๔๕ ใบความรู้ที่ ๒๕ พจนานุกรม พจนานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมคำศัพท์โดยเรียงลำดับคำตาม ตัวอักษรกำ หนด เสียงอ่าน ความหมาย ไวยากรณ์ ตัวอย่างประโยค และที่มาของคำ เพื่อใช้เป็นที่ ค้นคว้าหาความหมายของคำ ๑) เรียงตามลำ ดับตัวพยัญชนะ ก – ฮ ตัว ฤ ฤา จะอยู่หลังตัว ร ส่วนตัว ฦ ฦา จะอยู่หลังตัว ล เช่น กิน ขืน ครู ๒) คำ ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงลำ ดับตาม พยัญชนะตัวถัดไป ๓) ถ้าเป็นอักษรนำ หรืออักษรตาม ซึ่งตัวหน้าเป็นตัวเดียวกัน ให้ ดูตัวที่ ๒ เช่น องุ่น อย่าง อร่อย หลักในการค้นหาคำ
๔๖ ๔) ถ้าเป็นคำ ที่มีตัวสะกดให้ดูว่าตัวสะกดตัวใดมาก่อน เช่น ขน ขม ๕) คำ ที่ขึ้นต้นพยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ จะมาก่อนคำ ที่ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระ พยัญชนะตามด้วยพยัญชนะ เช่น กรง พยัญชนะตามด้วยสระ เช่น กะทิ ๖) คำ ที่มี –็ (ไม้ไต่คู่) จะมาก่อนคำ ที่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น แข็ง แข่ง แข้ง หลักในการค้นหาคำ ๑. ใช้ตรวจสอบการอ่านและการเขียนให้ถูกต้อง ๒. ใช้ในการค้นหาความหมายของคำศัพท์ ๓. ค้นหาหน้าที่ของคำตามหลักไวยากรณ์ ประโยชน์ของพจนานุกรม
๔๗ ใบงานที่ ๒๔.๑ ๑) โยงเส้นเครื่องหมายวรรคตอนกับชื่อเครื่องหมายวรรคตอน . ! ? ( ) ฯลฯ : “ ” , / ๆ นขลิขิต ปรัศนี ทวิภาค มหัพภาค ไปยาลใหญ่ อัศเจรีย์ ไม้ยมก อัญประกาศ จุลภาพ ทับ
๔๘ ใบงานที่ ๒๔.๒ ๑) ทำ เครื่องหมาย / หน้าข้อที่ถูก x หน้าข้อที่ผิด ๑. บ้านเลขที่ ๑๕,๒๐ ๒. พ่อมีเงิน ๒,๐๐๐ บาท ๓. ใส่น้าในอัตราส่วน ๑:๓ ํ ๔. โอ้ย! เจ็บ ๕. กรุงเทพ : ๖. ค.ร.ม. ย่อมาจาก คณะรัฐมนตรี ๗. “พ่อซื้อรถใหม่แล้ว ๆ” ๘. วันจันทร์.วันอังคาร.วันพุธ. ๙. ฉันพูดว่า “สวัสดีค่ะ” ๑๐. ปลามีหลายพันธุ์ เช่น ปลาดุก ปลากะพง ปลานิล ฯลฯ
๔๙ ใบงานที่ ๒๔.๓ ๑) เขียนคำ เต็มจากอักษรย่อที่กำ หนดให้ อักษรย่อ ชม. รร. น.ส.พ. กทม. เม.ย. อ. น.ส. ครม. พ.ศ. คำ เต็ม
๕๐ ใบงานที่ ๒๕.๑ ๑) เรียงคำ ที่กำ หนดตามพจนานุกรม ลิง มะพร้าว ดอกไม้ เสียง ประตู กวาง ทหาร เรือใบ หมอน ไอนํ้า ใจ ชาม คิ้ว นก สีแดง ต้นไม้ ฉลาด งาม เตียง ขาว _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ _____________ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐
๕๑ ใบงานที่ ๒๕.๒ ๑) เรียงคำ ที่กำ หนดให้ถูกต้องตามลำ ดับพจนานุกรม กระเป๋า เงิน แมว แม่เลี้ยง วิทยา สุนัข หนอน ใบไม้ ข้าวต้ม ค้างคาว กลม ง่าย เมฆ แม่ชี วิชา สิงโต หนาม บันได ขอทาน ครอบครัว ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ กุ้ง งาม แมลงวัน แม่มด วินาที สำลี หนัก บุคลิก ขยัน คลื่นไส้
๕๒ แบบทดสอบบทที่ ๑๐ เรื่อง เครื่องหมายวรรคตอน และพจนานุกรม คำชี้แจง : ให้นักเรียนทำ เครื่องหมาย X ทับข้อที่มีคำตอบที่ถูกต้อง จากภาพข้อใดเป็นชื่อของ เครื่องหมาย จากภาพข้อใดเป็นชื่อของ เครื่องหมาย มีชื่อว่า มีชื่อว่า ก. จุลภาค ข. มหัพภาค ค. ปรัศนี ง. อัญประกาศ ปรัศนีมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ก. เครื่องหมายตกใจ ข. เครื่องหมายคำถาม ค. เครื่องหมายวงเล็บ ง. เครื่องหมายจุดลูกนํ้า จุด มีหลักการใช้อย่างไร ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ก. อัศเจรีย์ ข. ปรัศนี ค. นขลิขิต ง. จุลภาค ก. บุพสัญญา ข. จุลภาค ค. นขลิขิต ง. อัศเจรีย์ ก. นขลิขิต ข. จุลภาค ค. มหัพภาพ ง. อัญประกาศ ก. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรย่อ ข. ใช้เขียนหลังตัวเลขเพื่อบอก ลำดับข้อ ค. ใช้เขียนคั่นชั่วโมงกับนาที ง. ถูกทุกข้อ ! ( ) , “ ”
๕๓ วงเล็บ ข้อใดเป็นหลัก การใช้ ข้อใดใช้ ไม้ยมก ( ๆ) ถูกต้อง เติมเครื่องหมายหลังข้อความ “เครื่องครัวมีหลายชนิด เช่น เตา หม้อ ชาม ช้อน ______” ข้อใดใช้เครื่องหมายผิด ก. โอ้ย ! เจ็บจัง ข. (เธอชื่ออะไร) ค. ฉันชอบละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ง. เขาชอบไปเที่ยวทะเล , ภูเขา และ นํ้าตก ข้อใดใช้เครื่องหมายถูกต้อง ๗. ๘. ๙. ก. ใช้คั่นคำ หรือกลุ่มคำ ข. ใช้เพื่อต้องการเน้นคำ หรือ ข้อความ ค. ใช้เพื่อกำกับข้อความเพื่ออธิบาย ให้ชัดเจน ง. ใช้เขียนหลังข้อความที่จะมี ตัวอย่างหรือข้อชี้แจง ก. เด็กๆต้องไปโรงเรียน ข. พี่ตื่นๆตอนเช้าทุกวัน ค. ที่ห้างสรรพสินค้ามีของนาๆ ประการ ง. แม่ไก่อยู่ในตะกร้าไข่ ๆ มา สี่ห้าใบ ก. ? ข. ฯลฯ ค. ( ) ง. / ก. พศ = พุทธศักราช ข. ขันติ ฯ ความอดกลั้น ค. บ้านเลขที่ 16/30 ง. พ่อมีเงิน ๑๐๐:๐๐๐ ๑๐. ๑๑. คำ ใด ย่อคำ หน้า และคำ หลัง ไม่ถูกต้อง ก. ม.ค. มีนาคม ข. มิ.ย. มิถุนายน ค. เม.ย เมษายน ง. ก.พ. กุมภาพันธ์ ๑๒. คำย่อข้อใดถูกต้อง ก. ช.ม. ชั่วโมง ข. รร. โรงแรม ค. อจ. อาจารย์ ง. ก.ท.ม. กรุงเทพมหานคร ๑๓. ( )
๕๔ ข้อใดกล่าวถึงพจนานุกรม พจนานุกรมจะเรียงลำดับเรื่อง ใดก่อน ตัว ฤ ฤา จะใช้อย่างไร ข้อใดเรียงลำดับตามพจนานุกรม ได้ถูกต้อง ก. ขวาน มะพร้าว บ้าน ข. ดอกไม้ สร้อย ลำ ไย ค. กระโปรง ฆ้อง ชาม ง. กล้วย ครัว นํ้า ข้อใดเรียงลำดับพจนานุกรม เป็นลำดับแรก ๑๔. ๑๕. ๑๖. ก. หนังสือที่รวบรวมคำต่างๆใน ภาษาใดภาษาหนึ่ง ข. พจนานุกรมจะมีข้อมูลของคำ และชนิดของคำ ค. พจนานุกรมจะเรียงลำดับของ ตัวอักษรและสระ ง. ถูกทุกข้อ ก. สระ ข. พยัญชนะ ค. วรรณยุกต์ ง. ตัวสะกด ก. จะอยู่หน้า ร ข. จะอยู่หลัง ร ค. จะอยู่หน้า ล ง. จะอยู่หลัง ล ก. หวี ข. หรู ค. หวาน ง. หนาว ๑๗. ๑๘. ข้อใดเรียงลำดับตามพจนานุกรม ได้ถูกต้อง ก. ก้าง กะทิ ก้มหน้า ข. กงสุล กรง กระจก ค. กระปิ กรน กระบอก ง. กวาง กลิ่น กรุณา ๑๙. ตัวย่อในพจนานุกรมข้อใดผิด ก. น. คำ นาม ข. ก. คำกริยา ค. ว. คำวิเศษณ์ ง. อ. สรรพนาม ๒๐.
๕๕
๕๖ บทที่๑๑ บทกลอน วรรณคดีและวรรณกรรมไทย แมวเหมียว แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นหนักหนา ร้องเรียก เหมียว เหมียว เดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง คํ่า คํ่า ซํ้านั่งระวังหนู นับว่ามันกตัญญู คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย ครูดารา : นี่เป็นบทร้อยกรอง เป็นลักษณะของคำ ประพันธ์ที่มีคำ สัมผัสคล้องจองกัน เช่น ตา หา แดง แสง รำ จำ รูป จูบ มาก ยาก ครูดารานำแผ่นบทดอกสร้อยสุภาษิต มาติดบนกระดานให้นักเรียนอ่าน
๕๗ ให้นักเรียนยกตัวอย่างคำ คล้องจองโดยครูจะบอกคำ ให้ ครูดารา : ทอง นักเรียน : จอง , มอง , ของ , ลอง , สอง … ครูดารา : สี่ นักเรียน : ดี , ตี่ , มี , ปี่ , มี ครูดารา : วันนี้นักเรียนจะได้เรียนเรื่อง คำ คล้องจอง คำสัมผัส ได้เรียนเกี่ยวกับคำกลอน และโคลง ที่สำคัญนักเรียน จะได้เรียนเรื่องการแต่งกลอน ดวงดาวพราวฟ้า เดือนจ้าสุกใส ส่องสว่างกลางไพร พาใจเบิกบาน กลอนนี้เรียกว่า กลอน ๔ บทหนึ่งประกอบด้วย ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ มีคำ ที่สัมผัสกัน คือคำว่า ฟ้า จ้า , ไพร ใจ ใส ไพร ครูดาราให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๒๖ และทำ ใบงาน ที่๒๖.๑ – ๒๖.๒ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
๕๘ ครูดารา : นักเรียนเคยได้ยินวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เเละเรื่องพระอภัยมณีไหมคะ นักเรียน : เคยเรียนแต่จำ เรื่องไม่ได้ เพราะครูเคยเล่าเรื่องให้ ฟังย่อ ๆ ครูดารา : ครูจะเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน และพระอภัยมณีให้ นักเรียนฟัง (ครูดาราเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน และพระ อภัยมณี) เรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องพระอภัยมณีมี บทกลอนที่ไพเราะมาก ครูดารา : ยังมีเรื่องวรรณคดี ที่ครูอยากแนะนำ ให้นักเรียนไปหา อ่านอีก คือ เรื่อง - เงาะป่า - นิทานทองอิน - รามเกียรติ์ - ราชาธิราช - ไชยเชษฐ์ ครูดาราให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๒๗ แล้วทำ ใบงานที่ ๒๗.๑ – ๒๗.๒ และนักเรียนทำแบบทดสอบท้ายบท
๕๙ คำ คล้องจอง คำ คล้องจอง คือ คำ ที่มีเสียงสัมผัสกัน มีเสียงสระเดียวกัน ถ้ามี ตัวสะกดต้องเป็นตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น คำ คล้องจองไม่มีตัวสะกด ตา น้า ป่า ม้า ผ้า ฯลฯ คำ คล้องจองที่มีตัวสะกด มาตราแม่ กง ใบความรู้ที่ ๒๖ มา ตา ป่า จ่า ม้า ผ้า คำ คล้องจองที่มีตัวสะกด มาตราแม่ กน วง จง ลิง ยิง ชน บน เรียน เขียน
๖๐ การแบ่งคำ คล้องจอง ๑. คำ คล้องจอง ๑ พยางค์ คำคล้องจองที่ไม่มีตัวสะกด ดี ปี หวี หนี คำคล้องจองที่มีตัวสะกด กาง วาง ร้อง ฟัง ๒. คำ คล้องจอง ๒ พยางค์ แสงเทียน เวียนวน ดอกไม้ ในสวน สายนํ้า ฉํ่าชื่น ท้องทุ่ง รุ่งเช้า ๓. คำ คล้องจอง ๓ พยางค์ ๔. คำ คล้องจอง ๔ พยางค์ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ฉันรักพ่อแม่ ดูแลไม่ห่าง สายลมโบก โยกพลิ้วไหว เจอคนดี มีความสุข พี่สอนน้อง ลองฝึกหัด เป็นนักเรียน ต้องเขียนอ่าน
๖๑ คำสัมผัส คำสัมผัส คือ คำ ที่มีเสียงคล้องจองกัน คำสัมผัสแบ่งได้ ๒ ประเภท ๑. สัมผัสนอก คือ คำคล้องจองที่อยู่ระหว่างวรรค เป็นคำสัมผัสสระ เป็นสัมผัสบังคับขาดไม่ได้ เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำ หรับตน ๒. สัมผัสใน คือ คำคล้องจองที่อยู่ในสระเดียวกัน จะทำ ให้ บทกลอนไพเราะขึ้น จะมีหรือไม่ก็ได้ไม่บังคับ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโรย ฤาจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๖๒ กลอน กลอน คือ ลักษณะของคำ ประพันธ์ที่เรียบเรียงให้คำสัมผัสกัน ตามลักษณะของบทกลอนแต่ละประเภท และ ลักษณะการแต่ง กลอน ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ คำ คำสุดท้ายของวรรค หน้าทุกวรรค ต้องสัมผัสกับคำ ที่ ๒ ของวรรคหลัง คำสุดท้าย ของวรรคที่สองต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นบนฟ้า แสงนวลเย็นตา พาใจหฤหรรษ์ ชักชวนเพื่อนยา มาเล่นร่วมกัน เด็กน้อยสุขสันต์ บันเทิงเริงใจ
๖๓ กลอน ๘ บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๘ คำ คำสุดท้ายของวรรค หน้าทุกวรรค จะสัมผัสกับคำ ที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคหลัง คำ สุดท้ายในวรรคที่ ๒ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายในวรรคที่ ๓ มุ่งเข้มแข็งแข่งได้ ให้ยั่งยืน มุ่งพลิกฟื้นคืนสุขทุกแห่งหน มุ่งถาวรสอนงานการพึ่งตน มุ่งปวงชนพ้นทุกข์สุขหัวใจ
๖๔ กลอนสักวา บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค ต้องขึ้นต้นด้วยคำ ว่า สักวา และลงท้ายด้วยเอย สักวา เอย สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
๖๕ กลอนดอกสร้อย บทหนึ่งใช้ ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค ขึ้นต้นด้วยคำ ๔ คำ เอาคำ ๒ คำ เป็นตัวตั้งแล้วเขียนคำ หน้าซํ้ากัน ๒ ครั้ง โดยเอาคำ ว่า “เอ๋ย” มาแทรก เช่น เเมวเอ๋ยแมวเหมียว และลงท้ายด้วยคำ ว่า เอย เอ๋ย ความเอ๋ยความดี อยู่คงที่คู่โลกเป็นแก่นสาร ประทับจิตมวลมนุษย์ตลอดกาล ชนกล่าวขานเชิดชูพร้อมบูชา ทำความดีถึงแสนยากลำ บากเหลือ ทั้งน่าเบื่อเข็นครกขึ้นภูผา ผลความดีประดับไว้ในโลกา ยิ่งสูงค่านำ ทางสร้างความดีเอย
๖๖ เมื่อนั้น พระบุตรีมีศักดิ์เฉิดฉัน ได้ฟังถ้อยคำ ที่รำ พัน เห็นเขารู้เท่าทันก็อายใจ ครั้นจะเล่าบอกออกให้รู้ ก็อดสูหนักหนาไม่ว่าได้ แต่ความรักเหลือรักต้องหักใจ อรทัยจึงกล่าววาที ฯ กลอนบทละคร กลอนบทละคร วรรคหนึ่งมี ๖ - ๙ คำ วรรคแรกของ กลอนโดยมีคำ หน้า เช่น เมื่อนั้น ( ใช้กับตัวเอก เช่น พระเอก นางเอกพระเจ้าแผ่นดิน ) บัดนั้น ( ใช้กับตัวละครที่ไม่สำคัญ เช่น ทหารคนใช้ )
๖๗ คำ ประพันธ์ คำ ประพันธ์ คือ ถ้อยคำ ที่แต่งขึ้นโดยเรียบเรียงตามข้อ บังคับ มีการจำกัดคำ และวรรค ให้เป็นบท ร้อยกรอง ได้แก่ กลอน โคลง กาพย์ ฉันท์ ร่าย หลักในการแต่งคำ ประพันธ์ วางแผนว่าจะแต่งคำ ประพันธ์เกี่ยวกับอะไรและจะใช้ คำ ประพันธ์ประเภทไหน เขียนโครงเรื่องเป็นร้อยแก้ว แต่งคำ ประพันธ์ตามเรื่องที่เรียบเรียงไว้ ตรวจทานแก้ไขคำคล้องจอง สำ นวนภาษา และปรับปรุง ให้ดีขึ้น ๑ ๒ ๓ ๔
๖๘ วรรณคดี วรรณกรรมไทย ใบความรู้ที่ ๒๗ วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี อาจ เป็นบทร้อยแก้ว หรือร้อยกรองมีการใช้ ภาษาและคำ ที่ดี เนื้อหาดี ทำ ให้ผู้อ่าน อ่านแล้วมีความเพลิดเพลิน วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานประพันธ์ ทุกชนิด ทั้งที่ เป็นบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูด และการเขียนของ กลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น แบ่งเป็น ๗ ประเภท คือ ๑. นิทานพื้นบ้าน เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่างๆกันมา เป็นนิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ๒. ตำ นานพื้นบ้าน เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานที่ ต่าง ๆ บุคคลเป็นความเชื่อ ๓. บทสวดหรือบทกลอนในพิธีกรรม เป็นคำสวดที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ๔. บทร้องพื้นบ้าน คำ ร้องที่ถ่ายทอดกันมาในโอกาสต่าง ๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น ๕. สำ นวนสุภาษิต คำ พูดที่สืบทอดกันมา มักมีคำคล้องจอง ๖. ปริศนาคำ ทาย เป็นคำ หรือข้อความที่ต้องเป็นคำถาม ๗. ตำ รา องค์ความรู้มีการเขียนเป็นบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำ รา โหราศาสตร์
๖๙ วรรณคดีและวรรณกรรมที่ถูกกำ หนดให้นักเรียนในระดับ ประถมศึกษา ดอกสร้อยสุภาษิต เด็กน้อย นกเอี้ยงเลี้ยงความเฒ่า มดแดง สุภาษิตสอนหญิง เพลงกล่อมเด็ก เจ้าทองดี เจ้าเนื้อเย็น นกกาเหว่า บทร้องเล่นของเด็ก กุ๊กกุ๊ก ไก่ งูกินหาง รีรีข้าวสาร นิทานอีสป กระต่ายกับเต่า ราชสีห์กับหนู หมาป่ากับลูกแกะ อึ่งต่างกับวัว บทละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์ รัชกาลที่ ๒ บทละครเรื่อง เงาะป่า รัชกาลที่ ๕ บทละครเรื่อง สังข์ทอง รัชกาลที่ ๒ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ นิทานทองอิน รัชกาลที่ ๖ ราชาธิราช เจ้าพระยาพระคลัง (หน) นิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี สุนทรภู่
๗๐ ดอกสร้อยสุภาษิต บทร้อยกรอง วรรณคดีร้อยแก้ว นกเอี้ยงเลี้ยงเฒ่า นกเอ๋ยนกเอี้ยง คนเข้าใจว่าเจ้าเลี้ยงซึ่งควายเฒ่า แต่นกเอี้ยงนั้นเลี่ยงทำงานเบา แม้อาหารก็ไปเอาบนหลังควาย เปรียบเหมือนคนทำตนเป็นกาฝาก รู้มากเอาเปรียบคนทั้งหลาย หนึ่งงานหนักคอยสมัครงานสบาย จึงน่าอายเพราะเอาเยี่ยงนกเอี้ยงเอยฯ หลวงวิจิตรวาทการ มดแดง มดเอ๋ยมดแดง เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน ใครกล้ากลายมาทำ ํ ร้ายถึงรังมัน ก็วิ่งพรูกรูกันมาทันที สู้ได้หรือมิได้ใจสาหัส ปากกัดก้นต่อยไม่ถอยหนี ถ้ารังเราใครกล้ามาราวี ต้องต่อตีทรหดเหมือนมดเอย ฯ นายทัด เปรียญ
๗๑ เพลงกล่อมเด็ก เจ้าเนื้อเย็น เจ้าเนื้อเย็นเอย แม่มิให้ไปเล่นที่หาดทราย ครั้นว่ายน้าขึ้นมา ํมันจะพาเจ้าลอยหาย แสนเสียดาย เจ้าคนเดียวเอย เจ้านกขมิ้น เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่าแล้วจะนอนที่ตรงไหน ํ จะนอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน ลมพระพายชายพัดมาอ่อน ๆ เจ้าเคยจรมานอนรังเอย
๗๒ กุ๊กกุ๊กไก่ กุ๊ก กุ๊ก ไก่ เลี้ยงลูกมาจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกก็ร้อง เจี๊ยบ เจี๊ยบ แม่ก็เรียกไปคุ้ยดิน ทำ มาหากินตามประสาไก่เอย รีรีข้าวสาร รีรีข้าวสาร สองขนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน ทานคนข้างหลังไว้ บทเพลงเล่นของเด็ก นิทานอีสป ราชสีห์กับหนู ราชสีห์เจ้าป่าตัวหนึ่งกำลังนอนหลับ มีหนูตัวหนึ่งวิ่งไปบนร่างของราชสีห์ทำ ให้ราชสีห์ ตกใจตื่น มันตะปบจับหนูไว้ เจ้าหนูร้องอ้อนวอนขอชีวิตว่า “ท่านได้โปรดไว้ชีวิตข้าด้วยเถิด แล้วสักวันข้าจะกลับมาช่วยเหลือท่านเป็นการตอบแทน” ราชสีห์หัวเราะลั่น “หนูตัวเล็กนิดเดียวเช่นเจ้า จะช่วยอะไรเจ้าป่าอย่างข้าได้ แต่ เอาเถอะ เมื่อเจ้าไม่ได้ตั้งใจ ข้าก็จะปล่อยเจ้าเอาบุญก็แล้วกัน” วันหนึ่งขณะที่ราชสีห์ออกล่าเหยื่อ บังเอิญพลาดท่าไปติดกับดักของนายพรานเข้า ราชสีห์พยายามดิ้นหนีเท่าไรก็ไม่หลุด จึงได้แต่ร้องคำรามอย่างสิ้นหวัง เจ้าหนูได้ยินเสียงร้องของราชสีห์ก็จำ ได้ รีบวิ่งมาช่วยกัดแทะบ่วงทีละเส้นจนขาดออก ในที่สุด ราชสีห์จึงรอดชีวิตมาได้ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าดูถูกผู้ที่ด้อยกว่าเรา เพราะเขาอาจจะช่วยเหลือเราได้
๗๓ บทละครนอก เรื่อง ไชยเชษฐ์ ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไชยเชษฐ์เป็นเรื่องราวของ หญิงงาม ชื่อจำ ปาทอง เป็นธิดาของท้าวอภัยนุราช เมืองเวสาลี เวลาร้องไห้จะมีดอกจำ ปาร่วงมาแทนหยดน้าตา นางจำ ํ ปาทองเลี้ยงจระเข้ ไว้ดูเล่น จระเข้นั้นก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอันมาก ท้าวอภัยนุราชจึงขับนาง ออกจากเมือง นางจำ ปาทองออกจากเมืองไปกับนางแมวชื่อวิฬา ซึ่งเป็นแมวที่นางจำ ปา เลี้ยงไว้ ทั้งสองหลงทางและผจญภัยต่าง ๆ จนไปพบพระโคดมฤาษีและขอความช่วย เหลือ ต่อมาท้าวสิงหลทราบข่าวนางจึงได้ขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ท้าวสิงหลรัก นางจำ ปาทอง ดังบุตรีแท้ ๆ และประทานนามให้ใหม่ว่าสุวิญชา ฝ่ายไชยเชษฐ์เป็นโอรส ท้าวธรรมึก เจ้าเมืองเหมันต์พระไชยเชษฐ์เป็นโอรสของท้าวธรรมนึกเจ้าเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์ มีสนมอยู่ ๗ คน วันหนึ่งพระองค์ไปเที่ยวป่า พระอินทร์รู้ว่าพระไชยเชษฐ์ และนางสุวิญชาเป็นคู่กันจึงให้พระมาตุลีแปลงเป็นกวางทองล่อพระไชยเชษฐ์ไปยังเมือง สิงหล เมื่อไชยเชษฐ์พบนางสุวิญชาทั้งสองก็รักใคร่ ด้วยความเห็นชอบของบิดาของทั้ง สองฝ่าย ทั้งสองจึงได้อภิเษกสมรสและมาอยู่เมืองเหมันต์ ฝ่ายนางสนมทั้งเจ็ดเกิดความอิจฉาริษยานางสุวิญชา คอยปองร้ายอยู่เสมอ เมื่อนางสุวิญชามีครรภ์แก่ จึงสร้างข่าวลวงให้พระไชยเชษฐ์ไปเสาะหาช้างเผือก เมื่อ นางสุวิญชาประสูติพระโอรส นางสนมทั้งเจ็ดจึงนำ พระกุมารใส่หีบฝังไว้ในป่า แล้วนำ ท่อนไม้ใส่พานไว้ จากนั้นจึงบอกพระไชยเชษฐ์ว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้ เมื่อ พระไชยเชษฐ์เห็นเช่นนั้นจึงขับไล่นางไปจากเมือง นางสุวิญชากับนางวิฬาจึงตามหา พระโอรสแล้วกลับเมืองสิงหล ท้าวสิงหลประทานชื่อพระโอรสว่า นารายณ์ธิเบศร์ พระไชยเชษฐ์สำ นึกผิดจึงออกตามหานางสุวิญชาและพระโอรส เมื่อพระไชยเชษฐ์ พบพระนารายณ์ธิเบศร์และทราบว่าเป็นโอรสของตน จึงให้พระโอรสช่วยเหลือ ท้ายสุด พระไชยเชษฐ์ก็ได้คืนดีกับนางสุวิญชาและอภิเษกกันอีกครั้ง
บทละคร เรื่อง สังข์ทอง ตอนกำ เนิดพระสังข์ ณ เมืองยศวิมล พระนางจันเทวีพระมเหสี ได้ ประสูติโอรสออกมาเป็นหอยสังข์ สร้างความอับอายแก่ท้ายศวิมลเจ้าเมืองเป็น อันมากจึงขับแม่ลูกออกไปอยู่ในป่า พระนางจันทา มเหสีรองรู้ว่าพระสังข์อยู่ใน หอยจึงได้จับไปถ่วงน้า แต่พญานาคช่วยไว้ได้ และได้ส่งไปอยู่ที่เมืองยักษ์กับนาง ํ พันธุรัตพอพระสังข์รู้ว่าเป็นยักษ์จึงหนี ทำ ให้นางพันธุรัตเสียใจจนตรอมใจตาย ก่อนตายได้มอบชุดเงาะ เกือกแก้ว และไม้เท้าวิเศษที่มีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ ได้ พร้อมทั้งมอบมนต์เรียกเนื้อเรียกปลาให้ ตอนเลือกคู่ พระสังข์เดินทางถึงเมืองสามล และได้ใส่ชุดเงาะเข้าพิธีเลือก คู่ครองของพระธิดาทั้ง ๗ และรจนาธิดาองค์สุดท้องได้เลือกเจ้าเงาะ ทำ ให้ท้าว สามลไม่พอใจ ให้แข่งหาเนื้อ หาปลากับเขยทั้ง ๖ พระสังข์ใช้มนต์วิเศษหาได้ มากกว่าทุกคน ท้าวสามลยิ่งไม่พอใจคิดประหารเจ้าเงาะ พระอินทร์จึงช่วยเหลือ ด้วยการแปลงกายเป็นเหล่าเทวดาบุกเมืองสามล จนกระทั่งพระสังข์ถอดรูป เงาะมาช่วยรบจนชนะ สุดท้าย ท้าวยศวิมลพระบิดาของพระสังข์ รู้ความจริงจึงออกตามหา พระนางจันเทวีจนพบ และติดตามหาพระสังข์ จนถึงเมืองสามล พระนางจันเทวี จึงปลอมเป็นแม่ครัวสลักฟักทองเป็นเรื่องราวทั้งหมด พระสังข์จึงได้พบกับแม่ อีกครั้ง ๗๔
บทเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ดูครึ้มครึกพฤกษาป่าสงัด จังหรีดร้องก้องเสียงเคียงเรไร ดุเหว่าร้องมองเมียงเสียงว่าแม่ อยู่นี่แน่แม่จ๋าจงมารับ ไม่แกว่งกวัดก้านกิ่งประวิงไหว ทั้งลองไนเรื่อยแร่แวแววับ ยืนชะแง้แลดูเงี่ยหูตรับ วิ่งกระสับกระสนวนเวียนไป ๗๕ ลูกเห็นแต่แม่คุณค่อยอุ่นใจ อันตำ รับตำ ราสารพัด ถ้าลืมหลงตรงไหนไขออกดู แล้วลูบหลังสั่งความพลายงามน้อย รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา ช่วยสอนให้พลายงามเรียนความรู้ ลูกเก็บจัดแจงไว้ที่ในตู้ ทั้งของครูของพ่อต่อกันมา เจ้าจงค่อยรํ่าเรียนเขียนคาถา ไปเบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ ถึงวันดีนิมนต์ขรัวเกิดเฒ่า พอพิณพาทย์คาดตระสะธุการ นั่งสวดมนต์จนจบพอพลบคํ่า อยู่วัดเขาชนไก่ใกล้กับบ้าน ท่านสมภารพาสงฆ์สิบองค์มา ก็ซัดนํ้ามนต์สาดเสียงฉาดฉ่า
๗๖ วรรคทอง ในวรรณคดีไทย แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันยากสุดลึกลํ้าเหลือกำ หนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนํ้าใจคน มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี พระอภัยมณี : สุนทรภู่ ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด ด้วยทุกข์ยากยากแค้นถึงแสนเข็ญ ทั้งโรคซํ้ากรรมซัดวิบัติเป็น ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา นิราศเมืองแกลง : สุนทรภู่
๗๗ เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ พระอภัยมณี : สุนทรภู่ มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ ได้การุญเลี้ยงรักษามาจนใหญ่ อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง เพลงยาวถวายโอวาท : สุนทรภู่ จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ สุภาษิตสอนหญิง : สุนทรภู่
๗๘ ใบงานที่ ๒๖.๑ ๑) ให้ฝึกอ่านบทร้อยกรอง ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง แม้เป็นถํ้าอำ ไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป พระอมัยมณี : สุนทรภู่
๗๙ ใบงานที่ ๒๖.๒ ๑) ให้นักเรียนเลือกคำ ที่กำ หนดไปเติมในช่องว่างให้คล้องจอง แจ่มใส ลอยลม เรียนรู้ ใจดี ปลิวไสว ฉํ่าเย็น ไมตรี เดินทาง น้าใจ ํ___________ ยิ้มแย้ม ___________ พากเพียร ___________ นกน้อย___________ ลมพลิ้ว___________ สายน้าํ___________ คนไทย___________ เพลิดเพลิน___________ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
๘๐ ใบงานที่ ๒๖.๓ ๑) ให้นักเรียนฝึกแต่งกลอนสุภาพมา ๑ บท
๘๑ ใบงานที่ ๒๗.๑ ๑) โยงเส้นชื่อเรื่องวรรณคดีกับข้อความอธิบายเรื่อง สุภาษิตสอนหญิง ราชาธิราช รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน เป็นวรรคดีที่ให้อารมณ์สะท้อนภาพการ ดำ เนินชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และ ความเชื่อของคนไทยในอดีต เป็นเรื่องที่มีเค้าโครงมาจากอินเดีย เนื้อเรื่อง เป็นการทำสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์ แก่นสำคัญของเรื่อง คือ ธรรมมะย่อมชนะ อธรรม เป็นคำสอนให้คติเตือนใจแนวทางปฏิบัติทั้ง กาย วาจา ใจ สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ใช้ได้ตลอดกาล เรื่องมาจากพงศาวดาร มอญ ตัวเอก คือ มะกะโท เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความมานะ พยายามจนประสบความสำ เร็จ
๘๒ ใบงานที่ ๒๗.๒ ๑) อ่านบทร้อยกรอง แล้วเขียนว่ามาจากวรรณคดีเรื่องใด แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน เขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกลํ้าเหลือกำ หนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนํ้าใจคน เรื่อง เรื่อง เรื่อง
๘๓ ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย อย่าทำ ใจน้อยหน้าตาบูดบึ้ง ยิ้มเสียให้แฉ่งอย่าแสร้งมึนตึง ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย ฯ บัดนั้น หนุมานผู้ชาญชัยศรี ได้ฟังอสุราพาที ขุนกระบี่ร่ายวิทยามนต์ เรื่อง เรื่อง
๘๔ แบบทดสอบบทที่ ๑๑ เรื่อง คำ คล้องจอง และ วรรณกรรมไทย คำชี้แจง : ให้นักเรียนทำ เครื่องหมาย X ทับข้อที่มีคำตอบที่ถูกต้อง ข้อใดเป็นลักษณะของคำ คล้องจอง ข้อใดไม่ใช่คำคล้องจอง ข้อใดคล้องจองกับคำว่า “ขยัน เรียน” ข้อใดเป็นคำคล้องจอง ก. ดินสอสี ปากกาแดง ข. ดอกบานชื่น สวยในสวน ค. นกบินว่อน ตอนรุ่งเช้า ง. พ่อขับรถ แม่ไปตลาด คำคล้องจองที่กำ หนดเป็น คำคล้องกี่พยางค์ ฉันมีนกน้อย ต้องคอยดูแล ก. ๒ พยางค์ ข. ๔ พยางค์ ค. ๖ พยางค์ ง. ๘ พยางค์ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ก. คำ ที่มีสัมผัส ข. คำ ที่ประสมด้วยสระเดียวกัน ค. คำ ที่มีตัวสะกดมาตราเดียวกัน ง. ถูกทุกข้อ ก. ดีดสี ตีเป่า ข. ใจดี สู้เสือ ค. ปากเป็นเอก เลขเป็นโท ง. ว่าวตัวน้อย ลอยลิ่มลม ก. ใฝ่รู้ ข. เจียมตัว ค. เตียงนอน ง. เพียรศึกษา
๘๕ ข้อใดเป็นแผนผังของกลอน ๔ สุภาพ บทกลอนที่กำ หนดให้คือ ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่าน กลอนสุภาพได้ถูกต้อง ก. แม้นใคร/รักมั่งมั่ง/ชังชังตอบ ข. แม้นพูด/ตัวตังตาย/ทำลายมิตร ค. ถึงบางพูด/พูดดี/เป็นศรีศักดิ์ ง. รู้สิ่ง/ใด ไม่สู้/รู้วิชา ข้อใดไม่ใช่หลักการออกเสียง บทร้อยกรอง ๖. ๗. ก. ก. กลอน ๔ สุภาพ ข. กลอน ๘ ค. กลอนสักวา ง. กลอนดอกสร้อย ก. ทำ เสียงให้ไพเราะผู้ฟังเห็น ภาพพจน์ ข. ออกเสียงให้ชัดเจนและดังเพื่อ ให้ทุกคนได้ยิน ค. รู้จักเอื้อนเสียงหรือหลบเสียง ให้ไพเราะ ง. ออกเสียงให้ถูกจังหวะและเว้น วรรคตามประพันธ์ ๘. ๙. ข. ค. ง. เหวยเหวยอีจันทรา ขึ้นหน้าเถียงผัว อุบาทว์ชาติชั่ว ใสหัวมึงไป
๘๖ ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของกลอน บทละคร วรรณคดี คือ ข้อใดเป็นบทร้องเล่นของเด็ก ข้อใดไม่ใช่นิทานอีสป ก. เงาะป่า ข. กวางสามพี่น้อง ค. หมาป่ากับลูกแกะ ง. กวางสามพี่น้อง ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนิทาน พื้นบ้าน ๑๐. ๑๑. ๑๒. ก. การนำคำขึ้นต้นบทใหม่ ข. คำสัมผัสให้ถือหลักเกณฑ์ กลอนสุภาพ ค. เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคไม่ เคร่งครัด ง. จำ นวนคำกำ หนด ๘ คำ ก. หนังสือเล่มที่มีเนื้อหามากที่สุด ข. หนังสือที่เขียนเป็นบทร้อยแก้ว ทั้งหมด ค. หนังสือที่ประพันธ์ต้องเป็น พระมหากษัตริย์ ง. หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ก. กุ๊กกุ๊กไก่ ข. งูกินหาง ค. รีรีข้าวสาร ง. ถูกทุกข้อ ก. มุ่งเสนอข้อเท็จจริง ข. ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ค. ใช้ถ้อยคำ ที่เข้าใจง่าย ง. เป็นการเล่าด้วยปาก สืบต่อกันมา ๑๓. ๑๔. ข้อใดเป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน ก. สารคดี นิทาน ข. สำ นวนสุภาษิต สารคดี ค. นวนิยาย ปริศนาคำ ทาย ง. นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อม เด็ก ๑๕. ข้อใดเป็นวรรณกรรม ก. ไชยเชษฐ์ ข. สังข์ทอง ค. พระอภัยมณี ง. พระมหาชนก ๑๖.
๘๗ ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ วรรณกรรมท้องถิ่น ก. เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่อง จักร ๆ วงศ์ ๆ ข. แต่งเพื่อยอพระเกียรติพระ มหากษัตริย์ ค. ใช้ภาษาถิ่น และอักษรท้องถิ่น ง. มีวัดเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ ๑๗. แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกลํ้าเหลือกำ หนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนํ้าใจคน พระอภัยมณี:สุนทรภู่ กลอนบทนี้เปรียบเหมือน สุภาษิตข้อใด ก. งมเข็มในมหาสมุทร ข. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ค. คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม ง. อย่าไว้ในทาง อย่าไว้ใจคน จะจนใจเอง ๑๘. อ่านบทร้อยกรองแล้วตอบคำถาม ข้อ ๑๙ - ๒๐ สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแค่บาปบุญยัง เที่ยงแท้ คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา ลิลิตพระลอ “ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง” หมายถึง ก. ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยงแปลง ข. บาปกับบุญ เป็นของไม่แน่นอน ค. โลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนํ้า และอากาศ ง. จิตใจคนแปรเปลี่ยนง่าย ๑๙. บทร้อยกรองนี้สอนเรื่องอะไร ก. ทำ บุญมากจะได้รํ่ารวย ข. คนเราเกิดมามีเงาติดตามตัว ค. ทำความดี ละเว้นความชั่ว ง. อะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ ๒๐.
๘๘
๘๙ บทที่๑๒ ทักษะเพื่อการสื่อสาร ครูดาราเล่านิทานชาดกเรื่อง กวางสามพี่น้อง ให้นักเรียน ฟัง เมื่อเล่าจบ ครูดาราถามคำถามนักเรียน ครูดารา : คติสอนใจที่ได้จากการฟัง นักเรียน : ความเมตตาเป็นสิ่งดี ครูดารา : กวางขนทอง มีนิสัยอย่างไร นักเรียน : รักพ่อแม่ รักน้อง ครูดารา : แล้วนายพราน เป็นคนเช่นไร นักเรียน : นายพรานมีจิตเมตตา จึงปล่อยกวางขนทองไป ครูดารา : นักเรียนเก่งมาก ที่ฟังนิทานและเข้าใจ จับประเด็น ได้ถูกต้อง ทักษะการฟังเป็นทักษะที่สำคัญเป็น พื้นฐานที่จะนำ ไปสู่การพัฒนาทักษะอื่น ๆ เวลา นักเรียนฟังเรื่องอะไร นักเรียนต้องมีสมาธิ ฟังเรื่อง ให้จบแล้วจะจับประเด็นได้
๙๐ ครูดารา : นอกจากทักษะการฟังแล้ว ทักษะการพูด การอ่าน และการเขียน ก็เป็นทักษะสำคัญ เป็นเรื่อง การสื่อสาร เป็นทักษะที่นักเรียนจะต้องได้รับการ ฝึก และรู้จักมารยาทของการพัฒนาทักษะนั้น ๆ ว่า จะต้องทำอย่างไร ทักษะการพูด เวลานักเรียนจะพูดอะไร นักเรียน ต้องคิดก่อนพูด พูดโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อ เนื่อง ไม่พูดวกวนสับสน ควรใช้ถ้อยคำ ที่สุภาพ รู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับคำชมเชยและผู้รู้จักใช้คำ ขอโทษ เมื่อพูดผิดพลาด ครูดารานำแผ่นกระดาษใหญ่ ติดบนกระดาน ในที่สุด เสียงทุกอย่างก็หมด ไปคงเหลือแต่เสียงลม เสียง ฝนและเสียงกระแสนํ้ากระทบ ผ่านต้นอ้อ ต้นแขม และราก ลำ พูที่ริมตลิ่ง ธรรมชาติยังคง สำแดงอำ นาจอันมหึมา โดย ปราศจากการรบกวนจาก มนุษย์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม ขับเร็วชิดขวา ขับช้าชิดซ้าย สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
๙๑ ครูดารา : นักเรียนดูข้อความในกระดาษ นักเรียน บอกครูได้ ไหมว่า แผ่นแรกข้อความเป็นความเรียง เรียกว่า นักเรียน : บทร้อยแก้ว ครูดารา : เก่งมากค่ะ แผ่นที่ ๒ เรียกว่า นักเรียน : บทร้อยกรอง ครูดารา : ถูกต้องค่ะ ดังนั้นหนังสือหรือข้อความที่เราเห็น กันอยู่ทั่วไป จะมีลักษณะเป็นบทร้อยแก้ว ซึ่ง เป็นตามเรื่องที่ไม่บังคับ สัมผัส และบทร้อยกรอง ซึ่งเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำต้องเป็นไปตาม ข้อ กำ หนดของคำ ประพันธ์แต่ละประเภท การอ่าน มีทั้ง การอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ ซึ่งใน การอ่านก็ต้องอ่านตามหลักเกณฑ์ของการอ่าน ดังนั้น บทเรียนที่จะเรียนต่อไปนี้ ก็เป็นเรื่องของ ทักษะการสื่อสาร คือทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ครูจะให้นักเรียน ศึกษาใบความรู้ที่ ๒๘ และทำ ใบงาน ที่ ๒๘.๑ – ๒๘.๒ จากนั้นนักเรียนทำแบบทดสอบท้าย บท
ทักษะการฟัง ใบความรู้ที่ ๑ ทักษะการฟัง จุดมุ่งหมายของการฟัง ลักษณะการฟังที่ดี ทักษะการฟัง เป็นกระบวนการรับสารจากที่เสียงที่ได้ยินเป็นทักษะ ที่สะดวกและรวดเร็วมากที่สุดและเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะนำ ไป สู่การพัฒนาทักษะอื่นๆ เพราะถ้าฟังได้ชัดก็ย่อมออกเสียงได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายที่อ่านและที่เขียนด้วย ๑. เพื่อแสวงหาความรู้ ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ๒. เพื่อความบันเทิง ผ่อนคลาย เสริมจินตนาการ ๓. เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน หรือนำ ไปประกอบ อาชีพได้ ๑. ต้องตั้งใจฟัง มีสมาธิกับเรื่องที่ฟัง ๒. ฟังเรื่องให้จบเพื่อจับประเด็นของเรื่อง ๓. แยกแยะ พิจารณาไตร่ตรอง เพื่อความถูกต้อง ๔. จดบันทึกใจความที่ฟัง ซึ่งอาจนำ ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นต่อไป ๕. มีมารยาทในการฟัง ตั้งใจฟัง ไม่รบกวนผู้อื่น ๙๒
กิจกรรมการฟัง - ฟัง พ่อ แม่ ครู เพื่อน ฯลฯ - ฟังข่าว บทความ - ฟังเพลง - ฟังรายงาน - ฟังการประชุม - ฟังคำถาม - ฟังเรื่องสั้น นิทาน - ฟังโฆษณา - ฟังคำสั่ง / คำแนะนำ ฯลฯ ๙๓
๙๔ ทักษะการพูด ใบความรู้ที่ ๒ การพูด เป็นทักษะการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลาย เป็นทักษะ การส่งสาร เพื่อส่งไปยังผู้ฟัง การพูดเป็นการสื่อความหมายของ มนุษย์โดยการใช้ภาษาถ้อยคำ นํ้าเสียง และกริยาท่าทางเป็น เครื่องถ่ายทอดความคิด ความรู้ และความรู้สึกของตนไปสู่ผู้ฟัง จุดมุ่งหมายของการพูด ๑. เพื่อให้ความรู้และข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟังและนำ ไปใช้ประโยชน์ ๒. เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือชี้แนะเรื่องใดเรื่องหนึ่งของตนให้ แก่ผู้ฟัง ๓. เพื่อสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจความต้องการของตนโดยการพูด โน้มน้าวจิตใจ เช่น พวกนักการเมือง หรือการพูดโฆษณา สินค้า ๔. เพื่อการตอบปัญหา หรือตอบคำถามต่าง ๆ แก่ผู้ฟังที่อยากรู้ ลักษณะการพูดที่ดี ๑. การพูดที่ดีมีการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะพูด เพื่อให้การพูดมี ความเหมาะสมกับโอกาสและเวลา ๒. การพูดที่ดีใช้ถ้อยคำ ที่ดี คิดก่อนที่จะพูดจะมีประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๓. การพูดที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เสียงชัดเจน กริยา สีหน้าและท่าทางดี