The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

5.1รายงานผลการสังเคราะห์ SAR ปีการศึกษา 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kanchana Noopasuk, 2023-09-02 13:29:32

รายงานผลการสังเคราะห์ SAR ปีการศึกษา 2565

5.1รายงานผลการสังเคราะห์ SAR ปีการศึกษา 2565

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕


ก รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ คำนำ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้กล่าวถึง การประกันคุณภาพการศึกษา ว่าเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละ ระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่ สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาขึ้น เพื่อให้เป็นสิ่งยืนยันและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ สาธารณชนว่า สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษาแต่ละแห่งต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาที่มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา แต่ละระดับและประเภทการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำสถานศึกษา ที่ส่งผลให้ การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาของสถนศึกษาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยกำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีผลการดำเนินงานของ สถานศึกษาและข้อมูลแนวทางการพัฒนาของสถานศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผลการ ดำเนินงานของสถานศึกษาจากรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ระดับปฐมวัย และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับการส่งเสริม สนับสนุน วางแผนพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามที่กำหนด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดทำแนวทางการ สังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาส ของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของทางมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ มาเป็นแนวทางการสร้างเครื่องมือที่ใช้สังเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้ ดำเนินงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และหน่วยงาน ต้นสังกัดสามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้ตามที่ กำหนด


ข รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ จึงได้ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผล จัดทำรายงานผลการสังเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ของโรงเรียนในสังกัด เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาและ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สูงขึ้น โดยเน้นการศึกษาเฉพาะคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย และคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ขอขอบคุณคณะทำงานและ ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของ สถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้ จะสามารถใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ให้ยั่งยืนต่อไป กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒


ค รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สารบัญ หน้า คำนำ..................................................................................................................................................... ก สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………………….. ค สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………………………………………………. จ สารบัญแผนภาพ……………………………………………………………………….………………………………………………. ช บทสรุปผู้บริหาร.............................................................................................................. .......................... ซ ตอนที่ ๑ บทนํา................................................................................................................................ ๑ - หลักการและเหตุผล........................................................................................................................... ๑ - วัตถุประสงค์............................................................................................................................. ......... ๒ - กรอบแนวคิดการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา...................................... ๒ - โครงสร้างของรายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา...................................... ๒ - ขั้นตอนการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา................................................ ๓ - กรอบเวลาการดำเนินงานสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา.......................... ๓ - ประโยชน์ของการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา...................................... ๕ - การนำผลการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาไปใช้……………………………….. ๕ ตอนที่ ๒ ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2..................... ๖ - สภาพทั่วไปของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา……………………………….……………..…………..………………. ๖ - ข้อมูลทางการศึกษา………………………………………………………….…………………….………………….…….... ๑๑ ตอนที่ ๓ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา........................................................................................... ๑๖ - จำนวนสถานศึกษา……………………………………………………………………………………………………………… ๑๖ - ข้อมูลจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา.............................................. ๑๖ - ข้อมูลนักเรียนในสังกัด...................................................................................................................... ๑๗ - ระดับชั้นที่เปิดสอน........................................................................................................................... ๑๗ - โรงเรียนที่ได้รับการประเมินภายนอกรอบล่าสุด รอบ ๔................................................................... ๑๘ - ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย........................................................... ๒๐ - ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน....................................... ๒๑


ง รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สารบัญ (ต่อ) หน้า ตอนที่ ๔ รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา............................................ ๒๒ - ส่วนที่ ๑ ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย………………………. ๒๒ - ส่วนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย…………………………………………………………………………………………………………….……… ๔๐ - ส่วนที่ ๑ ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน...... ๕๐ - ส่วนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.............................................................................................................. ๗๖ เอกสารอ้างอิง................................................................................................................................. ๘๖ ผู้จัดทำ............................................................................................................................................ ๘๗


จ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ ๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเอง ได้ ๒๓ ๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ๒๔ ๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ๒๕ ๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ๒๖ ๕ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ๒๗ ๖ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ๒๘ ๗ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ๒๘ ๘ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ๒๙ ๙ ให้บริการสี่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัด ประสบการณ์สำหรับครู ๓๐ ๑๐ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ๓๑ ๑๑ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ๓๒ ๑๒ การสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ๓๓ ๑๓ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ๓๔ ๑๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไป ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ๓๕ ๑๕ จุดเด่น ๓๖ ๑๖ จุดที่ควรพัฒนา ๓๘ ๑๗ แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น ๓๙ ๑๘ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ๔๑ ๑๙ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย จำแนกตามรายกลุ่มประสิทธิภาพ ๔๖ ๒๐ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ๕๑ ๒๑ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ๕๒ ๒๒ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ๕๓


ฉ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตารางที่ ๒๓ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๕๔ ๒๔ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ๕๕ ๒๕ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติต่องานอาชีพ ๕๖ ๒๖ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ๕๗ ๒๗ ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ๕๘ ๒๘ การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ๕๙ ๒๙ สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ๖๐ ๓๐ สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ๖๑ ๓๑ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา ๖๒ ๓๒ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ๖๓ ๓๓ พัฒนาครู และบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ๖๔ ๓๔ จัดสภาพแวดล้อมทางทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คุณภาพ ๖๕ ๓๕ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย ๖๖ ๓๖ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตได้ ๖๗ ๓๗ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๖๘ ๓๘ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ๖๙ ๓๙ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ๗๐ ๔๐ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภายและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ๗๑ ๔๑ จุดเด่น ๗๒ ๔๒ จุดที่ควรพัฒนา ๗๓ ๔๓ แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น ๗๔ ๔๔ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๗๗ ๔๕ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามรายกลุ่มประสิทธิภาพ ๘๒


ช รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ สารบัญแผนภาพ หน้า แผนภาพที่ ๑ กรอบแนวคิดการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ๒ ๒ ขั้นตอนการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ๓ ๓ กรอบเวลาการดำเนินงานสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของ สถานศึกษา ๔


ซ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สรุปได้ดังนี้ ๑. การสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ระดับปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ได้ดำเนินการสังเคราะห์ผลการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา จำนวน ๒๑4 แห่ง พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนครูผู้สอนระดับ ปฐมวัย ต่ำกว่า ๑๐ คน (ร้อยละ 99.53) มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน ๑9๓ แห่ง (ร้อยละ ๙๐.๑๙) ไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน 2๑ แห่ง (ร้อยละ ๙.๘๑) สถานศึกษามีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า ๕๐ คน จำนวน 20๘ แห่ง (ร้อยละ 9๗.๒๐) มากกว่า ๕๐ คน แต่ไม่เกิน ๑๐๐ คน จำนวน ๔ แห่ง (ร้อยละ ๑.๘๗) และจำนวนนักเรียนมากกว่า ๑๐๐ คนขึ้นไป จำนวน 2 แห่ง (ร้อยละ ๐.๙๓) เป็นสถานศึกษาที่มี วัตถุประสงค์ปกติทั่วไป 214 แห่ง (ร้อยละ 100) ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาโดยรวม สถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำนวน ๘๕ แห่ง (ร้อยละ 3๙.๗๒) ระดับดีเลิศ จำนวน 1๐๗ แห่ง (ร้อยละ 50) และระดับดี จำนวน ๒๒ แห่ง (ร้อยละ ๑๐.๒๘) โดยมีผลประเมินแยกเป็นรายมาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีระดับยอดเยี่ยม จำนวน ๗๐ แห่ง (ร้อยละ ๓๒.๗๑) ระดับดีเลิศ จำนวน 1๒๐ แห่ง (ร้อยละ ๕๖.๐๗) และระดับดี จำนวน 2๔ แห่ง (ร้อยละ 11.๒๒) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีระดับ ยอดเยี่ยม จำนวน ๙๑ แห่ง (ร้อยละ ๔๒.๕๒) ระดับดีเลิศ จำนวน ๙9 แห่ง (ร้อยละ ๔๖.๒๖) และระดับดี จำนวน 2๔ แห่ง (ร้อยละ ๑๑.๒๒) มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีระดับ ยอดเยี่ยม จำนวน ๘๖ แห่ง (ร้อยละ ๔๐.๑๙) ระดับดีเลิศ จำนวน 1๐๕ แห่ง (ร้อยละ ๔๙.๐๗) และระดับดี จำนวน 2๓ แห่ง (ร้อยละ ๑๐.๗๔) จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเด่น ด้านคุณภาพของเด็ก พบว่า เด็กมีผลการพัฒนาด้านสังคม มากที่สุด ร้อยละ 99.07 รองลงมา คือ พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ ร้อยละ 98.60 และพัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 98.13 ตามลำดับ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า กระบวนการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ และการพัฒนาสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค เป็นต้น มากที่สุด ร้อยละ 98.60 รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ร้อยละ 98.13 และการบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อ เทคโนโลยี สอดคล้องกับพัฒนาการ ร้อยละ 93.๔๖ ตามลำดับ ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่า ความรักเด็ก ดูแลเอาใจใส่เด็ก และ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก มากที่สุด ร้อยละ 99.53 รองลงมา คือ ความสามารถในการจัดกระบวนการ เรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ร้อยละ 99.07 และความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ เน้นเด็กเป็นสำคัญ ร้อยละ 99.07 ตามลำดับ


ฌ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ จุดที่ควรพัฒนา ด้านคุณภาพของเด็ก พบว่า พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา คิดรวบยอด คิดริเริ่ม สร้างสรรค์มากที่สุด ร้อยละ 86.92 รองลงมา คือ พัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 85.51 และ พัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 80.37 ตามลำดับ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า จัดห้องเรียนที่ วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีให้ เพียงพอ มากที่สุด ร้อยละ 84.58 รองลงมา คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค ร้อยละ 81.78 และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ร้อยละ 79.44 ตามลำดับ ด้านการจัดประสบกรณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่า จัดครูปฐมวัยให้ครบชั้นเรียน มากที่สุด ร้อยละ 88.79 รองลงมา คือ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็น สำคัญ ร้อยละ 82.24 และการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็ก ร้อยละ 81.78 ตามลำดับ แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น สถานศึกษามีแผนดำเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพเด็ก ด้านพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคม ร้อยละ 98.13 พัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหา ความรู้ได้ร้อยละ 97.66 และด้านพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัย ของตนเองได้และด้านพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ร้อยละ 96.26 ๒) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อ เพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ร้อยละ 96.26 ด้านหลักสูตรที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ร้อยละ 95.79 ด้านระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร้อยละ 95.33 ด้าน การส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ร้อยละ 94.86ด้านการให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ร้อยละ 93.93 และการจัดครู ให้เพียงพอกับชั้นเรียน ร้อยละ 85.05 ๓) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ด้านการจัดประสบการณ์ที่ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ร้อยละ 98.60 ด้านประเมินพัฒนาการเด็ก ตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ร้อยละ 98.13 ด้านการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ร้อยละ 96.73 และด้านการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ร้อยละ 95.33


ญ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒. การสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ได้ดำเนินการสังเคราะห์ผลการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) จำนวน ๒๑๖ แห่ง พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนครูผู้สอน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่ำกว่า ๒๐ คน (ร้อยละ 9๙.๐๗) มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน ๑9๓ แห่ง (ร้อยละ 8๙.๓๕) ไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน 2๓ แห่ง (ร้อยละ 1๐.๖๕) สถานศึกษาจำนวน 17๓ แห่ง มีจำนวนนักเรียน ต่ำกว่า ๑๒๐ คน (ร้อยละ 8๐.๐๙) และมีจำนวน 4๓ แห่ง ที่มีนักเรียนตั้งแต่ ๑๒๐ คนขึ้นไป (ร้อยละ 1๙.9๑) เป็นสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ปกติทั่วไป จำนวน 216 แห่ง (ร้อยละ 100) ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาโดยรวม สถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำนวน 4๐ แห่ง (ร้อยละ ๑๘.๕๒) ระดับดีเลิศ จำนวน 1๔๖ แห่ง (ร้อยละ 6๗.5๙) ระดับดี จำนวน 3๐ แห่ง (ร้อยละ 1๓.8๙) โดยมีผลประเมินแยกเป็นรายมาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน มีระดับ ยอดเยี่ยม จำนวน 2๖ แห่ง (ร้อยละ 1๒.๐๔) ระดับดีเลิศ จำนวน 154 แห่ง (ร้อยละ 71.29) ระดับดี จำนวน 3๖ แห่ง (ร้อยละ 1๖.๖๗) มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีระดับยอดเยี่ยม จำนวน ๗๐ แห่ง (ร้อยละ ๓๒.๔๑) ระดับ ดีเลิศ จำนวน 1๑๙ แห่ง (ร้อยละ ๕๕.๐๙) ระดับดี จำนวน 27 แห่ง (ร้อยละ 12.50) มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระดับ ยอดเยี่ยม จำนวน 5๒ แห่ง (ร้อยละ 2๔.๐๗) ระดับดีเลิศ จำนวน 1๓๓ แห่ง (ร้อยละ ๖๑.๕๘) ระดับดี จำนวน 31 แห่ง (ร้อยละ 14.35) จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเด่น ด้านคุณภาพผู้เรียน จุดเด่นที่พบมากที่สุด คือ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด (ร้อยละ 100) รองลงมา คือ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการ คิดคำนวณ (ร้อยละ 97.22) และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ร้อยละ 93.98) ตามลำดับ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเด่นที่พบมากที่สุด คือ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน (ร้อยละ 100) รองลงมา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ (ร้อยละ 99.54) และจัดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 94.91) ตามลำดับ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จุดเด่นที่พบมากที่สุด คือ การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก (ร้อยละ 97.69) รองลงมา คือ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและ ปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้(ร้อยละ 97.22) และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้(ร้อยละ 94.91) ตามลำดับ


ฎ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ จุดที่ควรพัฒนา ด้านคุณภาพผู้เรียน จุดที่ควรพัฒนามากที่สุด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร สถานศึกษา (ร้อยละ 87.50) รองลงมา คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา (ร้อยละ 84.26) และความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (ร้อยละ 81.48) ตามลำดับ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ จุดที่ควรพัฒนามากที่สุด คือ มีระบบบริหาร จัดการคุณภาพสถานศึกษา (ร้อยละ 86.11) รองลงมา คือ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียน รอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย (ร้อยละ 85.19) และพัฒนาครูและบุคลากรให้มี ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (ร้อยละ 84.72) ตามลำดับ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จุดที่ควรพัฒนามากที่สุด คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 87.04) และตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน (ร้อยละ 84.26) ตามลำดับ แผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น สถานศึกษามีแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ร้อยละ 98.15 รองลงมา คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ 97.22 และ ด้านคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีร้อยละ 95.37 ๒) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มี ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ร้อยละ 95.83 ด้านการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตาม หลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 95.37 และด้านระบบบริหารจัดการคุณภาพของ สถานศึกษา และด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คุณภาพ ร้อยละ 93.98 ๓) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนา ร้อยละ 96.30 ด้านการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ร้อยละ 95.83 และด้านการใช้ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ผู้เรียน ร้อยละ 93.98


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๑. หลักการและเหตุผล การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาของสถาศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุม ตรวจสอบระบบ การบริหารคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ สาธารณชนว่า สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งมีกระบวนการดังนี้ คือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่กฎกระทรวงกำหนดในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา การจัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาศึกษา การดำเนินการตา มแผนที่ กำหนดไว้ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และการจัดทำรายงานผลการ ประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) จัดส่งให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล สถานศึกษาเป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีการศึกษา สถานศึกษาต้องจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และจัดส่งให้หน่วยงานต้น สังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแล้ว หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาทำการรวบรวม ตรวจสอบ และสังเคราะห์ผลการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา พร้อมกับพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบเพิ่มเติม โดยการรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแต่ละ แห่งและสรุปผลจัดทำรายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา จัดส่งไปยังสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศและแนวทางในการ ประเมินคุณภาพภายนอกและใช้ผลของการสังเคราะห์เป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของ สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาจึงมี ความสำคัญจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักการทางวิชาการ ครอบคลุมสอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษาและตรงตามเจตนารมณ์ของการประกันคุณภาพทางการศึกษา ตอนที่ ๑ บทนำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๒. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสของสถานศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและยกระดับคุณภาพครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา ๓. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓. กรอบแนวคิดการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา การดำเนินการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาดำเนินการเป็น ๒ ส่วน คือ การสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนา คุณภาพของสถานศึกษา รายละเอียดโดยสรุป ดังแผนภาพที่ ๑ แผนภาพที่ ๑ กรอบแนวคิดการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ๔. โครงสร้างของรายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา การนำเสนอรายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ ๑ ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย บทสรุปสำหรับผู้บริหาร และผลการสังเคราะห์ข้อมูลผลรายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา ส่วนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาภาพรวมของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๕. ขั้นตอนการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา การสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถนศึกษา เป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานกำกับดูแลสถานศึกษา ดำเนินงานโดยเริ่มจากการรวบรวมรายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษา ศึกษาแนวทางสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาสังเคราะห์ผลการประเมิน ตนเองของสถานศึกษา และรายงานผลการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา มีขั้นตอน โดยสรุปดังแผนภาพที่ ๒ แผนภาพที่ ๒ ขั้นตอนการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ๖. กรอบเวลาการดำเนินงานสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา การดำเนินงานสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญ โดยตรงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องดำเนินการ โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์การดำเนินงานตามภาระ งานที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งจะต้องออกแบบวางแผน ดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไข ช่วงเวลาที่กำหนด รายละเอียดดังแผนภาพที่ ๓


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๔ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ แผนภาพที่ ๓ กรอบเวลาการดำเนินงานสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๕ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๗. ประโยชน์ของการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ๑. สถานศึกษาได้ทราบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็น ประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนาการบริหารและการจัดศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในภาพรวมระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาการจัด การศึกษาให้แก่สถานศึกษาอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น ๓. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาและในภาพรวมระดับประเทศที่เป็น ประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบาย ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ๘. การนำผลการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาไปใช้ ๑. สถานศึกษา นำผลการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำผลการสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเอง ไปใช้เป็นข้อมูลใน การให้การช่วยเหลือ แนะนำ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละ แห่งอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ๓. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ผลการสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองไปใช้เป็น ข้อมูลในการกำหนดนโยบายที่ปฏิบัติได้จริงและส่งผลต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของ หน่วยงานในสังกัด ๔. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) นำผลการสังเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศประกอบการประเมินคุณภาพ ภายนอก


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๖ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๑. สภาพทั่วไปของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1.1 ข้อมูลทั่วไป สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งอยู่ที่อำเภอวาปีปทุม ทางตอนใต้จังหวัด มหาสารคาม ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ 16 องศา 40 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 50 ลิปดา และ 103 องศา 30 ลิปดาตะวันออก โดยมีพื้นที่บริการ ครอบคลุม 5 อำเภอ คือ อำเภอวาปีปทุม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน และอำเภอ ยางสีสุราช และมีพื้นที่ตามเขตการปกครอง ดังนี้ ข้อมูลระยะทาง อำเภอ พื้นที่ (ตร.กม.) ระยะทางจาก จ.(กม.) 1. วาปีปทุม 605.774 40 2. พยัคฆภูมิพิสัย 342.790 82 3. นาเชือก 528.798 58 4. นาดูน 248.449 64 5. ยางสีสุราช 242.507 74 ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองมหาสารคามและอำเภอแกดำ (สพป.มหาสารคาม เขต 1) ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ (สพป.สุรินทร์ เขต 2) ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอศรีสมเด็จ สพป.ร้อยเอ็ดเขต 1 อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด (สพป.ร้อยเอ็ดเขต 2) ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม (สพป.มหาสารคาม เขต 1) และอำเภอนาโพธิ์ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ (สพป.บุรีรัมย์ เขต 4) แผนที่แสดงเขตบริการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตอนที่ ๒ ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๗ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 1.2 ข้อมูลพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้แต่งตั้งธรรมการจังหวัดเป็นผู้ดูแลเรื่องการศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 โดยมีขุนการกสิกขวิธีเป็นธรรมการจังหวัดคนแรก ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด มหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อธรรมกรจังหวัดมาเป็นศึกษาธิการจังหวัด มีนายโสภา ปาลบุตร เป็นศึกษาธิการจังหวัด การจัดการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้มีกรมสังกัดอยู่หลายกรม ทำให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ การจัดการศึกษาหลายหน่วยงาน มีความยุ่งยากในการติดต่อประสานงาน ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 120 ตอนที่ 62 ก มีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ส่งผลให้มีการประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศออกเป็น 175 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ของ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ มาตรา 37 แห่ง พระราชบัญญัติการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ตามความในมาตรา 8 และมาตรา 34 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 ข้อ 3 และข้อ 4 ประกอบกับคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมติคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ในการประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2560 สำหรับจังหวัดมหาสารคาม แบ่ง เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาออกเป็น 3 เขต ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1 ตั้งอยู่เลขที่ 85 ถนนศรีสวัสดิ์ดำเนิน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งอยู่เลขที่ 417 ถนนสมารักษ์ตำบล หนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และ 3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3 ตั้งอยู่เลขที่ 354 หมู่ 2 ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งอยู่เลขที่ 417 ถนน สมารักษ์ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44120 โทร. 043-798349 โทรสาร 043-798043 web site : http://ww.mkarea2.go.th สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 ตั้งอยู่ที่อำเภอวาปีปทุม ทางตอนใต้จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ 16 องศา 40 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 50 ลิปดา และ 103 องศา 30 ลิปดาตะวันออก โดยมีพื้นที่บริการครอบคลุม 5 อำเภอ คือ อำเภอวาปีปทุม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน และอำเภอยางสีสุราช


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๘ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 1.3 โครงสร้างการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๙ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 1.4 ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง เบอร์โทร 1 ว่าที่ ร.ต.สุรสิทธิ์ ถิตย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ๐๘๔-๔๒๘-๕๔๙๖ 2 นายวิทยา นนท์นภา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 0๘-๑๗๙๙-๙๑๗๗ 3 นายไพทูรย์ ชาวโพธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 08-1670-2631 4 นายศรีสินธิ์ ศรีนภาดร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ๐๙๕-๖๔๕-๘๒๐๗ 1.5 ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง เบอร์โทร ๑ นางณิฐากร พยุหะ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ ๐๘๘-๕๖๑-๕๒๓๘ ๒ นางรวิภา กตารัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ๐๙๑-๐๕๖-๘๕๖๕ ๓ นางสาวอัญช์นิภา บุตรศรี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัด การศึกษา ๐๘๙-๕๖๙-๕๕๙๙ ๔ นางสาวสวรินทร์ หอมดวง ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานการเงิน และสินทรัพย์ ๐๙๘-๑๔๖-๑๖๖๔ ๕ นางสาวละมุล อนุสัตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ๐๙๑-๐๖๑-๓๙๗๙ ๖ นางสุธีรา ปะสังติโย ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและ ประเมินผลการจัดการศึกษา ๐๘๑-๒๕๒-๗๒๖๖ ๗ นางนันทเนตร ปะวะเส ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา ๐๘๑-๒๖๑-๖๐๘๔ ๘ ส.อ.พงศ์พัฒน์ ปักกาโล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษา ทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร ๐๙๑-๐๕๗-๙๗๐๐ ๙ นายสมบัติ คุณแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายและคดี ๐๘๘-๕๓๙-๒๓๒๔ ๑๐ นายพชรวรรธน์ พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน ๐๖๑-๓๖๖-๒๕๕๕


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๐ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 1.6 ข้อมูลจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่ง จำนวน (คน) 1. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 1 2. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 3 3. ศึกษานิเทศก์ ๑๔ 4. นักจัดการงานทั่วไป 4 5. นักทรัพยากรบุคคล 9 6. นักวิชาการพัสดุ 1 7. นักวิชาการศึกษา 7 8. นักวิชาการเงินและบัญชี 6 9. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 6 10. นักวิชาการตรวจสอบภายใน 1 11. นิติกร 2 12. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 1 13. เจ้าพนักงานธุรการ 6 14. เจ้าพนักงานพัสดุ 1 15. พนักงานงานราชการ 2 16. ลูกจ้างชั่วคราว 6 17. นักประชาสัมพันธ์ 1 18. พนักงานบริการ 1 19. พนักงานพิมพ์ดีด 1 20. ช่างปูนชั้น 4 2 21. พนักงานขับรถยนต์ 1 22. แม่บ้าน 2 23. ยาม 2 รวม 80 หมายเหตุข้อมูลจาก BIG DATA สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 (ที่มา : http://101.51.137.189/bigdata/tablePerson.php?op=3&tab1=active)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๑ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 2. ข้อมูลทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการ การศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 5 อำเภอ จำนวน 221 แห่ง แบ่งเป็น 16 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้ อำเภอวาปีปทุม จำนวน 5 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 1 1 เมืองวาปีปทุม 11 บ้านโนนเขวาหนองแสง 2 อนุบาลวาปีปทุม 12 ชุมชนบ้านหนองทุ่ม 3 บ้านนาเลา 13 บ้านโคกสีทองหลาง 4 บ้านหนองไฮ 14 บ้านโคกแปะ 5 บ้านโคกใหญ่ 15 บ้านหนองคูม่วง 6 บ้านจอกขวาง 16 บ้านหนองตาไก้เผือกใต้วิทยา 7 บ้านหัวงัว 17 ชุมชนบ้านโพธิ์สองห้องวิทยา 8 บ้านหนองคูไชยหนองขาม 18 บ้านกระยอมหนองเดิ่น 9 ราชประชานุเคราะห์17 19 บ้านโนนท่อน 10 บ้านโสกยาง กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 2 1 บ้านดงใหญ่ 9 บ้านโคกใหญ่วิทยา 2 บ้านโคกไร่ 10 บ้านตำแย(ประชานุเคราะห์) 3 ชุมชนบ้านงัวบา 11 บ้านแคน 4 บ้านก่อ 12 บ้านหนองหว้า 5 บ้านสระแก้วหนองคู 13 บ้านแวงนคร (สังฆวิทยา) 6 บ้านเขวาค้อโคกกลาง 14 บ้านดู่ 7 บ้านแวงชัยโคกหนองโจด 15 บ้านดอนหัน 8 บ้านแวงเหล่าเก่าน้อย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 3 1 บ้านหนองไผ่ 7 บ้านมะแซวหนองโง้ง 2 บ้านดอนแดงน้ำเกลี้ยง 8 บ้านเปลือยดอนมันน้ำ 3 บ้านนาข่า 9 บ้านหวาย 4 บ้านหนองแต้ 10 บ้านวังจานโนนสำราญ 5 บ้านหนองคลองใหม่หัวนาคำ 11 บ้านโคกเต่า 6 บ้านโคกสูงหนองเสียวหนองขี 12 บ้านตลาดโนนโพธิ์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๒ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 4 1 บ้านสนาม 8 บ้านกุดนาดีโนนลาน 2 บ้านขามป้อม 9 บ้านหนองผือ 3 บ้านเสือโก้ก 10 บ้านดงน้อย 4 บ้านไก่นา 11 บ้านหนองแวงบกไผ่ล้อมวิทยา 5 บ้านหนองแสน 12 บ้านโนนจาน 6 บ้านหนองกุง 13 บ้านโนน 7 บ้านดู่หนองโกโนนสมบูรณ์ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 5 1 บ้านชาดฝางหัวเรือ 7 บ้านหนองข่า 2 ราชประชานุเคราะห์16 8 บ้านหนองแกวิทยา 3 บ้านโพธิ์ชัย 9 บ้านนาฝายเหล่าหุ่ง 4 บ้านประแหย่ง 10 บ้านตำแย 5 ราชประชานุเคราะห์18 11 บ้านแก่นเท่า 6 บ้านหนองบัวกุดอ้อ 12 บ้านหนองเหล่า อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 4 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 6 1 บ้านเมืองเสือ 8 บ้านโนนแคน 2 อนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย 9 บ้านนาค่าย 3 บ้านดอนหมี 10 บ้านขี้เหล็ก 4 บ้านหนองแคน 11 บ้านโคกสะอาด 5 บ้านหนองห้าง 12 บ้านหนองกกหนองยาว 6 บ้านดง 13 บ้านหนองจานบุลาน 7 บ้านโนนม่วงท่าพลับพลา กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 7 1 บ้านสระแคน 9 บ้านหนองระเวียง 2 บ้านหนองฮี 10 บ้านทัพป่าจิก 3 โนนจานวิทยา 11 บ้านจอมพะลาน 4 บ้านสระบาก 12 บ้านเก่าน้อยป่าชาดโนนเพ็ก 5 บ้านดงเย็น 13 บ้านหนองแสงทุ่มยาว 6 บ้านเมืองเตา 14 บ้านหนองบัวคูสองห้อง 7 บ้านโนนบ่อ 15 บ้านหนองบัวแก้ว 8 บ้านโนนสูงดอนหลี่ 16 บ้านค่ายนุ่นโนนแคน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๓ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 8 1 บ้านมะโบ่ 8 บ้านมะชมโนนสง่า 2 ชุมชนนาสีนวล 9 บ้านหนองแก 3 บ้านหนองผือ 10 บ้านเหล่าน้อย 4 บ้านหนองสนมดอนติ้ว 11 พยัคฆภูมิพิสัย 5 บ้านหัวหมู 12 บ้านดงบากหนองตาเต็น 6 บ้านเขวาทุ่ง 13 บ้านเตาบ่า 7 บ้านน้ำสร้างหนองบะ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 9 1 บ้านเหล่า(คุรุประชานุเคราะห์) 8 บ้านหนองบัวกาเหรียญ 2 บ้านแก่นท้าว 9 บ้านหนองหว้าเฒ่า 3 บ้านเม็กดำ 10 บ้านโคกล่ามวิทยา 4 บ้านขามเรียน 11 บ้านเม็กน้อยหนองไผ่ 5 บ้านหนองนาใน 12 บ้านหารฮี 6 บ้านตาลอก 13 บ้านสำโรงโคกจันทร์หอมวิทยา 7 บ้านดงหัวช้าง อำเภอนาเชือก จำนวน 3 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 10 1 ชุมชนบ้านสำโรง 8 บ้านโคกก่องโคกสูงหนองแต้ 2 บ้านขี้เหล็กขี้ตุ่นหลุบเปลือย 9 บ้านเก่าใหญ่โนนสะอาด 3 บ้านปอพานหนองโน 10 บ้านวังหินโนนสว่าง 4 บ้านหนองสระ 11 บ้านเหล่ากว้าง 5 บ้านเหล่าค้อ 12 บ้านดงม่วงหัวดงหนองบาก 6 บ้านโนนแร่ 13 บ้านโพนทราย 7 บ้านหนองแดงสหมิตร 14 บ้านชุมแสงโนนเหลี่ยม กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 11 1 บ้านหัวช้าง 10 บ้านหนองแฮหนองเหล็ก 2 หนองกุงวิทยา 11 บ้านหนองเม็ก 3 บ้านห้วยหิน (ศิลาคามส่ำผดุง) 12 ชุมชนหนองเลาเหล่าอีหมัน 4 บ้านห้วยทราย 13 บ้านกุดน้ำใส 5 บ้านป่าแดง 14 บ้านเขวาไร่ (ดรุณวิทยา) 6 บ้านหนองม่วง(สุบินประชาพัฒนา) 15 บ้านห้วยหลาว 7 บ้านอีโต้ 16 บ้านหนองบัวแดง 8 บ้านหนองแดงหนองแสง 17 บ้านหนองแสง 9 บ้านหนองแดงหนองแสง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๔ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 12 1 บ้านปลาขาว 7 บ้านกระต่ายโนนสวัสดิ์ 2 บ้านหนองโพธิ์ 8 บ้านโคกมนโนนทอง 3 บ้านหนองบึง 9 บ้านหนองปอ 4 บ้านคึมบง 10 บ้านตลาดม่วง 5 บ้านตำแยโนนยาง 11 บ้านหัวสระ 6 บ้านป่าตองหนองงู 12 บ้านนางเลิ้งโคกล่าม อำเภอนาดูน จำนวน 2 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 13 1 กู่สันตรัตน์ 9 บ้านร่วมใจ 2 2 บ้านหนองแต้น้อย 10 บ้านหนองผงขี้เถ้า 3 บ้านหนองบัวคู 11 บ้านโนนเห็ดไค 4 บ้านหนองไผ่ด้ามขวาน 12 บ้านเครือซูด 5 บ้านดงยาง 13 บ้านเหล่าจั่น 6 บ้านหนองโนทับม้า 14 บ้านโพนทอง 7 บ้านหนองป้าน 15 บ้านหลุบควันเมืองหงส์ 8 บ้านยางอิไลดอนก่อ 16 บ้านสระบัว กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 14 1 บ้านหัวดง 8 บ้านหนองบัวน้อย 2 อนุบาลนครจัมปาศรี 9 บ้านโคกยาว 3 บ้านแดงโพงคำแก้ว 10 บ้านดอนดู่วังบอน 4 บ้านหนองกลางโคก 11 บ้านโคกเพิ่มโคกกลาง 5 บ้านหนองจิก (นาดูน) 12 บ้านหนองหิน 6 บ้านนาฝาย 13 ชุมชนบ้านดงบัง 7 บ้านโกทา(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสงเคราะห์ที่ 656)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๕ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ อำเภอยางสีสุราช จำนวน 2 กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 15 1 อนุบาลดงเมืองน้อย 7 บ้านตาพวนสร้างแซ่ง 2 บ้านหนองจิก 8 บ้านหนองบัวสันตุ 3 บ้านโนนรัง 9 บ้านหนองรูแข้ 4 บ้านสว่าง 10 บ้านหนองหน่อง 5 บ้านหัวช้างโคกม่วง 11 บ้านหนองแวง 6 จตุคามประชาสรรค์ กลุ่มเครือข่ายฯ ที่ 16 1 บ้านโดน 7 บ้านหนองแปน 2 บ้านศาลา 8 บ้านแวงดงหนองยาง 3 บ้านนาภู 9 บ้านนกเหาะ 4 บ้านเหล่าหมากคำ 10 บ้านบุ่งง้าว 5 บ้านแวงยางกุดตะเข้ 11 บ้านเปล่งโนนกระยอม 6 ชุมชนบ้านยางสีสุราช 12 บ้านดงแคน หมายเหตุ - จำนวนสถานศึกษา ทั้งหมด ๒๒๑ โรงเรียน ไปเรียนรวม จำนวน ๗ โรงเรียน ได้แก่ ๑. โรงเรียนบ้านหารฮีเรียนรวมกับโรงเรียนบ้านเหล่า(คุรุประชานุเคราะห์) ๒. โรงเรียนบ้านหลุบควันเมืองหงส์ เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านดงยาง ๓. โรงเรียนบ้านสำโรงโคกจันทร์หอมวิทยา เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านเม็กดำ ๔. โรงเรียนบ้านหนองม่วง (สุบินประชาพัฒนา) เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านหัวช้าง ๕. โรงเรียนบ้านเก่าใหญ่โนนสะอาด เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านวังหินโนนสว่าง ๖. โรงเรียนบ้านเหล่ากว้าง เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านขี้เหล็กขี้ตุ่นหลุบเปลือย ๗. โรงเรียนบ้านร่วมใจ ๒ เรียนรวมกับโรงเรียนบ้านโพนทอง - โรงเรียนบ้านขามป้อม โรงเรียนบ้านร่วมใจ ๒ และบ้านหลุบควันเมืองหงส์ ไม่มีผู้เรียนระดับปฐมวัย - โรงเรียนบ้านสำโรงโคกจันทร์หอมวิทยา ไม่มีนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๖ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ๑. จำนวนสถานศึกษา สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ในพื้นที่ 5 อำเภอ จำนวน 2๑๖ แห่ง ดังนี้ ที่ อำเภอ ขนาดโรงเรียน เล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่พิเศษ 1 วาปีปทุม ๖๔ ๕ 1 1 2 พยัคฆภูมิพิสัย ๔๕ ๗ 1 0 3 นาเชือก 35 ๖ 0 0 4 นาดูน 2๗ ๑ 0 0 5 ยางสีสุราช ๒๒ ๑ 0 0 โรงเรียนทั้งหมด ๑๙๓ ๒๐ 2 1 ๒. ข้อมูลจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่ง จำนวน (คน) 1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 19๓ 2. ครู(เฉพาะข้าราชการครู) 1,6๐๓ 3. บุคลากรอื่น (พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ครูธุรการ เจ้าหน้าที่ ครูพี่เลี้ยง พนักงานขับรถ คนสวน พนักงานรักษาความปลอดภัย นักการภารโรง) 6๓๐ รวม 2,4๒๖ มีผู้บริหาร จำนวน 1๙๓ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 8๙.๓๕ ไม่มีผู้บริหาร จำนวน ๒๓ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1๐.๖๕ ตอนที่ ๓ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๗ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 3. ข้อมูลนักเรียนในสังกัด ข้อมูลจำนวนโรงเรียนและนักเรียนในสังกัดแยกอำเภอและระดับ ที่ อำเภอ จำนวน โรงเรียน จำนวนนักเรียน รวมทั้งสิ้น ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน 1 วาปีปทุม ๗๑ 1,8๘๔ ๖,9๙๒ ๘,๘๗๖ 2 พยัคฆภูมิพิสัย ๕๓ 1,๑๕๓ 4,80๓ ๕,๙๕๖ 3 นาเชือก ๔๑ ๗๘๖ 2,6๖๐ ๓,๔๔๖ 4 นาดูน ๒๘ ๖๑๙ 2,๑๙๕ ๒,๘๑๔ 5 ยางสีสุราช ๒๓ 4๙๕ 1,๘๓๕ ๒,๓๓๐ รวมทั้งสิ้น 216 ๔,๙๓๗ ๑๘,๔๘๕ 23,4๒๒ 4. ระดับชั้นที่เปิดสอน ที่ อำเภอ จำนวน โรงเรียน ระดับชั้นที่เปิดสอน รวมทั้งสิ้น ระดับ ปฐมวัย – ป.๖ ระดับ ปฐมวัย – ม.๓ ระดับ ปฐมวัย – ม.๖ ระดับ ป. ๑ – ป.๖ 1 วาปีปทุม ๗๑ 56 1๓ 1 1 ๗๑ 2 พยัคฆภูมิพิสัย ๕๓ 39 14 0 0 ๕๓ 3 นาเชือก ๔๑ 33 8 0 0 ๔๑ 4 นาดูน ๒๘ 22 5 0 1 ๒๘ 5 ยางสีสุราช ๒๓ 16 7 0 0 ๒๓ รวมทั้งสิ้น 216 166 47 1 2 216 ระดับปฐมวัย – ป.๖ จำนวน 166 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 76.85 ระดับปฐมวัย – ม.๓ จำนวน 47 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 21.76 ระดับปฐมวัย – ม.๖ จำนวน 1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.46 ระดับ ป.๑ – ป.๖ จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.93


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๘ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 5. โรงเรียนที่ได้รับการประเมินภายนอกรอบล่าสุด รอบ ๔ 5.๑ ผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ หรือรอบภายใต้สถานการณ์ covid-๑๙ โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ 256๕ ระดับปฐมวัย ระดับ คุณภาพ จำนวน โรงเรียน ทั้งหมด จำนวน โรงเรียน ที่เข้ารับ การ ประเมิน ร้อยละ ผลการประเมินภายนอก มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3 จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ 214 ๒๑๔ ๑๐๐ ดีเยี่ยม ๒ 0.94 ๒ 0.94 3 1.40 ดีมาก ๔ 1.87 ๔ 1.87 3 1.40 ดี ๒๐๕ 95.79 ๒๐๕ 95.79 207 96.73 พอใช้ 3 1.40 3 1.40 1 0.47 ปรับปรุง หมายเหตุ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ หรือรอบภายใต้สถานการณ์ covid-๑๙ โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ระดับปฐมวัย จำนวนโรงเรียนที่เข้ารับการ ประเมิน จำนวน ๒๑๔ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ พบว่า มาตรฐานที่ ๑ ดีเยี่ยม จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.94 ดีมาก จำนวน 4 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.87 ดี จำนวน 205 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 95.79 พอใช้ จำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 1.40 มาตรฐานที่ 2 ดีเยี่ยม จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.94 ดีมาก จำนวน 4 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.87 ดี จำนวน 205 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 95.79 พอใช้ จำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 1.40 มาตรฐานที่ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.40 ดีมาก จำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.40 ดี จำนวน 207 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 96.73 พอใช้ จำนวน 1 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 0.47


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๑๙ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 5.2 ผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ หรือรอบภายใต้สถานการณ์ covid-๑๙ โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ 2564 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ คุณภาพ จำนวน โรงเรียน ทั้งหมด จำนวน โรงเรียน ที่เข้ารับ การ ประเมิน ร้อยละ ผลการประเมินภายนอก มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3 จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ 216 216 100 ดีเยี่ยม 2 0.93 3 1.39 2 0.93 ดีมาก 5 2.31 4 1.85 5 2.31 ดี 203 93.98 209 96.76 204 94.45 พอใช้ 6 2.78 5 2.31 ปรับปรุง หมายเหตุ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ หรือรอบภายใต้สถานการณ์ covid-๑๙ โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนโรงเรียนที่ เข้ารับการประเมิน จำนวน 216 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า มาตรฐานที่ ๑ ดีเยี่ยม จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.93 ดีมาก จำนวน 5 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 2.31 ดี จำนวน 203 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 93.98 พอใช้ จำนวน 6 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 2.78 มาตรฐานที่ 2 ดีเยี่ยม จำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.39 ดีมาก จำนวน 4 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.85 ดี จำนวน 209 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 96.76 มาตรฐานที่ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 0.93 ดีมาก จำนวน 5 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 2.31 ดี จำนวน 204 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 94.45 พอใช้ จำนวน 5 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 2.31


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๐ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๖. ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับปฐมวัย จำนวน 214 โรงเรียน ระดับ คุณภาพ ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ภาพรวม มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3 จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ ยอดเยี่ยม 85 39.72 70 32.71 91 42.52 86 40.19 ดีเลิศ 107 50.00 120 56.07 99 46.26 105 49.06 ดี 22 10.28 24 11.22 24 11.22 23 10.75 ปานกลาง กำลังพัฒนา รวมทั้งสิ้น 214 100 214 100 214 100 214 100 ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย จำนวน 214 โรงเรียน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวม ดี จำนวน 22 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 10.28 ดีเลิศ จำนวน 107 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ยอดเยี่ยม จำนวน 85 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 39.72 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๑ ดี จำนวน 24 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 11.22 ดีเลิศ จำนวน 120 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 56.07 ยอดเยี่ยม จำนวน 70 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 32.71 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๒ ดี จำนวน 24 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 11.22 ดีเลิศ จำนวน 99 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 46.26 ยอดเยี่ยม จำนวน 91 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 42.52 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๓ ดี จำนวน 23 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10.75 ดีเลิศ จำนวน 105 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 49.06 ยอดเยี่ยม จำนวน 86 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 40.19


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๑ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๗. ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 216 โรงเรียน ระดับ คุณภาพ ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ภาพรวม มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3 จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ จำนวน โรงเรียน ร้อยละ ยอดเยี่ยม 40 18.52 26 12.04 70 32.41 52 24.07 ดีเลิศ 146 67.59 154 71.29 119 55.09 133 61.58 ดี 30 13.89 36 16.67 27 12.50 31 14.35 ปานกลาง กำลังพัฒนา รวมทั้งสิ้น 216 100 216 100 216 100 216 100 ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 216 โรงเรียน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวม ดี จำนวน 30 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 13.89 ดีเลิศ จำนวน 146 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 67.59 ยอดเยี่ยม จำนวน 40 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 18.52 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๑ ดี จำนวน 36 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ดีเลิศ จำนวน 154 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 71.29 ยอดเยี่ยม จำนวน 26 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 12.04 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๒ ดี จำนวน 27 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ดีเลิศ จำนวน 119 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 55.09 ยอดเยี่ยม จำนวน 70 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 32.41 ผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานที่ ๓ ดี จำนวน 31 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 14.35 ดีเลิศ จำนวน 133 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 61.58 ยอดเยี่ยม จำนวน 52 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 24.07


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๒ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ผลการสังเคราะห์ผลการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา และส่วนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ ๑ ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ๑. ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ได้ดำเนินการ สังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา จำนวน ๒๑4 แห่ง พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย ต่ำกว่า ๑๐ คน (ร้อยละ 99.53) มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน ๑93 แห่ง (ร้อยละ 90.19) ไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน 21 แห่ง (ร้อยละ 9.81) สถานศึกษามีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า ๕๐ คน จำนวน 206 แห่ง (ร้อยละ 96.26) มากกว่า ๕๐ คน แต่ไม่เกิน ๑๐๐ คน จำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 2.80) และจำนวนนักเรียนมากกว่า ๑๐๐ คนขึ้นไป จำนวน 2 แห่ง (ร้อยละ 0.94) เป็นสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ ปกติทั่วไป 214 แห่ง (ร้อยละ 100) มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ประเด็น ๑.๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความ ปลอดภัยของตนเองได้ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ พัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก ร้อยละ 100 รองลงมา คือ โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการมีสุขนิสัยที่ดีของ เด็ก ร้อยละ 97.66 และโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยตนเองของเด็ก ร้อยละ 95.79 ตามลำดับ ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก ร้อยละ 99.07 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็ก ร้อยละ 96.73 และ ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการดูแลความ ปลอดภัยตนเองของเด็ก ร้อยละ 95.33 ตามลำดับ ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แบบประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ 98.60 รองลงมา คือ รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 95.33 ตามลำดับ รายละเอียด ดังตารางที่ ๑ ตอนที่ ๔ รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๓ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ประเด็น ๑.๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแล ความปลอดภัยของตนเองได้ ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน ๑) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก 100 ๒) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็ก 97.66 ๓) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยตนเองของเด็ก 95.79 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก 99.07 ๒) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็ก 96.73 ๓) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยตนเอง ของเด็ก 95.33 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แบบประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย 98.60 ๒) รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม 95.33 ประเด็นที่ ๑.๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทาง อารมณ์ได้ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 98.60 ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ร้อยละ 97.20 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แบบประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ร้อยละ 97.20 รองลงมา คือ แบบรายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 93.93 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ ๒


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๔ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ประเด็น ๑.๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ ได้ ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และ แสดงออกทางอารมณ์ได้ 98.60 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ 97.20 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แบบประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 97.20 ๒) แบบรายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 93.93 ประเด็นที่ ๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การช่วยเหลือตนเองของเด็ก ร้อยละ 97.20 รองลงมา คือ โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสังคม และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ร้อยละ 93.93 ตามลำดับ ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองของเด็ก ร้อยละ 97.20 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับ พัฒนาการด้านสังคมและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ร้อยละ 94.86 ตามลำดับ ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม ร้อยละ 96.26 รองลงมา คือ รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 95.79 ตามลำดับ รายละเอียด ดังตารางที่ ๓


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๕ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ประเด็น ๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน ๑) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสังคมและเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม 93.93 ๒) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองของเด็ก 97.20 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสังคมและเป็น สมาชิกที่ดีของสังคม 94.86 ๒) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองของเด็ก 97.20 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม 96.26 ๒) รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม 95.79 ประเด็น ๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และ แสวงหาความรู้ได้ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ พัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ร้อยละ 98.60 รองลงมา โครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสื่อสารได้ร้อยละ 96.26 ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ร้อยละ 98.13 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสาร ร้อยละ 94.86 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา ร้อยละ 98.13 และ รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 94.39 รายละเอียดดังตารางที่ ๔


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๖ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก ประเด็น ๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และ แสวงหาความรู้ได้ ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน ๑) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิด พื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ 98.60 ๒) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสื่อสารได้ 96.26 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะ การคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ 98.13 ๒) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสาร 94.86 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา 98.13 ๒) รายงานการประเมินโครงการ/กิจกรรม 94.39 มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็นที่ ๒.๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบท ของท้องถิ่น ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ร้อยละ 100 รองลงมา คือ โครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมของเด็ก ร้อยละ 97.66 ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ร้อยละ 98.60 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อม ของเด็ก ร้อยละ 96.26 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ร้อยละ 100 รองลงมา คือ แผนการจัดประสบการณ์เด็ก ร้อยละ 99.53 รายละเอียดดังตารางที่ ๕


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๗ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๕ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของ ท้องถิ่น ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน ๑) โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน 100 ๒) โครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียม ความพร้อมของเด็ก 97.66 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน 98.60 ๒) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการออกแบบการจัด ประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมของเด็ก 96.26 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 100 ๒) แผนการจัดประสบการณ์เด็ก 99.53 ประเด็นที่ ๒.๒ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า การจัดครูปฐมวัยให้เพียงพอ กับชั้นเรียน ร้อยละ 83.64 ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า จำนวนครูปฐมวัย ร้อยละ 89.72 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า ข้อมูลครูปฐมวัย ร้อยละ 95.79 รายละเอียดดังตารางที่ ๖


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๘ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๖ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๒ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน การจัดครูปฐมวัยให้เพียงพอกับชั้นเรียน 83.64 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น จำนวนครูปฐมวัย 89.72 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ข้อมูลครูปฐมวัย 95.79 ประเด็นที่ ๒.๓ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ร้อยละ 98.13 ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ร้อยละ 97.20 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แผนพัฒนาครูและบุคลากร ร้อยละ 98.60 รองลงมา คือ รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากร ร้อยละ 96.73 รายละเอียดดังตารางที่ ๗ ตารางที่ ๗ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๓ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดประสบการณ์ 98.13 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มี ความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ 97.20 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากร 96.73 ๒) แผนพัฒนาครูและบุคลากร 98.60


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๒๙ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเด็นที่ ๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและ เพียงพอ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับ การจัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัยและเพียงพอ ร้อยละ 99.53 และ มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อเพื่อ การเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ร้อยละ 97.66 ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัยและเพียงพอร้อยละ 98.60 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ร้อยละ 96.73 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 96.73 รายละเอียดดังตารางที่ ๘ ตารางที่ ๘ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ ๑. โครงการ กิจกรรม การจัดประสบการณ์ที่จัดในการพัฒนาเด็ก ๑) มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัยและ เพียงพอ 99.53 ๒) มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ 97.66 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมอย่าง ปลอดภัยและเพียงพอ 98.60 ๒) ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และเพียงพอ 96.73 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 96.73


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๐ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเด็นที่ ๒.๕ ให้บริการสี่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์สำหรับครู ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับ การจัดหาพัฒนา และบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 94.39 ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดหาพัฒนา และบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 92.99 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 92.52 รายละเอียดดังตารางที่ ๙ ตารางที่ ๙ ให้บริการสี่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๕ ให้บริการสี่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการ จัดประสบการณ์สำหรับครู ๑. โครงการ กิจกรรม การจัดประสบการณ์ที่จัดในการพัฒนาเด็ก มีโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดหา พัฒนา และบริการสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ 94.39 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดหา พัฒนา และบริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ 92.99 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 92.52 ประเด็นที่ ๒.๖ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วน ร่วม ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีกระบวนการบริหารจัดการ คุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 99.07 รองลงมา คือ มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ร้อยละ 97.66 ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินงานตาม กระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 97.66 รองลงมา คือ ผลการดำเนิน กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร้อยละ 95.79 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา / แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ร้อยละ 100 รองลงมา คือ รายงานกิจกรรม/รายงานการประชุม ที่ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ร้อยละ 95.79 รายละเอียดดังตารางที่ ๑๐


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๑ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๑๐ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็น ๒.๖ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑) มีกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 99.07 ๒) มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระบบบริหาร จัดการคุณภาพของสถานศึกษา 97.66 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่าง เป็นระบบ 97.66 ๒) ผลการดำเนินกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม 95.79 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา / แผนปฏิบัติการประจำปีของ สถานศึกษา 100 ๒) รายงานกิจกรรม/รายงานการประชุม ที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ส่วนร่วม 95.79 มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็นที่ ๓.๑ การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่าง สมดุลเต็มศักยภาพ ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็ก รายบุคคลเพื่อจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้าน ร่างกาย มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ และมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ เด็กด้านสติปัญญา ร้อยละ 100 รองลงมาคือ มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม ร้อยละ 99.53 ตามลำดับ ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเด็ก รายบุคคล ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์ จิตใจ และผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม ร้อยละ 100 รองลงมาคือ ผล การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา ร้อยละ 99.53 ตามลำดับ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๒ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า แบบบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และ บันทึกผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้ง ๔ ด้าน ร้อยละ 100 รองลงมา คือ แผนการจัด ประสบการณ์ร้อยละ 99.07 และ รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 98.13 ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ ๑๑ ตารางที่ ๑๑ การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็น ๓.๑ การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็ม ศักยภาพ ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑) มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคลเพื่อจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก 100 ๒) มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย 100 ๓) มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ 100 ๔) มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม 99.53 ๕) มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา 100 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคล 100 ๒) ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย 100 ๓) ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ 100 ๔) ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม 100 ๕) ผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา 99.53 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ๑) แบบบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล 100 ๒) บันทึกผลการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้ง ๔ ด้าน 100 ๓) รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 98.13 ๔) แผนการจัดประสบการณ์ 99.07


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๓ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเด็นที่ ๓.๒ การสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่าง มีความสุข ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีโครงการ/กิจกรรม สร้าง โอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข ร้อยละ 78.04 ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเองอย่างมีความสุข ร้อยละ 98.13 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 85.70 รายละเอียดดังตารางที่ ๑๒ ตารางที่ ๑๒ การสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็น ๓.๒ การสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมี ความสุข ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ มีโครงการ/กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติ กิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข 78.04 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมี ความสุข 98.13 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 85.70


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๔ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเด็นที่ ๓.๓ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับวัย ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีโครงการ / กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร้อยละ 100 รองลงมา คือ มีโครงการ / กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้ สื่อ เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์กับเด็กที่เหมาะสม ร้อยละ 71.50 ๒) ด้านผลปรากฎคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร้อยละ 99.53 รองลงมา คือ ผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์กับเด็กที่เหมาะสม ร้อยละ 97.20 ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ร้อยละ 96.26 รายละเอียดดังตารางที่ ๑๓ ตารางที่ ๑๓ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็น ๓.๓ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ วัย ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑) มีโครงการ / กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 100 ๒) มีโครงการ / กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์ กับเด็กที่เหมาะสม 71.50 ๒. ผลที่ปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรม เกี่ยวกับการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ 99.53 ๒) ผลการดำเนินโครงการ / กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัด ประสบการณ์กับเด็กที่เหมาะสม 97.20 ๓. แหล่งข้อมูล หลักฐาน รายงานการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 96.26


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๕ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเด็นที่ ๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ๑) ด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน พบว่า มีการประเมินพัฒนาการของ เด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ร้อยละ 99.53 รองลงมา คือ มีการให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่เด็กและผู้ปกครองนำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ร้อยละ 75.70 ตามลำดับ ๒) ด้านผลปรากฏคุณภาพที่เกิดขึ้น พบว่า ผลการประเมินพัฒนาการของ เด็ก ร้อยละ 99.53 รองลงมา คือ ผลการให้ข้อมูลย้อนกลับ ร้อยละ 74.77 ตามลำดับ ๓) ด้านแหล่งข้อมูลหลักฐาน พบว่า รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 99.53 รองลงมา คือ สมุดรายงานประจำตัวนักเรียน ร้อยละ 99.07 ตามลำดับ รายละเอียดดังตาราง ที่ ๑๔ ตารางที่ ๑๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก รายการสังเคราะห์ ร้อยละ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ประเด็น ๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ๑. โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ ๑) มีการประเมินพัฒนาการของเด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการ ที่หลากหลาย 99.53 ๒) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็กและผู้ปกครองนำผลการประเมินพัฒนาการ ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก 75.70 ๒. ผลปรากฏ คุณภาพที่เกิดขึ้น ๑) ผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก 99.53 ๒) ผลการให้ข้อมูลย้อนกลับ 74.77 ๓. แหล่งข้อมูล ๑) รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็ก 99.53 ๒) สมุดรายงานประจำตัวนักเรียน 99.07


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๖ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเด่น ๑) ด้านคุณภาพเด็ก พบว่า พัฒนาการที่เป็นจุดเด่นและจุดแข็งมากที่สุด คือ พัฒนาการด้านสังคม (ร้อยละ 99.07) รองลงมา คือ พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ (ร้อยละ 98.60) อันดับสาม คือ พัฒนาการด้านร่างกาย (ร้อยละ 98.13) ๒) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า ประเด็นหลัก มีประเด็นเพิ่มเติมที่ เป็นจุดเด่นและจุดแข็งมากที่สุด คือ กระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนา สภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค เป็นต้น (ร้อยละ 98.60) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ร้อยละ 98.13) อันดับสาม คือ การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อ เทคโนโลยี สอดคล้องกับพัฒนาการ (ร้อยละ 93.๔๖) ๓) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่า ประเด็นหลัก มีประเด็น เพิ่มเติมที่เป็นจุดเด่นและจุดแข็งมากที่สุด คือ ความรักเด็ก ดูแลเอาใจใส่เด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก (ร้อยละ 99.53) รองลงมา คือ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (ร้อยละ 99.07) อันดับสาม คือ การส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็ก (ร้อยละ 98.60) รายละเอียดดังตาราง ที่ ๑๕ ตารางที่ ๑๕ จุดเด่น รายการสังเคราะห์ ร้อยละ จุดเด่น ๑. ด้านคุณภาพเด็ก ๑) พัฒนาการด้านร่างกาย 98.13 ๒) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ 98.60 ๓) พัฒนาการด้านสังคม 99.07 ๔) พัฒนาการด้านสติปัญญา 96.73 ๕) การพัฒนาการมีระเบียบวินัยต่อตนเองและสังคม 96.26 ๒. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ ๑) กระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 98.60 ๒) การพัฒนาสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค เป็นต้น 98.60 ๓) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 98.13 ๔) การบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก ใช้สื่อ เทคโนโลยี สอดคล้อง กับพัฒนาการ 93.46


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๗ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๓. ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ๑) ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 99.07 ๒) ความรักเด็ก ดูแลเอาใจใส่เด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก 99.53 ๓) การส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็ก 98.60 ๔) จำนวนครู เพียงพอ/ตรงตามวุฒิ 84.11 ๕) การรู้จักและเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษา 96.26 จุดที่ควรพัฒนา ๑) ด้านคุณภาพเด็ก พบว่า พัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ที่เป็นจุดที่ควรพัฒนามาก ที่สุด คือ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา คิดรวบยอด คิดริเริ่มสร้างสรรค์ (ร้อยละ 86.92) รองลงมา คือ พัฒนาการด้านสติปัญญา (ร้อยละ 85.51) อันดับสาม คือ พัฒนาการด้านสังคม (ร้อยละ 80.37) ๒) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า จากประเด็นพิจารณา ๖ ประเด็นหลัก มีประเด็นเพิ่มเติม ที่เป็นจุดที่ควรพัฒนามากที่สุด คือ จัดห้องเรียนที่วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีให้ เพียงพอ (ร้อยละ 84.58) รองลงมา คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค (ร้อยละ 81.78) อันดับสาม คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ร้อยละ 79.44) ๓) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่า ที่เป็นจุดที่ควร พัฒนามากที่สุด คือ จัดครูปฐมวัยให้ครบชั้นเรียน (ร้อยละ 88.79) รองลงมา คือ ความสามารถในการจัด กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (ร้อยละ 82.24) อันดับสาม คือ การส่งเสริมคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของเด็ก (ร้อยละ 81.78) รายละเอียดดังตารางที่ ๑๖


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ๓๘ รายงานการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตารางที่ ๑๖ จุดที่ควรพัฒนา รายการสังเคราะห์ ร้อยละ จุดที่ควรพัฒนา ๑. ด้านคุณภาพเด็ก ๑) พัฒนาการด้านร่างกาย 78.50 ๒) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ 78.50 ๓) พัฒนาการด้านสังคม 80.37 ๔) พัฒนาการด้านสติปัญญา 85.51 ๕) พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา คิดรวบยอด คิดริเริ่มสร้างสรรค์ 86.92 ๒. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ ๑) กระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 78.97 ๒) การพัฒนาสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร สถานที่ อินเตอร์เน็ต สาธารณูปโภค เป็นต้น 81.78 ๓) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 79.44 ๔) จัดห้องเรียนที่วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีให้เพียงพอ 84.58 ๓. ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ๑) ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 82.24 ๒) จำนวนครู เพียงพอ/ตรงตามวุฒิ 79.44 ๓) จัดครูปฐมวัยให้ครบชั้นเรียน 88.79 ๔) ความรักเด็ก ดูแลเอาใจใส่เด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก 79.44 ๕) การส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็ก 81.78


Click to View FlipBook Version