The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หุ่นยนต์MK งานกลุ่มนวัต

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tokfan9, 2021-11-02 07:50:29

หุ่นยนต์MK งานกลุ่มนวัต

หุ่นยนต์MK งานกลุ่มนวัต

แหล่งที่มาของนวัตกรรม
หุ่นยนต์รถเข็นเสิร์ฟอาหาร

Process Innovation เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานภายในองค์กร และการ

พัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยรถเข็นเสิร์ฟ
อาหารนี่เป็นกระบวนการใหม่ที่ทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น มัน
สามารถมาเสิร์ฟอาหารถึงโต๊ะลูกค้าได้อย่างแม่นยำ และเมื่อลูกค้ารับสินค้าเสร็จมันก็จะกลับ
ไปจุดรับอาหารของมันอีกที และเมื่อนำนวัตกรรมนี้มาใช้ จากแต่ก่อนที่ต้องให้พนักงานมา
เสิร์ฟอาหาร ตอนนี้ได้มีการพัฒนา ทำให้องค์กรมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้น
และลดต้นทุนในการจ้างพนักงาน ลูกค้าได้รับอาหารเร็วขึ้นและปลอดภัยจากโควิดด้วย

หุ่นยนต์รถเข็นเสิร์ฟอาหารนั้นใช้ระบบปฏิบัติการ Android เพื่อใช้สำหรับสั่งงานหุ่นยนต์
ด้วยอุปกรณ์พกพา เช่น PDA โดยเราจะมีหลักการทำงานโดยยกตัวอย่างจาก หุ่นยนต์
เสิร์ฟอาหารจาก MK มีหลักการทำงานดังนี้

1.) เริ่มจากการโหลดจานอาหารเก็บไว้ในช่องบริเวณหน้าอกจากนั้นรอรับการป้อนคำสั่งจาก

ผู้ควบคุม

2.) ผู้ควบคุมป้อนคำสั่งจากเครื่อง PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ผ่านระบบไร้สาย
(WIFI) ของทางร้าน
3.) เมื่อได้รับคำสั่ง หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่ได้โปรแกรมไว้เพื่อไปยังโต๊ะลูกค้า
โดยบริเวณ ตำแหน่งของโต๊ะลูกค้าจะมีแผ่น RFID ติดอยู่ที่พื้นทำให้หุ่นยนต์สามารถจำแนก

ลำดับโต๊ะและยังสามารถกำหนดเส้นทาง
เอาไว้ล่วงหน้าได้

4.) เมื่อถึงโต๊ะลูกค้า หุ่นยนต์ทำการเลื่อนถาด

อาหารออกมาจากช่องหน้าอกโดยตัวตรวจ
จับอินฟราเรดที่ติดตั้งอยู่ที่ถาดเริ่มการตรวจสอบ
เพื่อรอจนกว่าลูกค้าหยิบจานอาหารออกจากถาด

5.) เมื่อลูกค้าหยิบจานอาหารออกจากถาด

หุ่นยนต์จะเลื่ อนถาดอาหารเข้าไปเก็บในช่อง
หน้าอกตามเดิม และเคลื่อนที่กลับไปรอรับ
อาหารยังจุดเริ่มต้น

Product Innovation เป็นการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

และมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นเช่นกัน โดย
ผลิตภัณฑ์นี้สามารถจับต้องได้ อย่างเช่น รถเข็นเสิร์ฟอาหารลูกค้าสามารถจับต้องได้ โดยมีบางรุ่น
เมื่อลูกค้ารับอาหารเสร็จแล้วลูกค้าต้องทำการกดปุ่มสั่งการเพื่อให้รถเข็นกลับไป หากจะยกตัวอย่าง

ที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารของ MK ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิตได้

พัฒนาขึ้นมา โดยที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิตนี้ ผลักดันกันเต็มรูปแบบในการใช้
ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ ทำให้ลดต้นทุนในการพัฒนางานไปได้มาก สำหรับตัวซอฟต์แวร์ที่ใช้นั้น

พัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Android

องค์ปสรระ้ากงอส
บรครวค์ามคิด

1. ความเชี่ยวชาญ(Expertise) เอ็มเคได้ให้บริษัท CT ASIA บริษัทพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
Call Center ของคนไทย มาช่วยพัฒนานวัตกรรมการผลิตหุ่นยนต์มาใช้ประจำการในร้านสุกี้

2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills) บริษัทมีความคิดที่จะนำหุ่นยนต์
มาใช้ในร้านเอ็มเค มาใช้ในแง่ “หุ่นยนต์บริการ” เพราะ เป้าหมายของที่บริษัทมองไว้ คือ

ต้องการใช้หุ่นยนต์ให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าที่มาในร้านเป็นหลัก รับออร์เดอร์ ส่งอาหาร ยืน

ต้อนรับ รวมถึงร้องเพลงวันเกิด Happy Birth Day เนื่องจากพนักงานในการบริการ จะต้อง

พูดสวัสดีค่ะ ยินดีค่ะตลอดเวลา จึงนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานที่น่าเบื่อสำหรับคน มาทำหน้าที่แทน
เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ และที่สำคัญยังสร้างความบันเทิงได้อีก

3. แรงจูงใจ (Motivation) บริษัทต้องการที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าตั้งแต่ย่างก้าว

เข้ามาในร้าน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกดี พึงพอใจ และอยากกลับมาใช้บริการอีก บริษัทจึงนำความนี้ไป
พัฒนานวัตกรรมใหม่ ที่สามารถใช้ได้จริงและยังช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพนักงาน ซึ่งหุ่น
ยนต์ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ ที่ถูกออกแบบ และทำให้มันเกิดขึ้นจริงอยู่เพื่อเป็นแม่เหล็กที่จะคอย
ดึงดูดลูกค้าอยู่ตลอดเวลา เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้นและเพื่อเพิ่มรายได้ผลประกอบการ
ของบริษัท

องค์ประกอบความคิด

สร้างส
รรค์

1. ความคล่องแคล่ว (Fluency)

เนื่องจากจุดประสงค์ของบริษัทที่นำนวัตกรรมหุ่นยนต์เข้ามาใช้ก็เพื่อสร้างความรวดเร็ว และ
ประสิทธิภาพในการให้บริการ จึงมีการพัฒนาระบบให้มีเซนเซอร์ตรวจจับ ที่สามารถแก้ไข
ปัญหาเดินชน และหลบสิ่งของหรือคนที่เดินผ่านได้

2. ความยืดหยุ่น (Flexibility)

หุ่นยนต์ นอกจากจะมีความคล่องแคล่วแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นของการทำงานที่ไม่ซับซ้อน โหมด

Delivery ที่โรงงานผู้ผลิตคิดค้นมาเพียงพอต่อการทำงานสำหรับธุรกิจร้านอาหาร ไม่จำเป็น

ต้องนำมาเพิ่มเติมฟังก์ชั่นใดๆให้ซับซ้อนยุ่งยาก ใครก็สามารถใช้ได้ เน้นการใช้งานที่ง่ายที่สุด
และเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ และยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานที่ต้องเสีย
เวลาในการต้องเสิร์ฟอาการ หรือเดินไปเดินมาทั้งวัน ทำให้มีเวลาไปปฎิบัติหน้าที่ในส่วนอื่นๆ
เพื่อแก้ไขทำให้สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

3. ความคิดริเริ่ม (Originality)

นวัตกรรมหุ่นยนต์เป็นนวัตกรรมที่มีมาก่อนอยู่แล้ว จากเดิมที่สามารถเสิร์ฟอาหารได้อย่าง
เดียว แต่เอ็มเคพัฒนาไม่ให้เพียงเสิร์ฟอาหารแค่อย่างเดียว นำมาพัฒนาให้สามารถตั้งค่าเสียง

คือ พูดต้อนรับลูกค้า ร้องเพลงวันเกิด Happy Birth Day

4. ความละเอียดลออ (Elaboration)

เนื่องจากผลกระทบหลายๆปัจจัยในปัจจุบันในยุคชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal รวมถึงการ

แข่งขันในเรื่องของการบริการ ทางเอ็มเคจะต้องคำนึงถึงการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อ

ป้องกันการติดต่อ โควิด19 หุ่นยนต์เสิร์ฟสามารถแก้ปัญหา และสามารถลดการสัมผัสระหว่าง

บุคคลได้

ประเภทของความ
คิดสร้างสรรค์


แนวคิดนวัตกรรมหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารของเอ็มเคเป็นประเภทความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิด

การต่อยอด (Extension)

เวลานี้ร้านอาหารในหลายประเทศ นิยมนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน เอ็มเคจึงเป็นโอกาสที่ดีในการนำ

หุ่นยนต์เข้ามาใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าและช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานจึงให้CTASIAที่มีนักศึกษา

ไทยมาช่วยคิดค้นและผลิตหุ่นยนต์มีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สซึ่งทำให้ลดต้นทุนในการ
พัฒนางานไปได้มาก

กระบวนการสร
้างนวัตกรรม

1.การก่อเกิดความคิดใหม่ (Idea Generation)

ย้อนกลับไปในยุคบุกเบิกของร้านสุกี้หม้อไฟในเมืองไทย ที่ร้านสุกี้ต่างๆ จะใช้เตาแก๊ส
เป็นหม้อต้ม ทำให้ลูกค้าต้องนั่งติดอยู่กับถังแก๊สที่วางอยู่ใต้โต๊ะ เอ็มเค มองเห็นปัญหาตรงนี้
และเป็นร้านแรกที่นำเอาเตาไฟฟ้าที่มีระบบควบคุมไฟรั่วมาใช้

2.การรับรู้ถึงโอกาส (Opportunity Recognition)

การเปิดสาขาขยายออกไปในอาเซี่ยน หรือต่างประเทศ เริ่มจากที่มีคนไทยรายได้ปาน
กลางถึงดีที่ไปพักอาศัย เช่นสิงค์โปร์ หรือ ฮ่องกง ทำเป็นชุดขาย ตามห้างใหญ่ เช่น เซ็นทรัล
สามารถซื้อชุดอาหาร พร้อมน้ำจิ้ม ไปทำที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปที่ร้าน ทำสุกี้จานด่วน จับ
ลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว แต่ไม่ยากนั่งนาน เปิดสินค้าปลอดสารพิษ จำหน่ายให้กับภัตา
คาร และเปิดร้านขาย ทางเลือกใหม่แบบปลอดสารพิษ

3.การประเมินความคิด (Idea Evaluation)

อันเนื่องมากจากคำติของลูกค้าเรื่องชามที่วางระเกะระกะบนโต๊ะอาหาร จนทานอาหาร
ไม่สะดวก เอ็มเค ก็ได้ไปค้นหาคำตอบด้วยการคิดค้นนวัตกรรมที่มาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
กับลูกค้าได้สำเร็จ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมากจากเถาปิ่ นโตของไทย และกล่องอาหารบนโต๊ะของ

ญี่ปุ่นที่ซ้อนกันได้ นำมาออกแบบจนได้ถาดที่ทุกคนเรียกกันว่า “คอนโด” มาจนถึงทุกวันนี้

กระบวนการสร
้างนวัตกรรม

4.การพัฒนา (Development)

การริเริ่มนำหุ่นยนต์มาใช้เสิร์ฟอาหาร ต้อนรับ หรือแม้แต่ร้องเพลงวันเกิดในร้านสุกี้
เอ็มเค ทำให้ระบบไอทีกับร้านอาหารไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป จุดประสงค์เพื่อสร้างความ
รวดเร็ว และประสิทธิภาพในการให้บริการ และยังมีการนำเครื่องพีดีเอมาใช้รับออร์เดอร์จาก

ลูกค้า หรือการนำระบบจีพีเอสมาใช้กับรถขนส่งวัตถุดิบ หรือแม้แต่การนำระบบ RFID มาใช้ทำ
CRM

5.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Commercialization)

หุ่นยนต์จะมาทำหน้าที่แทนคน เช่น การร้องเพลงวันเกิด เสียงร้องของหุ่นยนต์ถึงจะ
ร้องกี่ครั้งก็ย่อมไม่เพี้ยน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ และที่สำคัญยัง
ดึงดูดกลุ่มลูกค้าวัยเด็กได้เป็นอย่างดี เป็นผลพลอยได้ที่จะดึงกลุ่มลูกค้าครอบครัวได้เช่นกัน
นี่คือกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก

การจัดการทรัพย์พยากรมนุษย์
ที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม




1.Process Innovation

สำหรับหุ่นยนต์รับรายการอาหารหรือ Order1 และ Order2 นั้นใช้ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิม
ของ MK ในการติดต่อกับครัว เพียงแต่พัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้และเสียงแนะนำสินค้าเพิ่ม
เติมเข้าไป โดยหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนดไปยังโต๊ะลูกค้า Delivery Robot

ของเอ็มเค สามารถช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานในการต้องเดินหรือยกของซ้ำๆทั้งวัน เพื่อ
ให้บริกรหรือพนักงานได้มีเวลาในการดูแลลูกค้าได้อย่างเต็มที่ เรียกว่างานเสิร์ฟให้เป็นหน้าที่

ของเรา Delivery Robot สามารถเดินนำพาอาหารได้ทั้งวันไม่มีเหนื่อย Delivery Robot ที่
นำมาใช้ในร้านเอ็มเค จะเป็น “หุ่นยนต์บริการ” เพราะเป้าหมายของฤทธิ์คือการให้ความบันเทิง

แก่ลูกค้าที่มาในร้านเป็นหลัก รับออร์เดอร์ ส่งอาหาร ยืนต้อนรับ

รวมถึงร้องเพลงวันเกิด Happy Birth Day ให้ลูกค้า MK นำหุ่นยนต์มาใช้ในงานที่น่าเบื่อ

สำหรับคน อย่างให้คนพูดสวัสดีค่ะ ยินดีค่ะ ยืนยิ้มทั้งวันคงไม่ไหว หุ่นยนต์จึงมาทำหน้าที่แทน
หรือให้ร้องเพลงวันเกิด เสียงร้องของหุ่นยนต์จะร้องกี่ครั้งย่อมไม่เพี้ยน เป็นการทำงานร่วม
กันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ ดังนั้นจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของพนักงาน
และพนักงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบเก่าปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่

การจัดการทรัพย์พยากรมนุษย์
ที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม




2.Product Innovation

หุ่นยนต์เสริฟอาหารใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทำให้ลดต้นทุนในการพัฒนางานไปได้ระบบ
ไอทีกับร้านสุกี้เอ็มเค เพื่อใช้แก้ปัญหา สร้างความเร็ว และประสิทธิภาพในการให้บริการ เริ่ม
ตั้งแต่การนำเครื่องพีดีเอมาให้พนักงานรับออร์เดอร์จากลูกค้าเพื่อความเร็วในการให้บริการ

หรือการนำระบบ “จีพีเอส” มาใช้กับรถขนส่งวัตถุดิบเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย หรือแม้แต่มีความ
คิดนำระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ทำ CRM ไว้มัดใจลูกค้า

ไม่ว่าลูกค้าที่พกบัตรสมาชิกเอ็มเคไปสาขาไหนก็ตาม ระบบ RFID จะยิงสัญญาณไปยังบัตร

สมาชิก ทำให้พนักงานในร้านรู้ทันทีว่าลูกค้าคนนั้นเป็นใคร ชอบ หรือไม่ชอบกินอะไร ฤทธิ์บอก

ว่า ถ้าทำแบบนี้ได้ลูกค้าจะประทับใจมากยิ่งขึ้น เพราะเขาได้บริษัท CT ASIA บริษัทพัฒนา
ระบบซอฟต์แวร์ Call Center ของคนไทย ซึ่งกำลังแตกขยายธุรกิจผลิตหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย
ส่งออกไปขายในญี่ปุ่นมาเป็น “พันธมิตร” ผลิตหุ่นยนต์มาใช้ประจำการในร้านสุกี้

เงินลงทุน 10 ล้านบาทสำหรับการนำหุ่นยนต์ 10 ตัวแรกซึ่งมีต้นทุนผลิตเฉลี่ยตัวละ 1 ล้าน
บาท ไปใช้ในงาน สำหรับฤทธิ์ถือว่า “คุ้มค่า” มาก กับการทำตลาดเชิงรุก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่
ลูกค้าวัยเด็ก ซึ่งลูกค้าวัยเด็กและครอบครัวมีสัดส่วน 20-25% ของลูกค้าทั้งหมดของเอ็มเค

และลูกค้าเด็กเป็นลูกค้าที่มีพลังมาก เพราะความต้องการของเด็กคนเดียว ย่อมมีพ่อ แม่ ปู่ย่า

ตายาย มาด้วยทุกครั้ง และหุ่นยนต์กับเด็กก็เป็นของคู่กัน เมื่อมีหุ่นยนต์ในร้านเอ็มเคคอยให้
บริการ เด็กๆ ก็อยากมาร้านเอ็มเคถี่ขึ้น นี่คือกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในความหมายของฤทธิ์

และหุ่นยนต์ก็เป็นหนึ่งในนั้น นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ฤทธิ์มักจะคิดและทำอยู่ตลอด “แม่เหล็ก”

ดึงดูดลูกค้าตลอดเวลา

การจัดการทรัพย์พยากรมนุษย์
ที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม




2.Product Innovation

หุ่นยนต์เสริฟอาหารใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทำให้ลดต้นทุนในการพัฒนางานไปได้ระบบ
ไอทีกับร้านสุกี้เอ็มเค เพื่อใช้แก้ปัญหา สร้างความเร็ว และประสิทธิภาพในการให้บริการ เริ่ม
ตั้งแต่การนำเครื่องพีดีเอมาให้พนักงานรับออร์เดอร์จากลูกค้าเพื่อความเร็วในการให้บริการ

หรือการนำระบบ “จีพีเอส” มาใช้กับรถขนส่งวัตถุดิบเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย หรือแม้แต่มีความ
คิดนำระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ทำ CRM ไว้มัดใจลูกค้า

ไม่ว่าลูกค้าที่พกบัตรสมาชิกเอ็มเคไปสาขาไหนก็ตาม ระบบ RFID จะยิงสัญญาณไปยังบัตร

สมาชิก ทำให้พนักงานในร้านรู้ทันทีว่าลูกค้าคนนั้นเป็นใคร ชอบ หรือไม่ชอบกินอะไร ฤทธิ์บอก

ว่า ถ้าทำแบบนี้ได้ลูกค้าจะประทับใจมากยิ่งขึ้น เพราะเขาได้บริษัท CT ASIA บริษัทพัฒนา
ระบบซอฟต์แวร์ Call Center ของคนไทย ซึ่งกำลังแตกขยายธุรกิจผลิตหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย
ส่งออกไปขายในญี่ปุ่นมาเป็น “พันธมิตร” ผลิตหุ่นยนต์มาใช้ประจำการในร้านสุกี้

เงินลงทุน 10 ล้านบาทสำหรับการนำหุ่นยนต์ 10 ตัวแรกซึ่งมีต้นทุนผลิตเฉลี่ยตัวละ 1 ล้าน
บาท ไปใช้ในงาน สำหรับฤทธิ์ถือว่า “คุ้มค่า” มาก กับการทำตลาดเชิงรุก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่
ลูกค้าวัยเด็ก ซึ่งลูกค้าวัยเด็กและครอบครัวมีสัดส่วน 20-25% ของลูกค้าทั้งหมดของเอ็มเค

และลูกค้าเด็กเป็นลูกค้าที่มีพลังมาก เพราะความต้องการของเด็กคนเดียว ย่อมมีพ่อ แม่ ปู่ย่า

ตายาย มาด้วยทุกครั้ง และหุ่นยนต์กับเด็กก็เป็นของคู่กัน เมื่อมีหุ่นยนต์ในร้านเอ็มเคคอยให้
บริการ เด็กๆ ก็อยากมาร้านเอ็มเคถี่ขึ้น นี่คือกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในความหมายของฤทธิ์

และหุ่นยนต์ก็เป็นหนึ่งในนั้น นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ฤทธิ์มักจะคิดและทำอยู่ตลอด “แม่เหล็ก”

ดึงดูดลูกค้าตลอดเวลา

การจัดการทรัพย์พยากรมนุษย์
ที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม




3.Creativity

ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารในเมืองไทยซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตลาดมีการ
แข่งขันที่ค่อนข้างร้อนแรง เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ทั้งกลุ่มในประเทศและต่าง
ประเทศเข้ามาในตลาดมากขึ้นความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่มีความหลากหลาย

และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

รวมทั้งMKได้ลงทุนด้วยการนำเอา Delivery Robotเข้ามาใช้พัฒนาและสร้างสรรค์

ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค

บริษัทมีแผนจะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ มาใช้เพิ่มการให้บริการและความสะดวกกับลูกค้า
อาทิ นำเอไอเข้ามาช่วยจัดการในเรื่องการบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดการทรัพย์พยากรมนุษย์
ที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม




4.Skill Based

เจ้าของโปรเจ็กต์หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารที่ได้ รับงบประมาณการพัฒนาจาก MK สุกี้ นั่นก็คือ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรัง สิตครับ ที่สำคัญที่นี่เขาผลักดันกันเต็มรูปแบบในการใช้
ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ สทำให้ลดต้นทุนในการพัฒนางานไปได้มากเลยทีเดียว โดยมีอาจารย์
อัครพงษ์ เอกศิริ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้ดูแลการพัฒนาหุ่นยนต์เสิร์ฟ

อาหารที่ประกอบไปด้วยหุ่นยนต์รับรายการอาหารที่มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Order1 และ
Order2 และหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ServeOne

ในอีกด้านหนึ่ง ยังเป็นการช่วยเหลือสังคม เพราะนักศึกษาไทยมีความสามารถคิดค้นและ
ผลิตหุ่นยนต์ได้ไม่แพ้ชาติไหน เมื่อเร็วๆ และได้รางวัลระดับโลก แต่เรียนจบแล้วกลับไม่มีงาน
ทำ หากไม่ไปทำงานในต่างประเทศ ในญี่ปุ่น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น เพราะยัง
ไม่มีธุรกิจผลิตหุ่นยนต์ในไทย

เมื่อเอ็มเคเป็นลูกค้ารายใหญ่ และรายแรกของ CT ASIA ซึ่งกำลังบุกเบิกธุรกิจผลิตหุ่น

ยนต์นี้ ย่อมหมายถึงการช่วยนักศึกษาเหล่านี้ให้มีงานทำตามที่ เพราะนักศึกษาเหล่านี้คือกำลัง

สำคัญของ CT ASIA ยิ่งเอ็มเคใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างโอกาสให้ธุรกิจ และนักศึกษาเหล่านี้

มากขึ้น และการนำร่องของเอ็มเคก็อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจอื่นๆ ที่อาจนำหุ่นยนต์ไป
ใช้ในเชิงพาณิชย์ด้วยเช่นกัน

จัดทำโดย

สิรินันท์ ศรีเจ้า 12610557
ชลกานต์ คงทัศน์ 621210179
เบญจวรรณ ฮกประจง 621210182
วรัญชัย ชัยวิชิต 621210377
วริษา แย้มยิ้ม 621210798
รัตติกาล นามวงศ์ 621211146

Thank you


Click to View FlipBook Version