The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โคราชจ.นครราชสีมา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mook.mookky1020, 2021-01-24 04:03:51

โคราชจ.นครราชสีมา

โคราชจ.นครราชสีมา

จ. 2.4 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภมู ิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
จ. 2.4.1 วิเคราะห์สถานการณ์ท่ีเก่ียวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัย

ธรรมชาติโดยสรุป
ตามการจาแนกสภาพภูมิอากาศแบบ Köppen climate classification ในพ้ืนที่อุทยาน

ธรณีโคราชปัจจุบันมีสภาพภูมิอากาศแบบเมืองร้อน (Tropical Savanna climate or wet and dry climate)
ในอดีตสภาพภูมิอากาศในพื้นท่ีอุทยานธรณีโคราชได้มีการเปล่ียนแปลงในแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงยุค
ครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 110 ล้านปีก่อน หลักฐานในพ้ืนท่ีอาเภอเมืองนครราชสีมา มีสภาพภูมิอากาศแบบ
แห้งแล้งก่ึงทะเลทราย จากลักษณะของหินตะกอนในหมวดหินโคกกรวดท่ีมีลักษณะเป็นหินกรวดมนปนปูนซึ่งมี
คาลิชิ (caliche) แสดงให้เห็นถึงสภาพภูมิอากาศที่แห้งแลง้ กวา่ ปัจจุบนั พอเข้าสู่ช่วงมหายุคซโี นโซอิกตอนปลาย
ในพ้ืนที่ตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา พบลักษณะของพรรณไม้บรรพกาลท่ีหลากหลาย มีและคล้ายกับ
พรรณไม้ปัจจุบันที่พบอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแลง้ แสดงให้เห็นถึงสภาพภมู ิอากาศท่ีร้อน
ชื้นสลับแล้ง (Aw) เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศปัจจุบัน แต่มีความช้ืนสูงกว่า ในขณะท่ีพื้นท่ีอาเภอ
เฉลมิ พระเกียรติมีลาตะคองและแม่นา้ มลู โบราณไหลผ่านเช่นเดียวกบั ปัจจบุ นั ทาให้พบการสะสมตวั ของสงิ่ มีชีวิต
ในตะกอนทางน้าโบราณ จากหลักฐานซากดึกดาบรรพ์ท้ังพืช สัตว์และลักษณะทางธรณีวิทยาของตะกอนทาให้
ทราบว่าสภาพภูมิอากาศมลี ักษณะคล้ายกนั กับปจั จุบนั

ในพื้นที่โคราชจีโอพาร์คมีกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับการลดปัญหาผลกระทบที่มีต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภมู ิอากาศ เช่น โซล่าเซลล์พาร์คในอาเภอเมืองฯ กิจกรรมการปลูกป่าลอยฟ้าในแหล่งผายาย
เทยี่ ง อาเภอสคี ้วิ สาหรับนักทอ่ งเที่ยวทท่ี ากจิ กรรมในพน้ื ที่ โดยมกี ารยงิ เมล็ดมะคา่ โมง ด้วยหนงั สติ๊ก รวมถงึ การ
ปลูกต้นยางนา ต้นดอกสารขาว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าและส่งเสริมการปลูกป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้
ศักยภาพของเขาเควสตาผลิตพลังงานสะอาด คือผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมโดยการติดตั้งกังหันลมและ
จากพลังงานน้าในบริเวณอ่างพักน้าตอนบนโรงไฟฟ้าลาตะคองชลภาวัฒนา ตาบลคลองไผ่ อาเภอสีคิ้ว ซ่ึงเป็น
กังหันลมผลิตไฟฟ้าต้นท่ีใหญ่ท่ีสุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานน้าแบบสูบกลับท่ีใหญ่ท่ีสุด
แห่งแรกของประเทศ เปน็ ตน้

สาหรับภัยธรรมชาติ เนื่องจากพ้ืนที่ในเขตอุทยานธรณีโคราชไม่ได้อยู่ในพ้ืนท่ีภูเขาไฟคุกรุ่น
(Active volcanoes) และบริเวณแนวรอยเล่ือนมีพลังพาดผ่านจึงจัดอยู่ในเขตเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวระดับ 0
หรอื ไม่มีความเส่ียงภัยแผน่ ดินไหวภเู ขาไฟระเบดิ ทาให้ไม่มีปัญหาเกีย่ วกับแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามในบางพื้นท่ี
ในเขตอาเภอเมืองนครราชสมี ามักเกิดน้าท่วมในช่วงฤดูฝน เนื่องจากการขยายตวั ของเมืองทาใหข้ ัดขวางการไหล
ของนา้ ประกอบกับมีพน้ื ท่ีในการระบายน้าลดลงจึงเกิดปัญหาน้าทว่ มฉบั พลนั ขึน้ และในพ้นื ท่ีอาเภอสีค้ิว ชว่ งฤดู
ฝนบางปีมีฝนตกหนักปริมาณน้าฝนมาก ส่งผลให้มวลของน้าฝนจากเขาเควสตาด้านทิศใต้ไหลหลากเอ่อท่วม
พื้นท่ีลุ่มต่า ท่ีมีลักษณะแอ่งกระทะ ประกอบกับไม่มีทางระบายน้าธรรมชาติไปลาคลอง ส่งผลกระทบต่อการ
สัญจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ยานพาหนะขนาดเล็กไม่สามารถแล่นผ่านได้ สาเหตุหลัก
เกดิ จากการถมที่ดนิ และก่อสร้างร้านค้า ร้านอาหาร ทีพ่ ักอาศยั รมิ ถนน รวมท้งั โครงการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติ

45

ริมถนนมิตรภาพ เพื่อฝังท่อก๊าซ โดยบางจุดไม่ได้วางท่อลอดข้ามถนน ส่งผลให้น้าฝนไม่สามารถไหลลงสู่
ลาตะคองไดส้ ะดวก

จ. 2.4.2 แหล่งอทุ ยานธรณีไดร้ บั ผลกระทบหรือไม่ มีการปฏิบัติอยา่ งไรใหส้ ่งผลกระทบ
น้อยลงและปรบั ให้เช่ือมโยงกับภัยธรรมชาติเหลา่ นั้น

พื้นที่อุทยานธรณีโคราชได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเก่ียวกับน้าท่วมในบางปีท่ีมีปริมาณน้า
สูง เช่น ในปี 2559 ซ่ึงส่งผลกระทบต่อการคมนาคม อย่างไรก็ตามชุมชนในพื้นที่อุทยานธรณีโคราชได้เข้าร่วม
อบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพร ะบบโครงข่ายชุมชน
ปลอดภัยจากธรณีพบิ ตั ิภยั จงั หวัดนครราชสมี า กับกรมทรัพยากรธรณี ในวนั ที่ 24 กรกฎาคม 2561 โดยเป็นการ
อบรมเชิงปฏิบตั กิ ารแก่ชุมชนตาบลคลองไผ่ อาเภอสคี ิ้วซ่งึ เปน็ บริเวณทีอ่ ยู่ใกลก้ ับเชิงเขาเควสตา ท้ังนมี้ เี ป้าหมาย
เพ่ือลดความเสียหายจากภัยพิบัติน้าท่วมและดินถล่มรวมท้ังให้ข้อเสนอแนะในการเฝา้ สังเกต หรือเฝ้าระวัง เพื่อ
รับมือกับสถานการณไ์ ด้อย่างปลอดภัยยง่ิ ขนึ้

จ. 3 การบรหิ ารจัดการ
จ 3.1 รปู แบบการบรหิ ารตามกฎหมาย (legal form)
อุทยานธรณีโคราช บริหารตามกฎหมายโดยสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื เฉลิมพระเกยี รติ ซ่งึ เปน็ หนว่ ยงานเทียบเท่าคณะตามโครงสร้างภายในของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา และก่อต้ังมาต้ังแต่ พ.ศ. 2547 จากการมอบหมายการใช้ประโยชน์ที่ดิน 80 ไร่ ที่เป็น
แหล่งฟอสซิลสาคัญของไม้กลายเป็นหินในท้องที่บ้านโกรกเดือนห้า ตาบลสุรนารี อาเภอเมืองนครราชสีมา
รวมท้ังการบริหารจัดการอาคาร 17 หลัง ในแหล่งฟอสซิลดังกล่าว จากจังหวัดนครราชสีมาและกรมทรัพยากร
ธรณี ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศจัดต้ังให้พ้ืนท่ี 5 อาเภอของจังหวัด คือ อาเภอสีคิ้ว
สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมาและอาเภอเฉลิมพระเกียรติ รวมพ้ืนที่ 3,167 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นท่ี
อุทยานธรณีโคราช ก็ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ รวมทั้งเครือข่ายบุคคล
และหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง บริหารจัดการอุทยานธรณีโคราชในรูปแบบคณะกรรมการด้วย ท้ังน้ี ตามโครงสร้าง
การบรหิ ารทกี่ ลา่ วแล้วในหวั ข้อ ก.5

จ 3.2 แผนบริหารจัดการอทุ ยานธรณี
อุทยานธรณีได้ดาเนินการจัดทาแผนบริหารจัดการ และแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-
2565) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง รวมท้ังชุมชนท้องถ่ินในแหล่งอนุรักษ์ทาง
ธรณีวิทยา ธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ 5 อาเภอ และได้ใช้เป็นแนวทางในการบริหารองค์กรและการขอ
สนับสนุนงบประมาณผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มจังหวัดและภาค สานัก
งบประมาณ และหน่วยงานอืน่ ๆ ท่เี ก่ยี วข้อง

46

จ 3.3 องคก์ รบรหิ ารอุทยานธรณี
ตามแผนภูมอิ งคก์ รในขอ้ ก. 5.1 และผังโครงสรา้ งการบรหิ ารภายใน ข้อ ก. 5.2 อทุ ยานธรณีโคราช
บริหารโดยคณะผู้บริหารอุทยานธรณี จานวน 25 คน ภายใต้นโยบายและการกากับจาก 2 คณะ คือ 1)
คณะกรรมการอานวยการอุทยานธรณีที่จังหวัดนครราชสมี าแต่งตั้ง โดยมผี ู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (นาย
วิเชียร จันทรโณทัย) เป็นประธาน กับ 2) คณะกรรมการอานวยการสถาบันวจิ ัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากร
ธรณฯี ที่มหาวทิ ยาลัยแต่งต้งั โดยมอี ธิการบดีมหาวิทยาลยั ราชภฏั นครราชสมี า (ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์) เปน็
ประธาน
คณะผู้บริหารอุทยานธรณีดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วยบุคลากรจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา (คณะวิทยากรจัดการและสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ) จานวน 7 คน ผู้บริหารโรงเรียนอุทยาน
ธรณี (Geopark School) 1 คน บุคลากรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 1 คน จากสานักงาน
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมจังหวดั นครราชสีมา 1 คน จากอาเภอต่าง ๆ 5 คน และจากชมุ ชนท้องถิ่น
10 คน โดยหวั หนา้ คณะผู้บริหาร คอื ผ้อู านวยการอทุ ยานธรณีโคราช (ผศ. ดร. ประเทอื ง จินตสกลุ )

จ 3.4 งบประมาณและงบการเงนิ (budget and financial state) ของอุทยานธรณี

จานวนและแหล่งงบประมาณ

ลาดบั แหลง่ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ 2560 2561 16,157,000.00
23,000,000.00 3,000,000.00 7,843,560.00 โครงการ
2559
1 งบประมาณ 14,533,540.00 12,687,680.00 736,080.00 โครงการพัฒนา
อุทยานธรณโี คราช
แผ่นดนิ จาก - 736,080.00 3,095,080.00 สู่อุทยานธรณโี ลก
จังหวดั และ
กลมุ่ จังหวดั โครงการบรหิ าร
2 งบประมาณ และพัฒนา
แผน่ ดนิ จาก 13,474,960.00 สถาบันวิจยั ไม้
มหาวิทยาลยั กลายเป็นหินฯ
และอุทยานธรณี
3 งบเงินรายได้ โครงการบริหาร
จาก 878,680.00 และจ้างบคุ ลากร
มหาวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั ราช
ภฏั นครราชสมี า

รวม 14,353,640.00 38,269,620.00 18,782,760.00 24,736,640.00

47

ด้านการเงินของอุทยานธรณี นอกจากรายรับหลักมาจากงบประมาณแผ่นดินกับงบเงนิ รายได้ของ
มหาวิทยาลัยซึ่งส่วนหนึ่งมาจากค่าบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ และการจาหน่ายสินค้าของที่ระลึก นอกจากนี้เป็น
รายรับจากการจัดกิจกรรมหารายได้ในพื้นท่ี และการบริจาคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการ
ดาเนินงานอุทยานธรณีจากภาครัฐวสิ าหกิจ และภาคเอกชน เช่น ปตท. กฟผ โรงแรม เปน็ ตน้ สว่ นรายจา่ ยหลัก
ประจา คอื รายจ่ายดา้ นค่าจ้างบุคลากร คา่ สาธารณูปโภค ค่าซอ่ มบารุงปรบั ปรุงอาคารสถานท่ี คา่ วัสดคุ รุภัณฑ์
คา่ ดาเนินกิจกรรมอนรุ ักษ์ ศกึ ษา และพัฒนาการท่องเท่ียวเชิงภูมิศาสตร์ (Geotourism) ในพื้นทสี่ ถาบันวิจัยไม้
กลายเปน็ หนิ ฯ ทเี่ ป็นศูนย์กลางการบรหิ ารอทุ ยานธรณี รวมทั้งพืน้ ท่ที ้ัง 5 อาเภอของอุทยานธรณี

จ 3.5 ขอ้ มลู บคุ ลากรของอทุ ยานธรณี

ที่ ชอ่ื -นามสกลุ ประเภท ตาแหน่ง หน้าท่ี ความชานาญ เพศ
การจ้าง หญงิ
หญิง
1. นันทนา กุลพฤทธเิ์ มธา ประจา นกั วิชาการ งานพัสดุ โสตทศั นูปกรณ์
หญงิ
พสั ดุ ชาย
หญิง
2. อรวรรณ จรปรุ ประจา เจ้าหนา้ ที่ งานธรุ การ บริหารธรุ กจิ หญงิ
หญงิ
บรหิ ารงาน หญงิ

ทัว่ ไป ชาย
ชาย
3. สุภทั รา บญุ ลาพู ประจา นักวชิ าการ จดั นทิ รรศการ ศลิ ปศึกษา ชาย
หญงิ
ชา่ งศิลป์

4. พศิ ณุ กลุ พฤทธ์เิ มธา ประจา ช่างเทคนคิ ชา่ งท่วั ไป งานโยธา

5. วนิดา คอนจอหอ ประจา นักวิชาการ งานอนุรกั ษ์ ศลิ ปศึกษา

ช่างศิลป์

6. ณัฐกฤตา บุษรา ประจา นัก งานประชาสัมพนั ธ์ การจดั การทวั่ ไป

ประชาสมั พนั ธ์

7. ปยิ วดี พพิ ัฒนว์ ัชรา ประจา นักวชิ าการ งานพัสดุ การจัดการทั่วไป

พัสดุ

8. วรางคณา นามแสง ประจา เจา้ หน้าท่ี บรกิ ารวชิ าการ สารสนเทศ

บริหารงาน

ทัว่ ไป

9. ประภาส จันทรส์ ม ประจา นักวชิ าการ ทาแบบหล่อ-รปู ศิลปศกึ ษา

ชา่ งศลิ ป์ หล่อฟอสซลิ

10. สุพจน์ สีสงั บญุ ประจา พนกั งานขับ ขบั รถยนต์ ไฟฟา้

รถยนต์ เครือ่ งปรับอากาศ

10. สมเกียรติ สบิ พลกรงั ประจา ชา่ งไฟฟา้ งานไฟฟ้า อเิ ล็กทรอนิกส์

11. ชอ่ ผกา สวรรณโอภาศรี ประจา นกั วชิ าการเงิน งานการเงิน บรหิ ารธรุ กจิ

และบญั ชี

48

ที่ ช่ือ-นามสกุล ประเภท ตาแหน่ง หน้าที่ ความชานาญ เพศ
12. นชุ นารถ จันทรพ์ ทิ กั ษ์ การจา้ ง การจัดการทว่ั ไป หญิง
ประจา นักจดั การงาน งานประกนั
13. กฤตยาภทั ร สขุ สุทธ์ิ ทว่ั ไป คุณภาพ ภาษาอังกฤษ หญงิ
ประจา นักวเิ ทศ งานวเิ ทศสัมพันธ์
สัมพันธ์

จ 3.6 บคุ ลากรดา้ นวิทยาศาสตรโ์ ลก (geoscientist) ท่ที างานประจาท่อี ุทยานธรณี

ท่ี ชอื่ -นามสกุล ประเภท ตาแหนง่ หนา้ ท่ี ความชานาญ เพศ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ การจ้าง
ชวั่ คราว ผู้อานวยการ บริหารอุทยาน ภูมศิ าสตร/์ ชาย
ดร. ประเทอื ง จนิ ตสกุล ประจา
2. ผศ.ดร. วฆิ เนศ ทรงธรรม ประจา ธรณี ปฐพีวิทยา
3. ดร.จรญู ด้วงกระยอม
ประจา รอง บรหิ ารดา้ น ธรณวี ิทยา/บรรพ ชาย
4. ดร.วิภานุ รกั ใหม่ ประจา
5. ดร.วไิ ลลกั ษณ์ นาคศรี ผอู้ านวยการ งานวจิ ัย ชวี นิ วทิ ยา
ประจา
6. ดร.ดวงสดุ า โชคเฉลิมวงศ์ ประจา รอง บริหารดา้ น ธรณีวิทยา/บรรพ ชาย
7. Asst. Prof. Dr. Paul J. Grote ประจา
8. ปทั มาภรณ์ อาไพกูล ผอู้ านวยการ สารสนเทศและ ชวี ินวิทยา
ประจา
9. กรองแกว้ เจนจิตไพบูลย์ วจิ ัย
ประจา
10. ปารชิ าต กรวยนอก นักวจิ ัย วิจยั ด้านพืช ชวี วทิ ยา บรรพ หญงิ

ชวี ินวทิ ยา

ผู้จัดการอทุ ยาน บริหารงานอทุ ยาน บรรพชีวนิ วทิ ยา หญงิ

ธรณี ธรณีและวจิ ัยด้าน ชวี วทิ ยา

ฟอสซิลสัตวม์ ี

กระดูกสันหลัง

นกั วจิ ยั วิจัยดา้ นไดโนเสาร์ ชีววิทยาส่ิงแวดลอ้ ม หญงิ

กินเนอ้ื

นักวิจยั วจิ ัยดา้ นพืช ชวี วทิ ยาบรรพกาล ชาย

หัวหนา้ สนง. บริหาร สนง. ผอ. เกษตรศาสตร์ หญงิ

ผอ. สถาบนั วจิ ยั สถาบัน วิจยั ไม้

ไมก้ ลายเป็นหินฯ กลายเปน็ หินฯ

นักวจิ ัย วจิ ยั ด้าน ธรณีวิทยา หญิง

ธรณวี ิทยาสัตว์ไม่

มีกระดกู สันหลัง

ผ้ชู ่วยเลขานกุ าร งานเลขานกุ าร ชีววทิ ยาสิ่งแวดล้อม หญิง

อทุ ยานธรณี อุทยานธรณี

โคราช

49

ท่ี ชื่อ-นามสกุล ประเภท ตาแหนง่ หนา้ ท่ี ความชานาญ เพศ
10. สพุ รรณี โชคคุณ การจา้ ง ผู้ช่วยนกั วจิ ัย ชีววิทยาสิง่ แวดลอ้ ม หญงิ
ประจา เจา้ หนา้ ท่ี
11. นันทดิ า ยุ่นกระโทก นกั วิทยาศาสตร์ หอ้ งปฏิบตั ิการ เทคโนโลยีการผลติ หญิง
12. ลาวลั ย์ ตอสกุล ประจา หัวหน้า ธรณีวทิ ยาและ สัตว์ หญงิ
ประจา มคั คเุ ทศก์ บรรพชวี นิ วทิ ยา มัคคุเทศก์
ผ้ชู ว่ ยนักวิจัยและ วิทยาศาสตร์
ภัณฑารกั ษ์ ส่ิงแวดล้อม
บรหิ ารมคั คเุ ทศก์

จ 3.7 บทบาทของสตรีในการบริหารจัดการอุทยานธรณีโคราช และการจ้างงานเป็นพนักงาน
รวมถึงสนับสนุนงานเครอื ขา่ ยท้ังหมด

บทบาทของสตรีในการบริหารจัดการงานของอุทยานธรณีโคราช ปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่าง
กว้างขวาง ต้ังแต่ระดับประเทศจนมาถึงระดับชุมชน จากการดาเนินงานของอุทยานธรณีโคราชท่ีผ่านมาให้
ความสาคัญในการมีส่วนร่วมของสตรีเป็นอย่างมากเร่ิมตั้งแต่การเลือกสตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของคณะ
กรรมการบริหารอุทยานธรณีโคราช ซ่ึง 80% ของคณะกรรมการชุดนี้เป็นสตรี ที่มาจากหลายภาคส่วนของ
จังหวัด อาทิ ผู้อานวยการโรงเรียนท่าช้างราษฎร์บารุง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย เจ้าหน้างานด้าน
ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจงั หวดั นักธรณี และนกั วทิ ยาศาสตร์ เพ่ือช่วยส่งเสริมและผลักดนั ให้เกิดการ
เข้าถึงชุมชน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากหลาย ๆ ชุนชนในเขตพ้ืนที่อุทยานธรณีโคราช ที่สตรีมีบทบาทเป็น
ผู้นาชุมชน ผู้นาท้องถ่ิน คุณครูโรงเรียนต่าง ๆ มัคคุเทศก์นักเรียนหญิง อาจกล่าวได้ว่าการทางานอุทยานธรณี
โคราชทีผ่ ่านมาเป็นการบูรณาการความร่วมมือทกุ ภาคส่วนและให้ความสาคัญกับบทบาทของสตรเี พื่อการพัฒนา
อยา่ งยัง่ ยืนตามแนวทางของยเู นสโก

จ. 4 พน้ื ท่ที ับซ้อน (Overlapping)
อุทยานธรณโี คราชไมม่ ีพ้ืนทีท่ ับซ้อนกบั พื้นที่มรดกโลก (ผืนป่าดงพญาเยน็ -เขาใหญ่) และพน้ื ท่ีสงวนชีว
มณฑล (ป่าสะแกราช) ของจงั หวัดนครราชสมี า เพราะพื้นทอ่ี นรุ ักษ์ดงั กล่าวอยใู่ นเขตอาเภออน่ื ได้แก่ อาเภอ
ปกั ธงชยั ปากชอ่ ง วงั นา้ เขียว ครบุรี และอาเภอเสงิ สาง

จ. 5 กจิ กรรมดา้ นการศกึ ษา
อุทยานธรณีโคราชได้ให้ความสาคัญด้านการศึกษา โดยมีการหารือแนวทางในการจัดทาหลักสูตร
อุทยานธรณีโคราชเพ่ือใช้ในการเรียนการสอนสาหรับโรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณี ซ่ึงปัจจุบันมีโรงเรียน
เครือข่ายจานวนท้ังสิ้น 26 โรงเรียน ประกอบได้ด้วยโรงเรียนมัธยม 9 แห่ง โรงเรียนประถม 15 แห่ง และ
โรงเรียนขยายโอกาส 2 แห่ง ในระยะเริ่มต้นอุทยานธรณีโคราชได้ดาเนินงานร่วมกับโรงเรียนนาร่อง 5 โรงเรียน

50

ตามความสมัครใจและความพร้อมของโรงเรียน โดยบูรณาการองค์ความรู้เก่ียวกับอุทยานธรณีเข้ากับบริบทของ
ชุมชนซ่ึงทางโรงเรียนนาร่องได้มีการดาเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บารุง
โรงเรียนไทรงามเฉลมิ พระเกียรติ อาเภอเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนสูงเนนิ อาเภอสูงเนิน โรงเรียนตาบลบ้านโพธิ์
อาเภอเมืองนครราชสีมา และโรงเรยี นบ้านเลิศสวสั ดิ์ (ราษฎรร์ งั สรรคว์ ทิ ยา) อาเภอสคี ้วิ โดยมีแผนดาเนนิ งานให้
ได้ครบทุกโรงเรียนในระยะต่อไป ในส่วนของการเรียนการสอน อุทยานธรณีโคราชได้มีการจัดอบรมครูผู้สอน
โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บารุง อาเภอเฉลิมพระเกียรติ ให้มีพ้ืนฐานความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับอุทยานธรณี และ
บูรณาการองค์ความรู้เข้ากับการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้ว รวมถึงการให้การศึกษาเชิงรุกโดยการจัดอบรมให้
ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณี ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการศึกษาเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสารวจ
ศึกษาแหล่งธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยวิทยากรจากอุทยานธรณีโคราช อีกท้ังจัดทา
ศูนย์เรียนรู้อุทยานธรณีภายในโรงเรียน ภายใต้การสนับสนุนจากกรมทรัพยากรธรณี อาทิ ศูนย์เรียนรู้อุทยาน
ธรณีโรงเรียนท่าช้างราษฎร์บารุง และเริ่มดาเนินการในโรงเรียนเครือข่ายจีโอพาร์คประจาอาเภอต่าง ๆ โดย
จัดทาข้อมูลเชิงวิชาการทางด้านธรณีวิทยา เพ่ือให้ศูนย์เรียนรู้ได้นาไปเผยแพร่ความรู้ได้อย่างถูกต้อง และนาไป
บูรณาการกับองค์ความรู้ด้านอ่ืน ๆ ตามบริบทของทรัพยากรในพ้ืนที่ของตนเอง ในขณะเดียวกัน ทางโรงเรียน
เครือข่ายยงั มกี ารจดั โครงการฝึกอบรมนักเรียนอุทยานธรณีข้นึ เองภายในโรงเรียน โดยมุง่ เน้นทรัพยากรทโ่ี ดดเด่น
ในพน้ื ท่ขี องตน เช่น โรงเรียนทา่ ช้างราษฎรบ์ ารงุ เนน้ การเรียนรเู้ รื่องตะกอนวทิ ยาและซากดึกดาบรรพ์ สมยั ไมโอ
ซีน ถึงไพลสโตซีน โดยเฉพาะช้างดึกดาบรรพ์ โรงเรียนสูงเนิน เน้นการเรียนรู้เรื่องหินทรายกับการสร้างปราสาท
หิน การสร้างอาณาจักรศรีจนาศะและพระนอนหินทราย อายุ 1,300 ปี ส่วนโรงเรียนบ้านเลิศสวัสดิ์ เน้นให้
นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องหินทราย อายุ 140-120 ล้านปี กับภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 4,000 ปี และ
ระบบนิเวศป่าดิบแล้ง เป็นต้น และในปัจจุบันอุทยานธรณีโคราชได้ร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาในพื้นท่ี
อุทยานธรณีการจัดทาหลักสูตรการเรียนการสอนอุทยานธรณีเพ่ือใช้ในการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ โดย
หารือร่วมกันในการประชุมกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานด้านการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ในวันที่ 20 – 22
มีนาคม 2562 ณ สานักงานอทุ ยานธรณโี คราช

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมค่ายจีโอพาร์ค ภายใต้การสนับสนุนของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
ซึ่งเป็นพ้ืนท่ีสงวนชีวมณฑล และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซ่ึงเป็นส่วนหนึ่งของพ้ืนที่มรดกโลกผืนป่าดงพญาเยน็ -
เขาใหญ่ ตามความรว่ มมือท่ีได้มีการทารว่ มกนั ในการจดั กิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนท่ีศึกษาในโรงเรียน
เครือขา่ ยอทุ ยานธรณี เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเรยี นร้จู ากธรรมชาติผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยกิจกรรม
ค่ายจีโอพาร์ค (Geopark Camp) น้ันเป็นไปอย่างตอ่ เน่ือง ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อาเภอวังน้าเขียว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาเภอปากช่อง และอุทยานธรณีโคราช ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ อาเภอเมือง
นครราชสีมา เร่ิมจัดกิจกรรมค่ายรุ่นแรกต้ังแต่วันท่ี 3 – 5 พฤษภาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน เป็นรุ่นท่ี 10 (27
ก.พ. – 1 มี.ค. 2562) มคี รู นักเรียน เข้ารว่ มกจิ กรรมด้วยมากกว่า 1,098 คน จากโรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณี
และโรงเรยี นอื่น ๆ ในจังหวัดนครราชสีมารวมจานวน 29 โรงเรยี น

51

จ. 6 การทอ่ งเที่ยวเชงิ ภูมศิ าสตร์ (Geotourism)
กิจกรรมการท่องเท่ียวเชิงภูมิศาสตร์ (Geotourism) ในอุทยานธรณีโคราช ดาเนินการตามแนวทางจาก
ท่ีประชุมซึ่งสนับสนุนโดยยูเนสโกและ Arouca Geopark ที่ประเทศโปรตุเกสเมื่อ พ.ศ. 2554 ในประเด็นเรื่อง
Geotourism ท่ีให้ความหมายว่า “การท่องเที่ยวท่ีสนับสนุนหรือส่งเสริมลักษณะทางภูมิศาสตร์ท่ีโดดเด่นของ
สถานท่ี ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม ธรณีวิทยา วัฒนธรรม สุนทรียภาพ มรดก และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนท่ี
อาศัยอยู่” โดยเร่ิมจากการจัดทาเส้นทางท่องเที่ยว Geotourism ที่มีเรื่องราวเชื่อมโยงแหล่งธรณีวิทยา
ธรรมชาติอ่ืน และวัฒนธรรม รวมท้ังกิจกรรมตา่ ง ๆ ของชมุ ชนขน้ึ อกี ทง้ั มีการจัดอบรมให้ความรแู้ ก่ทุกภาคส่วน
ท่ีเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีระบบ อาทิ การจัดอบรมเชิง
ปฏิบัติการ Training and Workshop on UNESCO Global Geopark & Sustainable Tourism เมื่อวันที่ 18
- 21 ส.ค. 2561 ณ โรงแรมแคนทารี อาเภอเมืองนครราชสีมา โดยเชิญผเู้ ช่ยี วชาญและผู้บรหิ ารอุทยานธรณีโลก
มาให้ความรู้ และร่วมหารือแนวทางการขบั เคลอ่ื นอุทยานธรณีโคราช

จ. 6.1 การจัดทาเส้นทางการท่องเท่ียวเชิงธรณีอุทยานธรณีโคราช จัดทาข้ึนภายใต้การแนะนา
จาก Prof. Guy Martini เลขาธิการเครือข่ายอุทยานธรณีโลก และประธานคณะกรรมการอุทยานธรณีโลก
ยูเนสโก โดยมีหลักการ คือ 1) จานวนเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นไปตามบริบทและความเหมาะสมของพื้นท่ี มี
ต้นแบบ 2 เส้นทาง ที่มีศูนย์กลางหรือจุดเร่ิมต้น ณ สานักงานโคราชจีโอพาร์ค โดยเส้นทางท่ี 1 คือ เส้นทางชา้ ง
4 งา จากสานักงานไปยังอาเภอเฉลิมพระเกยี รติ ซึ่งเปน็ เสน้ ทางทอ่ งเที่ยวทีม่ ฟี อสซลิ เปน็ จุดเด่น และเส้นทางที่ 2
คือ เส้นทางเขาเควสตา จากสานักงานไปยังอาเภอสีคิ้ว ซ่ึงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นด้านภูมิ
ประเทศเขาเควสตาและแหล่งท่ีเก่ียวข้องกับหินทรายหรือลาตะคอง 2) กาหนดชื่อของเส้นทางแต่ละเส้นเพ่ือให้
ดึงดูดและมีความน่าสนใจสาหรับการประชาสัมพันธก์ ารท่องเที่ยวโดยชูอัตลักษณ์ของแต่ละเสน้ ทาง มีการหารือ
ระดมความคิดเห็นจากชุมชน เพ่ือให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกาหนดเส้นทางและกิจกรรม ส่งเสริมให้เกิดความ
ตระหนักในคุณค่าทรัพยากรและภาคภูมิใจในท้องถิ่น 3) เวลาในการเดินทางกาหนดไม่เกิน 3-4 ช่ัวโมง และเข้า
จากถนนหลักไม่ควรเกิน 2 กิโลเมตร ท้ังนี้ในกรณีของอุทยานธรณีโคราชน้ัน แหล่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้ทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ สามารถใช้เวลาในการเข้าถึงแหล่งไม่มาก ในส่วนของแหล่งท่ีอยู่หา่ งจากทาง
หลวงแผ่นดินสายหลัก เช่น ชุมชนดงมะไฟ และวัดป่าภูผาสูงนั้น เส้นทางคมนาคมสะดวกไม่เป็นอุปสรรคในการ
เดนิ ทาง 4) ในแตล่ ะเส้นทาง ชุมชนมอี ัตลักษณ์ท่ีโดดเดน่ แตกตา่ งกัน

52

เสน้ ทางชา้ ง 4 งา ของอุทยานธรณโี คราช

เส้นทางเขาเควสตา ของอทุ ยานธรณีโคราช
จ. 6.2 แผนการพฒั นาและกจิ กรรมทจ่ี ะดาเนินการ
1) กิจกรรมการประชุมเพื่อพัฒนากลไกและสร้างระบบการบริหารจัดการการท่องเท่ียวโดยชุมชน
CBT Development ซ่ึงจะลงพื้นท่ีท่ีมีความพร้อมก่อนเพ่ือเป็นต้นแบบการทางานให้แก่พ้ืนท่ีอื่นต่อไป จากการ

53

หารือรว่ มกนั มีมติว่าควรเริ่มท่ี อาเภอสีค้วิ และอาเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยกิจกรรมเน้นการคน้ หาอัตลักษณ์ของ
พ้ืนที่ และจัดต้ังระบบการให้บริการนักท่องเที่ยวใน 3 ด้าน ได้แก่ คน/โครงสร้าง การจัดสรรงบประมาณ และ
การจัดตั้งกลุ่ม จากน้ันจะนาข้อมูลความโดดเด่นเหล่านั้น ไปนาเสนอให้กับผู้ประกอบการนาเท่ียวเพื่อคัดเลือก
กจิ กรรมต่อไป

2) กิจกรรมการประชุม เพ่ือสร้างความเข้าใจ เร่ือง Geotourism และอบรมเชิงปฏิบัติการ
ออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว ซึ่งจะนากิจกรรมที่บริษัทท่องเที่ยวเลือก มาจัดประชุมในพื้นท่ีเพื่อพัฒนาเป็น
กจิ กรรมทีใ่ ห้บรกิ ารนกั ทอ่ งเทีย่ ว มโี ปรแกรมทัวร์ และตอ้ นรบั นกั ทอ่ งเทย่ี วไดจ้ รงิ

3) กิจกรรมการพัฒนานักส่ือความหมาย/มัคคุเทศก์นาเที่ยว ทาการอบรมและลงพื้นท่ีปฏิบัติจริง
โดยมีการจัดกิจกรรมอบรมภาษาอังกฤษสาหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพ้ืนท่ีสาคัญทางธรณีและวัฒนธรรมของ
โ ค ร า ช จี โ อ พ า ร์ ค Training of English program for local guide in the geocultural sites of Khorat
Geopark ข้นึ ในวนั ที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ 2562

4) กิจกรรมอบรมผู้ให้บริการด้านการขนส่งในเขตพ้ืนท่ีโคราชจีโอพาร์ค โดยทาการศึกษาข้อมูล
ระบบการขนส่งและผู้ให้บรกิ ารการขนสง่ จากน้ันทาการจัดฝึกอบรมผู้ทเ่ี กยี่ วข้อง

5) กิจกรรมการส่ือสารการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเท่ียวโคราชจีโอพาร์ค โดยเชิญบริษัท
ท่องเที่ยวมาเขา้ รว่ ม และให้ขอ้ เสนอแนะแก่ชุมชนในการพฒั นาการท่องเทยี่ วของชมุ ชน และการทดลองเส้นทาง
ท่องเที่ยวจริง (test trip) โดยตัวแทนบริษัทท่องเท่ียว รวมถึงมีการจัดทาเอกสารคู่มือการท่องเท่ียวเผยแพร่
ควบคู่ไปดว้ ย

จ. 6.3 กจิ กรรมท่องเท่ียวที่ดาเนนิ การร่วมกับภาคเี ครือขา่ ยอทุ ยานธรณี
1) วิ่งเทรลดงมะไฟ ณ หมู่บ้านดงมะไฟ ตาบลมะเกลือใหม่ อาเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จัด
โดยองค์การบริหารส่วนตาบลมะเกลือใหม่ อาเภอสูงเนิน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดงมะไฟ หน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน โดยมีการนาช้าง 10 สกุล ไปใช้จัดทาเหรียญและโล่ประกาศเกียรติคุณ ซ่ึงนาไปใช้ปีละ 1 สกุล เพ่ือ
ดึงดดู ความสนใจให้ผู้รว่ มกิจกรรมมาอยา่ งต่อเนื่องในการสะสมเหรียญ ทผี่ ่านมาอุทยานธรณีโคราชได้เขา้ ร่วมจัด
กิจกรรมดงมะไฟเทรล DONG MAFAI TRAIL 2017 ในวันที่ 5 ธันวาคม 2560 และกิจกรรมดงมะไฟเทรล
DONG MAFAI TRAIL 2018 ในวนั ที่ 26 สงิ หาคม 2561
2) กิจกรรมปั่นด้วยใจ สู่ถ่ินโคราชจีโอพาร์ค TOUR OF NAKHONCHAIBURIN โดยความร่วมมือ
ระหว่างจังหวัดนครราชสีมา สานักงานท่องเท่ียวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย
นครราชสมี า มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครราชสมี า โดยสถาบันวิจัยไมก้ ลายเปน็ หินฯ และอุทยานธรณีโคราช ชิงถว้ ย
รางวลั จากทา่ นผ้วู ่าราชการจงั หวัด ในวนั ที่ 12 พฤษภาคม 2561 เวลา 15.00 น. ณ ลานอนสุ าวรยี ท์ ้าวสรุ นารี
3) กิจกรรมโคราชฮาล์ฟมาราธอนลอยฟ้า ครั้งที่ 7 ณ อ่างพักน้าตอนบนโรงไฟฟ้าลาตะคองชลภา
วัฒนา บ้านเขายายเที่ยงเหนือ ตาบลคลองไผ่ อาเภอสีค้ิว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย โรงไฟฟ้าลาตะคองชลภาวัฒนาการว่ิงลอยฟ้า ในวันท่ี 2 ธันวาคม 2561 ซึ่งโรงไฟฟ้าลาตะคองชล
ภาวัฒนา ไดม้ กี ารจัดกิจกรรมอยู่เดิมและปัจจบุ นั สนับสนนุ ให้อทุ ยานธรณโี คราชเข้ารว่ มจัดกจิ กรรมด้วย

54

4) กิจกรรมเดิน วงิ่ ป่นั อทุ ยานธรณโี คราช ณ อาเภอเฉลิมพระเกียรติ ในวันท่ี 16 ธนั วาคม 2561
หลงั จากกิจกรรมเหลา่ นี้ถูกเผยแพรใ่ ห้เป็นที่รูจ้ ักแกส่ าธารณชน ทาให้เกิดการต่นื ตวั ทั้งภาครัฐ และ
เอกชนในจังหวัดนครราชสีมาในการผลักดันอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ผ่านกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวที่จะมีเพ่ิมมากข้ึนในอนาคต ซ่ึงกิจกรรมเหล่าน้ีดาเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาพ้ืนท่ี ระบบ
สาธารณูปโภค ส่ิงอานวยความสะดวก บุคลากรด้านการท่องเที่ยว นักเล่าเร่ือง โรงเรียน ชุมชน เพ่ือการ
ขับเคลอื่ นไปสู่การเปน็ อุทยานธรณีโลก

จ. 6.4 การวิเคราะหศ์ กั ยภาพการท่องเที่ยวเชงิ ธรณี

ดา้ นการทอ่ งเทยี่ วเชงิ ธรณวี ิทยา

จุดแขง็ (Strengths) จดุ ออ่ น (Weaknesses)

1) มภี มู ปิ ระเทศเควสตาท่สี วยงามโดดเดน่ แตกตา่ ง 1) ขาดการนาเสนอหรือประชาสมั พนั ธ์เรอื่ งราวเชิง

จากอุทยานธรณโี ลกท่มี ีอย่ใู นปจั จุบัน ธรณวี ิทยาทผ่ี สมผสานกบั นเิ วศวทิ ยาและ

2) มีฟอสซลิ ชา้ งดึกดาบรรพ์และสัตว์เล้ียงลูกดว้ ยนม วฒั นธรรม

ร่วมสมยั หลากหลายสายพันธุ์และมีความตอ่ เนื่อง 2) แหล่งธรณวี ทิ ยาบางแหลง่ ยังไม่พร้อมรบั

ในสมัยธรณวี ิทยามากกว่าอุทยานธรณีโลกใน นักท่องเทีย่ ว

ประเทศตา่ ง ๆ 3) การเขา้ ถึงแหลง่ ธรณวี ิทยา บางแหล่งยงั มี

3) มพี ิพธิ ภัณฑไ์ ม้กลายเป็นหินฯ ขนาดใหญ่ ซึ่งเปน็ ขอ้ จากัด

แหง่ แรกของประเทศไทย และเป็นหน่ึงในเจด็ แหง่ 4) ไกดห์ รือผู้นาเทีย่ วสว่ นใหญ่ขาดความรู้ด้าน

ของโลกท่ีจัดแสดงเร่ืองราวของไม้กลายเปน็ หนิ ธรณวี ทิ ยาในแหลง่ ท่ีสาคัญ ๆ ของอุทยานธรณี

อยา่ งเตม็ รปู แบบท้ังอาคารและในสนามที่เปน็ ปา่ โคราช

ไมก้ ลายเปน็ หนิ 5) ขาดการประชาสมั พนั ธ์การท่องเทีย่ วเชงิ ธรณใี ห้

4) มชี อื่ เสยี งด้านแหล่งท่องเทย่ี วเชิงวัฒนธรรมที่ แพร่หลาย

ผสมผสานธรณีวทิ ยา เชน่ แหล่งปราสาทหิน

เมืองโบราณ ภาพเขียนสี

5) เป็นพื้นท่ีศนู ยก์ ลางการคมนาคมขนส่งทางบกของ

ภาคอสี าน และเปน็ ประตูสู่อสี านและอนิ โดจนี

6) พ้นื ทเี่ ขาจันทนง์ ามมีศกั ยภาพสูงทงั้ ทางธรณีวทิ ยา

ทเ่ี รยี กไดว้ า่ เป็น Text book of sandstone

ศักยภาพทางนเิ วศวิทยา ระบบนเิ วศป่าดิบแลง้

และศักยภาพทางวัฒนธรรม ซ่งึ มีภาพเขียนสีอายุ

ราว 4,000 ปี รวมถึงเป็นทตี่ ้งั ของวดั เขาจันทน์

งาม สถานทปี่ ฏิบัติธรรมและฝกึ อบรมธรรมะ

55

ด้านการท่องเท่ยี วเชิงธรณีวิทยา

โอกาส (Opportunities) อปุ สรรค (Threats)

1) นกั ทอ่ งเทยี่ วเชิงคณุ ภาพโดยเฉพาะกลุ่มทอ่ งเท่ียว 1) กระบวนการหรือขัน้ ตอนของภาครฐั ในการแก้ไข

เชงิ วชิ าการและผจญภัยมจี านวนมากข้ึน ปญั หาทรพั ยากรธรรมชาตขิ องทอ้ งถนิ่ มคี วาม

2) นโยบายสง่ เสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและ ยงุ่ ยาก ล่าชา้ ปฏิบัติงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

จังหวัดนครราชสมี า การตัดสินใจค่อนขา้ งช้า และการเร่งรัดมีน้อย

3) นโยบายการพฒั นาโครงสร้างพ้นื ฐานของรฐั บาล 2) ขาดงบประมาณสนับสนุนจากภาครฐั และ

ในการก่อสร้างมอเตอรเ์ วย์ รถไฟความเร็วสงู ภาคเอกชน และกระบวนการใชง้ บประมาณมี

รถไฟรางคู่ ถึงหรอื ผา่ นเมืองนครราชสมี า ความย่งุ ยาก ทาให้ผปู้ ฏบิ ตั งิ านทอ้ ถอยและ

4) นโยบายรับและเปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกจิ หลีกเลี่ยง

อาเซียน 3) การบงั คบั ใช้กฎหมายทเี่ กี่ยวขอ้ งยงั ไมเ่ ข้มแข็ง

5) แหลง่ ทอ่ งเท่ียวในอาเภอทต่ี ิดตอ่ กนั (ปากชอ่ ง-วงั และไม่เหมาะสม

น้าเขยี ว) มนี ักทอ่ งเทยี่ วมากแห่งหนึง่ ของประเทศ 4) ปจั จบุ นั ยงั ไม่พรอ้ มหรอื ไม่มบี ริการเดนิ ทางโดย

ไทย (ราว 6 ลา้ นคน/ป)ี สายการบนิ ติดต่อทงั้ ภายในและตา่ งประเทศ

6) แหล่งทอ่ งเท่ยี ว-เรยี นร้ใู กล้เคยี งไดร้ ับการรับรอง

จากยูเนสโกแล้ว 2 โปรแกรม (มรดกโลกและ

พ้นื ท่สี งวนชีวมณฑล) หากได้รับการรบั รองเป็น

จโี อพารค์ โลกอีก จังหวดั นครราชสีมาจะสามารถ

ประชาสมั พนั ธใ์ นฐานะ “Land of UNESCO

Triple Crown” ได้

จ. 7 การพฒั นาอ่ยางย่ังยนื และ่หนุ ่สวนอุทยานธรณี
จ. 7.1 นโยบายการพฒั นาอ่ยางยัง่ ยืน
จ. 7.1.1 ผลการดาเนินงานของอุทยานธรณีโคราชในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นาไปสู่

นโยบายที่เป็นรูปธรรม จากการที่อุทยานธรณีโคราชได้มีการขับเคล่ือนจนได้รับการประกาศจัดต้ังเป็นอุทยาน
ธรณีระดบั ชาติ สง่ ผลให้มกี ารเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาจังหวดั นครราชสีมาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) โดย
จังหวัดนครราชสีมาปรับวิสัยทัศน์ใหม่เป็น โคราชเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่เมือง 3 มรดกยูเนสโก นวัตกรรม และเกษตร
อุตสาหกรรม สังคมปลอดภัย และมีการเพิ่มข้อความในประเด็นการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา (ประเด็น
ยุทธศาสตร)์ ขอ้ ที่ 3 “บริหารจดั การทรัพยากรธรรมชาติ สงิ่ แวดล้อม ใหม้ ีความสมบูรณ์อย่างยงั่ ยืนตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพยี ง และยกระดบั อทุ ยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณโี ลก” ทาให้มีช่องทางในการขอรับการสนับสนุน
งบประมาณท่ีชัดเจนขึ้นเพ่ือการขับเคลื่อนอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก และนอกจากน้ี ในแผนพัฒนา
การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา แผนปี 2562 – 2566 ก็ได้มีการกาหนดวิสัยทัศน์ของแผนให้โคราช

56

เปน็ เมอื ง Mice City, Geopark City และ Art and Culture City ซง่ึ ทาให้หลายภาคส่วนมคี วามประสงคเ์ ข้ามา
มีส่วนรว่ มในกจิ กรรมการพฒั นาอุทยานธรณีมากย่ิงขน้ึ

จ. 7.1.2 ผลการประเมนิ โครงการของอุทยานธรณีที่เก่ียวขอ้ งกบั การพฒั นาอย่างยั่งยนื
จ. 7.1.2.1 ภาพรวมของการดาเนินงานอุทยานธรณี ดาเนินแนวทางการพัฒนาประเทศไทย

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ในยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตร
กับส่ิงแวดล้อมเพ่ือการพัฒนาท่ียั่งยืน คือ การรักษาฟื้นฟูธรรมชาติ สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
อยา่ งย่ังยนื และเปน็ ธรรม แนวทางดังกลา่ ว สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
ซึ่งอุทยานธรณีโคราชนามาใช้เป็นนโยบายหรือแนวทางการบริหารจัดการอุทยานธรณี โดยจัดทาโครงการตาม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 และที่ 5 ของแผนแม่บทการบริหารจัดการอุทยานธรณีโคราช คือ บริการท่องเท่ียวเชิงธรณี
ระดับมาตรฐานสากล และพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นจากอัตลักษณ์และเครือข่าย ตามลาดับ เช่น โครงการ
พัฒนาเส้นทางทอ่ งเทยี่ วลอ่ งเรือแพแลลามูล โครงการโคราชจโี อพารค์ เฟสติวลั โครงการพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ทอ้ งถิ่น
โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เป็นต้น มีผลทาให้ชุมชนท้องถ่ินเกิดการพัฒนาแบบ
ย่ังยนื ยกตวั อยา่ ง 2 กรณี คอื

1) กรณเี สน้ ทางล่องเรอื แพแลลามูล ตาบลทา่ ช้าง อาเภอเฉลิมพระเกียรติ
(1) ผคู้ นในชุมชนมปี ฏิสัมพนั ธ์กนั มากข้ึน จากเดิมท่คี ่อนข้างต่างคนต่างอยู่ แต่ปจั จบุ ัน

กลับมาประชุม วางแผน และทากิจกรรมร่วมกันแบบจิตอาสา และเสียสละหรือบริจาคทรัพย์สินส่วนตนเพื่อ
ความสาเรจ็ ของงานตามเป้าหมายของอุทยานธรณี

(2) แหล่งท่องเที่ยวไทรงามในเส้นทางท่องเที่ยว ได้รับการบูรณะโดยชุมชน จนเป็นได้
ทัง้ แหลง่ พกั ผ่อนหยอ่ นใจและตลาดจาหน่ายผลิตภัณฑ์อตั ลักษณ์ของชุมชน

(3) ชุมชนมงี านทา มรี ายไดเ้ พ่มิ ขึ้น เกดิ การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับจีโอพาร์ค เช่น พรมนวดเท้าจากกรวดลามูล กรงนกจากไม้ริมฝั่งมูล เส่ือกอมโฟธีเรียม (ชื่อช้างสกุลหนึ่งของ
ทอ้ งถิน่ ) เป็นต้น

(4) ชุมชนร่วมกนั จดั ต้งั วสิ าหกิจชมุ ชนท่องเทีย่ วอุทยานธรณี
(5) ทางอาเภอเฉลิมพระเกียรติและท้องถิ่น จัดต้ังคณะกรรมการอุทยานธรณีระดับ
อาเภอ เพื่อการดาเนินงานอุทยานธรณีให้เข้มแข็งและย่ังยืน และประสานการดาเนินงานในทิศทางเดียวกันกับ
สานกั งานอุทยานธรณีโคราช
(6) ชมุ ชนท้องถิน่ เกิดความภาคภมู ิใจในมรดกของท้องถน่ิ ตนและต้องการส่ือสารให้คน
ภายนอกทราบ
2) กรณถี า้ เขาจนั ทน์งามและภาพเขียนสี ตาบลลาดบัวขาว อาเภอสีคิ้ว
(1) ผู้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น นอกเหนือจากเดิมที่ทากิจกรรมทางศาสนา
ในวัดเขาจันทน์งาม แต่ขยายมาทากิจกรรมของอุทยานธรณี เพราะเห็นว่าช่วยอนุรักษ์ปกป้องป่าไม้ สัตว์ป่า ภูมิ

57

ประเทศที่สวยงาม รวมท้ังมีรายได้จากการจาหน่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถ่ินตน เชน่
เสื้อยดื ภาพเขยี นสี 4,000 ปี น้ามะแงว ผลสะตอ หรอื บรกิ ารแชเ่ ท้านา้ สมุนไพร

(2) มคี วามรว่ มมอื ระหวา่ งวัด – บ้าน – โรงเรยี น ในการอนุรักษ์ทรัพยากรดงั กลา่ ว ท้งั
ในรูปแบบของมัคคุเทศก์ การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว แหล่งธรรมะ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมทั้งกับ
เครือข่ายพ้ืนที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช ท่ีร่วมกับชุมชนทาข้อมูลและติดต้ังป้ายชื่อพรรณไม้ป่าดิบแล้งที่วัด
ดแู ลรักษา

(3) มีการสนับสนุนการดาเนินงานอุทยานธรณีจากบุคคลหรือภาคส่วนอื่นในอาเภอสี
ค้ิว เช่น จากกานัน พัฒนาการอาเภอ ประธานสภาวัฒนธรรมอาเภอ รวมท้ังจากนายอาเภอท่ีให้มีการจัดต้ัง
คณะกรรมการอุทยานธรณีระดับอาเภอ เพ่ือสนับสนุนการพัฒนาอย่างย่ังยืนที่ดาเนินการโดยกลุ่มวัด – บ้าน –
โรงเรยี น โดยมพี ระสงฆ์เป็นแกนนาแกนหน่งึ ในการดาเนนิ งาน

(4) ชมุ ชนทอ้ งถ่นิ เกิดความภาคภมู ิใจในมรดกท้องถิน่ ตนที่มีคุณค่าท้ังทางด้านธรณีวิทยา
นเิ วศวิทยา และวัฒนธรรม แตกต่างจากพนื้ ท่ีอน่ื ๆ และประสงคจ์ ะอนรุ ักษ์ไว้ใหเ้ ป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลงั

จ. 7.1.2.2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เก่ียวข้อง กิจกรรมท่ีเก่ียวข้องกับเศรษฐกิจของอุทยาน
ธรณี ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลกั คอื

(1) กิจกรรมหารายไดเ้ สริมเพ่ือการบรหิ ารจัดการอุทยานธรณี แม้ว่าอุทยานธรณีจะมี
งบประมาณหลักในการจ้างบุคลากร พัฒนา หรือปรับปรุง หรือดูแลรักษาอาคารสถานที่ จากมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมาหรือจังหวัดนครราชสีมา แต่ยังขาดแคลนงบประมาณในการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และบริการ
วิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งการทากิจกรรมร่วมกับเครือข่ายของอุทยานธรณีท้ังภายในและต่างประเทศ จึง
จาเป็นต้องมีกิจกรรมย่อยต่าง ๆ ในการหารายได้ขององค์กรเพื่อใช้ในการบริหารจัดการเร่ืองดังกล่าว ได้แก่
กิจกรรมดาเนินการตามแผนการตลาดของอุทยานธรณี กิจกรรมหารายได้โดยคณะกรรมการจัดหารายได้ที่มี
ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานคณะกรรมการ กิจกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจภุ ณั ฑ์
สินค้าเอกลักษณ์อัตลักษณ์ของอุทยานธรณี 12 รายการ กิจกรรมประกวดการสร้างสรรค์เมนูอาหารเฉพาะ
อทุ ยานธรณีโคราช กจิ กรรมจาหนา่ ยน้าดม่ื โคราชจีโอพาร์ค เป็นต้น

(2) กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานและรายได้แก่ชมุ ชนต่าง ๆ ในอุทยานธรณี
ได้แก่ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอาชีพและผลิตภัณฑ์เพื่อการจาหน่ายแก่ชุมชนในแหล่งท่องเท่ียว การพา
ผู้นาหรือบุคลากรในชุมชนไปศึกษาดูงานด้านอาชพี และผลิตภัณฑ์ในอุทยานธรณีอื่น ๆ การร่วมพัฒนาเส้นทาง
ท่องเที่ยวในอุทยานธรณีและเส้นทางท่องเท่ียวเช่ือมโยง เช่น เส้นทางท่องเท่ียวช้างโคราชดึกดาบรรพ์สู่ช้าง
สุรินทร์ปัจจุบัน เส้นทางไดโนเสาร์อีสานจากโคราชสู่ชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ กิจกรรมพัฒนาพิพิธภัณฑ์
หรือนิทรรศการในแหลง่ ธรณวี ทิ ยา นเิ วศวิทยา และวฒั นธรรมในอาเภอตา่ ง ๆ ของอทุ ยานธรณโี คราช เปน็ ตน้

58

จ. 7.2 หุ้นส่วนอุทยานธรณี
จ. 7.2.1 อุทยานธรณีโคราชมีการขับเคล่ือนภายใต้การร่วมมือของหุ้นส่วนหลากหลายกลุ่ม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนท่ีมีส่วนเก่ียวข้อง เช่น ในวันที่ 28 มิถุนายน 2561 อุทยานธรณีโคราชได้มอบป้าย
สัญลักษณ์เครือข่ายท่ีพัก ร้านอาหาร ในที่ประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมาและหัวหน้าส่วนราชการประจา
จังหวัดนครราชสีมา โดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้มอบ ซ่ึงเครือข่ายที่พัก
รา้ นอาหาร มจี านวน 8 แห่ง ประกอบด้วย 1) โรงแรมสมี าธานี อ.เมอื งนครราชสีมา 2) โรงแรม เดอ วี ลอฟท์ โฮ
เทล อ.เมืองนครราชสีมา 3) ศูนยฝ์ กึ ประสบการณว์ ิชาชีพทับแกว้ อ.เมอื งนครราชสมี า 4) บ้านสไตลฮ์ อบบิท อ.
สคี ้วิ 5) รา้ นด๊ะดาด สะเต็กจิม้ ก๊ะแจว่ อ.เมืองนครราชสมี า 6) ร้านลงุ แดง โสเจ้ง อ.เมืองนครราชสีมา 7) สวนทุ่ง
ลงุ พี โฮมสเตย์ อ.ขามทะเลสอ 8) รา้ น Buddha coffee อ.สคี วิ้ โดยอทุ ยานธรณีโคราชและเครือข่ายร้านอาหาร
ได้มีการพัฒนาเมนูอาหารท่ีมีเร่ืองราวและวัตถุดิบเชื่อมโยงกับฟอสซิลหรือธรณีวิทยาในอุทยานธรณีโคราช อาทิ
ร้านสวนทุ่งลุงพีโฮมสเตย์ พัฒนาเมนูน้าพริกปลาโคราชอิกซิส จิบบัส อกไดโนเสาร์คาร์คาโรรมควนั กุ้งอบเกลือ
ขามทะเลสอ และไอตมิ โบราณแท่งหนิ ตัด ร้านดะ๊ ดาดสะเต็กจ้ิมก๊ะแจ่วพฒั นาเมนู ไขด่ ะ๊ ดาดราชสีมาซอรสั ยา
ใบมะขามก๊ะอิกธสิ จบิ บัส ซ่ีโครงคาร์คาโรดอน ตม้ โซดเทอโรซอร์ Petrified Wood (ทาจากข้าวเหนียวและหมู
หวาน) โทสแหล่งหินตัด เป็นต้น ในส่วนของที่พักอุทยานธรณีโคราชได้นาแผ่นพับข้อมูลความรู้และเส้นทาง
ท่องเที่ยวอุทยานธรณีโคราชไปประชาสัมพันธ์ มีการจัดตกแต่งด้านหน้าและในห้องพักด้วยภาพอัตลักษณ์ของ
อุทยานธรณี และมีการจัดอบรมสัมมนาต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับการให้ความรู้รวมถึงการหารือแนวทางการพัฒนา
อุทยานธรณีโคราชในโรงแรมเครอื ข่าย เปน็ ตน้

จ. 7.2.2 คณะกรรมการเครือข่ายอุทยานธรณีโคราชท่ีได้รบั การแต่งต้ังจากจังหวัดนครราชสีมา
น้ัน มีหน้าที่ในการกาหนดนโยบายของเครือข่ายอุทยานธรณี สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยมีการ
กาหนดเกณฑ์การเข้าร่วมและข้อตกลง เพ่ือใช้กับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ ตามมติที่ประชุม
คณะกรรมการเครือข่ายในวันที่ 30 มีนาคม 2561 ณ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และคัดเลือก ที่พัก
ร้านอาหาร เพื่อนาไปบรรจุในเส้นทางท่องเท่ียวอุทยานธรณี เน้นท่ีพัก ร้านอาหารที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ มีการ
นาอัตลักษณ์และวัตถุดิบในอุทยานธรณีไปใช้ในการประกอบการ รวมถึงพัฒนาเมนูอาหารร่วมกับอุทยานธรณี
โคราช ในสว่ นของผลติ ภัณฑ์นัน้ อทุ ยานธรณโี คราชมนี โยบายสง่ เสริมและสนบั สนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์ท่ีมาจาก
ภูมิปัญญาด้ังเดิมภายในอุทยานธรณีโคราช รวมถึงผลิตภัณฑ์ท่ีนาทรัพยากรท่ีมีท้องถิ่นมาใช้ อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้า
เงี่ยงนางดา อาเภอสูงเนิน ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไท-ยวน อาเภอสีคิ้ว ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธ์ุ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของชุมชนวัดบ้านเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทน์งาม) อาเภอสีคิ้ว เป็นผลิตภัณฑ์ท่ีมาจากสมุนไพร
ภายในทอ้ งถน่ิ โดยส่งเสรมิ การเพาะปลูกในครวั เรือน หลกี เลี่ยงการรบกวนปา่ ดั้งเดิม เป็นต้น สนิ คา้ และผลิตภณั ฑ์
ตา่ ง ๆ อุทยานธรณโี คราชได้ขยายตลาดการจาหนา่ ย โดยนาไปจัดแสดง และจาหนา่ ยในงานกจิ กรรมท่ีเก่ียวข้อง
กับอุทยานธรณีโคราช เช่น งานมหกรรมฟอสซิลเฟสติวัล ปี 2560 และ ปี 2561 งานวิ่งลอยฟ้า ในวันท่ี 2
ธันวาคม 2561 ณ อา่ งพกั น้าตอนบน โรงไฟฟา้ ลาตะคองชลภาวัฒนา อาเภอสคี วิ้ เปน็ ตน้

59

จ. 7.2.3 อุทยานธรณีโคราชได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ และ
ประชาสัมพันธ์อุทยานธรณีโคราช อาทิ งานมหกรรมฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งท่ี 4 “โคราชจีโอพาร์คสู่ยูเนสโก” ใน
ระหว่างวนั ท่ี 15 – 20 สิงหาคม 2560 และ งานมหกรรมฟอสซลิ เฟสตวิ ัล คร้ังท่ี 5 : ท่องเท่ียวจโี อพาร์คประเทศ
ไทยแห่งที่ 2 @ โคราช ณ ห้างสรรพสนิ ค้า

เดอะมอลล์ โคราช ระหว่างวันท่ี 18 - 21 มกราคม 2562 อีกทั้งเข้าร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับ
อุทยานธรณีโคราชในงานมหกรรมต่าง ๆ อาทิ งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี หรืองานย่าโม ซ่ึงจัดข้ึน
ระหว่างวันท่ี 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี เป็นต้น ในส่วนของแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ ส่ือสังคม
ออนไลน์ ทางอทุ ยานธรณโี คราชได้มีการจดั ทาขน้ึ และปรับปรงุ เนอื้ หาใหเ้ ป็นปจั จบุ นั อย่างสมา่ เสมอ

จ. 7.2.4 การประชาสัมพนั ธ์แหล่งและเสน้ ทางทอ่ งเท่ียวในอุทยานธรณีมีความหลากหลาย โดย
จดั ทาวีดทิ ัศน์ นิทรรศการ และทาปา้ ยแผนท่ี ปา้ ยส่ือความหมาย ปา้ ยบอกทางในแหลง่ ต่าง ๆ ของอทุ ยานธรณี
โดยภาคเี ครือขา่ ยทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน ได้มีสว่ นรว่ มในการออกแบบจัดทา ตลอดจนกาหนดจดุ ติดตั้ง
ป้ายต่าง ๆ รว่ มกัน ท้ังนรี้ ูปแบบป้าย และเนื้อหาการนาเสนอให้ใชร้ ูปแบบเดยี วกนั ในทุกพ้ืนท่ี

จ. 7.3 นโยบายและตวั อย่างของการมีสว่ นร่วมของชมุ ชนในพืน้ ที่
จ. 7.3.1 นโยบายของอุทยานธรณีโคราชต่อการมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นเสริมสร้างชุมชน

โรงเรียน และวัด ให้เกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรโลกอย่างย่ังยืน การลดผลกระทบ
จากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิบัติภัยธรรมชาติ เห็นความสาคัญของมรดกทางธรณีวิทยา ทาให้มี
เอกลกั ษณ์ของชมุ ชนทอ้ งถ่ิน และชุมชนมีความภาคภมู ิใจในทอ้ งถนิ่ ตนเอง

จ. 7.3.1.1 บริหารจัดการด้วยแนวคิด “จากล่างสู่บน” (Bottom-up) ด้วยการเสริมสร้าง
อานาจและโอกาสให้กับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาพ้ืนท่ีอุทยานธรณี โดยอาศัยความสวยงาม ความสาคัญ และ
ความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา ท้ังในด้านกระบวนการเกิด ลักษณะทางธรณีวิทยา ช่วงเวลาการเกิด และ
ประวตั ทิ างธรณีวิทยา

จ. 7.3.1.2 บริหารจดั การแบบองค์รวม ท่ตี ้องพิจารณาและให้ความสาคัญกบั องคป์ ระกอบท่ี
เก่ียวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างย่ิงชุมชนในพื้นท่ีแหล่งธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ให้มีความรู้สึก
เป็นเจ้าของมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมดังกล่าว รวมท้ังมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความรู้สึกหวงแหน
เกิดจติ สานกึ อนุรักษ์ ขณะเดยี วกันกไ็ ดร้ ับประโยชนใ์ นเชงิ เศรษฐกิจจากมรดกดังกล่าวผา่ นกิจกรรมการท่องเที่ยว
เชงิ ธรณี

จ. 7.3.2 ตัวอย่างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น 1) การส่งเสริมการออกแบบและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์บรรจุภณั ฑ์ท่ีเป็นเอกลักษณ์/อัตลกั ษณ์ของชุมชนมากกว่า 10 รายการ เช่น หุ่นช้างสเตโกดอนสามมิติ
ขนมเผอื กกวนช้างกอมโฟธีเรยี ม พรมหนิ นวดเทา้ สบลู่ ายตะกอนธรณีท่าชา้ ง ที่รองแก้วสลกั เลเซอรช์ ้าง 10 สกุล
กระเป๋าผ้าไทโยนกช้างเอลิฟาส เป็นต้น 2) การฝึกอบรมพัฒนาอาชีพหัตถกรรมในบ้าน วัด โรงเรียน ท่ีอาเภอสี
ค้ิว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองฯ และเฉลิมพระเกียรติ เช่น ชุดกระเป๋าผักตบชวาแฟนซี 3 แบบ/ใบ ของอาเภอ

60

เฉลิมพระเกียรติ เคร่อื งแกว้ ลายไดโนเสาร์และเพื่อนของอาเภอเมืองฯ พวงกุญแจไม้กลายเป็นหินของอาเภอขาม
ทะเลสอ เป็นตน้ 3) การสง่ เสรมิ กลมุ่ วสิ าหกจิ ชมุ ชนดงมะไฟ อ.สงู เนนิ เชน่ สนับสนุนการเผยแพรป่ ระชาสมั พันธ์
กาแฟดงมะไฟท่ีเป็นสินค้า GI (Geographical Indication) โดยการนาเสนอต่อเวทีประชุมวิชาการเครือข่าย
อุทยานธรณีโลกเอเชียแปซิฟิกท่ีอุทยานธรณีโลกจิจินดงคาสต์ ประเทศจีน 2560 การร่วมจัดการแข่งขันว่ิงเทร
ลดงมะไฟบนพน้ื ทเ่ี ขาเควสตาของวัดป่าภูผาสูง การอบรมโฮมสเตยก์ ับกลุม่ แกนนาของบา้ นดงมะไฟ และ 4) การ
สนับสนุนทางวิชาการ การฝึกอบรม เพ่ือการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ “ล่องเรือแลลามูล” ร่วมกับโรงเรียน
ทา่ ช้างราษฎร์บารุง อาเภอเฉลิมพระเกียรติ อปท. และภาคประชาชนในอาเภอ เป็นต้น

7.3.3 การแกไ้ ขปัญหาด้านภาษาที่ใชใ้ นการส่ือสารกับชาวต่างประเทศ ปกตกิ ารสอื่ สารระหว่าง
บุคคลหรือกับนักท่องเที่ยวในอุทยานธรณี จะใช้ภาษาไทยเป็นหลัก แต่ปัจจุบันด้วยนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ ในทุกหลักสูตรของสถานศึกษา ทาให้
มหาวิทยาลยั วทิ ยาลัย และโรงเรยี น ผลติ หรือพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาตา่ งประเทศกนั มากขึน้ เชน่
โรงเรียนสุรนารีในอาเภอเมืองนครราชสีมา มีนักเรียนท่ีเรียนและสามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี และสามารถเป็นมัคคุเทศก์น้อยในแหล่ง
ท่องเทีย่ วของอทุ ยานธรณีได้

แม้วา่ มคั คุเทศกใ์ นท้องถิ่นบางแหลง่ สามารถใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการส่อื สารหรือ
บริการนักท่องเที่ยวได้ เช่น แหล่งปราสาทหินเมืองแขก แหล่งกาแฟดงมะไฟ แต่บุคลากรมัคคุเทศก์ในท้องถิ่นที่
พูดภาษาต่างประเทศได้ยังมีจากัด ทางอุทยานธรณีแก้ปัญหาโดยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่มัคคุเทศก์
อุทยานธรณีทุกปี รวมทั้งการพัฒนาส่ือประชาสัมพันธ์ใหม่อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
นอกจากน้ี ส่ือบางชนิด เช่น หนังสืออุทยานธรณีโคราช บางเล่มก็มีเพ่ิมภาษาจีนด้วย ในอนาคตมีโครงการผลิต
ส่ือ โบรชัวร์ภาษาอื่น ๆ เพ่ิมอีก เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษายาวี ภาษาเขมร เป็นต้น
นอกจากนี้การนาชม นิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในบริเวณสานักงานอุทยานธรณีต่อไปจะเพ่ิมช่องทาง
ส่อื สารผ่าน QR Code ทง้ั ในรูปแบบภาพน่งิ ภาพเคล่ือนไหว อักษรและเสียงหลายภาษามากขึ้น

จ. 8 เครอื ขา่ ย
อุทยานธรณีโคราชได้มีความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการขับเคลื่อนพัฒนาอุทยานธรณีโคราชมา
อย่างตอ่ เน่อื ง ท้งั ภาครัฐ เอกชน เครอื ขา่ ยท้ังในและต่างประเทศ ดงั น้ี

จ. 8.1 องค์กรนานาชาติ
จ. 8.1.1 อุทยานธรณีโลกเลสวอส ประเทศกรีซ และอุทยานธรณีโคราชได้ลงนามในบันทึก

ขอ้ ตกลงความรว่ มมือทางวิชาการ MOU ด้านการอนุรกั ษไ์ ม้กลายเปน็ หิน และการจัดต้ังอุทยานธรณี ในวันที่ 11
กันยายน 2557 ณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติป่าไม้กลายเป็นหินเลสวอส ประเทศกรีซ และ ได้เชิญ
Prof. Dr. Nickolas Zouros จากอทุ ยานธรณเี ลสวอส ซง่ึ ดารงตาแหนง่ นายกสมาคมอทุ ยานธรณโี ลกในขณะนั้น
มาใหค้ วามรู้ในโครงการอบรมและประเมนิ แหลง่ ธรณวี ิทยาเบ้อื งต้น เพือ่ จัดทาเอกสารขอจัดตั้งอทุ ยานธรณีระดับ

61

โลก และสารวจศักยภาพทางธรณีวิทยาของพื้นท่ีจังหวัดนครราชสีมา เม่ือวันที่ 10 – 19 มกราคม 2558 ณ
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ซึ่งอุทยานธรณีโลกเลสวอส มีความโดดเด่นด้านไม้กลายเป็นหิน ในขณะท่ีอุทยาน
ธรณีโคราชมีทรัพยากรไม้กลายเป็นหินที่มีความสาคัญในระดับนานาชาติเช่นเดียวกัน ความร่วมมือดังกล่าวจึง
เปน็ สว่ นสาคัญในการขับเคล่อื นผลกั ดันอทุ ยานธรณีโคราชใหก้ ้าวส่อู ุทยานธรณีชนั้ นาของโลกได้

จ. 8.1.2 อุทยานธรณีโลกสตูล ได้มีบันได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับ
อุทยานธรณีโคราช เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ณ องค์การบริหารส่วนตาบลทุ่งหว้า อาเภอทุ่งหว้า จังหวัด
สตูล เพ่ือร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันในการดาเนินงานอุทยานธรณี พัฒนาและอนุรักษ์แหล่ง
ธรณวี ทิ ยา นิเวศวทิ ยา และวฒั นธรรม แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ร่วมกัน รวมถงึ การสนบั สนนุ ทรัพยากรบุคคลที่มคี วามรู้
ความสามารถในการพัฒนาอทุ ยานธรณีร่วมกนั

จ. 8.1.3 อุทยานธรณีโลกเคเชม ประเทศอิหร่าน มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ MOU
กบั อทุ ยานธรณโี คราช ในวนั ที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมแคนทารโี คราช จงั หวดั นครราชสมี า เพือ่ สนบั สนุน
การขับเคล่ือนอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก ร่วมมือกันในการสนับสนุนด้านการศึกษาในท้องถิ่น
แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ประสบการณ์ในการดาเนนิ งานด้านอุทยานธรณี ร่วมหาแนวทางในการพัฒนาอย่างย่ังยืน การ
ท่องเทีย่ วเชงิ ธรณี อบรมและพัฒนาบุคลากรรว่ มกัน เพอื่ ให้การดาเนนิ งานอุทยานธรณีมีศักยภาพสงู สดุ

จ. 8.1.4 การฝกึ อบรมเชิงปฏบิ ตั ิการ “จโี อพาร์ค กบั การทอ่ งเที่ยวอย่างยงั่ ยืน” Training
and workshop on “UNESCO Global Geopark & Sustainable Tourism” ในวันที่ 18-21 สิงหาคม
2561 ณ โรงแรมแคนทารี โคราช จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย โดยอทุ ยานธรณโี คราชได้เชญิ ผเู้ ชย่ี วชาญและ
ผูบ้ ริหารจีโอพารค์ โลก ดงั น้ี Dr. Guy Martini เลขาธกิ ารเครือข่ายอุทยานธรณโี ลก และประธานคณะกรรมการ
อทุ ยานธรณีโลก UNESCO Prof. Emeritus Dato Dr. Ibrahim Komoo รองประธานเครอื ข่ายอุทยานธรณโี ลก
และรองประธานคณะกรรมการอุทยานธรณีโลก UNESCO Dr. Soojae Lee สมาชกิ คณะกรรมการอทุ ยานธรณี
แห่งชาติ, เกาหลใี ต้ และสมาชิกคณะกรรมการจากอุทยานธรณีโลก Jeju, เกาหลีใต้ Prof. Dato' Dr. Norzaini
Azman จาก National University of Malaysia, Langkawi Research Center ศาสตราจารย์ผู้เชีย่ วชาญ
ทางดา้ นการศึกษาของมหาวทิ ยาลัยแหง่ ชาติมาเลเซยี , ศนู ย์วิจยั อุทยานธรณีโลกลงั กาวี, มาเลเซยี Prof. Ir. Dr.
Mega F. Rosana หัวหนา้ ศูนย์วิจยั อทุ ยานธรณแี ละธรณีวิทยาอนิ โดนเี ซีย Prof. Dr. Norhayati Ahmad จาก
Langkawi Reseach Center ผู้เชยี่ วชาญทางดา้ นชวี วทิ ยา (Reptile และ Amphibian) ประธานศูนย์วจิ ยั
อุทยานธรณโี ลกลงั กาวี มาเลเซีย Dr. Alireza Amrikazemi ผู้อานวยการ อทุ ยานธรณีโลก Qeshm Island
ประเทศอิหรา่ น Mr. Azmil Munif Mohd Bukhari ผูจ้ ัดการอุทยานธรณโี ลกลงั กาวี มาเลเซีย ดร.สมหมาย เต
ชวาล รองอธิบดกี รมทรัพยากรธรณี และ ผศ.ดร. ป้องศักดิ์ ทองเนอ้ื แข็ง รองผู้อานวยการอทุ ยานธรณโี ลกสตลู
เป็นวทิ ยากรในการใหค้ วามรู้และทากิจกรรมร่วมกนั กับชมุ ชนในพนื้ ท่ีอุทยานธรณีโคราช

จ. 8.1.5 กจิ กรรม Japanese Geoparks Network (JGN) Joint Workshop ซ่งึ เครอื ข่าย
อุทยานธรณีประเทศญ่ีปุ่น ลงพื้นท่ีอุทยานธรณีโคราชเพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้ประสบการณ์การดาเนินงานของ
อุทยานธรณีโคราชโดยชุมชนมีส่วนร่วมตามหลักการดาเนินงานจากล่างสู่บน Bottom-up ของยูเนสโก ใน

62

ระหวา่ งวันท่ี 18 – 23 พฤศจกิ ายน 2561 โดยมีบริหารและผทู้ รงคุณวฒุ ิจากประเทศญป่ี ุ่นเดินทางมาทากจิ กรรม
ร่วมกับชุมชนในอุทยานธรณีโคราช ประกอบด้วย Mr. Kazuhiro Nobe หัวหน้าคณะทางานเครือข่ายอุทยาน
ธรณปี ระเทศญ่ีปุน่ Dr. Mahito Watanabe คณะวจิ ยั และสารวจธรณวี ทิ ยาประเทศญี่ปุ่น Geological Survey
of Japan (GSJ) Ms. Kana Furusawa รองเลขาธิการเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศญี่ปุ่น Ms. Yuki Nakasuji
สมาชิกคณะกรรมการเลขาธิการอุทยานธรณีนานกิ คุมาโนะ ประเทศญี่ปุ่น Mr. Tristan Gray Secretariat
สมาชกิ คณะกรรมการเลขาธิการอุทยานธรณมี ิเนะ อากิโยชดิ ะ ประเทศญ่ปี นุ่

จ. 8.1.6 การเข้าร่วมประชุมวิชาการอุทยานธรณีโลก ผู้บริหารและบุคลากรของอุทยานธรณี
โคราชได้เข้าร่วมนาเสนอผลงานในเวทีประชุมและสัมมนาอุทยานธรณีของยูเนสโก โดย ผศ.ดร. วิฆเนศ
ทรงธรรม รองผู้อานวยการอทุ ยานธรณโี คราช และนางสาวภคภรณ์ สงิ ห์วชิระวรกุล ทปี่ รกึ ษาและวิเทศสัมพันธ์ผู้
อุทยานธรณโี คราช เข้ารว่ มการประชมุ ทางวิชาการนานาชาตยิ ูเนสโก คร้ังท่ี 7 ในวนั ที่ 27 – 30 สงิ หาคม 2559
ณ อุทยานธรณีโลกอิงลชิ ริเวียรา่ ประเทศสหราชอาณาจักร และคณะผบู้ ริหารอุทยานธรณโี คราช ประกอบด้วย
ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อานวยการอุทยานธรณีโคราช ผศ.ดร. วิฆเนศ ทรงธรรม รองผู้อานวยการอุทยาน
ธรณีโคราช นางสาวภคภรณ์ สงิ หว์ ชริ ะวรกลุ ที่ปรึกษาและวิเทศสัมพันธ์อุทยานธรณีโคราช และนางสาวปารชิ าต
กรวยนอก ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารอุทยานธรณีโคราช เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการนานาชาติ
ยเู นสโก ครั้งที่ 8 ในวนั ท่ี 8 – 14 กันยายน 2561 ณ อทุ ยานธรณีโลกอดาเมลโล เบรนตา ประเทศอิตาลี เปน็ การ
นาเสนอการดาเนินงานของอุทยานธรณโี คราช และมรดกทางธรณีวิทยาทโ่ี ดดเด่นของอุทยานธรณีโคราช รวมถึง
สรา้ งเครือข่ายกับอุทยานธรณีโลกของยเู นสโกอีกดว้ ย

จ. 8.1.7 สถานีวิจัยส่ิงแวดล้อมสะแกราช (พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช) อุทยาน
แห่งชาติเขาใหญ่ (มรดกโลกผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่) และอุทยานธรณีโคราช ได้ลงนามในข้อตกลงความ
ร่วมมือ MOU เพ่ือเชื่อมโยง 3 โปรแกรมการอนุรักษ์ของยูเนสโก ร่วมมือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สนับสนุนการศึกษา วิจัย และให้บริการวิชาการร่วมกัน โดยพิธีลงนามมีในวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ณ ห้อง
ประชุมสถาบนั วิจัยไมก้ ลายเป็นหินฯ ตาบลสรุ นารี อาเภอเมืองนครราชสมี า จงั หวดั นครราชสมี า

จ. 8.2 องคก์ รในประเทศและทอ้ งถน่ิ
จ. 8.2.1 จังหวัดนครราชสีมา การดาเนินงานของอุทยานธรณีโคราชได้มีการบริหารจัดการ

ภายใต้การสนับสนุนจากจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานในท้องถิ่น โดยทางจังหวัดนครราชสีมามีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการอานวยการอุทยานธรณีโคราช ประกอบด้วยผู้บริหารจากองค์กรต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพ่ือ
กาหนดนโยบายของอุทยานธรณีโคราช กากับบริหารงาน และอนุมัติแผนบริหารจัดการ และสนับสนุนการ
บริหารและพัฒนาอุทยานธรณีโคราช อีกทั้งจังหวัดนครราชสีมาได้แต่งต้ังคณะกรรมการกากับยุทธศาสตร์แผน
บริหารจัดการอุทยานธรณีโคราช ประกอบด้วยผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่าง ๆ เพ่ือวางแผน
ประสานงาน กากบั ติดตามยุทธศาสตร์ ขบั เคลอ่ื นดาเนินงานตามแผนบรหิ ารจัดการอุทยานธรณโี คราชใหเ้ ป็นไป
ตามเกณฑก์ ารประเมินของยเู นสโก นอกจากน้ยี งั มกี ารแต่งตัง้ คณะทางานระดบั อาเภอเพ่ือขบั เคลื่อนอุทยานธรณี
โคราชในภาคท้องถิน่

63

จ. 8.2.2 กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรท่ีมี
ส่วนสาคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนอุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลก โดยให้การสนับสนุนด้านวิชาการ การ
สารวจ ศึกษาและวิจัย ทางดา้ นธรณวี ิทยา บรรพชวี ินวิทยา รวมถงึ สนบั สนนุ การจัดตั้งศูนยเ์ รยี นรู้อทุ ยานธรณีใน
โรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณีอีกด้วย ในการน้ีอุทยานธรณีโคราช และกรมทรัพยากรธรณีได้ทาบันทึกข้อตกลง
ความรว่ มมือทางวชิ าการ MOU ด้านการวจิ ัย สารวจ อนรุ ักษ์และบูรณาการองคค์ วามรู้ดา้ นธรณีวทิ ยาและบรรพ
ชวี นิ วทิ ยา ในวนั ที่ 23 เมษายน 2558 ณ สถาบนั วจิ ยั ไมก้ ลายเปน็ หนิ ฯ

จ. 8.2.3 โรงเรยี น อทุ ยานธรณีโคราชมโี รงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณี หรือ Geopark School
ในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 26 โรงเรียน ในระยะแรกมีโรงเรียนนาร่องจานวน 8 โรงเรียน โดยได้มีการมอบป้าย
โรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณี ในท่ีประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมาและหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัด
นครราชสีมา คร้ังท่ี 4/2561 วันท่ี 27 เมษายน 2561 ณ หอประชุมเปรม ติณสูลานนท์ ให้โรงเรียน จานวน 8
แห่ง ดังน้ี ประกอบด้วย 1) โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บารุง 2) โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 3) โรงเรียนสุรนารี (กลุ่ม
โรงเรยี นในสงั กัดสานักงานเขตพน้ื ทีก่ ารศึกษามธั ยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา) 4) โรงเรยี นสงู เนิน 5) โรงเรยี น
สีคิ้ว“สวัสด์ิผดุงวิทยา” 6) โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า (กลุ่มโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นครราชสมี า) 7) โรงเรียนโปง่ แดงนา้ ฉ่า 8) โรงเรียนนยิ มมิตรวิทยาคาร (กลุ่มโรงเรียนในสงั กัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4) ต่อมาได้เพิ่มเติมโรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณีอีกจานวน 18 แหง่
โดยมีการมอบปา้ ยให้โรงเรยี นเครือข่าย วนั ที่ 28 มถิ นุ ายน 2561 ในทป่ี ระชมุ กรมการจังหวัดนครราชสีมาและ
หัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 6/2561 ประจาเดือน มิถุนายน 2561 ณ เทอร์มินอล
ฮอลล์ (ฮอลล์ 1) ชั้น 4 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จานวน 18 แห่ง ดังนี้ 1) โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ 2)
โรงเรยี นมหศิ ราธิบดี 3) โรงเรียนโคราชพทิ ยาคม (กลมุ่ โรงเรยี นในสังกัดสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษามธั ยมศึกษา
เขต 31 นครราชสีมา) 4) โรงเรียนตาบลบ้านโพธ์ิ 5) โรงเรียนบ้านโกรกเดือนห้า 6) โรงเรียนบ้านมาบมะค่า 7)
โรงเรียนบ้านลองตอง (กลุ่มโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1) 8)
โรงเรียนอนุบาลท่าช้างเฉลิมพระเกียรติ 9) โรงเรียนเพชรมาตุคลา 10) โรงเรียนไทรงามเฉลิมพระเกียรติ (กลุ่ม
โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2) 11) โรงเรียนบ้านส้มกบงาม
12) โรงเรียนบ้านเลิศสวัสด์ิ (ราษฎร์รังสรรค์วิทยา) 13) โรงเรียนถนนมิตรภาพ 14) โรงเรียนบ้านซับตะเคียน
15) โรงเรียนบ้านใหม่สาโรง 16) โรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 17) โรงเรียนหนองน้าขุ่น 18) โรงเรียนบ้านมะค่า
งาม (กลุ่มโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4) ซึ่งโรงเรียนเหล่าน้ี
ได้รับการสนับสนุนภายใต้ความร่วมมือของอุทยานธรณีโคราช สถานีวิจัยส่ิงแวดล้อมสะแกราช (พ้ืนท่ีสงวนชีว
มณฑลป่าสะแกราชของยูเนสโก) และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นท่มี รดกโลกผืนป่าดงพญา
เย็น – เขาใหญ่ ให้เข้าร่วมกิจกรรมจีโอพาร์คแคมป์ (Geopark Camp) เพ่ือสร้างการรับรู้ให้นักเรียนโรงเรียน
เครือข่ายตระหนักในคุณค่าของการดาเนินงานท้ัง 3 โปรแกรมการอนุรักษ์ของยูเนสโกดังกล่าว ซ่ึงจะเป็นส่วน
สาคัญในอนาคต ต่อการปกป้องรักษาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างย่ังยืนรวมท้ังความภาคภูมิใจและหวง
แหวนในทรัพยากรของท้องถ่ินตน อีกทั้งโรงเรียนเครือข่ายอุทยานธรณีจะมีการเรียนการสอนตามหลักสูตร

64

ท้องถิ่นที่มีเนื้อหาเก่ียวกับอุทยานธรณีครอบคลุมทั้งในแง่มรดกทางธรณีวิทยา มรดกทางธรรมชาติ และ
วัฒนธรรมของท้องถิ่น ภายใต้การสนับสนุนของอุทยานธรณีโคราช สานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา
สานักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศึกษาจงั หวัดนครราชสีมา และกรมทรัพยากรธรณี

จ. 8.2.4 มหาวิทยาลัย อทุ ยานธรณีโคราชได้รับการสนับสนุนการดาเนินงานจากมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา โดยได้รบั การสนบั สนนุ งบประมาณ และบุคลากรในการขับเคลอื่ นอุทยานธรณโี คราช อกี ทั้ง
คณาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้มีการบูรณาการองค์ความรู้ท่ีเกี่ยวข้องกับอุทยาน
ธรณีโคราชเข้ากับแนวทางการเรียนการสอนรวมถึงการศึกษาวิจัย รวมถึงพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา และ
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ท่ีอยู่ภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้มีส่วนสาคัญในการเผยแพร่องค์
ความรู้เกี่ยวกับอุทยานธรณีโคราชสู่สาธารณชน อีกท้ังได้มีการหารือแนวทางการวิจัยร่วมกับนักวิจัยจาก
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องคก์ ารมหาชน) เพอ่ื สารวจ ศกึ ษา วิจยั ในพืน้ ทอี่ ทุ ยานธรณโี คราช

จ. 8.2.5 รัฐวิสาหกิจ การดาเนินงานขับเคลื่อนอุทยานธรณีโคราชได้รับการสนับสนุนจาก
รัฐวิสาหกิจหลากหลายองค์กรในหลายบรบิ ท ในส่วนของการบริหารจัดการน้นั จังหวัดนครราชสีมาได้แต่งตั้งให้
ผู้อานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สานักงานนครราชสีมา เป็นคณะกรรมการอานวยการอุทยานธรณี
โคราชเพ่ือสนับสนุนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมตามบทบาทหน้าท่ีรับผิดชอบขององค์กร ในส่วนของการ
สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ นั้น อุทยานธรณีโคราชได้รับการสนันสนุนเป็นอย่างต่อเน่ืองจากโรงไฟฟ้าลาตะคองชล
ภาวัฒนา ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) ในการจัดทาเว็บไซต์และส่ือ
ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ สถานีวิจัยส่ิงแวดล้อมสะแกราช ภายใต้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ประเทศไทย (วว.) ในการจัดกิจกรรมค่ายอุทยานธรณี ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือที่ได้ทาร่วมกัน และองค์การ
สวนสัตว์ ในการเช่ือมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโคราชเข้ากับสวนสัตว์นครราชสีมา เพ่ือดึงดูด
นกั ทอ่ งเท่ยี วใหม้ ีความหลากหลาย ทกุ เพศ ทกุ วยั และสรา้ งกจิ กรรมเพมิ่ เติมจากการทอ่ งเที่ยวเชิงธรณี

จ. 8.2.6 ผู้ประกอบการขนส่ง อุทยานธรณีโคราชได้มีการลงนามความร่วมมือในกิจกรรม
ท่องเท่ียวเชิงธรณีอุทยานธรณีโคราช กับผู้ประกอบการรถรับจ้างจังหวัดนครราชสีมา เพ่ือส่งสริมให้เส้นทาง
คมนาคมในอุทยานธรณสี ามารถเข้าถงึ ไดโ้ ดยการบริการขนสง่ สาธารณะอย่างทว่ั ถงึ ในวนั ที่ 4 กรกฎาคม 2561
ณ ห้องประชมุ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ โดยมีเครอื ข่ายลงนามความรว่ มมือ ดังนี้ ขนส่งจงั หวัดนครราชสีมา
บริษัทนาคาพัฒนกิจ จากัด บริษัทแท็กซ่ีโคราช จากัด บริษัทชัยพัฒนยนต์ จากัด บริษัทแท็กซ่ี ดีดี จากัด ห้าง
หุ้นสว่ นจากัดโยธินทราเวล บริษัท เอ เอส แทก็ ซี่ จากดั บริษทั ออลไทย แท็กซี่ จากดั และชมรมต๊กุ ตกุ๊ โคราช

จ. 8.2.7 สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับอุทยานธรณีโคราช และมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมาจัดการประชุมวิชาการเรื่อง “ภูมิศาสตร์ตามศาสตร์พระราชา” ระหว่างวันท่ี 27 – 29
ธันวาคม 2560 ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และอุทยานธรณีโคราช เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะอันโดดเด่น
ทางภูมิศาสตร์ของอุทยานธรณีโคราช อีกท้ังร่วมจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “จีโอพาร์ค กับการท่องเที่ยว
อ ย่ า ง ย่ั ง ยื น ” Training and workshop on “UNESCO Global Geopark & Sustainable Tourism” ณ

65

โรงแรมแคนทารี โคราช จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ระหว่างวันท่ี 18-21 สิงหาคม 2561 เพ่ือเช่ือมโยง
และเชิดชูคุณค่าทางภมู ศิ าสตร์ของอทุ ยานธรณโี คราชกบั การท่องเท่ียวเชิงธรณี

จ. 8.2.8 เทศบาลตาบลโคกสงู อาเภอเมอื ง จังหวดั นครราชสีมา และอทุ ยานธรณีโคราช ไดท้ า
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในวันท่ี 24 ธันวาคม 2557 เพ่ือร่วมมือสนับสนุนงานศึกษาวิจัย และ
อนุรักษ์ด้านธรณีวิทยา บรรพชีวินวิทยา และสนับสนุนงานด้านพิพิธภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์ซากดึกดาบรรพ์โคกสูง
ภายใต้การดูแลของเทศบาลตาบลโคกสงู เป็นแหล่งธรณีวิทยาที่มคี วามสาคัญย่ิงแห่งหน่งึ ของอุทยานธรณีโคราช
ท่ีควรได้รบั การสารวจ ศึกษา วิจัย และอนุรกั ษ์อยา่ งตอ่ เนื่อง

จ. 8.2.9 องค์การบริหารส่วนตาบลทุง่ หวา้ อาเภอทุ่งหว้า จงั หวัดสตูล และอุทยานธรณีโคราช
ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในวันที่ 29 เมษายน 2558 เพ่ือร่วมมือกันในการพัฒนา
สนบั สนุนงานดา้ นการศกึ ษา วจิ ัย และอนรุ กั ษ์ดา้ นธรณีวทิ ยา บรรพชวี ินวทิ ยา และงานพิพิธภัณฑ์

จ. 8.2.10 องค์การบริหารสว่ นตาบลปาล์มพัฒนา อาเภอมะนงั จงั หวดั สตลู และอุทยานธรณี
โคราช ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในวันที่ 5 เมษายน 2559 เพื่อร่วมมือกันในการ
พัฒนา สนบั สนนุ งานด้านการศกึ ษา วจิ ัย และอนุรกั ษ์ด้านธรณวี ิทยา บรรพชวี นิ วทิ ยา และงานพิพิธภัณฑ์

จ. 8.2.11 กรมทรัพยากรธรณี จงั หวัดสตลู มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครราชสีมา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล สานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล
สานักงานอุทยานธรณสี ตลู ได้ลงนามในบนั ทึกความเขา้ ใจว่าดว้ ยความรว่ มมือในการสนับสนุนการจัดตงั้ อุทยาน
ธรณีสตูลให้เป็นอุทยานธรณีโลก ในวันท่ี 21 กันยายน 2559 เพ่ือร่วมมือในการสนับสนุนการดาเนินงานของ
อุทยานธรณีสตลู ใหเ้ ปน็ อุทยานธรณโี ลกทีร่ บั รองโดยยเู นสโก ซงึ่ อทุ ยานธรณีโคราชอุดมไปดว้ ยทรัพยากรบุคคลท่ี
มีความรู้ความสามารถด้านธรณีวิทยา บรรพชีวินวิทยา และการบริหารจัดการอุทยานธรณี ซ่ึงสามารถ
แลกเปล่ยี นเรียนรู้รว่ มกับองค์กรตา่ ง ๆ ได้

จ. 9 การซ้ือขายวสั ดุทางธรณีวิทยา
อุทยานธรณีโคราช เป็นพื้นท่ีท่ีมีวัสดุทางธรณีวิทยา เช่น หิน แร่ ฟอสซิล จานวนมาก หลายชุมชน
ท้องถิ่นได้ใช้เป็นวัสดุในการประกอบอาชีพและค้าขาย เช่น ในเขตอาเภอสีคิ้ว มีการนาหินทรายมาตัดทาแผ่นปู
พืน้ ทางเท้าและแกะสลักขดั มันเปน็ รปู เคารพ เคร่อื งใช้ตา่ ง ๆ แตก่ ต็ อ้ งนามาจากแหล่งทถ่ี ูกกฎหมาย การซอื้ ขาย
ฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่เคยมีภาคเอกชนดาเนินการ ในเขตอาเภอเมืองฯ อาภอเฉลิม
พระเกียรติ แต่หลัง พ.ศ. 2551 ท่ี พ.ร.บ. คุ้มครองซากดึกดาบรรพ์ของประเทศไทยมีผลบังคับ จึงถือว่าเป็นสิ่ง
ผิดกฎหมาย มีโทษปรับเป็นเงินและ/หรือจาคุกสูงสุดถึง 7 ปี จึงไม่มีการซื้อขายอีกต่อไป และบางรายได้บริจาค
ให้กับทางพิพิธภัณฑ์เพื่อการอนุรักษ์และจัดแสดงเป็นนิทรรศการ ในส่วนของอุทยานธรณีได้ตระหนักถึงคุณค่า
การอนรุ กั ษท์ รัพยากรธรณีวทิ ยา จงึ ไม่ไปเกยี่ วข้องกบั การซอ้ื ขายวสั ดุทางธรณวี ิทยาดังกล่าว

66

ฉ. ความสนใจและความเหน็ ตอ่ การเปน็ อทุ ยานธรณีโลกของยูเนสโก
เม่ือ 26 กันยายน พ.ศ. 2560 นางอิริน่า โบโคว่า ผู้อานวยการใหญ่องค์การยูเนสโก กล่าวยกย่อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลท่ี 9 ของประเทศไทยว่าทรงเปน็ แบบอย่างในการ
ผลักดันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงขณะนี้ทางองค์การสหประชาชาติได้นาไปบรรจุในแผนพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน ให้ชาติสมาชิกนาไปปฏิบัติภายในปี พ.ศ. 2573 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว ในหลวง
รัชกาลที่ 9 ได้ทรงปฏิบัติเป็นพระราชกรณียกิจผ่านโครงการพระราชดาริที่ส่งผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงในทาง
เศรษฐกิจและสังคมที่ดีท่ัวทุกภาคของประเทศไทย จานวน 4,741 โครงการ ตลอดช่วงเวลาที่ทรง
ครองราชย์ 70 ปี

ดังน้ัน เม่ืออุทยานธรณีโลกยูเนสโก กาหนดแนวทางการดาเนินงานท่ีประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ
การอนุรักษ์ การศึกษาและการพัฒนาอย่างย่ังยืน ซ่ึงสอดคล้องกันกับศาสตร์พระราชา ร.9 ย่อมน่าจะเช่ือได้ว่า
การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของไทยโดยโปรแกรมจีโอพาร์คโลกของยูเนสโก จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ท่ีดีด้วย

พ้ืนที่อุทยานธรณีโคราช มีโครงการตามแนวพระราชดาริจานวนมาก เช่น ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงฯ ในอาเภอเมืองฯ โครงการอนุรักษ์พันธกุ รรมพืชคลองไผ่ อาเภอสีคิ้ว โครงการสร้างอ่างเกบ็
น้าบ้านท่าช้าง ขุดลอกหนองลาเจียกนอกบ้านท่าช้าง และปลูกสร้างสวนป่าในป่าหนองเต็ง จนเป็นที่มาของการ
ตั้งชื่ออาเภอเฉลิมพระเกียรติในอุทยานธรณี ดังน้ัน เม่ือมรดกทางธรณีวิทยาของพ้ืนท่ีมีความโดดเด่น แตกต่าง
จากอุทยานธรณีโลกอ่ืน ๆ คือ เป็นแหล่งฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังพันธ์ุใหม่ของโลกไม่ต่ากว่า 7 สกุล 8 ชนดิ
มอี าเภอเฉลมิ พระเกียรติทเี่ ป็นแหลง่ ฟอสซิลชา้ งดึกดาบรรพ์มากท่ีสดุ ในโลกถึง 10 สกลุ จาก 55 สกุลท่พี บทั่วโลก
และมีภูมิประเทศเขาเควสตาแบบคู่ขนานและเป็นส่วนหน่ึงของเควสตาโคราชท่ียาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกว่า
1,700 กิโลเมตร ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีโลก และได้รับการสนับสนุนจาก
เครือข่ายจีโอพารค์ โลกกวา่ 140 แหลง่ ทวั่ โลก อนาคตของท้องถิ่น จึงน่าจะบรรลผุ ลการพฒั นาท่ยี งั่ ยนื ตามความ
ต้องการของชุมชน และสมกับพระราชประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาของในหลวง ร.9 และองค์การยูเนสโก
ในทส่ี ุดได้

67


Click to View FlipBook Version