The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Center for Science High Schools Development, 2022-04-01 00:19:13

หนังสือโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

หนังสือโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

โรงเรยี นวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั

สานักบริหารงานความเป็นเลิศดา้ นวิทยาศาสตรศ์ ึกษา
สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน

สารบญั

1. ความเป็นมาโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย หนา้
2. การดำเนนิ งานโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั 1
3. การพัฒนาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั ในระยะต่อไป 13
4. วิสัยทศั น์ พนั ธกจิ อุดมการณ์ ภารกจิ ค่านิยม ของโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย 14
5. ตวั ชว้ี ดั ความสำเรจ็ ในการดำเนินงาน 20
6. ผลดีทจ่ี ะเกดิ ข้นึ 22
7. ผลกระทบท่ีจะเกิด 23
8. เงอื่ นไขความสำเร็จ 24
9. แผนช้ันเรียน และเหตุผลของการจัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ 24
10. การสรรหาและคดั เลือกนักเรียน 25
11. การสนับสนุนการดำเนนิ งานจากสถาบันอุดมศกึ ษา 26
12. การส่งเสรมิ การทำงานวจิ ยั ของนกั เรยี น 27
13. ความร่วมมือกับ Super Science High School สถาบัน KOSEN และหน่วยงานอื่น ๆ 30
31
ของประเทศญปี่ ่นุ
14. การสนบั สนุนงบประมาณและทรัพยากร 35
15. กรอบอตั รากำลังและระบบการบริหารงานบคุ คลของโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลัย 36
16. คณะกรรมการพฒั นาโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั 39
17. กฎหมายทเ่ี กี่ยวข้องกบั การจดั การศึกษาของโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย 41
18. สาระสำคัญมติคณะรฐั มนตรที ีเ่ กีย่ วกับโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั 43
19. ภาคผนวก 57

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั

1. ความเปน็ มาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลัย
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ ประเภทสหศึกษา

รับนักเรียนประจำ ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นตามเขตการศึกษา
จำนวน 12 แห่ง สังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม ปัจจุบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์เมื่อแรกต้ังโรงเรียนเพื่อ 1) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ
ครบ 3 รอบ 2) เป็นโรงเรียนท่ีมงุ่ เน้นการจดั การเรยี นการสอนทางดา้ นวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และส่งิ แวดล้อม
ใหแ้ ก่นักเรียนต้ังแต่เยาว์วัย 3) เพอ่ื เตรียมบุคลากรไว้รองรับโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ของประเทศ และ 4) อบรมนกั เรียนให้เป็นกุลบุตรและกุลสตรี ท่เี พียบพร้อมดว้ ยคุณธรรม จริยธรรม สามารถ
พงึ่ ตนเองและมีประโยชนต์ ่อสังคม

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เดิมชื่อโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจา้ ฟา้ จุฬาภรณวลัยลกั ษณ์อัครราชกุมารี และมกี ารเปล่ยี นชื่อเปน็ โรงเรยี นจุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยกระทรวงศึกษาธิการ
ไดเ้ ร่มิ ประกาศจัดตัง้ โรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลัยกลุ่มแรกในวนั ที่ 27 กรกฎาคม 2536 จำนวน 5 แหง่ ได้แก่

1) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
จังหวัดนครศรีธรรมราช

2) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
จังหวัดตรัง

3) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
จังหวดั เชยี งราย

4) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
จังหวัดบรุ รี มั ย์

5) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
จงั หวัดเลย

ตอ่ มา ทง้ั 5 โรงเรียน ได้รบั พระราชทานพระอนญุ าตให้ขนานนามโรงเรยี นใหมว่ ่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ตอ่ ท้ายดว้ ยช่ือจังหวัดท่ีเป็นสถานท่ีตงั้ ของโรงเรียน และใช้นามภาษาองั กฤษว่า Princess Chulabhorn’s College
และในวนั ที่ 10 กันยายน 2536 กระทรวงศึกษาธกิ าร มีประกาศเปล่ียนช่ือโรงเรยี นเฉลมิ พระเกียรตสิ มเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ
เจา้ ฟา้ จฬุ าภรณวลยั ลกั ษณ์อัครราชกุมารี เป็นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เมอื่ วันท่ี 29 ธนั วาคม 2536

กระทรวงศึกษาธกิ ารไดป้ ระกาศจัดตัง้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวทิ ยาลยั เพม่ิ เติมอกี 3 แหง่ ดังน้ี
1) โรงเรียนจุฬาภรณราชวทิ ยาลัย มุกดาหาร จัดต้งั วันที่ 4 เมษายน 2537
2) โรงเรียนจฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย สตูล จัดตง้ั วันที่ 20 พฤษภาคม 2537
3) โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จดั ตัง้ วันท่ี 2 มิถนุ ายน 2537

หนา้ 1

ในปี 2538 กระทรวงศกึ ษาธกิ ารได้ประกาศจัดตัง้ โรงเรยี นจฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั เพิ่มเตมิ อีก 4 แห่ง ดังน้ี
1) โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลยั ลพบุรี จัดตงั้ วนั ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538
2) โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พษิ ณุโลก จัดตั้งวันท่ี 3 กุมภาพันธ์ 2538
3) โรงเรยี นจฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั ชลบรุ ี จดั ต้ังวนั ที่ 19 มนี าคม 2538
4) โรงเรียนจฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย ปทมุ ธานี จดั ตง้ั วันท่ี 31 กรกฎาคม 2538
กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง ได้รับพระราชทานแผ่นศิลาฤกษ์ จากสมเด็จพระเจ้า
นอ้ งนางเธอ เจา้ ฟ้าจุฬาภรณวลัยลกั ษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขตั ิยราชนารี ในวนั ที่ 15 มกราคม
2539 ณ ห้องทรงงานชั้น 3 ตึกสรีรวิทยา โรงพยาบาลศิริราช และได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้ใช้
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนโดยปรับสีตามพระประสงค์โดยกองศิลปาชีพในพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ
เม่อื วนั ที่ 10 ตลุ าคม 2539 โดยมตี ราสัญลักษณ์ท่ีได้รับพระราชทานดงั นี้

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเดิม ประกอบด้วยรัศมีเหนือมงกุฎ และพระมงกุฎ
เป็นสีเหลืองทอง อักษรพระนามย่อ จ.ภ. อักษร จ สีแสด และอักษร ภ สีน้ำเงิน มีแถบโบชื่อโรงเรียน
เป็นสีนำ้ เงินขอบสีเหลอื งทอง อักษรชื่อโรงเรียนสเี หลืองทอง ตอ่ ทา้ ยดว้ ยชือ่ จังหวดั ทตี่ ั้งโรงเรียน

ประเทศไทย ได้มีการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายฉบับในช่วงปี 2542 เป็นต้นมา
โดยได้ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมีการปรับปรุงโครงสร้างและระเบียบบริหาร
ราชการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร พ.ศ. 2546 จึงทำให้กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั ได้รับการ
พฒั นามาอยา่ งตอ่ เน่ือง โดยมีสาระสำคญั ของการเปล่ียนแปลงพฒั นา ดังนี้

หนา้ 2

▪ พ.ศ. 2543 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้กำหนดเหตุผลในการประกาศใช้
พระราชกฤษฎกี าจดั ต้ังโรงเรยี นมหดิ ลวิทยานุสรณ์ ไว้ว่า “โดยท่ีปัจจุบนั ประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยพัฒนา
และนักประดษิ ฐ์คดิ คน้ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงไดม้ ีการส่งเสรมิ การเรยี นการสอนวิทยาศาสตร์และ
คณติ ศาสตร์ในโรงเรียน ตลอดจนมีการจดั ต้ังโรงเรยี นมหิดลวิทยานสุ รณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยไม่มีการเปิดสอนสายศิลป์และสายอ่ืน
จำนวน 13 แห่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน แต่หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนก็ยังคงเป็น
เช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป ขณะนี้ รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการและหลักสูตร
ที่มีลักษณะพิเศษอันแตกตา่ งไปจากการเรยี นการสอนในโรงเรียนปกติ ดังนั้น สมควรให้มีการจัดให้มโี รงเรยี น
วิทยาศาสตร์ขึน้ โดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นโรงเรียนทีจ่ ัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเขม้ ข้นให้แก่นักเรยี น
ที่มีความสามารถเป็นพิเศษในทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานสำหรับบุคคล
ที่มีคุณภาพสูงเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในการที่จะสร้างนักวิชาการอันยอดเยี่ยมของประเทศ
และเพื่อทีจ่ ะใหโ้ รงเรียนทีจ่ ัดต้ังขึ้นมีการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่มีความเป็นอสิ ระ คล่องตวั
และมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน จึงได้นำ
โรงเรียนมหิดลวทิ ยานุสรณ์มาจัดตั้งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตรเ์ พือ่ เป็นต้นแบบแกโ่ รงเรียนในลักษณะดังกล่าว
จงึ จำเปน็ ต้องตราพระราชกฤษฎีกาน”ี้

▪ พ.ศ. 2543 กระทรวงศกึ ษาธิการ ได้กำหนดแนวทางในการสง่ เสรมิ การจัดการศกึ ษาสำหรับ
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตรแ์ ละวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน โดยได้รเิ ริ่มจัดทำโครงการ
จัดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง โดยความร่วมมือกับโรงเรียน
มหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการนำร่องจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ พบว่าได้ผลดียิ่ง

▪ พ.ศ. 2546 กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ได้เปลี่ยนแปลงสังกัดจาก
กรมสามัญศกึ ษา มาสงั กัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ได้มีการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
ด้านคณิตศาสตรแ์ ละวิทยาศาสตร์เขา้ เรียนตัง้ แต่เรม่ิ ตน้ ต่อมารัฐบาลมีนโยบายในการเร่งรดั การผลิตและพัฒนา
กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ
ของประเทศที่สามารถทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมได้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแขง่ ขนั ของประเทศ สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ จึงมีการพฒั นา
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัยข้ึนมาเป็นลำดบั ดงั น้ี

▪ พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย
ทีจ่ ะพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ทั้ง 12 แหง่ ท่ัวประเทศ ให้เปน็ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่มี
คุณภาพระดับเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และระดบั นานาชาติ เพื่อเป็นฐานในการเรง่ รัดการผลติ และ
พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ

หน้า 3

ของประเทศทีส่ ามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพือ่ สร้างความรู้ และนวัตกรรมได้รวมทั้งเปน็ การกระจายโอกาส
ให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพเิ ศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ
ให้ได้รับโอกาสมากขึ้นและเป็นการยกระดับการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ให้มปี ระสทิ ธิภาพมากขน้ึ ดว้ ย

▪ วนั ที่ 12 กมุ ภาพันธ์ 2551 ได้มีการทำข้อตกลงระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน
กระทรวงศกึ ษาธิการ และโรงเรยี นมหิดลวิทยานุสรณ์ เรอ่ื ง “ความรว่ มมือในการจัดการเรียนการสอนนักเรียน
ห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย” โดยทดลองจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
ด้านวทิ ยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลายในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย
จำนวนโรงเรียนละ 1 ห้องเรียน โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนและการรับนักเรียน นักเรียนห้องนี้ใช้
หลักสูตรและระบบการคัดเลือก เกณฑ์ในการคัดเลือกเช่นเดียวกันกบั หลักสูตรและการคัดเลือกนักเรียนของ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนทรพั ยากรทำนองเดียวกนั กบั ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
จากการประเมินผลการดำเนนิ งานพบวา่ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลัยสามารถดำเนินการได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ

▪ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยมีการกำหนดรูปแบบการบริหารงาน อัตรากำลัง การสนับสนุน
งบประมาณ และกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็น
โรงเรยี นวิทยาศาสตร์ภมู ิภาค

▪ วนั ท่ี 23 มิถุนายน 2554 สถาบนั วจิ ัยและใหค้ ำปรึกษาแหง่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ไดเ้ สนอ
รายงานผลการวิจยั ตามโครงการวิจยั และพัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารจัดการโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
เหน็ ควรให้มเี ขตพื้นที่การศกึ ษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพอื่ ใหส้ อดคลอ้ งกบั โครงสร้างการ
บรหิ ารราชการโดยยึดเขตพ้ืนทีก่ ารศกึ ษาของกระทรวงศึกษาในปัจจบุ ัน และใหม้ ี อ.ก.ค.ศ. เขตพ้ืนท่ีการศึกษา
โรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ขน้ึ เปน็ การเฉพาะสำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ. ที่ตั้งขึ้นเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลที่มีอำนาจและหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียน
วิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลยั แต่ละแห่งมีความอิสระในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนของตนอย่าง
แทจ้ รงิ ทัง้ นจี้ งึ ตอ้ งมีการดำเนินการตามกฎหมายทเี่ กย่ี วข้อง

▪ พ.ศ. 2558 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
พระราชทานพระราชวโรกาสใหก้ ลุม่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั เร่มิ เขา้ เฝ้าทลู ละอองพระบาท
กราบบังคมทลู ถวายรายงานผลการพฒั นาคุณภาพโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเปน็ ประจำทุกปี
การศกึ ษาในชว่ งเดอื นพฤศจกิ ายน ณ ห้องประชุมอาคารชัยพัฒนา สวนจติ รลดา เปน็ ประจำทกุ ปกี ารศกึ ษา

▪ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตรภ์ ูมิภาค ปีการศกึ ษา 2559 ท่ีแสดงใหเ้ ห็นถึงความพร้อมของ
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของการ

หนา้ 4

พัฒนาให้เป็น “โรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย” โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นส่วนหนึง่ ของการดำเนินงานของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกจิ
และสังคม ในช่วงปีพ.ศ. 2560 – 2564 ตามทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ในประเดน็ การยกระดบั ศักยภาพการแขง่ ขันและการหลุดพ้นกบั ดักรายได้ปานกลางสรู่ ายได้สูง โดยการสง่ เสริม
การวิจยั และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจยั และนวัตกรรม และเปน็ ส่วนหนึง่ ของการดำเนินการตาม
นโยบาย Thailand 4.0 ซ่งึ มวี ิสัยทศั นว์ ่า “ความมั่นคง มั่งคัง่ และย่ังยืน” มุง่ ปรบั เปลยี่ นโครงสร้างเศรษฐกิจ
ไปสู่ “เศรษฐกิจท่ขี บั เคลอื่ นด้วยนวตั กรรม” คือการเปล่ยี นจากการเน้นภาคการผลิตสนิ ค้าไปสู่การเน้นภาคบรกิ ารมากขนึ้

▪ วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้กระทรวงศึกษาธิการ
เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ต่อท้ายด้วย
ชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และใช้นามภาษาอังกฤษว่า
Princess Chulabhorn Science High School (PCSHS)

▪ วันที่ 6 สิงหาคม 2561 กระทรวงศึกษาธิการมีประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
เป็นโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั ตามที่ได้รับพระราชทานพระอนุญาตและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มท่ี 135 ตอนที่ 72ง วันท่ี 20 กนั ยายน 2561

▪ วันที่ 5 มีนาคม 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานของโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่ผ่านมา และเห็นชอบการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ระยะต่อไป โดยกำหนดให้งานการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยระยะต่อไป เป็นงานประจำ
ของสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน และการจัดตัง้ หน่วยงานเทียบเท่าสำนกั ในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน เพอ่ื เป็นผู้กำกบั ดูแลการดำเนินงานของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
และการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ไปสู่สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินงาน
ของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไปจะยงั คงยึดวัตถปุ ระสงค์และเป้าหมาย
ตลอดจนวิธีการดำเนินงานและกรอบวงเงินงบประมาณ ทำนองเดียวกับที่ผ่านมา แต่จะนำประสบการณ์และ
ผลการประเมินการดำเนินงานที่ผ่านมา มาใช้พัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวทิ ยาลัยใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพเพม่ิ มากขึน้

▪ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี ได้พระราชทานพระอนุญาต ดังนี้

➢ พระราชทานตราสัญลักษณ์โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตามท่ี
กรมศิลปากรได้ออกแบบถวาย และนามย่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
วา่ “จ.ภ.”

➢ พระราชทานพระอนญุ าตใหน้ ักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับเข็มตราสัญลักษณ์
ตอ่ หน้าพระฉายาลกั ษณ์

หน้า 5

➢ พระราชทานพระอนุญาตให้นักเรียนที่กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ที่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รับใบประกาศนยี บัตรสำเรจ็ การศึกษาต่อหนา้ พระฉายาลักษณ์

➢ พระราชทานพระอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอัญเชิญ
อักษรพระนาม จ.ภ. ประดับบนถ้วยรางวัลพระราชทาน สำหรับมอบให้ผู้ชนะเลิศ
การแขง่ ขันกฬี าประจำกลุ่มโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย

➢ พระราชทานพระฉายาลักษณ์เดี่ยวฉลองพระองค์ชุดไทย จำนวน 1 พระรูปสำหรับ
พิธีรับเข็มตราสัญลักษณ์ พิธีรับใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาและพิธีรับ
ถว้ ยรางวลั พระราชทานในการแขง่ ขันกฬี าของกลุม่ โรงเรียน

ตราสญั ลกั ษณ์โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยท่ีไดร้ ับพระราชทานตามการออกแบบกรมศลิ ปากร

หน้า 6

พระรปู พระราชทานสำหรบั จดั ทำพระฉายาลักษณ์ในพิธรี บั เข็มตราสัญลกั ษณ์
พธิ ีรบั ใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา และพธิ รี บั ถ้วยรางวลั พระราชทานในการแขง่ ขนั กีฬาของกล่มุ โรงเรยี น

หนา้ 7

▪ วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับปรุงเขตพื้นที่บริการเดิมของโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามเขตการศึกษาเดิมจำนวน 12 เขต เป็นเขตตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
จำนวน 18 เขต และดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัย ประจำเขตตรวจราชการ จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
สุพรรณบุรี (ประจำเขตตรวจราชการที่ 3) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว (ประจำเขตตรวจ
ราชการที่ 9) โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย กาฬสินธ์ุ (ประจำเขตตรวจราชการที่ 12) โรงเรยี น
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย อุบลราชธานี (ประจำเขตตรวจราชการที่ 14) โรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาลัย ลำปาง (ประจำเขตตรวจราชการที่ 15) และโรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
(ประจำเขตตรวจราชการท่ี 18) โดยให้ดำเนินการบริหารจดั การและการจัดการศึกษาของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียน
วทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ประจำเขตตรวจราชการ

สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร จงึ มีนโยบายที่จะพัฒนาโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค ที่มีคุณภาพระดับเดียว
กับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ (World Class) มีภารกิจ
ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6
ในลักษณะของโรงเรียนประจำ เพื่อเพิม่ โอกาสให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ซึ่งมีกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเน้นการให้โอกาสกับผู้มีความสามารถพิเศษในภูมิภาคนั้นๆ
เปน็ การลดความเหลอื่ มล้ำในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มคี วามสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ซึ่งแต่เดิมนนั้ นักเรียนท่ีมีศักยภาพสูงด้านคณติ ศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากทวั่ ประเทศตอ้ งมาเรียนหิดลวิทยานุสรณ์
เพียงแห่งเดียวเทา่ น้ัน นอกจากนี้ยังเปน็ การสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การผลติ และพัฒนากำลังคนดา้ นวทิ ยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคลอ้ งกับความตอ้ งการของประเทศ ที่สามารถทำการ
วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมได้ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ดังตารางแสดง
ที่ตง้ั และเขตพนื้ ทบี่ ริการโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั ดงั น้ี

หน้า 8

ตารางท่ี 1 รายชือ่ โรงเรียนและจงั หวัดพ้นื ท่บี รกิ ารทีใ่ ช้ปจั จบุ ัน

ชอื่ โรงเรยี น จังหวัดพน้ื ท่บี ริการ
โรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย เชยี งราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่
เชยี งราย แมฮ่ ่องสอน ลำปางลำพูน
โรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลัย พิษณโุ ลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์
พิษณโุ ลก พจิ ิตร เพชรบรู ณ์ สโุ ขทัย อตุ รดติ ถ์
โรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั ลพบุรี ชัยนาท พระนครศรอี ยุธยา สระบุรี
ลพบุรี สงิ ห์บุรี อ่างทอง อทุ ยั ธานี
โรงเรยี นวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั เลย อดุ รธานี ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย
เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ
โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย มุกดาหาร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครพนม
มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอด็ อำนาจเจริญ
โรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย บรุ ีรัมย์ นครราชสีมา ชยั ภมู ิ ศรีสะเกษ
บุรรี ัมย์ สุรนิ ทร์ มหาสารคาม
โรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลยั ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร
ปทุมธานี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด
ชลบรุ ี นครนายก ปราจนี บุรี ระยอง สระแกว้
โรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั เพชรบรุ ี ราชบุรี กาญจนบรุ ี ประจวบคีรขี ันธ์
เพชรบรุ ี สมทุ รสงคราม สพุ รรณบรุ ี
โรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั นครศรีธรรมราช สงขลา ชมุ พร
นครศรธี รรมราช พัทลงุ สรุ าษฎรธ์ านี
โรงเรยี นวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ตรัง ภูเกต็ กระบ่ี พังงา ระนอง
ตรงั
โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั สตลู ยะลา นราธิวาส ปตั ตานี
สตลู

หน้า 9

ตารางที่ 2 รายชื่อโรงเรียนและจังหวัดเขตพื้นที่บริการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ท่จี ะกำหนดใหม่ ตามมติ ค.ร.ม. 5 ตุลาคม 2564

โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์ จงั หวัดเขตพื้นทีบ่ ริการ จำนวน เขตตรวจ
จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวดั ราชการที่
เชยี งราย น่าน พะเยา แพร่
เชยี งราย เชยี งใหม่ แมฮ่ อ่ งสอน ลำปาง ลำพนู 4 16
ลำปาง ตาก พษิ ณโุ ลก เพชรบูรณ์ สโุ ขทยั อตุ รดิตถ์ 4 15
พิษณโุ ลก ชัยนาท พระนครศรีอยธุ ยา ลพบรุ ี 5 17
ลพบรุ ี สระบุรี สงิ หบ์ ุรี อา่ งทอง 6 1
กาญจนบรุ ี ราชบุรี สพุ รรณบุรี
สุพรรณบรุ ี บึงกาฬ เลย หนองคาย หบวั ลำนองภู 3 3
เลย อดุ รธานี 5 10
นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร
มกุ ดาหาร ยโสธร ศรสี ะเกษ อำนาจเจริญ 3 11
อบุ ลราชานี อุบลราชธานี 4 14
กาฬสินธ์ุ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสมี า บรุ รี ัมย์ สุรินทร์ 4 12
บุรรี มั ย์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พจิ ติ ร อุทยั ธานี 4 13
กำแพงเพชร กรงุ เทพมหานคร นนทบรุ ี ปทมุ ธานี 4 18
ปทมุ ธานี นครปฐม สมุทรปราการ 5 2
จันทบรุ ี ตราด นครนายก ปราจนี บรุ ี
สระแกว้ สระแกว้ 5 9
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
ชลบรุ ี ประจวบครี ีขันธ์ เพชรบรุ ี สมุทรสงคราม 3 8
เพชรบุรี สมทุ รสาคร 4 4
ชมุ พร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์
นครศรีธรรมราช ธานี สงขลา 5 5
กระบี่ ตรัง พงั งา ภเู กต็ ระนอง
ตรัง สตูล นราธวิ าส ปตั ตานี ยะลา 5 6
สตูล 4 7

หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่บริการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยใหม่
ตามมติ ค.ร.ม. 5 ตุลาคม 2564

หน้า 10

การดำเนินการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยยังได้มีการกำหนดรูปแบบวิธีการ ตราสัญลักษณ์อื่นๆ
รว่ มกันเพอ่ื สร้างและแสดงให้เห็นถงึ ความเป็นหนึง่ เดียวกัน ได้แก่

คำขวัญโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลัย
“รักษ์ศักด์ศิ รี มคี ุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ”

คติธรรมประจำโรงเรยี น
ปญฺญา ยตถฺ ํ วิปสฺสติ
หมายความวา่ ปัญญาเกดิ ข้นึ ได้ด้วยเหตุ 3 ประการ
สุตมยปญั ญา ปญั ญาสำเร็จไดด้ ว้ ยการฟงั
จิตตมยปัญญา ปัญญาสำเรจ็ ได้ดว้ ยการนกึ คดิ
ภาวนามยปัญญา ปญั ญาสำเร็จดว้ ยการฝกึ

สปี ระจำโรงเรยี น
สำนำ้ เงิน หมายถึง สถาบนั พระมหากษัติย์
สีแสด หมายถึง สีประจำวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี กรมพระศรสี วางควัฒน วรขัตยิ ราชนารี

ตน้ ไม้ประจำโรงเรียน

ชอื่ ไทย : แคแสด
แคแดง (กทม.,เชยี งใหม)่ / ยามแดง (กทม.)
ชื่อทอ้ งถน่ิ : African tulip tree/ Fire bell/ Fountain tree/ Syringe/ Flame of the forest
Spathodea campanulata P.Beauv.
ชอ่ื สามญั : BIGNONIACEAE
ไม้ยืนต้น
ช่อื วิทยาศาสตร์ :

ช่ือวงศ์ :

ลักษณะวสิ ยั :

ตราสญั ลกั ษณ์ลำลองกลุ่มโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั

หน้า 11

เพลงมาร์ชโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
คำรอ้ ง วชิ าญ เชาวลติ
ทำนอง กติ ติ ศรเี ปารยะ

ราชวิทยาลยั อันใหญย่ ง่ิ งามเพริศพรงิ้ คุณธรรมเลิศลำ้ คา่
ท้ังศาสตร์ศลิ ป์เลศิ ลำ้ ทางปัญญา ม่งุ ศึกษาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวไกล
ชูเชดิ เทดิ พระเกียรติแห่งเจา้ ฟ้า องค์จุฬาภรณพระนามยงิ่ ใหญ่
เจ้าฟา้ นกั วทิ ยาศาสตร์ของชาตไิ ทย ก้องเกริกไกรลือเล่อื งกระเดื่องนาม
สแี สดประเสรฐิ เจิดจ้าองค์ฟา้ หญิง นำ้ เงนิ มิ่งกษตั ริยาฟ้าสยาม

มงคลสถิตอยู่ค่เู ขตคราม ปรากฎนามจุฬาภรณราชวทิ ยาลัย
มุง่ สง่ เสรมิ สร้างสรรค์จรรโลงชาติ สรา้ งนักวิทยาศาสตรใ์ ห้ยิ่งใหญ่
สรา้ งเกยี รตยิ ศช่ือเสียงให้เกรียงไกร นำชาติไทยก้าวหนา้ ชวั่ ฟา้ ดนิ

เพลงจฬุ าภรณวลยั ลักษณ์
คำร้อง แก้ว อัจฉรยิ ะกลุ
ทำนอง เออื้ สุนทรสนาน

จุฬาภรณวลยั ลกั ษณว์ รสุภา ราชธดิ าจอมจฑุ าธปิ ไตย
มิ่งขวญั ของอาณาประชาไทย ดวงใจของชนกชนนี

ไผทไทยในหล้าอาทร จุฬาภรณอดิศรบวรศรี
เสริมขวัญราชันบรมจักรี ขัตติยนารีนามาจุฬาภรณ

จุฬาภรณวลยั ลกั ษณ์ สริ ศิ ักดิ์สโมสร
อญั ขยมประนมกร ถวายพระพรสดดุ ี

ขอทรงดำรงสุข นิรทกุ ขร์ มณีย์
กอปรคณุ พระบารมี พสิ ิษฐศรีนกิ รไทย ไชโย

หน้า 12

2. การดำเนนิ งานโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัย
การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ในปี 2536 จนถึง

ปจั จุบนั ปี พ.ศ. 2561 อาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2536 – 2550) เป็นการดำเนินงานภายใต้กรมสามัญศึกษา/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เริ่มเข้ามาสนับสนุนทางวิชาการ
ในปี พ.ศ. 2548

ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2553) กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้มีข้อตกลง
ความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ให้การสนับสนุน
ทางวชิ าการและสนบั สนนุ งบประมาณเพอื่ ทดลองจดั การศกึ ษาสำหรับผมู้ ีความสามารถพิเศษระดบั ช้ันมัธยมศกึ ษา
ตอนปลาย ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน นักเรียนห้องนี้ใช้ระบบและเกณฑ์ในการคัดเลือกและหลักสูตรเดียวกัน
กับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งพบว่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสามารถดำเนนิ การได้ผลอย่างดี
มาก จึงไดม้ กี ารนำโครงการพฒั นาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั ใหเ้ ป็นโรงเรยี นวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
เสนอคณะรัฐมนตรพี จิ ารณาใหค้ วามเหน็ ชอบในการดำเนินโครงการดงั กล่าว

ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2554 – 2561) คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553
เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีระยะเวลาดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 - 2561 มีเป้าหมาย
เพื่อพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ให้เป็นโรงเรียน
วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ที่มีคุณภาพระดับเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
ของนานาชาติ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา
ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีจิตวิญญาณที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์
นักคิดค้นในอนาคต สร้างองค์ความรูท้ างวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยใี ห้ประเทศชาติ เพื่อให้ประเทศชาติสามารถ
พึ่งตนเองไดม้ ากขึน้ ลดการพึ่งพาองคค์ วามร้ทู างดา้ นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตา่ งชาติ เปน็ ไปตามนโยบาย
การพัฒนากำลังคนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของรัฐบาล และเพื่อเป็นการกระจายโอกาส
ให้กบั นักเรียนทม่ี คี วามสามารถพเิ ศษดา้ นคณิตศาสตร์และวทิ ยาศาสตร์ ซงึ่ มกี ระจายอยู่ในทุกภมู ิภาคของประเทศ
ใหไ้ ดร้ บั โอกาสมากขน้ึ

การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงเวลาที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554 - 2561)
พบว่า ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเตรียมความพร้อมกำลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงเป็นการเตรียมกำลังคนระดับสูงทางด้าน STEM
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มผู้ลงทุนจากประเทศต่าง ๆ ที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม 4.0 ในโครงการ
Eastern Economic Corridor (EEC) และโครงการอืน่ ๆ ของประเทศ

หน้า 13

3. การพฒั นาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในระยะต่อไป

การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตั้งแต่แรกตั้งในปี พ.ศ. 2536
จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2563 แบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ ระยะแรก ปี พ.ศ. 2536 ถึง 2552 เป็นการดำเนินการ
ตามวัตถปุ ระสงค์ของการจัดตัง้ ตามประกาศกระทรวงศกึ ษาธิการ ลงวนั ที่ 27 กรกฎาคม 2536 และระยะที่ 2
จากปี พ.ศ. 2553 ถึง 2563 เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งครัง้ แรกได้มีมติเมื่อวนั ที่ 25 พฤศจิกายน 2553
และคร้งั ทีส่ อง เม่ือวันที่ 5 มีนาคม 2562 ที่กำหนดใหโ้ รงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั เป็นโรงเรียน
ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาส ตร์และวิทยาศาสตร์
ให้กับนักเรียนทั้งระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในลักษณะโรงเรียนประจำเพื่อบ่มเพาะพัฒนา
นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษเหล่านั้นให้เป็นผู้มีความสามารถสูงเยี่ยมในทุกด้านเป็นทั้งคนดี คนเก่ง
สามารถศึกษาต่อทางด้านสะเต็มในมหาวิทยาลัยวิจัยช้ันนำทั้งในและต่างประเทศจนถึงระดับปริญญาเอก
และหลังปริญญาเอก เพื่อพัฒนาไปเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ และผู้สร้างนวัตกรรมที่มีความสามารถสูงเยี่ยม
สามารถสรา้ งองค์ความรู้และนวตั กรรมต่าง ๆ ให้กบั ประเทศชาติ ลดการพงึ่ พาองคค์ วามรู้และนวัตกรรมต่างๆ
ทนี่ ำเข้าจากตา่ งชาติ ชว่ ยทำใหป้ ระเทศชาติเปน็ สงั คมผู้ผลิตท่ีสามารถพงึ่ พาตนเองได้มากขน้ึ

ในระยะจากนี้ต่อไปการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยจะยังคงดำเนินงาน
ตามภารกิจหน้าที่และอุดมการณ์และเป้าหมายของการพัฒนานักเรียนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้แต่จะเร่งรัด
ใหป้ ระสิทธภิ าพเพิม่ มากขนึ้

โดยทั่วไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ระดบั มัธยมศึกษาบรรลุผลสำเร็จประกอบดว้ ย

1. การมกี ระบวนการสรรหาและคดั เลอื กนกั เรยี นที่ดี
2. การมกี ิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น ทถ่ี ูกออกแบบขน้ึ เปน็ การเฉพาะ
3. การมสี อื่ และอปุ กรณก์ ารเรยี นการสอนทเ่ี หมาะสม
4. การมีครทู ไ่ี ดร้ ับการพัฒนาเพอ่ื จดั การการเรียนการสอนนักเรียนกล่มุ นเ้ี ปน็ การเฉพาะ
5. การมีสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจยั และหน่วยงานต่าง ๆ ใหก้ ารสนับสนนุ ทางวชิ าการ
6. การมคี วามร่วมมอื ทางวชิ าการกบั โรงเรยี นวิทยาศาสตร์ชัน้ นำทง้ั ในและตา่ งประเทศ
7. การมกี ารจัดการศกึ ษาแบบโรงเรียนประจำ
8. การมีนโยบายสง่ เสรมิ สนับสนนุ ทชี่ ัดเจน
9. การมรี ะบบใหบ้ รกิ ารทางวิชาการ
การดำเนนิ งานในระยะตอ่ ไปของโรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยท้งั 9 ข้อตามรายละเอียด
ขา้ งบนมแี นวทางดังตอ่ ไปน้ี

หนา้ 14

1. การสรรหานกั เรียนการสรรหาและคดั เลอื กนักเรยี นของโรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการตามหลักวิชาของการสรรหาและคัดเลือกผู้มีความสามารถพิเศษอย่างแท้จริง ได้รับการสนับสนุน
ทางวิชาการจากโรงเรยี นมหดิ ลวิทยานุสรณ์ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพี่
เลี้ยงและผู้ทรงคุณวุฒิในการอนุญาตให้ใช้เครื่องมือในการสร้างเครื่องมือ และในการประมวลผลการคัดเลือกนักเรยี น
แม้ว่ากระบวนการคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านมาเชื่อได้ว่ามีความเชื่อมั่นสูง แต่ก็เชื่อว่ายังมีลู่ทางที่จะพัฒนาให้มี
ความเชอื่ มั่นสูงข้นึ ไปได้อีก

การดำเนินงานระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และสำนักบริหารงาน
ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะทำการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและ
ต่างประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ศึกษาแนวทางและวิธีการคัดเลือกนักเรยี นของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชัน้ นำ
ของประเทศต่าง ๆ นำมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อให้กระบวนการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนของกลุ่มโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จฬุ าภรณร์ าชวทิ ยาลัยมีคุณภาพ มีประสิทธภิ าพ และมคี วามเชื่อม่นั สงู ยงิ่ ๆ ขน้ึ ตอ่ ไป

2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน และการจดั กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น กลุม่ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั และสำนักบรหิ ารงานความ
เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะดำเนินการจัดให้มีความยืดหยุ่น หลากหลาย สนองตอบต่อความสนใจ
ความถนัดและความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการจัดการศึกษาแบบ “วัดตัวตัด” (Customized
Education) ให้มากขึ้น นักเรียนที่จบการศึกษาแต่ละคนจะได้เรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน แต่ละคน
จะได้รับการพัฒนาอย่างเตม็ ศกั ยภาพตามความสนใจและศกั ยภาพของตนเอง

การจัดกิจกรรมแนะแนวจะเน้นให้นักเรียนค้นพบตนเองว่า เขาคือใคร มีความรัก ความถนัด
ในด้านใดแล้วส่งเสริมให้ศึกษาต่อและประกอบอาชีพในด้านนั้นรวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ
ให้กับนักเรียนในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกและการขอทุนศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำทั้งใน
และต่างประเทศ เช่นการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ การเตรียมความพร้อมในการสอบ SAT AP
TOLFL IELTS ฯลฯ การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความ (Essay) และการเขียนเรซูเม่ (Resume)
ประกอบการสมคั รเข้าเรียนและการเตรยี มความพรอ้ มเข้ารับการสัมภาษณ์ เปน็ ต้น

นอกจาการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาต่อให้กับนักเรียนแล้วการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ในระยะต่อไปจะเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น การพัฒนานักเรียน
ให้มีภาวะผู้นำ การพัฒนาให้นักเรียนมีความเป็นผู้มีจิตสาธารณะ การพัฒนาให้นักเรียนเห็นคุณค่า
และความสำคัญของการทำงานวิจัย การพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้รู้รอบและรอบรู้ (Well-rounded Person)
การพัฒนาให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง (Self-discipline) การพัฒนาให้นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปะและ
วฒั นธรรมไทยและมคี วามภมู ใิ จในความเป็นคนไทย ฯลฯ ให้มากขน้ึ ดว้ ย

หนา้ 15

3. สอื่ และอปุ กรณก์ ารเรียนการสอน ส่ือและอุปกรณ์การเรยี นการสอนเป็นปัจจัยสำคญั อีกปัจจัย
หนึ่งท่ีส่งผลต่อความสำเรจ็ ในการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอน ปัจจุบันโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
มีสื่อ ระบบ ICT และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระดับหนึ่ง การจัดกิจการ
เรียนการสอนนกั เรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
ของนานาชาติ ล้วนให้ความสำคัญต่อการจัดหาสื่อ ระบบ ICT และอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่ทันสมัยหรือ
ลำ้ สมยั ทันต่อความก้าวหน้าทางวชิ าการและเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรยี นกล่มุ นี้
ระยะต่อไปของการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาลยั และสำนกั บรหิ ารงานความเปน็ เลิศด้านวิทยาศาสตร์ศกึ ษา จะจดั ให้มรี ะบบบำรุงรักษา
สอ่ื ระบบ ICT และอปุ กรณก์ ารเรียนการสอนทมี่ ีคุณภาพที่สามารถยืดอายกุ ารใชง้ านให้มากขึน้ ขณะเดยี วกันก็
จะจดั ใหม้ แี ผนการจัดหา สอื่ ระบบ ICT และอุปกรณก์ ารเรียนการสอน ทดแทนของเดิมท่ีชำรดุ รวมถงึ การสนับสนุน
ให้มีการสร้างขึ้นใช้เองให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะจัดให้มีการติดตามความก้าวหน้าของสื่อ ระบบ ICT
และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยหรือล้ำสมัยที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อคัดเลือกสิ่งที่เหมาะสมและ
จำเปน็ ทส่ี ดุ นำมาใชใ้ นโรงเรยี น

4. ครูและบุคลากร ครูและบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน
ของโรงเรียนตามมติคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานในระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
และสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะร่วมกันพัฒนาระบบการสรรหา แต่งตั้ง พัฒนา
ส่งเสริม สรา้ งแรงจูงใจใหม้ ีประสิทธิภาพมากข้ึน และจะจัดใหม้ ีระบบการพฒั นาตนเองตลอดชวี ิตให้กับครูและ
บคุ ลากรของโรงเรียนทุกคน ท้ังในรูปแบบของการไปเสนอผลงานหรอื การไปเขา้ ร่วมประชมุ วชิ าการ โดยเฉพาะ
ในการประชุมวิชาการด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการประ ชุมวิชาการด้านการ
จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่ตนเองสอน การไปศึกษาเรียนรู้จากครูที่มีประสบการณ์สูง (Understudy)
การไปเปน็ ครแู ลกเปล่ียน และการจดั กจิ กรรม Professional Learning Community หรือ PLC เปน็ ต้น

5. การสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานวิชาการต่าง ๆ การดำเนินของโรงเรียน
วิทยาศาสตร์หรือโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ของทุกโรงเรียนทั้งในและต่างประเทศจะสำเสร็จลงไม่ได้ หากขาดการช่วยเหลือสนับสนุน
จากสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานวิชาการต่าง ๆ ปัจจุบันโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
มีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงและมีหน่วยงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ช่วยให้การสนับสนุนและ
ช่วยเหลือทั้งด้าน การให้บุคคลากรมาช่วยพัฒนาครู มาเป็นวิทยากรพิเศษสอนนักเรียน มาเป็นที่ปรึกษา
โครงงานของนักเรียน และการเป็นแหล่งฝึกงานให้กับนักเรียน และอนุญาตให้นักเรียนมาใช้ห้องปฏบิ ัติการต่าง ๆ
ฯลฯ กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
จะรักษาการให้ความอนุเคราะห์และการให้การสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิชาการต่าง ๆ
ในลักษณะเช่นน้ีต่อไป และจะพยายามทำให้มกี ารร่วมมือทดี่ ีย่งิ ๆ ขึ้นตอ่ ไป

หนา้ 16

6. การมีความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการ
ดำเนนิ งานของโรงเรียนวิทยาศาสตรท์ ุกแหง่ ทุกประเทศ จะมคี วามร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์อนื่ ๆ
จำนวนหนึ่ง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปล่ียนเรยี นรูซ้ ่ึงกันและกัน กิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการสว่ นใหญ่
ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนนักเรยี นระยะสนั้ ระยะยาว การทำงานวจิ ัยร่วมกนั ระหว่างครูกบั ครู และนกั เรียน
กับนักเรียน ทั้งในรูปแบบออนไลน์ (On-line) และออนไซต์ (On-site) การแลกเปลี่ยนครูทั้งระยะสั้นไม่เกิน
สองสัปดาห์ และระยะยาวประมาณ 3 เดือน โดยครูของโรงเรียนหนึ่งจะไปร่วมสอนในลักษณะ Team Teaching
กบั ครูของอีกโรงเรียนหน่งึ กิจกรรมอกี อย่างหนึ่งคือเมื่อโรงเรยี นใดโรงเรยี นหนงึ่ จัดกิจกรรมวชิ าการ เช่น การจัดงาน
Science Fair การจัดค่ายวชิ าการ

การจดั กิจกรรมประกวดแข่งขันต่าง ๆ กจ็ ะเชญิ นกั เรียนและครูจากอีกโรงเรียนหนึง่ มาร่วมกิจกรรมด้วย
มคี วามรว่ มมอื ทางวิชาการกับโรงเรยี นวิทยาศาสตร์ชน้ั นำทง้ั ในและต่างประเทศ จะทำให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัยประเมินตนเองได้ว่า มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของโรงเรียนที่มีความร่วมมือทางวิชาการ
หรือไม่เพียงใด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถนำจุดดีจุดเด่นของโรงเรียนหนึ่งมาใช้
พฒั นาอกี โรงเรียนหนึง่ ได้

ในช่วงท่ีผ่านมาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกโรงเรียน มีความรว่ มทางวิชาการ
กับ Super Science High School และสถาบัน KOSEN ของประเทศญี่ปนุ่ พบวา่ ได้ผลดีมาก นกั เรียนและครู
ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้มาก นอกจากนี้ยังมีการนำองค์ความรู้ที่ได้
จากการร่วมมือนี้มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนของตนเองด้วยในระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
และสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะดำเนินการจดั ให้มีความร่วมมือทางวิชาการกบั
โรงเรยี นวิทยาศาสตร์ช้นั นำของนานาชาติให้มากขนึ้

7. การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยลัยจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนประจำ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าโรงเรียนประจำ
จะช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้เป็นไปตามอุดมการณ์และเป้าหมายได้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพโดยที่โรงเรยี นทวั่ ไปไม่อาจทำได้

มีผลงานวิจัยทส่ี รุปว่า การเรยี นในโรงเรยี นประจำทม่ี กี ารจัดกจิ กรรมทเ่ี หมาะสมจะช่วยพัฒนาให้
นกั เรียนมีคุณลักษณะเหล่านี้เพม่ิ ขนึ้

1) มคี วามรับผิดชอบและมคี วามเป็นผนู้ ำสงู ข้ึน
2) มคี วามมน่ั ใจในตวั เองสูงขน้ึ
3) รจู้ กั เคารพในสิทธขิ องผอู้ น่ื และปกป้องสิทธขิ องตนเอง
4) มีความเปน็ ตวั ของตวั เอง สามารถช่วยตัวเองไดม้ ากข้นึ
5) มที กั ษะการเขา้ สังคมและปรบั ตัวเข้ากบั ผู้อ่นื ได้ดีขึ้น
6) มมี ิตรแทท้ ่ีคอยชว่ ยเหลอื เกื้อกูลกนั ตลอดชวี ิต
7) มจี ิตสาธารณะและมนี ้ำใจในกนั ชว่ ยเหลอื ซึง่ กนั และกันมากขึน้
8) มีโอกาสไดศ้ กึ ษาเรียนรู้และทำกิจกรรมตามความสนใจมากขนึ้

หน้า 17

9) มโี อกาสใชแ้ หล่งเรยี นรใู้ นโรงเรียนไดม้ ากขน้ึ
10) มีโอกาสศกึ ษาเรียนรู้ขอคำปรกึ ษาและขอคำแนะนำจากครมู ากขึ้น
11) มโี อกาสเรียนรจู้ ากเพือ่ นจากพ่แี ละมโี อกาสช่วยเพอ่ื นชว่ ยน้องมากขึน้
เพ่ือใหเ้ กิดคุณลักณะดังกล่าวในตวั นักเรยี นใหม้ ากขน้ึ ในการดำเนินงานระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะดำเนิน
การศกึ ษาคน้ คว้าและทำจดั ทำค่มู ือการจดั กจิ กรรม รวมถงึ การพฒั นาครปู ระจำบ้านพักใหม้ ที กั ษะความสามารถ
ในการจัดกจิ กรรมเพอ่ื ช่วยพัฒนาคณุ ลกั ษณะตา่ ง ๆ ดงั กล่าวของนักเรียนให้ดีเพ่มิ มากขึน้
นอกจากนั้นระยะต่อไป ซึ่งแม้ขณะนี้จะจัดทำได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาลัย และสำนกั บริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะไดจ้ ัดทำคู่มือและพัฒนา
ครูประจำบ้านพักให้สามารถจัดระบบความปลอดภัย ระบบอำนวยความสะดวกในการศึกษาหาความรู้ของนักเรียน
ขณะพักในบ้านพัก ระบบการจัดเมนูอาหารและการปรุงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ระบบการดูแลสุขภาพ
ท้ังสขุ ภาพกายและสุขภาพจิตของนกั เรียน ระบบการพักผ่อนและออกกำลังกาย ระบบการดแู ลและซ่อมบำรุง
อาคารสถานที่และสาธารณูปโภค ระบบการดแู ลรกั ษาความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ ใหม้ ีประสทิ ธิภาพมากข้นึ
8. การมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ขณะนี้มีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจน เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดภารกิจ เป้าหมาย
และตวั ช้วี ดั ความสำเร็จในการดำเนินงานไวอ้ ย่างชดั เจน
อย่างไรก็ตามนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังคงต้องหาสถานที่ศึกษาต่อเอง และหาสถานที่
ทำงานเอง ทำใหข้ าดการต่อยอด ทง้ั ๆ ทนี่ กั เรยี นเหลา่ นไ้ี ดร้ ับการพัฒนาแล้วอย่างดียง่ิ
การดำเนินในระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และสำนักบริหารงาน
ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะพยายามปรึกษาหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจใน
ระดับต่าง ๆ เพื่อเสนอให้มีโครงการต่อยอดในระดับอุดมศึกษาโดยสนับสนุนให้นักเรียนที่จบจากโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ
และตรงกับความถนัดและความสนใจของนักเรียน รวมถึงการกำหนดสถานที่ทำงานไว้ล่วงหน้า ให้กับนักเรียน
ท่อี ยใู่ นโครงการนด้ี ้วย
9. การให้บริการวิชาการ ภาระหน้าที่หนึ่งของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดไว้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 คือ ให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
เป็นโรงเรียนที่เป็นศูนย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย (Regional Science
Education Hub) เพื่อให้บริการวิชาการ และยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
คณติ ศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนอน่ื ๆ ในพื้นทบี่ รกิ าร
ที่ผ่านมาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินการให้บริการวิชาการกับโรงเรียน
ใกล้เคียงเฉลี่ยประมาณ 7 โรงเรียน ต่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 1 โรงเรียน และได้ดำเนินการ
ให้บรกิ ารวิชาการรว่ มกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณอ์ ีกจำนวนหนง่ึ

หนา้ 18

ในระยะต่อไป กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และ สำนักบริหารงานความเป็นเลิศ
ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะได้ศึกษาความพร้อมของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละโรงเรียน
และจะส่งเสริมสนบั สนนุ ใหโ้ รงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทมี่ ีความพร้อมขยายการให้บริการวชิ าการให้
เพิม่ มากขึ้น เปน็ การวางพืน้ ฐานไปสู่การเปน็ ศูนย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในส่วนภูมิภาคต่อไป

ทั้งหมดนี้คือแนวทางการพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในระยะต่อไป ซึ่งการจะ
ดำเนนิ การพฒั นาโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัยในระยะต่อไปทัง้ 9 ขอ้ ตามทีก่ ลา่ วข้างบน ให้บรรลุผล
สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและชี้แนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะกรรมการพัฒนา
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จากสถาบันอุดมศึกษา และจากหน่วยงานทางวิชาการต่าง ๆ
อีกจำนวนมาก

กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ในช่วงระยะเวลาต่อไป เป็นงานประจำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์
และเป้าหมาย ตลอดจนวธิ ีการดำเนินงานเชน่ เดียวกนั กบั การดำเนนิ งานในระยะท่ี 3

หน้า 19

4. วสิ ัยทศั น์ พนั ธกจิ อดุ มการณ์ ภารกจิ คา่ นยิ ม ของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั
วสิ ยั ทัศน์

“โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่พัฒนานักเรียนให้มีจิตใจ บุคลิกลักษณะ
อนั พึงประสงค์ และมคี ุณภาพการศึกษาอยใู่ นระดบั เดยี วกับโรงเรียนวทิ ยาศาสตรช์ น้ั นำของนานาชาติ”

พนั ธกิจ
ศึกษาค้นคว้า วิจัยพัฒนาและรว่ มมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อดำเนินการบริหารและจดั การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย ที่มุ่งเน้นความเป็นเลศิ
ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในลักษณะโรงเรียนประจำ สำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงหรือมีความสามารถ
พิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคนั้นๆ โดยให้โอกาสนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
ดา้ นคณิตศาสตร์และวทิ ยาศาสตรท์ ข่ี าดแคลนทุนทรพั ย์เป็นพิเศษ เพื่อเป็นต้นแบบสามารถขยายผลในวงกว้างได้

อดุ มการณแ์ ละเปา้ หมายในการพัฒนานักเรยี น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีจุดมุ่งหมายพิเศษจัดการศึกษาให้กับ

นักเรียนผู้มีศักยภาพสูงหรือมีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้นและตอนปลาย อุดมการณ์ในการพัฒนานักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
กำหนดทำนองเดียวกับโรงเรยี นมหิดลวทิ ยานุสรณ์ ดังนี้

1) เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
ทีต่ นนับถือ มคี ุณธรรมจริยธรรม มีบคุ ลิกภาพทีด่ ีและมคี วามเปน็ ผูน้ ำ

2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง
ในระดบั เดยี วกันกบั นักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตรช์ ั้นนำของนานาชาติ

3) มีความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย
นักประดิษฐ์ นักคิดค้นและนักพัฒนานวัตกรรมด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับเดียว
กับนักเรยี นของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ

4) รกั การเรียนรู้ การอ่าน การเขยี น การค้นควา้ อยา่ งเปน็ ระบบ มคี วามรอบรู้ และบูรณาการความรู้ได้
5) มคี วามรแู้ ละทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ
ในระดบั เดียวกันกับนักเรียนของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์ชัน้ นำของนานาชาติ
6) มีจิตสำนึกในเกียรติภูมิของความเป็นไทย มีความเข้าใจและภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ
มีความรักและความภูมิใจในชาติบ้านเมืองและท้องถิ่น เป็นพลเมืองดียึดมั่นในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริย์เป็นประมขุ
7) มีจิตสำนกึ ในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปวฒั นธรรมไทย ประเพณี และภูมิปัญญาไทย ตลอดจน
อนุรักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม มีเจตคติทดี่ ีต่อเพ่ือนร่วมโลกและธรรมชาติ
8) มีจิตมุ่งท่ีจะทำประโยชน์และสรา้ งสิ่งที่ดีงามให้กบั สังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคมตอ้ งการ
ตอบแทนบา้ นเมอื งตามความสามารถของตนอยา่ งตอ่ เน่อื ง

หน้า 20

9) มีสุขภาพอนามยั ทดี่ ี รกั การออกกำลงั กาย รจู้ กั ดูแลตนเองให้เข้มแขง็ ทั้งกายและใจ

ท้ังนี้ เพื่อพัฒนาและปลูกฝังนักเรียนให้มีความพร้อมไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและมุ่งสู่การเป็น
นักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีความสามารถ
ระดับสูงเยี่ยมในระดับเดียวกันกับนักวิจัยชั้นนำของนานาชาติ และมีจิตวิญญาณมุ่งมั่นพัฒนาประเทศชาติ
มีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมโลกและธรรมชาติ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้กับประเทศชาตแิ ละสังคมไทยในอนาคต ชว่ ยพฒั นาประเทศใหส้ ามารถดำรงอยู่และแข่งขนั ไดใ้ นประชาคโลก
ให้เปน็ สงั คมผูผ้ ลิตท่ีมีมูลค่าเพ่มิ มากขน้ึ สรา้ งสงั คมแหง่ การเรยี นรู้ สงั คมแห่งคุณภาพและแข่งขนั ได้ และสังคม
ทย่ี ่ังยืนพอเพียงมีความสมานฉนั ท์เอื้ออาทรต่อกนั

ภารกิจของโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

1) เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาด้วยหลักสูตรเฉพาะ สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 – 6 ในลกั ษณะโรงเรยี นประจำ

2) เปน็ โรงเรียนทีร่ ับนักเรียนผู้มีความสามารถพเิ ศษในพ้ืนท่ีบรกิ าร โดยเนน้ การใหโ้ อกาสนกั เรยี น
ผมู้ ศี กั ยภาพสูงดา้ นคณิตศาสตรแ์ ละวิทยาศาสตรท์ ่กี ระจายอยใู่ นทุกภูมภิ าคของประเทศ

3) เป็นโรงเรยี นที่เนน้ คุณภาพ ไม่เนน้ ปรมิ าณ
4) เป็นโรงเรยี นตน้ แบบของภมู ิภาค
5) เป็นโรงเรียนที่ต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพระดับเดียวกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
ของนานาชาติ
6) เป็นโรงเรียนที่เป็นศูนย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในส่วนภูมิภาค (Regional Science
Education Hub) เพื่อให้บริการวิชาการและยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
คณติ ศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีใหก้ บั โรงเรียนอืน่ ๆ ในพ้ืนที่บริการ

คา่ นยิ มองคก์ ร

กลมุ่ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั ได้กำหนด PCSHS เปน็ ค่านยิ มองคก์ รร่วมกัน ซ่งึ หมายถงึ

P Professionality มอื อาชีพ

C Collaboration ประสานความรว่ มมือ

S Smart ความสง่างาม/ทนั สมัย

H Head Hand Health Heart บูรณาการสติปัญญา นำพาปฏิบัติ สมรรถนะแข็งแรง มแี รงบนั ดาลใจ

S Sharing เอ้อื อาทรแบ่งปัน

หนา้ 21

5. ตัวชีว้ ัดความสำเร็จในการดำเนินงาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในระยะเวลา
ช่วงต่อไป กำหนดไว้ ดังน้ี

5.1 ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 3
5.1.1 นกั เรยี นไม่ตำ่ กว่ารอ้ ยละ 80 มผี ลการเรียนเฉลยี่ ทกุ รายวชิ า ตง้ั แต่ 3.50 ขึน้ ไป
5.1.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ในวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ภาษาองั กฤษ อยู่ในตำแหนง่ ไม่ต่ำกวา่ เปอร์เซน็ ไทล์ท่ี 99
5.1.3 นกั เรยี นมศี กั ยภาพการส่ือสารภาษาอังกฤษ อยใู่ นระดบั A2 ตามมาตรฐาน CEFR
5.1.4 นักเรียนมีผลการประเมินประดับนานาชาติของกลมุ่ ประเทศ OECD (PISA) สูงกว่าคา่ เฉลี่ย
ของประเทศพฒั นาแลว้

5.2 ระดับช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 6
5.2.1 นกั เรยี นไม่ต่ำกวา่ ร้อยละ 80 มีผลการเรยี นเฉล่ียทกุ รายวชิ า ตง้ั แต่ 3.50 ข้นึ ไป
5.2.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ในวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ภาษาองั กฤษ อยู่ในตำแหนง่ ไมต่ ำ่ กว่าเปอร์เซน็ ไทลท์ ่ี 99
5.2.3 ผลการทดสอบความถนัดท่วั ไป (GAT) ความถนดั ทางคณติ ศาสตร์ (PAT 1) และความถนัด
ทางวทิ ยาศาสตร์ (PAT 2) อย่ใู นตำแหนง่ ไมต่ ่ำกวา่ เปอรเ์ ซน็ ไทล์ที่ 90
5.2.4 นักเรยี นมีศักยภาพการสอื่ สารภาษาอังกฤษ อยูใ่ นระดบั B1 ตามมาตรฐาน CEFR
5.2.5 นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละปี จำนวนไม่ตำกว่าร้อยละ 60
ศึกษาต่อทางด้าน STEM (ไม่รวมแพทยศาสตร์) ได้ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ไม่ต่ำกว่าปีละ 12 ทุน และได้ทุนศึกษาต่อภายในประเทศ ไม่ต่ำกว่าปีละ 60 ทุน และใน
จำนวนทั้งหมดนี้ศึกษาต่อ ปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นนักวิจัยอย่าง
นอ้ ยรอ้ ยละ 10
5.2.6 โครงงานของนักเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปนำเสนอในเวทีนานาชาติ
ไม่ตำ่ กว่า 70 โครงงาน ในจำนวนน้ี 50 โครงงานได้รางวลั ในระดับตา่ ง ๆ
5.2.7 นักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 150 คน ได้รับคัดเลือก
เข้าแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ ได้รับเหรียญรางวัลไม่น้อยกว่า 50 เหรียญ
และได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายเพื่อคัดเลือกผู้แทนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
ระดบั นานาชาติ คา่ ย 1 จำนวนไม่น้อยกวา่ 30 คน

หนา้ 22

6. ผลดีทีจ่ ะเกิดขน้ึ
การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัย มีผลดีเกดิ ขนึ้ หลายประการ ดงั นี้
1. มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียน

วิทยาศาสตรช์ นั้ นำของนานาชาติ กระจายอยู่ในทกุ ภูมิภาคของประเทศไทย
2. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะเป็นตัวกระตุ้น ช่วยให้มีการพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศเร็วขึ้น โดยที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยจะได้รับการพัฒนา
ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ที่สามารถขยายผลการจัดการศึกษาโดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วศิ วกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตรห์ รอื STEM Education ไปสโู่ รงเรยี นตา่ ง ๆ ในพื้นที่หรือจังหวัดใกลเ้ คยี ง

3. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนที่มีความสามารถ
พิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีกระจายอยู่ในทุกภมู ิภาคทั่วประเทศ ซึ่งเมือ่ นักเรียนกลุ่มน้ีสำเร็จ
การศึกษา จะชว่ ยยกระดบั คุณภาพชีวิตของครอบครวั และทอ้ งถนิ่ ให้ดีขนึ้

4. โรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลยั จะชว่ ยสร้างความมนั่ ใจให้กบั ผู้ลงทุน โดยเฉพาะแหล่ง
ทนุ จากต่างประเทศว่า ประเทศไทยมีบุคลากรทีม่ ีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตรแ์ ละวิทยาศาสตร์สูง กระจายอยู่
ทั่วประเทศ ทำให้การลงทุนเกดิ การกระจายตวั ไปยังภมู ิภาคตา่ ง ๆ ทว่ั ประเทศ

5. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะเป็นหน่วยงานที่เตรียมความพร้อมกำลังคน
ที่จะพัฒนาตนเองไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นและนวัตกร ด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีทม่ี ศี ักยภาพสงู ตามแผนยทุ ธศาสตร์ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0

6. ความสำเร็จของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่เกิดจากระบบและ
กระบวนการคัดเลือกเข้าเรียนอย่างเป็นธรรมและลดความได้เปรียบเสียเปรียบทางฐานะทางเศรษฐกิจ
ของครอบครวั จะเป็นการลดความเหล่อื มลำ้ ของนักเรยี นและสังคม

หน้า 23

7. ผลกระทบทีจ่ ะเกิด

7.1 เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและการพฒั นากำลังคนด้านวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ที่สามารถทำการวิจยั และพัฒนา
เพ่ือสรา้ งความรแู้ ละนวตั กรรมได้

7.2 ประเทศไทยจะมีนักวิชาการชน้ั นำที่จะเป็นหัวรถจักรในการพฒั นาประเทศไทยในอนาคตมากข้นึ
7.3 ประเทศไทยมีผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพจำนวนมากขึ้น
มสี ดั ส่วนทัดเทยี มกบั ท่มี ีอยูใ่ นประเทศท่ีพฒั นาแล้ว
7.4 เป็นการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กระจายอย่าง
ทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญทางปัญญาในการสร้างและเผยแพร่ความรู้ และใช้ความรู้
เพอื่ แก้ไขปัญหาในชมุ ชน การเพ่มิ ผลผลติ และการพัฒนาประเทศให้มีความกา้ วหนา้ อยา่ งยั่งยืน
7.5 เป็นการสร้างความมั่นใจกับนักลงทุน โดยเฉพาะแหล่งทุนจากต่างประเทศสำหรับบุคลากร
ท่ีมคี วามรู้ ความสามารถดา้ นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กระจายอยู่ท่ัวประเทศ ทำให้การลงทุนกระจายตัว
ไปยงั ภมู ิภาคตา่ ง ๆ อย่างทั่วถึง
7.6 ประเทศไทยมศี ักยภาพในการแข่งขันในระดบั นานาชาตสิ ูงขึ้น
7.7 เป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
ของประเทศ ท่ปี จั จุบนั ส่วนใหญก่ ระจกุ ตวั อยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่เทา่ นนั้
7.8 เปน็ แนวทางทีจ่ ะชว่ ยยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครวั ของนกั เรยี นที่มฐี านะทางเศรษฐกิจไม่ดี
ใหด้ ขี ้นึ ได้ในอนาคต
7.9 ประเทศไทยจะพัฒนาและสามารถยกระดับรายได้มวลรวมของประเทศทำให้สามารถ
ก้าวข้ามกับดกั ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) สู่ความเป็นประเทศพฒั นาแลว้ ตามวสิ ยั ทศั น์
ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไดเ้ ร็วขนึ้

8. เงื่อนไขความสำเรจ็

การดำเนนิ งานของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะบรรลุความสำเร็จได้ ตอ้ งได้รับการ
สนบั สนนุ ในด้านต่าง ๆ ดงั นี้

8.1 กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ในช่วงระยะเวลาต่อไป เป็นงานประจำ และมีหน่วยงานเทียบเท่าสำนัก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขน้ั พน้ื ฐาน เปน็ หนว่ ยงานกำกบั ดูแลการดำเนนิ งานของโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลัย

8.2 มกี ารกำหนดภารกิจ เปา้ หมาย ระบบบริหารงานและกรอบอัตรากำลงั ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทีม่ ีความเหมาะสม เป็นอสิ ระ คลอ่ งตวั ชัดเจนมากขน้ึ เป็นการเฉพาะ

8.3 มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นการเฉพาะของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ในการบรหิ ารงานวชิ าการ การบรหิ ารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และการเงินและพัสดุ

หน้า 24

8.4 ได้รับทรพั ยากรสนับสนนุ ทเี่ หมาะสม
8.5 มรี ะบบการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนท่ีมรี ะบบอันเปน็ ทน่ี ่าเชื่อถือในการคัดกรองและคัดเลือก
นกั เรยี นผู้มีความสามารถด้านคณติ ศาสตร์และวทิ ยาศาสตรท์ มี่ ีศกั ยภาพสูงเป็นการเฉพาะ
8.6 มีคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เคยมี
ประสบการณ์ด้านโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทาง ให้คำแนะนำ การดำเนินงานของโรงเรียน
วทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทง้ั ด้านวชิ าการ การบรหิ ารงานบุคคล งบประมาณ และการบริหารงานทว่ั ไป

9. แผนช้นั เรยี น และเหตุผลของการจดั การศึกษาแบบโรงเรียนประจำ

ปัจจุบันโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีอาคารสถานที่ ซึ่งประกอบด้วย อาคารเรียน
หอพัก อาคารประกอบ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่สามารถจัดการศึกษา
ในลักษณะโรงเรยี นประจำได้อย่างเหมาะสมให้กบั นักเรยี นโรงเรยี นละ 720 คน

การดำเนินการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุ่งจัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ
และยังคงให้จำกัดจำนวนนักเรียนไว้เพียงโรงเรียนละ 720 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดห้องเรียน
คุณภาพ และขนาดโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นคุณภาพเช่นเดียวกับโรงเรียน
วิทยาศาสตร์ชั้นนำท้ังในและตา่ งประเทศ โดยมแี ผนการชั้นเรียนของแตล่ ะโรงเรยี น ดงั น้ี

ตาราง 3 แผนชนั้ เรียนของโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลยั แตล่ ะโรงเรยี น

รายการ ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม
ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6
จำนวนห้องเรยี น (หอ้ ง) 444 666 30
จำนวนนักเรียนตอ่ ห้อง (คน) 24 24 24 24 24 24 144
จำนวนนักเรยี นทงั้ หมด (คน)/โรงเรียน 96 96 96 144 144 144 720
จำนวนรวมทงั้ 12 โรงเรยี น 1,152 1,152 1,152 1,728 1,728 1,728 8,640

สำหรับการกำหนดให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ
มีเหตุผลสำคัญ 2 ประการคือ (1) การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ นักเรียนกิน อยู่ หลับนอน ด้วยกัน
ในหอพักของโรงเรียน ทำให้สามารถจัดกิจกรรมที่หลากหลายได้จำนวนมาก ส่งผลให้การพัฒนาอุดมการณ์
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะ การพัฒนาทักษะและความสามารถ ตลอดจนการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านต่าง ๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพ่ิมมากข้ึน ดังเป็นที่ปรากฏมาแล้วในโรงเรียน
ประจำช้ันนำของนานาชาติ และ (2) โรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั รบั นกั เรยี นจากพ้ืนท่ีบริการ
ซงึ่ ครอบคลมุ หลายจังหวัด นักเรยี นจำนวนมากหรือเกือบทง้ั หมดไม่สามารถเดนิ ทางมาเรียนแบบ ไป - กลบั ได้

หนา้ 25

10. การสรรหาและคัดเลือกนักเรียน
กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะดำเนินการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน

ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ด้วยระบบคุณธรรม ตามหลักวิชาการที่เกี่ยวกับการสรรนักเรียนผู้มี
ความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวทิ ยาศาสตรอ์ ย่างแท้จริง

แต่ละปี คณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จะจัดทำประกาศ
แสดงรายละเอียดที่เก่ียวกับการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัย
ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพิจารณา
ลงนามในประกาศ รว่ มกบั ประธานคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัย

การดำเนินการสรรหาและคัดเลือกจะดำเนินการตามขั้นตอนของประกาศนั้นทุกประการ โดยไม่มี
การรับนกั เรียนเป็นกรณีพิเศษใด ๆ ท่นี อกเหนอื จากประกาศนั้น และโดยทว่ั ๆ ไป ในการสรรหาและคัดเลือก
นักเรียนดังกล่าว จะขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ
มาร่วมในการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนดงั กลา่ วด้วย

เฉพาะการรับนักเรียนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั อาจพิจารณากำหนดใหม้ โี ควตานักเรยี นที่จบการศึกษาชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียน
ในชนบทห่างไกล ที่นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ฐานะยกจนและขาดแคลนทุนทรัพย์ด้วยก็ได้
โดยให้นักเรียนกลุ่มนี้แข่งขันกันเอง การให้โควตานักเรียนดังกล่าวต้องไม่เกินรอ้ ยละ 10 ของจำนวนทั้งหมด
ท่ีรบั ได้ และตอ้ งมผี ลการประเมินผ่านเกณฑ์ขน้ั ตำ่ ตามท่ีกำหนดในประกาศรับนกั เรียน

เหตุผลของการให้โควตานกั เรียนดังกล่าวเป็นดังน้ี นักเรียนที่จบจากโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจาก
ครอบครัวท่ยี ากจน ขาดโอกาสในการเรยี นรแู้ ละการพฒั นาตนเองมาโดยตลอด ต้งั แต่แรกเกดิ จนจบการศึกษา
ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 6 ทัง้ นี้ เพราะพอ่ แม่ ผปู้ กครองของนกั เรยี นกลมุ่ นเี้ กอื บทง้ั หมด มรี ะดับการศกึ ษาไม่สูงนัก
และมีฐานะยากจน ไม่สามารถให้คำแนะนำทางวิชาการหรือจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเรียนรู้
ให้กับลูกของตนเองได้ ไม่สามารถส่งเสริมให้ลูกของตนเองได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเวลาเรียนได้
หากให้นักเรียนเหล่านี้สอบแข่งขันกับนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีความพร้อมสูง ก็จะเสียเปรียบอย่างมาก
ไม่สามารถแขง่ ขนั ได้ จึงควรมแี ต้มต่อใหก้ บั นกั เรยี นท่มี าจากครอบครวั ยากจนเหล่านี้

นักเรียนกลุ่มนี้หากสอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในการคัดเลือก แสดงว่าเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ
อย่างแท้จริง เพราะแม้มีโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity to Learn) ตั้งแต่แรกเกิดจนเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ต่ำกว่านกั เรยี นท่ัว ๆ ไป เปน็ อย่างมาก แตย่ ังสามารถผ่านเกณฑ์คัดเลือกขัน้ ต่ำได้ จงึ เช่ือไดว้ ่า หากได้มีโอกาส
เข้ามาเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคตั้งแต่ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 ในลักษณะ
ของนักเรียนประจำที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี ก็น่าจะมีโอกาสสอบแข่งขันคัดเลือก
เขา้ เรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 4 ของโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลยั ได้

นอกจากนั้นนักเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ (หรือมี AQ: Adversity
Quotient) สูงมาก และส่วนใหญ่พร้อมที่จะรับทุนการศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา
ในสาขาท่ีเป็นความต้องการของประเทศชาติ และพร้อมทจ่ี ะกลบั มาปฏบิ ตั งิ านเพอ่ื ตอบแทนแผน่ ดินเกดิ

หน้า 26

นักเรียนเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐตั้งแต่ในระดับนี้ จะมีโอกาสศึกษาต่อในสถาบัน
อุดมศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศน้อยมากหรือไม่มีเลย หากได้รับโอกาสนี้ นอกจากจะช่วยพัฒนาและ
ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวนักเรียนในอนาคตแล้ว ความสำเร็จของนักเรียนยังมีผลกระทบในวงกว้าง
สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวติ ของพ่อแม่ พี่น้องและครอบครวั ของนักเรยี นได้อกี ด้วย อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้น
ให้โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศกึ ษาตอนตน้ ได้พฒั นาคณุ ภาพนักเรยี นของตนเองอีกทางหน่ึงด้วย
11. การสนับสนนุ การดำเนินงานจากสถาบนั อุดมศึกษา

กลมุ่ โรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลัย ได้รบั การสนบั สนุนจากมหาวิทยาลัยที่ต้ังอยู่ในท้องท่ี
บริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยอย่างดีมาก ทั้งด้านการให้การแนะนำ
ทางวิชาการ การพัฒนาครู การเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับนักเรียน การเป็นที่ปรึกษาโครงงาน
ของนักเรียน การอนุญาตให้นักเรียนไปใช้ห้องปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย ฯลฯ
ในการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไป โรงเรียนจะขอ
ความอนุเคราะห์การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย สถาบันการอุดมศึกษา และหน่วยงานทางวิชาการอื่น ๆ
ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงจะขอให้ทางสถาบันการศึกษาพิจารณาให้ทุนและรับเข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษด้วย
ทั้งน้ี จะเสนอให้คณะกรรมการพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิจารณาจดั ต้ังอนุกรรมการ
ความรว่ มมอื ทางวิชาการกบั สถาบนั อุดมศกึ ษา เช่นเดยี วกับในระยะทผ่ี า่ นมา

รายชื่อมหาวิทยาลยั ที่ใหก้ ารสนับสนนุ และให้ความรว่ มมือทางวิชาการเปน็ มหาวิทยาลยั พ่ีเล้ียงของแต่
ละโรงเรยี น มรี ายละเอียดแสดงในตารางที่ 4

หน้า 27

ตารางท่ี 4 รายชื่อมหาวทิ ยาลัยที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาลยั

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพเ่ี ลีย้ ง
จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั
1 เชียงราย มหาวทิ ยาลัยแมฟ่ า้ หลวง (พเ่ี ล้ียงหลัก) มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่
มหาวิทยาลัยแมโ่ จ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลา้ นนา
2 พษิ ณุโลก มหาวทิ ยาลัยนเรศวร (พเ่ี ลี้ยงหลกั )
3 ลพบุรี มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ (พ่ีเลยี้ งหลัก) มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ รงั สติ
4 เลย มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ (พี่เล้ียงหลกั ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลยั เทคโนโลยสี ุรนารี
5 มกุ ดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พี่เล้ียงหลกั )
6 บรุ ีรัมย์ มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (พี่เลี้ยงหลัก) มหาวิทยาลยั มหาสารคาม
มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่
7 ปทมุ ธานี มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ (พเ่ี ล้ียงหลัก) มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
8 ชลบุรี วิทยาเขตธญั บรุ ี
มหาวิทยาลยั บูรพา (พเ่ี ลีย้ งหลัก) มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
9 เพชรบรุ ี สถาบันเทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
10 นครศรธี รรมราช มหาวิทยาลยั ศิลปากร (พ่ีเลยี้ งหลัก) มหาวทิ ยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน
11 ตรงั มหาวทิ ยาลัยวลยั ลกั ษณ์ (พีเ่ ลีย้ งหลัก) มหาวทิ ยาลัยทักษณิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12 สตลู มหาวิทยาลยั ทักษิณ (พ่เี ล้ียงหลัก) มหาวิทยาลยั วลัยลักษณ์
มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ (พ่เี ลี้ยงหลกั ) มหาวิทยาลยั วลยั ลักษณ์
มหาวทิ ยาลัยทักษณิ

ทง้ั นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั และมหาวิทยาลัยมหิดล รับเป็นมหาวทิ ยาลัยพ่ีเลี้ยงร่วม ดา้ นการเป็นท่ีปรึกษา
โครงงานและการฝกึ ประสบการณข์ องนกั เรยี นจากทกุ โรงเรียน

หน้า 28

ตารางที่ 5 (รา่ ง) รายช่อื มหาวทิ ยาลัยทใ่ี หก้ ารสนับสนุนการดำเนินงานทางวิชาการทจี่ ะปรบั ใหม่ตามการเพ่ิม
ของโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย

โรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั พีเ่ ลี้ยง
จฬุ าภรณราชวิทยาลัย
1 เชียงราย มหาวทิ ยาลัยแมฟ่ ้าหลวง (พี่เล้ยี งหลัก) มหาวิทยาลัยพะเยา
2 ลำปาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พีเ่ ล้ยี งหลกั ) มหาวทิ ยาลยั แมโ่ จ้
3 พิษณโุ ลก มหาวิทยาลัยนเรศวร (พีเ่ ลยี้ งหลัก)
4 ลพบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ่เี ล้ยี งหลัก) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
5 สพุ รรณบุรี มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน (พเ่ี ลีย้ งหลกั )
6 เลย มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น (พีเ่ ลีย้ งหลกั ) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
7 มกุ ดาหาร มหาวทิ ยาลยั อุบลราชธานี (พเ่ี ลยี้ งหลกั ) มหาวทิ ยาลัยนครพนม
8 อุบลราชธานี มหาวทิ ยาลยั อุบลราชธานี (พี่เล้ยี งหลกั )
9 กาฬสินธุ์ มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม (พีเ่ ลี้ยงหลัก) มหาวทิ ยาลยั กาฬสินธุ์
10 บุรรี มั ย์ มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี (พ่เี ลยี้ งหลัก)
11 กำแพงเพชร มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (พเ่ี ลย้ี งหลกั )
12 ปทมุ ธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พเี่ ลย้ี งหลกั ) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคล วทิ ยาเขตธญั บุรี
13 สระแกว้ มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ (พ่เี ลยี้ งหลกั )
14 ชลบรุ ี มหาวิทยาลัยบรู พา (พีเ่ ล้ียงหลัก) สถาบนั เทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
15 เพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร (พเี่ ลยี้ งหลัก) มหาวิทยาลยั พระจอมเกล้าธนบรุ ี
16 นครศรธี รรมราช มหาวทิ ยาลยั วลัยลกั ษณ์ (พเ่ี ลยี้ งหลัก) มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์
17 ตรงั มหาวิทยาลัยทกั ษณิ (พีเ่ ล้ียงหลกั ) มหาวทิ ยาลยั วลยั ลกั ษณ์
มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์
18 สตูล มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์ (พเี่ ลย้ี งหลกั ) มหาวิทยาลัยวลยั ลกั ษณ์
มหาวิทยาลยั ทกั ษิณ

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันวิทยสิริเมธี เป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงร่วม
ด้านการเป็นท่ีปรกึ ษาโครงงานและการฝึกประสบการณ์ของนักเรยี นจากทุกโรงเรยี น สำหรบั การเปล่ียนแปลง
เพิ่มเติมรายชื่อและจำนวนมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียน
วทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั และสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน

หน้า 29

12. การสง่ เสรมิ การทำงานวิจัยของนกั เรยี น
วตั ถุประสงค์สำคัญที่สุดของการพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั คือ การพัฒนาและ

ปลูกฝังนักเรียนให้มีความพรอ้ มทีจ่ ะพัฒนาไปสู่การเป็นนักวจิ ัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีความสามารถระดับสูงเยี่ยมในระดับเดียวกันกับนักวิจัยชั้นนำของนานาชาติ
และมีจิตวิญญาณมุ่งมั่นพัฒนาประเทศชาติ มีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมโลกและธรรมชาติ สามารถสร้าง
องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประเทศชาติและสังคมไทยในอนาคต ช่วยพัฒนาประเทศ
ให้สามารถดำรงอยู่และแขง่ ขนั ได้ในประชาคมโลก ใหเ้ ปน็ สังคมผู้ผลิตทีม่ ีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สรา้ งสังคมแห่งการเรียนรู้
สังคมแห่งคุณภาพและแข่งขนั ได้ และสงั คมท่ยี ง่ั ยืนพอเพยี งมคี วามสมานฉนั ทเ์ ออื้ อาทรตอ่ กัน

ดังนั้น ในการออกแบบหลักสูตรและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงได้จัดให้มีรายวิชาและกิจกรรม
ที่หลากหลายที่จะปูทางให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย เห็นคุณค่าและความท้าทาย รวมถึง
เสน้ ทางอาชีพของการเปน็ นักวิจัยในอนาคต ก่อนจบการศกึ ษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 6
นักเรียนต้องทำงานและเสนอผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง คล้าย ๆ กับการทำ Senior Project ก่อนปริญญาตรี
หรอื การทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบปริญญาโทหรือปรญิ ญาเอก

ผลการทำงานวิจัยของนักเรียนก่อนจบจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ได้รับการชื่นชม
จากนักวิชาการจำนวนมาก บางคนถึงกับกล่าวว่าคุณภาพงานวิจัยของนักเรียนเทียบเคียงได้กับผลงานวิจัย
ของนกั ศึกษาระดบั ปรญิ ญาตรีหรือปริญญาโท

โครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสไปเสนอผลงานวิจัยของตนเองในเวทีต่าง ๆ จำนวนมาก
ท้งั ในประเทศและตา่ งประเทศ การไปนำเสนอผลงานดังกล่าวได้รบั รางวลั จำนวนมาก

การพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในช่วงระยะเวลาต่อไป จะยังให้ความสำคัญ
ต่อการทำงานวิจัยของนักเรียนโดยจะพยายามส่งเสริมให้การทำงานวจิ ัยของนักเรียนมคี ุณภาพสูงยิ่งข้นึ ไปอีก
ในระดับเดียวกับของนกั เรียนโรงเรียนวิทยาศาสตรช์ ั้นนำของนานาชาติ เพอื่ สร้างความเชื่อถือระดับนานาชาติ
ของคุณภาพการศึกษาไทย

หน้า 30

13. ความร่วมมอื กับ Super Science High School สถาบัน KOSEN และหน่วยงานอน่ื ๆ ของประเทศญปี่ ุน่

เป้าหมายสำคัญอยา่ งหนึง่ ของการจัดการศกึ ษาให้กับนกั เรียนของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
คือ ต้องการใหน้ กั เรียนทจี่ บการศกึ ษาจากโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ไดม้ ีประสบการณ์ในการทำ
กจิ กรรมต่าง ๆ รว่ มกบั นักเรียนในวัยเดียวกนั จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ เพ่ือสร้างให้นักเรียน
ของโรงเรียนมีความมน่ั ใจ และได้ศกึ ษาเรยี นรู้ด้านต่าง ๆ ซึง่ กันและกัน

การดำเนินงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา โครงการได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตญ่ีปุ่น
ประจำประเทศไทย แนะนำให้กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MEXT)
จากประเทศญี่ปุ่น ได้รู้จักกับโครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียน
วทิ ยาศาสตรภ์ ูมิภาค ทำใหม้ เี จ้าหน้าที่จากกระทรวงศกึ ษาธกิ ารฯ ของประเทศญ่ีปนุ่ และจากหนว่ ยงานต่าง ๆ
เช่น Japan International Cooperation Agency (JICA), Japan Foundation (JF), Japan Science and
Technology Agency (JST), สถาบัน KOSEN ฯลฯ ได้มาเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยจำนวนมาก นอกจากนนั้ คณะกรรมการบรหิ ารโครงการฯ ผู้บริหาร
และครูของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ยังได้รับเชิญไปศึกษาดูงานที่ Super Science High
Schools สถาบัน KOSEN และหน่วยงานทางวิชาการอื่น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น เป็นจำนวนหลายคร้ัง
ทำให้เก ิดก าร ลง นามความร ่ว มมือทาง วิชาการ ระหว ่าง โร งเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภร ณราชว ิทยาลัย กับ
Super Science High Schools และสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น และได้มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการ
ร่วมกัน ตลอดจนมกี ารแลกเปลี่ยนครแู ละนักเรียนซึ่งกันและกัน ผลงานทสี่ ำคัญ ๆ ท่ีเกดิ ขน้ึ สรุปไดด้ งั น้ี

1. มี Super Science High Schools ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 15 แห่ง National Institute of
Technology of Japan (KOSEN) ได้ลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ดงั รายละเอยี ดในตาราง 4

2. จากการลงนามความร่วมมือตามข้อ 1 ทำให้เกิดการจัดงาน Thailand-Japan Student
Science Fair ขึ้นแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2558 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
เพชรบุรี และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2561 ณ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก มีนักเรยี น
จาก Super Science High School มาร่วมงานจำนวนมาก และที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุด คือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเดินเป็นองค์ประธานในการเปิดงานฯ
ทั้ง 2 ครั้ง การจัดงานครัง้ ท่ี 3 กำหนดจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั
ตรัง นอกจากนั้นยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการบริหารโครงการ
พัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และผู้บริหารโรงเรียน
เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อกราบบังคมทูลถวายรายงานผลการดำเนินงานของ
โครงการฯ และได้พระราชทานคำแนะนำการดำเนนิ งานให้กับคณะผเู้ ข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพ่ือนำไปปฏิบัติ
ในการพฒั นาโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลยั เปน็ ประจำทกุ ปอี ีกด้วย

หนา้ 31

3. ได้รับการสนับสนุนครูอาสาสมัครผู้ช่วยสอนด้าน ICT จากประเทศญี่ปุ่น มาช่วยสอน
วิชาคอมพวิ เตอร์และภาษาญี่ปนุ่ ท่โี รงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั จำนวน 7 คน และจะจัดให้ครบ
ทัง้ 12 โรงเรียน ในปกี ารศึกษา 2562

4. จากการที่โครงการฯ ได้รับการสนับสนุนครูอาสาสมัครผู้ช่วยสอนด้าน ICT ตามข้อ 3
ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันหลายกิจกรรม เช่น การจัด Thailand-Japan Student ICT Fair 2016 ณ โรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และครั้งที่ 2 จะจัดที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
มุกดาหาร ในปี พ.ศ. 2562 นอกจากนีย้ งั มีการจัดการแขง่ ขนั Thailand-Japan Game Programing Hackathon
ทงั้ ในประเทศไทยและประเทศญปี่ ุ่น อกี ด้วย

5. ได้รับการสนับสนุนจาก Japan Foundation ส่งครูอาสาสมัคร Nihongo Partner มาช่วยสอน
วิชาภาษาญปี่ นุ่ ท่โี รงเรียนวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย จำนวน 6 คน

6. ได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ไปเข้าค่ายวิชาการ ณ สถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันมีนักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั ได้รับทนุ ไปศกึ ษาตอ่ ณ สถาบนั KOSEN ประเทศญ่ีปุน่ จำนวน 23 ทุน

จากคุณภาพนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ทำใหน้ กั วชิ าการจากญ่ีป่นุ มีความประทับใจมาก จงึ ทำใหเ้ กิดโครงการต่าง ๆ ข้นึ จำนวนมาก ดังท่ีกลา่ วมาแล้วขา้ งตน้

ในการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไป
จะดำเนินการให้มีการร่วมมือทางวิชาการกับทางประเทศญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายให้นักเรียน
ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้มีประสบการณ์ จากการร่วมทำงานกับนักเรียนญี่ปุ่น
ทมี่ ีศกั ยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพฒั นาเป็นนักวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นกำลังสำคัญในการ
พฒั นาอตุ สาหกรรมของประเทศตอ่ ไปในอนาคต

หน้า 32

หนา้ 33

แผนภาพแสดงความร่วมมอื ระหวา่ งโรงเรียนวทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัยกบั Super Science High Schools

หนา้ 34

แผนภาพแสดงความร่วมมอื ของโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลยั กับสถาบนั โคเซน็ ประเทศญี่ป่นุ

14. การสนับสนนุ งบประมาณและทรัพยากร

เน่ืองจากโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัยเปน็ โรงเรียนท่ีมวี ตั ถปุ ระสงค์พิเศษ จัดการศึกษา
แบบโรงเรียนประจำ สำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ได้รับการพัฒนา
อย่างเต็มตามศักยภาพ นักเรียนที่จบจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีศักยภาพสูงเยี่ยม
สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวทิ ยาลัยวิจยั ชั้นนำของโลก ทง้ั ในและตา่ งประเทศ เพื่อพฒั นาไปสู่การเป็นนักวิจัย
นักประดิษฐ์คิดค้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสามารถระดับเดียวกันกับนักวิจัยชั้นนำ
ของนานาชาติ และมีจิตวิญญาณมุ่งมั่นพัฒนาประเทศชาติ ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้สามารถดำรงอยู่
และแข่งขันได้ในประชาคมโลก เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สังคมแห่งคุณภาพและแข่งขันได้
และสงั คมที่ยง่ั ยนื พอเพยี ง มคี วามสมานฉันทเ์ อื้ออาทรต่อกัน

งบประมาณและทรพั ยากรตา่ ง ๆ ที่จัดให้กับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัยตอ้ งจดั ใหไ้ ด้
อย่างเหมาะสม เพียงพอ ในระดับเดียวกับของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โครงการพัฒนาและส่งเสริม
ผู้มีความสามารถพิเศษ (พสวท.) และโครงการสนับสนุนการจัดตัง้ หอ้ งเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรยี น โดยการ
กำกบั ดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงการอดุ มศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (โครงการ วมว.)

เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
เป็นงานประจำ และมหี นว่ ยงานเทียบเทา่ สำนัก สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐานเปน็ ผกู้ ำกับ
ดูแลการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยและการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์
ศกึ ษา การขอรับงบประมาณในช่วงระยะเวลาต่อไปจงึ มีลักษณะเปน็ การขอรับงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ

การดำเนินงานของโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย จำเปน็ ตอ้ งไดร้ บั งบประมาณอย่างน้อย
สำหรับทำกิจกรรมด้านตา่ ง ๆ ดงั น้ี

1. ค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการศึกษาแบบโรงเรียนประจำ (ค่าอาหาร ค่าเครื่องนอนค่า
ซกั รีด และคา่ ใช้จา่ ยอ่ืน ๆ ที่เกย่ี วกบั การอยูป่ ระจำ) 44,000 บาทตอ่ คนต่อปี

2. ค่าใช้จ่ายสำหรับโรงเรียนเพ่ือใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ
40,000 บาทตอ่ คนต่อปี

3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษา และการจัดหาทดแทนของเดิม ที่เกี่ยวกับอาคาร สถานที่
ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์การศึกษาและวิทยาศาสตร์ รวมถึงการจัดหาสื่อการสอนและครุภัณฑ์การศึกษา
และวทิ ยาศาสตร์ใหม่ ๆ ทีจ่ ะเกดิ ขนึ้ ในอนาคต

4. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาครูและบุคลากรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ให้มีความรู้ความสามารถระดับสูง โดยการไปเข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุม
วิชาการ การนำผลงานไปนำเสนอ การศึกษาดูงาน การฝึกประสบการณ์ภายใต้การดูแลของครูอาวุโส
ที่มีประสบการณ์สูง (Under Study) ฯลฯ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้มีประสทิ ธภิ าพเพิ่มมากขน้ึ ในระดับเดียวกับโรงเรียน
วิทยาศาสตร์ช้ันนำของนานาชาติ

หน้า 35

5. คา่ ใช้จ่ายในการสง่ เสริมให้ครแู ละบุคลากรมคี วามก้าวหน้าทางวิชาชีพ สรา้ งขวัญและกำลังใจ
และคา่ ตอบแทนอ่ืน ๆ อย่างเหมาะสม

6. ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้อยู่ในระดับเดียวกับโรงเรียน
วิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ โดยการเชิญครูและนักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ
มาร่วมทำกิจกรรมที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และส่งครูและนักเรียนของโรงเรียน
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั ไปรว่ มทำกิจกรรมกบั โรงเรยี นวทิ ยาศาสตรช์ ้ันนำในประเทศต่าง ๆ

15. กรอบอัตรากำลงั และระบบการบริหารงานบุคคลของโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั

กรอบอัตรากำลังของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ที่ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 25 พฤศจกิ ายน 2553 มรี ายละเอียดในตารางท่ี 9 การคำนวณอัตรากำลงั ครูครง้ั น้นั ได้ใช้เกณฑ์การ
ปฏิบัตงิ านข้ันต่ำของครูเป็นเวลา 40 ชว่ั โมงต่อสัปดาห์ ในจำนวนน้เี ปน็ ช่วั โมงสอนในชน้ั เรยี นจำนวน 15 คาบ
ตอ่ สปั ดาห์ เวลาทีเ่ หลืออีก 25 ช่ัวโมงตอ่ สปั ดาห์ ใช้สำหรับการเตรยี มการสอน การตรวจงาน การให้คำปรึกษา
การเป็นทปี่ รกึ ษาโครงงาน นวัตกรรม สิ่งประดษิ ฐแ์ ละงานวิจัยของนกั เรียน การจัดกิจกรรมเสริมท้ังในและนอก
ห้องเรียนตามหลักสูตร การวิจัย การศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ๆ การพัฒนาตนเองตลอดจน
การให้บรกิ ารกับสังคมท่ัวไป โรงเรียน และหน่วยงานภายนอก

จากการดำเนินงานช่วงระยะเวลาที่ผา่ นมา พบว่า นักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั
เปน็ ผู้มคี วามสามารถพิเศษ สามารถเรียนรู้ไดอ้ ย่างรวดเร็ว ลึกซ้งึ และมคี วามมงุ่ มัน่ ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน
มากกว่านักเรยี นทั่วไปในวัยเดียวกัน ดังนั้น ครูของโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัยจำเป็นตอ้ งใช้
เวลามากข้นึ ในการศึกษาค้นคว้าเพอื่ เตรียมการสอน เพื่อพฒั นาส่ือการเรียนการสอน และเพอื่ พัฒนาเคร่ืองมือ
ประเมินผลการเรียนรู้จึงจะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ท้าทายและตอบสนองต่อศักยภาพและ
ความสามารถของนกั เรยี นได้

นอกจากนั้น ยังมีการกำหนดให้ครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ต้องพัฒนาตนเอง
รวมถึงการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และต้องทำงานวิจัย ทั้งการวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยใน
สาขาวิชาที่สอน เพื่อนำผลมาใชช้ ่วยใหก้ ารปฏบิ ัตภิ ารกิจหน้าที่ ของตนเองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

นอกจากนั้น งานและการบ้านที่ครูต้องคิดค้นเพื่อมอบให้นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษไปศึกษา
ค้นคว้าหา คำตอบด้วยตนเอง ปกติจะมีปริมาณ มีความยาก และมีความท้ายทายมากกว่างานและการบ้าน
ทใี่ ห้กับนกั เรียนทว่ั ๆ ไป บางครัง้ ครตู อ้ งให้งานหรือการบา้ นทแี่ ตกตา่ งกนั เปน็ รายบุคคล เพอื่ ทา้ ทายศักยภาพ
ความสามารถ ตามความถนัด และความสนใจของนกั เรยี น ทแี่ ตกตา่ งกันไป

ในการทำงานหรือทำการบ้าน นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษแต่ละคนจะมีวิธีคิด วิธีทำ และวิธี
แก้ปญั หาท่ีเปน็ ของตนเอง ทีแ่ ตกต่างกันไป ครตู อ้ งใชเ้ วลาในการเตรยี มงาน และเตรยี มการบา้ น รวมถึง ตอ้ งใช้
เวลาในการตรวจงาน และ ตรวจการบ้าน มากกว่าปกตทิ วั่ ไป รวมถึงต้องให้คำอธบิ ายกับนักเรียนเปน็ รายบคุ คล
เพราะแต่ละคนคดิ ทำงาน และ ทำการบ้านดว้ ยวิธกี ารที่แตกตา่ งกันไป นกั เรยี นผ้มู ีความสามารถพิเศษเหล่าน้ี

หนา้ 36

มกั สนใจศึกษาหาความรูเ้ พ่มิ เตมิ ดว้ ยตนเอง แลว้ นำปญั หาข้อสงสยั และความอยากรู้อยากเห็นมาขอคำปรึกษา
จากครูเป็นรายบุคคลเสมอๆ ครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยจึงต้องใช้เวลาในการทำภารกิจน้ี
เพิ่มเตมิ อีกประมาณสามในส่ีของเวลาทสี่ อน

โดยเฉลี่ยครูของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอน การ
พัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง และการทำงานวิจยั
ประมาณสามในสี่ของเวลาทำงาน จำนวน 40 ช่วั โมงในแตล่ ะสปั ดาห์

การคำนวณกรอบอตั รากำลังของครูโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัยในคร้ังนี้ จงึ ใชร้ ะเบียบ
หลกั เกณฑ์ การเลอื่ นและให้มีวิทยฐานะของสำนกั งานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตามหนังสือที่ ศธ 0206.3/ว21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กำหนดให้ครูต้องมีชั่วโมงการสอนในห้องเรยี นไม่
ตำ่ กว่า 12 ชั่วโมง จงึ จะถือวา่ เป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลา ซึ่งจะทำให้มีเวลาอีก 28 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในการใช้
สำหรบั การเตรยี มการสอน การตรวจงาน การให้คำปรกึ ษา การเป็นที่ปรกึ ษาโครงงาน นวัตกรรม ส่ิงประดิษฐ์
และงานวจิ ยั ของนกั เรียน การจัดกิจกรรมเสรมิ ทั้งในและนอกห้องเรยี นตามหลักสตู ร การวิจัย การศกึ ษาค้นคว้า
หาองคค์ วามรู้ใหม่ๆ การพัฒนาตนเองตลอดจนการให้บริการกับสงั คมทั่วไป โรงเรยี น และหน่วยงานภายนอก
ประกอบกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมีการปรับหลักสูตรที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งทำให้มีความ
จำเป็นต้องมีครทู ั้งสิน้ 72 คนต่อโรงเรยี น แทนที่จะเป็น 60 คนต่อโรงเรียน ตามเกณฑ์การคำนวณทีเ่ คยใช้ใน
ครั้งทผี่ ่านมา

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการดำเนินงานมาแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2554-2561 พบว่าสามารถ
ปรับลด อัตรากำลังสายสนับสนุนลงได้ ซึ่งทำให้อัตรากำลังในภาพรวม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มครู
และกลุ่มสนับสนุน (บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค(2)) ลดลงจำนวน 11 อัตรา ตามรายละเอียด
ในตารางที่ 9

อนึ่ง ในระหว่างท่ดี ำเนินการจดั ตงั้ หน่วยงานเทียบเท่าสำนัก สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพ้นื ฐาน ท่กี ำกับดูแลการดำเนนิ งานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยและการขับเคล่ือนงาน
ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านงานบุคคล ทำนองเดียวกับ อ.ก.ค.ศ. ของกลุ่มโรงเรียน
ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
มีความคล่องตัว สามารถสรรหา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ส่งเสริมความก้าวหนา้ และพฒั นาบุคลากรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในระยะแรกเห็นควรให้จัดตั้ง อ.ก.ค.ศ. กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ทำหน้าทแ่ี ทน ก.ค.ศ. โดยเรง่ ดว่ น และเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลัย ดงั นี้

หน้า 37

ตารางท่ี 6 กรอบอตั รากำลังผู้บรหิ ารและครผู ้สู อนโรงเรยี นวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย

จำนวน

ตำแหนง่ ตำแหนง่ ตาม จำนวนเสนอขอ +เพิ่ม /
มติ ค.ร.ม. อนมุ ตั ิปรับใหม่ - ลด

25 พ.ย. 53 5 -

กลุ่มครูและผู้บรหิ าร 1 -
4 -
1. กล่มุ ผบู้ รหิ าร 5 72 12
26 +9
1.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 11
11 +1
1.2 รองผอู้ ำนวยการสถานศกึ ษา 4 7 +2
7 -
2. กลมุ่ ครูผูส้ อน 60 4 +1
2 -2
2.1 กลมุ่ สาระการเรียนร้วู ิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 17 4 +1
77 +12
2.2 กลมุ่ สาระการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ 11
36 -23
2.3 กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาต่างประเทศ 10 4 -
4 -1
2.4 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 5 2 -2
7 -5
2.5 กลมุ่ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม 7
2 -2
2.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สขุ ศึกษาและพลศึกษา 3 12 -8
1 -2
2.7 กล่มุ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชพี 4 3 -1
1 -2
2.8 กลุม่ สาระการเรียนรู้ศิลปศกึ ษา 3 36 -23

รวมผบู้ ริหารและครผู ู้สอน 65 3 -

กลมุ่ บคุ ลากรสนบั สนุน จา้ งเหมาบรกิ าร -
จา้ งเหมาบรกิ าร -
3. กล่มุ บคุ ลากรทางการศกึ ษา ตามมาตรา 38ค(2) 59 จา้ งเหมาบริการ -
จา้ งเหมาบริการ -
3.1 งานธรุ การ อำนวยการและแผนงาน/วชิ าการ(ทะเบียน/วัดผล) 4 -11
116
3.2 งานพัสดุและการเงนิ 5

3.3 งานเทคโนโลยสี ารสนเทศและประชาสัมพันธ์ 4

3.4 งานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ 12

เทคโนโลยี

3.5 งานวทิ ยบรกิ ารและห้องสมดุ 4

3.6 งานหอพกั 20

3.7 งานโภชนาการ 3

3.8 งานพยาบาล จิตวิทยาและแนะแนวการศกึ ษา 4

3.9 งานอาคารสถานท่ี 3

รวม 59

พนกั งานราชการ

4. พนักงานบริการ (ขับรถ) 3

งานจา้ งเหมาบริการ

5. งานจา้ งเหมาบริการ

5.1 งานซอ่ มบำรุง จ้างเหมาบรกิ าร

5.2 งานประกอบอาหารหรอื จัดเลี้ยง จ้างเหมาบริการ

5.3 งานซักรดี จ้างเหมาบริการ

5.4 งานรักษาความปลอดภยั จ้างเหมาบริการ

รวมทั้งสนิ้ 127

หน้า 38

16. คณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั

ในการดำเนินงานที่ผ่านมา มีคณะกรรมการบรหิ ารโครงการพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย
ใหเ้ ปน็ โรงเรยี นวิทยาศาสตร์ภมู ภิ าค ท่คี ณะรฐั มนตรีเหน็ ชอบใหแ้ ต่งตงั้ เปน็ คณะกรรมการที่ทำหน้าท่ี กำกับดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนนิ งานของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลยั ทง้ั ด้านวิชาการ และด้านอื่น ๆ
ซ่ึงช่วยทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมีผลการดำเนนิ งานอยู่ในระดับดีมาก

ในการดำเนนิ งานในระยะต่อไป จึงเสนอให้มีคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ทำหนา้ ท่ีทำนองเดียวกันกับคณะกรรมการชุดเดิมตอ่ ไป โดยในระยะแรกเสนอใหม้ ีรายช่ือผู้เป็นกรรมการดังกล่าว
ตามรายละเอียดข้างล่าง ทัง้ น้ี ใหส้ ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน สามารถเสนอขอปรับปรุงรายช่ือ
คณะกรรมการฯ ตอ่ รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงศึกษาธกิ ารได้ตามความเหมาะสมในโอกาสตอ่ ไป

คณะกรรมการพฒั นาโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั

1. ผู้ทรงคณุ วุฒิทปี่ รึกษา
1.1 นายกฤษณพงศ์ กรี ติกร
1.2 รองศาสตราจารย์ คณุ หญงิ สมุ ณฑา พรหมบญุ
1.3 นายโกศล เพช็ ร์สุวรรณ์
1.4 นายธงชัย ชวิ ปรีชา
1.5 นายสมเกียรติ ชอบผล
1.6 รองศาสตราจารยพ์ นิ ติ ิ รตะนานุกลู
1.7 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ยุวดี นาคะผดงุ รตั น์
1.8 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร

อำนาจและหนา้ ที่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษา มีหน้าที่ใหค้ ำปรึกษาและขอ้ เสนอแนะ แก่คณะกรรมการพัฒนา

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของ
โรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั บรรลวุ ตั ถุประสงค์และเป้าหมายตามมติคณะรฐั มนตรี

2. คณะกรรมการพัฒนาโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวทิ ยาลัย ประธานกรรมการ
2.1 เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน รองประธานกรรมการ
2.2 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน
ทไ่ี ดร้ ับมอบหมาย กรรมการ
2.3 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.4 ผอู้ ำนวยการสำนกั งานพฒั นาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหง่ ชาติ กรรมการ
2.5 ผ้อู ำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศกึ ษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวตั กรรมแห่งชาติ กรรมการ
2.6 ผอู้ ำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน้า 39

2.7 ผ้อู ำนวยการโรงเรียนมหิดลวทิ ยานุสรณ์ กรรมการ

2.8 เลขาธิการคณะกรรมการขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการ

2.9 ผอู้ ำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กรรมการ

2.10 นางสาวพจนยี ์ เจนพนสั กรรมการ

2.11 ประธานกล่มุ โรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย กรรมการ

2.12 ผูอ้ ำนวยการสำนกั บรหิ ารงานความเปน็ เลิศดา้ นวทิ ยาศาสตรศ์ กึ ษา

สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กรรมการและเลขานกุ าร

อำนาจและหนา้ ทค่ี ณะกรรมการพฒั นาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ให้คณะกรรมการพัฒนาโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิ ยาลยั มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. ใหข้ อ้ เสนอแนะหรือคำแนะนำการบริหารงานและการพฒั นาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

แก่กระทรวงศึกษาธกิ าร สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศกึ ษา และหนว่ ยงานอน่ื ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง

2. กำหนดนโยบายในภาพรวม กรอบและทิศทางการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

เพอื่ ให้การดำเนินงานของแตล่ ะโรงเรยี นเปน็ ไปในทิศทางเดยี วกัน

3. กำหนดแนวทางให้คำแนะนำ ส่งเสริม กำกับ ติดตาม ดูแลและประสานงานกับหน่วยงาน

ท่เี กีย่ วขอ้ ง

4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และจัดทำ

รายงานเสนอรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธิการเพื่อใหข้ อ้ คดิ เห็นทุกปีการศึกษา

5. ให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะ การปรบั ปรงุ แกไ้ ขรายละเอยี ดการดำเนินงานของโรงเรียน

วทิ ยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวิทยาลัยท่ีเก่ยี วขอ้ งกบั มตคิ ณะรัฐมนตรี เพือ่ ให้เกดิ ประสิทธภิ าพและประโยชนส์ งู สุด

6. ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อการนี้ได้ตาม

ความเหมาะสม

7. ดำเนินการเร่ืองอืน่ ๆ ที่ไดร้ ับมอบหมาย

หน้า 40

17. กฎหมายทเี่ กีย่ วขอ้ งกับการจดั การศกึ ษาของโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ฬุ าภรณราชวทิ ยาลัย
การจัดการศึกษาของโรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทาลัยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

การจัดการศึกษาเพ่ือพฒั นาศกั ยภาพมนุษย์ให้เป็นคนท่ีสมบูรณ์และสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
และความถนดั ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทเ่ี ก่ยี วข้อง ดงั น้ี

▪ รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 54 วรรค 4 ไดก้ ำหนดไว้ว่าการศึกษา
ทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน
และมีความรับผดิ ชอบต่อครอบครัว ชมุ ชน สงั คม และประเทศชาติ

▪ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
โดยการพฒั นาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ที่ 3 ได้กำหนดให้มกี ารพัฒนาและเสริมสรา้ งศกั ยภาพ
ทรพั ยากรมนษุ ย์ โดยพฒั นาระบบการเรยี นรทู้ ี่ตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงในศตวรรษท่ี 21 มีการออกแบบ
ระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนา
ระบบการเรียนรู้ตลอดชวี ิตเพ่อื พฒั นาผู้เรียนรวมถงึ การพฒั นา สง่ เสริม และรกั ษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ
ของประเทศใหม้ จี ำนวนเพียงพอที่จะผลกั ดนั การเติบโตบนฐานเทคโนโลยีและนวตั กรรม

▪ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
และแนวทางในการพัฒนาทีเ่ ก่ยี วข้องกับการผลิต พฒั นากำลังคนและการพัฒนาศักยภาพคนของประเทศไว้ใน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 และยุทธศาสตร์ที่ 3 ไว้ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย
และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขนั ของประเทศ กำหนดเป้าหมายใหป้ ระเทศไทยสามารถ
เพ่มิ สัดสว่ นผ้เู รยี นด้านวิทยาศาสตรเ์ พ่ิมมากขึน้ เพิ่มบุคลากรดา้ นการวิจัยและพฒั นาต่อประชากร 10,000 คน
เพ่มิ ข้ึน มีจำนวนนวตั กรรม สง่ิ ประดิษฐ์ท่ไี ด้รับการจดสิทธบิ ตั รและทรัพย์สนิ ทางปัญญาเพมิ่ ขึน้ และยทุ ธศาสตร์
ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้สามารถพัฒนา
ทักษะและคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ

▪ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 วรรค 3
ระบวุ ่า การจัดการศึกษาสำหรับบคุ คลซ่ึงมีความสามารถพเิ ศษ ต้องจดั ด้วยรูปแบบท่ีเหมาะสมโดยคำนึงถึง
ความสามารถของบุคคลน้นั มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยดึ หลักวา่ ผู้เรยี นทกุ คนมีความสามารถ
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบงวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 9 ระบุว่า การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบั ติ
และที่แก้ไขเพิ่มเตมิ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใหยึดเขต
พื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายวาด้วยการอาชีวศึกษา
ใหรฐั มนตรโี ดยคคำแนะนําของสภาการศกึ ษา มีอำนาจประกาศในราชกจิ จานเุ บกษากำหนดเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษา
เพื่อการบริหารและการจดั การศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา

หน้า 41

มัธยมศึกษาในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาการ
กำหนดใหสถานศึกษาแหงนั้นอยู่ในเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษาใด ให้ยึดระดบั การศึกษาของสถานศกึ ษาน้ันเป็นสำคญั
ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนําของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรณีที่เขตพ้นื ที่
การศึกษา อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดใหมีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังตอไปนี้เพื่อ
เสรมิ การบริหารและการจดั การของเขตพ้นื ท่กี ารศึกษาก็ได้

1. การจัดการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานสำหรบั บคุ คลทมี่ คี วามบกพรองทางรา่ งกายกาย จิตใจ สติปญั ญา
อารมณ สังคม การสือ่ สารและการเรียนรู หรอื มรี า่ งกายพกิ ารหรอื ทุพพลภาพ

2. การจดั การศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐานทีจ่ ดั ในรูปแบบการศกึ ษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศยั
3. การจัดการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐานสำหรับบุคคลท่มี คี วามสามารถพเิ ศษ
4. การจัดการศึกษาทางไกล และการจดั การศึกษาที่ใหบริการในหลายเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษา

จากมาตรา 37 (3) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ยังขาดการ
สง่ เสริม สนบั สนุน และพัฒนาในรปู แบบทเ่ี หมาะสม เช่น

1. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพรองทางร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา
อารมณ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ มีสำนักบริหารงานการศึกษา
พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐานกำกับดูแล

2. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
มสี ำนกั งานสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร กำกบั ดูแล

3. การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ใหบริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
มีสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพ
การศึกษาดว้ ยเทคโนโลยกี ารศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน และมลู นิธิการศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม กำกบั ดูแล

สำหรับการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ยังไม่มีหน่วยงานระดับสำนักหรือ
เทียบเท่ารับผดิ ชอบภารกจิ

▪ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543 กำหนดเหตุผลในการประกาศ
ใชพ้ ระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คอื โดยท่ีปจั จุบนั ประเทศไทยขาดแคลนนักวจิ ยั พัฒนาและนกั ประดิษฐค์ ดิ คน้ ทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียน
ตลอดจนมีการจัดตั้งโรงเรยี นมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรยี นจุฬาภรณราชวิทยาลัย ซงึ่ เป็นโรงเรียนที่เปิด
สอนเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยไม่มีการเปิดสอนสายศิลป์และสายอื่น จำนวน 13 แห่ง ข้ึน
เพือ่ จดั การศกึ ษาให้แกน่ ักเรียน แตห่ ลกั สูตรและการจดั การเรียนการสอนกย็ ังคงเป็นเช่นเดยี วกับโรงเรียนท่ัวไป
ขณะนี้ รฐั บาลมนี โยบายท่จี ะให้เด็กและเยาวชนทมี่ คี วามสามารถพเิ ศษทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละคณิตศาสตร์ได้
พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการและหลักสูตรที่มีลักษณะพิเศษอันแตกต่างไปจากการเรียน
การสอนในโรงเรยี นปกติ ดังนน้ั สมควรใหม้ ีการจดั ให้มีโรงเรยี นวิทยาศาสตร์ข้นึ โดยเฉพาะ เพ่ือใหเ้ ป็นโรงเรียน

หน้า 42

ที่จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นให้แก่นักเรียนที่มคี วามสามารถเปน็ พิเศษในทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการเตรยี มพื้นฐานสำหรับบคุ คลที่มีคุณภาพสูงเพ่ือการศึกษาในระดับอดุ มศึกษาใน
การท่ีจะสร้างนกั วชิ าการอันยอดเย่ยี มของประเทศ และเพือ่ ท่จี ะให้โรงเรียนท่จี ัดตัง้ ขน้ึ มีการบริหารและการ
จัดการเรียนการสอนที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้เป็นองค์การ
มหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน จึงได้นำโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาจัดตั้งเป็นโรงเรียน
วทิ ยาศาสตร์เพอื่ เปน็ ต้นแบบแก่โรงเรยี นในลักษณะดังกล่าว จึงจำเปน็ ตอ้ งตราพระราชกฤษฎีกานี้

การจดั การศึกษาในกลุ่มโรงเรยี นวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัย จึงเป็นการจดั การศึกษาที่เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายท่ีมอี ยใู่ นปัจจุบนั หรอื กฎหมายที่เก่ียวขอ้ งกับการศกึ ษาทก่ี ำลังจะเกิดขนึ้ ในอนาคต
อาทิ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... ที่ยังมีสาระสำคัญที่จะมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่ตอบสนอง
ความต้องการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายที่จะให้มีการบริหารจัดการสถานศึกษา
ที่มีความพร้อมให้มีความเป็นอิสระคล่องตัวมากขึ้น ประกอบกับความต้องการในการพัฒนากำลังคน
ดา้ นวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีเพือ่ พฒั นาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จฬุ าภรณราชวิทยาจงึ เปน็ ภารกิจทส่ี ำคญั ในการขบั เคล่อื นการพฒั นาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

18. สาระสำคัญมตคิ ณะรัฐมนตรที เ่ี กย่ี วกบั โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย

18.1 มติคณะรฐั มนตรวี นั ที่ 25 พฤศจิกายน 2553
วนั พฤหัสบดีท่ี 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3

ถนนอ่ทู องใน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชวี ะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชมุ คณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคญั ได้ ดังนี้
เรอ่ื ง โครงการพัฒนาโรงเรยี นจุฬาภรณราชวิทยาลัยใหเ้ ปน็ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์ภมู ภิ าคเพือ่ กระจายโอกาส
สำหรับนักเรียนผมู้ ีความสามารถพเิ ศษดา้ นคณิตศาสตร์และวทิ ยาศาสตร์

คณะรัฐมนตรอี นุมัตติ ามทกี่ ระทรวงศึกษาธกิ ารเสนอ ดงั นี้
1. อนุมัติให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคมีภารกิจหน้าที่
ในการจดั การศกึ ษาสำหรับผ้มู ีความสามารถพเิ ศษดา้ นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตรร์ ะดับช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 - 6
ในลักษณะของโรงเรียนประจำ
2. อนุมัติโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
เพอ่ื กระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผ้มู คี วามสามารถพิเศษด้านคณติ ศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3. อนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทาง ให้คำแนะนำ
สง่ เสริมการดำเนนิ งานของโรงเรียน และประสานหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องสำหรบั ค่าใช้จา่ ยในการดำเนินโครงการ
ดงั กล่าวในปงี บประมาณ พ.ศ. 2554 ซึง่ เปน็ ค่าใชจ้ ่ายสำหรับนักเรียนประจำและ คา่ ใชจ้ ่ายในการจัดการเรียน
การสอน เห็นควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวในอัตราคนละ 84,000 บาทต่อปี ตามอัตราที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ได้ให้การสนับสนุนห้องเรียนวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในปัจจุบัน สำหรับในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 (พฤษภาคม - กันยายน 2554) ให้สำนักงานคณะกรรมการ

หน้า 43

การศึกษาขั้นพื้นฐานปรบั แผนการปฏิบัตงิ านและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จากโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ที่ได้รับมาดำเนินการก่อน และเสนอขอตัง้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อ ๆ ไป ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งเป็นไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงศึกษาธิการรับ ความเห็นของกระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ไปพจิ ารณาดำเนินการต่อไปดว้ ย

สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงศึกษาธกิ าร รายงานวา่
1. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มีอยู่ 12 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
เป็นโรงเรียนที่มีจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งเป็นพิเศษ นอกจากจัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสท่ี
สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลยั ลักษณ์ อัครราชกมุ ารี ทรงเจริญพระชนมายุ 3 รอบแลว้ ยงั มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้โรงเรยี นจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
มภี ารกจิ ในการจัดการศึกษาสำหรบั ผมู้ ีความสามารถพิเศษดา้ นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดบั มธั ยมศึกษา
ปีที่ 1 - 6 ในลักษณะโรงเรียนประจำ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราช
วิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อการกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ
ดา้ นคณติ ศาสตรแ์ ละวิทยาศาสตร์ขึน้ โดยโครงการดังกลา่ วมสี าระสำคญั สรปุ ได้ ดังน้ี

1.1 หลักการและเหตุผล : เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์อย่างถูกทางและเหมาะสมตั้งแต่เยาว์วัย และกระจายการจัดการศึกษาสำหรับผู้มี
ความสามารถพิเศษให้ทั่วทกุ ภูมิภาค เพื่อให้ผู้มคี วามสามารถพิเศษโดยเฉพาะผู้ท่ีขาดแคลนทุนทรัพย์และขาด
โอกาสได้รับการพัฒนาตนเองอยา่ งเต็มศกั ยภาพ

1.2 จุดมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียน
วิทยาศาสตร์ภูมิภาคมีคุณภาพระดับเดียวกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ (World Class)
มีภารกิจในการจัดการศึกษาสำหรับ ผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในลักษณะของโรงเรียนประจำ และเน้นการให้โอกาสกับผู้มีความสามารถพิเศษ
ทีข่ าดแคลนทุนทรพั ย์

1.3 พื้นที่ให้บริการ : ปัจจุบันโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มี 12 แห่ง รับนักเรียน
จากจังหวัดต่าง ๆ ดงั รายละเอียดในตาราง ซ่ึงตอ่ ไปอาจเปลยี่ นแปลงได้ตามความเหมาะสม

หนา้ 44

ตารางท่ี 7 พ้นื ทใี่ หบ้ รกิ ารปัจจบุ ันโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แหง่

ท่ี โรงเรียนจุฬาภรณ จังหวัดที่อยู่ในพน้ื ที่บริการ
ราชวทิ ยาลยั

1 นครศรธี รรมราช นครศรธี รรมราช สงขลา ชุมพร พัทลุง สรุ าษฎรธ์ านี

2 เชยี งราย เชยี งราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง

3 ตรงั ตรัง ภูเกต็ กระบี่ พงั งา ระนอง

4 บุรรี มั ย์ บรุ รี ัมย์ นครราชสมี า ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สรุ นิ ทร์ มหาสารคาม

5 มกุ ดาหาร มุกดาหาร อุบลราชธานี กาฬสินธ์ุ นครพนม ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจรญิ

6 สตูล สตูล ยะลา นราธิวาส ปตั ตานี

7 เพชรบรุ ี เพชรบรุ ี ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบครี ขี ันธ์ สมทุ รสงคราม สุพรรณบุรี

8 เลย เลย อดุ รธานี ขอนแกน่ สกลนคร หนองคาย บงึ กาฬ หนองบัวลำภู

9 ลพบุรี ลพบรุ ี ชยั นาท สระบรุ ี พระนครศรีอยุธยา สงิ หบ์ รุ ี อ่างทอง อุทัยธานี

10 พิษณุโลก พิษณโุ ลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พจิ ิตร เพชรบูรณ์ สโุ ขทัย อุตรดติ ถ์

11 ปทุมธานี ปทุมธานี นครปฐม นนทบรุ ี สมุทรสาคร สมุทรปราการ กรงุ เทพมหานคร

12 ชลบุรี ชลบุรี จันทบรุ ี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแกว้

1.4 ทรัพยากรสนบั สนุน : โดยใช้เกณฑ์ของโรงเรียนมหิดลวทิ ยานุสรณ์ ของโครงการพฒั นา
และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ (พสวท.) และของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติเป็นบรรทัดฐาน
ในการกำหนดทรัพยากรสนับสนุนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ดงั น้ี ค่าใชจ้ า่ ยสำหรับนักเรียน
ในการเป็นนักเรียนประจำ ค่าใช้จ่ายสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
และกจิ กรรมการเรยี นการสอนที่พัฒนาข้ึนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษเป็นการเฉพาะ คา่ ใช้จ่ายสำหรับการ
ปรับปรุงหอพกั อาคาร สถานท่ี ห้องปฏิบัติการ และสอ่ื การเรยี น การสอน สำหรับนักเรียนผู้มคี วามสามารถพิเศษ

1.5 ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2554 - 2557 ทั้งนี้ กำหนดให้มีการประเมินผล
ในภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2554 เพอ่ื เปน็ ขอ้ มลู ในการพจิ ารณารบั นักเรียนปตี อ่ ๆ ไป

1.6 คณะกรรมการบรหิ ารโครงการ : เพ่ือให้การดำเนนิ งานของโรงเรยี นวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
บรรลุ วัตถุประสงคท์ ่ีตัง้ ไว้ จำเป็นตอ้ งมีคณะกรรมการท่แี ต่งต้งั โดยคณะรัฐมนตรีเป็นกรรมการบรหิ ารโครงการ
เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทาง ให้คำแนะนำ ส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนและประสานหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นประธานกรรมการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการอื่นอกี
16 คน โดยมีอำนาจหน้าท่ี ดังนี้

1.6.1 กำหนดนโยบายในภาพรวม กรอบและทิศทางการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
ใหเ้ ป็นโรงเรยี นวทิ ยาศาสตรภ์ มู ภิ าคเพ่อื ให้การดำเนนิ การของแต่ละโรงเรียนเป็นไปในทศิ ทางเดยี วกัน

หนา้ 45

1.6.2 กำหนดแนวทาง ให้คำแนะนำ ส่งเสริม กำกับติดตาม ดูแลและประสานงาน
กบั หน่วยงานทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

1.6.3 ติดตาม ประเมินผลการดำเนนิ งานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จดั ทำรายงาน
ผลการติดตามประเมินผลเสนอรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธิการเพ่ือให้ข้อคิดเห็นทกุ ปกี ารศึกษา

1.6.4 ใหค้ ณะกรรมการมีอำนาจในการต้ังคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพ่ือการนี้ได้
ตามความเหมาะสม

1.7 วัตถุประสงค์โครงการ : 1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง
เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 2) เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ซ่งึ มกี ระจายอยใู่ นทุก ภมู ิภาคท่ัวประเทศ โดยเน้นการให้โอกาสกบั ผมู้ คี วามสามารถพเิ ศษทขี่ าดแคลนทุนทรัพย์
ในภมู ภิ าคนน้ั ๆ 3) เพ่ือเปน็ ฐานในการผลติ และพัฒนากำลงั คนด้านวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตั กรรมให้มี
ปริมาณและคณุ ภาพสอดคล้องกับความตอ้ งการของประเทศ ทีส่ ามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพ่ือสร้างความรู้
และนวัตกรรมได้ 4) เพ่อื เป็นต้นแบบและกระตุน้ การพัฒนาคุณภาพการจดั การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตรใ์ ห้มีประสทิ ธิภาพมากข้ึน

18.2 มตคิ ณะรฐั มนตรวี ันที่ 5 มีนาคม 2562
วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชมุ คณะรฐั มนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังน้ี
เรือ่ ง การพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตรจ์ ุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไป

คณะรัฐมนตรมี ีมตริ บั ทราบการดำเนนิ งานและการพัฒนากลุ่มโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัย
(ชื่อเดิมโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย) ในช่วงระยะเวลาต่อไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สรปุ สาระสำคญั ได้ ดงั นี้

1. คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 มีมติอนุมัติให้โรงเรียน
จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีภารกิจหน้าที่ในการจัดการศึกษาสำหรับ
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในลักษณะของ
โรงเรียนประจำ โดยอนุมัติโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
เพื่อกระจายโอกาสสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และจัดตั้ง
คณะกรรมการบริหารโครงการทำหน้าที่กำหนดแนวทาง ให้คำแนะนำ ส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียน
โดย ศธ. ได้ประกาศจดั ตัง้ โรงเรยี นจุฬาภรณราชวิทยาลยั ขึน้ 12 แหง่ กระจายอยูใ่ นภูมภิ าคต่าง ๆ ท่ัวประเทศ
ใช้งบประมาณจากงบกลางจำนวน 27.072 ล้านบาท (2.256 ล้านบาท/โรงเรียน) ระยะเวลาดำเนินการ
ตงั้ แตป่ งี บประมาณ พ.ศ. 2554 – 2561 ท้ังน้ี สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟ้าจฬุ าภรณวลัยลกั ษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย” ตามด้วยชื่อจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2561
พระราชทานช่ือโรงเรียนใหมว่ ่า “โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลยั ”

หน้า 46

2. โครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ตามมติ
คณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 (ตามข้อ 1.) ได้สิ้นสุดลงแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานผลการ
ดำเนินโครงการของกลุ่มโรงเรยี นวิทยาศาสตร์จฬุ าภรณราชวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2554 – 2561 พบวา่ ได้ผลดี
เป็นอย่างยิ่ง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเตรียมความพร้อมกำลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาส ตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตรแ์ ละคณติ ศาสตร์ (STEM) เพื่อเพิม่ ขดี ความสามารถในการแข่งขนั ของประเทศ ตามยุทธศาสตร์
ชาติ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0 รวมถงึ เป็นการเตรยี มกำลังคนระดบั สงู ทางด้าน STEM เพ่ือสรา้ งความ
มั่นใจให้กับกลุ่มผู้ลงทุนจากประเทศต่าง ๆ ที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม 4.0 ในโครงการพัฒนาระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และโครงการอน่ื ๆ ของประเทศ โดยมีผลการดำเนินงาน
ท่ีสำคัญ เช่น

2.1 ผลงานวิจยั ของนักเรียนทีไ่ ดร้ ับการคัดเลือกไปนำเสนอในเวทีนานาชาติและได้รับรางวัล
ในปี 2560 เช่น รางวัล Grand Award จากเวที International Science and Engineering Fair, USA จำนวน
1 รางวัล (จากผู้เข้าแข่งขัน 132 ประเทศ) รางวัลชนะเลิศ จำนวน 28 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
จำนวน 10 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 11 รางวัล ซึ่งได้จากเวทีนานาชาติ เช่น Seoul
International Invention Fair (South Korea), International Exhibition for Young Inventors (Japan)
และ Hong Kong International Invention Innovation and Entrepreneurship Exhibition (Hong Kong) เปน็ ต้น

2.2 นักเรียนทไ่ี ดร้ บั ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศจากหนว่ ยงานท้ังในประเทศและต่างประเทศ
ตงั้ แต่ปีการศกึ ษา 2558 – 2560 ไดแ้ ก่

หนว่ ย : คน

ชอื่ ทนุ /มหาวิทยาลยั ชัน้ นำของนานาชาติ จำนวนผู้ได้รบั ทนุ
รวม

2558 2559 2560

1. ทุน 1 อำเภอ 1 ทนุ 4 หมดโครงการฯ 4
2. ทนุ พัฒนาและสง่ เสริมผมู้ ีความสามารถพิเศษทาง 1 - -1
วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทนุ พสวท.)
3. ทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) - 3 47
1 1 24
4. ทนุ กระทรวงวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี - 1 -1
- 1 34
5. ทนุ รัฐบาลจีน - 1 34
- - 11
6. ทุน Belt & Road (Thailand)

7. ทนุ City University of Hong Kong

8. ศนู ยแ์ นะแนวการศึกษาต่อประเทศจีน

หน้า 47

ช่ือทุน/มหาวิทยาลยั ชน้ั นำของนานาชาติ จำนวนผูไ้ ดร้ ับทุน รวม
2558 2559 2560 1
9. ทนุ Chongqing Municipal Government Mayor
Scholarship -1-
10. ทนุ รฐั บาลญีป่ นุ่ (ทนุ Monbukagakusho : MEXT)
11. ทนุ มหาวิทยาลัย Tokyo International University 1 3 26
- - 11
รวมทัง้ ส้นิ 7 11 16 34

2.3 ร้อยละ (เปอร์เซ็นไทล์) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET)
ปกี ารศึกษา 2558 – 2560 ของนักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 3 และนกั เรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 6 ไดแ้ ก่

วชิ า กลมุ่ โรงเรียนวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียนสงั กัดสำนักงาน
จฬุ าภรณราชวทิ ยาลยั คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน
คณิตศาสตร์
วทิ ยาศาสตร์ 2558 2559 2560 ทง้ั หมด
คณิตศาสตร์ ชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี 3
วทิ ยาศาสตร์ 2558 2559 2560
99.61 99.82 99.89
99.02 99.26 99.24 50.05 51.38 51.39
50.75 50.56 50.61
มัธยมศึกษาปีที่ 6
95.95 95.76 97.74 50.16 51.96 52.07
93.05 93.25 96.02 50.71 50.05 50.25

หน้า 48


Click to View FlipBook Version