The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวนพรัตน์ ชมภูเพ็ชร_วิจัยในชั้นเรียน_เสร็จสมบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 207นพรัตน์ ชมภูเพ็ชร, 2024-02-12 22:00:49

นางสาวนพรัตน์ ชมภูเพ็ชร_วิจัยในชั้นเรียน_เสร็จสมบูรณ์

นางสาวนพรัตน์ ชมภูเพ็ชร_วิจัยในชั้นเรียน_เสร็จสมบูรณ์

การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Development of English-speaking Skills by Using Task-based Learning for Grade 5 Students นพรัตน์ชมภูเพ็ชร Nobpharat Chomphooupet สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี English Major, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Development of English-speaking Skills by Using Task-based Learning for Grade 5 Students นพรัตน์ชมภูเพ็ชร Nobpharat Chomphooupet สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี English Major, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


ก หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัย นางสาวนพรัตน์ ชมภูเพ็ชร สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สราวดี ณ หนองคาย อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์มธุรส ศิลาคม อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ครูพี่เลี้ยง นางสาวประภาศิริ เบ้าหล่อเพชร ปีการศึกษา 2566 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ………………………..…………………………… หัวหน้าสาขาวิชา (อาจารย์บุรัชต์ ภูดอกไม้) วันที่ 25 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการผู้ประเมินและอนุมัติข้อเสนองานวิจัยในชั้นเรียน …………………………………………… อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สราวดี ณ หนองคาย) …………………………………………… อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (อาจารย์มธุรส ศิลาคม) …………………………………………… หัวหน้ากลุ่ม (นางสุรางคนางค์มีหินกอง) …………………………………………… ครูพี่เลี้ยง (นางสาวประภาศิริ เบ้าหล่อเพชร)


ข ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัย นางสาวนพรัตน์ ชมภูเพ็ชร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สราวดี ณ หนองคาย อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์มธุรส ศิลาคม ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษจากการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ โพศรีจังหวัดอุดรธานี ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบ Oral Test แบบประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 และ แบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพของ*E1/E2*เท่ากับ 85.00/87.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์75/75 2) ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.15)


ค Research Title The Development of English-speaking Skills by Using Task-based Learning for Grade 5 Students Author Miss Nobpharat Chomphooupet Researh Advisor Assistant Professor Sarawadee Na Nongkhai Researh Co-Advisor Mrs. Mathurot Silakom Academic Year 2023 ABSTRACT The purposes of this research were to 1) enhance English-speaking skills by using task-based learning for prathomsuksa 5 2) compare the students’ English-speaking skills before and after learning with task-based learning approach. 3) find the students’ satisfaction after learning with task-based learning approach. The samples were prathomsuksa 5/2 students studying in second semester of academic year 2024 at Tessabal 1 Posri school and obtained by purposive sampling. The research instruments consist of lesson plans by using task-based learning approach, the oral learning achievement test, the English-speaking proficiency assessment form of prathomsuksa 5 students and the satisfaction form by using 5 scales. The statistics used for data analysis were mean, and standard deviation. The t-test (independent samples) was used for hypothesis testing. The results of the research were as follows: 1) The efficiency index of the lesson plans for English speaking-skill by using taskbased learning approach for prathomsuksa 5 students was 85.00/87.18. 2) The students' English-speaking skills post-test scores after learning with taskbased learning approach were higher than pre-test scores at the 05 level of the statistical significance. 3) The overall students' satisfaction after learning with task-based learning approach was at a high level (X = 4.15).


ง กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความกรุณาของอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สราวดี ณ หนองคาย และอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์มธุรส ศิลาคม ที่กรุณาให้คำปรึกษา คำแนะนํา และ แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่องและไม่ลดละ จนสามารถทำ ให้วิจัยเล่มนี้สำเร็จสมบูรณ์ไปได้ด้วยดีผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและเป็นเกียรติในความกรุณา ความพยายามในการ มอบความรู้ของอาจารย์เป็นอย่างยิ่งและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สละเวลาในการตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่องของแผนการสอน ตรวจทาน ความถูกต้องของภาษา และพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขอขอบคุณ ผู้อํานวยการโรงเรียน คณะครู และนักเรียน แห่งโรงเรียนเทศบาล ๑ โพศรีจังหวัด อุดรธานี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้ให้ความร่วมมือใน การดำเนินการทดลอง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้รับการช่วยเหลือ และกําลังใจจากครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น คุณแม่ พี่น้องและ เพื่อนๆ ตลอดจนบุคคลต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลืออีกมากมาย ที่ผู้วิจัยไม่สามารถกล่าวนามได้หมดในที่นี้ ผู้วิจัย รู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาและความปรารถนาดีของทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบขอบพระคุณและขอบคุณไว้ ในโอกาสนี้ ประโยชน์และคุณค่าจากรายงานการวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอกุศลแห่งความดีในครั้งนี้มอบแด่พระคุณบิดา มารดา ผู้มีพระคุณและครูอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทำให้ผู้วิจัยประสบความสำเร็จในครั้ง นี้ นพรัตน์ ชมภูเพ็ชร


จ สารบัญ หน้า บทคัดย่อ.........................................................................................................................................................ข ABSTRACT.....................................................................................................................................................ค กิจกรรมกิตติประกาศ.......................................................................................................................................ง สารบัญ ............................................................................................................................................................จ สารบัญตาราง .................................................................................................................................................ช สารบัญภาพ....................................................................................................................................................ซ บทที่1 บทนำ.................................................................................................................................................1 ความสำคัญและความเป็นมา................................................................................................1 วัตถุประสงค์.........................................................................................................................2 สมมติฐาน.............................................................................................................................2 ขอบเขตของการวิจัย.............................................................................................................3 นิยามศัพท์เฉพาะ..................................................................................................................3 ประโยชน์ที่จะได้รับ ..............................................................................................................4 บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..........................................................................................................5 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ...................................................5 ความสามารถในการพูด.....................................................................................................13 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ..................................................................................20 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพวัตกรรมทางการศึกษา................................................22 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................................................24 กรอบแนวคิดการวิจัย........................................................................................................26 บทที่3 วิธีดำเนินงานวิจัย............................................................................................................................27 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง................................................................................................27 แบบแผนการวิจัย...............................................................................................................27 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย....................................................................................................28 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ.....................................................................................28 การเก็บรวบรวมข้อมูล.......................................................................................................32 การวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................................32 สถิติที่ใช้ในการวิจัย............................................................................................................33


ฉ สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................................39 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล..............................................................39 ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................39 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................................40 บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.............................................................................................44 สรุปผล...............................................................................................................................44 อภิปรายผล........................................................................................................................44 ข้อเสนอแนะ......................................................................................................................45 บรรณานุกรม ................................................................................................................................................47 ภาคผนวก.....................................................................................................................................................51 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล.............52 ภาคผนวก ข แผนการจัดการเรียนรู้...................................................................................54 ภาคผนวก ค แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ.................................89 ภาคผนวก ง แบบประเมินความสามารถในการพูด............................................................91 ภาคผนวก จ แบบวัดความพึงพอใจ...................................................................................94 ภาคผนวก ฉ ค่า IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก รายข้อและค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ของเครื่องมือ.....................................................................................................................96 ประวัติผู้วิจัย...............................................................................................................................................101


ช สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยจำแนกตามตัวแปรตาม..............................................................................1 ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์75/75 .......................................................4 ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ผลการวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษจากการจัดการเรียนรู้แบบ เน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและเรียน......5 ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารใน ชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (n=26) .........................................................................1 ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (n = 26)............................................1 ตารางที่ 6 สรุปผลการประเมินความสอดคล้องของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานวิชา ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC)...............................1 ตารางที่ 7 ตารางสรุปผลประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูด ภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC)......................1 ตารางที่ 8 สรุปผลการประเมินความสอดคล้องของแบบวัดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้น ภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ(IOC)..........1


ซ สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน .........................................................................1 ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดการวิจัย...........................................................................................................1


1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ในแขนงต่าง ๆ (อารีรักษ์และคณะ , 2554; Dolati and Mikaili , 2011) ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม และ เข้าใจวิสัยทัศน์ของชาติอื่น ๆ (กาญจนา , 2551; Manivannan , 2006) ดังนั้นการพัฒนาประเทศให้มีความ เจริญก้าวหน้าและทัดเทียมกับนานาประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของประชากรให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ (Wannapok , 2004) ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการจัด การศึกษาของชาติได้กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษทั้งทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน (อารีรักษ์และ สิริพร, 2553) โดยเฉพาะหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีการกำหนดให้ มีการเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา (อรพรรณ, 2554) แต่ถึงอย่างนั้นการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษก็มีปัญหามาโดยตลอด ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง (บุบผา , 2555) จนกระทั่งเข้าสู่การเรียนภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษาก็เกิดปัญหาเนื่องจากความสามารถในการใช้ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน (Prapphal , 2001) จากปัญหาด้านความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่กล่าวมาจึงมีการพัฒนาหลักสูตรภาษา อังกฤษเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาโดยกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นการพัฒนา เจตคติ ให้นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารด้านทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน สามารถใช้ภาษาใน บริบทต่าง ๆ ทั้งในสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีปฏิสัมพันธ์กันในชั้น เรียน ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) โดยแนวการจัดการเรียน การสอนที่กล่าวมา สอดคล้องกับการนำการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมแบบ เน้นภาระงาน (Task-based learning) ซึ่งเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาและได้ เรียนรู้ภาษาในสถานการณ์จริงโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามภาระที่ได้รับมอบหมาย ได้ใช้ภาษาเป็น เครื่องมือในการปฏิบัติงาน เน้นความหมายในการสื่อ (Meaning) และการเจรจาความหมายที่ขยายความ (Negotiation of Meaning) มากกว่ารูปแบบภาษา (Form) จนเกิดการปรับผลลัพธ์(Modified output) ที่ ทำให้นักเรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และปรากฏชิ้นงานหรือผลงานให้เห็น สอดคล้องกับสถานการณ์ จริงฝึกการใช้ภาษาตามธรรมชาติ ฝึกคิดแก้ไข ปัญหา เกิดความสนุกสนาน เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สร้างความมั่นใจในการใช้ภาษา (Littlewood, 1981; Taylor, 1983; Willis 1996) การสนับสนุนให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการสื่อ ความหมายโดยใช้ข้อมูลภาษาที่ตนมีอยู่แล้วสิ่งนี้จะทำให้นักเรียนตระหนักถึงสิ่งที่ตน จำเป็นต้องเรียนรู้หลังจากนั้นนักเรียนจึงได้รับการฝึกจากกิจกรรมที่เน้นรูปแบบภาษา เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ นำภาษาที่ ฝึกไปแล้วในขั้นตอนการเรียนรู้ภาษามาใช้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน


2 ไม่เพียงแต่จะสามารถสอนทักษะการอ่าน ฝึกทักษะการเขียนแต่ยังใช้สอนทักษะการพูดผ่านการทำงานเป็นคู่ หรือกลุ่มที่ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการใช้ภาษาของตัวเองมากขึ้น จากการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ พบว่า งานวิจัยหลายชิ้นมุ่งเน้น การพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดยเน้นที่การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานในชั้น เรียนอาทิ การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้น ภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (โชคชัย เตโช , 2562) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน ภาษาอังกฤษ โดยการใช้กิจกรรมเสริมแบบเน้นภาระงาน (สุพรรณี อาศัยราช, 2558) การจัดการเรียนรู้แบบ เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 (ณุรัตน์แย้มฉาย , 2559) จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวพบว่าการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Taskbased learning) ไม่ได้เป็นแค่การให้นักเรียนทำงานทีละชิ้นทีละชิ้นติดต่อกันไปเรื่อย ๆ เท่านั้น เพราะถ้าเป็น เช่นนั้นนักเรียนจะได้รับเฉพาะแค่ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติโดยใช้ภาษาแม่ของตนเองเป็นหลักเนื้อหาของ ชิ้นงานต้องมีการบูรณาการร่วมกับชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติ เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูมีหน้าที่เป็นแค่" ผู้ให้คำแนะนำ" เนื่องด้วยตามหลักการของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ( Task-based learning) จะ เน้นที่การทำภาระงานของนักเรียน และผลลัพธ์จากการทำงานโดยครูมีหน้าที่ แนะนำ หรือกำหนดภาระงาน ให้เท่านั้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน มาปรับ และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการจัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันในรายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพราะผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการจัดการเรียนรู้นี้สามารถช่วยในการพัฒนา ความสามารถด้านการพูดได้เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นการจัดกิจกรรมโดยมุ่งเน้นให้ ผู้เรียนได้ฝากแก้ไขปัญหาจากภาระงานที่ได้รับ รวมไปถึงการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อยู่ใน สถานการณ์การที่ใช้ภาษาจริง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษรอบด้านตามเป้าหมายของการจัดการ เรียนรู้ วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชา ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชา ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สมมุติฐานการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อย ละ 75


3 2. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชา ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร นักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้อง รวม 81 คน ประกอบด้วย ชั้น ป. 5/1, ป. 5/2, ป. 5/3 1.2 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง 2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 2.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1 ความสามารถด้านการพูด วิชาภาษาอังกฤษ 2.2.2 ความพึงพอใจ 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เวลาในการทดลองภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ทาง ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ผ่าน กระบวนการ จัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (Pre-task) 2) ขั้น ระหว่างการปฏิบัติงาน (Task-cycle) ประกอบด้วยขั้นงานปฏิบัติ (Task) ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการรายงาน (Report) และ 3) ขั้นหลังการปฏิบัติภาระงาน (Post-task) 2. ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการใช้ภาษาใน ชีวิตประจำวันได้ถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษ โดยใช้เกณฑ์การประเมินทักษะการพูด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ซึ่งได้จาก แบบสอบถามความคิดเห็นลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยใช้มาตราส่วน ประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด


4 ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานที่มีประสิทธิภาพด้านการพัฒนาความสามารถพูด ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 2. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษที่ต้องการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระ งานเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 3. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน


5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัย เรื่อง การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดย การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2. ความสามารถในการพูด 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพวัตกรรมทางการศึกษา 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6. กรอบแนวคิดการวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน นิวตัน และเคนเนดี้ (Newton and Kennedy , 2539 : 309-311) พยายามที่จะระบุว่าการใช้ ภาระงานเพื่อการสื่อสารนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่การพูดภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อความรู้ทาง ไวยากรณ์ การสนทนา และ การปฏิบัติอีกด้วย โดยในงานวิจัยในครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน และ ใช้ภาระงาน 2 ชนิด ได้แก่ การให้ข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อที่นักเรียนจะได้แลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกัน และการให้ข้อมูลที่เหมือนกันเพื่อที่นักเรียนจะได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ผลลัพธ์ของ งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าภาระงานเพื่อการสื่อสารไม่ได้ส่งผลถึงแค่การพัฒนาทักษะการพูดเท่านั้น แต่ส่งผลไป ถึงความรู้ทางหลักภาษาศาสตร์อีกด้วย วิลลิซ (Willis , 2539 : 53 - 54) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงานคือ กิจกรรมที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อบรรลุผลที่แท้จริง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าผู้เรียนจะใช้ ทรัพยากรของภาษาเป้าหมายอะไรก็ตามที่พวกเขามีอยู่เพื่อที่จะใช้แก้ปัญหา ไขปริศนา เล่นเกม หรือแบ่งปัน และเปรียบเทียบประสบการณ์ ภาระงานมีจุดเริ่มต้นที่หลากหลาย โดยอาจจะมาจากข้อมูลที่ผู้เรียนมี อย่างเช่น ประสบการณ์ส่วนตัว ความรู้ทั่วไป ภาระงานอาจจะมาจากงานเขียน บันทึกข้อมูลเสียง หรือบันทึก ข้อมูลภาพ และอาจจะเป็นกิจกรรมอย่างเช่น เกมต่าง ๆ การสาธิต หรือการสัมภาษณ์ วิลเลียม และเบิร์นเนอร์ (2540 : 168) ได้นิยามความหมายของ “ภาระงาน” ว่า เป็นกิจกรรมที่ ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ภาษาเป้าหมายซึ่งอาจเป็นกิจกรรมใด ๆ ก็ได้ ซีดเฮ้าส์ (Seedhouse , 2542 : 149-156) ได้นิยามว่า “ภาระงาน” เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ใช้ การแก้ปัญหาเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พร้อมทั้งพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาโดยอาจมีภาษาเป็นเครื่องมือใน การสื่อสารเพื่อรับสารของอีกฝ่าย เอลลิส (Elis , 2546 : 9-10) ได้ให้ความหมายของการเน้นภาระงาน จำนวน 6 ประการ ดังนี้ 1. การเน้นภาระงาน หมายถึง แผนการทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือกำหนดการสอน หรือแผน สำหรับกำหนดกิจกรรมในรายวิชาที่สอน


6 2. การเน้นภาระงานเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่เน้นการสื่อความหมาย ซึ่งการเน้นภาระงาน ต้องส่งเสริมผู้เรียนในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยวิธีการปฏิบัติจริง มุ่งเน้นการใช้ภาษาสื่อความหมายใน การเน้นภาระงาน 3. การเน้นภาระงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้กาษาในสถานการณ์จริง โดยกระตุ้นหรือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในการสื่อสาร เช่น การขอข้อมูล การถามตอบ และ การชักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 4. การเน้นภาระงานเกี่ยวข้องกับทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งงานปฏิบัติสามารถเชื่อมโยง ทักษะทั้ง 4 เข้าด้วยกัน เช่น ฟัง หรืออ่านข้อความแล้วแสดงความเข้าใจโดยการพูดหรือการเขียน 5. การเน้นภาระงานต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิด ความรู้ความเข้าใจ เช่น การ คัดเลือก การเรียงลำดับ การให้เหตุผล และการประเมินผลข้อมูล เพื่อที่จะทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ไว้ 6. การเน้นภาระงานต้องมีความชัดเจนตามเป้าหมายของภาระงานโดยในแผนการทำงาน นั้น ต้องกำหนดว่าภาษาที่ได้หลังจากทำการเน้นภาระงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและเมื่อ ผู้เรียนปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้วจะได้เรียนรู้และฝึกภาษาที่ถูกต้องในการเน้นภาระงานนั้น แบรนเดน (Branden , 2549 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงาน คือ กิจกรรมที่มีคนมีส่วนร่วมเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายซึ่งต้องมีการใช้ภาษา การใช้ภาษาในที่นี้คือการบรรลุ เป้าหมายโดยการเข้าใจภาษาที่ป้อนและการสร้างผลผลิตทางภาษา ตัวอย่างเช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นใน สถานการณ์จริงผ่านการใช้ภาษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากขึ้น คาลิลี ซาเบท และทาริรี (Khalili Sabet and Tahriri , 2557 : 953-962) กล่าวว่า การจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นส่วนหนึ่งของการสอนเพื่อการสื่อสาร และเป็นอีกหนึ่งวิธีการสอนที่สำคัญที่สุดใน การสอนภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัยใน หลากหลายศาสตร์ช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา และในช่วงปี 1980 การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ได้ถูก พัฒนาภายใต้ความคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Branden, 2006) รวมถึงการนำการ จัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานมาใช้กับชั้นเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศนั้นช่วยสร้าง ความหลากหลายและ ช่วยพัฒนานักเรียนตามศักยภาพทางการเรียนรู้ภาษา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ นักเรียนได้ใช้ภาษาเป้าหมายมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ได้ว่า การ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ไขปัญหาจาก ภาระงานที่ได้รับ รวมไปถึงการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อยู่ในสถานการณ์การที่ใช้ภาษาจริง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษรอบด้านตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน พราบู (Prabhu , 2530) กล่าวว่า นักเรียนมาสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมุ่งเน้นไป ที่ภาระงานมากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ภาษาไวยากรณ์ในการเรียนโดยได้ทำการศึกษาและพัฒนาการ จัดการเรียน การสอนแบบเน้นภาระงานในประเทศอินเดียพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ก่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการเรียนมากกว่า วิลลิซ (Willis , 2539) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) นั้น ไม่ได้หมายความถึงเพียงการมีกิจกรรมที่หลากหลาย แบบฝึกหัดไวยากรณ์ กิจกรรมต่าง ๆ หรือ บทบาท


7 สมมติเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการฝึกที่หลากหลาย ผ่านกระบวนการต่าง ๆ จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะ การอ่าน การพูด การเขียน อย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนั้น Willis (1996) ได้ แบ่งภาระงานที่ช่วยพัฒนา นักเรียนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ การตรวจสอบรายการ (Listing) การเรียงลำดับ (Ordering and sorting) การเปรียบเทียบ(Comparing) การแก้ปัญหาที่ถูกสร้างขึ้น โดยเฉพาะ (Problem solving) การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ส่วนบุคคล (Sharing personal experiences) การสร้างสรรค์ภาระงาน (Creative tasks) เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้สำหรับการออกแบบการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละครั้ง กรมวิชาการ (2545) กล่าวว่าแนวการสอนที่เน้นภาระงานเป็นฐาน(Task-Based Approach) เป็นการเรียนรู้ภาษาที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำภาระงานให้สำเร็จ ความรู้ด้านคำศัพท์ และ โครงสร้างจะเป็นผลที่ได้จากการฝึกใช้ภาษาในขณะทำกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาเกิดจากกระบวนการที่ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจนลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดได้คือ 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารและในการปฏิบัติภาระงานที่ ได้รับมอบหมายได้เป็นผลสำเร็จ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้และประสบการณ์ทางภาษาที่ได้รับไปใช้ในชีวิตจริงได้ 3. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยผ่านกระบวนการปฏิบัติภาระงาน 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในการทำงานกับผู้อื่น นูนัน (Nunan , 2547) ได้สังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการ เรียนรู้แบบ เน้นภาระงานจาก ไว้ 6 ประเด็น ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมาย (Goals) คือ เป้าหมายโดยทั่วไปของกิจกรรมเน้นภาระงาน หรือ ผลลัพธ์ที่ ได้จากการทากิจกรรมเน้นภาระงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียน โดยผู้สอนสามารถบอกจุดมุ่งหมายของกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนโดยตรง หรือตั้งคาถามถึงความสำคัญของหัวเรื่อง ที่เรียน หรือบอกโดยนัย เพราะผู้เรียนสามารถรับรู้ได้จาก กิจกรรม โดยทั่วไปกิจกรรมเน้นภาระงานอาจมี จุดมุ่งหมายมากกว่าหนึ่งอย่างเพราะกิจกรรมเน้นภาระงานอาจมีความซับซ้อน หรือมีกิจกรรมย่อย ๆ แทรกอยู่ 2. ตัวป้อนทางภาษา (Input) คือ ข้อมูลที่ผู้สอนจัดเตรียมให้ผู้เรียนใช้เพื่อบรรลุ ภาระงาน และควรเป็นข้อมูลที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจ สมรรถภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับโลกแห่ง ความจริง และมีลักษณะ “แท้จริง (Authenticity)” ซึ่งหมายถึงข้อมูลภาษาพูด (Authentic spoken text) หรือข้อมูลภาษาเขียน (Authentic written text) ที่เน้นการสื่อสาร มากกว่าการสอนภาษา และผู้สอนควรใช้ ตัวป้อนทางภาษาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพราะ เป็นการส่งเสริมให้กิจกรรมสอดคล้องกับผู้เรียน และ เพิ่มความรู้เรื่องโครงสร้างทางภาษาในบริบท ที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือ เศรษฐศาสตร์ 3. การดำเนินงาน (Procedures) คือ การระบุสิ่งที่ผู้เรียนต้องทากับตัวป้อน ทางภาษา (Input) 4. บทบาทผู้สอน (Teacher role) คือ การระบุว่าผู้สอนมีหน้าที่อะไรในขณะ ที่ดาเนิน กิจกรรม 5. บทบาทผู้เรียน (Learner role) คือ การระบุว่าผู้เรียนมีบทบาทอะไรในขณะ ที่ดาเนิน กิจกรรม 6. สถานที่ (Settings) คือ การจัดสภาพห้องเรียนให้สอดคล้องกับงาน และควร คำนึงถึง จานวนผู้เรียนหรือขนาดห้องเรียน


8 จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานที่จะก่อให้เกิดประวิทธิภาพ ต้อง มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ การตรวจสอบรายการ (Listing) การเรียงลำดับ (Ordering and sorting) บทบาท ผู้เรียน (Learner role) การเปรียบเทียบ(Comparing) บทบาทผู้สอน (Teacher role) การดำเนินงาน (Procedures) การแก้ปัญหาที่ถูกสร้างขึ้น โดยเฉพาะ (Problem solving) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วน บุคคล (Sharing personal experiences) การสร้างสรรค์ภาระงาน (Creative tasks) จุดมุ่งหมาย (Goals) ตัวป้อนทางภาษา (Input) สถานที่ (Settings) ประเภทของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน การที่จะจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นจะต้อง ประกอบด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ที่จะสามารถช่วยฝึกฝน และพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้สามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม และให้ความสำคัญของการนำ ภาษาไปประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน มากกว่าการเรียนภาษาที่เน้นไวยากรณ์โดยการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ภาระงานนั้นก็มีอยู่หลายประเภท ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญแบ่งการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานไว้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ พราบู (Prabhu , 2530) ได้ทำการแบ่งประเภทภาระงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล(information-gap task) เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ ใช้ ภาษาเพื่อการสื่อสารและเปลี่ยนข้อมูลของตนเองกับสมาชิกในกลุ่มของตนเอง หรือในห้องเรียน ซึ่งทำให้เกิด การส่งผ่านข้อมูลจากอีกคนไปสู่อีกคน เช่น การกำหนดตารางที่มีรายละเอียดยังไม่สมบูรณ์ และมีข้อมูลที่สัม พันธ์กันกับตารางนั้น ๆ แจกให้ผู้เรียนเป็นข้อความที่แตกต่างกัน โดยเป็นกิจกรรมที่นักเรียนใช้ภาษาเป็นส่วน ช่วยในการสื่อสารและเปลี่ยนข้อความของตัวเองกับของเพื่อนในห้องเรียน และทำการหาความสัมพันธ์ของ ข้อความตนเองและเพื่อน และนำข้อมูลที่ได้ไปเติมลงในตารางให้สมบูรณ์ 2. กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ (reasoning - gap task) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ อนุมาน วินิจฉัย ให้เหตุผล หรือใช้ความคิดเห็นส่วนตัวในการนำเสนอข้อมูลใหม่ เช่น การให้ผู้เรียน จัดตารางเรียนใหม่ โดยทำการระบุเวลาและรายวิชา และให้เหตุผลในการจัดตารางได้อย่างเหมาะสม 3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (opinion-gap task) เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของผู้เรียนที่เกิดกับเรื่องราวหัวข้อต่าง ๆ หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม โดยการ แสดงความรู้สึกความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้ นูนัน (D. Nunan , 2535) ได้แบ่งประเภทของภาระงานไว้ 3 ประเภท คือ 1. กิจกรรมช่องว่างของข้อมูล (Information-gap activity) เป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยการถ่ายทอดข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลในการสื่อสาร 2. กิจกรรมช่องว่างของการให้เหตุผล (Reasoning-gap activity) เป็นกิจกรรมการจัดการ เรียนรู้ โดยการรับข้อมูลข่าวสาร นำมาสรุปเป็นกระบวนการใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่อาศัยความเข้าใจใน ความสัมพันธ์ของข้อมูลใหม่อย่างมีเหตุผล 3. กิจกรรมช่องว่างของการให้ทัศนะ (Opinion-gap activity) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียน ได้ แสดงทัศนคติ ต่อสิ่งที่กำหนดให้ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเป็นการอธิบายความพึงพอใจของแต่ละ บุคคล เอลลิส (Ellis , 2546) ประเภทของกิจกรรมเน้นภาระงานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้


9 1. รูปแบบวิธีการสอน (Pedagogic classification) ประกอบด้วยกิจกรรมเน้นภาระงาน 6 ประเภท ดังนี้ 1.1 การเขียนรายการ (Listing) คือ งานที่ผู้เรียนต้องเขียนรายการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อที่กำหนดเพื่อบรรลุกิจกรรม 1.2 การเรียงลำดับและจัดประเภท (Ordering and Sorting) คือ งานที่เกี่ยวข้องกับ การลาดับเหตุการณ์หรือความสำคัญ การจัดอันดับ การจัดกลุ่ม หรือ การจำแนกประเภท 1.3 การเปรียบเทียบ (Comparing) คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการหาความ แตกต่างหรือ ความคล้ายคลึงกันของข้อมูล 1.4 การแก้ปัญหา (Problem-solving) คือ งานที่ผู้เรียนต้องใช้สติปัญญา และเหตุผล เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนด 1.5 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนบุคคล (Sharing personal experience) คือ งานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พูดคุยเกี่ยวกับตนเอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนอย่างเป็นอิสระ 1.6 งานสร้างสรรค์ (Creative tasks) คือ งานที่ผู้เรียนทำเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม เช่น โครงงาน แผ่นพับโฆษณา แฟ้มสะสมงาน หนังสือพิมพ์ห้อง หรือวารสาร 2. รูปแบบทางวาทศาสตร์ (Rhetorical classification) คือ กิจกรรมที่จัดทาขึ้น อย่าง สอดคล้องกับทฤษฎีทางวาทศาสตร์ซึ่งจำแนกคำพูดตามโครงสร้างประโยคและคุณลักษณะทางภาษาศาสตร์ เช่น การให้ผู้เรียนใช้ภาษาตามโครงเรื่อง (Genre) ที่กำหนด เช่น ให้ผู้เรียน เขียนจดหมายลาป่วยถึงครูประจำ ชั้น หรือเขียนจดหมายถึงเพื่อนร่วมชั้น 3. รูปแบบกระบวนการคิด (Cognitive classification) ประกอบด้วยกิจกรรม เน้นภาระ งาน 3 ประเภท คือ 3.1 กิจกรรมหาข้อมูลที่หายไป (Information gap activity) คือ งานที่ผู้เรียน ต้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน หรือการใช้ข้อมูลที่ได้รับเพื่อเติมคำลงในตารางให้สมบูรณ์ 3.2 กิจกรรมหาสาเหตุที่หายไป (Reasoning gap activity) คือ งานที่ผู้เรียน ต้องใช้ การสื่อความหมาย การคาดการณ์ และการให้เหตุผล เพื่อบรรลุกิจกรรม เช่น การให้ผู้เรียน หาตารางการ ทำงานของผู้สอน จากตารางเรียนของผู้เรียนที่เรียนกับผู้สอนคนนั้น 3.3 กิจกรรมหาความคิดที่หายไป (Opinion-gap activity) คือ งานที่ผู้เรียน สามารถ แสดงความคิดเห็น ความชอบ ความรู้สึก หรือทัศนคติส่วนบุคคลได้อย่างอิสระ เช่น การเติม คำเพื่อให้เรื่อง สมบูรณ์ ดี. วิลลิส และ วิลลิส (D. Willis & Willis , 2550) แบ่งกิจกรรมเน้นภาระงานตามรูปแบบ กระบวนการคิด ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. การเขียนรายการ (Listing) คือ ภาระงานที่ให้ความสาคัญต่อการระดมความคิด ซึ่งเป็น การดึงผู้เรียนเข้ามีส่วนร่วมกับกิจกรรม และเป็นภาระงานที่ให้ความสาคัญต่อการค้นหา ข้อเท็จจริง ซึ่งภาระ งานนี้ควรใช้ในช่วงเริ่มของงานเพราะเป็นงานที่ช่วยเกริ่นหรือนาเรื่องให้แก่ผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ


10 2. การเรียงลำดับและจัดประเภท (Ordering and Sorting) คือ ภาระงานที่ผู้เรียน ต้องใช้ ความรู้ความเข้าใจมากกว่ากิจกรรม “การเขียนรายการ” ซึ่งภาระงานประเภทนี้ประกอบ ไปด้วย 3 กระบวนการ 2.1 การจัดลาดับเรื่อง เหตุการณ์ การกระทำ (Sequencing) 2.2 การจัดอันดับข้อมูล (Ranking) 2.3 การจัดประเภทของข้อมูล (Classify) 3. การจับคู่ (Matching) คือ ภาระงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการเรียนการสอน แบบ Total Physical Response (TPR) โดยผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลโดยการฟังหรือการอ่าน และปฏิบัติตามคาสั่งของงาน ซึ่งเป็นภาระงานที่สามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ เช่น การจับคู่สิ่งของ จากสิ่งที่ได้ฟัง (ผู้เรียนระดับพื้นฐาน) หรือการระบุชื่อบุคคลจากข้อมูลที่ได้ฟัง (ผู้เรียนที่มีทักษะ ทางภาษาสูง) 4. การเปรียบเทียบ (Comparing) คือ ภาระงานที่เปรียบเทียบข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน หรือข้อมูล เรื่องเดียวกันแต่หลากหลายแหล่งที่มา โดยผู้เรียนมีหน้าที่ค้นหาความเหมือนหรือความต่าง ของข้อมูลนั้น 5. การแก้ปัญหา (Problem solving) คือ ภาระงานที่เน้นการแก้ปัญหา โดยผู้เรียน ต้องใช้ ความสามารถด้านเหตุผลและสติปัญญา ผู้เรียนจะมีความพึงพอใจ โดยกระบวนการและเวลา ที่ใช้จะแตกต่าง กันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดและความซับซ้อนของปัญหา เช่น ปัญหาในชีวิตประจาวัน การตั้งสมมุติฐาน หรือการ เปรียบเทียบทางเลือก 6. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนบุคคล (Sharing personal experience) คือ ภาระงานที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พูดคุยเกี่ยวกับตนเอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนหรือ เรื่องในอดีตอย่างเป็นอิสระ และมีลักษณะใกล้เคียงกับการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในสังคม 7. โครงงานและงานสร้างสรรค์ (Projects and creative tasks) คือ ภาระงาน ที่ผู้เรียนทาเป็น คู่หรือเป็นกลุ่ม เช่น แผ่นพับโฆษณา แฟ้มสะสมงาน หนังสือพิมพ์ห้อง หรือวารสาร จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า ประเภทของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานนั้นได้แบ่งตาม ผู้เชี่ยวชาญแตกต่างกันไป เช่น พราบู (Prabhu , 2530) ได้ทำการแบ่งประเภทภาระงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล(information-gap task) 2. กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ (reasoning - gap task) 3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (opinion-gap task) นูนัน (D. Nunan , 2535) ได้แบ่งประเภทของภาระงานไว้ 3 ประเภท คือ 1. กิจกรรมช่องว่างของข้อมูล (Information-gap activity) 2. กิจกรรมช่องว่างของการให้เหตุผล (Reasoning-gap activity) 3. กิจกรรมช่องว่างของการให้ ทัศนะ (Opinion-gap activity) และเอลลิส (Ellis , 2003) ประเภทของกิจกรรมเน้นภาระงานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. รูปแบบวิธีการสอน (Pedagogic classification) 2. รูปแบบทางวาทศาสตร์ (Rhetorical classification) 3. รูปแบบกระบวนการคิด (Cognitive classification) เป็นต้น ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ความสำคัญของการจัดกิจกรรมแบบเน้นภาระงานนั้น คือมีผู้วิจัยพบว่าส่งผลดีต่อการเรียนรู้ ภาษาหลายประการ เนื่องจากมีขั้นตอนเป็นระบบและการทำงานกลุ่มทำให้เกิดการแก้ไขข้อผิดพลาด และให้ ข้อมูลย้อนกลับ การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานในห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ ตรงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้ซึ่งได้มีนักวิชาการที่กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ดังนี้


11 นิวตัน (Newton , 2544 : 30-37) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้คำศัพท์ จากการศึกษาการเรียนรู้คำศัพท์โดยการสื่อสาร นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการทำงาน ร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้เกิดทักษะการทำงานกลุ่มและมีมนุษย์สัมพันธ์ต่อกันอีกด้วย (Littlewood , 2550 : 243-249) กล่าวว่าภาระงานเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบ ความสำเร็จในการสื่อสาร และเรียนรู้ภาษา เนื่องจาก 1. เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมนั้นด้วยตนเอง จึงทำให้นักเรียนได้ฝึก การใช้ภาษาในทุกทักษะ โดยครูผู้สอนต้องทำการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนด้วย 2. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งภาษาเพื่อการสื่อสารเป็น เป้าหมายของการเรียน จึงควรจัดสภาพห้องเรียน และลักษณะกิจกรรมจึงต้องสอดคล้องกับความต้องการของ ผู้เรียน 3. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เขียนเกิดการใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานนั้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนการสื่อสารทางความหมายมากกว่า รูปแบบการใช้ภาษา เช่นไวยากรณ์ โครงสร้างทางภาษา ผู้เรียนจึงไม่เกิดความกังวลใจเมื่อเรียนโดยใช้กิจกรรม นี้ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการใช้ให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ 4. เป็นกิจกรรมที่ตั้งเสริมให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กันเพื่อนในกลุ่ม หรือในห้องเรียนรวมทั้ง ครูผู้สอน ก่อให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็น ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้และการใช้ภาษา จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน นอกจากทำให้นักเรียนได้ เรียนรู้คำศัพท์ ก็ยังช่วยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการพูดภาษาอังกฤษผ่านชิ้นงานของตน หรือการทำงาน ร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มของตนเอง เพราะการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เขียน เกิดการใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ภาพที่ 1 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน Prabhu (2530) ได้เสนอขั้นตอนเกี่ยวกับการสอนแบบเน้นภาระงานมี 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (Pre-task) และขั้นระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (Task- cycle) มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (Pre-task) เป็นวิธีการที่ครูใช้กับนักเรียนทั้งชั้นเรียน หนึ่ง กลุ่มหรือหนึ่งคน เพื่อแสดงหรือสาธิตกิจกรรมก่อน เป็นการลดความยากของกิจกรรมและกระตุ้น ความสนใจ ของนักเรียน เป็นการให้นักเรียนได้คิดถึงภาษาที่ต้องนํามาใช้ในการทํากิจกรรมนั่นเอง


12 2. ขั้นระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (Task-cycle) เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติจริง ซึ่ง ส่วนใหญ่จะให้นักเรียนปฏิบัติเดี่ยวและหลังปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวครูจะให้ข้อมูลป้อนกลับด้วย นอกจาก ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น Prabhu (1987) ได้นําเสนอขั้นตอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ดังนี้ 2.1 ครูนําเสนอภาระงาน (Question and answer type) 2.2 นักเรียนปฏิบัติงานโดยทั่วไปมักเป็นงานเดี่ยวและตามด้วยการประเมินความสําเร็จ ของภาระงานโดยครู นูนัน (Nunan , 2532) กล่าวว่ากระบวนการสอนแบบเน้นภาระงาน ควรเริ่มด้วยการวาง แผนการสอนในระยะต่าง ๆ อย่างครบวงจรก่อน จึงเริ่มขั้นตอนการสอน โดยมีการระบุว่า การวางแผนขั้นตอน การสอนแบบเน้นภาระงานเป็นส่วนสำคัญในการสอนให้ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการเลือกกิจกรรมการ สอนที่เหมาะสมกับหัวเรื่องนั้น ๆ นอกจากนี้เอกสารและสื่อการสอนก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การสอนประสบ ความสำเร็จ วิลลิซ (Willis , 2539 : 56) ได้ยกตัวอย่างของลําดับขั้นการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานว่า เริ่มต้นด้วยการสํารวจความคิดเห็น การสนทนากลุ่มย่อย กิจกรรมการอ่านหรือการศึกษาเรื่องที่ปฏิบัติ การ วางแผนลําดับงานการรายงานผล และได้แบ่งลําดับของการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานเป็น 3 ขั้นตอน หลักๆ คือ 1. ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (Pre-task) เป็นการแนะนําหัวข้อจุดเน้นของชิ้นงาน โดยใช้ ภาระงานเข้าช่วยเพื่อให้นักเรียนเข้าใจโดยนักเรียนจะบันทึก และทําความเข้าใจชิ้นงานก่อนทําสิ่งอื่นต่อไป 2. ขั้นระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (Task-cycle) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาที่เคยได้ เรียนรู้มาเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ภาษาโดยอาจารย์มีหน้าที่เป็นผู้ให้คําแนะนําในระหว่าง การวางแผน (Planning) การรายงาน ครูให้คําแนะนําเฉพาะเวลาที่เห็นว่าสมควรเท่านั้น โดยภายหลังการ รายงาน (Report) และไม่ว่าในระหว่างหรือก่อนระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (Task cycle) นั้น นักเรียน อาจจะได้ฟังการสนทนาของผู้อื่นหรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเพื่อเชื่อมเข้ากับประสบการณ์ที่พวกเขา มีในการทํางาน ประกอบด้วย 2.1 ปฏิบัติงาน (Task) นักเรียนลงมือปฏิบัติงานในลักษณะการทํากิจกรรมเป็นคู หรือ เป็นกลุ่ม อาจารย์เป็นผู้ให้คําแนะนํา สนับสนุนให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน จนนักเรียนรู้สึก เป็นส่วนตัว และรู้สึกอิสระในการเรียนรู้ หรือทดลองทําสิ่งต่างๆ 2.2 การเตรียมนําเสนอ (Planning) นักเรียนเตรียมการรายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อ ชั้นเรียนทั้งปากเปล่าและข้อเขียนโดยมีอาจารย์คอยช่วยเหลือในด้านการใช้ภาษาของนักเรียน 2.3 รายงานต่อชั้นเรียน (Report) นักเรียนเสนอผลงานการปฏิบัติต่อชั้นเรียนหรือ แลกเปลี่ยนจากการเขียนรายงานและเปรียบเทียบผลต่างๆ อาจารย์และนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนซึ่ง กันและกัน 3. ขั้นหลังการปฏิบัติภาระงาน (Post-task) ในขั้นตอนนี้เป็นการเน้นย้ําที่การนําเสนอหลัก ภาษาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวางแผน ซึ่งนักเรียนอาจจะได้มีโอกาสใช้ภาษาเหล่านั้นแล้วระหว่างที่ กําลังวาง แผนการทํางาน ซึ่งนักเรียนจะสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่ออาจารย์นําความรู้ทางหลักภาษา ดังกล่าวมาทบทวน อีกรอบในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3.1 วิเคราะห์(Analysis)นักเรียนดําเนินการตรวจสอบหรืออภิปรายลักษณะสําคัญ ของ เนื้อหาทางภาษานักเรียนจะสามารถสร้างสรรค์คําศัพท์ใหม่ วลี และรูปแบบของคําศัพท์ใหม่ ๆ


13 3.2 ฝึก (Practice) อาจารย์เป็นผู้ออกแบบ แบบฝึกหัดเสริมทางด้านไวยากรณ์ หลังจากนักเรียนเข้าใจความถูกต้องของกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์แล้วและนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เอลลิซ (Ellis , 2546) กล่าวเสริมว่า การวางแผนก่อนสอนเป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จในการ สร้างเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งนี้เนื่องจากระหว่างสอน ครูควรที่จะมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ที่คอยช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนเป็นหลัก ดังนั้น กระบวนการสอนที่ดีจะ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมด้วยตนเองกับกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ดังที่ Nunan (1989) กล่าวว่าจุดเน้นการ สอนเน้นภาระงาน มีดังนี้ 1. กระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน (Schema building) เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน 2. ควบคุมให้นักเรียนฝึกหัดสิ่งที่อยู่ในเนื้อหา เช่น สอนคำศัพท์และโครงสร้างที่อยู่ใน เนื้อหา แต่ไม่เป็นการสอนโดยตรง (Controlled practice embedded in a context) 3. ให้ทักษะของงานที่อยู่ในโลกของความจริง (Authentic receptive skills work) 4. มุ่งเน้นที่รูปแบบ เช่น คำศัพท์ และไวยากรณ์ (Focus on form) 5. ให้อิสระในการฝึกฝนเป็นกิจกรรมการสื่อสาร (Communicative activities) 6. ทำการสื่อสารด้วยกิจกรรมภาระงาน (Communicative task) วิลลิซ และวิลลิซ ( Willis and Willis. 2550 : 76 - 77) ได้ยกตัวอย่างภาระงานการจัด ประเภท โดยมีชื่อภาระงานว่า ‘International words’ ดังนี้ 1. ขั้นภาระงานเป้าหมาย (target task) คือ ให้ผู้เรียนจัดประเภทสิ่งที่รับประทานได้ สิ่งที่ ดื่มได้ กีฬา การขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า สื่อ คำทักทาย และคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรงเรียนลงในช่องว่างที่แบ่งไว้แต่ ละประเภท 2. ขั้นการทำกิจกรรม (during task) 2.1 ผู้สอนแบ่งช่องเพื่อจัดประเภทบนกระดาน โดยแต่ละประเภทจะมีตัวอย่างให้ไว้ หนึ่งตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติภาระงาน 2.2 ผู้เรียนพูดคำศัพท์ที่เหมาะสมกับแต่ละประเภท อย่างเช่น ประเภทกีฬา ผู้เรียนจะ พูดคำศัพท์ เทนนิส (tennis) และ กอล์ฟ (golf) เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานของ วิลลิซ (Willis , 1996 : 56) มีดังนี้ 1. ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (Pre-task) 2. ขั้นระหว่างการปฏิบัติภาระงาน (Taskcycle) 3. ขั้นหลังการปฏิบัติภาระงาน (Post-task) และ วิลลิซ และวิลลิซ ( Willis and Willis. 2007 : 76 - 77) ก็ได้ยกตัวอย่างภาระงานการจัดประเภท โดยมีชื่อภาระงานว่า ‘International words’ ดังนี้ 1. ขั้นภาระ งานเป้าหมาย (target task) 2. ขั้นการทำกิจกรรม (during task) เป็นต้น ความสามารถในการพูด ความหมายของการพูด มีนักการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศหลายท่านได้ให้ความหมายของการพูดไว้ ดังนี้ พินอคคิอาโร และบรัมฟิต (Finochiaro and Brumfit, 2526 : 140) กล่าวว่า การพูดเป็น ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งที่พูด สถานการณ์ของการพูด การปรับเปลี่ยนอวัยวะใน การพูดได้


14 ถูกต้องเหมาะสม การใช้คาพูด กฎเกณฑ์ด้านไวยากรณ์ ความหมายและวัฒนธรรมให้ เหมาะสมรวมทั้งการไว ต่อการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของคู่สนทนา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็น ปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กันทั้งทางด้านสมอง และร่างกายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างทันทีและพร้อมกัน ใน การพูดนั้นผู้พูดต้องส่งสารโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม มี การเน้นเสียง การออกเสียงสูง รวมทั้งการ แสดงสีหน้าท่าทางเป็นเครื่องช่วยในการแสดงความหมายของสิ่งที่ พูดถึง ผู้ฟังจะสามารถเข้าใจสาร ที่ผู้พูดส่งและในบางครั้งภาษาพูดอาจจะขาดความสมบูรณ์หรือไม่เป็นไปตาม กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาที่ใช้ในการเขียนที่ประโยคต่าง ๆ ต้องสมบูรณ์ถูกต้อง ผู้อ่านจึงจะ เข้าใจได้ กล่าวได้ว่า ทักษะการพูดและการพูดเป็นทักษะที่ต่างก็มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เบิร์น (Byme 2529 : 36) กล่าวว่า การพูดเป็นกระบวนการสื่อสารสองทิศทางที่เกี่ยวข้อง กัน ระหว่างทักษะการรับสารของผู้ฟังและทักษะการผลิตสารของผู้พูด ผู้พูดจะทาหน้าที่ส่งรหัสเพื่อ สื่อถึง เจตนา และความต้องการ ส่วนผู้ฟังจะเป็นผู้ถอดรหัสของสารนั้น ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้ใน เรื่องระบบภาษา เช่น เสียง หนักเบาในคาตลอดจนความเข้าใจภาษาท่าทางของผู้พูดเป็นเครื่องช่วย ให้การตีความสารนั้นตรง ตามเจตนา ของผู้สื่อ หรืออาจกล่าวสรุปได้ว่าในความเป็นจริง ความสามารถในการพูดเกี่ยวข้องกับการฟัง โดยตรง โดยผู้ พูดจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูลให้กับผู้ฟัง เป็นลักษณะการสื่อสารแบบ 2 ทาง โดยมีการ แลกเปลี่ยนบทบาทกัน เป็นผู้พูดและผู้ฟัง รัตนา ศิริลักษณ์ (2540 : 40) กล่าวว่าทักษะการฟัง พูด เป็นการสื่อสารทางวาจาของ บุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งต่างมีจุดประสงค์ที่จะสื่อสารของตนเอง ผู้ฟังจะต้องตีความในสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อ ความหมายและสามารถโต้ตอบได้ด้วยภาษาที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ตรงกับความ ตั้งใจในการสื่อความหมาย ของผู้พูด อาไพ สุจริตกุลและธิดา โมสิกรัตน์ (2544: 397) กล่าวว่า การพูดคือการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึกหรือความต้องการด้วยถ้อยคา น้าเสียง และกิริยาท่าทางให้ผู้ฟังรับรู้และตอบสนองตามที่ผู้ พูดต้องการ สมชาย สำเนียงงาม (2545: 139) กล่าวว่า การพูด หมายถึงการถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูดโดยใช้ ถ้อยคำ นำเสียง สีหน้า แววตา รวมทั้งกิริยาท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ฟัง เข้าใจความหมาย และตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สวนิด ยมาภัย และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (2547: 11) กล่าวว่า การพูด คือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึกและความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้และ เกิดการตอบสนอง จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสาราญ (2550 : 135) กล่าวว่า การพูดเป็นการถ่ายทอด ความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการของผู้พูด เพื่อสื่อความหมายไปยังผู้ฟังโดยใช้ถ้อยคำน้าเสียงและ อากัปกริยาท่าทางจนเป็นที่เข้าใจกันได้ สรุปได้ว่า การพูด หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีการเลือกใช้ สำนวน ถ้อยคำ ภาษา ถูกต้องตามหลักภาษา โดยผู้พูดจำเป็นต้องส่งต่อข้อมูลให้แก่ผู้รับสารได้อย่างถูกต้อง


15 และต้องพูดอย่างมีความหมาย รวมไปถึงกิริยาท่าทาง มารยาทขณะพูดหรือว่าอวัจนภาษาก็สำคัญในการพูด เช่นกัน องค์ประกอบของการพูด Wilber Schramm (2497) กล่าวว่า การพูด เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการ (Process) ที่ต่อเนื่อง กล่าวคือ เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลต่อกลุ่ม โดย ใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกันได้ ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้ 1. ผู้พูด หรือ ผู้ส่งสาร (Sender/Encoder) ได้แก่ ผู้ที่ทาหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ไปสู่ผู้ฟัง ผู้พูดต้องรู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง หน้า ท่าทางอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้อุปกรณ์ต่าง ๆประกอบเพื่อให้ การพูดบรรลุจุดมุ่งหมาย บางครั้งผู้พูดก็หมายถึงกลุ่มบุคคลได้เช่นกัน 2. ผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร (Receiver/Recipient /Decoder) ได้แก่ ผู้ที่เป็นเป้าหมายที่ผู้พูด ต้องการจะสื่อสารไปถึง หรือผู้ฟัง ดังนั้น การที่ผู้ฟังจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสารมากเพียงใดขึ้นอยู่ กับระดับความรู้ การตอบสนองต่อสาร เช่น การพยักหน้า ปรบมือ ยิ้ม หัวเราะ ก้มหน้า ขมวดคิ้ว ฯลฯ และ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร 3. สาร/หรือเนื้อหาที่พูด (Massage) ได้แก่ เนื้อหาที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสารเป็นสิ่งที่จะทำให้ ผู้ฟังได้ตอบสนองกลับไปยังผู้พูด ดังนั้น ในกระบวนการสื่อสาร เนื้อหาสาระต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน มี ประโยชน์ เป็นไปในทางสร้างสรรค์ 4. สื่อ/ช่องทางติดต่อ (Media/Medium/Channel) หมายถึง ช่องทางที่ผู้พูดใช้ส่งสารไป ยัง ผู้รับสารหรือผู้ฟัง ซึ่งผู้พูดต้องรู้จักเลือกช่องทางที่จะสื่อสารเนื้อหาไปยังผู้ฟังให้เหมาะสม และผู้ พูดจะเลือก ทางใดเพื่อสื่อสารก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสารที่จะส่งด้วยเช่นกัน 5. การตอบสนอง (Feedback/response) ได้แก่ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ฟังได้ยิน สาร ที่ถูกส่งมา แล้วตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสารหรือผู้พูด อาจเป็นการตอบสนองด้วยวาจา หรือ ภาษากายก็ได้ และการตอบสนองอาจเป็นได้ทั้งทางบวก เช่น หัวเราะ ปรบมือ ยิ้ม เป็นต้น และทาง ลบ เช่น ส่ายหน้า ไม่ สนใจ ขมวดคิ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการสื่อสารนี้ ต้องอยู่ภายใต้บริบท (Context) ทั้งบริบททาง กายภาพ และบริบททางสังคม หรือบริบททางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และผู้พูดต้องรู้จักเลือกเนื้อหาสาระที่จะ พูดภายใน บริบทดังกล่าวระกอบของการพูดข้างต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสื่อสาร จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการพูดของ Wilber Schramm (1954) มีดังนี้ 1. ผู้พูด หรือ ผู้ส่งสาร (Sender/Encoder) 2. ผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร (Receiver/Recipient /Decoder) 3. สาร/ หรือเนื้อหาที่พูด (Massage) 4. สื่อ/ช่องทางติดต่อ (Media/Medium/Channel) 5. การตอบสนอง (Feedback/response) เป็นต้น


16 องค์ประกอบของทักษะการพูด Linder (2520) ได้แบ่งองค์ประกอบการพูดเป็น 4 อย่าง คือ 1. ความคล่องแคล่ว (Fluency) 2. ความสามารถเข้าใจคำพูดของผู้อื่น (Comprehension) 3. ปริมาณข้อความในการสื่อสาร (Amount of communication) 4. คุณภาพของข้อความที่นำมาสื่อสาร (Quality of communication) Oller (2522 : 320-326) ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับ องค์ประกอบของทักษะการพูดที่คล้ายคลึงกัน ว่าต้องประกอบไปด้วย 1. การออกเสียง (Pronunciation) ซึ่งหมายถึง การออกเสียงสระ (Vowel sounds) เสียง พยัญชนะ (Consonant) การเน้นเสียง (Stress) การออกเสียงสูง-ต่ำในประโยค (Intonation) การเชื่อมโยง หรือการโยงเสียง (Inking or blending) และรวมทั้งการหยุด (Pause) ระหว่างกลุ่มของ เสียงหรือของคำ (Juncture) 2. โครงสร้างไวยากรณ์ (Grammar)คือกฏการเปลี่ยนรูปแบบของคำหรือการรวมคำให้ เป็น ประโยค 3. คำศัพท์ (Vocabulary) คือ คำภาษาอังกฤษชนิดต่าง ๆ ที่นักเรียนควรเรียนรู้และ ใช้ได้ ถูกต้อง 4. ความคล่องแคล่วในการพูด (Fluency) คือความสามารถที่จะพูดภาษาได้ดีมาก 5. ความเข้าใจ (Comprehension) ซึ่งหมายถึงปริมาณและคุณภาพของความเข้าใจ ของ ผู้ฟังตามคำพูดซึ่งออกไป ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ (2545 : 18) ได้แยกองค์ประกอบความสามารถทางการสื่อสาร คือ 1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (Grammatical Competence) หมายถึง ความรู้ทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้างทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคาศัพท์โครงสร้าง ของ คา ประโยคตลอดจนการสะกดและการออกเสียง 2. ความสามารถทางด้านสังคม (Socio-linguistic Competence) หมายถึง การใช้คาและ โครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถาม ทิศทางและข้อมูล ต่าง ๆ และการใช้ประโยคคาสั่ง เป็นต้น 3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน (Discourse Competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษา (Grammatical Form) กับความหมาย (Meaning) ในการพูดและการเขียนตามรูปแบบและ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน 4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Strategic Competence) หมายถึง การใช้เทคนิคเพื่อให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการสื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมี กลวิธีในการที่ จะไม่ทาให้การสนทนานั้นหยุดลงกลางคัน เช่น การใช้ภาษาท่าทาง (Body Language) การขยายความโดยใช้ คำศัพท์คำอื่นที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น


17 จากข้างต้น ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่าองค์ประกอบการพูดจำเป็นต้องมี ความสามารถทางด้าน ไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (Grammatical Competence) ความสามารถทางด้านสังคม (Socio-linguistic Competence) ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน (Discourse Competence) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Strategic Competence) ความ คล่องแคล่ว (Fluency) ความสามารถเข้าใจคำพูดของผู้อื่น(Comprehension) ปริมาณข้อความในการสื่อสาร (Amount of communication) และคุณภาพของข้อความที่นำมาสื่อสาร (Quality of communication) การพัฒนาทักษะการพูด เบริ์น ( Byrne, 2529 : 10-11) กล่าวว่า การพัฒนาทักษะทางการพูดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ที่จะต้องฝึกฝน ดังที่การสอนการพูดจำเป็นต้องฝึกผู้เรียน 2 อย่าง คือ 1. ฝึกในการใช้ส่วนที่คงที่ของภาษา ได้แก่ เสียงและรูปแบบไวยากรณ์และ คำศัพท์ 2. โอกาสสำหรับแต่ละคนได้แสดงออก ผู้สอนต้องให้ความสนใจในเรื่องความถูกต้อง และความคล่องแคล่วในขั้นที่แตกต่างกันของระดับการเรียน ในขั้นต้นควรเน้นความถูกต้อง ส่วนในขั้นสูงควร เน้นความคล่องแคล่ว การสอนทักษะการพูด ทักษะการพูดเป็นทักษะการออกเสียงคำ วลี หรือประโยคซึ่งแสดงออกด้วยการเล่า อธิบาย สนทนา โต้ตอบกับบุคคลต่าง ๆหรือแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง สก๊อต (Scott, 2524 : 45) ได้นำเสนอขั้นตอนการสอนพูดไว้ดังนี้ 1. ขั้นบอกวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรจะบอกให้ผู้เรียนรู้ถึงสิ่งที่จะเรียน 2. ขั้นเสนอเนื้อหา การเสนอเนื้อหาควรจะอยู่ในรูปบริบท ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียน สังเกต ลักษณะของภาษา ความหมายของข้อความที่จะพูดซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ผู้พูดเป็นใคร มี ความ รับผิดชอบกับคู่สนทนาอย่างไร ผู้สนทนาพยายามจะบอกอะไร สิ่งที่พูด สถานที่พูดและ เนื้อหาที่พูดมี อะไรบ้าง 3. ขั้นการฝึกและการถ่ายโอน การฝึกจำทันทีหลังจากเสนอเนื้อหา อาจจะฝึกพูด พร้อม ๆ กันหรือฝึกเป็นคู่ ผู้สอนควรให้ผู้ฟังได้ยินได้ฟังสานวนภาษาหลาย ๆแบบและเป็นสานวน ภาษาที่ เจ้าของภาษา ใช้จริงและควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างอิสระใกล้เคียงกับสถานการณ์ ที่เป็นจริง ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ (2545 : 18) ได้สรุปการพัฒนาการสอนตามแนวการสื่อสาร ดังต่อไปนี้ การสอนตามแนวสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นในแถบอเมริกาเหนือและยุโรปในช่วงปี 1970 เพราะช่วงดังกล่าวมีผู้ อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในยุโรปเป็นจานวนมาก มีความจาเป็นต้องพัฒนา หลักสูตรการ สอนภาษาที่สองแบบ เน้นหน้าที่และสื่อความหมาย (Functional National Syllabus Design) เพื่อช่วยให้ผู้ อพยพสามารถใช้ ภาษาเพื่อการสื่อสารในอเมริกาเหนือ โฮมส์ (Hymes, อ้าง ถึงใน ละเอียด จุฑานันท์ 2541 : 96) ได้ใช้คำว่า ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Competence) หมายถึง ความสามารถใน


18 การปฏิสัมพันธ์หรือปะทะสังสรรค์กัน ทางสังคม (Social Interaction) ซึ่งความสามารถ ทางด้านภาษาที่ สำคัญที่สุดคือความสามารถที่จะ สื่อสารหรือเข้าใจคาพูดที่อาจไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แต่ มีความหมาย เหมาะสมกับ สภาพการณ์ที่คาพูดนั้นถูกนามาใช้ โดยที่เซวินอน (Savignon 1972 : 48) ได้กล่าว ไว้ว่า การ สอน ภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching CLT) คือแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่าง ความรู้ ทางภาษา (Linguistic Knowledge) ทักษะทางภาษา (Language Skill) และความสามารถใน การ สื่อสาร (Communicative Ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อการสื่อสาร จากเนื้อหาข้างต้นสรุปได้ว่า การพูดนั้นเป็นทักษะที่ต้องมีการฝึกฝนโดยใช้ภาษาได้อย่าง ถูกต้อง ดังนั้นครูจึงต้องเตรียมขั้นตอนการสอนทักษะการพูดตามขั้น ดังนี้ 1. ขั้นบอกวัตถุประสงค์ 2. ขั้นเสนอ เนื้อหา 3. ขั้นการฝึกและการถ่ายโอน เป็นต้น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านการพูด จรรยา สุวรรณทัต (2528 : 122) กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ทางภาษาว่า เกิดขึ้นจากความ ชานาญ (Empiricist Approach) ซึ่งเด็กจะเริ่มเรียนรู้ภาษาอย่างไม่เป็นกฎเกณฑ์ แต่เรียนรู้ ภาษาในลักษณะเดียวกับการฝึกทักษะ ความชำนาญ และความสามารถด้านอื่น ๆ การเรียนรู้กำได้จากการได้ ยินคนอื่นพูดซ้ำแล้วนำมาพูด ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้เร็ว ถ้าคำที่เด็กเรียนรู้เป็นประสบการณ์ใกล้ตัวเด็ก รูปแบบ การเรียนรู้ที่สำคัญ สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ เช่น ครูนำวัตถุสิ่งของ ของเล่น มาจัด วางในห้องเรียน และตั้งคำถาม เพื่อเร้าให้เด็กหาคำตอบ ซึ่งเป็นการให้เด็กสำรวจวัตถุนั้นด้วยตัวเอง ศรียา และ ประกัสสร นิยมธรรม (2541: 27 - 30) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีความสามารถการทาง ภาษาและการพูดไว้ ดังนี้ 1. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่ง ถือว่า พฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) และคณะพบว่า เด็ก จะพูดมากขึ้น เมื่อให้รางวัลหรือเริ่มกำลัง วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการวับรู้ในระยะการเล่น เสียงตอนต้น ๆ ว่า เป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อ เด็กหัวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกิน ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหา และเล่นเสียงคุยตามไปด้วย 2. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theary of Percepton) ในบางครั้งเด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูด หรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาท่อนเลย แม้แต่ในระยะเด่นเสียง ก็มีได้เปลี่ยนแปลงเสียงที่คล้ายกับคำนั้นจึงสงสัย ว่า เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ ซึ่งลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย ท่านองเดียวกับเด็กหู ดึง การทําเช่นนี้ อาจเป็นเพราะเด็กฟังพูดซ้ำด้วยตนเอง หรือหัดเปล่งเสียงโดยใช้อ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ นักภาษาศาสตร์อเมริกันผู้คิดทฤษฎีนี้ เขาอธิบายว่า เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับเครื่องมือในการเรียนรู้ 3. ทฤษฎีสภาวะติดตัวมาแต่กำเนิด (Innateness Theory) ชอมส (Chomsky) ภาษา (Language Acquisition Device) ซึ่งเรียกว่า แอล เอ ดี (L.A.D) เครื่องมือนี้จะเป็นฝ่ายรับข้อมูลทางภาษา ซึ่ง


19 มาจากประโยคต่าง ๆ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้กฏต่าง ๆทางไวยากรณ์ที่มีใช้ในภาษา กฎทางไวยากรณ์ต่าง ๆ นี้ ก็คือความรู้ในภาษา (Competence) 4. ทฤษฎีความสัมพันธ์ (Interaction Theory) ได้มีนักสังคมวิทยาภาษาศาสตร์ และ นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งเสนอขึ้นโดยกล่าวว่า คนเราเกิดมานั้นจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างติดตัวมา ทำให้คนผิดไป จากสัตว์อื่น แต่ไม่ใช่แอล เอ ดี สิ่งนั้นคือ ความสามารถในการเรียนภาษา (Language Capacity) และความรู้ เกี่ยวกับโลก (Cognitive Knowledges) 5. ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง Babble Luck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้ คิด โดยอธิบายว่า เมื่อเด็กทำาลังเล่นอยู่นั้น เผอิญมีบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของ พ่อ แม่ พ่อแม่จึงให้รางวัลในทันที ด้วยวิธีนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาไปเรื่อย 6. ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) ของอิริต เลนเนเบอร์ก (Eric Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษานั้น มีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ ก็เกิดจากการที่คนสามารถ ถ่ายทอดภาษากันได้ 7. ทฤษฎีการให้รางวัลของแม่ (Mother Reward Theory) จอห์น ดอลลาร์ด (John Dolard) และ นีล มิลเลอร์ (Neel Miller) เป็นผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้ โดยยาเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนา ภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดู เพื่อสนองความต้องการของลูก จะเป็นเหตุให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก จากการศึกษาทฤษฎีและกระบานการการเรียนรู้ภาษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางภาษาหรือการพูด ของเด็กปฐมวัยนั้น จะต้องผ่านกระบวนการพัฒนามาเป็นลำดับขั้น เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว หลายรูปแบบแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ทางสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม ตัวเด็กเอง ตลอดจน ปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งเร้า โดยกระบวนการเรียนรู้ เริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ และบุคคลใกล้ตัว ในลักษณะการเลียนแบบ หรือการลองผิดลองถูก การเรียนรู้ภาษาจะดียิ่งขึ้น ถ้าเด็กได้รับการเสริมแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษา หรือพัฒนาการทางการพูดดียิ่งขึ้น การวัดและประเมินผลความสามารถด้านการพูด วาเล็ตท์ (Valette 2520, อ้างถึงใน ละเอียด จุฑานันท์ 2541 : 181-184) ได้แนะนำ วิธีการ ทดสอบทักษะพูดในขั้นสื่อสารไว้ 2 ลักษณะคือ การพูดที่มีการควบคุม สามารถทดสอบ ได้โดยการให้ตัวแนะที่ สามารถมองเห็นได้ เช่น มีรูปภาพเป็นสื่อ การให้ตัวแนะที่เป็นคำพูด เช่น ผู้สอนพูดประโยคแล้วแสดงคาตอบ ด้วยสีหน้าท่าทางและให้ผู้เรียนตอบตามลักษณะท่าทางนั้น อาจจะให้ผู้เรียนพูดเปลี่ยนประโยคตามที่กำหนด ให้บทบาทและคาแนะนาเกี่ยวกับชนิดของการ สนทนาที่ผู้เรียนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ให้ฟังบทสนทนาแล้ว พูดรายงานเรื่องที่ฟัง ให้แสดงเป็นผู้สัมภาษณ์แล้วจดบันทึกข้อมูลจากการพูดสัมภาษณ์ ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการพูดแบบอิสระใน สถานการณ์การสื่อสารอย่างแท้จริง โดยให้ผู้เรียนบรรยายเหตุการณ์ในภาพชุด ให้พูด ตามหัวข้อที่กำหนดให้พูดบรรยายวัตถุอย่างหนึ่งโดยใช้ภาษาที่เรียน การสนทนาและการสัมภาษณ์เป็นวิธีที่ เหมาะสม นิยมใช้และเป็นธรรมชาติมากที่สุด


20 พินอคคิอาโร (Finochiaro, 2526 : 139-143) ได้แนะนำวิธีการทดสอบทักษะการพูดไว้ว่า ให้พูดประโยคสั้น ๆตามเทป ให้อ่านออกเสียงประโยคต่าง ๆ ให้บรรยายลักษณะของวัตถุสิ่งของต่าง ๆจาก ภาพที่กำหนดให้บรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ พูดตามหัวข้อที่กำหนดให้และให้นักเรียนตอบ คำถามในการ สัมภาษณ์ เพ็ญแข วงศ์สุริยา (2546 : 15) กล่าวถึงการประเมินผลการพูด มีจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หลักหรือพฤติกรรมที่ต้องการคือพูดภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้ เครื่องมือที่ใช้ ประเมินมีหลายรูปแบบ เช่น การถาม-ตอบ การสัมภาษณ์ การอภิปราย การสังเกต เป็นต้น โดยต้องมีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นหลักการ ประเมิน จากเนื้อหาข้างต้นสรุปได้ว่า การวัดและประเมินความสามารถด้านการพูดนั้นมีเครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินหลากหลายรูปแบบ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือครูจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนวิธีการ แก้ปัญหาในแบบของตนเอง เพื่อประเมินความสามารถด้านการพูด เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความหมายของความพึงพอใจ ความพึงพอใจหรือความพอใจ ตรงกับคาในภาษาอังกฤษว่า “Satisfaction” โดยทั่วไปนิยม ทาการศึกษาความพึงพอใจในด้านความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งมี นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ ดังนี้ วอลเลอร์สไตน์ (Wallerstein, 2514 : 256) ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย และอธิบายว่า ความพึงพอใจ เป็นกระบวนการทาง จิตวิทยา ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่สามารถคาดคะเนได้ว่ามีหรือไม่มี จากการสังเกตพฤติกรรมของคน เหล่านั้น การที่จะทาให้คนเกิดความพึงพอใจจะต้องศึกษาปัจจัยและ องค์ประกอบที่เป็นสาเหตุแห่งความพึง พอใจนั้น สุเทพ เมฆ (2531 : 8) กล่าวว่า ความพึงพอใจในบรรยากาศการเรียนการสอน หมายถึง ความรู้สึกพอใจในสภาพการจัดองค์ประกอบท่ีเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีความเจริญงอกงาม มีความกระตือรือร้น เพื่อจะเรียน ให้เกิด ประโยชน์แก่ตนเอง สุรางค์ โค้วตระกูล (2541 : 9) ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความรู้สึกทางบวก ความรู้สึกทางลบ และความสุขที่มีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนโดยความพึงพอใจจะ เกิดขึ้น เมื่อ ความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ อารี พันธ์มณี (2546 : 12) กล่าวว่า ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่ง ใดสิ่ง หนึ่ง ความรู้สึกพึงพอใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ หรือเป็นไปตามที่ ตนเองต้องการ ความรู้สึกพึงพอใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ หรือเป็นไป ตามที่ตนเองต้องการ และ ความรู้สึกดังกล่าวนี้จะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น ถ้าหากความต้องการหรือ เป้าหมายนั้นไม่รับการตอบสนอง


21 แน่งน้อย พงษ์สามารถ (2549 : 259) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่าหมายถึง ท่าทีต่อ สิ่งต่าง ๆ 3 อย่าง คือ ปัจจัยเกี่ยวกับงานโดยตรง ลักษณะเฉพาะเจาะจงของแต่ละคน และความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มในสิ่งที่อยู่นอกหน้าที่การงาน จากเนื้อหาข้างต้นสรุปได้ว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกทางบวกต่อการเรียน หรือการ กระทำใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นที่ตรงกับความสบายใจ และเป็นความรู้สึกที่บรรลุต่อสิ่งที่มุ่งหมายไว้ต่อการเรียน การสอน ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ ฮิลการ์ด และคนอื่นๆ (Hillgard , 2514 : 304-305) กล่าวว่าสิ่งจูงใจ (incentive) ที่ทาให้ เกิดความพึงพอใจเป็นสิ่งจูงใจทางบวก (positive incentive) ซึ่งได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม ทางวัตถุที่จะสร้างความพึงพอใจตามเงื่อนไขของความต้องการ เช่น อาหาร เป็นสิ่งจูงใจที่สร้างความพึงพอใจ ต่อแรงขับ (drives) เกี่ยวกับความหิวน้าเป็นสิ่งจูงใจทางบวกก็ไม่ได้สร้าง ความพอใจต่อความต้องการทาง กายภาพ แต่อาจเกิดจากสาเหตุเฉพาะตัวของบุคคล เช่น รสอาหาร อาจเป็นความพึงพอใจของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะไม่ได้ให้คุณค่าทางอาหาร เชลเลย์ (Shelley , 2518 : 252-268) ได้ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ สรุปได้ ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์คือความรู้สึกทางบวก และความรู้สึกทางลบ ความรู้สึก ทางบวกเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วจะทาให้เกิดความสุข ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่าง จากความรู้สึก ทางบวกอื่น ๆ กล่าวคือเป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับ ความสุขสามารถทาได้เกิดความสุข หรือความรู้สึก ทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความสุขเป็นความรู้สึกที่สลับซับซ้อนและความสุข นี้จะมีผลต่อบุคคล มากกว่าความรู้สึกทางบวกอื่นๆ คอตเลอร์ (Kotler , 2543 : 36) ได้กล่าวไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกยินดีหรือผิดหวัง ของบุคคลจากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้รับ (perceived) กับความคาดหวัง (expectations) ของเขาถ้าสิ่งที่ได้รับไม่เพียงพอหรือต่ำกว่าความคาดหวังลูกค้าก็ไม่พอใจ (dissatisfied) ถ้า สิ่งที่ได้รับเป็นไปตามคาดหวังลูกค้าก็เกิดความพึงพอใจ(satisfied) มาสโลว์ (2513 : 69) ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่ดี ที่ชอบ ที่พอใจหรือที่ประทับใจของ บุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้รับโดยสิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจบุคคลทุกคนมี ความต้องการหลายสิ่งหลายอย่าง และมีความต้องการหลายระดับ ซึ่งหากได้รับการตอบสนองก็จะก่อให้เกิด ความพึงพอใจ การจัดการเรียนรู้ใด ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ การเรียนรู้นั้นจะต้องสนองความ ต้องการของผู้เรียน ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ทฤษฎีลำดับชั้น ของความต้องการ Maslow (Needs-Hierarchy Theory) เป็นทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนี้ 1. ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ 2. ความต้องการความปลอดภัยรอดพ้นอันตรายและมั่นคง 3. ความต้องการความรัก ความเมตตา ความอบอุ่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ 4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง การยกย่อง และความเคารพตัวเอง


22 5. ความต้องการความสำเร็จด้วยตนเอง ความพอใจในขั้นต่าง ๆ ของความต้องการของมนุษย์นี้ ความต้องการขั้นสูงกว่าบางครั้ง ได้ ปรากฏออกมาให้เห็นแล้วก่อนที่ความต้องการ ขั้นแรกจะได้เห็นผลเป็นที่พอใจเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามบุคคล แต่ละคนส่วนมากแสดงให้เห็นว่า ตนมีความพอใจอย่างสูงสุด ในลำดับขั้น ความต้องการขั้นต่ำ มากกว่าขั้นสูง จากการสำรวจ พบว่า คนธรรมดาทั่วไปจะมีความพอใจใน ลาดับขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ความต้องการทางด้านกายภาพ 85% ความต้องการความปลอดภัย 70% ความต้องการทางด้านสังคม 50% ความต้องการเด่นในสังคม 40% ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา 10% จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า มนุษย์บนโลกทุกคนล้วนแต่มีความต้องการ และการที่ได้ ผลสำเร็จที่ตรงกับความต้องการนั้นก็จะก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อสิ่งนั้น ถ้าเกิดได้รับหรือพบเจอสิ่งได้ที่ สะท้อนต่อความต้องการ มนุษย์ก็จะแสดงความปรารถนาและพยายามเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ซึ่งนำไปสู่ความพึง พอใจ การวัดความพึงพอใจ โยธิน แสวงดี (2551 : 9) กล่าวว่า มาตรวัดความพึงพอใจสามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1. การใช้แบบสอบถาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะออกแบบสอบถามเพื่อต้องการ ทราบ ความคิดเห็น ซึ่งสามารถทำได้ในลักษณะที่กำหนดคำตอบให้เลือกหรือตอบคำถามอิสระ คำถามดังกล่าว อาจถามความพึงพอใจในด้านต่างๆ เช่น การบริหาร และการควบคุมงาน และเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นต้น 2. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีวัดความพึงพอใจทางตรงทางหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยเทคนิค และ วิธีการที่ดีจึงจะทำให้ข้อมูลที่เป็นจริงได้ 3. การสังเกต เป็นวิธีการวัดความพึงพอใจโดยสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมาย ไม่ว่าจะแสดงออกจากการพูด กิริยาท่าทาง วิธีนี้จะต้องอาศัยการกระทำอย่างจริงจังและการสังเกตอย่างมี ระเบียบแบบแผน จากข้องมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การวัดความพึงพอใจสามารถทำได้ 3 รูปแบบตามที่โยธิน แสวง ดี (2551 : 9) กล่าวไว้ คือ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกต เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพวัตกรรมทางการศึกษา ความหมายของประสิทธิภาพ นักวิชาการและนักบริหารหลายท่านได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ประสิทธิภาพ แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ปีเตอร์ ครักเกอร์ (Peter Drucker 2510 , อ้างถึงใน วิโรจน์ สารรัตนะ และสัมพันธ์พฤษ์ , 2545 : 3) กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อ บรรลุจุดหมายขององค์การได้ดี


23 สวัสดิ์ กาญจนสุวรรณ (2542 : 4) กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง การใช้ทรัพยากรและ เวลาน้อย แต่งานบรรลุเป้าประสงค์และมีคุณภาพมาก ประเวศน์ มหารัตน์กุล (2542 : 113-114) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง การ ใช้คนน้อยกว่างาน แต่สามารถทำงานให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นการบรรลุความสำเร็จในรูปแบบของภารกิจ นโยบาย เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ ก็แล้วแต่ ผลงานที่สำเร็จได้ใช้คนและทุนพอดีกับงาน และยิ่งผลงานที่ สำเร็จได้ใช้คนและทุนต่ำมากเท่าใด ยิ่งถือว่าเกิดประสิทธิภาพได้มากเท่านั้น กฤษฏ์ อุทัยรัตน์ (2545 : 350) กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ที่บรรจุแล้วโดย การเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไป ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 667) ได้ให้ความหมายของคำว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถที่ทำให้เกิดผลในการทำงาน สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการบรรลุความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างที่มีผลสัมฤทธิ์ที่ดี ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 56) กล่าวว่า เกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพ ของ ชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หากชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว ชุดการ สอน ก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอน การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพสามารถทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของ ผู้เรียน 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ, E1) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (ผลลัพธ์, E2) การ ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง คือ การประเมินพฤติกรรมย่อย ๆ หลาย ๆ อย่างเรียกว่า กระบวนการ (Process) การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้าย คือ การประเมินผลผลลัพธ์ผลสัมฤทธิ์ผล ทางการเรียนของผู้เรียนในเนื้อหา แต่ละหน่วย โดยพิจารณาผลการสอบหลังเรียน เกณฑ์ประสิทธิภาพมี หลายเกณฑ์เช่น 75/75 80/80 85/85 90/90 และ 95/95 ผู้ผลิตชุดการสอนจะเป็นผู้พิจารณาตั้งได้ตาม ความเหมาะสม โดยปกติเนื้อหาวิชาที่เป็น ความรู้ ความจำ จะตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 80/80 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้ทางด้านทักษะหรือ เจตคติที่จำเป็นจะต้องใช้ระยะค่อนข้างยาวนานที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือเปลี่ยนแปลงเจตคติได้ จึงอาจ ตั้งต่ำว่า เช่น 75/75 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตก็ไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำจนเกินไปนัก เพราะจะทำให้ ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ได้ไม่มีความหมายในการตั้งเกณฑ์ เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528 : 294) กล่าวว่า การหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมนั้นจะถือ หลักการแบบสมรรถฐาน คือ มาตรฐาน 90/90 ผลลัพธ์ค่าประสิทธิภาพของสื่อเป็น E1/E2 หมายความว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละจากการประเมินกิจกรรมการเรียน (E1) เกณฑ์การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยใช้ในครั้งนี้ คือ เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (E1/E2) โดยการพิจารณาจากกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ดังนี้ 80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจาก ประเมิน การปฏิบัติงานตามใบงานและจากการท าแบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มากกว่า หรือ เท่ากับร้อยละ 80 80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจากการ ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80


24 จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า เกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของชุดการสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ, E1) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (ผลลัพธ์, E2) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ สุพรรณี อาศัยราช (2558 : 56-68) ได้ทำการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน ภาษาอังกฤษโดยการใช้กิจกรรมเสริมแบบเน้นภาระงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา Reading English for Learning ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จานวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่ 1.แผนการจัด กิจกรรมเสริมด้านการอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานจำนวน 4 แผน 2.แบบทดสอบความสามารถ ทางการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3.แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมเสริมด้านการอ่านแบบ เน้นภาระงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่บรรจุกิจกรรมเสริมแบบเน้นภาระงานมีค่าเท่ากับ 77.17/73.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 2. ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลัง เรียนด้วยกิจกรรมเสริมแบบเน้นภาระงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.ผู้เรียนมี ความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมเสริมการอ่านแบบเน้นภาระงาน (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.31 และ S.D.= 0.70) จันทรกานต์ จรรยา (2559 : 105-119) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนเสริม ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชดำริ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชดำริ ในภาค เรียนที่2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1.บทเรียนเสริมผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 8 บทเรียน 2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ 3.แบบทดสอบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละเพื่อหาประสิทธิภาพของ บทเรียนและใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน จากผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนเสริมผลสัมฤทธิ์การ อ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน มีค่าเท่ากับ 77.71/75.22 ซึ่งถือ ว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2. ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังใช้ บทเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบทเรียนเสริม ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ ในระดับมาก ณุรัตน์ แย้มฉาย (2559 : 101-104) ได้ทำการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ศิลปากร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี


25 อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จานวน 35 คน ที่กำลังศึกษาวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (English Skills Development 081103) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานจานวน 4 แผน 2.แบบทดสอบวัดความสามารถ การพูดนาเสนอภาษาอังกฤษ 3.เกณฑ์การประเมินความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1.ความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระ งานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการจัดการเรียนรู้แบบ เน้นภาระงานอยู่ในระดับมากที่สุด โชคชัย เตโช (2562 : 120-132) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจําวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เเบบเน้นภาระงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร(ปฐมวัย และ ประถมศึกษา) จำนวน 33 คน โดยได้มีการบันทึกภาพและเสียงเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินพัฒนาการ ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย(x ̅) ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1.ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจําวันของนักเรียนชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ผลการศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก งานวิจัยต่างประเทศ Hasan (2014) ได้ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานในการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูด (The Effect of using Task-Based Learning in Teaching English on the oral performance of the secondary school students) เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ หนังสือ แบบเรียนภาษาอังกฤษและข้อสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยมี วิธีการวัดผลแบบ Rubric กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จานวน 23 คน ซึ่งจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานและกลุ่ม ควบคุม จานวน 21 คน ซึ่งจัดการเรียนรู้แบบปกติ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงานมีผลคะแนนทดสอบ การพูดรายบุคคลและการพูดสนทนาสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ เน้นภาระงานมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการพูด ภาษาอังกฤษ Albino (2017) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาความคล่องแคล่วทางการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน(Improving Speaking Fluency in a Task-Based Language Teaching Approach: The Case of EFL Learners at PUNIV-Cazenga) ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ทดสอบ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงาน ด้วยการให้ผู้เรียน บรรยายภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นให้พูดภาษาอังกฤษ จากการ ปฏิบัติภาระงาน ได้เรียนรู้ คาศัพท์และไวยากรณ์ที่จาเป็นในการพูด ทาให้ผู้เรียนพูดได้อย่างถูกต้อง และคล่องแคล่วมากขึ้นหลังการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน


26 Visbal and Padilla (2017) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตรการพัฒนาการพูดแบบเน้นภาระ งาน (A Task-Based Speaking Course for 9th Grade Students at Institution Educative Vista Hermosa de Soledad) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนเกรด 9 เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เกณฑ์การวัดประเมินผลทักษะการพูด และ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะการพูดดีขึ้นหลังจากการเรียนด้วยหลักสูตรการพัฒนา การพูดแบบเน้น ภาระงาน และมีทัศนคติที่ดีต่อวิธีสอน กิจกรรมการสอน เนื้อหาสาระ และสื่อการสอน กรอบแนวคิดการวิจัย ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดการวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ความสามารถด้านการอ่าน ความพึงพอใจ


27 บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. แบบแผนการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล 7. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 จำนวน นักเรียน 78 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงโดยเป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 เป็น กลุ่มทดลอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็น การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One Group Pretest - Posttest Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538 : 249) และแบบ กลุ่มเดี่ยวสอบหลัง (One Group Posttest-Only Design) (พวงรัตน์ทวีรัตน์, 2540 : 60 - 61) ซึ่งมีลักษณะ แบบแผนการวิจัย ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยจำแนกตามตัวแปรตาม ตัวแปรตาม แบบแผนการวิจัย หมายเหตุ ความสามารถด้านการพูด One Group Posttest – Only Design - ความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน One Group Posttest – Only Design -


28 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 6 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมงต่อโรงเรียน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1 แบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบ Oral Test 2.2 แบบประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานจำนวน 1 ฉบับ ใช้บันทึก 6 ครั้ง 2.3 แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ วัดความพึงพอใจ 3 ด้าน จำนวน 1 ฉบับ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยของเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2. แบบทดสอบวัด ความสามารถการพูดภาษาอังกฤษแบบ Oral Test 3.แบบประเมินความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ 4.แบบ วัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมงต่อโรงเรียน ตามขั้นตอนดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 หนังสือเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1.2 วิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 1.3 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การ เรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.3.1 เรื่อง My Family จำนวน 2 ชั่วโมง 1.3.2 เรื่อง Things in my life จำนวน 2 ชั่วโมง 1.3.3 เรื่อง Daily routine จำนวน 2 ชั่วโมง 1.3.4 เรื่อง Hobbies จำนวน 2 ชั่วโมง 1.3.5 เรื่อง Places in town จำนวน 2 ชั่วโมง 1.3.6 เรื่อง At the zoo จำนวน 2 ชั่วโมง


29 1.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การสอนภาษาอังกฤษ และการวัดผลและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณาตรวจสอบให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น -1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีความไม่และ สอดคล้องกันเหมาะสมและไม่สอดคล้องกัน แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยดัชนีความ สอดคล้องขององค์ประกอบ ที่มีค่า ICC ที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง 0.67 -1.00 1.5 ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ นำแผนการจัดการ เรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน คละความสามารถ เพื่อดูความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เวลาที่ใช้และปัญหาที่ เกิดขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข 1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป 2. แบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเป็นแบบทดสอบ Oral Test ดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในเรื่องการความสามารถการ พูดภาษาอังกฤษ วิธีสร้างแบบทดสอบ และการเขียนข้อสอบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ 2.2 วิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ จากนั้น สร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ เป็นแบบชนิด Oral Test 2.4 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ และการวัดผลและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิง เนื้อหา (Content Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยพิจารณาจากค่า ดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์การ เรียนรู้โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณาตรวจสอบให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกัน


30 ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น -1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความไม่เหมาะสมและไม่ สอดคล้องกัน แล้วนำคะแบบที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ โดยดัชนีความ สอดคล้อง ขององค์ประกอบ ที่มีค่า C ที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง 0.67 -1.00 2.5 ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ ตามข้อเสนอแนะของ ผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมที่ 5 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ที่ผ่านการเรียนด้วยกิจกรรมการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน แล้วนำคะแนนการทดสอบมาวิเคราะห์หาความยากง่าย (p) และอำนาจ จำแนก (1) เป็นรายข้อ โดยมีความยากง่ายระหว่าง 0.21 -0.75 และอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 - 0.65 2.6 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษที่คัดเลือกไว้ มาวิเคราะห์ หาความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยคำนวณจากสูตร KR -20 โดยพิจารณาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตั้งแต่ 0.72 2.7 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ ที่หาคุณภาพเรียบร้อยแล้วไป ทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป 3. แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 6 ฉบับ ใช้บันทึก 5 ครั้ง 3.1 ศึกษาหลักการสร้างแบบประเมินทักษะการพูด 3.2 สร้างแบบประเมินทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานจำนวน 1 ฉบับ ใช้บันทึก 6 ครั้ง โดยมีผู้ช่วยวิจัยที่ มีความใกล้ชิดกับนักเรียน รวมถึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มี ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน และการสอนภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่ประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียน และบันทึกวีดีโอขณะที่นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นการะ งาน โดยนักเรียนจะถูกบันทึกพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีพัฒนาการและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุงแก้ไขใน ทุกขั้นตอนระหว่างการจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ผ่านการบันทึกวิดีโอ 3.3 ป่าแบบประเมินทักษะการพูดฯเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ ข้อเสนอแนะ 3.4 ป่าแบบประเมินทักษะการพูดฯ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบ พิจารณาความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) แล้วนำมาแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง และนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index Of Item Objective Congruence: IOC ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80 ซึ่งแสดงว่า แบบทดสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3.5 ปรับปรุง แบบประเมินทักษะการพูด ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญ


31 4. แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของสิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ วัดความพึงพอใจ 3 ด้าน จำนวน 1 ฉบับ ตามขั้นตอน ดังนี้ 4.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบวัดความพึงพอใจตามวิธี ของ สิเคิร์ท (Likert) และวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 4.2 สร้างแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นแบบวัดมาตร ส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามวิธีของไลเคิร์ท (Likert, Scale) โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ 5 4 3 2 และ 1 ซึ่งหมายถึง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 1 ฉบับพิจารณาโดยรวม 3 ด้าน คือ 1)ด้าน ความรู้สึกต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2) ด้านการแสดงออกต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 3) ด้านการเห็นประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 4.3 บ้าแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาความเหมาะสมของข้อความ และความเที่ยงตรง (Validity) จำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้าน การสอนภาษาอังกฤษ และการวัดผลและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง โครงสร้าง (Construct Validity) ของแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดย พิจารณาจากค่าดัชนีความ สอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามและ เนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ แต่ละท่านพิจารณาตรวจสอบให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบวัด มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบวัด มีความเหมาะสมและ สอดคล้อง กัน ให้คะแนนเป็น -1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบวัด มีความไม่เหมาะสมและไม่ สอดคล้องกัน แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัด โดยดัชนีความสอดคล้อง ของ องค์ประกอบ ที่มีค่า IOC ที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง 0.67 - 1.00 4.4 ปรับปรุงแก้ไขแบบวัดความพึงพอใจตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำแบบวัดความพึงพอใจมาหาคุณภาพ 4.5 หาคุณภาพของแบบวัดความพึงพอใจเป็นรายข้อ โดยหาค่าจําแนกโดยวิธี (Item Total Correlation หรือ t-test) พบว่า ใต้ข้อที่เข้าเกณฑ์ที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 -0.67 4.6 นำแบบวัดความพึงพอใจที่คัดเลือกไว้มาหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (หรือรายด้าน) ด้วย สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) พบว่า ได้ค่าความเชื่อมั่น ทั้ง ฉบับของแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าเท่ากับ 0.88 4.7 นำแบบวัดความพึงพอใจที่หาคุณภาพเรียบร้อยแล้วไปพิมพ์เป็นฉบับจริงเพื่อนำไปเก็บ ข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป


32 การเก็บรวบรวมข้อมูล การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 5 ผู้วิจัยมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2. ศึกษาวิธีสร้างและเขียนแบบทดสอบประเภท Oral Test 3. ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนเพื่อขอความร่วมมือในการศึกษาและทดลองใช้การจัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 4. เลือกนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน และประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) 6. สร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์คัดเลือกคุณภาพ มีค่า IDC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 7. สร้างแบบวัดความพึงพอใจและประเมินความเหมาะสม 8. นำไปใช้จัดการจัดการเรียนรู้ โดยการชี้แจงกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 9. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการพูด ภาษาอังกฤษ ประเภท Oral Test เพื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 10. ดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเป็นผู้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอง ใช้เวลา 12 ชั่วโมง โดยผู้วิจัย ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน และการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 6 ชุด/แผน รวม 12 ชั่วโมง โดยระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนและผู้ช่วยผู้วิจัยจะทำการสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดของนักเรียนไปด้วย 11. เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มเดิม ใน แต่ละโรงเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินความสามารถด้าน การพูด และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ซึ่งแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการ เรียนภาษาอังกฤษ เป็นชุดเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน แบบประเมินความสามารถด้านการพูด และแบบ วัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วัดหลังการจัด กิจกรรมการ เรียนรู้ 12. หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน E1/E2 13. นำคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ และแบบประเมิน ความสามารถ ด้านการพูด มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติ เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน 14. ป่าแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทาง สถิติ


33 การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ดำเนินการ การวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 ด้วยค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดย การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ก่อนเรียนและหลังเรียนมาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แล้วนำคะแนนมาทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test Dependent Sample (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543: 165-167) 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการ จัดการ เรียนรู้แบบเน้นภาระงาน หลังเรียนมาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) แล้ว นำคะแนนมาทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test for One Sample (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 165-167) เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 4. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระ งาน หาคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำคะแนนการประเมินมาเทียบกับเกณฑ์การประเมิน โดยหาค่าเฉลี่ยใช้เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนแบบมาตราส่วนประมาณค่าของสิเคิร์ท (Likert, 1961 อ้าง ถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 103) โดยพิจารณาค่าเฉลี่ย ดังนี้ 4.51-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับมาก ที่สุด 3.51-4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับ มาก 2.51-3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง 1.51-2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับ น้อย 1.00-1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับ น้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ 1.1 การหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงาน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินความสามารถด้านการ


34 พูด แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 220-221) IOC = ∑ เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหาหรือระหว่าง ข้อสอบกับจุดประสงค์ ∑R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 1.2 การหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูด ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม โดยใช้สูตร ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 195) P = R N r = Ru−Rl f เมื่อ P แทน ค่าความยาก R แทน ค่าอำนาจจำแนก R แทน จำนวนผู้ตอบถูกทั้งหมด (Ru+Rl) N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ (ซึ่งเท่ากับ 2f) f แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ Ru แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบข้อนั้นถูก Rl แทน จำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบข้อนั้นถูก 1.3 การหาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาอังกฤษ วิเคราะห์ค่า ความเชื่อมั่นด้วยสูตร KR-20 ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 223) KR − 20: rtt = n n − 1 [1 − ∑pq s 2 ] เมื่อ rtt แทนค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ n แทนค่า จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ P แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น q แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบผิดในข้อนั้น S2 แทนค่า ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ


35 1.4 การหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้t-test โดยใช้สูตร ดังนี้ (บุญชม ศรี สะอาด, 2556 : 96-97) t = x̅H − x̅L √ SH 2 + SL 2 N เมื่อ t แทน อำนาจจำแนก x̅H แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มสูง x̅L แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ SH 2 แทน ความแปรปรวนของกลุ่มสูง SL 2 แทน ความแปรปรวนของกลุ่มต่ำ N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำซึ่งมีจำนวนเท่ากับ 1.5 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดความพึงพอใจและแบบประเมินความสามารถด้าน การพูดมาตราส่วนประมาณค่า โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ใช้สูตร ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 225-226) a = n n − 1 [1 − ∑Si 2 S 2 ] เมื่อ a แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด/แบบประเมิน n แทน จำนวนข้อของแบบวัด/แบบประเมินทั้งฉบับ Si 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรายข;อ S 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ 2. สถิติพื้นฐาน ดังนี้ 2.1 ร้อยละ (Percentage) มีสูตรคำนวณ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 : 29) p = f N × 100 เมื่อ p แทน ร้อยละ f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด


36 2.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) มีสูตรคำนวณ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 : 29) x̅ = Σx N เมื่อ x̅แทน ค่าเฉลี่ย Σx แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม N แทน จำนวนคะแนนในกลุZม 2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มีสูตรคำนวณ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 :123) S. D. = √ NΣx 2 − (Σx) 2 N(N − 1) เมื่อ S. D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Σx แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด x แทน คะแนนแต่ละตัว N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม 3. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ เน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.1 หาค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้(E1/E1) ตามเกณฑ์75/75 การหาค่า E1 และ E2 ใช้สูตร ดังนี้ (เผชิญ กิจระการ, 2544 : 49) E1 = ∑ x N A x 100 เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ ∑ x แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรือ แบบทดสอบย่อยทุกชุด รวมกัน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชุดรวมกัน N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด E2 = ∑ x N B x 100 เมื่อ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์


37 ∑ x แทน คะแนนรวมของแบบแบบทดสอบหลังเรียน แทน คะแนนเต็มของแบบแบบทดสอบหลังเรียน แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 75 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จากกิจกรรมกลุ่ม การ ปฏิบัติการทดลองและการทดสอบย่อยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 75 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จากแบบทดสอบวัด ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนรู้ตามการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 3.2 การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้(E.I) ใช้สูตร ดังนี้ (เผชิญ กิจระการ ,2544 : 49) ดัชนีประสิทธิผล = คะแนนรวมจากแบบทดสอบหลังเรียน – คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อนเรียน ผลคูณของคะแนนเต็มกับจำนวนคน – คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อนเรียน 4. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน 4.1 การเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูด หลังเรียนกับเกณฑ์ใช้สูตรคำนวณหาค่า ttest แบบ One Samples (พวงรัตน์ทวีรัตน์, 2543 : 165-167) t = x̅ − μ S √n เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตเพื่อทราบนัยสำคัญ x̅แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง n แทน จำนวนคะแนนในแต่ละกลุ่ม S แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน μ แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร 4.2 การเปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ สูตรคำนวณหาค่า t-test แบบ Dependent Samples (บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 68) t = ΣD √ N∑D2 − (∑D) 2 (N − 1)


38 เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤต เพื่อทราบนัยสำคัญ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่ ∑ แทน ผลรวม df แทน ความเป็นอิสระมีค่าเท่ากับ N – 1


39 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ n แทน จำนวนนักเรียน x̅แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (Mean) S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) df แทน ระดับชั้นความเป็นอิสระ (Degree of freedom) MD แทน ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนระหว่างการทดสอบหลังเรียนกับการทดสอบก่อน เรียน S. D.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่างของคะแนนระหว่างการทดสอบหลัง เรียนกับ การทดสอบก่อนเรียน E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการที่ได้จากการประเมินใบกิจกรรมที่ 1.1/1.2 ของแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูด ภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนทุกคน % แทน ร้อยละ t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตจากการแจกแจงแบบที (t-distribution) P แทน ความน่าจะเป็นสำหรับบอกนัยสำคัญทางสถิติ * แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์75/75


40 ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้น ภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 ตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยการ จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์75/75 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์75/75 รายการประเมิน จำนวนนักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนรวม คะแนน เฉลี่ย ประสิทธิภาพตาม เกณฑ์75/75 คะแนนกระบวนการ ระหว่างเรียน (E1) 26 60 1326 51.00 85.00 คะแนนวัดความ สามารถด้านการพูด ภาษาอังกฤษเรียน หลังเรียน(E2) 26 30 680 26.15 87.18 จากตารางที่ 2 พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของ*E1/E2*เท่ากับ 85.00/87.18 สูงกว่าเกณฑ์75/75 ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษจากการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระ งาน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน


Click to View FlipBook Version