3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจนั้น
พบว่า ผู้ที่มีแรงจูงใจแบบนี้ส่วนมาก มักจะพัฒนามาจาก ความรู้สึกว่า ตนเอง
"ขาด" ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ อาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ทำให้เกิดมี
ความรู้สึกเป็น "ปมด้วย" เมื่อมีปมด้วย จึงพยายามสร้าง "ปมเด่น" ขึ้นมาเพื่อ
ชดเชยกับสิ่งที่ตนเองขาด ผู้มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. ชอบมีอำนาจเหนือผู้อื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะออกมาในลักษณะการก้าวร้าว
2. มักจะต่อต้านสังคม
3. แสวงหาชื่อเสียง
4. ชอบเสี่ยง ทั้งในด้านของการทำงาน ร่างกาย และอุปสรรคต่าง ๆ
5. ชอบเป็นผู้นำ
4. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive)ผู้ที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มัก
เป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งพ่อแม่อาจจะใช้วิธีการ
ลงโทษที่รุนแรงเกินไป ดังนั้นเด็กจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่น หรืออาจจะเนื่องมา
จากการเลียนแบบ บุคคลหรือจากสื่อต่าง ๆ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว จะมีลักษณะที่
สำคัญดังนี้
1. ถือความคิดเห็นหรือความสำคัญของตนเป็นใหญ่
2. ชอบทำร้ายผู้อื่น ทั้งการทำร้ายด้วยกายหรือวาจา
5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive) สาเหตุของการมีแรงจูงใจแบบ
นี้ก็เพราะการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทะนุถนอมมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือ
ตนเอง ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ พึ่งพา จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. ไม่มั่นใจในตนเอง
2. ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง มักจะลังเล
3. ไม่กล้าเสี่ยง
4. ต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากผู้อื่น
การจัดลำดับขั้นของความต้องการในทัศนะของมาสโลว์
(Maslow's Hierarchy of needs)
Abraham Maslow ซึ่งเป็นผู้นำที่สำคัญคนหนึ่งของนักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยม
ได้จำแนกแรงจูงใจของคนเราอีกทัศนะหนึ่ง โดยมีการจัดลำดับขั้น ของแรงจูงใจ จาก
ความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ (basic biological needs) ซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด
ไป จนกระทั่งถึงแรงจูงใจทางจิตใจที่ซับซ้อนมากกว่า แรงจูงใจประเภทหลังนี้ จะมี
ความสำคัญก็ต่อเมื่อ ความต้องการพื้นฐานได้รับ การตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว
รูป การจัดลำดับขั้นของความต้องการในทัศนะของ Maslow
Maslow ได้จัดลำดับขั้นของความต้องการไว้ดังนี้
1. ความต้องการทางสรีรวิทยา (physiological needs) : ความหิว ความ
กระหาย เป็นต้น
2. ความต้องการทางความปลอดภัย (sefty needs) : การรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
ปราศจากอันตราย
3. ความต้องการทางความเป็นเจ้าของและความรัก (Belongingness and
love need) : การผูกพันกับคนอื่น การได้รับการยอมรับและการเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการทางการยกย่อง (esteem needs) : การบรรลุผลสำเร็จ การ
มีความสามารถ การได้รับการยอมรับและการรู้จักจากคนอื่น
5. ความต้องการทางการรู้ (cognitive needs) : การรู้ การเข้าใจและการ
สำรวจ
6. ความต้องการทางสุนทรียภาพ (aesthetic needs) : สมมาตร ความมี
ระเบียบและความงาม
7. ความต้องการทางความจริงแท้แห่งตน (self-actualization needs) :
การพบความสำเร็จแห่งตนและการเข้าใจศักยภาพของตน
มีความเห็นว่า อย่างน้อยที่สุดความต้องการในระดับต่ำจะต้องได้รับการตอบสนองจน
เกิดความพอใจเสียก่อน ความต้องการในระดับที่สูงขึ้นมา จึงสามารถกลายเป็น
แหล่งกำเนิดอันสำคัญของการจูงใจได้
ทฤษฎีความต้องการ (Need Theories)
1. ทฤษฎีลำดับความต้องการ (Hierachy of Needs Theory)
เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นโดย อับราฮัม มาสโลว์ (Abrahum Maslow) นัก
จิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแบรนดีส์ เป็นทฤษฎีที่รู้จักกันมากที่สุดทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งระบุ
ว่าบุคคลมีความต้องการเรียงลำดับจากระดับพื้นฐานที่สุดไปยังระดับสูงสุด กรอบ
ความคิดที่สำคัญของทฤษฎีนี้มีสามประการ คือ
1. บุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการ ความต้องการมีอิทธิพลหรือเป็นเหตุจูงใจ
ต่อพฤติกรรม ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการสนองตอบเท่านั้นที่เป็นเหตุจูงใจ ส่วน
ความต้องการที่ได้รับการสนองตอบแล้วจะไม่เป็นเหตุจูงใจอีกต่อไป
2. ความต้องการของบุคคลเป็นลำดับชั้นเรียงตามความสำคัญจากความต้องการ
พื้นฐาน ไปจนถึงความต้องการที่ซับซ้อน
3. เมื่อความต้องการลำดับต่ำได้รับการสนอบตอบอย่างดีแล้ว บุคคลจะก้าวไปสู่
ความต้องการลำดับที่สูงขึ้นต่อไป
มาสโลว์ เห็นว่าความต้องการของบุคคลมีห้ากลุ่มจัดแบ่งได้เป็นห้าระดับจากระดับต่ำ
ไปสูง เพื่อความเข้าใจมักจะแสดงลำดับของความต้องการเหล่านี้ โดยภาพ ดังนี้
ภาพ แสดงลำดับความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์
ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต เป็นแรงผลักดันทางชีวภาพ
เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่อาศัย หากพนักงานมีรายได้ จากการ
ปฏิบัติงานเพียงพอ ก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีอาหารและที่พักอาศัย เขาจะมี
กำลังที่จะทำงานต่อไป และการมีสภาพแวดล้อม การทำงาน ที่เหมาะสม เช่น ความ
สะอาด ความสว่าง การระบายอากาศที่ดี การบริการสุขภาพ เป็นการสนองความ
ต้องการในลำดับนี้ได้
ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
เป็นความต้องการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบ
สนองอย่างไม่ขาดแคลนแล้ว หมายถึง ความต้องการสภาพแวดล้อม ที่ปลอดจาก
อันตรายทั้งทางกายและจิตใจ ความมั่นคงในงาน ในชีวิตและสุขภาพ การสนอง
ความต้องการนี้ต่อพนักงานทำได้หลายอย่าง เช่น การประกันชีวิต และสุขภาพ กฎ
ระเบียบข้อบังคับที่ยุติธรรม การให้มีสหภาพแรงงาน ความปลอดภัยในการปฏิบัติ
งาน เป็นต้น
ความต้องการทางสังคม (Social Needs)
เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว คนเราจะต้องการความรัก
มิตรภาพ ความใกล้ชิดผูกพัน ต้องการเพื่อน การมีโอกาสเข้าสมาคม สังสรรค์กับ
ผู้อื่น ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs)
เมื่อความต้องการทางสังคมได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้าง
สถานภาพของตัวเองให้สูงเด่น มีความภูมิใจและสร้างการนับถือตนเอง ชื่นชมใน
ความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองแลเกียรติยศ ความต้องการเหล่า
นี้ได้แก่ ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ เป็นต้น
ความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต (Self-actualization Needs)
เป็นความต้องการระดับสูงสุด คือต้องการจะเติมเต็มศักยภาพของตนเอง ต้องการ
ความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของตัวเอง ความเจริญก้าวหน้า การพัฒนา
ทักษะความสามารถให้ถึงขึดสุดยอด มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและการคิด
สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพและการงาน เป็นต้น
ความต้องการทางสังคม (Social Needs)
เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว คนเราจะต้องการความรัก
มิตรภาพ ความใกล้ชิดผูกพัน ต้องการเพื่อน การมีโอกาสเข้าสมาคม สังสรรค์กับ
ผู้อื่น ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs)
เมื่อความต้องการทางสังคมได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้าง
สถานภาพของตัวเองให้สูงเด่น มีความภูมิใจและสร้างการนับถือตนเอง ชื่นชมใน
ความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองแลเกียรติยศ ความต้องการเหล่า
นี้ได้แก่ ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ เป็นต้น
ความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต (Self-actualization Needs)
เป็นความต้องการระดับสูงสุด คือต้องการจะเติมเต็มศักยภาพของตนเอง ต้องการ
ความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของตัวเอง ความเจริญก้าวหน้า การพัฒนา
ทักษะความสามารถให้ถึงขึดสุดยอด มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและการคิด
สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพและการงาน เป็นต้น
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรง
จูงใจขึ้นถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจภายใน
นั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย แรงจูงใจภายนอกที่
ครูใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
1. รางวัล
การให้รางวัลมีหลายอย่าง เช่น ให้รางวัลเป็นของ การให้เครื่องหมายอันเป็น
สัญลักษณ์แห่งความดี เช่น ให้ดาว หรือให้เกียรติบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบาง
อย่าง การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และเมื่อให้รางวัลไปแล้ว เด็กรู้สึก
ตื่นเต้นและเรียนดีขึ้น แต่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่านไม่เห็นด้วยกับการให้
รางวัล โดยกล่าวว่า การให้รางวัลนั้นมีทางทำให้เด็กเรียนเพื่อเอารางวัล มากกว่า
เรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริง ๆ ถ้าครูให้รางวัลบ่อยเกินไป นอกจากนี้เมื่อเด็กได้รับ
รางวัลไปแล้ว จะไม่ทำให้เด็กกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก
2. ความสำเร็จในการเรียน
การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้น
กว่าเดิม อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ ครูต้อง
จัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กแต่ละคน
ได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่การสอน
ตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้
เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปานกลางอาจสนุก
ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป
3. การยกย่องชมเชย
คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง จูงใจให้
แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครู
ไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย ส่วนเด็ก
เรียนเก่ง จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุก
คน ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจ
กว่าการชมเด็กเปิดเผย และการชมเด็กเก่งมากๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน
4. การตำหนิ
การตำหนิก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็ก
เรียนอ่อนมากๆคำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้
ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่
นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็ก
เรียนเก่ง ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไข
อย่างไร
5. การแข่งขัน
การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี
อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยา
แบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
1. แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
2. แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
3. แข่งขันกับตนเอง
6. ความช่วยเหลือ
ความช่วยเหลือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความ
ต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้วความช่วยเหลือเป็นการ
สนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
7. การรู้จักความก้าวหน้าของตน
ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคน
นั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็ก
จะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
8. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียน
ได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุด
ประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่
ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่
การเรียนในอนาคตของเด็กเอง
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
คุณลักษณะที่ดีของครูการศึกษาพิเศษ
“รู้ดี สอนดี มีวิสัยทัศน์ เจนจัดฝึกฝนศิษย์ ดวงจิตใฝ่คุณธรรม
งานเลิศล้ำด้วยจรรยา มีศรัทธาความเป็นครู ดำรงอยู่ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา”
การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ
พ่อแม่
สังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด
ให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ทีมสหวิชาชีพ
มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพลูก
แพทย์
ประเมิน วินิจฉัย
ให้คำแนะนำโปรแกรมการช่วยเหลือ
ปรับสภาพแวดล้อมและให้ความช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็น
ครู
วิเคราะห์ผู้เรียน
จัดทำ IEPและIIP
จัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้
สนับสนุนสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก
จัดการเรียนรู้ตาม IEP
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ผดุง อารยะวิญญู .(2542:13) ได้ให้ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า
หมายถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่างไปจากเด็กปกติ การให้การศึกษาสำหรับเด็ก
เหล่านี้จึงควรมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กปกติ ในด้านเนื้อหา วิธีการ และการประเมิน
ผล
เบญจา ชลธารนนท์ .( 2538:1) กล่าวว่า บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
ใครก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติเหมือนคนปกติ และหรือชีวิตสังคมทั่วไปต้องทำเพียงส่วน
ใดส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถทำทั้งหมด
ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางร่างกายหรือสมองโดยเป็นมาแต่กำเนิด
หรือไม่ก็ได้
ณัชพร ศุภสมุทร์ (2553:14) เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีสภาพความ
บกพร่องในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะทางด้านพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา
หรือสติปัญญา และไม่สามารถปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันได้ดังเช่น เด็กปกติทั่วๆไป
รวมถึงทางด้านการจัดการศึกษาซึ่งต้องจัดให้มี การเรียนการสอนที่ต่างไปจากเด็กปกติ
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของความบกพร่องของเด็กและประเภทด้วย
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวถึง ลักษณะของเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษหรือผิดปกติทางร่างกาย สติปัญญา และทางจิตใจ แบ่งออกเป็น
ประเภทต่างๆ 9 ประเภทคือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
8. เด็กพิการซ้อน
9. เด็กออทิสติก
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถพบสภาวะที่การพัฒนาของสมองหยุดชะงักหรือ
พัฒนา ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความบกพร่องของทักษะต่างๆ ในช่วงระยะวัย
พัฒนาการทักษะต่างๆเหล่านี้ ได้แก่ ทักษะในด้านการรู้คิด (Cognitive) ภาษา (Language)
การเคลื่อนไหว (Motor) และความสามารถทางสังคม (Social Abilities)
ซึ่งทักษะทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งเกื้อหนุนต่อระดับเชาว์ปัญญา
พื้นฐานทางพันธุกรรม
95% มีความผิดปกติเป็น trisomy 21
4% มีtranslocationของโครโมโซมคู่ที่ 21
1% เป็นmosaic Down syndrome
ภาวะปัญญาอ่อน Mental Retardation
ส่วนใหญ่มีระดับ IQ เป็นช่วง mild MR
5% อยู่ในช่วง severe/profound MR
มีปัญหาพัฒนาภาษาล่าช้า และอาจมีปัญหาภาษาพัฒนาไม่ดีแม้โตเป็นผู้ใหญ่
ความสามารถด้านความคิดและปัญญา (Cognitive Style)
เด่นที่ Visual processing
ด้อยที่ Auditory processing
ขบวนการที่ทำโดยทันที Simultaneous processing จะเด่น
ขบวนการที่ทำตามขั้นตอนต่างๆ เป็นปัญหา
สมองด้านซ้ายบกพร่อง
ปัญหาพฤติกรรมที่พบ
มีปัญหาการควบคุมอารมณ์เป็นผลจากพัฒนาภาษาไม่ดี
ความเข้าใจกฎเกณฑ์ไม่ดีเพราะปัญหาด้านภาษา
มีลักษณะเพ้อฝัน พูดมาก พูดกับตัวเอง
มักมีปัญหาซน สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น และบางครั้งใช้ยา
stimulant อาจไม่ได้ผล
การเข้าโรงเรียน
สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 ปี
สามารถอยู่ในห้องเรียนได้เพราะ
o ใช้สายตาได้ดี
o ต้องการผู้กำกับดูแลใกล้ชิด
o มีทักษะสังคมดี
หลายคนอ่านเก่ง
อาจเรียนได้สูงในบางคน
ความผิดปกติด้านภาษา (Language Disorder)
75% มีปัญหา expressive language disorder
สาเหตุไม่ทราบ
พบปัญหาเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี
ใช้การสื่อสารหลายทางร่วมกันจะช่วยได้
ภาษามีลักษณะไม่ค่อยเข้าใจเพราะ
o ความเร็ว Speed
o พูดเป็นภาษาโทรเลข Telegraphic speech
o พูดไม่ชัด Articulation
การเตรียมสู่วัยรุ่น และผู้ใหญ่ (Transition to adulthood)
การมีประจำเดือน
การป้องกันการตั้งครรภ์
การเข้าถึงบริการทางการแพทย์
ปัญหากฎหมาย
o ผู้ปกครอง
เด็กบกพร่องทางสติปัญญาและเด็กดาวน์
- ด้านการเรียน ต้องแยกย่อยเนื้อหา สอนที่ละขั้นตอน
- ด้านสังคม ฝึกให้เล่นกับเพื่อน การปฏิบัติตัวทางสังคม การรอคอย
- ด้านพฤติกรรม หากมีปัญหาก้าวร้าว เกเร ฯลฯ ต้องชี้แนะ
ประเภทของระดับสติปัญญา
เด็กปกติ ระดับ IQ = 90 – 110
Dullness (สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์) ระดับ IQ = 80 – 89
Borderline (สติปัญญาคาบเส้น) ระดับ IQ = 70 – 79
Mild MR (สติปัญญาบกพร่องระดับน้อย) ระดับ IQ = 50 -69
Moderate MR (สติปัญญาบกพร่องระดับปานกลาง) ระดับ IQ = 35 – 49
Severe MR (สติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรง) ระดับ IQ = 20 – 34
Profound MR (สติปัญญาบกพร่องระดับรุนแรงมาก) ระดับ IQ < 20
การจัดกิจกรรม
เน้นให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง
ทำบัตรคำหรือสัญลักษณ์ติดในที่ต่างๆ
การจัดสิ่งแวดล้อม
สอนให้ปฏิบัติตามระเบียบ
สอนให้รู้จักการเก็บรักษาของ
จัดให้นั่งแถวหน้าด้านใน เลือกเด็กปกติที่ไม่เกเรนั่งคู่
การช่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1) การมอบงาน
2) ให้ทำกิจกรรมกับเพื่อน
3) ให้กำลังใจ
4) ให้อยู่กลุ่มเพื่อนที่เข้าใจ
5) กระตุ้นทักษะที่ขาด
6) ครูต้องเป็นนักทบทวน
7) อย่าให้การบ้านมากเกินไป
8) ให้เวลาในการสอบ
9) ครูจะต้องร่วมมือกับผู้ปกครอง
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( ID )
ระดับก่อนวัยเรียน
เน้นความพร้อมของเด็กทั้งในด้านความคิด ความจำร่างกาย อารมณ์ และ
สังคมของเด็ก ความพร้อมของเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญใน การเรียนในระดับประถม
ศึกษา การพัฒนาทักษะของเด็กในระดับนี้ ควรเน้นทักษะที่จะจำเป็นที่จะช่วยให้
เด็กมีความพร้อมในการเรียน เช่น การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่
การฝึกให้นักเรียน มีความสนใจในบทเรียนนานขึ้น การฝึกความคิดความจำ ฝึก
ภาษา ฝึกพูด เป็นต้น
ระดับประถมศึกษา
เน้นเกี่ยวกับการอ่าน คณิตศาสตร์ ภาษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์และ
สังคมศึกษานั้นมีความสำคัญรองลงไปในหลักสูตรแตกต่างไปจากหลักสูตรสำหรับ
เด็กปกติตลอดจนเอกสารการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจและความ
สามารถของเด็ก ส่วนเนื้อหาวิชาดนตรี และศิลปะ ควรจัดให้เหมาะสมกับเด็ก
ระดับมัธยมศึกษา
เน้นความต้องการและความสามารถของเด็กเป็นสำคัญ หากเด็กมีความสามารถใน
การเรียน เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้เรียนวิชาที่เหมาะสม หากเด็กไม่มีความพร้อม ควร
ให้เด็กเรียนในด้านอาชีพ และฝึกทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อเตรียมเด็กให้สามารถ
ดำรงชีพในสังคมได้ ควรฝึกให้เด็กมีทักษะในด้านต่อไปนี้คือ ทักษะด้านการงานและอาชีพ
การครองเรือน นันทนาการ การดูแลสุขภาพ การดำรงชีพในชุมชน
ครูผู้สอนต้องมีความอดทนและพยายามอย่างมาก เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญามีระดับ
สติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย และมักจะมีความพิการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
ความบกพร่องทางร่างกาย ทางการพูด และปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนจะต้องมี
ความเข้าใจและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
หลักสูตรหรือโปรแกรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กปัญญาอ่อน ควรจะมีลักษณะดังนี้
1) เน้นหลักสูตรที่ปรับปรุงเนื้อหาง่ายกว่าและน้อยกว่าของเด็กปกติมาก เพื่อให้
เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละระดับชั้น
2) เน้นเนื้อหาทักษะพื้นฐานที่เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การ
เข้าใจสื่อความหมาย การรู้จักค่าของตัวเลข ฯลฯ
3) พัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเรียนร่วมในสังคมได้ เช่น การรู้จักปรับ
ตัวให้เข้ากับคนอื่นได้ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายได้
ครูจึงจำเป็นต้องใช้หลักการสอนพิเศษกว่าเด็กปกติ
1) ใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก โดยคำนึงถึงอายุสมอง
ไม่ใช่อายุตามปฏิทิน
2) สอนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงความสนใจของเด็ก
3) สอนตามขั้นตอนของงานที่แยกย่อยตามล าดับจากง่ายไปหายาก และไม่ซับซ้อน
4) ในการสอนแต่ละครั้ง ควรสอนเนื้อหาวิชาให้น้อย
5) สอนบทเรียนให้เหมาะกับสภาพของชีวิตจริงและปฏิบัติได้จริง
6) สอนซ้ำ ๆ และสม่ำเสมอ
7) ใช้คำพูดที่ชัดเจนและประโยคสั้น ๆ ไม่สับสน
8) ให้การเสริมแรงตามความเหมาะสม
9) สังเกต บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคลเป็นระยะ ๆ ตลอดเวลาสอน
10) ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้ปกครองและนักวิชาชีพที่
เกี่ยวข้อง
เทคนิคการสอน
ครูจึงต้องสร้างแรงจูงใจก่อน
หลังจากนั้นใช้เทคนิคอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ก่อนการสอนครูจ าเป็นต้องเรียนรู้เรื่องพัฒนาการและข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กก่อน
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
หลัก 3 R’s ประกอบด้วย
Repetition คือ การสอนซ้ำๆ ซากๆ ทบทวนบ่อยๆ สอนง่ายๆ สั้นๆ และ
สอนจากง่ายไปหายาก
Relaxation คือ การสอนจะต้องไม่เคร่งเครียด ให้บรรยากาศผ่อนคลาย
ดัดแปลงการสอนเป็นการเล่น การร้องเพลง การเล่านิทาน
Routine คือ การสอนจะต้องสม่ำเสมอเป็นประจำ
การวิเคราะห์งาน (Task analysis)
การวางแผนการสอนที่ละเอียด แยกย่อยเรื่องที่จะสอนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ซึ่งในแต่ละขั้นตอน ครูจะต้องเข้าไปช่วยเพื่อให้เด็กทำให้ได้ การช่วยเหลือนี้ ครู
จำเป็นต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กทำได้ในระยะแรกครูต้องช่วยทุกขั้นตอน
และลดลงเมื่อเด็กทำได้มากขึ้น
*** วิธีการวิเคราะห์งาน ให้ผู้ที่จะสอนควรลองปฏิบัติตามเรื่องที่จะสอน
และจดบันทึกขั้นตอนย่อยต่างๆ เพื่อนำมาใช้สอนเด็กต่อไป
การทำตัวอย่างให้ดู (Modeling)
การแสดงวิธีการที่ถูกต้อง เด็กควรจะทำสิ่งที่ถูกต้องและฝึกทำในเรื่อง
นั้น
ข้อแนะนำสำหรับครูในการทำตัวอย่าง มีดังนี้
ครูต้องทำตัวอย่างให้เด็กดูหลาย ๆ ครั้ง
ใช้ภาษาพูดให้ชัด
สีหน้าท่าทางของครู
ครูต้องมีความอดทน
*** ใช้วิธีการให้เพื่อนที่เป็นเด็กปกติแสดงตัวอย่าง เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
ที่เด็กเรียนรู้ได้ดี
การแสดงบทบาทสมมติ (Role playing)
เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี เด็กจะเข้าใจและสามารถเลียน
แบบสิ่งที่ถูกต้องได้ในที่สุด
ครูควรจัดเตรียมอุปกรณ์ ที่จะสอนให้พร้อม
ควรนำเด็กปกติมาร่วมการแสดงบทบาทสมมติด้วย
ครูต้องใจเย็นและให้โอกาสเสมอเมื่อเด็กทำไม่ได้
-
การช่วยชี้แนะ (Prompts)
1) การกระตุ้นทางกาย เป็นการช่วยเหลือเด็กในการเคลื่อนไหว เช่น เด็กเอื้อมมือ
หยิบของไม่ถึง ครูช่วยอุ้มเด็กขึ้น ครูจับมือเด็กลากเส้นในครั้งแรกๆเป็นต้น
2) การเน้น เป็นการเน้นด้วยเสียงหรือด้วยเส้นก็ได้ การแทนด้วยเสียง ได้แก่การเปล่ง
เสียงคำตอบดังๆเป็นต้น การเน้นด้วยเสียง เช่น ขีดเส้นสีขาวรอบเครื่องมือที่เป็น
อันตราย แล้วอธิบายให้เด็กเข้าใจ
จนกระทั่งเด็กเข้าใจดีแล้วจึงลบเส้นออกเป็นต้น
3) การช่วยด้วยคำพูด (วาจา)
การพูดของครู มีความสำคัญและต้องระมัดระวัง ดังนี้
ครูต้องใช้คำพูดในเชิงบวก
ครูต้องไม่ใช้คำสั่งที่ยาวเกินไป
ครูไม่ควรบอกให้เด็กเลือกอะไร เช่น เลือกสิ่งนี้ดีหรือไม่ ถูกหรือไม่ถูกควรสั่งให้
เด็กเลือกสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น
*** ครูต้องควบคุมเสียง ไม่ใช้อารมณ์ลงไปในการพูดกับเด็ก การเน้นสำคัญ เช่น
“ใช่” “ไม่ใช่” “เก่ง” เด็กจะเรียนรู้จากคำพูดของครูและตอบรับได้อย่างถูกต้อง
การช่วยจัดตำแหน่ง (Situational prompt)
เด็กสามารถผ่านการเรียนรู้และทำได้ โดยครูเป็นผู้ที่ช่วยเด็ก การสอนในแต่ละ
เรื่องเด็กอาจพบปัญหาในขั้นตอนย่อยที่ทำให้เด็กไม่ผ่าน วิธีการช่วยจัดตำแหน่งคือ
เทคนิคที่ครูพบว่าเด็กมีปัญหาในขั้นตอนใด จึงแก้ไข เช่น ครูให้เด็กหยิบเลข 1 แต่เด็ก
หยิบผิดเป็นเลข 2 เนื่องจากครูพบว่า เด็กมองไม่ทั่ว ครั้งต่อไป ครูอาจวางเลข 1 ให้
ใกล้ตัวเด็กมากกว่าเลข 2 เด็กจะหยิบของใกล้ตัว เมื่อฝึกครั้งต่อๆไป ครูวางเลขคละกัน
เด็กก็จะทำได้
*** การใช้เทคนิคเพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ เป็นหน้าที่สำคัญที่ครูการศึกษาพิเศษต้องมี
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก
ในอดีตพบเด็กออทิสติก 4-6 คนต่อประชากร 10,000 คน แต่ในปัจจุบันพบเด็ก
ออทิสติกรุนแรง 2 คน
ต่อประชากร 10,000 คน ในกลุ่มที่มีอาการระดับน้อยพบ 1-2 คนต่อประชากร 1000
คนหรือมากกว่านั้น
เด็กออทิสติก พบมีความผิดปกติอย่างรุนแรง 3 ด้าน ดังนี้
1. พัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ ไม่มองสบตา ไม่ชอบการโอบกอด แยกตัวออก
จากกลุ่ม มองผ่านหรือมองคนอื่นเหมือนไม่รู้ว่ามีคนอยู่ ไม่ชอบเลียนแบบการเล่นของคน
อื่น ซนผิดปกติหรือนั่งนิ่งผิดปกติ หัวเราะหรือร้องไห้ไม่หยุด
2. พัฒนาการด้านการสื่อความหมาย ได้แก่ ไม่สามารถพูดออกเสียงเป็นคำที่มี
ความหมาย เมื่อต้องการสิ่งใดจะดึงมือคนอื่นไปทำ พูดเลียนเสียงหรือทวนคำ พูดซ้ำคำ
ต่างๆ จากที่เคยได้ยิน ไม่สามารถเริ่มต้นการสนทนาได้ ไม่ตอบสนองเสียงเรียก
3. พฤติกรรมแปลกๆ ซ้ำๆ ได้แก่ ชอบหมุนวัตถุ สะบัดมือ กระดิกนิ้วมือ
วิ่งถลาไปข้างหน้าอย่าเร็วนั่งโยกตัว เดินเขย่งปลายเท้า หมุนตัวหรือโยตัวไปมา
จ้องมองวัตถุนานๆ
กล่าวโดยสรุป หากพบความผิดปกติมากกว่า 2 อย่าง ให้นึกถึงออทิสติก
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและบุคคล
เล่นกับคนอื่นไม่เป็น
เล่นบทบาทสมมติไม่เป็น
ไม่สามารถมีพฤติกรรมแสดงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้
การรักษา ได้แก่
1. พฤติกรรมบำบัด
2. กิจกรรมบำบัด
3. อรรถบำบัด
4. การรักษาด้วยยา
5. การศึกษาพิเศษ
เนื้อหาของหลักสูตรในการสอนเด็กกลุ่มออทิสติก
จะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 9 ทักษะ และกิจกรรมเสริมพิเศษ 1 กิจกรรม ดังนี้
1) ทักษะความเข้าใจ 6) ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2) ทักษะการเลียนแบบ 7) ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่
3) ทักษะการรับรู้ 8) ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ
4) ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 9) ทักษะการสื่อสาร
5) ทักษะด้านสังคม 10) กิจกรรมเสริมพิเศษ
ปัญหาในการเรียนรู้ของบุคคลออทิสติก พบลักษณะดังนี้
1) บุคคลออทิสติกจะมีการสนใจเป็นระยะที่สั้นมาก
2) ปัญหาในการสื่อความหมายและภาษาบุคคลออทิสติก
3) เด็กออทิสติกจำบุคคลได้โดยการดูเกี่ยวกับรายละเอียดเพื่อค้นหา
4) เด็กออทิสติกจะเล่นสมมุติไม่เป็น
5) ความเข้าใจและการแสดงความรู้สึกของเด็กออทิสติก
6) ความจำเป็นบุคคลออทิสติก
เทคนิคการสอนเด็กกลุ่มออทิสติก
1) ควบคุมพฤติกรรมที่ผิดปกติ และส่งเสริมพฤติกรรมสร้างสรรค์ซึ่ง
เป็นที่ยอมรับของสังคม
2) การวิเคราะห์งาน (Task Analysis)
3) การกระตุ้นให้เด็กท าตาม (Prompting)
4) การกระตุ้นทางกาย (Phyiscal Prompting)
5) การกระตุ้นทางวาจา (Verbal Prompting)
6) การเน้น (Highlighting)
7) การเลียนแบบ (Imitation)
8) การจัดสภาพแวดล้อม (Classroom environment)
หลักสำคัญของครูสอนเด็กกลุ่มออทิสติก
1) ครูต้องมีความยืดหยุ่นสูง
2) ครูต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ
3) ครูต้องมีเจตคติที่ดี
4) ครูต้องมีเมตตา คลุกคลีกับเด็กจนเด็กยอมรับ
หลักการสอนเด็กออทิสติก
1) สอนเป็นรายบุคคล และตามระดับความสามารถของเด็ก
2) สอนจากง่ายไปยาก ใกล้ตัวไปไกลตัว
3) สอนโดยใช้หลัก 3 R
4) สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง
5) เวลาในการทำกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 – 20 นาที
6) การเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เทคนิคการปรับพฤติกรรม
1) การไม่สนใจ
2) การเบี่ยงเบนความสนใจ
3) การให้แรงเสริมทางบวก
4) การแยกเด็กให้อยู่ตามลำพัง
5) การลงโทษ การลงโทษโดยตัดรางวัล
6) การสร้างพฤติกรรมใหม่
ครูช่วยเหลือให้เด็กทำพฤติกรรมที่ต้องการแล้วลดการช่วยเหลือลง
ครูให้กำลังใจด้วยการให้รางวัล
ครูแสดงให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง
หลักการรักษาเด็กออทิสติก
1) การบำบัดฟื้นฟูหลัก ได้แก่
การเสริมพลังครอบครัว
การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
พฤติกรรมบำบัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
การรักษาด้วยยา
2) การบำบัดฟื้นฟูทางเลือก ได้แก่
ศิลปะบำบัด
ดนตรีบำบัด
การกระตุ้นประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
การฝังเข็ม
การบำบัดด้วยสัตว์
การบำบัดด้วยการกอด
การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น เป็นการขาดความสามารถ ตั้งใจ/สนใจ ต่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่กำลังกระทำอยู่
เป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่งที่เด็กมักแสดงออกจนเป็นลักษณะเฉพาะตัว
ประกอบด้วยพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย หรือระดับพัฒนาการ ปกติมาตรฐาน ซนมาก
ไม่มีระเบียบ วอกแวก ขาดสมาธิ มักทำอะไรก่อนคิด วู่วาม ก้าวร้าว
ลักษณะดังกล่าว ส่งผลกระทบ ดังต่อไปนี้
1) การเรียนรู้ ตามที่เด็กที่ความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน พูดมาก อยู่ไม่นิ่ง
นั่งไม่ติดที่ จะทำให้เด็กมีการรับรู้ต่ำกว่าเพื่อนๆ ทำงานไม่เสร็จ และบางครั้งยังก่อกวน
ความสงบสุขภายในชั้นเรียนอีกด้วย
2) พฤติกรรมเบี่ยงเบน พบได้ตั้งแต่พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรรุนแรง ข้าวของ
เสียหาย ก้าวร้าว เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย ขาดทักษะต่างๆ เนื่องจากอดทนเล่นฝึกไม่ได้
นาน และก่อกวนเด็กอื่น พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น มีความสัมพันธ์กับการ
ยอมรับการด าเนินโรคของพ่อแม่และคุณครูเป็นอย่างยิ่ง
3) มีภาพพจน์ต่อตัวเองไม่ดี เนื่องจากว่าเด็กมีโอกาสทำผิดพลาดได้บ่อยกว่าเด็ก
อื่น และพบกับความล้มเหลวในการเรียน การเข้าสังคม การกีฬา ดนตรี ฯลฯ ผู้ใหญ่
รอบข้างไม่ชอบ คุณครูไม่รัก เนื่องจากเรียนไม่เก่ง แถมทำตัวก่อให้เกิดปัญหาอีกด้วย
4) การเข้าสังคมเบี่ยงเบน เนื่องจากเด็กขาดทักษะในการเล่น การกีฬา ฯลฯ
ร่วมกับเด็กที่มีความยับยั้งตัวเอง ในขีดจ ากัด พูดมากทำข้าวของเสียหายจึงส่งผลทำให้
พี่น้อง เพื่อน คุณครู พ่อแม่ เกิดความรู้สึกไม่พอใจได้ง่าย
ลักษณะอาการทางคลินิกที่พบได้
- กลุ่มอาการขาดสมาธิ
1) ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของงานได้มักจะทำผิดเนื่องจากขาด
ความรอบคอบ
2) ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเล่น
3) ไม่สนใจฟังคำพูดของคนอื่น
4) ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดของคำสั่งได้
5) ทำงานไม่เป็นระเบียบ
6) ไม่เต็มใจ หรือเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
7) ทำของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนหรือการทำงานหายบ่อยๆ
8) วอกแวกง่ายๆ
9) ขี้ลืมบ่อยๆ ในกิจวัตรประจำวันของงานที่ทำ
- กลุ่มอาการซน หุนหันพลันแล่น
1) ยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบขยับมือ ขยับเท้าไปมา
2) ชอบลุกจากที่นั่งเวลาเรียน หรือสถานที่ที่จ ากัดให้ต้องนั่งเฉยๆ
3) ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ (ในวัยรุ่นอาจจะแค่กระวนกระวายใจ
เท่านั้น)
4) ไม่สามารถเล่น หรือนั่งนิ่งอยู่เงียบๆ ได้
5) ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเหมือนมีเครื่องยนต์ติดตัว
6) พูดมาก พูดไม่หยุด
7) ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
8) มีความลำบากในการเข้าคิวหรือการรอคอย
9) ชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น
การวินิจฉัยโรค
ต้องมีอาการ 6 อย่างใน 9 อย่างขึ้นไปนานกว่า 6 เดือน ก่อนอายุ 7 ปี
และอาการต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน การทำงาน การเข้า
สังคม ซึ่งอาการทั้ง 9 ข้อนี้ ไม่ได้เกิดต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช
โรคที่สามารถพบอาการสมาธิสั้น
1) อาการปัญญาอ่อน
2) โรคออทิสซึม (Autism)
3) อาการบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning Disablilities;LD)
4) อาการเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เรียกว่าโรค Tics และ
โรคTourette
5) โรคทางจิตเวชต่างๆ เช่น โรคประสารทวิตกกังวล โรคไบโพล่าร์ โรคซึม
เศร้า โรคจิต บุคลิกภาพ
ผิดปกติ โรคกลัว
6) อาการผิดปกติของการปรับตัวในภาวะตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับตนเอง โรค
ต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นและมีอาการสมาธิสั้นปนอยู่ด้วยการแก้ปัญหาต้องใช้
ความระวังเป็นอย่างยิ่ง มิฉะนั้นเด็กจะมีการเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทาง
ด้านพฤติกรรมและอารมณ์
7) โรคลมชัก และความผิดปกติของสมอง เช่น บาดเจ็บที่ศีรษะหรือการติด
เชื้อในสมอง
8) โรคต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ
การรักษามีอะไรบ้าง
การรักษาโดยการใช้ยา
การปรับพฤติกรรม ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
การปรับสิ่งแวดล้อมและวิธีการสอนในห้องเรียน
ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน
ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น
• จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน
• จัดให้เด็กนั่งอยู่กลางห้อง หรือให้ไกลจากประตู หน้าต่าง
• เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ
• ตรวจสมุดจดงานของเด็ก เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ
• อย่าสั่งงานให้เด็กทำ (ด้วยวาจา) พร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คำสั่ง ควรให้เวลา
ให้เด็กทำเสร็จทีละอย่างก่อนให้คำสั่งต่อไป
• คิดรูปแบบวิธีเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียน โดยไม่ให้เด็กเสีย
หน้า
• จัดให้เด็กที่อยู่ไม่สุข มีโอกาสใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เช่น มอบหมาย
หน้าที่ให้ช่วยครูเดินแจก
สมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง เป็นต้น
• ให้คำชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดี หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
• หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้เด็กอับอายขายหน้า
ข้อแนะนำสำหรับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
• นั่งใกล้โต๊ะคุณครู พยายามให้นั่งข้างหน้า
• นั่งอยู่ในวงของเด็กที่ตั้งใจเรียน
• พยายามให้เด็กห่างจากบริเวณประตู หน้าต่าง ฯลฯ
• กฎ ระเบียบ ตารางสอน ความสม่ำเสมอ เพราะเด็กปรับตัวยาก
• มุมสงบ ของห้องเป็นที่ที่เด็กทุกคนมีสิทธิใช้ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตัวเอง
แตกต่างจากผู้อื่น
• ชี้ชวนให้ผู้ปกครองหาที่ที่สงบในการทำงานของเด็ก โดยตั้งเวลาสำหรับทำงาน
เวลาสำหรับพ่อแม่
ตรวจการบ้าน เวลาจัดกระเป๋า ทบทวนบทเรียนโดยสม่ำเสมอ
ข้อแนะนำในการออกคำสั่งกับเด็ก
• ขณะพูดควรสบตา
• คำสั่งขัดเจน รัดกุม และสม่ำเสมอในแต่ละวัน
• คำสั่งเป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย พยายามหลีกเลี่ยงคำสั่งหลาย ๆ อย่างพร้อมๆ กัน
• ท่าทีของผู้สั่งต้องสงบ และมีความตั้งใจดี
• สั่งแล้วควรสังเกตว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจต้องอธิบายซ้ำ
• ให้ความเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้เด็กซักถาม (เด็กกลุ่มนี้ มักจะไม่ถาม)
• ให้เวลาทำงานนานกว่าปกติ แล้วค่อย ๆ ลดเวลาลงมา
• สมุดจดการบ้าน พร้อมลายเซ็นคุณครูและผู้ปกครองเป็นสิ่งจ าเป็นมากสำหรับ
เด็กกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ดูการทำงานของเด็ก ถ้าเด็กทำไม่เสร็จจริงๆ ควรช่วยและเป็น
หนทางที่จะติดต่อกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง
ข้อแนะนำให้เด็กเตรียมตัวทำงาน (หรือสอบ)
• ให้งานทีละอย่าง
• ตรวจดูบ่อยๆ ว่า ทำไมขนาดไหน พร้อมให้กำลังใจ
• ปรับเปลี่ยนงานให้ดูง่ายขึ้น โดยเฉพาะถ้ารู้จุดอ่อนจุดแข็ง ในความสามารถ
ของเด็กจะช่วยทำให้การเรียนการสอนไปได้เร็ว ซึ่งบางรายอาจต้องใช้ครูการ
ศึกษาพิเศษช่วยในบางด้าน
• การสอบเพื่อที่จะหาระดับความรู้ไม่ใช่เพื่อวัดระดับความตั้งใจ
• ให้เวลานานขึ้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ท างานช้า ไม่ควรปรับหรือหักคะแนนใน
การท างานช้า
• เด็กกลุ่มนี้มีความอดทนต่ำ ควบคุมตัวเองได้น้อย ยิ่งถ้าถูกกดดันมากๆ หรือ
เหนื่อยมาก มักจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี
ข้อแนะนำสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยให้เด็กมองตัวเองใน
แง่ดี
1. รักษากฎของห้องและคอยตรวจตราดูแล
• ท่าทีที่ใช้ต้องสงบ อย่าชวนทะเลาะหรือตวาดใส่เด็ก
• มีการเตือนถึงผลที่จะตามมาหลังพฤติกรรมที่ไม่ดี
• ถ้าต้องทำโทษ ทำทันทีและตรวจดูพฤติกรรมที่ดีและชื่นชมบ่อย ๆ
• กฎภายในห้องเรียนไม่ควรมีมาก ปฏิบัติตามได้ชัดและสม่ำเสมอ
• การลงโทษต้องอยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ไม่ประจานความคิด
• หลีกเลี่ยงการวิจารณ์ เยาะเย้ย ถากถาง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น จะมีความ
ลำบากที่จะอยู่ในกฎเกณฑ์
2 สนับสนุนและส่งเสริม
• รางวัลควรมากกว่าการลงโทษ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกที่ดีของตัวเด็ก
• รางวัลควรได้รับโดยไม่ช้า หลังจากที่เด็กมีพฤติกรรมที่ดี
• ถ้ารางวัลไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนลักษณะของรางวัล เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ
• หาทางหลาย ๆ ทาง ที่จะกระตุ้นให้เด็กสนใจ
• กระตุ้นให้เด็กมองตัวเองในแง่ที่ดี และชื่นชมตัวเอง เช่น “วันนี้นั่งอยู่กับที่ได้นานขึ้น
ดีจริงๆ และถามว่าเด็กรู้สึกอย่างไร ?
บทบาทของคุณครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น
ครูจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไรบ้าง
• จัดที่นั่งใหม่
• ลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก
• ให้คำสั่งที่ชัดเจน ง่าย สั้น ทีละคำสั่ง
• เขียนงาน การบ้านบนกระดานให้ชัดเจน
• หาวิธีเตือนให้เด็กกลับมาสนใจเรียนโดยไม่ทำให้เด็กอาย
• มอบหมายหน้าที่บางอย่างในห้องเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถของเด็ก เช่น ลบ
กระดาน แจก
สมุด
• ให้รางวัล คำชม เมื่อเด็กตั้งใจ พยายาม หรือประพฤติตัวดี
• มีการใช้รางวัล การสะสมคะแนน เพื่อสร้างแรงจูงใจ
• หลีกเลี่ยงคำพูดติเตียนอย่างรุนแรง หรือตี
• ลงโทษโดยการงดสิทธิ ทำความดีชดเชย หรือการใช้เวลานอก
• มีกฎระเบียบในห้องทุกคนปฏิบัติให้เหมือนกัน ชัดเจน
• ไม่มีสิทธิพิเศษสำหรับเด็กสมาธิสั้นในการงดเว้นกฎ การลงโทษ
• ช่วยเด็กคิดวิธีแก้ไขจุดอ่อน
o จะแก้อาการขี้ลืมได้อย่างไร
• ช่วยให้ได้ใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์
o กีฬา
o ดนตรี
o ศิลปะ
o ช่วยเหลืองานผู้ใหญ่