The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โคราชจ.นครราชสีมา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mook.mookky1020, 2021-01-24 04:03:51

โคราชจ.นครราชสีมา

โคราชจ.นครราชสีมา

การขอจัดตง้ั อุทยานธรณีโคราชเป็นอทุ ยานธรณีโลกยเู นสโก

-----------------------------------------------------

หลกั การและเหตผุ ล

อุทยานธรณีโคราช เร่ิมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและ
ทรัพยากรธรณภี าคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลมิ พระเกียรติ เสนอโครงการพัฒนาจัดตั้งอุทยานธรณีนครชัยบุรินทร์
เพ่ือขอรับการจัดสรรงบประมาณจากท่ีประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานท่ี เมื่อวันท่ี 30 กรกฎาคม 2555 ณ
จงั หวัดสรุ ินทร์ สาหรบั จดั ทาแผนบริหารจัดการอุทยานธรณี ซง่ึ ทป่ี ระชุมคณะรัฐมนตรี มมี ติเหน็ ชอบในหลักการ
แต่ในข้ันตอนการจัดสรรงบประมาณ ยังไม่ได้รับการจัดสรร จวบจนเม่ือทางสถาบันวจิ ัยไม้กลายเปน็ หนิ ฯ เชิญ
Prof. Dr. Nickolas Zouros, Prof. Zhang Jianping และ Prof. Dr. Patrick McKeever นายกสมาคมอุทยาน
ธรณีโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานธรณีของยูเนสโกขณะนั้น มาศึกษาแหล่งธรณีวิทยาและพิพิธภัณฑ์ในพ้ืนท่ี
จังหวัดนครราชสีมา 2 ครั้งใน พ.ศ. 2558 คณะผู้นาดังกล่าวได้เสนอแนะให้ลดขนาดพ้ืนที่ลงเพ่ือประสิทธิภาพ
ในการบริหารจัดการ โดยให้เหลือพ้ืนที่เพียง 5 อาเภอในเขตลุ่มน้าลาตะคองของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งท่ี
ประชุมคณะกรรมการอานวยการอุทยานธรณีท่ีจังหวัดนครราชสีมาแต่งตั้งเห็นด้วย จังหวัดจึงได้ประกาศจัดต้ัง
พ้ืนท่ีดังกล่าวเป็นอุทยานธรณีโคราชข้ึนในวันท่ี 29 กันยายน พ.ศ. 2558 และแต่งต้ังคณะผู้บริหารอุทยานธรณี
ใน พ.ศ. 2559 พร้อมกับมีการจัดทาแผนบรหิ ารจดั การอุทยานธรณีและทากิจกรรมตา่ งๆ ตามแผนทั้งในระดบั
ทอ้ งถ่นิ ประเทศและต่างประเทศตลอดมา จนผ่านการประเมินการจัดตงั้ เป็นอุทยานธรณีประเทศหรือ National
Geopark จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เม่ือวันท่ี 24 สิงหาคม 2561 และเพื่อยกระดับ
คุณภาพสู่สากล โดยขอรับการประเมินเป็นอุทยานธรณีโลกยูเนสโก จึงจาเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีเพ่ือการแจ้งความจานงสมัครต่อยูเนสโกภายในเดือนมิถุนายน และส่งเอกสารสมัครภายในเดือน
พฤศจกิ ายน 2562 ท้งั นี้ ตามเน้ือหาสาคญั ของเอกสารชดุ น้ี

ก. ขอ้ มลู ทั่วไปของพ้ืนท่ีอทุ ยานธรณี
ก. 1 ชื่ออุทยานธรณีที่เสนอ คือ อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark) เป็นช่ือ

อุทยานธรณี ด้วยเหตผุ ล 3 ประการ คือ 1) ในทางธรณวี ิทยา “โคราช” หรือ “Khorat” เป็นชื่อของทีร่ าบสูงโคราช
(Khorat Plateau) และกลุ่มหินโคราช (Khorat Group) ท่ีเป็นท่ีตั้งและเป็นชุดชั้นหินฐานของพ้ืนท่ีอุทยานธรณี

1

โคราช 2) เป็นชอ่ื ตามราชบัณฑติ ยสถานและถูกใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ระดบั สกลุ และชนิดของฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่
ของโลกหลายชนิดในอุทยานธรณี และ 3) เป็นช่ือเดิมของเมืองนครราชสีมา ก่อนย้ายมาตั้งเมืองใหม่ในสมัยพระ
นารายณม์ หาราช คือเมอื งนครราชสีมาปัจจุบนั แตส่ าหรับคนทว่ั ไป ก็ยังเรียกว่า “เมืองโคราช”

ตราสัญลักษณ์ของอุทยานธรณีโคราชเป็นพ้ืนท่ีวงกลมมีภาพเทือกเขาเควสตาซี่งเป็นลักษณะธรณี
สัณฐานที่โดดเด่นของพื้นที่และมีสัญลักษณ์ธารน้าไหล คือ ลาตะคองไหลผ่านชอ่ งเขาเควสตา ด้านบนมีภาพชา้ ง
สีง่ าซงึ่ เป็นตวั แทนและเป็นหน่ึงในสิบสกลุ ของซากดึกดาบรรพ์ชา้ งที่พบในพ้ืนที่ซ่ึงได้รับการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์
เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ

ก. 2 สถานที่ตงั้ อุทยานธรณีโคราช มที ่ีตั้งตามพกิ ัดภมู ศิ าสตรท์ ่ลี ะติจูด 14 องศา 40 ลปิ ดา 48 ฟลิ ิปดา
เหนือ ถึง 15 องศา 8 ลปิ ดา 24 ฟิลิปดา เหนือ และลองจิจูดท่ี 101 องศา 23 ลปิ ดา 46 ฟิลปิ ดา ตะวนั ออก ถึง
102 องศา 23 ลิปดา 53 ฟิลปิ ดา ตะวนั ออก อยูห่ า่ งจากกรุงเทพมหานคร 200 กิโลเมตร

ก. 3 พ้ืนท่ี อุทยานธรณีโคราช มีจานวนพ้ืนที่ 3,167.38 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 15.22 ของพื้นที่
จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยพ้ืนท่ี 5 อาเภอ ได้แก่ อาเภอสีค้ิว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมาและ
อาเภอเฉลมิ พระเกยี รติ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับอาเภออ่ืน ๆ ภายในจังหวัด หรือจงั หวัดอืน่ ๆ ตามแผนท่แี สดงที่ตั้ง

แผนท่ีจงั หวดั นครราชสีมาแสดงพ้นื ที่อทุ ยานธรณโี คราช
ก. 4 ลักษณะทางภูมิศาสตรก์ ายภาพและภมู ิศาสตร์มนุษย์ อุทยานธรณีโคราช เป็นพื้นที่เกือบทั้งหมด
ของลุ่มน้าลาตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง มีความสูงจากระดับน้าทะเลปานกลางตั้งแต่ 160 – 760 เมตร
มลี ักษณะภูมปิ ระเทศที่สามารถจาแนกได้เป็น 3 เขต คอื
1) เขตพน้ื ที่ภูเขาและเนินเขาเควสตาหรอื เขารปู อโี ต้ทางตะวันตกและตะวนั ตกเฉยี งใต้

2

2) เขตพ้นื ทล่ี อนลาดทางตอนกลางและตะวันออก
3) เขตพ้นื ทีร่ าบล่มุ ทางตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

แผนที่อุทยานธรณโี คราชแสดงลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของอุทยานธรณี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือใน
ฤดูหนาว และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ย
ตลอดปี 27.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่าสุดและสูงสุดเฉล่ีย 22.7 และ 33.0 องศาเซลเซียสตามลาดับ ส่วน
ปริมาณฝนเฉลย่ี ตลอดปี 1,019.2 มิลลเิ มตร โดยตกมากทสี่ ดุ ในเดือนกนั ยายน (202.3 มลิ ลิเมตร)
ลกั ษณะดิน สว่ นใหญเ่ ป็นดนิ ร่วนปนทราย ความอุดมสมบรู ณ์ตามธรรมชาติตา่ ยกเว้นบรเิ วณที่ราบลุ่ม
ของลาตะคองและสาขาที่เป็นดินร่วนถึงดินเหนียว ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง นอกจากนี้ ยังมีพื้นท่ีดิน
เค็ม กระจายอยใู่ นพ้ืนทีร่ าบของอาเภอขามทะเลสอและทางตอนเหนือของอาเภอเมืองฯ
พืชพรรณธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรังส่วนน้อยเป็นป่าดิบแล้งตามภูเขา โดยป่าจะอยู่ในเขตป่า
สงวนแห่งชาติของทุกอาเภอ สัตว์ป่าประจาถิ่นและพบเป็นชนิดใหม่ของโลกในอาเภอสีค้ิว คือ จ้ิงเหลนเรียว
โคราช นอกจากนี้ ยังพบกระรอกขาวฝูงใหญ่ท่ีสุดในประเทศไทยท่ีวัดป่าภูผาสูง อาเภอสูงเนิน แสดงถึงระบบ
นิเวศปา่ ดิบแล้งทส่ี มบูรณใ์ นบรเิ วณดงั กล่าว
แหล่งน้าผิวดินท่ีสาคัญ คือ อ่างเก็บน้าลาตะคอง (ความจุ 310 ล้าน ลบ.ม.) อ่างเก็บน้าซับประดู่ (44
ล้าน ลบ.ม.) อ่างเก็บน้าห้วยยาง (15.8 ล้าน ลบ.ม.) และแหล่งน้าผิวดินตามธรรมชาติ เช่น ลาตะคองและสาขา
บึงพุดซา เป็นต้น ส่วนแหล่งน้าใต้ดินหรือน้าบาดาลสาคัญที่มีปริมาณมากและให้น้าจืด คือ แหล่งน้าบาดาล
บริเวณดา้ นใตเ้ ขตเทศบาลนครนครราชสีมา (ให้น้ามากกวา่ 20 ลบ.ม./ชม.)

3

การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเกษตรกรรม (67.96%) ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกพืชไร่ เช่น มัน
สาปะหลัง ออ้ ย ข้าวโพด และปลกู ข้าว รองลงมา คือ พน้ื ท่ีชมุ ชนและเมอื ง (12.57%) และพื้นท่ีป่าไม้ (12.04%)

ประชากรในอุทยานธรณีโคราชใน พ.ศ. 2561 มีจานวนทั้งหมด 741,239 คน ความหนาแน่นของ
ประชากรเท่ากับ 234.03 คนต่อตารางกิโลเมตร (ของจังหวัดนครราชสีมา 129.13 คน) โดยอาเภอเมืองฯ มี
จานวนประชากรมากท่ีสุด (464,939 คน) รองลงมา คือ อาเภอสีค้ิว สูงเนิน เฉลิมพระเกียรติ และอาเภอขาม
ทะเลสอ มีจานวนประชากรน้อยที่สดุ (29,967 คน)

ชาติพันธทุ์ ส่ี าคัญของประชากรในอุทยานธรณีซึ่งใชภ้ าษาไทยเกือบทั้งหมด และนับถอื พุทธศาสนาเป็น
ส่วนใหญ่ ไดแ้ ก่ ไทโคราช ไทอสี าน ไทจนี ไท-ยวน ไทซิกข์ ไทมสุ ลิม โดยกลมุ่ ใหญข่ องไทดังกล่าวซึ่งมีกระจายอยู่
ทุกอาเภอ คอื ไทโคราชท่ีใชภ้ าษาโคราช เพลงโคราช มบี ้านแบบ “เรอื นโคราช” และกลมุ่ ท่ียังเหนยี วแนน่ ในการ
รักษาวฒั นธรรมดง้ั เดิม คอื ไท-ยวน ในอาเภอสีค้วิ ทเี่ ปน็ ชาวโยนกนคร (เชยี งแสน) มากอ่ น

วิถีชีวิตที่สาคัญของประชากรด้านเศรษฐกิจ คือ การเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ การเล้ียงสัตว์พวกโคเน้ือ
โคนม กระบือ สุกร เป็ด ไก่ แต่ในเขตเทศบาล การพาณิชย์ การบริการ และการทางานในภาครัฐ เป็นอาชีพ
สาคัญ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาซึ่งมีประชากรมากที่สุดในเขตเมืองของภาคอีสาน มี
ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ระดับประเทศ นอกเหนือจากห้างในท้องถ่ิน (คลังพลาซ่า) มาเปิดให้บริการตลอด
ระยะทาง 2 กิโลเมตรของถนนมิตรภาพ เช่น เดอะมอลล์ โลตัส บ๊ิกซี เทอร์มินอล 21 แม็คโคร เซ็นทรัลพลาซ่า
ส่วนในเขตชานเมือง ภาคอุตสาหกรรมจะรองรับการใช้แรงงานจานวนมาก โดยในเขตอาเภอสูงเนิน จะมีเขต
ประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา มีโรงงานอุตสาหกรรม 123 แห่ง บริษัทที่สาคัญ คือ ซีเกท
เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จากัด บริษัท แหลมทอง จากัดและกลุ่มบริษัทในเครือ ในเขตอาเภอเมืองฯ มีนิคม
อตุ สาหกรรมสรุ นารี ทม่ี ผี ู้ประกอบการโรงงาน 645 บริษทั สว่ นใหญ่จะเปน็ โรงงานไทย-ญี่ปนุ่

แผนท่อี ทุ ยานธรณีโคราชแสดงระบบทางน้าในพ้นื ท่ี

4

แผนที่อุทยานธรณีโคราชแสดงการจาแนกพื้นท่ีการใช้ประโยชน์ท่ดี นิ

แผนทอี่ ุทยานธรณโี คราชแสดงเส้นทางคมนาคมสายหลัก
ประเพณีที่สาคัญในเขตอุทยานธรณี คือ 1) งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี 2) งานแห่เทียน
พรรษาโคราช 3) ประเพณีกนิ เขา่ ค่าของดเี มอื งสูงเนิน
การคมนาคมขนส่ง จัดเป็นบริการจากภาครัฐในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางบกของ
ภาคอีสาน และเป็นประตูสอู่ ีสานและอินโดจีน โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และหมายเลข

5

304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) และทางรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และ
กรุงเทพฯ-หนองคาย ปัจจุบันกาลังก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา และใน พ.ศ. 2564 จะมี
รถไฟทางคู่ และรถไฟความเรว็ สูงสายอีสาน ดา้ นการขนสง่ ทางอากาศ ท่าอากาศยานนครราชสีมา เคยใหบ้ ริการ
โดยบริษัทนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดสายการบินเส้นทางโคราช-เชียงใหม่ และโคราช-ภูเก็ต ตั้งแต่ 3 ธันวาคม 2560
และเสน้ ทางโคราช-ดอนเมือง ต้งั แต่ 22 ธนั วาคม 2560 แตไ่ ดห้ ยดุ ใหบ้ ริการในเดือนเมษายน 2561 คาดวา่ จะมี
สายการบนิ อืน่ มาเปิดเส้นทางการบินตอ่ ไป

สถานท่ีท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณีท่ีมีอยู่เดิม ท่ีสาคัญ ได้แก่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สวนสัตว์
นครราชสีมา วัดหลวงพ่อโต พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ น้าตกวังเณร เขื่อนลาตะคอง อ่างเก็บน้าซับประดู่
ประสาทเมอื งแขก เมืองเสมา ตลาดเซฟวนั วัดศาลาลอย ปราสาทหนิ พนมวัน

ก. 5 องคก์ รรับผิดชอบและโครงสร้างการบรหิ ารจัดการ
ก. 5.1 แผนภูมอิ งค์กรบรหิ ารจดั การอุทยานธรณีโคราชในระดับจงั หวัด

6

ก. 5.2 ผังโครงสร้างการบริหารภายในอุทยานธรณีโคราช

7

ก. 6 บุคคลท่ีติดต่อได้เกี่ยวกับการสมัคร การติดต่อขอข้อมูลเพ่ิมเติมใด ๆ เก่ียวกับอุทยานธรณีโคราช
สามารถตดิ ต่อไดโ้ ดยตรงท่ผี ู้จัดการอทุ ยานธรณีโคราช คอื

ดร. วิไลลกั ษณ์ นาคศรี (ผ้จู ัดการ)
สานกั งานอุทยานธรณโี คราช
184 ถนนมติ รภาพ-หนองปลิง หมู่ 7 บ้านโกรกเดอื นห้า ตาบลสรุ นารี อาเภอเมืองนครราชสมี า
จงั หวัดนครรราชสมี า 30000
โทรศัพท์ 044 247 389 โทรสาร 044 247 389 โทรศัพท์มือถือ 089 490 5900
อเี มล : [email protected]

ก. 7 เวบ็ ไซต์
- http://www.khoratgeopark.com/

ก. 8 ส่ือสงั คม
- https://www.facebook.com/KhoratGeopark
- https://www.youtube.com/channel/UCTrQAR2vOpVwVqLKGQQmWUw

ข. รายการตรวจสอบเอกสาร
✓ จดหมายแสดงความจานง (ส่งก่อนใบสมัคร ภายในวนั ท่ี 1 มิถุนายน)
✓ ขอ้ มลู เอกสารใบสมคั ร
✓ แบบประเมนิ ตนเอง
✓ ภาคผนวกของขอ้ มูลเอกสาร :
ภาคผนวก 1: เอกสารแบบประเมินตนเอง
ภาคผนวก 2: ข้อมูลเพ่ิมเติมแยกจากสว่ น จ 1.1
ภาคผนวก 3: หนังสอื รบั รองจากหน่วยงานระดบั ภูมภิ าคและท้องถ่ิน และหนงั สอื
สนับสนุนจากคณะกรรมการแห่งชาตวิ ่าด้วยการศกึ ษา วิทยาศาสตร์และ
วัฒนธรรมแหง่ สหประชาชาติประจาประเทศไทย
ภาคผนวก 4: แผนท่ีอุทยานธรณโี คราชขนาดมาตราส่วนใหญ่
ภาคผนวก 5: บทสรปุ ยอ่ ทางธรณวี ิทยาและภูมิศาสตร์ ความยาว 1 หนา้ กระดาษ
ภาคผนวก 6: บรรรณานุกรมด้านวทิ ยาศาสตร์โลกของพนื้ ทที่ ่ีเป็นจดุ เดน่ และตีพมิ พ์ใน
ระดับนานาชาติ

8

.ค. สถานท่ตี ้ังของพืน้ ท่ี
แสดงเปน็ แผนที่ในภาคผนวก 4 โดยใช้ค่าพิกัดทางภมู ิศาสตร์ latitude/longitude และใชร้ ะบบอา้ งองิ

มาตรฐานขอ้ มลู GIS จาก WGS84 (EPSG: 4326) สง่ ทาง weblink เช่น Dropbox หรือ WeTransfer

Khorat Geopark

ที่ต้งั ของอุทยานธรณีโคราชในภมู ิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้

ที่ต้ังตามพิกดั ภูมิศาสตร์อทุ ยานธรณีโคราช

9

ง. จดุ เด่นสาคญั ทางธรณีวิทยาและองคป์ ระกอบอ่นื ๆ
อุทยานธรณโี คราชมจี ดุ เดน่ สาคญั ท่ีสดุ ในทางธรณีวิทยา 5 ประการ รวมท้ังองค์ประกอบร่วม ดังตอ่ ไปน้ี

ง. 1 ความหลากหลายทางชีวภาพของฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคนีโอจีนและควอเทอร์นารี
ในแหลง่ ตาบลทา่ ชา้ งและปริมณฑล ในอาเภอเฉลิมพระเกียรติ กับแหล่งตาบลโคกสงู ในอาเภอเมอื งนครราชสมี า

ง. 1.1 ฟอสซลิ สัตวเ์ ลีย้ งลกู ด้วยนมในตาบลท่าชา้ งและปริมณฑล พบในบ่อดูดทราย ชว่ งความลึก 5
- 35 เมตรของชน้ั ตะกอนร่วน พวกกรวด ทราย ทรายแปง้ และดนิ เหนียวทพี่ ัดพามาทบั ถมโดยแม่นา้ โบราณ มีความ
หนาของตะกอนทัง้ หมดมากกว่า 50 เมตร และพบฟอสซิลมากบรเิ วณจุดบรรจบลาตะคองกับแมน่ ้ามลู ปจั จุบัน และ
ปริมณฑลในตาบลใกล้เคียง ฟอสซิลท่ีพบมีอายุอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงสมัยไพลโตซีน (16-0.01 ล้านปี
ก่อน) ที่จาแนกและตีพิมพ์แล้ว พบว่าเป็นสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลก 3 ชนิด คือ 1) บรรพบุรุษเอปอุรังอุตังโคราช
Khoratpithecus piriyai 2) บรรพบุรุษฮิปโปโบราณท่าช้าง Merycopotamus thachangensis และ 3) แรด
โคราชไร้นอ Aceratherium porpani (Chaimanee et al., 2004., Hanta et al., 2008., Deng et al., 2013)

อย่างไรก็ ตามฟอสซิลสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมท่ีพบเป็นปริมาณมากและโดดเด่นท่ีสุดของบริเวณนี้ คือ
ช้างดกึ ดาบรรพ์ เพราะพบถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลทีพ่ บท่ัวโลก (18%) มีท้ังชา้ ง 4 งา ชา้ งงาจอบ ชา้ งงาเสียม ชา้ ง
2 งาต่าง ๆ คือ 1) Gomphotherium 2) Prodeinotherium 3) Protanancus 4) Tetralophodon 5)
Zygolophodon 6) Stegolophodon 7) Deinotherium 8) Sinomastodon 9) Stegodon และ 10)
Elephas (Saegusa et al., 2005., Thasod and Ratanasthien, 2005., Thasod et al., 2012., Duangkrayom
et al., 2016) ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่าอาเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งฟอสซิลช้างดึกดาบรรพ์
หลากหลายสายพันธ์ุท่ีสุดในโลก (แหล่งช้างสาคัญอ่ืนของโลก ได้แก่ แหล่งอาเภอมิลเล่อ (Mille) ประเทศ
เอธิโอเปีย พบ 8 สกุล และแหล่งอาเภอถงซิ่น (Tongxin) ประเทศจีน พบ 7 สกุล) นอกจากนี้ ยังพบฟอสซิลสัตว์
เล้ียงลูกด้วยนมอื่น ๆ และสัตว์เล้ือยคลานที่พบร่วมด้วยกับฟอสซิลที่กล่าวแล้ว ซึ่งจะมีการศึกษาจาแนกใน
รายละเอียดต่อไป เช่น แรดบราคิโพธีเรียม แรดคิโลธีเรียม ฮิปโปโปเตมัส ชาลิโคแธร์ ยีราฟคอสั้น เสือเข้ียวดาบ
โฮโมธีเรียม ม้าฮิปปาเรียน หมูใหญ่ฮิปโปโปเตโมดอน หมู่ป่า สัตว์วงศ์วัวควาย เต่าเมกะโลเชลีส (Megalochelys
sp.) ตะพาบชิตร้า (Chitra sp.) จระเข้น้าจืดครอคโคไดลัส (Crocodylus sp.) ตะโขงกาเวียลิส (Gavialis sp.)
(Claude et al., 2011)

ซากดกึ ดาบรรพ์จากบ่อทรายอาเภอเฉลมิ พระเกยี รติ
A) แรด อาเซราธเี รยี ม พอพนั ธไ์ น B) เมอรโิ คโปเตมสั ท่าช้างเอนซสิ C) เอป โคราชพิเธคสั พิริยะอิ

10

ง. 1.2 ฟอสซิลสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมสมัยไพลโตซีนตอนกลางในแหล่งตาบลโคกสูง อาเภอเมือง
นครราชสีมา เป็นแหล่งที่อยู่ห่างเป็นระยะทางตรงในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือจากแหล่ง ง1.1 เพียง 20
กิโลเมตร พบในบ่อขุดเป็นสระน้าของโรงสีข้าว ในช้ันตะกอนทรายทางน้าเก่า ระดับความลึก 4-6 เมตรจากผิว
ดิน เป็นฟอสซิลสัตว์อายุ 200,000 ปี จานวน 27 ชนิด ในจานวนน้ี เป็นฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด
ได้แก่ ฟอสซิลช้างสเตโกดอน ช้างเอลิฟาส ไฮยีนา กวางดาว กวางรูซ่า หมาใน หมูหน้าหนวด แรดชวา แรด
อินเดีย กูปรี กระทิง ควายป่า เลียงผาใต้ ละองละมั่ง ลิงแม็กแคก (Macaque) ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่าแหล่งฟอสซิล
ตาบลโคกสูงเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยไพสโตซีนตอนกลางช่วง
ปลาย (late Middle Pleistocene) มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนสัตว์อ่ืนๆ ท่ีพบร่วมด้วย เช่น เต่า
ชนิดต่างๆ ตะพาบน้า จระเข้ ตะโขง ตะกวด งูเหลือม ไก่ป่า ปลากระดูกอ่อน เป็นต้น กลุ่มของส่ิงมีชีวติ ที่ตาบล
โคกสูงน้ี มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท่ีพบท่ีถ้าวิมานนาคินในจงั หวัดชัยภูมิ ซ่ึงมีอายุประมาณ 169,000 ปี และ
ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นดินแดนท่ีเคยเป็นทางผ่านของเหตุการณ์อพยพของสัตว์จากจีนตอนใต้ลงไปยังชวา
(Sino – Malayan migration event) (Suraprasit et al., 2016)

AB C

ซากดกึ ดาบรรพจ์ ากบอ่ ขุดสระนา้ อาเภอเมอื งนครราชสมี า
A) ไฮยนี า B) ชา้ งสเตโกดอน (Stegodon cf. orientalis) (C) กวางดาว (Axis axis)

(Suraprasit et al., 2016)

คณะรฐั มนตรเี ห็นความสาคญั ของแหล่งและการอนุรักษ์ฟอสซลิ สัตวเ์ ลีย้ งลกู ดว้ ยนม ดงั กล่าว จงึ มี
มติเห็นชอบในหลักการของโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดาบรรพ์ในแหล่งพบใกล้จุดบรรจบลาตะคองกับ
แม่น้ามูล ในตาบลทา่ ชา้ ง อาเภอเฉลิมพระเกยี รติ พื้นท่ี 20 ไร่ งบประมาณ 82 ลา้ นบาท ซ่งึ ยงั อย่ใู นขั้นตอน
การพิจารณาจากสานักงบประมาณสาหรับปี พ.ศ. 2563 ส่วนแหล่งตาบลโคกสูง ในอาเภอเมืองนครราชสีมา
ทางเทศบาลตาบลโคกสูงรว่ มกับกรมทรัพยากรธรณี ได้ดาเนินการรวบรวม ศึกษาจาแนก จัดเก็บและแสดงเปน็
นิทรรศการในอาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กต้ังแต่ พ.ศ. 2549 สาหรับในระดับจังหวัด ทางจังหวัดนครราชสีมา
ได้รว่ มกับทางกรมทรัพยากรธรณแี ละมหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครราชสมี า จดั สร้างพพิ ิธภัณฑ์ช้างดึกดาบรรพ์ขนาด
ใหญ่แหง่ แรกของโลกขน้ึ และให้บริการแก่เยาวชน ประชาชนและนกั ทอ่ งเทีย่ ว รวมทั้งอาคารคลังซากดึกดาบรรพ์

11

เพ่ือการอนุรักษ์และวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา โดยตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันวิจัยไม้กลายเป็ นหินและ
ทรพั ยากรธรณี มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครราชสมี า อาเภอเมืองนครราชสมี า

ง. 2 แหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์และสัตว์ร่วมยุคสาคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งขุดไดโนเสาร์ในตาบลโคกกรวดและตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา เป็นแหล่งขุดค้นในชั้นหิน
แข็งของกลุ่มหินโคราช (Khorat Group) หมวดหนิ โคกกรวด (Khok Kruat Formation) อายุครเี ทเชียสตอนต้น (สมัย
แอปเทียน-อัลเบียน) หรือประมาณ 110 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลส่วนใหญ่เป็นช้ินส่วนกระดูกท่ีพบในช้ันหินกรวดมน
ปนปูน (calcareous conglomerate) ท่ีเป็นช้ันหนา สีน้าตาลแดงถึงสีน้าตาลแดงอมม่วง ตั้งแต่ระดับผิวดินจนถึง
ระดับความลึกประมาณ 3 เมตร โดยพบฟอสซิลไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์มากท่ีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง
ฟอสซิลเต่าและจระเข้ ทเี่ ปน็ สายพันธุ์ใหม่ของโลก 5 ชนดิ คอื 1) ไดโนเสาร์อกิ ัวโนดอนต์ Sirindhorna khoratensis
2) ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ Ratchasimasaurus suranareae 3) ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ Siamodon nimngami
4) เต่าจมูกหมู Kizylkumemys khoratensis และ 5) จระเข้โคราช Khoratosuchus jintasakuli (Tong et al.,
2005., Lauprasert et al., 2009., Buffetaut and Suteethorn, 2011., Shibata et al., 2011., Shibata et al.,
2015)

ภาพฟอสซลิ เปรียบเทียบอกิ ัวโนดอนต์ 3 สายพนั ธุ์ท่ีพบในจงั หวดั นครราชสมี า
ก. ขากรรไกรบนซา้ ยของ สยามโมดอน น่มิ งามมิ ข. ขากรรไกรลา่ งซา้ ยของ ราชสมี าอซอรสั สรุ นารีเอ
ค. ขากรรไกรบนซ้ายของ สริ ินธรนา่ โคราชเอนซสิ ง. ขากรรไกรล่างซ้ายของ สริ ินธรน่า โคราชเอนซสิ

(ดัดแปลงจาก: Shibata et al., 2015)

นอกจากน้ี ยังพบฟอสซิลสัตว์อ่ืนๆ ร่วมด้วย เช่น สัตว์เลื้อยคลานบินพวกเทอโรซอร์ (Pterosaur)
ปลาฉลามน้าจืดชนิด Thaiodus ruchae เต่าชาเชมิส (Shachemys sp.) ตะพาบน้า ปลากระดูกแข็งกลุ่มเลปิ
ซอส์ติฟอร์ม (Lepisosteiformes) หอยนางรม (Ostrea) หอยไทรโกนิออยเดส (Trigonioides) หอยไพลคาตูนิ
โอ (Plicatounio) เป็นตน้ (Cappetta et al., 1990)

12

A

B
C

ฟอสซิลสตั ว์มกี ระดกู สนั หลงั จากแหล่งตาบลสรุ นารี-โคกกรวด A) จระเข้ : โคราชโตซูคสั จินตสกุลไล
B) ฉลามนา้ จดื : ไทยโอดสั รุจา C) เตา่ : คซิ ิลคเู มมสิ โคราชเอนซสิ

(Cappetta et al., 1990, Tong et al., 2005, Lauprasert et al., 2009)

การขุดค้นและวิจัยฟอสซิลไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคดังกล่าวเกือบทั้งหมด ดาเนินงานมา ตั้งแต่
พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ
มหาวทิ ยาลัยนครราชสีมา กบั พพิ ิธภัณฑไ์ ดโนเสาร์จงั หวัดฟกู อุ แิ ละจังหวัดฟูกอุ ิ ประเทศญีป่ ่นุ สาหรับชิ้นตัวอย่าง
ฟอสซิลจะจัดเก็บไว้ในอาคารคลังซากดึกดาบรรพ์ และส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ของ
สถาบนั วิจัยไมก้ ลายเปน็ หินฯ เพื่อการให้บรกิ ารวิชาการแก่นกั ท่องเที่ยวและประชาชนทวั่ ไป

ง. 3 แหล่งฟอสซิลไ ม้กลายเป็น หิน หลาก หลายชนิดและสีสัน ที่สาคัญของอิน โ ดจีน
ฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน พบได้ในทกุ อาเภอของอทุ ยานธรณีโคราช โดยเฉพาะในพน้ื ท่ีตะพกั กรวดยุคควอ
เทอร์นารี (Quaternary terrace, Qt) ท่ีปรากฏในแผนที่ธรณีวิทยาของอุทยานธรณี ซึ่งมีพื้นท่ี 304 ตร.กม. แต่
แหล่งท่ีพบเป็นปริมาณมาก หลากหลายชนิดและสีสัน คือ แหล่งเขาดินในตาบลโคกกรวดและแหล่งเขาแก้วใน
ตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา โดยแหล่งหลงั น้ี ได้รบั การอนรุ กั ษ์พื้นทีส่ ว่ นหน่ึง จานวน 80 ไร่ และจดั ตัง้
เป็นสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่มีพิพิธภัณฑ์ไม้
กลายเป็นหนิ ฯ เป็น 1 ใน 7 พิพิธภัณฑ์ไมก้ ลายเปน็ หินขนาดใหญข่ องโลก รวมทง้ั อนุรักษ์พ้ืนท่ปี า่ ไม้กลายเป็นหิน
ท่ีมศี าลาคลมุ หลุมไม้กลายเปน็ หิน จานวน 5 หลงั ซึ่งผลการวจิ ัยพรรณไม้กลายเปน็ หิน 23 ตัวอย่างจากแหลง่ ใน
ศาลารวมทั้งบริเวณอ่ืนภายในพื้นท่ีปา่ ไม้กลายเป็นหิน สามารถจาแนกเปน็ พืชใบเล้ียงคู่ได้ถงึ 7 วงศ์ 10 สกุล 17
ชนิด หรือเท่ากับร้อยละ 36.84 ของวงศ์ไม้กลายเป็นหิน 19 วงศ์ ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ไทยปัจจุบนั ตวั อยา่ งสกลุ ไมก้ ลายเป็นหนิ ท่พี บ เช่น สกลุ มะม่วง (Mangiferoxylon) มะกอกเกล้อื น (Canarium)
สมอ-รกฟ้า (Terminalia) กระบก (Irvingia) มะคะ (Cynometroxylon) กระพี้เขาควาย (Millettia) กระโดน
(Careya) สะเดา (Azadirachta) เป็นต้น (Boonchai, 2008) นอกจากนี้ ยังมีไม้กลายเป็นตระกูลปาล์มอีก
หลายชนิด รวมหลายร้อยท่อนจากแหล่งเดียวกันที่ยังไม่ได้วิจัยเพราะข้อจากัดในเรื่องบุคลากรวิจัยไม้กลายเป็น
หนิ ด้านตระกลู ปาลม์ ของประเทศไทย

13

ด้านสีสันไม้กลายเป็นหิน เนื่องจากองค์ประกอบหลัก คือ ซิลิกา โดยท่ัวไปจึงมีสีเทาอ่อน แต่หากมี
สารมลทนิ ของแร่ธาตุองค์ประกอบรองเจือปนอยู่ในไม้กลายเป็นหินดว้ ย จะทาให้เกิดสสี ันของแร่ควอตซ์และโอปอล
แตกต่างออกไป เช่น ในแหล่งอาเภอเมืองนครราชสีมา พบสีสันมากกว่า 10 สีในท่อนเดียวหรือหลายท่อน ได้แก่ สี
ขาวนา้ นม เหลือง แดง นา้ ตาล นา้ ตาลเหลอื ง นา้ ตาลแก่ นา้ ตาลแดง ดา เทาดา มว่ ง เปน็ ตน้ บางสีเด่นในบางอาเภอ
เช่น สเี ขยี ว สสี ้มอมเหลอื ง จากแหลง่ อาเภอขามทะเลสอ สแี ดงเลือดนก จากแหลง่ อาเภอสูงเนิน เปน็ ต้น

ด้านการวิจัยและอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินในแหล่งอาเภอเมืองนครราชสีมาและแหล่งอาเภอเฉลิม
พระเกยี รติ มีกจิ กรรมต้งั แตเ่ ม่ือกวา่ 100 ปกี ่อนจนถึงปัจจุบัน ดงั น้ี

ง. 3.1 การวจิ ัยฟอสซิลไม้กลายเปน็ หิน ดาเนินการเปน็ แหง่ แรกของเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ และ
เป็นฟอสซิลชนิดแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการวิเคราะห์และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ โดยใช้
ตัวอย่างจากแหล่งอาเภอเมืองนครราชสีมา และผลการวิจัยพบว่าเป็นพืชใบเล้ียงคู่ ได้รับการตีพิมพ์โดย
HogbÖm, B. 1913. ในเรื่อง Contributions to the geology and morphology of Siam. Bulletin of the
Geological Institution of the University of Upsala, 12 : 65-128 และในปัจจุบันได้พบไม้กลายเป็นหิน
ชนิดใหม่ของโลก จากแหล่งบ้านสารภี ตาบลมะเริง อาเภอเมืองนครราชสีมา 3 ชนิด คือ 1) ไม้รังกลายเป็นหิน
(Shoreoxylon thailandense Vozenin - Serra & Privé - Gill, 1989) 2) ไม้กลุ่มสมอ-รกฟ้ากลายเป็นหิน
(Terminalioxylon paracoriaceum Vozenin - Serra & Privé - Gill, 2001) และ 3) ไม้ยางแดงกลายเป็น
หนิ (Dipterocarpoxylon sarapeense Vozenin - Serra & Privé - Gill, 2001)

นอกจากน้ี ในแหล่งตาบลโคกสูง อาเภอเมอื งนครราชสมี า ยงั พบฟอสซิลไม้กลายเปน็ หนิ พืชใบเลี้ยง
คู่ พืชตระกลู ปาลม์ รวมทัง้ ฟอสซิลผลของต้นตะครองโบราณที่เป็นพรรณใหม่ดว้ ย คือ Ziziphus khoksungensis
(Grote, 2007) ขณะที่บริเวณใกล้เคียงหรือใกล้ฝั่งลาตะคองก็ยังพบต้นตะครอง (Ziziphus cambodiana) ท่ี
เป็นพรรณไมป้ ัจจุบัน

Shoreoxylon thaïlandense Terminalioxylon paracoriaceum Dipterocarpoxylon sarapeense
ไม้รงั โบราณ ้ไมรก้ฟาโบราณ ไม้ยางแดงโบราณ

Shorea siamensis Terminalia alata Dipterocarpus turbinatus
ไมร้ งั ปจั จบุ นั ไม้รกฟา้ ปัจจบุ นั ไมย้ างแดงปจั จุบัน

ไม้กลายเป็นหินชนิดใหม่ในอทุ ยานธรณีโคราช

ทม่ี า : Vozenin-Serra & Privé-Gill, 1989, 2001.

14

ง. 3.2 การอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ามูลใกล้จุดบรรจบลาตะคอง นับเป็นไม้
กลายเป็นหินต้นแรก ท่ีได้รับการอนุรักษ์ในรูปแบบอนุสรณ์สถานและสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์แห่ง
เดียวของโลก กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลท่ี 6 ได้เคยเสด็จไปตรวจการ
ก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ามูล เมื่อ พ.ศ. 2464 พระยาราไพพงศ์บริพัตรวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างและ
ชาวบ้าน ได้ถวายไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ามูลให้กับพระองค์ แต่พระองค์เห็นว่าควรเก็บรักษาไว้ใน
ท้องท่ีท่ีพบ จึงมีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จและนาไม้กลายเป็นหินดังกล่าว จัดไว้บนอนุสรณ์สถานน้ัน
ซึ่งยังคงมอี ยูต่ ราบกระทง่ั ปัจจบุ นั

อนุสรณ์สถานไมก้ ลายหนิ ณ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ามูล จดุ ทีเ่ รยี กวา่ “สะพานดา” อาเภอเฉลิมพระเกยี รติ
ง. 3.3 การอนุรักษ์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและป่าไม้กลายเป็นหินบ้านโกรกเดือน

ห้า ตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะด้านฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน ท่ีมีขนาดใหญ่
เป็น 1 ใน 7 แห่งสาคัญของโลก ขนาดพ้ืนที่ 1,215 ตร.ม. ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 และสร้างอยู่ในแหล่งพบ
แหล่งอนุรกั ษ์ไม้กลายเป็นหนิ แห่งแรกของประเทศไทย บนพื้นท่ี 80 ไร่ หรือ 12.8 เฮกตาร์ มอี าคารคลมุ หลุมไม้
กลายเป็นหิน 5 หลังในบริเวณป่าไม้กลายเป็นหิน พรรณไม้กลายเป็นหินในอาคารคลุมหลุมและกลางแจ้งตามที่
ได้กล่าวแลว้ เป็นพรรณไม้ปา่ เต็งรัง ป่าเบญจพรรณถึงป่าดบิ แล้งในเขตร้อน มอี ายอุ ยู่ในสมัยไพลสโตซีนตอนล่าง
(0.8 ล้านปกี อ่ น)

15

อาคารคลมุ หลุมท่อนซุงไม้กลายเป็นหินทีถ่ กู ฝังกลบในชั้นตะกอนกรวดที่พพิ ิธภณั ฑ์ไมก้ ลายเป็นหนิ
ชา้ งดกึ ดาบรรพ์และไดโนเสาร์ บ้านโกรกเดอื นห้า

ง. 4 พ้นื ท่แี บบฉบบั (type section area) ของหมวดหินโคกกรวดในกลุ่มหนิ โคราช (Khorat Group)

ง. 4.1 ข้อมูลทั่วไป Ward and Bunnag (1964) ตั้งชื่อหินหมวดโคกกรวด (Khok Kruat
Formation) ตามช่ือหมู่บ้านโคกกรวด ตาบลโคกกรวด อาเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซ่ึงเป็น
หม่บู ้านที่พบหินโผล่ และมีชนั้ หินแบบฉบบั อยูใ่ กลถ้ นนมติ รภาพ (ทางหลวงแผน่ ดนิ หมายเลข 2)

ง. 4.2 ลักษณะทางกายภาพของหิน หมวดหินโคกกรวดประกอบด้วย หินทรายสีแดงอ่อน แดง
แกมเทา น้าตาลแกมแดง ขาวน้าตาลชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น มักมีเม็ดขนาดละเอียด บางช้ันมีกรวดปนเล็กน้อย
เม็ดกรวดมักจะเป็นหินทรายแป้งสีน้าตาลแกมแดง หรือหินโคลน ส่วนกรวดของควอตซ์ และเชิร์ตพบบ้าง
เล็กน้อย หินชนิดอ่ืนท่ีพบสลับอยู่ คือ หินกรวดมนกระเปาะปูน หินทรายแป้ง หินดินดาน สีแดง น้าตาลแดง
ช่วงบนของลาดับชัน้ หนิ จะมยี ปิ ซ่ัมเป็นชน้ั บาง ๆ หรอื เป็นกระเปาะในหินทราย หรอื หนิ ทรายแป้ง การเรยี งลาดับ
ชน้ั หนิ เป็นแบบการตกตะกอนเปน็ ช่วง ๆ (cycles) เร่ิมจาก channel conglomerates, channel sandstones,
overbank siltstones และ flood-plain siltstones และ claystones ความหนาของแต่ละช่วงจะไม่เท่ากัน
บางแหง่ ไม่พบ channel conglomerates ในชัน้ ลา่ งสุด

16

ง. 4.3 ความหนาและการแผ่กระจาย หมวดหินโคกกรวดในพื้นทชี่ ัน้ หนิ แบบฉบบั หนา 709 เมตร
มีการกระจายเปน็ บริเวณกว้างในพืน้ ท่ีราบลูกคลนื่ ถึงท่รี าบ โดยรอบแอง่ โคราชและแอ่งสกลนคร

ง. 4.4 สภาวะแวดล้อมการตกตะกอนและภูมิอากาศโบราณ จากลักษณะทางกายภาพของหิน
การเรียงลาดบั ช้นั หินและซากดกึ ดาบรรพ์ท่ีพบ หมวดหินโคกกรวดเกดิ จากการสะสมตัวและตกตะกอนจากระบบ
แม่น้าแบบโค้งตวัด (meandering river system) ในสภาพภูมิอากาศในสมัยโบราณที่ค่อนข้างก่ึงแห้งแล้ง และ
ในชว่ งปลายเปน็ แบบแห้งแลง้ (Meesook, 2000)

ง. 4.5 ซากดึกดาบรรพ์และอายุ 1) ที่บ้านโคกกรวด ตาบลโคกกรวด อาเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา พบฟันปลาฉลามน้าจืด Thaiodus ruchae ซากปลาน้าจืด และกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินเน้ือ 2)
ตามถนนสุรนารายณ์ ในเขตอาเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ Ward and Bunnag (1964) 3) พบฟันของ Ichthyosaur
ส่วนในหินทรายสีแดงของหินหมวดน้ีท่ีเข่ือนน้าพุง จังหวัดสกลนคร พบหอยกาบคู่น้าจืด Plicatotrigonioides (?)
subovalis Kobayashi, Pseudohyaia (?) sp., Nippononaia carinata Kobayashi, Niotononaia
(Mechongichoncha) subyuadrata Kobayashi, Nippononaia (Mechongichoncha) robusta Kobayashi,
Plicatouni namphungensis, Unio sampanoides อายุครีเทเชียสตอนต้น ถึงตอนกลาง (Kobayashi et al.,
1963)

นอกจากนี้ ยังพบซากไดโนเสาร์ในหมวดหินโคกกรวดมาเป็นเวลานาน (Buffetaut, 1983) ที่พบ
คร้ังแรกเป็นชิ้นส่วนของฟันและกระดูกของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ (theropods) ท่ีบ้านดงบางน้อย จังหวัด
ชัยภูมิ พบกรามของไดโนเสาร์ขนาดเล็กชนิดใหม่ช่ือ Psittacosaurus sattayaraki (Buffetaut and
Suteethorn, 1992) ที่อาเภอเมืองชัยภูมิ ซึ่งไดโนเสาร์ชนิดใหม่ที่พบน้ีแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของซาก
ดึกดาบรรพ์ ท่ีพบในประเทศไทยกบั ทวีปเอเชยี ตอนเหนือ (Buffetaut et al., 1989)

ในพื้นที่บริเวณบ้านทุ่งบุญ อาเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี พบซากดึกดาบรรพ์หลายชนดิ
ในหมวดหินโคกกรวด อาทิ กระดูกและชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ เศษกระดองเต่า และเกล็ดปลากลุ่ม
Lepisosteiformes ซากดึกดาบรรพ์เหล่านี้พบอยู่ในชั้นหินดินดาน หินทรายแป้ง และหินกรวดมนสีน้าตาลแดง
ส่วนใหญ่ซากดึกดาบรรพ์พบอยู่ในหินกรวดมนที่มีรูปร่างคล้ายเลนส์ จากการศึกษารายละเอียดของซาก
ดึกดาบรรพ์ทีพ่ บในบริเวณนี้ทาให้ทราบวา่ ไดโนเสารท์ ี่พบในหมวดหนิ โคกกรวดบรเิ วณน้เี ป็นจาพวกอิกวั โนดอนต์
และเป็นหลักฐานคร้ังแรกที่พบไดโนเสาร์พวกออร์นิโธพอดในประเทศไทย (Buffetaut et al., 1997) ในพื้นท่ี
ใกล้เคียง เช่น ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการพบไดโนเสาร์พวกฮาโดรซอร์ในชั้นหินสี
แดงที่เมืองผาเลน (Muang Phalan) ในแอ่งดองเฮน (Donghen Basin) ใกล้เมืองสะหวันเขต (Savannakhet)
(Hoffet, 1944) ต่อมาซากไดโนเสาร์พวกฮาโดรซอร์ที่พบนี้ ได้มีการนามาศึกษาใหม่และให้ชื่อเป็นพวกออร์นิโธ
พอด (Buffetaut, 1991;Taquet et al., 1995) ซ่ึงสามารถเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับออร์นิโธพอดที่พบใน
หมวดหินโคกกรวดและในทานองเดียวกันหมวดหินน้ีสามารถเทียบเคียงได้กับชั้นหินสีแดงที่พบในประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากหลักฐานการเรียงลาดับช้ันหิน ช้ันหินสีแดงที่เมืองผาเลนถูกวางตัว

17

อยู่ด้านล่างของชั้นเกลือ (Vu Khuc and Le Thi Nghinh, 1996) ซ่ึงช้ันเกลือชั้นน้ีอาจเป็นชั้นเดียวกับชั้นเกลือ
ของหมวดหินมหาสารคามในประเทศไทย

ง. 4.6 อายุ จากหลักฐานของซากดึกดาบรรพ์ประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง หมวดหินโคกกรวด
ควรมีอายสุ มยั แอปเทยี น ถงึ อลั เบียน หรืออยู่ในช่วงยคุ ครเี ทเชียสตอนต้น (Capetta et al., 1990)

ง. 5 มีภูมิประเทศเควสตาโดดเด่นที่เป็นส่วนหน่ึงของเควสตาโคราชที่ยาวที่สุดแห่งหน่ึงของโลก
ภูมิประเทศเควสตาหรือภูมิประเทศภูเขารูปอีโต้ ปรากฏเป็นสันเขา-หุบเขา หรือเขาโดดจานวนมากใน
พื้นที่อาเภอสีค้ิวและสูงเนิน มีจานวนมากกว่า 20 ภูเขาและเขา ซึ่งชุมชนในท้องถ่ิน จะเรียกว่า “เขา” ท้ังหมด
เช่น เขายายเที่ยง เขาน้าโดด เขาภูผาสูง เขาขนานจิต เขาฟอด เขากระโดน เขาพริก เขาสะเดา เขาซับประดู่
เขาปนื แตก เขาเขือ่ นลัน่ เขาเตยี น เขาสามสบิ ส่าง เขาเขียว เขาผาแดง เปน็ ตน้

เควสตาหรือเขารูปอีโต้ดังกล่าว ประกอบด้วยหินทราย มีระนาบช้ันหินเอียงจากแนวระดับ 5-10 องศา
เป็นส่วนใหญ่ และปรากฏเป็นภมู ิประเทศเควสตาแบบคู่ขนาน (double cuesta) 2 แนว เควสตาแนวนอกเป็น
แนวที่ค่อนข้างต่อเน่ืองกันในลักษณะภูเขา-หุบเขา มองเห็นด้านผาชันชัดเจน และเป็นด้านผาชันของภูเขาชาย
ขอบที่ราบสูงโคราช ทอดตัวไปทางเหนือถึงประเทศลาว ส่วนทางใต้เป็นทิวเขาลงไปถึงพ้ืนที่สงวนชีวมณฑลป่า
สะแกราช มรดกโลกผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เลี้ยวไปทางทิศตะวันออก เป็นทิวเขาพรมแดนระหว่างไทย-
กัมพูชา (ทิวเขาพนมดงรัก) และเล้ียวกลบั เข้ามาในส่วนกลางของภาคอสี านของไทย เปน็ ทิวเขาภูพาน รวมความ
ยาวมากกว่า 1,700 กิโลเมตร เป็นส่วนที่อยู่ในอุทยานธรณีโคราช 60 กิโลเมตร และมีความสูงอยู่ในช่วง 500-
800 เมตรจากระดับน้าทะเลปานกลาง ตัวภูเขาประกอบด้วยหินทรายที่ต้านทานของหมวดหินพระวิหาร มีอายุ
ราว 140 ลา้ นปกี ่อน พืชพรรณธรรมชาติสว่ นใหญบ่ นภูเขา เปน็ ป่าดบิ แลง้ ส่วนเควสตาแนวใน ปรากฏในลกั ษณะ
เขาโดดสลับกบั ทร่ี าบหรือท่ีราบลูกคล่ืน แตเ่ ขาดงั กลา่ ว วางตัวเปน็ แนวคู่ขนานไปกับเควสตาแนวนอก มคี วามสูง
อยู่ในช่วง 300-600 เมตร ประกอบด้วยหินทรายที่ต้านทานของหมวดหินภูพาน มีอายุราว 120 ล้านปีก่อน พืช
พรรณธรรมชาตบิ นภเู ขา สว่ นใหญเ่ ป็นปา่ เต็งรัง

เควสตาโคราช เกิดข้ึนจากผลกระทบของกระบวนการสร้างภูเขาหิมาลัย (Himalayan Orogeny) ช่วง
65 – 55 ล้านปีก่อน ทาให้เกิดกระบวนการคดโค้งของช้ันหินกลุ่มหินโคราชในภาคอสี าน พรอ้ มกบั ยกตัวสูงข้ึน
เป็นที่ราบสูงในยุคเทอร์เชียรีและควอเทอร์นารี โดยเฉพาะขอบด้านตะวันตกและด้านใต้ ยกตัวค่อนข้างรวดเร็ว
ทาให้ชั้นหินมีแนวเทไปทางด้านตะวันออกและทางด้านเหนือเกิดเป็นภูมิประเทศเขาเควสตาที่ไหล่เขาด้านหน่ึง
ชันและด้านหนึ่งลาด มีจานวน 2 แนวในพ้ืนท่ีอุทยานธรณี และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการกระทาของธารน้าไหล
บนชั้นหินที่ไม่ต้านทานสลับกับช้ันหินท่ีต้านทาน 2 ชุดด้วย คือ หมวดหินภูกระดึงกับหมวดหินพระวิหาร และ
หมวดหินเสาขัวกบั หมวดหนิ ภพู าน ตามลาดบั

ภมู ิประเทศเควสตาของอุทยานธรณโี คราช จึงเปน็ ลักษณะทีโ่ ดดเดน่ ของพื้นที่ที่แตกต่างจากอุทยานธรณี
โลกท่ีมีอยู่เกือบท้ังหมด รวมท้ังภูมิภาคอื่นของประเทศไทย จึงมีผลทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบนภูมิประเทศ

18

เควสตาของอุทยานธรณีโคราช แตกต่างจากพื้นท่ีอื่นในประเทศหรือภูมิภาคด้วย เช่น มีกีฬาวิ่งหรือปั่นจักรยาน
หรือกีฬาร่มร่อนบนเควสตา กีฬาปีนผาชันเควสตา ท่องเที่ยวชมวิวบนเควสตา การผลิตพลังานสีเขียวจาก
พลังงานลมและพลังน้าตกจากเควสตา เกษตรกรรมทสี่ ูงบนเควสตา การสร้างเข่ือนบริเวณช่องเขาน้ากัด (water
gap) ของเควสตา ประปาภเู ขาจากแหล่งน้าซบั บริเวณไหลเ่ ขาเควสตา เป็นต้น

เควสตาเขาปนื แตก ตาบลมะเกลอื ใหม่ อาเภอสูงเนิน
ง. 6 เหตผุ ลที่ประชาชนควรมาเยี่ยมชมอุทยานธรณีโคราช คือ
1) เป็นแหล่งอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา ธรรมชาติอื่นและวัฒนธรรมที่สาคัญโดดเด่นในระดับ
นานาชาติตามท่ีได้กล่าวแล้ว ซ่ึงไม่เหมือนท่ีอ่ืนใดในโลก ที่จะทาให้ผู้ชมได้รู้จัก เข้าใจ ตระหนักในคุณค่า เกิด
ความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่น และร่วมกันอนุรักษ์ ศึกษา พัฒนาอย่างย่ังยืน เพ่ือประโยชน์สูงสุดแก่ชน
รนุ่ หลัง และตอ่ โลกท่ีเราอาศัย ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
2) เป็น 1 ใน 3 แหล่งอนุรักษ์มรดกธรรมชาติตามแนวทางของยูเนสโก อีก 2 แหล่งซึ่งก็อยู่ในจังหวัด
เดียวกันและได้รับการรับรองแล้วจากยูเนสโก คือ มรดกผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ (2548) กับพ้ืนท่ีสงวนชีว
มณฑลป่าสะแกราช (2519) ซ่ึงเช่ือมโยงกันด้วยเขาเควสตาหินทราย ในหมวดหินพระวิหาร และถนนหมายเลข
2, 304, 2090 และ 3052 จึงสามารถเย่ียมชมได้เป็นวงรอบ เห็นความเชื่อมโยงของสรรพส่ิง และได้สัมผัส
ประทบั ใจกบั คณุ คา่ ระดบั สากล
3) ได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและประวัติความเป็นมาของโลก และส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ สังคม ท่ีแปลกแตกต่างออกไป อันเป็นวิถีชีวิตของเพ่ือนร่วมโลกในภูมิภาคน้ี ซ่ึงจะทาให้เกิดความ
เข้าใจอันดรี ะหว่างมนษุ ยชาติ และนาไปสู่สนั ติภาพ ความสงบสขุ ร่มเย็นบนโลกใบน้ี

จ. การตรวจสอบตามเกณฑ์ของอทุ ยานธรณโี ลกยูเนสโก
จ. 1 ขอบข่ายการปฏิบตั ิ
จ. 1.1 มรดกทางธรณีวิทยาและการอนรุ กั ษ์
จ. 1.1.1 ลักษณะทางธรณวี ิทยาทั่วไปในพืน้ ที่อุทยานธรณี

19

จ. 1.1.1.1 ธรณีวิทยาท่ัวไป ลักษณะภูมิประเทศของพ้ืนที่อุทยานธรณีโคราชถูกควบคุมโดย
ลักษณะของหินและธรณีวิทยาโครงสร้างเป็นหลัก การเคล่ือนตัวของเปลือกโลกแบบยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูงประกอบ
กับการเคลื่อนท่ีของเปลือกโลกไปทางด้านข้างทาให้ชั้นหินเกิดการคดโค้งโก่งงอแบบไม่รุนแรงนัก ก่อให้พื้นท่ีภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเกิดลักษณะภูมิประเทศเป็น 2 แอ่ง คือ แอ่งสกลนครทางด้านเหนือและแอ่งโคราชทางด้านใต้
โดยมีเทือกเขาภูพานคั่นระหว่างแอ่งทั้งสอง ทั้งน้ีแอ่งโคราชมีขอบแอ่งเป็นพื้นที่สูงโดยรอบ ด้านเหนือเป็นแนว
เทือกเขาภูพาน ด้านตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกดงพญาเย็น ด้านใต้เป็นแนวเทือกเขาสันกาแพง
และเทือกเขาพนมดงรัก สว่ นดา้ นตะวันออกเป็นพ้ืนทเี่ นนิ จรดริมฝ่ังแม่นา้ โขงเหน็ เป็นหน้าผาสูงชันมีแม่น้าโขงต่าลึก
ลงไปด้านล่าง โดยพบว่าหินบริเวณด้านตะวันตกและด้านตะวันออกของแอ่งมีลักษณะปรากฏที่แสดงถึงการถูกกัด
กร่อนทาลายอย่างรุนแรง เช่น บริเวณมอหินขาวและป่าหินงามในจังหวัดชัยภูมิและบริเวณเสาเฉลียงในจังหวัด
อบุ ลราชธานี สว่ นพนื้ ท่อี ทุ ยานธรณโี คราชน้ันตัง้ อยู่บรเิ วณขอบแอ่งทางตะวันตกเฉยี งใต้ของแอ่งโคราช

แผนท่ีภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ของประเทศไทย แสดงลักษณะพื้นทีเ่ ปน็ ท่ีราบสงู ที่ประกอบด้วย
แอ่งสกลนครทางด้านเหนอื และแอ่งโคราชทางดา้ นใต้
(ที่มา: https://maps-for-free.com/)

จ. 1.1.1.2 ลาดับช้ันหิน หินโผล่ในเขตอุทยานธรณีโคราชล้วนเป็นหินตะกอน ได้แก่ หินทราย
หนิ ทรายแป้ง หินดนิ ดาน หินกรวดมน หินทรายปนกรวด และเกลือหิน หนิ เหล่านโี้ ผล่ให้เห็นในลักษณะท่ีแตกต่างกัน
เนื่องมาจากลักษณะหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นหลักประกอบด้วยหมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร
หมวดหนิ เสาขวั หมวดหนิ ภูพาน หมวดหินโคกกรวด หมวดหนิ มหาสารคาม และหนิ และตะกอนมหายุคซีโนโซอิก

20

ลาดับชน้ั หนิ ในพ้นื ที่อทุ ยานธรณีโคราช

แผนทีธ่ รณวี ิทยาภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แสดงพน้ื ที่แอง่ โคราชท่มี หี นว่ ยหนิ ท่มี อี ายุแก่
โผลบ่ รเิ วณขอบแอ่งและหนว่ ยหินมอี ายุออ่ นมากขึ้นไปทางกลางแอ่ง
(Geological Survey Division, 1987)

21

รปู จาลองแสดงลาดับชัน้ หนิ ในพื้นท่ีอุทยานธรณีโคราช

1) หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Formation) หมายเลข 3 เป็นหินในปลายยุค
จูแรสซิกถึงต้นยุคครีเทเชียส ประกอบด้วยหินทรายแป้งและหินโคลน สีม่วงแดงเป็นช้ันหนา เน้ือปูน และมีเม็ด
ปูนปน แทรกสลับด้วยหินทราย สีเทาเขียว เน้ือละเอียดถึงปานกลาง ประกอบด้วย แร่ควอตซ์และไมกา การ
เชื่อมประสานไม่ดีจึงเป็นหมวดหินที่ไม่ต้านทาน พบเห็นได้บริเวณตีนผาชันริมถนนมิตรภาพ ช่วงเลียบอ่าง
ลาตะคอง

2) หมวดหินพระวิหาร (Phra Wihan Formation) หมายเลข 4 เป็นหินทรายยุค
ครีเทเซียสที่ประกอบด้วยเม็ดตะกอนทรายขนาดหยาบและขนาดปานกลาง บางบริเวณมีกรวดปน สีขาว เหลือง
น้าตาลอ่อน มีการเชื่อมประสานด้วยสารซิลิกาทาให้เป็นหินทรายท่ีคงทนต่อการสึกกร่อน มีโครงสร้างปฐมภูมิ
แบบชัน้ เฉียงระดบั พบเห็นได้ท่ัวไป พบปรากฏเป็นหนิ ทรายแข็งที่มีหินทรายหมวดหินภูกระดึงรองรับอยู่ด้านล่าง
อย่างไรก็ตามเนื่องจากชั้นหินมีการวางตัวเอียงเทไปทางกลางแอ่ง ทาให้เห็นบริเวณขอบแอ่งเป็นผาสูงชัน ส่วน
ด้านเข้าหาแอ่งมีลักษณะเป็นลาดตามแนวเท เห็นเป็นภูมิประเทศแบบเขาเควสตา (cuesta) เป็นแนวเทือกเขา
ยาวขนานไปกับขอบแอ่ง สันเขานี้ใช้เป็นแนวเขตพื้นที่อุทยานธรณีโคราชทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้
แหล่งธรณีวิทยาท่ีเป็นหินทรายหมวดหินนี้ ได้แก่ บริเวณเขาขนานจิต เขายายเที่ยง เขาจันทน์งาม น้าตก
วะภแู ก้ว และวัดปา่ ภผู าสงู

3) หมวดหินเสาขัว (Sao Khua Formation) หมวดหินนี้วางตัวอยู่บนหมวดหิน
พระวิหาร เป็นหินทรายยคุ ครีเทเชียสที่มีคุณสมบัตผิ ุพังสลายตวั ได้งา่ ย ทาให้เกิดเป็นพ้ืนท่ีหบุ เขาต่ามีดนิ และพชื
ปกคลมุ จนไม่พบหนิ โผล่ให้เห็น ในพ้ืนทอ่ี ทุ ยานธรณโี คราช พบเปน็ พืน้ ทีร่ าบตา่ แคบ ๆ ขนานไปกบั แนวเทือกเขา
ทางดา้ นใต้

22

4) หมวดหินภูพาน (Phu Phan Formation) เป็นหนิ ทรายยุคครีเทเชยี สเน้ือปานกลางถึง
หยาบ สีน้าตาลถึงน้าตาลแดง พบโครงสร้างช้ันเฉียงระดับท่ัวไป วางตัวอยู่บนหมวดหินเสาขัว มีความทนทานต่อ
การสึกกร่อนสูงทาให้พบเป็นภูเขาลูกโดด ๆ เรียงเป็นแนวยาวขนานไปกับภูเขาหินทรายหมวดหินพระวิหาร แนว
เทือกเขาดังกล่าวน้ีมีลักษณะเหมือนเทือกเขาเควสตาของหมวดหินพระวิหารคือมีด้านผาชันอยู่ทางด้านตะวันตก
เฉียงใต้และมีด้านลาดตามแนวเทอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่ว่าแนวเทือกเขาเควสตานี้ถูกกัดกร่อน
ขาดออกจากกันเป็นช่วง ๆ จนกลายเปน็ ภเู ขาลูกโดด ๆ เรียงกันเป็นแนวยาว สว่ นทถ่ี กู กร่อนขาดหายไปมีท้ังที่เป็น
ที่ราบกว้าง บ้างเป็นกิ่วลม และที่มีธารน้าไหลผ่านก็เป็นกิ่วน้า พ้ืนท่ีที่มีหินทรายหมวดหินภูพานโผล่นี้พบเป็นท้ัง
ภูเขาสูงลูกโดด ๆ และเป็นเนินเตี้ย ๆ พบมีแหล่งกุมภลักษณ์หลายแห่ง เช่น ลานหินตัดสีคิ้ว วัดมอจะบก และเขา
สามสบิ ส่าง

5) หมวดหินโคกกรวด (Khok Kruat Formation) เป็นหมวดหินยุคครีเทเชียสที่วางตัว
ต่อเนื่องบนหมวดหินภูพาน แต่เน่ืองจากเป็นหมวดหินท่ีช้ันหินมีการวางตัวเอียงเทน้อยกว่าทางพื้นท่ีด้านใต้มาก จึง
ดเู หมอื นจะไม่มีการเอียงเท เป็นหนิ ตะกอนเนื้อประสม 2 ลกั ษณะ คอื ด้านลา่ งเป็นหินทรายเนื้อละเอียดถึงเนื้อปาน
กลาง ไม่ทาปฏิกิริยากับกรดเกลือเจือจาง พบเห็นได้ชัดเจนบริเวณท้องน้าและชายฝั่งลาตะคอง เช่นท่ีน้าตกวังเณร
ซ่ึงเป็นบริเวณที่ท้องน้าเป็นหินทรายลาดเอียงเทเล็กน้อยไปทางทิศเหนือทาให้น้าไหลเชี่ยวกว่าปกติจนผู้คนเรียกว่า
นา้ ตก พบบ่อนา้ บาดาลพุหลายบ่อบริเวณพนื้ ที่ตาบลมะเกลือใหม่ อาเภอสูงเนิน อาจเน่ืองมาจากพ้ืนทมี่ ีระดับความ
สูงประมาณ 220 เมตรจากระดับทะเลขณะที่ระดับน้าในเข่ือนลาตะคอง ช่วงสูงสุดอยู่ท่ีระดับประมาณ 261 เมตร
จากระดับทะเล ทงั้ นน้ี ้าบาดาลพุอาจได้มาจากโซนรอยต่อระหว่างหมวดหนิ ก็ได้

ส่วนหินที่วางตัวอยู่ด้านบนเป็นหินทรายปนกรวดจนถึงหินกรวดมน พบโผล่ให้เห็นโดด
เด่นบริเวณพื้นที่ตาบลโคกกรวด สารเช่ือมประสานเป็นเนื้อปูนทาปฏิกิริยารุนแรงกับกรดเกลือเจือจาง พื้นท่ีของ
หมวดหินน้ีมักปรากฏเป็นพ้ืนท่ีลอนลาดแบบลูกคล่ืน บริเวณตาบลโคกกรวดและตาบลสุรนารีพบช้ินส่วนซาก
ดึกดาบรรพ์จานวนมากและมีการขุดค้นและศึกษาวิจัยหลายชนิด ได้แก่ ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ราชสีมาซอรัส
สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus suranareae) สยามโมดอน น่ิมงามมิ (Siamodon nimngami) สิรินธรน่า โคราช
เอนซิส (Sirindhorna khoratensis) จระเข้โคราโตซูคัส จินตสกุลไล (Khoratosuchus jintasakuli) เต่าจมูกหมู
คิซิลคูเมมิส โคราชเอนซิส (Kizylkumemys khoratensis) และชาเชมิส (Shachemys sp.) ฉลามไฮโบดอนต์ไทย
โอดัส รุจา (Thaiodus ruchae) และยังพบเศษซากกระดูกสัตว์ เกล็ดปลา ฟนั ไดโนเสารก์ นิ เน้อื อีกดว้ ย

6) หมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) ประกอบด้วยช้ันหินโคลน
สลับช้ันเกลือหินยุคครีเทเชียสตอนปลายวางตัวอยู่บนหมวดหินโคกกรวด ไม่พบโผล่ในพ้ืนที่อุทยานธรณีโคราช
อยา่ งไรกต็ ามมีรายงานการศึกษาชนั้ เกลือหนิ และแร่โพแทชจากหลุมเจาะ 7 หลมุ ในเขตอาเภอเฉลิมพระเกียรติท่ี
ดาเนินการเจาะโดยกรมทรัพยากรธรณีซึ่งพบชั้นเกลือหิน 2 ช้ัน พบแร่โพแทชทั้งชนิดแร่คาร์นัลไลต์และแร่
ซิลไวต์ท่ีชั้นเกลือหินช้ันด้านล่างซึ่งสามารถอธิบายการเกิดแร่ซิลไวต์ในประเทศไทยด้วยทฤษฏีโดมเกลือได้
(Suwanich, 2010) ช้ันเกลือหินนี้สามารถละลายซึมขึ้นไปปนเป้ือนกับน้าบาดาลและแม้แต่แหล่งน้าผิวดินได้

23

ท้ังน้ีพื้นที่ทางด้านเหนือของอาเภอขามทะเลสอได้มีการพัฒนาเป็นเหมืองละลายโดยการสูบอัดน้าผิ วดินลงไป
ละลายชั้นเกลือหินแลว้ สูบกลบั ขึ้นไปตากในแปลงนาใหร้ ะเหยตกผลึกเป็นเกลือสินเธาว์

7) หินมหายุคซีโนโซอกิ สามารถแบง่ ออกเปน็ 3 กลุ่ม คอื
7.1) ตะกอนกรวด เป็นช้ันตะกอนหนาบางไม่สม่าเสมอตั้งแต่ประมาณ 1 เมตร ถึง

มากกว่า 10 เมตร เป็นกรวดที่มีความกลมมนดีสลับช้ันกับตะกอนทราย เกิดสะสมตัวในท้องแม่น้าอดีต อยู่ห่าง
จากแม่น้าปัจจุบันตั้งแต่ 3 ถึงมากกว่า 10 กิโลเมตร พบปกคลุมบริเวณเขาแก้ว บ้านโกรกเดือนห้า กับเขาดิน
บ้านหนองรังกา บ้านหนองขอน อาเภอเมืองนครราชสีมา ซ่ึงในอดีตเคยเป็นเนินสูงลักษณะคล้ายเนินเขา แต่
เนื่องจากมีการขุดตักวัสดุนาไปใช้สรา้ งถนนมิตรภาพและสนามบินจนปัจจุบันกลายเปน็ พื้นท่ีเนินเต้ีย พบท่อนไม้
กลายเป็นหินจานวนมากบางท่อนเป็นท่อนซุงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรและยาวมากกว่า 10 เมตร มีผู้
ศึกษาชนิดของไม้กลายเป็นหินพบว่าเป็นกลุ่มของไม้ที่มีลกั ษณะใกลเ้ คยี งกับต้นไมป้ จั จุบนั ท่ีพบในปา่ เบญจพรรณ
ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง อย่างน้อยมี 7 วงศ์ 10 สกุล และ 17 ชนิด ได้แก่ วงศ์และ/หรือสกุลมะม่วง มะกอก
เกลื้อน สมอ ปลาไหลเผือก มังคะ จ่ัน จิก และสะเดา (Boonchai, 2008) ตะกอนกรวดเหล่าน้ีพบกระจายตัว
เป็นแนวยาวไปทางด้านตะวันออกที่แสดงถึงแนวแม่น้าในอดีต ส่วนในด้านอายุยังไม่มีการศึกษาที่แน่นอนแต่
ตะกอนอาจมีอายอุ ่อนลงไปทางดา้ นเหนือจนถงึ ตาแหน่งแมน่ ้าในปัจจุบนั

7.2) ตะกอนทราย เป็นตะกอนร่วนท่ียังไม่แข็งตัวเป็นหิน ยังไม่มีการศึกษาอายุอย่าง
ชดั เจน แตจ่ ากซากดึกดาบรรพ์ท่ีพบมคี วามเก่าแก่ถงึ สมัยไมโอซนี บริเวณตาบลท่าชา้ ง ตาบลช้างทอง และตาบล
พระพุทธ อาเภอเฉลิมพระเกียรติ พบเป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนทรายเป็นบริเวณกว้าง ต้ังแต่ริมฝั่งแม่น้ามูล
จนหา่ งไกลออกไป มีการขดุ เปน็ บ่อขนาดใหญ่เพื่อดูดทรายจาหนา่ ยเป็นวัสดุก่อสรา้ ง พบช้นั ตะกอนทรายและช้ัน
ดินเหนียว มีซากซุงของต้นไม้มากมายวางตัวระเกะระกะ และพบซากกระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลังหลากหลาย
สายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการพบซากกระดูกช้างถึง 10 สกุล ได้แก่ โปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium)
ไดโนธีเรียม (Deinotherium) กอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) ไซโน
มาสโตดอน (Sinomastodon) โปรตานันคัส (Protanancus) สเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon) สเตโกดอน
(Stegodon) ไซโกโลโฟดอน (Zygolophodon) และเอลีฟาส (Elephas) นอกจากนี้ยังพบซากกระดูกฮิปโป
แรด วัวควาย หมู กวาง กระจง อุรังอุตัง ยีราฟ และเสือเข้ียวดาบ และรวมถึงพวกเต่า ตะพาบน้า จระเข้ ปลา
และหอย ซากดึกดาบรรพ์เหลา่ นี้ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบตาแหน่งทางการลาดับชั้นหินที่ชัดเจนแนน่ อนเน่ืองจากพบ
จากการดูดทราย และยังพบอุลกมณีหลุดลอยตามพื้นทรายได้หลายชิ้นอีกด้วย นอกจากน้ีมีการค้นพบซาก
ดึกดาบรรพ์จานวนมากในขณะขุดสระน้าตาบลโคกสูง อาเภอเมืองนครราชสีมา พบท่อนไม้กลายเป็นหินและ
เมลด็ พชื สเตโกดอน ไฮยนี า ววั ควาย กวาง แรด ฮปิ โป เต่า ตะพาบน้า และตะโขง เป็นต้น

7.3) ดินยโสธร เป็นดินทรายละเอียดสีแดงส้มสด โดยทั่วไปพบวางตัวอยู่บนช้ัน
ตะกอนกรวด พบช้ันเฟอร์ริครีต (ferricrete) บริเวณรอยสัมผัสระหว่างช้ันตะกอนท้ังสองได้ท่ัวไป ด้านล่างของ
ช้ันดินยโสธรพบเป็นตะกอนขนาดทรายหยาบถึงขนาดกรวดเล็ก มีรูปร่างเหลี่ยมคม ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่
ควอตซ์และเศษหินอ่ืน ๆ ทั้งนี้ขนาดของเม็ดตะกอนจะมีขนาดเล็กลงข้ึนไปทางด้านบนจนมีขนาดทรายละเอียด

24

ในระยะประมาณ 30 ซม. โดยส่วนด้านบนท้ังหมดจะไม่สามารถสังเกตเห็นโครงสร้างใด ๆ ได้ด้วยตาเปล่าแต่
สังเกตเห็นความแปรผันในขนาดเม็ด พบอุลกมณีเป็นก้อนหินลอยได้บางบริเวณท่ีไม่ทราบตาแหน่งด้ังเดิมท่ี
แทจ้ รงิ ทั้งนีม้ ีรายงานพบอลุ กมณีในชัน้ ตะกอนบรเิ วณรอยต่อระหว่างชัน้ กรวดกับช้ันดินยโสธรทีบ่ ่อดินภูเขาทอง
ตาบลไชยมงคล (Satarugsa, 1987) อีกท้ังมีรายงานพบลักษณะดังกล่าวที่บ่อดินอาเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
ด้วย (Songtham et al., 2012) ซ่ึงต่อมาก็พบอีกหลายแห่งรวมถึงบ่อดินบริเวณถัดจากทางเล่ียงเมืองด้าน
ตะวนั ตกเฉยี งเหนือของเมืองขอนแก่นที่พบจานวนมาก โดยอุลกมณีในแถบภมู ิภาคน้เี คยมีการศึกษาอายเุ อาไว้ได้
ประมาณ 0.7 – 0.8 ลา้ นปซี ่ึงมคี วามสมั พันธ์กบั เหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนผิวโลกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อเนื่องไปจนถึงออสเตรเลีย (Stauffer, 1978; Ford, 1988; Blum et al., 1992; Izett and Obradovich,
1992; Schnetzler, 1992; Koeberl, 1994; Kunz et al., 1995; Hou et al., 2000; Ma et al., 2004)

จ. 1.1.2 รายการและคาบรรยายแหลง่ ธรณวี ิทยาในพนื้ ทอี่ ทุ ยานธรณี
แหล่งธรณีวิทยาในพ้ืนท่ีอุทยานธรณีโคราชมีจานวนทั้งส้ิน 35 แหล่ง แบ่งออกได้เป็น 3
ประเภท ได้แก่ แหลง่ ธรณีวิทยา (G) แหล่งธรรมชาติ (N) และแหล่งวัฒนธรรม (C)
ประเภทของแหลง่ พจิ ารณาจาก
- แหลง่ ธรณีวทิ ยา (G) พจิ ารณาจากการเปน็ มรดกทางธรณีวทิ ยาของพ้ืนท่ี
- แหลง่ ธรรมชาติ (N) พิจารณาจากแหล่งธรรมชาติอนื่ ๆ เช่น พชื สัตว์ และมคี วามเกย่ี วข้องกับ
ลักษณะทางธรณวี ทิ ยา
- แหล่งวัฒนธรรม (C) พิจารณาจากแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์หรือวิถีชีวิตท่ีสาคัญ และและ
มีความเก่ยี วข้องกบั ลกั ษณะทางธรณีวทิ ยา
การพิจารณาระดับความสาคัญของแหลง่
- ระดบั นานาชาติ (INT) เปน็ แหลง่ ท่ีได้รบั ความสนใจในแวดวงวิทยาศาสตรห์ รือองค์กรใด ๆ
- ระดบั ชาติ (NAT) เป็นแหลง่ ทีไ่ ด้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์กรระดับชาติ
- ระดบั ท้องถิ่น (LOC) เป็นแหลง่ ท่ีได้รบั การยอมรบั ทั่วไปในทอ้ งถ่ิน

25

แผนท่ีอทุ ยานธรณีโคราชแสดงตาแหน่งทต่ี ั้งแหลง่ ธรณีวิทยา แหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรม

รายชอ่ื แหลง่ ธรณีวทิ ยา แหลง่ ธรรมชาติและแหล่งวฒั นธรรมในพนื้ ที่อทุ ยานธรณีโคราช จานวน 35 แหลง่

ลาดับ ชื่อแหล่ง ประเภท ระดับ วิทยา การ การ การ
ท่ี แหลง่ ความสาคญั ศาสตร์ ศกึ ษา ทอ่ งเที่ยว คมุ้ ครอง

1 ป่าไม้กลายเป็นหนิ โกรกเดือนห้า G INT X X X X

2 แหล่งไดโนเสาร์โคกกรวด-สรุ นารี G INT X

3 บอ่ ดนิ ภเู ขาทอง G LOC X

4 กาแพงประตูชมุ พลและอนสุ าวรยี ์ C NAT XX X

ท้าวสรุ นารี

5 พพิ ธิ ภัณฑ์เมอื งนครราชสมี า C NAT XX X

6 ปราสาทหนิ พนมวนั C NAT XX X

7 พพิ ิธภณั ฑซ์ ากดึกดาบรรพโ์ คกสงู G INT X X X

8 โครงการอนุรกั ษพ์ ันธุกรรมพชื ฯ N NAT XX X

หนองระเวยี ง

9 บอ่ เกลือหนองสรวง G LOC X

10 บ่อดนิ โปง่ แดง G LOC X

11 ไทรงามเฉลิมพระเกยี รติ N LOC X

12 แหลง่ ชา้ งดึกดาบรรพ์ท่าชา้ ง-พระ G INT X X X

พุทธ

13 กุมภลักษณ์มอจะบก G LOC X X

26

ลาดับ ช่ือแหลง่ ประเภท ระดับ วิทยา การ การ การ
ท่ี แหล่ง ความสาคญั ศาสตร์ ศึกษา ทอ่ งเทย่ี ว คมุ้ ครอง

14 แหลง่ หินตดั สคี ้วิ G/C NAT XX X

15 วดั ปา่ เขาหนิ ตดั G/C LOC XX X

16 ถ้าเขาจนั ทน์งามและภาพเขยี นสี G/N/C NAT XX X

17 ผายายเทย่ี ง G/N LOC XX X

18 จุดชมวิวเขายายเที่ยง G LOC XX

19 ศูนยอ์ นุรกั ษพ์ นั ธุกรรมพชื ฯ คลองไผ่ N NAT XX X

20 หนิ ทรายเขียวซบั กระสังข์ G LOC X

21 ผาบคุ า G LOC X

22 วัดเขาพรกิ หรอื วดั พระพุทธบาท G/N/C LOC X

ครี ีวันนเ์ ขาพรกิ

23 เมอื งเสมา C NAT XX X

24 พระนอน C NAT XX X

25 ปราสาทเมอื งแขก C NAT XX X

26 นา้ ตกวะภูแก้ว G LOC XX

27 วัดปา่ ภูผาสงู G/N/C LOC XX X

28 น้าตกวังเณร G LOC XX

29 พบุ าดาล G LOC X

30 วัดเขาชาด G LOC X

31 เขาสามสบิ สา่ ง G/N LOC XX X

32 แหล่งหินตดั สูงเนนิ G/N/C LOC X X

33 ศูนย์วัฒนธรรมเฉลมิ ราชฯ บา้ นยวน C LOC XX X

34 ตลาดนา้ ฉ่า C LOC X

35 สวนพฤกษศาสตร์ มทส. N LOC X X X

การใชป้ ระโยชน์แหล่งแบ่งออกเปน็ 3 ลักษณะคอื
- การใช้ประโยชน์เพ่ือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ – เป็นแหล่งท่ีจะจากัดการเข้าถึงเพื่อ
การปกป้องคุ้มครองหรือการเข้าถึงได้ยากเพราะเป็นพ้ืนท่ีส่วนบุคคล แหล่งเหล่าน้ีจะ
อนุญาตให้เฉพาะกล่มุ ของนักวิจยั เขา้ ไปศึกษาวิจยั ได้
- เพื่อการศึกษาเรียนรู้ – จะอนุญาตให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหลายและรวมถึงกลุ่มวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์เขา้ ศึกษาเรยี นรู้ได้
- เพื่อการท่องเที่ยว – เป็นแหล่งที่เปิดกว้างเพ่ือการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ชื่นชม
ในความงดงามและความแปลกใหม่

27

- การคุ้มครอง – เป็นการคุ้มครองโดยกฎหมายหรือหน่วยงานภาครัฐหรืองค์กรปกปอ้ ง
เพ่ือประโยชนส์ ่วนรวม

จ. 1.1.3 รายละเอียดความน่าสนใจของแหล่งท่ีมคี ุณค่าระดบั นานาชาติ
จ. 1.1.3.1 ป่าไม้กลายเป็นหินโกรกเดือนห้า เป็นพื้นที่ป่าเต็งรังในปัจจุบัน และเป็นที่ตั้ง

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน และสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา รวมทั้งสานักงานอุทยานธรณีโคราช ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารประสานงานอุทยานธรณีท้ัง 5
อาเภอ ตัง้ อยใู่ นทอ้ งที่บ้านโกรกเดือนห้า ตาบลสรุ นารี อาเภอเมืองนครราชสีมา มีรายละเอียดพนื้ ที่ ชนิด พรรณ
ไม้กลายเป็นหิน สีสัน รวมทั้งการอนุรักษ์ ตามท่ีได้กล่าวถึงแล้วในหัวข้อ ง.3 ในส่วนของอายุ เทียบสัมพันธ์ไดก้ ับ
หนิ เทคไทต์ (Tektite) ทพี่ บทัว่ ไปในชัน้ กรวดและไมก้ ลายเป็นหิน ซ่งึ ผลการศึกษามีอายุประมาณ 0.7 – 0.8 ลา้ น
ปี (Stauffer, 1978; Ford, 1988; Hou et al., 2000; Ma et al., 2004) สว่ นคุณค่าระดับนานาชาติ กล่าวสรปุ
ได้ว่าเป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินสมัยไพลสโตซีนตอนต้นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรรณไม้
กลายเปน็ หนิ หลากหลายชนดิ และสีสัน รวมทงั้ มกี ารอนุรกั ษ์ในรปู แบบศาลาคลุมหลุมและการจัดแสดงในรูปแบบ
พิพธิ ภัณฑ์ไมก้ ลายเป็นหนิ ท่ีสวยงามและใหญท่ ส่ี ุดแห่งหน่งึ ของโลก

หลุมขดุ คน้ ไมก้ ลายเป็นหนิ ในป่าไม้กลายเปน็ หินโกรกเดือนหา้ ตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสมี า
จ. 1.1.3.2 แหล่งไดโนเสาร์โคกกรวด-สุรนารี เป็นแหล่งขุดสระน้าและแหล่งขุดค้นที่พบ

ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์พันธ์ุใหม่ของโลกถึง 3 สกุล 3 ชนิด รวมทั้งเต่าและจระเข้พันธ์ุใหม่อีก 1 สกุล 2 ชนิด ใน

28

ท้องท่ีตาบลโคกกรวดและตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา โดยมีรายละเอียดอายุ ชั้นหินท่ีพบ และฟอสซิล
สัตว์อ่ืน ๆ ที่พบร่วม รวมท้ังการอนุรักษ์ ได้กล่าวถึงแล้วหัวข้อ ง.2 สาหรับรายละเอียดอื่นท่ีน่าสนใจ คือ การพบ
ฟอสซิลช้ินส่วนไดโนเสาร์กินเน้ือขนาดใหญ่ในกลุ่มคาร์คาโรดอนโตซอร์ โดยเฉพาะฟันที่กระจัดกระจายในแหล่งขุด
ค้นของ 2 ตาบลกว่า 200 ซ่ี บางซ่ีตัวฟันยาวถึง 10 ซม. ซ่ึงปัจจุบันกาลังอยู่ในข้ันตอนศึกษาวิจัยและอาจมีผลการ
ค้นพบท่ีเป็นองค์ความรใู้ หม่ของไดโนเสาร์กลุ่มน้ีในทวีปเอเชยี กอรปกับพื้นท่ีที่เป็นแหล่งพบฟอสซิลไดโนเสาร์ยุคครี
เทเชียสตอนล่างในหมวดหินโคกกรวดน้ี มีชิ้นส่วนฟอสซิลไดโนเสาร์กระจายกว้างขวางนับหมื่นไร่ในพ้ืนที่ 3 อาเภอ
ของอุทยานธรณี ต้ังแต่อาเภอเมืองนครราชสีมา ขามทะเลสอ และอาเภอสูงเนิน รวมท้ังโครงการไดโนพาร์คท่ีจะ
พัฒนาข้ึนในแหล่งพบไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ราชสีมาซอรัส ในพ้ืนที่ป่าสงวนแห่งชาติกว่า 500 ไร่ของอาเภอ
เมืองฯ ทาใหแ้ หล่งพบไดโนเสารโ์ คกกรวด-สุรนารมี ีความน่าสนใจและมคี ุณค่าในระดับนานาชาติ

บอ่ ขดุ สระนา้ แหล่งซากไดโนเสารต์ าบลโคกกรวด อาเภอเมืองนครราชสีมา
จ. 1.1.3.3 แหล่งช้างดึกดาบรรพ์ท่าช้าง-พระพุทธ เป็นแหล่งบ่อดูดทรายของเอกชน
บริเวณริมลาน้ามูลในตาบลท่าช้าง ช้างทอง และตาบลพระพุทธ ในอาเภอเฉลิมพระเกียรติ ซ่ึงมีการประกอบ
ธุรกิจดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างภายในจังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีจานวนบ่อท่ีเปิดและปิด
ไปแล้วกว่า 10 บ่อ (ปัจจุบันดาเนินการเพียง 1 บ่อ ในตาบลพระพุทธ) ขนาดความลึกราว 15-35 เมตร ขนาด
กว้างราว 5-50 ไร่ ซึง่ เมอ่ื หยุดดาเนนิ การ จะมนี า้ ขังเต็มบ่อ เพราะอยู่ในท่ตี ่าใกลล้ าน้า หนา้ ตดั ช้นั ตะกอนของบ่อ
ทราย ประกอบด้วย ชั้นหินตะกอนพวกดินเหนียว ทรายแป้ง ทรายและกรวด มีซากต้นไม้กลายเป็นถ่านหรือ
กลายเป็นหินรวมทง้ั ฟอสซิลสัตว์หลากหลายชนิดแทรกสลบั อยู่มากเป็นบางชั้น อายุของตะกอนเม่ือเทียบสัมพันธ์
กับฟอสซลิ อายุต้งั แต่สมัยไมโอซนี ตอนกลางถึงไพลสโตซีน (16-0.01 ล้านปกี อ่ น) โดยฟอสซลิ ช้างทพ่ี บที่อายุเก่า
เชน่ ชา้ งสง่ี ากอมโฟธีเรยี ม ชา้ งไซโนมาสโตดอน ชา้ งสเตโกโลโฟดอน เปน็ ต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับฟอสซิลต่าง
ๆ และการอนุรกั ษ์ ได้กลา่ วถึงแลว้ ในหวั ขอ้ ง.1.1 ความนา่ สนใจและคุณค่าระดับนานาชาตขิ องแหลง่ น้ี คอื ความ
หลากหลายทางชีวภาพของฟอสซิลสตั ว์เล้ยี งลูกด้วยนมและช้างดึกดาบรรพ์อายุไมโอซีนตอนกลางถึงไพลสโตซีน
ท่ีมากทส่ี ุดแหง่ หนง่ึ ของโลก

29

AB C

ตวั อย่างฟนั ชา้ งซากดกึ ดาบรรพ์จากบ่อทรายอาเภอเฉลิมพระเกียรติ A) ช้าง กอมโฟธเี รยี ม B) ชา้ ง ไซโนมาสโตดอน
C) ช้าง สเตโกโลโฟดอน

บ่อทรายซากชา้ งดึกดาบรรพ์ตาบลพระพทุ ธ อาเภอเฉลมิ พระเกยี รติ
จ. 1.1.3.4 แหล่งซากดึกดาบรรพ์โคกสูง เป็นแหล่งบ่อขุดสระน้าโรงสีข้าวในที่ดินเอกชน
เขตตาบลโคกสูง อาเภอเมอื งนครราชสีมา พ้ืนทบ่ี อ่ ขดุ ขนาด 2,500 ตารางเมตร ความลกึ ราว 6-8 เมตร หน้าตัด
เป็นชั้นตะกอนน้าพัดพาสมัยไพลสโตซีนถึงสมัยปัจจุบัน วางซ้อนทับบนหินทรายแป้งสีแดงของหมวดหินภูทอก
แบบรอยชั้นไม่ต่อเน่ือง ฟอสซิลท่ีพบส่วนมากอยู่ในสภาพท่ีดี มีนับพันช้ิน เช่น ไฮยีน่า ช้างสเตโกดอน แรดชวา
และอ่ืน ๆ ซ่ึงมีรายละเอียดกล่าวถึงแล้วในหัวข้อ ง.1.2 โดยมีการอนุรักษ์ช้ินฟอสซิลไว้ในพิพิธภัณฑ์ซากดึกดา
บรรพ์ขนาดเล็กของเทศบาลตาบลโคกสูง ความน่าสนใจและคุณค่าระดับนานาชาติของแหล่งนี้ คือ เป็นแหล่ง
ฟอสซิลสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมสมัยไพลสโตซีนตอนกลางช่วงปลายท่ีมีความหลากหลายทางชีวภาพมากท่ีสุดใน
เอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ เพราะพบถงึ 15 ชนดิ จากบ่อขุดสระนา้ 1 บ่อ

30

บอ่ ขุดสระน้าแหลง่ ซากดกึ ดาบรรพ์โคกสงู ตาบลโคกสงู อาเภอเมืองนครราชสมี า

จ. 1.1.4 แรงผลักดนั ทจ่ี ะก่อให้เกดิ การอนุรกั ษ์แหล่งธรณีวทิ ยาในพ้ืนท่ีอุทยานธรณี
พ้ืนที่โครงการอุทยานธรณีโคราชครอบคลุมพื้นที่ในเมืองใหญ่อย่างเมืองนครราชสีมาและขยาย
ออกไปยังพื้นท่ีอาเภอรอบนอก ถือเป็นพ้ืนที่ที่กาลังมีการขยายตัวด้านการลงทุนท้ังภาครัฐและเอกชนรวมถึง
ราษฎรในชุมชนเกษตรกรรม ขณะที่แหล่งฟอสซิลสาคัญของอุทยานธรณี ทั้งไม้กลายเป็นหิน ไดโนเสาร์ ช้าง
ดึกดาบรรพ์ และพืชสัตว์ร่วมยุค กลับอยู่ห่างรอบตัวเมืองไม่เกิน 20 กิโลเมตรในระยะทางตรง แหล่งฟอสซิลจึง
ถูกคุกคามอย่างหนักมาโดยตลอดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการขยายตัวของชุมชนเมือง อุตสาหกรรมหรือ
เกษตรกรรม แต่ด้วยศักยภาพของแหล่งฟอสซิลและความสาคัญระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการดาเนินงานเพื่อ
การพัฒนาจัดต้ังอุทยานธรณีโลกในปัจจุบัน กาลังทาให้ทุกภาคส่วน รวมท้ังชุมชน เริ่มหันมาให้การสนับสนุน
กิจกรรมการอนุรักษ์ท้ังแหล่งและฟอสซิล อุทยานธรณีโคราชจึงอาจเป็นจุดเช่ือมของการอยู่ร่วมกันระหว่าง
ธรรมชาตกิ ับมนษุ ยใ์ นลกั ษณะทย่ี ่งั ยืนได้

จ. 1.1.5 สถานการณ์ปัจจุบันในการปกปอ้ งแหล่งธรณวี ิทยาของพนื้ ท่ีอุทยานธรณี
แหล่งธรณีวิทยา 23 แหล่งในอทุ ยานธรณี ทม่ี ีความสาคญั ทงั้ ในระดบั นานาชาติ ชาติ หรือระดับ
ท้องถิ่น มีผดู้ ูแลรักษาแหลง่ และรปู แบบการปกป้องคุ้มครองตา่ ง ๆ กนั ตามตารางต่อไปนี้

ท่ี ช่ือแหล่ง ผูด้ แู ลรักษาแหลง่ เจา้ ของพื้นที่ รปู แบบการคุม้ ครอง

1 ป่าไม้กลายเป็นหินโกรก สถาบันวจิ ยั ไมก้ ลายเป็นหนิ ฯ พ.ร.บ.คมุ้ ครองซากดึกดาบรรพ์
พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เดอื นห้า มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครราชสมี า พ.ร.บ.ค้มุ ครองซากดึกดาบรรพ์
พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
2 แหลง่ ไดโนเสาร์โคกกรวด- องค์การอุตสาหกรรมป่าไมฯ้

สุรนารี กรมปา่ ไม้

31

ที่ ชื่อแหล่ง ผ้ดู แู ลรกั ษาแหล่งเจ้าของพน้ื ท่ี รูปแบบการคุ้มครอง

3 บอ่ ดนิ ภเู ขาทอง เอกชน พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินฯ
4 แหลง่ ซากดึกดาบรรพ์ เทศบาลตาบลโคกสูง อ.เมือง พ.ร.บ.คมุ้ ครองซากดึกดาบรรพ์
นครราชสีมา
โคกสงู เอกชน พ.ร.บ.แร่
5 บอ่ เกลือหนองสรวง เอกชน ประกาศ ระเบียบ ของ อบต.
6 บ่อดินโป่งแดง โปง่ แดง
เอกชน พ.ร.บ.คมุ้ ครองซากดึกดาบรรพ์
7 แหล่งช้างดึกดาบรรพท์ า่
ชา้ ง-พระพุทธ วัดมอจะบก อ.สคี วิ้ พ.ร.บ.ปา่ ไม้
กรมศลิ ปากร พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
8 กมุ ภลักษณ์มอจะบก วดั ป่าเขาหินตดั อ.สีคว้ิ ประกาศ ระเบียบ สานกั งาน
9 แหล่งหนิ ตัดสีคว้ิ พระพุทธศาสนา
10 วดั ป่าเขาหนิ ตัด วัดเขาจันทน์งาม อ.สีคว้ิ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ

11 ถา้ เขาจนั ทน์งามและ การไฟฟา้ ฝ่ายผลิต พ.ร.บ.ปา่ ไมฯ้
ภาพเขยี นสี การไฟฟ้าฝ่ายผลติ ประกาศ ระเบียบ ของ กฟผ.
เอกชน พ.ร.บ.แร่
12 ผายายเทย่ี ง กรมปา่ ไม้ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
13 จดุ ชมววิ เขายายเทีย่ ง วัดเขาพรกิ อ.สีควิ้ พ.ร.บ.ปา่ สงวนฯ
14 หนิ ทรายเขียวซบั กระสงั ฆ์
15 ผาบุคา กรมป่าไม้ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
16 วดั เขาพรกิ หรือ วดั พระ วดั ปา่ ภูผาสูง อ.สงู เนิน พ.ร.บ.ปา่ สงวนฯ
กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า และ ระเบยี บกรมเจ้าท่าฯ
พุทธบาทคีรวี ันนเ์ ขาพริก อบต.มะเกลอื ใหม่ อ.สงู เนิน
17 น้าตกวะภูแกว้ กรมทรัพยากรนา้ บาดาล พ.ร.บ.น้าบาดาลฯ
18 วดั ป่าภผู าสงู วัดเขาชาด อ.สูงเนิน ประกาศ ระเบียบ สานกั งาน
19 นา้ ตกวังเณร พระพุทธศาสนา
กรมป่าไม้ ป่าชมุ ชน พ.ร.บ.ปา่ สงวนฯ
20 พุบาดาล กรมป่าไม้ ปา่ ชมุ ชน พ.ร.บ.ปา่ สงวนฯ
21 วดั เขาชาด

22 เขาสามสิบสา่ ง
23 แหล่งหินตัดสงู เนนิ

32

จ. 1.2 ขอบเขตพนื้ ที่ (Boundaries)
ขอบเขตพนื้ ท่ีอทุ ยานธรณโี คราช ใชข้ อบเขตการปกครองของ 5 อาเภอของจังหวัดนครราชสีมา จึง
สอดคล้องกับขอบเขตบริหารอาเภอและจังหวัดของประเทศไทยและใกล้เคียงกับขอบเขตพื้นท่ีลุ่มน้า
ลาตะคองตอนกลาง-ตอนล่าง ท่ีมีลาตะคองเป็นลานา้ สายหลักในพื้นที่ ร่วมกับลาน้าสาขาหลายสาย ก่อนไหลลง
บรรจบกับแม่น้ามูลท่ีเป็นแม่น้าสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยขนาดพื้นท่ีทั้งหมด
เท่ากบั 3,167.38 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ ทศิ ตะวนั ออก และทศิ ใต้ ติดตอ่ กับอาเภออ่ืนในจังหวดั นครราชสีมา
สว่ นทิศตะวันตก ตดิ ตอ่ จงั หวัดลพบุรี จงั หวัดสระบุรี และอาเภอปากชอ่ งซง่ึ อยใู่ นจังหวดั เดียวกนั

จ. 1.3 สิ่งทป่ี รากฏ (Visibility)
จ. 1.3.1 โครงสร้างพ้ืนฐานท่ีปรากฏ อุทยานธรณีโคราชมีการติดต้ังป้ายขนาดต่าง ๆ ทั้งใน

รูปแบบของป้ายส่ือความหมาย ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายบอกทาง ป้ายห้าม ป้ายเตือน และนิทรรศการ โดยถูก
ติดต้ังในแหล่งต่าง ๆ ของอุทยานธรณีอย่างครอบคลุม โดยเนื้อหาประกอบด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เนื้อหาป้ายถูกจัดทาข้ึนให้บุคคลทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงเด็กและเยาวชน เพ่ือให้การ
สื่อขอ้ มูลเป็นไปไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ สือ่ สังคมออนไลน์ของอุทยานธรณีโคราช ประกอบดว้ ยข้อมลู ที่ครอบคลุม
ทั้งด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยว รวมถึง
สนิ ค้าและบริการต่าง ๆ ทีม่ ใี นเขตอทุ ยานธรณโี คราช

จ. 1.3.2 ข้อมูลหลายภาษา มีความจาเป็นอย่างยิ่งในการส่ือสารสาหรับกลุ่มบุคคลในยุค
ปัจจุบัน ซึ่งอุทยานธรณีโคราชได้จัดทาส่ือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ต่ากว่า 2 ภาษา อาทิ ป้ายสื่อความหมาย ป้าย
ประชาสัมพันธ์ ป้ายบอกทาง ป้ายห้าม ป้ายเตือน และนิทรรศการ ที่มีเน้ือหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หนังสือเกี่ยวกับอุทยานธรณีโคราชที่ประกอบด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เว็บไซต์อุทยานธรณี
โคราช ทีม่ ที ัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

จ. 1.4 ส่ิงอานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน อุทยานธรณีมีสิ่งอานวยความสะดวกเพ่ือ

ส่งเสริมสนับสนุนการดาเนินงานอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์โลก นิเวศวิทยา และ

วฒั นธรรมในพ้นื ทห่ี ลายรูปแบบ คือ

จ. 1.4.1 พพิ ิธภัณฑ์และศนู ย์บรกิ าร / สถาบนั ตา่ ง ๆ

ท่ี ชื่อ รายละเอียด

1 พพิ ธิ ภณั ฑ์โคราชจีโอพาร์ค (Khorat ประกอบด้วยศูนยส์ ารสนเทศโคราชจีโอพารค์ พิพธิ ภัณฑ์ไม้

Geopark Museum) กลายเปน็ หนิ พิพธิ ภณั ฑ์ชา้ งดึกดาบรรพ์ และพิพธิ ภัณฑ์

ไดโนเสาร์ ปา่ ไม้กลายเป็นหิน อาคารวิจัยและคลังซากดึกดา

บรรพ์ ฐานค่ายวทิ ยาศาสตรโ์ ลก ตง้ั อย่ใู นพนื้ ที่ 80 ไร่ ของบ้าน

โกรกเดือนหา้ ต.สรุ นารี อ.เมืองนครราชสีมา ห่างจากตัวเมือง

33

ที่ ชื่อ รายละเอียด

นครราชสมี าไปทางทิศตะวนั ตก ระยะทางตามถนน 23

กโิ ลเมตร

2 พิพธิ ภณั ฑ์ช้างดึกดาบรรพ์ แสดงนิทรรศการช้างดกึ ดาบรรพ์ 10 สกลุ รวมท้งั สตั วม์ ีกระดูก

สนั หลังอนื่ ๆ ท่ีพบจากแหลง่ บอ่ ดูดทรายในท้องถิ่น ต.ทา่ ช้าง

อ.เฉลมิ พระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองนครราชสมี า ไปทางทศิ

ตะวันออก 19 กิโลเมตร

3 พพิ ิธภณั ฑ์ซากดึกดาบรรพ์ แสดงนทิ รรศการซากดึกดาบรรพ์ชา้ งสเตโกดอน ไฮยนี า ตะโขง

สตั วว์ งศ์วัวควาย (bovid) จากแหลง่ ขดุ สระนา้ ต.โคกสงู

อ.เมอื งนครราชสมี า หา่ งจากตัวเมืองไปทางทศิ เหนือ 14

กิโลเมตร

4 พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาตมิ หาวรี วงศ์ แหลง่ รวบรวมและจัดแสดงโบราณวตั ถุ ศิลปวัตถุ ทบี่ ุคคลหรือ

องค์กรตา่ ง ๆ รวบรวมไวจ้ ากแหล่ง จงั หวัดนครราชสีมาและ

จังหวัดใกลเ้ คียง และนาไปบริจาคให้กบั ทางพิพิธภณั ฑ์ ซ่ึงมี

ตัง้ อย่ใู นจังหวดั นครราชสมี า

5 พพิ ธิ ภณั ฑ์เมอื งนครราชสมี า แหลง่ รวบรวมโบราณวตั ถุ ศลิ ปวัตถุของทอ้ งถ่ิน และจัดแสดง

เปน็ นิทรรศการตามลาดับทั้ง 5 ยคุ ตง้ั แต่ยคุ หินใหม่ ยุคสัมฤทธ์ิ

ยุคเหล็ก ยุคประวตั ิศาสตร์ และยุคปจั จบุ ัน เปน็ พิพธิ ภณั ฑ์ที่

ตัง้ อย่ใู นมหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาเภอเมอื ง

นครราชสีมา

6 พิพธิ ภณั ฑ์ธรรมชาติวทิ ยา อยูใ่ นพ้ืนที่ 200 ไร่ ในอาคารประกอบดว้ ยห้องวีดทิ ัศนฐ์ าน

ทรพั ยากรไทย ห้องแสดงผลงานวิจยั หอ้ งจาลองภาพจากแหล่ง

มรดกโลกเขาใหญส่ ู่ลาน้าโขง ฯลฯ จดั เปน็ ส่วนหนึง่ ของ

โครงการอนุรักษ์พนั ธกุ รรมพืชของมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราช

มงคลอีสานนครราชสีมา ศูนย์หนองระเวยี ง ในพ้ืนทป่ี า่ ตาม

ธรรมชาตใิ นท่รี าบท่เี ป็นป่าเต็งรงั ป่าเบญจพรรณ จานวน

2,500 ไร่ ซง่ึ ประกอบด้วยแหล่งเรียนรธู้ รรมชาติด้านต่าง ๆ

อยหู่ ่างจากตวั เมอื งนครราชสมี าไปทางตะวันออก 10 กิโลเมตร

7 สวนพฤกษศาสตรเ์ ฉลิมพระเกียรติ ดาเนินการเพื่อสง่ เสรมิ การอนุรักษ์พนั ธุกรรมพชื ตามแนว

มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีสุรนารี พระราชดารขิ องสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี ในสวนประกอบดว้ ยป่าเต็งรงั ป่าบรเิ วณอาคารสวน

34

ท่ี ชื่อ รายละเอยี ด
สมุนไพร อาคารนิทรรศการ เสน้ ทางเดินป่าธรรมชาติ โรงเรือน
8 อุทยานผีเส้อื มหาวิทยาลัย อาณาจักรพชื โรงเรยี นพรรณไมป้ ่าเต็งรังและกล้วยไม้
เทคโนโลยสี ุรนารี แสดงความสมั พันธ์ของการมีชวี ติ ของสัตว์ พชื และปัจจยั ที่
เกี่ยวข้องในการดารงชวี ติ โดยใชแ้ มลงเป็นส่ือ ประกอบด้วย
9 ศนู ยว์ ิทยาศาสตร์เพอ่ื การศึกษา นทิ รรศการ 5 กลุ่ม คือ 1) กาเนดิ แมลง 2) พิพธิ ภณั ฑ์แมลง
3) วงจรชีวติ ผเี ส้ือ 4) แมลงมีประโยชน์-โทษ 5) ผเี ส้อื กับ
10 สถาบันวจิ ัยไม้กลายเป็นหนิ และ ธรรมชาติ
ทรัพยากรธรณีฯ มหาวิทยาลัยราช เปน็ ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและตามอธั ยาศัยทางด้าน
ภัฏนครราชสมี า วทิ ยาศาสตร์ ชีวิต และธรรมชาติ นทิ รรศการทสี่ าคญั คือ 1)
ดาราศาสตรแ์ ละอวกาศ 2) นเิ วศวทิ ยา 3) วทิ ยาศาสตร์
11 ศนู ย์วฒั นธรรมเฉลิมราชฯ “บ้าน พ้ืนฐาน และ 4) พระราชประวัติรัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่ง
ยวน” อ.สีคิว้ วทิ ยาศาสตร์ไทย ตั้งอยู่ในพนื้ ที่ 59 ไร่ ในอาเภอสคี ิ้ว
เปน็ สถาบนั วิจัยทางด้านซากดึกดาบรรพ์และธรณวี ิทยาท่ี
12 ศูนยเ์ รียนรู้โรงเรียนจโี อปารค์ เกย่ี วข้องของท้องถิ่น มีพิพิธภณั ฑ์อุทยานธรณโี คราช
โรงเรียนทา่ ชา้ งราษฎรบ์ ารงุ พพิ ิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน พิพธิ ภณั ฑ์ช้างดกึ ดาบรรพ์
พิพธิ ภัณฑ์ไดโนเสาร์ อาคารปฏบิ ตั ิการวิจยั อาคารคลงั ซากดกึ
ดาบรรพ์ อุทยานไมก้ ลายเป็นหิน ฐานการเรยี นรดู้ ้าน
วทิ ยาศาสตร์โลก ตั้งอยใู่ นพ้ืนท่ี 80 ไร่ ต.สุรนารี อ.เมอื ง
นครราชสีมา
ตั้งอยู่ในวดั ใหญส่ ีคว้ิ จดั แสดงวัฒนธรรมทเ่ี ป็นอตั ลกั ษณเ์ ฉพา
ตวั ของชาวไท-ยวน ทัง้ ด้านภาษา สถาปัตยกรรม
ศลิ ปหตั ถกรรม อาหาร การละเล่นพน้ื บา้ น การแต่งกาย
ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ
ตั้งอยูใ่ นโรงเรียนทา่ ชา้ งราษฎรบ์ ารงุ จดั แสดงเร่ืองราวเกยี่ วกับ
ดนิ หิน แร่ ฟอสซิล นเิ วศวทิ ยา และประวัตศิ าสตรท์ ้องถ่ิน
และเรอ่ื งราวเกยี่ วกบั อทุ ยานธรณีโคราช

จ. 1.4.2 โครงสรา้ งพ้ืนฐานทางด้านการทอ่ งเที่ยวเชิงธรณี

ที่ เส้นทางทอ่ งเทยี่ ว รายละเอียด

1 เสน้ ทางปัน่ จักรยานเพอ่ื สุขภาพและ เปน็ เสน้ ทางตามถนนเร่ิมต้นจากอนสุ าวรียท์ า้ วสรุ นารี ไปตาม

การทอ่ งเท่ยี ว อ.เมืองนครราชสมี า ถนนมิตรภาพ ถึงตลาดไม้ดอกไม้ประดบั โคกกรวด กราบพระ

35

ท่ี เสน้ ทางท่องเทยี่ ว รายละเอยี ด

บรมสารีริกธาตทุ ่วี ัดโปง่ ดนิ สอ ผา่ น ต.สุรนารี แวะทอ่ งเท่ยี ว

พพิ ธิ ภณั ฑ์ไม้กลายเปน็ หนิ ผา่ น ต.ไชยมงคล ต.โพธก์ิ ลาง และ

ส้นิ สดุ ทจี่ ุดเริม่ ตน้ ระยะทาง 40 กิโลเมตร

2 เสน้ ทางวงิ่ เทรลดงมะไฟ อ.สูงเนนิ ระยะทาง 10, 21, 32 กิโลเมตร เรม่ิ ต้นและสน้ิ สุดบริเวณสวน

สนสามใบ ด้านหน้าทางเขา้ วัดปา่ ภผู าสูง บา้ นดงมะไฟ ต.

มะเกลือใหม่

3 เส้นทางลอ่ งเรือแพแลลามูล อ.เฉลมิ ลอ่ งเรอื ขนาด 10-20 ท่นี ่งั หรอื เรือ่ ลากจงู แพขนาด 20-40 ที่

พระเกยี รติ นง่ั จากท่าเรืออนุสรณ์สถาน ร.6 ชมธรรมชาติสองฝงั่ แมน่ ้ามลู

สวนชา้ งดกึ ดาบรรพ์ แมน่ ้าสองสี เรือโบราณ ไทรงาม

4 เส้นทางตลาดนา้ ฉ่า อ.ขามทะเลสอ ชมทวิ ทศั นเ์ กษตรชนบทบนพ้ืนทีใ่ กล้ฝง่ั เท่ยี วจบั จ่ายสนิ ค้า

เกษตรของท้องถน่ิ

5 เสน้ ทางเดินศึกษาธรรมชาตสิ ู่ผายาย พัฒนาโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลติ แหง่ ประเทศไทยให้เปน็ แหลง่

เท่ยี ง ต.คลองไผ่ อ.สคี ิว้ ท่องเท่ยี วเชิงนเิ วศ ผ่านพน้ื ท่ีเกษตรทฤษฎใี หม่ การทาฝาย

กน้ั นา้ ป่าชมุ ชน และจดุ ชมวิวตรงหน้าผายายเที่ยง

6 เส้นทางปน่ั จักรยานหรือวงิ่ ลอยฟ้า ป่นั จักรยานหรือวง่ิ ชมทวิ ทัศน์เขาเควสตา และลาตะคอง รอบ

อา่ งพักนา้ ตอนบนโรงไฟฟ้าลาตะ อ่างพักน้าตอนบนโรงไฟฟ้าลาตะคองชลภาวฒั นา และซอ้ื สินค้า

คองชลภาวัฒนา ต.คลองไผ่ อ.สีค้วิ ของทีร่ ะลกึ จากชุมชน

7 เส้นทางเดินศึกษาธรณีวทิ ยา เส้นทางเดนิ ป่าศึกษาธรรมชาติ ทั้งทางธรณีวิทยา นเิ วศวทิ ยา

นเิ วศวทิ ยา และวัฒนธรรม วดั เขา และวัฒนธรรม ของวัดเขาจันทน์งาม ศึกษาสภาพนเิ วศวทิ ยาป่า

จนั ทน์งาม ต.ลาดบวั ขาว อ.สีคิว้ ดิบแลง้ ควบคู่ไปกบั การศึกษาภาพเขียนสปี ระวตั ิศาสตร์อายุราว

4,000 ปี ภายในพ้นื ทซ่ี ่งึ มสี ภาพทางธรณวี ิทยาควรค่าแก่การ

เรยี นรูท้ ี่เรยี กไดว้ ่าเป็น Text book of sandstone อีกด้วย

จ. 1.5 สารสนเทศ การศึกษาและการวจิ ัย
จ. 1.5.1 ข้อมูลข่าวสารที่นาเสนอต่อสาธารณชน มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองอุทยาน

ธรณี ว่าคืออะไร ทากิจกรรมอะไร และอย่างไร รวมท้ังประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ท้ังคนรุ่นปัจจุบันและคน
รุ่นหลัง ท้ังนี้โดยใช้ส่ือหลากหลายรูปแบบ เช่น บอร์ดนิทรรศการ โบรชัวร์หรือแผ่นพับใบปลิว หนังสือต่าง ๆ ที่
เก่ียวกับอุทยานธรณี โมเดลจาลอง วีดีโอหรือวีดิทัศน์ ป้ายส่ือความหมายต่าง ๆ แผนที่ ซีดี อินโฟกราฟฟิก ไลน์
เว็บไซต์ เฟสบุค๊ คิวอารโ์ คด้ รวมทงั้ การใชบ้ รกิ ารผ่านสื่อหนังสอื พิมพ์ วทิ ยุ และโทรทศั น์

36

จ. 1.5.2 ตวั อย่างการสอื่ สารข้อมลู

ใบปลวิ ประชาสมั พันธ์มหกรรมฟอสซิลเฟสตวิ ัล

แผ่นพบั โรงเรียนอทุ ยานธรณี
หนงั สอื ท่ีเกยี่ วข้องกับอุทยานธรณโี คราช

37

โมเดลจาลองในโรงเรียนอุทยานธรณี

แผนทีแ่ สดงอุทยานธรณี แผนทีภ่ ายในแหลง่ และแผนทเี่ ส้นทางท่องเท่ียวเชงิ ธรณี
จ. 1.5.3 กิจกรรมการศึกษา

จ. 1.5.3.1 กิจกรรมค่ายจีโอพาร์ค (Geopark Camp) ระหว่างอุทยานธรณีโคราชกับ 2
มรดกของยูเนสโกในพ้ืนทจี่ ังหวัดนครราชสีมา (มรดกโลกผนื ป่าดงพญาเยน็ -เขาใหญ่ และพืน้ ทีส่ งวนชวี มณฑลป่า
สะแกราช) เป็นกจิ กรรมตามบนั ทึกความร่วมมือ (MOU) ระหวา่ ง 3 องคก์ รดังกลา่ ว ในการให้ครแู ละนักเรียนใน
โรงเรียนจีโอพาร์ค (Geopark School) 26 โรงเรียนในพ้ืนท่ีอุทยานธรณีโคราชเข้าร่วมการฝึกทักษะในฐานการ
เรียนรู้ต่าง ๆ ด้านทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า หิน-แร่ ฟอสซิล สารวจท้องฟ้าศึกษาดาวฤกษ์ดาวเคราะห์ ออกแบบ
และทาการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ฯลฯ ในพ้ืนที่อนุรักษ์ของ 3 องค์กร เพ่ือพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์โลก
(Geoscience) และสร้างจิตสานึกอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมแก่เยาวชน โดยดาเนินการต้ังแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.
2561 จนถึงปัจจุบนั จานวน 10 รุ่น รวม 1,098 คน จากโรงเรียนเครอื ขา่ ยอทุ ยานธรณีและโรงเรยี นอนื่ ๆ ในเขต
จังหวัดนครราชสีมารวมจานวน 29 โรงเรียน ซ่ึงมีผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์ รวมท้ังนักเรียนจานวนหน่ึง เกิด
แรงบันดาลใจในการทางานจติ อาสาอนรุ ักษป์ ่าไม้ สตั ว์ปา่ เหมอื นพ่ี ๆ ทเ่ี ป็นวทิ ยากรในพื้นที่มรดกข้างตน้

จ. 1.5.3.2 กิจกรรมศึกษาดูงานอุทยานธรณีโลกสตูล โดยทางอุทยานธรณีโคราชจัดพา
ผู้บริหารโรงเรยี น ผนู้ าท้องถน่ิ ผู้นาภาคเอกชน จากพนื้ ที่ 5 อาเภอของอทุ ยานธรณโี คราช ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.
2560 และจัดให้คณะกรรมการอานวยการระดับจังหวัด และคณะกรรมการบริหารอุทยานธรณี นาโดยผู้ว่า
ราชการจังหวัดนครราชสีมา นายวเิ ชียร จนั ทรโณทยั และคณะ ในเดือน กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2561 มผี ลดที าให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในภาคส่วนต่าง ๆ ภายในพ้ืนท่ึอุทยานธรณีอย่างมาก เช่น การมีวาระ
จังหวัด วิสัยทัศน์จังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด และการท่องเท่ียว ที่มีประเด็นของอุทยานธรณีอยู่ด้วย การ
สนับสนุนงบประมาณพัฒนาอุทยานธรณีจากกลุ่มจังหวัดและภาคอีสานตอนล่าง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นท่ี

38

เกีย่ วกบั อุทยานธรณี การพัฒนานิทรรศการ ศูนย์การเรยี นรู้อุทยานธรณี รวมทั้งสวนภูมิทัศน์ในโรงเรียนประถม-
มัธยมศึกษาในพ้ืนที่ 5 อาเภอของอุทยานธรณีโคราช การจัดต้ังคณะกรรมการอุทยานธรณีระดับอาเภอ และจัด
กิจกรรมระดมหาทุนพัฒนาแหล่งและครุภัณฑ์ด้านการท่องเท่ียวในอาเภอของตน ความร่วมมือในกิจกรรม
ประชาสัมพนั ธ์หรอื แสดงสนิ ค้าผลติ ภัณฑ์อทุ ยานธรณีในงานกิจกรรมตา่ ง ๆ เปน็ ตน้

จ. 1.5.4 งานวจิ ัยของอทุ ยานธรณหี รือทรี่ ่วมกบั เครือข่าย
เนื่องด้วยอทุ ยานธรณโี คราชมีความโดดเดน่ ทางดา้ นฟอสซิล งานวิจยั ส่วนใหญข่ องบุคลากรวิจัย
ในอุทยานธรณีโดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ จึงเป็นงานวิจัยด้านฟอสซิล กล่าวคือ
งานวจิ ยั ตพี ิมพ์ในวารสารวชิ าการระดบั นานาชาติของอุทยานธรณี ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 – 2561 มจี านวน 15 เรือ่ ง
เป็นงานวิจัยด้านฟอสซิลจานวน 12 เรื่อง (80%) การนาเสนองานวิจัยหรือบทความทางวิชาการในที่ประชุม
ระดับนานาชาติจานวน 21 เร่ือง เป็นด้านฟอสซิล 20 เร่ือง (95.24%) นอกนั้นเป็นงานวิจยั สาขาธรณีวทิ ยาดา้ น
อ่ืน ๆ ส่วนงานศึกษาวิจัยภายในประเทศท่ีมีการเผยแพร่แล้วในช่วงปีดังกล่าว จะเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับอุทยาน
ธรณีในด้านต่าง ๆ เช่น ดา้ นพืชพรรณธรรมชาติ 1 เรื่อง สัตว์ป่า 1 เร่อื ง วัฒนธรรมทอ้ งถน่ิ 1 เรอื่ ง เปน็ ตน้

39

จ. 2 มรดกอืน่
จ. 2.1 มรดกทางธรรมชาตอิ ่ืนๆ

ชอ่ื แหลง่ สถานการณ์ คุณคา่

1.โครงการอนรุ ักษ์ เป็นโรงเรียนธรรมชาติ ทางนเิ วศวิทยาแหลง่ เปน็ พื้นที่ป่า
พนั ธุกรรมพืชฯ หนองระ พพิ ธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา เรยี นรู้ แหลง่ อนรุ กั ษ์ นครราชสีมา
เวยี ง (ต.หนองระเวียง อ. และพ้ืนทข่ี ยายการศึกษา พนั ธุกรรมพืชตาม พชื พ้นื ที่ 1,
เมืองนครราชสมี า) รวมทงั้ หมด 2,500 ไร่ แนวทางของสมเด็จ ธรรมชาตวิ ทิ
ของมหาวิทยาลยั พระเทพรัตนราชสุดาฯ การศึกษาธร
2.ศนู ยอ์ นุรกั ษพ์ นั ธุกรรม เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สยามบรมราชกุมารี กิจกรรมสรา้
พืช คลองไผ่ (ต.คลองไผ่ นครราชสมี า สตั วป์ า่ เพ่อื ส
อ.สคี ิ้ว) เปน็ พืน้ ทโี่ ครงการอนุรักษ์ ทางนเิ วศวทิ ยาแหล่ง เป็นศนู ย์อน
พันธพ์ุ ืชและศนู ย์ฝกึ อบรม เรยี นรู้ แหลง่ อนุรกั ษ์ ฝึกอบรมถ่า
3. สวนพฤกษศาสตร์ พื้นท่ี 395 ไร่ ภายใตก้ าร พนั ธุกรรมพชื ตาม พระราชดาร
มทส. (ต.สรุ นารี อ.เมือง บรหิ ารของมหาวทิ ยาลยั แนวทางของสมเดจ็ ในการบรหิ
นครราชสมี า) เทคโนโลยีสรุ นารี เพอ่ื สนอง พระเทพรตั นราชสดุ า เชน่ การพัฒ
พระราชดาริ ตามโครงการ ฯ สยามบรมราชกุมารี เกษตรอินท
อนุรักษพ์ ันธกุ รรมพชื ฯ
สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ ทางพฤกษศาสตร์และ ประกอบด้ว
สยามบรมราชกมุ ารี สมนุ ไพร สวนสมนุ ไพ
พนื้ ท่ีอนุรกั ษ์ป่าเตง็ รงั เดินปา่ ธรรม
จานวน 80 ไร่ เพอื่ การ โรงเรยี นพร
เรยี นรู้

4

คาอธิบาย การส่งเสริมใหด้ ขี น้ึ การบารงุ รักษา ระดับ
ความสาคัญ
าเต็งรังในท่รี าบใกล้ตัวเมือง มปี ้ายแผนที่ ปา้ ยสอ่ื บารุงรักษาจัดการ ภาค
โดยมหาวทิ ยาลยั
าที่เปน็ แหลง่ อนุรกั ษ์พันธกุ รรม ความหมาย ป้าย เทคโนโลยีราช ภาค
มงคลอสี าน
,000 ไร่ กบั พพิ ิธภัณฑ์ ประชาสมั พนั ธ์ เปน็ แหลง่ นครราชสมี า

ทยา 200 ไร่ มกี ิจกรรมคา่ ย ทอ่ งเท่ยี วเรียนรใู้ นเส้นทาง บารุงรักษาโดย
มหาวิทยาลยั
รรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม ท่องเทยี่ วอุทยานธรณี เทคโนโลยีสรุ นารี
จังหวัด
างสรรคเ์ กย่ี วกบั พนั ธไ์ุ ม้และ นครราชสมี า

สร้างจติ สานกึ อนุรกั ษ์ป่าไม้

นรุ ักษ์พันธกุ รรมพชื และศนู ย์ มปี ้ายแผนที่ ป้ายสื่อ

ายทอดแนวทางตาม ความหมาย ป้าย

ริ “ศาสตร์พระราชา” มาไว้ ประชาสมั พนั ธ์ พฒั นาสวน

หารจดั การทรัพยากรทอ้ งถ่นิ หิน ท้องถนิ่ สคี ิ้วหรืออีสาน

ฒนาผลติ ภณั ฑ์ การผลติ

ทรยี ์

วยป่าเตง็ รัง ป่าบรเิ วณอาคาร ปา้ ยแผนที่ ป้ายสอื่ ความหมาย บารุงรักษาโดย จงั หวัด
พร อาคารนิทรรศการ เส้นทาง แหลง่ ธรรมชาตใิ นเสน้ ทาง มหาวทิ ยาลยั
มชาติ โรงเรือนอาณาจกั รพชื ทอ่ งเทยี่ วอุทยานธรณี พัฒนา เทคโนโลยีสรุ นารี
รรณไมป้ า่ เต็งรังและกลว้ ยไม้ ผลติ ภณั ฑจ์ ากปา่ เต็งรัง

40

จ. 2.2 มรดกทางวฒั นธรรม

ช่อื แหลง่ สถานการณ์ คณุ ค่า

1. กาแพงประตูชุมพล แหลง่ อนุรักษข์ องกรม ทางประวัตศิ าสตร์- กาแพงเปน็ โ
และอนสุ าวรีย์ท้าว ใกล้ประตู จ
สรุ นารี (เทศบาลนคร ศิลปากรและแหล่ง โบราณดี เมตร ยาว 5
นครราชสมี า อ.เมอื ง พ.ศ. 2205
นครราชสมี า) ทอ่ งเที่ยวของเทศบาลนคร ความกลา้ หา
คนหน่ึงในกา
นครราชสมี าและจงั หวดั ที่รุกรานเม่ือ
จัดแสดงนทิ
นครราชสมี า นครราชสมี
ต้งั แตย่ ุคหิน
2. พิพธิ ภัณฑ์เมอื ง แหล่งอนรุ ักษ์ ศกึ ษา ทางวฒั นธรรม ยุคประวตั ศิ
นครราชสมี า (ต.ในเมอื ง เรยี นรแู้ ละทอ่ งเท่ยี วของ ประวตั ศิ าสตร์และ
อ.เมืองนครราชสมี า) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั โบราณคดี
นครราชสมี า จงั หวดั
นครราชสมี า

3. ปราสาทหินพนมวัน แหลง่ อนุรกั ษ์ของกรม ทางโบราณคดแี ละ เปน็ ปราสาท
(ต.บ้านโพธ์ิ อ.เมอื ง ศลิ ปากรและแหลง่ ประวตั ิศาสตร์ กอ่ สรา้ งด้วย
นครราชสมี า) ทอ่ งเทีย่ วของจังหวดั ตั้งแตพ่ ทุ ธศ
อาศัยของช
ยุคสัมฤทธิ์
เหลก็ (2,50

4

คาอธิบาย การส่งเสริมให้ดขี ึ้น การบารงุ รักษา ระดับ
ความสาคญั
โบราณสถานท่ีเหลอื อยู่บริเวณ มปี ้ายสอื่ ความหมายและ บารุงรักษาโดย ประเทศ
จากกาแพงเมืองท้ังหมดสูง 6 จดั เปน็ แหล่งท่องเที่ยวใน เทศบาลนคร
5,220 เมตรท่กี ่อสร้างเม่ือ ราว เสน้ ทางท่องเท่ยี ว จีโอพาร์ค นครราชสมี า จงั หวัด
ส่วนอนุสาวรยี ์มคี ณุ ค่าเชิดชู
าญของวรี สตรีที่เป็นแกนหลกั ปา้ ยแผนท่ี ป้ายส่ือ ดแู ล รกั ษา ประเทศ
การป้องกนั เมืองโคราชจากขา้ ศึก ความหมาย จดั เป็นแหล่ง ปรับปรงุ พฒั นา
อ พ.ศ. 2369 ทอ่ งเทยี่ วในเสน้ ทาง โดยสานกั ศลิ ปะ
ทรรศการพฒั นาการเมอื ง ท่องเทย่ี วจโี อพารค์ และวัฒนธรรม
มา รวม 5 ยคุ กว่า 4,000 ปี มหาวทิ ยาลยั ราช
นใหม่ ยคุ สมั ฤทธ์ิ ยคุ เหล็ก มีปา้ ยแผนที่ ปา้ ยสอื่ ภัฏนครราชสมี า
ศาสตรแ์ ละ ยคุ ปจั จบุ นั ความหมาย ปา้ ย บารงุ รักษาโดย
ประชาสมั พันธ์ มีกจิ กรรม กรมศิลปากร
ทในลทั ธิความเชอื่ ศาสนาฮนิ ดู วนั สงกรานต์ การจาหนา่ ย
ยหินทราย ศิลาแลงและอฐิ ผลิตภณั ฑแ์ ละบริการจาก
ศตวรรษที่ 15-17 บนพ้ืนทอี่ ยู่ ชุมชน มีมัคคเุ ทศก์
ชุมชนก่อนประวัตศิ าสตร์ คอื ภาษาต่างประเทศจาก
(3,400-2,500 ปีกอ่ น และยุค
00-1,500 ปีก่อน)

41

ชอ่ื แหล่ง สถานการณ์ คณุ ค่า

4. เมืองเสมาและ แหล่งอนรุ ักษ์ของกรม ทางโบราณคดี เปน็ เมืองโบ
พระนอน (ต.เสมา อ.สูง ศลิ ปากร วัดธรรมจกั ร ประวัติศาสตรแ์ ละ พระนอนหิน
เนนิ ) เสมารามร่วมบรหิ าร ศาสนา เมตร ของส
จัดการพระนอนด้วย ศตวรรษท1่ี
ทางโบราณคดีและ ดนิ รูปสเ่ี หล
5. ปราสาทเมืองแขก (ต. แหลง่ อนรุ ักษข์ องกรม ประวัตศิ าสตร์ เหนือ-ใต้ 1,
ตะวนั ตก 1,
โคราช อ.สูงเนนิ ) ศิลปากร การต้งั ถิ่นฐา
ศตวรรษที่ 1
เป็นปราสาท
ธรรมขอม ส
สถานในคต
พทุ ธศตวรร
พิธกี รรมถว

6. ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิม ศนู ยอ์ นรุ กั ษแ์ ละเรยี นรู้ ทางวัฒนธรรมท้องถ่ิน ชาวไท-ยวน
ราชฯ และตลาด บา้ น วัฒนธรรมและตลาดสนิ คา้ และทาง ภูมปิ ญั ญา เชียงแสน จ
ยวน (เทศบาลตาบลสคี ิว้ ของชมุ ชนชาวไท-ยวน ซ่งึ ชาติพันธ์ุ สดุ ทา้ ยของไ
อ.สีควิ้ ) เป็นชนกล่มุ นอ้ ยในจงั หวัด เพราะภยั สง
พ.ศ. 2347

4

คาอธิบาย การส่งเสริมใหด้ ีขน้ึ การบารุงรักษา ระดับ
ความสาคญั
บราณนาม”ศรจี นาศะ”และ โรงเรียนประจาจังหวัดและ บารงุ รกั ษาโดย ประเทศ
นทรายแดง ขนาดยาว 13 ในตาบลมาใหบ้ รกิ าร กรมศิลปากรและ
สมัยทวารดี อายุราวพุทธ มีปา้ ยแผนที่ ป้าย วดั ธรรมจกั รเสมา ประเทศ
14-16 ตวั เมอื งมคี ูน้าและคัน ประชาสมั พนั ธ์ ป้ายสือ่ รวม
ลย่ี มมเี ส้นผา่ นศูนย์กลางแนว ความหมาย ป้ายหา้ ม/เตือน ท้องถิ่น
1,755 เมตร แนวตะวันออก- มีประเพณลี อยกระทงทุกปี
,855เมตร สร้างบนพื้นทท่ี มี่ ี
านมาก่อนแลว้ ในชว่ งพทุ ธ มปี า้ ยแผนท่ี ปา้ ยส่อื บารุงรกั ษาโดย
10-11
ทหนิ ทรายผสมอิฐในอารย ความหมาย ป้าย กรมศลิ ปากร
สร้างขึ้นเพอื่ เปน็ ศาสน
ติฮินดูหรือพราห์ม ในราวตน้ ประชาสมั พนั ธ์ ป้ายบอกทาง
รษท่ี 16 เพอื่ ประกอบ
วายแตพ่ ระศวิ ะ สื่อเอกสาร โบวช์ ัวร์ ประเพณี

น มถี น่ิ ฐานดง้ั เดมิ อยู่ในเมือง กินเข่าค่า จดั ทุกปตี ้ังแต่ พ.ศ.
จังหวัดเชียงรายในภาคเหนือ
งไทยอพยพมาอยทู่ ่อี าเภอสีคิ้ว 2538 ถึงปจั จุบัน
งครามระหว่างพมา่ และไทยใน
ปัจจุบันชาวไท-ยวน ยังรักษา มปี า้ ยแผนที่ ป้ายสื่อ บารุงรกั ษาโดย

ความหมาย ป้าย ชมุ ชนชาวไท-ยวน

ประชาสมั พันธ์ พัฒนา และวดั สคี ิ้ว

ผลติ ภณั ฑอ์ าหาร การทอผ้า

42

ชอื่ แหลง่ สถานการณ์ คณุ คา่

7. ตลาดนา้ ฉา่ นครราชสมี าและตัง้ อยู่ใน วัฒนธรรมท้องถน่ิ ภูมิ รกั ชวี ิตแบบ
(ต.โป่งแดง อ.ขามทะเล พน้ื ท่ีวดั ใหญส่ ีค้วิ ปัญญาและโบราณดี ทอผ้า ใชร้ ะ
สอ) เช่ือและประ
ตลาดชมุ ชนตาบลโป่งแดง แหล่งท่องเท
บรเิ วณรมิ ลาตะคอง โดย (เห็ด) ตามธ
การสนบั สนุนหลักจาก เกษตรกรรม
อาเภอขามทะเลสอ คอง รวมท้งั
เสน้ หม)่ี และ
หินกรวดมน
ลาตะคอง อ

จ. 2.3 มรดกภมู ิปัญญาทางวฒั นธรรม (intangible heritage)

ชอื่ แหล่ง สถานการณ์ คุณค่า

1. เรอื นโคราช เป็นส่วนหนง่ึ ของ ภูมปิ ญั ญาท้องถนิ่ ของ เปน็ เรอื นไท
(ต.ในเมอื ง อ.เมอื ง พิพธิ ภัณฑ์เมอื ง ชาวไทยราช ทางดา้ น ผสมผสานร
นครราชสมี า) นครราชสมี าท่ีแสดง อตั สถาปัตยกรรม เรือไทยภาค
ลกั ษณ์ดา้ นสถาปตั ยกรรม เดียว ยกพน้ื
ของชาวไทยโคราช เคย ทามมุ รวม 4
เป็นบา้ นคหบดขี องอาเภอ
คง ท่ีสร้างขนึ้ เม่อื พ.ศ.

4

คาอธิบาย การสง่ เสริมใหด้ ีขนึ้ การบารงุ รกั ษา ระดับ
ความสาคัญ
บด้ังเดิมทั้งด้านบา้ นเรอื น การ ทีเ่ น้นอัตลักษณเ์ ชอ่ื มโยงกับ บารุงรักษาโดย
ะหัดวิดนา้ ภาษา อาหาร ความ จีโอพาร์ค ชุมชนตาบลโปง่ ทอ้ งถ่ิน
ะเพณตี า่ งๆ แดงและอาเภอ
ท่ียวและซ้ือขายอาหารปา่ มปี ้ายแผนท่ี ป้ายสือ่ ขามทะเลสอ
ธรรมชาติและผลผลิต ความหมาย ป้าย
ม บรเิ วณทรี่ าบลมุ่ ลา ตะ ประชาสมั พนั ธ์ การศกึ ษา
งอาหารที่เป็นเอกลักษณ์(จาก วจิ ยั ทางโบราณคดี
ะมเี รื่องราวของโบราณวัตถุ การส่งเสรมิ สนับสนนุ จาก
นปนปูน หนิ ทรายจากทอ้ งรอ่ ง รีสอร์ทสวนทุ่งลงุ พี
อายนุ ับพนั ปี

คาอธบิ าย การส่งเสริมให้ดขี ึ้น การบารุงรักษา ระดับ
ความสาคัญ
ทยโบราณแบบหน่ึงท่ีมรี ูปแบบ จัดอยูแ่ หลง่ ทอ่ งเท่ยี ว บารุงรักษา โดย ท้องถิน่
ระหว่างเรอื ไทยภาคกลางกบั เสน้ ทางทอ่ งเทยี่ วอุทยาน สานกั ศลิ ปะและ
คอีสาน เปน็ เรือนไทยไมช้ น้ั ธรณี วัฒนธรรม
นสงู ใตถ้ ุนโลง่ หลงั คาทรงจวั่ มหาวิทยาลยั ราช
40 องศา ภัฏนครราชสมี า

43

ช่อื แหลง่ สถานการณ์ คณุ คา่

2. ผา้ เงย่ี งนางดา 2848 ไดร้ ับรางวัลอนุรกั ษ์ ภมู ปิ ัญญาท้องถนิ่ ของ เป็นผ้าพน้ื เม
(เทศบาลตาบลสงู เนิน ศลิ ปสถาปตั ยกรรมดีเด่น ชาวไทอสี าน ในชวี ติ ประ
อาเภอสูงเนนิ ) จากสมาคมสถาปตั ยกรรม ฝ้ายประกอ
สยามฯ พ.ศ. 2561 1) ผกสีแดง
3. ผา้ ทอไท-ยวน เป็นผ้าทอของกลุม่ ลายแนวตัง้
วิสาหกิจชุมชนเทศบาล จากแกน่ ขน
ตาบลสูงเนนิ เส้นดว้ ยสแี
เป็นแถบลา
เปน็ สง่ิ ถักทอของชาวไท- ภูมปิ ญั ญาทาง มะเกลอื หร
ยวนโยนกเชยี งแสนท่ี วฒั นธรรมแขนงงาน เป็นผ้าทอท
สะท้อนถงึ อตั ลกั ษณ์และ หตั ถกรรม 200 ปี มลี กั
บง่ บอกถึงชาตพิ ันธแุ์ ละถน่ิ ทอละเอียดอ
กาเนิดของตน แต่ปัจจบุ นั เฉพาะของช
มีความเส่ยี งตอ่ การสญู ถกั ทอทีใ่ ช้ใน
หาย เพราะขาดผสู้ ืบทอด ผา้ เช็ดหนา้
ผา้ ปรกหวั น

4

คาอธิบาย การสง่ เสรมิ ให้ดีขน้ึ การบารุงรักษา ระดับ
ความสาคญั

มอื งของอาเภอสงู เนนิ ทีท่ อใช้ สนบั สนนุ แหลง่ จาหนา่ ยให้ ฝกึ อบรมถา่ ยถอด ท้องถิ่น
ะจาวนั มากวา่ 100 ปี เปน็ ผ้า อยูใ่ นเสน้ ทางท่องเท่ียว ภูมิปญั ญาทอ้ งถ่ิน ทอ้ งถนิ่
อบดว้ ย 3 ส่วน อทุ ยานธรณีในอาเภอสูงเนิน การทอผ้าเงี่ยง
งยอ้ มดว้ ยยอปา่ หรือครง่ั สอด นางดาแกเ่ ยาวชน
งดว้ ยมัดมยั สเี หลืองขาว ย้อม พฒั นาบรรจภุ ณั ฑใ์ หม้ ีความ ในอาเภอสงู เนนิ
นุน 2)ผ้าพืน้ ย้อมครามสอด ประทับใจและพฒั นา
แดง 3)ชายผ้าถุงทอด้วยดา้ ย รปู แบบให้สัมผสั กบั ฝึกอบรมถ่ายถอด
ายขวาง สดี าย้อมดว้ ยลกู ทรพั ยากรธรรมธรณี ภมู ปิ ญั ญาการถกั
รอื สแี ดง ทอแกเ่ ยาวชนใน
ท่สี ืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วม ชุมชนไท-ยวน
กษณะพเิ ศษ คอื มีกรรมวิธถี ัก
อ่อนวิจิตรงดงามและใช้เทคนิค
ชนเผา่ ในขั้นตอนต่างๆ เป็นสง่ิ
นชวี ติ ประจาวนั เช่น ผ้าห่มหวั
ผา้ ซนิ่ หมอนหน้าจก ผ้าสไบ
นาค ตงุ เป็นต้น

44


Click to View FlipBook Version