย์พฒั นาขน้ึ เพอื่ ช่วยในการทำงานหรอื แก้ปัญหาตา่ ง ๆ เชน่ อุปกรณ์
เคร่ืองมอื เคร่อื งจักร วัสดุ หรอื แมก้ ระท่ังที่ไมไ่ ด้เปน็ สิ่งของที่จับต้องได้ เชน่ กระบวนการตา่ ง ๆ เทคโนโลยี
เปน็ การประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏบิ ัติ แก่มวลมนุษย์
กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เปน็ ข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับ
ปจั จัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซ้ือขาย ส่วนความร้ทู างวทิ ยาศาสตร์ เปน็ สมบตั ิส่วนรวมของ ชาวโลกมี
การเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์เปน็ ฐานรองรบั

ยุคโลกาภิวัตน์ หมายถึง ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี
สารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี
และวัฒนธรรมท่เี ชื่อมโยงระหวา่ งปจั เจกบุคคล ชุมชน หนว่ ยธุรกิจ และรัฐบาล ทวั่ ทงั้ โลก

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียน
ได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและ
ประเมนิ ผล การสร้างเครื่องมือวัดใหม้ ีคุณภาพน้นั

ผู้เรียน หรือ นักเรียน ในที่นี่หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรยี นวดั นวลนรดิศ กรุงเทพมานครคร จำนวน 27 คน

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยท่เี ก่ยี วขอ้ ง

การศึกษาในครั้งน้ี เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาของนักเรียน
ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 5 หอ้ ง 4 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร เพอื่ ศกึ ษาปัจจัยทส่ี ่งผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โรงเรียน
วัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร และนำไปปรับปรุงต่อไป และพัฒนาแนวทาง ในการจัดการเรียน การสอน
ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แ ละคอมพิวเตอร์
โรงเรียนวดั นวลนรดศิ กรงุ เทพมหานคร อย่างมปี ระสิทธภิ าพ โดยทางคณะผจู้ ดั ทำได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎี
และหลักการต่าง ๆ จากเอกสารและงานวิจัยทเี่ กี่ยวข้องดงั ตอ่ ไปน้ี

2.1 ทฤษฎีความหมายของสตปิ ัญญา
2.2 ทฤษฎีความหมายของพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ
2.3 ทฤษฎคี วามหมายของทกั ษะ
2.4 ทฤษฎีความหมายของศตวรรษท่ี 21
2.5 ทฤษฎคี วามหมายของกระทรวงศกึ ษาธิการ
2.6 ทฤษฎคี วามหมายของเทคโนโลยีการศกึ ษา
2.7 ทฤษฎคี วามหมายของยคุ โลกาภิวัตน์
2.8 ทฤษฎคี วามหมายของผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น
2.9 ทฤษฎีความหมายของผู้เรียน หรือ นักเรียน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และคอมพวิ เตอร์ โรงเรียนเรียนวัดนวลนรดศิ กรงุ เทพมหานคร
2.10 งานวจิ ยั ที่เกี่ยวข้อง

2.1 ทฤษฎคี วามหมายของสตปิ ญั ญา

NOVABIZZ.COM (2548) สติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการดึงจริยธรรมของตัวเอง มาใช้
ในการควบคุมตนเอง สร้างความมีระเบียบวนิ ัย สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและสงั คม คงความซื่อสัตย์
มีความรู้ผิดรู้ถูก มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ โดยความสามารถนี้จำเป็น
ที่จะต้องการมีการศึกษาวิจัยให้ชัดเจน โดยได้มีการศึกษาและสรุปเป็นทฤษฎีเกี่ยงข้องกับสติปัญญาหลาย
ทฤษฎแี ตล่ ะทฤษฎีก็พยายามอธิบายสตปิ ัญญาวา่ มีองคป์ ระกอบใดบ้าง

6

1. สเบียร์แมน (Spearman) ผู้ตั้งทฤษฎี 2 องค์ประกอบ ซึ่งสรุปว่าสติปัญญา
ประกอบดว้ ย 2 องคป์ ระกอบไดแ้ ก่

1) องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ G factor) คือ ความสามารถพื้นฐาน
ในการกระทำต่าง ๆ ทีท่ กุ คนต้องมี

2) องคป์ ระกอบเฉพาะ (Specific factor หรือ s factor) คือ ความสามารถเฉพาะท่ี
แต่ละคนมีแต่ต่างออกไป หรือเรยี กกนั ว่าความถนดั หรือพรสวรรค์

2. เธอร์สโตน (Thurstone) เจ้าของทฤษฏีหลายองค์ประกอบ แยกองค์ประกอบของ
สติปัญญามนุษยอ์ อกเป็น 7 ด้านไดแ้ ก่

1) ด้านความเขา้ ใจในภาษา (Verbal comprehension)
2) ด้านความคลอ่ งแคล่วในการใช้ถ้อยคำ (Word fluency)
3) ดา้ นตวั เลข การคดิ คำนวณทางคณติ ศาสตร์ (Number)
4) ดา้ นมิติสัมพนั ธ์ การรบั ร้รู ูปทรง ระยะ พืน้ ท่ี ทิศทาง (Spatial)
5) ด้านความจำ (Memory)
6) ดา้ นความรวดเรว็ ในการรบั รู้ (Perceptual speed)
7) ด้านการใหเ้ หตผุ ล (Reasoning)
3. สเทิร์นเบอร์ก (Sternberg. 1985 : 342 - 344) ผู้คิดทฤษฎีสามศรเสนอว่า
องค์ประกอบของสตปิ ัญญามี 3 องคป์ ระกอบอธบิ ายเปน็ 3 ทฤษฎียอ่ ยดงั น้ี
1) ทฤษฎีย่อยด้านสิ่งแวดล้อม (Contextual subtheory) เป็นความสามารถทาง

สติปัญญาในการเลือกสิ่งแวดล้อม ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดลอ้ มและการปรับแตง่
สิง่ แวดลอ้ มใหเ้ ข้ากบั สภาพของตน
2) ทฤษฎยี ่อยด้านประสบการณ์ (Experiential subtheory) เปน็ ความสามารถทาง
สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแปลกใหม่ และความคล่องแคล่วในการจัดลำดับ
ข้ันตอนตา่ ง ๆ
3) ท ฤ ษ ฎ ี ย ่ อ ย ด ้ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร ค ิ ด ( Componential subtheory) เ ป็ น
ความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรู้ความคิดของตนเอง การปฏิบัติ
ตามความคดิ และดา้ นการแสวงหาความรู้
4 การ์ดเนอร์ (Gardner) เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ซึ่งสรุปว่า
สตปิ ญั ญาประกอบไปด้วย ความสามารถทแ่ี สดงออกในรูปของทักษะ 7 ด้านไดแ้ ก่
1. สติปญั ญาด้านดนตรี (Music intelligence)
2. สติปัญญาดา้ นการเคลอื่ นไหวรา่ งกาย (Bodily kinesthetic intelligence)
3. สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ (Logical – mathematical
intelligence)

7

4. สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
5. สตปิ ัญญาดา้ นมิติสมั พนั ธ์ (Spatial intelligence)
6. สตปิ ญั ญาดา้ นสมั พนั ธภาพกบั ผู้อ่นื (Interpersonal intelligence)
7. สติปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
2.1.1 สงิ่ ทม่ี อี ทิ ธพิ ลต่อสติปัญญา

1. พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางสายพันธ์จากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน
ซง่ึ พิจารณาไดจ้ าก ระดบั ของสติปญั ญา เพศ วยั และเช้ือชาติ

2. สงิ่ แวดลอ้ ม สิ่งแวดล้อมท่มี ีผลต่อสติปัญญานัน้ เร่ิมตงั่ แต่การปฏสิ นธิ จนถึงการ
เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ ความพร้อมในการตั้งครรภ์ อาหาร โรคภัยไข้เจ็บ
การประสบอุบัติเหตุ การอบรมเลี้ยงดู ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครวั การจัดสิ่งแวดล้อมหรือเงือ่ นไขใน
การเรยี นรู้

2.1.2 การวัดสติปัญญา เป็นการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดสติปัญญาว่าอยู่ในระดับใด
ประเภทของแบบทดสอบจำแนกออกเปน็ 2 ประเภทตามลกั ษณะการใช้ ไดแ้ ก่

1. แบบทดสอบรายบุคคล ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยไดแ้ ก่
1) แบบทดสอบสติปัญญาของสแตนฟอร์ด - บิเนท์ (Stanford - Binet
Intelligence Scale) ใช้วัดเพื่อแยกเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญาออก
จากเด็กปกติ แบบทดสอบประกอบด้วยแบบทดสอบชุดย่อย ๆ
ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ (Judgment) การหาเหตุผล (Reasoning)
และความเข้าใจ (Comprehension)
2) แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler Scales) ใช้วัดระดับ
สติปญั ญาของบุคคลในวยั ต่าง ๆ ซง่ึ แบง่ เป็น 3 ชดุ ได้แก่
(1) Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence
ใช้กบั เด็กอายุ 4 - 6 ปี
(2) Wechsler Intelligence Scale for Children-Revise (WISC-R)
ใช้ทดสอบเดก็ อายุ 6 - 16 ปี
(3) Wechsler Adult Intelligent Scale (WAIS) ใช้ทดสอบบุคคล
อายุ 16 - 75 ปี

2. แบบทดสอบเป็นกลุ่ม ใช้ในการทดสอบพร้อมกันเป็นกลุ่ม ที่ใช้ในประเทศ
ไทย จะเป็นแบบทดสอบเชาว์ปัญญาวัฒนธรรมเสมอภาค เพราะใช้ได้
กับบุคคลทุกชาติ ทุกภาษา และทุกวัฒนธรรม เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้
ภาษาถอ้ ยคำได้แก่ แบบทดสอบโปรเกสสพี เมตริคส์ของ Raven

8

2.2 ทฤษฎีความหมายของพระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติ

ILP.KKU.AC.TH (2542) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง พระราชบัญญัตินี้มี
บทบัญญัติบางประการเกีย่ วกับการจำกดั สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยทเี่ ป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29
ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ
ยนิ ยอมของรฐั สภา ดังตอ่ ไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญตั ินี้เรยี กวา่ “พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา -
นเุ บกษา เป็นตน้ ไป
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งอื่นในส่วนที่
ได้บัญญัติไว้ แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราช -
บญั ญตั ินแี้ ทน
มาตรา 4 ในพระราชบญั ญตั นิ ี้

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจรญิ งอกงามของบุคคลและ
สังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง
ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และ
ปัจจัยเกื้อหนนุ ใหบ้ คุ คลเรยี นรอู้ ย่างตอ่ เนอื่ งตลอดชวี ติ

การศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน หมายความว่า การศกึ ษาก่อนระดบั อดุ มศกึ ษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่าง
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
อยา่ งต่อเน่ืองตลอดชีวิต
สถานศกึ ษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรยี น ศนู ย์การเรียนวิทยาลัย
สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่
หรือมีวตั ถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่
พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักใน

9

การเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจ - สอบ การประเมินผล และการประกัน
คุณภาพทางการศกึ ษา

การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง
หรอื โดยหน่วยงานตน้ สงั กัดท่มี ีหนา้ ท่ีกำกับดแู ลสถานศึกษาน้นั

การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพ่อื เป็นการประกนั คุณภาพและใหม้ ีการพฒั นาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผูส้ อน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศกึ ษาระดบั ต่าง ๆ
ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียน การสอนและ
การสง่ เสริมการเรยี นรู้ของผเู้ รียนด้วยวธิ ีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทงั้ ของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและ
การวิจัยในสถานศึกษาระดบั อดุ มศึกษาระดบั ปรญิ ญาของรฐั และเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหาร
สถานศึกษาแต่ละแหง่ ทัง้ ของรฐั และเอกชน
ผู้บรหิ ารการศกึ ษา หมายความวา่ บคุ ลากรวิชาชีพทีร่ ับผดิ ชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศกึ ษาตง้ั แต่ระดบั เขตพ้ืนท่ีการศึกษาข้นึ ไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
รวมท้งั ผ้สู นบั สนนุ การศึกษาเป็นผู้ทำหน้าท่ใี ห้บริการ หรอื ปฏบิ ตั งิ านเกย่ี วเนอื่ งกับการจดั กระบวนการเรียน
การสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหนว่ ยงานการศกึ ษาต่าง ๆ
กระทรวง หมายความว่า กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ศาสนา และวัฒนธรรม
รัฐมนตรี หมายความวา่ รฐั มนตรผี รู้ ักษาการตามพระราชบัญญัตนิ ้ี
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รักษาการตาม
พระราชบัญญัติน้ี และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม
พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ใหใ้ ช้บังคับได้
2.2.1 หมวด 3 ระบบการศึกษา
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอธั ยาศัย

10

1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา
หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ของการสำเรจ็ การศกึ ษาท่ีแนน่ อน

2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด
จุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัด
และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนอื้ หาและหลักสตู รจะต้องมีความเหมาะสมสอดคลอ้ งกับสภาพปัญหา
และความต้องการของบุคคลแตล่ ะกล่มุ

3. การศกึ ษาตามอธั ยาศัย เป็นการศึกษาท่ใี ห้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตาม
ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล
ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดลอ้ มสื่อหรือแหล่งความรูอ้ ่ืน ๆ
(1) สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสาม
รูปแบบกไ็ ด้
(2) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบ
เดียวกันหรือตา่ งรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษา
เดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ
ตามอัธยาศยั การฝกึ อาชพี หรอื จากประสบการณก์ ารทำงาน

มาตรา 16 การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษา
ระดับอดุ มศกึ ษา

1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปี
กอ่ นระดบั อุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ใหเ้ ป็นไปตามทก่ี ำหนดในกฎกระทรวง

2. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา
และระดบั ปรญิ ญา

การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้
เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด
เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ภาคบังคับ หลกั เกณฑ์และวธิ กี ารนับอายใุ ห้เปน็ ไปตามท่ีกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวยั และการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานให้จัดในสถานศึกษาดังต่อไปน้ี

11

1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะ
แรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนา
เดก็ ปฐมวัยทเ่ี รียกชื่ออยา่ งอืน่

2. โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัด
สถาบนั พทุ ธศาสนาหรือศาสนาอ่นื

3. ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน
บุคคล ครอบครัวชุมชน องคก์ ร ชมุ ชน องคก์ รปกครองสว่ นท้องถ่ิน องค์กร
เอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล
สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอ่นื เป็นผจู้ ัด

มาตรา 19 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาลัย
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
กฎหมายว่าดว้ ยการจัดต้ังสถานศกึ ษานั้น ๆ
และกฎหมายท่เี กี่ยวขอ้ ง

มาตรา 20 การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ
สถานศกึ ษาของเอกชน สถานประกอบการ หรอื โดยความรว่ มมือระหว่างสถานศกึ ษากับสถานประกอบการ
ทง้ั น้ใี ห้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชวี ศึกษาและกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง

มาตรา 21 กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัด
การศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้ โดยคำนึงถึงนโยบาย
และมาตรฐานการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขทก่ี ำหนดในกฎกระทรวง

2.2.2 หมวด 4 แนวการจัดการศกึ ษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา

ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามาร
พฒั นาตามธรรมชาติและเต็มตามศกั ยภาพ

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดบั การศึกษาในเร่ืองต่อไปน้ี

1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับ
สังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกบั
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ท์ รงเปน็ ประมุข

12

2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความ
เข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้
ประโยชนจ์ ากทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ มอยา่ งสมดุลยงั่ ยืน

3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และ
การประยกุ ต์ใช้ภูมิปญั ญา

4. ความรู้ และทกั ษะด้านคณิตศาสตร์ และดา้ นภาษา เน้นการใช้ภาษาไทย
อย่างถูกตอ้ ง

5. ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมี
ความสุข

มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการ ดังตอ่ ไปน้ี

1. จัดเนือ้ หาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกบั ความสนใจและความถนัดของ
ผู้เรยี นโดยคำนงึ ถึงความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล

2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการ
ประยกุ ต์ความรู้มาใชเ้ พื่อปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา

3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ
ใหท้ ำได้ คดิ เปน็ ทำเป็น รกั การอ่านและเกิดการใฝ่ร้อู ยา่ งต่อเนื่อง

4. จัดการเรยี นการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ดา้ นตา่ ง ๆ อย่างได้สดั ส่วน
สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึง
ประสงคไ์ วใ้ นทกุ วิชา

5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการ
เรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมี
ความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
เรียนรู้ ทั้งน้ี ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการ
สอนและแหล่งวทิ ยาการประเภทตา่ ง ๆ

6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ
กับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนา
ผ้เู รยี นตามศกั ยภาพ

มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทุกรูปแบบได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่น
อย่างพอเพียงและมปี ระสทิ ธภิ าพ

13

มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของ
ผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่
ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแตล่ ะระดบั และรปู แบบการศึกษา ใหส้ ถานศึกษาใช้
วิธีการทห่ี ลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเขา้ ศึกษาต่อ และให้นำผลการประเมนิ ผู้เรียนตามวรรคหน่ึงมา
ใชป้ ระกอบการพจิ ารณาดว้ ย

มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจน
เพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งใน
สว่ นทีเ่ กย่ี วกับสภาพปัญหาในชมุ ชนและสงั คม ภมู ปิ ญั ญาท้องถิ่น คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์เพือ่ เปน็ สมาชิก
ที่ดีของครอบครวั ชุมชน สงั คม และประเทศชาติ

มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตาม
มาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งน้ี ให้จัดตามความเหมาะสมของ
แต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งท่ี
เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดลุ ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดี
งาม และความรบั ผิดชอบต่อสงั คม สำหรบั หลักสตู รการศกึ ษาระดับอดุ มศึกษา นอกจากคณุ ลักษณะในวรรค
หนึ่งและวรรคสองแล้วยังมีความ มุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวชิ าการ วิชาชีพชัน้ สูงและการคน้ คว้าวิจัยเพ่อื
พัฒนาองคค์ วามรแู้ ละพฒั นาสังคม

มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคม
อนื่ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจดั กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพ่อื ให้ชมุ ชนมกี ารจัดการศึกษา
อบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา
ชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยน
ประสบการณพ์ ัฒนาระหวา่ งชุมชน

มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง
การสง่ เสริมใหผ้ ู้สอนสามารถวิจยั เพ่ือพฒั นาการเรียนรูท้ เ่ี หมาะสมกบั ผู้เรียนในแต่ละระดบั การศึกษา

2.2.3 หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครูคณาจารย์ และ

บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกำกับและ
ประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อม
และมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง รัฐพึงจัด
สรรงบประมาณและจัดต้ังกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษาอย่างเพยี งพอ

14

มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็น
องค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐาน
วิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพ รวมท้ังการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้ครู ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด การจัดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร
การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกและเพิกถอน
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่บุคลากรทาง
การศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาตามมาตรา 18 (3) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือ
เขตพื้นที่การศึกษาและวิทยากรพิเศษทางการศึกษา ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่คณาจารย์
ผูบ้ ริหารสถานศกึ ษา และผ้บู รหิ ารการศึกษาในระดับอดุ มศึกษาระดบั ปริญญา

มาตรา 54 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ
การบริหารงานบุคคลสเู่ ขตพนื้ ที่การศกึ ษา และสถานศกึ ษา ท้งั นี้ ใหเ้ ปน็ ไปตามที่กฎหมายกำหนด

มาตรา 55 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์
เกื้อกูลอนื่ สำหรับขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษาเพ่ือให้มีรายไดท้ ่ีเพียงพอและเหมาะสมกับฐานะ
ทางสังคมและวิชาชีพ ให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงิน
อุดหนุนงานริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทาง
การศกึ ษา ท้งั นี้ ใหเ้ ป็นไปตามทก่ี ำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐาน
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษา
ระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและ
กฎหมายท่ีเกี่ยวขอ้ ง

มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการ
จดั การศึกษาโดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภมู ปิ ญั ญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้
เพ่อื ใหเ้ กดิ ประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชผู ้ทู ่สี ่งเสริมและสนบั สนุนการจัดการศึกษา

2.2.4 หมวด 9 เทคโนโลยีเพ่อื การศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลืน่ ความถ่ี สื่อตัวนำและโครงสรา้ งพื้นฐานอื่นที่จำเป็นตอ่ การส่ง

วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับ
การศกึ ษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนบุ ำรงุ ศาสนา ศลิ ปะและวฒั นธรรม
ตามความจำเป็น

15

มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือ
ทางวชิ าการ สือ่ สิง่ พิมพอ์ ืน่ วัสดอุ ุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศกึ ษาอ่นื โดยเร่งรัดพัฒนาขดี ความสามารถ
ในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือ
การศกึ ษา ทง้ั นี้ โดยเปดิ ใหม้ ีการแขง่ ขันโดยเสรอี ยา่ งเปน็ ธรรม

มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ

มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธไิ ด้รับการพัฒนาขดี ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยีเพอ่ื การศึกษา
ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวง
หาความรู้ดว้ ยตนเองไดอ้ ยา่ งเนือ่ งตลอดชีวิต

มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิด
การใชท้ ีค่ มุ้ คา่ และเหมาะสมกบั กระบวน-การเรยี นรู้ของคนไทย

มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงิน
อุดหนนุ ของรฐั ค่าสัมปทาน และผลกำไรทไ่ี ด้จากการดำเนนิ กิจการด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ
และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายท่ีเกยี่ วข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทงั้ การให้มีการลด
อัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีการ
จัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามทีก่ ำหนดใน
กฎกระทรวง

มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม
และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของ
การผลติ และการใช้เทคโนโลยีเพอื่ การศกึ ษา

2.3 ทฤษฎคี วามหมายของทกั ษะ

OLD - BOOK.RU.AC.TH (2551) ความหมาย คำว่า “ทักษะ” (Skill) หมายถึง พฤติกรรมความ
คล่องแคลว่ ชำนชิ ำนาญ ในการแสดงออกซ่ึงกระบวนการใดกระบวนการหน่ึง หรอื หลายกระบวนการ และ
เป็นการกระทำอย่างมีจุดหมายที่แน่นอนชัดเจน เช่น เพื่อประกอบหรือปรุงแต่งกระบวนการเรียนการสอน
ใหม้ ีประสิทธิภาพและได้ผลดีย่งิ ขนึ้

ทักษะ อาจหมายถึงพฤติกรรมที่ผ่านการฝึกฝนอบรมให้มีประสบการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดมาแล้ว
และสามารถกระทำตามหลักชิชา หรือขั้นตอนของกระบวนการนั้น ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญจน
บังเกดิ ผลดตี ามจดุ มุง่ หมายได้

16

โดยสรุปแล้ว ทักษะหมายถึงกลไกหรือการกระทำที่ได้มีการใช้ความสามารถพิเศษหรือความชำนิ
ชำนาญเฉพาะตวั เพ่ือให้บรรลตุ ามจุดประสงคอ์ ย่างหน่ึงอย่างใด

เดลินิวส์ (2557) “ทักษะ” (Skill) มากขึ้น ว่าหมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถใน
การกระทำหรอื การปฏิบัติอยา่ งใดอยา่ งหน่ึงซึ่งอาจเป็นทกั ษะด้านร่างกาย สตปิ ัญญา

พจนานุกม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2552) อธิบายว่า “ทักษะ” หมายถึง ความชำนาญมาจาก
คำภาษาอังกฤษว่า Skill นอกจากน้ี คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตรร์ ่วมสมัยยังได้ขยาย
ความของ คำว่า ทักษะ (Skill) มากขึ้นว่าหมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือ
การปฏบิ ัติอย่างใดอย่างหนึ่งซ่ึงอาจเป็นทักษะด้นรา่ งกาย สติปัญญา หรือสงั คม ท่ีเกิดขึน้ จากการฝึกฝนหรือ
การกระทำบ่อย ๆ เช่น ครูมีทักษะการใช้คำถาม การนำเข้าสู่บทเรียนการใช้สื่อการสอน นักเรียนมีทักษะ
การฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดคำนวณหรือทักษะทางสังคม ทักษะที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จใน
การดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยรวมแล้วประกอบด้วย สมรรถน ทักษะ (Hardskill) และจรณทักษะ
[จะระนะ-] (soft skill) บุคคลที่มี จรณทักษะ จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี ส่วนบุคคลที่มี สมรรถนทักษะ
จะเปน็ ผปู้ ฏิบตั ิงานได้เก่ง

สมรรถนทักษะ หมายถึง ทักษะความสมารถในการทำงานที่ได้จากการเรียนรู้หรือการฝึกฝน
วิชาการ วิชาชีพที่เป็นหลักสูตร หรือหลักสูตรระยะสั้นเพื่อใช่ในการเรียนต่อหรือใช่ในการประกอบอาชีพ
เช่น การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การพิมพ์ดีด การใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำบัญชี การเรียน
วิชาช่างอุตสาหกรรมต่าง ๆ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล การขับรถยนต์ การประกอบอาหาร การสอน
วิชาการต่าง ๆ การบริหารจัดการ การเพาะพันธุ์ไม้ การทำเกษตรกรรม การประมง การวิคราะห์วิจัย
การออกแบบ การคำนวณ การก่อสร้าง การเล่นกีฟ้าประเภทต่าง ๆ การวาดภาพ การแสดง การขับร้อง
เพลง การเล่นดนตรี ผลของสมรรถนทักษะมีลักษณะเป็นรูปธรรมมองเห็นได้ สัมผัสได้ และวัดและ
ประเมินผลไดโ้ ดยใช้เกณฑ์และวธิ กี ารประเมินโดยท่วั ไป

UPARADIGM.BLOGSPOT.COM (2560) ความหมายของทักษะชีวิต (Life Skills) ดังได้ทราบ
กันดีว่า สภาวะแวดล้อมของมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน
มีการแข่งขันสูง หากใครคนหนึ่งไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
ก็ย่อมนำมาซึ่งความไม่สงบสุขในการดำเนินชีวิต อันจะนำไปสู่การประสบความล้มเหลวของชีวิตใน
ดา้ นตา่ ง ๆ ตามมา การปรับตวั เพ่ือความอยู่รอดภายใต้สภาวะแหง่ การแข่งขันสูงนัน้ การมีร่างกายทแ่ี ข็งแรง
สมบูรณ์เพียงอย่างเดียวจึงยังไม่พอ เพราะมนุษย์ยังต้องเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้ด้วย ดังนั้น
บุคคลจึงควรมีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งทักษะ
ดังกล่าวก็คือ “ทักษะชวี ติ ” นน่ั เอง

คำว่า “ทักษะ” ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า “ Skill” นั้น หมายถึง วามสามารถของบุคคลท่ี
จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างชำนาญ ซึ่งความสามารถนั้นเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ เช่น
ทักษะทางอาชีพ ทักษะทางการกีฬา ทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น ทกั ษะการอา่ น ทักษะในการจัดการ

17

ทักษะทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะทางภาษา ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งทักษะต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นทักษะภายนอก
ที่แสดงออกให้เห็นชัดเจนได้โดยตรงจากการกระทำหรือการปฏิบัติ เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
อันจะทำใหผ้ ู้ทมี่ ีทักษะเหล่านน้ั คณุ ภาพชวี ิตที่ดี สามารถดำรงชพี อย่ใู นสงั คมน้ีได้ โดยมโี อกาสทด่ี กี ว่าผ้ทู ่ีไม่มี
ทกั ษะดงั กลา่ ว ทักษะประเภทนี้อาจเรียกวา่ ทักษะการดำรงชพี ในภาษาองั กฤษเรียกว่า “Livelihood skill
หรือ Skill of living” ซึ่งเปน็ คนละอยา่ งกับทักษะชีวิต ท่ีเรียกว่า Life Skills

2.3.1 ทกั ษะชวี ติ (Life Skills) ได้มีคำนยิ ามอยใู่ นหลายแห่งด้วยกัน ดังนี้
องค์การอนามัยโลก WHO (2540) ได้บัญญัติศัพท์คำว่าทักษะชีวิต (Life Skills)

ขึ้น และให้ความหมายว่า คือ ความสามารถในการปรับตัวและมีพฤติกรรมไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ในการที่ จะเผชิญกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสิ่งที่
จรรโลงให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งสภาวะสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวและมีพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องใน
ขณะที่เผชิญแรงกดดัน หรือกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ความสามารถนี้ประกอบด้วย
ความรู้ ความเขา้ ใจ เจตคตแิ ละทักษะในการจดั การกับปัญหาท่ีอยูร่ อบตัวภายใตส้ ังคมปจั จุบัน

ทักษะชีวิต (Life Skills) ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกเน้นความสำคัญในการ
ดำรงตนของบุคคลที่มีความเหมาะสมและทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งปัญหาของสังคมในยุค
ปัจจุบัน มีความซ้ำซ้อนบางปัญหามีความรุนแรง เช่น ปัญหาเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ บทบาทชายหญิง
ชีวิตครอบครัว สุขภาพ อิทธิพลสื่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งคำนิยามดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าจะต้องมีการเรียนรู้
ด้วยตนเองและรู้จักปรบั ตัว การฝึกฝนเป็นการเปดิ โอกาสให้คนเตรียมความพร้อมของตนเองและดำรงชีวิต
ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ

1. องค์การยูนิเซฟ UNICEF (2544) ได้กล่าวถึงทักษะชีวิตว่า เป็นความสามารถใน
การใช้ความรู้ เจตคติ และทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยในการสนับสนุนพฤติกรรมของ
บุคคล ให้สามารถรับผิดชอบตนเอง สำหรับการดำเนินชีวิตโดยมีการสร้าง
ทางเลือกทด่ี ี การตอ่ ตา้ นความกดดนั จากกลุ่มเพื่อน และการจดั การกับส่งิ ท่ีเข้ามา
คกุ คามชวี ติ

2. กรมสุขภาพจิต (2540) ให้ความหมายทักษะชีวิตว่า เป็นความสามารถของบคุ คล
ที่ประกอบไปด้วย ความรู้ เจตคติ และทักษะ ที่สามารถจัดการปัญหารอบตัว
เพอ่ื ให้อยู่รอดในสังคมได้อย่างมคี วามสุข และเตรยี มความพร้อมในการปรับตัวใน
อนาคต

3. BALDO AND FURNISS. 1998. อ้างถึงในมูลนิธิรักษ์เด็ก. (2551) ทักษะชีวิต
หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการแปรความรู้ (สิ่งที่รู้) ทัศนคติ
และคา่ นิยม (สิง่ ทีร่ ู้สึก สงิ่ ที่เชอื่ ถอื ) ไปสูก่ ารกระทำ และทำอยา่ งไร

18

ดังนั้น ทักษะชีวิต จึงหมายถึง ความสามารถของบุคคลในการกระทำสิ่งต่าง ๆ เพ่ือ
การดำรงชีวิต ทง้ั ที่มตี ิดตวั มาตงั้ แต่เกิด รวมกบั ความสามารถท่ีเกดิ จากการเรยี นรู้ และได้รับการพัฒนาและ
ฝึกฝนทกั ษะ จนเกิดเปน็ ความชำนาญ หรอื เปน็ คณุ ลักษณะประจำตัว สามารถนำเอาทักษะตา่ ง ๆ เหล่าน้ัน
มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่าง
มคี วามสุข

2.4 ทฤษฎคี วามหมายของศตวรรษที่ 21

นิเทศออนไลน์ สพป. เชียงรายเขต 2 (2555) ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ในการเตรียมนกั เรยี นให้พร้อมกบั ชีวติ ในศตวรรษท่ี 21 เปน็ เรอ่ื งสำคัญของกระแสการปรบั เปลีย่ นทางสังคม
ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและ
เตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิต
ในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ
ที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็ก
ในศตวรรษท่ี 21 น้ี มคี วามรู้ ความสามารถ และทกั ษะจำเปน็ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรปู เปล่ียนแปลงรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรยี มความพร้อมดา้ นตา่ ง ๆ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึง
ทักษะเพ่อื การดำรงชีวติ ในศตวรรษท่ี 21 ดังนี้

2.4.1 สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุค
ศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการ
ค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถ
ประเมนิ ความกา้ วหนา้ ของการเรยี นร้ขู องตนเองได้

2.4.2 สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
1. ภาษาแม่ และภาษาสำคญั ของโลก
2. ศลิ ปะ
3. คณติ ศาสตร์
4. การปกครองและหน้าทีพ่ ลเมือง
5. เศรษฐศาสตร์
6. วิทยาศาสตร์
7. ภมู ิศาสตร์
8. ประวตั ิศาสตร์

19

โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์
สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชงิ สหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
โดยการสง่ เสริมความเข้าใจในเน้อื หาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทกั ษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชา
แกนหลกั ดงั น้ี

1. ทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21
1) ความรู้เกย่ี วกับโลก (Global Awareness)
2) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็น
ผ ู ้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ( Financial, Economics, Business and
Entrepreneurial Literacy)
3) ความร้ดู ้านการเปน็ พลเมืองท่ีดี (Civic Literacy)
4) ความรู้ดา้ นสุขภาพ (Health Literacy)
5) ความรดู้ า้ นส่งิ แวดล้อม (Environmental Literacy)

2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อม
ของนกั เรียนเขา้ ส่โู ลกการทำงานทม่ี ีความซบั ซอ้ นมากขน้ึ ในปจั จบุ นั ไดแ้ ก่

1) ความริเรม่ิ สร้างสรรค์และนวัตกรรม
2) การคิดอยา่ งมวี จิ ารณญาณและการแกป้ ัญหา
3) การสอื่ สารและการรว่ มมือ
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมี
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถใน
การแสดงทักษะการคดิ อย่างมีวจิ ารณญาณและปฏบิ ัติงานไดห้ ลากหลาย โดยอาศยั ความรูใ้ นหลายดา้ น ดงั นี้
1) ความรดู้ ้านสารสนเทศ
2) ความรู้เกี่ยวกบั สื่อ
3) ความร้ดู ้านเทคโนโลยี
4. ทักษะด้านชีวิตและอาชพี ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบนั
ให้ประสบความสำเรจ็ นกั เรียนจะตอ้ งพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคญั ดังต่อไปนี้
1) ความยืดหยุน่ และการปรับตัว
2) การรเิ ร่มิ สร้างสรรคแ์ ละเปน็ ตวั ของตวั เอง
3) ทกั ษะสงั คมและสังคมข้ามวฒั นธรรม
4) การเป็นผ้สู ร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบ

เชือ่ ถอื ได้ (Accountability)
5) ภาวะผนู้ ำและความรับผดิ ชอบ (Responsibility)

20

5. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

1) 3R คือ Reading (อ่านออก) (W) Riting (เขียนได้) และ
(A) Rithemetics (คดิ เลขเป็น) 7C ได้แก่
(1) Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะใน
การแกป้ ญั หา)
(2) Creativity and Innovation (ท ั ก ษ ะ ด ้ า น ก า ร
สร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
(3) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความ
เขา้ ใจความต่างวฒั นธรรม ตา่ งกระบวนทศั น์)
(4) Collaboration, Teamwork and Leadership
(ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
และ ภาวะผ้นู ำ)
(5) Communications, Information, and Media
Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และ
รู้เท่าทันส่อื )
(6) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอม -
พิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อื สาร)
(7) Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และ
ทักษะการเรยี นรู้)

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้
โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภา พของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 โดยเน้นทอ่ี งคค์ วามรู้ ทกั ษะ ความเชยี่ วชาญและสมรรถนะทีเ่ กิดกับตัวผู้เรียน เพอ่ื ใช้ในการดำรงชีวิตใน
สังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กร
ความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills)
(www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อความสำเรจ็ ของผ้เู รียนทั้งดา้ นการทำงานและการดำเนนิ ชวี ิต

21

ภาพท่ี 2.1 แนวคิดสำคญั ในศตวรรษท่ี 21
ที่มา : https://bit.ly/2XTcais

2.5 ทฤษฎีความหมายของกระทรวงศึกษาธกิ าร

TH.WIKIPEDIA.ORG (2563) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภท
กระทรวงของไทย มหี นา้ ท่ีส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอยา่ งท่วั ถึงและเท่าเทียม สรา้ งความเสมอภาค
และโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมใหห้ น่วยงานต่าง ๆ ได้มสี ่วนรว่ มทางการศึกษา สง่ เสรมิ การศึกษาวิชาชีพ
ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสติ นักศึกษามโี อกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด
เน้นการเรยี นรตู้ ลอดชวี ิต ให้บริการแก่สงั คม พฒั นาบคุ ลากรทางการศกึ ษา สง่ เสรมิ ผทู้ ม่ี ีความสามารถพิเศษ
ให้ได้เรยี นและแสดงออกในทางทเี่ หมาะสม

2.5.1 หน่วยงานในสังกดั
1. สว่ นราชการ
1) สำนักงานรัฐมนตรี
2) สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ
3) สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน
4) สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา
5) สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา
2. องค์การมหาชน
แบ่งเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542

จำนวน 3 แหง่ และองคก์ ารมหาชนทจี่ ดั ตั้งตามพระราชบัญญัตเิ ฉพาะ จำนวน 3 แห่ง
1. องคก์ ารมหาชนตามพระราชบัญญตั อิ งคก์ ารมหาชน พ.ศ. 2542
(1) โรงเรียนมหดิ ลวิทยานุสรณ์
(2) สถาบนั ทดสอบทางการศึกษาแหง่ ชาติ (องค์การมหาชน)
(3) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

22

2. องคก์ ารมหาชนตามพระราชบญั ญัติเฉพาะ
(1) ครุ ุสภา
(2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร
ทางการศึกษา (สกสค.)
(3) สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

2.5.2 หนา้ ทีแ่ ละอำนาจ
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา

ใน ภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 5 กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับ
พื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด โดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงาน
อ่นื หรือภาคส่วนทเี่ กย่ี วข้องในพื้นที่นน้ั ๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับ
ทิศทางการพัฒนาประเทศ ทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
นโยบายและยทุ ธศาสตรข์ องกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลมุ่ จังหวดั รวมทั้งการพัฒนา
ดา้ นอื่น ๆ ในพน้ื ทร่ี ับผดิ ชอบ ตามศกั ยภาพและโอกาสของบคุ คลและชุมชนในแตล่ ะพื้นท่ี

2. สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัย
และพัฒนา

3. กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการ
จังหวดั ในพน้ื ท่ีรับผดิ ชอบ

4. สนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตำมนโยบาย
และยทุ ธศาสตร์ของกระทรวงศกึ ษาธิการในพื้นท่รี ับผดิ ชอบ

5. ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิด
การพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของ
ประชาชนเปน็ หลกั

6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรอื ท่ีได้รบั มอบหมาย

ตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในสำนกั งาน
ศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ
ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 ประกาศการแบง่ หน่วยงานภายในและกำหนดหนา้ ทีค่ วามรับผิดชอบ ดงั น้ี

23

1. สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารภาค แบง่ กลุ่มงานภายในออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1) กลมุ่ อำนวยการ
2) กลมุ่ ยทุ ธศาสตรก์ ารศกึ ษา
3) กลมุ่ บรหิ ารงานบุคคล
4) กลุม่ พัฒนาการศกึ ษา
5) กลมุ่ ตรวจราชการและติดตามประเมินผล

2. ให้แตล่ ะกล่มุ ตามข้อ 1 มหี น้าทีค่ วามรับผดิ ชอบ ดงั นี้
1) กลมุ่ อำนวยการ
(1) ดำเนินงานเกย่ี วกับงานบรหิ ารทว่ั ไป
(2) ดำเนนิ งานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน บัญชี และพสั ดุ
(3) ดำเนินงานเกย่ี วกบั งานบริหารงานบคุ คลของสำนกั งานศึกษาธิการภาค
(4) ดำเนนิ งานเกี่ยวกบั งานบริหารงาน และการควบคุมภายใน
(5) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมและผลงานของ
สำนักงานศึกษาธิการภาคและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นท่ี
รบั ผิดชอบ
(6) ดำเนนิ งานเกยี่ วกับอาคารสถานที่ สิง่ แวดลอ้ ม และยานพาหนะ
(7) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการภาค รวมทั้งการ
ติดตามและรายงานผลการปฏบิ ัตริ าชการของสำนกั งานศึกษาธกิ ารภาค
(8) ดำเนนิ งานเกี่ยวกับงานพฒั นาองคก์ าร
(9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นท่ี
เกีย่ วขอ้ งหรือทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย
2) กลุ่มยทุ ธศาสตรก์ ารศกึ ษา
(1) แปลงยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติในระดับภาคและจังหวัดที่เชื่อมโยง
และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตาม
ศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแตล่ ะพน้ื ท่ี
(2) ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำดัชนีทางการศึกษาระดับภาค
รวมทั้งสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย
และยุทธศาสตรข์ องกระทรวงในพน้ื ทรี่ ับผิดชอบ
(3) จดั ทำแผนยุทธศาสตร์การพฒั นาการศึกษาระดบั ภาค
(4) กำกับดูแล ให้ข้อเสนอแนะ ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับแผนพัฒนา
การศกึ ษาจังหวดั ในพ้นื ที่รับผิดชอบ

24

(5) ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และจดั ระบบการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้าน
การศกึ ษาในพน้ื ท่รี ับผดิ ชอบ

(6) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการศึกษา ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการบริหารและการ
จัดการศึกษาในพน้ื ทรี่ ับผิดชอบ

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นท่ี
เกีย่ วขอ้ งหรือทไี่ ดร้ บั มอบหมาย

3) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(1) สนับสนุน ประสาน และพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน
บุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ. และ
อกศจ. ในพนื้ ท่ีรับผิดชอบ
(2) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ
การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ
สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดในพนื้ ทรี่ บั ผดิ ชอบ
(3) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการ
ทางการวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของ
ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาของข้าราชการและบุคลากร
ทางการศึกษาในพนื้ ท่รี บั ผิดชอบ
(4) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการเสริมสร้างและการปกป้องคุ้มครอง
ระบบคุณธรรมของขา้ ราชการและบุคลากรทางการศกึ ษาของขา้ ราชการ
และบุคลากรทางการศึกษาของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
ในพน้ื ทร่ี ับผิดชอบ
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอ่ืน
ทเี่ กี่ยวขอ้ งหรอื ท่ีไดร้ ับมอบหมาย

4) กลุ่มพัฒนาการศกึ ษา
(1) ส่งเสริม สนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
พระประมุข
(2) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง
องคค์ วามรู้และนวตั กรรมการศกึ ษาระดบั ภาค
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน ครู
และบุคลากรทางการศกึ ษาระดบั ภาค

25

(4) กำกับดูแล เร่งรัด นิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนางานวิชาการ
และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในพืน้ ที่รบั ผิดชอบ

(5) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ใหเ้ กิดการบรู ณาการในระดบั พื้นท่ขี องหลายจังหวดั

(6) ส่งเสริม สนับสนุนการยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึง
การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และ
พน้ื ทีพ่ ิเศษ

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่
เกย่ี วขอ้ งหรือทไี่ ดร้ บั มอบหมาย

5) กลมุ่ ตรวจราชการและติดตามประเมนิ ผล
(1) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงาน
ศึกษาธกิ ารจังหวัดในพนื้ ท่รี บั ผดิ ชอบ
(2) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา
ของหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่
รบั ผดิ ชอบ
(3) วางแผนและจัดระบบการประสานการตรวจราชการของผูต้ รวจราชการ
กระทรวงศึกษาธกิ ารในพนื้ ที่รับผดิ ชอบ
(4) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของ
กระทรวงศึกษาธิการในพ้ืนทรี่ ับผิดชอบ
(5) จดั ระบบการประสาน สนบั สนุน ช่วยเหลอื และการรายงานเหตุภัยพิบัติ
และภาวะวิกฤตทางการศกึ ษาในพน้ื ทร่ี บั ผิดชอบ
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่
เก่ียวขอ้ งหรือทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย

2.6 ทฤษฎีความหมายของเทคโนโลยกี ารศึกษา

TH.WIKIPEDIA.ORGM (2560) มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถงึ ธรรมชาติวทิ ยาและ
ต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใชเ้ พื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
อนั ก่อใหเ้ กดิ วสั ดุ อปุ กรณ์ เคร่ืองมอื เคร่อื งจกั ร แม้กระทงั่ องค์ความรู้นามธรรมเชน่ ระบบหรอื กระบวนการ
ต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จาก
ธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรก
เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือ

26

เครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการ
พฒั นาเทคโนโลยีมาใชม้ ากข้ึน เทคโนโลยีกบั วทิ ยาศาสตร์มีความสัมพนั ธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพ้ืนฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า
ควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสั งเกตปรากฏการณ์ทาง
ธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัด
สนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑแ์ ละ
ทฤษฎีเพื่อถา่ ยทอดและสอนให้ผู้อืน่ ได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์
นำเอาความรูท้ างวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกดิ ประโยชน์ในทางปฏบิ ัติแกม่ วลมนุษย์ กล่าวคอื เทคโนโลยี
เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งดำที่สุดสูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่าง
หนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย
ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด
กล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของ
เทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ
เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2514 และจัดตั้ง
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการ
เผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมี
บทบาทตอ่ การพฒั นาอย่างมาก

ภาพที่ 2.2 ล้อ เทคโนโลยที ่ีมีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ทมี่ า : // https://th.wikipedia.org

27

TH.WIKIPEDIA.ORGM (2563) เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology)
หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่าง ๆ มาจัดการเรียนการสอน
ให้ผ้เู รียนสามารถเรยี นรู้ตามวัตถปุ ระสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี”
ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แหง่ วิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนำมาใช้ กับ “การศึกษา” จึงเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์
เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพ่ือ
การเรียนรู้ “ส่ือสาร” เปน็ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผสู้ ่งไปยงั ผูร้ ับ โดยอาศัยส่ือหรือช่องทาง
ตา่ ง ๆ ให้เกดิ ความ เขา้ ใจและเป็นแบบปฏสิ ัมพันธ์

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์เฉพาะ โดยมีองค์ประกอบของศาสตร์วิทยาการ คือ
1) ศัพท์เฉพาะศาสตร์ 2) เนื้อหาสาระ องค์ความรู้ และ 3) การศึกษาวิจัย ซึ่งว่าด้วย การถ่ายทอด
สาระระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซ่ึงหมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์
และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใชเ้ พื่อแก้ปญั หาการศึกษา ท้งั ในด้านนปรมิ าณและด้านนการปรับปรงุ คุณภาพของ
การเรียนการสอน วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย มีการเรียน
การสอน ตั้งแต่ระดับปรญิ ญาตรีจนถึงปริญญาเอก ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท่ีแต่ละสถาบันกำหนด
ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างกันอย่างไร เนื้อหาของวิชาการก็เป็นเนื้อหาเดียวกันตามขอบข่ายและมาตรฐาน
วิชาชีพ โดยมีจุดเน้นต่างกันตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเท่านั้น มาตรฐาน
ปฏิบัติงานเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1) ระดับปริญญาตรี จะเน้นการเป็นหลัก
เทคโนโลยีปฏิบัติการ ผู้ผลิตสื่อการศึกษาและให้บริการสื่อการศึกษา 2) ระดับปริญญาโทจะเน้น
การออกแบบ การจดั โปรแกรม และ 3) ระดบั ปรญิ ญาเอกเน้นการพัฒนา

เทคโนโลยีการศึกษามักจะเน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียน
การสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา
เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบ
เหมือนกอไผ่ ซง่ึ รวมทัง้ ลำไผ่เดีย่ ว ๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกบั เทคโนโลยีการศึกษา ไดม้ ีการเปิด
สอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยี
ทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนือ้ หาเดียวกัน
ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโน โลยีการศึกษาในระดับปริญ ญา ตรี
ถึงปริญญาเอก

28

2.6.1 กฎหมายการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับ

ความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9
โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเน้ือหาครอบคลุมเน้ือหาการนำคลื่นความถ่ีวิทยุและโทรทัศน์มา
ใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียน
เพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำส่ือสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกา รศึกษา

2.6.2 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
(1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา (ปัจจุบันฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 แต่ไม่มีการแก้ไขในหมวด 9 จึง
พ.ศ 2542)
(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
(3) กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2554 - 2563 ของ
ประเทศไทย
(4) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2554 - 2569)
(5) แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
2. แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
(1) การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพ่ือการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้
อย่างท่ัวถึงและเท่าเทียม
(2) การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
(3) การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
(4) การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิ
ปัญญาท้องถ่ิน
(5) การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(6) การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
(7) การวิจัยและพัฒนาสื่อ
(8) การวิจัยบูรณาการวิธีการสอนกับส่ือการสอนในลักษณะที่เป็นรูปแบบการสอน
(Instruction Model)

29

2.6.3 วิชาชีพ
การเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี

จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพน้ีเรียกว่า นักเทคโนโลยี
การศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง
"นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศน
ศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยี
การศึกษา

2.7 ทฤษฎีความหมายของยุคโลกาภิวัตน์

สุรศักดิ์ ปาเฮ (2555) การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป
มากในแต่ละสังคมหรือ แต่ละระดับของการจัดการศึกษา ทั้งการพัฒนาในรูปแบบของการบริหาร
การจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งสังคมข้อมูลสารสนเทศ ( The Information
Age ) หรือที่เรียกกันตามสมัยนิยมว่า “ยุคโลกาภิวัตน์ ( The Globalization )” นั้นได้ส่งผลต่อ
รูปแบบกระบวนการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก และคงจะต้องมีการพัฒนาปรับระบบหรือรูปแบบ
กระบวนการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและข้อมูล
ข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องนั่นเอง ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและ
มีประสิทธิภาพสูงในบริบทของสังคมโลกในปัจจุบัน

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจาเป็นท่ีบุคลากรที่เก่ียวข้องในการจัดการศึกษาทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริหาร
นักการศึกษา ครูอาจารย์รวมทั้งตัวผู้เรียนเองจะต้องมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักใน
บทบาทหน้าที่ซึ่งคงจะต้องปรับเปลี่ยนไปให้ก้าวทันกับสภาพการณ์ทางสังคมและความก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลในภาพรวมต่อ
การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในอนาคต

2.7.1 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษายุคใหม่
การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนทั้งปัจจุบันและในอนาคตจะมีการพัฒนาใน

รูปแบบ กระบวนการไปในลักษณะเช่นไรนั้น ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในลักษณะ
ต่าง ๆ โดยนักการศึกษาหลายๆท่าน ซึ่งได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่าการจัดการศึกษายุคใหม่นั้นคงจะขึ้นอยู่
กับปัจจัยหรือองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้ (Molnar , 1990 : 59 – 61)

1. ภาวะเศรษฐกิจโลก (The Global Economic) ภาวะเศรษฐกิจที่
เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อกระบวนการจัดการศึกษาของสังคม โดยเฉพาะเศรษฐกิจการลงทุนที่
เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารทางไกล

30

ซึ่งภาวะทางเศรษฐกิจเหล่านั้นจะเป็นไปในลักษณะของความร่วมมือด้านกรตลาดและก ารลงทุน
ระหว่างประเทศ ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อรูปแบบของการจัดการศึกษาที่รัฐพึงจัดกระท ำให้
บังเกิดทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อการลงทุน โดยท่ีรัฐต้องดาเนินการในทุกวิถีทางเพื่อสร้างกา
ลังคนที่มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพเพียงพอ มีความสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจการลงทุน
ท่ีเปล่ียนแปลงไป

2. ข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีท่ีทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
(The Scientific Information Explosion) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันชัดเจนได้ว่าข้อมูลสารสนเทศที่
เป็นปัจจุบันและทันสมัย มีประสิทธิภาพต่อการปรับใช้ จะส่งผลต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน
และการศึกษาของสังคมในหลากหลายรูปแบบ

3. พัฒนาการด้านศาสตร์ทางภูมิปัญญา (The Emergence of Cognitive
Science) มีการพัฒนาและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางภูมิปัญญาที่หลากหลายแขนง ทั้งนี้เพื่อนา
ศักยภาพทางภูมิปัญญาที่มีอยู่หลากหลายแขนงนั้นมาสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาของสังคมโดย
ส่วนรวมต่อไป

4. การเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ ( Changing
Human Resources Needs) ซึ่งทรัพยากรมนุษย์นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมและ
พัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างย่ิงทรัพยากรมนุษย์ในสาขาวิชาชีพท่ีขาดแคลนทางด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ท้ังน้ีจึงเป็นภารกิจหลักของกระบวนการจัดการศึกษาเพ่ือผลิตกาลังคนในสาขาวิชาชีพ
ที่ขาดแคลนเหล่าน้ันให้เพียงพอกับความต้องการของสังคมท้ังในภาครั ฐและเอกชน

5. การปรับระบบโครงสร้างทางการศึกษา (Restructuring Engineering
Education) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเปล่ียนแปลงทางสังคม รัฐและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงต้อง
จัดให้มีกระบวนการทางการศึกษาและการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบวิธีการ ตัวอย่างรูปแบบ
ที่สำคัญเช่น การจัดสร้างโรงเรียนแม่แบบ (Magnet School) โดยเน้นการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี นอกจากนี้อาจจัดให้มีการจัดตั้งเป็นอุทยาการวิจัย (Research Park) โดยใช้เทคโนโลยีขั้น
สูงในการจัดระบบการเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยในลักษณะเป็นกลุ่มเครือข่าย ( Network)
เช่ือมโยงความรู้ระหว่างสถาบันการศึกษา เป็นต้น

6. ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (The Growing
Importance of Information and Communication Technology) โดยเฉพาะพัฒนาการ
ความก้าวหน้าด้านวัสดุอุปกรณ์การสื่อสารทางไกลระบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการศึกษา
และการเรียนการสอน เช่น ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบการจัดประชุมทางไกล
(Teleconference) ระบบ e - Learning เป็นต้น

31

2.7.2 ยุคของการเปล่ียนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
จากอดีที่ผ่านมาจนก้าวสู่ยุคปัจจุบัน รวมทั้งการคาดการณ์เชิงพยากรณ์ในอนาคตนั้น

ได้มี ความพยายามในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อส่งผลต่อ
สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบของการจัดสภาพการณ์ทางการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุค
สมัยนั้น จากการศึกษาวิจัยของศาสตราจารย์แบรนด์สัน (Robert K. Branson) ศาสตราจารย์
ด้านเทคโนโลยีทางการสอนแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา ( Florida State University)
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาไว้และสามารถสรุปดังแสดงให้เห็นจากภาพต่อไปน้ี (Branson , 1990 :
7 – 10)

ภาพท่ี 2.3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลาต่าง ๆ
ท่ีมา : Source : Branson, R.K. Educational Technology. (April 1990) p.9

รูปแบบ A. เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Center)
ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ จะถูกถ่ายทอดจากครูผู้สอนไปยังผู้เรียนการจัดสภาพการณ์ทางการ
เรียนรู้เป็นไปในลักษณะของการสื่อสารแบบทางเดียว (One - way Communication) ซึ่งรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นลักษณะการสอนแบบดั้งเดิมหรือแบบบรรยาย (Oral Tradition
Paradigm)

32

รูปแบบ B. เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสอนแบบร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน
(Contemporary Instruction) ครูยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งข้อมูลความรู้และประสบการณ์ อย่างไร
ก็ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงทั้งนี้โดยเน้นปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้
(Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนมากขึ้นโดยจัดสภาพการณ์ทางการเรียนจากสื่อการสอน
ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ แบบฝึกปฏิบัติ การสอนแบบโปรแกรม ชุดการสอน การสอนแบบศูนย์
การเรียน ฯลฯ และในขณะเดียวกันการสอนในลักษณะดังกล่าวจะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางอ้อม
(Informal Interaction) ระหว่างผู้เรียนด้วยกันมากยิ่งขึ้น

รูปแบบ C. เป็นรูปแบบของกระบวนการจัดการศึกษาในอนาคต หรือการจัดการศึกษา
ในกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) หรืออาจเรียกการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี
(Technology - Based Paradigm) มีการพัฒนามโนทัศน์การเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเป็นหลัก
ให้ความสำคัญกับการใช้ผลข้อมูลย้อนกลับทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพควบคู่กันไป พัฒนาผู้เรียนให้
เกิดทักษะในการจัดการทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( Self – Management Skills) สาหรับ
การพัฒนาการเรียนการสอนนั้นได้มีการออกแบบโปรแกรมหลักสูตรการเรียนรู้ในลักษณะของ
การบูรณาการทางด้านเนื้อหาวิชาโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ทางการเรียนจาก
โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งจัดกระทาและพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Experts) ไปสู่ตัวผู้เรียน
ในหลากหลายวิธีการ รวมทั้งการประเมินผลและป้อนข้อมูลย้อนกลับไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ
ขั้นตอนและมีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งนี้ปัจจัยหรือองค์ประกอบสำคัญในการจัดสร้างโปรแกรมหรือ
หลักสูตรการเรียนรู้ในการจัดการศึกษายุคใหม่นั้น จะอาศัยปัจจัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
ดังต่อไปนี้คือ

1. ข้อมูลด้านการศึกษาวิจัยที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการใช้ (Sufficient
Valid Research Data)

2. ทฤษฎีทางการเรียนการสอน (Instructional Theory)
3. การจัดระเบียบโครงสร้างและการออกแบบที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพ

(Organization Design Literature)
จากที่กล่าวมาในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าในการจัดการศึกษายุคใหม่หรือยุคโลกาภิวัตน์นั้น
เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมส่งผล
กระทบต่อบทบาท รูปแบบ และศาสตร์ทางการเรียนรู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องคงจะตระหนักและพร้อมที่จะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาของ
โลกอนาคต รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ทางการศึกษาในยุคใหม่นี้ได้อย่างเหมาะสม

33

2.7.3 ครูกับบทบาทและความเปล่ียนแปลง
ในโลกของความเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนในกระแสสังคม และจากที่ได้กล่าวถึงบทบาทของ

ครูกับการศึกษายุคใหม่ซ่ึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมที่ก้าวสู่สังคมแห่งเทคโนโลยีช้ันสูง (Hi-Tech)
นั้น ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ทาการศึกษาวิจัย และได้ประมวลสรุปในบทบาทของครูยุคใหม่
ได้ว่า บทบาทของความเป็นครูในอนาคตนั้นจะมีถึง 8 แบบด้วยกันดังนี้ (ประกอบ คุปรัตน์, 2532 :
223)

1. บทบาทในฐานะผู้อานวยความสะดวก (Facilitators)
2. บทบาทในฐานะนักเจรจาต่อรอง คือต่อรองกับผู้เรียนในโปรแกรมจุดหมาย

การเรียนรู้
3. บทบาทในฐานะเป็น Tutor คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบตัวต่อตัว

โดยผู้เรียนไปศึกษาเอง ครูเป็นผู้คอยซักถามตรวจสอบความรู้
4. บทบาทในฐานะเป็นผู้ประเมิน (Evaluator) เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบผลการ

เรียนของตนเอง ครูจะเป็นผู้คอยให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่นักเรียน
5. บทบาทเป็นนักบริหาร (Administrator) สามารถดาเนินการจัดการหรือ

ประสานงานติดต่อทั้งภายใน – ภายนอกโรงเรียนให้เกิดประสบการณ์การ
เรียนรู้แก่ผู้เรียน
6. บทบาทในฐานะนักพัฒนา (Developer) คอยประสานแหล่งการเรียนรู้
(Learning Resource) ให้บังเกิดประสิทธิภาพต่อการสอน
7. บทบาทในฐานะผู้ใช้และผู้สร้างเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ทางการศึกษา
ซ่ึงครูยุคต่อไปอาจกลายเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ หรือเป็นนักพัฒนาระบบการ
เรียนการสอนโดยใช้ทั้งสื่อประเภทวัสดุ ( Software) และอุปกรณ์
(Hardware )
8. บทบาทในฐานะนักวางแผนกิจกรรมการเรียนสาหรับผู้เรียนแต่ละคน
ซึ่งจะเป็นท่ีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Individualized Difference)
การศึกษาที่หมายถึงครูอาจารย์ทุกคนคงต้องมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ทั้งทางตรง
และทางอ้อมกับศาสตร์ท่ีเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งประเภทวัสดุ
อุปกรณ์ หรือเทคนิค วิธีการต่าง ๆ ดังนั้นบุคลากรหรือครูต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพพื้นฐานต่อการปรับ
ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดเป้าหมายหลัก 3 ประการ กล่าวคือ
(Bitter and Yohe, 1989 : 23)
1. ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญการ และมีวิจารณญาณต่อการใช้สื่อเทคโนโลยี
ทางการศึกษาไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ

34

2. ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ทางการศึกษาที่กว้างไกล สามารถปรับ
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาในการบริหาร การจัดการ
และการพัฒนาการเรยี นรไู้ ดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

3. ครูต้องมีความสามารถในการเป็นนักออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional Design) ทม่ี ปี ระสิทธภิ าพ

2.7.4 สิง่ อานวยความสะดวกทางการศกึ ษายคุ ใหม่

ภาพที่ 2.4. ภาพแบบจำลองห้องเรยี นในอนาคต ( Future Classroom )
ท่มี า : // http://www.elianealhadeff.blogspot.com

นอกจากรูปแบบของสภาพการเรียนการสอนทางการศึกษายุคใหม่ที่ต้องเปลี่ยนไปแล้ว
สิ่งอานวยความสะดวกทางการเรียน (Facilities) ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนา
และมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาที่ต้อง
เปลี่ยนรูปแบบตามไปด้วยอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมต่อการปรับใช้กับสื่อเทคโนโลยีการศึกษา
ทเี่ ปลี่ยนไปนน่ั เอง

จากการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Delphi Technique) เกี่ยวกับลักษณะสภาพของสิ่งอานวย
ความสะดวกทางการศึกษาโดยเฉพาะห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการเรียนการสอน ปี ค.ศ. 2000

35

(พ.ศ. 2543) โดย The Chicago – based Society for Visual Education, Inc. ซึ่งทาการศึกษาวิจัย
โดยรวบรวมขอ้ คดิ เหน็ จาก

แบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา 78 คน ซึ่งพอจะสรุปให้เห็นถึงลักษณะ
ของห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรยี นในอนาคตไดด้ ังน้ี (Anonymous, 1988 : 4)

1. สภาพห้องเรียนจะมีลักษณะอเนกประสงค์สามารถบูรณาการปรับใช้กับกลุ่ม
ผเู้ รยี นได้ทั้งแบบเดยี่ ว กลมุ่ ย่อย และกล่มุ ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม

2. ลักษณะของห้องเรียนจะมีรูปแบบการผสมผสานระหว่างศูนย์สื่อโสตทัศนศึกษา
(Audio – Visual Center) กับห้องสมดุ (The Library)

3. สือ่ ทจ่ี ะเข้ามามบี ทบาทต่อการเรียนยุคใหม่ ได้แก่
(1) สื่อคอมพิวเตอร์ (Computer), CD ROM
(2) ส่ือวดิ ีโอปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video, Video Disk., Video Text)
(3) ส่ือการเรียนการสอนระบบทางไกล (Telecommunications)
(4) สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างที่ทันสมัยและเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงมีความก้าวหน้า
(Hi-Tech)
(5) สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed) ทั้งเอกสารที่เป็นรูปเล่มและแบบย่อส่วนลงใน
แผน่ บรรจุข้อมูลเช่น Microfilm, Micro-card, Microfiche

4. ศาสตร์ทางการเรียนรู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษายุคใหม่คือความรู้ ทักษะ
และความสามรรถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
ในระดับต่าง ๆ

5. ครูจะเป็นเพียงผู้ช้ีแนะ (Tutor) แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรูท้ ี่มอี ยูห่ ลากหลาย
รวมทัง้ เป็นผคู้ อยใหค้ าปรึกษาทางการเรียนแกผ่ ู้เรยี น

36

ภาพท่ี 2.5 แบบจำลอง (Model) ห้องเรียนในอนาคตจากการวจิ ยั
ทีม่ า : // http://www.nature.com

ลักษณะทางกายภาพของห้องเรียนยุคใหม่ หรือห้องเรียนในอนาคตจากการศึกษาวิจัย
จากนักวิชาการศึกษาที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นจากภาพที่ 3 ซึ่งจะเป็นลักษณะของตัวแบบ (Model)
ของห้องเรยี นในอนาคตท่ีสามารถปรบั ใชใ้ นการเรยี นการสอนในยุคโลกาภวิ ตั นไ์ ดใ้ นอนาคต

จากภาพรวมของสภาพการจัดการเรียนการสอนในอนาคตที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น กล่าวได้ว่า
การก้าวสู่สังคมยุคเทคโนโลยีย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ที่สังคมต้องได้รับผลจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น นักการศึกษาหลายท่านจึงได้มีการวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมารวมทั้งการจัด
การศึกษาตามสภาพการณ์ในปัจจุบันเพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร วิธีสอน วัสดุอุปกรณ์
การเรียนการสอนและสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้
เกิดศักยภาพเพียงพอและเพื่อให้สอดรับกับสภาพทางเศรษฐกิจสังคมด้านเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล
ที่เปลย่ี นไปได้อย่างเหมาะสมกบั บริบททางสงั คมได้

37

2.8 ทฤษฎีความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.8.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งเกิดจาก

นักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัด

และประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพน้ัน ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ไว้ดังนี้

สมพร เชื้อพันธ์ (2547) สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง

ความสามารถ ความสำเร็จและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนท่ีได้จากการเรียนรู้อันเป็นผลมาจาก

การเรียนการสอน การฝึกฝนหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถวัดได้จากการทดสอบด้วย

วิธีการต่าง ๆ

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หมายถึง ขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน

ปราณี กองจินดา (2549) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือ

ผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์

เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตาม

ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนท่ีแตกต่างกัน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2546) ให้ความหมายว่า การวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนเป็นการวัดความสำเร็จทางการเรียน หรือวัดประสบการณ์ทางการเรียนที่ผู้เรียนได้รับจาก

การเรียนการสอน โดยวัดตามจุดมุ่งหมายของการสอนหรือวัดผลสำเร็จจากการศึกษาอบรมใน

โปรแกรมต่าง ๆ

ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ให้คำจำกัดความผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า คือคุณลักษณะ

รวมถึงความรู้ ความสามารถของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน หรือ

มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่บุคคลได้รับจากการเรียนการสอน ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของสมรรถภาพทางสมอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบระดับ

ความสามารถสมองของบุคคลว่าเรียนแล้วรู้อะไรบ้าง และมีความสามารถด้านใดมากน้อยเท่าไร

ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนการฝึกฝนหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน

และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมท้ังความรู้สึก ค่านิยม จริยธรรมต่าง ๆ ก็เป็นผลมาจากการฝึกฝนด้วย

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการเรียน

การสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการแสดงออกมา

ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย

38

2.8.2 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอน หรือการตัดสินผล

การเรียน เพราะเป็นการวัดระดับความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคลหลังจากที่ได้รับการฝึกฝน
โดยอาศัยเครื่องมือประเภทแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ซ่ึงเป็นเครื่องมือที่นิยมมากที่สุด

การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดของ Bloom (1982) ถือว่าสิ่งใดก็ตาม
ที่มีปริมาณอยู่จริงสิ่งนั้นสามารถวัดได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว
ซึ่งผลการวัดจะเป็นประโยชน์ในลักษณะทราบและประเมินระดับความรู้ ทักษะและเจตคติ
ของนักเรียน และระดับความรู้ความสามารถตามแนวคิดของ Bloom มี 6 ระดับ ดังนี้

1. ความจำ คือ สามารถจำเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น คำจำกัดความสูตรต่าง ๆ วิธีการ
เช่น นักเรียนสามารถบอกชื่อสารอาหาร 5 ชนิดได้ นักเรียนสามารถบอกชื่อ
ธาตุท่ีเป็นองค์ประกอบของโปรตีนได้ครบถ้วน

2. ความเข้าใจ คือ สามารถแปลความ ขยายความ และสรุปใจความสำคัญได้
3. การนำไปใช้ คือ สามารถนำความรู้ ซึ่งเป็นหลักการ ทฤษฎี ฯลฯ ไปใช้ใน

สภาพการณ์ท่ีต่างออกไปได้
4. การวิเคราะห์ คือ สามารถแยกแยะข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย

เช่น วิเคราะห์องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ หลักการดำเนินการ
5. การสังเคราะห์ คือ สามารถนำองค์ประกอบ หรือส่วนต่าง ๆ เข้ามารวมกัน

เป็นหมวดหมู่อย่างมีความหมาย
6. การประเมินค่า คือ สามารถพิจารณาและตัดสินจากข้อมูล คุณค่าของ

หลักการโดยใช้มาตรการท่ีผู้อ่ืนกำหนดไว้หรือตัวเองกำหนดขึ้น
เยาวดี วิบูลย์ศรี (2540) ได้กล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นที่ควรคำนึงถึงในการสร้าง
แบบทดสอบผลสัมฤทธ์ิไว้ดังนี้

1. เนื้อหา หรือ ทักษะภายในขอบเขตที่ครอบคลุมในแบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธินั้น จะต้องสามารถจำกัดอยู่ในรูปของพฤติกรรม ซึ่งมีความ
เฉพาะเจาะจงในลักษณะที่จะสื่อสารไปยังบุคคลอื่นได้ ถ้าเป้าหมายทางการ
ศึกษาไม่สามารถจำกัดอยู่ในรูปของพฤติกรรมแล้ว ย่อมไม่สามารถที่จะวัดได้
ในลักษณะของผลสัมฤทธ์ิได้อย่างชัดเจน

2. ผลิตผลที่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วัดนั้น จะต้องเป็นผลิตผลเฉพาะที่เกิดขึ้น
จากการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น จะวัดผลผลิตผล
อย่างอ่ืนไม่ได้

39

3. ผลสัมฤทธิ์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์วัดได้นั้น ถ้าจะนำไป
เปรียบเทียบกันแล้ว ผู้เข้าสอบทุกคนจะต้องมีโอกาสได้เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
เท่าเทียมกัน

2.8.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สมบูรณ์ ตันยะ (2545) ได้ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับวัดพฤติกรรมทางสมองของผู้เรียนว่ามีความรู้ ความสามารถใน
เรื่องที่เรียนรู้มาแล้ว หรือได้รับการฝึกฝนอบรมมาแล้วมากน้อยเพียงใด ส่วน พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544)
กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็น แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ
และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่า บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนด
ไว้เพียงใด

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
แบบทดสอบท่ีใช้วัดความรู้ทักษะ และความสามารถทางวิชาการท่ีนักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าบรรลุผล
สำเร็จตามจุดประสงค์ท่ีกำหนดไว้เพียงใด

สิริพร ทิพย์คง (2545) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
ชุดคำถามที่มุ่งวัดพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนว่ามีความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพด้านสมองด้าน
ต่าง ๆ ในเรื่องที่เรียนรู้ไปแล้วมากน้อยเพียงใด

สมพร เชื้อพันธ์ (2547) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
แบบทดสอบหรือชุดของข้อสอบที่ใช้วัดความสำเร็จหรือความสามารถในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ของ
นักเรียนที่เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนว่าผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
ที่ตั้งไว้เพียงใด

ดังนั้นสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน คือ แบบทดสอบท่ีใช้วัดความรู้
และทักษะความสามารถจากการเรียนรู้ในอดีตหรือในสภาพปัจจุบันของแต่ละบุคคล

2.8.4 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ได้จัดประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง (Teacher made tests) และ
แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized tests) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะถามเนื้อหาเหมือนกัน คือ
ถามส่ิงท่ีผู้เรียนได้รับจากการเรียนการสอนซึ่งจัดกลุ่มพฤติกรรมได้ 6 ประเภท คือ ความรู้ ความจำ
ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน

1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ใน
การทดสอบผู้เรียนในช้ันเรียน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


Click to View FlipBook Version